บ้านต้นไม้


จริงๆ แล้ว แนวความคิดนี้ไม่ใช่อะไรที่แปลกใหม่ เราเคยเห็นต้นไม่ที่ขึ้นร่วมกับรั้วบ้าน คร่อมเจดีย์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการดัดไม้บอนไซ หรือการตอนกิ่ง การปลูกกิ่งลงต้นไม้อีกต้น มานานมากแล้ว

เห็นเรื่องนี้ในนิตยสาร inhabitat online รู้สึกถึงการที่คนเยอรมันเข้าถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติมากขึ้น ทั้งๆ ที่เขาเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีสูง ประชาชนมีความรู้ความสามารถมาก ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนที่รู้จริง เข้าใจจริง เขาไม่ค่อยจะหันเข้าหาการสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่มักง่าย หรือทำงานในราคาถูกๆ ไว้ก่อน  แต่รู้จักสร้างเทคโนโลยีด้วยการปรับใช้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างฉลาด และเข้าใจว่าการสร้าง การพัฒนา ต้องใช้เวลา ความเพียร เป็นการลงทุน ลองดูรูปข้างล่างเป็นตัวอย่าง

คานเหล็กกับต้นไม้

ภาพจาก BOTANY BUILDINGS Grow Buildings From Trees! Gallery July 25, 2009

จริงๆ แล้ว แนวความคิดนี้ไม่ใช่อะไรที่แปลกใหม่ เราเคยเห็นต้นไม่ที่ขึ้นร่วมกับรั้วบ้าน คร่อมเจดีย์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการดัดไม้บอนไซ หรือการตอนกิ่ง การปลูกกิ่งลงต้นไม้อีกต้น มานานมากแล้ว เพียงแต่ไม่เคยมีใครตั้งใจทำสิ่งเหล่านั้นเพื่อประโยชน์ในการสร้างอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง เหมือนที่สถาปนิกเหล่านี้ตั้งใจทำ เท่าที่รู้ในเมืองไทยยังไม่มี แต่แอบหวังไว้เล็กๆ ว่าคงมีปราชญ์ชาวบ้านสักท่านทำอยู่ แต่เราไม่รู้ ^ ^

คานเหล็กกับต้นไม้

ภาพจาก BOTANY BUILDINGS Grow Buildings From Trees! Gallery July 25, 2009

สถาปนิกชาวเยอรมันผู้สร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ เรียกงานของเขาว่า Botany Building ส่วนนิตยสาร inhabitat เองก็เรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า Living Structure ฟังดูแล้วเห็นตามจริงเลย เท่มาก


บ้านต้นไม้

ในการก่อสร้างอาคารเช่นบ้านต้นไม้ในภาพ เขาต้องอาศัยการตัดต่อกิ่ง และการเอาคานเหล็กขึ้นไปวางบนต้นไม้ที่จะใช้เป็นเสาในช่วงแรกๆ นั้น จำเป็นต้องมีโครงสร้างค้ำยันชั่วคราวเพื่อรองรับน้ำหนักแทนต้นไม้ที่ยังไม่ โตพอก่อน พอต้นไม้โตเพียงพอแล้วก็สามารถที่จะเอาค้ำยันชั่วคราวออกได้  แต่พอใช้งานไปแล้ว ก็ต้องมีการดูแลรักษาต่อเนื่องอีก เพราะอย่าลืมว่าต้นไม้ก็โตไปเรื่อยๆ  อาจมีแนวโน้มว่าบ้านต้นไม้จะอยู่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ (ฮา)  กำลัง นึกถึงว่าถ้ามาขออนุญาตก่อสร้างในเมืองไทย ไม่รู้จะขออนุญาตยังไงดีเลย เพราะแบบก่อสร้างตอนเริ่มต้นก่อสร้างกับตอนทำเสร็จแล้ว (หลายปีถัดมา) และตอนใช้งาน คงหน้าตาไม่เหมือนกันเลย ^ ^  บอกแล้วว่าไม่ใช่ของง่าย แต่ก็เป็น idea ที่ดีและเป็นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างแนบเนียนขึ้น

ยังมีภาพอีกหลายภาพที่น่าสนใจ ลองไปเยี่ยมชมได้ที่บทความนี้นะคะ BOTANY BUILDINGS Grow Buildings From Trees! by Bridgette Meinhold

หมายเลขบันทึก: 281745เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

มาชม

มาเชียร์

เคยไปเห็นบ้านต้นไม้แถวอุทยานเขาสก อ. พนม จ. สุราษฎร์ธานี

น่าสนใจนะครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ

และขอบคุณที่มาเยี่ยมชมอย่างรวดเร็วค่ะ ^ ^

แล้วอาจารย์ กมลวัลย์ ก็กลับมาเล่าเรื่องอีกครั้ง ... ;)

ดีใจ เอ้ย ดีใจจัง เย้ ๆ

  • ที่ ม.สงขลานครินทร์ แฟลตยุคแรกสุดเมื่อตอนตั้งวิทยาเขตหาดใหญ่ อยู่บนควน ก็มีแนวคิดใกล้เคียงนี้ครับ คือ สร้างอาคารให้เข้ากับสถานที่ คือโครงสร้างสามมิติของควน(ภูเขาขนาดเล็ก) มีความซับซ้อน ก็ปลูกอาคารให้เป็นส่วนหนึ่งของความซับซ้อนนั้น ทำให้แต่ละฟากตึก มีความสูง-จำนวนชั้น-สถาปัตยกรรมและรูปทรงที่แตกต่างกัน และเย็นสบายตลอดทั้งปี (แม้แต่ยามสงกรานต์)
  • คิดว่า เป็นเรื่องของความใส่ใจ ความละเอียดอ่อน และมีรสนิยมด้านศิลปะที่คนยุคก่อน มีสูงกว่ามาตรฐานในปัจจุบันมาก ๆ
  • ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ จะเห็นการโค่น-ไถเกรดป่าให้กลายเป็นพื้นเรียบแห้งแล้ง แล้วค่อยสร้างตึก ปลูกสวน ที่เป็นระเบียบแบบกล่องสี่เหลี่ยม ดู-(เหมือน)-สวยงาม แทบทุกแห่ง
  • เห็นแล้วก็ใจหายเหมือนกันครับ ว่าแทนที่ช่องว่างเรื่องวิจิตรภูมิทัศน์จะหดแคบลง แต่กลับถ่างกว้างขึ้น

มาดูชีวิตคนที่ปรับสมดุลอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร

เหมือนเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืนสุขสมระหว่างคนกับธรรมชาติ

ขอบคุณภาพดีดีจากแง่มุมโลกที่อบอุ่น

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมบ้านที่อยุ่กับธรรมชาติค่ะและมาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

มันเป็นธรรมชาติที่น่าสนใจค่ะ

และแปลกดีนะค่ะสร้างบ้านแบบนั้น  คงจะประหยัดได้ดีค่ะ

แต่ก็กลัวว่าจะทำลาย และทำร้ายธรรมชาติเกินไปหรือเปล่าค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ตุ๋ย

  • ดีใจที่กลับมาเขียนให้อ่าน สาระน่ารู้อีกครั้งค่ะ
  • สบายดีนะคะ

สวัสดี ครับ อาจารย์

P กมลวัลย์

 

บันทึก นี้ ทำให้เห็นว่า แนวคิดแบบนี้ ว่าน่าจะยั่งยืน ในเมืองไทยมากขึ้น นะครับ

คน อยู่ร่วมกัน กับต้นไม่ ได้อย่าง มีความสุข

เริ่มจาก กรุงเทพ ฯ เลย ดีมั้ย ครับ อาจารย์

  • เห็นภาพแรกแล้วสงสารต้นไม้
  • ที่บ้านเรามีที่สุพรรณบุรีครับ
  • พี่ตุ๋ย เคยไปไหม
  • มูลนิธิข้าวขวัญ

เจริญพร โยมอ.กมลวัลย์

อาจารย์คงมีภาระเยอะที่ไม่ได้เข้าบันทึกเสียนาน

เจริญพร

เห็นภาพครั้งแรกตกใจ ดูคล้ายกับใช้โลหะเจาะเข้าไปในลำต้น รู้สึกสงสารน้องต้นไม้ ไม่เป็นเช่นนั้นใช่มั้ยคะอาจารย์

สวัสดีค่ะอ.วสวัตฯ

ดีใจเหมือนกันค่ะ (ฮา)

จังหวะเหมาะ มีโอกาสและอ่านเจอเรื่องน่าสนใจพอดี ^ ^

สวัสดีค่ะอ.wwibul

น่าเสียดายนะคะที่สิ่งเหล่านี้หายไปเรื่อยๆ นึกบรรยากาศที่อาจารย์เล่าไว้ออกเลยค่ะ คงจะเป็นบรรยากาศที่น่าอยู่มากๆ

คนในอดีตมีจังหวะชีิวิตที่ช้ากว่าในยุคปัจจุบัน เวลาทำอะไรๆ ก็มักจะละเมียดละไมและคิดหน้าคิดหลังก่อนเสมอ (แหะๆ ตอนนี้เริ่มจะเป็นคนแก่ คิดช้าลงและละเอียดขึ้นเหมือนกันค่ะ ^ ^)

ยุคนี้มันยุคจานด่วน ทุกอย่างต้องรอพร้อมเสริฟกับความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดของคน ของทุกวันนี้มันเลยขาดรายละเอียด ทำให้เร็ว ทำให้มาก เน้น optimization เพื่อคนหมู่มากไว้ก่อน มันก็เลยเป็นแบบนี้แหละค่ะ ได้แต่วางชีวิตตัวเองให้มีจังหวะชีิวิตที่ช้าลงไว้บ้าง จะได้ไม่เหนื่อยไปโดยเปล่าประโยชน์อะไร ^ ^

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นค่ะ

ขอบคุณคุณธีรเดชที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมและให้ข้อคิดเห็นนะคะ

สวัสดีค่ะคุณตุ๊กตา

ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าคงไม่เป็นการทำร้ายต้นไม้หรอกค่ะ เขาคงเลือกใช้ไม้ยืนต้นที่มีความแข็งแรงพอสมควร เดาว่าในภาพแรกคงเป็นการทาบกิ่งต้นไม้รอบคานไม่ได้ใช้วิธีเจาะรูต้นไม้ค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมและสำหรับข้อคิดเห็นนะคะ

สวัสดีค่ะคุณครูอ้อย

สบายดีค่ะ ดูท่าทางครูอ้อยกับหลานก็สบายดีมากๆ เลยนะคะ น่ารักจังค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาทักทายนะคะ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

ถ้ามีผู้เริ่มทำให้เกิดความยั่งยืน (sustainability) ไม่ว่าจะเป็นในด้านใดที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกับธรรมชาติที่เป็นผู้ให้ได้ดีกว่านี้ ก็ยินดีทั้งนั้นเลยค่ะ ตัวเองก็พยายามเริ่มทำบ้างนิดๆ หน่อยๆ เริ่มจากตัวเราก่อน แต่เรื่องบ้านต้นไม้แบบนี้ยังไม่ได้ทำค่ะ ยังไม่มีโอกาส แต่ก็คิดๆ ไว้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นนะคะ

สวัสดีค่ะอ.ขจิต

แหะๆ สงสารเหรอคะ พี่ว่าดีกว่าตัดต้นไม้มาทำบ้านนะ ^ ^

คิดว่าเขาคงไม่ได้เจาะมันหรอกค่ะ แต่ให้มันโตรอบๆ คานนะค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและภาพนะคะ สวยดี แต่อยู่สูงมากทีเดียวนะคะ

ทำได้สวยงามและแข็งแรงดีทีเดียวค่ะ ^ ^

กราบนมัสการท่านพระปลัด

งานยุ่งอยู่พอสมควรค่ะ จังหวะเขียนไม่ค่อยมี พอกลับบ้านก็ไม่ค่อยได้เข้าเน็ต ก็เลยไม่ได้เขียนเสียนาน เรื่องธรรมะก็ไม่ค่อยได้เขียนในช่วงนี้ กำลังคิดๆ อยู่แต่ยังไม่มีโอกาสลงมือเีขียนค่ะ

ขอบคุณที่พระคุณเ้จ้าเข้ามาเยี่ยมเยียนนะคะ

สวัสดีค่ะ อ.รุจิเรศ

คิดว่าการเอาคานไปวางบนต้นไม้คงไม่ทำร้ายต้นไม้หรอกค่ะ ภาพที่เห็นน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของบ้านต้นไม้ (ภาพด้านล่าง) ใช้ิวิธีทาบกิ่งรอบต้นไม้อีกที คิดว่าไม่ได้เจาะค่ะ เขามีต้นไม้หลายต้นช่วยรับน้ำหนักจากคานเหล็กเหล่านี้อีกทีหนึ่ง ไม้ยืนต้นส่วนใหญ่แข็งแรงทีเดียวค่ะ รับน้ำหนักต่างๆ ได้ดี

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นและเยี่ยมชมนะคะ

สวัสดีค่ะน้องตุ๋ย

ดีใจจังที่บังเอิญเข้ามาอ่านแล้วเจอบันทึกน้องตุ๋ย ..ตามมาทักทายด้วยความคิดถึงค่ะ สบายดีนะคะ :)

ดูรูปข้างบนแล้ว ทำให้นึกถึงรังนกยักษ์...ประมาณว่ามนุษย์เราเลียนแบบนก..เก๋ดีค่ะ..แต่ไม่รู้จะมีมดเยอะหรือเปล่านะคะตามต้นไม้...แต่ดูอีกที ทำให้นึกถึงที่เอาต้นอะไรนะ(กวนอิม?)ของคนจีนที่เค๊าเอาหลายๆต้นมาค่อยๆดัด สานกันไปมา อยู่ในน้ำ เห็นเยอะมากเลย ไม่รู้ว่ายังฮิตหรือเปล่า..คิดว่าน่าจะใจตรงกันนะคะ แต่ดัดแปลงมาใช้กับต้นไม้ขนาดใหญ่แล้วปลูกบ้านไว้ตรงกลางแทน (คิดเอาเองค่ะ..555) เข้าใจทำจังเนอะ

สวัสดีค่ะพี่อุ๊

พี่อุ๊คงสบายดีเหมือนกันนะคะ ทางนี้สบายดีค่ะ

นึกต้นกวนอิมที่พี่อุ๊บอกได้เลย (ไม่รู้ชื่อจริงอะไรเหมือนกัน ฮ่าๆ) เคยเห็นเขาเอามาขายเป็นกระถาง ถักเป็นเปียเลยทีเดียว ผูกโบว์อีกต่างหาก ^ ^ ต้นนี้ขึ้นง่ายมากเลยค่ะ ที่วัดต่างๆ บางทีเขาชอบเอาปักแจกันไว้บูชาพระประกอบกับดอกไม้อื่นๆ เพราะมีใบเขียวตลอด เคยเอาไปปักดิน ก็งอกงามดีมากเลยค่ะ ไม่ต้องรดน้ำ อาศัยน้ำฝนอย่างเดียวขึ้นสวยเลย แต่เจ้าต้นกวนอิม นี่้ไม่ใช้ไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง คงจะทำได้ประมาณรังนกค่ะ อิอิ

ฝรั่งเขาก็สร้างสรรค์ดี ใช้เวลานานในการทำ และคงยังต้อง research ต่อไปว่าเวลาไม้โตขึ้นเรื่อยๆ แล้วจะส่งผลอะไรอื่นๆ กับโครงสร้างที่ผสมลงไปหรือเปล่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท