มาเฝ้าระวัง ดูแล ชายหาดกันเถิด


มาเฝ้าระวัง ดูแล ชายหาดกันเถิด

เพื่อบ้านเมืองของเรา ลูกหลานของเราในอนาคต จะได้มีหาดทรายสวย ๆ ก่อนที่จะไม่มีให้ชื่นชม

คำสำคัญ (Tags): #ชายหาด
หมายเลขบันทึก: 88438เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (109)

4/4/50 Newsletter#26 (The differnces ???)

สวัสดีครับ BWN ทุกท่าน
    เมื่อวันที่ 3 เมษา 50 ผมได้ไปร่วมเสวนากับพี่น้อง
สมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน ซึ่งมาจากทั่วภาคใต้ ทำให้มี
บรรยากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นในความสามัคคี โดยเสวนา
กันในหัวข้อ "ผลกระทบจากการพัฒนาชายฝั่งภาคใต้"
ซึ่งผมได้นำเสนอสไลด์ ที่แสดงให้เห็นถึงความเสียหาย
ต่อชายหาดตลอดแนว อ.เทพา จ.สงขลา- อ.ปากพนัง
จ.นครศรีฯ
    การนำเสนอของผมมาจบลงด้วยรูปการทำประชา-
พิจารณ์เขื่อนหิน จ.สงขลา ซึ่งมีการอ้างว่าชาวบ้าน
ต้องการเขื่อนหินอย่างไม่ลืมหูลืมตา ขณะที่รูปถัดมา
เป็นการต่อสู้ไม่เอาเขื่อนหินริมเล ของชาวบ้านย่าหมี
อ.เกาะยาว พังงา ซึ่งชาวบ้านต้องนอนกลางหาดจน
ถึงปัจจุบันนี้ เพื่อรักษาทรัพยากรชายหาดไว้เป็นมรดก
ให้ลูกหลาน (รูปที่ใส่ไว้ใน web BWN)
http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html
หรือที่ mambo psu
http://mamboeasy.psu.ac.th/~somboon.p/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36
     สิ่งที่เป็นคำถามค้างคาใจของผม และขอฝาก
ให้พวกเราคิดต่อ ก็คือว่า ทำไมวิธีคิดของชาวบ้านฝั่ง
อ่าวไทยกับชาวบ้านฝั่งอันดามัน จึงได้แตกต่างกัน
มากถึงเพียงนี้ .... ใครคิดได้ช่วยตอบด้วย
 
Make Our Beach Alive

เรียนเพื่อน ๆ ชาว BWN ที่รัก

 

วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับคนที่อยู่ร่วมในการทำประชาพิจารณ์(จอมปลอม...อีกแล้ว)ที่ว่า  เขาบอกว่ามันไม่ใช่เป็นการประชาพิจารณ์แต่เป็นการบอกชาวบ้านในขั้นตอนสุดท้าย  เพราะมีการอนุมัติในสัญญาการประมูลก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว  เพราะฉะนั้นเวทีในวันนั้นคือเวที"บอกกล่าว"ถึงงบประมาณที่ได้มาสู่ท้องถิ่นเพื่อสร้างความหายนะต่อลูกหลานในอนาคตต่อไป

เขายังบอกอีกว่าเป็นคนที่ไม่สนับสนุนต่อพฤติกรรมดังกล่าวของหน่วยงานภาครัฐและนักการเมืองท้องถิ่น(ซึ่งเขาก็เป็นนักการเมืองท้องถิ่นด้วย)  ส่วนหนึ่งเขาได้ให้สัมภาษณ์กับ นสพ.โฟกัส แล้ว  แต่ผมยังหาอ่านไม่ได้เลยไม่มีรายละเอียด 

และคิดว่าเขาน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในแนวร่วมระดับพื้นที่ได้

ถ้ามีข่าววันต่อไปจะนำมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ

-sea wind-

web ดูดีมากค่ะ  รู้สึกดีใจในบรรยากาศ "คนละไม้คนละมือ" จะหาข้อมูลมาร่วมพูดคุย  เร็วๆ นี้

กัลยาณี

5/4/50 Newsletter#27 (Nice Links to BWN Context)
   ผมขอเชิญชวนผู้ที่สนใจรักษาทรัพยากรชายหาด
ทุกท่าน ร่วมหาความรู้เรื่องชายหาดในทุกมิติได้จาก
website ต่อไปนี้ ซึ่งจะเปิดโลกและความเข้าใจไปสู่
แนวทางการรักษาชายหาดไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน
ตลอดไป  เชิญครับ Nice Links :
http://www.fridaycollege.org/index.php?file=nature&obj=forum.view(cat_id=env,id=17)
http://www.biolawcom.de/?/guestbook
http://www.biolawcom.de/?/article/201
http://www.surfrider.org/seawall/photo.asp
http://mamboeasy.psu.ac.th/~somboon.p/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36
    เข้าไปชมแล้ว อย่าลืม save ที่อยู่ URL ไว้ด้วย
จะได้ไม่ลืม  แล้วเขียนมาบอกกันบ้างนะครับ ว่า
คิดเห็นอย่างไร ขอให้ทุกคนมีความสุขสวัสดิภาพ
ในวันหยุดจักรี 6 เมษา นี้นะครับ

ทำความดีวันละนิด จิตแจ่มใส
Help Save Our Beaches

ขออภัยด้วยครับ ผมพิมพ์ขื่อ web ผิดไปนิด

จึงขอให้เปลี่ยนจาก

http://www.biolawcom.de/?/guestbook

เป็น

http://www.biolawcom.de/?/blog/445

    มีคนเข้าไปแสดงความเห็นเรื่องชายหาดที่

web นี้พอสมควร

 

 

ขอส่งกำลังใจให้ผู้หวงแหนทรัพยากรชายฝั่งทุกท่านที่กำลังต่อสู้อยู่  โดยเฉพาะท่านที่โดนม๊อบโห่ไล่ในการแสดงความเห็นต่อต้านการสร้างเขื่อนหินค่ะ  ยังมีผู้เข้าใจและเห็นใจท่านอยู่ค่ะ

  • กราบสวัสดีทุกท่านครับ
  • ผมได้เขียนเสริมไว้ในบทความเกี่ยวกับการกัดเซาะชายฝั่งไว้นิดหนึ่งด้วยครับ
  • ลองเชิญท่านเข้าเยี่ยมได้ที่นี่ ครับ เก็บมาฝาก การกัดเซาะตามแนวชายฝั่งเกิดขึ้นได้อย่างไร โดย ดร.วัฒนา กันบัว
  • เห็นด้วยว่าจะต้องช่วยกันดูและ เข้าใจธรรมชาติกันมากขึ้นนะครับ
  • ขอบคุณท่าน อ.สมบูรณ์ ด้วยครับ ที่ให้ข้อมูล แล้วผมได้แนวทางในการมองการจำลองทางคณิตศาสตร์ในส่วนนี้อยู่เหมือนกันครับ
  • วันหน้าคงเกิดในเมืองไทย ครับ โปรแกรมจำลองเรื่องเหล่านี้
  • ขอบคุณมากครับ

 เรียน คุณ sea-wind ที่นับถือ

    ผมต้องขอขอบคุณอย่างยิ่งที่บอกเล่าข่าวประชาพิจารณ์ สร้างเขื่อนหินชายฝั่งสงขลามาให้ทราบกัน แม้ว่าจะยังมีข้อมูลไม่มากก็ตาม ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มและตรวจทานแล้ว กรุณาเขียนมาบอกด่วนนะครับ

    ผมขอเรียนว่า ประชาพิจารณ์นั้นทำกันในมัสยิด ที่ถือว่าเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่น้อมจิตเคารพพระผู้เป็นเจ้า แต่กลับมีการพูดเท็จกันอย่างไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรม ซึ่งมีตอนหนึ่งตัวแทนกรมเจ้าท่ากล่าวว่า ชายฝั่งบริเวณนี้พังทลายเพราะมีถนนอยู่บนชายฝั่ง  อะไรกันนี่.. เอาตัวรอดจากความผิดของตัวโดยการโทษถนนที่สร้างมานานนับสิบปี และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลยแม้แต่น้อย

     นอกจากนั้นตัวแทนกรมเจ้าท่ายังบอกอีกว่า สาเหตุเพราะลมเปลี่ยนทิศ .. โทษลมอีก และอ้างว่าการพังทลายเกิดเฉพาะบริเวณบ้านนาทับกับบ่ออิฐเท่านั้น แต่เขาไม่พูดถึงการพังทลายที่บ้านบ่อโชน ต.สะกอม สงขลาที่ทางกรมเจ้าท่าไปสร้างเขื่อนหินไว้

     เรื่องนี้ต้องให้ศาลปกครองตัดสินครับ จะได้รู้กันสักทีว่า การพังทลายของทรัพยากรชายหาดและชายฝั่งนั้น เกิดจากคนเห็นแก่ตัวเพียงหยิบมือ  

     ถ้าเราคนไทยสามารถแก้ปัญหาชายหาดได้ ผมรับรองได้ครับว่าปัญหาบ้านเมืองอื่นๆจะค่อยตกไป เราต้องเริ่มจากประเด็นง่ายๆเหล่านี้แหละครับ

Help Save Our Beaches 

ขณะนี้ slide การกัดเซาะชายฝั่ง จ.สงขลา พร้อมคำบรรยาย ที่เหมาะกับใช้ในการสอน ได้ถูกไว้ใน web BWN แล้ว โปรดเข้าชมและ load ไว้ใช้ต่อได้เลยครับ

Make Our Beach Alive


Somboon Pornpinatepong, Ph.D
Beach Watch Network (BWN)
http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html 

8/4/50 Newsletter#27 (Urgent ! New Harbor's Public Hearing)

มันมาอีกแล้ว... ! ถึง เพื่อนๆ BWN
    กรมเจ้าท่าจะจัดประชาพิจารณ์ "โครงการสร้าง
ท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ที่ อ.สะทิงพระ จ.สงขลา"
ในวันที่ 11 เมษายน 2550 เวลา 14:00-16:00 น
ที่โรงเรียนชุมชนบ้านบ่อประดู่ อ.สะทิงพระ
    มีข้อสังเกตว่า ขณะที่กรมทรัพยากรทะเลและ
ชายฝั่งกำลังจัดทำแผนฟื้นฟูชายฝั่งทั่วประเทศ
กรมเจ้าท่ากลับเร่งรีบจะสร้างท่าเรือและเขื่อนหิน
และไม่ยอมทำการประเมินโครงการเขื่อนหินฯที่ผ่าน
มา ซึ่งทำให้ชายหาดและฝั่งพังทลายทั่วประเทศ
    ขณะนี้ชาวบ้านที่รักธรรมชาติ กำลังต่อสู้อย่าง
โดดเดี่ยวเพื่อรักษาทรัพยากรชายหาดนี้ไว้ให้คน
ไทยทุกคน จึงขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นกำลังใจให้
ด้วย ขอรายละเอียดได้ที่ คุณทวี โทร074-485265  

"ชายหาดสงขลา คนสงขลาต้องตัดสินใจ"
Save Our Beach

 

10/4/50 Newsletter#29 (Good new ! DMR against HD)

สวัสดี  BWN
     นสพ. มติชน ฉบับ 10 เมษายน 50 หน้าชีวิตคุณภาพ ลงข้อความของคุณนิศากร อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง (DMR) ว่า คณะอนุกรรมการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง เสนอให้กรมเจ้าท่า (HD) หยุดสร้างเขื่อนริมทะเล เพื่อรอแผนแม่บทฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง
      ผมได้พูดคุยกับทางกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งพบว่า ถ้าไม่มีแรงกดดันจากคนดีท้องถิ่นหนุนช่วย ก็ยากที่จะต่อกรกับคนเลวแค่หยิบมือได้  ทำให้ผมเห็จสัจจธรรมอย่างหนึ่ง คือ "พวกโจรจะขยันขึ้นปล้นบ้าน และเจ้าของบ้านก็เอาแต่หลับนอน" แล้วอย่างนี้จะโทษโจรหรือเจ้าของบ้านดีว่าใครที่ไม่ทำหน้าที่ ก็ฝากข้อคิดไว้นะครับ
      อย่าลืมนะครับ 11 เมษายน 2550, 14:00-16:00 น โจรจะมาจัดประชาพิจารณ์ "สร้างท่าเรือที่ อ.สะทิงพระ" ที่โรงเรียนชุมชนบ้านบ่อประดู่ อ.สะทิงพระ สงขลา ใครอยากจะไปจับโจร เชิญได้เลย รายละเอียดติดต่อ คุณทวี โทร074-485265  

"ร่วมรักษาชายหาด ก่อนไม่มีหาดทรายให้รักษา"
Save Our Living Beaches

11/4/50 Newsletter#30 (Good News Update)

สวัสดีครับ  BWN
      วันนี้ 11 เมษา 50 ชาวสะทิงพระได้ประชุมฯกับ
กรมเจ้าท่าเรื่อง "สร้างท่าเรือที่สะทิงพระ" เมื่อประชุมเสร็จพี่น้อง โทรมาแจ้งว่า ตัวแทนกรมเจ้าท่าไม่สามารถตอบคำถามของชาวบ้านได้เลย
     เมื่อให้โวต ปรากฎว่า ชาวบ้านเกือบทั้งหมด (150 คน)ไม่เอาโครงการฯ และมีเพียง 3 คนเท่านั้นที่อยากได้ นับป็นข่าวที่น่ายินดี และขอชมเชยในความรักและหวงแหนธรรมชาติของพี่น้องชาวสะทิงพระ กรมเจ้าท่ายังบอกในตอนสุดท้ายว่า จะกลับมาจัดประชุมฯอีกครั้งเพราะเป็นโครงการใหญ่มาก  
      ผมนำข่าวนสพ. มติชน ที่กรมทรัพยากรทะเลและ
ชายฝั่ง มีมติให้ กรมเจ้าท่าหยุดสร้างเขื่อนริมทะเล เพื่อรอแผนแม่บทฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ลงไว้ใน web BWN แล้ว
      นอกจากนี้ยังได้ใส่ข้อมูลความรู้เรื่องชายหาด ในรูปของ powerpoint ที่ง่ายต่อการนำไปเผยแผ่ ได้แก่
 - พัฒนาการของชายฝั่ง
 - คำถามที่พบบ่อยเรื่องคลื่นกับชายหาด
 - การพังทลายของชายฝั่งสงขลา
 - การพังทลายของชายฝั่งปากพนัง
      และอีกหลายเรื่อง โปรดแวะชมและ load files ไปใช้ได้ที่
http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html
และอย่าลืมช่วยแสดงความเห็นที่
http://gotoknow.org/blog/bwn/88438
      ผมเชื่อว่าการรักษาทรัพยากรชายหาด กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งถ้าช่วยกันออกแรงอีกนิด จะสามารถพิชิตชัยชนะได้

"ร่วมรักษาชายหาด ก่อนไม่มีหาดทรายให้รักษา"
Make Our Beaches Alive

I'm glad to know you.

รู้สึกดีที่ได้รู้จักอาจารย์ที่สละเวลาเพื่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่มาประท้วงอยู่แต่ที่กรุงเทพฯ ไม่สนใจส่วนอื่นๆของโลกเลย หนูได้ forward ประชาสัมพันธ์ไปยังโรงเรียนอาชีวศึกษา หวังว่าจะเป็นกำลังใจและมีส่วนช่วยทางอ้อมได้บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ

ถึงผู้ที่รักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่น่ารักทุกท่าน

     วันที่ 12 เมษายน 2550 เวลา 9:00-12:00 น  กรมเจ้าท่าจัดประชุมฯ เรื่อง "การสร้างท่าเรือน้ำลึกใน จ.สงขลา" โดยคราวนี้จัดที่บ้านปากบาง สะกอม จากนั้นช่วงบ่ายจะไปจัดที่บ้านนาทับ  ทั้งๆที่ที่เมื่อวานนี้ (11 เมษา) ชาวสะทิงพระได้ลงมติเกือบเอกฉันท์ที่จะไม่เอาท่าเรือน้ำลึก
     ผมแปลกใจมากว่า มันเป็นโครงการอะไรกันแน่เพราะมาค่อนข้างเงียบ เร่งรีบ และไม่ยอมตอบข้อสงสัยของชาวบ้าน ขณะที่กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งกำลังจัดทำแผนแม่บทฟื้นฟูชายฝั่งทั่วประเทศ

     ใครรู้ช่วยตอบที ผมขอขอบคุณทุกความเห็นที่เขียนมาติชมกัน ยังมีสาระที่น่าติดตามอีกมาก เชิญแวะชมได้ที่ web BWN
http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html


"ร่วมรักษาชายหาด ก่อนไม่มีหาดทรายให้รักษา"
Make Our Beaches Alive

 

รายละเอียดการสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 อ่านได้ที่ website ประชาไท ที่ 

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?

เขียนได้ดี ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ได้รู้ว่า โครงการขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบมากมายต่อทรัพยากรธรรมชาติ แต่ก็แอบทำกันเงียบๆ ระหว่างกรมเจ้าท่า กับ บริษัทที่ปรึกษา ซึ่งก็เป็นเจ้าเดียวกับที่ทำชายหาดสงขลาพังทลายนั่นเอง แปลกใจว่าทำไมพวกนี้จึงไม่รู้สำนึกผิดบ้างเลย

    ช่วยกันหน่อยนะครับ ห้ามท้อถอยเด็ดขาด พวกมารยังขยันจะตาย เราคนดีจะท้อได้อย่างไร

 

 

ถึงเพื่อน BWN
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "คนนาทับอ้าแขนรับ
ท่าเรือสงขลา 2 และพรุ่งนี้ (13 เมษา) กรม
เจ้าท่าจะสำรวจและออกแบบทันที"
    นี่ประเทศไทยถูกกำหนดด้วยคนเห็นแก่ตัว
เพียงแค่นั้นหรือ ผมขอถามว่า พี่น้องคนอื่นๆ
ไม่มีสิทธิออกความเห็นหรือไร มันเร่งขนาด
วันสงกรานต์ก็ไม่หยุด  ถ้าไม่ทำประเทศไทยจะ
ล่มสลายหรือไร
     เราควรจะต้องเอาจริงกันได้แล้วละครับ
ผมจะไปนาทับ และถามดูว่าประเทศไทย
เป็นของใครบ้าง

ชายหาดสงขลา คนสงขลาต้องตัดสินใจ
SAVE OUR BEACH

อยากเชิญชวนเพื่อนๆ BWN เข้าเยี่ยมชม Website ที่ให้ ความรู้เรื่องหาดทรายที่ดีมากๆ และออกแบบได้สวยงามน่าประทับใจ

http://www.surfrider.org/ http://www.surfrider.org/whatwedo2c.asp http://www.surfrider.org/whatwedo2b.asp

สาระที่น่าเรียนรู้ เช่น Beachology, Studies in Sand และ Sand Travels จะช่วยเปิดโลกให้เห็นคุณค่าหาดทราย ใครเข้าไปชมแล้วเขียนมาบอกกันบ้างนะ

 เมื่อวานนี้ 28 เมษายน 50 ผมเผอิญดูโฆษณาสั้นของกรมเจ้าท่า เรื่อง การสร้างเขื่อนริมทะเลตลอดแนวชายฝั่งสงขลา-นครศรีฯ ซึ่งอ้างว่า ประชาชนสนับสนุน และได้ประโยชน์มากมายจากการสร้างเขื่อน
ริมทะเล
      ผมอยากบอกว่า กรมเจ้าท่าไม่ได้รักษาทรัพยากรชายฝั่งที่มีคุณค่ามหาศาล และทำลายมรดกของลูกหลานทิ้งจนหมด นับเป็นพ่อแม่ที่ใช้ไม่ได้ ทั้งๆที่ความรู้ในการอนุรักษ์หาดทรายมีอยู่มากมายในโลกนี้เลย แต่กลับเลือกหนทางทำลายแทน ก็ขอฝากถึงทุกคนให้ช่วยกันติดตาม และร่วมแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง
      มี website ที่ผมขอแนะนำให้เข้าไปชม ซึ่งเขาก็พยายามอย่างหนักเพื่อรักษาชายหาดไว้เช่นกัน คือ
http://www.norock.org/nosand/default.htm
      ชมแล้วเขียนมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

Save our beaches

      พี่น้องชาวหาดท่าหลา ภูเก็ต ที่รักษ์ทรัพยากรชายหาด เขียนมาแจ้งข่าวการต่อสู้ เพื่อรักษาชายหาดท่าหลา ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่า ชาวต่างชาติได้รุกคืบมายึดครองทรัพยากรชายหาดอันมีค่าของเราไป ซึ่งก็คงคล้ายไกับกรณีของอ่าวมาหยา เกาะพีพี จ.กระบี่ที่ถูกทำลายไปโดยบริษัท FOX เมื่อหลายปีก่อนนี้
      อ่านรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ web BWN
http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html
หรือที่
http://mamboeasy.psu.ac.th/~somboon.p/index.php?option=com_content&task=view&id=25&Itemid=36

Save our beaches

มีเพื่อน BWN ที่เป็นข้าราชการ เขียนมาแจ้งข่าวและขอข้อแนะนำในการแก้ปัญหาชายฝั่ง คือ

1. การสร้างท่าเรือที่ภูเก็ตนั้น มีจำนวนมาก มักสร้างในเขตปะการังน้ำตื้น ที่เราต้องสงวนรักษา แต่โดนตำหนิจากที่ประชุมอย่างรุนแรงเสมอ ในข้อหาเป็นตัวถ่วงความเจริญของการพัฒนาจังหวัด ว่าปะการังกองเดียว มันจะอะไรกันนักหนาสรุปแล้ววิชาการที่ร่ำเรียนมาไม่สามารถเอามาช่วยอนุรักษ์รักษาทรัพยากรทางทะเลได้ เพราะผู้ใหญ่ทางจังหวัดไม่เอาด้วย

2. พอจะมีข้อมูลการกัดเซาะบริเวณพระตำหนักทักษิณฯที่นราธิวาสไหม เรื่องนี้สำคัญมากเพราะต้องหาคำตอบและเสนอแนวทางแก้ไขเบื้องต้น เท่าที่ทราบมีการกัดเซาะอย่างมาก จากการดูพื้นที่เบื้องต้นพบเขื่อนดักทรายที่สร้างต่อเนื่องมาจากแม่น้ำโกลกจำนวน 33 ตัว มีระยะทางรวมกว่า 20 กม. เหลืออีก 10 กม. ก็ถึงพระตำหนักแล้ว อันนี้เป็นสาเหตุที่ถูกต้องหรือไม่ครับ และมีอันอื่นอีกเหลือไม่ แนวทางแก้ไขคืออะไร

       ผมมีสมมติฐานวิธีการแก้ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งของสังคมไทย ดังนี้
      (ก)  ใครก็ตามที่เสนอสร้างเขื่อนหินและใช้จ่ายเงินมากๆ จะได้รับการชื่นชมจากหน่วยงานและผู้ใหญ่ของรัฐฯ
      (ข) ในทางกลับกันใครก็ตามที่ต้องการรักษาทรัพยากรชายหาดให้ยั่งยืนด้วยวิถีธรรมชาติ ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองนี้จะบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้  
       ผมขอตอบคำถามของเพื่อน BWN ในเบื้องต้นดังนี้ 

1. เสนองบประมาณในการโยกย้ายประการังไปไว้ที่อื่น รับรองว่าได้รับการยอมรับและได้งบประมาณแน่นอน ยิ่งเสนองบฯมาก ยิ่งได้รับการยอมรับ และประการังก็ยังคงอยู่ในทะเลต่อไป
    
2. ให้นำรูปการพังทลายชายฝั่งจากเขื่อนหิน ที่บ้านบอคณที อ.ปากพนัง ไปให้ ผอ.ดู  ภาพนั้นสามารถบรรยายได้มากกว่าหมื่นคำพูด แล้วท่านจะตัดสินใจเอง ถ้าทางกรมจะเชิญผมไปบรรยายให้ก็ยินดี นศ. Delft ได้ศึกษาที่นั่นไว้บ้างแล้ว ซึ่งปัญหาก็เหมือนกัน คือทรายถูกยับยั้งไว้ที่เขื่อนหินตลอดแนว ทำให้ไม่มีทรายหล่อเลี้ยงชายฝั่ง
        การสร้างประการังเทียม และระบายทรายที่ถูกกักไว้ตามตัวรอต่างๆ มาไว้ที่หน้าพระตำหนักฯ สภาพธรรมชาติก็จะคืนมาเอง

Save our beaches

ด่วนครับ  BWN ที่รักในชายหาดสงขลาทุกท่าน
      เป็นที่แนน่นอนแล้วว่า กรมเจ้าท่าฯจะเริ่มสร้างเขื่อนริมทะเลตลอดแนวชายฝั่งสงขลาฯ ปลายเดือน พ.ค. 50 นี้ ด้วยงบก้อนแรกกว่า 260 ล้านบาท ชาวบ้านปึก ต.นาทับ บอกผมเมื่อวันพุธ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา เมื่อผมได้แวะไปที่นั่นเพื่อเตรียมการพาผู้สนใจไปทัศนศึกษาในวันสิ่งแวดล้อมโลกที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5-7 มิ.ย.นี้
      วันนั้นน้ำทะเลสงบ ใสเป็นสีฟ้าอ่อน ชายหาดที่หลงเหลือเป็นแนวแคบๆนั้น มีเด็กเล็กๆสิบกว่าคนจากหมู่บ้านพากันมาวิ่งเล่นบนชายหาด ลงเล่นน้กและจับหอยเสียบกันอย่างสนุกสนาน  เขาจะรู้บ้างใหมว่าพ่อๆพี่ๆของเขาได้ทำลายมรดกที่งดงามนี้เสียแล้วด้วยความจงใจ เราไม่มีทางเลือกอื่นแล้วหรือ ... ภาพสวยงามเหล่านั้นผมนำลงไว้ ใน web BWN เชิญแวะชมได้ และขอให้ช่วยกันติดตามข่าวนี้อย่างต่อเนื่อง
       มีข่าวดีเล็กๆน้อยๆจะแจ้งแก่เพื่อน BWN ว่า กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งซึ่งมีความตั้งใจจริงที่จะรักษาทรัพยากรชายหาดไว้ (ต่างจากกรมเจ้าท่าโดยสิ้นเชิง) จะจัดประชุมร่วมกับนักวิชาการท้องถิ่นภาคใต้เพื่อจะหามาตรการฟื้นฟูชายหาดในเร็วๆนี้ จึงขอให้ทุกท่านติดตามเรื่องนี้ต่อไป

     อาทิตย์ 13 พ.ค. นี้ พี่น้องสะทิงพระจัดประชุมรักษาชายหาดสงขลาผืนสุดท้าย เวลา 13.30-16.30 ที่ โรงเรียนสะทิงพระชนูปถัมภ์ ขอเชิญทุกท่านด้วย

Please Save Our Songkhla Beaches

      

 วันสิ่งแวดล้อมโลก 5-7 มิ.ย. 2550 นี้ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.สงขลาฯ ได้จัดประชุมวิชาการ และในวันที่ 7 มิ.ย. จะมีการบรรยายเรื่องการพังทลายของชายฝั่ง ร่วมกับการทัศนศึกษาชายฝั่งสงขลา ซึ่งท่านอาจจะได้เห็นวิธีการก่อสร้างเขื่อนหินกันคลื่นชายฝั่งสงขลาของกรมเจ้าท่า ซึ่งจะเริ่มสร้างปลายเดือน พ.ค. นี้
     จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่รักชายหาดและชายฝั่ง ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ รายละเอียดดูได้ที่
http://www.envi.psu.ac.th/foem/pr/brochure-enviday07.pdf
ความรู้ที่ได้รับจะเป็นแนวทางในการจัดประชุมร่วมกับกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งที่จะจัดขึ้นที่ ม.สงขลาฯ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการรักษาชายฝั่งต่อไป

Save Our Precious Beaches

เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 50 รายการ คนค้นคน ได้นำเรื่องยายไฮที่ต่อสู้เอาผืนนาของเขาและครอบครัวคืนมาจากการสร้างเขื่อนท่วมที่ดินของเขาอย่างไม่เป็นธรรม โดยใช้เวลาถึง 27 ปีในการเรียกร้องต่อสู้ ทำให้ได้คิดว่าการทวงคืนชายหาดที่สวยงามในอดีตคืนมา ก็ยังคงมีความหวังในที่สุด และคงไม่นานถึง 30 ปี เป็นแน่ ถ้าเรา BWN ไม่ละความตั้งใจเสียก่อน
  มีมิตรสหาย BWN เขียนกลอน มาฝากซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาประเทศแบบผิดๆของไทยเรา ลองอ่านดู

 เหตุจากคลื่น เป็นตาม ฤดูกาล
 ฤดูผ่าน คลื่นพอประมาณ ซัดทรายกลับ
 เหตุมนุษญ์ สร้างเขื่อน ทำหาดยับ
 แต่มันกลับ สร้าง"กันคลื่น" ฝืนตำรา
 ขุดภูเขา ถมทะเล ไม่แก้เหตุ
 ขุดประเทศ ถมสองฝั่ง จะดีไหม
 ขุดให้หมด มันทั้ง ประเทศไทย
 แก้ปัญหา ภาคใต้ ได้ด้วยนา

ใครมีอะไรหรืออึดอัดใจก็เขียนมาบอกเล่ากันนะ
 
Save our beaches

ขอเชิญชวนทุกท่านที่รักหาดทรายและสายลม ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกับพี่น้อง ชาวเกาะลันตา จ.กระบี่ ที่กำลังคัดค้านการสร้างท่าเรือขนาดใหญ่บนหาดทรายของเกาะลันตา พบกันที่วิทยาลัยวันศุกร์ 1 มิ.ย. 2550 ห้อง E105 คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ. เวลา 19.00-21.30 น

ความเห็นและกำลังใจของท่านเป็นเสมือนยาที่ใช้รักษาชายหาดไทยให้ยั่งยืน

เอาใจช่วยนะคะ

 

และจะพยายามด้วยค่ะ

ขอเรียนทุกท่านว่าขณะนี้ ความรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับชายฝั่งที่เป็นภาษาไทย จากตำราของแท้ได้ถูกใส่ไว้ใน web BWN แล้ว ขอเชิญทุกท่านแวะอ่านได้ และถ้าท่านสนใจเรียนรู้ในเรื่องใดก็เขียนมาบอกได้ครับ เพื่อการรักษาทรัพยากรชายหาดให้อยู่คู่ชาติไทย   

     มีข่าวดีว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มีโครงการรื้อถอนเขื่อนหินริมทะเลบางแห่งออกไป เช่น ที่ อ.ระโนด จ.สงขลา และที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีฯ ขอให้ติดตามข่าวนี้
     นอกจากนี้กรมทรัพยากรทะเลฯจะจัดประชุมแผนฟื้นฟูชายฝั่งในวันที่ 20-22 มิ.ย. นี้ที่กาญจนบุรี จากนั้นราวเดือนกรกฎาคมก็จะจัดระดมกำหนดยุทธศาสตร์ภาคใต้ร่วมกับสถาบันการศึกษาท้องถิ่น ที่หาดใหญ่ ก็ขอเชิญทุกท่านร่วมให้ความเห็น  สังเกตว่ากิจกรรมรักษาชายหาดกำลังรุดหน้า ใครมีความเห็นอะไรช่วยแนะนำด้วย

Save our living beaches

บังหวังจากบ่อโชนเล่าว่า  สมัยยังหนุ่มเคยเห็นเต่าทะเลมาขึ้นที่หาดนาทับถึงตลิ่งชัน 

เสียดายที่พลาดโอกาสการไปทัศนศึกษา

 

จันทร์ที่ 9 ก.ค. 50 กรมเจ้าท่าจัดทำประชาพิจารณ์ ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 เวลา 13.00-16.30 น โรงแรมราชมังคลา พาวีเลี่ยน บีชรีสอร์ท อำเภอเมืองสงขลา รายละเอียดอ่านที่ web กรมเจ้าท่า
http://www.md.go.th/md2webApp/02_5_1.jsp?actId=68
    เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ทำกันเงียบๆ ไม่ให้ซักถามเรียนรู้อะไร นอกจากไปนั่งฟังการหลอกลวงแบบขอไปที่  

ชายหาดสงขลา คนสงขลาต้องตัดสินใจ

ผมได้ไปฟังการประชุมรับฟังความเห็น การสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 เมื่อจันทร์ที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา  บรรยากาศในที่ประชุมเป็นการจัดตั้งมวลชนมาโดยแท้ มีเสียงเชียร์เอาท่าเรือขนาดใหญ่(ยิ่งใหญ่ยิ่งชอบ)อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัท sea spectrum ที่เป็นเป็นผู้ออกแบบโครงการฯนี้ให้กับกรมเจ้าท่า บอกอย่างภาคภูมิใจว่า  เราจะสร้างให้คล้ายกับที่มาบตาพุด ซึ่งมีสาระดังนี้
     ตัวท่าเรือมี 3 แบบ โดยแบบที่ 1 และ 2 จะถมชายฝั่งและทะเลเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นระยะทาง 500-600 เมตร ต่อจากนั้นจะเป็นเขื่อนหินขนาดใหญ่ยื่นยาวออกไปอีกประมาณ 1 ก.ม. ส่วนแบบที่ 3 จะถมทะเลเป็นเกาะใหญ่ห่างฝั่ง 400 ม และมีสะพานเชื่อมกับฝั่ง นอกจากนั้นจะมีทางรถไฟและถนนขนาดใหญ่เชื่อมสู่ถนนหลวง รูปแบบท่าเรือดูได้ที่ web BWN

    ที่น่าสังเกตก็คือ หน่วยราชการและคนอื่นๆที่มาฟังต่างเงียบหมด  มีเพียงสถาบันเพาะเลี้ยงชายฝั่ง (NICA)ที่ขอให้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นและนายทหารเรือที่กล่าวว่า ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำท่าเรือใหม่และชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร
    ผมถามทางบริษัทฯว่า ให้ช่วยบอกว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ชายหาดและฝั่งพังทลายอย่างรุนแรงเขากลับตอบผมด้วยอารมณ์โกรธว่า "รู้แต่ไม่บอก" และประนามผมว่า ไม่มีความรู้ ไร้ประสบการณ์ ไม่มีผลงาน ฯ แต่ผมไม่ได้ตอบโต้ และเชื่อว่าคนที่มาร่วมประชุมฯคงเห็นแล้วว่าโครงการนี้ไม่โปร่งใส
    เมื่อเขากล่าวหาจบ ผมก็อ่านมติของที่ประชุมใหญ่กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ให้ทุกคนทราบว่า ยุทธศาสตร์การแก้ไขการพังทลายของชายฝั่งนั้น ได้ระบุไว้ว่า ปัญหาเกิดจากการสร้างสิ่งก่อสร้างริมทะเลซึ่งจะต้องมีการรื้อถอนออกไป และผมได้ฉายภาพการพังทลายของชายฝั่งสงขลา-ปากพนัง และสาเหตุให้ทุกคนได้ประจักษ์

     ผมได้เสนอในที่ประชุมว่า การทำโครงการฯต่างๆที่ผ่านมาทำให้สังคมแตกแยก  เพราะความรับรู้ต่างกัน คนสงขลาต้องการให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืน แต่จู่ๆก็มาเปลี่ยนให้สงขลาเป็นเขตอุตสาหกรรมใหม่ จึงควรประกาศให้คนสงขลาและทั้งประเทศได้ทราบให้ชัดเจน จะได้ไม่ต้องมาเข้าใจผิดกันอีก แล้วจะทำอะไรก็เชิญเลย
    
Save Our Beaches

สวัสดี ผู้ที่รักหาดทรายและสายลมทุกท่าน  ขณะนี้การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นพร้อมทั้งเขื่อนริมชายฝั่งของสงขลาเรา
ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยกรมเจ้าท่านำหินจำนวนมากมาถมบนชายหาดตั้งแต่  บ้านนาทับ ขณะนี้ถึงบ้านบ่ออิฐแล้ว และจะถมต่อๆไปจนถึงบ้านเกาะแต้ว  และเก้าเส้งในที่สุด จากนั้นก็จะถมหินในทะเลอีกชุดหนึ่งเป็นระยะทาง ที่เท่ากับข้างต้น สรุปแล้วเราะไม่มีหาดทรายให้เหลืออีกแล้ว ใครสนใจ ให้ไปถ่ายรูปเก็บไว้ได้
     คนสงขลาและผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเอาหาดหิน ซึ่งก็สอดคล้องกับสังคมไทยที่ไม่รู้ว่า เราคือใคร? จะรักษาชายหาดไปเพื่อ ะไร?
     เมื่อถมหินเสร็จแล้ว ต่อจากนี้ก็จะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ของภาคใต้ ระหว่างบ้านนาทับ-บ้านสะกอม โดยการถมทะเลให้เป็นเกาะ ขนาดใหญ่กว่า 300 ไร่ และมีเขื่อนหินขนาดใหญ่ยาวกว่า 1000 ม ไว้กันคลื่นของท่าเรือนี้ ก็ถือว่าสงขลาได้กลายเป็นนิคมอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับมาบตาพุดเรียบร้อย
     ก็ขอเชิญชวนทุกท่านไปไว้อาลัยและดูให้เห็นกับตานะครับ ใครอยากรู้ รายละเอียดเพิ่มเติม ให้ไปที่ website Beach Watch Network (BWN)
http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html

Goodbye Our Lovely Beaches.

 

     บทเรียนเหล่านี้อาจเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในที่ต่างๆ  ไม่เพียงแต่ที่สงขลา   อยากให้อาจารย์เป็นคนหนึ่งที่เฝ้าดู  สื่อสารและให้การศึกษากับคนอื่นๆ   แม้ว่าเราอาจไม่สามารถต้านสิ่งที่จะเกิดขึ้นในขณะนี้ได้  แต่สิ่งที่เกิดขึ้น  จะเป็นบทหนึ่งที่คนสงขลาและคนไทยยังต้องเรียนต่อไป   และค้นให้พบว่าเราจะอยู่หรือเลือกจะอยู่อย่างไร  บนโลกใบนี้

     อมร  คนสงขลา

เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ก.ค. 50 ทีผ่านมา เรา 3 คนได้ไปดูการสร้างเขื่อนหินริมทะเลตลอดแนวชายฝั่ง จ.สงขลา เห็นกองหินสีแดงมหึมาถมบนหาดบ้านนาทับยาวนับร้อยเมตร และที่บ้านบ่ออิฐเห็นการถมหินลงทะเลเป็นเขื่อนยาวกว่า 200 เมตร และรถแทรคเตอร์กำลังตักทรายออกจากหาด พอยกกล้องถ่ายรูปหัวหน้าคนงานก็เข้ามาขู่พวกเรา ไม่ให้เข้ามาที่นี่ และตะโกนให้รถบรรทุกปิดล้อมรถยนต์ของเรา และจะยึดกล้อง จากนั้นก็ขว้างก้อนหินหลายก้อนใส่เรา จนต้องวิ่งหนีและขับรถกลับทันที  ภาพการไปชายหาดครั้งนี้ ใส่ไว้ใน website BWN 

http://www.geocities.com/psboon02/bwn.html

       นี่มันอะไรกัน ประเทศไทย

 So Long Our Lovely Beaches

คนบ้านเกิดตำบลบ่อยางสงขลา

จากอดีตสงขลาไม่เคยมีการเกิดพังทลายของชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีแต่จะเพิ่มพื้นที่ชายฝั่งให้มีมากขึ้น   แต่ในปัจจุบันเกิดการพังทลายของชายหาดสงขลาฝั่งเก้าเส้งตลอดถึงแหลมสนอ่อน สาเหตุมีหลายประการ คือ 

1 เกิดจากบุกรุกชายพื้นที่ชายฝั่งเตาอิฐถึงท่าสะอ้าน โดย หน่วยงานของรัฐไม่ได้มองผลกระทบที่จะเหกิดต่อ และเรื่องผมเคยเข้าร่วมเสวนามาแล้ว  ประมาณ 6 ปีกว่ามาแล้ว แต่ก็ยังไม่หน่วยงานใดเข้ามาศึกษานี้เลย

2  เกิดจากนายทุนสร้างบ้านที่อยู่อาศัย แบบบุกรุกทางอ้อมโดยใช้ดินถมเพื่อต้องการให้เกิดแผ่นดินงอกลงในชายฝั่งทะเลสาบสงขลาแล้วเข้าครอบครองกำสิทธิในที่ดินนั้นโดยติดต่อให้ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลออกเอกสารสิทธิให้

3  เกิดจากสร้างบ้านจัดสรรโดยถมที่ดินให้ได้พื้นที่ดินเพิ่มมากขึ้น  โดยขาดคิดหาแหล่งคำนึงถึงแหล่งที่อยู่ของน้ำ

ผมขอฝากแนวคิดให้ผู้อ่านข้อความนี้ช่วยนำเสนอหน่วยงานของรัฐ  เอกชนและประชาชนที่รักบ้านเกิดของตนเองอยากสร้างความเห็นแก่ตัว ร่วมทั้งคนในชาติด้วย

                     จากคนเกินในบ่อยางมา 50 กว่าปีแล้ว

เพื่อนๆเล่าใหฟังว่า กรมเจ้าท่าจัดประชาพิจารณ์สร้างเขื่อนริมทะเลสงขลา ที่บ้านบ่ออิฐ ต.นาทับ มีการปลุกระดมให้กลุ่มคนให้เข้ามาทำร้าย ผู้แสดงความเห็นแตกต่างในที่ประชุมฯ บรรยายกาศเลยกลายเป็น ประชาพิการไป รายละเอียดและรูปดูใน website BWN 

ห่างหายไปนานเพราะมีปัญหา error ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ XP  ตอนนี้มีข่าวเรื่องชายหาดอยู่มาก จึงต้องขอเชิญทุกท่าน เข้าไปดูได้ที่ WEBSITE BWN ครับ

 

 เว็บไซต์นี้มีประโยชน์มากๆค่ะ น่าจะเป็นเวบแรกของบ้านเราที่ให้ความรู้เรื่องชายฝั่งอย่างจริงจังด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์และคณะทำงานที่ร่วมกันช่วยให้ข้อมูลที่กระจ่างแก่ประชาชน หวังว่าชาวบ้านคงได้ตระหนักถึงคุณค่าของชายฝั่งทะเลและร่วมกันหวงแหนรักษาไว้สืบต่อไป

เรื่องของชายฝั่งของประเทศไทยเราเป็นปัญหาที่ไม่จบสิ้น หลายฝ่ายทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนต่างยื่นมือเข้ามาพยายามแก้ปัญหา ดูเหมือนจะมีผู้รู้มากมาย ซึ่งอาจมากจะเกินไปด้วยซ้ำ บ้างก็ถนัดวิจารณ์แต่ไม่เคยช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย มีความคิดเห็นว่า แม้ว่าที่ผ่านมาการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไม่เกิดประสิทธิผลตามที่คาดหวัง อย่างไรก็ตามความพยายามที่จะช่วยแก้ปัญหาก็น่าจะเป็นสิ่งที่สมควรได้รับความขอบคุณ ส่วนในเรื่องการไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายนั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องนำมาใช้เป็นบทเรียนและแนวทางในการพัฒนาต่อๆ ไป ประกอบกับการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   คนไทยทั้งหลายน่าจะร่วมมือกันมากกว่าที่จะมาทำลายซึ่งกันและกัน เพราะแท้ที่จริงแล้วทุกคนคงจะมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นก็คือการมีชายหาดและทรัพยากรที่สมบูรณ์สวยงาม ชาวบ้านไม่เดือดร้อน  ไม่ใช่เป้าหมายอยู่ที่เงินที่จะเข้ากระเป๋า ใช่หรือไม่?คนที่มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยแก้ปัญหายังมีอีกมาก พอๆ กับคนที่ตั้งใจจริงเช่นกันที่ตั้งตัวเป็นฝ่ายทำลายก็มีมากพอกัน    คนบางคนรู้สึกตื่นเต้นและกระตือรือล้นที่ค้นพบแนวทางที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและพร้อมจะลงมือทำ ในขณะที่บางคนไม่เคยได้สัมผัสความรู้สึกนั้นเลยในชีวิตเพราะไม่เคยคิดช่วยแก้ไขอะไรที่เป็นรูปธรรมเลย  ประเทศเราก็เป็นเสียแบบนี้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ว่าเป็นปัญหาใหญ่มากแล้วในเวลานี้ แท้ที่จริงแล้วปัญหาเรื่องความขัดแย้งของคนกลับเป็นปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่า สุดท้ายนี้อยากขอร้องเครือข่าย BWN ในการกลั่นกรองข่าวสารที่นำเสนอต่อสาธารณชนด้วย เพราะแค่ความผิดพลาดของคำไม่กี่คำที่ท่านนำเสนอด้วยอคตินั้นอาจส่งผลเสียหายในวงกว้าง และประชาชนจะได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จ และเมื่อประชาชนได้ประจักษ์ว่าความจริงเป็นอย่างไร เมื่อนั้นผู้เสนอข้อมูลอาจได้รับความเดือดร้อนเองในภายหลัง

 

แต่เท่าที่ข้าพเจ้าพบเห็นมา โดยเฉพาะอาจารย์ที่คณะวิศวฯ ไม่น่าจะมีดอกเตอร์ด้านทะเลและชายฝั่งซักตน มีแต่คนอวดภูมิ(โง่) คิดว่าตัวเองชาญฉลาด พยายามหาฝรั่งแก่ๆ มาประดับบารมี เพื่อหลอกลวงให้ชาวบ้านคิดว่าแน่  เบื่อพวกอวดรู้ แต่ไม่แน่จริง

 

คนดีชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตัว

อย่าหลบในห้องสี่เหลี่ยม อยู่หน้าคอมพิวเตอร์

เก่งจริงออกไปท่องยุทธภพ สร้างสรรค์งานที่ดีๆ บ้าง

ทำงานให้เกิดกับประเทศชาติเสียบ้าง

ขอร้อง อย่ามัวแต่ติคนอื่นๆ

อายุมากๆ กันแล้ว ท่าจะน่าเบื่อ

 

บัดนี้ โครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นขนาดเท่าภูเขาหินกองย่อมๆ เรียงรายเต็มชายหาดหมดแล้ว ซัก 50-60 ตัว ไม่เห็นมีแมวหรือนักวิชาการที่อจะมีความรู้ทำให้ดีกว่านี้ได้เลย สิ้นหวังจริงๆ ผู้รู้หายหัวไปใหน ใยไม่ทำอะไรที่สร้างสรรบ้าง หรือมัวแต่ใช้เวลาราชการในการยุแยงตะแคงรั่วให้ชาวบ้านทุบตีกับรัฐ เวรจริงๆ

แปลกจริงหนอ ยามประเทศชาติและชาวบ้านเดือดร้อน ผู้อวดรู้แอบมุดในรู ไม่ยอมแสดงภูมิรู้เพื่อช่วยชาวบ้านเลย เช่นนี้จึงกระจ่างแจ้งว่าเมืองไทยไม่มีปราญช์เอาเลย......... กรุณาออกมาทำงานบ้าง อย่าหลบ อย่ามัวมุ่งยุแยงตะแคงรั่วให้ประเทศ และชายหาดเราแย่ไปกว่านี้อีก
อาจารย์พยอม รัตนมณี โยธา ม.อ.

เรียน      นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

             และผู้เยี่ยมชม Website “BWN” (Beach Watch Network)             กระผมนายพยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (E-mail : [email protected] เบอร์โทรที่ทำงาน 074-287135 มือถือ 081-5999655) เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชา กลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics) วิศวกรรมชลศาสตร์ (Hydraulic Engineering) และวิศวกรรมชายฝั่งทะเล (Coastal Engineering) ให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้วยนายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ได้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระผม และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกรมทรัพยากรธรณี สู่แหล่งสาธาณชนใน Website BWN ที่ http://host.psu.ac.th/~somboon.p/index.html  มีความตอนหนึ่งว่า ...... กรมทรัพยากรธรณี ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ออกแบบเขื่อนกันคลื่นแบบใต้น้ำ ที่บ้านเก้าเส้ง จ.สงขลา ซึ่งถือว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่จะส่งผลเสียหายต่อชายหาดชลาทัศน์-สมิหลา อย่างรุนแรง........และอีกตอนหนึ่งว่า“……… ทางกรมทรัพยากรธรณี ก็ไม่น้อยหน้า ว่าจ้างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ศึกษาออกแบบก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ชายหาดสมิหลา ด้วยเงินเกือบ 5 ล้านบาท....... กระผมในฐานะหัวหน้าโครงการศึกษาตามที่นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ได้อ้างถึงข้างต้นและกระผมเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใคร่ขอเรียนในรายละเอียดของโครงการให้ตัวนายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ และผู้เข้าเยี่ยมชม Website BWN มีความเข้าใจในตัวโครงการดังกล่าวมากขึ้น มิฉะนั้นอาจส่งผลในทางลบต่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของเรา และต่อ กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่มีภารกิจในการดูแลทรัพยากรของประเทศชาติ กระผมจึงใคร่ขอเรียนให้นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ และผู้เยี่ยมชม Website “BWN” ทราบในรายละเอียด กล่าวคือ ข้อที่ 1    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นอกจากจะมีภารกิจหลักในการสอนหนังสือเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีภารกิจการสร้างงานวิจัยที่จะเกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย กระผมในฐานะเป็นทรัพยากรมนุษย์คนหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แห่งนี้ ได้ดำเนินงานตามแผนและนโยบายของมหาวิทยาลัย จึงได้เรียนเชิญคณาจารย์จากคณะต่างๆ รวมถึงหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูชายฝั่งทะเล เพื่อดำเนินโครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งจะต้องผนวกความรู้จากหลายสาขาวิชา ในการบูรณาการองค์ความรู้ (Integrated Knowledge) เพื่อสร้างภูมิปัญญาที่เป็นของคนไทยเองสำหรับการหาแนวทางในการป้องกันชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปี 2549 คณะผู้ร่วมวิจัยได้ทำงานค้นคว้าเอกสารทั้งในและต่างประเทศอย่างหนัก (กระผมใคร่ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์และทีมงานไว้ ณ โอกาสนี้) จากนั้นในปี 2550 ได้จัดประชุม/เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือกับหลายหน่วยงาน ทั้งส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานเอกชน เพื่อกำหนดแผนและนโยบายการป้องกันแก้ไขปัญหา ในปลายปี 2551 ทางกรมทรัพยากรธรณีได้ให้ความอนุเคราะห์งบประมาณจำนวน 4,726,000 บาท เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยกับทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้ชื่อโครงการ การสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตะกอนชายฝั่งทะเล ในส่วนที่นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ได้อ้างว่ากรมฯ ได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยฯ ทำการออกแบบเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัยชิ้นนี้ กระทั่งต้นปี 2551 คณะผู้ศึกษาวิจัยได้ร่วมกันก่อสร้างอุปกรณ์เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางทะเลขึ้นมาเอง เนื่องจากอุปกรณ์การวิจัยลักษณะนี้ราคาร่วมสิบล้านบาท คณะทำงานต้องเร่งทำการก่อสร้างเครื่องมือแทบตลอดทั้งคืนมาร่วม 2 เดือน เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบต่องานการเรียนการสอน มุ่งหวังเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยที่อาจจะเป็นคุณต่อประเทศชาติได้บ้าง   ข้อที่ 2    กรมทรัพยากรธรณีกรมทรัพยากรธรณี ได้กำหนดพันธกิจที่จะดำเนินการสำรวจ ศึกษา วิจัยด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรของประเทศ ทำการฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรณีและพื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย รวมทั้งเสนอนโยบายและแผนเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่และทรัพยากรของประเทศอย่างชาญฉลาด เป็นการสานแต่ภาระกิจจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาวิจัยหาแนวทางในการป้องกันชายฝั่งทะเลของประเทศไทยจึงถือเป็นหน้าที่หลักของกรมทรัพยากรธรณี กระผมเชื่อมั่นว่าทางกรมทรัพยากรธรณีคงไม่มีประสงค์ที่จะทำการศึกษานี้เพื่อ ไม่ให้น้อยหน้า หน่วยงานอื่นๆ ตามที่นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ได้ใช้คำพรรณนาโวหารเปรียบเปรย ซึ่งอาจส่งผลในทางลบต่อกรมทรัพยากรธรณี ทั้งๆ ที่มีบุคลากรในกรมทรัพยากรธรณีหลายท่านได้มุมานะร่วมกันทำงานเพื่อประเทศของเรา ข้อที่ 3    องค์กร/หน่วยงานอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้องเท่าที่กระผมได้สัมผัสกับหลายๆ หน่วยงาน เช่น  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการ กรมประมง กรมอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ โดยกระผมได้มีโอกาสร่วมทำงาน เข้าร่วมประชุม การสัมมนาทางวิชาการ และประสานงานด้านข้อมูล เชื่อมั่นว่าทุกกรมกอง รวมถึงหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลต่างๆ ล้วนมีเจตนาที่ดี มุ่งหวังให้ประเทศของเราพัฒนาไปข้างหน้า พี่ๆ หลายคนในกรมกองได้ทำงานให้กับองค์กรและประเทศชาติเหน็ดเหนื่อยจนกระทั่งเลยวัยเกษียณราชการ แต่เป็นธรรมดาที่การดำเนินงานย่อมมีอุปสรรค์และความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้าง คนที่ทำงานมากย่อมผิดมาก ในทางกลับกันคนที่ไม่ทำอะไรเลยก็จะไม่มีความผิดเลย ดูคล้ายๆ กับเป็นคนบริสุทธิ์ในสังคมเราลักษณะเดียวกัน การดำเนินงานด้านทะเลและชายฝั่งบ้านเรา ก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้นหลายครา ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้รู้ด้านทะเลน้อยมาก ขาดข้อมูลและผลงานวิจัยทางทะเลและชายฝั่งมารองรับการตัดสินใจ เนื่องจากการวิจัยทางทะเลต้องใช้งบประมาณในการวิจัยค่อนข้างสูง ใช้เวลาในการศึกษายาวนาน และต้องออกสำรวจพื้นที่อย่างเหน็ดเหนื่อย ข้อที่ 4    ปัญหาคืออะไรทัศนคติส่วนตัวกระผม มองว่าปัญหาที่แท้จริงของประเทศไทย ไม่ใช่ปัญหาด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ และไม่ใช้ปัญหาด้านทรัพยากรชายฝั่งขาดแคลน แต่ปัญหาหลักอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ของไทยบางท่าน มีพฤติกรรมติดตัว (หรือสันดาน) ที่ถ่วงความเจริญของประเทศชาติ คนที่(อ้างว่า)รู้ก็ไม่ได้ทำอะไรเลย เมื่อคนที่รู้น้อยทำตามภูมิปัญญาที่มีก็รอตำหนิติติง โดยไม่เคยให้แนวทางแก้ไขที่จะเป็นไปได้เลย ทัศนคติที่ว่า คนไม่ทำย่อมไม่ผิดยังติดในหัวคนไทย คนที่(อวด)รู้ เลยมีภาพลักษณ์คล้ายๆ กับว่าจะเป็นคนบริสุทธิ์ในสังคมเรากระทั่งปัจจุบัน แม้ประเทศเราจะประสพปัญหาวิกฤติแทบทุกด้าน ก็ยังมีบางคนบางกลุ่มที่ยังมีพฤติกรรมถดถอย ไม่ทราบแม้กระทั่งภาระกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ซ้ำเติมให้ปัญหาหนักขึ้นกว่าเดิมอีก  ข้อที่ 4    แนวทางแก้ไข4.1 ดูตัวเองกระผมในฐานะที่เป็นครูของว่าที่วิศวกร เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ต้องรับผิดชอบทั้งงานการสอนที่ต้องแบกรับมากเกินพอ เป็นข้าราชการที่รับเงินเดือนที่ขอแบ่งมาจากชาวไทย และเป็นวิศวกรที่พร้อมจะทำงานด้านวิจัยและพัฒนาประเทศไทย มีศรัทธาว่าคนไทยทั้งหลายมีความรักและหวงแหนประเทศของเรา ได้อุทิศกำลังทั้งสี่ (กาย ใจ ปัญญา และเงินสด) เท่าที่พึงทำได้ต่อการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างภูมิปัญญาของคนไทย ต่อการพัฒนาประเทศไทย ขณะนี้การศึกษาวิจัยกำลังดำเนินอย่างต่อเนื่อง ยินดีให้ข้อมูลทั้งหมดและน้อมรับข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ต่อการปรับปรุงคุณภาพงาน ขอเชิญผู้ที่เข้าเยี่ยมชม Website “BWN” กรุณาติดต่อ·        อาจารย์พยอม รัตนมณี (081-5999655 ตั้งแต่ 08:00 - 02:00 น ได้ทุกวัน) เพื่อขอทราบรายละเอียดงานศึกษาและต้องการให้คำแนะนำทางเทคนิคที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ·        คุณสุกานดา เหมือนสาย (086-9673958) เพื่อขอเข้าเยี่ยมชมการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทดลอง·        คุณรักษิตา สรรพอร่ามเดชะ (074-287135) เพื่อเข้าร่วมการสัมมนาซึ่งทางคณะผู้ศึกษาวิจัย ซึ่งจะจัดในเดือนเมษายน มิถุนายน และสิงหาคม เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยแก่นักวิชาการ หน่วยงานราชการ ประชาชน และบริษัทเอกชนทั้งหลาย  4.2 ดูนายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ใคร่กราบเรียนเชิญนายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ คาดว่าน่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางทะเลอยู่บ้าง กรุณาให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ทำงานผิดหลักวิชาการ การชี้แนวทางสว่างที่ถูกต้องให้กับหน่วยงานทั้งหลาย การอุทิศปัญญาเช่นนี้ก็เปรียบเสมือนกับช่วยกันพัฒนาประเทศชาติไปในตัว และถ้าร่างกายและจิตใจของนายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ คงเหลือคุณลักษณะต่อไปนี้อยู่บ้าง กล่าวคือ (1) ยังคงมีความเป็นนักวิชาการด้านทะเลและชายฝั่งเหลืออยู่บ้าง(2) ยังคงมีความเป็นคุณครูของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เหลืออยู่บ้าง(3) ยังคงมีสามัญสำนึกที่เป็นคนไทยเหลืออยู่บ้าง (4) ยังคงเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์และสุขภาพจิตที่สมบูรณ์อยู่บ้าง(5) ยังคงเหลือความกตัญญูต่อแผ่นดินไทยอยู่บ้าง และ(6) ยังคิดว่าตัวเองถือกำเนิดเป็นชายชาตรีขอความกรุณาให้นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ผู้เขียนพรรณนาโวหารใน  Website “BWN”  ที่พยามยามอ้างว่า  รักชายหาดนักหนา และเป็นผู้ที่ยืนอยู่บนพื้นแผ่นดินไทยมาร่วมครึ่งศตวรรษ ได้กรุณาให้คำแนะนำที่จะเป็นประโยชน์แก่คณะผู้วิจัย ลดการวิจารณ์แต่ในเชิงลบต่อทุกหน่วยงาน ทุเลาการใช้วาจาและการเขียนพรรณนาที่มุ่งเน้นให้ผลในทางลบต่อผู้อื่น หันมาบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมบ้าง ทั้งนี้ทางคณะผู้วิจัยมีจิตใจกว้างพอ ที่จะน้อมรับปรับปรุงให้ดีขึ้น แม้จะทำงานหนักและเหนื่อยขึ้นกว่าเดิมอีกร้อยเท่า และขอให้นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ กรุณาเสียสละเวลาส่วนตัวเข้าร่วมในการสัมมนาด้วยจักขอบพระคุณยิ่งในกรณีที่นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ได้พิจารณาขอบเขตการศึกษาวิจัยและวิธีการทำงานแล้วเห็นว่า การวิจัยในลักษณะนี้ใช้การไม่ได้ กระผมยินดีมอบโครงการวิจัยเชิงบูรณาการให้นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ เข้าดำเนินการต่อโดยไม่มีข้อกังขาใดๆ หรือถ้าต้องการจะสร้างสรรค์งานวิจัยที่ดีกว่านี้ กระผมยินดีรับผิดชอบเจรจาด้านงบประมาณจากหน่วยงานราชการต่างๆ ด้วยความยินดียิ่ง 4.3 ดูประเทศชาติกระผมคงไม่มีภูมิปัญญาที่จะวิเคราะห์สถานการณ์และแก้ไขปัญหาทรัพยากรชายฝั่งในระดับชาติได้ ได้แต่ขอร้องให้คนไทยปล่อยวางจากการวิจารณ์เชิงทำลาย เลิกอิจฉาตาร้อนชิงดีชิงเด่น เลิกยุแยงตะแยงรั่ว ลดการคุยโวโอ้อวด โดยการพูดให้น้อยลงทำงานให้มากขึ้น ลดฐิถิแห่งตัวข้า ปล่อยวางจากการทะเลาะวิวาทกับคนชาติเดียวกัน พฤติกรรมเหล่านี้เป็นบ่อยทำลายชาติ หันมาร่วมออกแรงกาย ร่วมแรงใจ และแรงสมอง เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป สุดท้ายขอให้ Website “BWN” ดำรงอยู่ต่อไป เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลาง มีความถูกต้อง สร้างสมานฉันท์ ให้กับสังคมไทย เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้เรียนรู้และสืบทอดเจตนารมณ์ มีแนวทางในการบูรณาการชายหาดและท้องทะเลไทย แม้กระทั่งวันที่พวกเราลาลับโลกไปแล้ว  พยอม  รัตนมณี      หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

            14 กุมภาพันธ์ 2551

 

จากคน ชื่อ อ๋า ฝากเขียนถึงท่าน

ผมได้อ่านข้อความของท่านโดยสังเขป เห็นว่าข้อมูลของท่านไม่ตรงกับความเป็นจริง ตามที่ผมรู้มา ที่คุณตัดพ้อต่อว่าบางเรื่องนั้น โดยเฉพาะได้กล่าวหาฝรั่งแก่ๆคนหนึ่งว่าไม่มีความรู้นั้น ผมจึงอยากทราบว่าแล้วท่านมีความรู้แค่ไหนครับ เพราะคนอ่าน web ยังงงอยู่ ความจริงแล้วเท่าที่ผมรู้ฝรั่งคนนั้นเขามีจิตใจดี และที่คุณอ้างว่าคุณรักชาติคนเดียวนั้น ความจริงคนอื่นๆเขาก็รักชาติมากกว่าคุณก็มีเยอะครับ ผมจึงเตือนสติมาด้วยความเคารพ เพราะเกรงว่าท่านจะเสียหายเองถ้าท่านประพฤติเช่นนี้

ด้วยความเคารพ

15 ก.พ. 51 

เงาของ นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

จริงหรือไม่ที่ นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ เคยทำข้อเสนอข้างานรับงานศึกษา ออกแบบป้องกันชายหาด กับทางราชการแล้ว เมื่อทีมงานของนายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ไม่ได้รับการคัดเลือก ก็ตั้งตัวเป็นฝ่ายตรงข้ามกับทุกฝ่ายที่ทำการศึกษาเพื่อหาทางช่วยเหลือ ประชาชนที่เดือดร้อนจากการกัดเซาะชายหาด โดยไม่คำนึงถึงว่าใครจะเดือดร้อน ขอกูซะใจก็พอ

เงานายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

เหตุจากคลื่น เป็นตาม ฤดูกาล
ฤดูผ่าน คลื่นพอประมาณ ซัดทรายกลับ
เหตุมนุษญ์ สร้างเขื่อน ทำหาดยับ
แต่มันกลับ สร้าง"กันคลื่น" ฝืนตำรา

ขุดภูเขา ถมทะเล ไม่แก้เหตุ
ขุดประเทศ ถมสองฝั่ง จะดีไหม
ขุดให้หมด มันทั้ง ประเทศไทย
แก้ปัญหา ภาคใต้ ได้ด้วยนา

 

โดยนายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

เมื่อ พ. 16 พฤษภาคม 2550

 

เหตุจากคลื่น ไม่ตาม ฤดูกาล
ข้อเสนอ ไม่ผ่าน สันดานกลับ
เหตุมนุษญ์ ใจดำ เห็นหาดยับ
แต่มันกลับ ไม่สน กูไมฟัง

มึงจะแก้ อย่างไร กูจะค้าน
สร้างผลงาน เอาหน้า ทิ้งการสอน
เป็นอาจารย์ กินเงินรัฐ หัดสังวร
ความเดือดร้อนคนใต้ ใช้เรื่อง  เครื่องต่อรอง

 

โดย เงานายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

กระผมนายพยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา

           โทร 081-5999655           

ดีใจมากที่มีหลายคนหูตาสว่าง ขอความกรุณาโทรหาผม E-mail มาที่ผม และใคร่กราบท่านผู้เยี่ยมชม Website นี้แวะเวียนมาที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์บ้าง เพื่อจะได้ประจักษ์แต่สายตาว่า การทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและต่อเนื่องมากร่วมปีนั้นเป็นอย่างไร ได้อะไรขึ้นมาบ้างจากการนอนตี 2 ตี 3 แทบทุกคืน (มีไปเมาบ้างนิดหน่อย) 

แม้กระทั่งอีก 1 ปีข้างหน้า งานที่กระผมศึกษาอยู่จะประสพความล้มเหลว แต่วันนี้กระผมยินดีทำงานในส่วนที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกที่ควร

ผมไม่มีเวลามากที่จะพรรณนา แต่เชื่อว่า "เวลาเป็นสิ่งพิสูจน์บางอย่างได้"

ส่วน "เงานายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์" ถ้าคุณเลือกอาชีพอิสระเป็น นักเขียน คุณอาจได้รางวัลซีไรท์โดยแท้ คุณคืออัฉริยะข้ามคืน

     สุดท้ายขอให้ Website นี้ ตั้งอยู่ยาวนานเคียงคู่หาดทรายและสายลมชั่วนิรันดร์

                         อาจารย์พยอม คนสอนคนที่รักชายหาดเหมือนกัน

หมายเหตุ : รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write ย่อมาจาก Southeast Asian Writers Award) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ขอรับ

 

 

 

 

ดิฉันเรียนวิชาที่อาจารย์สอนได้เกรด E และเพื่อนได้เยอะมากค่ะ

 

 

เรียน นักศึกษา

         ขอบคุณที่นักศึกษารักชายหาด และเข้าเยี่ยม BWN 

         ตัด E? อนุชนทั้งหลายครับ กรุณาระบุด้วยน่ะครับว่าอาจารย์ท่านใด เนื่องจากมีคนที่เป็นอาจารย์เยอะมาก และได้ข่าวมาว่านายสมบูรณ์เองก็เคยเป็นอาจารย์ และถ้าเป็นอาจารย์พยอม ตัด E ก็ช่วยลงเรียนอีกทีน่ะครับ อย่า Retire เลย ขอร้อง..........

         อาชีพวิศวกร รับภารหนักไม่เป็นรองอาชีพอื่น หมอผ่าตัดคนไข้เกิดความผิดพลาดขึ้นมีคนตาย(หรือป่วย)เพียง 1 คน วิศวกรออกแบบอาคารผิด คนอาจตายเป็นร้อยคน ด้วยเหตุนี้อาจารย์พยอม (และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ของคณะวิศวะ) จึงใคร่ขออนุญาตตัด E บ้างตามสมควร

 

                          รักและหวังดีต่อลูกศิษย์ทุกคน 

                           นายพยอม รัตนมณี

                   อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา ม.อ.                         

                    โทร 081-5999655 โทรได้ตั้งแต่ 08:00-02:00 น 

 

ดิฉันพอที่จะมีความรู้ทางทะเลมาบ้างน่ะค่ะ แต่อาจจะไม่มาก เท่ากับคุณสมบูรณ์ แต่พอจะทราบว่าการสร้างเขื่อนจะเป็นการป้องกันการกัดเซาะมากกว่าการทำลายชายฝั่งค่ะ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้วิจัยมักจะศึกษาทุกอย่างมาดีก่อนที่จะสร้างเสมอค่ะ อย่างไหงคุณสมบูรณ์ช่วยศึกษาให้แน่ใจอีกทีน่ะค่ะว่าใช่หรือเปล่าเรียน คุณสุกานดา แล้วดิฉันจะไปเยี่ยมห้องปฏิบัติการที่คณะฯ ค่ะ (คุณสุกานดา เลี้ยงข้าวด้วยน่ะค่ะ) 
ฟัดกันให้ตายซักข้างเลยสิ  พวกนักวิชาเกินทั้งหลาย  ทั้ง 2 ข้างนั่นแหล่ะ ไม่ค่อยได้เห็นออกไปทำอะไรให้ชาวบ้านเป็นที่ประจักษ์เท่าไหร่เลย  กินภาษีพวกเราอยู่นะเฟ้ย  ยังจะมาโม้ทับกันอีก  สังเวชจริงๆ   จะเป็นอาจารย์ไปทำ ....ไร ฟะ

ดีจัง ที่ชาวบ้านคิดได้ดี

อยากให้ อ. สมบูรณ์ ชีแนะ กรมเจ้าท่า ถึงวิธีการที่ถูกต้อง ในการป้องกันชายฝั่ง หรือ บอก อาจารย์ พยอม ไปเลย...

อ สมบูรณ์ อย่า ทำให้ URI เสียชื่อ น่ะ...อย่าติเพียงอย่างเดียว......

เดี๋ยวจะไปรายงานให้ อาจารย์ที่ปรึกษา ที่ URI ทราบ...

เงานายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

ขอบคุณ นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ที่มีความเป็นลูกผู้ชายพอ ที่จะรับฟังเสียงจากคนอื่นด้วย และขอขอคุณที่ไม่ลบ ความเห็นคน ทั้งที่ นายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ มีผู้เป็นเจ้าของ blog สิทธิ ที่จะทำ ซึ่งน่าชื่นชม และแสดงให้เห็น ความเป็นลูกผู้ชายว่ายังมีเหลือ อยู่บ้าง

เงานายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

 

ที่ผมเห็นมีปัญหามาสองแห่งคือที่ ชายหาดบ้านเก้าเส้งสงขลา และที่หาดนราทัศน์นราธิวาสครับ เขามีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยถมใช้ก้อนหินมาถมเป็นรูปตัวทีบ้าง แนงตรงบ้าง ซึ่งเห็นว่าสามารถที่จะป้องกันการกัดเซาะชายหาดได้รัดับหนึ่ง และสิ่งที่ตามมาก็คือการเกิดที่งอกจากการถมก้อนหินดังกล่าวด้วย จะไช้วิธีการใดก็ตามถ้ามีเจตนารมย์ที่ดี มีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ อย่างจริงๆ จังๆ ก็ขออนุโมทนา ครับ

สงสัย อ สมบูรณ์ ไม่ได้อ่าน เลยไม่ได้ลบทิ้ง...มองโลกในแง่ร้ายหน่อย

สงสัย "เงานายสมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์" จะทำงานใกล้ ๆ ผม ดูจากสำนวนกลองที่เขียน....

ถ้าทำดีแล้ว  ก็น่าจะมีความสุข  ยิ่งทุกข์ร้อน ยิ่งดูร้อนตัว
ถ้าเหนื่อยมากก็ควรหยุดพัก  ทบทวนบทเรียน 
การพัก  ธรรมชาติหาดทรายที่ทุกคนรักจะได้ปลอดสิ่งรบกวน คุกคาม
เงินภาษีประชาชนเก็บไว้ก่อนไม่สูญค่า 
ไตร่ตรองเถิด !!

ผมมีพวก เขาอ้างว่าเป็นวงในงานก่อสร้างท่าเทียบเรือและเขื่อนหินที่คลองวาฬ เชื่อไหม 420 ล้าน จนป่านนี้ใช้งานไม่ได้เพราะส่งมอบท้องถิ่นไม่ได้ จะได้อย่างไรพวกบอกข้อมูลเอกสารเพียบที่แสดงว่าเจ้าท่ากับผู้รับเหมาคนนี้ซูเอี๋ยกัน รับงานกันทีปิดโรงแรมส่งงานที่หัวหินคืนเป็นแสน และยิ่งกว่านั้น ฯลฯ หากสนใจจะมาเล่าให้ฟัง จะได้ช่วยกันทำอะไรสักอย่างป้องกันเหลือบพวกนี้และเรียกเก็บเงินหลวงคืน

เรียน คุณวิทยพร

ผมสนใจ อยากฟัง หากไม่ติดขัดอะไร ช่วยให้ข้อมูลด้วยครับ

คุณวิทยพร ครับ

ขอรายละเอียดเพิ่มเติมหน่อยครับ จะได้เป็นข้อมูลในการประชุม

กับกรมเจ้าท่า ถ้ามีเอกสารหรือรูปประกอบด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง

อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล

                  เคารพ

                   สายัณ

 

ขอแจ้งให้เพื่อนๆ BWN ทราบว่า เมื่อ 13 มีนาคม 2551 ศาลปกครองสงขลาได้รับฟ้อง เรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านสงขลาแล้ว ในกรณีการพังทลายของชายหาดสะกอม ที่เสียหายจากการสร้างเขื่อนริมทะเล โดยกรมเจ้าท่า ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ที่ศาลท่านจะตัดสินออกมา ว่าความเสียหายของทรัพยากรชายหาดที่ล้ำค่าของชาติ เกิดจากมนุษย์หรือธรรมชาติ ซึ่งหวังว่ากรณีนี้ จะทำให้ได้ข้อยุติในเสียทีว่า ใตรตือผู้ทำร้ายทำลายชายหาดและชายฝั่ง ผมมั่นใจเต็มร้อยว่า ธรรมชาติคือแม่ที่สร้างสรรค์ให้เราได้มีชีวิตอยู่อย่างปกติ แต่ความโลภและความหลงของคนต่างหากที่ ทำลายชายหาดที่สวยงามลงไป ความคืบหน้าโปรดดูที่ website BWN

Somboon

รู้สึกเห็นใจทั้งผู้เรียกร้องและผู้ปฎิบัติงาน เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีสำนึก

และความตั้งใจดีที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

ส่วนตัวแล้ว ผมเข้าใจว่างานทางด้านชายฝั่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อน

ณ ปัจจุบัน ในหลายๆ ประเทศเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล

มีสาเหตุจากน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น + ตะกอนแม่น้ำลดลง + การใช้พื้นที่

ชายฝั่งที่แบบไม่ถูกต้อง รวมไปถึงสิ่งปลูกสร้างเพื่อป้องกัน แต่ตัวของมัน

เองกลับสร้างปัญหา ปัญหาเหล่านี้แท้จริงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่หลายๆ

ประเทศเผชิญ เรียนรู้ และปรับแก้ บ้านเราก็อาจจะกำลังปรับ

เข้าสู่สภาวะนั้น ซึ่งผมหวังว่าความสนใจในงานด้านนี้จะมีมากยิ่งขึ้น

ทะเลบ้านเราสวยงามติดอันดับโลก ผู้เกี่ยวข้องทุกคนควร

พยายามช่วยกันอนุรักษ์ รักษา ในที่นี้ มิได้หมายความว่าจะ

เอาแต่ค้านผู้ปฏิบัติ คำชี้แนะที่ดี และมีเหตุผล ผมเชื่อว่าทุกฝ่าย

ย่อมพร้อมที่จะรับฟัง คนรู้ทางด้านนี้แม้จะน้อย แต่ไม่ใช่จะไม่มี

ผมหวังว่าผู้รู้ทุกท่านจะได้ร่วมมือ และช่วยเหลือกันในการ

แก้ปัญหาอย่างจริงจัง ผลดีที่ได้คงเป็นของชาวบ้านผู้ซึ่ง

ส่วนใหญ่ก็คงหวังที่จะได้พึ่งพิงภาครัฐ และผู้มีความรู้

หวังให้ทุกฝ่ายมีสำนึกถึงหน้าที่ที่เหมาะสมของตน และทำให้ดีที่สุด

เพื่อรักษาผืนหาดและทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามของบ้านเรา

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

18 เมษายน 2551

เรื่อง ขอกราบเรียนเชิญผู้สนใจเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

เข้าร่วมสัมมนา

ด้วยคณะผู้ศึกษาวิจัย "ด้านบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" ในวันที่ 22 เมษายน 2551 เวลา 08:00-15:00 น ที่โรงแรม ราชมังคลา พาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท สงขลา โดยคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี สนใจรายละเอียดติดต่อที่ 074-287135 หรือ 081-5999655 ขอความกรุณาแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมก่อนเที่ยงวันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2551 เพื่อฝ่านเลขานุการจะได้เตรียมสถานที่ครับ

ความคิดเห็นของท่านอาจเป็นคุณแก่ลูกหลานในอนาคต

ขอบพระคุณยิ่ง

อาจารย์พยอม รัตนมณี

หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

สวัสดีครับ

            ในฐานะที่ผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบธรรมชาติของชายหาด แต่เนื่องจากในขณะนี้ ความสวยงามนั้นได้ถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้กระทำเอง แต่สิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้คือทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ต้องร่วมมือกันปกป้องชายหาด เพื่อที่ลูกหลานของเราจะได้มีชายหาดไว้วิ่งเล่นหรือพักผ่อนต่อไป เพราะผมคิดว่าทุกคนคงไม่ต้องการที่จะได้ฟังคำถามจากลูกหลานของเราว่า "ชายหาดเป็นอย่างไรหรือ"

            ผมคนหนึ่งที่ต้องการรักษาชายหาดไว้แต่ความรู้ที่มีมันไม่มากพอและต้องการที่จะศึกษาหาความรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่ง ผมจึงขอรบกวน ท่านใดที่มีข้อมูลของ วันที่และตำแหน่งการสร้างสิ่งก่อสร้างชายฝั่งในจังหวัดสงขลา (อำเภอเมืองสงขลา อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา) เพื่อผมจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปศึกษาต่อไป    และผมขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่มีใจรักและห่วงแหนทรัพยากรชายฝั่งทุกท่านครับ

                                                ขอบคุณครับ

                                                     

อาจารย์พยอม รัตนมณี

ยินดีครับ

ผมและคณะทำงานกำลังรวบรวมครับ ตั้งแต่นราธิวาส ปัตตานี สงขลา นคร สุราษฎร์ธานี ชุมพร นื่องจากต้องใช้เงินหลายแสนบาทในการจัดซื้อมา และต้องใช้เวลาประมวลผลด้วยครับ ผมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนครับ คุณ Dee กรุณาติดต่อผมที่ 081-5999655 ถ้านำไปใช้ให้เกิดคุณต่อแผ่นดินจริงๆ ผมยินดีบริจาคให้ครับ

อาจารย์พยอม รัตนมณี

ต้องขอกราบเรียน คณะ BWN นะครับ

จากประสบการณ์ ได้เป็นผู้ได้รับการสั่งสอนวิชาสายน้ำจากอาจารย์สมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์

ต้องขอบอกว่า ผมไม่ได้อะไรที่เป็นประโยชน์ในงานวิศวกรรมเลย

ผมไม่ทราบว่า อาจารย์กั๊ก หรือ มีเหตุผลใดๆ ในการสั่งสอน อาจารย์เป็นนักวิชาการที่ดีได้ครับ แต่ไม่ใช่อาจารย์ที่ดีได้เลย (หรืออาจารย์ขาดความรู้ทางวิชาการ)

จากประสบการณ์บอกกล่าว

เคยลงวิชาฟูอิค ซึ่งเคยมีชั้นเรียนร่วมกัน กับภาควิชาวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งเปรียบเสมือน พี่น้อง อาจารย์สมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ ได้นำภาพระบบนิเวศป่าชายเลน มาถามนักศึกษาในห้อง ว่าเห็นอะไรในภาพ นักศึกษาว่าที่วิศวกรฝ่ายสิ่งแวดล้อม บอกว่า เป็น ป่า เห็น พะยูน เห็นปลา

อาจารย์สมบูรณ์ ม้วนกระดาษแผ่นนั้น และถามว่า คุณรู้มั้ย โยธาเห็นอะไร

"มันเห็นเงิน" และยังกล่าวถ้อยคำมากมายเชิงกล่าวหาศาสตร์วิศวกรรมโยธา

จากถ้อยคำดังกล่าว ผมตีความได้ 3 อนุใหญ่

อนุ 1 อาจารย์สมบูรณ์ พรพิเนตรพงษ์ ต้องการให้นักศึกษาว่าที่วิศวกรรมทั้งสองภาควิชาโยธาและสิ่งแวดล้อมเกิดความขัดแย้งกัน

อนุ 2 อาจารย์สมบูรณ์ พรพิเนตรพงษ์ ต้องการสื่อถึงการขาดจรรณาบรรณในการสอน ยุให้นักศึกษาขาดความสมานฉันท์ ขาดความเป็นธรรม อารมณ์ตนเหนือใจ

อนุ 3 อาจารย์สมบูรณ์ พรพิเนตรพงษ์ ไม่มีความสามารถในการสอนในศาสตรวิศวกรรม

ผมเชื่อเสมอครับ วิศวกรรมเราแก้ไขได้ หากทุกคนมีเจตนาที่ดี งานต้องออกมาดี หากเราต้องการหาข้อผิดพลาด มันจะไม่จบสิ้น

ผมเสียใจครับและรู้สึกผิดหวัง ที่ทางสถาบันยังให้อาจารย์มาทำร้ายรุ่นน้องผมต่อๆ กันไปอีก

ผมเชื่อว่า อาจารย์เป็นนักวิชาการที่ดีได้ แต่ไม่ใช่อาจารย์ที่ดีได้เลย

ขอบคุณครับ

ปลาวาฬทราย

อาจารย์พยอม รัตนมณี โยธา ม.อ.

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

13 พฤษภาคม 2551

เรื่อง ขอกราบเรียนเชิญผู้สนใจเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

เข้าร่วมสัมมนา (ครั้งที่ 2)

ด้วยคณะผู้ศึกษาวิจัย "ด้านบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" จะนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (ครั้งที่ 2) ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 เวลา 08:00-16:00 น ที่โรงแรม ราชมังคลา พาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท สงขลา โดยคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี

ในช่วงเช้าจะเป็นการรวมรวมปัญหาที่ผ่านมา แนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง และในช่วงบ่ายจะนำผู้ที่สนใจในรายละเอียดเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดลอง

ในโอกาสนี้ใคร่กราบเรียนเชิญท่านผู้ที่สนใจ กรุณาเข้าร่วม เพื่อเสนอแนะจะได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ในอนาคต

สนใจรายละเอียดติดต่อที่ 074-287135 หรือ 081-5999655 ขอความกรุณาแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมก่อนเที่ยงวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2551 เพื่อทางฝ่ายเลขานุการจะได้เตรียมเอกสาร อาหาร และสถานที่น่ะครับ

กราบขอบพระคุณยิ่ง

อาจารย์พยอม รัตนมณี

หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

13 เมษายน 2551

เรื่อง ขอกราบเรียนเชิญผู้สนใจเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

เข้าร่วมสัมมนา (ครั้งที่ 2)

ด้วยคณะผู้ศึกษาวิจัย "ด้านบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" จะนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (ครั้งที่ 2) ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 เวลา 08:00-16:00 น ที่โรงแรม ราชมังคลา พาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท สงขลา โดยคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี

ในช่วงเช้าจะเป็นการรวมรวมปัญหาที่ผ่านมา แนวทางแก้ไขเชิงบูรณาการ และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง และในช่วงบ่ายจะนำผู้ที่สนใจในรายละเอียดเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดลอง

ในโอกาสนี้ใคร่กราบเรียนเชิญท่านผู้ที่สนใจ กรุณาเข้าร่วม เพื่อเสนอแนะจะได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ในอนาคต

สนใจรายละเอียดติดต่อที่ 074-287135 หรือ 081-5999655 ขอความกรุณาแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมก่อนเที่ยงวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2551 เพื่อทางฝ่ายเลขานุการจะได้เตรียมเอกสาร อาหาร และสถานที่น่ะครับ

กราบขอบพระคุณยิ่ง

อาจารย์พยอม รัตนมณี

หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

อาจารย์พยอม รัตนมณี โยธา ม.อ.

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2 มิถุนายน 2551

เรื่อง เรียนเชิญ สมาชิก BWN และนายสมบูรณ์ พรพิเนตรพงษ์ เข้าร่วมสัมมนา

ด้วยคณะผู้ศึกษาวิจัย "ด้านบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" จะนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (ครั้งที่ 2) ในวันที่ 6 มิถุนายน 2551 เวลา 08:00-16:00 น

ช่วงเช้านำเสนอแนวความคิด หลักการ และผลการศึกษาในเบื้องต้น ที่โรงแรม ราชมังคลา พาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท สงขลา ส่วนช่วงบ่ายจะเข้ามาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดลองที่ ม.อ. หาดใหญ่

ในโอกาสกระผมใคร่กราบเรียนเชิญสมาชิก BWN ที่มีเจตนาจะเฝ้าระวังและดูแลชายหาดของประเทศไทย เข้าร่วมประชุมสัมมนา และขอเชิญตัวนายสมบูรณ์ พรพิเนตรพงษ์เอง ที่เป็นเจ้าของ Website นี้ เป็นบุคคลที่ผมคาดว่าคงจะมีข้อเสนอแนะดีๆ อยู่บ้าง เพื่อให้ทางคณะวิจัยจะได้นำไปปรับปรุงรูปแบบในลำดับต่อไป

สนใจรายละเอียดติดต่อที่ 074-287135 (คุณเล็ก)หรือ 081-5999655 (อาจารย์พยอม)ขอความกรุณาแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมก่อนเที่ยงวันพุธที่ 4 มิถุนายน 2551 เพื่อทางเลขานุการจะได้เตรียมเอกสาร อาหาร และสถานไว้ต้อนรับ

กราบขอบพระคุณยิ่ง

อาจารย์พยอม รัตนมณี

หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

อาจารย์พยอม รัตนมณี โยธา ม.อ.

SMART Research Project

ผู้ทางคณะผู้วิจัยได้จัดงานสัมมนา โครงการศึกษาวิจัยการป้องกันชายฝั่งทะเลแบบบูรณาการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาเสร็จสิ้นไปด้วยดี มีผู้เข้าร่วมประชุมมากถึง 200 คน มากกว่าที่ผมคาดหวังไว้มาก จึงขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ทั้งจาก ม.อ. และคณาจารย์จากสถาบันอื่นๆ เทศบาลสิงหนคร อบจ.ต่างๆ รวมถึง อบต. ทั้งหลาย และหน่วยงานเกี่ยวกับประมงและทรัพยากรชายฝั่ง บริษัทเอกชน และที่สำคัญยิ่ง คือ ชาวบ้านทั้งหลาย ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและทรัพยากรชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเรา

ผมเชื่อว่าถ้าพวกเรารักชายหาดจริง หวงแหนทรัพยากรจากหัวใจอย่างแท้จริง

ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รับรองว่าปัญหาต่างๆ จะแก้ไขง่ายดายขึ้น

ส่วนคำแนะนำและข้อเสนอแนะเพิ่มเต็มอีกประมาร 10 ข้อ จากท่านทั้งหลาย เช่น จาก ท่าน ดร.เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล(คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ.) คุณอรุณ เขตมรรคา (ขน.สงขลา) ลุงล้วน (ชาวบ้านสิงหนคร) บังสมาน (ชาวบ้านเก้าเส้ง) ทางคณะผู้ศึกษาวิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูง และจะนำมาปรับปรุงรูปแบบและศึกษาวิจัยเพิ่มเต็ม เพื่องานวิจัยจะได้มีความถูกต้องและสามารถทำให้เกิดประโยชน์ในภายหน้าได้ครับ

ขอขอบพระคุณท่าน รศ.ดร.วรวุฒิ วิสุทธิ์เมธางกูร ที่สละเวลาอันมีค่ายิ่งมาเปิดการสัมมนาในนามของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คุณวิสุทธิ์ โชติกเสถียร ตัวแทนกรมทรัพยากรธรณี รศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ ที่ช่วยเหลือและสนันสนุนการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องด้วยดี ท่านอาจารย์วิวัฒน์ สุทธิวิภากร ที่กรุณาส่งบุคลากรมาสนับสนุนในงานสัมมนา และท่าน ผศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาที่ให้ความสะดวกในทุกด้านต่อคณะผู้ศึกษาวิจัย และขอขอบพระคุณเป็นการล่วงหน้าสำหรับท่าน รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จะมาร่วมงานสัมมนาครั้งที่ 3 (ครั้งสุดท้าย)

อนึ่ง ทางคณะผู้วิจัยกำลังเร่งจัดทำ Website เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัย

ที่ http://www.smart-project.org ครับ

ขอแสดงความนับถือ

อาจารย์พยอม รัตนมณี (081-5999655)

หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

เชฟรอน พร้อมรับฟังความคิดเห็น

โครงการศึกษาการขยายงานด้านการขนส่งมาที่ จ. นครศรีธรรมราช

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในโครงการขยายฐานสนับสนุนที่ดูแลงานด้านการขนส่งเพื่อรองรับการปฏิบัติงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย มาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยในปัจจุบัน เชฟรอนมีฐานสนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ดำเนินการอยู่ในอ่าวไทยสองแห่งด้วยกัน คือ ที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาและที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งแผนการรวมฐานสนับสนุนด้านการขนส่งทั้งสองแห่งเหลือเพียงแห่งเดียวนั้นจะทำให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตเพื่อช่วยตอบสนองความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศ

ปัจจัยที่สำคัญอีกประการคือ ความต้องการด้านพลังงานของประเทศและราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงมีนโยบายอย่างจริงจังในการเร่งรัดจัดหาพลังงานภายในประเทศ ซึ่งบริษัท เชฟรอนฯ ก็เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลในการพัฒนาแหล่งพลังงานจากภายในประเทศเพื่อช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ จึงส่งผลให้ฐานสนับสนุนการปฏิบัติงานบนฝั่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่สามารถรองรับการขยายงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต บริษัทฯ จึงเริ่มทำการศึกษาเพื่อจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นฐานสนับสนุนด้านการขนส่งแห่งใหม่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย อาคารสำนักงาน คลังเก็บวัสดุ ลานวัสดุอุปกรณ์ และท่าเรือสำหรับขนส่งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้จะไม่มีการก่อสร้างโรงแยกก๊าซฯ หรือวางระบบท่อส่งก๊าซหรือท่อส่งปิโตรเลียมขึ้นบนฝั่งแต่อย่างใดทั้งสิ้น

จากการสำรวจในเบื้องต้น โดยใช้ปัจจัยในการพิจารณาอย่างรอบด้านทั้งในแง่ความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่าพื้นที่ในบริเวณบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศักยภาพสูงในการพัฒนาโครงการขยายงานด้านการขนส่งฯ ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการที่บริษัท เชฟรอน ฯ ได้เริ่มลงมือทำการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม โดยการศึกษาจะครอบคลุมถึงการศึกษาร่างการออกแบบก่อสร้างโครงการที่เหมาะสม ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขอนามัย รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาเก็บตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมรวมทั้งจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (อีไอเอ) ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ จะไม่มีกิจกรรมการก่อสร้างใดๆ ในพื้นที่ ก่อนที่จะได้รับความเห็นชอบในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และได้รับการอนุมัติจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้รับการยอมรับจากชุมชนในพื้นที่

กิจกรรมที่บริษัทฯ ได้เริ่มดำนินการตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา คือ การเข้าไปพบปะพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ ตลอดจนผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการท้องถิ่นทั้งในระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยจัดเป็นการพบปะพูดคุยกลุ่มย่อยอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจ รวมทั้งเป็นช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ข้อกังวลและความห่วงใยของชุมชนในด้านต่างๆ เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือในการหาแนวทางการป้องกัน การลดและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุดและเป็นที่ยอมรับได้ของชุมชนในพื้นที่

จากการเข้าพบปะพูดคุยกับชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมาจำนวน 31 กลุ่มในพื้นที่ของ 2 ตำบลในอำเภอท่าศาลา ได้รับการต้อนรับจากพี่น้องในพื้นที่เป็นอย่างดี บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา ทำให้ได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการเป็นอย่างมาก

บริษัทฯ และบริษัทที่ปรึกษามีกำหนดการจัดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นทางการครั้งที่ 1 ในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ส่วนขั้นตอนการเก็บตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมและศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น รวมถึงการรวบรวมข้อกังวลในประเด็นด้านสังคม จากทางชุมชนในพื้นที่จะยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจะมีการนำความคืบหน้ามานำเสนอให้ประชาชนได้รับทราบตลอดระยะเวลาที่บริษัทฯ ทำการศึกษาในโครงการนี้

ในอนาคตหากโครงการฯ ที่ จ. นครศรีธรรมราช มีความเป็นไปได้ ผ่านการเห็นชอบจากหน่วยงานภาครัฐและได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ การขยายฝ่ายงานด้านการขนส่งนี้ จะเป็นการโยกย้ายงานเพียงส่วนหนึ่งที่ปัจจุบันอยู่ใน จ. สงขลา ในขณะที่งานในอีกหลายๆ ส่วนที่สำคัญ อาทิ ศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน (ศูนย์เศรษฐพัฒน์) หน่วยงานซ่อมบำรุงต่างๆ หน่วยฝึกการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน จะยังคงตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลาดังเดิม ดังนั้น บริษัท เชฟรอนฯ จึงยังคงยึดมั่นที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนชาวสงขลาอย่างต่อเนื่องต่อไป และหากเชฟรอนฯ จะได้มีโอกาสขยายงานมายัง จ. นครศรีธรรมราช ในอนาคต บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าเราจะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชาวท่าศาลา และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจในพี้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเราจะดำเนินงานตามนโยบายด้านสังคมของเราที่ว่า “เราจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในทุกๆ ที่ที่เราปฏิบัติงาน” ดังเช่นที่เรายึดถือปฏิบัติมาจนได้รับการยอมรับจากประชาชนในจังหวัดสงขลาซึ่งถือเป็น “บ้าน” อีกหลังหนึ่งของพนักงานเชฟรอนมาเป็นเวลากว่า 27 ปี

รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

ภรณี กองอมรภิญโญ

โทร 0-2545-5714

อีเมล์: [email protected]

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

27 มิถุนายน 2551

เรื่อง ขอกราบเรียนเชิญผู้สนใจเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

เข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 3 (ครั้งสุดท้าย)

ด้วยคณะผู้ศึกษาวิจัย "ด้านบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" จะนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (ครั้งที่ 3) ในวันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2551 เวลา 08:00-12:00 น (เนื่องจากวันจันทร์-วันศุกร์ ติดภารกิจการเรียนการสอนครับ) ที่โรงแรม ราชมังคลา พาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท สงขลา (ที่เดิม) โดยคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งท่าน รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี เป็นประธาน ร่วมกับ ท่านอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

การสัมนาในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอ ผลการศึกษาทางด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม/เศรษฐศาสตร์ และนำเสนองานที่ได้ปรับปรุงแก้ไขที่ได้จากการเสนอแนะในการสัมมนาครั้งที่ 1 และ 2 ปิดท้ายด้วยการรับฟังทัศนคติของชุมชน หน่วยงานราชการ และนักวิชาการทั้งหลาย ต่อการดำเนินโครงการ แล้วร่วมรับประทานอาหารเที่ยงด้วยกันครับ

ในโอกาสนี้ใคร่กราบเรียนเชิญท่านผู้ที่สนใจ ผู้ที่รักและหวงแหนหาดทราย กรุณาเข้าร่วม เพื่อเสนอแนะจะได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ในอนาคต

สนใจรายละเอียดติดต่อที่ 074-287135 หรือ 081-5999655 ขอความกรุณาแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมก่อนเที่ยงวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 เพื่อทางฝ่ายเลขานุการจะได้เตรียมเอกสาร อาหาร และสถานที่น่ะครับ

ขอแสดงความนับถือ

อาจารย์พยอม รัตนมณี

โทร 081-5999655

หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

ขอโทษพี่น้อง ที่ผ่านมาหายไปนานเพราะยุ่งยากหลายอย่าง มาต่อกันเรื่องที่คลองวาฬ

1) ระบบบำบัดน้ำเสียรวมซับซ้อนพอๆกับงานอาคารสูงใน กทม ท้องถิ่นดูแลได้ไหว ? งบ? คน?

2) อัตราการสิ้นเปลืองไฟฟ้า น้ำ ทั้งโครงการพอๆกับห้างสรรพสินค้า ??

3) จนป่านนี้เลยกำหนดรับ-ส่ง งานจาก 23 พย 50 โครงการไม่เปิดใช้ เกิดอะไร

4) เคยมี สตง ตามโครงการนี้ แล้วเงียบไป หรือจะเหมือน สรรพากร และ กรมทรัพย์ฯ

หินมีใบอนุญาตสัมปทาน ใช่หินที่เดียวกับเหมืองสัมปทาน? หลบ VAT ได้เท่าไร?

5) เขื่อนหิน ฐานกว้าง สันลึก เท่าไร ทำจริงต่างจากแบบเท่าไร หลวงได้เงินคืนไหม ( อันนี้ตอบได้ - ไม่ได้คืนเพราะลงเป็นค่าเหล้าคนคุมงานและแบ่งผู้เกี่ยวข้องหมด แบบว่าตรวจงานกันที่ร้านคาราโอเกะ และตรวจทุกจุดเว้นหน้างาน)

6) ตรวจรับงวดที รับที่โรงแรมในหัวหินปิดเล้าจ์หลายวัน

7) ผู้รับเหมาเจ้านี้ว่ากันว่าเลือกคนคุมงานโครงการที่ตัวเองทำได้ เพราะเป็นผู้จัดฮั้ว หากไม่พอใจคนที่เลือกมาก็เปลี่ยนได้ เช่นที่คลองวาฬนี้เปลี่ยนมาชุดหนึ่งแล้ว

8) แปลกงานนี้มีการซ่อมหาดโดยใช้ทรายตรงนั้นแต่เก็บเงินหลวงได้ แถม ขน 10 เที่ยว เบิกเป็นล้าน

9) ร่องนำต้องสูบเลนไกลร่วม 10 กม ทำจริงสูบไปทิ้งหน้าเขื่อน เดี๋ยวก็มีงบสูบเลนใหม่ อิ่มอีกรอบ

10)ผู้รับเหมาเจ้านี้กำลังทำเขื่อนที่สวีและเกาะแต้วสงขลา พี่น้องจับตาดีๆ มีเวลาจะมาเล่าให้เบาะแสใหม่

พบกันใหม่นะ

ดูเหมือนว่าคุณวิทยพรมีข้อมูลวงในที่ได้รับข้อมูลจากคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโครงการ

อย่างไร หากมีเวลา ขอรบกวนเขียนขยายความหัวข้อแต่ละหัวข้อทีนะครับ

เพื่อคนที่สนใจ เขาจะได้เข้าใจปัญหาในแง่มุมต่างๆ มากยิ่งขึ้น ถือว่า

เป็นการช่วยกันอย่างแท้จริงนะครับ

ขอบคุณครับ

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

27 มิถุนายน 2551

เรื่อง แจ้งเลื่อนวันจัดสัมมนาครั้งที่ 3 และ

ขอกราบเรียนเชิญผู้สนใจเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

เข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 3 (ครั้งสุดท้าย)

ด้วยเดิมคณะผู้ศึกษาวิจัย "ด้านบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" จะนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (ครั้งที่ 3) ในวันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2551 เวลา 08:00-12:00 น (เนื่องจากวันจันทร์-วันศุกร์ ติดภารกิจการเรียนการสอนครับ) ที่โรงแรม ราชมังคลา พาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท สงขลา (ที่เดิม) แต่ด้วยมีข้อมูลจำนวนมากที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จะต้องกลั่นกรองข้อมูลหลายร้อยชุดข้อมูล เพื่อความพร้อมในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน คณะผู้วิจัยใคร่ขอเลื่อนการสัมมนาออกไปอีก 2 สัปดาห์

โดยจะจัดสัมมนาในวันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2551 ที่โรงแรม ราชมังคลา พาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท สงขลา กระผมในนามหัวหน้าคณะวิจัยใคร่ขอประทานโทษในความผิดพลาดนัดหมายด้วย

การสัมนาในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอ ผลการศึกษาทางด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม/เศรษฐศาสตร์ และนำเสนองานที่ได้ปรับปรุงแก้ไขที่ได้จากการเสนอแนะในการสัมมนาครั้งที่ 1 และ 2 ปิดท้ายด้วยการรับฟังทัศนคติของชุมชน หน่วยงานราชการ และนักวิชาการทั้งหลาย ต่อการดำเนินโครงการ แล้วร่วมรับประทานอาหารเที่ยงด้วยกันครับ

ในโอกาสนี้ใคร่กราบเรียนเชิญท่านผู้ที่สนใจ ผู้ที่รักและหวงแหนหาดทราย กรุณาเข้าร่วม เพื่อเสนอแนะจะได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานบูรณาการชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ในอนาคต

สนใจรายละเอียดติดต่อที่ 074-287135 หรือ 081-5999655 ขอความกรุณาแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมก่อนเที่ยงวันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2551 เพื่อทางฝ่ายเลขานุการจะได้เตรียมเอกสาร อาหาร และสถานที่น่ะครับ

ขอแสดงความนับถือ

อาจารย์พยอม รัตนมณี

โทร 081-5999655

หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัย

ขอบคุณ อ.สมบูรณ์ มาก ที่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

สวัสดีครับ ผู้ที่รักชายหาดทราย ทุกท่าน

เมื่อ ๑๐ - ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เดินทางมาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกรณี ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดสงขลา โดยได้เห็นการพังทลายของหาดทรายที่เคยสวยงาม และบ้านเรือนสาธารณูปโภคพังทลาย ตลอดแนวชายฝั่ง

ซึ่งคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ต้นเหตุของปัญหามาจาก การสร้างเขื่อนริมทะเล ที่ดำเนินการโดยส่วนราชการ เช่น กรมเจ้าท่า กรมโยธาฯ และ เทศบาล / อบต.

รายละเอียดและรูปประกอบ แสดงไว้ใน website BWN

Help saving our beautiful beaches

สวัสดีครับ

มาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาชายหาดทราย

ด้วยการเผยแผ่ สารคดีสั้น (fillers) และ

บทเพลงรักษาชายหาด ประพันธ์ โดย ศ บุญเลี้ยง

และฟังคำปราศัยเรื่อง สู้วิกฤตกัดเซาะชายฝั่ง

ของท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อ 11 ก.พ. 53

ได้ที่ web site BWN

Save our beautifiul beaches

"เข้ามาโหลดเพลงของคุณ ศุ บุญเลี้ยงครับ..."

"ฟังแล้วซาบซึ้งใจและรักทะเลกับหาดทรายมากขึ้นเลยครับ"

- ขอบคุณครับผม -

หวัดดีคับ

ผมเป็นสมาชิกใหม่ของบ้านนี้ มีเรื่องอยากขอคำแนะนำจากเพื่อนๆสมาชิก คือ ที่ตำบลที่ผมอยู่กำลังมีการก่อสร้างเขื่อนหินกันการกัดเซาะชายฝั่งอยู่ เพิ่งเริ่มสร้างวันนี้เลย เห็นแล้วใจหายบอกไม่ถูก เพราะณ จุดนี้จะเป็นชายหาดสุดท้านของที่นี้ที่เหลืออยู่ ผมไม่อยากให้ชายหาดนี้หายไปเลย แต่ไม่รู้จะทำไง เพื่อนๆช่วยแนะนำหน่อยน่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

หวัดดีคับ

ผมเป็นสมาชิกใหม่ของบ้านนี้ มีเรื่องอยากขอคำแนะนำจากเพื่อนๆสมาชิก คือ ที่ตำบลที่ผมอยู่กำลังมีการก่อสร้างเขื่อนหินกันการกัดเซาะชายฝั่งอยู่ เพิ่งเริ่มสร้างวันนี้เลย เห็นแล้วใจหายบอกไม่ถูก เพราะณ จุดนี้จะเป็นชายหาดสุดท้านของที่นี้ที่เหลืออยู่ ผมไม่อยากให้ชายหาดนี้หายไปเลย แต่ไม่รู้จะทำไง เพื่อนๆช่วยแนะนำหน่อยน่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

นักข่าว สายฟ้าน้อย

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ที่ได้ให้ข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ๆและชัดเจนสำหรับเรา

อย่างไรสัก พวกเรา ทีมนักข่าวสายฟ้าน้อยก็ถือว่าเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะอยู่ต่างมหาวิทยาลัยก็ตาม

เพราะอาจารย์ได้ให้ภูมิรู้แก่พวกเรา ด้วยความเมตตาของอาจารย์นั้นที่ให้ความรู้มาได้ทำให้พวกเราซาบซึ้งในคำว่า "ครู" ที่พร้อมจะให้ความรู้และสั่งสอนลูกศิษย์ตลอดเวลา ไม่ว่าลูกศิษย์จะอยู่ที่ใด

อย่างไรก็ตาม พวกเรา ทีมนักข่าวสายฟ้าน้อย ก็ขอพรจากอำนาจพระศรีรัตนตรัยดลบรรดาลให้อาจารย์มีความเจริญ ประสบความสำเร็จ และมีสุขภาพ พลนามัยที่ดียิ่งๆขึ้นไป

นักข่าว สายฟ้าน้อย

BWN ขอเชิญ คุณ tungkhai_a สมัครเข้าร่วมอบรม

โครงการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ชายหาด ซึ่งจะจัดขึ้น

ที่ ม.สงขลาฯ ปลาย ต.ค. 53 นี้ โดยทาง BWN จะจ่ายค่า

เดินทาง ที่พัก และค่าอบรมให้ครับ

รีบสมัครด่วนนะครับ ติดต่อที่ [email protected]

แนะนำ web site Beach Conservation

http://www.bc.psu.ac.th/index.html

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาชายหาด

เรียน คุณปลาวาฬทราย และคณะ BWN ทุกท่าน

   เนื่องจากผมเองก็เป็นลูกศิษของอาจารย์สมบูรณ์คนหนึ่ง และผมก็ได้รับอะไรจากอาจารย์ท่านนี้มากมาย ....ประโยคทำนองนี้ผมเองก็เคยได้ยินอาจารย์พูดบ่อยๆเหมือนกันนะครับ แต่ผมว่าอาจารย์ท่านพูดถูกแล้ว ผมเองก็เห็นด้วยนะครับว่าวิศวกรที่ดีก็มีมาก แต่ก็ต้องยอมรับนะครับว่าวิศวกรที่โกงกิน ก็มีมากเช่นกัน....ที่อาจารย์เอารูประบบนิเวศป่าชายเลนให้ดูแล้วบอกว่าวิศวโยธาเห็นเป็นเงิน ผมคิดว่าอาจารย์ต้องการจะสื่อให้เห็นว่า ระบบนิเวศหรือธรรมชาติถ้าไม่มีการรบกวน ก็ไม่มีปัญหา และแน่นอนว่าไม่มีใครได้รับผลประโยชน์เช่นกัน แต่ถ้าสร้างการรบกวนขึ้น ก็ต้องมีปัญหา และก็แน่นอนว่าต้องเกิดผลประโยชน์ ...แล้วใครหละ...ที่ได้ผลประโยชน์??? ใครบ้างหละ...ที่แย่งกันเข้าไปแก้ปัญหาที่ ใครหละ? ทำขึ้นเอง...??? แน่นอนครับว่าลูกศิษย์อาจารย์สมบูรณ์แต่ละรุ่นมีมากมาย ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่อาจารย์สอนแบบนึง แต่ลูกศิษย์เข้าใจได้หลายแบบ

      และตัวผมเองก็ขอยืนยันนะครับ ว่าอาจารย์สมบูรณ์เป็นอาจารย์ที่ดีมากๆคนนึง และความรู้ที่ท่านมีก็หาที่เปรียบได้ยาก และท่านยังตั้งใจสอนอย่างดีอีกด้วย ในหนึ่งคาบหรือ50นาที ท่านจะสอนวิชาการประมาณ 30 นาที แต่อีก 20 นาทีนั้นท่านจะสอนให้เราได้เห็นถึงความเป็นจริงนอกเหนือจากวิชาการ ปรัชญาการดำเนินชีวิต  และอื่นๆที่มีประโยชน์ทั้งสิ้น ... ส่วนคำว่า 'กั๊ก' และคำว่า 'ไม่ได้อะไรจากการเรียนกับอาจารย์สมบูรณ์เลย' ที่คุณปลาวาฬทรายใช้นั้น ผมคิดว่าไม่มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยกั๊กวิชาแน่นอนครับ (ถ้ากั๊กในคาบเรียนแล้วค่อยไปปล่อยวิชาในที่เรียนพิเศษก็ว่าไปอย่าง) ส่วนคำว่า 'ไม่ได้อะไรในการเรียนกับอาจารย์สมบูรณ์' ผมคิดว่าสาเหตุมี2ข้อนะครับ คือเกิดจากคนสอน หรือเกิดจากคนเรียน อาจารย์อาจจะสอนไม่รู้เรื่อง หรือคนเรียนไม่ตั้งใจเรียน ต้องลองตอบตัวเองดูใหม่อีกครั้งนะครับ....

    .....เป็นกำลังใจให้ อ.สมบรณ์ นะครับ

ขอเชิญทุกท่านที่รักหาดทรายที่สวยงาม เข้าเยี่ยมชม web site

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ กรณีการใช้ประโยชน์หาดทรายและการอนุรักษ์

ที่

http://beachconservation.wordpress.com/

และช่วยกันเผยแผ่ต่อๆกันไป เพื่อรักษาชายหาดไว้ให้ลูกหลานสืบไป

 

ขอแสดงความยินดีด้วยกับการเผยแพร่ความรู้เรืองนี้ ในประเทศไทยความรุ้เรื่องชายฝั่งทะเลยังน้อยเกินไปและอยู่ในวงจำกัด คนทั่วไปมักเรื่องของธรรมชาติเป็นธรรมดา เมื่อสูญเสียหรือเปลี่ยนแปลงไปแล้วก้จะกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือมองคือการปรับตัวของธรรมชาติ จริงอยู่ที่คิดเช่นนั้นก็ไม่ผิด แต่ในปัจจุบันธรรมชาติกับการพัฒนา การใช้เทคโนโลยีมาช่วยธรรมชาติมักจะเกิดอันตรายกับธรรมชาติ เพราะความรู้จริงๆ นั้นอาจจะยังไม่ครบถ้วนหรืออาจจะไม่ใช่ความรู้เรื่องนั้นก็ได้ ผมจึงมักพูดเสมอว่าไม่ใครรู้ดีกว่าธรรมชาติ เมื่อเรายังไม่รู้ก็ควรที่ให้ธรรมชาติคงอยู่กัยธรรมชาติ ไม่ควรไปรบกวนธรรมชาติเกินขอบเขต แม้แต่ที่ผมคิดว่าการนำแนวทางการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาธรรมชาติอาจยังไม่ใช่วิธีการที่ดีก็ได้ เพราะเราเองแน่ใจแล้วหรือว่าองค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นเพียงพอแล้ว เพราะฉนั้นยังไม่รู้หรือไม่แน่ใจก็ควรจะปล่อยธรรมชาติให้กับธรรมชาติ แล้วก็เผยแพร่ความรู้นั้นให้กับชนรุ่นหลังไป ขอบคุณ

ต้องขอบคุณเผด็จ อย่างมากที่ให้ข้อคิดดีๆเช่น

..เมื่อเรายังไม่รู้ก็ควรที่ให้ธรรมชาติคงอยู่กับธรรมชาติ...

มีคำถามว่า ถ้าคนที่ทำรู้ว่าทำแล้วหาดทรายจะเสียหาย

แต่ก็ยังคงทำอยู่อีก แล้วควรจะทำอย่างไรดีครับกับคนพวกนี้ ?

อาจารย์ บริเวณชายหาดที่คงสภาพเดิมที่ดีที่สุดตั้งแต่นาทับถึงสงขลาคือบริเวณหาดเขารูปช้าง

พวกเขา ((ทำเป็น) จ้าวท่า...) เจตนาจะทำลายมันทั้งหมดฤๅอย่างไร

ตอนนี้ชายหาดบ้านหน้าศาลสูญหาย100%แล้วครับ

ท่านสมัครเป็นเพื่อเครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาด ใน Facebook

หรือยัง มีอะไรอีกมากให้ค้นคว้าอย่ารอช้านะ...

มีกันหรือยัง

หนังสือ "หาดทรายมรดกทางธรรมชาติที่นับวันจะสูญสิ้น"

อ่านง่ายๆแต่ให้สาระเอนกอนันต์

สามารถแจ้งความจำนงรับหนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน

หรือจะอ่านจาก E_Book ได้ที่

http://gotoknow.org/file/beachconservation

อาจารย์วิจารณ์พูดถึงหนังสือเพื่อช่วยกันดูแลชายหาดของเราค่ะ นำมาฝากไว้ค่ะ http://gotoknow.org/blog/thaikm/437533

วิลาวัลย์ สุขร่วม

เรียน เจ้าหน้าที่เครือข่าย ดิฉันเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานสื่อ ประจำแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ (นสธ.) ค่ะ ขณะนี้ทางแผนงานได้เปลี่ยนลิงก์เว็บไซต์เป็น www.tuhpp.net แล้วค่ะ   รบกวนผู้ดูแลเว็บไซต์ www.bwn.psu.ac.th เปลี่ยนลิงก์ให้กับทางแผนงานด้วยค่ะ   ขอบคุณค่ะ^^

  วิลาวัลย์ สุขร่วม

  โทรศัพท์ 02-9388826

เรียน ผู้ที่รักหาดทรายทุกท่าน

ขอแก้ไข URL แนะนำหนังสือ

“หาดทราย มรดกทางธรรมชาติที่นับวันจะสูญสิ้น”

ที่แนะนำโดย ศ.นพ.วิจารณ์ ซึ่งท่านเขียนไว้เมื่อ ๑๑ เม.ย. ๕๔

ที่ถูกค้องควรเป็น

http://gotoknow.org/blog/council/437533

BWN มีความซาบซึ้งในความอนุเคราะห์ที่ท่านมี

ต่อการรักษาหาดทรายให้คงอยู่เพื่อลูกหลาน

ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยรักษ์หาดทรายกำลังปรับปรุง

หนังสือหาดทรายเล่มที่ 1 และจะพิมพ์ครั้งที่ 3000 เล่ม

และจะออกเล่มที่ 2 ว่าด้วยนิเวศและคุณค่าของหาดทราย

ซึ่งเขียนโดยอาจารย์หลายท่านและเครือข่ายชาวบ้าน

ที่รักหาดทรายดั่งชีวืต หนังสือจะออกในเร็วๆนี้

ต้องขอขอบพระคุณอยางสูงต่อทาง นสธ ที่ให้ความสนับสนุน

ทุนวิจัยและจัดทำหนังสือหาดทรายอย่างเต็มที่ และเสียสละเวลา

มากมายให้แก่โครงการนโยบายสาธารณะชุดนี้

ท่านใดและหน่วยงานใดที่ปรารถนาจะร่วมเป็นกำลังใจ

ให้ทุนเล็กๆน้อยๆในการจัดพิมพ์หนังสือชุดหาดทราย

กรุณาแจ้งมาได้ที่ web site BWN หรือที่ [email protected]

ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะพิมพ์โลโกของท่านลงในหนังสือด้วย

BWN เชื่อมั่นว่าความจริงและความถูกต้องทางวิชาการเท่านั้น

ที่จะรักษาหาดทรายและโลกใบนี้ไว้ได้ เพื่อสังคมที่เป็นสุขอย่างแท้จริง

ด้วยความเคารพทุกท่านที่รักหาดทราย

Somboon

ศิริภัทร วิสุทธิพันธุ์

ปัญหานี้ เป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขเร่งด่วน

เพราะจากเมื่อได้มี ความรู้ความเข้าใจ ขึ้นมาพบว่า ปัญหานี้ปล่อยไว้ไม่ได้

เพราะ ชายหาดต้องอยู่กับประเทศไทยและลูกหลานต่อไป

ศาลปกครองสงขลานัดฟังการพิจารณาคดีประวัติศาสตร์

กรณี กรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนริมทะเลทำให้ชายหาดสะกอมพังทลาย

ในวันที่ 12 กค. 54 ซึ่งนับแต่วันนี้เป็นต้นไป จะเป็นบรรทัดฐานในการ

รักษาหาดทรายทั่วประเทศ และเป็นแนวทางการรักษาทรัพยากร

ธรรมชาติอื่นๆด้วย รายละเอียดอ่านที่

http://www.bwn.psu.ac.th/courtx.html

โปรดช่วยกันติดตามข่าวนี้อย่างใกล้ชิด

29 ก.ค. 54 เป็นวันที่ศาลปกครองสงขลานัดฟังการตัดสินคดี

ชาวสะกอม สงขลา ฟ้องกรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนริมทะเลทำชายหาดสงขลาพังทลาย

อยากเชิญชวนมาฟังกันมากๆ เพราะงานนี้เดิมพันสูง

ถ้าประชาชนแพ้ แสดงว่านับแต่นี้จะไม่มีหาดทรายให้เห็น

อีกแน่นอนเกือบทุกแห่งทั่วประเทศ

ดูรายละเอียดที่

http://www.bwn.psu.ac.th/

โปรดช่วยกันรักษาหาดทรายไว้ให้เด็กๆไว้เดินเล่นด้วยเถิด

ขอเชิญทุกท่าน อ่านคำตัดสินของศาลปกครองสงขลา เมื่อ 29 กค 54

กรณีกรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนริมทะเล ทำลายหาดทรายและ

วิถีชีวิต คดีใหญ่แต่สื่อให้ความสนใจน้อยมาก ทำให้สังคม

ไม่รู้ปัญหาและสาเหตุ ช่วยกันเผยแผ่ด้วย

ขอแนะนำเพื่อน BWN ร่วมเป็นสมาชิก facebook BWN

และติดตามข่าวสาร ได้ที่

http://www.facebook.com/beachwatchnetwork

เปิดประตูสู่ความรู้ที่ไม่มีจบสิ้น

ขอเชิญทุกท่านร่วมชมโฉมใหม่ของ web site BWN คำติชมของท่านเป็นประโยชน์ต่อเครือข่ายเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมี facebook เครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาด ที่มีข้อมูลเป็นปัจจุบันรวดเร็ว มาเป็นส่วนหนึ่งของภาระกิจอันยิ่งใหญ่นี้กันนะ ... ด้วยจิตคารวะ

ภาระกิจรักษาหาดทรายยังคงดำเนินอยู่อย่างไม่รู้หน่าย ขอเชิญติดตามได้ทาง web site BWN หรือที่ facebook เครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาด

ขอเชิญร่วมงาน แลเล..แลหาดสงขลา ระหว่าง 3-5 มิ.ย. 55 เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ที่ชายหาดชลาทัศน์ หน้า มทร.ศรีวิชัย สงขลา รายละเอียดดูได้ที่ BWN

ครับ ผมได้ทำรายงานเกี่ยวกับ beach nourishment การบำรุงรักษาชายหาด ขอความกรุณาขอเอกสารทางการศึกษาหรือชี้แนะต่อไปครับ ขอบคุณครับ

อีเมล- [email protected]

ท่านที่ต้องการแสดงความเห็นกรุณาส่งไปที่ http://beachconservation.wordpress.com/bwn-share/

เพราะ BWN ได้ย้ายไปไว้ที่นั่นแล้ว  ขอแสดงความนับถือทุกท่าน

ขอเชิญเข้าชม web site ใหม่ของ BWN ได้ที่ http://www.bwn.psu.ac.th/

มีบทความ ความรู้ กิจกรรมต่างๆมากมาย ขอขอบคุณทุกทานที่รักหาดทราย

ภาระกิจดูแลหาดทรายดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ด้วยแรงหนุนจากทุกท่าน 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหาดทรายของเราจะกลับคืนมาโดยเร็ววัน .... นับถือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท