ห้องเรียนพัฒนบูรณาการศาสตร์ข้างตลาดโต้รุ่งเมืองกาฬสินธุ์ ความสำเร็จแห่งการเขียนบันทึก..


“ถึงแม้ว่า จะไม่ได้ไปนั่งเรียนปริญญาเอกด้วย หากเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆไปเรื่อยๆจนเรียนจบ ก็เหมือนกับคนอ่านได้ซึมซับความรู้จากห้องเรียนปริญญาเอกไปด้วย”

มีคนถามนายบอนอยู่หลายครั้ง ทำไมคนที่มีความรู้สูงหลายคน ถ่ายทอดความรู้ให้พวกเขาฟังแล้ว

 

พวกเขาไม่เข้าใจ???

ชอบอธิบายเรื่องง่ายๆให้ยากขึ้น ยิ่งไม่ได้มีพื้นฐานความรู้เหล่านั้นมาก่อนด้วย

 

เมื่อไปสอบถามอาจารย์ดอกเตอร์บางท่าน ท่านให้คำแนะนำว่า ให้ไปอ่านหนังสือชื่อนั้นสิ

 

พวกเขากังขาว่า ทำไมไม่อธิบายประเด็นที่สอบถามให้เข้าใจอย่างง่ายๆในตอนนั้นเลยไม่ได้หรือ..

ที่สอบถามก็เพราะอยากรู้ ถ้าหากน่าสนใจ จะได้ไปค้นคว้าต่อไป

 

เด็กวัยรุ่นที่ตลาดโต้รุ้งเมืองกาฬสินธุ์ให้ข้อสังเกตที่น่าฟังที่นายบอนต้องรีบหยิบมาบันทึกไว้ทันที

 

(กลัวลืม..!!)

 

นักวิชาการ อาจารย์แต่ละท่าน ที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ความชำนาญ จะมีความรู้มากแค่ไหน พวกเขาไม่รู้ด้วยหรอกว่าสิ่งเหล่านั้น คืออะไร

 

แต่สิ่งสำคัญ ขอให้คุณอธิบายเรื่องที่พวกเค้าอยากรู้ ให้เข้าใจเท่านั้น เพียงเท่านี้ พวกเขาก็ยอมรับ และชื่นชมในตัวของคุณแล้ว

 

แสดงว่า การถ่ายทอด เป็นสิ่งสำคัญ หากมีความรู้ แต่ความสามารถในการถ่ายทอดยังไม่ดีพอ คงไม่ดีแน่

 

 ติดตามอ่านบล็อกจากชาวพัฒนบูรณาการศาสตร์ ม.อุบล ทั้งบันทึกของคุณปภังกร(ไดอารี่ชีวิต, ความรู้คือพลัง )และคุณ พิไล อุปัญ (หญ้าแพรก) ระบบการปลูกพืชบนคันนา

 

ทั้งคู่เขียนได้เข้าใจ ชัดเจน  อธิบายง่ายๆ เมื่ออ่านแล้ว เชื่อมโยงความรู้ที่เคยมีมาได้

คนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ ยังสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้ เมื่อเห็นข้อความในบันทึก ก็สามารถนึกออก

 

เด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่นั่งอ่านบล็อกของคุณหญ้าแพรกและคุณปภังกร บอกว่า เหมือนได้ไปนั่งเรียนในห้องเรียนพัฒนศาสตร์ด้วย

 

บันทึกธรรมดาๆ แต่ประสบความสำเร็จในการสื่อสารกับเด็กวัยรุ่นแถวตลาดโต้รุ่งได้

 

ถึงแม้ว่า จะไม่ได้ไปนั่งเรียนปริญญาเอกด้วย หากเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆไปเรื่อยๆจนเรียนจบ ก็เหมือนกับคนอ่านได้ซึมซับความรู้จากห้องเรียนปริญญาเอกไปด้วย

 

ถือว่า เป็นบล็อกที่ได้รางวัลขวัญใจเด็กตลาดโต้รุ่งเลยนะครับเนี่ย””

 


หมายเลขบันทึก: 40415เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แต่สิ่งสำคัญ ขอให้คุณอธิบายเรื่องที่พวกเค้าอยากรู้ ให้เข้าใจเท่านั้น เพียงเท่านี้ พวกเขาก็ยอมรับ และชื่นชมในตัวของคุณแล้ว

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • ถ่ายทอดด้วยการอธิบายเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง
  • ถ่ายทอดด้วยการลงมือปฏิบัติให้ดูเข้าใจได้มากขึ้น
  • ความรู้อยู่กับที่ การถ่ายทอดเป็นเครื่องนำทาง
  • บูรณาการ

ขอบคุณมาก ๆ เลยครับคุณบอนสำหรับรางวัลที่มอบให้

เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ สำหรับชีวิตผมเลยครับ

ขอบคุณจริง ๆ ครับ

  ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ คุณบอน! มากนะค่ะ ที่ให้รางวัลนี้มา และสำหรับกำลังใจที่มีให้กันมาตลอด   

    "ถึงแม้ว่ามันจะเป็นรางวัลที่ดูเล็กๆสำหรับคนอื่นๆ แต่มันกลับเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในใจของเด็กคนนี้เสมอ"  

ขอบคุณอีกครั้ง

พิไล  อุปัญ

ดีมากครับคุณบอน โอกาสหน้าจะรออ่านอีก

อุทัย (หนุ่มกะสิน ปี32)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท