"ชุมชนเข้มแข็ง" ทำง่ายหรือยาก >> ผู้นำชุมชนกับการเป็นคุณอำนวย


เพื่อเขาให้นับเป็นขั้น 1 เพื่องานขั้น 2 เพื่อตัวเองขั้น 3 เมื่อจัดการขั้นหนึ่งสำเร็จแล้วขั้น 2 และ 3 ไม่ต้องทำจะลื่นไหลไปเอง แต่ที่ทำไม่สำเร็จส่วนมาก เอา 2 ก่อน จนความเป็นจริงบิดเบี้ยวเลยไม่สำเร็จ

         ในโอกาสที่ได้จับเข่าคุย  กับผู้นำชุมชนในการติดตามโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข  ในหลาย ๆ กลุ่มองค์กร  ทำให้ได้เรียนรู้ข้อมูลขึ้นอีกมากมาย  และมองเห็นความจำเป็นที่ชุมชนต้องมีคุณอำนวยที่มีสมรรถนะและมากประสบการณ์  ควรอย่างยิ่งที่ต้องมีคุณอำนวยประจำชุมชนหรือประจำกลุ่มองค์กร ลำพังเพียงเจ้าหน้าที่ภาครัฐนั้นไม่เพียงพอและภารกิจปัจจุบันก็เพิ่มมากขึ้น  แต่จำเป็นต้องมีและเห็นแล้วว่ายังมีไม่พอ 

 
         การติดตามโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข   ผมอยู่ในคณะติดตามในโซนลุ่มน้ำปากพนัง  มีอำเภอชะอวด  เชียรใหญ่  หัวไทร  ปากพนัง  และเฉลิมพระเกียรติ  มีพัฒนาการจังหวัดเป็นหัวหน้าคณะ  มีเจ้าหน้าที่นักวิชาการจากหลายหน่อยงานร่วม  คือ เกษตร  ปศุสัตว์  ปกครอง  และจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  มีโครงการที่อนุมัติให้ดำเนินการในโซนอำเภอนี้   163  โครงการ  จริง ๆ ก็ไม่ถึงกับจะใช้คำว่าติดตามเราไปให้กำลังใจช่วยชี้แนะและรับฟังเขามากกว่า  โครงการต่าง  ๆ  ที่เสนอขึ้นมาเป็นลักษณะของการบริหารให้มีความยั่งยืน  ตามที่ระบุไว้ในแผนชุมชน  ในการติดตามรอบแรกนี้ผมได้รับมอบหมายจากคณะให้คุยกับผู้นำชุมชน  

 


         
         จากประสบการณ์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่แล้วผู้นำชุมชนถ้าเปรียบก็คือหัวจักรรถไฟดี ๆ นี่เอง   ที่จะคอยลากจูงชุมชนทุกหย่อมบ้านให้เดินไปในทิศทางที่มั่นคงและถูกต้อง   ว่าควรจะให้ชุมชนของตนเดินไปทิศทางใด  คนในชุมชนเองน้อยนักที่จะไม่ทำตาม  เมื่อผู้นำชุมชนชักชวน    ผู้นำชุมชนเป็นคำที่กว้างที่สามารถจะสื่อเรียกให้ใครก็ได้เป็นผู้นำชุมชนได้หากคนในชุมชนยอมรับ  คนที่ชุมชนยอมรับนี้ถ้าเปลี่ยนบทบาทในบางเวลาให้เป็นคุณอำนวยจะดีไม่น้อยเลย  เพราะจะได้อะไรตามมามากมาย  ไม่ว่าจะสร้างให้คนในชุมชนสามัคคีกัน  ร่วมแรงร่วมใจ  ความเสียสละ  เพราะคนที่เป็นคุณอำนวยจะมีใจและทักษะในการจัดการให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ในหลาย ๆ เรื่องได้  และจัดการด้วยองค์รวมของคนทุกคนไม่ใช่ทำคนเดียว  


            พบผู้นำชุมชนในหลายเวทีหลายคนหลายอาชีพหลายที่มาจากชุมชน   ในโอกาสได้รับเชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือเป็นวิทยากรร่วมกัน   ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนพูดคุย  F2F ข้อมูลที่ได้รับจากท่านเหล่านั้น  บอกว่าชุมชนเหมือนกับว่ามอบให้แล้วทั้งหมดสำหรับเรื่องจัดการชุมชน   โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารในชุมชนจะเป็นเรื่องใดก็ตาม  คนในชุมชนมอบให้เหมือนกับให้สิทธิขาด  ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าคนในชุมชนมัวยุ่งอยู่กับงานที่ต้องหาเงินส่งให้ลูกเรียน  หรือแม้กระทั่งในบางครอบครัวก็เพื่อให้ได้มีกินไปวัน ๆ  จะทำอะไรจะเอายังไงเขาก็เอากับผู้นำด้วยทั้งนั้น  และนี้คือจุดสำคัญที่คนภายนอกชุมชนจะเอาขอไปเกี่ยวโยงในการเข้าถึงชุมชน  เมื่อคิดว่าอยากเข้าไปพัฒนาจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม  แต่ต้องไปเกี่ยวด้วยใจอันบริสุทธิ์เพื่อเขาให้นับเป็นขั้น  1  เพื่องานขั้น 2  เพื่อตัวเองขั้น  3   เมื่อจัดการขั้นหนึ่งสำเร็จแล้วขั้น 2  และ  3  ไม่ต้องทำจะลื่นไหลไปเอง     แต่ที่ทำไม่สำเร็จส่วนมาก   เอา  2  ก่อน  จนความเป็นจริงบิดเบี้ยวเลยไม่สำเร็จ 

 

                                                                          ชาญวิทย์ - นครศรี ฯ

หมายเลขบันทึก: 183130เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

  • นับหนึ่ง ทำไมมันนับยากจริงๆเลย
  • กระบี่อยู่ที่ใจ ที่เขากล่าวกัน มันเป็นความจริงครับ
  • สวัสดีครับอ.ชาญวิทย์
  • ขอบคุณที่นำประสบการณ์ดดีๆมาแบ่งปัน
  • ผมว่าทุกชุมชน มักจะมีทรัพยากรหรือทุนทางสังคมอยู่นะครับ เพียงแต่ต้องค้นหา บางครังก็ต้องอาศัยเวลา
  • เห็นด้วยครับ ทำไปก็เรียนรู้ไป พัฒนาไปพร้อมๆกัน แต่ข้อสำคัญ เหมือนท่าน อ.หนุ่มฯว่ากระบี่อยู่ที่ใจ นะครับ

น้องบ่าว หนุ่มร้อยเกาะ

กระบี่อยู่ที่ใจใช่เลยครับ จริง ๆ เป้าหมายก็ชัดเจนนะเวลาไปทำงานแต่เดินไม่ทันถึงเป้าก็เฉเป็นอย่างอื่น จริง ๆ เรื่องไม่ยากไปให้ถึงเป้าในชุมชนเรื่องอื่น ๆ ก็ตามมาเอง แต่ส่วนมากไม่เป็นอย่างนั้น กลับเอางานเป็นเป้าแทนซึ่งเป็นเป้าหลอก ๆ

ขอบคุณครับ

เรียน ท่าน อ.เขียวมรกต

ครับทุกชุมชนมีดีอยู่แล้วแต่ยังขาดการจัดกระบวน เหมือนกับการจัดทีมฟุตบอล

แม้นทุกคนเก่งแต่เล่นไม่เข้าขา ก็ไม่สามารถสู่เป้าหมายการทำประตูได้ครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท