การจ่ายค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายควบกับค่าตอบแทนพนักงานราชการ


การจ่ายค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายควบกับค่าตอบแทนพนักงานราชการ

"การจ่ายค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายควบกับ

ค่าตอบแทนพนักงานราชการ"

บันทึกนี้ ผู้เขียนขอนำเรื่อง "การจ่ายค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายควบกับค่าตอบแทนพนักงานราชการ" มาแจ้งให้ผู้สนใจได้รับทราบกัน...ดังนี้ค่ะ...

ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.5/ว 39 ลงวันที่ 2 เมษายน 2553 เรื่อง "การจ่ายค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายควบกับค่าตอบแทนพนักงานราชการ" โดยเพื่อให้การปฏิบัติของส่วนราชการเกี่ยวกับการกำหนดวันจ่ายค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายควบกับค่าตอบแทนของพนักงานราชการเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน

กระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 ประกอบกับมาตรา 4 และมาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงกำหนดวันจ่ายค่าตอบแทนและเงินอื่นที่จ่ายควบกับค่าตอบแทนของพนักงานราชการ โดยให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.4/ว 61 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2548 ซึ่งมีข้อความดังนี้ค่ะ...

โดยที่การจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือน ในปัจจุบันมักจะประสบกับปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้าและความคล่องตัวในการจ่ายเงิน ดังนั้น เพื่อให้การจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนแก่ข้าราชการและผู้รับบำนาญมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขวันจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน

กระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 และมาตรา 43 แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 จึงกำหนดวันจ่ายเงินเดือนและบำนาญประจำเดือน ดังนี้...

1. การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของธนาคารสามวันทำการในเดือนนั้น

2. การจ่ายบำนาญประจำเดือนให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนห้าวันทำการ สำหรับกรณีที่ต้องเบิกจ่ายเงินจากธนาคารหรือผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญทางธนาคาร ให้จ่ายในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนห้าวันทำการ

3. การจ่ายค่าจ้างลูกจ้างประจำเดือน ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือนตามข้อ 1.

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป

โดยกระทรวงการคลังได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติต่อไปค่ะ...

ที่มา : สามารถศึกษาได้จากไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/scan0004.pdf

หมายเลขบันทึก: 359357เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ทำไมเงินพนักงานราชการระดับเจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป ของกรมอุทยานเเหน่งชาติ ทำไมถืงขึ้นช้ามากเริ่มเเรก9500ขึ้นมา10500เองทั้งที่เป็นพนักงานมา6ปี(ไม่อยากใช้คำว่าบรรจุมันกระดากปาก)6เดี๋ยวก็ประเมินทีหรือไม่ก็มานั่งกังวลว่าจะได้ต่อสัญญาหรือไม่

ตอบ...หมายเลข 1...

บัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป ถ้าบรรจุ วุฒ ป.ตรี หลักสูตร 4 ปี เริ่มบรรจุที่ 9,530 บาท คุณบอกว่าคุณบรรจุมา 6 ปี แล้ว ยังสงสัยว่า หน่วยงานของคุณ ขึ้นค่าตอบแทนให้ ปีละ กี่ % ค่ะ เพราะการขึ้นขั้นค่าตอบแทน ในปีหนึ่ง จะเป็นได้ 3 กรณี ค่ะ 3 %, 4 %, 5 % และถ้าจำนวนในกลุ่มคุณมีคนถึง 100 คน จะได้โควต้าพิเศษ ในการขึ้นขั้นค่าตอบแทนอีก 15 % ถ้ามี 10 จะได้โควต้า 1.5 คน หรือเท่ากับ 2 คน  อีก 3 % ค่ะ ในกรณีของคุณพี่ตอบให้ไม่ชัดเจนนะค่ะ เพราะดูไม่ออก ถ้าเป็นที่ทำงานพี่จะสามารถบอกได้ เพราะข้อมูลที่ให้ บางครั้งต้องเห็นหลักฐานค่ะ จึงจะตอบได้...อย่างไรแล้วให้สอบถามหน่วยงานของคุณนะค่ะ...ว่าเป็นอย่างไร...แต่ถ้าดูคราว ๆ เหมือนกับคุณได้ขึ้นค่าตอบแทน ปีละ 3 % เองค่ะ...ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่า...ทำไมต้องวิตกด้วยค่ะว่าประเมินที ต้องกังวลว่าจะได้ต่อสัญญาหรือไม่...ขอบอกนะค่ะว่า ถ้าเราทำงานให้เขาเต็มที่ มีผลงานที่ชัดเจน ก็ไม่ต้องวิตกค่ะ...หรือไม่ก็ลองสอบถามหัวหน้าส่วนราชการของคุณนะค่ะว่ายังขอกรอบอัตรากำลังของพนักงานราชการอีกหรือไม่ค่ะ...

สวัสดีคะ

ดิฉันอยากจะสอบถามสิทธิของลูกจ้างชั่วคราวของวิทยาลัยสังกัดกรมการอาชีวศึกษา เกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนและการบรรจุเข้าเป็นลูกจ้างประจำหรือไม่ ลูกจ้างชั่วคราวของกรมการอาชีวศึกษาเหมือนลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานเขตหรือไม่ สามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างนอกเหนือจากประกันสังคม

มีแนวโน้มที่จะบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่อยู่มาแล้ว9-10ปี ให้เป็นลูกจ้างประจำบ้างหรือไม่(ลูกจ้างชั่วคราวของกรมการอาชีวศึกษา)

ขอบพระคุณ................คะ

ตอบ...คุณชนกนันทร์...

สิทธิลูกจ้างชั่วคราวของวิทยาลัยสังกัดกรมการอาชีวศึกษา เกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนและการบรรจุเข้าเป็นลูกจ้างประจำนั้น ขอให้คุณสอบถามไปที่งานการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานคุณ(หรือ WebSite ที่เกี่ยวข้องเรื่องลูกจ้างชั่วคราวนะค่ะ)...เพราะเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้างชั่วคราวในแต่ละสถานที่ อาจไม่เหมือนกัน คุณต้องศึกษาที่สังกัดของคุณนะค่ะ เพราะกฎหมายของแต่ละกรมจะไม่เหมือนกันค่ะ...และอีกอย่างบางครั้งถ้าตอบไปแล้วไม่ถูกต้องค่ะ...เพราะกฎหมายบางตัวจะกว้างเกินไปค่ะ...เอาเป็นว่าผู้เขียนขอแนะนำตามที่บอกข้างต้นนะค่ะ...สำหรับที่ตอบเรื่องพนักงานราชการนั้น เป็นของส่วนกลางคือ คพร. เป็นผู้ประกาศให้ใช้เหมือนกันทั่วประเทศ...ผู้เขียนจึงนำมาตอบให้ทราบค่ะ...

อ.ครับเมื่อไหร่พนักงานราชการจะได้รับการเเก้ไขสักที..เกี่ยวกับความมั่นคงในหน้าที่การงาน..ลูกจ้างชั่วครวาก็ไม่เชิง..ข้าราชการก็ไม่ใช้..สิทธิสวัสดิการก็เเค่ประกันสังคมเหมีอนลูกจ้างร้านข้าวเเกง..อยากจะกู้เงินมาปลูกบ้านที่อยู่อาศัย ธนาคารเขาก็ไม่ปล่อย..เพราะงานเรามันไม่เเน่นอน..ถ้าเป็นข้าราชการธนาคารรีบจัดการให้เลย...ทั้งที่ทำงานกันมาสิบกว่าปี..เหนื่อยกว่าข้าราชการเสียอีก..ทุกวันได้เเต่หวังว่า..ฟ้าคงมีตามองเห็นความเดือดร้อนของพวกเราบ้าง...ขนาดผู้ดูเเลเด็กเล็กในหมู่บ้าน(ผ.ด.ด.).ยังมีความก้าวหน้ากว่าพวกเราเลย..จริงอยูเขาเป็นนิติบุคคลขึ้นกับอ.บ.ต. เเต่พวกเราขึ้นอยู่กับรัฐเเท้ๆ ทำไมมันดูตำต้อยกว่า..อยากฝากข้อความเหล่านี้ให้ไปเข้าฝันผู้มีอำนาจทั้งหลาย...ให้เห็นความเดือดร้อนของพวกเราหน่อย..ขอบคุณครับอาจารย์

ตอบ...คุณประหวัด...

พี่ก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่า พนักงานราชการ จะได้รับการแก้ไข เมื่อใด... แต่ที่ทราบก็ขอบอกให้พนักงานราชการทราบว่า พนักงานราชการเป็นไปตามสัญญาจ้างค่ะ...รัฐให้มีระบบนี้ก็เพื่อเหตุผลหลาย ๆ อย่าง...แต่ถ้าต้องการความมั่นคง ก็แนะนำให้สอบบรรจุเป็นข้าราชการดีกว่าไหมค่ะ...เพราะวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่สมัครสอบภาค ก. อยู่ค่ะ...เราช่วยตัวเราเองก่อน ก่อนที่จะให้คนอื่นมาช่วยเราดีกว่าไหม...(บางคนอาจบอกว่า อายุมากแล้ว...แต่พี่ก็ได้เพียงแต่บอกให้ทราบเพียงเท่านี้ค่ะ)...ถึงบอกว่า จะทำอะไร  เราต้องมีการวางแผนให้กับตัวเองค่ะ เรียกว่า  "แผนชีวิต"  ไงค่ะ...คุณต้องเข้าใจด้วยนะค่ะว่า รัฐนำระบบพนักงานราชการมาใช้กับบุคลากร ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สร้างคนให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ฯลฯ เหตุที่กู้เงินสร้างบ้านไม่ได้ ธนาคารไม่ปล่อย ก็เพราะว่า พนักงานราชการเป็นแบบสัญญาจ้างไงค่ะ มีกำหนดการทำงาน 1 ครั้งต่อ 4 ปี เพราะถ้าเราไม่มั่นคงแล้ว ธนาคารจะไม่ปล่อยเงินเด็ดขาดค่ะ...ใช่ค่ะ เหตุที่ถ้าเป็นข้าราชการแล้วสามารถกู้ได้เลยนั้น เนื่องจากข้าราชการมีอายุการทำงานไปจนอายุ 60 ปี ซึ่งมีรายได้ประจำในแต่ละเดือน ไม่ใช่เป็นแบบสัญญจ้างเหมือนของพนักงานราชการไงค่ะ...พึ่ถึงแนะนำให้สอบบรรจุเป็นข้าราชการไงค่ะ...บอกแล้วไงค่ะว่า (ในบล็อกที่พี่เขียนไว้...เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552...ว่าอย่าเปรียบเทียบการทำงานระหว่างข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ เพราะแต่ละประเภท มีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของงานระบุไว้ค่ะ...และก็จะไม่พูดถึงว่า ใครทำงานมากกว่ากันค่ะ...แต่ต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับว่าใครทำงานได้ ก็จะได้รับผลงานมากกว่าค่ะ...(การทำงานต่อไปถ้าเป็นตามที่รัฐกำหนดจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลค่ะ...ต้องเข้าใจด้วยว่า ช่วงนี้เป็นช่วงรอยต่อระหว่างระบบราชการใหม่กับระบบราชการเก่าซึ่งทำให้เห็นความขัดแย้งในการทำงานค่ะ)...บอกแล้วไงว่าอย่าเปรียบเทียบกับคนอื่น ถ้าเราพอใจที่จะเป็นพนักงานราชการ เราก็ต้องทราบบทบาทของการเป็นพนักงานราชการ แต่ถ้าเราไม่พอใจ เราเห็นงานไหนมั่นคงกว่า ก็ให้ไปสอบเป็นประเภทนั้นค่ะ...เพราะคิดไปก็ไม่ได้อะไร...นี่คือ...ระบบการทำงานของภาครัฐค่ะ...แต่ก็ต้องคอยดูต่อไปว่า รัฐจะดำเนินการอย่างไรต่อไปบ้าง...เกี่ยวกับความมั่นคง หรือสวัสดิการอื่น ๆ ค่ะ...

 

เวทีนี้มีเเต่คนด้อยโอกาส...หัวขี้เลื่อย จงยอมรับชะตาชีวิตเถิดพวกเรา..พี่ว่าอย่าไปเรียกร้องอะไรเลย..มันเสียเวลาเปล่าๆ..ทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุดก็พอ

ตอบ...หมายเลข 7...

ถ้าคุณมีเหตุผล + ความเข้าใจ + มีวิสัยทัศน์ที่กว้างกว่านี้สักนิด...คุณคงไม่เขียนแบบนี้...การเรียกร้องในบางครั้งทำได้ แต่คุณก็ต้องดูวิสัยทัศน์ในภาพรวมของประเทศด้วยค่ะว่าเป็นอย่างไร...ไม่ใช่ว่า...ทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง...รัฐจะทำให้ในภาพรวมค่ะ...ในคำพูดของคุณว่า...หัวขี้เลื่อย...แต่บางครั้ง "หัวขี้เลื่อย" ก็ทำให้ประเทศชาติอยู่ได้นะค่ะ...ก็ต้องเข้าใจด้วยค่ะ...อย่างเช่น ข้าราชการ สมัยแต่ก่อน รัฐก็มีแต่เงินบำเหน็จ บำนาญ ให้เท่านั้น ซึ่งข้าราชการบำนาญที่ได้รับกันก็ได้รับเงินนิดเดียว ไม่ใช่เต็ม 100 ได้แค่ 70 % ของเงินเดือนก่อนเกษียณ...กว่าจะได้เป็นสมาชิก กบข. ข้าราชการก็เพิ่งจะได้ เมื่อ ปี 2540 ที่รัฐทำให้...(เพิ่งจะเริ่มมีมาเมื่อ 13 ปี แล้วนี้เอง...ทั้ง ๆ ที่ระบบราชการ มีมาตั้งแต่เมื่อ 80 ปีที่แล้ว)...เห็นไหมค่ะ บางสิ่ง บางอย่าง จะทำให้ได้ดังใจเราไม่ได้ค่ะ...อย่าลืมว่า...เป็นงานใหญ่ระดับประเทศ...บางสิ่ง ต้องค่อยเป็นค่อยไปค่ะ...

มันอยู่ที่ดวงด้วยครับ ไม่ใช่ว่าอยากเป็นราชการ ไปสอบแล้วเป็นได้เลย บางคนอ่านหนังหนักแต่อ่านไม่ตรงกับข้อสอบที่ออกก็มี แต่บางคนหลับตาฝนมั่วๆ สอบได้ที่หนึ่งก็มีครับ แต่คนที่ได้เป็นแล้วพูดยังไงก็ถูกหมดล่ะครับ แต่คนที่อยากเป็นสอบเป็น 10 - 20 ครั้ง ยังสอบไม่ได้เลย ดวง วาสนา กาถูก นี่ซิสำคัญสุด

ตอบ...หมายเลข  9...

ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะค่ะ...ที่คุณพูด...แต่ผู้เขียนขอยืนยันว่าในสมัยที่ผู้เขียนสอบได้ ดูหนังสือตามแนวที่ ก.พ.ว่าจะสอบว่ามีเรื่องใดบ้าง ก็ไปหาหนังสือตามนั้นอ่าน...แล้วอาจจะบวกด้วยพื้นฐานที่เราได้เรียนมาตั้งแต่อนุบาล - ป.ตรี ก็ได้ ว่าเราพบเจออาจารย์ที่สอนเราประเภทไหน...เรียกว่า มีหลายองค์ประกอบที่ทำให้เราสอบได้...แต่ขอค้านกับคำว่า หลับตาทำมั่ว ๆ แล้วได้ที่หนึ่ง คงไม่ใช่หรอกค่ะ...ถ้าคิดเป็น %  หรือความน่าจะเป็นก็ 1  ใน 10,000 แล้วมังค่ะ...ถ้าเขาได้ ก็ได้ไป แต่ถ้าเข้าไปทำงานให้รัฐแล้วเขาทำงานได้ดี มีคุณภาพ ก็น่าจะรับเขาได้...ดีกว่าคนที่พอสอบได้แล้ว  ทำงานไม่มีคุณภาพ + ศักยภาพ  อีกเป็นไหน ๆ ค่ะ...แต่ที่บอกนี้  คือ  กระบวนการเลือกสรรคนเข้าทำงานค่ะ...เป็นเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลค่ะ...(เป็นเครื่องมือในการสรรหาคนเข้าทำงานค่ะ...)  แต่ก็เชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า...การอ่านหนังสือเท่านั้น...ที่ทำให้คนสอบได้...ใครก็บอกได้ว่าอ่านหนังสือเป็น 10 ๆ ครั้ง แต่บอกได้ไหมล่ะ  คุณเกิดความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน...เกิดการพิจารณา วิเคราะห์ ด้วยเหตุ ผล มากน้อยแค่ไหน...ใครก็อ่านได้ เป็น 100 ๆ ครั้ง...ที่สำคัญ คือ  อ่านแล้วเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มขึ้นหรือไม่ค่ะ...บางคนอ่านครั้งเดียว...เขาเกิดความเข้าใจ เกิดการวิเคราะห์ แตกในเนื้อหา  เขาก็สามารถเข้าใจ...ไม่เสียเวลาในการอ่านครั้งต่อไปค่ะ...ถ้าคิดว่าอยู่ที่ดวง  เราก็ไม่ต้องเรียนจบ ป.ตรีกันสิค่ะ...ไม่ต้องเรียนหรอกค่ะ...ทำงานในอาชีพที่บรรพบุรุษให้มานั่นแหล่ะ...ถ้าอย่างนั้น  ประเทศไทยคงไม่ต้องมีมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับคนให้มีการศึกษากันหรอกค่ะ...

ขอเรียนถามค่ะ

หนูเป็นพนักงานราชการอยู่ค่ะ อยากทราบกฎระเบียบในการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ ค่ะ

คือ ตอนนี้ เงินเดือน 10,520 บวก ค่าครองชีพ 1,180 รวมเป็น 11,700 จะมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไหมค่ะ

คือว่า ยังไง หัวหน้าส่วนก็จะให้หนูได้อยู่แล้ว แต่กลัวว่าพอส่งรายชื่อไปแล้วจะได้ได้ เพราะมีพี่อีกคนเค้าบอกว่าเงินเดือนตัน มัจริงหรือค่ะ เพราะดูตามหรอบแล้ว กลุ่มงานบริหารฯ ได้สูงสุด ที่ 30,000 กว่า แน่ะ

อยากรู้มากเลยค่ะ

ตอบ...หมายเลข 11...

ขอโทษด้วยที่ตอบให้ช้า เพราะเพิ่งจะมาเห็นคำถามค่ะ และอีกอย่างช่วงนี้ไปเซี่ยงไฮ้ค่ะ...การที่พนักงานราชการจะมีสิทธิได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกลุ่มที่เราอยู่ มีคนอยู่ในกลุ่มที่เราอยู่ถ้าคิดเป็น % คือ ถ้า 10 คน จะได้ค่าตอบแทนพิเศษ 1.5 คน หรือเท่ากับ 2 คน ค่ะ...เพราะคนในกลุ่มเขาจะนำไปคิดโควต้าด้วยค่ะ ได้จำนวนคนที่จะได้ค่าตอบแทนพิเศษ 15 % จากจำนวนคนภายในกลุ่มค่ะ...ไม่เกี่ยวกับเงินเดือนตันหรอกค่ะ...

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

พอดีผมมีปัญหาอยากรบกวนสอบถามอาจารย์หน่อย คือ ผมเป็นพนักงานราชการและในปีที่ผ่านมาได้รับเงินเดือน 10520 บาทและ

ได้รับเงินขั้นพิเศษอีก 310 บาท รวม 10830 บาท ประมาณนี้ แต่มาปีนี้ ผมได้ผ่านการประเมินปกติ ได้รับเงินเดือน 11050 บาท แต่ไม่ได้ขั้นพิเศษ ก็รับเงินเดือน 11050 บาท ผมก็เลยสงสัยว่าแล้วเงินขั้นพิเศษในปีที่ผ่านผมถูกตัดไปให้คนอื่นหรือเปล่าและเงินขั้นพิเศษที่ได้รับนั้นจะไม่นำมาคิดเมื่อไม่ได้ขั้นพิเศษหรือเปล่า

ตอบ...หมายเลข 13...

  • สำหรับการคิดเงินค่าตอบแทนพิเศษ นั้น ในส่วนของพนักงานราชการจะได้เฉพาะปีงบประมาณนั้นค่ะ
  • พอปีงบประมาณใหม่ ถ้าได้ก็จะมีคำสั่งได้
  • แต่ถ้าไม่ได้ ค่าตอบพิเศษนั้น ในปีงบประมาณใหม่ก็จะไม่มีคำสั่งให้ได้รับค่ะ
  • ค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานราชการนั้น จะได้เฉพาะผลงานในปีงบประมาณนั้น ๆ คือ 1 ปีงบประมาณค่ะ
  • ค่าตอบแทนพิเศษ ของพนักงานราชการจะไม่นำมาคิดเป็นฐานเงินค่าตอบแทน เหมือนกับของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำนะค่ะ
  • สาเหตุเป็นเพราะได้ตามผลงานในปีงบประมาณค่ะ...
  • ค่าตอบแทนพิเศษ จะคิดโควต้าจำนวน 15 % ของกลุ่มงานที่เหมือนกัน เช่น มีจำนวนคนของกลุ่มงานบริหารทั่วไป เพียงพอที่จะคิด 15 % คือ มีคน 100 คน จะได้โควต้าค่าตอบแทนพิเศษ = 15 คน ค่ะ...
  • ไม่เรียกว่า...เป็นการนำค่าตอบแทนพิเศษของคุณซึ่งไม่ได้รับในปีนี้ไปให้คนอื่นหรอกค่ะ...
  • เพราะจะเป็นไปตามที่พี่แจ้งไว้ตามข้างต้นค่ะ...
มุมหนึ่งของลูกจ้างชั่วคราว

ขอเรียนถามท่านอาจารย์ดิฉันอึดอัดใจมาก เอาอะไรเป็นบรรทัดฐานในการบรรจุเป็นพนักงานราชการ ดิฉันทำงานมา 14 ปีแล้วยังไม่ได้เป็นอะไร เงินเดือนก็ไม่ขึ้นกับเขาเท่าเก่าตลอด แบบนี้จะเอากำลังใจท่ไหนทำงาน ค่าครอลชีพก็เพิ่มขึ้น เมื่อไหร่ค่ะจะบรรจุพนักงานราชการอีกดิฉันรอด้วยความหวังว่าสักวันหนึ่งฟ้าดินคงจะเห็นใจบ้างไม่มากก็น้อย คนมาทีหลังบรรจุๆๆเอา ใช่ว่าเราทำงานแย่นะ ประเมินมาเราได้คะแนนต้นๆ ประเมินเพื่อให้เราได้อยู่ต่อหรือไม่ได้ทำงานต่อ ของความเห็นใจให้ความกระจ่างแก่ดิฉันและคนอีกหลายๆคนด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอเรียนถาม ลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา เงินเดือนเต็มขั้นเท่าไหร่ค่ะ บำเหน็จบำนาญเหมือนข้าราชการทั่วไปไหมค่ะ ลูกเล่าเรียนเบิกได้ไหมค่ะ สวัสดิการต่างๆเหมือนกันไหมค่ะ

 

ตอบ...หมายเลข...2329555...

  • การบรรจุเป็นพนักงานราชการโดยการสอบนั้น เป็นไปตามระเบียบของการเลือกพนักงานราชการค่ะ...ขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนราชการค่ะ...ว่าเขาจะใช้ข้อสอบ หรือหลักเกณฑ์ใดมาคัดเลือกคนเข้าเป็นพนักงานราชการค่ะ เช่นเดียวกับการสอบเป็นข้าราชการนั้นแหล่ะค่ะ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน...เราจะไม่เข้าข้างตัวเรานะค่ะ ว่าเราจะต้องได้ แต่เรามีหน้าที่ต้องสอบให้ผ่านให้ได้ค่ะ นี่คือ กติกา กฎเกณฑ์ หรือระเบียบที่รัฐได้วางแนวทางไว้ค่ะ...หน้าที่ของเรา คือ ต้องสอบผ่านให้ได้ จึงจะเป็นพนักงานราชการได้...และก็ต้องขึ้นกับส่วนราชการของคุณเองด้วยค่ะ เขาต้องตอบให้คนในองค์กรให้ทราบให้ได้ว่าเพราะอะไร...

 

ตอบ...หมายเลข...2329563...

  • ขอให้คุณศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...บำเหน็จรายเดือนนะค่ะเป็นชื่อเรียกของลูกจ้างประจำค่ะ สำหรับข้าราชการ  เรียกว่า "บำนาญ" ค่ะ...สวัสดิการอื่น ๆ ยังไม่มีนะค่ะ...เป็นเพียง "ร่าง" ถ้ามีเพิ่มเติมจะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704
  • (ต้องคลิกในรายละเอียด แล้ว ค่อย ๆ ศึกษาไปนะค่ะ...
  • ถ้าสงสัยก็สอบถามมาใหม่ได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

อาจารย์ครับก่อนอื่นต้องขอบคุณอาจารย์และทางทีมงานที่มีเว็บไซต์ดีๆ ให้ได้อ่าน

ยอมรับเลยครับว่าอ่านแล้วทำให้รู้อะไรมากขึ้น ผมพึ่งจะสมัครสอบกรมป่าไม้ปีนี้ครับ ตำแหน่งพนักงานข้าราชการ สายงานบริหารงานทั่วไป จากที่ได้อ่านมาวิวัฒนาการระบบราชการไทยมีมาตั้ง 80 ปี และพึ่งจะมี กบข.มาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ส่วนพนักงานราชการเพิ่งมีมาไม่กี่ปีนี้เอง เพื่อต้องการลดรายจ่ายของภาครัฐ ผมคิดว่าพนักงานราชการของรัฐคงต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีหละครับ ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ทำงานเพื่อผืนแผ่นดินไทยนี้ครับ ขนาดราชการมีมาตั้งนานแล้วยังพึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ได้ไม่นานมานี้เอง

สุดท้ายครับอยากให้อาจารย์ให้ข้อคิดว่าผมควรสอบตำแหน่งนี้ดีหรือไม่ครับ หรือว่าควรจะหางานเอกชนทำดีกว่าครับ เพราะเริ่มไม่มีกำลังใจอ่านหนังสือสอบแล้วครับ จากหลายๆ ความคิดเห็นที่ได้อ่านมา

ตอบ...คุณเสน่ห์

  • คุณจะสอบพนักงานราชการใช่หรือไม่ เพราะที่พิมพ์มานั้น ผู้เขียนไม่เข้าใจค่ะ จะข้าราชการหรือพนักงานราชการค่ะ...แต่น่าจะเป็นพนักงานราชการมากกว่าเพราะมีกลุ่มงานบริหารงานทั่วไป...
  • การที่จะมีสิทธิประโยชน์นั้น ขึ้นอยู่กับระเบียบของพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 มากกว่าค่ะ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนราชการแต่ละส่วนราชการต้องไปจัดทำเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ คล้าย ๆ กับ กบข.ของข้าราชการนั่นแหล่ะค่ะ แต่การที่ส่วนราชการจะทำเรื่องกองทุนเลี้ยงชีพให้กับพนักงานราชการได้นั้น พนักงานราชการของแต่ละส่วนราชการต้องมีจำนวนที่มาก ส่วนราชการจึงจะทำได้ หรือไม่ก็ คพร.เป็นผู้ดำเนินการให้ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มทำให้
  • แต่ก็มีที่ มรพส. ที่ผู้เขียนทำงานอยู่ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานราชการใน ม. ทุกคน จำนวน 29 คน ค่ะ คือ เกษียณไปแล้ว พวกเขาจะได้รับเงิน คล้าย ๆ กับ กบข. นั่นเองค่ะ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่ที่ คพร. หรือส่วนราชการแต่ละแห่งค่ะว่าจะทำให้พนักงานราชการทั้งประเทศหรือไม่
  • ผู้เขียนไม่สามารถออกความคิดให้ท่านได้หรอกค่ะว่า จะทำงานเป็นพนักงานราชการหรือเอกชนดี เพราะที่ผู้เขียน ๆ มานั้น เป็นเรื่องจริงที่บางคนก็ไม่ค่อยทราบเรื่องเป็นมาอย่างไร แต่ถ้าลองสอบดูก็ไม่เห็นแปลก เป็นการฝึกความรู้ของตนเองไงค่ะ ดีกว่าไม่มีงานทำ...แต่ถ้างานไหนมั่นคงก็ทำที่หน่วยงานนั้นนะคะ อยู่ที่ตัวคุณจะตัดสินใจ จนกว่าทุกอย่างที่รัฐจะทำให้มันมั่นคงยิ่งขึ้นค่ะ...
  • การทำงานไม่ว่าหน่วยงานไหนก็มีปัญหา อุปสรรค ความไม่มั่นคง ความมั่นคง ทั้งนั้นแหล่ะค่ะ ค่อย ๆ พินิจ พิเคราะห์ดูว่าเราจะทำงานของหน่วยงานไหนค่ะ
  • พนักงานราชการบางหน่วยงานก็ใช่จะเลวร้าย ถ้าส่วนราชการนั้น มีความเข้าใจในความเป็นพนักงานราชการ เข้าใจในระบบของพนักงานราชการ และสามารถอธิบายให้พนักงานราชการเข้าใจได้ แต่เท่าที่ผ่านมา ปัญหาที่เกิดส่วนราชการไม่ค่อยอธิบายหรือชี้แจงให้พนักงานราชการทราบถึงต้นสายปลายเหตุ มันจึงเป็นเรื่องวุ่น ๆ กันไปพักหนึ่งไงค่ะ...
  • ลองตัดสินใจดูนะคะ...ขอบคุณค่ะ

การจ่ายเงินค่าตอบแทนรายเดือนของพนักงานราชการ ในหน่วยงานผมจ่ายเป็นเงินสดครับ คือพอจ่ายเป็นเงินสด แล้วทำให้ผมและพนักงานราชการในหน่วยงาน ไปติดต่อทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารไม่ได้ ยกตัวอย่าง อยากขอสินเชื่อธนวัตร กับธนาคารกรุงไทย ก็ทำไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่าเงินเดือนไม่ผ่านบัญชีธนาคาร และยังมีอีกหลายประเด็นที่เราเสียสิทธิตรงนี้ไป ผมขอเรียนถามว่า ทำไมการจ่ายเงินค่าตอบแทนรายเดือน ไม่จ่ายตรงเหมือนกันข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ บ้างหน่วยงานลูกจ้างชั่วคราวก็ยังผ่านบัญชีธนาคาร และหน่วยงานสามารถจ่ายผ่านบัญชีธนาคารให้ได้หรือป่าวครับ

ขอบคุณครับผม

  • ตอบคุณเอกรินทร์
    • ได้ค่ะ อยู่ที่หน่วยงานของคุณจะเลือกปฏิบัติ ถ้าเป็นสมัยก่อน ใช่ค่ะ ที่เจ้าหน้าที่การเงินจะนำเงินสดมาจ่าย แต่มา ณ ปัจจุบัน หลายส่วนราชการ เจ้าหน้าที่การเงินจะเลือกจ่ายเงินให้โดยวิธีนำเงินค่าตอบแทนผ่านให้ทางบัญชีธนาคาร และจะได้ไม่ต้องมารับผิดชอบการจ่ายเงินสด เป็นการสะดวกด้วย
    • สำหรับหน่วยงานของคุณก็ไม่ทราบว่า เจ้าหน้าที่การเงินคิดอย่างไรนะคะ
    • สำหรับการกู้เงินจากธนาคาร สามารถกู้ได้ โดยไปขอให้งานการเจ้าหน้าที่รับรองเงินค่าตอบแทนที่ได้รับในแต่ละเดือน และให้งานการเงินทำหนังสือรับรองว่าเงินค่าตอบแทนปัจจุบันได้รับเท่าไร เมื่อหักคงเหลือแล้วได้รับเท่าไร เป็นการรับรองยอดเงินที่ได้รับในแต่ละเดือนค่ะ (สามารถใช้ในการกู้เงินกับธนาคารได้) สำหรับแบบนี้จะกลายเป็นภาระงานของงานการเงินที่จะต้องมานั่งออกหนังสือรับรองเงินเหลือจ่าย ในแต่ละเดือนให้กับบุคลากรนะคะ (เขาจึงใช้วิธีจ่ายผ่านเงินทางธนาคารฯ แล้วก็มีใบเสร็จรับ - จ่าย เงินให้ในแต่ละเดือนไงค่ะ
    • อีกกรณีหนึ่ง ลองสอบถามที่เจ้าหน้าที่การเงินได้ว่า มีสลีปการรับ - จ่ายเงินให้ในแต่ละเดือนหรือเปล่า
    • ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการค่ะ ว่า จะขอไม่รับเป็นเงินสด ขอให้ผ่านทางบัญชีของธนาคารให้ค่ะ ลองดูนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท