เศรษฐกิจพอเพียงฉบับครอบครัว >> ความประทับใจ 1


"ผมไม่ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใคร แต่ทำเพื่อครอบครัวของผม " นี่คือคำพูดของอาจารย์ที่บอกเรา และเป็นคำตอบที่กินใจและเชื่อมันในความยั่งยืนของความพอเพียงที่เราเห็น

         ขอบคุณสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา ที่ทำให้ผมได้ไปเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ฟังด้วยหู ดูด้วยตาของจริงของแท้ถึงที่ ประทับใจมาก ๆ ได้แง่คิดในหลาย ๆ ด้านกับคำพูดของ อาจารย์วิรัฐ กาญจนพรหม ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ที่เล่าเรื่องให้เราฟัง "ผมไม่ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใคร แต่ทำเพื่อครอบครัวของผม "  นี่คือคำพูดของอาจารย์ที่บอกเรา และเป็นคำตอบที่กินใจและเชื่อมั่นในความยั่งยืนของความพอเพียงที่เราเห็น


        ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขตภาคใต้ ครั้งที่ 2/2552 ณ โรงแรมวัฒนา พาร์ค จังหวัดตรัง โดยมีเป้าหมายนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จาก 14 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดละ 3 คน กิจกรรมวันแรก(13 ก.ค.52) หลังจากรายตัวเข้าที่พัก คือการนำเสนอเล่าเรื่องราวของทุกจังหวัดที่ดำเนินการจัดการความรู้มาตั้งแต่ต้นปีว่าใครได้ทำอะไรมาบ้างแล้วเพื่อมาแลกเปลี่ยนกัน

        วันที่ 2 (14 กรกฎาคม 2552) ตามตารางการสัมมนา ฯ ในภาคบ่ายแบ่งทีมงานออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อเดินทางลงพื้นที่ ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดตรังได้เตรียมไว้ให้ เพื่อฝึกเวทีเรียนรู้ "การถอดองค์ความรู้" ใน 3 เวที  คือ

        เวทีโครงการ Food Safty ประเด็นการผลิตพืชเพื่อเข้าสู่ระบบ GAP : กรณีการปลูกข้าวโพดหวาน ในตำบลนาพระ อ.เมือง จ.ตร้ง
        เวทีโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลนาท่วมเหนือ อ.เมือง จ.ตรัง
        เวที่โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน : กรณีวิสาหกิจชุมชน ตำบลหนองตรุด อ.เมือง จ.ตรัง

        การร่วมในเวทีแบ่งออกจังหวัดละคน ไปร่วมในแต่ละเวที  ผมเสนอตัวขอเข้าร่วม เวทีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  พี่ตรีธร แก้วเฉย ไปร่วมเวที Food Safty น้องประสาร เฉลิมศรี ไปร่วมเวทีวิสาหกิจชุมชน ตามงานที่ทั้งสองท่านรับผิดชอบอยู้ด้วยแล้ว ก่อนเดินทางฟังการชี้แจงกระบวนการจากเจ้าภาพจังหวัดตรัง โดยน้องถาวร ชี้แจงการเดินทาง และพี่เดโช พลายชุม ชี้แจงประเด็นที่จะไปถอดบทเรียนว่าเราต้องการรู้เรื่องอะไรบ้าง  ได้จัดทำเป็นข้อ ๆ แจกไว้ให้กับทุก ๆ คนถือไว้ แถมยังทำโครงสร้าง Mind map แยกกิ่งไว้ให้บางส่วนด้วย โดยบอกว่าให้เราแจ้งให้ผู้เล่าได้เล่าในประเด็นที่กำหนดไว้นี้ เพราะมีเวลาไม่มากนักที่เราจะเรียนรู้จึงต้องเจาะประเด็นไปเลย พี่เดโชชี้แจงอย่างนั้นครับ 

         เมื่อไปถึงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ท่าน อ.วิรัฐ กาญจนพรหม รอเราอยู่แล้ว มีโต๊ะเก้าอี้ไว้รับแขกเพื่อการเรียนรู้ของที่นี้ แต่พวกเราไม่มีใครยอมนั่งลง  เพราะว่าหลาย ๆ อย่างชักชวนให้เราต้องดูก่อนโดยไม่ต้องชวนดู ตามภาพที่เห็นครับ

            

         เห็นเรานั่งไม่ลงอย่างนั้นแล้ว อ.วิรัฐ ท่านก็เป็นนักถ่ายทอดอยู่แล้ว ก็เลยเชิญพักผ่อนตามอัธยาศัย แต่ท่านก็เดินตามเราไป(ผมว่าท่านดูพฤติกรรมเรา อิอิ) และเดินนำหน้าเราไปในที่สุดเมื่อทีมงานถามโน่นถามนี่แบบสนใจเรียนรู้  จนเข้าทางของศูนย์เรียนรู้  ผู้ถ่ายทอดก็เริ่มในสิ่งที่ท่านทำอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว และวันนี้ท่านก็ทำด้วยความสบายใจแน่นอนเพราะผู้เรียนสนใจมาก ๆ

 

           

        สังเกตุครับว่า สิ่งที่อาจารย์ถือในมือเดินนำหน้าทีมงานไปตลอดคือขวดน้ำจุลินทรีย์ที่ผสมได้ที่แล้ว ท่านจะเหวี่ยงปากขวดตลอดเพื่อให้น้ำจุลินทรีย์กระจายผสมกับน้ำในบ่อต่าง ๆ เมื่อผ่านบ่อเลี้ยงปลาแทบทุกบ่อ ส่วนถังที่ถือคืออาหารปลา เพื่อโปรยอาหารให้เราได้เห็นปลาที่โผล่มากินอาหารนั้นเองครับ 

             

         ทีมเราได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่นี่  และอาจารย์บอกเราว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัวเราทั้งนั้น  ไม่ใช่เรื่องยากมากมายแต่ที่ยากเพราะเราคิดกันไปเองมากกว่า ทุกอย่างที่นี่คือธรรมชาติ ที่พึ่งพาอาศัยกัน เป็นซุปเปอร์มาเก็ตสำหรับครอบครัว อาจารย์บอกเราว่า "ผมไม่ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใคร แต่ทำเพื่อครอบครัวของผม "

                    

        เสนอภาพเพื่อให้เห็นบรรยากาศการเยี่ยมชมของทีมงาน  ในทีมที่ไปเยี่ยม  มีผู้แทนจากสำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้  คุณน้อง จือ : ศิริวรรณ หวังดี กองวิจัย ฯ กรมส่งเสริมการเกษตร และเจ้าภาพสำนักงานเกษตรจังหวัด พี่เดโช พลายชุม ผู้นำทางและผู้นำเวทีการถอดองค์ความรู้

       การเรียนรู้ไม่มีจบสิ้นบนเส้นทางอันยาวไกลของชีวิตนี้

                                ชาญวิทย์-นครศรีฯ                                                                             

หมายเลขบันทึก: 277546เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การจัดการความรู้ มีการขยายผลในเชิงของ "ความรู้...ส่วนบุคคลสู่สังคม"

ขอบคุณมากที่ช่วยแบ่งปันให้ได้เห็นของจริงของ เวที RW2 ของเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา

สวัสดีคะพี่ชาญวิทย์

หากคนเราคิดแบบนี้ได้ทั้งหมด ปัญหาหนี้สิน ก็คงไม่มีอยู่ให้เห็นเป็นปัญหานะคะ

น้องจือ

วันที่สามของการสัมมนา กลับตอนไหนไม่ทันเห็น

น้อง ก้ามปู

นานมากเลยน่ะไม่ได้เจอกันเลย คิดถึงทีมงานเดิม ๆ ทุก ๆ คนครับ

  • เยี่ยมมากครับ
  • เรื่องใกล้ตัว...เรื่องธรรมชาติ
  • ไม่ต้องอ้างใคร..ทำเพื่อตัวเองและครอบครัว (ทำเอง.กินเอง)
  • ชัดเจนดีมากครับ
  • ขอบคูณครับ

สวัสดีครับ

  • ประทับใจ จุดเรียนรู้ จุดนี้มากเลยครับ
  • อ.วิรัตน์ คิดแตกต่าง จริงๆครับ

เข้ามาเยี่ยมค่ะฃ

ขอบคุณที่บันทึกไว้ให้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท