วิธีการเขียนบันทึกในแบบลื่นไหลในแบบที่วัตถุดิบในการเขียนไม่มีวันหมด


มีคนถามนายบอนด้วยคำถามตามชื่อบันทึกครับ ว่าจะมีวิธีการเขียนบันทึกในแบบลื่นไหลในแบบที่วัตถุดิบในการเขียนไม่มีวันหมดได้อย่างไร?

ไม่ทราบครับ

แต่ถ้าถามว่า ทำยังไงถึงจะเขียนไปได้เรื่อยๆน่ะ นายบอนพอจะตอบได้

หลักการเขียนบันทึกในแบบนายบอน อาจจะเป็นวิธีการในแบบเฉพาะตัว ท่านอื่นอาจจะทำได้หรือไม่ได้ ก็แล้วแต่ความถนัดนะครับ

1. ถ้าจะเขียนให้ได้เรื่อยๆ ก็ต้องมีข้อมูลให้เขียน
2. อยากจะมีข้อมูลให้เขียน ก็ต้องรู้จักหาข้อมูลมาเขียน
3. ข้อมูลที่จะมาเขียน  อาจจะมาจากตัวผู้เขียนเอง หรือนอกตัวผู้เขียน
4. วิธีหาข้อมูลแบ่งออกง่ายๆ 3 แนวทาง คือ 1) จากการคิดเอง-ประสบการณ์ของตัวเอง,  2) จากคนอื่น - เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ประสบพบเห็น และ  1) + 2)
5. จากการคิดเอง - ประสบการณ์ของตัวเอง ต้องดูว่า จะนำข้อมูลในส่วนไหน ช่วงเวลาไหนมาบันทึก วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง ก็ติดสินใจเลือกดูว่า ใน 24 ชั่วโมงมีอะไรที่สามารถมาบันทึกได้บ้าง (ถ้าไม่มีเลย แสดงว่า ชีวิตคุณไม่มีคุณค่าพอที่จะบันทึกเลยหรือ)
6. จากคนอื่น - เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการบันทึกสิ่งที่พบเห็น เห็นอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น หรือถ่ายรูปมาใส่บันทึกไว้
7. จาก 1) + 2) อาจจะเป็นเหตุการณ์สำคัญ หรือข้อมูล ประเด็นที่สะกิดใจจนอยากบันทึกไว้ การบันทึกในรูปแบบนี้ของนายบอน คือ การนำข้อมูลจากที่อื่น + มุมมองความคิดของนายบอน  สังเคราะห์เป็นบันทึกออกมา วิธีนี้ง่าย กว่าวิธีการคิดเอง เพราะ 1) + 2) เราใช้ความคิดเพียงครึ่งเดียวของการคิดเอง

หลักการเขียนในแบบเขียนไปได้เรื่อยๆ หลายท่านก็จะมีเทคนิควิธีที่แตกต่างกันไปครับ

หมายเลขบันทึก: 42761เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2006 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นายบอนสกัดวิธีการเขียนบันทึกออกมาเป็นข้อ ๆ ได้น่าสนใจมาก ๆ ครับ

ตอนนี้ผมก็กำลังจะถอดบทเรียนตัวเองเหมือนกันว่าวิธีการเขียนตามสไตล์ "นายรักษ์สุข" มีวิธีการเขียนอย่างไร

ตอนนี้คิดได้อย่างเดียวครับ ก็คือ "แล้วแต่อารมณ์"ครับ

อารมณ์ไหนจะพาให้เขียนบันทึกไหน เพราะถ้ามีอารมณ์เขียนแบบนั้นปุ๊บ ข้อมูลที่เก็บไว้ใน Data base หรือ "สัญญา" มันก็จะหลั่งไหลพรั่งพรูออกมาทันทีเลยครับ

ถ้าได้วิธีการอย่างไร จะรีบนำออกมาแลกเปลี่ยนกับนายบอนอย่างเร็วที่สุดครับ

ถ้าลองถอดวิธีการของนายรักษ์มาอธิบายในแบบลูกทุ่งสไตล์นายบอนนะครับ

1) บันทึกเรื่อง ณ เวลาปัจจุบัน
2) บันทึกเรื่องราวในอดีต ประสบการณ์การทำงานในอดีต

จาก 2 แนวทางหลัก นายรักษ์สุข จะเชื่อมโยงบันทึกล่า่่สุดเข้ากับบันทึกที่เคยเขียนมาแล้ว บอกกับข้อมูลที่สะสมมา นำมาเสนออีกครั้ง

ถ้าจะว่าในภาพกว้างๆ จาก 7 ข้อข้างบน นายรักษ์สุข ดำเนินการในขั้นตอนที่ 4 5 6 7 แบบอัตโนมัติ ด้วยทักษะเฉพาะตัวครับ

ทั้งสองท่าน เป็นบุคคลพิเศษ ที่เขียนBlog ได้อย่างเกินความคาดหมาย

ผมว่าจะถามท่านๆ ว่า "ทำได้ไง"

ไม่ทันได้ถาม มีบันทึกนี้เสียก่อน

ขอคารวะครับ

อาจารย์ปภังกร คุณบอน 

ทั้งสองท่าน เป็นบุคคลพิเศษ ที่เขียนBlog ได้อย่างเกินความคาดหมาย

ผมว่าจะถามท่านๆ ว่า "ทำได้ไง"

ไม่ทันได้ถาม มีบันทึกนี้เสียก่อน

ขอคารวะครับ

อาจารย์ปภังกร คุณบอน 

คุณจตุพรครับ
    ไม่ถึงกับพิเศษอะไรมากมายนักหรอกครับ ในมุมกลับกัน หากให้นายบอนไปรับผิดชอบงานที่คุณจตุพรดำเนินการอยู่ นายบอนก็คงไม่สามารถที่จะทำได้เทียบเท่ากับคุณจตุพรแน่นอนครับ การที่เขียนบล็อกออกมาได้หลากหลาย อาจเป็นเพราะคุณปภังกร และนายบอนอยู่ในสายวิชาการ ที่จะต้องคิด เขียน ค้นคว้าอยู่สม่ำเสมอครับ เลยคุ้นเึคยกับการถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆได้เรื่อยๆก็เท่านั้นเองครับ
    เหมือนแม่ค้าส้มตำ ที่ตำส้มตำได้ทั้งวัน ตำได้ทุกสูตร  ทุกรสชาติยังไงยังงั้น
  • เยี่ยมมาเลยค่ะ ที่รู้หลักการนำความรู้ฝังลึกออกาเขียน
  • บางคนอยากเขียนแต่ไม่กล้าเขียนเพราะว่ากลัวสำนวน ภาษาที่ใช้ออกไปจะไม่เป็นทางการ
  • นี่เป็นแนวทางที่ดีเยี่ยมเลยทีเดียวนะคะ

                             

สวัสดีครับคุณแก่นจัง
   ยังไงก็ตามเมื่อได้แนวทางง่ายๆดังที่อ่านในบันทึกนี้แล้ว ก็เขียนเลยนะครับ ไม่ต้องไปกลัวสำนวนภาษาแต่อย่างไร


เพราะเราไม่ได้เขียนตอบในวิชาภาษาไทยเพื่อเอาคะแนนนะครับ ไม่ต้องเคร่งเครียดก็ได้นา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท