อยากเอาชนะ


ท่านจึงจะเอาชนะผู้อื่นได้ เป็นการชนะทางใจ

ในทุกสังคม บุคคลในสังคมย่อมต้องการการยอมรับจากผู้อื่น การได้รับการยอมรับ คือการมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเด่นเหนือผู้อื่น ซึ่งก็คือ ความสามารถในการเอาชนะผู้อื่นนั่นเอง

การเอาชนะทางกาย เป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา

ตัวใหญ่กว่า กำลังมากกว่า แรงดีกว่า ย่อมเอาชนะ ตัวเล็กกว่า กำลังน้อยกว่า แรงด้อยกว่า

แต่ การเอาชนะทางใจ นั้น ไม่สามารถสู้กันด้วยกำลังในใจ ต้องสู้ด้วยการกระทำ การแสดงออก ซึ่งบ่งบอกถึง พลังใจ

ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจนึกถึงเรื่องนี้จาก นายแพทย์โสภณ เมฆธน ท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 18 เมื่อคราวมาตรวจราชการและนิเทศงาน จังหวัดอุทัยธานี ประจำปี 2553 รอบแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2553

ท่านบอกว่า

พึงเอาชนะผู้สูงกว่าด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน 

 พึงเอาชนะผู้ต่ำกว่าด้วยการให้ 

 พึงเอาชนะผู้เท่าเทียมกันด้วยความเพียร

ผู้เขียนพิจารณาแล้ว เห็นว่า ในองค์กรหนึ่งๆ ย่อมมีทั้ง ผู้สูงกว่า ผู้ต่ำกว่า และ เท่าเทียมกัน

 

ผู้สูงกว่า อาจไม่สูงกว่าที่ อายุ แต่สูงกว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่

ผู้สูงกว่า อาจไม่สูงกว่าที่ตำแหน่งหน้าที่ แต่สูงกว่าที่อายุ

ผู้ต่ำกว่า อาจไม่ต่ำกว่าที่ อายุ แต่ต่ำกว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่

ผู้ต่ำกว่า อาจไม่ต่ำกว่าที่ตำแหน่งหน้าที่ แต่ต่ำกว่าที่อายุ

แม้ผู้ต่ำกว่า อาจต่ำกว่าทั้งอายุและตำแหน่งหน้าที่ แต่ก็อาจสูงกว่ากว่า ใน ประสบการณ์

ผู้สูงกว่า อาจไม่สูงกว่าใดๆเลย เพียงสูงกว่าเพราะ ทรัพย์ศฤงคาร

 

ผู้สูงกว่า ด้านหนึ่ง จึงอาจเป็น ผู้ต่ำกว่า ในอีกด้านหนึ่ง

ผู้ต่ำกว่า ด้านหนึ่ง จึงอาจเป็น ผู้สูงกว่า ในอีกด้านหนึ่ง

ไม่มีใคร สูงกว่าทุกด้าน และไม่มีใคร ต่ำกว่าทุกด้าน

เช่นกัน หลายอย่างอาจ เท่าเทียมกัน

เราจึงต้องปฏิบัติ ธรรมะ  ดังกล่าว ทั้ง  3 สถานะ แม้กับบุคคลเดียวกัน

 

เมื่อจบแพทย์ใหม่ๆ ผู้เขียนคิดว่า ตนเอง สูงกว่าทุกคน แต่ก็พบในที่สุดว่า เรา ต่ำกว่า คนอื่น ในหลายเรื่อง

เมื่อเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้เขียนคิดว่า ตนเอง สูงกว่าทุกคน แต่ก็พบในที่สุดว่า เรา ต่ำกว่า คนอื่น ในหลายเรื่อง

เมื่อเป็น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้เขียนจึงพบว่า ตนเอง ต่ำกว่าแพทย์ ต่ำกว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาล ต่ำกว่าคนงาน ต่ำกว่าคนขับรถ และ ต่ำกว่า คนอื่น ในหลายเรื่อง

 

ในฐานะผู้ต่ำกว่า เมื่ออ่อนน้อม ก็จงอ่อนน้อมทั้ง กายและใจ คำพูด การปฏิบัติตน

ในฐานะผู้สูงกว่า เมื่อให้ ก็จงให้ด้วยใจ ให้แล้ว ต้องไม่คิดมาก ไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังเข้าไปครอบครองยึดครอง

ในฐานะผู้เท่าเทียมกัน เมื่อเพียรพยายาม ก็ต้องเพียรในเนื้องาน มิใช่ในความเจ้าเล่ห์เพทุบาย

 

ท่านจึงจะเอาชนะผู้อื่นได้ เป็นการชนะทางใจ


คำสำคัญ (Tags): #ชนะ
หมายเลขบันทึก: 380642เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น่าสนใจมากครับ เอาชนะด้วยการให้ ยิ่งให้ยิ่งได้ครับ ขอบคุณครับ

ชนะใด ไม่เท่าชนะใจตนนะครับ

ขอบพระคุณท่าน boonchai สำหรับบันทึกครับ...

สวัสดีครับ     สาระมีค่ามหาศาลทีเดียวครับ  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

P คุณ ขจิต

P คุณ Phornphon

30 คุณ ธนา

ขอบคุณครับที่แวะมา comment

เป็นการ ให้ (กำลังใจ) อย่างหนึ่ง

 

คนเราบังคับตัวเองได้มากเท่าใด ยิ่งเป็น........ผู้ประเสริฐมากเท่านั้น

การเอาชนะใจตนเอง คือ การมี “ศีล” อันประเสริฐ

เพียงแค่คิด เหมือนจะง่าย แต่... ในความเป็นจริงนั้น ทำได้ยากมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีอัตตาสูง คิดว่าตนเอง สูงงงง กว่าผู้อื่น ต้องเป็นผู้ที่หมดตัวหมดตนในระดับหนึ่งจึงทำได้

ในฐานะผู้ต่ำกว่า...ขอสองอย่างก็พอค่ะ...

...ให้อภัยและให้โอกาส...

ในประสบการณ์อันน้อยนิด...เชื่อว่าทุกคนประสงค์อยากทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ไม่มีใครอยากทำผิดพลาด

แต่ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่อยู่เหนือการควบคุม บางครั้งสิ่งที่ไม่คาดหวังก็มักจะเคาะประตูเข้ามาทักทายโดยที่เราไม่ได้เชิญ

สิ่งที่เป็นกำลังใจให้ก้าวต่อไปคือการให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาดและการให้โอกาสได้เริ่มต้นใหม่...

...ทั้งจากตัวของเราเองและผู้คนรอบข้าง ...

...แค่นี้ก็พอ...

ให้อะไรก็ได้ที่ผู้รับมีความพึงพอใจและมีความสุข ก็ถือว่าได้ให้สิ่งที่ดีแก่ผู้อื่นแล้วเพราะผู้ให้อาจต้องมีการเสียสละทั้งความรู้สึกและทรัพย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท