โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของกฟผ.


ผมอยากให้ทุกท่านเป็นผู้สนใจการเรียนรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต เห็นความสำคัญของการต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

28 เมษายน 2551

สวัสดีครับชาว Blog และผู้เรียนรู้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทุกท่าน

          ผมรู้สึกเป็นเกียรติอีกครั้ง ที่ได้มีโอกาสจัดโครงการให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งผมได้เคยจัดโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 60 ชั่วโมง มาแล้ว 3 รุ่น ครับ

         สำหรับครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 4 ที่จัดให้ กฟผ. แต่เป็นโครงการใหม่ครับ คือ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  หลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำและสร้างทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เป็นเวลา 6 วันครับ  ในวันที่ 7,8,15,16,22,23 พฤษภาคม 2551 ครับ    โดยในวันนี้ วันที่ 28 เมษายน 2551 นี้ เป็นพิธีเปิด และปฐมนิเทศน์ของโครงการฯ   ได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณสมบัติ  ศานติจารี มาเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ   โดยมีผู้เข้ารับการเรียนรู้ในโครงการนี้ จำนวน 40 ท่านเข้าร่วมฟังและเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดโครงการฯ ที่จะจัดขึ้นเร็วนี้ครับ

         และเช่นเคยครับผมขอถือโอกาสใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแลกเปลี่ยนกัน หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับ                                                           

                                                                                         จีระ หงส์ลดารมภ์

..................................................................................................................................................

 

ภาพพิธีเปิด และปฐมนิเทศน์ของโครงการ พัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  หลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำและสร้างทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ วันที่ 28 เมษายน 2551

.............................................................................................................................................................

5 พฤษภาคม 2551

สวัสดีชาว blog และสมาชิกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยทุกท่าน

              จากการที่ได้พบกันเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว กลุ่มผู้ช่วยฝ่ายเป็นกลุ่มที่น่าสนใจมาก เพราะมีบุคลากรทำงานหลายปี มีประสบการณ์ในระดับหนึ่ง ท่านผู้ว่าสมบัติให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะจะก้าวขึ้นไปนำองค์กรในอนาคต  และมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมแบบน่าสนใจ ในครั้งนี้มีสุภาพสตรีมาร่วม 3 ท่าน แต่ยังไม่ได้รายชื่อจากตัวแทนข้างนอก กลุ่มนี้ผมคงต้องทำงานหนัก เพราะยังไม่เคยได้รับการเรียนเพื่อไปสู่ความสำเร็จขั้นแรกในลักษณะของผม

ผมหวังว่าเมื่อท่านเหล่านี้ก้าวขึ้นไปสู่ผู้อำนวยการฝ่ายในอีกหนึ่งปีหรือ 2 ปี ก็คงจะช่วยได้มาก  

ต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณสมบัติ ศานติจารี รวมไปถึงท่านรองผู้ว่าการทุกท่าน ประธานและสมาชิกรุ่น 2 และประธานและสมาชิกรุ่น 3 จึงอยากให้หลาย ๆ ท่าน ได้ร่วมแสดงความเห็นและ share ข้อมูลใน Blog ให้ผู้สนใจอื่น ๆ ได้อ่านบ้าง เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมกัน

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

................................................................................................................

 

9 พฤษภาคม 2551

สวัสดีชาว blog และสมาชิกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยทุกท่าน

 

            ผมได้มาอยู่ร่วมเรียนรู้กับผู้แทนผู้ช่วยฝ่าย 38 ท่านที่โรงแรมทวารวดี รีสอร์ท จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2551

            ในช่วง 2 วันนี้ ประทับใจมาก จากการได้อยู่เรียนรู้ร่วมกัน ผมได้เริ่มทฤษฎี coaching แบบ Ram Charan  แล้ว คงช่วยให้ทุกท่านไปสู่ความเป็นผู้นำได้

            ระหว่างที่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน  ขอให้ทุกท่านช่วยอ่านหนังสือและเปิด Internet ด้วย

            ขอบคุณครับ

 

                                                                            จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ที่โรงแรมทวารวดี รีสอร์ท จังหวัดปราจีนบุรี

  

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันที่กรุงเทพฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

........................................................................................................................................................................................................................ 

 สวัสดีครับลูกศิษย์ทุกท่านและชาว Blog

            กิจกรรมการทัศนศึกษาดูงานที่ Perth ของเราก็สำเร็จเรียบร้อยไปแล้วด้วยดี ผมขอขอบคุณลูกศิษย์ทุกคนที่ตั้งใจเรียนรู้ และให้ความร่วมมือในทุก ๆ เรื่องเป็นอย่างดี รวมถึงทีมงาน กฟผ. ที่ร่วมกันทำให้โครงการนี้ได้เกิดขึ้นและสำเร็จได้

           การเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ผมเองได้เรียนรู้หลายเรื่อง และหวังว่าลูกศิษย์ของผมก็เช่นเดียวกัน อย่าลืมว่าการมองภาพในระดับโลกาภิวัตน์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการทำงานของเราในอนาคต คนที่มองเห็น Opportunities ก่อนจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบ นอกจากการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ Curtin University of Technology และการเยี่ยมชมงานในที่ต่าง ๆ ยังมีอีกหลาย ๆ เรื่องที่น่าสนใจโดยเฉพาะการเรียนรู้จากสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangible) ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการของเราจะเป็นการจุดประกายและผลักดันให้ลูกศิษย์ของผมมีพลังในการทำงานที่มีประโยชน์และทิ้งมรดกไว้ให้กับสังคมของเราได้ต่อไป

            สุดท้ายก็มีภาพบรรยากาศกิจกรรมของเราส่วนหนึ่งมาฝาก และพบกันอีกครับ

                                                                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

พิธีเปิด “Professional Development Program” โดย Ms Cisca Spencer จาก Curtin University of Technology ร่วมกับ Prof. Paige Porter จาก University of Western Australia และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะผู้อำนวยการโครงการฯ ณ Curtin Business School of Business, Perth, WA, Australia. เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551

 

 

 

 eadp1

               ภาพกิจกรรมในห้องเรียน

 

eadp4

รับ Certificate จาก Curtin University of Technology

eadp5

         เยี่ยมชมสถานที่สำคัญของ Perth

eadp8

                   ชมการแสดงตัดขนแกะ

        เยี่ยมชม Caversham Wildlife Park

                เยี่ยมชมโรงไฟฟ้า Alcoa

................................................................................................................

 

หมายเลขบันทึก: 179282เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (80)

จะติดตามอ่านค่ะ

เคยไปฟังอาจารย์ที่ รามา หลายปีแล้วประทับใจมากค่ะ

สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

สวัสดี ดร.จิระและทีมงาน สมาชิกชาว กฟผ. ทุกท่าน

ก่อนอื่นต้องขอแจ้งฝ่าย Admin ช่วยแก้ไขชื่อblock จาก กฟภ.เป็น กฟผ. ด้วย

การจัดหลักสูตรพัฒนาผู้นำ กฟผ. นับเป็นการจัดรุ่นที่4 แล้ว ผมดีใจที่เห็นความต่อเนื่องในการพัฒนาผู้นำของ กฟผ.ในหลักสูตรนี้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งต่อ กฟผ.ที่มีหลักสูตรมาตรฐานในการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และต่อทางทีมงาน ดร.จิระ ที่จะได้ปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับสถานการณ์ และดียิ่งๆขึ้นไป ในฐานะที่เป็นชาว กฟผ. ท่านหนึ่ง ก็หวังว่าพันธมิตรระหว่าง ดร.จิระและ กฟผ.จะยืนยาวต่อไป

การเรียนกับ ดร.จิระ นับเป็นการเรียนแบบผู้ใหญ่ (จริงๆ) เป็นการเรียนรู้อย่างกว้างๆ ไม่ต้องลงรายละเอียดกันมาก บางวันทำให้คุณจุดประกายความคิดบางอย่าง หรือเห็นที่คุณอยู่ในห้องทำงานนานๆอาจจะมองไม่เห็น เห็นสิ่งที่คนอื่นเขาคิดต่อ กฟผ. แต่เราไม่ทราบ สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นโอกาสที่หายาก บางครั้ง อาจารย์ก็ทำให้ผมรู้สึกว่าเราแสวงหาความรู้น้อยลงกว่าสมัยเราหนุ่มๆ มาก สมัยผมเป็นวิศวกรใหม่ๆ การได้เรียนรู้ทางวิศวกรรมใหม่ๆ การศึกษากรณีของต่างประเทศ แล้วนำมาประยุกต์แก้ไขกับที่ กฟผ. เป็นความสนุกที่ท้าทาย ผมสามารถซื้อหนังสือบางเล่มราคาร่วมพันบาท ทั้งๆที่เงินเดือนสองพันเศษด้วยความไม่เสียดายเลย ด้วยความอยากรู้ พอเราชำนาญมากขึ้นก็อาจจะคิดว่าเรารู้มากแล้ว เลยละเลยการเรียนรู้ไป ความจริงในด้านอื่นๆเรายังต้องศึกษาอีกมาก โดยเฉพาะความรู้ที่ผู้บริหารต้องใช้ ซึ่งต้องการความรู้ในหลายๆศาสตร์ ซึ่งหากไม่รู้ อาจทำให้ทำผิดพลาด หรือเสียโอกาสที่จะทำให้สำเร็จไป เห็นอาจารย์อายุกว่า 60 แล้วแต่ยังฟิตกว่าคนอายุ 50 กว่าแบบเราๆ บางครั้งอายอาจารย์เหมือนกัน

ผมเข้ามาทักทายเท่านั้น และจะขออนุญาติเข้ามาร่วมศึกษาจากท่านๆ รุ่น4 ด้วยเป็นครั้งคราว สวัสดีครับ

สวัสดีครับ คุณสุทัศน์ ประธานรุ่น 2

คุณสุทัศน์เป็นกำลังใจให้ผมเสมอ เวลาที่ผมทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม มี Feedback กลับมาตลอด ผม Happy มาก

ขอเรียนว่า Blog บางอันเป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้วย เพราะท่านผู้ว่าอดิศรได้ขอให้ผมไปช่วยพัฒนาเรื่อง LO หรือ Learning Organization ซึ่งจะทำทุก ๆ ภาค 12 แห่ง ถือเป็นโชคดีของผมที่ได้ทำงานเรื่อง Energy ทั้ง 2 แห่ง แต่ยังไม่ได้ทำที่การไฟฟ้านครหลวงเท่านั้น

แต่ Blog นี้ ผมต้องขอโทษด้วยที่เกิดความผิดพลาดขึ้น ซึ่งผมได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณครับ

ในรุ่น 4 นี้ ผมจะทำให้ดีที่สุด มีทฤษฎีใหม่ ๆ เน้น Leadership , Apprenticeship development เป็น concept ใหม่ของ Ram Charan ผมจะปรึกษาคุณสุทัศน์ด้วย

วันนี้ รุ่น 4 เริ่มสัมมนาที่ปราจีนบุรีครับ

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ประกิจ ธวัชปรีดิพงษ์

ความแตกต่างระหว่างผู้นำ และผู้บริหาร

Human performance framework

HR Competencies

Employee transition

วินัย พิพัฒน์สุริยะ

มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นด้านเทคนิค วิธีการที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาผู้นำขององค์กรที่จำเป็น ให้มีความรู้กว้างขวาง สามารถนำพาองค์กรให้ได้ดีอย่างต่อเนื่อง มีผู้นำทดแทนอยู่เสมอ ให้ทันต่อสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

มีหลายแนวทางที่จะต้องเลือก เพื่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถนำความรู้มาปฏิบัติอย่างจริงจัง เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และประเทศชาติ ในภาพรวมทั้งด้านการดูแลต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติให้ดีอยู่เสมอ

สุรพงษ์ รังสีสมบัติศิริ

การทำงานโดยมองในมุมกว้าง ผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา

นายวิบูลย์ พงศ์เทพูปถัมภ์

จุดประกาย

ภาวะผู้นำ

ได้แนวคิดและแนวทางปรับปรุงตัวเองในการเป็นผู้นำในภาวะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารและจัดการบุคลากรไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

แนวคิดใหม่ต่าง ๆ เกี่ยวกับภาวะผู้นำ

วิธีคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบริหารบุคคลในยุคใหม่

ไพสิทธิ์ วัฒนาวิทวัส

ได้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง “คน” มากขึ้น

นำความรู้ที่ได้รับไปดูแลและเข้าใจคนในหน่วยงานได้มากขึ้น

สุพจน์ เอื้ออารีโชค

แนวทางการบริหารจัดการคน

ความเป็น Leader คุณสมบัติต่าง ๆ

2R & 2I

5E Leadership

Leader’s Rule

สุรพงษ์ คลอวุฒิเสถียร

แนวทางการพัฒนาผู้บริหารให้มีภาวะผู้นำ แทนที่จะ training manager เพิ่มมุมมองในแง่การเป็นผู้นำมากกว่าการเป็นผู้จัดการ

ประสาท พิทักษ์พงศ์ศิริ

ได้รับการกระตุ้นให้ทุกคนเชื่อมั่นว่า คนทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้

ได้รับรู้หลักการพัฒนาคน และประสบการณ์ของผู้สอน

อุดม อุดมทรัพย์สันติ

แนวคิดของผู้นำ

แนวคิดการบริหารงานบุคคล

ศักดิ์ชาย ชาญเชี่ยว

ได้รับทราบเกี่ยวกับแนวความคิดที่นอกกรอบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์

HR for Non-HR

Leader & Manager

Human Performance Framework

HR Competencies

HR Responsibility

CEO potential to performance

กิจจา ศรีพัฑฒางกูร

1. ได้รับทราบแนวทางในการที่จะพัฒนาตัวเองจากผู้บริหารให้เป็นผู้นำ

2. เกิดแรงบันดาลใจและจุดประกายในการที่จะพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้น

3. ได้รับทราบประสบการณ์ต่าง ๆ ของบริษัทต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้

วิโรจน์ วงศ์กิจผาณิช

-ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร

-ทฤษฎี 2R's , 2I's

-ผู้นำควรทำอย่างไร - ทนความเจ็บปวด ผ่านประสบการณ์

- ใฝ่เรียนรู้

- นำศักยภาพออกมาใช้

- ต้อง Motivate ลูกน้อง

-หลัก Peste (Politic,Economic,Social,Technology,Environment)

เสาวนิต เจตนาวิชโมกข์

1.การทำงานเป็นทีม รับฟังความคิดเห็นคนอื่น

2. คุณสมบัติ ผู้นำ ในยุคเปลี่ยนแปลง เป็นคนดี คนเก่ง รู้กว้างมากกว่ารู้ลึก

3. ผู้นำองค์กร ต้อง Concern สังคมและสิ่งแวดล้อม

4. วัฒนธรรมองค์กร ระบบเศรษฐกิจ และแผนใหม่

วันชัย ศิวอาทิตย์กุล

ได้รับการจุดประกายเพื่อเป็นผู้นำขององค์กร จากอาจารย์จีระ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากรชั้นนำของประเทศ

ได้รับประสบการณ์ แนวคิดจากหน่วยงานอื่น ๆ จาก อ.ประกาย

วารีรัตน์ สายสมบัติ

-ความรู้ คุณภาพของผู้นำ ประสบการณ์ของวิทยากรในการทำงานใหม่กับผู้นำ เพื่อสะท้อนความเป็นผู้นำขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ

-ความจำเป็นหรือการตระหนักรู้ที่ผู้บริหารต้องพัฒนาคนแบบผู้นำเพื่อสร้างความอยู่รอด และพัฒนาองค์กร

วันชัย ภู่เนาวรัตน์

-ได้เรียนรู้ มุมมองของ Leader ที่เป็นผู้รับการยกย่อง มีชื่อเสียงของโลก ประสบการณ์ ของความสำเร็จ เกิดความคิด ความท้าทายให้นำไปปฏิบัติ

- ได้หลักองค์ความรู้ ไปศึกษาต่อ

- ได้ความรู้ไปถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงาน

- นำกระบวนการเรียนรู้ แบบแบ่งปันความรู้มาใช้ ซึ่งน่าจะได้ผลกว่าการที่ท่านจดแบบส่วนอบรม

วิเคราะห์องค์กร กฟผ. กับวัฒนธรรมองค์กรและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่

Old Culture

1. ระบบอุปถัมภ์ และการใกล้ชิดตัวเอง ไม่ดูเรื่องความรู้ความสามารถเป็นหลัก (กลุ่ม 1)

2. การ Rotate งานมีน้อย มีระบบความเป็นเจ้านายอยู่ (กลุ่ม 1)

3. ระบบเล่นพวก หรือ อาวุโส คิดเหมือนกับกลุ่มอื่น (กลุ่ม 2)

4. ไม่มีการทำงานเชิงรุก มองตัวเองเป็น Center ไม่มองคนอื่น เช่น แม่เมาะสมัยก่อนสร้างตาม Engineering ไม่มองข้างนอก เกิดผลกระทบมหาศาล ต้องตามแก้ไขภายหลัง (กลุ่ม 2)

5. ไม่ชอบการแข่งขันมากในอดีต ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (กลุ่ม 3)

6. Synergy ระหว่างหน่วยงาน องค์กรใหญ่โตทำให้ Synergy น้อย (กลุ่ม 3)

7. Seniority มีมาก ซึ่งคิดว่าควรมีการปรับเปลี่ยน เช่น หัวหน้า ชอบทุบโต๊ะ เสียงดัง การบริหารเป็นแบบสั่งการ (กลุ่ม 4)

8. คิดอะไรตามกรอบ เนื่องจากแต่ก่อนเป็นหน่วยงานของรัฐ ทุกอย่างขึ้นตามมติ ครม. แต่ปัจจุบันจะสังเกตว่าทำตามก็ยังมีปัญหาอยู่ (กลุ่ม 4)

9. วัฒนธรรมของ กฟผ.เดิม ๆ ยึดกับกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานที่ซับซ้อน ทุกอย่างต้องมี Paper ในการตรวจสอบ ให้มองว่าทุกคนโปร่งใสและทำด้วยความซื่อสัตย์ (กลุ่ม 5)

10. ระบบอุปถัมภ์ ใครเป็นคนของใคร มีการเลื่อนระดับ อาจมองที่จุดนี้ อยากให้ห่างไกลเรื่องนี้ (กลุ่ม 5)

New Culture for Leadership

1. อยากเห็นบุคลากรมีความรู้ความสามารถ เข้าใจธรรมชาติได้ตามความเป็นจริง เข้าใจเพื่อนร่วมสังคมได้ชัด (กลุ่ม 1)

2. อยากปลูกจิตสำนึกให้ทำงานเพื่องาน และทำตามหน้าที่ มีฉันทะเป็นหลักเพื่อตั้งใจในการทำงาน และอยากเห็น กฟผ.เป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อประเทศเป็นหลัก(กลุ่ม 1)

3. อยากให้ Care สังคมมากขึ้น ต้องเน้นให้ประชาชนรู้สึกว่า เพราะอะไรเขาถึงอยากได้โรงไฟฟ้า (กลุ่ม 2)

4. อยากให้ใช้ความจริงใจและแก้ไขปัญหาด้วยความจริงใจ (กลุ่ม 2)

5. เห็นการไฟฟ้า เป็นสังคมที่ Synergy (กลุ่ม 3)

6. คิดดีกับการเปลี่ยนแปลง (กลุ่ม 3)

7. อยากให้มีระบบ Fast Track (กลุ่ม 4)

8. ไม่มีอาวุโสมาก – น้อย (กลุ่ม 4)

9. ต้องการคนมีความรู้ ความสามารถ กล้าคิด กล้าถาม ให้คิดนอกกรอบ (กลุ่ม 5)

10. ต้องการให้ผู้นำมี Mindset หรือ คุณธรรมในหัวใจ (กลุ่ม 5)

Morning Brief 8 พ.ค. 51 ณ โรงแรม ทวาราวดี รีสอร์ท จ.ปราจีนบุรี

7 พ.ค. 51 ได้อะไรเกี่ยวกับผู้นำ 2 ประเด็น

กลุ่ม 1 ผู้นำคือผู้พาทุกคนเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ก่อนอื่นผู้นำต้องรู้ว่าทิศทางที่ถูกต้องคืออะไร เข้าใจเหตุที่เกิดขึ้น ถึงพาไปในทิศทางที่ถูกต้องได้

กลุ่ม 5 ผู้นำต้องมีคุณธรรม จริยธรรม แม้ว่านำในสิ่งที่ถูกต้องต้องคำนึงถึงกาลเวลานั้น ๆ ซึ่งอาจเปลี่ยนได้ แต่การมีคุณธรรมและจริยธรรม จะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้นำควรมี

กลุ่ม 2 ผู้นำต้องให้ความสำคัญที่ทรัพยากรบุคคล

กลุ่ม 3 Leader ที่ดี ต้อง Life Long Learning สู่ Thinking Advance , Mind Change , Paradigm Change เกิดเป็น Innovation

กลุ่ม 4 ในห้อง ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหาร ไม่ใช่เรื่องระบบ แต่เป็นเรื่องคน

นอกห้อง ผู้นำมีหลายบทบาท ไม่ใช่นำอย่างเดียว ต้องมีความเป็นกันเองกับลูกน้อง

ผมได้มาอยู่ร่วมเรียนรู้กับผู้แทนผู้ช่วยฝ่าย 38 ท่านที่โรงแรมทวารวดี รีสอร์ท จัวหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม

ในช่วง 2 วันนี้ ประทับใจมาก จากการได้อยู่เรียนรู้ร่วมกัน

ผมได้เริ่มทฤษฎี coaching แบบ Ram Charan แล้ว คงช่วยให้ทุกท่านไปสู่ความเป็นผู้นำได้

ระหว่างที่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน ขอให้ทุกท่านช่วยอ่านหนังสือและเปิด Internet ด้วย

ขอบคุณครับ

2 R และ 2 I

เห็นความสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของเจ้านายและลูกน้อง

สร้าง กระตุ้นแนวความคิดให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำอย่าง Go inter เป็นอย่างไร

ให้มีแนวคิดอย่างมีระบบ

วิวัฒน์ ชาญเชิงพานิช

การเรียนรู้ที่จะเป็น Leader มากกว่าเป็นแค่ Manager ได้รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้เข้าอบรมและต่อองค์กร

ชัยวัฒนา พุกกะณะสุต

ได้รับรู้แนวคิด วิธีการใหม่ ๆ ที่หลากหลาย

ได้รู้สึกว่าต้องปรับปรุงตัวเอง และที่ต้องทำ

ได้รับประสบการณ์ในการบริหาร HRM

ได้รับหลักการของ Leadership ที่ดี

แนวคิดการบริหารจัดการของ Leader

คุณลักษณะของ Leader

เกร็ดความรู้/ประสบการณ์จริงที่ผ่านการทดลองและได้ผลดี

แนวคิด/ประสบการณ์ในแง่มุมใหม่ที่วิทยากรเล่า/แลกเปลี่ยนความเห็น

วิวัฒน์ ไทยรุ่งโรจน์

ได้เห็นความแตกต่างของผู้นำกับผู้จัดการ

ได้เห็นว่าผู้นำควรมีความรู้ และความสามารถอย่างไร

พอเห็นแนวทางการปรับปรุงตัวเองอย่างคร่าว ๆ ให้เป็นผู้นำที่ดี

การบริหารจัดการคนในองค์กรอย่างมีคุณภาพ

สุดารัตน์ สาสุนีย์

ได้รู้หลักสำคัญของ HR คือ ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ได้ทราบบทบาทของผู้นำที่ดี ซึ่งจะสามารถนำมาพัฒนาปรับปรุงตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อ กฟผ. โดยเน้นเรื่องคนมากขึ้น

การบริหารจัดการคนในองค์กร ที่จะต้องพัฒนาความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาและมีระบบจูงใจที่ดี

Morning Brief 15 พ.ค. 51

หลังจากเจอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเจอเหตุการณ์ระดับโลกอย่างไรบ้าง ที่กระทบกับ กฟผ.

โต๊ะที่ 2 เรื่อง ลดกำลังการผลิตน้ำมัน

ยกเหตุผล ความต้องการของ Heater Oil ลดลง

กลุ่ม OPEC ลดการผลิตลง เกิดการเก็งราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น

น้ำมันขึ้น ให้คิดว่ากี่เปอร์เซ็นต์เป็นการเก็งกำไร เป็นเรื่องของ Supply , Demand กี่เปอร์เซ็นต์ , เป็นการลดลงของ ดอลลาร์กี่เปอร์เซ็นต์

โต๊ะ 3 เรื่อง แผ่นดินไหว ที่เมืองจีน กระทบ อย่างไร เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันมากสุด

ที่กระทบ คือ การตรวจเขื่อนร้าวของประเทศจีน แต่ตรวจสอบเขื่อนทีกอซเจซในแม่น้ำแยงซีเกียง (เขื่อนที่ผลิตไฟฟ้าเท่าประเทศไทยประเทศเดียว) ไม่ร้าว ข่าวว่าเขื่อนสิริกิติ์ ร้าว เนื่องจากเป็นวิกฤตพลังงานเลยมีการเล่นข่าว

ประเด็นที่กระทบคือการออกข่าวเรื่องแผ่นดินไหว ที่แจ้งว่าเกิดรอยร้าวที่เขื่อน

โต๊ะ 4 เรื่องแผ่นดินไหว ตอนนี้ กฟผ.กำลังหาแหล่งผลิตข้างนอก ซึ่งคือเขื่อน เช่นลาว ถ้าเกิดอะไรขึ้นที่เขื่อนไม่สามารถสร้างได้ ก็เกิดปัญหาความมั่นคง

ถ้าพึ่งตปท.มากเกินไป ก็เสี่ยงเยอะ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และดูว่าจะพึ่งตปท.เท่าไหร่ ในไทยเท่าไหร่

โต๊ะ 1 เรื่องแหล่งก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในทะเล การแบ่งระหว่างไทยกับกัมพูชา ในกัมพูชามีแน่แต่ไม่มีใครเข้ามาทำอย่างจริงจัง จึงอยากให้ดูด้านนี้ด้วย

โต๊ะ 5 เรื่องราคาน้ำมัน ตอนเช้าขึ้นมาเกือบ 130 แล้ว และในอนาคตน่าจะขึ้นมาถึง 200 เหรียญ ภายใน 3- 4 เดือน ปัจจุบัน Oil Crisis มีผลกระทบกับด้านอื่น ๆ เช่น เรื่องการปลูกข้าว บางครั้งถ้า substitution มากเกินจะเกิด Food Crisis

ดร.จีระ พลังงานกับอาหารในความรู้สึกของ กฟผ.เป้าหมายคืออะไร

กฟผ. มีแนวโน้มทำพลังงานทดแทนมากขึ้น แต่ราคายังแพงอยู่

ปัญหาราคาน้ำมันส่งผลมาถึงราคาเชื้อเพลิง แก็ซ Relate ได้ไหม ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นชัดเจนไหม ทั่วโลกกลับมาดูเชื้อเพลิงใหม่หมด แนวโน้มปัจจุบันทั่วโลกมาที่ถ่านหิน และนิวเคลียร์ เพิ่มขึ้น พลังงานน้ำมันน้อยลง

Workshop เรื่อง นวัตกรรมทางสังคม กับ บทบาทของ กฟผ.

1. สิ่งที่อยากจะเห็น ในบ้านเมือง อยากมีการวางแผน ก็เป็นกระบวนการส่วนร่วม และทัศนคติที่ดี ทำอย่างไรที่จะเอาความคิดที่ดี ไปใช้ หาขบวนการ หรือ Process เพื่อออกเป็น Outcome ให้ได้ ต้องมีการจัดการที่ดี Process ที่ดี อยากให้มีผู้นำทางด้านนี้ เช่น อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม , อาจารย์จีระ ชอบหนังสือ ว่าธุรกิจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ ถ้าสังคมล้มเหลว อยากให้ทุกอย่างมีความชัดเจน

ดร.จีระ อยากให้ค่อยเป็นค่อยไป ให้ทุกคนมี Emotional Intelligence มี 2 I’s ใน Indorama ในการแก้ปัญหา

2. อยากให้มีโอกาสมาคุยกัน เพื่อลดความขัดแย้ง ลดการประท้วง รู้สึกดีมากที่ได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลด้านนี้

3. ดีใจมากที่ได้ยิน คุณสายรุ้ง และวัชรีมาพูด และได้ฟังอาจารย์ไพบูลย์ที่ว่า กฟผ.ทำเพื่อสังคม คุณวัชรี นำเสนอเรื่องการผิดผลาดของกฟผ.เรื่องการประชาสัมพันธ์ ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง คุณสายรุ้ง บอกว่า เราต้องเป็นเพื่อนกับชาวบ้าน

Supply ของ กฟผ. มาจาก GDP ที่คุณสายรุ้งพูด อยากฝากให้ NGO รณรงค์เรื่อง Demand Size ด้วย ประหยัดไฟเบอร์ 5 ลดการใช้ไฟ ด้านพฤติกรรม อยากให้ลด Demand Size ให้เยอะ จะลดพลังงงานการใช้ด้วย

4. - กฟผ. ถ้าอยากจะ พัฒนาโรงไฟฟ้าที่ไหน ควรเข้าไปติดต่อที่ใครก่อน เนื่องจากแต่ก่อนเคยเข้าไปแต่ผู้นำหมู่บ้าน

- คุณวัชรี ที่เสนอเป็นตัวอย่างของการประชาสัมพันธ์ เพราะทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต จะมีกลุ่มญาติพี่น้อง ข้อมูลส่วนใหญ่ไปที่ส่วนนั้น ถ้าจะแนะนำ อยากให้เริ่มตั้งแต่การประกาศที่วิทยุ ชุมชน หรือท้องถิ่น ว่าโครงการจะมีลักษณะแบบนี้แล้วอยากได้พื้นที่แบบนี้ น่าจะมีการเปิดกันตั้งแต่การวางนโยบาย

ทาง DSM ทำส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่ไม่มีคนทำคืออุตสาหกรรม Consult ของเอกชน ทำไม่ทัน ได้แต่ Energy Audit แต่ด้าน Consult ไม่มีคนทำ IPP ที่เข้ามาทั้งหมดมีบริษัทต่างชาติถือหุ้นเกิน 50 %

- พลังงานรูปแบบอื่น ศึกษากันมาก แต่ที่จะนำมาใช้ไม่คุ้ม เช่น Solar Sale 14 บาท แต่ขายจริง 13 บาท ไม่งั้นราคาจะขึ้นมากเลย ซึ่งจริง ๆ กฟผ.เป็นองค์กรที่ทำเพื่อสังคม เพราะฉะนั้นจะคำนึงถึงต้นทุนสูงมาก

- คุณสายรุ้ง ราชการหลายคน มีความตั้งใจดี แต่จริง ๆ เป็นระบบเชิงนโยบายของประเทศด้วย บางคนทำ DSM มาตลอด เราควร Subsidize พลังงานแสงอาทิตย์ อันแรกคือประหยัดพลังงาน ทำ DSM ให้ได้ สองคือ เพิ่มพลังงาน สามรัฐบาลมีเป้าชัดเจนในการส่งเสริมพลังงาน ถ้าเปิดให้คนที่อยากทำให้ทำ อย่านำข้อจำกัดด้านเงินมาคิด ควรให้มีการลอง หรือให้งบประมาณเท่า ๆ กันในการทำ น่าจะมีการเปิดโอกาสให้เท่าเทียม ยังดีกว่าเป็นช่องที่ตีบตัน

5. ขอบคุณอาจารย์ไพบูลย์ เรื่องคุณภาพ ความสามารถ ความดี การจัดการ เชื่อว่าคุณภาพด้านความสามารถ พอใช้ได้ในประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีการโกงกิน Egat คุณภาพความสามารถเป็นที่ยอมรับ บางเรื่องคุณภาพการจัดการยังไม่รู้ เนื่องจาก Egat มุ่งแต่ความสามารถทางเทคโนโลยี ยอมรับเรื่องการจัดการคนไม่ดี น่าจะจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเชิงลึกในเรื่องรายละเอียด เช่นเรื่อง พลังงานทดแทน อยากให้คุยเป็นการส่วนตัว อาสาที่จะคุยเรื่องรายละเอียด และประเด็นต่าง ๆเชิงลึก ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม

6. พลังงานหมุนเวียน หรือทดแทนเป็นเรื่องที่สนใจ ขอถาม 2 ข้อ เรื่อง พลังงานชีวมวล ต้นยูคาลิป ต้นเอาไปใช้ แต่เอาใบไปเผา เรื่องขยะเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก เอาขยะมาหมักเป็นก๊าซมีแทน ทำได้ แต่เข้าไปไม่ได้เนื่องจากมีคนเอาไปจัดการ อยากให้ NGOs เข้ามาช่วยด้วย

7. ทางกฟผ. กับ NGOs มีความเห็นแตกต่างกันมาก การเอา GDP เป็นตัวพยากรณ์ การหาพลังงานทดแทนทั้งหมด ในทฤษฎีทำได้ แต่ปฏิบัติทำไม่ได้ ขอบคุณอาจารย์ไพบูลย์ เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม อยากให้ช่วยกันคิดว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าจากอะไรในอีก 15 ปีข้างหน้า โครงการพลังงานทดแทนอื่น ๆ มีเจ้าเทคโนโลยีทำอยู่ กฟผ.น่าจะศึกษาเรื่องการขยายตัวของประเทศเหล่านั้น อยากให้ทำทั้งเทคโนโลยีใหม่ และพลังงานทดแทน บางแห่ง เช่น แคลิฟอร์เนีย พลังงานลมมีเยอะมาก แต่ใช้ไม่ได้ ถ้าไทยทำด้วย Solar ก็ไม่พอใช้ในทางสังคม อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถแข่งขันกับ ตปท.ได้ โครงการที่ต่าง ๆ หรือคัดค้านต่าง ๆ ควรผ่านทางนโยบายรัฐ อยากให้ NGOs มาคุยกับ กฟผ. ตั้งแต่เรื่องการวางแผน การทำ ให้เข้ามาคุยร่วมกัน ช่วยกันตัดสินใจ ช่วยกันเสนอแนะ ปัจจุบัน พลังงานไฟฟ้าทำได้ยากมาก

8. ประเด็นที่อ.ไพบูลย์นำเสนอเรื่อง CSR ขอเรียนถามว่าประเด็นปัญหาทั้งหมดที่ตัวแทน NGOs นั่งอยู่ เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคม กฟผ.ควรมีทิศทางและ Direction ในการดำเนินงานอย่างไรที่จะทำงานควบคู่ไปกับสังคม

อ.ไพบูลย์ Social Innovation

1. การป้องกันและขัดแย้งด้วยสันติวิธี เช่น สถาบันพระปกเกล้า ตั้งศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล แก้ปัญหาคนเป็นคดีความให้ตกลงกันได้ด้วยสันติวิธี กฟผ.น่าจะเอามาใช้ได้ เช่นสร้างโรงไฟฟ้าสักโรง ทำยังไงที่จะทำให้ชุมชนอยากให้ไปสร้าง เตรียมการอย่างไร และมีเงื่อนไขอย่างไร เอาข้อมูลให้ประชาชนเลือก ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ มีที่ใดอยากให้ไปสร้าง บอกด้วยความมั่นใจว่าจะดูแลอย่างไร ควรมีศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี

2. การกำหนดนโยบายสาธารณะ เรื่องสุขภาวะ เป็นนวัตกรรมล้าสุด แบบมีส่วนร่วม จะลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า และเพิ่มปริมาณการผลิตได้อย่างไร บางท่านเห็นด้วยบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้าง ลดการใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

นโยบายสาธารณะที่ดีต้องนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข เกิดความสันติที่สังคมปรารถนา สังคมสันติ ประชาชนเป็นสุข ซึ่งทำให้ไม่ขัดแย้งกัน ประชาชนจะเป็นสุขจริงหรือไม่

Healthy Public Policy สุขกาย สุขใจ สุขในการอยู่ร่วมกัน การกำหนดนโยบายสาธารณเพื่อสุขภาวะแบบประชาชนมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาร่วมกัน มีกระบวนการใช้อย่างสันติวิธีแต่ยังใช้ไม่ถูกต้องและได้ผล เพื่อสร้างความสมานฉันท์เพื่อเริ่มกระบวนการสันติวิธีHIA ทำให้เกิดสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ในฐานะผู้นำผู้บริหาร สิ่งที่ต้องการไม่ต้องมองว่าทำแบบไหนถูก แบบไหนผิด ทำอย่างไรได้ระบบวิธีการที่เป็นที่พึงพอใจร่วมกัน มีสันติวิธีร่วมกัน เป็นโจทย์ที่ผู้บริหารต้องคิด การอภิปรายเรื่องเทคนิคได้ แต่ต้องอยู่ในข้อตกลงความเห็นชอบร่วมกัน จึงอยู่ในสันติวิธี

ต้องมีทั้งสังคม จิตใจ ปัญญา อยู่ร่วมกัน จึงทำให้เกิดความสันติ และอยู่เย็นเป็นสุข

คุณสมบูรณ์ ผู้บริหารต้อง Empower ตัวเองต้องฝึก และเข้ม Leader รุ่นใหม่ ๆ คน HR เป็นเรื่องสำคัญ

วันนี้เป็นวันที่ 3 ของโครงการฯ ก็ให้รู้สึกถึงความเข้มข้น และความมันส์ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน Session สุดท้าย ที่มีทาง NGO มาร่วมด้วย ผมอยากจะขอวิพากษ์สักเล็กน้อย

รู้สึกผิดหวังเล็กๆ ที่ ผลของ panel discussion ออกมาในลักษณะของการ ขี่ม้าเลียบค่าย มากไปหน่อย ทั้งๆที่ผมคิดว่า น่าจะเป็นโอกาสดี ที่ทางเราจะได้ชี้แจง หรือ แสดงข้อเท็จจรืงในบางประการให้น้องๆ NGO ได้ทราบ และเป็นข้อคิดในการนำเสนอในโอกาสต่อไป ซึ่งผมเชื่อว่าเขาคง Fair พอที่จะรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผมเข้าใจดีว่า อ.จีระ และ อ.ไพบูลย์ คงเกรงว่าจะเกิดการประทะคารมกัน แต่ผมเชื่อว่าพวกเรา(กฟผ.) มีวุฒิภาวะมากพอที่จะควบคุมอารมณ์ได้ แต่ อ.จีระ อาจต้องเหนื่อยบ้างสักเล็กน้อยก็คงไม่ว่ากัน ดีกว่าปล่อยให้จบแบบดูเหมือนจะ SMART ดูดีประนีประนอม แต่ เกิดความเข้าใจแบบเบลอๆ โดยที่น้อง NGO ทั้ง 2 คนแทบจะไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงกลับไปเลย ผมเองก็คันปากอยากจะพูดในตอนนั้น ก็เกรงใจอาจารย์ ที่มุ่งเน้นจะควยคุมบรรยากาศ (บังเอิญเสียงก็ไม่ค่อยจะมีด้วย) ที่เขียนมาซะยืดยาวก็เพียงแต่ อยากจะบอกว่ารู้สึกเสียดาย ผลของ Panel Discuss ที่น่าจะได้อะไรมากกว่านี้

เรียนคุณสุรศักดิ์

ผมได้อ่านความคิดเห็นคุณสุรศักดิ์เรื่อง NGOs เข้าใจที่ว่าน่าจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ลึกมากกว่านี้ ซึ่งในโอกาสหน้าผมเชื่อว่า จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ NGOs ในครั้งต่อไปครับ

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

นายเผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์

เรียน

       อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ และเพื่อนๆ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร

“ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ” หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า อบรมผู้บริหาร กฟผ. รุ่น ที่ 4 ของ อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ วันนี้พอมีเวลาเลย จะขอโอกาสเพื่อนๆ กฟผ. พูดผ่าน weblog หรือ “ Blog ” ที่อาจารย์พูดถึงบ่อยๆ ก่อนอื่นคงต้องขอขอบคุณ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่ โหวตให้เป็นประธานรุ่น (ตามความประสงค์ของพวกเรา) ก็รู้สึกอึดอัดเหมือนกันที่รู้ว่าภารกิจของประธานรุ่นต้องช่วยอาจารย์ ดร.จีระ ประสานงานกันรุ่นพี่ๆ เช่น

  • รุ่นที่ 1 คุณนพพล มิลินทางกูร
  • รุ่นที่ 2 คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัตน์
  • รุ่นที่ 3 ดร.กมล ตรรกบุตร

         และช่วยจัดผู้เข้าอบรมรุ่นที่ 4 มาให้อาจารย์สัมภาษณ์ครั้งละประมาณ 3-4 ท่าน ตามที่อาจารย์จะสามารถจัดเวลาช่วง Morning coffee บ้างหรือช่วงพัก Break บ้าง แล้วแต่อาจารย์จะสะดวก และบางครั้งอาจารย์ก็จะฝากการบ้านมาให้บ้าง ก็ควรต้องรับภาระต่อไปตามที่พวกเรามอบหมาย แต่อย่างไรก็ตามบรรดาภาระและงานที่ อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ มอบหมายนั้น จะสำเร็จมิได้เลยถ้าพวกเราไม่ช่วยกันมีส่วนร่วม โดยการช่วยกันเสนอคณะทำงาน ช่วยประธาน และรองประธานฯ ซึ่งขณะนี้พวกเราได้เสนอบุคคลที่จะมาช่วยงานบ้างแล้วแต่ก็ยังไม่มีโอกาสที่จะชี้แจงพวกเรา จึงขอเสนอตามที่มีผู้แนะนำดังนี้

ประธาน

          คุณเผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ ช.อบก-ห อบก. รวห

รองประธาน

  1. คุณชัยวัฒนา พุกกะณะสุต ช.สจฟ อจฟ. รวฟ.
  2. คุณสุดารัตน์ สาสุนีย์ ช.อผช-ผ.อผช. รวค.

กรรมการเหรัญญิก

  1. คุณวิโรจน์ วงศ์กิจพานิช ช.อบพ-2 อบพ. รวบ.
  2. คุณวารีรัตน์ สายสมบัติ ช.อหฟ. อหฟ. รวฟ.

กรรมการวิชาการ

  1. ดร.สุเทพ เลิศศรีมงคล ช.อขส-ป อขส. รวฟ.
  2. ดร.วันชัย ศิวอาทิตย์กุล ช.อสฟ-ว.อสฟ. รวค.
  3. คุณสุรพงษ์ คลอวุฒิเสถียร วศ.11 อวฟ.รวพ.
  4. คุณอนุสรณ์ ตติยปรีชา วศ.11 อผค. รวพ
  5. คุณกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ ช.อผฟ-ระบบส่ง อผฟ.รวผ.
  6. คุณไพสิทธิ์ วัฒนาวิทวัส วศ.11 อวน.รวพ

กรรมการประชาสัมพันธ์-ปฏิคม

  1. นายธาตรี ริ้วเจริญ ช.อปช-สป. อปช. รวห.
  2. คุณสายสุดา สิทธิวงศ์ ช.อขส-ห อขส. รวฟ.

กรรมการนันทนาการ

  1. คุณสังกร ศิริวิโรจน์ ช.อรป อรป.รวห
  2. คุณวิวัฒน์ ไทยรุ่งโรจน์ ช.อคบพ. ชฟธ. รวฟ.
  3. คุณพลฤทธิ์ เศรษฐกำเนิด ช.อพม-1 อพม.รวฟ.

        ถึงตอนนี้ทีมงานผู้บริหาร กฟผ. รุ่นที่ 4 เริ่มจะมีภาพลักษณ์ ที่สมบูรณ์แบบแล้วเพราะมีทีมงานครบเครื่องในการช่วยเสนอข้อคิดเห็น ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่ 1

เรื่องที่ 2 เงินกองทุน EADP รุ่น 4

       ขณะนี้ คุณวิโรจน์ วงศ์วงศ์กิจพานิช ที่ถูกกำหนดให้เป็นเหรัญญิกได้รวบรวมกองทุนจากพวกเราได้ประมาณ 20,000.- บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) (40 คน @ 500.- บาท ) ซึ่งจะได้ปรึกษาพวกเราอีกครั้งว่าจะใช้ดำเนินการในกิจกรรมอะไรบ้าง ในเบื้องต้นนี้ใช้ทำแผ่น CD และเอกสารที่ไม่เกี่ยวกับงานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของ อพบ. และจะพยายามใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เรื่องที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

          สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพวกเรา ที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อสมาชิกภายในรุ่น และ กฟผ. รวมทั้งสังคมด้วย ขอให้นำมาเสนอผ่าน weblog หรือ E-Mail ช่วยกันแนะนำได้ครับ เพราะทุกท่านส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาคุยกัน นอกจากวันที่เข้ารับการอบรม ช่วงที่ผ่านมา

                                 เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์ 

                                  19 พฤษภาคม 2551

เสณิต เจตนาวิชโมกข์

1. ได้เห็นความสำคัญของการสื่อสาร ที่มีบทบาท เพื่อภาพลักษณ์ องค์กร และผู้นำที่อาจกระทบต่อการดำเนินกิจการองค์กรได้ เช่นการสื่อสารในภาวะวิกฤต

2. การเปิดใจกว้าง ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง ทำให้รับรู้ข้อมูลแปลกใหม่เป็นคุณสมบัติที่ผู้นำ หรือผู้บริหาร พึงตระหนักอยู่เสมอ

3. กฟผ. ต้องปรับกลยุทธ์ด้าน CSR โดยเฉพาะในเรื่องการสื่อสารข้อมูลข้อเท็จจริงให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ชุมชน สงคม ได้รับข้อมูลตรงกัน เพื่อลดข้อขัดแย้ง และจะได้รับความไว้วางใจ ความร่วมมือ จากชุมชน-สังคม

4. การดำเนินกิจการกฟผ. ควรให้สังคม ชุมชนได้รับรุ้ และมีส่วนร่วม

1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญ / แนวความคิด / กระบวนการ สร้างภาพลักษณ์ในระดับองค์กร รวมไปถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อดูแล /รักษาภาพลักษณ์ของ Leader ในองค์กร

2. ได้เรียนรู้ทฤษฎี และแนวคิดในการดำเนินงานทางด้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมไปถึงคุณประโยชน์และผลกระทบกับสังคมไทย

3. ได้รับทราบมุมมอง และแนวคิดของ NGO ซึ่งจะทำให้เห็นประโยชน์ต่อการประสานแนวคิด Discuss ในรายละเอียด / ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันในทิศทางที่ถูกต้อง

ได้เรียนรู้การทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งในอนาคต ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

อยากจะให้ทำลงแผ่น CD เพื่อให้โรงไฟฟ้าต่าง ๆ เปิดให้เด็กนักเรียนที่มาชมโรงไฟฟ้าดูได้ เป็นการให้ความรู้แก่เด็ก และให้เด็ก และประชาชนได้ซึมซับ ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นต้องมี และไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รวมทั้งมีภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่ตั้งริมหาด

เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์

1.ผู้นำและการสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กร

2. - เหตุผลทีประเทศไทยต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

- สถานะการณ์โลกของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

- เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

- ทำไมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลดภาวะโลกร้อน

วิวัฒน์ ชาญเชิงพานิช

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ซึ่งจะต้องดำเนินการในลักษณะ Proactive จะต้องสำรวจวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ขององค์กรแล้ว นำมาจัดทำยุทธศาสตร์การปรับปรุงภาพลักษณ์องค์กร ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

เรื่องที่สอง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งจะเป็นแผนงานในอนาคตของ กฟผ.ต่อไป

เรื่องที่สาม ได้รับฟังความคิดเห้นของ NGOs ซึ่งแม้จะมีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง แต่ก็ได้รับฟังความคิดเห็นในอีกมุมมอง ซึ่งก็ให้แง่คิดในมุมมองอื่น ๆ

สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

แวะมาใน block ของการอบรมผู้นำ กฟผ รุ่น4 ทราบว่ามีการเชิญตัวแทน NGO มาร่วมสนธนาด้วย รู้สึกน่าสนใจ อาจารย์ไพบูลย์ เป็นบุคคลที่น่านับถือเป็นที่ยอมรับ คุณสายรุ้ง ผมมีโอกาสสัมผัสช่วงพิจารณา พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน ก็นับเป็นNGOรุ่นหนุ่มสาวที่มีความคิดเชิงอุดมการณ์สูง การรับรู้ความนึกคิดของตัวแทน NGO สองรุ่น นับว่าน่าสนใจ ผู้บริหาร กฟผ.คงจะต้องสื่อสาร สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันกับกล่ม NGO ซึ่งปัจจุบันจัดให้เป็นหนึ่งใน Stake Holder ของ กฟผ กลุ่มหนึ่งแล้วมากขึ้น ท่านผู้ว่าการได้ริเริ่มเรื่องนี้ไว้แล้ว พวกเราคงต้องเรียนรู้ต่อไป

ผมทราบมาว่าคุณสายรุ้งและคณะ NGO หลายองค์กรได้ทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีพลังงานให้ทบทวนใน 4 ประเด็น

1.ทบทวนแผน PDP 2007 โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคม มีส่วนร่วมด้วย ในรายละเอียด ผู้เสนอ เห็นว่าการประมาณการใช้ไฟฟ้าสูงเกินไป จะเป็นภาระในการลงทุน นอกจากนั้นคงต้องการเพิ่มบทบาทของพลังงานทดแทนมากขึ้น

2.ยกเลิกการประมูล IPP เนื่องจากผู้เสนอคิดว่าไม่ความจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่โรงใหม่ในขณะนี้

3.ทบทวนหลักเกณฑ์ค่าไฟฟ้า ตาม ROIC เนื่องจากเห็นว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักภาระความเสี่ยงมาสู่ผู้บริโภค ไม่จูงใจให้เกิดประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้า

4ทบทวนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เนื่องจากเห็นว่ากองทุนจะสร้างฝ่ายสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้ามากขึน

ผมไม่ขอออกความคิดเห็นอะไร เพียงต้องการให้เราเรียนรู้ความเห็นของท่านเหล่านั้น และแลกเปลี่ยน สื่อสารอย่างสร้างสรร หากมีโอกาส ลองตั้งโจทย์ดูเล่นๆ ว่าถ้าท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะทำความเข้าใจกับภาคส่วนเหล่านี้อย่างไร ท่านลองแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มดูก็ได้ ขอย้ำว่าโจทย์นี้เป็นโจทย์จริงๆนะครับ คุณสายรุ้งและพวกทำเรื่องเสนอท่านรัฐมนตรีเมื่อ 8 เม.ย. นี่เอง

สวัสดีครับ

วิโรจน์ วงศ์กิจพาณิช

1.ช่องทางการทำประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ สามารถใช้ช่องทาง Internet ได้ ประหยัดและเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นได้ง่าย กฟผ.ควรสร้าง Brand ผ่านช่องทางนี้เพิ่ม ภาพที่บุคคลภายนอกมอง กฟผ.

2. ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สามารถนำไปชี้แจงสร้างความเข้าใจคนรอบข้างได้มากขึ้น การช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ หากนิวเคลียร์ไม่ได้เป็นปัญหาในระยะเวลาอันใกล้ ความปลอดภัยมีมาก

3. นวัตกรรมทางสังคม

ผู้นำต้องมีคุณธรรมความดี ความสามารถ การจัดการ

สรุป สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้

กฟผ. ต้องสร้าง Brandสร้างความเข้าใจกับสังคมให้เกิดการยอมรับและเชื่อถือ กฟผ.ในเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม กฟผ.จีงจะเดินธุรกิจต่อไปได้ ต้องให้ประชาชนมีความรู้สึกความเป็นเจ้าของกฟผ.ร่วมกัน ใช้นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนการแบบสันติวิธี

วินัย พิพัฒน์สุริยะ

ได้รับความรู้ ด้านการทำ Communication Role ให้องค์กรของการไฟฟ้า ได้รับการยอมรับอย่างทั่วถึง ทำให้ประชาชนเข้าใจ และไว้วางใจการดำเนินงานผู้ผลิตไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อได้รับความรู้ ความเข้าใจถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เป็นอนาคตของการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำ เนื่องจากเชื้อเพลิงน้ำมัน และการคงจะหมดลงในอนาคต และถ่านหินก็จะเป็นพลังงานที่เหลือ ซึ่งจะเกิด Co2 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่อนกระจก ส่งผลต่อโลกโดยตรง จากข้อมูลสาเหตุความเสียหายที่เกิดขึ้น กับโรงไฟฟ้าเชอโนบิล ได้มีการพัฒนาความปลอดภัยเพื่มขึ้น เรียกว่า Safety Passive ซึ่งน่าจะเป็นการป้องกันรังสีได้ดีมากหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

เทอดศักดิ์ เลิศวัฒนาเกียรติ

1. ผู้นำกับการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร สิ่งที่ได้รับความรู้ดังนี้

1.1 การสร้าง Brand และ Image ขององค์กร

1.2 การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ

1.3 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

1.4 การประเมินผลการประชาสัมพันธ์ และการสร้างภาพลักษณ์

2. ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้รับความรู้ดังนี้

2.1 ชนิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

2.2 การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์

2.3 ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

3. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ

4. แนวทางในการทำให้เกิดสันติในการดำเนินงานในอนาคต

1.ได้เห็นความสำคัญของ CPR (Corporate Public Relations) ทำให้เกิดภาพลักษณ์ ซึ่งจะนำไปสู่ชื่อเสียง (Reputation) ขององค์กรโดยจะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายก่อนว่าองค์กรจะมุ่งสร้างชื่อเสียงด้านใด และเฉพาะลูกค้ากลุ่มใด

การสื่อสารองค์กร (CPR) มีผลลัพธ์ทำให้องค์กรได้ประโยชน์ดังนี้

- Trust เนื่องจากการสื่อสารมีความสม่ำเสมอ

- Good Perception

การสื่อสาร ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จ จะต้องทำประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรให้สำเร็จก่อน โดยเริ่มต้นจากการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้นำขององค์กร

2. ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ยังมีประเด็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าฯ ในประเทศไทยว่าเหมาะสมหรือไม่

- ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร ,ประชาสัมพันธ์และการโฆษณา Branding

- ภาพรวมเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

- ความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ในอนาคต

- ภาพรวม โครงสร้างการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ในอนาคต

- ความเห็นของการผลิตไฟฟ้าจากภาคประชาชนผ่านทางองค์การ NGOs

- พล้งงานทางเลือก

- Global Warming

- ทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

1. ผู้นำกับการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร สิ่งที่ได้เรียนรู้ รับรู้ ในเรื่องของ Brand Image หรือบุคลิกภาพขององค์กร ต้องมีปัจจัยองค์ประกอบ ควรมี 3 ส่วน คือ

1.1 ผู้นำองค์กรต้องมี Vision ว่าคิดอย่างไร ทำอะไร และทำอย่างไร

1.2 ในเรื่องของข้อมูล Information Fresh + Fact + Fast + Follow up

1.3 ด้าน Public Communication Single Message + Strong Impact + Short + Simple + Sustainable

2. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้รับรู้ว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในโลกนี้มีกำลังผลิตรอบเท่าไร ,แบบหรือชนิด , นโยบายและการพัฒนาของภาครัฐ และแผนกับโครงการที่จะดำเนินการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่นำไปสื่อสารต่อให้กับเพื่อนร่วมงาน / สังคม

3. Social Innovation

- ได้รับ แง่คิดมุมมองจากหลาย ๆ มุมมอง ประโยชน์คือ Leader รับรู้ วิธีการบริหารความขัดแย้งที่ดี

1. รับรู้ปัญหา ข้อคิด มุมมองของ NGOs

2. ข้อคิด ข้อเสนอแนะ ทิศทาง การปกป้อง ป้องกัน การขัดแย้งทางสังคม จาก อ.ไพบูลย์ มีคุณประโยชน์คือ

"มีจุดร่วม สงวนจุดต่างๆ"

วารีรัตน์ สายสมบัติ

1. การเรียนรู้สิ่งใหม่ สามารถเกิดขึ้นในทุกนาทีของการสนทนาด้วยหัวข้อที่เห้นว่าธรรมดา ๆ จากข่าวหนังสือพิมพ์ โดยให้ประสบการณ์ หรือความรู้ของผู้สนทนา ต่อยอดความรู้ ให้แก่กันและกันได้ ทำให้ตระหนักได้ว่า การเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องยาก หรือต้องอาศัยกระบวนการยุ่งยาก ด้วยการนำเสนอในช่วง Morning Brief ของ ดร.จีระ ผู้ประสบการณ์ implement การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทีทำได้ทุกระดับตั้งแต่ส่วนเล็ก ๆ กลุ่มชนใหญ่ ๆ การเรียนรู้ การแสดงบทบาทของโค้ช ที่จะให้เรียนรู้ซึ่งกันและกันในประเด็นที่ไดต้าต่าง ๆ กัน

ในเรื่องของ Panel Discussion สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับผู้ปฏิบัติงานกฟผ. ซึ่งปัจจัยให้เกิดทัศนคติใหม่ในการทำงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้สังคม ทิศทาง มุ่งมั่น ความรับผิดชอบต่อสังคม บทบาทของผู้บริหารที่สำคัญยิ่งนอกเหนือด้าน Tecnic การแสดงบทบาท โค้ช

- ได้รับรู้ในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก เพราะปัจจุบันงานที่รับผิดชอบด้านกองโยธา + กองบริหารแล้วยังรับผิดชอบงานด้านมวลชน และชุมชนซึ่งต้องมีความรู้ในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไปเผยแพร่ ให้ประชาชนเข้าใจ

- ได้รับความรู้ในเรื่องของภาพลักษณ์ของผู้นำองค์กรต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจ และต้องมีบุคคลิกภาพดีอย่างไร วิทยากรได้ยกตัวอย่างหลายอย่างซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไป

- ในช่วงบ่ายได้รู้ถึงความเป็นผู้นำต้องมีหลัก 3 อย่างซึ่งทำให้คนเราได้ตระหนักยิ่งขึ้น

- สิ่งที่ได้รับรู้เป็นประโยชน์ ยิ่งในวันนี้คือการได้รับรู้แนวคิดของ NGOs ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนการทำงานของการรับรู้ของกลุ่มภายนอก ย่งที่รู้ได้ดียิ่ง คือ ให้รู้จักมองทุกอย่าง Positive ความอดทนของผู้บริหาร ทำให้รู้ว่ากฟผ.กับสังคมยังไม่ลงตัว ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. ต้องนำรหือหาแนวทางไปแก้ไข + ปฏิบัติให้เหมาะสม

ประกิจ ธวัชปรีดิพงษ์

- การแสดงความคิดเห็น / การกระทำให้ผู้อื่นรับทราบ / มองเห็นอยู่ประจำ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของแต่ละคน

- ภาพลักษณ์ขององค์กรสามารถสร้างให้ได้ตามวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร

- ความรู้ทางด้านเทคนิค และความเป็นมาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย และทั่วโลก เป็นทางเลือกหนึ่งของพลังงานของไทย

- ความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีส่วนร่วมและเข้าใจการได้สัมผัสกับกลุ่ม NGOx

เสณิต เจตนาวิชโมกข์

กฟผ.เป็นสังคมเปิด จึงมีความเกี่ยวข้อง/ผลกระทบ จากความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคมโลก กระแสของโลกาภิวัตน์ , การแข่งขัน , นโยบายการเมือง ,ภัยธรรมชาติ ,ชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อม กฟผ. จึงเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ผู้นำจึงมีบทบาทสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืน ผู้นำ จำต้องเป็นคนดี (มีคุณธรรม) , คนเก่ง (มีความสามารถ) , บริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม , มี Vision , ทำงานเชิงรุกมากกว่า Routine , ภารกิจของ กฟผ.คือ การจัดหา/ผลิต และส่งพลังงานไฟฟ้าให้พอเพียงด้วยความมุ่งมั่น "ไฟฟ้าไม่เคยหยุดรับใช้คุณ" และจะต้องก้าวไปพร้อม ๆ กับ ความสมดุลย์ของสังคม และสิ่งแวดล้อม โครงการต่าง ๆ ของ กฟผ. มีส่วนเกี่ยวข้องกับคนไทยทุกคน แต่ส่วนที่มีความใกล้ขิด และต้องให้ความสำคัญ คือรัฐบาล , ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย , ชุมชนสังคม และเอ็นจีโอ ปัญหาภายในองค์กร ความขัดแย้ง ต่าง ๆ ทำให้ขาดความสามัคคี ขาดพลังร่วม ที่จะผลักดันองค์กร ตัวอย่างหนึ่งของสาเหตุของความขัดแย้ง มาจากการแบ่งขั้วทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน คนในองค์กรน่าหลีกเลี่ยงที่จะคุยเรื่องการเมืองกัน เพราะจะทำให้นำไปสู่ความขัดแย้ง ปัญหาภายนอก ถูกคัดค้านในการดำเนินงานโครงการพัฒนาพลังงาน เป้นบทบาทที่สำคัญของผู้นำที่จะต้องกำหนดกลยุทธ์ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Communication) เพื่อให้กลุ่มคัดค้าน , สังคม ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ได้รับรู้รับทราบ ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ตรงกัน และมีส่วนร่วม เพื่อให้กฟผ.สามารถดำเนินกิจการไปได้ด้วยความเรียบร้อย

1. BARACK OBAMA

(ผู้แข่งขันเพื่อเป็นผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ) เขาเป็นวุฒิสมาชิก รัฐ Illinois เขาได้เปลี่ยนการเมืองของสหรัฐโดยนอกจากเป็นนักการเมืองที่มีผิวสีแล้ว ยังได้นำแนวคิดนอกกรอบมาเป็นหลักการในการทำงาน โดยมีคำขวัญในการหาเสียงว่า “CHANGE” ซึ่งถูกใจคนอเมริกัน มากมายตั้งแต่เด็กเล็กจนกระทั่งคนแก่อายุ 101 ปี

2. TONY BLAIR

(อดีตนายกรัฐมนตรี U.K.)

ในช่วงที่เป็นนายกประมาณ 10 ปี ที่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว เขายังเป็นผู้นำที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ โดยสามารถทำให้ U.K. เป็นหนึ่งใน ไม่กี่ประเทศที่ลด Greenhouse –gas emissions ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ และยังเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศ G8 ช่วยเหลือประเทศยากจน นอกจากนี้ เขายังได้ทำให้ความรุนแรงในการแบ่งแยกดินแดนไอร์แลนด์เหนือสงบลง ปัจจุบัน เขาได้ทำงานเกี่ยวกับสันติภาพในตะวันออกกลางและการลด Carbon emission

3. INDRA NOOYI

(ผู้บริหาร บริษัท Pepsi)

เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ด้านการบริหารและการตลาด ในปีที่ผ่านมา Pepsi โตขึ้น 22 % เธอแน่วแน่ที่จะเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ โดยผลิต Pepsi low fat ก่อนคู่แข่ง เธอให้ความสำคัญทั้งพนักงานและลูกค้าและยินดีรับฟังความเห็นที่แตกต่าง มุ่งมั่นทำงานเต็มที่ ถ้าเธอเห็นว่าดีที่สุด สำหรับบริษัท และผู้ถือหุ้น

4. STEVE JOBS

(ผู้บริหาร บริษัท Apple)

เขาเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จของบริษัท Apple ในยุคที่ 2 จาก i product บริษัทมีรายได้ปีละ 24 พันล้านเหรียญ มีพนักงาน 22,000 คน โดยหุ้น มีมูลค่าสูงกว่าปีก่อนถึง 70 % ถึงแม้ว่าเขาจะลาออกจากมหาวิทยาลัยก่อนเรียนจบเพื่อค้นหาตัวของตัวเอง โดยไปพเนจรอยู่ในอินเดียโดย ปราศจากเงิน เขากลับมาในธุรกิจเดิมใหม่ หลังจากได้พบตัวเองแล้ว เขาผลิตสินค้า I product มากมายที่ทันสมัยและถูกใจลูกค้ามากกว่าคู่แข่ง ความสำเร็จของเขาอยู่ที่กลยุทธ์ Focusing on his most profitable customers rather than chasing more market share

5. SUSAN SOLOMON

(นักเคมีด้านบรรยากาศ)

เธอเป็นนักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกที่ก่อให้เกิดเคลื่อนไหวเป็นรูปธรรมโดยการรายงานในปี 1980 เกี่ยวกับการวางตัวของชั้นโอโซนในบรรยากาศ โดยในปี 1986 และ 1987 เธอได้ทำการสำรวจอยากยากลำบากยิ่งแถบขั้วโลกใต้ และนำไปสู่การประกาศห้ามใช้ CFC (chlorofluorocarbon) ในเวลาต่อมา เธอมีบทบาทหลักในการผลิตรายงานซึ่งช่วยให้ชาวโลกเข้าใจในความรุนแรง ของความอบอุ่นของโลก เธอเป็นผู้ที่ทุ่มเททั้งกายและใจ เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีที่เธอมั่นใจว่าใช่อย่างที่เธอคิด และสุดท้ายโลกต้องยอมรับในความคิดของเธอ

1. Ram Charan call

leadership development,

the “Apprenticeship Model”

2. Identify leadership Talent

Early and Correctly

3. Talent identification-process

allows for the discovery of high

– Potential leaders at different

ages.

4. The Boss as Mentor

5. Leadership ability is developed

through practice and self –

correction.

6.Leader has to think of People

Acumen and Business

Acumen.

7. Don’t leave Leadership to

chance.

8. Development Paths that

allow for Leaps.

9. Keeping Track of Leader’s

Growth

10.Giving feedback and

coaching becomes part of

the boss’s routine work.

11. Deliberate Feedback

12. Dialogue as the Principal Tool

13.Keep expanding your

relationship and put yourself in

situations that require you to

network outside your comfort

zone and to lead a team.

14. Be sure you are looking at the

Big picture of the business.

15. Leadership can’t be taught in

a classroom, but educational

experiences, classroom

training can accelerate a

leader’s growth.

A .Leaders at all level.

B. Not every one can be

leader

Criteria ของ Time ในการเลือกบุคคล 100 คน

• คนที่สร้างแรงบันดาลใจ เป็นแบบอย่างที่ดีให้ทุกคน

• คนที่ทำงานเพื่อมนุษยชาติ โดยเฉพาะเรื่องสมองของมนุษยชาติ

• คนที่ทำงานเพื่อธรรมชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อม

• คนที่คิดนอกกรอบ

กลุ่มที่ 1 เลือก 5 คน

1. Dalai Lama คุณประสาท

2. Steve Jobs คุณชาตรี

3. Wendy Kopp คุณสุเทพ

4. Oprak Winfry คุณสุดารัตน์

5. Oscar Pistorius คุณวันชัย

สุดารัตน์ สาสุนีย์

-ได้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ HR ในระดับที่หัวหน้างานมีบทบาทต้องพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อองค์กรต่อไป

-ได้ทราบเรื่อง Renewable Energy ใน EU เพื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย

-ได้รับประโยชน์ในช่วงของ ดร.จีระ มากโดยเฉพาะ

1.การอ่านตำราภาษาอังกฤษ ช่วยให้มีโอกาสฝึกการอ่านหนังสือ

2.การนำความรู้มาแชร์กันระหว่างเพื่อน ๆ ได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน

3.ได้ฟัง Comment ของ ดร.จีระ ในจุดที่ควรปรับปรุง หรือ อาจารย์กระตุ้นให้พวกเรามีการพัฒนาทั้งการอ่าน การใช้ภาษาอังกฤษ การใช้ความคิด การพัฒนาประเด็นตัวอย่างต่าง ๆ การหาความรู้จาก Internet เป็นต้น

สุพจน์ เอื้ออารีโชค

-บุคลิกภาพของ 100 บุคคลแห่งปีของ Time ซึ่งแต่ละกลุ่มเลือกขึ้นมา

-เรียนรู้ยุทธศาสตร์การบริหารคนและการพัฒนาประสิทธิภาพของคน

เผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์

1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคน และบริหารประสิทธิภาพคน โดยเฉพาะหลักความจริง 10 ประการที่ทำให้การพัฒนาคนมีประสิทธิภาพ

2.Renewable Energy ของ EU ทำให้ทราบว่ากลุ่มประเทศ EU มีการคำนึงถึงเรื่อง CO2 Emission, CDM ,GSE ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมโลกและตั้งใจแก้ไขและลงทุนในสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างมาก

3. การนำเสนอ ภาวะผู้นำแบบ RAM CHARAN ให้ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ฟังของกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม พร้อมทั้งเลือกบุคคลที่นิตยสาร Time ขึ้นปก 100 คน และให้แต่ละกลุ่มเลือกประมาณ 5 คน / กลุ่ม แต่มีข้อสังเกตปีนี้ไม่มีคนไทยอยู่ใน 100 คนของ Time Magazine เลย

ความเข้าใจถึงความสำคัญของการ Coaching ในการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน การฟังที่ดี การอ่าน และการหาข้อมูล เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่ผู้บริหารหรือ ผู้นำต้องให้ความสำคัญ และควรปฏิบัติเป็นปกติวิสัย

วินัย พิพัฒน์สุริยะ

ได้ทราบถึง CDM เพื่อลดภาวะโลกร้อน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในชาติของทั้งดลก ไม่ใช่ชาติใดชาติหนึ่งที่พึงกระทำ

พบว่ามีแนวทางที่ดีหลาย ๆ ด้าน จากการเลือกผู้ที่เป็นหนึ่งในร้อยของ Time 100 ซึ่งแต่ละคน จะมีความดี ความสามารถในแต่ละด้าน นอกจากนั้นยังสามารถช่วยเหลือผู้ยากจนที่คอยความช่วยเหลือ ตามที่ต่าง ๆ ในโลกที่จะอยู่และคอยช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน

พลฤทธิ์ เศรษฐกำเนิด

-บทบาทสองผู้นำจะต้องดูแลคน หรือลุกต้องตนเองด้วย ถือเป็นภารกิจหลัก

-แนวโน้มการบริหารคนในอนาคตจะมีหลากหลายและมีตัวแปรที่มากระทบมากมาย เช่นในเรื่องแนวความคิดของคนแต่ละยุค

-เรืองพลังงานและสิ่งแวดล้อมของยุโรปจะมีบางประเด็นที่มีผลกระทบกับไทยหลายเรื่อง เช่นเรื่อง Energy - Use Product (Eup) รัฐบาลไทยควรเตรียมให้ความรู้ Exporter ให้เตรียมสินค้าที่จะต้องผ่านเงื่อนไขตาม Eup ไว้แต่เนิ่น ๆ มิเช่นนั้น อนาคตอาจจะขายในยุโรปไม่ได้

-ผู้บริหารกฟผ.ที่เข้าอบรมรุ่นนี้ มีความสามารถหลาย ๆ คน สามารถนำเสนอได้ดี และมีมุมมองที่หลากหลาย

สกนธ์ เปี่ยมสวัสดิ์

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และแนวของการพัฒนาผู้นำตามแนวทางของ Ram Charan ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคคลในกฟผ.ได้

2. การพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์พลังงานของโลกในปัจจุบัน

วิบูลย์ พงศ์เทพูปถัมภ์

-ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารประสิทธิภาพของคนในองค์กร

-Alternative Energy

-มีการฝึกการนำเสนอ LEADERS AT ALL LEVEL และเลือกผู้นำจาก 100 คน มานำเสนอแต่ละกลุ่ม

สุรพงษ์ คลอวุฒิเสถียร

-ได้เรียนรู้ว่าการพัฒนาคนในองค์กร จะต้องปรับให้ตรงกับแต่ละยุค แต่ละสมัย ตามความเปลี่ยนแปลงของโลก

-ได้เรียนรู้ การใช้พลังงานทางเลือกในกลุ่ม EU เพื่อเป็นมุมมองในการพัฒนาพลังงานทางเลือกของประเทศในอนาคตที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมด้วย

-ได้เรียนรู้ที่มาของ Leader ของโลก ว่ามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เพื่อเป้นแนวทางในการเลือกหรือพัฒนาตัวเองเพื่อความเป็นผู้นำในอนาคต

ชัยวัฒนา พุกกะณะสุต

-ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารประสิทธิภาพของคนในองค์กร

1.TRUST = C.C/R C1=Caring ขอเพิ่ม C3 คือ Creative ด้วย

C2=Credit

2.People Make Business Results Happen

เป็น Flow Chart ที่มีประโยชน์และนำไปใช้งานได้จริงๆ เพราะเวลาที่เราต้องการความสำเร็จ เรามิได้คำนึงถึง 2 ประเด็นเลย คือ People Requirement และ Employee Needs เพื่อจะได้ People Strategy ต่อไป

- Alternative Energy for Egat, Example in Asia and EU

1. ได้รับรู้โครงการต่าง ๆ ของภายในประเทศและ Asia

2. ได้รับรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ กฎหมาย และแผนที่จะลด Co2

3. การถามตอบคำถามทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น

- กฟผ. กับเส้นทางสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

1.ได้ระดมความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด และข้อมูลเพิ่มเติม

2.ทำให้รับรู้ว่าผู้นำแต่ละรูปแบบ โดยผู้นำนั้นอยู่ทุกสถานที่,หน่วยงาน ,องค์กร แต่รอโอกาสและเวลาที่จะออกมาแสดง

อุดม อุดมทรัพย์สันติ

ในช่วงเช้าของวันนี้ได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารประสิทธิภาพของคนในองค์กร โดยคุณพจนารถ ซีบังเกิด ทำให้เข้าใจหน้าที่ของผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็น HR Manager และเป็นผู้คอย Coach ให้ลูกทีมมีจิตใจหึกเหิม เกิดประสิทธิภาพในงานและสร้างความสัมพันธ์ในทีม ซึ่งการบริหารในปัจจุบันนี้ไม่สามารถบริหารในระบบเดิมได้อีกแล้ว เนื่องจากโลกวันนี้ปรับตัวเร็วและมีคนใน Genertion ต่าง ๆ ซึ่งมีกรอบความคิดไม่เหมือนกัน ดังนั้นการบริหารคนเหล่านี้ก็ต้องปรับปรุงให้เหมาะกับคนกลุ่มเหล่านี้

ส่วนในบ่ายนี้ ก็ได้รับรู้แนวทางการดำเนินการด้าน Alternative Energyใน EU และ Session จัดมาก็เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้การบริหารแบบ Apprentices Model ของ Ram Charan และผู้นำทางความคิด จุดประกายกับคนทั่วโลก

-แนวคิดการพัฒนาคน

-บทเรียน Alternative Energy ใน EU

-การบริหารคนที่มึความแตกต่างทางความคิด/พฤติกรรม

เทอดศักดิ์ เลิศวัฒนาเกียรติ

1.ความรู้ทางด้านการบริหารงานบุคคล การลริหารและพัฒนาบุคลากรในองค์กร

2.ยุทธศาสตร์พลังงานของยุโรป และทั่วโลก

3.การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สัวคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างโรงไฟฟ้า

4.CDM Clean Development Mechanism ของพลังงานโลก

5.แนวความคิดของ Ram Charan ในการคัดเลือกผู้นำ (Leadership)

วิวัฒน์ ชาญเชิงพานิช

เรียนรู้ หลักการ พัฒนาคน และพัฒนาประสิทธิภาพของคน เรียนรู้ที่จะแบ่งประเภทคน และรู้จักที่จะร่วมทำงาน กับคนสมัยใหม่ ใน Gen-X และ Gen-Y

เรี่ยนรู้ในเรื่อง GHG และพลังงานทดแทน ,พลังงานนิวเคลียร์

กิจจา ศรีพัฑฒางกูร

1.เรียนรู้กลยุทธ์ในการพัฒนาและบริหารประสิทธิภาพของคน เพื่อให้องค์กรอยู่รอดในภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

2.รับทราบข้อมูลสถานภาพเรื่อง Renewable Energy ของทางยุโรปตลอดจนเป้าหมายต่าง ๆ ทางด้านพลังงานของทางยุโรป และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้กับวิทยากร

1.ได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาตร์ของการพัฒนาและการบริหารประสิทธิภาพของคนในองค์กร แนวความคิดของ HR Manager การทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของกลุ่มคนทั้ง 4 กลุ่ม

2. ได้รับทราบแนวคิดของการประยุกต์ใช้พลังงานทางเลือกของ EGAT โดยมีตัวอย่างจากที่อื่นใน ASIA และ EU

3. การ Present ของแต่ละกลุ่ม ให้แนวคิดที่ดีเกี่ยวกับ Concept และกระบวนการพัฒนาLeader ในแนวทาง Apprentice Leadership ของ Ram Charan รวมไปถึงการวิพากษ์ และคัดเลือก Time 100 The World's most influential people.

Innovation สามารถทำให้ทุกคน และไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหม่ สุดยอด เพียงแต่ให้มีการปรับปรุง ต่อยอดจากเดิม ที่ที่มาเป็น Innovation ได้ ซึ่งอาจจะทำให้คนมีกำลังใจในการคิด Innovation

Innovation สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ

1. Implementation

2. Evolution

3. Revolution

สุรพงษ์ รังษีสมบัติศิริ

-ได้ทำความเข้าใจกับยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารประสิทธิภาพของคน รวมถึงการประสานการทำงานระหว่างคน 4 generation และ generation ใหม่ที่กำลังเข้ามาทำงาน

-รับรู้ การใช้ Renewable Energy และแนวทางแก้ไขด้านพลังงานของทางEU

- การคัดเลือก Time 100 The World's most influential people.แนวความคิดของผู้เข้าอบรมในการเลือก Leadership

ขอชมเชยประธานเผ่าพงษ์ รองประธาน คุณชัยวัฒนา และคุณสุดารัตน์ และทีมงานทุกท่านที่กรุณาสนใจช่วยผมบริหาร รุ่น 4 และโดยเฉพาะได้แนะนำทีมงานของผมด้วย ให้เขามีส่วนร่วม อยากให้มีการเสนอ ideas ใหม่ ๆ เข้ามาใน Blog ขอขอบคุณคุณสุทัศน์ด้วยที่กรุณามีส่วนร่วมใน Blog และเรียนคุณสุทัศน์ว่า รุ่น 4 มีความสามารถสูง เขาเน้นการทำงานเป็นทีมและผมได้เรียนรู้จากทุกท่าน ต้องขอต้อนรับผู้แทนจากกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานด้วยครับ

ผมจบด้วยการเล่าบรรยากาศให้ว่าเมื่อวันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา ผมบินไปเวียงจันทร์ ประเทศลาว กฟผ.มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลาวเรื่องพลังงาน แต่ควรจะเข้าใจเรื่องความลึกซึ้งในด้านวัฒนธรรม ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ผมอยากไปทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ลาวหลายเรื่อง แต่รัฐบาลเขามักจะไม่ไว้ใจคนไทยนัก แต่ไปคราวนี้ผมทำสำเร็จด้วยคำพูดนิดเดียว ผมพูดว่าประเทศไทยจนกว่าลาวเรื่องหนึ่ง เขาถามผมว่าจนเรื่องอะไร ผมบอกคนไทยจนเรื่องการรักษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่ดีไว้ ไทยจะเน้นการพัฒนาแบบเร็ว และขาดการมองผลกระทบต่อวัฒนธรรมที่ดี ๆ ไว้

จีระ หงส์ลดารมภ์

นายเผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์

เรียน

        ผู้บริหาร โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย กฟผ.”  EADP 4

             วันนี้ ( 5 มิถุนายน 2551 ) เวลา 15.20 น.   ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   ได้โทรศัพท์มาหา คุณเผ่าพงษ์ เต็มสัมฤทธิ์   แจ้งว่า งานเลี้ยงเมื่อคืนวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 เรียบร้อยดีใช่มัย  อาจารย์ฝากขอบคุณสมาชิก EADP 4 ทุกท่าน  ที่ช่วยทำให้งานราบรื่น   และ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   ต้องขอโทษ ทุกคนด้วย    เนื่องจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2551  อาจารย์เดินทางกลับมาจากภาคใต้ ถึงกรุงเทพฯ เวลาประมาณ 21.00 น.   จึงดึกเกินไปที่จะไปร่วมงานสำหรับเรื่องที่ พวกเรา EADP 4  ที่อาจารย์ท่านยังไม่ได้สัมภาษณ์   ก็จะขอใช้เวลาที่ เมือง Perth คาดว่าเวลา 7 วัน ที่  Australia  น่าจะได้สัมภาษณ์ทุกท่าน    ซึ่งอาจารย์ท่านเองจะทุ่มเท เวลาทั้ง 7 วันให้กับพวกเรา

            สุดท้ายนี้  อาจารย์ฝากบอกพวกเราทุกคน  พร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ  เวลา 05.30 น.  วันที่ 8 มิถุนายน 2551  

                      เผ่าพงษ์  เต็มสัมฤทธิ์

                        5 มิถุนายน 2551

 

 

พลังงานอนาคต future Energy

Oil, Gas, Renewable, Nuclear

โดย Professor of Economics Anthony Dowen

Curtin University of Technology

ศาสตราจารย์โอเวน ได้กล่าวถึงการใช้พลังงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องน้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ ถ่านหิน และ พลังงานอื่น ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2002 – 2006 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประเทศจีนใช้พลังงานมากที่สุดแต่ก็มีแนวโน้มที่จะใช้พลังงานลดลง และประเภทของพลังงานที่ใช้ส่วนมากก็คือ ถ่านหิน ก๊าชและน้ำมัน ตามลำดับ โดยที่พลังงานหลักที่ใช้จะมาจากถ่านหินเป็นลำดับหนึ่ง พลังงานจากน้ำเป็นอันดับสองและจากถ่านหินเป็นลำดับหนึ่ง พลังงานจากน้ำเป็นอันสอง และจากก๊าชธรรมชาติเป็นอันดับสาม ส่วนราคาของแหล่งพลังงานเหล่านี้มากที่สุดคือ น้ำมัน ก๊าชธรรมชาติและต่ำสุดคือถ่านหิน

นอกจากนี้ศาสตราจารย์โอเวนยังได้กล่าวถึงปริมาณสำรองน้ำมันของโลก ซึ่งมีการศึกษามาตั้งแต่ปี 1983 จนถึง 2006 จะพบว่าปริมาณสำรองน้ำมันยังไม่ขาดแคลนคิดว่ายังมีกว่า 1300 ล้าน ล้าน บาร์เรล และคาดว่าจะสามารถใช้ได้ถึง 40 ปี ในขณะเดียวกันยังไดกล่าวถึงราคาน้ำมันของโลกว่ามีการปรับราคาน้ำมันมาอย่างต่อเนื่อง จาก 20 เหรียญสหรัฐ ต่อบารเรล ในเดือนพฤษภาคม 1987 จนมาถึง 120 $ ในเดือนพฤษภาคม 2008 และคาดว่าจะขึ้นไปอีกจนถึง 150 $ ต่อบาร์เรลในเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจากภาวะน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้จะทำให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการต้องการที่จะใช้น้ำมัน ภาษีน้ำมัน และการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการค้นหา น้ำมัน และสร้างพลังงานด้านอื่น ๆ มาทดแทน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่เคยมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่เหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจในอดีต (Backstop technologies) เพื่อนำกลับมาใช้ ร่วมกับการหาแหล่งพลังงานใต้ทะเทลึก ๆ เช่นในอ่าวเม็กซิโก , อัฟริกาตะวันตก และชายฝั่งประเทศบราซิล เป็นต้น รวมทั้งแหล่งพลังงานที่น่าจะเป็นไปได้ เช่น Heavy Oil, Bitumen และ Oil sand เป็นต้น

ศาสตราจารย์โอเวน สรุป ตอนท้ายด้วยเรื่องราคาของแหล่งผลิตพลังงานต่าง ๆ เช่น ถ่านหิน ก๊าชธรรมชาติ, พลังน้ำ พลังใต้พิภพ พลังงานแสงแดด นิวเคลียร์ ฯลฯ รวมทั้งได้นำเสนอการทำนายราคาขอโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ จาก หน่วยงานต่าง เช่น จากสมาคมนิวเคลียร์ของคานาดา มหาวิทยาลัยชิคาโก และ MIT เป็นต้น

Climate Change and Its Impact on Electricity Technologies

โดย Professor Antony D Owen.

ศาสตราจารย์โอเวน ได้นำเสนอการไหลของความร้อน (Heat Flow) ผ่านชั้นบรรยากาศต่างๆ ของโลกเพื่อแสดงถึงภาวะโลกร้อน รวมทั้งได้แสดงถึง การปล่อยก๊าชเรือกระจกที่แสดงให้เห็นว่า มีก๊าชเรือนกระจกถูกปลดปล่อยออกมาเป็นจำนวย 21.3 % จากแหล่งผลิตพลังงานต่าง ๆ ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากแหล่งผลิตพลังงานประเภทต่าง ตั้งแต่ ปี 1850 – 2004 ซึ่งจะเห็นว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง (1950) ได้มีการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อการเกิดภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในช่วงปี 1950 เป็นต้นมา

ศ.โอเวน ยังได้พูดถึง Externalities ที่เกิดจากการใช้พลังงานที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและความเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดจากการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก รวมทั้งแนวทางของการคำนวณ ความเสียหายต่าง ๆ โดยใช้ หลักการ life Cycle Analysis : LCA

นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงระดับการจัดการมลพิษที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจและช่วงของค่าใช้จ่ายของ External Cost ของเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตแบบต่าง ๆ ท้ายที่สุดได้แสดงเทคโนโลยีที่ออสเตรเลียใช้ในปัจจุบัน และคาดว่าจะใช้ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ CCS ในการวิเคราะห์ของก๊าชเรือนกระจกอย่างครบวงจร และชี้วัดผลกระทบ Long Run Marginal Cost : LRME ของราคาคาร์บอน

Externalities เป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ ที่มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อมและมีผลกระทบต่อสุขภาพและการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก

Paradigm Shifts in the Corporate Culture of the Electricity Industry

โดย Dr.Lynne Chester

ดร.ลีน เชสเตอร์ ได้นำเสนอภาพกว้างของการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไฟฟ้า โดยเฉพาะกระบวนทัศน์ใหม่ในด้านการแข่งขันและด้านการปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรเอกชน การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในอารยประเทศ เช่น รัสเชีย คานาดา อังกฤษ ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลง นี้จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว และการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว

นอกจากนี้ ดร.ลีน ได้พูดถึง อุตสาหกรรมไฟฟ้าในออสเตรเลียจะเป็นลักษณะ Trading pool คือ บริษัทผู้ผลิตไฟ้ฟ้าทุกบริษัทจะถูกส่งมารวมที่นี่โดยมีรัฐบาลเป็นผู้จัดการ จำหน่ายและให้บริการ แต่เพียงผู้เดียวสำหรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการแข่งขันนั้นจะประกอบด้วยการลดการสนับสนุนควบคุมจาก รัฐบาล เพื่อตลาดเสรีที่คาดหวังว่า ราคาในท้องตลาดจะลดลง และเพิ่มการลงทุนมากขึ้น

ดร.ลีนได้ให้หลักในการปรับเปลี่ยนใน 3 ประเด็น ดังนี้

1. การแยกส่วน De-integration อันเป็นการแยกส่วนในแนวดิ่งนั่นคือ แยกส่วน ของการผลิตและการจำหน่ายปลีกออกจากสายส่งและการกระจาย (Transmission and distribution) รูปแบบการแยกนั้นได้แก้ ด้านบัญชีกฎหมาย การเป็นเจ้าของ

2. การจัดการและรูปแบบโครงสร้างองค์กร

2.1 การจัดการ จะประกอบด้วย การทำแผนองค์กรและแผนธุรกิจ การวัดการประกอบการ การลงทุน ต้นทุนในการดำเนินการ บรรทัดฐาน การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การบัญชี และรายงานอัตราส่วนของคืนทุน

2.2 รูปแบบโครงสร้างองค์กร ประกอบด้วยรูปแบบของโครงสร้างองค์กร เช่น Commercialization, Corporatisation Privatization, Corporate governance and Itoldingsubsidary company

3. กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการค้าส่ง การผูกขากด้านสายส่งและการกระจาย ธุรกิจค้าปลีกที่รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ท้ายที่สุดนั้น ดร.ลีนได้สรุปถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลกระทบต่อ การดำเนินงานของบริษัทไฟฟ้าในด้านขนาดของบริษัทขนาดและลักษณะของการดำเนินการ ความสัมพันธ์ทางการค้าในรูปแบบใหม่ การวางแผนและการงบประมาณ ผู้ถือหุ้น การจัดการและการรายงานผลประกอบการ เทคโนโลยีข่าวสารและการติดต่อ ทักษะของพนักงานการเรียกเก็บค่าบริการ การร้องเรียน รูปแบบการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ความแน่นอนของการผลิตและบริการและความโปร่งใสด้านข้อมูลสาร

Change Management Case Studies of Australian Electricity Industry

by Dr.Lynne Chester

ดร.ลีนได้กล่าวถึง การจัดการการเปลี่ยนแปลง ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าของออสเตรเลียในเรื่องของธุรกิจการค้าส่ง การแข่งขันในตลาดค้าปลีก กฎเกณฑ์ของการแข่งขันและกิจกรรมผูกขากต่าง ๆ รวมทั้ง การปรับเปลี่ยนต่าง ๆ ในช่วงของการเปลี่ยนถ่าย

ธุรกิจการค้าส่ง

ตลาดค้าส่งด้านไฟฟ้าของออสเตรเลียจะประกอบด้วย 5 รัฐและ 1 เขตแดน เครือข่ายไฟฟ้าแรงสูงยาวที่สุดคือ 4000 กิโลเมตร และมีผู้ที่ลงทะเบียน 131 ราย (มิ.ย.2008) ธุรกิจการค้าส่งนี้เกี่ยวพันกับเทคโนโลยี ความต้องการของตลาดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมประกอบการ กรอบของการจัดการความเสี่ยงและอำนาจและทักษะในการทำการค้า

การแข่งขันในตลาดค้าปลีก

การดำเนินธุรกิจอยู่ในตลาดที่ใหญ่มากที่ต้องมีระบบคู่ขนานจนกระทั่งผู้บริโภคมีทางเลือกและมีราคาตามกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า รวมทั้งระบบการวัดและการเก็บค่าบริการ

กฎเกณฑ์ต่าง ๆ

เป็นกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ

1. กิจกรรมการแข่งขันกฎหมายทางไฟฟ้าแห่งชาติ ข้อตกลงการทำการค้ากรรมาธิการด้านด้านการแข่งขันและผู้บริโภคของออสเตรเลีย กฎเกณฑ์ทางพลังงานของออสเตรเลีย กฎเกณฑ์ของหน่วยงานของรัฐ

2. กิจกรรมผูกขาด เช่น ด้านสายส่ง การกระจาย กฎเกณฑ์ของอัตราส่วนการคืนทุน การค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนมาเป็นกฎเกณฑ์ของการรวมศูนย์

3. การถ่ายโอนที่เป็นกฎเกณฑ์และไม่เป็นกฎเกณฑ์ เช่น การทดสอบหรือทดลองใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ

ปรับเปลี่ยนในช่วงการเปลี่ยนถ่าย ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนในด้านสัญญาต่าง ๆ การยกเว้นภายใต้กฎหมายด้านไฟฟ้าแห่งชาติ การแข่งขันในการค้าปลีก ตัวอย่างการถ่ายโอนของรัฐนิวเซาล์แวล และควีนแลนด์

การนำไปใช้ประโยชน์

การจัดการการเปลี่ยนแปลงนี้จะสามารถนำไปใช้ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- โครงสร้างองค์กร

- ธรรมาภิบาลขององค์กร

- การรายงานด้านการจัดการและการประกอบการรวมทั้งรายงานบัญชี

- การวางแผนเชิงกลยุทธ์และแผนธุรกิจ

- แรงงาน

- เทคโนโลยีข่าวสารและการสื่อสาร

- การจัดการลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

การจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าเป็นผลสำเร็จจะต้องประกอบด้วย

1. ความเข้าใจอย่างดีเกี่ยวกับความจำเป็นของการจัดการอย่างระมัดระวังที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์กร เพราะหลายโครงการของการเปลี่ยนแปลงที่ล้มเหลวนั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้เกิดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง การขาดการดำเนินการและการจัดการที่มีประสิทธิภาพจากผู้บริหารระดับอาวุโสและการคาดหวังที่ไม่สามารถเป็นจริงได้

2. การเปลี่ยนแปลงจะสามารถดำเนินการได้ถ้าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ร่วมงานหลัก ๆ

- พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง

- มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนกับผลของการเปลี่ยนแปลง

- มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการการเปลี่ยนแปลง

- มีทรัพยากรที่พอเพียง

- มีองค์กรที่มีศักยภาพที่พอเพียงกับการเปลี่ยนแปลง

- มีแรงกระตุ้นพอเพียงสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องในการทำการเปลี่ยนแปลง

- มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุก ๆ เรื่องของการเปลี่ยนแปลง

มาแอบดูรูปพ่อ พ่อนู๋หล่อ เอิ๊กๆ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท