เจตนารมณ์ - ที่มาของพนักงานราชการ


เจตนารมณ์ - ที่มาของพนักงานราชการ

เจตนารมณ์ - ที่มาของพนักงานราชการ"

วันนี้ ผู้เขียนได้เข้าไปในเว็บของสำนักงาน ก.พ. และได้อ่านเกี่ยวกับ เจตนารมณ์ - ที่มาของพนักงานราชการ ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์ต่อน้อง ๆ พนักงานราชการเป็นอย่างมาก จึงนำมาให้ศึกษารายละเอียดกันตามไฟล์ ด้านล่างนี้...

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/629/793/original_employee999.pdf?1286725434

หมายเลขบันทึก: 401961เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2010 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียนถามอาจารย์

ภารกิจหลัก หมายถึง งานตามกฎหมาย หรืองานกำหนดนโยบาย หรืองานที่ทำเพื่อความคงอยู่ขององค์กรตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณร้อยละ 90–100 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา

ภารกิจรอง หมายถึง งานที่ทำเพื่อสนับสนุนภารกิจหลัก หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณร้อยละ 50–75 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา

ภารกิจสนับสนุน หมายถึง งานด้านธุรการและบริการผู้ปฏิบัติควรเป็น

ข้าราชการประมาณร้อยละ 25–50 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา

ในการปรับปรุงที่มีขึ้นมาข่างต้นนี้อย่างกรมปศุสัตว์ผมมีข้าราชการ4000กว่าคนและพนักงานราชการ4000กว่าคนในกรณีภารกิจรองมีพนักงานได้ร้อยละ50ของข้าราชการอย่างนี้พนักงานราชการต้องมีน้อยกว่าข้าราชการถ้าใน2556โอกาสพนักงานราชการจะโดนปรับลงหรือเปล่าครับเพราะเขาต้องการให้พนักงานราชการมีน้อยกว่าข้าราชการ

ในกรณีสัญญาปีต่อปีหรือสี่ปีต่อรวดเดียวใครเป็นคนกำหนด กพ หรือหน่วยงานทำไมไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน...มีผลหลายอย่างแรกคือบัตรประจำตัวไม่ต่างอะไรกับลูกจ้างชั่วคราวเลยหรือเขาต้องการเลิกจ้างเราได้ตลอดเวลา...

และกรณีมีคนลาออกกรมผมเขาปล่อยให้ตำแหน่งว่างไปเลยสาเหตุน่าจะเป็นผลดีไหมครับ

ตอบ...คุณ amnat...

Ico32 สำหรับจำนวนพนักงานราชการกับข้าราชการนั้น พี่ไม่ทราบตั้งแต่เรื่องเดิม ๆ ของกรมปศุสัตว์นะค่ะว่า ทำไมมีอัตราพนักงานราชการมากเท่ากับข้าราชการ บอกเหตุที่ได้มาได้ไหมค่ะ ว่าเพราะอะไร...ความจริงในขั้นแรกส่วนราชการต้องจัดทำกรอบอัตรากำลังก่อน...คือ ต้องระบุที่มาให้ได้ว่าได้จำนวนกรอบอัตราพนักงานราชการมาจากสาเหตุใด ที่ ม. ของพี่จะขอกรอบอัตราพนักงานราชการได้ เนื่องมาจากทดแทนลูกจ้างชั่วคราวที่มีอยู่ และต่อมาก็มาจากจำนวนลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุในแต่ละปี ซึ่ง ม. ของพี่ก็ทำกรอบอัตรากำลังเท่ากับจำนวนลูกจ้างประจำที่ ม.ของพี่มีอยู่ เช่น มีลูกจ้างประจำ = 45 คน  พี่ก็จะจัดทำกรอบอัตรากำลังของพี่ไว้ เพียง 45 คน ซึ่งในแต่ละปีที่ลูกจ้างประจำเกษียณ เช่น ปีที่แล้วเกษียณ = 4 คน ม. ก็จะได้พนักงานราชการ = 4 คน ถ้าปีนี้ไม่มีลูกจ้างประจำเกษียณ ปีนี้ ม. ก็จะไม่ได้บรรจุเป็นพนักงานราชการค่ะ...แต่เมื่อปีที่แล้วรู้สึกว่ามีปัญหาเฉพาะ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่ไม่ได้รับการจัดสรรอัตราจาก ครม. เขาจะให้มาเป็นเงินอุดหนุนก้อนหนึ่ง แล้วให้มหาวิทยาลัยมาบริหารจัดการกันเอง โดยมหาวิทยาลัยจะจัดจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเองค่ะ จำนวนเท่าใด เป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยค่ะ...พี่ถึงบอกว่า ถ้ารัฐจะเลิกจ้าง ต้องรู้ที่มาของการขอกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการก่อน...ถ้ารู้ที่มา ก็จะทำให้ทราบได้ว่า กรอบอัตรากำลังมีถึงปี พ.ศ.ใด...แล้วกรอบมาจากเรื่องอะไร...เหตุที่ถาม ถ้าไม่ได้เป็นอย่างที่พี่ว่า ครม. มีมติให้กรมปศุสัตว์เป็นกรอบพนักงานราชการเลยหรือไม่...ถ้ามี มีกำหนดถึงเมื่อไหร่...เพราะพี่ไม่สามารถไปทราบข้อมูลของกรมคุณได้ค่ะ...แต่สำหรับของพี่ กรอบอัตรากำลังพนักงานราชการชัดเจนไงค่ะ...น้อง ๆ พนักงานราชการที่ ม. ก็จะมีการจ้างเป็นปกติ...(ยกเว้นพี่ไม่ทำกรอบอัตรากำลังให้ คพร. เพื่อนำเข้า ครม.ค่ะ)...ซึ่ง คพร.จะมีหนังสือให้ส่วนราชการจัดทำทุก 4 ปี ค่ะ...ถ้าพี่ไม่ทำก็ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่ไงค่ะ...สำหรับอัตรากำลังใหม่ที่รัฐไม่จัดสรรให้ ม. ก็ถือว่าเป็นมติของ ครม. ให้เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมาทดแทนค่ะ...

สาเหตุที่ต้องมีกรอบ คือ ต้องได้รับอนุมัติจากมติ ครม. ก่อน คือ มีมติเห็นชอบจำนวนอัตราของพนักงานราชการก่อน  ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ จึงจะนำกรอบที่ คพร.ได้รับอนุมัติจากมติ ครม. ไปดำเนินการขอเป็นงบประมาณ หมวดงบบุคลากร (เงินเดือน,ค่าจ้าง,ค่าตอบแทน) เพื่อนำมาจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับพนักงานราชการไงค่ะ...เพราะถ้าไม่มีกรอบอัตรากำลัง สำนักงบประมาณจะไม่สามารถตั้งงบประมาณหมวดงบบุคลากรให้กับข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการได้ค่ะ...

สำหรับว่า ปี 2556 จะเป็นอย่างไร คุณลองโทรถามงานการเจ้าหน้าที่ก็ได้ค่ะว่า กรอบอัตรากำลังที่ทำไว้ ณ ปัจจุบัน ทำไว้ถึงปีใดที่ คพร.อนุมัติมาให้ค่ะ (เพราะทำทุก ๆ 4 ปี ค่ะ)...แต่ก็ต้องรู้ต้นเหตุที่ขอกรอบอัตรากำลังด้วยนะค่ะ...

สำหรับการต่อสัญญา ก็คือ 4 ปี เหตุที่ทำปีต่อปี บางส่วนราชการ ต้องการทำเพื่อว่า พนักงานราชการไม่ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของส่วนราชการไงค่ะ...แต่บางส่วนราชการก็ทำสัญญา 4 ปี ของที่ ม. ก็ทำ 4 ปี ค่ะ ถ้าศึกษาระเบียบกันจริง ๆ แล้ว 4 ปี ค่ะ...ให้คุณศึกษาระเบียบดี ๆ ถ้าไม่มีช่องโหว่ว่าให้ทำสัญญาปีต่อปี  เราก็สามารถแจ้งให้หัวหน้าส่วนราชการเราทราบได้ค่ะ ว่าระเบียบการทำสัญญาจ้างมีไว้ 4 ปี ค่ะ...บางครั้ง เจ้าหน้าที่อาจศึกษาไม่ละเอียดดี จึงคิดว่า จ้างเราเหมือนการจ้างลูกจ้างชั่วคราวไงค่ะ...

ส่วนการทำบัตรประจำตัวนั้น ในบล็อกที่พี่เขียนไว้ ก็มีหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้ง สพฐ. มาค่ะว่าให้ดำเนินการทำบัตรประจำพนักงานราชการได้ และใน powerpoint ที่พี่นำมาให้ศึกษา ก็มีเกี่ยวกับเรื่องทำบัตร ฯ นะค่ะ...สามารถทำได้...ไม่ใช่การทำบัตรเหมือนของลูกจ้างชั่วคราวนะค่ะ...(พูดยากนะค่ะ...ถ้าเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ๆ ไม่ศึกษาระเบียบอย่างจริงจัง...จะทำให้การปฏิบัติเหมือนแบบเดิม ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาให้ดีขึ้นค่ะ...พี่ก็ไม่สามารถข้ามหน่วยงานไปบอกเขาได้ค่ะ...เพราะการเป็นข้าราชการเราจะไม่ก้าวก่ายหน่วยงานกันค่ะ...ยกเว้น เขาไม่ทราบและสอบถามมา เราก็จะแจ้งให้ทราบค่ะ...)

การที่พนักงานราชการลาออก แล้วปล่อยให้ว่าง ก็ต้องดูด้วยค่ะว่า กรอบอัตราทำไว้ถึงปีไหน คือ ต้องดูต้นเหตุการได้กรอบอัตรามาก่อนด้วยไงค่ะ...ถ้าเกินกรอบก็ไม่ควรรับสมัครใหม่ แต่ถ้ากรอบอัตรามีไว้ ก็ไม่ควรปล่อยว่างค่ะ ส่วนราชการต้องรีบดำเนินการรับสมัครทันทีค่ะ เพราะกรอบมี + งบประมาณ มีแล้วนี่ค่ะ...

ขออนุญาตินะครับอาจารย์

พนักงานราชการ กับ ลูกจ้างชั่วคราว นี่มันอันเดี่ยวกันใช่ไหมครับ เพราะทั้งสองมีการกำหนดระยะเวลาสัญญาจ้างที่แน่นอน แค่เปลี่ยนชื่อมันให้ดูดีขึ้น เพราะสวัสดิการก็เหมือนกัน ประเมินแบบเดียวกัน

ตอบ...คุณ tom...

  • ไม่ใช่ค่ะ พนักงานราชการ เป็นระบบ ๆ หนึ่งของระบบราชการไทยค่ะ
  • ระบบราชการไทย เดิม มี ระบบข้าราชการ ระบบลูกจ้างประจำ ต่อมา เมื่อ ปี พ.ศ. 2547 จะมีระบบพนักงานราชการ เกิดขึ้น โดยมีสัญญาจ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ 4 ปี ต่อสัญญา 1 ครั้ง และในสถาบันอุดมศึกษา จะมี ระบบพนักงานมหาวิทยาลัย เข้ามาแทนกรอบอัตราของข้าราชการ คือ ต่อสัญญาเช่นเดียวกัน การต่อสัญญาในระบบหลังนี้ ขึ้นอยู่กับอำนาจของสภามหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดระเบียบค่ะ...
  • อย่างไร ก็ยังยืนยันว่า พนักงานราชการ ไม่ใช่ลูกจ้างชั่วคราวค่ะ
  • ไม่ใช่เปลี่ยนชื่อให้ดูดี ก็ลองศึกษาระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 สิค่ะ
  • เพราะปัจจุบันการบริหารจัดการภาครัฐจะนำเอาระบบสัญญาจ้างเข้ามาใช้กับบุคลากรภาครัฐค่ะ เนื่องจาก การเป็นข้าราชการ อายุยาว ถึง 60 ปี ไม่มีสัญญาจ้าง จึงทำให้ข้าราชการไม่มีการพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ในระบบใหม่จึงต้องมีการนำสัญญาจ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าพนักงานราชการไม่พัฒนาตนเอง ส่วนราชการก็เลิกจ้าง แต่ถ้ามีการพัฒนา ส่วนราชการก็ประเมินให้ต่อสัญญาจ้างได้
  • แต่ข้าราชการ เป็นระบบที่ส่วนราชการเอาออกจากราชการยาก ถ้าไม่มีการพัฒนา เพราะถ้าจะออกจากราชการได้ ต้องมีความผิดทางวินัยจึงจะออกจากราชการได้ค่ะ
  • พนักงานราชการมีเงินค่าตอบแทนที่เลื่อนขึ้นได้ แต่ลูกจ้างชั่วคราว จ้างด้วยสัญญาจ้าง ปีต่อปี ไม่มีการเลื่อนขั้นค่าจ้างเช่นเดียวกับพนักงานราชการ ให้ดูสิทธิ + สวัสดิการของพนักงานราชการนะค่ะ ซึ่งแตกต่างกับลูกจ้างชั่วคราวค่ะ แล้วแบบนี้จะเรียกว่า เหมือนกันได้อย่างไรค่ะ
  • ต้องเข้าใจว่าประเทศไทย มีระบบราชการนะค่ะ ระบบ ก็คือ ระบบ จะให้เป็นระบบเดียวกันไม่ได้หรอกค่ะ นี่คือ การบริหารงานบุคคลของภาครัฐค่ะ...
  • ลองศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussaya14/407761
  • ปัจจุบัน รัฐพยายามนำระบบสัญญาจ้างเข้ามามีบทบาทในการทำงานของภาครัฐค่ะ
  • และพยายามจะปรับฐานเงินเดือนการบรรจุให้เทียบเคียงกับภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจให้อยู่ค่ะ จึงต้องนำระบบสัญญาจ้างเข้ามามีบทบาทในการทำงานภาครัฐ เช่นเดียวกับบริษัท ก็มีการทำสัญญาจ้างค่ะ...

ตอบ...คุณ tom... (เพิ่มเติม)...

แบบอินทรธนูแบบพิเศษ กับแบบทั่วไป แล้วผู้ใส่แตกต่างกันตรงไหน เกี่ยวกับขั้นเงินเดือนไหมค่ะ หรือใส่ในโอกาสไหน เวลาใด กระทรวงศึกษาธิการ

ตอบ...หมายเลข 6...

  • เครื่องแบบพิธีการตามระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 กำหนดเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการเพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ ซึ่งประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552" ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ ตามประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเดิมเป็นชุดสากล เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการให้ใช้เครื่องแบบพิธีการในลักษณะอย่างเดียวกันกับลูกจ้างประจำ แบบอินทรธนูประดับเครื่องแบบพิธีการพนักงานราชการ มี 2 แบบ ได้แก่ 1. แบบพิเศษ (มีดอกพิกุล 3 ดอก) 2. แบบทั่วไป (มีดอกพิกุล 2 ดอก)...
  • ปัจจุบันพนักงานราชการจะเป็นแบบทั่วไปค่ะ...แตกต่างกันตรงดอกพิกุลค่ะ มี 2 ดอก สำหรับแบบทั่วไป มี 3 ดอก สำหรับแบบพิเศษค่ะ...
  • ใส่ในโอกาสในงานพิธีการ เช่น งานรับพระราชทานปริญญาบัตร งานรับเสด็จ การเข้าเฝ้า ฯ  งานมงคลสมรส (สำหรับชายเป็นผู้ใส่)... งานพระราชทานเพลิงศพ เป็นต้นค่ะ...ลองศึกษาในบล็อกด้านล่างนี้ก็ได้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas/299311
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท