วิธีการทำงานในการตรวจวัด HbA1C ของหน่วยเคมีคลินิก


เมื่อไม่กี่ปีก่อน เราจะทำเพียงสัปดาห์ละครั้ง แต่เดี๋ยวนี้ทำทุกวัน
สัปดาห์นี้รับหน้าที่อยู่ในจุด C ซึ่งรับผิดชอบทำการตรวจ HbA1C เป็นหลัก ที่ทำประจำทุกวัน และมีงานการตรวจพิเศษอื่นๆที่ทำสัปดาห์ละครั้งอีก 4-5 การทดสอบ คือ GGT, 5'-NT ในวันพุธ, Microalbumin และ beta2-microglobulin ในวันพฤหัส, Iron & TIBC ในวันศุกร์

ได้เล่าวิธีการทำงานในจุดต่างๆที่ทำมาหลายจุดแล้ว แต่จุดนี้ยังไม่เคยเล่าสักที เมื่อวานนี้ งานเยอะมาก ตั้งใจไว้ว่าจะเล่าวิธีการทำงานนี้แบบที่ตัวเองทำอยู่โดยมีรูปประกอบ แต่หาเวลาถ่ายรูปไม่ได้เลย คิดว่าวันศุกร์น่าจะเป็นวันดีที่ทำได้ ก็ปรากฎว่าได้รูปมาแล้วกว่าจะหาเวลามาจัดเข้าเรื่องได้ก็ผ่านไปหลายวัน และอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอีก แต่ก็ได้ทำอย่างที่ตั้งใจจนได้ค่ะ

Hba1c1
1.เก็บรวบรวมหลอดเลือดที่ส่งมาตรวจวัด HbA1C 

2. ตรวจสอบและทำเครื่องหมายในใบ starter ว่าเก็บไปทำแล้ว 

3. เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในจุดที่ทำงาน 

4. เตรียมหลอดใส่ hemolysing reagent หลอดละ 1 มิลลิลิตร

5. เขย่าหลอดเลือดให้เข้ากันดีด้วยเครื่อง vortex

6. ดูดเลือด 10 ไมโครลิตรใส่ในหลอดที่มี Hemolysing reagent ผสมให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที

7. เทใส่ cup ที่เขียน lab No. ไว้แล้ว

8. นำไปวางในเครื่องตรวจวิเคราะห์
key คำสั่งผ่านทางหน้าจอของเครื่อง

9. เมื่อเครื่องตรวจวัดเรียบร้อยจะพิมพ์ผลออกมา เราต้องนำผลไปบันทึกลงสมุด ตรวจสอบชื่อผู้ป่วยให้ตรงกัน แล้วจึงลงผลในใบสั่งตรวจ

10. จากนั้นจึงลงผลในคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งตรวจเช็คผลย้อนหลังของคนไข้เพื่อช่วยยืนยันความถูกต้อง หรืออาจจะต้องตรวจสอบซ้ำในกรณีที่ผลต่างจากของเดิมไปมากๆ
   

 

 

หมายเลขบันทึก: 114917เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บันทึกนี้ใช้เวลายาวนานที่สุดในการทำจนเสร็จออกมาค่ะ ใช้เพื่อเตือนตัวเองว่า งานบางอย่างต้องเริ่มต้น แล้วค่อยๆบันทึก ค่อยๆทำ ไม่จำเป็นต้องเสร็จทันที แต่เมื่อสำเร็จแล้ว ผลจะคงอยู่ต่อๆไป และอาจจะมีประโยชน์กว่าการไม่เริ่มต้นทำเอาเสียเลยเพราะคิดว่าอาจจะทำไม่สำเร็จค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท