ปัญหาและการวางแผนแก้ไขสถานการณ์เรื่องเค้าโครงวิจัยของพี่พยาบาล รพ.สารคาม


พี่พยาบาลแห่ง รพ.สาร คาม เตรียมเค้าโครงเรื่องการจัดอัตรากำลังพยาบาล ไปสอบเค้าโครง แต่ปัญหาและอุปสรรค คือ ภาระหน้าที่การงานในแต่ละวัน ที่ต้องอยู่เวรที่ตึก มีประชุมอยู่บ่อยๆ ทำให้มีเวลาอ่านหนังสือน้อย

หรือ แทบไม่มีเวลาที่จะได้อ่านทำความเข้าใจมากนัก

เมื่อถึงเวลาไปสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ จึงตอบคำถามจากประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านการรับรู้มา แต่ไม่ผ่านเพราะคณะกรรมการสอบพิจารณาเรื่องของตัวแปร ขอบเขตการวิจัย และจุดมุ่งหมายแล้ว เห็นว่า มีข้อบกพร่องมากมาย

คณะกรรมการสอบจึงให้คำแนะนำ ให้เปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษาที่ควบคุมวิทยานิพนธ์ และให้เปลี่ยนหัวข้อเรื่องใหม่พร้อมกับแนะนำโครงเรื่องใหม่ให้ไปค้นคว้าให้ อย่างเสร็จสรรพ

 

หัวข้อเรื่องใหม่ที่น่าสนใจ และพี่พยาบาลกลับไปค้นหาข้อมูลเพื่อมาปรึกษากับอาจารย์ เป็นเรื่องของการประเมินผลสื่อสารสนเทศในคลินิกเบาหวาน เพื่อจะดูว่า ข้อมูลข่าวสาร สื่อต่างๆที่เผยแพร่ให้ความรู้กับผู้มารับบริการนั้น มีประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหน

 

อีก 1 สัปดาห์ ต่อมา เมื่อเธอไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาตามวัน เวลาที่ได้นัดหมายไว้  ตั้งแต่เช้า อาจารย์ที่ปรึกษาดันติดประชุมทั้งเช้าและบ่าย จนต้องมาพบอีกในวันถัดไป ก็ติดประชุมอีก หลังจากรอมาอย่างยาวนานก็ได้พบอาจารย์ที่ปรึกษาในช่วงบ่ายหลังเลิกประชุม

ปรึกษาเค้าโครงวิจัยเรื่องใหม่ อาจารย์ไม่เห็นชอบด้วยกับนิสิต แนะนำให้เปลี่ยนหัวข้อเรื่องใหม่อีก

ทำเอาพี่พยาบาลเกิดอาการท้อถอย จนพาลจะเลิกทำ.. ไม่อยากจะเอาแล้ว ปริญญา

ปัญหาสำคัญคือ
1. พี่พยาบาลต้องอยู่เวรที่ตึกเหมือนปกติ จึงไม่มีเวลาทำความเข้าใจ อ่านเอกสารที่มีอยู่ เพื่อไปปรึกษาหัวข้อวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษาได้
2. อาจารย์ ประเมินความเป็นไปได้ของการทำวิจัยของนิสิตว่า มีโอกาสเสร็จมากน้อยแค่ไหน เมื่อพี่พยาบาลไม่มีเวลาศึกษาเอกสารมาก่อน ทำให้ตอบข้อซักถามของอาจารย์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
3. การ เตรียมเค้าโครงจะใช้เวลานาน พี่พยาบาลต้องหาจังหวะลาพัก เมื่อจะต้องมาเตรียมหัวข้อวิจัยใหม่ ต้องใช้เวลารวบรวมสมาธิ หาเวลาในการสืบค้นเอกสารและเรียบเรียงเนื้อหาอยู่พอสมควร
4. เมื่อเวลาไปปรึกษากับอาจารย์ พี่พยาบาลทำได้เพียงถือเอกสารที่สืบค้นมาแล้วไปเล่ารายละเอียดให้อาจารย์ที่ปรึกษารับทราบ
5. อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นอาจารย์ทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ แต่หัวข้อวิจัยของพี่พยาบาล เป็นงานทางด้านพยาบาล 

 

แนวทางที่น่าจะแก้ไขสถานการณ์ได้ในตอนนี้
1. เมื่อ พี่พยาบาลอยู่เวรที่ตึก ไม่มีเวลาทำความเข้าใจ ก็จะต้องใช้เวลาว่างที่มีน้อยนิดให้เป็นประโยชน์ มีเพื่อนร่วมรุ่นช่วยกระตุ้น ซักถามประเด็น ให้พี่พยาบาลระบุขอบเขตวิจัย วัตถุประสงค์ที่ต้องการวิจัยออกมาให้ชัดเจน
2. เมื่อ มีความชัดเจนมากขึ้น เอาแนวทาง ประเด็นมาสืบค้นเอกสารเพื่อหาข้อมูลเขียนโครงร่างวิจัยให้เสร็จโดยเร็ว แต่เอกสารในห้องสมุดหาได้น้อย แต่ก็ต้องพยายามค้นให้เต็มที่ จากเอกสารทีมีน้อยนิด เปิดไปที่หน้าเอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม แกะรอยสืบค้นหาเอกสารจากเอกสารวิจัยที่มีผู้สืบค้นไว้แล้ว เพราะในเวลาอันสั้น  คิดไม่ออกว่า จะใช้คำสืบค้นคำใดบ้างในการหาเอกสารที่ต้องการให้ได้เร็วที่สุด
3.  เมื่อ ได้เอกสารในแนวทางที่อยากจะทำเค้าโครงวิจัยออกมา แต่ในความเป็นจริง พี่พยาบาลยังคงไม่มีเวลาที่จะทำความเข้าใจกับเอกสารอยู่ดี ใช้เวลาว่างอันน้อยนิดให้เป็นประโยชน์ เพื่อนที่ช่วยกระตุ้นช่วยเหลือได้ หยิบเอกสารที่สืบค้นมาได้ มาเปิดดูตามหัวข้อที่จะต้องเขียนในโครงร่างวิจัย
ตั้งแต่บทนำ วัตถุประสงค์ ขอบเขต เรื่อยไปจนถึงวิธีดำเนินการวิจัยอยากจะทำวิจัยในลักษณะนี้หรือไม่ หรือเพิ่มเติมจากในเอกสารนี้.

เมื่อพี่พยาบาลตัดสินใจและพูดออกมา ก็ทำการจดบันทึกทันที  หากให้เจ้าตัวคิดและเขียนออกมาจะใช้เวลานาน แต่เพื่อนที่ช่วยกระตุ้นจะทำให้เกิดกรรวบรวมประเด็นได้ในเวลาที่น้อยลง

เอาแบบนี้ใช่ไหม ข้อ 1.  …. แบบนี้นะ หรือว่าเพิ่มตรงไหนอีก

นั่งคุยไป เขียนไปแบบสดๆ ให้เห็นโครงร่างออกมา จะมองเห็นปริมาณงานที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นกำลังใจให้สู้ต่อ เขียนจนได้หัวข้อครบสมบูรณ์
4. เมื่อนำเค้า โครงฉบับร่างที่เขียนขึ้น มาพิมพ์ หรืออ่านอีกครั้ง พี่พยาบาลจะสามารถเพิ่มเติม หรือลดประเด็นที่ต้องการเข้าไปได้ทันที หรือแม้ว่าจะไม่มีเวลาที่จะหยิบมาอ่านอีกครั้ง ก็สามารถนำเค้าโครงที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาได้

5. เมื่อมีเอกสารเค้าโครงวิจัยที่จะ ทำ จะทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ศึกษาประเด็นที่รวบรวมมา จะแตกต่างจากครั้งที่ผ่านๆมา ที่ไม่มีเค้าโครงที่จะดำเนินการวิจัยมาให้อาจารย์ได้อ่านเลย ทำให้อาจารย์เสนอแนะประเด็นใหม่ไปเรื่อยๆ เพราะประเมินว่านิสิตคงจะไม่เข้าใจในประเด็นเดิม หรือประเมินว่า หัวข้อวิจัยเดิม นิสิตไม่น่าจะทำได้

 

ดูแล้วสถานการณ์เหล่านี้ นิสิตนักศึกษาพยาบาลหลายท่าน คงไม่ต้องมาหาทางแก้ไขในลักษณะนี้มากนัก หรือบางท่านอาจจะยิ่งกว่านี้ นายบอนจึงหยิบยกเรื่องราวในอีกด้านหนึ่งของการทำวิจัยมาบันทึกไว้บ้างครับ

หมายเลขบันทึก: 35632เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เห็นด้วยกับคุณอาษาอย่างยิ่งเลยครับ เพราะสามารถนำไปใช้กับการทำวิจัยได้ในทุก ๆ ระดับทั้งวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ครับ แต่ถ้าจะทำให้ประสบความสำเร็จสูงสุด จะต้องแก้ไขที่ตัวอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยครับ ในฐานะที่เคยเป็นทั้งนักศึกษาและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาก็ได้เห็นภาพหลาย ๆ อย่างครับ โดยเฉพาะปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันก็คือ อาจารย์ที่ปรึกษา ลืมหน้าที่ที่แท้จริงของการเป็น "ครู" ที่จะส่งเสริมและเกื้อหนุนให้นักศึกษาทำผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ จนเสร็จเรียบร้อย ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างความรู้อย่างมากให้กับนักศึกษา ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาบางครั้งก็ทำหน้าที่เพียงแค่เป็นผู้สั่งและเป็นผู้ตรวจเท่านั้น ลืมทำหน้าที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิด กระตุ้นให้นักศึกษาทำ ทำเพียงแค่นักศึกษาทำมาอย่างไรก็ตรวจแค่นั้น ผิดก็ว่าผิด แค่นั้น ไม่แนะนำต่อว่า นักศึกษาควรจะทำอย่างไร นักศึกษาทำไม่ได้ก็ไม่ค่อยพยายามมากขึ้น ๆ ที่จะทำให้นักศึกษาทำให้ได้ ทำหน้าที่เพียงแค่ปรึกษาอย่างเดียวครับ มีอะไรก็มาปรึกษา เป็นแบบเชิงรับครับ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องทำงานเชิงรุกด้วย ต้องจี้ ต้องกระตุ้นนักศึกษา ต้องจัดกระบวนการคิด ต้องใช้วิธีการทุกวิถีทางให้นักศึกษาทำงานครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงให้ได้ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นครับ เพราะตอนที่ผมเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษา แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่นักศึกษาปริญญาตรี ผมก็พยายามให้เวลาและทุ่มเทให้เขาอย่างมากที่สุด ทำทุกวิถีทางที่จะให้เขาได้ความรู้ ทำงานวิจัยให้เสร็จด้วยตัวเขาเอง ถึงแม้ว่าจะเหนื่อย จะต้องลงทุนลงแรงแค่ไหน ผมก็จะทำให้นักศึกษาได้ความรู้ให้มากที่สุดครับ อันนี้เป็นคำนิยามของอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ในความคิดของผมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท