อ่านแล้วมาเล่า "เมื่อนางนพมาศลอยโคม"


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านเห็นว่าหนังสือนี้น่าจะมีเค้าเดิมมาแต่เก่าก่อน เพราะในหนังสือเล่าพิธีพราหมณ์เอาไว้ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามธรรมเนียมเก่า

...ลอยกระทงที่ผ่านไปไม่กี่วันนี้ มีการประกวดนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ และชื่อ นางนพมาศ ก็ปรากฏค่อนข้างหนาตา ทำให้นึกย้อนไปถึงประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ก็แปดร้อยปีมาแล้วโน่นเลย

   เล่ากันว่า นางนพมาศ เป็นต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทงที่เราปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ดูเหมือนว่าข้อเท็จจริงทางวิชาการไม่ได้ยืนยันเรื่องนี้ ..

   นางนพมาศมีตัวจริงหรือไม่มี ก็หาคนยืนยันไม่ได้เสียแล้ว ในจารึกก็ไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ที่เล่าเรื่องนางนพมาศ เป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป นั่นก็คือ หนังสือเรื่อง นางนพมาศ หรือเรียกอีกชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ฟังชื่อออกไปทางอินเดียๆ นู่น โดยทั่วไปแล้ว เชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เพิ่งได้ตีพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. 2457


เรื่องหนังสือ

   มาดูหนังสือเล่มนี้กันเลยดีกว่า คงหาไม่ได้ไม่ยาก ในร้านหนังสือจะมีหรือเปล่าก็ไม่ได้ออกไปดู แต่ยืนยันว่าในห้องสมุดมีแน่ๆ สมาชิกบรรณารักษ์ท่านใดพอทราบ รบกวนช่วยยืนยันด้วยนะครับ

   นางนพมาศที่นำมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือเล่มเล็ก ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก หนาเพียง 159 หน้า อ่านไม่นานก็จบ สำนวนภาษาก็ธรรมดา ไม่ซับซ้อนอะไร แต่ที่น่าเสียดายก็คือ ส่วนมากเราไม่ได้อ่านคำนำกัน

   หนังสือบางเล่ม คำนำไม่ค่อยมีประเด็นสำคัญ เป็นเพียงคำแนะนำ แต่คำนำของหนังสือเล่มนี้ ช่วยชำระความเข้าใจที่พกพามาก่อนอ่าน


<p>คำนำว่าอย่างไร</p>

   คำนำหนังสือเล่มนี้ ได้คัดพระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงไว้เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรก มาให้อ่าน สั้นๆ ไม่กี่หน้า แต่มีคุณค่ามาก อย่าพลิกข้ามไปเป็นอันขาด

   ท่านกล่าวว่า ในเรื่องโวหารนั้น หนังสือเล่มนี้สังเกตได้ ว่าแต่งในราวรัชกาลที่ 2 – รัชกาลที่ 3 เพราะถ้าเทียบสำนวนกับหนังสือรุ่นสุโขทัย อย่างไตรภูมิพระร่วง หรือหนังสือรุ่นอยุธยา ก็เห็นชัด ว่าหนังสือนางนพมาศใหม่กว่าแน่ๆ และยังมีที่จับผิดในส่วนของเนื้อหา ที่กล่าวถึงชาติฝรั่งต่างๆ โดยเฉพาะอเมริกัน ซึ่งเพิ่งเกิดแท้ๆ

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ได้กราบทูลรัชกาลที่ 5 ว่าหนังสือที่ปรากฏนี้คงไม่ได้เก่าขนาดสุโขทัยแน่ๆ รัชกาลที่ 5 ท่านก็เห็นอย่างนั้น แต่มีนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ อย่างรัชกาลที่ 4 หรือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เชื่อว่าน่าจะมีตัวฉบับเดิมที่เก่าแก่ แต่ต้นฉบับอาจชำรุดขาดไป มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ และเล่าสืบกันมาว่าในครั้งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระราชนิพนธ์แทรกไว้ตอนหนึ่ง คือ ตอนที่ว่าด้วย “พระศรีมโหสถลองปัญญานางนพมาศ” จนจบ “นางเรวดีให้โอวาทของนพมาศ” ซึ่งกินเนื้อที่ ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง

   สรุปความว่า หนังสือเล่มนี้หลายท่านเชื่อว่าน่าจะมีต้นฉบับเดิมมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็อ้างถึง หนังสือเรื่องนางนพมาศเอาไว้หลายครั้ง สำหรับตัวหนังสือที่ตกมาในปัจจุบันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้ภาษาสำนวนใหม่ขึ้นมาก


<p>ทำไมจึงเชื่อว่า นางนพมาศเป็นหนังสือเก่า</p>

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านเห็นว่าหนังสือนี้น่าจะมีเค้าเดิมมาแต่เก่าก่อน เพราะในหนังสือเล่าพิธีพราหมณ์เอาไว้ (ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง) ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามธรรมเนียมเก่า โดยขนบแล้วพิธีพราหมณ์นั้นมีตำราจดบันทึกรักษาไว้อย่างดี คนทั่วไปไม่ใคร่จะรู้ หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องพิธีพราหมณ์ได้ละเอียดก็หมายความว่าไม่ธรรมดา


<p>เนื้อหา</p>

   มาดูเนื้อหากันบ้าง ใครถาม ก็พอจะได้โม้ให้เขาฟังได้ ว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เขาเล่าอะไรเอาไว้ ;)

   เริ่มต้นว่าด้วยกำเนิดมนุษย์ ชาติภาษา พร้อมแนะนำตัวผู้เขียน “ข้าน้อยผู้ได้นามบัญญัติชื่อว่า ศรีจุฬาลักษณ์” เล่าถึงกำเนิดอาณาจักรและ จากนั้นก็สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระร่วงเจ้า เล่าถึงผู้คน ชาติตระกูลในสุโขทัย และมาถึงประวัติส่วนตัวของนางนพมาศ

   พระมโหสถ พราหมณ์ บิดาของนางนพมาศได้เล่านิทานสอนใจแก่นางสามสี่เรื่อง จากนั้นนางเรวดี มารดา ให้โอวาทสอนมารยาท แล้วนำไปถวายตัวพระร่วงเจ้า

   ช่วงต่อมานางนพมาศเล่าถึงพิธีพราหมณ์ทั้งสิ้น 12 พิธี เริ่มตั้งแต่เดือน 12 พิธีจองเปรียง (เดือนอ้าย เดือนยี่ จนถึงเดือนสิบเอ็ด พิธีอาชยุศ ปิดท้ายด้วยหัวข้อ “ว่าด้วยความประพฤติแห่งนางสนม” เรื่องกิริยามารยาทต่างๆ

แล้วลอยกระทงอยู่ตรงไหน

Dsc0502000

 (กระทงแบบวิจิตรอลังการ ภาพจากบล็อกของครูแอน)


<p>   เรื่องลอยกระทงกล่าวไว้ในพิธีแรก (คือเดือนสิบสองไทย) เรียกว่า พิธีจองเปรียง “วันเพ็ญเดือน 12 เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม” ผู้คนพากันแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทั่วพระนคร ทำโคมตกแต่งลวดลาย มาชักมาแขวนเรียงรายตามแนวโคมชัยเสาระหงหน้าพระที่นั่ง มีมหรสพด้วย นางนพมาศทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) จุดประทีปเปรียง (คือ ใส่น้ำมันไขข้อโค) มีจุดดอกไม้ไฟ จุดพะเนียงพลุสว่างไสวไปหมด ในหนังสือเล่าต่อว่า “อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฏมาจนเท่าทุกวันนี้ แต่คำโลกสมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป”</p>




นางนพมาศคู่กับลอยกระทง (ภาพจากบล็อกของอาจารย์แผ่นดิน)


   สำหรับในพิธีจองเปรียงนี้ ได้กล่าวถึงโคมลอยโคมชัก โคมปักโคมห้อย (เช่นเดียวกับพระราชพิธีจองเปรียง ในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน) เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสักการะพระมหาเกตุธาตุจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเรือพระที่นั่งไปถวายดอกไม้เพลิงตามพระอารามหลวงริมฝั่งแม่น้ำทั่วพระนคร

   เป็นอันว่าหมดภาระ เอ๊ย หมดเรื่องที่จะเล่าเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มีประเด็นสำคัญที่จะต้องย้ำตรงนี้ คือ ผมไม่ได้จะพิสูจน์เรื่องความจริงแท้ของหนังสือ หรือความจริงแท้ของนางนพมาศ แม้ความจริงแท้ของประเพณีลอยกระทง ผมอยากให้ได้ทราบทั่วๆ กันว่า ในหนังสือเล่มนี้ ได้เล่าอะไรไว้บ้างเท่านั้นเองครับ




ป.ล.ถ่ายภาพปกหนังสือแล้ว ยังโหลดเข้าคอมพ์ไม่ได้ ก็เลยขอยืมภาพท่านอื่นๆ มาใช้ก่อน อิๆๆ

หมายเลขบันทึก: 150025เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

สวัสดีค่ะ 

  • อ่านแล้ว งง
  • เป็น  หอยโข่งตาแตก
  • ไม่แน่ใจว่าอะไรที่เพี้ยน
  • ประเพณี หรือ หนังสือ
  • หรือคนเอามาอ้าง
  • ต้องมีภาคต่อ ให้หายงงนะคะ คุณ ธ.

สวัสดีครับ พี่ ธ วั ช ชั ย

ผมได้ข้อมูลใหม่ๆอีกแล้ว ขอบคุณมากครับ

ศัพท์ใหม่(ไม่ใช่สิครับ ศัพท์เก่าๆ) ที่ไม่ค่อยได้ผ่านตามากนัก ก็ได้อ่านจากบันทึกของพี่

ขดารไฟฟ้า  ...

พิธีจองเปรียง...

เพราะประเพณีลอยกระทงนี้ จัดขึ้นในเดือนสิบสอง ตรงกับเดือนยี่ของคนเมืองล้านนา คนเหนือจึงเรียกประเพณีนี้ว่า "ยี่เป็ง"

ยี่  หมายถึง  เดือนสิบสอง

เป็ง มาจากคำว่า "เพ็ญ" เดือนเป็ง มาจากคำว่า เดือนเพ็ญ

ในสมัยก่อนหากสาวใดมีนามว่า "อีน้อง จั๋นเป็ง" ก็เป็นชื่อที่ไพเราะ คือ น้องจันทร์เพ็ญ นั่นเอง เปรียบเสมือนหญิงสาวที่สวยงามราวกับพระจันทร์วันเพ็ญ

วันต่อไปจะเล่าประเพณีนี้ในรูปแบบของไต (ไทยใหญ่) มาเล่าสู่กันฟังครับ

 

ยิ้นดีนักๆครับ ปี้อ้ายธวัชชัย

คิดแล้วเอามาฝากเลยดีกว่าเพราะ Theme เดียวกัน

ว่าด้วยลอยกระทงชาวไทยใหญ่

ประเพณีสิบสองมนล่องผ่องไต (Loi Kra Tong Tai Festival)

สิบสอง คือ เดือนสิบสอง

มน คือ กลม  หมายความถึง พระจันทร์เต็มดวง

ผ่องไต  คือ ชาวไทยใหญ่

 

------------------------------------------------


หรือประเพณีลอยกระทงไทยใหญ่ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวไตซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

โดยมีคติความเชื่อว่าเป็นการจัดขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และบูชาพระอุปคุต 8 องค์ หรือพระอรหันต์ตามความเชื่อของชาวไตโบราณ ซึ่งเชื่อว่าพระอรหันต์ทั้ง 8 องค์นี้ มี 4 องค์ที่มรณภาพแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 4 องค์ยังคงปฏิบัติธรรมอยู่ในกลางมหรรณพ และทุกวันเพ็ญเดือน 12 พระอรหันต์ทั้ง 4 จะเวียนขึ้นมาโปรดสัตว์และเผยแพร่พระพุทธศาสนา

 

โดยชาวไตจะถวายอัฐบริขารต่างๆอันเป็นประเพณีสืบต่อจากประเพณีจองพาราซึ่งทำถวายพระพุทธเจ้า โดยจะบูชาพระอุปคุตและลอยสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆลงในลำน้ำเพื่อเป็นการให้ทานและถวายเป็นพุทธบูชา

 

 

 

สวัสดีครับ P  คุณกาแฟ

  • ถ้ามีภาคต่อ ต้องมีคนปวดหัวกว่านี้แน่ อิๆ
  • หนังสือนางนพมาศ เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ครับ
  • ตัวหนังสือเรื่องนางนพมาศที่ปรากฏในสมุดไทยให้เห็นมาจนถึงรัตนโกสินทร์นั้น มีภาษา สำนวน และเนื้อหาบางตอนไม่เก่าเท่าหนังสืออื่นๆ ในสมัยสุโขทัย
  • ดูจากพิธีพราหมณ์ที่เล่า เชื่อกันว่าคงจะเก่าจริง แต่เป็นเพราะมีการแก้ไข ปรับปรุงในสมัย ร.2-ร.3 ทำให้เนื้อหาบางส่วน และถ้อยคำสำนวน(ทั้งหมด) ใหม่ขึ้นมาก
  • เรื่องลอยกระทง มีกล่าวถึงไว้ใน พิธีจองเปรียง แต่เป็นลอยโคม ภายหลังจึงเรียก "ลอยกระทงลอยประเทียบ"
  • คุณหอยโข่งหายงงแล้วใช่ไหมงับ อิๆ
  • สวัสดีครับ P  น้องเอก

    • ขอบคุณครับที่เอาข้อมูลมาฝากเพียบเลย
    • ขดารไฟฟ้า นี่ พี่เอาคำ "ขดาร" ในจารึกสุโทขัย มาประสมกับคำ "ไฟฟ้า" สมัยใหม่ อิๆ แต่คำว่าไฟฟ้าเท่าที่เจอ พบในรามเกียรติฉบับ ร.1 แล้ว "โกรธดั่งไฟฟ้า"
    • พิธีจองเปรียง มีเล่าไว้ละเอียดในพระราชพิธีสิบสองเดือน ของพราหมณ์เป็นพิธีบูชาเทพเจ้าของเขา ประจวบเหมาะกับช่วงลอยกระทงหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ
    • ภาษาไตอาจเทียบเคียงได้กับภาษาเก่าสุโขทัย ได้ไอเดียๆๆ ไว้ค่อยเล่าอีกที

    ขอบคุณมากๆๆ เลยครับน้องเอก

    • ธุ คุณธวัชชัย ค่ะ ..

    นางสนมเอกของพญาเลอไทนี้   .. ท่าจะหน้าตาสวยสะ นะคะ     อยากเห็นค่ะ ^_^

    สวัสดีค่ะ..ครู

    ดีใจค่ะ..ที่ได้อ่าน "เมื่อนางนพมาศลอยโคม"..

    เคยอบรมเรื่อง "การประเมินค่าวรรณคดี"..มีเรื่องนี้อยู่ด้วย..ก็ยังสงสัยอยู่ค่ะ..(ไม่นานนี้เอง) แนวคิดเหมือนที่ครูนำเสนอนี้แหละค่ะ..คือ หลักฐานว่าจริง ๆ เป็นสมัยใด/

    แต่จากการเรียนการสอน เรื่อง ประเพณีลอยกระทง ในโรงเรียนทั่ว ๆไป ก็จะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในกรุงสุโขทัยทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องย่อ เหมือนตำนาน ที่มาของวันลอยกระทง..ให้เด็กได้รับรู้เท่านั้น ค่ะ..

    เมื่ออ่านแล้วทำให้คิดอยากอ่านหนังสือ "ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์" ขึ้นมาจริง ๆ ..จะไปหาจากคุณครูบรรณารักษ์ค่ะ..

    คุณค่าของเรื่อง..มีเยอะมากค่ะ ..วัฒนธรรม ประเพณี ..ที่ชอบมาก จะเป็นเรื่อง สำนวนโวหารที่ใช้พรรณนา..คำสอนของแม่เรวดี เรื่องการปฏิบัติตัว ให้ลูกสาวนพมาศ..

    อยากเห็น "โคม" จริง ๆ ในพระราชพิธีจองเปรียงนะคะ.."โคมชัก โคมแขวน โคมลอย โคมปัก โคมห้อย ทั่วพระนคร"..(ซะป๊ะโคม)..คงสวยงามสุด ๆ..

    ขอบคุณค่ะ..

    สวัสดีค่ะ

    เรื่องนางนพมาศนี่ เป็นตำนานเล่าๆกันมานะคะ

     ตอนเรียนอักษร ก็ไม่ได้เน้นนักคุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์ เรื่องนี้มีคุณค่อาจมีไม่มาก เพราะมี การดัดแปลงแต่งเติมภาษาและสำนวนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมมาก

    นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนาง เรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท นางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์  นางนพมาศได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการ เข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย การสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ ไตรภูมิพระร่วง

     

    สวัสดีครับ คุณต้อม เนปาลี


    วันนี้ทานอะไรบ้างครับ ;)

    นางนพมาศน้ "บริบูรณ์ไปด้วยสมบัติทั้ง 3 คือ รูปสมบัติ ปัญญาสมบัติ ทรัพย์สมบัติ" เรียนหนังสือสารพัดวิชา กิริยามารยาทเรียบร้อยงดงาม ฯลฯ


    มีบทชมโฉมด้วยครับ :

    "ละไมละม่อมพร้อมพริ้งยิ่งนารี

    "จำเริญศรีสมบูรณ์ประยูรศักดิ์

    "เนื้อเหลืองเล่ห์ทองผ่องผิวพักตร์

    "เป็นที่รักดวงจิตบิดรเอยฯ"


    คงจะสวยมากๆ นะครับ เพราะแม้สมัยนี้ นางนพมาศที่ไหนๆ ก็สวยไปหมด ;)

    สวัสดีครับ อาจารย์วัชราภรณ์

    เรื่องนางนพมาศ ผมว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการเรียนการสอนนะครับ เพราะนำไปสอนได้หลายระดับ ด้วยภาษาที่อ่านง่าย ถ้าจะวิเคราะห์เปรียบก็ทำได้หลายประเด็น

    ที่ผมอยากเสนอแนะก็คือ บางครั้ง สิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง เราอาจไม่ได้สัมผัส รู้เห็นจริงๆ จึงอาจอ้างต่อๆ ไป โดยไม่ตรงกับเนื้อหาเดิม

    ผมเชื่อว่า ถ้าใครได้อ่านจบสักรอบหนึ่ง ก็พอจะวิเคราะห์ได้ทั้งเนื้อหา สำนวนภาษา และเรื่องราวอื่นๆ ครับ รีบหาอ่านเลยนะครับ อิๆ

    ใจจริงแล้ว ผมอยากเสนอประเด็นเรื่องหนังสือเล่มนี้ก่อนนะครับ ยังไม่ไปถึงเรื่องลอยกระทง เพราะจะเป็นต้องเปรียบเทียบหลักฐานอื่นๆ ด้วย ไว้โอกาสหน้า ลองแวะไปดูศิลาจารึกดีไหมครับ ว่าท่านกล่าวถึงลอยกระทงเอาไว้บ้างหรือเปล่า แล้วเปรียบเทียบกับในหนังสือนางนพมาศ ;)

    สวัสดีครับ คุณพี่ศศินันท์

    หนังสือเล่มนี้สำนวนเป็นของแต่งใหม่แน่ครับ น่าเสียดายว่า นักเรียนชอบกระโดดข้ามคำนำไป ทั้งๆ ที่ในคำนำ ก็เล่าตรงนี้เอาไว้ค่อนข้างละเอียด

    เนื้อหานั้นคงจะปะติดปะต่อกันหลายเรื่อง หนังสือนี้เล่มเล็กๆ อ่านเพลินๆ เดี๋ยวเดียวก็จบ แต่ไม่ค่อยจะมีใครอ่านกันแล้ว ก็เลยแทบจะเหลือแต่ชื่อ ;)

    ต้องขอบพระคุณมากครับ ที่มาช่วยเพิ่มเติม ถ้ามีประเด็นอื่นๆ ก็เพิ่มได้อีกนะครับ

    อ่านเรื่องนางนพมาศลอยโคมแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากและยังชั่งใจอยู่ว่าจะเชื่อว่าอย่างไรดี เชื่อว่าการลอยกระทงมีจริงตั้งแต่อดีตเมื่อครั้งสุโขทัย หรือจะเชื่อว่าเพิ่งมามีเอาตอนรัตนโกสินทร์  และยังได้รู้ว่า "ขดาร" มาจากจารึกของสุโขทัย แต่แปลว่าอะไรละครับ แปลว่า กระดาน หรือเปล่า ขดารไฟฟ้า จะหมายถึง กระดานอีเลคโทรนิคส์ หรือเปล่า ขอคำเฉลยหน่อยเหอะ มันไม่ใช่ศัพท์กฎหมาย แฮ่ะๆ
    สวัสดีครับ ท่านอัยการชาวเกาะ จะว่าไปแล้ว ในความไม่มีอะไร มันก็มีความสลับซับซ้อน และซาหนุกซาหนานได้เหมือนกัน อิๆ ก็เถียงๆ กันไปครับ ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานอย่างเดียว อาศัยความรู้สึกไม่ได้ ปัจจุบันนี้การเรียนสมัยใหม่ยิ่งต้องมีอ้างอิง อ้างถึง อ้างแล้วอ้างอีก แล้วก็ อ้างว้าง?.... เท่าที่อ่านสำรวจดูหลายๆ ท่าน ได้ความว่าอย่างนี้ครับ 1.หนังสือเล่มนี้แต่งใหม่แน่ๆ แต่อาจเอาเรื่องตำนานเก่าๆ มาใส่ ซึ่ตำนานเก่าๆ นี้มีเค้าจริงอยู่ ทำนอง เล่าเก่าในเล่มใหม่ ยังไงยังงั้นแหละครับ 2.ลอยโคมคงมีมานานแล้ว ส่วนลอยกระทงก็คงจะมี แต่ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ 3. อันนี้ผมสันนิษฐานเอง ว่า ตอนหลังลอยโคมกับลอยกระทงก็รวมมาอยู่ในงานเดียวกัน เพระจัดในเดือนเดียวกัน พิธีก็คล้ายๆ กัน ไว้ค่อยค้นหากันต่อครับ หาไม่ยากเรื่องนี้
    ข้อความจากจารึกพ่อขุนรามคำแหง "ขดารหิน"

    ผมยกข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมาให้ดู (ความจริงจะเปิดเผยในบันทึกอื่น แต่รอแล้วรออีกยังไม่มีจังหวะซะที มาเปิดที่นี่ก็แล้วกัน) คำว่า "ขดารหิน" คงเห็นชัดนะครับ แต่สระอิ นั้น เขียนเป็นวงกลม แล้วมีขีดตรงกลาง อยู่หน้าอักษร ห

    สมัยที่ผมเรียนปริญญาตรี ตึกที่เรียนสลักตัวอักษรสมัยพ่อขุนรามไว้ แล้วอาจารย์ก็ให้ไปหัดอ่าน สนุกแต่เมื่อยคอชะมัดเลยครับ

    ความจริงมีศัพท์กฎหมายโบราณหลายคำ ว่าจะชงไปให้ท่านเล่าต่อนะครับ เป็นต้นว่า "เด็กเจ็ดเข้า เฒ่าเจ็ดสิบ ให้การเป็นพยานในศาลไม่ได้"

    • ธุค่ะ อาจารย์ธวัชชัย ..

    เช้านี้ต้อมหม่ำเย็นตาโฟแห้ง  อร่อยค่ะ  อิอิ  ;)  กลางวันก็แพลนไว้แล้วว่าน่าจะเป็นแกงอ่อมหมู  แต่เมื่อกี้เห็นร้านปิด  ว๊า! งั้นคงต้องแล้วแต่ว่าแม่บ้านจะทำอะไรแล้วล่ะค่ะ    ส่วนมื้อเย็นยังไม่ทราบค่ะ   อิอิ   แหมๆๆ   ล้อต้อมไม่หยุดนะเรื่องของกินนี่

     

    คุณสมบัติของนางนพมาศนั้น  ทำให้ต้อมนึกไปถึงผู้หญิงจากลายเส้นของอาจารย์จักรพันธ์  โปษยกฤต   ซึ่งมีความละเอียดอ่อน  สวยงาม  อ่อนช้อย  เหมือนฝัน น่ะค่ะ ^_^  แบบว่าผู้หญิงสวยๆ ต้องมีหน้าตาสวยประมาณนั้น   ต้อมคิดของต้อมเองนะคะ  

    นี่ๆๆ  ต้อมก็เคยเขียนบทชมโฉมใครด้วยล่ะ ^_^   http://gotoknow.org/blog/naepalee/109326

     

    .."เด็กเจ็ดเข้า เฒ่าเจ็ดสิบ ให้การเป็นพยานในศาลไม่ได้"..กำลังเห็นเป็นครั้งแรกในชีวิตค่ะ..เดานะคะว่า เด็กเจ็ดเข้า หมายถึงเด็กอายุเจ็ดปี..ใช่หรือเปล่าคะ..ทั้งเจ็ดปีและเจ็ดสิบปี..ใช้การไม่ได้..น่าคิดนะคะ..เด็กเจ็ดปีน่าจะให้ข้อมูลที่เป็นจริงได้ ..กรุณาเฉลยด้วย..ค่ะ..และเห็นปกหนังสือที่ครูแสดงให้ดูแล้ว..น่าจะหายากนะคะ..วันนี้ได้ไปเยี่ยมห้องสมุดโรงเรียน ลองๆ ถามคุณครูที่รับผิดชอบ..ไม่มีค่ะ..จะลองถามใหม่ค่ะ..เห็นปกแล้ว..น่าหยิบจับค่ะ..

    ขอโทษค่ะ..ลืมปิดโค้ดสีค่ะ..

    สวัสดีครับ ท่านอัยการชาวเกาะ

    ลืมบอกความหมายของขดาร นัยนี้ ขดารก็น่าจะหมายถึงจารึก หรือแผ่นกระดานนั่นแหละครับ

    สวัสดีครับ คุณต้อม

    ไว้ค่อยหาเรื่องอื่นมาล้อต่อครับ ;)

    แวะไปอ่านกลอนแล้ว แต่งเก่งจังเลยครับ

    แอบมีฉันท์ด้วยแน่ะ

    ไว้คราวหน้าๆๆ ได้แต่งกันบ้าง ;)

    • สวัสดีครับคุณธวัชชัย
    • เข้ามารื้อฟื้นความรู้เดิมครับ
    • ตำนานนางนพมาศ
    • ปีนี้ลอยกระทงคนเดียว เหงาดีเหมือนกันครับ
    • ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

    สวัสดีครับ อ.วัชราภรณ์

    "เด็กเจ็ดเข้า เฒ่าเจ็ดสิบ" ผมก็จำเขามาอีกที จิตร ภูมิศักดิ์ (ศิษย์เก่าอักษรศาสตร์) ท่านได้อ้างไว้ในเรื่อง "ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา" บอกว่า

    ... ในกฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1893 ปีขาล ได้มีระบุห้ามฟัง "เด็กเจ็ดเข้า เถ้าเจ็ดสิบ" เป็นพยานในศาล...

    ท่านยังอ้างถึงกฎหมายลักษณะวิวาท มหาศักราช 1369 ปีมะเส็ง (พ.ศ. 1992) ว่า

    ...อนึ่ง เด็กเจ็ดเข้า เถ้าเจ็ดสิบ เป็นคนหลงไหล ไปด่าไปตีท่าน ท่านมิให้ปรับไหมมีโทษ แต่ให้นายบ้านนายเมืองช่วยว่ากล่าวให้สมัครสมาผู้เจ็บนั้นโดยควร" (มาตรา 10)...

    หนังสือนางนพมาศเล่มนี้ พิมพ์ พ.ศ. 2513 ครับ แต่ผมซื้อเมื่อราว 2530 อ่านหลายครั้ง ยับเยินๆ หาไม่เจอเหรอครับ น่าเสียดายจัง หอสมุดมหาวิทยาลัยน่าจะมีนะครับ ลองอีกครั้ง

    สวัสดีครับ อ. บัวชูฝัก

    ก็ว่าจะนำวรรณคดีเก่าๆ มาเล่าสู่กันฟัง แบบสบายๆ

    สั้นหน่อย เพราะอ่านในคอมพิวเตอร์นานก็ปวดตา

    แต่บางทีเขียนสั้นก็ได้ความไม่ครบ เสียดายเหมือนกันครับ

    ขอบคุณครับที่แวะมา

    • ธุค่า....

    ต้อมมารออ่าน "วรรณคดีเก่าๆ" ค่ะ  ^_^  เมื่อไหร่จะขึ้นบันทึกใหม่เสียทีล่ะคะ   อิอิ

    • ตามน้องต้อมมาดูนางนพมาศค่ะ
    • ...น้องต้อมสงสัยว่าสวยประมาณไหน
    • น้องต้อมขา...สวยแบบ....เอ้อไม่อยากโม้...เคยถูกจับไปเป็นนางนพมาศค่ะ...ตอนเรียนมัธยมวันก่อนก็เป็นพระแพงมาเที่ยวนึงแล้ว...ลองคิดดูสิ...อิอิ
    • -----------------------
    • วันลอยกระทงในปัจจุบันถูกดัดแปลง
    • แตกต่างไปมากมาย
    • บางครั้งเราเน้นการท่องเที่ยว และความสนุกสนานจนลืมแนวคิดเดิมๆ...
    • ดูได้จากควันหลงหลังงานลอยกระทง
    • กลายเป็นทำลายสายน้ำเสียเอง
    • และไม่นับรวมศพนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น ที่ถูกปาดคอกลางอุทธยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ไม่ทราบว่าเรากำลังหลงทางกันอยู่หรือไม่

    สวัสดีครับ คุณต้อม

    มีหนังสือเก่า แต่ไม่ใช่วรรณคดีครับ เพิ่งมาใหม่

    แต่เห็นไปอ่านแล้วนี่นะ

    ว่องไวมาก ;)

    สวัสดีครับ คุณนารี

    เพิ่งทราบนะเนี่ย ว่าเป็นนางนพมาศ

    วันนี้ไปสวนหลวง ร.๙ ตอนแรกกะว่าจะไปดู ดอกทานตะวันที่ลพบุรี

    แต่พรรคพวกว่าแดดร้อน อย่าไปเลย ไม่งั้นคงได้มีเรื่องมาเล่ามากมาย

    เทศกาล หรืออะไรๆ ในปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นธุรกิจหมด ความสนุกแบบเดิม ก็เลยเปลี่ยนตามไปด้วยครับ

    รออ่านเรื่องใหม่อยู่นะครับ ;)

    สวัสดีค่ะคุณครู

    ขอบคุณนะคะ  ได้อ่านเรื่องราวดีๆจะตามอ่านไปเรื่อยๆค่ะ 

    คุณครูคะ เมื่อก่อนตอนเด็กๆอ๋อจำได้ว่าที่บ้านเคยมีนิราศคำกลอน และสุภาษิตสอนหญิงของท่านสุนทรภู่อยู่มากมายหลายเล่ม แต่ย้ายบ้านไปมา ไม่ทราบว่าหายไปไหน หรือเก็บไว้กรุไหนค่ะ

    คุณครูพอให้ข้อมูลว่าจะซื้อหามาอ่านมาสะสมมาเก็บบทกวีของท่านสุนทรภู่ได้จากที่ใดบ้างคะ

    หลังๆได้มาอ่านบางบทกลอนของท่านสุนทรภู่ที่คัดสรรมาตีพิมพ์ในวารสารศิลปวัฒนธรรมก็ดีใจได้อ่านบ้างเล็กๆน้อยๆ แต่ไม่อิ่มไม่จุใจค่ะ

    อ๋อ

    • อยากอ่านเรื่องสนุกๆๆ
    • เช่น ร้อยป่าพันภูเขา
    • เรื่อง รักเดียวของขจิต
    •  อิอิอิอิๆ

     

    สวัสดีครับ คุณอ๋อ P

    • หนังสือวรรณคดีคงไม่มีขายร้านหนังสือทั่วไปนะครับ
    • แต่ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร้านศึกษาภัณฑ์ หรือร้านหนังสือของหอสมุดแห่งชาติน่าจะมีครับ
    • แต่ว่า ตอนนี้คุณอ๋อ อยู่ที่ส่วนไหนของประเทศไทยครับ ;)

    สวัสดีครับ P  อ. ขจิต ฝอยทอง

    • ใครอยากอ่าน เรื่อง รักเดียวของขจิต ยกมือขึ้น
    • อิๆ ประเดี๋ยวอาจจะมีคนช่วยแต่งให้ครับ
    • ก่อนอื่นต้องสืบทางลับเสียก่อน ;)

    สวัสดีค่ะ คุณครู

    อัญเชิญพระพรแด่คุณครูค่ะ

    สวัวดีปีใหม่ค่ะ

    อ๋อ เมืองนนท์

    สวัสดีครับ คุณอ๋อ เมืองนนท์

    • ขอบคุณนะครับที่ตามมาเยี่ยม
    • แล้วจะแวะตามไปรับพระพร ครับผม
    • สวัสดีปีใหม่ครับ 

    หวัดดีค่ะ

    มาเยี่ยมค่ะ เห็น comment ที่คุณทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า ก็นึกถึง เข้ามา 2 ครั้งล่ะ อ่านได้ 3 เรื่องล่ะ

    อยากเขียนเก่งมั่งจัง...อิๆๆๆ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท