ประสบการณ์ที่แตกต่าง


ประสบการณ์ที่แตกต่าง

"ประสบการณ์ที่แตกต่าง"

นับจากที่เราได้เรียบจบการศึกษา...ไม่ว่าจะระดับต่ำกว่าปริญญาตรี...ปริญญาตรี... ปริญญาโท...ปริญญาเอก...ชีวิตมนุษย์เราก็เริ่มต้นการทำงานจากที่...สถานที่แห่งหนึ่ง...จุดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน...จากการที่ได้ทำงาน...ทำให้มนุษย์เราได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายกัน...ประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับ...ก็มีความแตกต่างกันไปตามภารกิจของงาน...ตำแหน่งงาน...

ทำให้แต่ละบุคคลได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน...เช่น บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับกฎหมาย...ก็จะมีความรู้ + ประสบการณ์เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ...เนื่องจากจะต้องนำมาใช้กับการทำงานได้มากกว่าผู้อื่น...อาจนับได้ว่ามีประสบการณ์ในเรื่องของกฎ ระเบียบมากกว่าผู้อื่น...

สำหรับบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับการเงินและบัญชี...ประสบการณ์ที่ได้รับ อาจเกี่ยวกับเรื่องเงิน บัญชี งบดุล กำไรขาดทุน ระเบียบเกี่ยวกับงานการเงิน บัญชี...จะทำให้บุคคลที่ทำงานด้านนี้เกิดความชำนาญการและเชี่ยวชาญขึ้นในอนาคต...

ส่วนบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับด้านบริหารงานทั่วไป...ประสบการณ์ที่ได้รับ อาจเกี่ยวกับเรื่องการบริหารงานทั่วไป...สมัยที่ผู้เขียนได้ทำงานตอนเด็ก ๆ มีพวกพี่ที่เป็นหัวหน้างานชอบเรียกตำแหน่งของตนเองว่า..."เจ้าหน้าที่บริหารงานไปมั่ว" หรือ "เจ้าหน้าที่บริหารงานมั่วไป"...สาเหตุเนื่องจาก ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่มีภารกิจที่ต้องทำสารพัดอย่าง เรียกว่า "ตั้งแต่งานเล็ก ๆ ไปจนถึงงานใหญ่ ๆ"...งานไหนที่ผู้บังคับบัญชามอบให้ใครทำไม่ได้...ก็จะไปลงที่ "งานบริหารทั่วไป"...ประสบการณ์ของผู้ที่ทำงานในตำแหน่งนี้ ก็จะได้ประสบการณ์เกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการทั่วไป...เป็นประสบการณ์ที่ได้รับอีกแบบหนึ่ง...ซึ่งจะไม่เหมือนกับผู้ที่ทำงาน 2 ด้านข้างต้น...

บุคคลที่ทำงานด้านการบริหารงานบุคคล...ก็จะได้รับประสบการณ์ด้านการสรรหาอัตรากำลัง...การประกาศรับสมัคร...การสอบบรรจุ...การจ้าง + การเลิกจ้าง...การรับโอนข้าราชการ...การแต่งตั้ง...การวิเคราะห์งาน...การประเมินบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น...การสรรหาผู้บริหาร...การจัดทำกรอบอัตรากำลัง...การฝึกอบรมบุคลากร...การปฐมนิเทศบุคลากร ฯลฯ...ประสบการณ์ที่ได้รับก็จะเป็นอีกประสบการณ์หนึ่งซึ่งเกี่ยวกับเรื่องบุคคล + ระเบียบที่เกี่ยวกับงานบุคคล + สิทธิประโยชน์ของบุคคล + ความผาสุก ความพึงพอใจของบุคคล...

บุคคลที่ทำงานด้านงบประมาณ...ก็จะได้รับประสบการณ์เรื่องการวิเคราะห์งบประมาณ...การวางแผนและติดตามประเมินผล...งานวิเคราะห์อัตรากำลัง...งานข้อมูล (วางแผนพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ + วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน + การจัดทำเอกสารและเผยแพร่)...งานวิจัยต่าง ๆ ...งานนโยบาย/งานเฉพาะกิจ...ประสบการณ์สำหรับผู้ที่ทำงานด้านนี้ก็จะได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ...

บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านการสอน (วิชาการ)...ประสบการณ์ที่ได้รับก็จะได้รับเกี่ยวกับเรื่องวิชาการในการให้ความรู้กับนักเรียน หรือนิสิต นักศึกษา...ซึ่งความรู้ที่ใช้ในการสอนก็ต้องเป็นความรู้ที่ทันสมัยกับโลกยุคปัจจุบัน...ผู้ที่ทำงานในตำแหน่งครู หรืออาจารย์ จะได้รับประสบการณ์จากตัวของนักเรียน นักศึกษาเอง + ประสบการณ์จากการได้อ่านหนังสือเพื่อนำความรู้มาสอนให้กับนักเรียนหรือนักศึกษา...

สรุป : ทำให้เห็นได้ว่าจากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาข้างต้น ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ทำงานตามภารกิจนั้น...ผู้ที่ทำงานจะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน...อยู่ที่บุคคลนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดใดของตำแหน่งงาน...ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะทำงานนั้นหลายตำแหน่งในขณะเดียวกัน...แต่ก็จะมีความชำนาญการ หรือเชี่ยวชาญไม่เท่ากับบุคคลที่ทำงานนั้นมานานจนเกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญ ภาษาพูดจะเรียกว่า "หลับตาทำ" ก็ว่าได้....โดยเกิดองค์ความรู้ในตนเองเกี่ยวกับเรื่อง กฎ ระเบียบ + การบริหารจัดการ + ปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จของงานได้ตามวัตถุประสงค์...

ถึงแม้ว่าท่านใดที่เป็นผู้บริหารก็ใช่ว่าจะทราบหรือรู้ทุกเรื่อง...ผู้บริหารท่านใดที่ไม่ทราบในลักษณะของการทำงานอย่างแท้จริง...ก็ต้องถามลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา...เพื่อให้เกิดความมั่นใจ + ความถูกต้อง...จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาภายหลัง...ผู้บริหารก็ต้องไว้ใจ + เชื่อใจลูกน้อง และลูกน้องก็ต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งของผู้บริหารได้ในเรื่องกฎ ระเบียบ ประสบการณ์ในการทำงาน...(เรียกว่าเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันในการทำงาน)...ซึ่งก็สอดคล้องกับที่รัฐจัดตำแหน่งงานให้กับข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในอนาคตว่า ต้องมีตำแหน่งชำนาญการ เชี่ยวชาญไงค่ะ...

สำหรับตัวของผู้เขียนเอง...ผ่านประสบการณ์ของงานดังกล่าว

ข้างต้นมาทุกงานค่ะ..."เรียกว่า...ได้ประสบการณ์ในการทำงาน

ที่หลากหลายมาก...จึงนำมาเขียนให้กับผู้อ่านได้ทราบไงค่ะว่า...

ประสบการณ์ในการทำงานแต่ละงานมีความแตกต่างกันค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 385483เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ดีเลยครับ

เขียนบันทึกไว้ให้อ่านกันมากๆ ได้เรียนรู้ไว้ก่อน ถือเป็นวิทยาทานครับ

สวัสดีค่ะ...

P  ขอบคุณอาจารย์ค่ะ...ก็จะพยายามทำเท่าที่กำลังพอที่จะทำได้นะค่ะ...

  • สวัสดีครับพี่บุษยมาศ
  • การทำงานใดบ่อยๆ ย่อมเกิดความเชี่ยวชาญหรือทักษะครับ  แต่อย่างไรก็ตามความรู้มักมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องหาความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับงานที่ทำไปด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนา และมีอะไรใหม่ๆ ไม่น่าเบื่อครับ
  • พูดถึงเรื่องการทำชำนาญการ ผมพึ่งเขียนบันทึกเรื่องนี้พอดี ครับ แบบอ่านแล้วคลายเครียดครับ ลองแวะเข้าไปอ่านนะครับ

สวัสดีค่ะ...

P  ใช่ค่ะ...สมัยก่อนเราปฏิบัติงานก็อาศัยประสบการณ์ของเรา + ความรู้เดิม ๆ ในการแก้ไขปัญหา...แต่ปัจจุบันเป็นโลกของการเรียนรู้ใหม่  เราต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย  เรียกว่า  "ความรู้ สามารถเรียนรู้ไม่มีจบสิ้น" เพื่อนำมาใช้กับการปฏิบัติงานค่ะ...ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...

อาจารย์บุษครับ

ประสบการณ์แต่ละคนย่อมแตกต่างกัน จะให้มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกันเป็นไปได้ยากแต่ก็สามารถศึกษา เล่าเรียนได้ อยู่ที่ว่าจะใฝ่เรียนใฝ่รู้ไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกปัจจุบันเป็นโลกของการสื่อสารไร้พรมแดน วิชาความรู้มีอยู่รอบตัวใช่ไหมครับ ผมขออนุญาตนำเอาข้อความที่อาจารย์เขียนไว้กินใจมาก โดยเฉพาะพวกผู้บริหารให้อ่านตรงนี้หน่อย ส่วนใหญ่ทำเป็นรู้ทุกเรื่องไม่รู้จักโง่ผมประทับใจจริง ๆ กับข้อเขียนของอาจารย็

"ถึงแม้ว่าท่านใดที่เป็นผู้บริหารก็ใช่ว่าจะทราบหรือรู้ทุกเรื่อง...ผู้บริหารท่านใดที่ไม่ทราบในลักษณะของการทำงานอย่างแท้จริง...

ก็ต้องถามลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา...เพื่อให้เกิดความมั่นใจ + ความถูกต้อง...จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาภายหลัง...ผู้บริหารก็ต้องไว้ใจ + เชื่อใจลูกน้อง และลูกน้องก็ต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งของผู้บริหารได้ในเรื่องกฎ ระเบียบ ประสบการณ์ในการทำงาน...(เรียกว่าเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันในการทำงาน)...ซึ่งก็สอดคล้องกับที่รัฐจัดตำแหน่งงานให้กับข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในอนาคตว่า ต้องมีตำแหน่งชำนาญการ เชี่ยวชาญไงค่ะ..."

สวัสดีค่ะ...

ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...ที่ผู้เขียนได้เขียนก็เพื่อต้องการให้การปฏิบัติงานเป็นไปในรูปแบบของการพัฒนาให้ดีขึ้นค่ะ...

ขอบคุณค่ะ...ยิ่งทำมาก..ยิ่งชำนาญงาน..ยิ่งเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์...ยิ่งเชี่ยวชาญ..ยิ่งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน..ยิ่งรอบรู้และสร้างสายสัมพันธ์..เหมือนสังคม G2K แห่งนี้นะคะ..

           นางแบบเสื้อ G2K

สวัสดีค่ะ...

P ถูกต้องเลยค่ะ...พี่นงนาท...ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...

ความแตกต่างระหว่างบุคคลและศักยภาพที่แสดงออกของแต่ละคนย่อมไม่เหมือน

หากเราศึกษาและเปิดใจบ้าง  จะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ได้

ขอบคุณกับบันทึกที่ให้ข้อคิดแก่ผู้ที่ทำงานนะคะ..

สวัสดีค่ะ...

P  ใช่ค่ะ...คนเราถ้าเปิดใจเพื่อยอมรับความรู้ + ประสบการณ์ของอีกฝ่ายจะทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท