ทัศนคติที่ดีต่อการทำงานภาครัฐ ตอนที่ 2


ทัศนคติที่ดีต่อการทำงานภาครัฐ ตอนที่ 2

"ทัศนคติที่ดีต่อการทำงานภาครัฐ ตอนที่ 2"

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเรื่อง "ทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน

ภาครัฐ ตอนที่ 1" ได้ตามเว็บไซต์ด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/blog/bussaya14/373330

ทิศทางของการทำงานภาครัฐในบริบทใหม่จะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้...

เน้นลูกค้า คือ ประชาชน จะต้องถือว่าประชาชนเป็นผู้มีสิทธิ มีหน้าที่ที่จะได้รับบริการที่ดี การดำเนินการของภาครัฐบาลจะต้องตัดสินที่ความสุขของประชาชน พัฒนาให้เกิดขึ้นกับสังคม

เน้นที่ตัวผลงาน ควรจะตัดสินข้าราชการและระบบราชการที่ ผลงานที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ดูที่ กระบวนการทำงาน แต่งานนั้นไม่เคยสัมฤทธิ์ผลเลย

เน้นจิตสำนึก ความรับผิดชอบ พร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดยอมรับการเปลี่ยนแปลง รู้จักอดทน อดกลั้น มองโลกในแง่ดี เปิดใจให้กว้าง และรู้จักให้อภัย

เน้นความคุ้มค่า ดูถึง ผลลัพธ์ คำนึงถึงต้นทุน คำนึงถึงผลที่จะได้รับจากสิ่งที่เราลงทุนไป ถ้าไม่คุ้มค่าเราต้องเลือกที่จะ ปรับเปลี่ยนหรือเลิกเสีย ตัวอย่างเช่น รายได้ของรัฐมีจำกัด ถ้าพวกเราเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ช่วยกันประหยัด ปรับและเปลี่ยนวิธีการทำงาน ไม่คำนึงถึงผลได้ผลเสีย เราคงต้องเผชิญกับปัญหาในเรื่องหนี้สินไปไม่รู้จักจบสิ้น

สรุป : เน้นลูกค้า คือประชาชน เน้นผลงาน เน้นจิตสำนึกและเน้นความคุ้มค่า

คุณค่าของการทำงานราชการในบริบทใหม่ มี 7 ประการ ดังนี้

1. เรารู้สึกพึงพอใจ รู้สึกเป็นสุขและเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานเต็มความสามารถ

2. เราต้องการความก้าวหน้าในตนเองและหน้าที่การงาน

3. เราต้องการทำงานโดยมีการสร้างศักยภาพและขีดความสามารถต่อเนื่อง

4. เราต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ

5. เรารักที่จะทำงานเพื่อประชาชน

6. เราต้องการให้สังคมโปร่งใส เป็นธรรม อย่างมีส่วนร่วม

7. เราต้องการให้งานของเรานั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลสัมฤทธิ์ของงานนั้นมีคุณค่า

การทำงานภาครัฐในบริบทใหม่ ใช้หลักพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

หมวดที่ 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

หมวดที่ 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

หมวดที่ 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

หมวดที่ 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

หมวดที่ 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

หมวดที่ 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ

หมวดที่ 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน

หมวดที่ 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

หมวดที่ 9 บทเบ็ดเตล็ด

สำหรับหมวดที่ 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต้องคำนึงถึง...สิ่งต่อไปนี้

1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

2. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

4. ไม่มีขั้นตอน การปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

5. ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

6. ประชาชนได้รับความสะดวก ตอบสนองความต้องการ

7. ประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจัยภายในตัวข้าราชการเพื่อสนับสนุนการทำงานภาครัฐอย่างเต็มความสามารถ คือ

1. การปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีคิด (Positive attitude)

2. การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน

- ให้รับรู้ปัญหาและข้อเท็จจริง

- พยายามค้นสาเหตุและวิธีแก้ไข

- กำหนดเป้าหมายและวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง

หลักการพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2550

- การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น

- การทำงานในบริบทใหม่

* เจ้าหน้าที่ คือ ผู้รู้เรื่องงานของตนดีที่สุด

* อิสระทางการคิด และตัดสินใจ เพื่อให้งานสัมฤทธิ์ผล

ปัจจัยในการปฏิรูปภาครัฐให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่...

1. ปฏิรูปภาคราชการในระดับรัฐ

2. ปฏิรูปหรือพัฒนาระดับตัวข้าราชการ

3. ปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปทัศนคติของข้าราชการ

สรุป : ที่กล่าวมาในตอนที่ 1 - 2 นี่คือ "โฉมหน้าของการทำงานภาครัฐแนวใหม่" ค่ะ...รัฐจะปรับเปลี่ยนเป็นภาครัฐแนวใหม่ได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวของ "ข้าราชการ + เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ทุกท่านค่ะ...ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า...ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร + ผู้นำ ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น...มิใช่จมปลักกับสิ่งเดิม ๆ ที่ไม่ดีและไม่มีประโยชน์...แต่สำหรับสิ่งเดิม ๆ ที่ดี มีประโยชน์ เราควรที่จะธำรงรักษาไว้ค่ะ...

แล้วท่านที่เป็นข้าราชการล่ะ...ต้องการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นหรือไม่ ?...

สำหรับท่านที่ไม่ใช่เป็นข้าราชการ...เป็นประชาชนหรือผู้ใช้บริการจากประชาชน...ต้องการให้ข้าราชการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นหรือไม่ ?...

หมายเลขบันทึก: 373337เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นบทความที่ดีมากครับ

สวัสดีค่ะ...

P  ขอบคุณค่ะ...คุณเบดูอิน...ถ้าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกท่านทำได้...เชื่อเลยค่ะว่า...ประเทศไทยจะมีการพัฒนาด้านบุคลากรที่ดีกว่าเดิมเยอะเลยค่ะ...ปัญหาต่าง ๆ ก็จะบรรเทาลงด้วยค่ะ...

บทความของคุณ นับได้ว่าเป็นบทความที่มีคุณค่ามากเลยค่ะ สิ่งที่คุณเขียนเป็นสภาพจริงของระบบราชการไทยที่มีให้เห็นได้ทั่วไป

สวัสดีค่ะ...คุณพัชรา...

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...
  • ผู้ที่เป็นข้าราชการ ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า ควรจะปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นหรือไม่...
  • การปรับเปลี่ยนก็ต้องปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ ฝ่ายด้วยค่ะ...จึงจะทำให้ส่วนราชการมีคุณภาพยิ่งขึ้น...เรียกว่า ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างแท้จริงค่ะ จึงจะเห็นผลจริง ๆ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท