nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

โอกาสของครู กทม.


หลักเกณฑ์นี้ไม่ใช่หลักเกณฑ์เยียวยา (การเยียวยา มีความหมายถึง คนที่ป่วยหนักและต้องให้การรักษา ประคบประหงม ดูแลอย่างใกล้ชิด หรือ อาการร่อแร่แล้ว จึงช่วยให้ผ่านพ้นไปได้) แต่หลักเกณฑ์นี้ เป็นหลักเกณฑ์การให้โอกาส สำหรับผู้ขอประเมินที่ไม่ผ่านการประเมินด้านที่ 3 ประสงค์จะเข้ารับการพัฒนาด้วยความสมัครใจ ไม่เป็นการบังคับ

            ขอแสดงความยินดีกับข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร ที่ ก.ก. ได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการให้โอกาสข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร เลื่อนวิทยฐานะเป็นชำนาญการพิเศษ (กรณีผู้ขอมีผลการประเมินด้านที่ 3 ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินปกติที่ ก.ก. กำหนด)  โดยกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการตามแนวนโยบาย ก.ค.ศ. ในการที่จะพัฒนา และเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งการให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของข้าราชการครู

            ในการนี้ อ.ก.ก.วิสามัญเกี่ยวกับการศึกษา ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการในการพิจารณากำหนดร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตร ของหลักเกณฑ์ให้โอกาส  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการประเมินผลงานทุกกลุ่มสาระและสาขาวิชาเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารงานบุคคลและจุดเด่นและจุดด้อยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานคร ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและนักเรียน

            ดังนั้น เพื่อให้ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครที่เสนอขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษตามหลักเกณฑ์ปกติแล้วไม่ผ่านการประเมิน มีโอกาสได้รับการพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ  ด้านคุณภาพการปฏิบัติงานและผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ และส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพโดยการเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น และเป็นผลดีต่อการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครโดยส่วนรวม   ก.ก. จึงอนุมัติ  หลักเกณฑ์  วิธีการ และหลักสูตรการพัฒนา เพื่อให้โอกาสข้าราชการครูกรุงเทพมหานครเลื่อนวิทยฐานะเป็นชำนาญการพิเศษ (กรณีผู้ขอที่มีผลการประเมินด้านที่ 3 ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินที่ ก.ก. กำหนด)    ทั้งนี้  ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นชำนาญการพิเศษตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายในครึ่งเดือนแรกของเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยมีสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพดำเนินการจัดอบรมให้ มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน เมษายน 2553 นี้

            หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินว่า ก.ค.ศ. เขามีโครงการเยียวยาผู้ที่ไม่ผ่านการประเมิน เพื่อให้สามารถเลื่อนวิทยฐานะได้ จึงอาจจะเข้าใจว่า หลักเกณฑ์ที่ ก.ก. ได้ออกมานี้ เป็นหลักเกณฑ์เยี่ยวยาเช่นเดียวกัน  ซึ่ง  อ.ก.ก.วิสามัญเกี่ยวกับการศึกษา มีประเด็นในการพิจารณาว่า หลักเกณฑ์นี้ไม่ใช่หลักเกณฑ์เยียวยา (การเยียวยา มีความหมายถึง คนที่ป่วยหนักและต้องให้การรักษา ประคบประหงม ดูแลอย่างใกล้ชิด หรือ อาการร่อแร่แล้ว จึงช่วยให้ผ่านพ้นไปได้)  แต่หลักเกณฑ์นี้ เป็นหลักเกณฑ์การให้โอกาส สำหรับผู้ขอประเมินที่ไม่ผ่านการประเมินด้านที่ 3 ประสงค์จะเข้ารับการพัฒนาด้วยความสมัครใจ ไม่เป็นการบังคับ โดยให้พัฒนาได้เพียงครั้งเดียว และมีหลักเกณฑ์ มีคะแนนการพัฒนา ต้องไม่ต่ำกว่าที่หลักเกณฑ์ได้กำหนดไว้  จึงจะมีสิทธิส่งผลการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการหลังจากผ่านการพัฒนาแล้วภายใน 120 วัน เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาประเมินผลงานตามหลักเกณฑ์ปกติ พิจารณาต่อไป  ซึ่งการที่จะมีผลการประเมินผ่านหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพการทำผลงานของแต่ละคน  มิใช่ว่าใครเข้าร่วมโครงการนี้แล้วจะต้องผ่านเสมอไปไม่  และที่สำคัญ  ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์การให้โอกาสนี้จะต้องเป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่นกัน

            ถึงเวลานี้แล้ว หลาย ๆ กลุ่มสาระได้มีการจัดอบรมและประเมินผลการอบรมกันไปแล้ว แต่คงจะยังไม่เรียบร้อย คาดว่า ผลการอบรมน่าจะเริ่มทยอยประกาศที่สำนักการศึกษาประมาณ ปลาย ๆ เดือน เม.ย. นี้ เป็นต้นไป  ขอเป็นกำลังใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนในการที่จะผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนดนี้ และเป็นแรงเชียร์ให้ทุกคนทำผลงานที่มีคุณภาพส่งให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาให้ผ่านและได้เลื่อนวิทยฐานะกันทุกคนนะครับ

            ถ้าไม่เป็นการช้าเกินไป คราวหน้าสรุปหลักเกณฑ์มานำเสนอไว้ให้อ่านกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 353564เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2010 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท