การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)


การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)

"การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)"

หมายถึง การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกัน โดยไม่ขัดแย้ง การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมองภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด กระชับสามารถอธิบายได้ เป็นการคิดรวบยอด สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน สามารถถ่ายทอดออกไปได้...การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้น เพราะว่า กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้ ฉะนั้น การปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า "นายอำเภอ" นั้น เบื้องหลังสะท้อนถึงโครงสร้างการบริหารงาน สะท้อนถึงหน้าที่ บุคลิก บทบาทของขอบข่ายงาน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกมาเรียงไว้ แล้วคิดออกมาเป็นมโนทัศน์ เช่น มโนทัศน์เรื่องของยาเสพติด เมื่อก่อนเรามีมโนทัศน์ หมายถึง เสพแล้วติดให้โทษ แต่ปัจจุบัน ยาเสพติดที่ขายตามท้องตลาดซื้อได้ ตามร้านขายยาด้วย ที่กินแล้วอาจไม่ได้ให้โทษมากมาย บางประเภทใช้เป็นยารักษาในการผ่าตัด การเจ็บปวด เป็นต้น...

วิธีการสร้างมโนทัศน์ ประกอบด้วย...

1. การเป็นนักสังเกต

2. การตีความ

3. การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ได้รับมากับกรอบความคิดเดิม

3.1 สามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง / เหมือนกันในรายละเอียด

3.2 สามารถแยกมโนทัศน์หลัก - มโนทัศน์ย่อยได้

4. การปรับกรอบมโนทัศน์

4.1 การปรับกรอบเพิ่มในรายละเอียดมากขึ้น

4.2 การขยายกรอบความคิดออกไปแนวข้างมากขึ้น

5. การรับกรอบความคิดใหม่เข้ามาทั้งหมด

6. การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

สรุป : การคิดเชิงมโนทัศน์ ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า...ถ้าพูดแล้วก็คือ... การปรับเปลี่ยนความคิดใหม่...(หรือเปลี่ยนมุมมองใหม่)...ซึ่งในความคิดเดิม ๆ ที่เราเคยคิดอยู่ในด้านหนึ่ง...ก็ปรับความคิดให้เป็นอีกด้านหนึ่ง...ซึ่งเป็นความคิดที่ดีกว่าเดิม...โดยคิดให้กว้างขึ้นกว่าเดิม...คือเพิ่มรายละเอียดให้มากขึ้น...การคิดในด้านนี้ ทำให้เราเป็นคนที่ช่างสังเกต...เรียกว่า เป็นคนมองโลกในแง่ดี...มีความคิดที่ดีและกว้างขึ้น...คล้าย ๆ กับ ความคิดของใครคนหนึ่ง (จำได้ไหมค่ะ)... ที่ว่า ..."คิดใหม่ ทำใหม่"...

หมายเลขบันทึก: 386714เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท