Dhamma in English (3)


The Dhamma/Dharma

        ตอนที่แล้วผู้เขียนได้อธิบายเรื่อง "The Buddha" ไปแล้ว สำหรับตอนที่ ๓ นี้จะขอกล่าวเรื่อง "The Dhamma" (พระธรรม) บ้าง  ในวงวิชาการพระพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ  จะพบการสะกดคำว่า "ธรรม" เป็นภาษาอังกฤษ ๒ แบบ คือ "Dhamma" กับ "Dharma" หลายคนมักถามว่าสะกดแบบไหนถูกต้องกันแน่  ตอบว่าถูกต้องทั้งคู่  เพราะคำแรกเป็นภาษาบาลี สะกดแบบไทยว่า "ธัมมะ"  คำหลังเป็นภาษาสันสกฤต  สะกดแบบไทยว่า "ธรรม"  ชาวพุทธสายเถรวาทนิยมใช้คำแรก ส่วนมหายานนิยมใช้คำหล้ง  ทั้งนี้เป็นเพราะนิกายทั้งสองนี้ใช้ภาษาจารึกคัมภีร์แตกต่างกัน

       หากจะถามว่า มีคำอะไรบ้างในพระพุทธศาสนาที่นิยามเป็นภาษาท้องถิ่นได้ยากที่สุด  ผู้เขียนคิดว่าคำว่า "ธรรม" นี้แหละนิยามยากที่สุด  ด้วยเหตุนี้กระมังในภาษาไทยเราจึงนิยมใช้ตามรูปคำเดิม  ไม่นิยมแปลความหมายออกเป็นภาษาไทย  เพราะกลัวความหมายจะเพี้ยน แม้ในโลกภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกั้น ฝรั่งก็ประสบปัญหาในการแปลเป็นภาษาถิ่นของตน  จึงนิยมใช้ตามรูปภาษาเดิมเหมือนบ้านเรา คือใช้ว่า "The Dhamma" 

     ที่บอกว่านิยามยากนั้นก็เพราะว่า คำว่า "Dhamma" มีความหมายครอบสรรพสิ่งในจักรวาล  ไม่มีอะไรที่ไม่รวมในคำว่า "Dhamma" สิ่งที่ดีก็เรียกว่าธรรม ส่งที่ไม่ดีก็เรียกว่าธรรม สิ่งกลางๆ ก็เรียกว่าธรรม  มีฝรั่งในอดีตหลายคนพยายามหาความหมายของธรรมในภาษาอังกฤษ  จนแล้วจนรอดก็ไม่มีคำใดที่มีความหมายครอบคลุมได้ทั้งหมด  สุดท้ายก็ต้องยอมใช้ตามภาษาเดิม  อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะแปลเป็นภาษาอังกฤษพอให้ได้ความหมายแบบหลวมๆ ฝรั่งก็นิยมแปลว่า "The Doctrine" บ้าง  "The Teachings" บ้าง  ซึ่งการแปลแบบนี้ก็พอไปได้  แต่ก็มีความหมายบางแง่บางมุมเท่านั้น  ครอบคลุมไม่ได้ทั้งหมด  เพราะบางครั้งธรรมก็ใช้ในความหมายว่า "Law" กฎก็ได้,  "Truth" สัจธรรมก็ได้,   "Nature" ธรรมชาติก็ได้,  "Duty" หน้าที่ก็ได้, "phenomenon" ปรากฏการณ์ก็ได้, "Morality" ศีลธรรมก็ได้  "Tradition/Norm" ธรรมเนียมประเพณีก็ได้, "Justice" ความยุติธรรมก็ได้  และอื่นๆ อีกจำนวนมาก 

      วันนี้คิดว่าพอสมควรแก่เวลา  ขอยุติไว้เพียงแง่ก่อนก็แล้วกัน  ก่อนจากขอพุทธภาษิตเกี่ยวกับพระธรรามไว้ว่า-

              "One who lives with the Dhamma is protected by the Dhamma"
ธรรมนั่นแหลย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม

อ่านตอนต่อไปคลิก  http://gotoknow.org/blog/budhamcu/399903

 

    

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #dhamma in english (3)
หมายเลขบันทึก: 399572เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

นมัสการค่ะ เข้าใจคำว่า ธรรมะ กับ ธัมมะ แตกต่างกันอย่างไรแล้วค่ะ แต่ชอบทั้งสองคำ เพราะรู้สึกว่าคำทั้งสองนี้เมื่อเขียนแล้วดูสง่างามมากค่ะ มิใช่ด้วยความหมาย  แต่อาจจะเป็นเพราะเจ้าตัวหรือเปล่า ที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้นค่ะ

เป็น Fan Club ไปแล้วเจ้าค่ะ, ชอบ Dhamma in English มากเจ้าค่ะ, เห็นเณรน้อยแล้วอดยิ้มไม่ได้เลยเจ้าค่ะ.

เข้ามาทักทายพระอาจารย์ครับ...

แหม, มี blog ส่วนตัวเสียด้วย

sent from NARITA, JAPAN

ยินดีต้อนรับเป็นแฟนคลับนะคุณอลิสา ชวนเพื่อนๆ เข้ามาบ่อยๆ นะ ให้ Rating กระฉูดไปเลย

เป็นไงบ้างสาณุอยู่ที่นาริตะ อากาศเป็นไงบ้าง ชวนเพื่อนๆ มาเยี่ยม Blog นี้มากๆ นะ

เจริญพรคุณครูปู ในฐานะเป็นครูสอนเด็กมาก่อน รู้สึกดีใจที่ได้เจอครูด้วยกัน เจริญพรขอบคุณที่มาเยี่ยม ถ้าหากblog นี้จะมีประโยชน์ต่อครูบ้างก็ยินดีนะ

เจริญพร

นมัสการเจ้าค่ะ

มาขอความรู้ด้วยเจ้าค่ะ

นมัสการลา

เจริญพร โยมณัฐรดา

ด้วยความยินดีและอนุโมทนา

อือ..อือ..ได้ความรู้เพิ่มอีกแระ

หนูคิดว่า "ธัมมะ" มาจากภาษาบาลีที่ดัดมาค่ะ คือ "ธมฺม" อะไรทำนองเนี่ย ...ถึงว่าทำไมหนูสอบบาลีตก..อิ..อิ..

เคารพค่ะ

ชยาภรณ์(อ้วน)

ข้อจำกัดของภาษาเยอะจัง... บางครั้งทำให้พบว่าเมื่ออ่านไม่เข้าใจบางทีอาจจะไม่ใช่เพราะเราไม่ดีแล้ว เอิ้กๆ ไม่เข้าใจแล้วเริ่มโทษดินฟ้าอากาศ แหะๆ

นมัสการค่ะพระอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท