"การไหว้" ร่วมกันรักษาวัฒนธรรมไทย


"การไหว้" ร่วมกันรักษาวัฒนธรรมไทย

เรื่องที่ต่อจากการยิ้ม ที่ผู้เขียนยังต้องการเห็นและฝากไว้กับผู้อ่าน,เยาวชนรุ่นหลัง ก็คือ "เรื่องการไหว้" ถ้าถามต่อว่า จำเป็นด้วยหรือที่จะต้องไหว้ ผู้เขียนตอบได้อย่างเต็มปาก...ว่า "จำเป็น" และก็จำเป็นอย่างมากด้วย เนื่องจากเราเป็นคนไทย วัฒนธรรมไทยเราตั้งแต่บรรพบุรุษมาถึงรุ่นเราและรุ่นลูก รุ่นหลาน แถมจะรุ่นเหลน ก็ยังควรที่ต้องรักษาไว้ซึ่ง "เรื่องการไหว้"

ในสังคมปัจจุบัน ผู้เขียนทราบดีว่าสังคมครอบครัว นั้นเรียกว่า พ่อ-แม่ เหมือนอยู่ห่างไกลกับลูกมาก บางครั้งอยู่ด้วยกันแทบจะไม่มีเวลาที่จะบอก หรือสั่งสอน จะสาเหตุด้วยว่าเหนื่อยจากการทำงาน ไม่มีเวลา นึกไม่ออก เนื่องจากเป็นครอบครัวที่ต้องทำมาหากิน แตกต่างกับสังคมครอบครัวในสมัยก่อน ที่เป็นครอบครัวใหญ่ จะมี ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา คอยดูแล คอยบอกกล่าว อบรมลูกหลานแต่สมัยปัจจุบันจะเป็นสังคมครอบครัวเล็กกว่าสมัยก่อน จะมีแค่ครอบครัว พ่อ - แม่ - ลูก จะอะไรก็สุดแล้วแต่ ผู้เขียนได้มองเห็นสภาพปัจจุบันในสังคมไทย สิ่งหนึ่งที่จะเลือนหายไปจากสังคมไทย นั่นคือ "การไหว้" ซึ่งเป็นวัฒนธรรม ของเมืองไทย เป็นเอกลักษณ์อีกเรื่องหนึ่งที่มาคู่กับเรื่อง "การยิ้ม" ผู้เขียนไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นเพราะปัจจุบันเรารับวัฒนธรรมตะวันตกมามากเกินไปหรือเปล่า ผู้เขียนคิดว่าประเทศไทยเรา น่าจะควรรักษาไว้เกี่ยวกับเรื่อง "การไหว้" เพราะทำให้ผู้พบเห็น ชื่นชม ชมเชย เป็นการแสดงกิริยาที่อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นกิริยาที่งดงาม อ่อนช้อย ไม่เหมือนกับประเทศอื่น ๆ

การไหว้ของคนไทย เป็นการแสดงกิริยาที่งดงาม ไม่เหมือนกับประเทศอื่น ผู้เขียนได้ดูคนต่างชาติซึ่งเป็นประเทศอินเดีย หรือประเทศเนปาล การไหว้ของพวกเขาดูไม่สวย ไม่งามตา เหมือนกับคนไทยไหว้ ดูขัด ๆ ตา เหมือนเป็นการไหว้แบบขอไปที (เห็นเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ได้เข้าข้างคนไทย ดูแล้วไม่อ่อนช้อย...นุ่มนวล... อ่อนน้อม... อาจเป็นเพราะคนไทยมีความละเอียดอ่อนก็ได้) ซึ่งน่าจะเป็นเอกลักษณ์อีกเรื่อง ที่เราคนไทยควรรักษาไว้ บางคนอาจไม่ชินที่จะแสดงการไหว้ เพราะไม่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น ซึ่งเรื่องนี้ ผู้เขียนว่า ไม่ใช่เรื่องยาก "สิ่งใดไม่เคย ถ้าเรามีใจคิดที่ต้องการทำ ให้เริ่มปฏิบัติ แรก ๆ ก็จะดูขัดเขินเพราะไม่เคยทำ แต่เมื่อทำได้ครั้งแรกบอกได้เลยค่ะว่า เอ!...เราก็ทำได้นี่...ไม่เห็นว่าเราจะทำไม่ได้เลย..."

จากที่ผู้เขียนได้ทำงานที่มหาวิทยาลัย เคยสังเกตเจ้าหน้าที่ บุคลากรที่ทำงานหลาย ๆ ท่าน บางท่านก็แสดงการไหว้อย่างชัดเจนว่าออกมาจากใจ แต่บางท่านแสดงแบบขอไปที (เหมือนไม่เต็มใจ เหตุที่ต้องทำเพราะหน้าที่) ซึ่งผู้เขียนไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น เพราะการไหว้ต้องออกมาจากจิตใจเรา ต้องการให้คิดว่า การไหว้ เป็นการแสดงให้เกียรติซึ่งกันและกัน จะเป็นการไหว้ด้วยเหตุอาวุโส วัยวุฒิ คุณวุฒิ การทักทายกัน ควรออกมาจากใจ ผู้เขียนเห็นบางคนแทบจะเดินชนกัน ยิ้มก็ไม่ยิ้ม ไหว้ก็ไม่ไหว้ มันเรื่องอะไรกันนักหนา อยากเดินเข้าไปถามว่าครอบครัวขาดความอบอุ่นหรือไร เป็นคนไทยหรือเปล่าจัง แต่ก็ไม่กล้า กลัวเขาตอกกลับ เพราะเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล แต่ผู้เขียนต้องการฝากไว้กับเยาวชนรุ่นหลัง ๆ ว่า "เรื่องการไหว้" เป็นเรื่องดีที่เราเป็นคนไทย เราควรต้องรักษาไว้ เป็นมารยาทของคนไทย เป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นสิ่งที่ดี อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เราควรรักษาไว้ อย่าให้การแสดงเรื่องนี้ไปเป็นของประเทศอื่น ที่เขาทำ และเขาทำได้อย่างจริงจัง...มันจะกลายเป็นว่า...คนไทยไม่รู้จักรักษาของ...ปล่อยให้ประเทศอื่นเขาเอาไปเป็นเอกลักษณ์ของเขา...

แม้แต่ผู้เขียนเอง ขอสนับสนุนเรื่อง การไหว้ ให้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไป และก็ปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างกับผู้อื่น ไหว้แม้แต่เขาเป็นคนงาน คนสวน คนขับรถยนต์ที่มีอายุมากกว่าเรา เพราะผู้เขียนถือว่าเราไหว้เขาเพราะเขาอายุมากกว่าเรา เขาเป็นพี่ เป็นลุง เป็นป้าของเรา อย่าลืม! ว่า คนไทยเราจะอยู่กันแบบฉันพี่น้อง ในสมัยก่อน แต่ยุคปัจจุบัน แทบจะเป็นคนอื่น ไม่เป็นพี่ ไม่เป็นน้องกัน ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไป บุตรชายของผู้เขียนซึ่งเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ฯ (แต่ไม่ใช่ที่เดียวกับผู้เขียน) เคยเล่าว่า เขาเข้าไปเป็นนักศึกษา ปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยแห่งนั้น บุตรชายยกมือไหว้ ยามที่เฝ้าประตูตรงที่เก็บรถจักรยานยนต์ ซึ่งบุตรชายบอกว่า พวกเพื่อน ๆ เขาไม่ไหว้กันหรอก มีแต่บุตรชายยกมือไหว้เพราะเห็นว่ายามอายุแก่กว่า บุตรชายจะเรียกเขาว่า "พี่ยาม" และก็ปฏิบัติอย่างนั้น เรื่อย ๆ ทุกวันที่ พี่ยามเป็นผู้มาเฝ้ายามที่โรงรถ มีอยู่วันหนึ่ง พี่ยามบอกบุตรชายว่า "ไอ้หนุ่ม ต่อไปนำรถจักรยานยนต์ มาจอดไว้ตรงที่ร่ม ๆ ตรงใกล้ ๆ ที่พี่อยู่น่ะ พี่จองไว้ให้ 1 ที่" บุตรชายยิ้ม ตอบว่า "ขอบคุณครับ" และต่อมาบุตรชายก็นำรถมาจอดไว้ที่ร่ม ๆ ใกล้ ๆ กับตู้ยาม เป็นประจำ ส่วนคนอื่น พี่ยามไม่สนปล่อยให้รถคนอื่นตากแดดทั้งวัน ซึ่งบุตรชายกลับมาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า สงสัยพี่ยามเขาเห็นบุตรชายเป็นคนมีสัมมาคารวะ ไม่เลือกชนชั้น เขาเลยเอ็นดูเหมือนน้อง ทำให้เห็นว่าคนเรา ถ้าเราจะทำอะไรให้คนอื่นชื่นชม เราก็ต้องปฏิบัติต่อผู้นั้นก่อน... ซึ่งก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่พอจะมาเล่าให้ฟังพอเป็นสังเขปได้

อย่างไร ผู้เขียนก็ขอฝากให้ผู้อ่านและเยาวชนรุ่นหลัง ๆ ได้คิดและปฏิบัติเกี่ยวกับ เรื่อง "การไหว้" และร่วมมือกันเพื่อรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของไทยต่อไป...

อย่าลืม! อ่านเรื่อง "การยิ้ม" ร่วมกันรักษาวัฒนธรรมไทย ด้วยนะค่ะ

ตาม Web Site ข้างล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya2/311546

อ่านเรื่อง "น้ำใจ ร่วมสร้างภาพลักษณ์ไทย"

ตามบล็อกด้านล่างนี้

http://gotoknow.org/blog/bussaya2/374103

อ่านเรื่อง "การขอโทษ - การให้อภัย"

ตามบล็อกด้านล่างนี้

http://gotoknow.org/blog/bussaya2/312094

อ่านเรื่อง "ภาษาไทย" ร่วมกันรักษาวัฒนธรรมไทย

ตามบล็อกด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/blog/bussaya2/403250

อ่านเรื่อง "ร่วมกันอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทย"

ตามบล็อกด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/blog/bussaya2/405231

อ่านเรื่อง "ยิ้ม" ทำให้คนเรามีเสน่ห์

ตามบล็อกด้านล่างนี้...

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/405528

อ่านเรื่อง "การอนุรักษ์ความเป็นไทย "การสวมใส่ผ้าไทย""

ตามบล็อกด้านล่างนี้...

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/459661

อ่านเรื่อง "การบวชพระ" ประเพณีไทยที่ควรอนุรักษ์

ตามบล็อกด้านล่างนี้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/418293

หมายเลขบันทึก: 311578เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2009 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ...อาจารย์

อย่างไรก็ตามเด็กที่มีกิริยามารยาทงดงาม

มือไม้อ่อนย่อมได้รับความเอ็นดูจากผู้ใหญ่มากกว่าเด็กที่ไม่มีสัมมาคารวะนะคะ

การไหว้และการพูดของบุตรชายอาจารย์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

จะติดตามอ่านบันทึกอาจารย์อีกค่ะ

ชอบใจบทความของอาจารย์มากค่ะ เด็กในปัจจุบันมือไม้แข็งกันทั้งนั้น

อาจารย์เขียนอีกนะคะ ดิฉันจะรอ

สวัสดีค่ะ...Kru Aor...

  • ขอบคุณค่ะ...

เรื่องการไหว้ของเด็กไทยนับวันจะสาบสูญ

กล่าวคำสวัสดีแต่ไม่ยกมือไหว้ แสดงตัวว่าเป็นคนทันสม้ย แนวตะวันตก

สวัสดีค่ะ...คุณศตวรรษ เล็กสง่า...

  • ค่านิยมที่เปลี่ยนไปไงค่ะ...ของดี ๆ ไม่รู้จักรักษาค่ะ สักวันค่านิยมที่ดีเปลี่ยนไป ความเป็นเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ที่ดีของคนไทยก็สูญหาย เมื่อนั้น จะรู้สึกเสียดาย และต้องมาไขว่คว้าหาสิ่งที่สูญหายไปแล้วไงค่ะ...
  • ความจริงต้องร่วมมือกันตั้งแต่รากหญ้า คือ ฐานครอบครัว โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา และที่สำคัญก็คือ "ตนเอง" ด้วยค่ะ...
  • ขอบคุณที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ พี่ครูอ้อย Ico24 + ดร.พจนา Ico24...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท