อยากเขียนงานวิชาการ ทำอย่างไรดี ?


อยากเขียนงานวิชาการ ทำอย่างไรดี ?

สวัสดีค่ะ 

สืบเนื่องจากวันนี้ ได้รับคำถามจาก  น้องเอ๋  บล็อกเกอร์ใหม่ของชาวเราพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์  ปรึกษามา เรื่อง การเขียนงานวิชาการ

 P

24. Independent Woman
เมื่อ อา. 22 มิ.ย. 2551 @ 11:59
711288 [ลบ]

สวัสดีค่ะพี่ไก่

  • อยากเก่งเหมือนพี่ไก่ค่ะ ..
  • แต่เอ๋มีปัญหาอยู่ว่า ทำอย่างไร เอ๋จะเขียนเกี่ยวกับวิชาการได้คะ เอ๋ไม่ถนัดเอาซะเลย ลำบากพอสมควรค่ะ ไม่รู้จะเริ่มยังงัยดีอ่ะค่ะ

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

P

25. กัญญา
เมื่อ อา. 22 มิ.ย. 2551 @ 12:25
711317 [ลบ]

  • ความรู้ ประสบการณ์อยู่ที่ตัวเราเองค่ะ
  •  ลองทบทวนตัวเองดูนะคะ เดี๋ยวก็มองเห็นค่ะ
  • วิชาการต้องหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และปรึกษาพี่ ๆ ที่มีประสบการณ์ ค่ะ
  • ส่วนเทคนิค IT ปรึกษาพี่ได้ตลอดเวลาค่ะ
  • คิดอะไรยังไม่ออก  ช่วงนี้ให้ Relax ไปก่อน ให้สมองปลอดโปร่งแล้วค่อยคิดต่อนะคะ
  • สู้ สู้ :-)

 

********************************

 

ตามระเบียบนะคะ ต้องหาทางช่วยน้องเขาค่ะ  คิด ๆ อยู่ก็ปิ๊งแว๊บ เอาหัวข้อนี้มาบอกเล่าให้ฟัง และสงสัยว่า อาจต้องเปิดหลักสูตรสารสนเทศทางการพยาบาลให้เพิ่มอีกหนึ่งวิชา กระมังคะเนี่ย  ผู้เขียนต้องขอเวลาตั้งหลักสักเล็กน้อย  พอคิดได้ก็รอช้าอยู่ใย รับไปขุดเอาความรู้ ประสบการณ์ ที่ในช่วงหนึ่งของชีวิตได้มีโอกาสไปศึกษาต่อ ศศ.ม. สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบอกเล่าต่อให้กับน้อง ๆ ก็แล้วกันนะคะ

ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

 

Data = ข้อมูล ข้อเท็จจริง เทียบได้กับ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริง อาจเป็นข้อมูลเหตุการณ์ ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียง จะอยู่เป็นส่วน ๆ จะยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ 

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โดยนำค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ  หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

อีกนัยหนึ่ง 

Information = สารสนเทศ  เป็นการนำเอาข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาจัดการใหม่ ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนเป็นรายงานสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น (Knowledge) ซึ่ง เทียบได้กับ รายงาน จดหมายข่าว บทความ รายงานวิจัย ในสื่อสิ่งพิมพ์ และในสื่ออื่น ๆ เช่น  ข่าววิทยุ  โทรทัศน์  วีดิทัศน์  เป็นต้น

และเมื่อมีการนำออกมาเผยแพร่ขยายผลเพื่อต่อยอดให้นำไปปรับใช้ ซึ่งทำให้เกิดปัญญาขึ้น (Wisdom)  

อนึ่ง ข้อที่ควรทราบอีกประการหนึ่งก็คือ สารสนเทศ นั้น ยังไม่ใช่ผลสรุปสุดท้ายที่ตายตัว อาจเป็นไปได้ที่

ตัวอย่างเช่น

หลังจากนายแพทย์ พิจารณาตัวเลข คลอเรสเตอรัลแล้ว บอกผู้มาตรวจสุขภาพว่าเป็นปกติ เพราะค่าที่วัด อยู่ภายในระดับปกตินั้น ไม่ช้าไม่นาน ผู้มาตรวจสุขภาพรายนั้น อาจมีอันเป็นไป เพราะไขมันอุดหลอดเลือดหัวใจก็ได้ หากเกิดเรื่อง เช่นนี้บ่อยครั้ง วงการแพทย์ก็อาจจะต้อง ศึกษาสารสนเทศเหล่านี้มากขึ้นๆ จนกระทั่งได้ข้อสรุปขั้นสุดท้าย เป็น ความรู้ (Knowledge)

นักคิดทางด้านคอมพิวเตอร์หลายคน มองเห็นว่า ความรู้ ก็ยังไม่ใช่ที่สุด ของสิ่งที่จะได้รับจากข้อมูล ดังนั้นจึงสรุปว่า หลังจากที่มนุษย์เรา ได้รับความรู้ในด้านต่างๆ มากขึ้นๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว ก็จะเกิด ผลสรุปขั้นสุดท้ายเป็น ปัญญา (Wisdom)

สังคมจึงให้ความสำคัญกับคำว่า Information มากกว่า Data

อาจกล่าวได้ว่า  

Information is Power 

แล้วทำไงถึงจะทำให้มี  Information อย่างว่า

วงจรอะไรนะ   ที่มี

คิด-นำไปทำ-เฝ้าดู-สรุปผล-นำเสนอ

เทียบได้กับ P-D-C-A / P-D-S-A     

P= Plan  วางแผน (คิด)

D = Do    ทำ  (เอาแผนไปปฏิบัติ)

C =  Check , S = Study   ตรวจสอบ  ศึกษา  เพื่อเฝ้าดู ติดตามผล

A = Act    กำหนดเป็นแนวปฏิบัติ 

 

วงจรอย่างนี้  เราคุ้น ๆ ใช่ไหมคะ  ซึ่งอีกนัย ก็ คือ งานวิจัย  หรือ โครงการพัฒนางานของเราดี ๆ นี่เองค่ะ    

ทำบ่อย ๆ จนเกิดทักษะ ก็จะมี สารสนเทศวิชาการต่าง ๆ ออกมาเองค่ะ

 

 

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้  การพัฒนางานกันต่อไป นะคะ

 

 

 

และผู้เขียน  ก็ขอเชิญชวน ผู้รู้ ทุกท่าน มาแนะนำน้อง ๆ ได้ที่นี่นะคะ 

 

กัญญา

 

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

1.  ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Technology%20Information/Technology%20Information.htm

http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity1/c2.htm

http://forum.datatan.net/index.php?topic=94.0

2.  ความรู้เกี่ยวกับสารสนเทศ

ความรู้เรื่องสารสนเทศสำหรับนักวิจัย   

http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/research.htm

3.  ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

http://202.29.52.57/~48114494131/homework1.htm

4.  ความรู้เกี่ยวกับสารสนเทศทางการพยาบาล

http://gotoknow.org/blog/practice/7584

http://gotoknow.org/blog/practice/11550

http://www.dms.moph.go.th/nurse/2007_9_3/3.ppt#256,1,การใช้สารสนเทศทางการพยาบาล เพื่อการบริหาร

http://gotoknow.org/file/nursing/informatics.pdf

http://medinfo.psu.ac.th/nurse/IT%20in%20OPD.pdf

http://www.ns.mahidol.ac.th/nsid204/lesson01/conceptNI.pdf

http://www.lopburicancer.in.th/lbnurse/other/it_nurse/job_it_nurse.pdf

http://www.dms.moph.go.th/nurse/2007_12_19/7.pdf

 

ข้อสรุปจากกูรูผู้รู้มาช่วยชี้แนะเพิ่มเติมค่ะ

P
1. ประกาย  เมื่อ อา. 22 มิ.ย. 2551 @ 15:37
กล่าวว่า  เขียนงานวิชาการนั้น  จะต้องสะสมประสบการณ์และเรียนรู้ อ่านศึกษางานที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญคือควรนำงานที่เราทำอยู่ประจำนำมาเขียนให้เป็นงานวิชาการ  ต้องลองเขียนดูก่อน  ถ้าคิดว่ายังไม่มั่นใจ แนะนำว่าควรจะมีผู้ร่วมเขียนที่เคยมีประสบการณ์ ให้ท่านช่วยดูด้วย คือเขียนไปก่อน ร่างเนื้อหาที่ต้องการที่จะเขียนแล้วให้ท่านช่วยดูให้ นำมาแก้ไขศึกษาเพิ่มเติม และฝึกเขียนบ่อย ๆ ก็จะเก่งเอง

P
27. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เมื่อ อ. 24 มิ.ย. 2551 @ 07:47

กล่าวว่า  เขียนงานวิชาการนั้น อาจต้องเรียนรู้ รวมถึงฝึกการสังเคราะห์เบื้องต้นให้หลากหลาย เราจะสามารถเชื่อมโยงและเห็นภาพรวมได้ มีกระบวนการคิดแบบรวบยอด

ขอเชิญผู้รู้คนต่อไปแวะมาร่วมด้วยช่วยกันนะคะ 

ขอบคุณค่ะ

กัญญา

 

 


หมายเลขบันทึก: 189623เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2008 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)

สวัสดีคะ พี่ไก่

มีแต่พี่ไก่เยี่ยมชมงานของน้องไก่ ไก่ยังไม่เคยเยี่ยมชมงานพี่ไก่ พอได้ดุแล้วขอชื่นชมนะคะ ได้ความรู้เพิ่มเติมมากคะ

ขอแชร์ข้อคิดเห็นเรื่องการเขียนผลงานวิชาการนะคะ

ไก่เคยเข้าอบรมและสัญญาว่าจะเขียนหลายครัง มีงานอยู่ในมือหลายเรื่องแต่ไม่เคยได้เขียนเพื่อนำตีพิมพ์

ก็ขอเล่าว่าจะต้องสะสมประสบการณ์และเรียนรู้ อ่านศึกษางานที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญคือนำงานที่เราทำอยู่ประจำนำมาเขียนให้เป็นงานวิชาการ

ลองเขียนดูก่อนนะคะ ถ้าคิดว่ายังไม่มั่นใจก็ขอแนะนำว่าควรจะมีผู้ร่วมเขียนที่เคยมีประสบการณ์ ให้ท่านช่วยดูด้วย คือเขียนไปก่อน ร่างเนื้อหาที่ต้องการที่จะเขียนแล้ว แล้วให้ท่านช่วยดูให้ นำมาแก้ไขศึกษาเพิ่มเติม ฝึกเขียนบ่อย ๆก้จะเก่งเอง

สวัสดีรอบบ่ายค่ะพี่ไก่

  • ขอคาราวะค่ะ ...พี่สาวเรา รวดเร็วมาก
  • ขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่ช่วยชี้ทางให้แก่เอ๋ และเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ จะนำข้อความรู้ที่ได้ ไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เกิดเป็นบทความขึ้นมา นะคะ

ไก่คะ

ขอบคุณในการตั้งใจให้ความรู้..พี่น้องเราค่ะ

แวะมาให้กำลังใจพี่ไก่ คนสวย

และเก่ง

เยี่ยมไปเลยครับ

บันทึกนี้ดีมาก ๆ ครับ

ครบถ้วน สมบูรณ์

สวัสดีค่ะ น้องไก่ (ประกาย)

  • ยินดีต้อนรับสู่บันทึกการเรียนรู้ร่วมกันนะคะ
  • มีประสบการณ์อะไรดี ๆ มาบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่นี่ได้นะคะ
  • ถ้ามีโอกาสได้แนะนำอีกจะบอกต่อค่ะ 
  • ช่วงนี้เขียนมาบ่อย ๆ นะคะ

สวัสดีค่ะน้องเอ๋

  • ยินดีต้อนรับค่ะ
  • ถ้ามีความก้าวหน้าทางวิชาการ อย่าลืมมาบอกกันด้วยนะคะ
  • จะรอติดตามชื่นชมผลงานนะคะ 

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว

  • เราใจตรงกันนะคะ ไก่พึ่งกลับจากในเมือง เอาปริ๊นเตอร์ไปซ่มให้หลานกลับมาเปิดคอม ฯ เห็นบันทึกใหม่พี่แก้วพอดีเลยแวะไปร่วมอนุทนาถึงคุณพ่อท่านด้วยค่ะ และพี่แก้วก็มาเยี่ยมไก่พอดี
  • เชิญชวนพี่ ๆ ชำญการ APN โดยเฉพาะพี่แก้ว พี่แขก และคนอื่น ๆ  มาใช้บันทึกนี้บอกเล่าประสบการณ์ทางวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับน้อง ๆ เขาที่นี่ได้เลยนะคะพี่
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ น้องโย่ง

  • ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาให้กำลังใจพี่อย่างสม่ำเสมอ
  • ขอเชิญน้องโย่ง ซึ่งอยู่ฝ่ายการศึกษามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะคะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

DEAR MY SISTER..Kai ;

NEW WEEK IS BEGIN.
MONDAY IS START FOR LIFE TO AWAKE AND WALK TO.
WISH YOU START YOUR NEW WEEK WITH FRESH AND FUN TOGETHRT WITH HAPPY AND COLORFUL.
MY HEART WILL BE WITH YOU, KEEP YOU TO STEP UP AND FULFILL
YOUR LIFE WITH HAPPINES.

Aey ka^o^

มาแวะครับ  คงไม่มีอะไรแนะนำมากไปกว่านี้

สบายดีนะครับ

DEAR MY SISTER..Aey ;

I agree with you :-

NEW WEEK IS BEGIN.
MONDAY IS START FOR LIFE TO AWAKE AND WALK TO.
WISH YOU START YOUR NEW WEEK WITH FRESH AND FUN TOGETHRT WITH HAPPY AND COLORFUL.
MY HEART WILL BE WITH YOU, KEEP YOU TO STEP UP AND FULFILL
YOUR LIFE WITH HAPPINES.

Thanks.

 P' Kai ka ^o^

สวัสดียามเย็นค่ะ

  • ขอบคุณค่ะที่มาแวะเยี่ยมบันทึก
  • สบายดีค่ะ โปรดให้คำแนะนำนักเขียนหน้าใหม่ด้วยนะคะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

Hello PiiKai,

Got more knowledge from your blog. And getting nice song as well. Love this song kah...

LOL,

Kes

Dear sister Kes,

  • Thank for your visit in my blog.
  • Thank for attendance my record & song in this blog.
  • I hope you happy to learn & listen it.

LOL too,

Kai

สวัสดีค่ะพี่ไก่ ชื่นชมพี่จังเลยอยากเก่งเหมือนพี่ค่ะ

  • ถือเป็นคำชมนะคะ ขอบคุณค่ะ
  • ชีวิตพี่คืองาน ที่ผ่านมาก็ลุยงานเต็มที่ ตั้งใจทำ....แม้ยากลำบากพี่ก็จะหาทางช่วยเหลือตัวเองให้จงได้
  • ปีนี้จะเป็นปีที่ 25 ของชีวิตราชการแล้วค่ะ
  • ในโลกแห่งนี้มีอะไรให้เราได้เรียนรู้ร่วมกันได้ตลอดเวลาค่ะ   
  • ทุกคนเก่งสามารถได้ค่ะ อย่าท้อถอยนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจเสริมให้อีกแรงค่ะ

พี่ไก่ ครับ

แวะมาเยี่ยมครับ

ชวนไปด้นกลอนสด ครับ

ที่นี่ นะครับ

สวัสดีครับ

แวะมาทักทายครับ

ยุงเยอะจังเลยวันนี้

สวัสดีค่ะ น้องโย่ง

  • ขอบคุณค่ะที่มาเยี่ยม
  • พี่มัวแต่งรูปประดับบล็อกให้น้องใหม่ไม่ได้ดูหน้าจอล่าสุด
  • ประเดี๋ยวแวะไปดูค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ ธ.วั ช ชั ย

  • ยุงที่ไหนคะ ยุงเยอะระวังไข้เลือดออกนะคะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย

ยังไม่นอนเหรอ  อย่าดึกมากนะ

ลืมถามคุณพ่อเป็นไงบ้าง ดีขึ้นไหม

  • ไปแวะด้นกลอนสดกับน้องโย่ง
  • กำลังจะเข้านอนค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่มาเตือน
  • พ่อพักอยู่ด้วยค่ะ ยังปวดขาบ้าง
  • วันนี้น้องสาวพาพ่อแม่ไปดูบ้านใหม่กัน กลับมาเท้าบวมตึงเล็กน้อยค่ะ
  • รอพบแพทย์นัดวันที่ 26 มิย นี้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่เป็นห่วง

 

สวัสดีครัีบ

    สบายดีไหมครัีบ เข้ามาเยี่ยมชมและดื่มข้อมูลข่าวสาัร สารสนเทศครับ

รักษาสุขภาพครัีบ

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมชมและ"ดื่มข้อมูลข่าวสาัร สารสนเทศ" บันทึกในบล็อกนี้
  • เจ้าของบันทึกสุขสบายดีค่ะ ขอบคุณมาก
  • เรียนเชิญเป็นคุณครูกูรูผู้รู้ข้อมูลทางวิชาการมาเผยแพร่แลกเปลี่ยนที่บันทึกนี้ให้ด้วยนะคะ
  • ด้วยความขอบคุณค่ะ

เขียนงานวิชาการนั้น อาจต้องเรียนรู้ รวมถึงฝึกการสังเคราะห์เบื้องต้นให้หลากหลาย เราจะสามารถเชื่อมโยงและเห็นภาพรวมได้ มีกระบวนการคิดแบบรวบยอด

ผมเขียนเรื่องการคิดแบบ Critical thinking ได้ ลองไปอ่านดูนะครับ เผื่อเป็นแนวทางการเขียนงานเชิงวิชาการ

Local Focus » เราคุยกันถึงเรื่อง "วิธีคิด"

เป็นกำลังใจให้นะครับ :)

 

  • ตามมาเชียร์
  • อ้าวพี่กัญญาหรือ
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อ.ขจิต แว็บมาเชียร์ถึงที่เลยนะคะ

บล็อกนี้มีบันทึกคำถาม คนเขียนบล็อกอยากรู้อะไร? 

เป็นการถามก่อนการเรียนรู้ ซึ่งดีมากค่ะ  ทำให้วิทยากรเราได้เตรียมตัว พูดและพาทำในเรื่องที่เขาอยากรู้และสนใจค่ะ

 

ยินดีค่ะน้องหวาน  มารอด้วยกัน

ขออนุญาต share ความรู้เรื่องการเขียนเชิงวิชาการ นะคะ หวังว่าคงจะเป็รประโยชน์ให้กับทุกท่านที่สนใจการเขียนเชิงวิชาการได้ไม่มากก็น้อย เนื่องจากผู้โพสต์เองก็กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ค่ะ ประจวบกับความตั้งใจในการพลิกพลันตัวเองจากนักวิชาการสาธารณสุขไปเป็นนักภาษาศาสตร์ ก็อยากแลกเปลี่ยนความรู้กับทุกท่านที่แสวงหาความรู้อยู่เสมอ

การเขียนเป็นกระบวนการทางความคิด เพราะผู้เขียนต้องทำความคิดให้กระจ่างก่อนจึงสามารถนำความรู้ ความจำเดิมมาถ่ายทอดเป็นตัวอักษรที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้เข้าใจชัดเจน ดังนั้นการเขียนจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสะท้อนความคิด ประสบการณ์ ความรู้สึกและความสามารถในการใช้ภาษา ซึ่งผู้เขียนต้องพยายามค้นหาความหมายจากประสบการณ์ของตนและใช้ภาษาที่เหมาะสมถูกต้อง สำหรับการเขียนเชิงวิชาการ เป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้เนื้อหาเชิงวิชาการ ซึ่ง เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชานั้นๆ

การเขียนเชิงวิชาการ เป็นการเขียนเรื่องทางวิชาการที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดีและเรียบเรียงอย่างมีระเบียบแบบแผน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องที่ได้ศึกษาดียิ่งขึ้น

Academic writing หรือ expository writing หรือ Argumentative writing หรือที่เรียกว่าการเขียนเชิงวิชาการนั้นเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน แม้แต่นักเรียนต่างประเทศก็มีปัญหาการเขียนนี้ อาจถือได้ว่าเป็นความท้าทายในกลุ่มนักวิชาการ การเขียนเชิงวิชาการนั้น

ในการเขียนเชิงวิชาการนั้นเราสามารถนำทฤษฏีวาทศาสตร์ ( Rhetorical theory) มาใช้ในการเขียน นักวาทวิทยากรีกโบราณเชื่อว่า การที่จะทำให้งานเขียนเราดึงดูดผู้อ่าน(หรือผู้ฟังได้ดี จำเป็นต้องมี ปัจจัยดึงดูด สามข้อนี้ (three appeals) คือ logos ethos และ pathos

1. Logos แปลว่า Logic หรือ ตรรกะ เป็นการโต้แย้งโดยใช้หลักวิธีทางตรรกวิทยา ซึ่งแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ

1.1 induction เป็นวิธีอ้างเหตุผลแบบหาตัวอย่างมาหลายๆอัน เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปใหญ่หนึ่งอัน (ย่อยไปใหญ่) เช่น นาย ก ตาย , นาย ข ตาย, นาง ค ตาย.....นาง ฮ ตาย สรุปได้จากตัวอย่างเหล่านี้ว่า คนเราทุกคนต้องตาย (ข้อสรุปมาจากตัวอย่างที่เก็บสำรวจหลายๆอัน) ข้อดีของหลัก induction คือ ได้ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นจากการสังเกตุ และเก็บข้อมูล ถ้าข้อมูลยิ่งเยอะ ข้อสรุปยิ่งแม่นยำ วิธีนี้ใช้มากในงานเขียนเชิงวิทยาศาสตร์

1.2 deduction เป็นวิธีที่ตรงข้ามกับอันแรก เป็นการอ้างเหตุผลแบบหาหลักใหญ่มาหนึ่งหลัก แล้วนำไป apply ให้กับตัวอย่างย่อยๆ เช่น จากหลักที่ว่า มนุษย์ทุกคนต้องตาย เพราะฉนั้น ถ้านาย ก เป็นคน นาย ก ก็ต้องตาย เป็นต้น (ข้อสรุปที่ว่า นาย ก ต้องตาย มาจากหลักข้อใหญ่ที่ว่า คนทุกคนต้องตาย) ข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถนำหลักที่รู้อยู่แล้วว่าถูกต้อง ไป apply กับตัวอย่างเล็กๆ เพื่อขยายผล แต่ข้อเสียคือ เราไม่ได้ความรู้ใหม่ๆ (เพราะว่าเอาหลักใหญ่ๆ ที่เรารู้อยู่แล้วไปใช้เท่านั้นเอง) วิธีนี้ใช้มากในงานเขียนเชิง มนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์

งานเขียนหรืองานวิจัยที่ดี จะต้องมีทั้งสองวิธีอ้างเหตุผลรวมกัน เพราะเราต้องการได้ทั้ง ความรู้ใหม่ (ที่ได้จากวิธี induction) และการได้ความรู้ใหม่ก็ต้องอาศัยความรู้เก่าที่จำเป็นที่ต้องนำมาใช้เพื่อต่อยอดไปด้วย

2. Pathos สิ่งดึงดูดอันนี้เป็นการจูงใจทางอารมณ์กับผู้อ่านหรือผู้ฟัง เป็นการใช้ภาษา ใช้ตัวอย่าง ใช้คำ หรือใช้รูปภาพ หรือวิธีอื่นใดที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมกับผู้เขียน ทั้งนี้ทั้งนั้นมิใช่ให้ไปบอกโต้งๆในงานเขียนว่า “ ต่อไปนี้ผู้อ่าน ต้องรู้สึกโมโหกับสิ่งที่ข้าพเจ้าจะเขียนต่อไปนี้ ” แต่หมายความว่าจะต้องปลุกอารมณ์ผู้อ่านโดยวิธีที่แยบยล เช่น เขียนว่า “ มีแต่พวกขี้ขลาดเท่านั้นแหละที่ไม่โดดเรียน ” หรือ “ คนที่กล้าหาญเท่านั้น ที่จะกล้าโดดเรียน” ประโยคแรก เป็นการใช้ปลุกอารมณ์ทางด้านลบ (negative appeal) เพื่อจะให้ผู้อ่านเกิดความกลัวเสียหน้าถ้าไม่โดดเรียน ในขณะที่ประโยคที่สอง เป็นการปลุกอารมณ์ทางด้านบวก เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกฮึกเหิม ในการหนีเรียน เป็นต้น (สังเกตงานโฆษณาจะใช้ทั้งด้านลบและด้านบวก เช่น ไม่อยากอ้วนใช่ไหม แต่ไม่มีเวลาไปฟิตเนส นี่เลยต้องลองใช้...........ซึ่งจะทำให้คุณประหยัด..........)

3. Ethos เป็น appeal ข้อสุดท้าย แปลได้ตรงๆตัวว่า เสน่ห์ ความมีอำนาจในงานเขียน (authority) ผู้เขียนจะต้องแสดงว่า เรามีเสน่ห์ และเรามีอำนาจในงานเขียน เพื่อผู้อ่านจะได้คล้อยตามเรา สามารถทำได้โดยวิธีแสดงคุณสมบัติเหล่านี้ คือ

3.1 แสดงว่า เราเป็นคนที่พูดจริง ทำจริง ซื่อสัตย์ และเที่ยงตรงในงานเขียน เช่น ในการเขียน เราให้เกียรติคนที่มีความคิดไม่เหมือนเรา และยอมบอกข้อเสียของข้อโต้แย้งของเรา (เพื่อแสดงว่าเราไม่ปิดบัง) เช่น ในงานโฆษณาชิ้นหนึ่ง “ ถึงแม้ผลิตภัณฑ์เราจะมีราคาสูงกว่าสินค้าชิ้นอื่นๆในท้องตลาด แต่.........” เราไม่ปิดบังข้อเสียของเราเกี่ยวกับราคาสูง ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเราซื่อสัตย์ เป็นต้น

3.2 แสดงว่าผู้เขียนเป็นผู้มีความสามารถ และรู้จริงในสิ่งที่เขียน(หรือพูด) เช่น มีการค้นคว้ามาอย่างดี มีการ back up ข้อมูลด้วยงานวิจัยที่เป็นที่เชื่อถือชิ้นอื่นๆ ไม่สะกดคำผิด หรือ ใช้ไวยากรณ์ผิด เป็นต้น เหมือนกับถ้าจะโฆษณายาแก้สิว คงไม่ใช้ พรีเซนเตอร์ที่หน้าเป็นสิวมา ซึ่งจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ

3.3 แสดงว่าเราเป็นผู้เขียนที่ใจกว้าง เปิดรับความคิดเห็นที่ต่างไป และไม่มีอคติ และไม่เขียนเพื่อประโยชน์ของเราฝ่ายเดียว เช่น ไม่คิดแต่จะโจมตีฝ่ายตรงข้าม (คือคู่แข่งหรือไอเดียที่ไม่เหมือนของเรา) แต่ต้องแสดงให้เห็นว่างานเขียนของเรามีดีกว่าหรือน่าเชื่อถือกว่าของคนอื่นๆอย่างไร โดยที่ไม่ใช้คำหยาบคาย ดูถูก เสียดสี งานเขียนหรือเหตุผลของงานเขียนหรือคนอื่นๆเป็นต้น

หลักทางวาทวิทยาสามข้อที่กล่าวข้างต้น สามารถนำไปใช้ได้กับงานเขียนทุกประเภท และถ้าใช้อย่างถูกต้องแล้วจะทำให้งานเขียนมีความหนักแน่น และดึงดูดผู้อ่านหรือผู้ฟัง

นอกจากนี้ ยังมีหลักที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเขียนเชิงวิชาการที่เป็นหลักสากลในการเขียนเชิงวิชาการทั่วโลก ถ้าหากมีเวลา คงจะโพสต์แลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไปค่ะ หรือหากท่านใดสนใจลองศึกษาจากหนังสือ The craft Of Research ของ Wayne C. Booth and others นะคะ เค้าเขียนไว้น่าสนใจมากค่ะ

ในแวดวงการแพทย์และสาธารณสุขของเรา หากนำหลักการเขียนเชิงวิชาการไปประยุกต์ใช้ ก็จะทำให้งานเขียนทางวิชาการของเรามีความน่าสนใจและเพิ่มคุณค่าในงานวิชาการที่เราทำมากยิ่งขึ้น ท่านผู้อ่านลองนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ ท้าทายดีเหมือนกันค่ะ

  • เขียน ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆอย่างตั้งใจ
  • โยนทิ้งไปซักพันครั้งน่าจะได้งานวิชาการดี ๆสักชิ้นนะ
                                               
                                                               ครูดี

ขอบคุณค่ะ คุณ  Nga   ที่นำสิ่งดี ๆ มาให้เรียนรู้ 

นักล่างานวิชาการ งานเขียน ได้ประโยชน์แน่นอนค่ะ   

ขอบคุณมากนะคะ

 

P   ถูกต้องแล้วค่ะ คุณ  ครูดี

  • เขียน ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆอย่างตั้งใจ
  • โยนทิ้งไปซักพันครั้งน่าจะได้งานวิชาการดี ๆสักชิ้นนะ

เห็นด้วยค่ะ  งานในมือมีเยอะมากๆ รบกวนความคิด ต้องโยนทิ้งบ้าง  ซึ่งถ้าเราไม่ตั้งใจจริง หรือทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ยากที่งานวิชาการจะสำเร็จค่ะ 

ขอบคุณค่ะที่มาแลกเปลี่ยน

 

 

สวัสดีค่ะ

เข้ามาอ่าน มีประโยชน์มาก เพลงก้อไพเราะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ  P คุณ eng_chacha

ขอบคุณที่สนใจนะคะ

คงใช้ประโยชน์ได้บ้างนะคะ

ให้กำลังใจในการเขียนงานวิชาการค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท