วิจัยในชั้นเรียนอย่างง่าย...ทอดไข่ได้ก็ทำวิจัยเป็น


วิจัยในชั้นเรียนเปลี่ยนวิทยฐานะ

๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓

สวัสดีค่ะ...กัลยาณมิตรที่รัก

   หลังจากเข้ารับการอบรมวิจัยในชั้นเรียนระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓  ณ โรงแรม Grand Tower Inn กรุงเทพมหานคร ได้ความรู้และข้อคิดหลายประการอยากแบ่งปันให้เพื่อนๆ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนครูและมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่นักเรียนนักศึกษา

วิทยากรเปี่ยมภูมิรู้ ภูมิธรรมและภูมิฐาน คือ

ดร.กมลทิพย์ อาร์ธอส (พี่อู๊ด)  จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธุรกิจบัณฑิตย์ 

อาจารย์มนฤดี กีรติพรานนท์ (พี่กบ)จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธุรกิจบัณฑิตย์

อาจารย์สุมาลี โฆสิตนิธิกุล(พี่เป้า)(ครูเชี่ยวชาญ ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร) อ.ก.ค.ศ.สอศ.

อาจารย์สมปัญญา ศรีภคนานนท์ ครูชำนาญการพิเศษ

(วิทยากรให้เรียกว่า...พี่...น่ะ)

นอกจากนี้ยังมีคณะคุณครูที่เข้าร่วมการอบรมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์...ฟังชื่อบันทึกแล้วอย่าเพิ่งคิดลึกนึกไกล...เป็นคำพูดที่พี่ๆ เค้าเย้ากันในการวิพากษ์งานวิจัยน่ะค่ะ

      แรกที่ได้รับหนังสือการสมัครเข้ารับการอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัตการการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูผู้สอนเพื่อก้าวสู่ครูมืออาชีพ ซึ่งจัดโดยสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา....ก็คิดว่า...อืมห์...นี่หล่ะคือสิ่งที่เราต้องการเรียนรู้ในขณะนี้ (การไปอบรมครั้งนี้ขอบอกว่า...ใช้วิธีจับสลาก...ค่ะ...เพราะมีคุณครูในแผนกสามัญสัมพันธ์สนใจเข้าร่วมอบรมกันทุกคน แต่มีโควต้าเพียง ๑ คน/สถานศึกษา เท่านั้น) แต่พอเข้าห้องอบรม...huhu…มีแต่คณะคุณครู(คศ.๒) รอคว้าธงแห่ง คศ.๓ มีครูรุ่นเยาว์ไม่มากนัก ฉันเป็นหนึ่งในนั้นน่ะ  ...ครูกิจจา บานชื่น แห่ง วท.สมุทรปราการ ยังไม่คิดว่าฉันเป็นข้าราชการเลย (เพราะทั้งทะเล้น แก่น ซ่า และหน้าเด็ก..huhu…) เรียนคุณครูกิจจา...หนูยังมองไม่เห็นธง  แต่หนูมองเห็นทางแล้วค่ะ... ธงผืนนั้นจารึกชื่อหนูลงไปเรียบร้อยแล้ว รอวันเวลาอีกไม่นานนัก หนูก็จะสามารถคว้าธงทิวปลิวไสวนั้นได้...ขอบคุณสำหรับคำชมเชยนะคะคุณครูกิจจา

     ฉันเป็นตัวแทนการนำเสนอวิจัยในชั้นเรียนในหมวดวิชาภาษาอังกฤษโดยไม่ตั้งใจ...นั่นเป็นเพราะว่าฉันไม่รู้เรื่อง...วิจัย...เลยสักนิด  และฉันก็อาสาทำหน้าที่เป็นโรงพิมพ์เท่านั้น...แต่พอถึงวันนำเสนองานหน้าชั้น(เรียน) พี่ๆ ก็สนับสนุนเต็มที่ให้ฉันขึ้นชก... huhu…เปิ่นๆ มือไม้สั่น ซะงั้น...แต่ก็สำเร็จไปได้ด้วยดี...เวทีนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยกำลังใจจากพี่ๆและคณะวิทยากร…อย่างแท้จริง

วิจัยในชั้นเรียนเปลี่ยนวิทยฐานะได้

        วิทยากรพูดให้เราเข้าใจเพื่อให้นำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย     แต่ในทางปฏิบัติจริงผู้ตรวจงานวิจัยเป็นผู้พิจารณาว่างานวิจัยชิ้นใดที่ผ่าน...คณะคุณครูที่ได้รับการเยียวยา...ก็มาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง...ฟังดูยาก(ชะมัด) แต่ฉันก็คิดว่าฉันยังมีเวลาที่จะทำวิจัย ฉันรักที่จะทำวิจัย โดยเริ่มจากวิจัยเรื่องง่ายๆ ในห้องเรียน ไปจนถึงภายนอกห้องเรียน  ฉันไม่ได้กังวลกับคำว่า คศ.๓ เพราะหากฉันทำดีอย่างเต็มที่ คำว่า คศ.๓ ก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม...ฉันให้ความสนใจกับ...ระหว่างการเดินทาง...มากกว่าคำว่า..จุดหมายปลายทาง... เพราะถ้าเราเลือกเดินทางดีๆ  เราก็ต้องไปถึงจุดหมายปลายทางที่ดีแน่นอน...

      ถึงแม้ว่าตอนนี้ฉันอยู่ในสังคมที่มีความจำกัดมากมาย  แต่ฉันก็คิดว่าความดียังคุ้มครองฉันอยู่...และฉันก็มีกัลยามิตรที่คอยเป็นกำลังใจให้อย่างท่วมท้น

   บางครั้งฉันก็เคยคิดว่า...เมล็ดพันธ์พืชเกรด A หากได้รับการเพาะปลูกลงบนผืนดินที่อุดมสมบูรณ์...ก็ย่อมผลิดอกออกผลดีแน่นอน     บางครั้งเมล็ดพันธ์พืชเกรด A แต่ถูกเพาะปลูกในดินที่เป็นดินทราย แห้งแล้ง...ย่อมตายอย่างไม่ต้องสงสัย  ในทางตรงกันข้ามหากมีเมล็ดพันธ์เกรดเลว แต่ถูกบ่มเพาะในผืนดินที่สมบูรณ์ ยังอาจเติบโตให้ร่มไม้ใบบังได้... แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมล็ดพันธ์พืชที่ดี กับสภาพดินฟ้าอากาศ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอย่างแน่นอนที่สุด

       ฉันเปรียบตัวเองว่าเป็น...เมล็ดพันธ์มืออาชีพ...huhu… เพราะเป็นเมล็ดพันธ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้... ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะแกร่งได้...ฉันเห็นต้นสนหน้าวิทยาลัย  กว่าต้นสนจะเติบโตให้ร่มไม้แก่คนมาปิ้กนิคพักผ่อน เป็นแนวกั้น tsunami และเป็นแหล่งอาศัยของสกุณาร่าร้อง...ต้นสนต้องผ่านฝน...ทนพายุ...รับรู้สายลมและแสงแดดนับครั้งไม่ถ้วน... แล้วไฉน...เราจะแกร่งไม่ได้...(แล้วเกี่ยวกับวิจัยในชั้นเรียนยังไงเนี่ย..heehee)

เอาเป็นว่าขอนำเสนอผู้คิดค้นโปรแกรมช่วยการคำนวนกลุ่มตัวอย่าง ชุดโปรแกรมช่วยวิเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาของอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์ วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก  มาเผยแพร่นะคะ (ได้รับการเผยแพร่จากครูกิจจา บานชื่น  มาอีกทีน่ะ)

 email: [email protected]; [email protected]; [email protected]

   โครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน โดย ดร. กมลทิพย์ อาร์ธอส  บอกว่าไม่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว แต่ควรประกอบไปด้วย

๑.     ชื่อเรื่อง (เป็นประโยคบอกเล่า ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร)

๒.     ความเป็นมา/ความจำเป็นที่ทำวิจัยในเรื่องนี้

         ๑. ระบุปัญหา

         ๒. ความรุนแรงของปัญหา

         ๓. ผลกระทบเมื่อเกิดปัญหานั้น

         ๔. ระดับของผลกระทบ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นักเรียน ครู โรงเรียน ผู้ปกครองและสังคมโดยรวม

         ๕. มีข้อมูลสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ

         ๖. ความยาว ๑ – ๒ หน้า

๓.     วัตถุประสงค์ (มักจะเขียนเป็นข้อๆ ที่สามารถทำได้จริงๆ ชัดเจน)

๔.     ขอบเขต

        ๑.  เนื้อหา

        ๒.  พื้นที่

        ๓.  เวลา

       ๔.  นิยามศัพท์

๕.     สมมติฐานของการวิจัย

๖.      ระเบียบวิธีวิจัย(สำคัญที่สุด) หาคำตอบได้หรือไม่ เชื่อถือได้หรือไม่ ตามวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

        ๑.  ใช้วิธีอะไรมาวิเคราะห์

        ๒.  ใช้ข้อมูลอะไรนำมาวิเคราะห์ตามวิธีที่กำหนดไว้

        ๓.  เก็บรวบรวมจากที่ไหน

        ๔.  ด้วยวิธีอะไร

๗.     ขั้นตอนและระยะเวลา

        ๑.  ระบุขั้นตอนที่สำคัญ

        ๒.  ขั้นวางแผน

        ๓.  เก็บรวบรวมข้อมูล

        ๔.  ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล

        ๕.  เขียนรายงานการวิจัย

๘.     การเขียนรายงาน

        ๑.  บทนำ (หัวข้อตามโครงร่างการวิจัย)

        ๒.  ผลการวิจัย (สำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ ตาราง แผนภูมิ รูปแบบ อภิปรายผลด้วย) สอดคล้อง/ขัดแย้งกับงานอื่นๆ   รวมถึงทฤษฏีและผลงานอื่นๆ

        ๓.  สรุปและข้อเสนอแนะ (การนำผลไปใช้ การวิจัยในอนาคต)

๙.      แหล่งที่มา/บรรณานุกรม

       วิทยากรยังฝากบอกอีกนะคะว่าถ้าอยากให้งานวิจัยสมบูรณ์...ต้องวัดครอบคลุม ๓ อย่าง  นั่นคือ ด้านประสิทธิภาพ ด้านผลสัมฤทธิ์ และด้านความพึงพอใจ

 เรามาทำวิจัยแบบสถิติพอเพียงกันเถอะ เพื่อความมันในรสชาติของชีวิต

ขอขอบคุณคณะวิทยากร คณะผู้จัด และเพื่อนครู อีกครั้ง

My regards

Lady KIM...

 

หมายเลขบันทึก: 362452เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ คุณ KIM

ได้อ่านบันทึกของคุณแล้วก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นค่ะเรื่องวิจัยในชั้นเรียน ก็ได้อบรมมามากมายค่ะจากหน้าที่และการบังคับให้ต้องทำวิจัยค่ะที่มีส่งก็ทำแบบมั่วๆ ลอกๆไม่เข้าใจอะไรที่ลึกซึ้งค่ะขนาดเป็นครูมาก็ 30 แล้วนะคะ จนกระทั่งได้โดดไปทำผลงานส่งกับเขา(คศ.3)ผลก็ตกค่ะกำลังอยู่ในขั้นตอนเยียวยารุ่นที่2 ค่ะ ก็เริ่มเครียกเพราะต้องทำใหม่ทั้งหมดถึงแม้ว่าแต่ละเรื่องจะแก้เล็กน้อยก็ตาม แต่ก็ยังงงกับการใช้หลักสูตรค่ะเพราะตอนนี้หลักสูตรเป็น 2551 ตอนทำส่งไปนั้นเป็นหลักสูตร 44 คุณKIM สอนอาชีวะหรือคะ แต่ครูอรสอนชั้นมัธยม วิชาภาษาไทยค่ะเรื่องโปรแกรมวิเคราะห์สถิติวิจัยที่บอกครูอรจะขอใช้ได้ไหมคะเพื่อการแก้ผลงานเยียวยาค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ส่ง ที่เมล์ [email protected]    ค่ะ

 

สวัสดีค่ะครูอร

ครูอรลองติดต่อครูศักดิ์สิทธิ์ ตาม e-mail ข้างบนี้นะคะ เค้าใจดีมาก ฟรีด้วยนะคะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ

ด้วยความยินดีค่ะ

ส่งให้แล้วนะคะครูอร

ได้ผลเป็นประการใดแจ้งให้ kim ทราบด้วยนะ

จะได้แสดงความยินดีด้วยน่ะค่ะ

คราวหน้าจะนำตัวอย่างงานวิจัยมานำเสนอ

ไม่ทราบครูอรเป็นอย่างไรบ้างนะหลังจากที่ได้รับสูตรไปแล้ว

สงสัยจัง

การสรุปงานวิจัย 5 บท โดยทั่วไปเป็นดังนี้ (โดยครูกิจจา บานชื่น, วท.สป.)

บทที่ 1

บทนำ

-ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

- วัตถุประสงค์ของวิจัย

- สมมติฐานของการวิจัย

- ขอบเขตของการวิจัย

- กรอบแนวคิดในการวิจัย

- นิยามศัพท์

- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2

เอกสาร แนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-อธิบาย บรรยาย อ้างอิงทฤษฏี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

-อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การใช้สูตรต่างๆ

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

-วิเคราะห์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

- นำผลการวิเคราะห์ ตารางต่างๆ มานำเสนอ

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

เพียงเท่านี้งานวิจัยในชั้นเรียนก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วค่ะ ขอบคุณคุณครูกิจจา บานชื่น อีกครั้งนะคะ

การสรุปงานวิจัย 5 บท โดยทั่วไปเป็นดังนี้ (โดยครูกิจจา บานชื่น, วท.สป.)

บทที่ 1

บทนำ

-ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

- วัตถุประสงค์ของวิจัย

- สมมติฐานของการวิจัย

- ขอบเขตของการวิจัย

- กรอบแนวคิดในการวิจัย

- นิยามศัพท์

- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2

เอกสาร แนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-อธิบาย บรรยาย อ้างอิงทฤษฏี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

-อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การใช้สูตรต่างๆ

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

-วิเคราะห์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

- นำผลการวิเคราะห์ ตารางต่างๆ มานำเสนอ

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

เพียงเท่านี้งานวิจัยในชั้นเรียนก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วค่ะ ขอบคุณคุณครูกิจจา บานชื่น อีกครั้งนะคะ

การสรุปงานวิจัย 5 บท โดยทั่วไปเป็นดังนี้ (โดยครูกิจจา บานชื่น, วท.สป.)

บทที่ 1

บทนำ

-ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

- วัตถุประสงค์ของวิจัย

- สมมติฐานของการวิจัย

- ขอบเขตของการวิจัย

- กรอบแนวคิดในการวิจัย

- นิยามศัพท์

- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2

เอกสาร แนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

-อธิบาย บรรยาย อ้างอิงทฤษฏี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน

-อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การใช้สูตรต่างๆ

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

-วิเคราะห์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

- นำผลการวิเคราะห์ ตารางต่างๆ มานำเสนอ

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

เพียงเท่านี้งานวิจัยในชั้นเรียนก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วค่ะ ขอบคุณคุณครูกิจจา บานชื่น อีกครั้งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท