การสอนตามสถานการณ์ : การเลือกตั้ง


การสอนตามถานการณ์
มีสถานการณ์ ที่เป็นที่สนใจในระดับถ้องถิ่น จังหวัด ประเทศ และโลกอยู่บ่อย
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นล้วยสามารถเชื่อมโยงไปสู่บทเรียนได้เสมอ
หากครู และโรงเรียนใช้สถานการณ์นั้นๆ มาเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความสนใจ
หรือ แรงจูงใจในการเรียน ก็จะทำให้บทเรียนมีความหมายมีความน่าสนใจ
จำได้นาน หรือจำได้ไม่รู้ลืม ได้อีกเครื่องมือหนึ่ง ดังเช่น การเลือกตั้งที่จะมาถึง ก็เป็นสถานการณ์หนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้สอนประชาธิปไตย ในโรงเรียนได้เป็นอย่าง
ดี


นี่คือแนวปฏิบัติในการสอนประชาธิปไตยในโรงเรียน ลองพิจารณาดูนะครับ

แนวทางการการรณรงค์การเลือกตั้งสำหรับโรงเรียน

วัตถุประสงค์
รณรงค์การเลือกตั้ง ปลูกฝัง และเสริมสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย

กลุ่มเป้าหมายการรณรงค์ และแนวปฏิบัติ สำหรับโรงเรียน
กลุ่มเป้าหมาย เช่น
1. นักเรียนทั่วไป
กิจกรรม 1. เรียงความ หัวข้อที่นักเรียนคิดเอง โดยความเห็นชอบของครู
เช่น
- ประชาธิปไตยกับการเลือกตั้งความสำคัญของการเลือกตั้ง
- ห้องเรียนประชาธิปไตย
- โรงเรียนประชาธิปไตย
- บ้านประชาธิปไตย
- สังคมประชาธิปไตย
- ประวัติความเป็นมาของประชาธิปไตยไทย
- ประวัติความเป็นมาของประชาธิปไตยโลก
- การเลือกตั้งในประเทศไทย
- ภัยจากการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง

2. การเลือกตั้งจำลองในระดับช่วงชั้น หรือ โรงเรียน
3. การอภิปรายในระดับห้องเรียน ตามหัวข้อที่นักเรียนกำหนด
4. การอภิปรายในระดับโรงเรียน ตามหัวข้อที่นักเรียนกำหนด
5. การประกวดคำขวัญ รณรงค์การเลือกตั้ง ระดับห้องเรียน และโรงเรียน
6. การประกวดกลอนแปด ปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย
7. การจัดทำแฟ้มรวบรวมแผ่นพับหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ
8. การวิเคราะห์วิจารณ์นโยบายพรรคการเมือง กับ สภาพปัญหาและความ ต้องการของ ประเทศ จังหวัด และชุมชนของตนเอง


2. นักเรียนที่มีสิทธิเลือกตั้ง
กิจกรรม 1. เรียงความตามหัวข้อที่นักเรียน / ครูกำหนด เช่น
- ทำไมจึงต้องไปเลือกตั้ง
- คนรุ่นใหม่กับการเลือกตั้ง
- การขายเสียง การขายตัว การขายชาติ
ฯลฯ

2. การวางแผนรณรงค์การเลือกตั้ง เสนอความเห็นชอบ
จากโรงเรียนเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง


ฯลฯ

3. ครูในโรงเรียน
กิจกรรม การเป็นผู้นำ ผู้มีส่วนร่วมในการรณรงค์การเลือกตั้ง
ปลูกฝัง และเสริมสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย
ในระดับห้องเรียน โรงเรียนและระดับชุมชน
4. ชุมชนรอบข้างโรงเรียน
กิจกรรม 1. เดินพาเหรดรอบชุมชน เคาะประตูบ้าน
2. ป้ายคำขวัญเชิญชวน
3. ป้ายกลอนสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย
4. ออกเสียงตามสายประชาสัมพันธ์
5. จัดเวทีเด็ก อภิปรายความสำคัญ ความจำเป็นของประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง ในจุดที่เป็นศูนย์รวมของชุมชน อาจใช้ดนตรีไทย สากล ประกอบ ตามความเหมาะสม
ฯลฯ


ลองพิจารรณาดูนำไปปรับใช้นะครับ
คำสำคัญ (Tags): #การเลือกตั้ง
หมายเลขบันทึก: 150138เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เด็กอยากรู้ ครูช่วยตอบ

อยากรู้เกี่ยวกับว่า ความสำคัญในการเลือกตั้ง ช่วยบอกหน่อยนู๋อยากรู้

หนูเด็กอยากรู้

ดีมากที่ถามมา

หนูครับ ถ้าหนูถามลุง gooogle. "ความสำคัญของการเลือกตั้ง" ท่านจะบอกหนูทันที

ได้ข้อสรุปอย่างไร สรุปมาให้ฟังบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท