Up to you


ศิริชัย ชอบพูดคำว่า Up to you แล้วก็แปลให้ฟังอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจง่ายว่า แล้วแต่มึง

 

ผู้เขียนไม่เคยใช้สำนวน Up to you มาก่อน และได้รู้จักคำนี้จากเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่ง ซึ่งถ้าท่านที่เคยติดตามผู้เขียนมาสักระยะ ก็จะรู้จัก เภสัชกรศิริชัย ระบาเลิศ หรือเสี่ยตุ้ก หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นอย่างดี

ศิริชัย ชอบพูดคำว่า Up to you แล้วก็แปลให้ฟังอย่างตรงไปตรงมา เข้าใจง่ายว่า แล้วแต่มึง

ผู้เขียนก็ยังคงไม่เคยใช้ Up to you ต่อไป เว้นแต่เมื่อโดนศิริชัยยัดเยียดให้ มาคิดถึงคำนี้อีกครั้ง เมื่อนั่งอบรมหลักสูตร ผู้นำ Proactive อยู่ที่โรงแรมชมวิว อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารของ ผู้ว่าฯชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เมื่อวันที่ ๒๑-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา เมื่อผู้บรรยายพูดถึงคำว่า ปลดปล่อยศักยภาพ

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ Up to you

Up to you แปลให้น่าฟังก็ แล้วแต่ความเห็นของคุณ ตามใจคุณ แล้วแต่คุณ

เวลานั่งที่โต๊ะสั่งอาหาร ผู้เขียนมักตอบว่า ตามใจ เมื่อภรรยาถามว่า จะกินอะไร Up to you

ผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนไม่น้อย ชอบที่จะให้ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจเสียทุกเรื่องทุกราว อะไรๆก็ Up to you แล้วแต่นาย

ในที่สุด ผู้บังคับบัญชา ก็เคยชิน คิดแทนทุกเรื่อง เหมือนผู้เขียนที่สูญเสียอำนาจการตัดสินใจไปแล้ว เมื่อบอกว่าตนเองอยากจะกินอะไร ภรรยาก็จะบอกว่า อย่ากินเลยเมนูนั้นเอาเมนูนี้ดีกว่า Up to me

ในฐานะผู้บังคับบัญชา ผู้เขียนไม่สุขใจนัก เมื่อเจอผู้ใต้บังคับบัญชาประเภท Up to you

ทำไมจะต้องมาถามความเห็นเสียทุกเรื่องราว ทุกอย่างต้องรอให้ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางท่านไม่เสนอแนวคิดอะไรเลย มาด้วย สมองใสๆ อย่างแท้จริง

หากท่านไม่คิดอะไรเลย ท่านจะแสดงศักยภาพในตัวเองออกมาได้อย่างไร

ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้เขียนก็เบื่อผู้บังคับบัญชา ประเภท Up to me

ผู้บังคับบัญชาที่ไม่ยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้คิด ได้เป็นตัวของตัวเอง

ทุกคนมีศักยภาพเพียงพอในการทำงาน ไม่ต้องเป็นห่วง เป็นกังวลไปเสียทุกเรื่อง

 

ต้องรู้จัก ปลดปล่อยศักยภาพ ของผู้ใต้บังคับบัญชาบ้าง

 

หมายเหตุ ทั้งหมดนี้ยกเว้น ผู้บังคับบัญชาที่บ้าน ที่ยังคงเหมือนเดิม อิอิ


คำสำคัญ (Tags): #up to you
หมายเลขบันทึก: 361238เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 04:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

P

ขอบคุณท่านรองนายกฯครับ

ได้อ่านUp to you แล้วรู้สึกดีค่ะและจะนำไปใช้ และบทความต่างๆที่ท่านเขียนดีมากและมีส่วนประกอบKMมากมายดีจริงๆๆ

การทำงานจริง ๆ ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจจะต้องดู Style ของหัวหน้าด้วย หัวหน้าบางคนก็ up to me ไม่ยอมให้ลูกน้องปลดปล่อยศักยภาพอะไรเลย บางคนก็ยอมให้ได้บ้าง ลูกน้องจึงต้อง up to you ลูกน้องอาจจะต้องเรียนรู้หัวหน้าและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ด้วยด้วยสถานการณืไหนควร up to you หรือ up to me

สุดยอดครับอาจารย์

up to you

หากอยากได้ Feel ควรออกเสียงเป็นสำเนียงอีสาน ว่า "แล่วแต่มึ้ง."........(อันนี้หากสนทนากับคู่สนทนาที่ไม่ค่อยฟังความเห็นคนอื่น) สำนวน... "UP TO U"... ก้อจะได้ Feel ทาง Negative ตามต้องการ นะ ผมว่า อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท