คำว่า ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างไร


คำว่า ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างไร

                สำหรับครั้งนี้ ผู้เขียน ขอนำคำว่า "ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างไร" มาอธิบายให้กับผู้สนใจได้อ่านเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องนะค่ะ

                ในวันนี้ ผู้เขียน ได้เข้าไปอ่านใน Web Site เกี่ยวกับ Web ของพนักงานราชการซึ่งในกระทู้ได้มีการออกความคิดเห็น ต่าง ๆ นานา ระหว่างเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ บางกระทู้ พาดพิงถึงคำว่า "ข้าราชการ" ผู้เขียนอ่านแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจสักเท่าไร จึงขอนำคำว่า "ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างไร" โดยจะนำวิวัฒนาการ พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้าราชการ มาเล่าให้กับน้อง ๆ ซึ่งเป็นเด็กรุ่นใหม่ได้ฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ

                 พ.ศ. 2471  พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับแรก เกิดคำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ขึ้นเป็นครั้งแรกและเริ่มใช้ระบบคุณธรรมในการบริหารงานราชการ คือ ข้าราชการต้องมีสมรรถนะ มีความเสมอภาพ ในโอกาสและมีความมั่นคงในการดำรงสถานภาพ

                 ข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 7 นับว่ามีเกียรติภูมิสูงสุด เพราะมีทั้งยศและบรรดาศักดิ์ ผู้ที่จะเข้ารับราชการต้องผ่านการสอบแข่งขันและบรรจุ ตามลำดับคะแนนที่สอบได้ หรือคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญพิเศษ ก็สามารถพิจารณาบรรจุโดยไม่ต้องผ่านการสอบแข่งขัน

                 พ.ศ. 2476 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการตรา พ.ร.บ.ใหม่ ให้ข้าราชการเป็นพนักงานของรัฐ ถือว่าเป็นผู้รับใช้ประชาชน  ยกเลิก ยศและบรรดาศักดิ์ของข้าราชการ เพื่อสะท้อนถึงความเสมอภาพตามหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร์  แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แทนคณะกรรมการรักษา พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (กรพ.)

                 พ.ศ. 2479 กระจายอำนาจการบริหารงานของ ก.พ. ไปยังหน่วยราชการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก  ใช้ระบบ "ชั้นยศ" ประกอบ ด้วย จัตวา ตรี โท เอก ชั้นพิเศษ

                 พ.ศ. 2497  มิได้กำหนดวิธีการกำหนดจำนวนตำแหน่งไว้ แต่ภายหลังมีการจัดทำกรอบอัตรากำลังในแต่ละกรม โดยคณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรี

                 พ.ศ. 2518   ใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแบบ "ระดับมาตรฐานกลาง" หรือที่คุ้นเคยกันว่า "ซี" หรือ common level แบ่งเป็น 11 ระดับ

                 พ.ศ. 2535     จัดแบ่งข้าราชการเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิศษ  เพิ่มหลักสำคัญ คือ ระบบคุณธรรม ความเสมอภาพ ความสามารถ ความมั่นคงและความเป็นกลาง

                   พ.ศ. 2551   ยกเลิกระดับมาตรฐานกลาง (Common Level หรือ C) โดยจัดกลุ่มประเภทตำแหน่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ บริหาร อำนวยการ วิชาการและทั่วไป ยึดแนวคิดหลัก 5 ประการ ได้แก่ หลักคุณธรรม หลักสมรรถนะ หลักผลงาน หลักกระจายอำนาจและคุณภาพชีวิตของข้าราชการ  จัดตั้ง "คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม" เพื่อดูแลและรักษาความเป็นธรรมให้กับข้าราชการ ปรับบทบาท ก.พ. ให้เหลือเพียงหน้าที่ "ผู้จัดการฝ่ายบุคคล" ของรัฐบาล

                   เห็นไหมค่ะว่า "ข้าราชการ" มีประวัติอันยาวนานมากว่า 80 ปี แล้ว ซึ่งคำว่า "ข้าราชการ" หมายถึง ผู้ทำงานรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ที่ทำงานสนองเบื้องพระบาทฯ มีหน้าที่ดูแลทุกข์บำรุงสุขของประชาชน หาใช่เจ้านายของประชาชนไม่ เพราะเงินเดือนและสวัสดิการที่เหล่าข้าราชการและครอบครัวได้รับล้วนมาจากเงินภาษีของประชาชนพลเมืองทั้งสิ้น เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วข้าราชการและบุคคลในครอบครัวที่สร้างความลำบากนำเรื่องเดือดร้อนมาสู่ประชาชนย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้เนรคุณต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินภาษี

                   เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของข้าราชการ จึงควรหมายถึง "เกียรติแห่งความนิยมที่บุคคลที่ได้รับในฐานะผู้ทำงานรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน"

                   ซึ่งข้าราชการ จะมีสิทธิประโยชน์ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ค่าเช่าบ้าน บำเหน็จ บำนาญ การลา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ

                   สำหรับคำว่า ลูกจ้างประจำ ก็เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงาน คล้าย ๆ กับข้าราชการ แตกต่างกันเพียงหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพราะลูกจ้างประจำ ปัจจุบันแบ่งเป็นหมวด เช่น หมวดแรงงาน หมวดกึ่งฝีมือ หมวดฝีมือ หมวดฝีมือพิเศษระดับต้น หมวดฝีมือพิเศษระดับกลาง หมวดฝีมือพิเศษระดับสูง หมวดฝีมือพิเศษเฉพาะ (ปัจจุบัน รัฐ กำลังปรับเปลี่ยนให้แบ่งเป็นเพียง 4 กลุ่ม ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ) ในสมัยก่อน จะมีกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานต่อระบบราชการส่วนใหญ่จะมี 2 ประเภท ได้แก่ ข้าราชการและลูกจ้างประจำ

                   พนักงานราชการ มีกำเนิด เมื่อ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย พนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยนำระบบลูกจ้างสัญญาจ้างสู่ทางปฏิบัติ โดยเป็นการจ้างตามภารกิจของโครงการ เนื่องจากในสมัยก่อน รัฐ มีข้าราชการจำนวนมาก ภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ บำเหน็จ บำนาญ รัฐ ต้องมีการจัดเตรียมให้ ซึ่งเป็นภาระที่ค่อนข้างสูงมาก ตลอดรวมถึง คุณภาพในการทำงานในระบบราชการ ยังไม่เป็นที่พอใจของรัฐมากเท่าที่ควร รัฐจึงต้องปรับเปลี่ยน เป็นพนักงานราชการ ซึ่งเป็นการจ้างตามสัญญาจ้าง เพราะรัฐได้เล็งเห็นจากการทำงานในรูปแบบบริษัท รัฐวิสาหกิจ ที่บุคคลในบริษัท รัฐวิสาหกิจดังกล่าว ทำงานได้ผลงานมากกว่าระบบราชการที่คิดว่า ข้าราชการทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม และเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความกระตือรือร้นในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ คุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงใช้ระบบของพนักงานราชการมาใช้กับหน่วยงานของรัฐ แทนอัตราของลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ บางหน่วยงานจะได้พนักงานราชการ แทนอัตราข้าราชการ (แล้วแต่ความจำเป็น)

                     ซึ่งพนักงานราชการ จะต้องทำสัญญาจ้างทุก 4 ปี สิทธิประโยชน์ในการรับค่าตอบแทนจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าข้าราชการประมาณ 20 % ในทุกเดือน ไม่ได้รับค่าเช่าบ้าน ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล เนื่องจากรัฐให้ทำประกันสังคม ไม่ได้รับบำเหน็จ บำนาญ แต่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่กำหนด รัฐต้องการให้พนักงานราชการบริหารจัดการตนเอง เช่น ค่าตอบแทนที่ได้รับมากกว่าข้าราชการ 20 % ของทุกเดือน พนักงานราชการก็ต้องเป็นผู้จัดการตนเอง รู้จักเก็บออมเอง คือ พูดง่าย ๆ ว่าให้พึ่งตนเอง เช่น เงินเดือนข้าราชการ ได้รับเดือนละ 10,000 บาท พนักงานราชการ จะได้รับเงินเดือน 12,000 บาท ซึ่งมากกว่าข้าราชการ 2,000 บาท ขอฝากข้อคิดให้กับพนักงานราชการรุ่นใหม่ว่า ท่านลองนำส่วนต่างที่ได้รับในแต่ละเดือน ไปฝากธนาคาร ทุกเดือน จนอายุท่านครบ 60 ปี นั่นแหละคือเงินบำนาญของท่าน ที่คนเป็นข้าราชการยังไม่ได้รับแต่เขาจะไปได้รับในตอนที่เขาเกษียณอายุราชการค่ะ และฝากให้พนักงานราชการทุกคน ทำความเข้าใจ ศึกษาเรื่องของท่านให้มาก ๆ จะได้เข้าใจค่ะ ปัจจุบันไม่มีผู้ใดสามารถบอกเราได้ นอกจากตัวเราเอง ได้ศึกษาหาความรู้จากหลาย ๆ แหล่ง เพิ่มเติมค่ะ  ส่วนเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 ได้ประกาศใช้ เมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 นี้เอง ช่วงนี้คงอยู่ระหว่าง การแจ้งเวียนให้ทราบค่ะ สำหรับผู้เขียนที่ได้นำมาลงให้ทราบ เนื่องจากได้เข้าร่วมประชุมกับสำนักงาน ก.พ. จึงนำมาเผยแพร่ให้ทราบค่ะ

                      สำหรับ คำว่า "พนักงานมหาวิทยาลัย" เป็นบุคคลที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์สายวิชาการ สายสนับสนุน โดยได้รับเงินจัดสรรจากรัฐมาในรูปแบบของหมวดเงินอุดหนุน โดยรัฐจัดสรรให้กับมหาวิทยาลัยมาก้อนหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันรัฐให้หน่วยงานของรัฐ คือ มหาวิทยาลัย เกิดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ให้ตามความต้องการของมหาวิทยาลัยที่จะทำงานให้สำเร็จลงได้ คือ ให้มหาวิทยาลัยบริหารจัดการตนเอง แต่รัฐจะมาวัดผลงานที่ผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยหน่วยงานที่มาวัด คือ ก.พ.ร. ซึ่งจะมาติดตามผลและประเมินผลการปฏิบัติงานทุกปี  พนักงานมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน จะได้รับเงินที่รัฐจัดสรรให้ในอัตรา 1.7 สำหรับสายวิชาการ และอัตรา 1.5 สำหรับสายสนับสนุน (คือ ข้าราชการ ได้รับเงินเดือน 10,000 บาท พนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับ 17,000 บาท บางมหาวิทยาลัยจะจ่ายให้เพียง 1.5 สำหรับสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยจะจ่ายให้เพียง 1.3  ส่วนที่เหลือ .2 จะนำไปเป็นเงินกองทุนให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด จะไม่เหมือนกัน)

                     สุดท้าย ผู้เขียนหวังว่า พนักงานราชการ หรือผู้อ่านคงจะเข้าใจคำว่า "ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย" แตกต่างกันอย่างไร นะคะ  ในความคิดของผู้เขียน คิดว่า ทั้ง 4 คำ เป็นประเภทของกลุ่มบุคคลที่ทำงานให้กับรัฐเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย แตกต่างกันตรงสิทธิประโยชน์ ของแต่ละประเภทเท่านั้นเอง แต่บางครั้ง บางคน ชอบใช้อำนาจส่วนตนในการใช้อำนาจในทางที่ผิด จึงทำให้พนักงานราชการเกิดความเข้าใจไขว่เขว อำนาจจะมีไว้ใช้ในทางที่ถูกต้อง แต่บางคนชอบหลงลืมตนไปกับการใช้อำนาจในทางที่ผิด  สำหรับการทำงาน จริง ๆ แล้ว อยู่ที่การให้เกียรติซึ่งกันและกัน การเคารพในความอาวุโส การเคารพซึ่งกันและกัน  ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กฎหมายของรัฐและของหน่วยงาน ค่ะ

                      อย่างไรแล้ว ขอฝากน้อง ๆ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ไว้ด้วยว่า ถึงแม้เราจะถูกจ้างด้วยการทำสัญญาจ้าง ถ้าเราทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ทำความดีต่อหน่วยงาน ต่อประเทศชาติ ไม่ทุจริต มีความซื่อสัตย์ รักในอาชีพของตนเอง โดยไม่คิดว่างานที่ท่านทำคุ้มกับที่ค่าตอบแทนที่ท่านได้รับหรือไม่ ไม่คิดเปรียบเทียบกับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ เกี่ยวกับภาระงานในการทำงาน มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก ผู้เขียนบอกได้เลยว่า ในอนาคต ท่านก็จะมีประวัติ ความมีศักดิ์ศรีเช่นเดียวกันกับข้าราชการค่ะ ตั้งใจทำงานเพื่อแผ่นดินไทยนะคะ ...

 

ท่านสามารถศึกษา วิวัฒนาการของข้าราชการพลเรือน

และวิวัฒนาการของระบบราชการไทย ตอนที่ 1 - 6

ได้ตามเว็บไซต์ข้างล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas

 

ท่านสามารถศึกษาความเป็นมาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

ระบบราชการ, การเป็นข้าราชการ, อุดมการณ์ของข้าราชการ

และการเป็นข้าราชการระบอบราชาธิปไตยและระบอบประชาธิปไตย

  ได้ตามเว็บไซต์ข้างล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya14

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 306519เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (163)

สวัสดีค่ะคุณบุษยมาศ เข้ามาบันทึกนี้ ทุกคนเข้าใจได้ถ่ิองแท้เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ บุษยมาศ

  • พาหลานม่อนมาเยี่ยมครับ
  • มาชื่นชมข้าราชการไทยสายพันธุ์ใหม่
  • เป็นกำลังใจ โชคดีครับ

ขอบคุณค่ะ...อาจารย์ประจักษ์

ผมเองก็ยังไม่ค่อยกระจ่างเท่าไรครับ   เข้ามารับความกระจ่าง จะได้คุยกับเขาได้ครับ

                       ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณครับผม..

ผมก็เป็นพนักงานราชการคนหนึ่ง

ที่ตั้งใจทำงานเพื่อรับใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครับ

ขอบคุณค่ะ...คุณ Torry

ยินดีด้วยค่ะที่แผ่นดินไทยมีเด็กรุ่นใหม่ ที่ตั้งใจทำงานเพื่อรับใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯ ค่ะ

เงินเดือนเท่านี้มันไม่พอเก็บหรอกครับ..ค่าครองชีพปัจจุบันมันเป็นอย่างไร....เราต้องยอมรับสภาพที่ไม่เเน่นอนต่อไป

ตอบคุณ พร...

ลองเปรียบเทียบกับข้าราชการ สิค่ะ ก็เหมือนกันค่ะ เขาได้น้อยกว่าคุณอีก ถ้าเทียบกับเงินเดือนตามวุฒิที่เขาได้รับ ทำไงได้...รัฐเขาคงคิดว่าดีแล้วมังค่ะ... เขาถึงออกแบบเป็นการจ้างพนักงานมาแทนที่ข้าราชการ...บอกแล้วไงค่ะ ว่าไม่มีใครช่วยเราได้นอกจากเราต้องพึ่งตัวเองค่ะ รัฐสอนให้เราช่วยเหลือตัวเราเองก่อนที่จะหวังพึ่งพาผู้อื่นค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

หนูอยากเรียนถามว่าบัตรพนักงานราชการ ต้องใส่ชุดปกติขาวหรือชุดสากลค่ะ

ทางเขตพื้นที่การศึกษาเขาจะแจ้งเรื่อง เครื่องแบบพนักงานราชการให้ทราบอย่างเป็นทางการหรือเปล่าค่ะ

อาจารย์ค่ะพนักงานราชการสายครูผู้สอนถ้าทำงานครบ 3 ปี จะมีโอกาสได้บรรจุหรือเปล่าค่ะ

ตอบคุณส้มโอ...หมายเลข 12-14

1. บัตรพนักงานราชการ ตอนนี้ใส่ชุดปกติขาวค่ะ...แต่ติดที่ว่า อินทรธนู ค่ะ ถ้ามีก็แต่งได้เลยค่ะ...

2. ต้องสอบถามที่เขตพื้นที่นะค่ะว่า ได้รับเองแจ้งเวียนจากสำนักงาน ก.พ. แล้วหรือไม่ค่ะ

3. ตอนนี้ยังไม่มีอะไรแน่นอนค่ะ ขอให้รอมติ ค.ร.ม. ที่ชัดเจนดีกว่ามังค่ะ...เพราะถ้าพูดไปแล้วไม่มีข้อมูลที่จริง ก็ไม่มีประโยชน์ค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่บุศ

เขียนได้ดีมากค่ะ เข้าใจเลยค่ะ มีประโยชน์มากนะคะ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

โอ๋ มรพส.ค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • หาโอกาสมาทักทายได้แล้วค่ะ
  • ขอขอบพระคุณมากนะคะกับความรู้เกี่ยวกับระเบียบ
  • ได้สำเนาออกไปให้เจ้าหน้าที่บุคลากรโรงเรียนด้วยแล้วค่ะ
  • อากาศที่นครไทย...เย็นมาก ๆ ลมแรงทั้งวันค่ะ
  • ด้วยความคิดถึงนะคะ

ขอบคุณค่ะ...พี่คิม

ยังคิดถึงนครไทยเหมือนเดิมค่ะ...ฝากความคิดถึงครูที่นครไทยด้วยนะค่ะ...ว่าน้องสาวคนนี้ไม่เคยลืมค่ะ

สวัสดีครับ อ.บุศ

1.ผมสงสัยที่ว่าข้าราชการกับลูกจ้างประจำต่างกันที่สิทธิประโยชน์อย่างไรบ้างครับ

2.ถ้าสิทธิเท่ากัน จะเข้าเป็นลูกจ้างประจำได้อย่างไรครับ

รบกวนอ.ครับ

ขอบพระคุณครับ

ตอบ...คุณเก่ง...

1. ณ แต่ก่อน (ที่ลูกจ้างประจำจะรับบำนาญได้) ลูกจ้างจะรับเงินบำเหน็จได้อย่างเดียว ไม่มีบำนาญ แต่ปัจจุบัน รัฐได้แก้ไขระเบียบ ฯ แต่บางเรื่องก็ยังไม่ชัด ต้องรอระเบียบ ที่สมบูรณ์ก่อน, ลูกจ้างประจำมีหน้าที่สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือข้าราชการ ในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ แต่ภาระงานของลูกจ้างประจำ จะเน้นในการปฏิบัติเกี่ยวกับช่าง, เทคนิค, คนงาน ซึ่งเป็นงานที่นอกเหนือจากข้าราชการจะทำได้ หรือเป็นลูกมือให้กับข้าราชการ เช่น การใช้กำลังแรงงาน นั่นเอง ส่วนภาระงานของข้าราชการจะเน้นไปที่การทำงานแบบใช้ความคิดในด้านการบริหารจัดการ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ หน่วยงานให้บรรลุผลสำเร็จ สังเกตุได้จาก เงินเดือน กับค่าจ้าง ไม่เหมือนกัน ข้าราชการ สมัยเดิม (ก่อนยุบซี) แบ่งเป็นระดับ เงินเดือนจะสูง สำหรับลูกจ้างประจำเงินค่าจ้าง แบ่งเป็นกลุ่ม ซึ่งน้อยกว่าข้าราชการ ถ้าเทียบกันก็คล้าย ๆ ภารกิจหลัก กับภารกิจรอง นั่นแหละค่ะ เพราะแต่ก่อนการทำงานรับราชการจะมีกลุ่มข้าราชการเป็นชนกลุ่มใหญ่มากกว่า และที่ต่างกันอีกอย่าง คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของลูกจ้างประจำ จะได้ไม่เท่ากับของข้าราชการค่ะ ถ้าว่าไม่แล้ว ก็เปรียบเสมือนทางใครทางมัน ต่างกันตรงหน้าที่ความรับผิดชอบที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายค่ะ

2. ปัจจุบัน รัฐพยายามปรับลูกจ้างประจำที่มีการเกษียณอายุราชการ ให้เป็นอัตราว่าง และไม่จัดสรรมาให้หน่วยงาน จะให้มาในรูปของอัตราพนักงานราชการ ทดแทนลูกจ้างประจำ แต่สำหรับ 1 ต.ค. 2552 เป็นต้นไป ค.ร.ม. มีมติ ไม่ให้บรรจุตำแหน่งลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุ เป็นพนักงานราชการ ค่ะ ได้แต่ตั้งอัตราเอาไว้เพื่อรอ อนุมัติ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทาย

และรับความรู้เพิ่มเติม

ขอบคุณนะค่ะ

ขอบคุณครับ อ.บุศ

ผมมองในมุมกว้างว่า..ในการสอบภาคก.ที่ก.พ.จัดสอบไป มีผู้เข้าสอบหลักแสนคน นั่นหมายความว่าอยากรับราชการกันมาก

อะไรเป็นเหตุ และปัจจัย หรือเพราะอะไร คนจึงอยากทำงานในภาครัฐครับ

เรียนถามอ.ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์บุศ

ดิฉันอยากจะสอบถามว่า การขึ้นเงินเดือนของพนักงานราชการ เมื่อส่วนฐานเงินเดือนปรับขึ้น ส่วนค่าครองชีพจะลดลงใช่หรือเปล่าค่ะ เพราะทำงานมาตั้งแต่ ปี 2548 ถึงปัจจุบัน ฐานเงินเดือนขึ้น แต่ลดค่าครองชีพตลอดเลย ก้อทำให้ได้เงินเท่าเดิมค่ะ ไม่เพิ่มขึ้นเลย รบกวนอาจารย์ตอบด้วยค่ะ

ตอบ...คุณเก่ง...

               สงสัยต้องทำวิจัยเพิ่มมังค่ะ...เพื่อได้ข้อมูลที่เป็นจริง... แต่ถ้าถามพี่แล้วความคิดของพี่นะค่ะที่มองจากประสบการณ์ที่มีอยู่ การที่มีผู้สมัครสอบภาค ก. ของ ก.พ. เป็นจำนวนมากนั้น สาเหตุหรือปัจจัย

               1. ต้องการความมั่นคงในการทำงานในอาชีพของตนเอง

               2. สวัสดิการที่จะได้รับ เช่น ค่าเช่าบ้าน การศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล (ตัวเอง บุตร พ่อ-แม่)

               3. เงินบำนาญหลังจากเกษียณอายุราชการ + เงิน ก.บ.ข.ที่จะได้รับหลังจากการเกษียณอายุราชการ

               4. ความก้าวหน้าในอาชีพ เช่น การเลื่อนเงินเดือน การเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น ฯลฯ

               5. ค่านิยมเดิม ๆ (สำหรับบางคน แต่เรียกว่าส่วนมาก) ยังคิดว่าการเป็นข้าราชการเปรียบเสมือนการเป็นเจ้าคน-นายคน มีศักดิ์ศรีเหนือกลุ่มคนอื่น ๆ ซึ่งติดมาจากสมัยเมื่อประมาณเกือบ 100 ปี ที่แล้ว

               6. ประเทศไทยยังมีลักษณะการทำงานของรัฐเป็นระบบศักดินาอยู่มาก

               7. การที่มีผู้สมัครเป็นจำนวนแสน ๆ คน ถ้าสอบได้แล้ว จะเกิดความภาคภูมิใจในการที่ได้ผ่านการสอบแข่งขันกับผู้อื่น เสมือนเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลและตัวเราเอง

               8. มีความมั่นคงในอาชีพ เป็นที่เชื่อถือของสถาบันการเงินที่จะรับรองสิทธิ์ในการเป็นข้าราชการเพื่อกู้ยืมเงิน สร้างฐานะของตนเอง

ซึ่งถ้าเทียบกับกลุ่มงานประเภทอื่น ๆ ในหน่วยงานของรัฐ ณ ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ต้องการที่จะรับราชการ ยกเว้น บุคคลที่ต้องการแสดงความสามารถศักยภาพของตนเองที่ไม่ต้องการทำงานรับราชการ ก็จะสมัครทำงานประเภทรัฐวิสาหกิจ เอกชน ซึ่งได้รับค่าตอบแทนที่มากกว่าข้าราชการค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากที่ข้อมูลอาจารย์ทำให้พนักงานราชการ กศน.นอกระบบที่ทำงานหนักในพื้นที่และหน่วยงานได้มีกำลังใจทำงานเพื่อตอบแทนแผ่นดินไดมากค๊ะ

ตอบ...คุณธันย์ชนก...

ถ้าฐานเงินเดือนของพนักงานราชการเพิ่มขึ้น ถูกต้องแล้วค่ะ ค่าครองชีพจะต้องลดลง ซึ่งตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 และหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0420.8/ว 244 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ระบุไว้ การที่พนักงานราชการจะได้รับค่าครองชีพ (ได้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนน้อยให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ค่ะ) ในแต่ละเดือนนั้น จะได้รับค่าตอบแทน ไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท ยกตัวอย่าง เช่น ได้รับค่าตอบแทน 10,530 บาท ต่อเดือน จะได้รับค่าครองชีพ 1,170 บาท รวมแล้วจะได้ไม่เกิน 11,700 บาท แต่การที่จะได้รับค่าครองชีพในแต่ละเดือนนั้น ต้องได้รับไม่เกิน 1,500 บาท ค่ะ สำหรับผู้ที่มีค่าตอบแทน ยังไม่ถึง 8,200 บาท ตัวอย่างเช่น ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 7,010 บาท ก็จะได้รับค่าครองชีพต่อเดือน ไม่เกิน 1,190 บาท เพราะ 7,010 + 1,190 = 8,200 บาท ห้ามเกิน 8,200 บาท สำหรับท่านใดที่ได้เกิน 8,200 บาท ก็จะได้รับค่าครองชีพเพิ่มอีก 1,500 บาท ค่ะ

ถ้าเงินค่าตอบแทนเกิน 11,700 บาท ไปแล้ว ไม่สามารถที่จะรับเงินค่าครองชีพชั่วคราวได้ค่ะ

ตอบ...คุณประนอม แสงศิลป์

ขอบคุณค่ะ...ตั้งใจทำงานนะค่ะ เพื่อประเทศชาติค่ะ สืบเนื่องจากกลุ่มพนักงานราชการ เป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มใหม่ ซึ่งบางครั้งขาดการสนใจที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบจะต้องเป็นผู้ให้คำตอบ หน่วยงานบางหน่วยก็ไม่ทราบความชัดเจนที่แท้จริง ไม่ศึกษา แต่บังเอิญที่ตอบได้เพราะพี่เป็นผู้ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องพนักงานราชการโดยตรง และงานบุคลากรที่ปฏิบัติอยู่ จึงสามารถนำประสบการณ์ที่ตนเองมีอยู่มาตอบให้กับน้อง ๆ ได้...พี่ถึงบอกไงค่ะว่า...ตอนนี้ ไม่มีอะไรดีเท่ากับเราทำงานเก็บประสบการณ์ไว้ให้มาก ๆ ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวกับตัวเราหรือหน่วยงานให้มาก ๆ สักวันเราก็จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มภาคภูมิค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

ขอบคุณอ.บุศที่ตอบคำถามครับ...

ขอให้อ.เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

อายุมั่นขวัญยืนครับ

ตอบ...คุณเก่ง...

             ขอบคุณค่ะ...

ขอบคุณผู้ที่เห็นคุณค่าของพนักงานราชการ

ขอขอบพระคุณผู้ใหญ่ที่เล็งเห็นคุณค่าของพนักงานราชการที่ทำงานรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ที่ทำงานสนองเบื้องพระบาทฯ มีหน้าที่ดูแลทุกข์บำรุงสุขของประชาชน จากที่ยังไม่มีเครื่องแบบก็ผลักดันให้มีเครื่องแบบ

อยากจะขอทราบความมั่นคงในหน้าที่การงานของพนักงานราชการ ต่อสัญญาทุก 4 ปี และถ้าครบ 4 ปีแล้วจะมีไหมที่จะไม่ต่อสัญญาจ้าง และด้วยเหตุผลอะไรอยากจะขอทราบ ที่ว่าได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการ 20% ถ้าไม่ต่อสัญญาทำงานไม่ถึงอายุ 60 ปี จะเรียกว่าได้บำเหน็จบำนาญ ได้อย่างไร ฝากให้ช่วยหาคำตอบขอบคุณครับ

ตอบ  หมายเลข 32...

เรื่องการต่อสัญญาจ้างทุก 4 ปี และถ้าครบ 4 ปี แล้วก็ต้องต่อสัญญาจ้างอีก เพราะ เป็นการจ้างระบบใหม่ในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งต้องมี "ระบบสัญญาจ้าง" เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ซึ่งเดิม นั้น พนักงานราชการ ชื่อเดิมว่า "ลูกจ้างสัญญาจ้าง" ซึ่งถ้าต้องการทราบให้ละเอียดต้องศึกษาใน คู่มือ การบริหารงานพนักงานราชการ คุณจะทราบรายละเอียดที่ชัดเจนมากกว่าที่พี่จะบอกให้ ถ้าคุณไม่ต่อสัญญาทำงานไม่ถึง 60 ปี ก็ถือระยะเวลาเท่าที่คุณปฏิบัติมาจะกี่ปีก็อยู่ที่ในช่วงของคุณทำงาน เช่นเดียว กับข้าราชการ ๆ คนใดทำงานไม่ถึงกำหนด 25 ปี เขาก็จะไม่ได้บำนาญเหมือนกัน สำหรับบำเหน็จถ้าได้ก็ได้เท่ากับเงินเดือน x จำนวนปีที่ทำงาน

สำหรับ 20 % นั้น ถ้าเป็นข้าราชการเขาจะไม่ได้รับส่วนนี้ พูดง่าย ๆ ยกตัวอย่างให้เห็นให้ชัดเจน เช่น บุคคลที่จบวุฒิปริญญาตรี ถ้าเข้ารับราชการวุฒิปริญญาตรี จะได้รับเงินเดือน 7,940 บาท แต่ถ้าบรรจุเป็นพนักงานราชการ จะได้รับค่าตอบแทน 9,530 บาท ซึ่งต่างกัน 1,590 บาท (จริง ๆ แล้วต่างกัน 1,588 บาท เนื่องจากเป็น เศษ 8 บาท รัฐปัดให้เป็น 10 บาท จึงกลายเป็น 1,590 บาท) นี่ก็ถือว่าคุณได้สิทธิ์เกินข้าราชการเขาไปก่อนแล้ว ณ ปัจจุบัน...ถ้าเทียบกับการทำงานคุณก็มีรายได้มากกว่าข้าราชการที่เขาจบปริญญาตรีไปแล้ว 1,590 บาทค่ะ

แต่ถ้าคุณไม่พอใจในเรื่องการพนักงานราชการ  ก็ขอแนะนำว่าให้สอบเข้าเป็นข้าราชการให้ได้ค่ะ...

ในเรื่องสิทธิประโยชน์อื่น ต้องรอประกาศของ กพร. ว่าจะมีเกี่ยวกับเรื่องใดออกมาให้อีกค่ะ...

ขอบคุณพี่มากที่แนะนำให้้อ่านคู่มือการบริหารงานพนักงานราชการ

อ่านแล้วก็เข้าใจบ้างบางส่วน

ตอบ...หมายเลข 34

          พยายามอ่านหลาย ๆ ครั้ง และถ้าเป็นไปได้ให้อ่าน หนังสือ 108 คำถามของพนักงานราชการด้วยนะค่ะ จะได้เข้าใจยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันบางสิ่งบางอย่างตัวเราต้องอ่านเอง เรียนรู้เองค่ะ เนื่องจากความรู้มีอยู่มากมาย อยู่ที่ตัวเราจะไขว่คว้ามันมาเอง ไม่มีใครหามาให้เราได้นอกจากตัวเราเองค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

สวัสดีค่ะ อ.บุศ

ดิฉันอยากจะสอบถามเรื่องชุดสีกากีของพนักงานราชการค่ะ คือว่าที่ทำงานดิฉันมีระเบียบออกมาว่า ให้พนักงานราชการมีบั้งที่เป็นดอกพิกุลสำหรับติดชุดขาว ดิฉันเลยสงสัยว่า ชุดกากีที่พนักงานราชการใส่เนี่ย สามารถติดอินธนูได้หรือเปล่า รบกวนถามอาจารย์ด้วยค่ะ

ตอบคุณ...ธันย์ชนก...

การติดอินทรธนูใช้สำหรับติดกับเครื่องเบบชุดปกติขาว ค่ะ สำหรับชุดสีกากีต้องใช้อินทรธนูอ่อนค่ะ ก็ไม่ทราบว่าคุณอยู่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ใช้ตามประกาศของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการค่ะ แต่ถ้าไม่ใช่ ลองถามที่ต้นสังกัดว่าจะให้ใช้แบบใด มีกฎหมายที่อ้างจากที่ใดค่ะ...

สำหรับอินทรธนู ที่เป็นดอกพิกุลนี้ จะใช้กับชุดปกติขาวค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ อ.บุศ

อินทรธนูที่ติดสีกากีของพนักงานราชการใช่เหมือนลูกจ้างประจำไหมค่ะและจะมีแถมสีไหมเหมือนลูกจ้าประจำไหม

ทราบมาว่าพนักงานจ้างตามภาระกิจของท้องถิ่นนั้นใส่ชุดสีกากีแต่ไม่มีชุดขาวอยากทราบว่าพนักงานจ้างตามภาระกิจของท้องถิ่นเหมือนพนักงานราชการไหมเพราะเขาก็ต่อสัญญา ๔ ปีเหมือนกัน

ตอบ...หมายเลข 39

พี่ขอให้คุณไปอ่านที่พี่เขียนในหัวข้อเรื่องว่า  เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 นะค่ะ มีกระทู้ตอบไว้มากพอสมควรค่ะ  ลองดูนะค่ะ...

ทราบว่าพนักงานจ้างตามภาระกิจของท้องถิ่นใส่สีกากีแต่ไม่มีชุดขาวไม่มีอินทรธนูแต่มีแถมสีมานานอยากทราบว่าพนักงานจ้าตามภาระกิจของท้องถิ่นเหมือนพนักงานราชการไหมเพราะต่อสัญญาทุก ๔ ปี

ตอบ...หมายเลข 41

ขอให้คุณ เพื่อน ไปดูรายละเอียดที่พี่เขียนไว้ ตามหมายเลข 40 นะค่ะ ในกระทู้นะค่ะ อ่านให้ละเอียด จะทราบดีค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

อยากทราบว่า เครื่องแบบพนักงานราชการของกรมการปกครอง ใช้เหมือนกันรึเป่าคะ ทั้งชุดสีขาวและสีกากี

ตอบ...หมายเลข 44

ท่านใดเป็นพนักงานราชการ สามารถใส่ชุดปกติขาวได้ค่ะ

สำหรับสีกากี  อยู่ที่หน่วยงานของท่านกำหนดค่ะ (ต้องดูหนังสือสั่งการค่ะ)

ถ้าจะให้ได้รายละเอียด ให้ดูที่หัวข้อ  เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 ที่พี่ได้เขียนไว้ และมีเพื่อน ๆ ได้สอบถามรายละเอียดอยู่ในกระทู้ต่าง ๆ ค่ะ ...ขอบคุณค่ะ...

ท่านอาจารย์ครับผมอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยผลักดันให้ลูกจ้างประจำที่มีวุฒิการศึกษา ได้มีโอกาสสอบคัดเลือกแบบภายในหน่วยงานไม่ต้องแข่งกับบุคคลภายนอก เพื่อปรับเป็นข้าราชการโดยใช้อัตราเงินเดือนเดิม เพราะอาจจะได้มีโอกาสเป็นหัวหน้างานกับเขาบ้างครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับท่านอาจารย์

ตอบ...หมายเลข 46

การบริหารงานบุคคลของภาครัฐ ได้ระบุไว้ในการจำแนกประเภทของบุคคลในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยจำแนกเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ ซึ่งแต่ละประเภทการสรรหาแตกต่างกันในแต่ละประเภทแล้วแต่ท่านใดจะประสงค์สมัครเข้าทำงานในประเภทใด ตัวดิฉันเองไม่มีอำนาจที่จะไปผลักดันลูกจ้างประจำที่มีวุฒิการศึกษา ฯ ตามที่คุณแจ้งหรอกค่ะ ต้องเป็นไปตามกระบวนการที่ภาครัฐ  กำหนดเกณฑ์ไว้ เพราะภารกิจของลูกจ้างเป็นงานที่สนับสนุนภารกิจของข้าราชการ ซึ่ง ภารกิจของข้าราชการเป็นภาระงานหลัก สำหรับภารกิจของลูกจ้างประจำเป็นภาระงานรอง รัฐได้คิดแล้วว่า ควรจ้างเท่าไร มันจะกำหนดด้วยมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของแต่ละประเภทค่ะ ซึ่งไม่เท่ากัน (ศึกษาได้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการและลูกจ้างประจำค่ะ) ถ้าคุณได้รับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้น คุณก็ควรที่จะไปสอบคัดเลือกเป็นกลุ่มประเภทข้าราชการเองค่ะ...

เคยเป็นพนักงานราชการ

ที่สำหรับหาซื้อครับ

http://www.thaiinsignia.com/index.php/goverment-insignia/moi/moi-formal-suit/-13.html

อ.ครับเป็นพนักงานราชการไม่ถึง 4 ปีแต่จะลาบวชได้ไหมครับ

ตอบ...คุณกานต์...

ขอให้คุณเข้าไปที่ เว็บไซต์ข้างล่างนี้นะค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/notic_6.pdf

อยากทราบชื่อตำแหน่งของพนักงานราชการครับระหว่างผมสับสนนิดๆระหว่าง...ครูผู้สอนกับพนักงานช่วยสอน (((ความหมายนี้ก็มีค่านะคับสำหรับพนักงานราชการ))รบกวยช่วยตอบหน่อยคับตามเมลล์ที่ไห้ไว้คับ ขอบคุณมาก

ตอบ...คุณวร...

ถ้าคุณทำงานที่เขตพื้นที่การศึกษาให้สอบถามกับกลุ่มงานบุคคลนะค่ะ เพราะจะเกี่ยวกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ซึ่งถ้าเป็นในสถาบันอุดมศึกษา ก็มีมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ไม่เหมือนกับ สพฐ. ค่ะ...จึงไม่สามารถตอบให้ได้ค่ะ...

ผมขอตอบตรงๆครับว่าข้าราชการกับพนักงานราชการต่างกันตรงศักดิ์ศรีและสวัสดิการชัดยัง

ตอบ...หมายเลข 53...

อย่าลืมว่า...ข้าราชการมีอายุมากว่า 80 ปี สำหรับพนักงานราชการ เพิ่งเริ่มมีประมาณ 5-6 ปี เท่านั้นเอง การที่จะมีศักดิ์ศรีขึ้นอยู่กับตัวเราค่ะ... ในอนาคตพนักงานราชการก็มีได้ค่ะ...สำหรับสวัสดิการก็อย่างที่ทราบว่าถ้าเป็นข้าราชการรัฐต้องจ่ายเงินสวัสดิการให้กับข้าราชการหลากหลายประเภทซึ่งเป็นภาระที่รัฐต้องจัดแบ่งกลุ่มบุคลากรออกมาให้รูปของพนักงานราชการ ...ถ้าพนักงานราชการท่านใดต้องการสวัสดิการเช่นเดียวกับข้าราชการ...ขอแนะนำว่า...ให้สอบบรรจุเป็นข้าราชการให้ได้ค่ะ...ศักดิ์ศรีและสวัสดิการจะได้เป็นที่ต้องการของตนเองไงค่ะ...

 

อินทิรา อนันตมงคลกุล

อยากดูรูปเครื่องแบบชุดขาวของลูกจ้างประจำค่ะ ขอให้ส่งอีเมลให้หน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากเลยค่ะ

ตอบ...คุณอินทิรา...

ขอให้คุณดูจากเว็บไซต์ด้านล่างนี้นะค่ะ สำหรับลูกจ้างประจำ (หญิง) ก็แต่งกายคล้ายกับข้าราชการ (หญิง) ค่ะ ต่างกันตรงที่อินทรธนูก เครื่องราชอิสริยากรณ์ ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya28/325196

 

ดีใจครับที่ได้ความรู้อีกทางผมเป็นพนักงานราชการสังกัดกรมหนึ่งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยากแสดงความคิดด้วยครับอย่างแรกนี่เรื่องเครื่องแบบเห็นประกาศเวียนตั้งแต่สิงหา-กันยาปี52แล้วจนป่านนี้กรมก็ยังไม่มีข้อสั่งการอะไรลงมาเลย เรื่องที่2 เรื่องการเลื่อนค่าตอบแทนผลการประเมินอยู่ในระดับดีเด่นควรจะได้ 5%เป็นอย่างน้อยแต่กรมฯก็จะให้แค่ 3% ทุกปีอ้างว่างบประมาณจ้างไม่พอถ้าให้ดีเด่นและเลื่อนเงินเดือน 5%จะไม่มีงบประมาณจ้าง สอบถามจากกรมฯอื่นเขาก็ได้อย่างน้อย 4%อยุ่นะครับที่กรมทำอย่างนี้เป็นอะไรไหมมีสิทธิ์ที่จะทำได้ใช่ไหมครับอาจารย์ และอีกอย่างผมอยากให้ข้าราชการบางคนที่ยังยึดติดกับระบบเจ้าขุนมูลนายแบบสมัยเก่าอยู่ ได้เข้ามาอ่านในเว็บนี้จริงๆเผื่อจะได้ข้อคิดดีๆกลับไปบ้างจะได้ไม่คิดว่าพนักงานราชการเป็นแค่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างเท่านั้นได้ทำงานต่อหรือไม่ได้ทำงานต่ออยู่ที่ปลายปากาเขาเท่านั้นที่จะประเมินให้ผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่เรียกร้องอะไรครับบอาจารย์ เข้าใจว่าระบบนี้เพิ่งจะก้าวเดิน อีก 10 ปีข้างหน้าถ้าพัฒนาการเรื่องระบบยังยำอยู่กับที่ค่อยมาว่ากันใหม่ครับแต่คิดว่ายังไงก็คงจะดีขึ้นเรื่อยๆไม่คิดเทียบเคียงกับระบบข้าราชการหรอกเพราะทุกวันนี้เป็นพนักงานราชการผมยังรู้สึกว่ายังมีศักดิ์ศรีและคุณค่าและทำงานคุ้มค่าเงินของภาษีประชาชนมากกว่าข้าราชการบางคนอยู่แล้ว ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณพชร...

เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ.2552 นั้น ลองสอบถามงานการเจ้าหน้าที่ ก็ได้นะค่ะ ว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงช้า... สำหรับหน่วยงานของพี่ สำนักงาน ก.พ. แจ้งให้ทราบแล้ว เรื่องการเลื่อนค่าตอบแทนผลการประเมิน ขอให้คุณศึกษาใน ระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ให้ละเอียดนะค่ะเพราะจะมีการเลื่อนค่าตอบแทนปกติ กับถ้ามีโควต้าถึงในหน่วยงานของคุณอยู่และต้องเป็นกลุ่มงานที่มีจำนวนถึงตามเกณฑ์ ก็จะได้การเลื่อนค่าตอบแทนพิเศษ เพิ่มค่ะ ศึกษาระเบียบ ฯ ให้ละเอียดนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...ทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุดนะค่ะ...

 

ผมเคยเป็นพนักงานราชการมาก่อน ก่อนเงินเดือนเท่าไหร่ ก็รับอยู่เท่านั้นไม่มีวันขึ้นเงินเดือน ตอนนี้สอบได้พนักงานมหาวิทยาลัยก็ที่เดิมนั่นแหละแต่เปลียนตำแหน่ง เงินเดือน 1.7 เท่าวุฒิ ป โท ตามวุฒิที่จบ มีขั้นเงินเดือน มีขึ้นทุกปี ทำผลงานวิชาการ ทำ ผศ รศ ศ เทียบเท่าระดับ ซีของข้าราชการ เพื่อเอาเงินค่าตำแหน่งได้ครับ

ตอบ...คุณ cc...

ยินดีด้วยค่ะ... ถ้าเป็นสายวิชาการในมหาวิทยาลัยแล้ว ควรเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมากกว่าพนักงานราชการ เนื่องจาก การเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สามารถเติบโตทำผลงานวิชาการ เป็น ผศ. รศ. ศ. ได้ โดยสภามหาวิทยาลัยของแต่ละแห่งเป็นผู้ออกกฎหมาย เกี่ยวกับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยได้เอง แต่การเป็นพนักงานราชการ ต้องอาศัยกฎหมายจาก กพร. เป็นผู้กำหนด ค่ะ จึงเป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันค่ะ...อีกอย่างการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก็ได้รับเงินค่าตอบแทนมากกว่าพนักงานราชการค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

 

อ่านบทความแล้วเข้าใจมากขึ้น และขอขอบคุณในภูมิความรู้ที่ได้แบ่งบัน ไม่กีดกันองค์ความรู้ สมเป็นบุคคลในประเทศประชาธิปไตย ขอชมเชย และขอขอบคุณแทนพนักงานราชการทั่วประเทศที่รัฐเล่งเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ทำให้เข้าใจรัฐมากขึ้น ว่าเหตุใดรัฐจึงพยายามพัฒนาบุคลากร และใช้เงินซึ่งเป็นภาษีของราษฎร์ ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด แต่ขอความชัดเจนในด้านการสร้างความมั่นคงให้กับพนักงานราชการ มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าชนชั้นใดก็หลีกหนีไม่พ้นการพัฒนา และเรียนรู้เพื่อมุ่งสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง ซึ่งวิธีการที่รัฐนำมาใช้กับพนักราชการทุกวันหนี ยึงมีจุดบกพร่องตรงที่ข้าราชการสามารถเลือกปฏิบัติต่อพนักงานราชการอยู่ (เพราะข้าราชการทำตัวเป็นเจ้านายของพนักงานราชการ) โดยเงื่อนไขความไม่ชัดเจนในการต่อสัญญา 4 ปี ซึ่งเข้าใจว่า เจตนาของระบบให้ต่อสัญญาจ้างเพราะต้องการให้เกิดแรงกระตุ้นให้บุคคลากรทำงานเต็มประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่ามนุษย์มีเผ่าพันธ์เป็นกรรม มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ ทุกคนมีจิตใจ หากระบบสร้างความแข็งแรงให้จิตใจมีแรงใจกระตุ้นให้ปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ ที่ถูกกำหนดโดยตำแหน่งแล้ว ศักยภาพในตัวบุคคลซึ่งสะสมองค์ความรู้เฉพาะด้านตามความถนัดของแต่ละบุคคลก็จะสร้างผลสัมฤทธิ์สูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่

ตอบ...คุณกิตติ...

ขอบคุณค่ะ...เห็นด้วยกับคุณทุกอย่างแต่ในความเป็นจริงการสร้างความมั่นคงนั้น ต้องสร้างกันทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายพนักงานราชการเองด้วย ควบคู่กันไป ซึ่งในอนาคตผู้เขียนคาดหวังว่ารัฐคงจะหามาตรการความมั่นคงให้แก่พนักงานราชการให้ดียิ่งขึ้นกว่าในปัจจุบันค่ะ สำหรับข้าราชการที่เลือกปฏิบัติต่อพนักงานราชการนั้น ต้องขึ้นกับหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบพนักงานราชการให้กับพนักงานราชการและข้าราชการทุกคนในสังกัดมากยิ่งขึ้น โดยใช้หลักธรรมาภิบาลอย่างถูกต้องและแท้จริงมากที่สุดค่ะ...จึงจะเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจังค่ะ...

 

ขอบคุณครับ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นในเรื่องนี้

ตอบ...หมายเลข 63...

ขอบคุณค่ะ...

เรียนอาจารย์ อยากทราบว่าทำไมกรอบกรอบอัตราพนักงานราชการถึงมีกรอบแค่ถึงปี 2555 ครับ รบกวนอาจารย์เท่านี้ครับ

ตอบ...คุณสน...

การทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ หรือกรอบอัตราข้าราชการ รัฐจะทำ 4 ปี ต่อ 1 ครั้งค่ะ...คล้าย ๆ เป็นแผนปฏิบัติราชการค่ะ...เมื่อครบ 4 ปี แล้วก็ให้ส่วนราชการพิจารณาวิเคราะห์อัตรากำลังใหม่ เพื่อทบทวนอัตรากำลังว่าควรมีอีกหรือไม่ การจัดอัตรากำลังใหม่ต้องคำนึงถึงภารกิจของส่วนราชการว่ายังมีความต้องการกำลังคนอีกหรือไม่...เพราะตามช่วง 4 ปี ที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าหน่วยงานไหน ภารกิจลดลง ก็ไม่ควรมีกรอบอัตราเพิ่มขึ้น (หรือควรลดอัตรากำลังลง) แต่ถ้าภารกิจเพิ่มมากขึ้น ก็ควรจัดทำกรอบอัตรากำลังให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในด้านกำลังคนค่ะ...

เพิ่งบรรจุเข้าเป็นพนักงานราชการค่ะ แต่ข้าราชการในสำนักงานก็ยังคงแบ่งแยกระดับชั้นกับพนักงานราชการอย่างเห็นได้ชัด ทำให้รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจมาก ถูกมองเป็นลูกน้องของข้าราชการอีกที จะถูกเน็บแนมว่า..เป็นแค่พนักงานอัตราจ้างไม่ไช่ข้าราชการสักหน่อย..อยู่เสมอ ทั้งๆที่ ข้าราชการส่วนใหญ่ในสำนักงานก็ยังไม่รู้จักพนักงานราชการเลยด้วยซ้ำว่ามีสิทธิอะไรบ้าง

ตอบ...คุณอัยรา...

คุณเพิ่งบรรจุเป็นพนักงานราชการ...ผู้เขียนขอให้คุณศึกษาเว็บไซต์ข้างล่างนี้นะค่ะ...http://gotoknow.org/blog/bussayamas/299311 โดยให้อ่านทุกกระทู้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อคุณในการปฏิบัติงานค่ะ...ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ต่อการปฏิบัติงานนะค่ะ...เนื่องจากปัจจุบันเป็นการปรับเปลี่ยนเรื่องการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่ค่ะ...จึงทำให้เกิดระบบพนักงานราชการขึ้นในประเทศไทย...ใช่ว่าข้าราชการทั้งหมดจะทราบเรื่องพนักงานราชการอย่างแท้จริง...ข้าราชการที่จะทราบเรื่องพนักงานราชการอย่างลึกซึ้งได้นั้น...ต้องเป็นผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องพนักงานราชการอย่างแท้จริง...และต้องศึกษารายละเอียดให้ลึก  โดยศึกษาระเบียบ ประกาศ ของพนักงานราชการให้ทันต่อเหตุการณ์จริง ๆ...จึงจะสามารถตอบปัญหาให้กับพนักงานราชการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...(ซึ่งการปฏิบัติงานในอดีตที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสายบังคับบัญชาในแนวดิ่ง...แต่ปัจจุบันรัฐปรับเรื่องสายการบังคับบัญชาให้เป็นแนวราบ...โดยการกระจายอำนาจ...จึงทำให้คุณประสบปัญหาในการทำงานที่ข้าราชการยังมองว่าคุณเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่...ซึ่งการบังคับบัญชาในแนวราบ  ปัจจุบันจะใช้ในเรื่องของการทำงานเป็นทีม...ซึ่งในเรื่องหลังนี้จะอยู่ในเรื่องของการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่...อาจจะต้องให้เวลาข้าราชการและพนักงานราชการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่เสียก่อน...)

อยากทราบว่าพนักงานราชการของกรมการขนส่งทางบก ในชุดปฏิบัติงานนั้น รูปแบบคร่าว ๆ ก็คือ เสื้อแขนยาวหรือแขนสั้นคอพับสีขาว ประดับแพรแถบเหนือกระเป๋าซ้าย มีป้ายชื่ออยู่เหนือกระเป๋าด้านขวา และติดโลหะรูปตรา ราชรถ ที่คอเสื้อทั้ง 2 ข้าง เข็มขัดเหมือนข้าราชการ กางเกงสีกากี

การติดอินทนู ให้เป็นลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างประจำหรือไม่ครับ คือ มีลักษณะ อินนูสีเหลืองหรือสีทอง 1 หรือ 2 แถบ ครับ

ตอบ...คุณชัยสิทธิ์...

ถ้าคุณเป็นพนักงานราชการที่ใช้ระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ของสำนักงาน ก.พ. ก็ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนั้น คือ ถ้าการแต่งเครื่องแบบพิธีการ ก็ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบที่ได้ประกาศใช้ไปแล้ว...สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติงาน นั้น ก็คือ ขึ้นอยู่ที่ส่วนราชการกำหนด คือ คุณสังกัดกรมการขนส่งทางบก ทางกรมการขนส่งทางบก ต้องเป็นผู้กำหนด อาจอยู่ในรูปประกาศ ที่จะให้พนักงานราชการที่สังกัด ได้ถือปฏิบัติ...สำหรับส่วนประกอบอื่น เช่น สังกัด ป้ายชื่อ แพรแถบ สีเสื้อ กางเกง นั้น ผู้เขียนไม่ขอพูดถึง เพราะเป็นไปตามที่ส่วนราชการของคุณกำหนด...แต่ผู้เขียนขอให้ข้อสังเกตุว่า สำหรับเครื่องแบบพิธีการนั้น ให้เป็นไปตามของลูกจ้างประจำ คือ  เครื่องแบบพิธีการ (หมายถึง เครื่องแบบปกติขาว)  ซึ่งพนักงานราชการใช้เครื่องแบบพิธีการเหมือนของลูกจ้างประจำ  สำหรับอินทรธนูของพนักงานราชการจะเป็นรูปดอกพิกุล...ซึ่งของลูกจ้างประจำ อินทรธนูของลูกจ้างประจำ สัญลักษณ์ คือ  ลายดอกประจำยามและใบเทศ แตกต่างจากของพนักงานราชการ ค่ะ... ผู้เขียนก็งง...เหมือนกันว่า มีหลายหน่วยงานที่ใช้อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นของลูกจ้างประจำ นั้น ถูกต้องหรือไม่...และสังเกตุว่าหลายหน่วยงานใช้กฎหมาย ข้อ 12 ของระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 เพียงข้อเดียว ซึ่งจากที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ในด้านกฎหมายมาว่า ต้องมีกฎหมายข้ออื่น ๆ อีกในการรองรับที่จะนำกฎหมายมาอ้างอิงว่าอินทรธนู นั้น ส่วนราชการสามารถใช้ได้หรือไม่...เหตุที่ต้องตั้งข้อสังเกตุนั้น  เพราะว่า  อินทรธนูของลูกจ้างประจำ นั้น จะใช้กับชุดปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำ สำหรับประกาศ คพร. นี้ ให้พนักงานราชการใช้ชุดเครื่องแบบพิธีการที่เหมือนกับลูกจ้างประจำ คือ (1. เครื่องแบบปกติขาว 2. เครื่องแบบครึ่งยศ 3. เครื่องแบบเต็มยศ) ไม่ได้หมายความรวมถึง อินทรธนูของลูกจ้างประจำค่ะ...สำหรับอินทรธนูที่คุณบอกนั้น คืออินทรธนูที่ใช้ติดกับเครื่องแบบปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำ...ซึ่งใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2527 และผู้ที่จะติดอินทรธนูได้ตามระเบียบ ดังกล่าว ก็คือ ลูกจ้างประจำ เท่านั้น....แต่มีหลายหน่วยงานที่นำอินทรธนูของลูกจ้างประจำมาติด...ผู้เขียนเลยงงว่า...ใช้กฎหมายอะไรมากำหนด...ถ้าอ้างว่าเป็นกฎหมายของ ตามประกาศ คพร. ก็ไม่น่าใช่ เพราะ ในประกาศ คพร. กำหนดให้พนักงานราชการ แต่งเครื่องแบบพิธีการที่เหมือนกับลูกจ้างประจำ เท่านั้น (เครื่องแบบพิธีการที่เหมือนกับลูกจ้างประจำ  มี 3 แบบ หมายถึง 1. เครื่องแบบปกติขาว 2. เครื่องแบบครึ่งยศ 3. เครื่องแบบเต็มยศ)...ไม่ทราบว่าตีความกันสับสนไปหรือเปล่า...ไม่ได้หมายรวมถึง เครื่องแบบปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำนะค่ะ...ในข้อ 12 ของระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 นั้น ให้ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดเครื่องแบบปฏิบัติงานของพนักงานราชการเอง...ส่วนราชการก็ต้องเป็นผู้กำหนด อินทรธนูของชุดปฏิบัติงาน ขึ้นมาเองค่ะ...ไม่น่าที่จะไปนำอินทรธนูของลูกจ้างประจำมาติดนะค่ะ...เพราะไม่ถูกต้อง...แต่ถ้าจะนำมาติดได้...ก็ต้องมีระเบียบจากสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าให้พนักงานราชการนำอินทรธนูที่ติดกับชุดปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำมาติดได้ค่ะ...จึงจะได้เป็นระบบ  หรือกฎหมายที่ถูกต้องค่ะ...

นิธิศกานต์ มีนาวงค์

ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ ที่อุทิศเวลาให้กับพวกพนักงานราชการให้ได้ความรู้...และมีความภาคภูมิใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นครับ...ต้องขอขอบคุณพี่บุษยมาศ จริง ๆ ครับ

สวัสดีค่ะ...คุณนิธิศกานต์...

ขอบคุณค่ะ...เป็นหน้าที่ของข้าราชการค่ะ...ถ้าทราบหรือรู้เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ต้องนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...เพราะโลกปัจจุบันเป็นเรื่องการแบ่งปันความรู้ค่ะ...เป็นกำลังใจให้กับพนักงานราชการทุกคนนะค่ะ...เราทำงานตามภาระกิจค่ะ...อยากเห็นประเทศไทยพัฒนาขึ้นกว่าเดิมค่ะ...ตั้งใจทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุดนะค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

วัทธิกร กีรติวิบูลย์

อยากทราบว่าเครึ่องแบบของพนักงานราชการ ของกระทรวงเทศโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ระดับ ปริญญาตรี เป็นแบบไหนครับ

และอยากทราบว่าพนักงานราชการ มีโอกาสได้เป็นช้าราชการไหมครับ เคยได้ข่าวจากรุ่นพี่ที่เป็นพนักงานราชการมา เห็นบอกทำ 5 ปี หรือ 10 ปี จะได้เป็นข้าราชการทันที จริงไหมครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ตอบ...วัทธิกร...

1. ถ้าบรรจุเป็นพนักงานราชการระดับปริญญาตรี น่าจะอยู่ที่กลุ่มงานบริหารทั่วไปนะค่ะ...ให้ดูที่หน่วยงานคุณประกาศรับ แล้วตำแหน่งใดค่ะ...

2. การที่พนักงานราชการจะได้เป็นข้าราชการหรือไม่นั้น อยู่ที่นโยบายของรัฐบาลค่ะ...ว่าได้หรือไม่...ถ้ามีข่าวความคืบหน้าจะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...

3. ถ้าต้องการหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ ศึกษาได้ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/299311

4. ความจริงแล้ว พี่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ไว้หลายเรื่องค่ะ...ลองคลิกไปที่ บล็อกด้านบนสิค่ะ (ใต้รูป) คำว่าบล็อกค่ะ...แล้วก็เข้าไปดูในบล็อกค่ะ มีเกือบ 300 กว่าเรื่อง...ซึ่งมีเรื่องหลายเรื่องอยู่ภายในบล็อกนั้นค่ะ ให้คลิกที่สารบัญด้านขวาดูก็ได้ค่ะ...อาจเป็นความรู้และเป็นประโยชน์ต่อน้อง ๆ พนักงานราชการในการทำงานนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ขอบคุณ อ.บุศยมาศที่ให้ความรู้เป็นอย่างดี

ดิฉันอาจมองต่างมุมจากอาจารย์นะคะ ขออนุญาตแลกเปลี่ยน หากผิดพลาดหรือผิดใจต้องขออภัยด้วยนะคะ

จริงอยู่ว่าประวัติข้าราชการมันมีมายาวนานมาก มันก็ต่างกันแค่ชื่อว่า ข้าราชการ กับพนักงานราชการ แต่การทำงานไม่ได้แตกต่างกันนะคะ เหมือนกันโดยประการทั้งปวง...เพราะดิฉันเป็นพนักงานราชการ ทำงานเหมือน ข้าราชการทุกอย่าง...ฉะนั้นแล้ว ดิฉันมองว่า ในเมื่อพนักงานราชการทำงานเหมือนข้าราชการ ก็คงไม่อาจเปรียบเทียบความสำคัญกันได้จากระยะเวลาการกำเนิด พูดง่ายๆ คือ แค่เปลียนชื่อเรียกกันใหม่และออกแบบระบบให้ดูง่ายขึ้นและยากขึ้นในบางอย่าง

อาจารย์คะ...การที่เราผลักดันให้พนักงานราชการทำตามหน้าที่ให้ดี หน้าจะควบคู่กับ ผลักดันให้ข้าราชการหลายๆคน เขารู้และทราบด้วยว่า เกียรติและศักดิ์ศรี ของข้าราชการและพนักงานนั้นเท่ากัน เพราะหลายหน่วยงานที่ยังมองพนักงานคือลูกน้อง ลูกมือและลูกจ้าง ถึงตรงนี้ อาจารย์คงต้องบอกให้ดิฉันไปศึกษาระเบียบโน่น นี่นั่น ...ก็จะเรียนอาจารย์ว่า ระเบียบชัดเจนแต่การปฏิบัติมันเลือนลางค่ะ ตราบใดที่คนที่ทำงานอยู่ก่อนที่เรียกตัวเองว่า ข้าราชการ ไม่ยอมศึกษาระเบียบพนักงานราชการเลย อาจารย์จะเชื่อมั้ยล่ะคะว่า ที่ทำงานของดิฉัน ยังเรียกพนักงานว่า "ลูกจ้าง" อยู่เลยค่ะ

อย่างไรก็ตาม...แม้ว่าจะมีระเบียบออกมาต่างๆนานา ที่ดูเหมือนว่าจะคล้ายคลึงกับข้าราชการ แต่มันก็เป็นสองมาตรฐานอยู่ดี อาจารย์คิดดูซีคะ...ทำงานอยู่ในหน่วยงานราชการแท้ๆ ดันเบิกไม่ได้ จายตรงไม่มี ลาเรียนไม่ได้ ย้ายไม่ได้ ฯลฯ แล้วที่บอกว่าเงินเดือนมากกว่าข้าราชการ เง่อ...ระยะเวลาที่เงินเดือนพนักงานมากกว่ามีไม่กี่เดือนค่ะ...ก็น้องที่ทำงานด้วยกัน บรรจุเป็นข้าราชการหลังดิฉันแค่สองเดือน ตอนนี้เงินเดือนจะเท่ากันแล้วค่ะ แล้วจะเรียกว่าพนักงานราชการได้เงินเดือนเยอะกว่ามั้ยคะ? เงินที่มากกว่าข้าราชการ สองพัน แล้วให้เราซื้อประกันชีวิตเอง ดิฉันว่า เราเลือกได้เงินเท่ากับข้าราชการแล้วรัฐช่วยดูแลพ่อแม่เราด้วย และดูแลเรายามแก่ด้วยจะดีกว่ามั้ยคะ?

ถึงตรงนี้แล้ว แค่อยากแลกเปลี่ยนให้เห็นช่องว่าง ระหว่างระเบียบ และการปฏิบัติ ว่ามันยากและต้องใช้เวลาอีกนานมาก กว่าสังคมราชการบ้านเราจะเกิดความเท่าเทียม

 

ตอบ...หมายเลข 75...

1. ถ้าพูดถึงการทำงานไม่ได้แตกต่างกันนั้น...คิดว่าคุณคงเข้าใจผิดแล้วค่ะ...ถ้าตามระบบของพนักงานราชการ จริง ๆ แล้ว รัฐให้ส่วนราชการจ้างพนักงานราชการตามสัญญาจ้าง + ภารกิจหลัก หรือ ภารกิจรอง หรือภารกิจสนับสนุน...ก็ยังขอยืนยันอีกนั่นแหล่ะค่ะว่า...สำหรับข้าราชการภารงานหรืออัตรากำลังที่จะได้มา เขามีการวิเคราะห์ค่างาน วิเคราะห์อัตรากำลังที่ควรเป็นข้าราชการ + มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง และภารหน้าที่ความรับผิดชอบ ค่ะ...

สำหรับพนักงานราชการ ไม่ได้มีการวิเคราะห์อัตราดังกล่าวข้างต้น  จึงต้องให้ทำเป็นสัญญาจ้างไงค่ะ...อย่างไรก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ค่ะ...คนละประเภทกัน...สำหรับในทางปฏิบัติต้องขึ้นอยู่กับส่วนราชการของคนแล้วละค่ะ...ว่ามีการมอบหมายงานให้คุณทำ โดยแยกเป็น ภารกิจหลัก + ภารกิจรอง + ภารกิจสนับสนุน หรือไม่ค่ะ...ไม่ใช่เป็นแค่การเปลี่ยนชื่อเรียกกันนะค่ะ...ข้าราชการ เขาก็คือข้าราชการ...พนักงานราชการก็คือพนักงานราชการ...(ก็ไม่ทราบจะอธิบายให้เข้าใจอย่างไร...คนเราถ้าเปิดใจรับว่า รัฐต้องการทำให้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันค่ะ)...

2. สำหรับการผลักดันให้พนักงานราชการทำตามหน้าที่นั้น...คือ ผู้เขียนหวังดีค่ะ เป็นห่วง เหตุที่บอก...เพราะพนักงานราชการเป็นการทำตามสัญญาค่ะ...จ้างเป็นปี (บางส่วนราชการ เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์)...บางส่วนราชการก็ 4 ปี...ตามระเบียบ ฯ ...ต้องเข้าใจว่า ถ้าเป็นระบบการทำสัญญา ลองดูของบริษัทสิค่ะ...เขาก็ทำตามข้อตกลงของบริษัท ที่ทำสัญญากับเขา...ไม่มีข้อต่อรองหรือเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น...คือ งานก็ต้องเป็นงาน (ซึ่งรัฐนำวิธีนี้มาใช้กับระบบราชการ...ก็ไม่ทราบว่าในอนาคตจะเป็นไปตามที่รัฐหวังหรือไม่)...เหตุที่ให้ทำงานเพราะพนักงานราชการเป็นสัญญา ถ้าคุณทำตัวเหมือนข้าราชการ (บางคน) ที่เขาทำตัวไม่ดีอย่างที่คุณบอก...แล้วไฉนเลยคุณจะได้ต่อสัญญากับเขา...คุณก็ลองไม่ทำงานก็ได้ แล้วส่วนราชการเขาจะจ้างคุณหรือไม่...แต่สำหรับข้าราชการที่คุณว่าทำงานไม่เต็มที่นั้น...นี่คือ ปัญหาของส่วนราชการค่ะ...ที่จะต้องแก้ไข...อาจต้องใช้เวลาในการเยียวยาข้าราชการพวกนี้อีกยาวนานค่ะ...เหตุที่ทำระบบพนักงานราชการขึ้น ก็เพื่อป้องกันพวกข้าราชการประเภทนี้ด้วยไงค่ะ...เพราะรัฐคิดว่าข้าราชการประเภทนี้ ก็จะโดนระบบในการประเมินแบบใหม่ที่รัฐทำขึ้น ...ถ้าไม่มีผลงาน ก็จะโดนบีบออกในระบบของระบบราชการเองค่ะ...(ณ ปัจจุบัน รัฐกำลังจัดให้ความสำคัญเรื่อง การบริหารทรัพยากรบุคคล แบบใหม่อยู่...สำหรับข้าราชการ คงต้องใช้เวลา...อาจไม่เป็นไปได้ดั่งใจของเราหรอกค่ะ...ต้องใช้เวลาในการแก้ไขค่ะ)...

ที่ให้ศึกษาระเบียบ เพราะต้องการให้เกิดการรู้ + เข้าใจ อย่างแท้จริง ว่าระบบราชการ คืออะไร ระบบพนักงานราชการคืออะไร ค่ะ...ถ้าไม่พอใจในระบบพนักงานราชการ ก็ไปสอบเป็นข้าราชการเสียเพราะสิทธิต่าง ๆ ก็จะได้อย่างที่เราหวัง...ถ้าไปไม่ได้ ก็ต้องอดทนค่ะ...เพราะนี่คือระบบที่รัฐได้วางไว้ในอนาคตสำหรับประเทศไทยค่ะ... คุณอาจมองว่าเป็น 2 มาตรฐาน แต่ผู้เขียนมองว่า รัฐพยายามทำให้ประเทศดีขึ้นในเรื่องของการ "พัฒนาคน" ค่ะ...เพียงแต่ต้องใช้เวลา...บอกแล้วไงว่าต้องใช้เวลา...จะให้ได้ดั่งใจเราคงไม่ได้...สำหรับการปฏิบัติก็อยู่ที่ส่วนราชการแล้วละค่ะ...เพราะทั่วประเทศไทย มีส่วนราชการจำนวนมาก...ขึ้นอยู่กับส่วนราชการนั้นจะเข้าใจระบบพนักงานราชการมากน้อยแค่ไหน...

แสดงว่าคุณอยู่หน่วยงานที่ข้าราชการไม่เข้าใจเรื่อง ระบบพนักงานราชการดีพอนะค่ะ...โชคร้ายจัง...แต่ก็ได้แต่บอกให้คุณเข้าใจว่า "ความจริง ก็คือ ความจริง"...คุณก็คือ พนักงานราชการ...เราไม่รับว่าเป็นลูกจ้างเสียก็หมดเรื่องค่ะ อย่านำมาใส่ใจ...เพราะคุณไปใส่ใจในคำพูดของเขา...คุณถึงไม่สบายใจค่ะ...ไม่ใช่คุณเป็นพนักงานราชการคนเดียวนี่ค่ะ...เรายังมีพนักงานราชการที่เขาอยู่ในส่วนราชการอื่นทั่วประเทศ...เขาก็ยังอยู่ได้...เพียงแต่เขาอาจไม่เป็นแบบคุณ...ก็ขอบอกให้ "อดทน" ไงค่ะ...

3. ไม่ใช่ 2 มาตรฐานค่ะ...ลองคิดดูสิค่ะ อย่างนั้น ระบบราชการ มี ข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ + พนักงานราชการ + พนักงานมหาวิทยาลัย(สำหรับมหาวิทยาลัย) + ลูกจ้างชั่วคราวอีก...แบบนี้เรียกว่า "กี่มาตรฐานค่ะ..." ให้ดูที่นิ้วมือของตัวเราเอง...ยังไม่เท่ากันเลยค่ะ...แต่ทุกนิ้วมีความสำคัญเท่าเทียมกันค่ะ ขาดนิ้วใดก็จะทำให้ไม่ครบ 32 ประการไงค่ะ...ขึ้นอยู่กับนิ้วไหน มีความสำคัญอย่างไร...แล้วไฉนระบบราชการจะต้องสร้างให้เท่ากันหมดละค่ะ...อย่าลืมว่า!...ปัจจุบัน อัตรากำลังข้าราชการก็เกินกรอบอยู่นะค่ะ เมื่อเทียบกับการทำงานในภาคเอกชนค่ะ...รัฐพยายามจัดให้มีโครงการ early ฯ ค่ะ...โครงการจริง ๆ เป้าหมาย มีไว้เพื่อให้ข้าราชการที่ไม่พึงประสงค์เข้าโครงการ แต่ก็มีข้าราชการบางคนที่ยังมีความรู้ + ประโยชน์ ทนระบบไม่ได้ ก็เลยขอเข้าโครงการ ฯ ...ซึ่งวัตถุประสงค์กับการปฏิบัติจริงสวนทางกันอยู่...สำหรับการจ่ายตรง ต้องค่อยเป็นค่อยไปนะค่ะ...เพราะตอนนี้รัฐกำลังให้ส่วนราชการทำข้อมูลของพนักงานราชการเข้าระบบค่ะ...คงไม่นานเกินรอค่ะ คงเข้าโครงการจ่ายตรงเหมือนกันค่ะ...บอกแล้วไงว่าจะให้ได้ดั่งใจเราคงไม่ได้ ...ต้องใช้เวลาค่ะ...เหตุที่ลาเรียนไม่ได้ บอกแล้วไง ก็เป็นเราทำสัญญาจ้าง...ตามกฎหมาย ไม่มีหรอกค่ะว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างเอาเวลาปกติอนุญาตให้คุณไปลาศึกษาต่อ...ถ้าเขาให้คุณไป ใครเขาจะทำงานให้ละค่ะ...นี่คือ เหตุที่ระบบพนักงานราชการไม่ให้มีการลาไปศึกษาต่อค่ะ...เหตุที่บอกว่าค่าตอบแทนของพนักงานราชการมากกว่าข้าราชการ 20 % ก็จริงนี่ค่ะ...เงินเดือนของข้าราชการที่เขาจ้างเริ่มต้นวุฒิปริญญาตรี เขาจ้าง = 7,940 บาท แต่พนักงานราชการได้ = 9,530 บาท แล้วจะหาว่าไม่มากกว่าข้าราชการอย่างไรค่ะ...ให้ดูที่การเริ่มจ้างค่ะ บอกแล้วอย่าไปเปรียบเทียบกับข้าราชการ เพราะกระบวนการข้างในของข้าราชการเขามีอยู่ค่ะว่า เมื่อทำงานแล้วกี่ปี จะสามารถได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร...(เรียกว่า ทั้งสองระบบนี้นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ค่ะ...ไม่ใช่ 2 มาตรฐานค่ะ...ต้องเข้าใจว่า ระบบข้าราชการก็คือข้าราชการ ระบบพนักงานราชการก็คือระบบพนักงานราชการ)...ผู้เขียนให้ข้อสังเกตว่า...อาจเป็นเพราะการศึกษาของคนไทยสูงขึ้นหรือเปล่าค่ะ...(เรียกว่าได้รับวุฒิสูงขึ้น  แต่ทำให้คนที่ได้รับวุฒิ นำวุฒิที่ตนเองมีอยู่...แล้วนำมาเปรียบเทียบกันว่าตนเองจะต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างข้าราชการ + พนักงานราชการ)...ต้องเข้าใจในระบบที่แท้จริงค่ะ...จะได้ไม่สับสนและเรียกร้องในสิทธิของตนเองค่ะ...ถ้าคนเราไม่เข้าใจในระบบแล้ว...อธิบายอย่างไรก็จะไม่ยอมเปิดใจรับหรอกค่ะ...ให้ใช้เหตุและผลในการพิจารณานะค่ะ...บอกแล้วว่า คนเราจะทำอะไรตามใจ + สิทธิของตนเองไม่ได้หรอกค่ะ...ต้องนึกถึงภาพรวมของประเทศค่ะ...

เหตุที่ให้ทำประกันสังคม...ก็ตามระบบสัญญาจ้าง ต้องมีการทำไว้ค่ะ...ผลประโยชน์ของคุณเองนะค่ะ...แต่เขาจะกำหนดไว้ให้หัก 10 % ก็อยู่ที่ส่วนราชการของคุณเองว่าจะมีการให้หักโดย มีการหักคนละครึ่ง หรือว่าส่วนราชการจะออกให้เองทั้ง 10 %...ที่คุณบอกว่าหักเงินประกันชีวิต อาจเป็นเพราะว่าส่วนราชการของคุณหวังดีต่อคุณมังค่ะ...เพราะเห็นว่าคุณจะไม่ได้รับสิทธิ สวัสดิการอื่นไงค่ะ...เพราะถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ครอบครัวจะได้ไม่เดือดร้อนไงค่ะ...เราไม่มีสิทธิเลือกค่ะ นอกจากเราไปสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการเองค่ะ...เพราะระบบพนักงานราชการเป็นแบบนี้...

ค่ะ...ก็ยินดีที่จะรับทราบข้อมูลที่คุณมีความคับข้องใจในการทำงานค่ะ...บางเรื่องที่พี่พออธิบายได้ก็จะอธิบายให้ฟังค่ะ...สำหรับเรื่องกองทุนของพนักงานราชการ ที่มีอยู่ในระเบียบ ฯ ปัจจุบันรัฐก็กำลังดำเนินการให้อยู่ค่ะ ต้องรอเวลาไงค่ะ...(การรอเวลา สำหรับข้าราชการก็มีค่ะ ...กว่าจะมี กบข. ข้าราชการบางคนยังไม่ได้รับสิทธินั้นเลยค่ะ...)

 

 

 

 

ตอบ...หมายเลข 75...(เพิ่มเติม)...

จากที่มีระบบพนักงานราชการ  เป็นที่มาจากกรอบลูกจ้างประจำ + ลูกจ้างชั่วคราวค่ะ...ซึ่งอัตราลูกจ้างประจำจะหมดลงในอีก 30 ปี ข้างหน้าค่ะ...เพียงแต่ให้ทำเป็นสัญญาจ้างไม่ไม่ทำงานต่อยาวถึงอายุ 60 ปี เหมือนเช่นปัจจุบันค่ะ...เนื่องจากรัฐไม่สามารถแบกรับภาระในเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ค่ะ...เหตุที่ต้องทำสัญญาเป็น 4 ปี เพราะเป็นวิธีที่จะให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองค่ะ...เพราะการจ้างยาว 60 ปี เช่น ข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ (บางคน จะไม่ค่อยได้พัฒนาตนเอง...อย่างที่คุณพบมาไงค่ะ)... 

ถึง อ.บุษยมาศ

ขอขอบพระคุณ อาจารย์นะค่ะ ที่มีข้อมูลให้พนักงานราชการได้ค้นคว้า ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดิฉันก็ได้เข้ามาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานราชการอยู่เป็นประจำ ถ้าไม่มี อาจารย์ที่ให้ความรู้ก็ไม่รู้ว่าจะค้นคว้า อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆได้อย่างไร ก็ขอเป็นกำลังใจให้ อาจารย์ ตลอดไปนะค่ะ

จาก พนักงานราชการ ศรีสะเกษ

สวัสดีค่ะ...คุณเฉลิมวรรณ...

ค่ะ ก็ต้องขอขอบคุณนะค่ะที่เป็นกำลังใจให้...ความจริงแล้ว เจตนาในตอนแรกเพียงเพื่อให้พนักงานราชการทราบถึงเรื่องเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 ซึ่งมีสิทธิได้ใส่แล้วเท่านั้น ไม่คิดว่า ในภาพรวมของประเทศไทยจะมีปัญหามากมายเกี่ยวกับระบบพนักงานราชการ เช่นนี้ เชื่อไหมค่ะ ระบบข้าราชการ ก็มีปัญหาไม่แพ้พนักงานราชการหรอกค่ะ แต่รัฐพยายามปรับปรุง แก้ไข และต้องอาศัยระยะเวลาในการแก้ไขด้วยค่ะ...พี่เพียงแต่ต้องการบอกว่า เรามีหน้าที่อย่างไร ก็ทำตามหน้าที่ของเรา เพราะถ้าเราไปเรียกร้องสิ่งใดให้มากเกินอำนาจที่เหนือเราที่จะควบคุมได้ เหนื่อยเปล่าค่ะ...

พี่กระทำในฐานะที่พี่รู้ พี่ก็จะบอก เพราะพี่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องพนักงานราชการโดยตรง จึงไม่สามารถที่จะทน นิ่งดูดายที่จะไม่ตอบพวกเราไม่ เพราะนี่เป็นข้อหนึ่งที่เป็นหน้าที่ของการเป็นข้าราชการ เมื่อรู้แล้วต้องชี้แจงและแนะนำในสิ่งที่ตนเองรู้ค่ะ...เพราะถ้าไม่เช่นนั้น พี่ว่าวุ่นวายกันทั้งระบบแน่ ๆ เลย...เอาเป็นว่า เราตั้งใจทำงานให้กับบ้านเมืองก็แล้วกันนะค่ะ...ถ้ามีความคืบหน้าเกี่ยวกับระบบพนักงานราชการ พี่ก็จะนำมาแจ้งให้ทราบก็แล้วกันนะค่ะ...แต่อำนาจนั้น ต้องเป็นอำนาจในสิ่งที่เรากระทำหรือควบคุมมันได้นะค่ะ ถ้าเป็นอำนาจที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตัวเราเอง เช่น ให้แก้ไขระเบียบ นโยบาย พี่ก็ขอไม่ร่วมด้วยก็แล้วกัน เพราะก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่เป็นหน้าที่ของพี่ที่เป็นข้าราชการต้องสนับสนุนการทำงานของภาครัฐค่ะ หวังว่าพนักงานราชการทุกท่านคงเข้าใจนะค่ะ...ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...

ตอบ...คุณต๋อม หมายเลข 80-81...

ขอบคุณค่ะ...

เรียนอาจารย์คับ

กระผมมีเรื่องจะเรียนปรึกษาอาจารย์เกี่ยวกับความแตกต่างและอาจถูกมองข้ามครับ

1. เรื่องเงินเดือน ตอนนี้ข้าราชการใหม่ที่บรรจุหลัง 1 ตค 53 ก็มากกว่าเงินเดือนพนักงานราชการรวมกับค่าครองชีพแล้วครับ ต่อไปคงพูดว่าพนักงานราชการเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการไม่ได้แล้วใช่ไหมครับ และที่บอกว่าสิทธิต่างๆของพนักงานราชการน้อยกว่าข้าราชการเพราะเงินเดือนสูงกว่า คงไม่ใช่แล้วใช่ไหมครับ

2. พนักงานราชการ ขึ้นเงินเดือนปีละ 1 ครั้ง และจะได้ค่าตอบแทนพิเศษ เมื่อผลการประเมิณ 2 ครั้งติดต่อกันไม่ต่ำกว่าดีเด่น แต่ก็อยู่ในโควต้า 15% (เช่นหน่วยงานมีพนักงานราชการ 5 คน คนที่จะได้ค่าตอบแทนพิเศษมีแค่ 0.75 คน หรือ 1 คน นั้นเอง ถึงแม้ว่าอีก 4 คนจะผลประเมินในระดับดีเด่น)

3. พนักงานมหาวิทยาลัย เงินเดือนขึ้นปีละ 2 ครั้ง ทำงานไม่ถึงดีเด่น ก็ได้ 2.5 ต่อครั้ง แสดงว่า 1 ปี ก็ 5% เท่ากับพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานดีเด่น

4. ผมก็ภูมิใจนะครับที่เป้นพนักงานราชการ แต่เป้นไปได้ไหมครับที่พนักงานราชการจะขึ้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง เช่นกันกับข้าราชการ และพนักงานมหาลัย และถ้าผลการประเมินอยุ่ในระดับดีเด่นก็ใช้ โควต้า 15% เพิ่มค่าตอบแทนพิเศษ

ผมก็เข้าใจอยุ่นะครับว่าทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ถ้าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญกับระบบพนักงานราชการมากกว่านี้ ก็คงดีครับ เปิดช่องทางให้พนักงานราชการได้แลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และผมรบกวรถามอาจารย์อีกซักคำถามนะครับว่า "คพร" มีพนักงานราชการเป็น กรรมการด้วยไหมครับ หรือว่ามีแต่ข้าราชการ ถ้าไม่มีพนักงานราชการ ผมก็คงพอที่จะเข้าใจครับ ผมต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่คอยเป้นเสมือนที่ปรึกษา และเสมือนกระบอกเสียงของพนังกานราชการต่องส่วนกลาง และกระผมใคร่ขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ช่วยพิจารณา ข้อ 4 ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

ตอบ...คุณศรัณย์...

  • เรื่อง การให้เงินเดือนกับข้าราชการที่บรรจุใหม่ เป็นนโยบายที่รัฐต้องการทำให้เงินเดือนเทียบเคียงกับภาคเอกชน ไม่ใช่ขึ้นแค่ 1 ต.ค.53 นะค่ะ จะมีขึ้นอีก 1 เม.ย.53  1 ต.ค.54 และ 1 ต.ค.55 ค่ะ พี่ได้นำไปขึ้นไว้ในบล็อกให้แล้ว ลองศึกษาดูนะค่ะ  คิดว่าเป็นสาขาที่จบมาแล้วขาดแคลนด้วยกระมัง ต้องศึกษาให้ละเอียด
  • ไม่ต้องการให้คิดเปรียบเทียบกับเรื่องเงินเดือนที่ปรับขึ้นใหม่  เพราะไม่เช่นนั้น พวกพี่ที่บรรจุกันมาก่อนไม่วุ่นวายหรือค่ะที่จะต้องนำไปเทียบกับข้าราชการที่บรรจุใหม่  แต่พวกเราข้าราชการก็ยอมรับในความเป็นจริงที่ว่า แต่ละยุค สมัย มันมีความแตกต่างกันค่ะ
  • เช่นเดียวกับคุณที่เป็นพนักงานราชการ ณ ตอนนั้น บรรจุได้มากกว่าข้าราชการ 20 %  แต่มา ณ ปัจจุบันเหตุการณ์มันเปลี่ยนแปลงไป รัฐขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการที่บรรจุใหม่  (แต่ก็ต้องดูในหนังสือที่แจ้งมาให้ด้วยว่า เป็นเรื่องการเพิ่มให้กับข้าราชการในลักษณะใดด้วยค่ะ...ต้องศึกษาให้ละเอียด)...สำหรับเงินค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ก็ต้องศึกษาต่อว่ารัฐจะขึ้นให้อีกหรือไม่ ขึ้นแล้วเท่าใด...แต่ขอบอกว่าอย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้  เพราะการที่รัฐจะทำอะไรต้องขึ้นกับระยะเวลาด้วย...อาจมีการปรับเปลี่ยนให้ใหม่ก็ได้...ต้องอาศัยเวลาค่ะ...
  • สำหรับการขึ้นโควต้า 15 % ของแต่ละกลุ่มนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับระเบียบที่ คพร.กำหนดค่ะว่า ควรนับแต่ละกลุ่ม  เพราะตามปกติที่ส่วนราชการขึ้นให้นั้น มี 3 - 5 % ส่วนใหญ่จะได้ 5 % ถ้าบวกกับค่าตอบแทนพิเศษ 15 % ได้อีก 3 % เช่น ปีนี้ได้ค่าตอบแทนปกติ 3 % + ค่าตอบแทนพิเศษอีก 3 % แสดงว่าอย่างน้อยคน ๆ นั้น ได้แล้ว 6 % แต่ในทางกลับกัน ค่าตอบแทนพิเศษอีก 3 % ไม่ได้ ก็จะนำไปคิดให้กับเพื่อน ๆ ที่ได้ เช่น 4 % + 3 %  หรือ 5 % + 3 %  (รวมแล้ว 7% หรือ 8 %)  เห็นไหม รัฐให้บริหารจัดการโควต้าจากกลุ่มเดียวกันไงค่ะ  ได้คล้าย ๆ ของระบบราชการค่ะ ไม่ได้แตกต่างกับข้าราชการเลย ในเรื่องของการเลื่อนค่าตอบแทน
  • สำหรับกลุ่มนั้น ก็คล้ายกับข้าราชการ ข้าราชการคิด % แต่เดิม นั้นก็คิดแยกกลุ่ม ระดับ 1-8 และ ระดับ 9 แยกออกจากกันค่ะ ซึ่งก็คล้ายกับของพนักงานราชการ 15 % ก็คิดตามจำนวนคนในแต่ละกลุ่มงานค่ะ...จำนวนไม่ถึงก็ไม่ได้เหมือนกัน
  • สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย เราจะนำไปเปรียบกับเขาไม่ได้หรอกค่ะ  เพราะระบบนี้รัฐให้เงินอุดหนุนมาให้แต่ละมหาวิทยาลัยบริหารจัดการกันเอง  ในแต่ละมหาวิทยาลัยก็ไม่เหมือนกัน แล้วแต่สภามหาวิทยาลัยจะกำหนดว่า จะขึ้นให้กี่ % บาง ม. ก็ 4 % บาง ม. ก็ 5 % บาง ม. ก็ 10 % เราจะนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ค่ะ (เพราะอย่าลืมว่า ม. แต่ ม. แตกต่างกันในบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัยในเรื่องของเงินรายได้ด้วยค่ะ)...สำหรับ ม. ที่พี่อยู่ พี่ก็ถามน้อง ๆ ที่เป็นพนักงานราชการอยู่เสมอว่า ได้อัตราพนักงานมหาวิทยาลัยมาปีนี้  2 อัตรา พวกเขาจะเปลี่ยนจากพนักงานราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่...พวกเขาก็ยังยืนยันว่ายังไม่เปลี่ยน ขอเป็นพนักงานราชการค่ะ...
  • การเปลี่ยนการประเมินนั้น ขึ้นอยู่กับ คพร. นะค่ะ เป็นนโยบายที่รัฐจะนำมาสู่การปฏิบัติค่ะ...ถ้าแก้ไขเราก็ทำให้ค่ะ...แต่ถ้าไม่แก้ไข เราก็ถือว่าเราปฏิบัติตามนี้
  • แต่พี่ก็ไม่เห็นว่ามีความแตกต่างนะค่ะ เพราะก็ได้อย่างที่บอกอยู่แล้วว่าได้ 3 - 5 % อย่างต่ำ และได้เพิ่มมาอีก 3 % เป็นค่าตอบแทนพิเศษ  ไม่แตกต่างจากข้าราชการหรอกค่ะ เพราะข้าราชการก็ได้ประมาณนี้ค่ะ เพียงแต่แยกเป็น 2 ระยะ (ในการคิดของข้าราชการ เดิมนั้น ก็ต้องคุมฐานเงินเดือนเดิมที่จะเลื่อนขั้นให้ภายใน 6 % ต่อปีค่ะ)
  • แต่ก่อนข้าราชการก็ประเมินปีละ 1 ครั้งค่ะ เพิ่งจะมาเปลี่ยนเป็น 2 ครั้ง ในสมัยที่ท่านทักษิณ เป็นนายกนี่แหล่ะค่ะ...มา ณ ปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยนยังคงเป็น 2 ครั้งเหมือนเดิม แต่เงินไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงรักษายอดเงิน สำหรับ 1 ปีงบประมาณ ถ้าสำหรับข้าราชการขึ้นให้ ณ 1 เม.ย. หรือ 1 ต.ค. เราก็เข้าใจว่า ก็ได้เช่นกัน เดียงแต่ขยายระยะเวลาให้มากขึ้นมากว่า 6 เดือนก่อนเท่านั้นเองค่ะ ปกติเราจะได้ยอดใหญ่ใน 1 ปี ค่ะ (มา ปัจจุบัน เป็นการแบ่งครึ่งให้ค่ะ)...
  • คณะกรรมการ คพร. นั้น พี่ได้แจ้งให้ทราบแล้วในบล็อก ลองศึกษาดูนะค่ะ  ว่ามีท่านใดบ้าง  แต่เป็นผู้บริหารระดับสูงค่ะ...ซึ่งเขียนไว้ในบล็อกเกี่ยวกับคณะกรรมการการบริหารระบบพนักงานราชการค่ะ...

ตอบ...คุณศรัณย์...(เพิ่มเติม)

  • ไม่คิดนำไปเปรียบเทียบกับที่พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนอยู่ ย้อนหลังนะค่ะ
  • เพราะเนื่องจากเกิดการปรับเปลี่ยนสภาพปัจจุบันให้ดีขึ้นกว่าเดิมค่ะ
  • การที่จะรัฐจะปรับเปลี่ยนใหม่ให้กับค่าตอบแทนพนักงานราชการอีกหรือไม่ ต้องคอยติดตามต่อไปค่ะ...

 

เรียนท่านอาจารย์

กระผมต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์เป้นอย่างสูงที่ตอบปัญหาที่ผมได้เรียนถามอาจารย์ไป ส่วนตัวกระผมก็ไม่ได้ติดใจอะไรมากหรอกครับ เพราะทราบดีว่าทุกอย่างต้องค่อยเป้นค่อยไป และตัวกระผมเองก็รักในอาชีพของตนเอง คือพนักงานราชการครับ และตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองเสมอ แต่อาจมีบางครั้งที่อารมณ์ไปเอนไปบ้าง แต่ก็เป้นแค่ส่วนน้อยครับ แต่โดยลึกๆแล้วก็ยังรักอาชีพของตนเสมอ ยังไงถ้าผมมีข้อซักถามอาจารย์ในส่วนอื่นๆ จะรบกวนอาจารย์อีนะครับ

ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณศรัณย์...

  • ค่ะ ต้องขอขอบคุณนะค่ะ...ที่มีความเข้าใจ ระบบเรื่องการบริหารงานบุคคล  เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ๆ ในหลักของความเป็นจริงรัฐพยายามทำให้ทุกอย่างลงตัว...แต่ก็มีเหตุผลหลายประการที่รัฐยังไม่สามารถทำได้ในขณะนี้...เพียงแต่ต้องอาศัยเวลาเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่างค่ะ...
  • พี่ทำงานตรงนี้มา เรียกว่าตั้งแต่เริ่มบรรจุก็ว่าได้ จะพอทราบความเคลื่อนไหวที่รัฐพยายามทำให้กับบุคลากรภาครัฐให้ดีที่สุด...และพี่ก็มีความเห็นใจทั้งในภาครัฐและพนักงานราชการนะค่ะ...ไม่เคยคิดมาก่อนเหมือนกันว่าจะมีระบบนี้เข้ามาในประเทศไทยนะค่ะ...
  • เหตุที่รัฐขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการรุ่นใหม่ก็เหมือนกัน เป็นเพราะว่ารัฐต้องการให้มีการเทียบเคียงกับภาคเอกชนในเรื่องค่าตอบแทน และเป็นการดึงบุคคลที่มีความรู้ความสามารถให้หันมาเห็นความสำคัญของระบบราชการและภูมิใจในการเป็นข้าราชการมากยิ่งขึ้นค่ะ...ไม่เช่นนั้นบุคลากรดังกล่าวจะไปสู่ภาคเอกชนมากกว่าภาคราชการ เพื่อเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจและความไม่เหลื่อมล้ำกันมากจนเกินไปค่ะ...
  • ค่ะ จงภูมิใจในการทำงานที่มีศักดิ์ศรีของเรานะค่ะ เพราะบางคนต้องการเป็นพนักงานราชการแต่เขาก็ไม่สามารถสอบได้ค่ะ...
  • ค่ะ ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...
มน(พนักงานจ้างตามภารกิจ) อบต.

อยากทราบว่า พนักงานจ้างตามภารกิจของ อบต. กับพนักงานราชการ แตกต่างกันออย่างไร ค่ะ จากที่ได้อ่านข้อความมา ไม่ว่าจะเป็นการจ้างทำเป็นสัญญา 4 ปี เรื่องสวัสดิการก็เหมือนกัน คือ ประกันสังคม แล้วเครื่องแบบสามารถใช้กับของพนักงานราชการได้หรือเปล่าค่ะ ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

ตอบ...คุณมน...

  • การจ้าง พนักงานจ้างตามภารกิจของ อบต. ขึ้นอยู่กับระเบียบ กฎหมายของ อบต.นะค่ะ ไม่เกี่ยวกับระเบียบของพนักงานราชการ
  • ก่อนอื่น คุณต้องเข้าใจว่า พนักงานจ้างตามภารกิจของ อบต. นั้น จะเป็นไปตามระเบียบของ อบต. ซึ่งไม่เกี่ยวกับพนักงานราชการ เพราะเป็นคนละประเภทกันค่ะ
  • ใช่ การจ้าง สัญญาจ้าง สวัสดิการ อาจเหมือนกัน แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นการบริหารงานบุคคลที่ไม่เหมือนกันค่ะ คนละประเภทกันค่ะ...
  • เครื่องแบบคุณก็ต้องใช้ระเบียบของคุณนะค่ะ...

ขอบคุณที่ให้กำลังใจ หากมีข้าราชการอย่างท่านมาคอยดูแลพวกเราก็อุ่นใจ พนักงานราชการทำงานได้ตามสัญญา ขอให้ทุท่านทราบว่าแผ่นดินี้เป็นของเราทุกคน ศักดิ์ศรีอยู่ที่ค่าของงานไม่ใช้คนของใคร ผมเป็นพนักงานครูรวมทำงานมาแล้วไม่ตำกว่า 11 ปี เป็นลูกจ้างชั่วอยู1 5 ปี ไม่มีเส้นสายมีความสามารถในการทำงาน เรื่องสวัดิ์การไม่ต้องพูดถึง เครื่องแบบยังไม่มี พึ่งจะมีชุดขาวหรือเรียกว่าเครื่องแบบพิธีการ ชุดกากีที่ใส่ก็เหมือนยามละครับไม่ได้เกียดชั่งอะไรแต่คัยจะเข้าใจในวิถี สอบข้าราชการคุณสมบัติมากสอบติดต้องลาออก ไปกินเงินเดือนแท่งใหม่ ทำมัยไม่สอบเลือนเลยครับก็ไม่รูติดโน้นติดนี้ ถูกเอาแบ่งชนชั้นตลอดจนผมทนไม่ไหวต้องเรียนหาความรู้เพิ่มปริญา 4 ใบ และกำลังเรียนป.โท อยู่ กำลังจะจบ ครูทีเป็นข้าราชการความรู้บางท่านยังน้อย ด้วย นี้หรือคืเส้นทางของพนักงานราชการ เป็นเพี่ยงตัดพอต่อว่าคัยบางคนที่มีหน้าที่ดูแลละครับ ใจรักในงานที่ทำเราจึงทำอย่ามีความสุข ขอบคุณท่านมากที่ให้กำลังใจ ขอให้ท่านเจริญก้าวหน้าต่อไปครับสวัสดี

ตอบ...หมายเลข 90...

  • ความจริง ไม่ใช่มีความเหลื่อมล้ำในการแยกระบบที่แตกต่างอย่างเดียวหรอกค่ะ
  • ในส่วนลึก ๆ ของประเภทเดียวกัน ของระบบราชการ ก็มีความเหลื่อมล้ำกันเหมือนกันขอบอกว่า เป็นบางส่วนราชการนะค่ะ...ซึ่งมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด...แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่...
  • ซึ่งก็เหมือนกับประเภทของระบบพนักงานราชการ ที่ถูกข้าราชการกระทำ...คือ ในความแตกต่าง มีความไม่แตกต่าง และในความไม่แตกต่างมีความแตกต่าง...ก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากผู้เขียนเป็นข้าราชการ อย่างน้อย ตั้งแต่เริ่มบรรจุเป็นข้าราชการ ทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองดี และน้อมรับพระบรมราโชวาทจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทุกคำที่ท่านทรงสั่งสอน และให้ข้าราชการเป็นที่พึ่งต่อประชาชน ประพฤติตนเป็นข้าราชการที่ดีต่อเพื่อน ๆ หรือบุคลากรของรัฐทุกประเภท และผู้เขียนเองก็น้อมรับพร้อมมีจิตสำนึกที่ดีต่อบุคลากรทุกท่านไม่แยกประเภท เพราะผู้เขียนปฏิบัติเกี่ยวกับงานบุคคล จึงทราบความเป็นไปเป็นมาของระบบดีพอ...
  • จึงเป็นห่วง และทำทุกสิ่งที่หวังว่าพนักงานราชการทุกท่านคงทำงานที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด...การที่ข้าราชการบางท่าน มีความสามารถไม่ถึงเหมือนเช่นที่ท่านบอก นี่คือ ปัญหาของรัฐที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาให้ข้าราชการเหล่านั้น ดีขึ้น...ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะดีขึ้นได้มากน้อยเพียงใด...อย่าลืม! ...ว่าการมีข้าราชการที่ดี ย่อมมีข้าราชการที่ไม่ดีปะปนกัน ใช่ว่าจะดีเท่าเทียมกันทุกคนค่ะ..."นิ้วมือ ยังไม่เท่ากันเลยค่ะ"...
  • ผู้เขียนมีความเข้าใจในระบบพนักงานราชการดีค่ะ...จึงบอกว่า ถ้าเราทำดีแล้ว ขอให้ทำดีต่อ...อย่าคิดเปรียบเทียบกับข้าราชการที่เราคิดว่าเราดีกว่า...ให้คิดถึงเสมอว่า คนเราไม่พ้น "กฎแห่งกรรม"  ทำดี ย่อมได้ดีค่ะ...หัวโขนที่ทางการสวมให้ ถอดเมื่อไรก็หลุดจากวงจรเมื่อนั้น...เป็นเพียงเรื่อง "สมมุติ" ค่ะ...ขอเพียงว่าทุกวันนี้ เรามีงานทำ มีเงินพอเลี้ยงชีพ ก็เพียงพอแล้วค่ะ...
  • ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันนะค่ะ...ถึงแม้ผู้เขียนเป็นข้าราชการ ก็ไม่เคยคิดกดขี่บุคลากรที่เป็นลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือแม้แต่พนักงานมหาวิทยาลัย ตลอดจนลูกจ้างชั่วคราว ให้เกียรติทุกคน...อย่าลืม!...ว่า เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีค่ะ...แต่ผู้เขียนก็ไม่ทราบว่าข้าราชการท่านอื่นจะคิดเหมือนกับที่ผู้เขียนคิดหรือไม่...เพราะในความที่เป็นข้าราชการ ก็จะต่างจิตต่างใจกันค่ะ...
  • ไม่มีอะไรมากนอกจากขอบอกว่า เป็นกำลังใจให้ ทำงานต่อไปนะค่ะ...ถ้ามีเรื่องที่เกี่ยวกับพนักงานราชการ หรือข่าวความคืบหน้า...ผู้เขียนก็จะนำมาแจ้งให้ทราบก็แล้วกันนะค่ะ...

เรียนอาจารย์ครับ

เผมเห้นด้วยอย่างยิ่งกับที่อาจารย์กล่าวข้างต้น ว่าเราทำหน้าที่เราให้ดีที่สุดและตราบใดที่เราไปเปรียบเทียบเรากับคนที่เราอยากเป้น อยากเหมือน แต่เรายังไม่ใช่เราก็ไม่มีความสุข แต่สิ่งที่ผมกำลังรออย่างมีความหวังคือการต่อสัญญาจ้าง อยากให้มากกว่า 4 ปี เพราะยอมรับว่าการทำธุรกรรมทางการเงินใดๆเขาไม่ให้เกินสัญญาจ้างที่มีครับ และแปลกว่าตั้งแต่ 17 กย. 53 แล้วทำไม ไม่มีอะไรเลยครับจากการประชุมแนวทางพัฒนาระบบพนักงานราชการ ที่ กพ จัดขึ้น น่ะครับอาจารย์

ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณศรัณย์...

  • ก็ ปี 2556 ไงค่ะ...สำหรับช่วงนี้ ก็เป็นการจ้างตั้งแต่ปี 2552 - 2555 กระมัง คงเริ่ม สำหรับ 4 ปี ใหม่ ค่ะ...
  • ช่วงนี้ ก็คงต้องอยู่ระหว่างดำเนินการค่ะ...
  • พี่เข้าใจในการทำสัญญาทางการเงิน เพราะสถาบันการเงิน เกรงว่า ถ้าส่วนราชการไม่จ้างเราแล้ว เราก็ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินได้ค่ะ...
  • สาเหตุเป็นเพราะว่า "สัญญาจ้าง" แต่ก็ต้องเข้าใจรัฐด้วยว่า รัฐไม่ได้ประสงค์ให้พนักงานราชการ กู้เงินนะค่ะ...ในภาพรวมของประเทศ รัฐไม่ต้องการให้ประชาชนหรือบุคลากรของรัฐเป็นหนี้หรอกค่ะ...เพราะจะแสดงถึงสถานะทางการเงินที่บุคลากรเป็นหนี้สินกันมากค่ะ...ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุที่ข้าราชการเป็นหนี้สินกันมาก จนถึงขั้นต้องนำบำเหน็จดำรงชีพมาค้ำประกัน ที่ออกเป็นกฎหมายใหม่นี่ไงค่ะ
  • สุดท้ายลูก - หลาน ก็ไม่ได้รับอะไรเลย...เพราะตัวข้าราชการนำเงินไปใช้ในตอนมีอายุหมดแล้ว...
  • ถ้าเป็นไปได้...พี่ฝากข้อคิดให้...อยู่อย่างพอเพียงดีกว่าค่ะ...เข้าใจว่าเราต้องสร้างฐานะ...แต่การสร้างฐานะแล้วทำให้เราเสียเปรียบในด้านการเงิน เราควรอยู่แบบพอเพียงไม่ดีกว่าหรือค่ะ...พี่เขียนไว้ในบล็อก ลองศึกษาดูได้ค่ะ...

ขอบคุณความรู้ดีๆๆครับ

วิทยากรสอนศาสนาพุทธ 3 จว.ชต.

ตอบ...คุณ Tirayut...

  • ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...

ขอขอบคุณมากๆคับสำหรับข้อมูลที่เขียนไว้ให้อ่าน ผมเพิ่งเข้ารับบรรจุใหม่คับ จะได้นำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติตนคับ 55

ตอบ...คุณ dow11...

  • ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ...และควรเป็นข้าราชการตามความประสงค์ของภาครัฐแนวใหม่ด้วยนะค่ะ...

สวัสดีค่ะ...

ขอบคุณกับความรู้มากๆๆ ครับ พี่ให้ความรู้มากครับ ทุกวันนี้ผมทำงานเป็นพนักงานราช

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ครับ ผมเป็นบุคคลหนึ่งที่ทำงานเป็นพนักงานราชการ เป็นเวลา เข้าปีที่ 5 ครับ งานหนักมาก อาจจะนอกเหนือกับสัญญาจ้าง บางครับผมอาจจะเจออะไรที่ ไม่ถูกต้องของบุคคล ที่ เป็น ข้าราชการ แต่ผมทำอะไรไม่ได้ ถ้าพูดไปแล้ว ตามสภาพความเป็นจริง ไม่ควรจะทำอะไร ไม่งั้นตกงาน ทุกวันนี้ผมคิดเสมอว่าผมทำงาน ตอบแทนบุญคุณ ประเทศไทย เพื่อองค์พ่อหลวง แม้เป็นจุดเล็กๆๆ ผมก็มีความสุข ไม่อยากขออะไรให้กับตนเอง นอกจากขอให้ ทุกตำแหน่งหน้าที่ ไม่ว่าจะเล็กสุด หรือใหญ่สุด จะถึง นายกรัฐมาตรี ทุกท่าน ไม่ว่าจะสมัยท่านใด หันมาลงมือทำจริงๆๆ อย่าพยายาม ใช้คำพูดแล้วไม่ได้ทำกันอย่างจริงจังครับ สวัสดีชาวไทย...

ตอบ...หมายเลข 99...

  • ขอบคุณค่ะ...ในโลกใบนี้มีความรู้อีกมากมายที่เราจะได้เรียนรู้ค่ะ...
  • ขอเพียงแต่เราเปิดใจให้กว้าง...เติมเต็มความรู้ลงไปเรื่อย ๆ...สักวันหนึ่งท่านจะเป็นผู้ทรงความรู้อย่างเต็มภาคภูมิค่ะ...เป็นกำลังใจให้นะค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 100...

  • ค่ะ...ยินดีด้วยค่ะ...ที่ประเทศไทยได้พนักงานราชการเยี่ยงท่าน...
  • คนเราพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่...ขอเพียงเราได้ทำ แม้แต่เป็นกำลังหรือเสียงเล็ก ๆ
  • แต่เราได้ทำเพื่อประเทศไทย ทำเพื่อคนไทย ทำเพื่อพ่อหลวงของเรา
  • เพียงเท่านี้ ก็ถือว่าเราเป็นคนดีของแผ่นดินแล้วค่ะ...
  • สิ่งที่อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของเรา บางครั้งก็ต้องปล่อยไป เพราะเราบังคับควบคุมไม่ได้ นอกจากตัวเราค่ะ...
  • เป็นกำลังใจในการทำงานนะค่ะ...

เรียน อาจารย์

หนูเคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวมาก่อนประมาณ 8 ปี แล้วสอบได้เป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2ปี ตอนนี้ ร.พ.ให้แต่งชุดเครื่องแบบปกติทุกวันจันทร์ หนูสงสัยดังนี้ค่ะ

- หนูควรต้องใส่ เสื้อ-กระโปรงสีอะไร อินธนู แถบติดหน้าอกแบบไหนคะ

ช่วยกรุณาตอบให้หนูด้วยนะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

ตอบ...คุณสุมาลี...

  • คุณสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขอให้คุณศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas/374970
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbbbbb11111.pdf
  • และก็ขอฝากรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวกับพนักงานราชการเพื่อให้กับคนที่เป็นพนักงานราชการจะต้องศึกษา เรียนรู้เพิ่มเติม ตามบล็อกด้านล่างนี้ด้วยค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas/toc

สวัสดีค่ะ...ทุกท่าน...

  • สำหรับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวัน Valentine "วันแห่งความรัก"...
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ...
  • "รักและหวังดีต่อทุกคนค่ะ"...
  • สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการมอบให้ พวกเราทุกคนค่ะ เลยมาชวนไปดูค่ะ...
  • อย่าลืมเข้าไปดูในค่ำคืนนี้นะค่ะ...แล้วจะตกตะลึงในความมหัศจรรย์ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785

ผมเป็นลูกจ้างประจำของ อบจ. จะรับปริญญาวันที่27มีนาคม54นี้แล้วผมสามารถใส่ชุดขาวได้หรือไม่คับ มีระเบียบหรือป่าวคับ

ตอบ...คุณเดชา...

  • ให้ดูระเบียบของลูกจ้างประจำที่สังกัด ของ อบจ. นะค่ะ หรือสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ ว่าในระเบียบมีไว้ว่าอย่างไร

เพราะถ้าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการจะใส่ชุดปกติขาวได้ เนื่องจากระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการได้ออกใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2527

แต่ลูกจ้างประจำของ อบจ. เพิ่งมีไม่กี่ปี เกรงว่าจะตอบผิด ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่คุณสังกัดดูนะค่ะ...

พนักงานราชการ ( ครูผู้สอน)

ผมเรียนจบปี44 เป็นลูกจ้างชั่วคราว  3 ปีเป็นพนักงานราชการมา 7 ปี ได้พบเจออะไรที่แปลกๆจากบุคลที่เป็นข้าราชการครูบางท่านนำมาเล่าสูกันฟัง  บุคลใดที่เป็นลูกจ้างหรือพนักงานราชการ หากทำงานที่เด่นหรือเกินหน้าเกินตาจะถูกบีบจากแรงกดดันต่างๆนานา ข้าราชการเหล่านั้นจะไม่พูด้วยหรือพูดเสียดสีในเชิงว่า  เป็นแค่พนักงานริอาจมาตีเสมอกับข้าราชการ ขยันเกินหน้าเกินตา  บุคคลเหล่านี้โรงเรียนก็มาสายหรือบางวันกลับก่อนเวลา ตอนที่ผู้บริหารไม่อยู่โรงเรียน แต่เวลาเลื่อนขั้นชอบประจบนายและได้ขั้น 2ขั้นเห็นแล้วรับไม่ได้จริงๆครับ บางครั้งผมเกิดความท้ออยากจะลาออกไปใช้ชีวิตทำไร่ทำสวนอยู่กับธรรมชาติครอบครัวเบื่อการแก่งแย่งกันในสังคมที่ใช้เรียกว่าสังคมผู้ดีมีระดับ  ท่านอาจารย์อย่าเครียดนะครับ ผมแค่มีความต้องการระบายความอัดอั้นอยู่ในอก เผื่ออาจารย์มีโอกาศได้พบปะท่านที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในประเทศที่ช่วยเลือได้ จะได้บอกกล่าวให้ท่านได้รับทราบบ้างว่าอากาศข้างบนกับข้างล่างต่างกันเยอะ  และมีอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผมอยากบอกกล่าวเล่าให้ฟัง การประเมินพนักงานราชการเพื่อคัดเลือกเข้ารับราชการแต่ละครั้ง ผูใหญ่ในเขตรับเงินใต้โต๊ะทุกครั้ง( 2-4แสนบาท)ทำกันเป็นกระบวนการที่ผมทราบก็เพราะเจ้าตัวที่ได้รับการบรรจุมาแนะวิการกับผมเอง และวิธีการโกงเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเมื่อมีการสอบบรรจุ ผมเข้ารับการประเมินมาทั้งหมด 4 ครั้ง และรู้ทุกครั้งแม้ครั้งล่าสุดปี53 ผมยังสอบสัมภาษณ์อยู่เลยผลสอบประกาศเสร็จแล้วแต่ไม่มีใครทำอะไรได้เลยขนาดพนักงานบางคนร้องเรียนไปเบื้องบนเพราะรับไม่ได้ ยังหมดอนาคตเลยแล้วจะทำอย่างไรละครับสังคมไทยปัจจุบัน (ผมขอสาบานจะไม่ขอใช้เงินเพื่อซื้อตำแหน่งเด็ดขาดจะใช้ความพยายามของตัวเองให้ถึงที่สุดและถ้าหากยังไม่ได้อีกคิดเสียว่าไม่มีวาสนาที่จะรับราชการ) ขอขอบคุณอาจารย์ที่อ่านข้อความนี้ ซึ่งเป็นข้อความที่ เขียนขึ้นจากจากความรู้สึกของคนๆหนึ่งที่มีคำนำหน้าว่าพนักงานราชการ  สุดท้ายขอให้พระเจ้าคุ้มครองอาจารย์จงประสบแต่ความสำเร็จสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขยิ่งๆขึ้นไป  ( [email protected])

ตอบ...คุณพนักงานราชการ...

  • พี่เข้าใจความรู้สึกของคุณดีนะค่ะ...ใช่ว่าพี่จะไม่รู้...พี่รู้ค่ะแต่ทำอย่างไรได้...เราจะทำอะไรที่มันอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของเรานั้น ย่อมไม่ได้...เราอยากช่วยประเทศชาติ แต่เมื่อบางสิ่งบางอย่างมันอยู่นอกเหนืออำนาจของเราที่จะกระทำได้ เราคงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมเวรของคนที่คิดกระทำไม่ดีจะดีกว่าค่ะ...เพราะถ้าย้อนกลับมาดูที่ตัวเรา แล้วเราเต้นตามเขา เราจะรู้สึกอึดอัด ขอให้เป็นไปตามกรรมหรือการกระทำของพวกเขาจะดีกว่า พี่คิดอยู่เสมอว่า "ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว" ขึ้นอยู่กับ "กฎแห่งกรรม" นะค่ะ...
  • ใจจริง ๆ พี่ก็อยากจะช่วยประเทศชาติให้มากกว่านี้ แต่กำลังของเรามีเพียงเท่านี้เอง...ขอเพียงแต่เราไม่คิดทำแบบเขาเท่านั้นเป็นพอนะค่ะ...
  • ประเทศชาติ ยังต้องการคนดี ๆ ที่มาช่วยพัฒนาบ้านเมืองอีกเยอะนะค่ะ ขอเพียงอย่าถอดใจเท่านั้นเอง...คนเราท้อได้ แต่ไม่ถอยค่ะ...พี่ก็ได้แต่หวังว่า สักวันหนึ่ง "ฟ้ามีตา" เขาก็คงได้รับกฎแห่งกรรมที่เขาทำไว้กระมังค่ะ...
  • ขอเป็นกำลังใจให้ทำงานต่อไปนะค่ะ บ้านเมืองของประเทศไทย ยังต้องการคนดี ๆ ที่จะมาช่วยพัฒนาอยู่นะค่ะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...
  • กำลังแรงของคนดี 1 เสียง ถ้าทำต่อไปทุก ๆ 1 เสียง เมื่อรวมกันก็เป็นกำลังของคนดีหลาย ๆ เสียงได้ไงค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ เช่นกันค่ะ คำพรใดที่ส่งมาให้พี่ก็ขอให้ย้อนกลับคืนไปยังคุณด้วยนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีคะ  ดิฉันรับราชการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล

ดิฉันจะเข้ารับพระราชทานปริญญา อยากได้คำแนะนำ เรื่องการแต่งกายชุดขาวที่ถูกต้องนะคะ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

ตอบ...คุณจอย...

  • คุณเป็นข้าราชการสังกัดส่วนท้องถิ่น ให้ศึกษาตามไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/lw7.pdf

 

สวัสดีครับ

ผมเป็นพนักงานราชการมีความประสงค์จะลาบวช

แต่อายุงานยังไม่ครบ 4 ปี แล้วผมจะสามารถลาบวชได้หรือไม่ครับ

ถ้าลาได้จะลาได้กี่วันครับ คือผมดูในระเบียบ ฉบับที่ 7 ปี 2552 แล้วก็ยังหาคำตอบไม่เจอครับ

ตอบ...คุณต๊ะโหน่ง...

ถ้าจะลาบวชให้คุณศึกษาตามไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...ข้อ 4 (6) ค่ะ...

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/700/650/original_aaa008.pdf?1299992757

 

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/431013

รู้สึกบอกว่าต้องจ้างต่อเนื่องมาแล้ว 4 ปี ถ้ายังไม่ครบก็คงไม่ได้ค่ะ...ว่ากันตามระเบียบนี้นะค่ะ...

ตอบ...คุณต๊ะโหน่ง...(เพิ่มเติม)

ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาด้วยนะค่ะ ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูค่ะ เผื่อว่าจะอะลุ่มอะล่วยได้ค่ะ ลองดูนะค่ะ ในข้อ 4(6)...

สวัสดีครับท่านอาจารย์

ผมขอรบกวนถามท่านอาจารย์เป็นข้อๆดังนี้ครับ

1.ผมเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาลตำบลอยู่ในตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ต่อมาเมื่อเดือน ก.ค.2552 มีประกาศของ ก.ท.จ. จังหวัดของกระผม เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล ด้วยมีใจความหลักๆว่า กำหนดให้ลูกจ้างประจำของเทศบาลสามารถปรับปรุงตำแหน่งได้ หากลูกจ้างประจำผู้นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วน ในหมวดชื่อตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเทศบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินบุคคลนั้นแล้วเห็นว่าเป็นผู้มี ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณวูฒิการศึกษาที่ตรงตามคูณสมบัติของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง

จากข้อที่ 1.นี้ถ้าผมจะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอะไรได้บ้างครับ ผมจบรัฐประศาสนศาตร์ ประสบการณ์ ทำงานเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฏรและบัตรประจำตัวประชาชน มาประมาณ 5 ปี

2.ผมเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาล ผมสามารถใส่ชุดขาวได้หรือไม่ครับ มีระเบียบหรือป่าวครับ และถ่ายรูปชุดขาวติดบัตรประจำตัวข้าราชการได้ไหมครับ

ผมขอรบกวนอาจารย์เพียงเท่านี้ครับ

ตอบ...คุณวิเชียร...

  • ให้คุณศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่คุณประสงค์จะปรับเปลี่ยนว่าได้หรือไม่ก่อนค่ะ...อีกเรื่องหนึ่งคือ ตำแหน่งใหม่นั้น คุณสามารถทำงานนั้นได้หรือไม่ด้วยค่ะ ไม่ใช่เปลี่ยนแล้วทำไม่ได้ ก็ไม่ควรเปลี่ยน เพราะจะทำให้ลำบากใจตอนส่วนราชการวัดผลงานนะค่ะ...
  • หรือคุณได้ทำงานในหน้าที่นั้นอยู่แล้ว ก็ปรับเปลี่ยนเพื่อให้เพดานสูงขึ้น กรณีนี้ ต้องมีคำสั่งในการที่ส่วนราชการมอบงานให้คุณได้ปฏิบัติค่ะ
  • ไม่ทราบว่าระเบียบของคุณใช้แบบเดียวกับลูกจ้างประจำของส่วนราชการหรือเปล่าค่ะ ผู้เขียนไม่แน่ใจค่ะ ให้สอบถามที่เจ้าหน้าที่ที่คุณสังกัดอยู่นะค่ะ...เกรงว่าตอบไป ผิดแล้วไม่ดีค่ะ...
  • สำหรับระเบียบเรื่องการแต่งเครื่องแบบนั้นให้ศึกษาตามไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ เพราะคุณอยู่ในสังกัด อบต....
  • http://www.library.coj.go.th/info/data/C42-04-008.pdf
พนักงานราชการกรมอุทยานแห่งชาติฯ

พนักงานราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอร่วมแสดงความคิดเห็น เราทำง่านยิ่งกว่าข้าราชการบางคน แต่ความก้าวหน้าและค่าตอบแทนที่ได้แตกต่างเหลือเกิน ไม่เข้าใจว่า 5% (ค่าตอบแทนพิเศษ) ปีนี้ได้ปีหน้าทำไมถึงหาย ระบบแบบนี้กรมอื่นกระทรวงอื่น เป็นเหมือนกันใหม

ตอบ...พนักงานราชการกรมอุทยานแห่งชาติฯ...

  • ต้องศึกษาในระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 นะค่ะ แล้วจะเข้าใจว่าเพราะอะไร?...ทุกกระทรวง กรม เมื่อใช้ระเบียบเดียวกัน ก็ย่อมเหมือนกันสิค่ะ...เพราะนี่เป็น "ระเบียบพนักงานราชการ" ซึ่งทุกส่วนราชการต้องปฏิบัติให้เหมือนกันค่ะ...
  • ถ้าตามที่ผู้เขียนเข้าใจ พนักงานราชการ เป็นการจ้างตามภารกิจ โครงการ เป็นการจ้างมีระยะเวลา ไม่เหมือนเช่นข้าราชการค่ะ จึงทำให้ระเบียบ ฯ ไม่เหมือนกับข้าราชการ เช่น การได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ก็แตกต่างกับข้าราชการ ที่ข้าราชการจะได้รับเป็น 2 ขั้น (ในสมัยก่อน) แต่ปัจจุบันก็ไม่มีแล้วค่ะ เพราะคิดเป็น % เท่านั้นค่ะ...

พนักงานราชการ กับ พนักงานจ้างตามภารกิจ ต่างกันอย่าไงครับ ผมจะรับปริญญาไม่ทราบว่าผมจะใส่ชุดขาวได้หรือไม่แล้วถ้าใส่ได้ต้องประดับอะไรบ้าง รบกวนช่วยตอบผมด้วยครับ ขอบคุณครับ

ตอบ คุณเป็ก...

  • การเป็นพนักงานราชการ สามารถใส่ชุดปกติขาวได้ค่ะ แต่สำหรับพนักงานจ้างตามภารกิจ นั้น ต้องถามส่วนราชการของคุณเองค่ะ เพราะแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน การใส่ชุดปกติขาว ถ้าเป็นพนักงานราชการสามารถใส่ได้ค่ะ แต่พนักงานจ้างตามภารกิจ ต้องถามเจ้าหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่ที่คุณสังกัดค่ะ ผู้เขียนไม่สามารถตอบได้ค่ะ...จะทราบเฉพาะของพนักงานราชการค่ะ

เป็นลูกจ้างชั่วคราว กับพนักงานราชการ มีความแตกต่างกันอย่างไร่ เพราะบุคคลที่เขาอ้างว่าเป็นพนักงานราชการ ไม่ใช่ลูกจ้างชั่ว ช่วยตอบด้วย

ตอบ...คุณ [IP: 49.229.38.192]...

  • การเป็นพนักงานราชการ จะทำสัญญาจ้าง 4 ปี ต่อครั้ง สำหรับลูกจ้างชั่วคราว คือ การทำสัญญา 1 ปี ต่อครั้ง การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ปัจจุบันต้องการใช้ระบบสัญญาจ้างมากกว่าการรับบุคลากรให้มาเป็นข้าราชการ เนื่องจากจะได้ลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ข้าราชการจะมีภาระการจ่ายเงินเดือนยาวถึง 60 ปี รัฐต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน ค่าการศึกษาบุตร บำเหน็จบำนาญ เมื่อครบ 60 ปี ซึ่งรัฐต้องรับภาระในเรื่องนี้ค่อนมาก จึงจัดเป็นระบบพนักงานราชการ โดยให้ทำสัญญาจ้างแทน และผลักภาระสิทธิสวัสดิการไปให้กับกองทุนและประกันสังคม
  • พนักงานราชการจะสามารถได้รับเครื่องราช ฯ แต่ลูกจ้างชั่วคราวปัจจุบันยังไม่สามารถขอเครื่องราช ฯ ได้ พนักงานราชการเลื่อนค่าตอบแทนให้สูงขึ้นได้ แต่ลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถเลื่อนค่าจ้างให้สูงขึ้นได้...
  • ต้องเข้าใจว่า ระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ปัจจุบันจะมีเรื่องการทำสัญญาจ้างเข้ามาเกี่ยวพัน แตกต่างกันตรงสัญญาจ้างเรื่องระยะเวลา เรื่องสิทธิประโยชน์ + สวัสดิการ การแต่งเครื่องแบบชุดปกติขาวเพราะลูกจ้างชั่วคราว ไม่สามารถแต่งฯ ได้ค่ะ...

อาจารย์ครับช่วยอธิบายข้อความให้หน่อยครับ

มติ ครม. วันที่ 20 กันยายน 2554

เรื่องที่ 10 .........................................................................................................................

10. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) รับไปพิจารณาผลกระทบให้กับข้าราชการผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำหนดมาตรการเสริมและแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ ให้ ก.พ. รับไปดำเนินการปรับโครงสร้างเงินเดือนทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป

สาระสำคัญของร่างระเบียบ

1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 (ร่างข้อ 6 แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 6/1)

2. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีที่เคยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 12,285 บาท ให้ได้รับตามสิทธิเดิมต่อไป (ร่างข้อ 7 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 6/2)

3. ทหารกองประจำการซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ พ.1 กรณีที่เงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการนั้นแล้ว มีจำนวนไม่ถึงเดือนละ 8,610 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมดังกล่าวแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 8,610 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 และนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ให้ปรับเพิ่มเป็นไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท (ร่างข้อ 9 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 7/1)

แล้วอย่างผม พนักงานราชการครูพี่เลี้ยง วุฒิบรรจุ ม.6 /ปวช. ได้ค่าครองชีพอยู่แล้ว 1500 จะนำไป+กับ9000ไหมครับ หรือสรุปแล้วผมจะได้เท่าไหร่ครับ

ตอบ...คุณสักดิ์...

  • กรณีของคุณก็เข้าข้อ 2 ไงค่ะ...

คือผมไม่เข้าใจตรงนี้ครับ ***ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีที่เคยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 12,285 บาท ให้ได้รับตามสิทธิเดิมต่อไป (ร่างข้อ 7 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 6/2)

คือปรับขึ้นเป็น 9,000.-และบวกเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยกรุณาตอบครับ

ทำไม่ส่วนต่างระหว่างพนักงานราชการตำแหน่งครูพี่เลี้ยง กับครูผู้สอนมันต่างกันเยอะจังครับ จากแต่ก่อน อยู่ที่ สองพันกว่าบาทพอปรับเป็นหมื่นห้า ห่างกันต่างหกพัน ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณสักดิ์...

  • ในครั้งที่แล้ว จะได้รับรวมกันไม่เกิน 11,700 บาท แต่ปัจจุบัน รัฐอาจขยายเพิ่มเป็น 12,285 บาท ไงค่ะ สำหรับคุณ 9,000 + 1,500 บาท = 10,500 บาท คือ ได้รับเท่านี้ แต่ต้องค่าตอบแทนไม่เมื่อรวมกับ 1,500 บาท แล้ว ต้องไม่เกิน 12,285 บาท ถ้าเกินก็จะไม่ได้รับค่าครองชีพอีกค่ะ...

สรุปคือผมจะได้ 9,000 + 1,500 ใช่ไหมครับ เพราะพวกผมเข้าใจกันว่าจะได้ปรับเพิ่มจาก 8,200.- เป็นแค่ 9,000 ครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความชัดเจนครับ

ตอบ...คุณสักดิ์...

  • มันน่าจะเป็นการขยายฐานเงินค่าตอบแทนมากกว่าจากเดิม 8,200 เป็น 9,000 บาท แล้วก็บวกด้วย 1,500 บาท (ค่าครองชีพ) แต่ถ้าให้ชัดเจน ขอให้รอหนังสือแจ้งมาให้ทราบก่อนก็แล้วกันนะคะจะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...

อยากทราบว่าพนักงานมหาวิทยาลัยกับลูกจ้างแยกกันยังไงแล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเราเป็นพนักงานหรือลูกจ้างกัแน่ ที่สัญญาจ้างเขียนไว้ว่าพนักงานแต่ถามเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นลูกจ้าง ก็เลยงงว่าสถานะไหนกันแน่ช่วยอธิบายหน่อยสงสัย แล้วจะมีสิทธิ์แต่งเครื่องแบบชุดขาวหรือเปล่า.....ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณนพกร...

  • การที่จะทราบว่าเราเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างสัญญาจ้างนั้น สิ่งแรกให้คุณดูว่าตามที่ มหาวิทยาลัยประกาศรับคุณเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างประจำตามสัญญา (ลูกจ้างชั่วคราว ประจำปี)
  • การเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย บาง ม. ก็มี 2 ลักษณะ คือ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินรายได้ของ ม. อีกลักษณะหนึ่งก็คือ พนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน บาง ม. ก็เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินงบประมาณแผ่นดินอย่างเดียว อีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า เจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญา หรือ ลูกจ้างชั่วคราว คือ จ้างเป็นปี ๆ
  • จะว่าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างประจำตามสัญญา ก็ต้องทำสัญญาจ้างกับมหาวิทยาลัยทั้งนั้น เพราะปัจจุบัน ข้าราชการไม่มีแล้ว ประเภทบุคลากรที่ แต่ละ ม. จะได้มานั้น นั่นคือ เงินอุดหนุน โดยภาครัฐจัดสรรงบประมาณมาให้เพื่อ ม.จะได้จัดสรรเป็นการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยเรียกว่า เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจากงบแผ่นดิน
  • ภาครัฐได้ให้ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องการสรรหาพนักงานมหาวิทยาลัย คือ ม. คือ นายจ้าง สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยก็คือ ลูกจ้างของ ม. การเรียกว่าเป็นพนักงาน ม. นั้น เนื่องจากว่า ปัจจุบันไม่ข้าราชการแล้ว จึงมีระบบพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้นมาแทน แต่ก็ต้องทำสัญญาจ้างกับ ม. โดยใช้ระบบของสัญญาจ้างเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างค่ะ
  • ถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราว ส่วนใหญ่ ม.จะไม่มีชุดปกติขาวให้ แต่ถ้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สามารถแต่งชุดปกติขาวได้ (ถ้า ม. นั้น ได้ทำระเบียบ ข้อบังคับให้แต่งชุดปกติขาวได้แล้ว ก็สามารถแต่งได้) ขึ้นอยู่กับระเบียบแต่ละ ม. จะไม่เหมือนกันค่ะ...ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ในแต่ละ ม. ว่ามีระเบียบการแต่งชุดปกติขาวให้ปฏิบัติหรือไม่...ถ้าไม่มีก็ยังไม่สามารถแต่งได้ค่ะ เพราะกฎหมายแต่ละ ม. ไม่เหมือนกัน...
  • บาง ม. อาจเรียก ลูกจ้างประจำตามสัญญาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินรายได้ + งบแผ่นดิน การใส่ชุดปกติขาว ก็ต้องให้ศึกษาในระเบียบของ ม. นั้น ๆ ว่าให้คำนิยามในการแต่งชุดปกติขาวไว้ว่าอย่างไร ถ้าหมายรวมถึง ก็สามารถแต่งได้ ถ้าไม่หมายรวมถึง ก็จะไม่สามารถแต่งได้ค่ะ...

ตอบ...คุณสุ

สำหรับอัตรากำลังของพนักงานราชการนั้น ภาครัฐจะให้ส่วนราชการจัดทำ 4 ปี ต่อครั้ง รู้สึกว่าเป็นปี 2556 ส่วนราชการก็จะต้องเริ่มจัดทำเพื่อเสนอให้ คพร.พิจารณาอนุมัติก่อนแล้วจึงเสนอสำนักงบประมาณเพื่อดำเนินการในเรื่องเงินต่อไปค่ะ ถ้าส่วนราชการใดไม่ทำกรอบอัตรากำลังเข้าไป ส่วนราชการก็จะไม่สามารถจ้างพนักงานราชการต่อไปได้ เนื่องจากถือว่าไม่ประสงค์ขอจ้างพนักงานราชการไงค่ะ ขึ้นอยู่กับส่วนราชการที่คุณสังกัดอยู่ค่ะ ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ก็ได้ว่า มีแนวโน้มจะกำหนดกรอบอัตรากำลังของพนักงานราชการต่อ ๆ ไป หรือไม่ เพื่อความมั่นคงในอาชีพไงค่ะ

ตอบ...คุณสุ

สำหรับอัตรากำลังของพนักงานราชการนั้น ภาครัฐจะให้ส่วนราชการจัดทำ 4 ปี ต่อครั้ง รู้สึกว่าเป็นปี 2556 ส่วนราชการก็จะต้องเริ่มจัดทำเพื่อเสนอให้ คพร.พิจารณาอนุมัติก่อนแล้วจึงเสนอสำนักงบประมาณเพื่อดำเนินการในเรื่องเงินต่อไปค่ะ ถ้าส่วนราชการใดไม่ทำกรอบอัตรากำลังเข้าไป ส่วนราชการก็จะไม่สามารถจ้างพนักงานราชการต่อไปได้ เนื่องจากถือว่าไม่ประสงค์ขอจ้างพนักงานราชการไงค่ะ ขึ้นอยู่กับส่วนราชการที่คุณสังกัดอยู่ค่ะ ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ก็ได้ว่า มีแนวโน้มจะกำหนดกรอบอัตรากำลังของพนักงานราชการต่อ ๆ ไป หรือไม่ เพื่อความมั่นคงในอาชีพไงค่ะ

ได้อ่านความแล้วได้ความรู้มากๆเลยครับ ผมคนหนึ่งที่เพิ่งได้บรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน รับเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในภาคอิสาน ผมดีใจที่ได้เป็นข้าราชการไทยสายพันธุ์ใหม่ และผมหวังว่าจักทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด และตลอดไปครับ ^^

ตอบ คุณณัฐ...

  • ยินดีค่ะ ขอให้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดนะคะ
  • และหมั่นศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ เพราะโลกทุกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ๆ พยายามอ่านกฎ ระเบียบ เกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องปฏิบัติมาก ๆ ด้วยค่ะ
  • สำหรับ คำว่า "ข้าราชการไทยสายพันธุ์ใหม่นั้น" ก็คือ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ซึ่งต่อไป ภาครัฐจะปรับเปลี่ยนบุคลากรประเภทข้าราชการให้มีจำนวนอัตรากำลังที่ลดลง แต่จะไปให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการแทนค่ะ สำหรับลูกจ้างประจำก็จะเกษียณและหมดไป ได้มาเป็นพนักงานราชการแทนค่ะ
  • สำหรับข้าราชการไทยสายพันธุ์ใหม่ เป็นกระแสที่ผู้บริหารของ มรภ.พิบูลสงคราม เขาเรียกให้กันนะคะ แต่ความจริงก็คือ ความจริง คือ บุคลากรภาครัฐจะมีประเภทข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างประจำ เท่านั้นเองค่ะ แตกต่างกันตรงสิทธิ สวัสดิการของบุคลากรแต่ละประเภทเท่านั้นเองค่ะ แต่ในภาพรวมแล้ว คือ บุคลากรที่ทำงานให้กับภาครัฐค่ะ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆนะครับที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษากฎระเบียบต่างๆ และถึงแม้จะมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง แต่ผมหวังว่า ข้าราชการ(พนักงานมหาวิทยาลัย)รุ่นน้อง จะเอาแบบอย่างข้าราชการรุ่นพี่ที่ดีๆ เป็นแนวทางครับ...

ช่วยอธิบายข้อความให้หน่อยค่ะ

มติ ครม. วันที่ 20 กันยายน 2554

เรื่องที่ 10 .........................................................................................................................

10. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) รับไปพิจารณาผลกระทบให้กับข้าราชการผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำหนดมาตรการเสริมและแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ ให้ ก.พ. รับไปดำเนินการปรับโครงสร้างเงินเดือนทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป

สาระสำคัญของร่างระเบียบ

1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 (ร่างข้อ 6 แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 6/1)

2. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีที่เคยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 12,285 บาท ให้ได้รับตามสิทธิเดิมต่อไป (ร่างข้อ 7 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 6/2)

3. ทหารกองประจำการซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ พ.1 กรณีที่เงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการนั้นแล้ว มีจำนวนไม่ถึงเดือนละ 8,610 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมดังกล่าวแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 8,610 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 และนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ให้ปรับเพิ่มเป็นไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท (ร่างข้อ 9 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 7/1)

แล้วอย่างดิฉัน พนักงานราชการครูพี่เลี้ยง วุฒิบรรจุ ม.6 แต่ตอนนี้มีวุฒิปริญญาตรี และใบประกอบวิชาชีพแล้ว ได้ค่าครองชีพอยู่แล้ว 1500 จะเข้าข่ายได้ปรับ 15000 ไหมค่ะ

ช่วยอธิบายข้อความให้หน่อยค่ะ

มติ ครม. วันที่ 20 กันยายน 2554

เรื่องที่ 10 .........................................................................................................................

10. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) รับไปพิจารณาผลกระทบให้กับข้าราชการผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำหนดมาตรการเสริมและแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ ให้ ก.พ. รับไปดำเนินการปรับโครงสร้างเงินเดือนทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป

สาระสำคัญของร่างระเบียบ

1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 (ร่างข้อ 6 แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 6/1)

2. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ที่บรรจุหรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีที่เคยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละ 12,285 บาท ให้ได้รับตามสิทธิเดิมต่อไป (ร่างข้อ 7 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 6/2)

3. ทหารกองประจำการซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ พ.1 กรณีที่เงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการนั้นแล้ว มีจำนวนไม่ถึงเดือนละ 8,610 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นตามอัตราที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมดังกล่าวแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 8,610 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 และนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ให้ปรับเพิ่มเป็นไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท (ร่างข้อ 9 แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 7/1)

แล้วอย่างดิฉัน พนักงานราชการครูพี่เลี้ยง วุฒิบรรจุ ม.6 แต่ตอนนี้มีวุฒิปริญญาตรี และใบประกอบวิชาชีพแล้ว ได้ค่าครองชีพอยู่แล้ว 1500 จะเข้าข่ายได้ปรับ 15000 ไหมค่ะ

เรียนอาจารย์บุษยมาศ ต้องขออนุญาติอาจารย์ นำบันทึกนี้ของอาจารย์ ไปเก็บไว้ใน คบเพลิงกับงู เวบของสมาคมลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย เพื่อให้ลูกจ้างได้เรียนรู้วิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลง มีลูกจ้างหลายคนเป็นโรคยึดมั่น ซ้ำซากจำเจ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เขาจะได้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงมีมาทุกยุคสมัย

ด้วยคารวะและขอบคุณล่วงหน้า

สวัสดีค่ะ คุณวอญ่า...Ico48

  • ได้เลย + อนุญาตค่ะ คุณวอญ่า...

 

ตอบ คุณณัฐ...

  • ขอบคุณค่ะ คุณณัฐ ข้าราชการที่ดี ก็ยังมีอีกเยอะค่ะ เพียงแต่โอกาสในการสื่อสารในระบบ IT เขายังไม่สามารถทำได้
  • ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับบุคลากรภาครัฐทุกคนนะคะ ที่ทุ่มเทแรงกาย แรงใจในการทำงานให้กับประเทศชาติค่ะ...

ตอบ คุณทัสวรรณ

  • สำหรับค่าครองชีพของพนักงานราชการให้รอระเบียบจากสำนักงาน ก.พ. กำลังจะแจ้งให้ทราบและปฏิบัติอีกครั้งหนึ่งค่ะ
  • สำหรับที่คุณนำมานี้ เป็นระเบียบของข้าราชการและลูกจ้างประจำค่ะ
  • ถ้ามีผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ คุณสามารถศึกษาเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้เขียนจะนำมาเขียนใหม่ได้ โดยคลิกที่สารบัญด้านบนบล็อกนี้ค่ะ ด้านขวามือ ให้เลื่อนบาร์ขึ้นด้านบนนะคะ มีเรื่องที่ผู้เขียนนำมาเขียนบอกไว้ให้มากมายเลยค่ะ สำหรับพนักงานราชการ
  • ถ้าค่าครองชีพของพนักงานราชการ ระเบียบออกมา ผู้เขียนจะนำมาแจ้งในบล็อกที่เขียนใหม่ โดยคลิกที่สารบัญด้านบนขวามือนะคะ
  • การที่คุณจะได้เท่าไรนั้น ให้ดูว่าคุณสอบบรรจุเป็นพนักงานราชการแล้วอยู่ในกลุ่มไหนค่ะ เช่น กลุ่มบริการ กลุ่มเทคนิค กลุ่มบริหารทั่วไป ค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์ครับ ผมขออนุญาติเรียนสอบถาม ดังนี้ 1.พนักงานราชการ หมายรวมไปถึง ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างตามภารกิจ ลูกจ้างทั่วไป ของเทศบาลด้วยหรือไม่ ? 2.ลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ์สวมเครื่องแบบกากี เครื่องแบบปกติขาว หรือไม่ มีระเบียบว่าด้วยการแต่งกายสำหรับลูกจ้างของท้องถิ่นรองรับหรือไม่ ? ขอขอบพระคุณครับ

เรียนท่านอาจารย์คับ คือผมมีเรื่องอยากจะสอบถาม เกี่ยวกับ ชุด ที่ใส่ ในการเข้ารับปริญญาบัตร นั้น ปกติแล้ว ถ้าเป็นข้าราชการ ก็สามารถใส่ชุดขาว ได้เลย ใช่ไหมคับ และ ถ้าไม่ได้รับราชการเลย แต่เราสามารถใส่ชุดขาวแบบที่เค้าใส่เข้าเฝ้ากันได้ไหมคับ มันจะไม่มีแทบธนู แต่มีแทบที่คอ ใช่ไหมคับ ขอเรียนถามว่า สามารถใส่ได้หรือเปล่าคับชุดเข้าเฝ้า เพราะพอดีผมหาตัดชุดไม่ทันและ พอดี มีชุดขาวเก่าของพ่อ อยู่ เลยมาเรียนถามอาจารย์ก่อน คับว่าใช้ได้ไหม

ตอบ คุณเขาใหญ่

  • ไม่ใช่ค่ะ พนักงานราชการ ก็คือ พนักงานราชการค่ะ (ไม่ได้ตอบแบบกำปั้นทุบดินหรอกนะคะ เพราะมันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ)
  • ลองเข้าไปดูที่ระเบียบการแต่งกายของลูกจ้างของส่วนท้องถิ่นดูนะคะ เพื่อจะได้คำตอบหรือไม่ก็สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ที่คุณสังกัดอยู่นะคะ เพราะระเบียบแต่ละฉบับจะมีระบุไว้ ซึ่งมันมีความแตกต่างกันอยู่ค่ะ

ตอบคุณ 554466

  • ค่ะ ถ้าเป็นข้าราชการใส่ได้ค่ะ เพราะเขามีระเบียบรองรับไว้
  • สำหรับกรณีของคุณให้สอบถามไปยัง ม.ที่คุณจบด้วยนะคะว่าให้ใส่แบบใด ถ้าเราไม่มีสถานะภาพ เช่น เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ที่เขามีระเบียบรองรับไว้ ให้สอบถามที่ ม. นะคะ เพราะบาง ม. จะระบุไว้ค่ะว่าให้ใส่เครื่องแบบแบบใดในการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรค่ะ

ข้องใจเรื่อง พนักงานราชการ

1.เข้าทำงานใหม่ทำไมเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการบรรจุใหม่ ปรับเงินเดือนขึ้นทุกปี ทั้งๆที่การได้เข้าทำงาน ยากง่ายต่างกันมาก 2.ทำไมการคัดเลือกไม่มีความยุติธรรมเป็นกลาง หน่วยงานคัดเลือกเอง คนที่ได้ก็ล้วนแต่มีเส้นสาย ญาติพี่น้อง ลูกหลาน ของหัวหน้า ผู้บริหาร พนักงานหน่วยงานนั้นๆไม่ได้ผ่านการคัดเลือกที่จริงจัง บางครั้งรับงานไม่ประกาศประชาสัมพันธ์เป็นที่เปิดเผยด้วยซ้ำ เข้าไปแล้วเส้นใหญ่เลือกงาน 3.แล้วรับเครื่องราชย์เหมือนข้าราชการสิทธิสวัสดิการก็เกือบจะเท่าข้าราชการทุกอย่างแล้ว

*ยินดีกับพนักงานราชการ ที่ผ่านการคัดเลือกแบบเป็นธรรม นะครับ มีทั้งส่วนดี ส่วนเสีย ดาบ 2 คม บางหน่วยงานอาจจะมีบ้างเป็นส่วนน้อยนะครับ แต่หน่วยงานที่ผมรู้มีมากกว่า 80 % ข้าราชการที่สอบแข่งขันมาด้วยความยากลำบากเห็นแบบนี้แล้วหมดกำลังใจทำงาน ท้อใจ บางคนสอบบรรจุข้าราชการได้ ไม่ไปรายงานตัวก็มี เลือกที่จะเป็นพนักงานราชการ

นารีรัตน์ ฟทัยโชติ

การปรับตำแหน่งของลูกจ้างประจำจากตำแหน่งพนักงานพิมพ์ จะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งพนักงานธุรการได้เลยหรือไม่

ตอบ คุณเปา

1. เงินค่าตอบแทนของพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ คือ ได้รับ 1.2 เท่า ของข้าราชการค่ะ เช่น ข้าราชการเงินเดือน 10,000 บาท พนักงานราชการจะได้รับ 12,000 บาท ค่ะ เพราะเป็นไปตามมติ คพร. ไม่เข้าใจคำว่า เข้าทำงานยากง่ายต่างกัน หมายความว่าไงค่ะ

2. การบรรจุเป็นพนักงานราชการ ในระเบียบ คพร. ได้สร้างไว้ว่า พนักงานราชการนั้นให้หน่วยราชการเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกกันเองค่ะ เป็นการกระจายอำนาจไปให้ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับความยุติธรรมนั้นอยู่ที่แต่ละส่วนราชการค่ะ ว่าจะใช้ระบบคุณธรรมมากน้อยเพียงใด...การมีพนักงานราชการภาครัฐดำเนินการเพื่อแก้ไขระบบเดิมของข้าราชการในส่วนที่ไม่ดีค่ะ...

3. สำหรับเครื่องราชฯ เป็นไปตามระเบียบที่สิทธิข้าราชการจะพึงได้รับ กับการเป็นพนักงานราชการแล้วมีสิทธิที่พึงจะได้รับเช่นกันค่ะ

             ขึ้นอยู่ที่ระบบของการกระจายอำนาจที่เป็นปัจจุบัน เราได้รู้ ได้เห็น เพราะสมัยก่อนไม่มีระบบนี้ ก็ทำให้เห็นถึงว่า ภาครัฐรวมอำนาจไงค่ะ นี่คือ ข้อดีและข้อไม่ดีของการกระจายอำนาจกับการรวมอำนาจที่ภาครัฐมอบให้ส่วนราชการไงค่ะ ส่วนการดำเนินการทั้งหลายขึ้นอยู่กับระบบคุณธรรมที่แต่ละส่วนราชการจะนำมาดำเนินการค่ะ


ตอบ คุณนารีรัตน์

ให้คุณศึกษาคุณสมบัติในตำแหน่งของพนักงานธุรการก่อนว่า ตัวคุณเข้าคุณลักษณะในข้อใด...และปัจจุบันได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการหรือไม่ มีคำสั่งให้ปฏิบัติหรือไม่ ถ้ามีก็สามารถทำได้ ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยค่ะ

ขอความกรุณาคับ  จะรับปริญญา แต่ต้องการใส่ชุดขาวในนามพนักงานมหาลัยมหิดล ตอนนี้ทำงานพนักงานมหาลัย  ไม่ทราบ สามารถใส่ได้หรือเปล่าคับ  ถ้าได้ ต้องหาเช่าแถวไหนคับ ที่มีเครื่องหมายด้วย

ตอบ คุณชา

          ให้คุณสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของ ม.มหิดล ค่ะ ชุดปกติขาวทั่ว ๆ ไปจะเหมือนกันค่ะ ลองสอบถามที่รุ่นพี่เขาไปตัดหรือซื้อกันสิค่ะ หรือเช่า ยืมของเขาก็ได้...ส่วนเรื่องเครื่องหมาย น่าจะต้องซื้อนะคะ ให้ถามที่ ม.มหิดล ค่ะ เพราะไม่มีที่ไหนเขาทำขายหรอกค่ะ เพราะเกรงว่าจะมีความผิด...เครื่องหมายส่วนมากเขาจะซื้อกันมาไว้ประจำตัวเรานะคะ...เพราะที่ มรภ.พิบูล ก็มีขายให้กับพนักงานของ ม. ค่ะ

รบกวนถามอาจารย์ค่ะ ว่าองค์กรอิสระต่างๆ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเป็นประเภทไหนคะ พนักงานราชการ หรือพนักงานของรัฐ และมีสวัสดิการอะไรบ้างมั้ยคะ

สรุปได้เลยต้องสอบบรรจุให้ได้...รัฐที่คิดเเนวความคิดพนักงานราชการ..ใจดำจริงๆ ผมบอกได้เลยว่า ทำวิธีไหนก็พัฒนาอยากเพราะข้าราชการเขาไม่ทำงาน..555..ให้เเต่ลูกจ้างทำงาน(ข้าราชการดีๆก็มีอยู่นะครับเเต่น้อย)

ต้องเข้าใจว่าข้าราชการ กับ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ เวลามีข้อตำหนิ เค้าจะไปเน้น ข้าราชการประจำนะครับ ผมเคยได้ยินมาว่าทำไมสิทธิไม่เท่ากัน แต่อย่าลืมว่า เงินเดือนข้าราชการ น้อยกว่า พนักงานราชการ นะครับอันนี้ประสบการณ์จิงเพราะผมรับราชการในหน่วย กองพลทหารราบที่ 3 ครับ 

 

อาจารย์บุษยมาศค่ะ ขอถามว่า

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข แตกต่างจาก พนักงานราชการอย่างไร และมีเครื่องแบบในพิธีวันสำคัญไหม คือ เครื่องแบบชุดขาว และกากี ค่ะ แล้วเครื่องที่ใส่ เหมือนกับพนักงานราชการไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

พนักงานราชการสังกัดสพฐ.

สวัสดีค่ะอาจารย์ขอบพระคุณมากสำหรับความรู้ค่ะและหนูอยากจะรบกวนสอบถามอาจารย์อยู่1เรื่องคือ ทางสพฐ.มีแจ้งเกี่ยวกับเครื่องแบบของพนักงานราชการไปที่โรงเรียนว่าให้แต่งกายตามระเบียบของสพฐกำหนด แต่ทางโรงเรียนไม่ได้แจ้งให้แต่งกายตามนั้น ดังนั้นพวกเราที่เป็นพนักงานราชการก็เลยไม่ได้แต่งเครื่องที่กำหนดให้แต่ง จะผิดระเบียบมั้ยค่ะอาจารย์

ขอให้มีความสุขสมปรารถนาทุกประการค่ะ.

ถ้าผมเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งก็ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ขาดตกบกพร่องอะไร แต่ผมต้องถูกประเมินโดยข้าราชการ และข้าราชการก็มนุษย์โลกทั่วไป มีรัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งผมไม่ได้เหมารวมข้าราชการทุกท่านนะครับ ผมยกตัวอย่าง ถ้ามีเรื่องส่วนตัวเข้ามา แล้วผมไม่ผ่านการประเมิน ผมก็ถูกเลิกจ้างใช่ไหมครับ ทั้งที่จริงแล้ว ผมทำงานเต็มที่ แต่บุคคลที่ได้ชื่อว่าข้าราชการที่ประเมินผมนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย ผมรู้สึกถึงความอยุติธรรมมากๆครับ

อยากทราบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยจ้างด้วยเงินรายได้ ต่อสัญญาจ้างทุกปี มั๊ยคะ แล้วจะได้บรรจุเป็นพนักงานถาวรมั๊ยคะ และถ้าเปิดสอบ พนักงานมหาวิทยาลัยกับ (จ้างด้วยเงินรายได้) กับพนักงานราชการ ควรเลืกสอบอันไหนคะ ขอบคุณมากค่า อาจารย์

จากที่ได้อ่านกระทู้นี้ ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยมากขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ แต่ทราบขอถามเรื่องพนักงานมหาวิทยาลัยลักษณะชั่วคราวแตกต่างกับลูกจ้างชั่วคราวมั้ยค่ะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นพนักงานราชการอยู่มหาวิทยาลัยแห่งนึงค่ะ อยากทราบว่าการปรับเปลี่ยนจากพนักงานราชเป็นพนักงานมหาวิทลัย สามารถทำได้หรือไม่คะ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยหรือไม่คะ พอจะมีระเบียบของมหาลัยที่ปรับเปลี่ยนได้แล้ว มีหรือไม่คะ ขอบคุณค่ะ

เรื่องนี้เป็นปัญหาถกเถียงกันมานานและไม่แฟร์จริงๆ คนพูดได้ประโยชน์ครับไม่ต้องไปฟัง ต้องยกประโยชน์เช่นสิทธิ์ข้าราชการจ่ายตรงก่อนและหลังเกษียณ บำเหน็จบำนาญที่ข้าราชการพึงได้ ออกจากตัวข้าราชการคนพูดสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นฟังก่อน แล้วค่อยมาถกเถียงกัน ตอนนี้มันไม่เท่าเทียมกันจริงๆ ทั้งๆที่ทำงานให้หน่วยงานรัฐเหมือนกัน คนที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ แต่ได้สวัสดิการข้าราชการก่อนและหลังเกษียณครบแถมได้บำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย ไม่แฟร์กับคนมีประสิทธิภาพแต่ไม่ได้บำนาญสวัสดิการใดๆหรอกครับ เหมือน มีคำพูดสร้างแรงบันดาลใจให้ขอให้ไปด่านหน้า สู้ตายช่วยตรวจโควิด แต่ไม่มีสวัสดิการเท่าข้าราชการ เวลาเค้าตายจะทำไง คนข้างหลังหละ ในขณะคนทีเกษียณวันๆไม่ทำอะไรเดินช้อปปิ้งขอยาฟรีข้าราชการจ่ายตรงฟรี หน่ะหรอ แย่จ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท