หยิบศักยภาพของนักศึกษาปริญญาเอกมาใช้ประโยชน์ # 3 ; การเชื่อมโยงพัฒนบูรณาการศาสตร์กับมุมมองของคุณขจิต คุณปภังกร คุณนิว ครูน้อย-สิริพร และ ผอ.บวร


อ่านข้อคิดเห็นของหลายท่านจากบันทึกหยิบศักยภาพของนักศึกษาปริญญาเอกมาใช้ประโยชน์ ; มองดูคุณขจิต ฝอยทอง

จนกลายมาเป็นบันทึกในตอนนี้ครับ

 

 

นายรักษ์สุข (คุณปภังกร) ไปศึกษาต่อในหลักสูตร  พัฒนบูรณาการศาสตร์ของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เห็นชื่อแล้ว สงสัยขึ้นมาทันทีครับ  บูรณาการเฉพาะตัวผู้เรียนเองหรือเปล่า  น่าสังเกตว่า ทำไมหลักสูตรต่างๆ ถึงได้ตั้งชื่อฟังแล้วเข้าใจยากจัง
<p class="MsoNormal">
สงสัยว่า ทำไมไม่ตั้งชื่อที่พอเห็นแล้ว เข้าใจได้ทันทีว่า เป็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับอะไร เช่นเดียวกับชื่อคณะบริหารศาสตร์ มีความแตกต่างจากบริหารธุรกิจหรือไม่ แตกต่างจากวิทยาการจัดการหรือเปล่า

มีข้อสังเกตที่ว่า เดี๋ยวนี้มีหลักสูตรมากมายให้เลือกเรียน จนหลายคนรู้สึกว่า จะเรียนที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น ดูเหมือนว่า หลายสถาบันมีหลักสูตรออกมารองรับความต้องการของคนในพื้นที่ มีมากมายจนเกร่อ  บางแห่ง มุ่งเน้นปริมาณ มุ่งเน้นเพื่อความอยู่รอด เพื่อรายได้ของสถาบัน



ทำให้คนที่มีความรู้สูงๆมีมากมาย แต่คนเหล่านั้นไม่รู้ปัญหาที่แท้จริง เมื่อเอาบุคคลเหล่านั้นมาแก้ปัญหา กลับเป็นผู้สร้างปัญหาเสียเอง(คำพูดของ ท่าน .ดร.อภิชัย พันธเสน คณบดีคณะบริหารศาสตร์ ที่นายรักษ์สุข ยกมาเขียนในข้อคิดเห็น)

(หมายเหตุ รายละเอียด หลักสูตรพัฒนบูรณาการศาสตร์)
ที่ อ.ปภังกร ไปศึกษาต่อ

ประเด็นน่าคิด จากข้อคิดเห็นของนายรักษ์สุข

1) จะมีสักกี่คนที่จะโชคดี ได้รับฟังคำอธิบายที่ชัดเจน เข้าใจแจ่มแจ้งจากท่านคณบดีคณะ เหมือนนายรักษ์สุข ทำให้หลักสูตรที่ดีๆ ถูกมองเหมารวมว่า เป็นหลักสูตรที่เหมือนๆกับอีกหลายหลักสูตรที่เปิดออกมามากมาย ตามความต้องการผลิตผู้มีความรู้ของสถาบัน แต่ไม่ใช่เป็นความต้องการของสังคม
2)  ทำไมงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งทำตามกระบวนการวิจัย มีวัตถุประสงค์ไม่กี่ข้อ แต่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้านาน หลายเดือน เป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพก็หลายเรื่อง แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงอ่านไม่รู้เรื่อง
3) ทำไมงานวิจัยที่มีคุณค่ามากมาย จึงอยู่แต่ในห้องสมุด ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น ต้องอยู่ในแวดวงวิชาการเท่านั้น
4) ทำไม การทำงานวิจัย ที่สร้างองค์ความรู้อย่างลึกซึ้ง มีกรอบแนวคิดอย่างรอบคอบ เป็นเหตุเป็นผล แต่ในชีวิตจริง กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหา ไม่สามารถคิดได้อย่างรอบคอบ เป็นเหตุเป็นผล เหมือนการทำงานวิจัยได้ …. ทั้งๆที่ก็รู้ขั้นตอน วิธีคิด จนกระทั่ง เขียนออกมาเป็นรูปเล่ม และสอบจนได้ใบปริญญาบัตรมาแล้ว….

มุมมองที่พอจะคิดออก
1)  การประชาสัมพันธ์หลักสูตร การนำเสนอจุดเด่นที่แตกต่างของหลักสูตรต่างๆ ข้อมูลที่นำเสนอออกมา มีความชัดเจน เข้าถึงผู้รับข้อมูลมากน้อยแค่ไหน หากหลายคนมีโอกาสได้รับฟังคำพูดจากท่านคณบดี เหมือนนายรักษ์สุขบ้าง หลายคนคงจะมีทางเลือกให้ศึกษาหาความรู้ต่อไป

2-3) งานวิจัยที่ทำตามกระบวนการวิจัยที่หลายคนอ่านไม่รู้เรื่อง ทั้งๆที่มีจำนวนหน้า มีคำอธิบายมากมาย ในการนำไปใช้จริงๆ  ได้มีการเขียนรายงานการวิจัย ที่ยึดตามมาตรฐานทางวิชาการ ได้มุ่งเน้นให้กรรมการสอบเข้าใจและยอมรับ หรือ ต้องการให้คนทั่วไปเข้าใจมากกว่ากัน

4) การทำวิจัย มีกำหนดเวลา มีอาจารย์ที่ปรึกษา มีเวลาคิด เวลาค้นคว้า แต่ในชีวิตจริง ต้องพึ่งตัวเองในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การจะแก้ไขปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ประสบการณ์และการสะสมความรู้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และสามารถนำความรู้ที่มี ออกมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องการหรือไม่

</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">นายรักษ์สุข “…โอกาสหน้าผมขออนุญาตเชิญคุณบอนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียนของ พัฒนบูรณาการศาสตร์บ้างนะครับ พวกเรามีทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก สปป.ลาว เพื่อที่จะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เต็มไปด้วยความสุขอย่างที่ ในหลวงทรงปรารถนาครับ</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ประเด็นน่าคิด
1) มีบางคนเกิดความรู้สึกแปลกๆ เมื่อนำนักศึกษาระดับปริญญาโท มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาปริญญาเอก ทำไมถึงไม่นำคนที่มีชื่อเสียง มีผลงานที่น่ายกย่อง มาแลกเปลี่ยนให้ความรู้ ให้สมกับการเสียเวลามานั่งในชั้นเรียน  เสียค่าหน่วยกิตก็แพง แต่ทำไมถึงจัดรูปแบบมาแบบนี้
2)  เมื่อมีคนเสนอแนะ และรับรองว่า คนๆนี้ มีความรู้ที่น่าสนใจ สมควรจะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน หลายคนตั้งความคาดหวังไว้สูงตามคำแนะนำที่ได้ยินได้ฟังมา แต่เมื่อได้พบกับตัวจริง ต้องพบกับความผิดหวัง
3)  ความต้องการของแต่ละคนไม่เท่ากัน การที่เปิดโอกาสให้คนอื่นได้รู้จักและเกิดการยอมรับในตัวบุคคลที่จะเชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนได้ จะทำให้สามารถสร้างสรรค์ ต่อยอดความคิดได้มากขึ้น </p> <p class="MsoNormal">4) การที่อยากให้นายบอนไปร่วมแจมในชั้นเรียนของนายรักษ์สุข โดยส่วนตัวแล้ว ยินดีครับ แต่สามารถต่อยอดความคิด เรียนรู้ได้ล่วงหน้า โดยการเชิญมาร่วมใน gotoknow ซึ่งจะทำให้นักศึกษา</p> <p class="MsoNormal">หลักสูตร  พัฒนาบูรณาการศาสตร์ได้พบกับอีกหลายท่านที่น่าสนใจ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น เหมือนกับการที่นายรักษ์สุขเป็นสมาชิกใน gotoknow
5) การแลกเปลี่ยนกับนายบอนใน gotoknow  นายบอนก็จะเขียนบันทึกตามสติปัญญาที่มี ซึ่งอาจจะได้ประเด็นที่น่าสนใจและรู้จักกันมากขึ้น หากจะให้ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียนของนายรักษ์สุข จะได้เตรียมในสิ่งที่ตรงกับความต้องการของชั้นเรียนให้มากที่สุด แถมยังจะกลับมาบันทึก เขียนแตกประเด็นต่อยอดความคิดเพิ่มเข้าไปอีก
6) ไม่เฉพาะแต่นายบอนนะครับ พี่ขจิต ครูน้อย คุณนิว จนถึง ผอ.บวร หากเปิดประเด็น หรือแลกเปลี่ยนในประเด็นที่สนใจ อยากรู้ ท่านเหล่านั้น ย่อมจะมีแนวคิดที่ดีๆ ที่อาจจะตรงกับสิ่งที่นายรักษ์สุขและเพื่อนร่วมชั้นเรียน ต้องการก็ได้นะครับ .. เพียงแต่ว่า ท่านเหล่านั้น อาจจะไม่ได้มาเขียนบันทึกเปิดประเด็นเหมือนอย่างนายบอน หรือไม่มีใครไปถาม เลยไม่ได้เขียนให้เห็นก็เท่านั้น….
7) ชวนนักศึกษามาเป็นสมาชิก gotoknow แล้วเปิด planet พัฒนบูรณาการศาสตร์ไปเลยสิครับ

เลยอาจจะยังไม่รู้ว่า แต่ละท่านจะมีองค์ความรู้ที่นายรักษ์สุขต้องการแลกเปลี่ยนหรือไม่???????</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p>  <p class="MsoNormal">ประเด็นที่น่าคิดจากข้อคิดเห็นของพี่ขจิต  ฝอยทอง</p> <p class="MsoNormal">1) พี่ขจิตมีลูกศิษย์ที่มาอบรมภาษาอังกฤษพื้นฐานที่เมืองกาญจน์  เป็นคนหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่แม่ค้าข้าวมันไก่ , คนขายเทป-ซีดี, ช่างซ่อมนาฬิกา คนขับรถ  พนักงานโรงแรมและคนส่งหนังสือพิมพ์ .. </p> <p class="MsoNormal">ถ้าหยิบประเด็นเก็บตกจากคนแต่ละอาชีพมาบันทึกบ้าง คงจะได้มุมมองใหม่ๆอีกเพียบ

2) พี่ขจิต มันและสนุกกับการแสดงความคิดเห็น และการอ่านมากกว่า การถ่ายทอดเป็นบันทึกของตัวเองซะอีก ซึ่งเป็นการเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ และฝึกทักษะในการเขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งการที่ใครสักคนจะสามารถเขียนแสดงความคิดเห็นในบันทึกที่หลากหลายเรื่องราวได้ ย่อมจะต้องเป็นคนที่สะสมองค์ความรู้ไว้มากมายพอสมควร ซึ่งหลายๆคน สามารถเขียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างจำกัด ในประเด็นที่ตัวเองรู้เรื่อง หรือเขียนในบล็อกของคนที่คุ้นเคยเ เป็นส่วนใหญ่

3) การมีส่วนร่วมในการเขียนข้อคิดเห็น ได้คิด เขียน วิพากษ์ นอกจากจะเป็นการสะสมความรู้ของพิ่ขจิตแล้ว ยังเป็นการสร้างกัลยาณมิตรที่มีประสิทธิผลมากที่สุดอีกด้วย

4) พี่ขจิต บอกว่า ท่านเป็นคนธรรมดา ค่อนข้างพูดน้อย (คนไม่ธรรมดา คงเป็นคนพูดมาก???) แต่คนธรรมดาที่นายบอนเห็น ไม่เห็นจะมองดูแต่แป้น NoteBook ตลอดเวลานี่ครับ</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p>
<p class="MsoNormal">ประเด็นที่น่าคิดจากข้อคิดเห็นของคุณนิว </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">1) คุณนิวบอกว่า มองตัวเองแล้วเทียบไม่ได้กับนักศึกษาปริญญาเอกคนอื่นๆ เหมือนกับหลายคนที่พูดทำนองนี้ แต่ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า เทียบกันตรงไหน
ความสูง
น้ำหนัก
รอบเอว
บุคลิก
ฯลฯ
ความจริง แต่ละคนอยู่ในสภาพที่ต่างกัน มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกัน จึงไม่รู้ว่า จะไปหาไม้บรรทัดที่ไหนมาวัดเพื่อที่จะเปรียบเทียบได้ว่า ใครดีกว่าใคร
= สรุปว่า คุณนิวพูดถูก เทียบไม่ได้จริงๆ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาวัดเพื่อเปรียบเทียบได้

นอกจากเทียบกับตัวเองในวันวาน ว่าวันนี้ดีหรือด้อยกว่า วันวานแค่ไหน

2) คุณนิวเขียนในข้อคิดเห็นใช้สรรพนามว่า หนู น้องนิว  คราวก่อนโน้น เขียนว่า พี่นิว..
หลายคนชอบที่จะตัดสินหลายสิ่งตามความเข้าใจของตัวเอง ทั้งๆที่ยังไม่มีความชัดเจนในข้อมูล

จริงๆแล้วคุณนิวรู้หรือเปล่าว่า นายบอนอายุเท่าไหร่กันแน่
นายบอนไปเขียนข้อคิดเห็นทิ้งร่องรอยในบล็อกคุณนิวไว้ว่า อายุไล่เลี่ยกับคุณ
สงสัยจะมองที่รูปถ่ายที่เห็นแค่ใบหน้า ไม่เห็นศีรษะ อาจจะ Zoom ภาพจนเห็นริ้วรอย เลยสรุปว่า นายบอนคงอายุมากกว่า
ทั้งๆที่ อายุไล่เลี่ยกัน …. </p> <p class="MsoNormal">“เท่ากัน
(สงสัยคงต้องเรียกแบบกันเองว่า เพื่อนนิว”)

</p> <p class="MsoNormal">3) นักศึกษาปริญญาเอกบางท่าน มักจะมีความรอบคอบ การที่จะแสดงความคิดเห็น เขียนหรือทำสิ่งใด มักจะพิถีพิถัน เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด .. แม้แต่เรื่องเล็กๆ ที่ไม่ต้องรอบคอบถึงเพียงนั้นก็ได้.. ซึ่งทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่เกิดสิ่งใหม่ๆ ไม่เกิดความคล่องตัว</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">แต่คุณนิว มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เขียนไว้ว่า สงสัยหนูคงดูไม่เหมือนนักศึกษาปริญญาเอกคนอื่น ๆมั๊งคะ”</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">การเป็นตัวของตัวเอง ทำให้มีคุณค่า โดดเด่น เหมือนการที่คุณนิวใส่เสื้อสีเหลืองเหมือนคนอื่นๆ ย่อมจะถูกกลืนหายไป ไม่มีใครเห็น แต่ถ้าใส่เสื้อสีดำในหมู่คนเสื้อเหลือง ใครมองปุ๊บ ก็จะเห็นคุณนิวทันที</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">4) การเป็นตัวของตัวเอง ถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง  ยิ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยิ่งเป็นที่สนใจ จดจำได้ง่าย

</p> <p class="MsoNormal">


 </p> <p class="MsoNormal">ข้อคิดเห็นจากครูอ้อย  คุณสิริพร กุ่ยกระโทก</p> <p class="MsoBodyText">“สำหรับ ครูอ้อยการเป็นนักศึกษาปริญญาเอกนั้น  ได้ผ่านการมองตนเอง  มองเพื่อนรอบข้าง  มองไปข้างหน้า  เหลียวมองคนข้างหลัง  และบางครั้งมองไปถึงผู้บริหารจนเกิดเรื่องก็มี…..”</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ประเด็นน่าคิดจากข้อคิดเห็นของครูอ้อย </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p style="margin-left: 18pt; text-indent: -18pt" class="MsoNormal">1)      การเป็นนักศึกษาปริญญาเอกของครูอ้อยนั้น ได้ผ่านการมองหลายมุม มองตนเอง,เพื่อนรอบข้าง มองรอบทิศ ยิ่งมองได้รอบด้าน ครบทุกมุมอย่างนี้  ยิ่งมีประสบการณ์เยอะครับ ยิ่งนายบอนมองเข้าไปที่บล็อกต่างๆของครูน้อยแล้ว คงจะได้แกะความรู้จากบรรดาบล็อกของครูน้อยออกมาบ้างล่ะ

</p><div class="title">บล็อกของครูน้อย…</div> <ul>

  • เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา
  • งานของครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษานอกเหนือจากการสอน
  • ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษารู้เรื่องคอมพิวเตอร์
  • ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาประชุม อบรม สัมมนา
  • ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาอ่านมากรู้มาก
  • ครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาจัดการความรู้ให้ตนเอง
  • ครูเรียนรู้ภาษาอังกฤษกับการทัศนศึกษา
  • ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาเรียนปริญญาเอก
  • โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี)
  • ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับ
  • </ul><p style="margin-left: 18pt; text-indent: -18pt" class="MsoNormal">
    </p> <p style="margin-left: 18pt; text-indent: -18pt" class="MsoNormal">2)      การมองของครูอ้อยด้วยเจตนาที่ดี แต่มีจุดสิ้นสุดที่การมองแล้วถูกเมินเฉย แล้วจะไม่มองต่อไป…. บางครั้ง การไม่มองต่อไป ย่อมจะถูกคนอื่นมองได้ว่า ครูอ้อยมีเจตนาไม่ดี เพราะตัดสินคนด้วยมุมมองไม่รอบด้าน เหมือนอย่างที่เขียนไว้ในข้อ1)  ก็เหมือนกับการเขียนบันทึกในบล็อก  หากไม่มีใครเข้ามาเขียนข้อคิดเห็น คงจะสรุปไม่ได้นะครับ ว่าไม่มีคนสนใจ คนเมินเฉย หรือการที่ไปเขียนข้อคิดเห็นในบล็อกคนอื่น แล้วเจ้าของบล็อกไม่เขียนข้อคิดเห็นตอบ จะสรุปว่ามองแล้ว ถูกเมินเฉย แล้วจะไม่มองต่อไป คงไม่ได้นะครับ  หากเวลานั้น เขาไม่ว่าง แต่เข้ามาเขียนตอบในเวลาที่ครูน้อยไม่ได้ติดตามใส่ใจอีกแล้ว หรืออาจจะมาเขียน มาอ่านในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา ดังนั้น การมองหลายมุม มองรอบด้าน และการมองด้วยเจตนาที่ดี คงจะดีเสมอต้นเสมอปลายนะครับ</p> <p style="margin-left: 18pt; text-indent: -18pt" class="MsoNormal">3)      เวทีและกล่องความรู้ที่ดีของครูน้อยที่เขียนบันทึกอยู่เสมอๆ เป็นการแบ่งปันสิ่งดีๆให้หลายคน อยากให้ครูหลายท่านมาแบ่งปันแบบนี้บ้าง แต่เท่าที่นายบอนได้สัมผัสครูบางท่าน จะมีการแบ่งปันในช่วงเวลาของการสอนพิเศษ หรือมีสิ่งตอบแทนเท่านั้น</p> <p style="margin-left: 18pt; text-indent: -18pt" class="MsoNormal">4)      เมื่อนักศึกษาปริญญาโทเรียนจบ กลับไปทำงานที่เดิม เขามีความคิด มุมมองที่แตกต่างจากเดิม เมื่อเสนอความคิดเห็นในที่ประชุม มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆที่จะนำมาพัฒนางานให้ดีขึ้น จะถูกสายตาของคนรอบข้างมองด้วยสายตาแปลกๆ ตั้งแต่ระดับหัวหน้า จนถึงผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา อาจเป็นเพราะเขาได้ออกไปเปิดรับวิธีคิด พบกับสังคมใหม่ ในช่วงของการศึกษาเล่าเรียนที่ผ่านมา จนเกิดการเติมเต็มความรู้ ประสบการณ์ มุมมองใหม่ๆ เพิ่มเติม จึงมองปัญหาและสภาพแวดล้อมในที่เดิมได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น </p> <p style="margin-left: 18pt; text-indent: -18pt" class="MsoNormal">5)      คนภายในองค์กรมักมองไม่เห็นปัญหา เพราะความเคยชิน แต่คนภายนอกองค์กร มองแป๊บเดียว รู้ทันทีว่า ปัญหาอยู่ที่จุดไหนบ้าง ควรจะแก้ประเด็นใดก่อนหลัง</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ผอ.บวร (ไม่มีรูปของท่านให้ชม)</p> <p class="MsoNormal">ประเด็นน่าคิด </p> <p class="MsoNormal">1)  เห็นท่าน ผอ. บวร เขียนบทร้อยกรองในข้อคิดเห็นหลายชิ้น ท่านคงสามารถเขียนได้เรื่อยๆ น่าจะสะสมบทกวีเหล่านี้ไว้ในที่เดียวกัน
    2) ผู้บริหารหลายคนที่นายบอนเคยพบ นอกจากบทบาทการบริหารแล้ว ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นระดับ ผอ.มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เช่นนี้มากนัก (อาจเป็นเพราะนายบอนรู้จัก ผอ.เพียงไม่กี่ท่าน)
    3) อยากเห็นตัวจริงของท่าน ผอ.บวร เพราะการที่สามารถเข้ามาเขียนข้อคิดเห็นเป็นบทร้อยกรองได้ถึงเพียงนี้ ย่อมต้องมีองค์ความรู้ที่ลุ่มลึกพอสมควร</p> <p class="MsoNormal">4) เมื่อระดับผู้บริหารเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน gotoknow แล้วคนในองค์กรของ อ.บวร มีโอกาสได้เห็นข้อความของ ผอ.บวรหรือไม่  มีโอกาสได้เข้ามาเรียนรู้ในอีกแง่มุมหนึ่งของบุคคลสำคัญในองค์กรหรือไม่  หรือได้เข้ามาเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ กับบล็อกต่างๆใน gotoknow เหมือน ผอ.บวรบ้างหรือเปล่า</p> <p class="MsoNormal">5) จากข้อคิดเห็นของครูน้อย สิริพร ที่ว่า “..มองไปถึงผู้บริหารจนเกิดเรื่องก็มี…” คราวนี้อยากจะทราบว่า ผู้บริหารเช่น ผอ.บวร เคยมีผู้ใต้บังคับบัญชาอย่าง ครูน้อยหรือไม่ ที่มองรอบด้าน มองหลายมุม จนเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกับ ผอ.บวร  แล้ว ผอ.บวรมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร  เมื่อพบกับลูกน้องที่มีมุมมองที่แตกต่าง ลูกน้องที่ลงมือทำ ประเภท ช่วยได้ช่วยเลย หรือ ลุยทำงานเต็มที่</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ประเด็นน่าคิดทิ้งท้าย</p> <p class="MsoNormal">1) จากข้อความของพี่ขจิต
    ผมมีความสุขกับการอ่านบันทึก การแสดงความคิดเห็น การฝึกการเขียน ในหลักสูตร ในหนังสือเรียนไม่มี
    ที่gotoknowมีความเป็นกัลยณมิตรมากครับ” </p> <p class="MsoNormal">
    นายบอน ->  เขียนมาตั้งเยอะ นอกจาก อ่าน แสดงความคิด ฝึกเขียนแล้ว นายบอนก็ฝึกการเชื่อมโยงประเด็นให้เห็นกันจะจะเลยนะครับ เอาประเด็นของนายรักษ์สุข เชื่อมต่อมายัง ครูอ้อย ผอ.บวร โยงไปหาคุณ เพื่อนนิว แล้วมาสรุปปิดท้ายเพื่อให้เข้ากับข้อความ ความสุขจาก 3 การของพี่ขจิต</p>

    หมายเลขบันทึก: 37784เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (12)

        ขอบพระคุณมากครับ ที่กรุณาให้ข้อคิดที่ดีมากๆ บางสิ่งบางอย่างผมเองก็นึกไม่ถึง คุณ นายบอน วิเคราะห์ให้ดู เหมือนกับชี้ขุมทรัพย์อันประมาณค่ามิได้

          ขอบพระคุณด้วยความจริงใจครับ

    ขอบคุณมาก ๆ เลยครับคุณบอน

    ได้อ่านบันทึกของคุณบอนบันทึกนี้เดียว เหมือนกับได้ไป Shopping ความรู้จากทุก ๆ บันทึกเลยครับ

    ผมตั้งใจที่จะเรียนรู้จากทุก ๆ คน

    ผมไม่เคยจำกัดการเรียนรู้จากสิ่งใด ๆ เรา ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ทุก ๆ สิ่งทุกอย่างสามารถทำให้เราเรียนรู้ได้ทั้งนั้นเลยครับ

    โดยเฉพาะคน ผมเรียนรู้จากทุก ๆ คน ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ผมให้เคารพในความรู้ของแต่ละคน ที่มีประสบการณ์และความรู้ฝังลึกในแต่ละคนเท่า ๆ กัน

    นับตั้งแต่ที่ผมได้ยินเรื่อง KM ผมก็เริ่มนำไปใช้เลยครับ ไม่เคยได้อบรม แต่มีจุดหลักอยู่อย่างเดียวตอนนั้นว่า "เราต้องเชื่อมั่นว่าทุก ๆ คนมีความรู้" ผมก็เลยเริ่มนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาปริญญาตรี เด็ก ๆ เนี่ยแหละครับ ผมเชื่อมั่นว่า เขามีความรู้ และบางครั้งมีความรู้ในบางสิ่งบางอย่างมากกว่าผม แม้แต่กระทั่งเรื่องของการบริหารธุรกิจ ซึ่งผมเรียนจบปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ แต่ผมก็ยังเชื่อว่า นักศึกษาปริญญาตรีเนี่ยแหละ เขาก็มีความรู้ในการทำธุรกิจบางสิ่งบางอย่างมากกว่าผม เพราะเขามีประสบการณ์ เคยทำมากับครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกษตร การทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงปลา ทุกอย่างเป็นธุรกิจหมดเลยครับ ผมก็ได้เริ่มเรียนรู้จักเด็กนักศึกษา แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ผมเคยสัมผัสมาแต่หนังสือ ทฤษฎี ทดลองเล็ก ๆ น้อย ๆ ศึกษาดูงาน ที่โน่นที่นี่ แต่เด็กเหล่านี้เขาได้สัมผัสจริง ๆ สัมผัสกับงานของพ่อแม่ ครอบครัวของเขา เขาได้เจอพ่อค้าคนกลางขูดรีดเอารัดเอาเปรียบ พ่อแม่เขามีวิธีการเจรจาต่อรองอย่างไรล่ะ ตอนนั้นทำให้ผมหลงไหลและรักในการจัดการความรู้มาก ๆ เลยครับ เพราะเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นสิ่งที่สนุก เราไม่ได้เอาทฤษฎีและประสบการณ์ของเราไปให้เขาอย่างเดียว แต่เราได้เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน สังคมกับเขาด้วยครับ
    • เป็นคนธรรมดามากครับ
    • พูดน้อย แต่ชอบเขียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกคนครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    และอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือ

    ผมอยากกราบขอบคุณ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มาก ๆ เลยครับ ที่ได้นำแนวความคิดนี้มาใช้ในสังคมไทย

    เพราะคนไทยเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ มาเยอะครับ เรียนรู้จากทุก ๆ ประเทศในโลก เสียต้นทุนในการเรียนรู้เยอะมาก ค่าเรียน อบรม เดินทาง ไปราชการ ค่าเบรค อาหารกลางวัน ค่าที่พัก โรงแรม เยอะมาก ๆ แต่ไม่ได้นำมาใช้เท่าที่ควร พอจะนำไปใช้ เอ้า! มีทฤษฎีใหม่ ๆ มาอีกแล้ว

    เปลี่ยน ๆ อันเก่าไม่ดี เอาอันใหม่

    แต่พอมีการจัดการความรู้ ทำให้ทุก ๆ คน ทุก ๆ หน่วยงาน องค์กร ได้นำทุนเดิมมาใช้อย่างจริงจัง นำสิ่งที่ตนเองมีมาใช้ให้เกิดประโยชน์  โดยเฉพาะยิ่งมี Gotoknow ทำให้ความรู้จากทุก ๆ คนทุกสารทิศ ระเบิดออกมาอย่างมีพลังมาก ๆ เลยครับ
    ผมเคยได้ฟังอาจารย์ท่านนึงเล่าให้ผมฟังว่า ท่านเนี่ยเป็น ดร. จบจากต่างประเทศ แต่สิ่งที่สามารถสอนท่านได้ ทำให้ท่านคิดในสิ่งที่ไม่เคยคิดได้ นั่นก็คือ สุนัข ท่านบอกว่า แม้แต่สุนัขก็สอนเราได้ มีครั้งนึงท่านกำลังรีบมาก ๆ จะไปสอนหนังสือ ของเข่าก็พะลุงพะลัง รีบวิ่งขึ้นไปสอนให้ทัน แต่ในขณะที่เดินไป ผ่านสุนัขตัวหนึ่ง มันนอนอยู่ พอมันเห็นอาจารย์เดินมา มันก็เงยหน้าขึ้นมาดู แล้วก็มอบตาปริบ ๆ แล้วมันก็นอนลงไปอย่างเดิมอาจารย์บอกว่า สุนัขมันคงคิดว่า พวก คน เนี่ย มันจะรีบไปไหนของมัน ช้า ๆ ก็ได้ ห้องเรียนไม่หนีไปไหนหรอก อาจารย์ก็เลยคิดขึ้นได้ว่า เอ่อ เราจะรีบไปทำไมกัน เดี๋ยวก็หกล้มหกลุก สุนัขก็สามารถทำให้เรามีสติได้เหมือนกัน
    ขอบคุณทุก ๆ คนอีกครับ คุณบอน พี่ขจิต น้องนิว ผอ.บวร ครูอ้อย และเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนสำเร็จการศึกษาสมตามใจปรารถนาครับ เพื่อที่จะกลับมาเพื่อทำงานที่ตนเองรักและเป็นพลังสำคัญของชุมชนไทย

    ผมเคยได้ฟังอาจารย์ท่านนึงเล่าให้ผมฟังว่า ท่านเนี่ยเป็น ดร. จบจากต่างประเทศ แต่สิ่งที่สามารถสอนท่านได้ ทำให้ท่านคิดในสิ่งที่ไม่เคยคิดได้ นั่นก็คือ สุนัข

    ท่านบอกว่า แม้แต่สุนัขก็สอนเราได้

    มีครั้งนึงท่านกำลังรีบมาก ๆ จะไปสอนหนังสือ ของเข่าก็พะลุงพะลัง รีบวิ่งขึ้นไปสอนให้ทัน แต่ในขณะที่เดินไป ผ่านสุนัขตัวหนึ่ง มันนอนอยู่ พอมันเห็นอาจารย์เดินมา มันก็เงยหน้าขึ้นมาดู แล้วก็มอบตาปริบ ๆ แล้วมันก็นอนลงไปอย่างเดิม

    อาจารย์บอกว่า สุนัขมันคงคิดว่า พวก คน เนี่ย มันจะรีบไปไหนของมัน ช้า ๆ ก็ได้ ห้องเรียนไม่หนีไปไหนหรอก อาจารย์ก็เลยคิดขึ้นได้ว่า เอ่อ เราจะรีบไปทำไมกัน เดี๋ยวก็หกล้มหกลุก สุนัขก็สามารถทำให้เรามีสติได้เหมือนกัน

     เอ๊อะ เอ๋อ  เพิ่งจะเจอะเจอ  บล็อกของนายบอนที่เขียนถึงครูอ้อย

    อันที่จริง  เคยอ่านพบ  นายบอนเขียนหัวข้อบันทึกว่า  ครูน้อย-สิริพร  ก็เลยมองข้ามไป  คิดว่ามีคนชื่อน้อยและสิริพรเหมือนกัน   พี่ชื่อ  ครูอ้อยนะคะ

    ขออภัยที่ไม่ได้เข้ามาตอบ.....ทั้งที่สนใจอ่านบันทึกของนายบอนทุกครั้ง  อ่านจนปวดหัวยังเคย  เลยไม่ตอบ 

    จากความคิดเห็นของนายบอนว่า  การมองของครูอ้อยด้วยเจตนาที่ดี แต่มีจุดสิ้นสุดที่การมองแล้วถูกเมินเฉย แล้วจะไม่มองต่อไป…. บางครั้ง การไม่มองต่อไป ย่อมจะถูกคนอื่นมองได้ว่า ครูอ้อยมีเจตนาไม่ดี  นายบอนคงจะหมายถึงการมองและแสดงความคิดเห็นของครูอ้อย  บางเรื่อง  ขอเพียงแค่แสดงความคิดเห็น  โดยไม่อยากรู้คำตอบก็มี  และนายบอนยังกล่าวต่อไปว่า...

    เพราะตัดสินคนด้วยมุมมองไม่รอบด้าน เหมือนอย่างที่เขียนไว้ในข้อ1)  ก็เหมือนกับการเขียนบันทึกในบล็อก  หากไม่มีใครเข้ามาเขียนข้อคิดเห็น คงจะสรุปไม่ได้นะครับ ว่าไม่มีคนสนใจ คนเมินเฉย  ครูอ้อยหมายถึง  การพูดบางครั้งหรือหลายครั้ง  ถ้าพูดแล้วไม่มีใครสนใจก็จะไม่พูดต่อไป  เพราะคำพูดเราไม่มีค่า  แต่สำหรับบล็อกนี้  ครูอ้อยมักจะตอบเสมอ  ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเข้าใจผิด  คิดว่านายบอนเขียนคุยกับครูน้อย- สิริพร  ต่อไปอีกนะคะ นายบอนต่อว่าต่อไป..

     หรือการที่ไปเขียนข้อคิดเห็นในบล็อกคนอื่น แล้วเจ้าของบล็อกไม่เขียนข้อคิดเห็นตอบ จะสรุปว่ามองแล้ว ถูกเมินเฉย แล้วจะไม่มองต่อไป คงไม่ได้นะครับ  หากเวลานั้น เขาไม่ว่าง แต่เข้ามาเขียนตอบในเวลาที่ครูน้อยไม่ได้ติดตามใส่ใจอีกแล้ว หรืออาจจะมาเขียน มาอ่านในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา ดังนั้น การมองหลายมุม มองรอบด้าน และการมองด้วยเจตนาที่ดี คงจะดีเสมอต้นเสมอปลายนะครับ  ครูอ้อยเฝ้ารอคำตอบทุกครั้ง  เคยมีอีเมล์เข้าไปแจ้งว่ามีคนตอบ  แต่พักนี้ไม่มีเลยไม่รู้ว่ามีใครตอบบล็อกบ้าง 

    เฮ้อ..แก้ตัวเสร็จแล้ว  ก็จะขอพูดแบบครูอ้อยนะคะ

    ขอบคุณมากที่ นายบอนเป็นกระจกด้านที่ครูอ้อยไม่เคยมอง  ตอนนี้ครูอ้อยเช็ดกระจกด้านนั้นจนใสแจ๋วแล้ว

    ครูอ้อยขอบอกว่า  ลูกสาวคนโตของครูอ้อยเป็นน้องน้องนิว 2 ปีเอง รุ่นเดียวกับนายบอนกระมัง

    การที่คนรุ่นใหม่ตำหนิติชม  เป็นเรื่องที่ดี  แสดงว่า  ผลงานของครูอ้อยคงจะถูกใจนายบอนบ้าง  เป็นอคติหรือเปล่า

    แต่ขอบอกอีกครั้งว่า  จะพยายามตอบ  และเขียนตามที่ท่านแนะนำ 

    ขอบคุณทุกท่านค่ะ  คุณปภังกร  คุณขจิต  น้องนิว  ผอ.บวร  นายบอน  และท่านอื่นๆที่เป็นกำลังใจให้คิดพัฒนาอะไรอะไรที่จะต้องพัฒนาค่ะ

    รู้สึกเกร็งเล็กน้อยที่เขียนถึงนายบอน

    สวัสดีครับ ครูน้อย เอ๊ย ครูอ้อย
      ขออภัยในความผิดพลาดครับ เพราะคุ้นเคยแต่กับคนชื่อน้อยจนติดปาก แต่ยังดีที่ยังใส่ชื่อจริงกำกับไว้ ไม่งั้น บันทึกนี้ คงไม่ถึงมือผู้รับ เหมือนจดหมายผิดซอง

       อันนี้ก็เป็นกระจกอีกบานเท่านั้นครับ ไม่ว่ากระจกบานไหนก็สามารถที่จะส่องดูหน้าตาได้เช่นกัน ยกเว้นแต่เราจะไม่ส่้องเท่านั้นเองครับ

      ความจริงแล้ว ไม่มีผลงานใดของครูอ้อยที่ไม่ถูกใจนายบอนเลย แอบอ่าน (เพราะไม่ค่อยได้เขียนความเห็น) บ่อยๆ เพราะในมุมมอง ประสบการณ์ของครูอ้อย มีอีกหลายอย่างที่นายบอนไม่เคยสัมผัสครับ ส่วนที่นายบอนบังอาจเขียนตำหนิติชม ก็แค่บอกในสิ่งที่คิด อาจจะผิดหรือถูกก้ได้ครับ อย่างที่ว่า โดนศอกกลับก็เยอะ โดนชมก็แยะ

       ถ้าครูอ้อยรู้สึกเกร็งที่เขียนถึงนายบอน นายบอนจะไม่นั่งตัวลีบหรือครับ อาจจะเป็นเพราะในช่วงเวลานี้เข้ามาบันทึกซะกระจาย (จำนวนมากๆ) เลยอาจจะเกร็ง หรือมองว่า เป็นผู้เยี่ยมยุทธ แต่ความจริงก็งั้นๆแหละครับ คนเดินดินกินข้าวแกง อาจจะด้อยกว่า ลูกสาวของครูอ้อยด้วยซ้ำครับ

      

    ยี้  แหนบให้เจ็บได้  ขอบคุณมากนายบอนตอบได้ทุกเรื่องทุกประเด็น  ถ้าเป็นครูก็จะเป็นครูที่ครูแห่งชาติเลย  ยกให้

    การที่เป็นมิตรกัน  บางทีกับสุนัขเราก็เป็นมิตรได้  การเป็นมิตรคือการยอมรับกัน  จริงใหม

    หรือจะเป็นศัตรูกัน  เพราะศัตรูคือมิตรที่ยังไม่ได้จับเข่าคุยกัน  เดินไปหาศัตรู  ขอจับเข่าเขาแล้วเราจะเป็นมิตรกัน

    เคยเข้าไปในเว็บบอร์ดหลายแห่ง  ทั้งที่มีอายุไล่เลี่ยกัน  วงการครู  ทั่วๆไป  แล้วแต่จะชอบแสดงความเก่งกล้าของตนเอง  ไม่ค่อยเห็นใครเล่าเรื่องไม่ดี  ให้ฟังเลย  ครูอ้อยจะหัดเล่าเรื่องที่ไม่ดีให้ฟังบ้าง

    นายบอนจะว่าอย่างไร

    เป็นครูแห่งชาติเลยเหรอครับ หากให้แสดงทัศนะก็ไหว แต่ถ้าให้ไปสอนหนังสือ คงห่วยมากๆเลยก้ได้นะครับ สู้ครูตัวจริงเสียงจริงไม่ได้แน่นอน

    เคยไ้ด้ยินเรื่องราวในวงการครูหลายเรื่อง ฟังแล้ว มันส์ครับ ก็เป็นเื่รื่องด้านลบทั้งนั้น ครูอ้อยจะลองเล่าบ้างก้ได้นะครับ นายบอนก็จะตอบในแบบ Keep in Mind ในแบบที่ไม่เหมือนชาวบ้าน แต่คงไม่ต้องยี่ แหนบให้เจ็บได้หรอกนะครัล เพราะอาจจะเจ็บแสบ เผ็ดเหมือนทานส้มตำ ..อ้่่าว เป็นงั้นไป
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท