การอภิปรายในสภา...หน้าที่ของเราคืออะไร


คิดว่าตัวเองในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ควรจะติดตามผลการปฏิบัติงานของคนที่เราเลือกเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎร ดูว่าเขาทำหน้าที่ของเขาได้เหมาะสมหรือไม่ แล้วเมื่อเราต้องทำหน้าที่เลือกอีกครั้งเราจะได้ทำหน้าที่ของเราให้ดีกว่าที่เคยทำมา

แต่...สงสัยจังเลยว่า เป็นธรรมเนียมของสภาผู้แทนราษฎร หรือยังไงนะคะ เห็นมาแล้วเหมือนกันที่ออสเตรเลีย ว่าพวกท่านผู้ทรงเกียรติทั้งหลายเขาต้องหัดพูดแบบที่เราเห็นๆกันอยู่นี้ ฟังแล้ว...เหนื่อย....จับประเด็นได้ยาก...ถึงยากมาก มีน้อยคนที่เราจะได้นึกชม เฮ้อ...ประชาธิปไตย 

ไม่สงสัยเลยว่าทำไมคนจะค่อยๆทยอยหันหลังให้กับเรื่องนี้ จะสนใจมากๆเฉพาะเมื่อมีประเด็นร้อนๆ เพราะทุกครั้งที่มีการถ่ายทอดการประชุมสภาฯ ไม่เคยเห็นการประชุมที่กระชับ ชัดเจน ฟังแล้วอยากฟังจนจบ แต่จะเจอทุกครั้งว่า เราตั้งใจฟังไปได้สักพักแล้วก็เกิดความรู้สึกว่า มันย่นย่อกว่านี้ได้ไหม...

อยากอ่านความคิดเห็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองในประเด็นกระบวนการของสภาฯจากท่านอื่นๆใน GotoKnow บ้างจัง

หมายเลขบันทึก: 190159เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เมื่อคืนเข้ามาอ่านอันดับแรกเลย ว่าจะทิ้งความเห็นไว้แล้ว แต่ก็ยับยั้งไว้... เช้านี้ เข้ามาดูอีกครั้ง ก็ยังว่างเหมือนเดิม หลายคนคงสงวนท่าที (สงสัยว่าทำไมต้องสงวนท่าที)

โดยส่วนตัว อาตมาชอบฟังอภิปรายมาตั้งแต่ไม่ทันเป็นวัยรุ่น จะติดตามฟังทุกครั้งที่มีโอกาสให้ฟัง... แต่ในชีวิตจริงไม่ชอบที่จะไปเคลื่อนไหวทางการเมือง...

สำหรับเมื่อวาน ฟังตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ประเด็นสำคัญเรื่องประสาทเขาพระวิหาร... จุดต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่างก็ยกคำพูดของพลเอสฤษณ์ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยกมาเพียงในส่วนที่สนับสนุนตนเองเท่านั้น ไม่ได้ยกมาทั้งหมด...

ข้อบกพร่องของฝ่ายรัฐบาลที่ชี้แจงมาก็เช่น ไม่ได้เอากรณีสันปันน้ำมาพูดเป็นต้น หรือการกล่าวอ้างว่าอดีตที่ผ่านมาทำไมไม่ทักท้วง แต่ก็ไม่ได้็พูดถึงว่าเหตุการณ์ช่วงนั้นในอดีตมีสาเหตุจำเป็นอื่นๆ อย่างไรบ้างที่ไม่ได้ทักท้วง...

ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่าฝ่ายค้าน ปลุกระดมลัทธิชาตินิยมซึ่งอาจเกิดปัญหาตามมา... อาตมาก็ว่าจริง เพราะเมื่อเราฟังแล้วเกิดความฮึกเหิมอย่างไร คนอื่นๆ ฟังแล้วก็ย่อมจะมีความฮึกเหิมเป็นต้นในทำนองเดียวกัน ต่างกันว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้น...

ปัญหาประเทศมีมาก โดยมากเรามักจะรู้เฉพาะสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดเท่านั้น การฟังอภิปรายไม่ไว้วางใจ อาจได้ฟังเฉพาะประเด็นร้อนๆ ตอนนี้เท่านั้น... แต่ถ้าเราฟังการอภิปราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนแถลงนโยบาย หรือตอนพิจารณางบประมาณ เราอาจจะเจอปัญหาบางมุมของประเทศ ที่ไม่เคยรับรู้ ซึ่งหลายๆ ประเด็น อาตมาได้ยินครั้งแรกในการอภิปรายในสภานี้เอง...

สรุปว่า่ ในฐานะคนไทย ถ้าต้องการส่งเสริมให้คนในชาติเข้าใจประเทศในแง่มุมต่างๆ ก็น่าจะฟัง... โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้านักเรียนถูกสั่งเชิงบังคับให้ต้องฟัง จะเป็นตัวกระตุ้นให้อนุชนสนใจปัญหาประเทศทั้งระบบหรือในแง่มุมที่หลากหลายยิ่งขึ้น...

แต่เมื่อฟังแล้ว เรารู้สึกว่าไกลจากความเป็นอยู่ประจำวันของเรา... นักการเมืองเหล่านั้นก็ไม่น่าเชื่อถือตามพฤติกรรมเล่าลือที่ผ่านๆ มา... เมื่อเป็นดังนี้ พัฒนาการทางการเมืองก็ไม่อาจกระจายไปสู่ประชากรทั่วไปได้ กลายเป็นเพียงกิจกรรมของคนบางกลุ่มในสังคมไทยเท่านั้น...และเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อย่าโทษกันเลยว่า พัฒนาการการเมืองไทย ไปไม่ถึงไหน...

ช่วยบ่นมาเยอะแล้ว เพราะเห็นว่าไม่มีใครเข้ามาบ่น (...........)

เจริญพร

  • ถึงจะสาระวกวน น้ำขุ่น จืดจาง และเน่าบ้าง
  • แต่ก็มีประเด็นเด็ด-พิเศษ- ที่เราไม่ทราบมาก่อนแทรกอยู่
  • การได้รับฟัง แล้วเลือก สาระ น่าจะได้ประโยชน์
  • เพียงแต่เราคาดหวังอะไรไม่ได้มาก จากนักการเมืองจำลองพวกนี้

สวัสดีค่ะ

เมื่อวานตามฟังเหมือนกันค่ะ ก็พบว่ากว่าจะเข้าเรื่องก็ร่ายยืดยาวมาก เห็นบอกเวลามีน้อยน่าจะเข้าประเด็นให้มันชับๆไปเลยค่ะ และการเมืองไทยคงจะก้าวหน้ากว่านี้ถ้าเน้นการหาทางออกร่วมกัน มากกว่าการเอาชนะ เสียดสีป้ายสีเพื่อทำลายเครดิต แต่ยังไงก็ดีกว่าไม่ฟัง ไม่รู้ข้อมูลค่ะ

สวัสดีครับพี่โอ๋

ก่อนอื่นผมต้องนับถือพี่โอ๋เลยว่ากล้านำประเด็นร้อนๆอย่างนี้เข้าเปิดใน gotoknow เพราะผมยังไม่เห็นเลย และตัวเองเพิ่งจะพูดกับภรรยาเลยว่าอยากจะนำประเด็นการเมืองแบบนี้มาพูดคุยในนี้แต่ก็ยังไม่กล้าทำเพราะกลัวจะกระทบกับ www นี้

โดยส่วนตัวแล้วที่น่าเบื่อที่สุดก็คือขั้นตอนการยกมือครับ สุดท้ายก็ไม่ได้เอาสาระความรู้ที่ฝ่ายค้านนำมาเสนอมาชี้ให้เห็นเป็นตัวแปรในการตัดสินใจเลย เพราะ สส.ทุกคนก็จะอ้างว่าทำตามมติพรรค แล้วหัวหน้าพรรคก็ได้ตัดสินใจโดยมีตัวแปรเรื่องผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องมาเป็นตัวแปรมากกว่า สรุปว่าสุดท้ายก็ยกมือแพ้อีก นอกจากว่าจะมีการเดินเกมส์ลอบบี้กันด้านหลังสภากัน

ผมไม่เข้าใจเลย ประชาธิปไตยคือการยกมือแล้วอ้างเสียงข้างมาก ได้ยังไง จริงๆแล้วประชาธิปไตยก็คือการบริหารความขัดแย้ง ความคิดต่าง ความแตกต่าง โดยตัวเราก็ต้องมีความคิดความเห็นเป็นของเรา ไม่ควรจะมีการบีบบังคับกัน อย่าอ้างมติที่ประชุม มติพรรคมาบังคับกัน เราทุกคนควรจะสามารถเห็นต่างและสามารถยกมือสวนได้ แต่ในปัจจุบันถ้าทำยังงั้นก็จะหาว่าเป็นแกะดำ จะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย เพราะว่าไม่เคารพมติที่ประชุม ผมว่ามันไร้สาระมาก

ประชาธิปไตยคือการยอมรับในความต่างของกันและกันครับ ตราบใดที่คุณไม่ได้ทำผิดกฏหมาย และทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฏหมายอย่างเท่าเทียมกันครับ

กราบนมัสการพระอาจารย์ P รู้สึกว่าคิดเหมือนพระอาจารย์เกือบทุกประเด็นเลยค่ะ ดีใจที่ไม่ต้องเขียนเอง อิ...อิ...เวลามีน้อยแต่อยากเขียนถึงเรื่องนี้บ้างค่ะ กราบ...กราบ...กราบ....ค่ะ 

ขอบคุณพ่อครูบา Pและน้อง นฤมล ที่กรุณามาให้ความเห็น คงมีคนคิดเหมือนเราอีกเยอะจริงๆนะคะ ทำไมเขาพูดกัน"ชับๆ"ไม่ได้ก็ไม่รู้ แต่ก็ต้องช่วยกันฟัง ช่วยกันเก็บจริงๆ มีอะไรที่เราจะไม่มีทางได้รู้หลุดออกมาให้ได้ตามต่อจริงอย่างที่พ่อครูบาบอกจริงๆแหละค่ะ

คุณหนึ่งพูนชัย คะ ประเด็นนี้น่าจะพูดถึงได้ เพียงแต่ต้องคงความเที่ยงตรงและออกความเห็นแบบพอดีๆน่ะค่ะ (เป็นการฝึกการเขียนอย่างหนึ่งเหมือนกันนะคะ) พี่โอ๋ยังงานยุ่งอยู่มาก แต่ก็อยากจะเขียนเรื่องนี้ตอนนี้ค่ะ เป็นโอกาสอันดีจริงๆ เลยต้องขออนุญาตขอความคิดเห็นจากท่านอื่นๆด้วยอย่างนี้แหละค่ะ  

 

+ หวัดดีค่ะพี่โอ๋...เจ้าขา

+ กลับจาก ร.ร.ก็ฟังมาทั้งสองวัน..

+ ตอนนี้คุณ อาคม เฉ่งอ้วน กำลังอภิปรายอยู่ค่ะ..

+ ฟังเพื่อรู้บางอย่าง...และได้รู้อีกหลาย ๆ อย่าง..

+ ขัดใจเวลาประท้วง...แบบน่อมแน้ม...

+ แต่คิดอีกที่...ขำ ๆ ดี..อะไรจะขนาดนี้...

+ ฟังแล้วความรู้มีให้รับรู้ค่ะ...ฟังแบบใจร่ม ๆ ค่ะ

+ ราตรีสวัสดิ์ค่ะท่านพี่

เมื่อห้องเรียนย้ายจากนอกสภา มาอยู่ในสภาก็เห็นการคลี่ของของข้อมูลแต่ละประเด็น

รู้สึกว่าต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาเพื่อตรวจสอบความตรงน่าเชื่อถือได้ สุดท้ายอย่างที่เห็น เทปการอภิปรายที่ผ่านมาหากได้มานั่งร่วมเรียนรู้ ให้ข้อมูลกันเพิ่มเติมจับประเด็นอะไรเท็จ อะไรจริง จะช่วยให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้นนะคะ ก็ทำเท่าที่ทำได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท