หน้งสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 21 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553 เรื่อง การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ


หน้งสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 21 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553 เรื่อง การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ

 

 

 

 

หน้งสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 21

ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553

เรื่อง การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ                  

                 เนื่องจาก  หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 21 ลงวันที่  16  มิถุนายน  2553  เรื่อง  การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ  แจ้งว่า...ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2553 สำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินการจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร  โดยจำแนกตำแหน่งลูกจ้างประจำเป็น  4  กลุ่มงาน  ได้แก่

                 1.  กลุ่มงานบริการพื้นฐาน

                 2.  กลุ่มงานสนับสนุน

                 3.  กลุ่มงานช่าง

                 4.  กลุ่มงานเทคนิคพิเศษ

รวม  356  สายงาน  รวมทั้งกำหนดระดับชั้นงานและหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งลูกจ้างประจำ และตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.4/60 ลงวันที่  1  เมษายน  2553  ได้จัดตำแหน่งลูกจ้างประจำของทุกส่วนราชการเข้ากลุ่มงานและระดับชั้นงานตามระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำดังกล่าว  โดยให้มีผลใช้บังคับ  ตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  2553  เป็นต้นไป  นั้น

                 เพื่อให้ส่วนราชการสามารถบริการอัตรากำลังลูกจ้างประจำได้อย่างคล่องตัว  สอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจและความจำเป็นของส่วนราชการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สำนักงาน ก.พ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ ดังนี้

                 1.  การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ

                      1.1  การปรับระดับชั้นงาน

                              ส่วนราชการสามารถปรับระดับชั้นงานของตำแหน่งลูกจ้างประจำจากระดับ 1 เป็นระดับ 2 หรือจากระดับ 2 เป็นระดับ 3 หรือจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ได้ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ สำหรับตำแหน่งที่สูงกว่า ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0428/ว ลงวันที่ 1 เมษายน 2553  ทั้งนี้  ไม่เกินระดับสูงสุดในแต่ละสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2553

                      1.2  การเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงาน

                              ส่วนราชการสามารถเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) ลูกจ้างประจำ ทั้งตำแหน่งภายในกลุ่มงานเดียวกันและต่างกลุ่มงานได้  เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงาน  รวมถึงความจำเป็น  ภารกิจของส่วนราชการและประโยชน์ของทางราชการ  ดังนี้

                              1.2.1 สายงาน (ชื่อตำแหน่ง)  ที่เปลี่ยนใหม่  ต้องเป็นตำแหน่งที่สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดชื่อตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยย่อของตำแหน่งได้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด  ที่  นร 1008/ว 14 ลงวันที่  31  มีนาคม  2553

                             1.2.2  การเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) / กลุ่มงานที่ลูกจ้างประจำครองตำแหน่งอยู่เดิมเป็นสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) ใด กลุ่มงานใดนั้น ผู้ครองตำแหน่งจะต้องมีความรู้ความสามารถและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0428/ว 38 ลงวันที่  1  เมษายน  2553  และส่วนราชการจะต้องมอบหมายให้ผู้ครองตำแหน่งนั้นปฏิบัติงานโดยสอดคล้องตรงตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่  31  มีนาคม  2553 ด้วย

                      1.3  การตัดโอนอัตรากำลัง

                              ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ส่วนราชการสามารถตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำภายในส่วนราชการได้  เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระหน้าที่ของส่วนราชการ

                2.  ให้ส่วนราชการจัดทำรายละเอียดคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งลูกจ้างประจำทุกตำแหน่งของส่วนราชการ ตามแบบ ลปจ. 1 ในสิ่งที่ส่งมาด้วย  โดยจะต้องสอดคล้องกับหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่  31  มีนาคม  2553  เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำของส่วนราชการ  ทั้งนี้  เมื่อส่วนราชการมีการบริหารอัตรากำลังตามข้อ  1  ในตำแหน่งใด  ให้ปรับปรุงคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งนั้นให้สอดคล้องกับสายงาน (ชื่อตำแหน่ง)  และระดับชั้นงานของตำแหน่งนั้น  ด้วย

                3.  ส่วนราชการจะสามารถดำเนินการบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำตามข้อ  1  ได้  เมื่อส่วนราชการได้มีคำสั่งแต่งตั้งลูกจ้างประจำเข้ากลุ่มงานและระดับชั้นงานของตำแหน่งใหม่แล้ว  ซึ่งถือว่าการจัดตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการตามระบบตำแหน่งใหม่  ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่  31  มีนาคม  2553  เสร็จสมบูรณ์  และมีผลตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  2553  เป็นต้นไป

                4.  การแต่งตั้งลูกจ้างประจำให้ดำรงตำแหน่งจากผลของการปรับระดับชั้นงานของตำแหน่ง  การเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง)/กลุ่มงาน  หรือตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำดังกล่าวให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

                5.  เมื่อส่วนราชการได้ดำเนินการปรับงานของตำแหน่ง  เปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง)/กลุ่มงาน  หรือตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำตามข้อ 1 แล้ว  ให้แจ้งผลการดำเนินการพร้อมแบบ ลปจ. 1  ของตำแหน่งเดิมและตำแหน่งที่ปรับใหม่  ให้สำนักงาน         ก.พ.  และกรมบัญชีกลาง  ทราบภายใน  30  วัน

                6.  ในช่วงระหว่างวันที่  1  มีนาคม  2553  ถึงวันก่อนวันที่หนังสือฉบับนี้มีผลใช้บังคับ  ชื่อส่วนราชการได้หยุดการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการปรับระดับชั้นงานของตำแหน่ง  การเปลี่ยนตำแหน่ง  และการตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 4  ลงวันที่  12  กุมภาพันธ์  2553  หากมีกรณีที่สำนักงาน ก.พ. หรือส่วนราชการได้อนุมัติการปรับระดับชั้นงานของตำแหน่ง  การเปลี่ยนตำแหน่งและการตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำตามระบบเดิมไว้แล้ว  แต่ส่วนราชการได้ชะลอการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน  ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จ  และให้มีผลย้อนหลังไปไม่ก่อนวันที่สำนักงาน ก.พ. หรือส่วนราชการอนุมัติการปรับระดับชั้นงานของตำแหน่ง  การเปลี่ยนตำแหน่ง หรือการตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำดังกล่าวได้  โดยการดำเนินการต้องสอดคล้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย  ทั้งนี้  ให้ส่วนราชการแจ้งผลการดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ. และกรมบัญชีกลางทราบ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป...

  

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและ download file ได้

ตามข้างล่างนี้...

หน้งสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 21 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553 เรื่อง การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ

http://gotoknow.org/file/bussayamas/letter_14.pdf

http://gotoknow.org/file/bussayamas/scan0005.pdf

http://gotoknow.org/file/bussayamas/aaa38.pdf 

http://gotoknow.org/file/bussayamas/letter_c4.pdf

 

 

หมายเลขบันทึก: 368534เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (58)

เรียน คุณบุษยมาศ

รบกวนช่วยอธิบายด้วยภาษาที่อ่านและเข้าใจเลยได้ไหมคะ

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3 อยากเปลี่ยนเป็น เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ทำมา 4 ปีแล้ว ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะทำได้หรือไม่

และที่สำคัญ หน่วยงานแม่ คือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไม่เห็นแจ้งอะไรให้ทราบ ตอนนี้ที่วิทยาลัยฯ

ยังไม่รู้เรื่องการแบ่งกลุ่มงานของลูกจ้างประจำใหม่เลยด้วยซ้ำ กลัวตัวเองจะเสียโอกาสไปน่ะค่ะ

ตอบ...หมายเลข 1...

ถ้าตามบล็อกนี้  ส่วนราชการจะต้องให้คุณเขียน Job Description (การบรรยายลักษณะงานที่คุณมีหน้าที่รับผิดชอบ หรือได้ทำอยู่แล้วรายงานให้สำนักงาน ก.พ. ทราบค่ะว่าได้ทำอะไรบ้าง แล้วทำไมถึงอยากเปลี่ยนเป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีละค่ะ  เพราะเป็นพนักงานพิมพ์ ชั้น 3 ก็สามารถเลื่อนค่าจ้างได้อีกไม่ใช้หรือค่ะ...แต่ถ้าจะเปลี่ยนให้คุณศึกษาดูตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีให้ดี ๆ ก่อนนะค่ะ ว่าคุณทำได้หรือไม่...ช่วงนี้หน่วยงานของคุณ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกำลังทำให้คุณอยู่ก็ได้  ลองสอบถามเขาดูนะค่ะ...ว่าทำไปถึงไหนแล้ว...เหตุที่ทำให้เห็นว่าข้าราชการไม่ได้แจ้งให้กับลูกจ้างประจำในสังกัดทราบกันไงค่ะ...ถึงเป็นแบบนี้...ปัจจุบันการทำงานต้องเร็วนะค่ะเพราะเป็นยุคของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แล้ว...ไม่ใช่ทำงานกันแบบเดิม ๆ ค่ะ...ช่วงนี้ก็จะมีอยู่ 2 เรื่อง คือ

1. เรื่องแรก ทางส่วนราชการจะต้องให้คุณปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นระบบตำแหน่งใหม่ก่อนค่ะ  แล้วก็ทำการเลื่อนขั้นค่าจ้างให้ทุกคน สำหรับคนที่เต็มขั้นก็จะได้เลื่อนขั้นในอัตราค่าจ้างใหม่ค่ะ

2. เรื่องที่ 2 ทุกส่วนราชการต้องทำ Job Description อย่างที่บอกในตอนต้นให้ทุกคนได้ทำเพื่อรายงานให้สำนักงาน ก.พ. ทราบค่ะ...

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะที่กรุณามาตอบความเห็น

ที่อยากเปลี่ยนเพราะว่า ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินมี /หัวหน้า ด้วยค่ะ ก็เลยคิดว่าอาจจะมีความหมายในอนาคต

เพราะว่าท่าน ผอ. เคยคิดจะให้เป็นหัวหน้างานการเงินหลายครั้งแล้ว แต่ติดที่ว่าที่วิยาลัยฯ มีอาจารย์ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เยอะ

ถึงจะไม่ค่อยได้ทำอะไรแต่วัยวุฒิก็มากกว่าเราก็ยังต้องให้ท่านอาจารย์เป็นหัวหน้าอยู่น่ะค่ะ แต่คิดว่าถ้าวันนึงไม่มีอาจารย์ท่านใดอยากทำแล้วก็อาจต้องเป็นเรา เพราะเรื่องใหม่ ๆ ที่เข้ามาและต้องไปอบรมตอนนี้ดิฉันก็รับทุกอย่าง (ที่พูดนี่ไม่ได้อยากเป็นหรอกนะคะ แต่เผื่อเอาไว้)

ต้องขอโทษที่มาบ่นอะไรให้คุณบุษยมาศฟังก็ไม่รู้

ขอบพระคุณอีกครั้งนะคะ

หมายเลข 1

ตอบ...หมายเลข 3 ค่ะ...

ค่ะ  ถ้าทำไว้ได้ก็เป็นการดีค่ะ...แต่อย่าลืมเรื่องการพัฒนาตนเองด้วยนะค่ะ...เช่น การเข้ารับการอบรมด้านการเงิน  จบการศึกษาด้านบัญชี...(ถ้า ก.พ. กำหนด) ศึกษาหาความรู้ด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมนะค่ะ...เป็นการพัฒนาตนเองค่ะ เพราะการเป็นหัวหน้า  เราต้องรอบรู้ทุกอย่าง  ยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินด้วย...ไว้ใจใครไม่ได้...ต้องเป็นไปตามระเบียบค่ะ...เพราะไม่งั้นเสมือนนำขาข้างหนึ่งไปแหย่เข้าในตะรางค่ะ (สุภาษิตเคยบอกไว้ค่ะ)...ไม่ได้บอกให้กลัวนะค่ะ...เพราะผู้เขียนเคยทำหน้าที่ด้านการเงินมา 6 ปี ...แต่ก็ไม่ใฝ่ฝันด้านนี้ เลยลาออกมาบรรจุเป็นข้าราชการ...เพราะขนาดเราซื่อสัตย์ สุจริต...แต่คนอื่นชอบมองเราไม่ค่อยจะดี...เพื่อความสบายใจในตัวเอง + ความสุขในอนาคต  ขอลาออกมาเป็นข้าราชการดีกว่า...ถ้าแตะเงินได้จะไม่ขอแตะต้องเงินหลวงเด็ดขาด...ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ค่ะ...แต่ก็ภูมิใจที่เวลา 6 ปี ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า "เราทำได้ ในด้านความซื่อสัตย์ เพราะวัน ๆ จับเงินของหลวงบางวันเป็นล้าน ๆ ยั่วใจไหมล่ะ...แต่อาศัย ใจซื่อ มือสะอาด...พอออกมาได้  โล่งอก ไม่ต้องมารับผิดชอบเรื่องเงิน  ขอทำหน้าที่อื่นดีกว่าค่ะ เงินเดือนก็ได้เท่ากัน ขอรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับคนดีกว่าค่ะ  สบายใจกว่ากันเยอะเลย"...

เรียน คุณบุษยมาศ

ดิฉันปฏิบัติงานการเงินเป็นระยะเวลา 12 ปี ต้องการสอบถามว่า

1. ปัจจุบันตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 2 ขอเปลี่ยนเป็น พนักงานการเงินและบัญชี ได้หรือไม่

2. ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 2 เป็นหมวดฝีมือ , กึ่งฝีมือ ไม่สามารถได้รับค่าตอบแทนบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน รพ.ชุมชน แต่พนักงานการเงินและบัญชี ลักษณะงานเหมือนข้าราชการ ไม่ทราบว่ามีสิทธิได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวหรือไม่

3. วุฒิการศึกษาเดิม ปวช. แต่ปัจจุบันนี้ศึกษาจบ ป.ตรี ไม่ทราบว่าเปลี่ยนได้หรือไม่

4. ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่กลุ่มงานสนับสนุนไม่ทราบว่าจะได้อยู่ระดับใดค่ะ เพราะทำเกี่ยวกับการจัดทำฏีกา เขียนเช็คสั่งจ่าย รับ-จ่ายเงิน ตรวจสอบหลักฐานและใบสำคัญในการส่งเบิก การเบิกสวัสดิการต่าง ๆ ทำเงินเดือนเจ้าหน้าที่ทั้งหมด

**รบกวนช่วยตอบหน่อยนะค่ะ เพราะเจ้าหน้าที่ธุรการ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ จะได้รีบดำเนินการทันนะค่ะ***

ขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณประจวบ...

1. ให้ดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานการเงินและบัญชี + ความก้าวหน้าของตำแหน่งพนักงานการเงินและบัญชีด้วยนะค่ะ...ว่าไปถึงระดับ 4 หรือไม่ และค่าจ้างสูงกว่าหรือไม่...ถ้าไปแล้วเสียผลประโยชน์ก็ไม่ควรไป...แต่ถ้าได้ประโยชน์ก็ควรไป  เพราะถือว่าเราทำหน้าที่ในเรื่องการเงินอยู่แล้ว...ให้สอบถามหัวหน้าต้นสังกัดคุณดูนะค่ะ...

2. สิทธิในเรื่องค่าตอบแทนนั้น  ให้คุณศึกษากฎหมายดูก่อนว่าได้สำหรับข้าราชการอย่างเดียว  หรือมีลูกจ้างประจำด้วยค่ะ...ถ้าได้ ก็ควรเปลี่ยนค่ะ...

3. สำหรับวุฒินั้น  คุณไม่สามารถเรียกร้องเรื่องค่าจ้างให้สูงเท่าวุฒิได้  นอกจากคุณทำเรื่องขอเพิ่มวุฒิเพื่อนำไปลงในทะเบียนประวัติ  (ก.พ. 7) ซึ่งต้องทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาให้ทราบ เพื่อนำไปลงใน ก.พ. 7 ค่ะ

4. ถ้าเป็นพิมพ์ดีด 2 ก็อยู่ในระดับ 2  ไปก่อนค่ะ...กลุ่มสนับสนุน รอจนกว่าจะสามารถเปลี่ยนเป็นพิมพ์ดีด ระดับ 3 ค่ะ ก็สามารถโตได้ไปถึงระดับ 4  เหมือนเดิมนี่ค่ะ...ปัจจุบัน ก.พ. เปลี่ยนตำแหน่งให้แล้วนี่ค่ะ  เป็นตำแหน่งใหม่  ให้ถามกองการเจ้าหน้าที่ที่คุณสังกัดนะค่ะ...

สำหรับการเปลี่ยนตำแหน่งให้ศึกษาดูดี ๆ นะค่ะ ว่าการไปตำแหน่งใหม่กับอยู่ที่เดิม พิมพ์ดีด นั้น ตำแหน่งไหนที่ดี (เนื่องจากทำหน้าที่งานการเงิน)...ก็ควรอยู่ในตำแหน่งนั้นค่ะ...

ค่าตอบแทนจะได้เมื่อตำแหน่งเหมือนข้าราชการค่ะ ลูกจ้างชั่วคราวก็ได้ เพราะเดี๋ยวนี้รับมาก็เป็นวุฒิ ป.ตรี ตำแหน่งเหมือนข้าราชการจะได้ 1800 ค่ะ ส่วนข้าราชการวุฒิก็ ปวส ซึ่งเป็นหัวหน้างานได้เพียง 900 บาทนะค่ะ

คือว่า ตอนนี้ดิฉันเป็นพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 2 เมื่อเปลี่ยนเป็นพนักงานการเงินและบัญชี จะอยู่ในระดับใดค่ะ

ตอบ...คุณประจวบ...

ค่ะ...ถ้าได้ก็เปลี่ยนเป็นพนักงานการเงินและบัญชีได้เลยค่ะ...ถ้าเปลี่ยนก็เป็นพนักงานการเงินและบัญชี  ระดับ 2 เหมือนเดิมค่ะ ...และสามารถไปได้ถึงระดับ 4 เหมือนกันค่ะ...ให้ดูขั้นค่าจ้างสูงสุดของทั้ง 2 ตำแหน่งด้วยนะค่ะ...เพื่อเปรียบเทียบกัน...ถ้าเท่ากัน ก็ควรเปลี่ยนเพราะตำแหน่งพนักงานการเงิน ฯ ได้ค่าตอบแทนค่ะ... ศึกษาตามไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf

โอกาศหน้าทีอะไรไม่เข้าใจจะได้มารับกวนใหม่นะค่ะ ขอบพระคุณมากเลยค่ะ

ตอบ...คุณประจวบ...

ด้วยความยินดีค่ะ...

การเขียนบรรยายลักษณะงาน(Job Description) ของพนักงานการเงินและบัญชี จะเขียนอย่างไร มีหนังสือจากจังหวัดเขาแนบตัวอย่าง(รพ.เจ้าพระยายมราช)มาให้ดูมีของงานธุรการ แต่ไม่มีงานการเงินและบัญชี ค่ะ แต่งานการเจ้าหน้าที่แจ้งว่าให้เขียนเหมือนตัวอย่างนะเดี๋ยวจะไม่ผ่าน ก็เลยออกจะเครียดนิดหน่อย ไม่ทราบว่าคุณบุษยมาศ พอที่จะช่วยเหลือได้หรือไม่ เพราะวันหยุดก็เอาฏีกาเงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ มาพิมพ์ที่บ้านเลยค่ะ พอมาเจอให้เขียน Jop ก็เลยจะวิตกกังกลนะค่ะ (เขาบอกให้ดิฉันเขียนเพื่อจะได้ทำให้ลูกจ้างคนอื่นด้วยนะค่ะ) ดิฉันทำเกี่ยวกับเงินเงินทั้งหมด ฏีกา เขียนเช็ค ทำสลิปเงินเดือน ทำหลักฐานการกู้ทุกอย่าง พิมพ์หนังสือโต้ตอบ จัดทำบอร์ดต่าง ๆ ของหน่วยงาน เป็นกรรมการ 3 S ผู้ช่วยเลขาชมรมจริยธรรม ดูเรื่องการจัดเลี้ยง อบรม ศึกษาดูงานของหน่วยงาน ดูแลองค์กรแพทย์ เป็นเลขาผู้อำนวยการ ก็เลยเขียนไม่ถูกนะค่ะ รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ตอบ...คุณประจวบ...

เดิมเป็นตำแหน่งพิมพ์ดีด ก็เขียน Job ของการทำตำแหน่งพิมพ์ดีดก่อนค่ะ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ซึ่งอาจดูมาตรฐานเดิมไปก่อน + กับทำหน้าที่ทางด้านการเงิน  ให้เขียนต่อท้ายเป็น Job ใหม่ ซึ่งในอนาคต ถ้าคุณมีความประสงค์จะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานการเงินและบัญชี ก็สามารถทำได้ไงค่ะ...(ต้องเขียนให้ตรงกับตำแหน่งใหม่นะค่ะ...ยังสงสัยว่าเป็นตำแหน่งพิมพ์ดีด หรือพนักงานธุรการกันแน่ค่ะ...ไม่เข้าใจค่ะ...ถ้าเป็นตำแหน่งพิมพ์ดีด ควรเขียน Job ของพิมพ์ดีดนะค่ะ...เดี๋ยวจะไม่ตรงกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งค่ะ...)

เป็นตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดค่ะ แต่ที่จังหวัดส่งมาให้เป็นตัวอย่างมีแต่ตำแหน่งพนักงานธุรการค่ะ ตำแหน่งที่ดิฉันต้องการเปลี่ยนไม่มีตัวอย่างให้ดูนะค่ะ ก็เลยไม่มั่นใจว่าจะเขียนได้ดีหรือไม่ค่ะ

ตอบ...คุณประจวบ...

ความจริงของเดิมในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของลูกจ้างประจำ มีค่ะ...กรมบัญชีกลางเคยให้หน่วยงานต้นสังกัดไว้...แต่สำหรับของ ม. ที่พี่ทำอยู่เป็น ม.ที่เพิ่งเกิดเมื่อปี 2547 ดังนั้น มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมจึงอยู่ที่สถาบันราชภัฏ พอเมื่อมาแยกเป็น ม. มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมนั้น ก็ไม่ได้ส่งมอบมาให้กับ ม. เพราะมีตั้ง 40 แห่ง ลองถามที่ต้นสังกัดเดิมก่อนสิค่ะ ว่ามีหรือไม่...เพราะถ้ากรอกไม่ถูก จะทำให้ผิดความจริงไป...ควรมี Job ของงานตามที่ตำแหน่งใหม่กำหนดด้วยนะค่ะ...แล้วเพิ่มเติมที่เราได้ปฏิบัติงานจริง ๆ ได้แก่  งานการเงิน ค่ะ...ลองโทรไปถามที่จังหวัดก่อนดีกว่าไหมค่ะ...เพราะเราเป็นตำแหน่งพิมพ์ดีด  ไม่ใช่พนักงานธุรการ  จะทำให้เราเขียนผิดไปค่ะ...

ขอบคุณค่ะ วันนี้ได้โทรไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ รพ.เจ้าพระยายมราช ก็พอเข้าใจ แต่พอมาเจอแบบฟอร์มการประเมินก็มึนอีกนะค่ะ

จะมี 1. ความสามารถ 2. ทักษะความเชี่ยวชาญ ฯลฯ ไม่มีแบบอย่างนะค่ะ แล้วต้องรีบส่งต้นสังกัดไม่เกินวันที่ 20 นี้ด้วย

แต่ไม่เป็นไรจะพยายามค่ะ ขอบคุณคำตอบทุกตอบที่ช่วยแนะนำค่ะ พอดีไปดูประวัติของคุณบุษยมาศว่าได้รับรางวัล"ข้าราชการพลเรือนดีเด่น" มาด้วยขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ พอดีปี 52 หนูพึ่งได้รับมา แต่เสียดายรับกับตัวแทนท่านนายกนะค่ะช่วงนั้นรัฐบาลกำลังยุ่งนะค่ะ ข้าราชการบ่นเสียดายกันมากเลยค่ะ หนูก็เสียดายค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณประจวบ...

ค่ะ  ก่อนอื่นก็ขอแสดงความยินดีด้วยนะค่ะ...กับรางวัลครุฑทองคำ...นี่คือ ความภาคภูมิใจกับการได้เป็นข้าราชการ - ลูกจ้างประจำ ดีเด่นค่ะ...เป็นความภูมิใจที่อยู่ในใจลึก ๆ ของพวกเราค่ะ...ไม่ใช่เงิน...แต่เป็นสิ่งที่หาซื้อไม่มีขายค่ะ...ต้องทำด้วยตนเอง...ค่ะ ค่อย ๆ ศึกษา ไปนะค่ะ...ทำไม่ได้ต้องถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบค่ะ ค่อย ๆ เรียนรู้ค่ะ...

ขอรบกวนคุณ บุษยมาศนะครับอยากถามว่าคอนนี้ผมต่ำเเหน่งพนักงานเครื่องจักรกลชั้น3 สามารถเปลี่นยต่ำเป็นช่างเครื่องจักรชั้น3ได้มั้ยครับ เพราะต่ำเเหน่งพนักงานเครื่องจักรกลมีเเค่ชั้น3 เเต่ต่ำเเหน่งช่างเครื่องจักรกลมีถึงชั้น4 แล้วเมื่อจะเป็นห้วหน้างานได้ต้องเป็นต่ำเเหน่งช่างเครื่งจักรกลชั้น3หรือ4 เเต่ผมต่ำเเหน่งพนักงานช่างเครื่องจักรกลชั้น3 หัวหน้าบอกไม่รับพิจารณาเป็นหัวหน้างานเพราะต่ำเเหน่งไม่ใช่ ของกรมชลประทานหน่วยสูบน้าแล้วผมก็มีวุฒิการศึกษา ปวส.(ช่างยนต์)และมีวุฒิ ปริญญาตรัฐศาสตร์การปกครอง ถ้าตามหลักเกณท์ตามที่หนังสือทาง กพ.แจ้งมา ผมสามารถเปลี่ยนต่ำเเหน่งได้หรือเปล่า?เห็นแต่ทางหน่วยงานแจ้งมาใครมีวุฒิให้ยืนวุฒิการศึกษาไปทีส่วนราชการผ่านทางหน่วยงานที่ตัวเองสังกัดอยู่ ตอนนี้เลยเคือนเมษายน 2553 มาตั้งนานแล้วยังเป็นต่ำเเหน่งเดิมอยู่เราจะเสียโอกาส ในการเปลี่ยนต่ำเเหน่งหรือเปล่า ขอเรียนถามและขอความกรุณาแจ้งให้ทราบดว้ยนะครับ

ตอบ....หมายเลข 17...

สำหรับตำแหน่งนั้น ให้คุณดูภาระงานที่ได้ทำปัจจุบันอยู่ว่าทำเรื่องใดบ้าง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยน ถ้าภาระงานไปด้วยกันได้ ก็สามารถทำได้ค่ะ...แต่ขึ้นอยู่กับต้นสังกัดคุณด้วย ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจค่ะ...หรือไม่ก็ปรึกษา กรมบัญชีกลางดูค่ะ...การเป็นหัวหน้า ต้องชั้น 4 มังค่ะ ขอให้ดูในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งนะค่ะ...จะมีบอกไว้ค่ะ...สำหรับวุฒิที่คุณได้รับ ให้ทำบันทึกขอเพิ่มวุฒิส่งให้ต้นสังกัดทราบเพื่อนำลงใน ก.พ.7 (สมุดประวัติ) ค่ะ...การเปลี่ยนตำแหน่งต่อไปนี้ ก็สามารถทำได้ค่ะ อยู่ที่หน่วยงานของคุณค่ะ ต้องปรึกษาหัวหน้าค่ะ...

หมายเลขที่ 17 ขอครอบคุณบุศยามาศเป็นอย่างมากครับที่กรุณาตอบคำถามด้วยความนับถือ

รบกวนสอบถามหน่อยครับ ปัจจุบันเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ตอนนี้เรียนจบปริญญาตรีแล้ว และงานปัจจุบันอยู่กรมประชาสัมพันธ์ และงานที่ต้องรับผิดชอบตอนนี้คือต้องปฏิบัติงานแทนนายช่างไฟฟ้าสื่อสาร คือมีหน้าที่ถ่ายภาพข่าว และทำข่าว เพราะนายช่างไฟฟ้าสื่อสารลาศึกษาต่อ 3 ปี คำถามครับ ผมสามารถขอปรับเปลี่ยนสายงานเป็นสายช่างได้หรือไม่ คือช่างถ่ายภาพนะครับ เพราะตอนนี้ผมก็ปฏิบัติงานด้านนี้อยู่แล้ว ถ้าเปลี่ยนได้รบกวนแนะนำขั้นตอนการขอเปลี่ยนสายงานด้วยครับ

ตอบ...คุณชัยพัทธ์...

ถ้าปัจจุบันเป็นพนักงานขับรถยนต์ แล้วขับรถอยู่หรือไม่...ถ้าขับอยู่ต้องปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการแล้วละค่ะ...ว่าจะเปลี่ยนไปในตำแหน่งที่คนทำงานอีกอย่างหนึ่งได้ไหม เพราะถ้าเปลี่ยนไปแล้ว...ในคำสั่งนั้นเขาต้องให้คุณทำหน้าที่ขับรถยนต์ด้วยค่ะ เพราะถ้าเกิดคุณขับรถยนต์แล้วไม่มีหน้าที่ในคำสั่ง  นั่นหมายความว่า  หัวหน้าส่วนราชการต้องร่วมรับผิดชอบกับคุณค่ะ...

แต่ถ้าปัจจุบันตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แต่ทำหน้าที่อื่น คือ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายช่างไฟฟ้าสื่อสาร ได้แก่ ถ่ายภาพและทำข่าว ก็ให้ศึกษาตำแหน่งที่ต้องการจะเปลี่ยนดี ๆ ค่ะ ว่าเราสามารถเติบไปได้ถึงระดับไหน...ต้องศึกษาตำแหน่งแต่ละตำแหน่งให้ดีนะค่ะ...ว่าเราเข้าไปตำแหน่งนั้นได้ไหม ถ้าได้ ก็สามารถเปลี่ยนได้...แต่ต้องปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการด้วยนะค่ะ...บอกเหตุผลกับเขาค่ะ...

สำหรับคุณชัยพัทธ์...ขอให้ปฏิบัติตามหมายเหตุด้านล่างด้วยนะค่ะ...ขั้นตอนการทำทางกระทรวงการคลังจะแจ้งมาให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

หมายเหตุ  :  สำหรับการปรับเปลี่ยนในตอนนี้ เมื่อวานผู้เขียนได้คุยทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง  ท่านแจ้งมาว่า ตามที่สำนักงาน ก.พ. ให้เปลี่ยนได้นั้น...แต่ขอให้รอหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องวิธีการ หลักเกณฑ์ การเข้าสู่ตำแหน่งของลูกจ้างประจำก่อนนะค่ะ...ส่วนราชการต้องชะลอไปก่อน จนกว่าจะมีหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

เรียน ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำในตอนนี้...เช่นการเปลี่ยตำแหน่ง เปลี่ยนระดับชั้นให้สูงขึ้น นั้น...เมื่อวานผู้เขียนได้คุยทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง  ท่านแจ้งมาว่า ตามที่สำนักงาน ก.พ. ให้เปลี่ยนตำแหน่งได้นั้น...ขอให้ทุกท่านรอหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องวิธีการ หลักเกณฑ์ การเข้าสู่ตำแหน่งของลูกจ้างประจำก่อนนะค่ะ...ส่วนราชการต้องชะลอไปก่อน จนกว่าจะมีหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

หมายเหตุ  :  ถ้ามีหนังสือจากกระทรวงการคลังแจ้งมา  ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

เรียน  ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เรื่อง "การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่" ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/390373

ดิฉันต้องขอขอบคุณท่าน  ผอ.มากเลยค่ะวันนี้ได้โทรคุยกับท่านแล้วรู้สึกได้ความรู้มากดิฉันเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด  ชั้น  2  สังกัด  สพท นบ เขต  1     ค่าจ้าง  15260  บาท  ทำอยู่ธุรการ  ประมาณ  10  ปีแล้วค่ะ  ดิฉันมีความประสงค์      จะเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานธุรการ  ซึ่งดิฉันดูขอบข่ายของงงานแล้วจะตรงมากกว่า      ถ้าดิฉันเปลี่ยนควรเปลี่ยนเป็นระดับ  2  หรือ  ระดับ  3  ดิฉันครองพนักงานพิมพ์ดีด     ชั้น  2  ได้  2  ปีแล้วค่ะ

ตอบ...คุณพิกุล...

  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ควรปรับเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ก่อนไม่ดีกว่าหรือค่ะ
  • เพราะตรงสายงานเดิม  แต่รู้สึกว่าต้องพิมพ์ดีดคอมฯ ให้ได้ 55 คำ ต่อ นาที นะค่ะ
  • การสอบเปลี่ยนตำแหน่งเป็นไปตามคำสั่งที่ส่วนราชการสั่งการให้เราได้ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งตรงกับตำแหน่งที่เราจะเปลี่ยนตำแหน่ง + ตรวจดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งที่เราจะปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยนะค่ะ ว่าได้หรือไม่
  • ถ้าได้ ก็ดำเนินการสอบพิมพ์ดีดได้เลยค่ะ
  • ถ้าผ่าน ก็ออกคำสั่งแต่งตั้ง (ไม่ทราบต้องไปให้ สพฐ. หรือ สพท. เป็นผู้ออกค่ะ)
  • แจ้งให้กรมบัญชีกลางทราบ
  • เมื่อเปลี่ยนเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ได้แล้ว ค่อยนำคำสั่งที่เราได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานธุรการ มาปรับเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ ระดับ 3 อีกครั้งหนึ่ง...แต่ต้องดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานธุรการ ระดับ 3 ก่อนนะค่ะ ว่าได้หรือไม่
  • ถ้าได้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เลยค่ะ
  • กรณีนี้ น่าจะง่ายกว่า...เพราะถ้าปรับจากพนักงานพิมพ์ ระดับ 2 เป็นพนักงานธุรการ ระดับ 2 ค่ะ ไม่สามารถปรับเป็นระดับ 3 ได้ น่าจะทำในกรณีแรกที่บอกไปนะค่ะ...
  • ลองดูนะค่ะ...
ผู้เริ่มเข้าระบบใหม่

เรียนถามคุณบษยมาศ ขอถามดังนี้ ดิฉันเริ่มบรรจุเป็นลูกจ้างประจำกรมชลประทาน (ตำแหน่ง พนักงานระดับน้ำ) ในปี 2534 ตอนนี้อายุราชการได้ 19 ปี 9 เดือน ปฏิบัติงานด้านการพิมพ์เอกสารมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เงินค่าจ้างตันอยู่ที่ 14,140.- บาท ในปี 2553 นี้ มีการเปลี่ยนตำแหน่ง เป็น พนักงานพิมพ์ ส.1 เงินค่าจ้างจึงปรับมาอยู่ที่ 14,970.- บาท (อีก 0.5 ขั้นเงินค่าจ้างถึงจะเต็มขั้น) ปัจจุบันดิฉันมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาตรี (ศศบ.) ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา การจัดการทั่วไป อยากทราบว่าการที่ได้รับการเปลี่ยนตำแหน่งในปี 2553 แล้วจะขอปรับระดับจาก พ.พิมพ์ ส.1 เป็น พ.พิมพ์ ส. 2 ทันทีจะได้หรือไม่ ถ้า ก.พ. กำหนดให้เปลี่ยนได้ตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ดังนี้ 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือ ตำแหน่ง พ.พิมพ์ ระดับ 1 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ 2. ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่ 3. ทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องมีความรู้ความสามารถ ดังนี้ 3.1 สามารถพิมพ์ดีดภาษาไทยได้ไม่น้อยกว่านาทีละ 35 คำ และสำหรับภาษาต่างประเทศไม่น้อยกว่านาทีละ 25 คำ หรือในอัตราความเร็วสำหรับภาษาไทยไม่น้อยกว่านาทีละ 25 คำ หรือ 3.2 กรณีพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถพิมพ์ดีดภาษาไทยได้ไม่น้อยกว่านาทีละ 40 คำ และสำหรับภาษาต่างประเทศไม่น้อยกว่านาทีละ 30 คำ หรือในอัตราความเร็วสำหรับภาษาต่างประเทศไม่น้อยกว่านาทีละ 40 คำ และสำหรับภาษาไทยไม่น้อยกว่านาทีละ 30 คำ จากการที่ได้ถามจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เข้ารับการอบรมการจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำในเดือน พ.ย. 53 ก็ยังให้คำตอบไม่ได้ชัดเจน บางคนก็ตอบว่าต้องรอให้ครบ 3 ปีก่อน บางคนก็บอกให้ทำเรื่องขอรับการประเมินถึงผู้บังคับบัญชา จึงต้องขอรบกวนคุณบุษยมาศให้คำตอบ หรือให้แนวทางในการปฏิบัติด้วยว่าจะต้องทำอย่างไร ขอขอบคุณล่วงหน้าจะรอคำตอบจากคุณ

ตอบ...คุณหมายเลข 26...

  • ในกรณีของคุณจะขอปรับระดับจาก ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 1 ไปเป็นระดับ 2
  • คุณมีวุฒิ ป.ตรี แล้ว ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในระดับ 2
  • โดยต้องแยกคุณสมบัติ ฯ ออกเป็น 2 ข้อ ค่ะ เพราะใช้คำว่า "หรือ" ก็คือ...
  • 1. แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ระดับ 1 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี  หรือ
  • 2. ได้รับวุฒิไม่ต่ำประกาศนีบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานในหน้าที่
  • การตีความ ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งค่ะ เพราะใช้คำว่า  "หรือ"
  • กรณีของคุณสามารถเข้ากับคุณสมบัติในข้อที่ 2 ค่ะ...เพราะคุณได้รับวุฒิ ป.ตรี
  • แต่...ในข้อ 3. มีต่อนะค่ะว่า  คุณสมบัติทั้ง ข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น ต้องมีความรู้ความสามารถ ดังนี้................
  • ก็แสดงว่า...คุณเข้าข้อที่ 2  แต่คุณต้องมีความรู้ ความสามารถในการพิมพ์ด้วยนะค่ะ ทั้งนี้ หน่วยงานของคุณต้องดำเนินการทดสอบการพิมพ์ของคุณค่ะ ถึงแม้คุณจะเข้ากรณีข้อ 2 คุณก็ต้องฝ่านการทดสอบในการพิมพ์ ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดค่ะ...
  • ถ้าคุณพิมพ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ก็ถือว่า...คุณผ่าน และเปลี่ยนเป็นตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 2 ได้ค่ะ...

เรียน ท่านอาจารย์บุษมาศ ผมขอความอนุเคราะห์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ลูกจ้างที่มี วุฒิปริญญาตรี มีใบประกอบวิชาชีพครู ที่ อยากปรับเปลี่ยนไปเป็นครูปฏิบัติการตอนนี้ถึงไหนแล้วครับ ขอความกรุณาท่านอาจารย์ช่วยตอบทีน่ะครับ เพราะกำลังรอผลอยู่ครับว่าเป็นได้มากน้อยแค่ไหน ขอบพระคุณครับ

ตอบ...หมายเลข 28...

  • จากที่ได้สอบถามพี่ ๆ ผู้บริหารของเขตพื้นที่ แจ้งให้ทราบว่า ไม่ได้ค่ะ การเป็นลูกจ้าง และมีวุฒิปริญญาตรี + มีใบประกอบวิชาชีพครู ต้องสอบบรรจุเพื่อเข้ารับราชการครูก่อนค่ะ ตามที่ส่วนราชการมีการเปิดสอบ เมื่อได้แล้ว จะได้บรรจุเป็นผู้ช่วยครูก่อนค่ะ ไม่สามารถไปเป็นครูปฏิบัติการได้ค่ะ...

เรียนถาม ผอ. ดิฉันเป็นพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ตำแหน่งใหม่เปลี่ยนเป็น พนักงานพิมพ์ ระดับ 3 หรือ พนักงานพิมพ์ ส 3 อย่างไหนเขียนถูก เพราะเวลาเขียนตำแหน่งจะได้ถูกต้อง ค่ะ รบกวน ผอ.ช่วยตอบด้วย

ตอบ...หมายเลข 30...

  • ตำแหน่งของคุณ คือ ตำแหน่ง "พนักงานพิมพ์ ส 3" ค่ะ...ส 3 นั้น คือ ระดับค่ะ

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ขอเรียนถามอาจารย์บุษยมาศ ดิฉันเป็นพนักงานพิมพ์ ส.3 เงินเดือน 18,190.- บาท เงินเดือนขึ้นไปเต็มขั้นของกลุ่มที่ 1

ถ้า 1 เมษายน 2554 จะมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกัน ดิฉันจะกระโดดเลื่อนไปอยู่ในกลุ่ม 2 ได้หรือไม่ หรือ จะต้องทำเรื่องขอเลื่อนจากพนักงานพิมพ์ ส.3 เป็น ส.4 โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการเป็นผู้ประเมินในการเลื่อนระดับ และแบบประเมินเป็นแบบไหน อาจารย์ช่วยตอบด้วยนะค่ะ ถ้าอาจารย์มีแบบการประเมินของพนักงานพิมพ์ ส.3 เป็น ส.4 อาจารย์ช่วยส่ง Email มาที่ [email protected] ขอบคุณค่ะอาจารย์

ตอบ...คุณปิ่น...

  • ตามที่คุณ ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส.3 ค่าจ้างเต็มขั้นของกลุ่มที่ 1 แล้ว ตำแหน่งของคุณคือ รหัส 2113 ระดับ 3 ค่าจ้างกลุ่มที่ 1 - 2  ขั้นต่ำ 7,100 บาท - ขั้นสูง 22,220 บาท ค่ะ ในเดือนเมษายน ถ้าคุณได้ 0.5 หรือ 1 ขั้น ก็จะเทียบมาเข้ากลุ่มที่ 2 ค่ะ คือ 18,190 บาท จะใกล้เคียงกับค่าจ้างในกลุ่มที่ 2 = 18,380 บาท
  • หรือศึกษาในไฟล์ด้านล่างนี้ดูนะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/287/original_group1.pdf?1285800420
  • สำหรับแบบประเมินของ ส. 4 นั้นให้ดูที่คุณสมบัติของพนักงานพิมพ์ ส. 4 ได้แก่...
  • แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 และได้รับค่าจ้างในอัตราค่าจ้างขั้นสูงของตาแหน่งแล้วโดยผ่านการประเมินตามที่ส่วนราชการกำหนด
  • หมายถึงว่า การเป็นพนักงานพิมพ์ ส. 4 นั้น จะแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่ง ส.3 และต้องได้รับค่าจ้างในขั้นสูง คือ 22,220 บาท ก่อนค่ะ จึงทำประเมินเป็น ส. 4 ได้ ทั้งนี้ การประเมินต่าง ๆ อยู่ที่ส่วนราชการต้นสังกัดของคุณเป็นผู้กำหนด เพราะสำนักงาน ก.พ. หรือ กรมบัญชีกลาง กำหนดให้ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดเกณฑ์การประเมินเองค่ะ...ยกตัวอย่าง อาจทำได้หลายวิธี โดย การสอบข้อเขียน  การพิมพ์เพื่อทดสอบ ค่ะ...ผู้เขียนไม่อาจแนะนำได้ ให้สอบถามหัวหน้าส่วนราชการของคุณนะค่ะ...รัฐมอบอำนาจให้ส่วนราชการปฏิบัติเองแล้วไงค่ะ...อาจสร้างเครื่องมือในการวัดประเมินเอง...เรียกว่า...ต้องสร้างแบบประเมินเอง อาจทำอย่างที่บอกข้างต้นก็ได้ค่ะ...ถ้าสอบพิมพ์ ก็ปฏิบัติทั่ว ๆ ไป มีเกณฑ์การให้คะแนน จับเวลาการพิมพ์  ให้เวลาการพิมพ์ โดยส่วนราชการอาจกำหนดให้พิมพ์กี่นาที ถ้ามีคำผิดก็นำไปหักลบแล้วนำมาคิดให้คะแนน  ถ้าผ่านการพิมพ์ ก็ถือว่า ผ่านการทดสอบ มีการขึ้นบัญชีของผู้สอบได้ ทำเช่นกระบวนการสอบคัดเลือกบุคลากรนั่นแหล่ะค่ะ...ลองดูนะค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มาก ดิฉันเข้าใจในขั้นการตอนที่อาจารย์อธิบายขอบคุณมาก ๆ ค่ะอาจารย์

เพราะผมลูกจ้างประจำ สังกัด สพฐ. ที่ทำงานในโรงเรียน เดิม เป็นนักการภารโรง เปลี่ยนเป็น เป็นพนักงานพิมพ์ดีด มา 20 ปี ได้รับคำสั่งโรงเรียนแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ช่วยงานธุรการ งานพัสดุ ข้าราชการครู มา 10 กว่าปี ขอรบกวนท่านสอบถามผู้ใหญ่ใน สังกัด สพฐ. ได้ช่วยแนะท่านกำหนดกรอบตำแหน่ง พนักงานพัสดุ พนักงานธุรการ ให้โรงเรียนบ้างครับ ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณปิ่น...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ตอบ...ลูกจ้างประจำ สพฐ....

  • การปรับตำแหน่งของลูกจ้างประจำ ไม่ต้องกำหนดกรอบตำแหน่งหรอกค่ะ...กรอบตำแหน่งนั้นหมายถึง อัตราของคุณไงค่ะ ไม่เกี่ยวกับ ตำแหน่งพนักงานพัสดุ พนักงานธุรการ หรอกค่ะ ตอนนี้ คุณเป็นพนักงานพิมพ์ แต่ทำงานพัสดุ ธุรการมา ก็ให้หัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบงานบุคคล ดูตรงส่วนที่คำสั่งที่คุณได้รับมอบหมายให้ทำ ดูเวลาที่ปฏิบัติว่าได้หรือไม่ + ดูคุณสมบัติของตำแหน่งที่คุณต้องการปรับเปลี่ยนว่าได้หรือไม่ แล้วส่วนราชการก็ดำเนินการสอบไงค่ะ...
  • เพราะตอนนี้ ตำแหน่งของลูกจ้างประจำ ได้เปิดขยายความก้าวหน้าให้กับลูกจ้างประจำแล้ว หลังจากที่ข้าราชการไม่ได้ใส่ใจที่จะให้ลูกจ้างประจำได้เติบโตเลย ในขณะที่บางท่านได้พัฒนาตัวเองไปมาก แต่บางท่านที่ไม่พัฒนาก็ไม่ควรปรับเปลี่ยน รัฐกระจายอำนาจให้แล้วค่ะ อยู่ที่ส่วนราชการต้องดูแลตำแหน่งของลูกจ้างประจำบ้างค่ะ ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม
  • สำหรับผู้เขียนไม่สามารถไปบอกผู้ใหญ่ของคุณได้หรอกค่ะ เพราะคนละกรมกัน ขอให้คุณลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูค่ะ เพราะ สพท. อื่น เขาก็ปรับกันไปเยอะแล้วนะค่ะ...ลองดูค่ะ...

เรียน คุณบุษยมาศ

ดิฉันเป็นเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เรื่องการเปลี่ยนตำแหน่ง ปรับระดับชั้นลูกจ้างประจำ ของมหาวิทยาลัยซึ่งดิฉันเพิ่งได้รับมอบหมายส่วนงานของลูกจ้างประจำ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ดิฉันปฏิบัติงานยังไม่ได้ออกเกณฑ์การเปลี่ยนตำแหน่ง ปรับระดับชั้นงาน เลยจึงขอคำแนะนำเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์จากคุณบุษยมาศด้วยค่ะ และขอสอบถามข้อมูลด้วยค่ะ

1. การเปลี่ยนตำแหน่งของระบบเดิม ไม่ต้องสอบใช่ไหมค่ะ ดูตามหน้าที่โดยย่อ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการพิจารณาเท่านั้นใช่

2. การปรับระดับชั้นงาน ตำแหน่งใดบ้างต้องสอบปฏิบัติ นอกจากพนักงานพิมพ์

3. การปรับระดับชั้นงานตามระบบใหม่ มหาวิทยาลัยต้องกำหนดแบบประเมินด้วยหรือไม่ หากกำหนดให้มีการประเมินใช้เำกณฑ์อะไรมากำหนดแบบประเมิน คะ

ดิฉันเพิ่งศึกษาเรื่องลูกจ้างประจำค่ะรบกวนคุณบุษยมาศช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ ดิฉันเข้าไปในเว็บของม.พิบูลสงคราม แล้วค้นหาเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยไม่พบ จึงขอเรียนถามค่ะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณเกตุ...

  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำ ต้องดูที่คำสั่งมอบหมายให้เขาได้ปฏิบัติก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าตรงตำแหน่งก็ไม่น่าเปลี่ยน แต่ถ้ามีงานอื่นที่นอกเหนือแล้วเขาได้ปฏิบัติในงานส่วนนั้นมากกว่าตำแหน่งปัจจุบัน ควรปรับให้เขาเพราะเป็นความก้าวหน้าและความสามารถของเขาค่ะ...
  • ปัจจุบันรัฐกระจายอำนาจให้ส่วนราชการแล้ว และต้องให้ส่วนราชการเป็นผู้สร้างเกณฑ์เอง ต้องศึกษาจากในส่วนเดิม ลองหาเกณฑ์เดิมดูนะค่ะ...
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งระบบเดิม ส่วนราชการจะกำหนดการสอบค่ะ เช่น พนักงานพิมพ์ พนักงานธุรการ ส่วนราชการจะกำหนดให้การสอบค่ะ ถ้าพนักงานพิมพ์ ก็จะดำเนินการสอบพิมพ์คอม ฯ พนักงานธุรการ ก็จะสอบงานสารบัญไงค่ะ พนักงานพัสดุ ก็จะสอบเกี่ยวกับระเบียบพัสดุ เรียกว่าเป็นงานที่ลูกจ้างประจำได้ปฏิบัติ ถ้าเขาปฏิบัติจริง เขาก็ต้องสอบได้ เพราะเขาทำงานอยู่ เขาต้องรู้ระเบียบมากกว่าคนอื่นค่ะ ถึงจะสอบผ่านได้ ถ้าสอบผ่าน ก็ขึ้นบัญชีไว้ เรียกว่าต้องผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกนั่นแหล่ะค่ะ...
  • แต่ลองดูมีบางตำแหน่งที่จะไม่ต้องสอบก็ได้ แต่ก็ต้องดูหน้าที่โดยย่อ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ตั้งคณะกรรมการประเมิน แต่ทางที่ดีก็ควรสอบ ฯ เพื่อวัดความรู้ ข้อสอบอาจตั้งคณะกรรมการในการออกข้อสอบ ฯ จะได้ตอบสังคมได้ไงค่ะ ว่าได้ระดับที่สูงขึ้นนั้น ได้มาจากการสอบ ไม่ใช่ได้มาแบบง่าย ๆ บางครั้ง เราทำงานให้กับทางราชการ ก็ต้องตอบคนทั่วไปได้ด้วยว่า เขามีความสามารถ เขาจึงสอบได้ อาจในรูปแบบต่าง ๆ บางตำแหน่ง เช่น ช่างไม้ อาจให้สอบส่งผลงาน ช่างปูน ก็อาจให้สอบการฉาบปูน แล้วแต่คณะกรรมการจะเห็นชอบค่ะ...
  • การปรับระดับชั้นงาน ถ้ามหาวิทยาลัยจะปรับเปลี่ยนให้เขา มหาวิทยาลัยก็ควรกำหนดแบบประเมินเองค่ะ อยู่ที่คณะกรรมการต้องประชุมกันว่าจะจัดแบบประเมินแบบใด การประเมินก็อยู่ที่ลักษณะงานที่คณะกรรมการจะต้องให้เขาได้ปฏิบัติไงค่ะ เพราะแต่ละตำแหน่งไม่เหมือนกัน รัฐจะให้ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดเองค่ะ แต่ละบริบท แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ต้องตอบสังคมหรือคนทั่วไปได้เท่านั้นเองค่ะ ว่าการปรับตำแหน่งนั้น เขาได้มาด้วยความรู้ ความสามารถของลูกจ้างประจำด้วยตัวของเองค่ะ
  • ของ มร.พส. ไม่มีหรอกค่ะ เพราะพี่ปรับเปลี่ยนให้เขาไปตั้งแต่ปี 2547 แล้วค่ะ ก่อนที่จะมีการปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ค่ะ...ส่วนใหญ่ ก็สอบพิมพ์ สอบช่างไม้ สอบให้ทำงานส่ง เช่น เครื่องมือของฝ่ายผลิต (อาจใช้หลักฐานที่ลูกจ้างประจำคิดประดิษฐ์เดิมของเขามาก็ได้ แล้วยังให้นักศึกษาใช้ปฏิบัติกับการศึกษาอยู่ค่ะ)...อาจให้ลูกจ้างทำแฟ้มสะสมผลงานของเขาแล้วนำวิธีการที่ได้ปฏิบัติ รวมรูปเล่มมาส่งให้คณะกรรมการ + สัมภาษณ์ ด้วยก็ได้ค่ะ มีหลากหลายวิธี
  • ต่อไป มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งต้องคิดเรื่องหลักเกณฑ์การประเมินเองค่ะ เพราะรัฐกระจายอำนาจให้แล้ว...ลองดูนะค่ะ เพราะแต่ละแห่งอาจไม่เหมือนกันก็ได้ เรียกว่า ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ ต้องศึกษาให้มากค่ะ เรียกว่า ต้องคิดงานเพื่อเสนอคณะกรรมการให้ได้ ยิ่งต่อไป มีตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เราต้องคิดเอง ทำเองให้ได้ค่ะ...

รบกวนถามนะครับ ผมเป็นน้องใหม่ในหน่วยงานสังกัดรพ.ที่ต้องทำเกี่ยวกับการปรับระดับชั้นและเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ยังไม่มีความเข้าใจในขั้นตอนมากนักผมขอเรียนถาม อาจารย์ ดังนี้

1.การปรับระดับชั้นเงินเดือนต้องถึงระดับขั้นสูงของระดับหรือไม่

2.ถ้าปฏิบัติงานไม่ตรงแต่ระยะเวลาดำรงตำแหน่งถึงแล้วสามารถปรับอย่างไร

3.สำหรับตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส 1 ที่ต้องสอบปรับระดับ ถ้าไม่ผ่าน ต้องใช้เงินเดือนเดิมหรือไม่(กรณีถึงขั้นสูงของระดับ)

ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ

ตอบ...คุณน้องใหม่...

  • ขอให้คุณศึกษาจากบล็อกด้านล่างนี้ให้ละเอียดก่อนนะค่ะ จึงจะเข้าใจเกี่ยวกับการปรับระดับชั้นและการเปลี่ยนตำแหน่งค่ะ ถ้าเป็นไปได้ในกระทู้ทุก ๆ กระทู้ ด้วยนะค่ะ เพราะจะเป็นความรู้และประโยชน์ต่อตัวคุณเองค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc
  • ในบล็อกด้านบนดังกล่าว ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับลูกจ้างประจำ ผู้เขียนจะนำมาเพิ่มเติมให้ทราบค่ะ...
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ถ้ามีคุณสมบัติถึง ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ต้องดูที่เงินค่าจ้างกับระดับด้วยค่ะ การปรับเปลี่ยนบางตำแหน่งก็ทำได้ ซึ่งเงินค่าจ้างจะจัดอยู่ในกลุ่ม เช่น 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 ถ้ายังไม่เต็มขั้นกลุ่ม 1 ต้องให้เต็มขั้นก่อน จึงจะปรับไปยังกลุ่ม 2 บางตำแหน่งถ้าปรับเปลี่ยนไปยังระดับ 2 เวลาอาจได้ แต่เงินค่าจ้างในระดับ 2 จะคลุมถึงกลุ่ม 1 - 2 แบบนี้ ก็ต้องให้เงินเดือนเต็มที่กลุ่ม 1 ก่อนค่ะ...(ต้องแยกส่วนกันนะค่ะ ระดับ กับกลุ่มเงินค่าจ้าง จะต่างกัน...บางตำแหน่งก็ปรับได้แต่ยกเว้นเงินค่าจ้างต้องรอให้เต็มขั้นก่อน...บางตำแหน่งถ้าเราได้ทำหน้าที่อยู่ แล้วเรามีสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยน เราก็ทำได้ หรือจะรอเวลาให้เต็มขั้นก็ได้ แล้วแต่ส่วนราชการจะตัดสินใจค่ะ...แต่ลูกจ้างประจำต้องปฏิบัติในตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยนะค่ะ...ถ้ายังไม่ได้ปฏิบัติ บางตำแหน่งก็ต้องสอบ ก็ขึ้นอยู่กับส่วนราชการว่าจะต้องดำเนินการสอบ ถ้าลูกจ้างประจำสอบได้ ก็ต้องให้ปรับเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับความสามารถของลูกจ้างประจำค่ะ)...
  • ถ้าปฏิบัติงานไม่ตรงแต่ระยะเวลาดำรงตำแหน่งถึงแล้ว ขึ้นอยู่กับส่วนราชการที่จะดำเนินการให้ลูกจ้างเกิดความก้าวหน้าในอาชีพได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น อาจให้ภาระงานใหม่เพิ่มขึ้น เพราะเป็นการเพิ่มงานใหม่ลูกจ้างประจำก็ต้องทำให้ได้จึงจะปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ได้ ถ้าทำแบบเดิม ๆ ก็แสดงว่าไม่สามารถทำงานใหม่เพิ่มได้อีกหรือปรับงานในตำแหน่งเดิมเป็นงานในตำแหน่งใหม่ เช่น เคยเป็นพนักงานพิมพ์ แต่ต้องทำงานด้านพนักงานธุรการ ก็สามารถปรับเป็นพนักงานธุรการได้ เรียกง่าย ๆ ว่า ต้องดูที่เนื้องานเป็นหลักว่าลูกจ้างประจำได้ทำงานใดมากกว่า...แต่ถ้ายังคงทำงานเดิม ๆ ถึงแม้เงินค่าจ้างเต็มขั้น ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนงานได้หรอกค่ะก็จะได้รับเงินค่าจ้างเต็มขั้น เหมือนกับที่สำนักงาน ก.พ.ยังไม่ให้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ขั้นค่าจ้างก็จะได้รับ 2 % 4 % เช่นเดิม (ต้องรอดูระเบียบอีกครั้งนะค่ะสำหรับ 2 % 4 % ว่าจะได้ตามเดิมแบบเก่าหรือไม่)...เพราะงานเท่าเดิมเงินค่าจ้างก็ควรที่จะเท่าเดิม ยกเว้น ได้รับภาระงานที่ใหม่กว่าไม่ใช่งานเดิม หรืออาจเป็นงานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งในตำแหน่งความก้าวหน้าก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ก็ควรปรับให้ค่ะ...
  • สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่นั้น ก็ขอบอกก่อนว่าในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่นั้น เป็นการบอกถึงว่าลูกจ้างประจำท่านนั้นมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่มีวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นแล้วจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถ ภาระงานที่ได้ปฏิบัติและรับผิดชอบในการทำงานมากกว่า เพราะบางคนได้รับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ภาระงานเท่าเดิม แบบนี้ก็ยังไม่สมควรปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ขอให้มีภาระงานเพิ่มขึ้น มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น เพราะงานบางอย่าง บางตำแหน่งใช้ความรู้ + ความสามารถที่แตกต่างกันค่ะ...จึงทำให้มีหลายตำแหน่งไงค่ะ...
  • ถูกต้องค่ะ พนักงานพิมพ์ ส 1 ถ้าสอบไม่ผ่าน เมื่อขั้นค่าจ้างเต็มขั้นก็ยังคงได้รับขั้นค่าจ้างเท่าเดิมค่ะ เพราะสอบไม่ผ่านตามเกณฑ์ ถ้าสอบผ่านก็จะสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งคือเปลี่ยนระดับ 1 เป็น 2 ได้ไงค่ะ...การสอบวัดความสามารถในการพิมพ์ก็เป็นส่วนหนึ่งในการวัดระดับความสามารถ ความเร็วในการพิมพ์ เป็นการแสดงถึงทำให้ได้ภาระงานเพิ่มขึ้น คือ ใช้เวลาในการพิมพ์งานเช่น หนังสือ 1 ฉบับ ถ้าสามารถพิมพ์ให้เสร็จได้โดยไม่ผิดใช้เวลา 10 นาที ถือว่าผ่าน สำหรับผู้ที่ไม่ผ่านเนื่องจากใช้เวลาในการพิมพ์ 20 - 30 นาที แบบนี้ ถือว่าทำให้ใช้เวลาในการพิมพ์มากกว่าผู้ที่ใช้เวลาพิมพ์เพียง 10 นาที เปรียบเทียบได้ว่าคนที่พิมพ์แล้วใช้เวลา 10 นาที/1 ฉบับ เขาสามารถใช้เวลา 30 นาที พิมพ์หนังสือได้ถึง 3 เรื่อง 3 ฉบับ ผิดกับผู้ที่ใช้เวลาในการพิมพ์หนังสือ  30 นาที/ 1 ฉบับ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการทำงานล่าช้าไม่รวดเร็ว เพราะการทำงานของรัฐมีงานอื่นที่จะต้องปฏิบัติอีกมากมายหลายเรื่อง ซึ่งเรียกว่า "ภาระงาน" ไงค่ะ...
  • ถ้าไม่ผ่าน ต้องหมั่นฝึกหัดพิมพ์ให้คล่อง อย่าท้อ ว่าถ้าไม่ได้แล้วต้องเลิก อย่าคิดเช่นนั้น การที่คนจะพิมพ์คล่อง ชำนาญ เร็ว ได้นั้น มาจากคนที่เขาหมั่นฝึกหัดในการพิมพ์ ให้เร็วขึ้น ลองดูนะค่ะ...ไม่มีอะไรยากเกินกว่าตัวเราเองมีความตั้งใจ มีความสามารถค่ะ...เป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันนะค่ะ...

ขอพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ ถ้ามีข้อสงสัยถามได้อีกไหมครับ

ตอบ...คุณน้องใหม่...

  • ยินดีค่ะ...

เรียนถามอาจารย์ ครับทำไม่ไม่ให้ลูกจ้างประจำสามารถกินเงินเดือนข้ามระดับได้เลยครับเมื่ีอเต็มแล้วให้กิน 2เปอร์เซ้นต์ 4 เปอร์เซ็นต์ ทำไม่ไม่หให้ข้ามแท่งเหมือนราชการครับ ทำไมใจร้ายเหลือเกิน ต้องรอตายกับลาออกเท่านนั้น นี้คือชีวิตลูกจ้าง ทำก็ดูเหมือนดี

 เกษียร์อายุราชการเท่าน้้น ผมเคยได้ยินว่าสามารถข้ามแท่งได้ แต่เอาจริงก็ไม่ได้ ต้องมีตำแหน่งเท่านั้น จึงจะกินเงินเดือนระดับที่สูงกว่าได้ วอนลูกจ้างให้เข้าใจด้วยครับ

 

ตอบ...หมายเลข 2357758...

  • ของข้าราชการก็ไม่เคยมีนี่ค่ะ...ไม่เคยมีใครกระโดดข้ามซีค่ะ...ยกเว้นเงินเดือนของข้าราชการถึง และก็ต้องมีคุณสมบัติอื่นประกอบอีกหลาย ๆ เรื่อง...
  • การกระโดดข้ามระดับ ก็ต้องดูด้วงมังค่ะ ว่าตัวเรามีคุณภาพที่จะทำได้หรือไม่ อาจดูในเรื่องการพัฒนาตนเอง เพราะถ้าปฏิบัติเช่นเดิม รัฐคงจะไม่ให้หรอกค่ะ...เรียกว่า ในกระบวนการภายในเกี่ยวกับข้อบังคับ กฎหมายต่าง ๆ ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ มีความแตกต่างกันค่ะ...อาจเนื่องมาจากสาเหตุลูกจ้างประจำเป็นประเภทสนับสนุนงานของข้าราชการด้วยกระมังค่ะ จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันในภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย...
  • ผู้เขียนคิดว่า รัฐทำมาให้ถึงปัจจุบันก็ดีขึ้นกว่าเดิมนะค่ะ...ถ้าเป็นเหมือนเดิม ลูกจ้างประจำก็ติดอยู่กับตำแหน่งเดิม ๆ อย่างที่เป็นกันหลายส่วนราชการไงค่ะ...ตอนนี้รัฐก็เปิดให้มากเลยนะค่ะ...ค่อยเป็น ค่อยไปเถอะค่ะ...ค่าจ้าง ใคร ๆ ก็ต้องการที่จะได้รับกันมาก ๆ อยู่หรอกค่ะ ว่าแต่งานก็ต้องทำให้ได้มาก ๆ ตามไปด้วยนะค่ะ...
  • รัฐรวมขั้นค่าจ้างให้น้อยลงกว่าเดิมมีตั้งหลายหมวดแล้ว ดูแล้ว ก็ขยายเพดานขึ้นไปอีก ดีกว่าเดิมค่ะ...แต่จะให้ดีเท่าที่เราอยากเป็นคงจะยากค่ะ ใคร ๆ ก็อยากได้...
นาย เสกสรร สกุลเพชรทองคำ

***.....เรียน อาจารย์ ที่เคารพยิ่ง

กระผมเองไกลวันที่จะเกษียนอายุแล้ว...เดิมมีอยู่ว่า ผมเป็นทหารกองประจำการมา 2 ปี มีเพื่อนที่เป็นทหารอยู่ตอนนี้บอกว่า

ไปขอใบรับรองรับราชการจากต้นสังกัดมาแล้ว จะทำหนังสือส่งเจ้านายเขาบอกว่า ต้องหาหนังสือกระทรวงการคลังอ้างอิงไปด้วย

ผม Search หาใน Net หาไม่ตรงกับความต้องการ ช่วยผมหน่อยครับท่าน จะเป็นพะคุณอย่างยิ่ง

ด้วยความเคารอย่างสุง

เสกสรร สกุลเพชรทองคำ

อีเมล์ [email protected]

www.sangtsan.tarad.com

081-1414366

ตอบ...คุณเสกสรร...

  • ไม่เข้าใจคำถามค่ะ ว่าหนังสือกระทรวงการคลังเกี่ยวกับเรื่องอะไรค่ะ..
  • กรุณาแจ้งให้ละเอียดด้วยค่ะ...ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณบุษยมาศค่ะ

ดิฉันเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่แขวงฯแพร่ กรมทางหลวง ต้องการแนวข้อสอบเลื่อนระดับลูกจ้างประจำ อ.พอจะมีบ้างไหมค่ะ..พอดีหน.ให้หาน่ะค่ะ...ของพ.สถานที่ พ.รักษาความปลอดภัย พ.พิมพ์ ถ้าไม่มีไม่เป็นไรนะคะลองสุมดู..แต่ขอชมนะคะว่าเนื้อหาข้อมูลในblogให้ความรู้มากมายก่ายกองเลยค่ะ...ขอให้สุขภาพแข็งแรงและมีความสุขมากๆนะคะ(หนูแจ่มใส)

ตอบ...คุณแจ่มใส...

  • การเลื่อนระดับของลูกจ้างประจำ แนวข้อสอบก็ขึ้นอยู่กับส่วนราชการค่ะ เพราะภาระหน้าที่แต่ละส่วนราชการมีความแตกต่างกันค่ะ อยู่ที่คน ๆ นั้น ปฏิบัติงานอย่างไร อาจถามเชิงบรรยาย แล้วให้ผู้สอบตอบตามความคิดเห็นของเขาว่าเข้าประเด็นคำถามหรือไม่...เช่น พนักงานพิมพ์ ก็ให้ทดสอบในเรื่องของความเร็ว ระเบียบงานสารบรรณ ฯ พนักงานสถานที่ พ.รักษาความปลอดภัย อาจทำคำถามในเรื่องของความรับผิดชอบของเขา เมื่อได้รับมอบหมายแล้ว หัวหน้าส่วนราชการต้องเป็นผู้ที่คิดในเรื่องของข้อสอบแล้วละค่ะ...สำหรับที่ ม. เวลาจะสอบก็จะเป็นข้อสอบประมาณแนวที่บอกนี่ค่ะ ถ้าเขาได้ เขาก็จะสามารถตอบคำถามได้ดี แล้วก็มีการสัมภาษณ์ด้วยค่ะ จะได้สอบถามความคิดเห็นของเขาได้แนวคิดเพื่อให้เขาได้ปรับปรุงผลการทำงาน การพัฒนาตนเองและเพื่อส่วนราชการค่ะ...
นาย เสกสรร สกุลเพชรทองคำ

*..กราบเรียน อาจารย์ที่เคารพ...

กระผม นายเสกสรร สกุลเพชรทองคำ ตำแหน่ง ผู้ช่วยช่างไม้(กลุ่มงานช่าง)

ประจำอยู่ ศูนย์วนวัฒนวิจัยภาคเหนือ กลุ่มงาน วนวัฒนวัจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่ไม้ กระผมเคยรับราชทหารกองประจำการ สังกัดกองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2517 ถึง 1 พ.ย.2519 เป็นเวลา 2 ปี วันหนึ่งกระผมไปเจอเพื่อนที่เคยเป็นทหารร่วมรุ่นด้วยกันตอนนั้น ตอนหลังเขาสอบรับราชการเป็นนักการภารโรงเขาได้ไปขอใบรับรองเวลารับราชการตอนเป็นทหาร และรายการรับเงินเดือนหรือเบี้ยหวัด (แบบ "ส"ข.7) มาแล้ว เพื่อไปขอวันเพิ่ม/หรือ ที่ภาษาราชการว่า ขอวันทวีคุณ ตอนเกษียนอายุเพิ่ม 2 ปี ได้ แต่ตอนนี้กระผมขอใบรับรองราชเวลาราชการจากต้นสังกัดมาได้แล้ว อยากรู้ว่าเอกสารที่ขอวันเพิ่ม/ทวีคุณยังมีอะไรอิกหรือเปล่าครับ ถามเจ้านายก็ไม่รู้ ช่วยแนะนำให้กับกระผมด้วยครับ ขอขอบพระคุณอย่างสุง

ด้วยความเคารพ

นาย เสกสรร สกุลเพชรทองคำ

www.sangtsan.tarad.com= [email protected] = tel 081-1414366

ตอบ...คุณเสกสรร...

  • วันทวีคูณนั้น จะมีผลตอนเมื่อเราจบจากการรับราชการแล้ว สามารถนำมานับรวมกับเวลาปฏิบัติราชการได้ค่ะ เช่น ในวันทำการเราปฏิบัติราชการมา 30 ปี และมีวันทวีคูณเพิ่มอีก 2 ปี แทนที่เราจะมีอายุการรับราชการเพียง 30 ปี เราก็สามารถนับรวมวันทวีคูณเพิ่มอีก 2 ปี เป็นรวมเวลาราชการทั้งสิ้น 32 ปี ไงค่ะ เพื่อประโยชน์ต่อตัวเราในวันที่เราได้รับบำนาญหรือบำเหน็จสำหรับข้าราชการ ส่วนลูกจ้างประจำก็จะมีประโยชน์ในการที่กรมบัญชีกลางใช้นับรวมในวันที่ตัวเรารับบำเหน็จหรือบำเหน็จรายเดือนไงค่ะ...(เรียกว่าตัวเราได้นับเวลาเพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ)...
นาย เสกสรร สกุลเพชรทองคำ

ตอบคำถาม..ที่อาจารย์ไม่เข้าใจ เป็นเอกสารที่คนอื่นแนะนำให้มาอ้างอิง แต่เป็นเลขที่ของอเอกสารหนังสืออ้างอิงเท่านั้นหาคำสั่งไม่เจอ สำเนาว่า ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค.0504/17601 ลงวันที่ 27 มิ.ย 2520 เรื่องรับรองเวลาราชการ แต่ค้นหาแล้วไม่

พบครับอาจารย์

ด้วยความเครพยิ่ง

นาย เสกสรร สกุลเพชรทองคำ

เชียงใหม่

ตอบ...คุณเสกสรร...

  • ให้สอบถามไปที่กรมบัญชีกลางจะดีกว่าไหมค่ะ...เพราะเป็นเจ้าของเรื่องโดยตรงค่ะ...
นายศักดิ์สิทธิ์ จาดนอก

คุณครับผมเป็นภไรได้บ้างารโรง แต่ผมจบปริญญาตรี การปกครองผมสามรถปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอะ

นายศักดิ์สิทธิ์ จาดนอก

ท่าน ผอ ครับผมเป็นภารโรง อบต ผมอยากเปลี่ยนสายงานสามรถเปลียนไปตำแหน่งใดได้บ้างครับท่าน ผอ

ตอบ...คุณศักดิ์สิทธิ์...

  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับการที่คุณได้ปฏิบัติหน้าที่อะไรอยู่ในปัจจุบันนี้...สำหรับหน้าที่ที่ยังไม่เคยปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับส่วนราชการแต่ละส่วนราชการอาจจะกำหนดตำแหน่งให้ใหม่ โดยการสอบคัดเลือกให้คณะกรรมการได้พิจารณาค่ะ...
  • อีกอย่างขึ้นอยู่กับการพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าในอาชีพของตำแหน่งนั้นด้วยค่ะ...

เรียน ท่านอาจารย์

             คือผมทำงานอยู่กรมชลประทานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย บ1   แต่ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับสนามและ       พิมพ์แบบ อยู่งานวิศวกรรม  ตอนนี้มีการสมัครสอบให้เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย บ2  อยากทราบว่า
             1. จะเปลี่ยนเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย บ2 ได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันเงินเดือนเต็มขั้นแล้ว
              2. ถ้าเปลี่ยนเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย บ2 แล้ว จะเปลี่ยนตำแหน่งอื่นได้หรือไม่ครับ

ตอบ คุณสุวรรณ

        ไม่ทราบว่า ปัจจุบัน คุณเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการอยู่หรือไม่ ความจริงทางกระทรวงการคลังมีหนังสือแจ้งมาให้ปฏิบัติ คือ ถ้าเป็น รปภ. คนงานสนาม แม่บ้านนั้น ให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างเหมาค่ะ แล้วพอปรับอัตราใหม่แล้วก็ไม่มีตำแหน่งนี้แล้วนี่ค่ะ งง ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท