พงษ์ศักดิ์-->Constructivism & Blended Learning
นาย พงษ์ศักดิ์ พงษ์ศักดิ์-->Constructivism & Blended Learning บุญภักดี

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 7 Modern Education : Balanaced Scorecard(BSC) & KM


จะมีวิธีจัดการความรู้ที่อยู่ในตัวของนักศึกษาอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการสร้างหุ่นยนต์เหล่านี้อย่างไร

Ed.D.(Educational and Learning Management) : NSRU

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

1166303 การจัดการการศึกษาแนวใหม่(Modern Approach in Educational Management) : ดร.พรเทพ รู้แผน,รศ.ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม (อธิการบดี)

***********************************************************************

อาทิตย์นี้เรียนกับท่านอาจารย์ดร.พรเทพ รู้แผน และท่านอธิการบดี รศ.ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม  หัวข้อที่นำเสนอวันนี้มี 2 เรื่องคือ

  1. Balanaced Scorecard(BSC) นำเสนอโดยพี่ทวี 
  2. Knowledge Management(KM) นำเสนอโดยพี่วิเชียร

*******************************************

Balanaced Scorecard(BSC)

  • เกิดในภาคธุรกิจ
  • BSC เน้นการบริหาร
  • BSC เน้นการบริหารทุกเรื่อง(การเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน การเรียนรู้ )
  • ส่วนใหญ่ผู้บริหารมักมองด้านเดียวหรือเน้นเพียงด้านเดียว ไม่ได้มององค์รวม(holistic)เลยเกิดปัญหา
  • ประสิทธิภาพ,ประสิทธิผล
  • การนำ BSC ไปใช้มี ต้องมี 1.แผนกลยุทธ์ 2.แผนปฏิบัติการ
  • ต้องรู้บริบท ไม่ใช่อ่านแต่ตำราแล้วนำไปใช้
  • จะประยุกต์ใช้ BSC ในด้านการศึกษาอย่างไร?
  • เว็บ www.qmark.or.th 

ความรู้เกี่ยวกับ BSC

 Balanced Scorecard เป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานสมัยใหม่ และได้รับความนิยมไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย Balanced Scorecard ได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี 1990 โดย Drs. Robert Kaplan จาก Harvard Business School และ David Norton จาก Balanced Scorecard Collaborative โดยตั้งชื่อระบบนี้ว่า “Balanced Scorecard” เพื่อที่ผู้บริหารขององค์กรจะได้รับรู้ถึงจุดอ่อน และความไม่ชัดเจนของการบริหารงานที่ผ่านมา balanced scorecard จะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการองค์กรได้ชัดเจน โดยดูจากผลของการวัดค่าได้จากทุกมุมมอง เพื่อให้เกิดดุลยภาพในทุก ๆ ด้าน มากกว่าที่จะใช้มุมมองด้านการเงินเพียงด้านเดียว อย่างที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่คำนึงถึง เช่น รายได้ กำไร ผลตอบแทนจากเงินปันผล และราคาหุ้นในตลาด เป็นต้น การนำ balanced scorecard มาใช้ จะทำให้ผู้บริหารมองเห็นภาพขององค์กรชัดเจนยิ่งขึ้น

Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน

Balance Scorecard จะทำให้เราได้เห็นภาพขององค์กรใน 4 มุมมอง และนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือวัดผล โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ มุมมองทั้ง 4 ดังกล่าว ประกอบด้วย 

1.       The Learning and Growth Perspective เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, การพัฒนาระบอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น

2.       The Business Process Perspective เป็นมุมมองด้านกระบวนการทำงานภายในองค์กรเอง เช่น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ, การจัดโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ, การประสานงานภายในองค์กร, การจัดการด้านสายงานผลิตที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

3.       The Customer Perspective เป็นมุมมองด้านลูกค้า เช่น ความพึงพอของลูกค้า, ภาพลักษณ์, กระบวนการด้านการตลาด, การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

4.       The Financial Perspective เป็นมุมมองด้านการเงิน เช่น การเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างผลิตน้อย, การหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ เป็นต้น

(อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.waddeeja.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=389991&Ntype=3)

 

http://www.learn.com/files/images/products/Balanced_Scorecard2.gif

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

 

***************************************************

Knowledge Management : KM

     เรื่อง KM น่าสนใจและเป็นประเด็นที่เพื่อนๆสามารถนำไปทำวิจัยได้อีกมาก ในหน่วยงานต่างๆมีองค์ความรู้อยู่อีกมากมายที่เรายังไม่ได้จัดการ อาชีวศึกษาเองความรู้ต่างๆที่เกิดจากการปฏิบัติทั้งจากครูหรือนักศึกษา รอให้เราเข้าไปจัดการอีกมากเช่น ความรู้ของนักศึกษาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ การสร้างความรู้ ประสบการณ์จากการสร้างหุ่นยนต์ นักศึกษามีวิธีคิดอย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร ความรู้ที่เกิดจากการลองผิดลองถูกจนสามารถนำไปสู่ความสำเร็จ ความรู้นี้จะมีประโยชน์กับรุ่นน้องหรือคนอื่นๆที่สนใจเกี่ยวกับการสร้างหุ่นยนต์นะครับ

    เห็นเด็กอาชีวแข่งขันหุ่นยนต์ ABU และได้รางวัลชนะเลิศทุกปี มันคือความภูมิใจของชาวอาชีวศึกษานะครับ ทุกครั้งที่เห็นเด็กอาชีวไปแข่งผมปลื้มใจมาก นับถือในความมานะอดทน ความมุ่งมั่นและความตั้งใจของเด็กๆและครูอาชีวะครับ ถ้าครูไม่เก่งไม่มีทางเลยที่เด็กๆจะก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ ผมชอบเล่าให้นักศึกษาที่ผมสอนฟัง ให้เขาภูมิใจในความเป็นอาชีวะ

     ผมก็คอยติดตามดูนะครับว่าอาชีวศึกษาเองจะมีวิธีจัดการความรู้ที่อยู่ในตัวของนักศึกษาเหล่านี้อย่างไร มีการถ่ายทอดให้รุ่นต่อๆไปอย่างไร เห็นเรียนจบก็ไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยกันหมด องค์ความรู้ก็ติดตัวนักศึกษาไป รุ่นน้องก็มาเริ่มต้นเรียนรู้กันใหม่ใครสนใจลองทำ KM เกี่ยวกับความรู้ของนักศึกษาที่สร้างหุ่นยนต์ดูน่าจะดีนะครับ

เพิ่มเติม : ลองอ่านบันทึกที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ KM นะครับ

หมายเลขบันทึก: 195599เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาเยี่ยมชมและหาความรู้นะค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ครูอ้อย มาแวะ อ่าน หาความรู้ไปเก็บไว้ก่อนค่ะ

อาจารย์สบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท