การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW)


การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW)

การทำงานเป็นทีม (Teamwork – TW)

การทำงานเป็นทีม เป็นสมรรถตัวที่ 5 ของสมรรถนะหลัก ความหมายของการทำงานเป็นทีม หมายถึง ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของทีม หน่วยงานหรือส่วนราชการ โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิก ไม่จำเป็นต้องมีฐานะหัวหน้าทีม รวมทั้งความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม

สมรรถนะการทำงานเป็นทีม หมายถึง ความตั้งใจอย่างแท้จริง (Genuine Intention) ที่จะร่วมมือทำงานกับผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของทีมและทำงานร่วมกัน

คำว่า “ทีม" อาจไม่จำเป็นต้องเป็นทีมที่ตั้งอย่างเป็นทางการ แต่เป็นบุคคลที่มีระดับตำแหน่งแตกต่างกันและมาจากส่วนงานต่าง ๆ ที่มาทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือทำงานโครงการด้วยกัน

บทบาทของการทำงานเป็นทีมไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าทีมหรือผู้ที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ แม้แต่คนที่มีอำนาจอย่างเป็นทางการแต่ร่วมมือทำงาน หรือทำหน้าที่เป็นผู้ประสานทีม (Group Facilitator) ก็แสดงสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารที่เก่ง ๆ จะแสดงทั้งสมรรถนะการทำงานเป็นทีมแลสภาวะผู้นำ

การทำงานเป็นทีม อาจเรียกในชื่ออื่น ๆ ได้แก่ การบริหารจัดการกลุ่ม (Group Management) การสนับสนุนกลุ่ม (Group Facilitation) การแก้ไขข้อขัดแย้ง (Conflict Resolution) การจัดการสาขา (Managing Banch Climate) การจูงใจผู้อื่น (Motivating Others)

มิติ (Dimension) ที่ใช้ในการพิจารณามี 3 ด้านด้วยกัน คือ

  1. ระดับของการช่วยเหลือสนับสนุนทีม

  2. ขนาดของทีมที่เกี่ยวข้อง และ

  3. ระดับของความพยายามที่จะช่วยเหลือสนับสนุนทีม ซึ่งในโมเดลสมรรถนะราชการพลเรือนจะเน้นที่ระดับของการช่วยเหลือสนับสนุนทีมสำหรับกรณีที่จำเป็น ส่วนราชการอาจใช้มิติอื่น ๆ ช่วนในการแยกความแตกต่างระหว่างระดับที่แตกต่างกัน

พฤติกรรมที่แสดงสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ได้แก่

  1. แสดงความคิดที่ช่วยกำหนดแผนงานหรือตัดสินใจ

  2. คอยแจ้งข่าวสารให้ผู้อื่นทราบ แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์

  3. แสดงความคาดหวังทางบวกจากผู้อื่น

  4. ชื่นชมความสำเร็จของผู้อื่นในที่สาธารณะ

  5. สนับสนุนให้อำนาจผู้อื่นทำให้เขารู้สึกว่ามีความสำคัญ

สมรรถนะการทำงานเป็นทีมเกี่ยวข้องกับสมรรถนะอื่น ๆ เช่น ความเข้าใจผู้อื่น ศิลปะการสื่อสารจูงใจ ความ

มั่นใจในตนเอง การพัฒนาผู้อื่น เป็นต้น

ระดับที่ 0 ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้หรือแสดงอย่างไม่ชัดเจน

ระดับที่ 0 หมายถึง การที่ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ได้แสดงพฤติกรรมบ่งชี้ของการทำงานเป็นทีมเลย หรือว่าแสดงบ้างแต่ไม่ชัดเจนพอที่จะทำให้ผู้ประเมินรับรู้ได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่มีการทำงานเป็นทีม

ระดับที่ 1 ทำหน้าที่ของตนในทีมให้สำเร็จ เช่น

  • สนับสนุนการตัดสินใจของทีมและทำงานในส่วนที่ตนได้รับมอบหมาย

  • รายงานให้สมาชิกทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานของทีม

  • ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของทีม

ระดับที่ 1 เป็นระดับพื้นฐานของการทำงานเป็นทีมในฐานะของผู้ร่วมทีม ซึ่งต้องมีการแบ่ง

หน้าที่รับผิดชอบกันในระหว่างสมาชิก เพื่อให้เป้าหมายการทำงานของทีมประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นแล้ว ในการวางแผนการทำงานของทีม สมาชิกของทีมถูกคาดหวังว่าจะช่วยให้ความคิดเห็น ให้ข้อมูลและสนับสนุนการตัดสินใจของทีมด้วย

ในบางกรณีผู้ดำรงตำแหน่งอาจไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของทีม จึงไม่ยอมทำงานในส่วนที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะทำให้ประเมินไม่ผ่านสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ระดับที่ 1 ทั้งนี้ เพราะการทำงานเป็นทีมจะมีช่วงของการวางแผนและตัดสินใจแล้ว ในช่วงของการดำเนินการตามแผนงาน สมาชิกทุกคนต้องให้ร่วมมือการดำเนินงานเพื่อให้แผนการทำงานประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของทีมก็ตาม

ระดับที่ 2 แสดงสมรรถนะระดับที่ 1 และให้ความร่วมมือในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน เช่น

  • สร้างสัมพันธ์ เข้ากับผู้อื่นในกลุ่มได้ดี

  • ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในทีมด้วยดี

  • กล่าวถึงเพื่อนร่วมงานในเชิงสร้างสรรค์และแสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพของเพื่อนร่วมทีม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ระดับที่ 2 เป็นระดับที่ยากขึ้นจากระดับที่ 1 เพราะในระดับที่ 1 เน้นที่ตัวของผู้ดำรงตำแหน่ง

ในการทำหน้าที่ของตนในทีม แต่ในระดับที่ 2 จะขยายขอบเขตของความสัมพันธ์ออกไปยังเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ โดยผู้ดำรงตำแหน่งให้ความร่วมมือในการทำงานกับเพื่อนร่วมงานด้วยดี ตลอดจนเชื่อมั่นในศักยภาพของเพื่อนร่วมทีมและกล่าวถึงในเชิงสร้างสรรค์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ระดับที่ 3 แสดงสมรรถนะระดับที่ 2 และประสานความร่วมมือของสมาชิกในทีม เช่น

  • รับฟังความเห็นของสมาชิกในทีมและเต็มใจเรียนรู้จากผู้อื่น

  • ตัดสินใจหรือวางแผนงานร่วมกันในทีมจากความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม

  • ประสานและส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีในทีม เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระดับที่ 3 เป็นระดับที่ยากกว่าระดับที่ 2 ตรงที่ระดับที่ 2 เป็นระดับความสัมพันธ์กับเพื่อน

ร่วมงาน แต่ในระดับที่ 3 เป็นระดับของการประสานความร่วมมือของสมาชิกในทีม ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นระดับเริ่มต้นของการทำงานผ่านผู้อื่น ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของบรรดาหัวหน้าทีมงานนั่นเอง แต่ในที่นี้ผู้ดำรงตำแหน่งไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าทีมอย่างเป็นทางการ ตัวอย่าง ต้องการประสานความร่วมมือของสมาชิกในทีม เช่น การตัดสินใจวางแผนร่วมกันกับทีม รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เต็มใจที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและประสานส่วนเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในทีม เป็นต้น

ระดับที่ 4 แสดงสมรรถนะระดับที่ 3 และสนับสนุน ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีม เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ เช่น

  • ยกย่องและให้กำลังใจเพื่อนร่วมทีมอย่างจริงใจ

  • ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เพื่อนร่วมทีม แม้ไม่มีการร้องขอ

  • รักษามิตรภาพอันดีกับเพื่อนร่วมทีม เพื่อช่วยเหลือกันในวาระต่าง ๆ ให้งานสำเร็จ

ระดับที่ 4 เป็นระดับที่ไม่ใช่เพียงแค่ประสานความร่วมมือของสมาชิกในทีมเท่านั้น แต่เป็น

การสนับสนุนและเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ แม้ว่าจะไม่มีการร้องขอก็ตาม (แต่สถานการณ์มีความจำเป็นและการช่วยเหลือนั้นมีความสำคัญที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ) ให้การยอมรับในความสำเร็จของเพื่อนร่วมงาน ความสำเร็จของทีมงาน

ระดับที่ 5 แสดงสมรรถนะระดับที่ 4 และสามารถนำทีมให้ปฏิบัติภารกิจให้ได้ผลสำเร็จ

  • เสริมสร้างความสามัคคีในทีม โดยไม่คำนึงความชอบหรือไม่ชอบส่วนตน

  • คลี่คลาย หรือแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทีม

  • ประสานสัมพันธ์ สร้างขวัญกำลังใจของทีมเพื่อปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการให้บรรลุผล

การทำงานเป็นทีมในระดับที่ 5 เป็นระดับสูงสุด ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งที่แสดงสมรรถนะในระดับนี้จะมีลักษณะเป็นผู้นำทีม ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ใช่ผู้นำทีมอย่างเป็นทางการ คือ การสร้างความสามัคคี สร้างขวัญ กำลังใจในทีมงาน ในกรณีที่มีความขัดแย้งในทีม ก็จัดการแก้ไขข้อขัดแย้งนั้นโดยไม่หลีกเลี่ยงปัญหา

สรุป สมรรถนะอาจถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน แต่ในความคิดของผู้เขียนมีความคิดว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยก่อนซึ่งเป็นเรื่องของการทำงานในภาคราชการ...เราก็ทำกันมาอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนเช่นปัจจุบัน ในสมัยก่อนไม่มีคำว่า “สมรรถนะ” แต่มีความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ความสมานสามัคคีในการทำงาน แต่เมื่อมา ณ ปัจจุบัน มีคำว่า “สมรรถนะ” ทำให้เกิดความเป็นรูปธรรมและความชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะในแต่ละสมรรถนะจะมีระดับเพื่อวัดสมรรถนะซึ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคล นั่นเอง...

หมายเลขบันทึก: 439292เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

พยายามที่จะเม้นท์  แต่มีปัญหาช่องเม้นท์ค่ะ

สวัสดีค่ะ...พี่คิม...Ico48...

  • ช่วงนี้ก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรเหมือนกันค่ะ น้องได้แจ้งเข้าไปในกระทู้ของคุณมะปรางเปรี้ยวแล้วเมื่อเช้านี้ค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะ

      มาเรียนรู้เรื่อง การทำงานเป็นทีมค่ะ

พฤติกรรมที่แสดงสมรรถนะการทำงานเป็นทีม ได้แก่

  1. แสดงความคิดที่ช่วยกำหนดแผนงานหรือตัดสินใจ

  2. คอยแจ้งข่าวสารให้ผู้อื่นทราบ แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์

  3. แสดงความคาดหวังทางบวกจากผู้อื่น

  4. ชื่นชมความสำเร็จของผู้อื่นในที่สาธารณะ

  5. สนับสนุนให้อำนาจผู้อื่นทำให้เขารู้สึกว่ามีความสำคัญ

               สมรรถนะที่ 3-5 เป็นลักษณะของผู้นำหรือหัวหน้าทีม

                                            ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ...พี่ KRUDALA...Ico48...

  • ปัจจุบันรัฐมุ่งหวังให้แต่ละส่วนราชการลดอำนาจค่ะ เพราะอำนาจมีไปตามโครงสร้างอยู่แล้วค่ะ และมุ่งเน้นผลการทำงานมากกว่าค่ะ ซึ่งไม่เหมือนสมัยก่อน...ปัจจุบันจึงเป็นลักษณะของการทำงานเป็นทีมค่ะ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนราชการค่ะ ที่จะเกิดความเข้าใจในการทำงานในยุคปัจจุบันมากน้อยเพียงใดค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม...
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ ท่าน ผอ.บวร...Ico24...
  • สวัสดีครับ
  • ทำงานด้วยหัวใจมุ่งมั่น จะได้ทุกสมรรถนะครับ
  • สมรรถนะมีไว้ให้หัวหน้าประเมิน แต่งานจะเดินได้ ต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้รักการทำงาน ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขครับ 

สวัสดีค่ะ...คุณชำนาญ...Ico48...

  • ถูกต้องเลยค่ะ...การทำงานต้องมาจากใจค่ะ...ทำแล้วมีความสุข สุขที่ได้มาทำงาน สุขที่มีหัวหน้างานที่ดี สุขที่มีเพื่อนร่วมงานที่ดีด้วยค่ะ...
  • ความจริงสมรรถนะ ในสมัยก่อนมันก็มีอยู่ในตัวอยู่แล้วค่ะ เพียงแต่นักคิดรุ่นใหม่พยายามจับมันให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นกระมังค่ะ...
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...ช่วงนี้งานมากจริง ๆ ค่ะ เลยไม่ค่อยได้เขียนบล็อกเท่าไรค่ะ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท