จิตวิญญาณการทำงาน “อาสาสมัคร” ที่ชุมชนเกาะแก้ว


ข้อคิดที่ดีในการทำงาน “อาสาสมัคร” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนถึง “จิตวิญญาณ” ที่อาสาสมัครทุกคนจะต้อง อบ-รม-บ่ม-เพาะ ให้เติบโตกล้าแข็งเพื่อเป็นพลปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ
     “ประสบการณ์การทำงานเฝ้าระวังความรุนแรงในชุมชนเริ่มต้นเมื่อเข้ารับการฝึกอบรมจากมูลนิธิเพื่อนหญิงร่วมกับศูนย์ฯ OSCC ของโรงพยาบาลชุมพรฯ เมื่อปี 2544 โดยมีแกนนำทุกชุมชนในเขตเทศบาลเมือง และอบต.ใกล้เคียงเข้าอบรมร่วมกัน จากนั้นแกนนำของชุมชนเกาะแก้วจึงนำมาขยายผล โดยบอกกล่าวให้เพื่อนร่วมงาน คือ อสม. และกรรมการชุมชน ได้รับรู้บทบาทใหม่ในการทำงานช่วยเหลือสังคม คือ การฝึกเป็นผู้เฝ้าระวังไม่ให้เกิดความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในชุมชน มีการประชาสัมพันธ์ในการประชุม อสม.ทุกเดือนแจ้งให้รู้กันทั่วไปว่า ขณะนี้ชุมชนเกาะแก้วได้ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กและสตรี ใครที่พบเห็นปัญหาเหล่านี้สามารถปรึกษาได้ ทำให้เกิดการประสานงาน ส่งข้อมูล แจ้งเหตุ ให้การช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี”
 
     “จากนั้นได้ขยายการทำงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น จัดรายการวิทยุ-ร่วมด้วยช่วยกัน-ทำให้มีผู้สนใจเพิ่มมากขึ้น การขยายเครือข่ายจะมุ่งเน้นไปที่ผู้นำที่มีน้ำใจช่วยเหลือสังคมและมีจิตอาสา โดยให้ความสำคัญกับการสร้างงาน สร้างกิจกรรมต่าง ๆ แบบมีส่วนร่วม”


     “นักการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด ก็เป็นอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่จะต้องขยายงานและสร้างการมีส่วนร่วม เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในสังคม จะต้องสร้างผลงาน สร้างวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาสังคม จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะนำเสนอการทำงานให้ผู้บริหารได้เห็นและให้การสนับสนุน” 
 
     “ปัจจุบันเทศบาลเมืองชุมพรได้รับ โครงการลด-ละ-เลิกเหล้า และยุติความรุนแรง เข้าเป็นนโยบายแล้ว  อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาคนตามนโยบายที่ได้มีการหาเสียง โดยให้แกนนำทุกชุมชนทำงานเรื่องยุติความรุนแรงและมีศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ และใช้ชุมชนเกาะแก้ว เป็นศูนย์ประสานงานในเขตชุมชนเมือง” 
 
     เรื่องราวจากการบอกเล่าของ “สุนันทา พรหมชาติ” หรือ “เขียว” อาสาสมัครจิตอาสาเครือข่ายศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี โรงพยาบาลชุมพรฯ เกิดขึ้นในการประชุมถอดบทเรียนชุมชนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2553 ให้ข้อคิดที่ดีในการทำงาน “อาสาสมัคร” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนถึง “จิตวิญญาณ” ที่อาสาสมัครทุกคนจะต้อง อบ-รม-บ่ม-เพาะ ให้เติบโตกล้าแข็งเพื่อเป็นพลปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ เป็นปณิธานสูงสุดที่พึงยึดมั่นในการทำงานตามรอยเท้าพ่อ 
 
     “อาสาสมัครจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า ศรัทธาในอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นนั้น เกิดขึ้นด้วยตนเอง มีความรู้สึกเห็นชอบในงานอาสาสมัคร มีศรัทธาที่จะทำงาน สามารถที่จะปฏิบัติงานและพร้อมที่จะเป็นอาสาสมัคร” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
คำสำคัญ (Tags): #อาสาสมัคร
หมายเลขบันทึก: 407876เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณ คุณไอศูรย์

เป็นเรื่องที่ดีมากครับ ดีใจมากที่นำแบบอย่างที่ดีมาสู่ชุมชน

ขอบคุณแทนเด็กและสตรีชาว จ.ชุมพร ด้วยครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นคนชุมพรเหมือนกันค่ะ และเคยได้เห็นตัวจริงของคุณไอศูรย์มาบ้างแล้ว  วันนี้โอกาสดี ๆ เลยแวะมาทักทายค่ะ และมาเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานสร้างสรรสังคมค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                          

ขอบคุณครับ

lสวัสดีครับอาจารย์

( ศรัทธาในอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นนั้น เกิดขึ้นด้วยตนเอง )

ขอบคุณครับอาจารย์

เป็นโครงการที่ดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท