ิวิสัยทัศน์ชุมชน...สู่การจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน


Pong Watershed Stakeholder Workshop
"Community Vision for Sustainable Management of the Pong Watershed"

visionpong_0001

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
"วิสัยทัศน์ชุมชน...สู่การจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน"

วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2545
- - - - - ณ ห้องประชุม 1401 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น - - - - -

ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงรายงานข่าวทั่วไป
โปรดติดตามรายงานฉบับจริงจากคณะผู้จัดทำโครงการ การจัดการลุ่มน้ำพองยั่งยืน /
สมาคมพัฒนาชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
หรือจากสื่อต่างๆต่อไป


visionpong_0001

พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เมื่อเวลา 15.50 น. ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวถึงการจัดการลุ่มน้ำภาคประชาชน มิติใหม่ในการจัดการทรัพยากรน้ำ แต่เดิมภาคประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก เวทีแห่งนี้ภาคประชาชนต้องร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

vsionpong_0001การประชุมเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง นายกสมาคมพัฒนาชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (สพชส.) ได้กล่าวแนะนำการประชุมกลุ่ม คุณกิตติ คุมภีระ จากสถาบันคีนัน ได้แนะนำรูปแบบการประชุมในครั้งนี้ว่า จะใช้กระบวนการ AIC (Appreciation Influence Control) ซึ่ง เป็นการประชุมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการประชุมปฏิบัติการเพื่อการวางแผน ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนทีส่วนร่วมสูง ใช้ความเป็นประชาธิปไตยมาก โดยในการประชุมวันนี้ ใช้หลัก 3H คือ Heart - การเปิดใจ / Head - ระดมสมอง และระดมความคิดเรื่อยๆ / Hand - ร่วมมือ ร่วมทำ

คุณกิตติ ได้กล่าวถึงประสบการณ์ของลุ่มน้ำท่าจีน โดยใช้หลัก 7 ประสานแก้ไขท่าจีน "ร้อยใจรักษ์พิทักษ์ท่าจีน" ซึ่งประกอบไปด้วย (1)ชาวบ้านริมน้ำ (2)วัดริมน้ำ (3)โรงเรียนริมน้ำ (4)โรงงานริมน้ำ (5)ร้านค้าริมน้ำ (6)อบต.เทศบาลริมน้ำ (7)สื่อมวลชน เป็นผู้เสนอข่าวสาร เป็นช่องทางให้ความรู้และอยู่ในกระบวนการอนุรักษ์ลุ่มน้ำท่าจีนด้วย

หลังจากนั้น ได้จัดให้สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมมีการแบ่งกลุ่ม โดยแบ่งตามกลุ่มตามองค์กรที่ผู้เข้าร่วมประชุมสังกัดได้ 8 กลุ่ม คือ (1) องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (2) ส่วนราชการส่วนท้องถิ่น (3) ส่วนราชการในจังหวัด (4) กลุ่มโรงงาน-ผู้ประกอบการ (5) กลุ่ม NGOs (6) สื่อมวลชน (7) กลุ่มชาวบ้าน (8) กลุ่มนักศึกษา

vsionpong_0002 กิจกรรมแรก วิทยากรให้ทุกคนในแต่ละกลุ่ม ช่วยกันระดมความคิด ค้นหาสิ่งดีในองค์กร ตั้งแต่ด้านบุคคล,สิ่งของ,ธรรมเนียมปฏิบัติ,เครื่องมือ, กฏหมาย, สังคม ,วิถีชีวิต ฯลฯ เพื่อจะนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ชุมชนในขั้นตอนต่อไป

จากการระดมสิ่งดีๆในแต่ละองค์กร กลุ่มต่างๆได้ระดมแนวคิดต่างๆออกมาดังนี้
  1. กลุ่มผู้ประกอบการ-โรงงาน มีตัวแทนจากโรงงานสุรา-เขื่อนอุบลรัตน์-บริษัทฟินิคซ์ ได้ระดมแนวคิดออกมาได้ดังนี้
  2. ส่งเสริมงานในชุมชน มีการสร้างงานมากกว่า 200 คน
  3. มีกิจกรรมสิ่งแวดล้อม เช่นการปล่อยปลาลงสู่ลำน้ำ เป็นอาหารให้แก่ชุมชน
  4. มีโครงการแจกทุนการศึกษา อุปกรณ์กีฬา แก่เด็กนักเรียน
  5. ช่วยบริหารน้ำในลุ่มน้ำพองให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการจัดสรรน้ำไปยังพื้นที่ต่างๆ
  6. มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน ISO 14000
  7. ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ส่งเยื่อกระดาษออกขาย ทำรายได้เข้าประเทศ
  8. เขื่อนเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ
  9. ส่งเสริมสุขภาพชุมชน จัดแพทย์เคลื่อนที่ไปเยี่ยมตามหมู่บ้าน
  10. สร้างเศรษฐกิจชุมชน จัดอบรมการตัดผ้า การนวดแผนโบราณ จัดสวัสดิการให้แก่พนักงานบริษัท
  1. ในกลุ่มภาคราชการ ตัวแทนจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมเขต 10 ได้ระดมแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งดีๆของกลุ่มดังต่อไปนี้
  2. มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
  3. มีทรัพยากรบุคคลที่ทำงานในเรื่องนี้โดยตรง
  4. มีห้องปฏิบัติการและมีงบประมาณสนับสนุน
  5. ส่วนราชการมีโอกาสที่จะเข้าสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนได้ ขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาสที่เหมาะสม
  6. ส่วนราชการเป็นองค์กรที่ประสานภาครัฐ- เอกชน และประชาชนให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
  7. มีการพัฒนาองค์กรอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง และมีการลงสำรวจชุมชนเป็นประจำ
  8. มีระบบฐานข้อมูลที่พร้อมให้การสนับสนุน มีข้อมูลทุกด้านทั้งด้านอากาศ/น้ำ ใน Internet เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของชุมชน
    = ตัวอย่าง Website ฐานข้อมูลที่กล่าวมา เช่น

    @ http://www.esanenvi.net
    @ http://www.khonkaen.go.th เวบไซต์จังหวัดขอนแก่น มีฐานข้อมูล GIS
    @ http://www.pcd.go.th กรมควบคุมมลพิษ
    @ http://www.capeqm.org
    @ http://www.geocities.com/kudnamsai เวบของอาสาสมัครลุ่มน้ำพอง
vsionpong_0003
  1. สำหรับกลุ่มข้าราชการในท้องถิ่นอำเภอน้ำพอง เช่น โรงพยาบาลน้ำพอง, คณะครู, อบจ. มีสิ่งดีในองค์กรที่สนับสนุนงานอนุรักษ์ลำน้ำพอง โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆดังนี้
  2. ด้านบุคคล - มีครูอาจารย์ในพื้นที่ที่ตั้งใจทำงาน / มีบุคลากรเพียงพอ มีความรับผิดชอบชัดเจน
  3. ด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพจิตใจ - มีการคมนาคมที่สะดวก / ได้รับรางวัลสิ่งแวดล้อมดีเด่น / มีการจัดทำวังปลาในเขตอภัยทาน
  4. ด้านอื่นๆ เช่น มีการประชุมประชาคมทุกเดือน / อบต จัดงานประเพณีครบทั้ง 12 เดือน / สร้างสรรค์กิจกรรมชุมชนเข้มแข็งให้ประชาชนในพื้นที่
  1. สำหรับตัวแทนกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน NGOs มีข้อดีคือ
  2. เป็นส่วนที่ประสานบุคลากร NGOs ในส่วนกลาง และ NGOs ในพื้นที่
  3. มีนโยบายส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคม โดยยึดชาวบ้านเป็นหลักในการพัฒนา
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยเป็นองค์กรประสานภาครัฐและเอกชน
  5. มีความหลากหลายของเครือข่าย
  6. เป็นแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างองค์กรและชาวบ้านในพื้นที่
  1. ในส่วนของชาวบ้านและชุมชน มีสิ่งดีที่มีส่วนสนับสนุนกิจกรรมเฝ้าระวังและอนุรักษ์ลำน้ำพองดังนี้
  2. มีประเพณีไทยอีสาน เช่น สงกรานต์ ทำให้คนในท้องถิ่นที่ออกไปทำงานที่อื่นกลับมาทำบุญที่บ้าน
  3. มีการศึกษา มีภูมิปัญญาชาวบ้าน
  4. มีทรัพยากรในท้องถิ่นที่ดี
  1. กลุ่มสื่อมวลชน มีสิ่งดีที่ช่วยสนับสนุนงานในจุดนี้เช่นกัน
  2. ในหมู่เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน ต่างคนต่างช่วยเหลือกัน
  3. สื่อมวลชนมีโอกาสพบปะผู้คนมากมาย มีตัวอย่างในการทำงานที่ดี
  4. เป็นกลุ่มที่ทันข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
  5. เป็นกลุ่มที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆสู่สาธารณชน
  1. กลุ่มนักศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีสิ่งดีที่สนับสนุนงานในส่วนนี้เช่นกัน คือ
  2. นักศึกษามีวิชาเรียนทื่ต้องทำการศึกษาวิจัย ทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำ / ดิน / อากาศ เพื่อศึกษาหาความรู้
  3. มีการตั้งชมรมกิจกรรม การออกค่ายอาสาพัฒนา เพื่อการปลุกจิตสำนึก มีกลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้
  4. มีงานวิจัยของอาจารย์ นักศึกษาที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า ซึ่งเป็นข้อมูลต้นแบบที่นำมาใช้ในการศึกษาต่อไปเรื่อยๆ
  5. นักศึกษา มีเวลา แรงงานและความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาต่างๆ
vsionpong_0004หลังจากกิจกรรมที่ 1 เสร็จสิ้นลงโดยตัวแทนแต่ละกลุ่มได้ออกมาสรุปแนวคิดของกลุ่มแล้ว กิจกรรมที่ 2 ได้มีการพูดถึง การจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน น่าจะมีอะไรบ้าง ควรจะเกิดอะไร / ควรจะเป็นอย่างไร / ควรจะทำอย่างไร ซึ่งในขั้นตอนนี้ เป็นการกำหนดสภาพที่มุ่งหวังในอนาคต (the ideal/vision)

วิทยากรได้จัดกลุ่มใหม่ ให้เหลือเพียง 4 กลุ่ม ให้ระดมถึงภาพในอนาคตที่อยากเห็น ว่าควรจะมีอะไร เป็นอย่างไรบ้าง

กิจกรรมนี้ใช้เวลาพอสมควร แต่ก็ได้นักศึกษาที่ประจำแต่ละกลุ่มช่วยกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มให้แสดงความคิดเห็นออกมา หลังจากรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ช่วงบ่ายก็ได้มีการนำเสนอภาพของลำน้ำพองที่อยากเห็น
  1. กลุ่มที่ 1
  2. ต้องการเห็นลำน้ำพองมีคุณภาพดี ดื่มได้ มีปริมาณน้ำในลำน้ำที่เหมาะสม ไม่เอ่อล้นขึ้นมาท่วมพื้นที่ริมฝั่งอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา
  3. ริมตลิ่งแม่น้ำพองมีทัศนียภาพที่สวยงาม ริมฝั่งร่มรื่น
  4. ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  5. บ้าน วัด โรงเรียน โรงงาน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  6. ประชาชนมีจิตสำนึก หวงแหนลำน้ำพอง
  7. ชุมชนและโรงงาน ไม่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ
  8. มีความร่วมมือของประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาลำน้ำพอง
  9. ภาครัฐ-ส่วนราชการสนับสนุนให้ชุมชนในลุ่มน้ำพองมีการดูแลลำน้ำ / สนับสนุนงบประมาณและด้านวิชาการ ให้กิจกรรมต่างๆยังคงดำเนินต่อไปในชุมชน
  10. วิสัยทัศน์ของกลุ่ม การจัดการลุ่มน้ำพองโดยการวางแผนแบบบูรณาการ ภาครัฐ - เอกชน -ประชาชนร่วมกันในการติดตามตรวจสอบ เน้นการทำให้เป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของประชาชนในลุ่มน้ำพอง
  1. กลุ่มที่ 2
  2. มีความฝันว่า ลำน้ำจะใสคืนมา ปูปลาเต็มน้ำพอง พี่น้องบริโภคปลอดภัย จัดแบ่งกันใช้อย่างเป็นธรรม (จัดแบ่งน้ำ เช่น พื้นที่ต้นน้ำ ใช้น้ำส่วนหนึ่งในการทำนา ไม่กักน้ำไวัทั้งหมด จัดสรรน้ำให้พื้นที่อื่นๆด้วย)
  3. ตั้งศูนย์ประสานงานของแต่ละองค์กร แล้วประสานงานกัน เพื่อหาทางแก้ไข
  4. อยากเห็นทุกหน่วยงานร่วมมือกันตลอดรอดฝั่งทุกกรณี
  5. ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนในโรงเรียน
  6. ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการบำบัดน้ำเสีย ทั้งชาวบ้าน ชุมชน - ให้ความรู้ในขั้นตอนต่างๆ ใช้ประสบการณ์ร่วมกัน
  7. ลำน้ำพองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชม
  8. ภาคีร่วมดำเนินการออกมาตรการที่เข้มงวดในการร่วมดำเนินการ โดยออกมาในลักษณะของการปฏิบัติกิจกรรมจริงๆ ไม่ใช่มีแต่แนวความคิดเท่านั้น
vsionpong_0005
  1. กลุ่มที่ 3
  2. มีภาพฝันอยากให้น้ำพองปราศจากมลพิษ
  3. ชุมชนลุ่มน้ำพองอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี / เป็นแหล่งท่องเที่ยว
  4. เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
  5. มีทรัพยากรทางน้ำที่อุดมสมบูรณ์
  6. น้ำพองเป็นประโยชน์ต่อการชลประทานพื้นบ้าน (ทำการเกษตร)
  7. ชาวบ้านยิ้มแย้มแจ่มใส ปราศจากความขัดแย้ง
  1. วิธีการในการไปสู่ภาพฝันที่กลุ่มที่ 3 ได้นำเสนอมีดังนี้
  2. การมีส่วนร่วมของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  3. มีแผนการจัดการที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (เช่นการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้)
  4. มีการบริหารจัดการแบบองค์รวม
  5. มีการสร้างจิตสำนึกที่ดี
  6. มีข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว
  7. มีศูนย์ประสานงานติดต่ออย่างต่อเนื่อง
  1. กลุ่มที่ 4
  2. อยากเห็นลำน้ำพองเป็นแหล่งอาหารของชุมชน
  3. เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีน้ำใสสะอาดตลอด
  4. อยากให้ลำน้ำพองมีลักษณะเหมือนสมัยก่อนที่ยังไม่เกิดปัญหา
  5. อยากให้ประชาชนใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างเต็มที่ ทุกกลุ่มใช้ประโยชน์จากน้ำพองร่วมกัน ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
  6. อยากให้โรงงานมีการจัดการสิ่งแวดล้อมจริงๆ มีการพัฒนาและมีส่วนร่วมจริงๆ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  7. อยากเห็นลำน้ำพองเป็นต้นแบบของการจัดการลุ่มน้ำแก่ลุ่มน้ำอื่นๆจริงๆ
  1. ในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาลำน้ำพอง กลุ่ม 4 มีแนวคิดดังนี้
  2. ต้องสร้างจิตสำนึกแก่ทุกฝ่ายที่ใช้ประโยชน์จากน้ำพองในเรื่องการรักษาความสะอาด
  3. สร้างกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำพอง
  4. ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย ให้มีแนวทางการพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน
  5. รณรงค์กิจกรรม เช่น การปลูกป่า ร่วมกันหลายฝ่าย
จากการสรุปภาพในอนาคตของการจัดการลุ่มน้ำพองแบบยั่งยืน สามารถนำแนวคิดของทุกกลุ่มมาเขียนแผนที่ความคิดได้ดังภาพ
Visionmap of Nampong-ภาพแสดงแผนที่ความคิดของการจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน

หลังจากนั้นตัวแทนของทั้ง 4 กลุ่มได้มาหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ลุ่มน้ำพองยั่งยืนร่วมกัน ได้วิสัยทัศน์ดังนี้....

"ลำน้ำใสคืนมา ปูปลาเต็มน้ำพอง
พี่น้องบริโภคอย่างปลอดภัย แบ่งกินแบ่งใช้อย่างเป็นธรรม
มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พิทักษ์สิทธิทุกคน
ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน"
vsionpong_0008 ในช่วงสุดท้ายของการประชม ได้ให้ตัวแทนขององค์กรต่างๆมาสรุปแนวปฏิบัติเพื่อการบรรลุตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว

ในส่วนของข้าราชการในท้องถิ่น ได้กล่าวถึงการทำ"วังปลา" ที่วัดห้วยทรายและวัดยางคำ ที่บ้านหนองแต้ ซึ่งปัจจุบันมีปลาเป็นจำนวนมาก และชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆมากขึ้น ข้าราชการหน่วยงานต่างๆมีการออกปฏิบัติงานในชุมชมรวมกันมาตลอด

ตัวแทนกลุ่มข้าราชการในจังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังลุ่มน้ำพอง, การสนับสนุนงบประมาณและเครื่องมือต่างๆ และนำข้อมูลต่างๆที่ได้มาใช้ในประกอบในการวางแผนและพัฒนาต่อไป รวมไปถึงการติดตามตรวจสอบสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำเป็นกรอบนโยบายต่อไป

ตัวแทนของสื่อมวลชนได้กล่าวสรุปว่า สื่อมวลชนมีส่วนสนับสนุนในการทำงานทุกๆองค์กร และคอยเป็นกระบอกเสียง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่สังคม ซึ่งล่าสุด รายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM 103 MHz มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนักจัดรายการ "ชัยทัต สอพอง" จะได้นำประเด็นต่างๆในการประชุมครั้งนี้ไปพูดคุยในรายการ"ร่วมด้วยช่วยกัน" โดยเชิญทีมงานจัดการประชุมครั้งนี้ไปพูดคุยในรายการในช่วงเวลาออกอากาศ 15.00-19.00 น.

ส่วนแนวทางปฎิบัติเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนนั้น จะให้การสนับสนุนองค์กรชาวบ้านในด้านการเรียนรู้ ประสานแหล่งทุน รณรงค์ยกระดับปัญหาขององค์กรชาวบ้าน และเป็นฝ่ายประสานงานถ่ายทอดความรู้ในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศต่อไป

vsionpong_0009vsionpong_0010

ในส่วนของ อบต.นั้น จะเน้นการขจัดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและโรงงาน เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดการร้องเรียน จึงมุ่งที่จะใช้หลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ร่วมกัน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันแก้ปัญหา นอกจากนั้น อบต.จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชน จัดตั้งกลุ่ม ศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้ ให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญร่วมกัน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำ เพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่อไป

สุดท้ายในส่วนของนักศึกษา มีศักยภาพในการช่วยเผยแพร่ความรู้แก่ชาวบ้านโดยการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ และสถาบันการศึกษาจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญ

จากการระดมความคิดร่วมกันของทุกองค์กร ทุกส่วนพร้อมที่จะเสียสละทั้งงบประมาณ ทรัพยากร เวลาในการร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วง

vsionpong_0014ก่อนปิดการประชุม ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ได้ออกมากล่าวสรุปการประชุมครั้งนี้ว่า จากการจัดประชุม 1 วันครึ่ง ได้บรรลุวัตถุประสงค์ในการประชุมเกินความคาดหมาย วิสัยทัศน์ที่ได้ในการประชุมครั้งนี้ จะได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วประเทศและจะถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป

จากวิสัยทัศน์ลุ่มน้ำพองยั่งยืน "ลำน้ำใสคืนมา ปูปลาเต็มน้ำพอง พี่น้องบริโภคอย่างปลอดภัย แบ่งกินแบ่งใช้อย่างเป็นธรรม มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พิทักษ์สิทธิทุกคน ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน" ดร.ยรรยงค์ได้แสดงความคิดเห็นโดยให้ขยายความแต่ละประเด็นในวิสัยทัศน์ที่สามารถนำไปวางแนวทางให้เกิดขึ้นจริงได้ต่อไป อาทิ...

...ปูปลาเต็มน้ำพอง ขณะนี้มีวังปลาอยู่แล้ว ต่อไปคงจะมีกิจกรรมอื่นอีก โดยทางพระ,คณะครู หรือทางโรงพยาบาลน้ำพองสามารถทำแผนเสนอ อบจ.ได้
..พี่น้องบริโภคปลอดภัย ..มีการตรวจน้ำดื่มว่าปลอดภัยหรือไม่
... แบ่งกินแบ่งใช้ เขื่อนอุบลรัตน์สามารถทำการประสานชลประทานหนองหวาย / คุยเชือก ประสานงานระหว่างกรมในการจัดสรรน้ำให้แก่พื้นที่ต่างๆได้
... มีกิจกรรมท่องเที่ยว.. ต่อไปอาจจะมีการจัดเยี่ยมคุ้งน้ำ / จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ขึ้นได้

ในการประชุมครั้งนี้ได้วิสัยทัศน์เป็นแนวทางอย่างคร่าวๆ ซึ่งจะต้องมีการจัดประชุมกันอีกหลายรอบ เพื่อจัดทำ"ภาพรวมใหญ่ให้ได้" ตามรัฐธรรมนูญได้เปิดโอกาสให้ชุมชนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการจัดทำแผนภาคประชาชน เสนอต่อ อบจ.และ อบต.ต่อไป

หลังการประชุมนี้แล้วจะได้ทำการเผยแพร่แนวคิดต่างๆ โดยจะเริ่มจากการสัมภาษณ์สดทางรายการวิทยุ "ร่วมด้วยช่วยกัน" FM 103 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 และจะทำการเผยแพร่วิสัยทัศน์ผ่านองค์กรพัฒนาเอกชน ประชาคมในจังหวัด และจะเปิดเวทีพูดคุยเรื่องนี้กับนายก อบจ.,ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมไปถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและ อบต.ในพื้นที่

ในปี 2546 คาดว่าจะมีการจัดประชุมอีก 3 รอบ โดยในรอบแรกจะจัดประชุมร่วมกับส่วนราชการ/โรงงาน/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ในรอบที่สองจะได้มีการประชุมจัดทำแผนงานโครงการต่างๆ ประเด็นไหนที่งบประมาณของจังหวัดและงบประมาณของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่สามารถให้การสนับสนุนได้ เช่นการจัดประชุมในรูปแบบนี้ ทางสถาบันคีนันยินดีให้การสนับสนุนในการจัดประชุม ซึ่งในการจัดทำแผนงานดังกล่าว ภาคประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ประเด็นที่ภาคประชาชนจะร่วมการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างไร จะสร้างเครือข่ายอย่างไร แล้วจะทำการเสนอแผนงานต่อทางจังหวัดให้อนุมัติแผนงานนั้น ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจะให้งบประมาณในการตรวจสอบคุณภาพน้ำหรือในส่วนอื่น..

ในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท้องถิ่นอาจจะทำแผนเสนอต่อ ททท. เพื่อให้ ททท.มาลงทุนร่วมกับท้องถิ่น นำไปสู่การออกแบบภูมิสถาปัตย์ทั้งลุ่มน้ำ เพื่อสร้างจุดท่องเที่ยวและรองรับอาชีพในพื้นที่ต่อไป....

เมื่อเกิดปัญหาในพื้นที่ขึ้น ที่ผ่านมายังไม่มี "เจ้าภาพ" ที่เป็นตัวหลักในการดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากหน่วยงานต่างๆ เห็นว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น จึงไม่ต้องการเข้าไปก้าวก่ายหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาจึงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่เนื่องจากยังไม่มี "เจ้าภาพ"หลัก จึงเกิด "สมาคมพัฒนาชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน" (สพชส- CDSEA) เป็นตัวกลางในการประสานให้หน่วยงานต่างๆมาร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งโครงการจัดการลุ่มน้ำพองยั่งยืนนี้ โครงการภาคประชาชนจะมีการประชุมอีกหลายรอบ เพื่อให้ได้โครงการเสนอต่อหน่วยราชการท้องถิ่นไปจนถึงระดับรัฐบาลต่อไป โดยทางโครงการจะใช้สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์กลางในการประสานงานชั่วคราว โดยนำข้อมูลจากการประชุมครั้งนี้ไปจัดทำแผนงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้ในครั้งนี้ ในปี 2546 จะมีชุดโครงการต่างๆทั้งโครงการวิจัย / การทำแผน และโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการออกมาให้ทุกฝ่ายได้ร่วมมือในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ทางสมาคมจะได้ทำหนังสือขอบคุณไปยังต้นสังกัดของแต่ละองค์กรและจะได้ติดต่อประสานงานเชิญมาร่วมโครงการต่อไป

======
  1. เกร็ดต่างๆ จากการประชุมครั้งนี้
  2. โดยปกติการจัดเวทีพูดคุยกันเรื่องน้ำพอง มีการจัดประชุมบ่อยครั้ง หลายฝ่ายกล่าวว่าเป็นเรื่องเดิมๆ พูดแล้วพูดอีก แต่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขเช่นเดิม แต่คณะผู้จัดการประชุมยังคงพยายามสู้ต่อไป ด้วยแนวทางใหม่ๆ ซึ่งบางโครงการเริ่มเห็นผลงานบ้างแล้ว เช่นการตรวจวัดคุณภาพน้ำพอง โดยอาสาสมัครเฝ้าระวังลุ่มน้ำพอง
  3. ตั้งแต่เกิดปัญหาน้ำพอง สุขภาพอนามัยของหลายฝ่ายเริ่มแย่ลง เด็กนักเรียนหลายคนเป็นหวัดบ่อยมาก แม้แต่บุตรของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลน้ำพองยังเป็นหอบหืด ทำให้บุคลากรท่านนั้นตั้งปณิธานว่าจะต้องรักษาบุตรของตนให้หาย ปัญหานี้จึงเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  4. การจัดเวทีแบบนี้บ่อยครั้ง ในเรื่องเดิม หลายฝ่ายมองว่าไม่น่าจะเกิดผลที่เป็นรูปธรรมเหมือนการประชุมที่ผ่านๆมา แต่ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการนำแนวคิด A-I-C มาใช้ในกระบวนการวางแผนและพัฒนา โดยเริ่มจาก(A - Appreciation)การร่วมกันสร้างสภาพที่มุ่งหวังในอนาคต (the ideal/vision) ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ(I - Influence)ร่วมกันคิดค้นแนวทาง/ยุทธศาสตร์ (strategies) ซึ่งจะทำให้ได้สภาพที่มุ่งหวัง เพื่อเป็นแนวทางให้คณะผู้จัดทำโครงการ นักวิจัยและอาสาสมัครชาวต่างประเทศนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนดำเนินงาน และดำเนินการตามแผน(C-Control) เมื่อรวมพลังทั้ง 3 พลังเข้าด้วยกัน เท่ากับ 3 มิติแห่งการพัฒนาองค์กรและสังคม
  5. มีการนำวิทยากรอบรมทีม AIC ของศูนย์สาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาร่วมจัดประชุมกลุ่ม ทำให้มองเห็นแนวคิดขององค์กรหลากหลาย
  6. แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆพัฒนาไปมาก แต่คำตอบของการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีอันทันสมัย แต่อยู่ที่ "ความร่วมมือ"
  7. มาตรการทางสังคมมีบทบาทต่อความร่วมมือในพื้นที่มากขึ้น ไม่มีฝ่ายใดอยากเป็นฝ่ายผิด แม้หลายฝ่ายจะกล่าวหาว่าฝ่ายหนึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา แต่ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาก็ชดเชยด้วยการดำเนินการหลายอย่าง เช่น จ่ายเงินชดเชย มอบทุนการศึกษา ฯลฯ
  8. โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครประเทศออสเตรเลีย (Australian Youth Ambassador) ในการติดต่อประสานงานกับต่างประเทศในการของบประมาณสนับสนุนโครงการ เมื่อนายกสมาคมกล่าวถึงทิศทางของโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีความเป็นไปได้มากขึ้น
  9. การจัดประชุมครั้งนี้คนรุ่นใหม่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการประชุมอย่างมาก ทำให้การประชุมภายในระยะเวลา 1 วันครึ่งได้ข้อมูลและมุมมองหลากหลายจากองค์กรต่างๆ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการต่อไป...
  10. หลังการจัดประชุมครั้งนี้ เริ่มมีการทำงานเชิงรุกมากขึ้น มีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อต่างๆ ในพื้นที่ และแปลข้อมูลเป็นภาษาต่างประเทศเผยแพร่ไปสู่นักวิชาการด้านการจัดการลุ่มน้ำทั่วโลกด้วย
  11. กลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการประชุมครั้งนี้ คือนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งเข้าร่วมในการประชุมกลุ่มทุกกลุ่มย่อย ใช้ความสดใสและความกระตือรือร้นช่วยกระตุ้นให้ผู้ร่วมประชุมระดมความคิดเห็นออกมาหลากหลายในเวลาอันจำกัด
  12. การประชุมในรูปแบบนี้ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม แต่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเดิม ผลคงจะเป็นแบบเดิม ผู้เข้าร่วมประชุมจึงมาร่วมเพียงส่วนหนึ่ง จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ นักศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมปี 2 มีโอกาสแสดงความเห็นต่างๆในเวทีนี้ ซึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนก็เปิดโอกาสให้นักศึกษากล้าแสดงออกเต็มที่อยู่แล้ว นอกจากได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ยังเป็นการสร้างสีสันให้การประชุมมีสีสันมากขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมหลายท่านชื่นชมในความน่ารัก ความสดใสและความสามารถของนักศึกษาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ขอบคุณ อ.สำอางค์ หอมชื่นที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามาช่วยงานในครั้งนี้... เย้!!
vsionpong_0011vsionpong_0012

  1. หน่วยงานและองค์กรร่วมจัดการประชุมวิสัยทัศน์ชุมชน...สู่การจัดการลุ่มน้ำพองอย่างยั่งยืน
  2. สมาคมพัฒนาชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
  3. Kenan Institute Asia
  4. สถาบันพระปกเกล้า
  5. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาชุมชน (กป.อพช.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  6. โรงงาน องค์กรท้องถิ่น และองค์กรชุมชนลุ่มน้ำพอง
  7. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    นายบอน เรียบเรียง
หมายเลขบันทึก: 42961เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2006 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

โครงการการพัฒนาชุมชนที่เริ่มจากหน่วยเล็กที่สุดในสังคม...ซึ่งก็คือครอบครัว...จะส่งผลถึงความสำเร็จของโครงการพัฒนาชุมชนได้อย่างมากมาย...

การส่งเสริมการสร้างความอบอุ่นในครอบครัวของชุมชน เป็นสิ่งที่น่าพิจารณาในการทำงานกับชุมชนเช่นกันนะครับ

พอดีเห็น mind map ของคุณบอน ในบันทึกของอาจารย์ปภังกรครับ...น่าสนใจดีครับ ผมยังไม่มีประสบการณ์ทำแบบนี้ครับ...อย่างไรผมก็มั่นใจว่า คุณบอนทำงานพัฒนาชุมชนมานาน ย่อมตระหนักถึงจุดนี้ดีใช่ไหมครับ

ขอให้ความยั่งยืนต่างๆ ออกมาจากภายในตัวชุมชนเองนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

นายประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗

ความเห็น การประชุมนี้เต็มไปด้วยสมาคม และองค์กรอนุร้กษ์น้ำต่างๆมากมาย แต่ไม่เห็นมีองค์กรที่ปล่อยน่ำเสียลง ลำน้ำพองเลยครับ มีการแสดงตัวเลขคุณภาพน้ำว่ามี บี.โอ.ดี. เท่าไหร่เช่น โรงงานกระดาด มีค่า บี.โอ.ดี.๑๐ชาวบ้านน้อยคนที่จะทราบความหมาย แต่ถ้านำเสนอภาพบ่อบำบัดน่ำเสียของโรงงานชาวบ้านเขาจะเข้าใจได้มากกว่า (แต่ไม่มีสื่อได หรือหน่วยงานรัฐไดกล้านำเสนอเลย)ผมเชื่อว่าประชุมเสร็จแล้วก็ลืมก้นไป ไม่นาน ก็จะพบว่ามีปลาในกระชังตายก้นอีก.ทั้งนี้เพราะพี่น้องประชาชนยังไม่เข้มแข็ง ขอพูดว่า ยังไม่สามารถยืนอยู่บนลำแข้งของตนเองได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบซ้ำซ้อนเช่นกรมพ้ฒนาลุ่มน้ำมีแต่นักวิชาการจัดประชุมอย่างเดียวจนท่านนายอำเภอท่านเอือมระอา ส่วนกรมชลก็ก่อตั้งมากว่าศตวรรษ แต่ยังมีพื้นที่การเกษตรยังต้องอาศัยน่ำฝนอยู่ถึง ๗๘% คิดเป็นจำนวนครัวเรือนกว่า ๑๐ ล้านครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรมที่เข้าถึงระบบชลประทานมีเพียง ๒๒% เท่านั้น คิดเป็นจำนวนครัวเรือนเพียง ๓.๕ ล้านครัวเรือนเศษ. ผมได้เข้าไปสืบค้นข้อมูลคำว่า "ลุ่มน้ำพอง"พบว่า ลุ่มน้ำพองตอนบน นั้นมีลำน้ำสาขามากมาย ลำน้ำพองตอนบน มีลำน้ำสาขาถึง ๖ ลำน้ำ ส่วนลุ่มน้ำพองตอนล่าง มีลำน้ำสาขาจำนวน ๑๐ ลำน้ำ แตเกษตรกร/ชาวนายังต้องเสียค่าสูบน้ำถึงไร่ละ ๘๐-๑๐๐.-บาท แล้วพวกเขาจะเข้มแข็งได้อย่างไร?ครับ และที่ผมว่ามีหน่วยงานซ้ำซ้อนดูตรงนี้ครับ.

สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานดูแล (ตามหลักต้องให้ กฟผ.ดูแลและรับผิดชอบค่าไฟในการสูบน้ำจึงจะถูกต้อง เป็นกานคืนกำไรให้แก่ท้องถิ่น.)ในเขตอำเภออุบลรัตน์ ๗ สถานี ในเขตอำเภอน้ำพอง ๗ สถานี และในเขตอำเภอกระนวน อีก ๑ สถานี. ส่วนท่าสูบน้ำกลับกลายเป็นของกรมชลประทานดูแล ทั้งในอำเภอน้ำพอง อำเภออุบลรัตน์ และอำเภอกระนวน ถ้าเราเข้าไปชมอย่างผิวเผิน ก็จะไม่เห็นความแตกต่าง เพราะเป็นส่วนราชการเหมือนกัน แต่ถ้าเรามองอีกด้านหนึ่งของภาพ ก็จะพบว่าการทำงานของหน่วยงานที่ก่อตั้งมากว่า ๑๐๐ ปี จะให้มีประสิทธิภาพเท่ากับหน่วยงานที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้อย่างไร?ครับ. ท่าน้ำขาดน้ำก็ไม่มีน้ำส่งให้เกษตรกร/ชาวนา เครื่องสูบน้ำเสียแต่ท่าน้ำมีน้ำ ก็ไม่สามารถส่งน้ำให้เกษตรกร/ชาวนาเช่นกัน นี่แหละพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาเขาจึงจะข้ามโขงไปอยู่ประเทศ ส.ป.ป.ลาว ปัจจุบันพวกเขาต้องไปตกระกำลำบากอยู่ที่ อำเภอสูงเนิน โคราชบ้านผมเองครับ. ผมพยายามค้นหาผู้นำที่กล้าเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเพราะน้ำคือชีวิต และเป็นต้นเหตุแห่งความยากจน.

๑.) แก้ปัญหาเขื่อนปากมูลให้จบ ไม่ใช่เปิดๆปิดๆเช่นทุกวันนี้. จะปิด/หรือจะเปิด มีเพียง ๒ ทางเลือก และต้องให้ทุกฝ่ายยอมรับได้.

๒.) โครงการ โขง ชี มูล อันลือลั่นจะเอาอย่างไร?จะสานต่อ/หรือจะยกเลิก

หมายเหตุ. ทั้ง ๒ ข้อนี้ ไม่มีอยู่ในนะโยบายของพรรคการเมืองไหนเลยครับ พรรคไหนกล้าตัดสินใจ เปิดเขื่อนปากมูลตลอดไปพร้อมเหตุผล/หรือปิดเขื่อนปากมูลตลอดไปพร้อมเหตุผลที่ยอมรับได้ และกล้าที่จะสานต่อโครงการโขง ชี มูล พร้อมด้วยเหตุและผลที่ยอมรับได้เช่นกัน ข้อนี้มีทางเลือกเดียว เพราะผมเองเห็นว่าต้องสานต่อเท่านั้น ถ้าไม่สานต่อภาคอิสานจะกลายเป็นทะเลทรายแน่นอน. พรรคไหนกล้าตัดสินใจพร้อมเหตุผลเป็นที่ยอมรับและโดนใจพี่น้องชาวอิสาน ผมคิดว่า ท่านหัวหน้าพรรคนั้นลอยลำเข้าเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปแน่นอนครับ.

ขอบคุณความเห็นของคุณประชุม สุริยามาศอย่างมากครับ
ประม สุริยามาศ วบ.๗๗๗

เรียนคุณบอน@kalasin

ผมดีใจครับที่มีคนสนใจ โดยเฉพาะคุณบอนฯที่เป็นชาวกาฬสินธุ์ครับ

ลุ่มน้ำปาวของคุณก็มีปัญหาเช่นเดียวกันกับลุ่มน้ำพอง เพียงแต่ลุ่มน้ำปาวของคุณนั้น วิกฤติกว่ามากครับ เพราะเชื่อน ลำปาว ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เช่นเก่าก่อนแล้ว ประกอบกับการบิหารจัดการที่ด้อยประสิทธิภาพ จึงไม่สามารถวบคุมปริมาณน้ไหลลงเขื่อนให้สมดุลย์ได้

ผมเองสนใจมากเพราะผมเคยไปทำงานในพื้นที่นี้หลายปี จึงทราบปัญหาความแห้งแล้งไนภาคอิสานตอนกลางได้เป็นอย่าดีครับ ปัจจุบันเรามีเขื่อนและอ่างเก็บกักน้ำมากมาย แต่เกษตรกรเข้าถึงการบริการเฉลี่ยเพียง ๒๒%ของพื้นที่เท่านั้นครับ โดยเฉพาะที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี มหาสารคาม และจังวัดร้อยเอ็ด ผมประมาณเอานะครับ พื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดดังกล่าวจะเข้าถึงบริการน้ำถึง ๒๐% หรือเปล่าผมไม่ค่อยจะแน่ใจนะครับ พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เข้าถึงบริการน้ำนั้นจะอยู่ในภาคกลางเเละภาคเหนือตอนล่างเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ อนึ่งเขื่อนลำปาวนั้นประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำเหลือเพียง ๕๐%กว่าๆเท่านั้น (ผมยังไม้กล้าที่จะพูดว่าวิบัติไปแล้วครับ)

 จากข่าวเมื่อปลายปี ๒๕๔๘ มี ครม.สัญจร(หลับตาอนุมัติโครงการเพื่อเสริมสันเขื่อนลำปาวให้สูงขึ้นอี ๒.๐๐เมตร เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นอีก เป็นจำนวน ๕๐๐ ล้าน ลบ.ม. จาก ๑,๔๓๐ ล้าน ลบ.ม.(ปริมาตรเก็บกักปกติ)เป็น ๑,๙๓๐ ล้าน ลบ.ม.(แต่ปริมาตรเก็บกักสูงสุดคือ ๒,๕๑๐ ล้าน ลบ.ม.) ผมยังเก็บ่าวนี้ไว้ทั้งจาก นสพ.ไทยรัฐ และนสพ.ผู้จัดการ ข้อมูลจากข่าวฟ้องประชาชนครับ. หากคุณบอนสนใจผมจะส่งไปให้ครับและถ้นคุณสนใจปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" และ "ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร" ของพะเจ้าอยู่หัว ร.๙ ผมก็จะส่งแถมไปให้ด้วยครับ.คุณเพียงแจ้งที่อยู่มาเท่านั้นนะครับ.

นายประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗

งบประมาณเสริมสันเขื่อนลำปาว(ซ่อมเขื่อนลำปาว) เป็นจำนวนเงินถึง ๓,๐๐๐ ล้านบาท.

นายประชุม สุริยามาศ วย.๗๗๗

กาฬสินธุ์ - จังหวัดกาฬสินธุ์เตือนประชาชนที่อาศัยตามแนวเทือกเขาภูพาน เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน พร้อมเตรียมแผนรับมืออพยพคนและทีมกู้ภัยฉุกเฉินระวังเหตุ 24 ชั่วโมง

นายเดชา ตันติยวรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สั่งการไปยังนายวีระศักดิ์ วิเชียรแสน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เตรียมพร้อมรับมือกับภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากรวมทั้งซ้อมแผนเพื่อทำการอพยพประชาชน หากเกิดกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามแนวเขตเทือกเขาภูพาน หลังในพื้นที่จังหวัดมีปริมาณฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งจังหวัด

นายวีระศักดิ์ วิเชียรแสน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์จากรายงานของอุตุนิยมวิทยา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่แจ้งมาทราบว่าปริมาณน้ำฝนในพื้นที่มีปริมาณมากพอสมควร แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดจะเป็นเขตรอยต่อหรือพื้นที่ที่ติดตามแนวเขตเทือกเขาภูพาน ที่จะมีอำเภอเสี่ยงอยู่ 7 แห่ง

ประกอบด้วยอำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอเขาวง อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอท่าคันโท และ อำเภอคำม่วง ที่ขณะนี้ได้มีการสั่งการไปยังมิสเตอร์เตือนภัยหมู่บ้านทุกแห่งจำนวนกว่า 3,000 นายเฝ้า ระวังพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง ที่หากมีเหตุการณ์ผิดปกติจะต้องแจ้งเตือนประชาชนในทันที

รวมถึงเตรียมการณ์อพยพคนด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ อปพร.และทีมกู้ภัยระดับตำบลกว่า 20,000 นาย ที่คาดว่าหากมีเหตุการณ์ผิดปกติจะมีการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึง

หมายเหตุ จากข่าวข้างต้น พี่น้องเกษตรกร/ชาวนา ที่อาศัยอยู่ใต้พื้นที่ป่าเขาภูพาน ไม่ต้องไปกลัวครับ ข่าวนี้เกินจริงครับ สามารถเข้าไปดูตารางสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ได้ตามเว็บข้างล่าง และลองดับเบิ้ลคลิกเข้าไปชมกร๊าฟน้ำของเขื่อน ลำปาว ก็จะพบว่า เขื่อน ลำปาวยังสามารถเก็บกักน้ำได้อีกมากกว่า ๓๕๐ ล้าน ลบ.ม.และจะเห็นว่า น้ำฝนเริ่มตกตั้งแต่ประมาณวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๑ จนถึงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ ฝนเริ่มหยุดตกแล้วครับ และจะทิ้งช่วงไปอีกจนถึง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ และปีนี้น้ำจะถูกปล่อยลงมาท่วมไร่นาอีกครั้ง ระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๕๑ - ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๑ เหมือนกับปี ๒๕๔๖ นะครับ ไครที่ยังไม่ได้ทำนาขอให้รอเอาไว้จนถึง หลัง วันพ่อแห่งชาติ เพื่อหนีน้ำท่วม พันธุ์ข้าวควรจะใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงนะครับ.หรือถ้าต้องการแก้ปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ราคาไม่ดี กรุณาทำเกษตร "ทฤษฎีใหม่"ทำนาเพียง ๓๐% ข้าวในตลาดจะหายไป ๗๐% ราคาก็จะดีขึ้นเองครับ ที่สำคัญจะต้องมียุ้งเก็บข้าวเปลือกเป็นของตนเอง จะได้เก็บข้าวไว้ขายเมื่อได้ราคาครับ.

http://water.rid.go.th/flood/flood/res_table.htm

http://water.rid.go.th/flood/flood/res_table.htm

จุดเล็กสุดคือครัวเรือนและส่วนใหญ่ก็เป็นเกษตรกร/ชาวนา ถ้าแต่ละครอบครัวพออยู่พอกิน ชุมชนก็จะพัฒนาขึ้นได้ แต่ไม่มีไครเข้าไปแก้ปัญหาน้ำให้พวกเขาได้ถูกจุด เช่นจะผันน้ำเข้ามา แต่ไม่เคยดูเลยว่า ภาคอีสานนั้นขาดน้ำหรือไม่? สภาพเขื่อนเป็นอย่างไร? ปลงครับ พี่น้องคงจะต้อยช่วยตัวเองครับ ถ้าถูกน้ำท่วมขัง สูงและเป็นเวลานานทำนาไม่ได้ กรุณาใช้โครงการแก้มลิงเข้าไปแก้ครับวางแผนให้ดีแล้วปรับเป็นการเกษตร ทฤษฎีใหม่ ครับ ก็จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ครับ ส่วนน้ำแล้งนั้น ไคร?ที่ปรับไร่นาเป็นเกษตร ทฤษฎีใหม่ ก็จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งได้ครับ และถ้าทำกันมากครัวเรือน ราคาผลผลิตข้าวก็จะดีขึ้นเองตามหลัก เศรษฐศษสตร์ครับ.ลองเข้าไปชมแบบโครงการแก้มลิงจากเว็บ http://msuriyamas.blogspot.com ครับ.

อยากทราบว่าคุณประชุม  สุริยามาศ วย.777 คือใครอ่ะค่ะ

พอดีว่าอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับน้ำในเขื่อนแต่ละเขื่อนอ่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท