brochill
วราวรรณ จันทรนุวงศ์(ศิริอุเทน)

Scientific Literacy


Scientific Literacy

จะสอนให้เกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (Science Literacy) ควรมีมุมมองที่แตกต่างอย่างไร

.................................................

    วราวรรณ  จันทรนุวงศ์

    ............................................................................ 

การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)  เป็นความรอบรู้เชิงวิทยาศาสตร์หรือการรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การที่บุคคลสามารถเข้าใจในทุกแง่มุมของความรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งความเป็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ทัศนคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้าใจในมวลความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง จนสามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทั้งด้านธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) ด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science Knowledge) และด้านจิตวิทยาศาสตร์ (Habits of Mind) การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การดำเนินกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ข้อเท็จจริง มโนมติ หลักการ และจิตวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในการที่จะสอนการรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)   จึงควรมีมุมมองและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้

-          สอนให้เข้าในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science)โดยควรสอนให้เข้าใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการชี้ให้เห็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สอนให้เกิดทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ (knowledge of science) และวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ปะวัติวิทยาศาสตร์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีที่มีวิทยาศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้อง (knowledge about science) ตลอดจนความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่าง ในชีวิตประจำวัน  ถ้าเราชี้ให้ผู้เรียนเห็นว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร เทคโนโลยีคืออะไร สังคมคืออะไร วัฒนธรรมคืออะไร ทุกอย่างจะทำให้เกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งหมายถึงการรู้ การใช้ การตัดสินใจ ความมีเหตุมีผล การคิดแบบวิทยาศาสตร์ และการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ เกิด Culture of Science แบบใหม่ คือ เปลี่ยนวัฒนธรรมการสอนวิทยาศาสตร์จากการสอนแบบบอกเนื้อหาเพียงอย่างเดียว เป็นการสอนเนื้อหาพร้อมกับชี้ให้เห็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ ให้มีการอภิปราย ขบคิดเกี่ยวกับความเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย

-          สอนให้เกิดจิตวิทยาศาสตร์ (Habits of mind) ต้องสอนเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์(History) ปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Philosophy) และ สังคมวิทยา (Sociology) ให้กับผู้เรียนเพื่อให้เห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นยังช่วยในการนำเอาทักษะวิทยาศาสตร์มาใช้อีกด้วย เช่น การสื่อสาร การใช้ภาษา การสังเกต การจัดการ การประเมินค่า การคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ตลอดจนตระหนักและตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม สมเหตุสมผล คำนึงถึงผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อสังคม (Impact of science and technology on society

-          สอนให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift) จากที่เคยรอรับความรู้เพียงฝ่ายเดียว ให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดที่จะค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เมื่อเจอปัญหาสามารถศึกษา และหาสาเหตุของปัญหา หาแนวทางแก้ปัญหา เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ สรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างเป็นความรู้ของตนเองได้ (constructivist practice in science) จะทำให้เกิดความคงทนของความรู้ และอาจได้ความรู้ใหม่ วิธีการหาความรู้แบบใหม่ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 278247เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพราะความเป็นครูคือทำงานอุทิศเพื่อชาติ อุดมการณ์คือทำงานเพื่อเด็ก

บทความนี้เป็นความรู้ที่ดี มีทัศนคติที่ชัดเจน เพราะเรายังต้องค้นหาความรู้ใหม่ตลอดเวลา แต่ยังต้องอ้างอิงกับของเดิม

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ...ยอดเยี่ยม

In future, if I have any things so good, I will be change to you, together.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท