ประสบการณ์ด้าน IT ของฉัน (1)


IT ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ หากเราไม่ย่อท้อ และยอมแพ้ เราสามารถทำได้แน่นอนค่ะ

ฉันเมื่อจบการศึกษาพยาบาลมาหมาด ๆ  ปี 2526  ได้เข้าทำงานเป็นกลุ่มเปิดตึกอุบัติเหตุเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2526 เมื่อเริ่มทำงาน พวกเราออกแบบตารางจัดเก็บข้อมูลพวกเราเรียกว่าทะเบียนผู้ป่วย  

ต่อมาพวกเราต้องทำสถิติผู้ป่วย  พวกเราพยาบาลไม่ได้เรียนมาทางสถิติและเวชระเบียนมาโดยตรง การทำสถิติก็ยาก ต้องใช้เวลาส่วนตัว เพราะไม่ใช่งานประจำ  การทำสถิติต้องใช้มือทำเองหมด ข้อมูลจากเวชระเบียนที่มีก็ไม่ตรงกับความต้องการข้อมูลของหัวหน้าเราที่อยากได้ อยากมีใช้เป็นของตนเอง  จึงมีนโยบายจัดทำสถิติรายานประจำปีไว้ใช้เอง  และเมื่อปี 2531  ดิฉันได้รับมอบหมายเป็นกรรมการสถิติแผนก ฯ  ฉันหาทางจัดทำข้อมูลนำเสนอแบบตารางตัวเลข และแผนภูมิ  ฉันกับน้อง ๆ พยาบาล สมัยนั้นเรียนรู้วิธีการจัดทำสถิติ  ฝึกการแจงนับ และหาค่าร้อยละ   และฝึกวาดภาพแผนภูมิ  ระบายสีสัน สวยงาม  แต่ทำมือก็มีโอกาสผิดพลาด ข้อมูลคลาดเคลื่อน  ถ้าผิดต้องนั่งทำกันใหม่ทั้งหมด ทั้งเสียความรู้สึกและเสียเวลาส่วนตัวเพื่อกลับมาทำใหม่  

ฉันคิดว่าหาทางจะทำอย่างไรทำให้งานฉันง่ายขึ้น  รายงานที่ฉันทำน่าดู น่าใช้ขึ้น  ปีต่อมาฉันพัฒนาตนเองเพิ่มอีกขั้น  โดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดจัดทำรายงานที่เป็นตารางและตัวเลข แผนภูมิยังใช้วิธีการวาดภาพเช่นเคย  ดูดีขึ้นมาหน่อย   ประมาณปี 2533 ฉันเห็นเขาใช้คอมพิวเตอร์ที่ ICU คำนวณขนาดยา และฉันเห็นเพื่อนฉันที่หน่วยมะเร็งมีคอมพิวเตอร์ใช้ด้วย   ฉันอยากรู้ มันทำอะไรได้อีกบ้าง นอกจากคำนวณปริมาณยา  ฉันมารู้ว่ามีโปรแกรมจัดทำรายงาน  Word Processor สมัยนั้น คือ โปรแกรม CU Writer ของราชวิถี โปรแกรมจัดทำ Spred Sheet วิเคราะห์สถิติ คือ โปรแกรมโลตัส 123  โปรแกรมจัดทำระเบียนฐานข้อมูล คือ Dbase ฉันเริ่มสงสัยมันทำงานได้อย่างไร  กลัว ก็กลัว  กลัวมันพังในมือของฉัน  ฉันไปแอบใช้คอมพิวเตอร์ทั้งที่ ICU และหน่วยมะเร็ง หลังเลิกงาน  เรียนรู้และฝึกทำไปเรื่อย ๆ ติดขัดฉันจะสอบถามผู้รู้  สมัยนั้นกลุ่มที่รู้คอมพิวเตอร์ก่อนเพื่อนน่าจะอยู่ที่แผนก X-Ray ทำอะไรได้ ฉันภูมิใจ  ทำอะไรยังไม่ได้ ฉันไม่ย่อท้อ ทั้งสอบถามผู้รู้ และหาซื้อหนังสือมาอ่านและฝึกทำ  ทำๆแก้ ๆ ไปจนได้ 

พัฒนาการคอมพิวเตอร์และโปรแกรมรุดก้าวหน้า จากระบบปฏิบัติการ Dos เป็น Windows และโปรแกรมใช้งานจากตระกูล Microsoft  ฉันก้าวตามไม่ย่อท้อ  
โปรแกรมจัดทำรายงาน  Word Processor โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรมจัดทำ Spred Sheet วิเคราะห์สถิติ จัดทำระเบียนฐานข้อมูล คือ โปรแกรม Microsoft Excel โปรแกรม Microsoft Access   และ พบว่า  มีโปรแกรม Microsoft  Powerpoint เอาไว้นำเสนอผลงาน 

เอาละซิ โปรแกรมเหล่านี้ ดีจริง ๆ   ทำงานให้เราได้ทุกอย่าง  เพียงปลายนิ้ว   ประกอบกับช่วงปี 2535 รัฐบาลสนับสนุนให้บุคลากรไปอบรมการใช้โปรแกรม โปรแกรม Microsoft Excel ขณะนั้นเป็น Version 5

ฉันติดตามการใช้งานโปรแกรมในระบบปฏิบัติการ  Windows  สั่งการโดยใช้เมาส์ ตั้งแต่ Version 2  Version   6  95  97  98  99 2000 2003 จนล่าสุด 2007 ฉันก็พยายามตามให้ทัน  ฉันมารู้ว่า ยิ่งใหม่ ๆ ยิ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น  ฉันจึงไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และฝึกฝนจนฉันชำนาญ  ฉันสามารถใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง 

ปี 2536  ฉันมีโอกาสไปศึกษาการพยาบาลเฉพาะทางสาขาศัลยกรรมอุบัติเหตุ  ที่ศิริราช  ฉันต้องทำรายงานส่งอาจารย์  ทั้งเขียนและพิมพ์ส่งรายงาน   ฉันรู้จากอาจารย์ค้นคว้าข้อมูลจาก ซีด๊รอม และอินเทอร์เน็ตมาให้   

ปี 2537  เรื่องงาน ฉันได้รับมอบหมายจัดทำทะเบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาล  เอาละสิ จะทำอย่างไร  ทำไมไม่เป็นหน้าที่ของงานเวชระเบียนของโรงพยาบาล    ขณะนั้นเน้น Registry ผู้ป่วยทั่วไป  การจัดทำโปรแกรมรองรับก็แสนแพง  ฉันต้องทำงานกับเครือข่ายภายนอกโรงพยาบาลผ่าน สสจ ขอนแก่น  เขาทำงานร่วมกันกับกองระบาดวิทยา  จัดหาโปรแกรมมาให้ใช้ เป็นระบบปฏิบัติการ Dos  โปรแกรม Dbase เอาละสิ ฉันไม่ถนัด Dos และ Keyboard  ช่างยากเย็น  เวลาโปรแกรมมีปัญหา  ข้อมูลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ แต่โปรแกรมไม่มีที่ให้บันทึก  ข้อมูลไม่ครบ ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์ที่โรงพยาบาลขอนแก่น ทำอย่างไรได้ เราทำเองไม่เป็นก็ต้องพึ่งพาคนอื่น  ฉันรู้สึกไม่ดี ท้อแท้ หดหู่  เป็นถึงพยาบาลต้องอุ้ม CPU ไปหาโปรแกรมเมอร์ที่อื่นช่วยแก้ไขให้ เขาก็ดีหลายช่วยแก้ไขโปรแกรมให้ฉันทุกอย่างตามที่ฉันต้องการ ทำให้ฉันสามารถส่งข้อมูลรายงานให้สสจ ขอนแก่นทันทุกวันที่ 5 ของเดือน

ปี 2539 ฉันได้รับเกียรติจากคณะแพทยศาสตร์  ให้เป็นผู้ช่วยวิทยากรสอนการใช้งานโปรแกรม Microsoft  Powerpoint โดยมีอาจารย์แพทย์จากภาควิชารังสีเป็นวิทยากร ท่านเก่งมาก ระหว่างนี้ฉันได้เรียนรู้การใช้งานโปรแกรมเพิ่ม  คือ  Internet รู้จัก WWW รู้จัก yahoo และ  E-mail  ฉันก็ฝึกใช้และทำจนได้ 
การสอน IT ของอาจารย์หมอ  ฉันสังเกตเห็นอาจารย์หมอสอนต้องพาฝึกทำซ้ำ ๆ กว่าผู้เรียนจะทำได้  ผู้สอนต้องใจเย็น ๆ ทำเป็นตัวอย่าง  ย้อนกลับมาช่วยให้ผู้เรียนเรียนทำจนได้  ยิ่งผู้เรียนเขาภาคภูมิใจ เขาจะจำไปตลอด และที่สุดเขาจะทำได้เอง  และถ้าเขาฝึกทำบ่อย ๆ ก็จะเกิดทักษะความชำนาญ    

ต่อมาฉันได้พัฒนาตนเองเป็นวิทยากรในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น  โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรม Microsoft  Powerpoint  

ฉันต้องอยู่สภาพนั้นนานนับปี  ชักไม่ไหว ทั้งงานประจำพยาบาลและงานเกี่ยวกับข้อมูลผู้บาดเจ็บ ทำให้ทั้งเหนื่อยและล้า  ฉันรู้สึกเหนื่อยเป็นสองสามเท่า  แถมผู้คนไม่เข้าใจว่าฉันทำอะไร 

เล่ายังไม่จบนะคะ   ถูกตัดตอน อิอิ 

ติดตามตอนต่อไปนะคะ

กัญญา

หมายเลขบันทึก: 259458เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ อ.ไก่
  • ป้าแดง ใช้อินเตอร์เนตมาสิบปีกว่าแล้ว ยังไปไม่ถึงไหนเลยค่ะ
  • :-)))))

สวัสดีค่ะป้าแดง  P  pa_daeng

  • ป้าแดงเก่งออกมีผลงานบันทึกมากมาย
  • IT ไม่ยากอย่างที่คิด ฝึกใช้บ่อย ๆ ปะเดี๋ยวก็เก่งค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณไก่ ที่ทำประโยชน์ด้าน IT แก่เรา

ประสบการณ์ที่ได้ที่มี จากการมีโอกาสที่ได้รับจากผู้บริหารทางการพยาบาลและผู้ขอใช้บริการค่ะพี่แก้ว

ขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท