การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)


การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

"การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)"

การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็นจริง ๆ ความคิดทั้ง 10 มิติ เป็นการใช้ตลอดเวลาและจำเป็นต้องใช้ในอนาคต สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด คือ คนที่นำในองค์กร คนแรกที่ต้องพบปัญหา คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา ฉะนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลาและมีทรัพยากรจำกัด บุคลกรก็มีจำกัด สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาความเคยชินได้

ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์ จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารมากในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในการวางแผน การบริหารจัดการ การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า...การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคต...เพื่อการตัดสินใจในอนาคต มี 2 วิธีที่จะเผชิญในอนาคต ได้แก่...

วิธีที่ 1 เหตุการณ์จะเกิดขึ้น เดินไปเรื่อย ๆ ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม ตามสภาวะแวดล้อม ตายเอาดาบหน้า

วิธีที่ 2 คือ แน่นอน ท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้ เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้ แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ ณ วันนี้

ไมเคิล บอกว่า... ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว...โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้ เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง บริหารงบประมาณ บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต การเลือกกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการประสบควมสำเร็จ หลักการคิดเชิงกลยุทธ์ มีดังนี้...

ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง

ขั้นที่ 2 วิเคราะห์และประเมินสถานะ

ขั้นที่ 3 การหาทางเลือกกลยุทธ์

ขั้นที่ 4 การวางแผนปฏิบัติการ

ขั้นที่ 5 การวางแผนคู่ขนาน

ขั้นที่ 6 การทดสอบในสถานการณ์จำลอง

ขั้นที่ 7 การลงมือปฏิบัติการ

ขั้นที่ 8 การประเมินผล

สรุป : ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า...การคิดเชิงกลยุทธ์ถ้าดูดี ๆ แล้วจะเหมือนกับ PDCA นั่นเอง...ซึ่งความคิด 10 มิติ นี้ ในตอนแรกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ตามหลักวิชาการ และต้องลงมือปฏิบัติด้วย ซึ่งเหมือนเป็นการนำหลักวิชาการผสมผสานกับภาคปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลงาน...

หมายเลขบันทึก: 386694เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท