กฟผ.รุ่นที่ 5


กฟผ.รุ่นที่ 5

            ผมภูมิใจมากที่ตั้งแต่วันที่ 10-19 มิถุนายน 2552 นี้จะได้เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันกับกฟผ.พัฒนาผู้นำระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีกประมาณ 40 คน  ซึ่งในสภาพเศรษฐกิจโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน  ภาวะโลกร้อน การเมืองขัดแย้ง ราคาพลังงานขึ้นๆลงๆ  ผู้นำที่กฟผ.ต้องพร้อมที่จะปรับตัวอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ระดับผู้ว่าการไกรสีห์ กรรณสูตได้เริ่มมาแล้วเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ตามด้วยผู้ว่าการสมบัติ ศานติจารี ต่อเนื่องมาจาก 2 ปีที่แล้ว แถมลูกศิษย์ทุกคนที่จบไปแล้วก็ยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดคือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันความรู้ตลอดเวลา

            สำหรับลูกศิษย์รุ่นที่ 5 ก็ขอต้อนรับเข้าสู่การเรียนรู้ใน 8 วันเต็มๆ และหวังว่า บรรยากาศจะทำให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและสร้างความรู้ใหม่ๆที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

            ลองนึกย้อนกลับไปรุ่น 1-4 หลายท่านได้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในการงาน อาชีพดี และมีคุณภาพในการทำงานให้องค์กร

            อนาคตของกฟผ. ก็อยู่ในมือของทุกๆคนที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ความสมดุลและความยั่งยืน

            มาร่วมมือกันครับ และ work hard และ play hard จุดประกายความคิดร่วมกัน

 

                                                                                  จีระ   หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยกาศ วันที่ 10 มิถุนายน 2552

  ภาพบรรยากาศในการทำ Workshop

 

 

 

กลุ่มที่  2 เรื่องการพัฒนาคนในองค์กร HR ความต้องการของ non HR ว่าต้องการอะไร ไม่ใช่พัฒนาสิ่งที่คิดว่าใช่แต่ความจริงแล้วไม่ตรงจุด และให้ผู้บริหารมองความต้องการในการพัฒนาทั้งสองฝ่าย

กลุ่มที่  3 เรื่องความรักในองค์กร เพราะทำให้ชีวิตที่มีสุขและสมบรูณ์แบบตั้งแต่เรื่องการทำงานและเรื่องครอบครัว ทั้งด้านสวัสดิการและชีวิตหลังเกษียณ (Work Life Balance)

 

 

 

 

 

ภาพบรรยากาศการบรรยาย เรื่อง คิดแบบผู้นำ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

 

กลุ่มที่ 5 การสร้างองค์แห่งการเรียนรู้ EGAT มีบุคลากรที่มีความสามารถหลากหลายสาขา

กลุ่มที่ 1 ความผูกพันในองค์กรกับบุคลากร

กลุ่มที่ 6 การพัฒนาคน ระดับหัวจะได้โอกาสในการพัฒนาที่ดีกว่า อยากให้มีความเท่าเทียบกัน

กลุ่มที่ 4 การสื่อสารภายในองค์กร ระหว่างเจ้านายกับเจ้านาย และเจ้านายกับลูกน้อง

กลุ่มที่  7 ให้ใช้ความรู้แบบบูรณาการ โดยมีความรู้ครอบคลุมเริ่มจากการวางแผน งานก่อสร้าง งานปฏิบัติการ งานบริหารจัดการเพราะมิติมีวงจรเชื่อมโยงกัน

สรุป Work shop ว่าได้อะไรจากการฟังบทสัมภาษณ์คุณพารณ อิศรเสนา (ใช้ภาพนำแสดง)

คำสำคัญ (Tags): #กฟผ.
หมายเลขบันทึก: 266888เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2009 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (171)
ชนินทร์ อารีพิทักษ์

แค่ช่วงเริ่มแนะนำตัว ก็รู้สึกสนุก ไม่เครียด และได้รับความรู้อย่างซึมซาบ

ความคาดหวังของผู้เข้ารับการอบรม

§       เห็น Course Outline แล้วก็คิดว่าน่าจะได้ความรู้ที่ทันสมัย

§       อยากเรียนรู้ว่าจาก ผอ.กอง ไปสู่ ผช.ฝ่าย จะต้องพัฒนาหรือทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง

§       รู้สึกประทับใจอาจารย์แม้ว่าไม่เคยได้รู้จักมาก่อน ก็คิดว่าการเรียนในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์

§       เห็นหัวข้อที่จะเรียนแล้วก็รู้สึกว่าน่าจะได้รับความรู้ที่กว้างขึ้นทั้งเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งก็คงจะเป็นประโยชน์

§       Outline ที่อาจารย์ให้แตกต่างจากการจัดการทั่วไปและก็หวังว่าจะเป็นแบบ Two – ways Communication ซึ่งคงจะเป็นประโยชน์มาก

§       คาดหวังจะได้องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์

§       อยากได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากอาจารย์ความรู้สึกมีทั้งตื่นเต้นดีใจและกังวลใจกับงานประจำที่ยังค้างอยู่

§       อยากจะได้ความรู้ไปสู่ชุมชน มีความรู้ที่ทันคนอื่น ให้ความรู้แก่ผู้อื่น สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร ถือเป็นโอกาสที่ดีและจะรีบตักตวงความรู้

§       เห็น Course Outline แล้วคิดว่ามีประโยชน์ที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

§       ดีใจที่ได้มาเรียนรู้ใหม่ ๆ จากอาจารย์ และการเรียนรู้จากผู้อบรมด้วยกันเอง

§       อยากได้ความคิดที่จะเอาไปใช้ในการจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

§       คิดว่าจะได้รับการ Share ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่กฟผ ยังขาดอยู่ ปัจจุบันมีอุปสรรคในการทำงานมากถ้าเราได้แบ่งปันความรู้ก็จะทำเราทำงานได้ดีขึ้น

§       ดีใจที่อาจารย์บอกว่าจะทำให้พวกเราสนุกกับการเรียน สิ่งที่อยากได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ Connection ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตก่อนที่จะเรียนเคย work hard แต่กลับไป Work smart

§       อยากได้ความรู้และแนวคิดไปใช้ในการทำงานร่วมกับชุมชน

§       คิดว่าจะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์และอยากเสนอให้ถ้าเป็นไปได้น่าจะจัดสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่อไม่ให้เกิดความกังวลเรื่องงาน

§       อยากได้ความรู้ด้าน HR ทั้งศาสตร์และศิลป์ซึ่งก็อยากจะขอให้อาจารย์แนะนำด้วย

 

ยงชัย จันทร์เลิศฟ้า 081 8212542

ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม

 ความสำเร็จขององค์กรคือการพัฒนาคน

นายโชติรส เสนาวัฒนา

02-436-3201 , 081-612-5961

บรรยากาศและวิธีการสอน เหมาะสมกับผู้เข้าสัมมนา เพราะในการกระตุ้นและจูงใจให้เกิดบรรยากาศของความมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนทัศนคติ

 

นายอุดม ปัญจพันธ์พงศ์ 089-810-5649

การได้รู้จักกันมากขึ้น จึงจะมีผลต่อการปฎิบัติงานได้ และวางแผนสำหรับ กฟผ. ในอนาคต

วีระชัย ไชยสระแก้ว 081-615-8448

การสร้างบรรยากาศ Learning Forum ทำให้ชั้นเรียนกระตือรือร้นในการเรียนและให้ความสนใจในการเรียน และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ร่วมโต๊ะ

นายอัมพร แสงสุกดี 084-5557451

เริ่มต้นการสร้างบรรยากาศเพื่อเข้าสู่การอบรมได้อย่างเป็นธรรมชาติ สุดท้ายได้แนวคิดในการจัดการงานบุคคล

อภินันทร์ บุญญเศรษฐ์ 081-9890878

วันนี้เป็นการกระตุ้นให้เสาะหาความรู้ต่อไป

เมื่อตอนกลางวันเข้าไปดู Blog เห็นรูปตอนเปิดงานแล้ว

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับหลาย ๆ คน

ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก

สันติชัย โอสถภวภูษิต

เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ (ใฝ่รุ้) ทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น จะได้ทันโลกทันเหตุการณ์

สันติชัย โอสถภวภูษิต 089-4476989

เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ (ใฝ่รุ้) ทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น จะได้ทันโลกทันเหตุการณ์

นายปราโมทย์ แย้มอยู่ 081-623-4241

รู้สึกมีความสุขสบาย มีความกันเองในการอบรมระหว่างอาจารย์กับผู้อบรม ไม่มีความเครียด ได้รับความรู้จากประสบการณ์ที่มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ดี

รณชัย ศรีสำราญ 081-1735001

ได้มุมมองเรื่อง HR ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

วิจิตรา ม่วงมีสุข 081-615-0354

ได้รับความรู้และแนวคิดในเรื่อง การพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดในองค์กร ซึ่งเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และหวังให้ กฟผ. ได้มีการนำสิ่งที่ได้นำทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์ไปใช้ให้เกิดผลปฎิบัติอย่างจริงจังในกฟผ. และเกิด Value มาก ๆ

เป็นการได้เปิดวิสัยทัศน์ของตัวเอง ให้มองโลกในแง่มุมที่กว้างขึ้นไกลขึ้นโดยเฉพาะเรื่อง HR

นางแก้วตา ชาญชัยศรีสกุล 081-914-9919

การบริหารคน ด้วย "ใจ"

ไชยา ทิพย์มาบุตร 089-8943128

ได้ทราบแนวการคิดของเพื่อนและพี่ผู้เข้าร่วมอบรมหลากหลายคาดว่า สามารถมาพัฒนา แนวคิดของตนเองได้

นายภัทรพงศ์ เทพา 081-625-8343

ผลที่ได้ในวันนี้

ได้รับการจุดประกายทางความคิดหลังจากเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ จากท่าน อาจารย์จีระ

ชนินทร์ อารีพิทักษ์ 089-486-4187

เป็นการสอนให้ทุกคนมีการพัฒนาตนเองให้ทุกคนรักการเรียนรู (Learn as we go)พร้อม ๆ กับการทำงาน

จรรยง วงศ์จันทร์พงษ์ 081-343-0854

พนักงานเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าขององค์กรและต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มคุณค่าในตัวพนักงานให้มากขึ้น

นางจารุณี พิมมะรัตน์ 083-8265556, 02436-5701

บรรยากาศการอบรมที่อาจารย์จะคอยกระตุ้นให้เกิดการใฝ่รู้ การให้ความสำคัญ เช่น พูดว่า "พวกท่านทุกคนมี wisdom" ให้เกิดการอยากเรียนรู้

เยาวลักษณ์ โหตรภวานนท์ 089-924-1490

"ทุกข์ - สุขอยู่ที่ทัศนคติของการคิด"

ชาญณรงค์ ระพัดวรนิชย์ 081-755-1726

ฟังอาจารย์บรรยายแล้วทราบว่า รู้อะไรรู้ให้จริงแล้ว จะมีความมั่นอกมั่นใจมาก สง่าผ่าเผยในการแสดงออก เช่น อาจารย์

บวร กุศลสิทธารถ 089-996-4323

ได้รับความรู้เรื่องการบริหารทุนมนุษย์

ชนินทร์ เชาวน์นิรัติศัย

ความสำคัญในการพัฒนา กฟผ. ให้ยั่งยืนในระยะยาว คือผู้นำต้องใฝ่รู้ ในทุกศาสตร์

พงษ์ศักดิ์ วิจิราพงษ์

บรรยากาศ

รู้สึกเป็นกันเองทั้งวิทยากรและผู้รับการอบรม

เนื้อหา

ชอบเรื่องการนำเอาจุดแข็งตัวเองออกมาและปรับปรุงจุดอ่อน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาได้ด้วย

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ 081-446-3784

โครงการนี้จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงได้ ทราบว่า ผู้เข้ารับการอบรมท่านใดมีความสามารถวิสัยทัศน์หรือพรสวรรค์หรือจุดเด่น เรื่องใดเป็นพิเศษ เพื่อจะได้วางแนวทางในอนาคตที่เหมาะสม ให้กับบุคคลนั้น ๆ เพื่อความสำเร็จขององค์กร (ต้องเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงาน จึงจะสำเร็จ

วรพจน์ มานะพันธุ์พงศ์

ได้รับการเรียนรู้จากผู้มีประสพการณ์สูงและจริงใจที่จะถ่ายทอดเคล็ดวิชา ถือเป็นการเรียนลัด และ คงต้องช่วยกันถ่ายทอดพร้อมพัฒนาเด็กรุ่นหลังๆให้มีความสามารถเหนือกว่าคนปัจจุบันให้ได้

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

การบริหารบุคคลเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มีศาสตร์คือทฤษฎี และแนวคิดที่เป็นประโยชน์มากมาย แต่จะใช้ได้ผลหรือไม่ อยู่ที่ศิลปในการนำไปใช้กับคนแต่ละคน หรือแต่ละสถานการณ์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นการพัฒนาทุนทางจริยธรรม

เพราะถ้าองค์กรมีผู้นำหรือบุคลากรที่เก่ง แต่ขาดจริยธรรม องค์กรจะไม่สามารถยั่งยืนในระยะยาวได้

วิชัย สิมะธัมนันท์

วิธีการจัดการอบรมดี วิทยากรมีชื่อเสียงระดับประเทศทุกคน

คุณหญิงทิพาวดี สอนเก่งมาก ได้ประโยชน์จริงๆ

จากที่ได้รับและเรียนรู้จากการสอนและประสบการณ์ชีวิตการทำงานของอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ทำให้มองเห็นความสำคัญของ HR มากขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่า ผู้บริหารทุกท่านในห้องอบรมคงมีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกัน ในการที่อยากจะผลักดันและหาแรงจูงใจในการพัฒนาบุคคลากร(ผู้ปฏิบัติงานใต้บังคับบัญชา)ให้มีความคิดยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองให้มีความรักและอยากทำงาน รับผิดชอบเพิ่มขึ้น มีความรักและผูกพันกับงานกับผู้บริหารและองค์กร ซึ่งสิ่งนี้ต้องใช้เวลา ความอดทน มุ่งมั่น และตั้งใจจริง ของผู้บริหารทุกระดับชั้น

-ได้เรียนรู้ กระบวนการถ่ายทอด องค์ความรู้ เกี่ยวกับเรื่อง Leader โดยได้เห็นถึง รูปธรรม ในระหว่างการถ่ายทอดความรู้ คือ บทบาทของผู้นำที่ดำเนินการเรื่อง Coaching

-ได้เรียนรู้ในกรณีศึกษา ผู้ที่ประสบความสำเร็จ เรื่อง ภาวะผู้นำ โดยได้เห็นถึงมุมมอง การ Apply ภาวะผู้นำ ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

ซึ่งเรื่องดังกล่าว เห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะ เป็นการถ่ายทอดความรู้ ที่เป็นภาพ ให้เห็นเป็น 3 มิติ และทำให้ผู้เรียนรู้ ได้เข้ามีส่วนร่วม จึงเป็นการต่อยอดองค์ความรู้

ณัฐพร

รายชื่อประธานและคณะกรรมการรุ่นที่ 5

คุณพล  คงเสือ         ช.อบฟ-บ./อบฟ.                 ประธานรุ่นที่ 5

คุณโชติรส  เสวกวัฒนา                                     รองประธานฯ

คุณเรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์                            กรรมการ    

คุณมนทกานติ  สินธุเสก                                            ,,

คุณวรพจน์  มานะพันธุ์พงศ์                                       ,,

 

 

ถึงรุ่น 5 ทุกท่าน

          ผมขอขอบคุณที่ทุก ๆ คนกรุณาสนใจการเรียนและคิดว่าวิธีการแบบนี้จะได้ประโยชน์ต่อท่านบ้าง ผมก็พอใจแล้ว ตัวท่านเองก็คงขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ผมจะดูเส้นทางเดินของทุกคน ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า ผมมั่นใจว่ทุกคนที่เป็นลูกศิษย์ผม คงเดินทางไปเพื่อเป็นผู้นำ และ 1 วันเต็มกับวิชาการแบบ จีระ กว่า 9 ชั่วโมง และอีกภายใน 30 ปี คงต้องกันไปในวันข้างหน้าครับ

         อนึ่ง ขอแจ้งให้ทราบว่าผมและผู้ช่วยผู้ว่าการฯวิโรจน์ ท่านประธานรุ่นที่ 4 คุณเผ่าพงษ์ และทีม HR อยู่ร้องเพลงกันถึง 3 ทุ่ม เสียดายหลาย ๆ ท่านเหนื่อยเลยกลับไปก่อน

          อ่าน Blog ของผม เน้น Enjoy Life และ Work smart ดำรงชีวิตอย่าง Smart เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น แค่นี้ก็ช่วยได้มาก 

 

                                                จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันนี้อาจารย์มีวิธีการถ่ายทอดความรู้ไม่เหมือนการอบรมที่จัดทั่วไปแต่ได้ความรู้และแนวคิดเป็นอย่างมาก และเป็นแนวทางให้ผู้เข้าอบรมนำไปปรับใช้ได้

ส่วนเมื่อวานนี้เรื่อง HR คุณหญิงทิพาวดี ก็ได้ให้แนวคิดดีๆหลายเรื่องโดยเฉพาะการจัดการกับศัตรูซึ่งตรงกับที่ประเด็นที่ 4ของความเป็นผู้นำของ เนลสัน มันเดลา และความอึด ผมมีความเห็นว่าผู้บริหารต้องมีความอึดอย่างคุณหญิงทิพาวดี ก็จะทำให้งานที่ยากสำเร็จได้

ชนินทร์ เชาวน์นิรัติศัย

- มีความเป็นห่วงระบบและกระบวณการบริหารความเสี่ยงองค์กร ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด สามารถรองรับหรือตอบโต้วิกฤตต่างๆ ได้ดีหรือไม่ เห็นได้ชัดว่าสถาบันทางการเงินในสหรัฐซึ่งควรจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ยังรับมือไม่ได้

- การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเปลี่ยนแปลง Vision ขององค์กรในทางปฏิบัติเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เท่าที่ทราบมา Vision เป็นอะไรที่ไม่ค่อยต้องเปลี่ยนบ่อย

- ชอบแนวคิดการขยายงานที่มีความเชี่ยวชาญและเกี่ยวเนื่องออกไป โดยหาพันธมิตรร่วมงานด้วย

ยงชัย จันทร์เลิศฟ้า

- ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ ให้ความรู้เรื่องการตลาด โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย(ลูกค้า) 7 กลุ่ม ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินงานของ กฟผ.ทั้งปัจุบันและในอนาคต หาก กฟผ.มีความสัมพันธ์ที่ดี กับกลุ่มดังกล่าว กฟผ.ก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดี

- บรรยากาศการบรรยายดีมาก มีการยกตัวอย่าง ถามตอบได้ตรงประเด็น

 

วิชัย สิมะธัมนันท์

วันที่ 2 ของการอบรม ได้รับรู้ปัญหาเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยเป็นอย่างมาก กฟผ.จะต้องติดตามวิเคราะห์ความเป็นไปอย่างใกล้ชิด การเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ควรจะมีการศึกษา แนะนำให้รู้ถึงวัฒนธรรม ประเพณี ของประเทศนั้นให้ผู้ไปทำงานทราบถึงวิธีที่ควรปฏิบัติทราบโดยทั่วถึงกันด้วย

เมื่อวาน ตอนเช้า รู้สึกตื่นเต้น ที่ได้รับฟัง Panel Discussion เรื่อง วิกฤติเศรษฐกิจกิจโลก และประเทศไทย เหตุผลคือ

-ได้รับรู้ข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ ต่างวัยวุฒิ ในหลากมุมมอง

-ภาษาที่ใช้ในการสือสารเป็น ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย (โดยปกติ ฟังเรื่องนี้ทีไร ไม่ค่อยเข้าใจ เพราะต้องค้นหา ตีความในภาษที่ใช้)

ทำให้ได้เรียนรู้การเชื่อมประสานของข้อมูบล เพื่อที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

วันที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๕๒(อบรมวันที่๒)

ชอบ อ.สมชายฯ ที่สามารถประมวลภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกเศรษฐกิจได้ดีและเน้นให้เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กว้างไกล รุนแรง ด้วยความเจริญของวิทยาศาสตร์

เน้นย้ำ ผุ้บริหารให้มี visionและ very farseeing aswell.

ทึ่ง อ.กอบศักดิ์ฯ ที่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน มีสามาร๔ฟันธงเศรษฐกิจโลกและไทยได้ชัดเจน ให้บทเรียนว่าทำอะไรให้ทำจริงในเรื่องความเสี่ยง

เรียบๆง่ายๆแบบ อ.มนูญฯแต่ให้ข้อมูลด้านพลังงานด้ชัดเจนอีกทั้งยังเน้นย้ำเรื่องการสื่อสารกับมวลชน ซึ่งเป้น key success ของ CSRขององค์กรและฝากถึงงานมวลชนสัมพันธ์

สนุกกับ อ.ไกรฤทธิ์ฯ ที่เจาะลึกเรื่องลูกค้า-stakeholders และกลยุทธ์ ในการเข้าถึงและรับมือมีประโยชน์อย่างยิ่ง

เรียนภาษาอังกฤษสนุก สำเนียง เยรอมัน? กับ อ.Thierry Levfevre พร้อมกับความรู้ด้านพลังงานทางเลือกและอนาคตการใช้พลังงาน CDM อีกเล้็กน้อย

สรุปแล้ววันนี้ ดีมากๆขอบคุณ อ.จีระฯและทีมงาน

วันนี้ จากการที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้รับ Key Message ที่สำคัญ ในเรื่อง CAP(Chang Acceleration Process) เนื่องจาก จากประสบการณืเคยนำเรื่อง CAP เข้า Implement แล้วพบปัญหาเรื่อง Outcome ไม่ได้ ดังนั้นจึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง เรื่อง Key Success Factor ที่ว่า คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง, Commitment, Motivation, การเปลี่ยนระบบ/ การปรับโครงสร้าง

สำหรับ กฟผ. ทรัพยากรที่คงทน อยู่ยั่งยืนนานที่สุด คือมนุษย์ การลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ทั้งภายในและชุมชนภายนอก กฟผ.) น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดต่อ กฟผ.

ตลอด 3 วันที่ได้อบรมกับ อ.จีระ

เกือบทุกอย่าง เหนือความคาดหมาย.. เพราะผมมิได้คาดหวังไว้สูง เพียงต้องการแรงกระตุ้นและการจุดประกายจากอาจารย์เท่านั้น เท่านั้นจริงๆๆ

วันแรกที่ 10 มิ.ย.อาจารย์อยู่กับพวกเราตลอด 9 ชม.ผมได้ความรู้จากอาจารย์หลายอย่าง เช่น การเรียนรู้อย่าเรียนรู้แบบ SILO ควรเรียนรู้ข้ามศาสตร์บ้าง(ถูกต้องมากครับ) เพราะเราอยู่ในสังคมที่ถูกภายนอกจับตามองตลอด ต้องรู้จักเขาบ้าง..เรียนรู้ศาสตร์อื่นบ้าง

การได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้บริหารระดับสูงที่ประสบผลสำเร็จในธุรกิจหรือราชการ ทั้งท่านพารณ(ในเทป)และคุณหญิงไก่ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการบริหารคน ในองค์กรหรือในหน่วงานได้เป็นอย่างดี.. ที่พูดได้เช่นนั้นเพราะ พวกเราได้ใกล้ชิดได้ซักถามอย่างเป็นกันเอง ในรายละเอียดเล็กๆ ที่ไม่มีโอการได้เรียนรู้จากทฤษฏี เช่น

- ชอบนายแบบใหน เราต้องทำตัวแบบนั้น

- ชอบลูกน้องแบบใหน เราต้องทำแบบนั้น

- การจะชนะกัน อยู่ที่รายละเอียด ดังนั้นต้องรู้จริง

วันแรกนี้ ผมดีใจที่ได้เรียนกับคุณหญิงไก่ เพราะโอกาสเช่นนี้คงจะไม่มีโอกาสอีกแล้ว

วันที่ 2(11 มิ.ย.) เดี๋ยวผม มาเขียนคุยกับอาจารย์ใหม่

วันที่ 2 ท่าน อ.จีระ จัด Panal Discussion โดยเชิญกูรู ทางเศรษฐศาสตร์มาพูดคุยให้คน 40 คนฟังและซักถาม..อาจารย์ให้ความสำคัญกับพวกเรามาก เพราะจริงๆ น่าจะจัดให้คน 200-300 คนฟัง

ดร.กอบศักดิ์ จาก ธปท.ได้เล่าถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในโลกใบนี้ และผลกระทบสู่ประเทศไทย ทำให้พวกเราเรียนรู้-รับรู้

ท่าน อ.สมชาย ได้ชี้ให้พวกเราได้เห็นถึงความโลภของไอ้กัน ซึ่งนำไปสู่ความหายนะทั่วโลก และภาวะเช่นนี้และอนาคต อาจารย์บอกว่า กฟผ.อย่ามองว่าเราคือไฟฟ้า แต่ให้มองว่าเราคือพลังงาน เพราะจะทำให้เรามองได้กว้างขึ้น

สำหรับ อ.มนูญ ท่านชี้แนะว่า เรา(ประเทศไทยโดย กฟผ.)เป็นประเทศนำเข้าพลังงานมาผลิตไฟฟ้าหรือนำเข้าไฟฟ้า ดังนั้นต้องมองประเทศเพื่อนบ้านเป็น Partner มิใช่คู่แข่ง

จากการได้สัมผัสกูรู ทั้ง 3 ท่านทำให้เรานี้ ช่างมีความรู้ข้ามศาสตร์น้อยนิด อาจารย์เริ่มจุดประกายไฝ่รู้ ผมตั้งใจว่าจะหา นสพ.เศรษฐกิจอ่านในวันรุ่งขึ้น..ฮาฮา

สุรพล วงศ์ธัญญกรณ์

วันที่ 3 ของการอบรม (12 มิย.) เป็นวันที่ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ในด้านการวางแผนกลยุทธ์อละการบริหารการเปลี่ยนแปลง จาก อจ.ประกาย ฯ หลังจากที่เคยอบรม เรื่อง Master of Change เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา และที่ขื่นชอบมากในวันนี้ คือ ไดร้บฟังการบรรยาย เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจไทย..กับการปรับตัวของกฟผ." โดย มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล ทำให้ทราบถึง ปัญหาเศรษฐกิจของโลกที่ล่มจากความโลภของระบบทุนนิยม และมีผลกระทบต่อประเทศไทย และ แนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

สัปดาห์หน้า (15-19 มิย.)ก็คงจะได้รับความรู้ด้านการจัดการ เพิ่มเติม เสริมสร้างเพื่อเป็นแนวทาที่จะนำไปใช้ทำงานต่อไป..หลังจากจบการอบรม..

ขอบคุณ ดร. จีระฯ และ กฟผ.ที่คัดเลือก ให้เข้ามาอบรม

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

Case study เกี่ยวกับข้าราชการกระทรวงพาณิชย์คือ ตัวอย่างของการบรรยายของคุณหญิงในวันแรก จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่า Key success factor ของเราอยู่ที่การบรรยายของคุณหญิงเป็นสำคัญ

จากการอบรมเมื่อ12มิย.52

-การวางแผนกลยุทธ์และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตรงความต้องการเป็นอย่างยิ่ง

ได้วิธีการคิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและองค์ประกอบในการบริหารให้ประสบผลสำเร็จ อยากให้มีcaseตัวอย่างเยอะๆครับ

-เข้าใจถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน ผลกระทบกับประเทศไทย แนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคต แนวทางที่แก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ ที่สำคัญคือแนวคิดที่กว้างไกลจากประสบการณ์อันยาวนานระดับโลกของท่านวิทยากร

-BLUE OCEAN ได้ยินได้ฟังเป็นครั้งแรก ได้รับการบรรยายอย่างลึกซึ้งเห็นภาพชัดเจนระหว่าง RED OCEAN VS BLUE OCEAN และ CONSUMER VS NON-CONSUMER

เป็นวันที่เยี่ยมยอดและวิทยากรที่สุดยอด

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

Case study แรกที่ได้รับทำให้ผมนึกถึงเติ้งเสี่ยวผิง มหาตมะ คานธีและอานันท์ ปันยารชุนไปพร้อมๆ กัน ประเด็นที่ผมสงสัยคือ การเอาสีขาวกับสีดำออกไปแล้วเอาสีเทามาใส่หัวทุกคน แล้วถ้าคนฉลาดมากๆ?? ที่เป็นผู้นำในสังคมเชื่อแล้วนำไปใช้ สังคมจะเป็นเช่นไร ท่านเติ้ง(ที่เมืองจีนนะครับ ไม่ใช่เมืองไทย)บอกว่าแมวสีอะไรก็จับหนูได้เหมือนกัน ส่วนคานธีเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้โดยสงบ สำหรับท่านอานันท์ของเราเคยพูดในทำนองที่ว่า ถูกกับผิดมันต่อรองกันไม่ได้ ในความเห็นของผมนั้น การทำร้ายประเทศชาติ ทำร้ายชีวิตคนอื่นหรือแม้แต่ลูกน้องร่วมอุดมการณ์(โดยใช้ให้ไปตายแทน)ไม่เป็นสิ่งที่พึงกระทำ เราควรเลือกสีขาว (ถ้าบอกว่ายกเว้นสถานการณ์ไม่ปรกติ เราก็จะตีความกันว่า ทุกสถานการณ์ไม่ปรกติ ต้องเลือกสีดำหรือสีเทา เลยไม่มีสีขาวเลย)

1) ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจไทย..กับการปรับตัวของกฟผ." โดย มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล ทำให้ทราบถึง ปัญหาการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของโลกในรอบนี้ ที่มาของปัญหา สภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของโลกในอนาคต ควบคู่ไปกับปัญหาการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย ผมสังเกตการบรรยายของท่านเนื่องจากท่านเป็นผู้ที่รอบรู้มีประสบการณ์สูงมาก เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในต่างประเทศท่านสามารถนำมาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ จนสามารถคาดการณ์ การจะเกิดภาวะวิกฤติทางการเงินที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและยังได้ส่งสัญญาณเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบได้ทราบซึ่งผลกระทบที่อาจจะเกิด ทำให้เรากลับมานึกถึง กฟผ. ก็น่าจะสร้างระบบ Early warning system สำหรับเตือนภัยคุกคาม Core business ของ กฟผ. (ผมเน้นว่าต้องใช้งานได้จริงๆนะ ) เพื่อจะได้เตรียมการจัดทำแผนรองรับผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว ก็น่าจะดีนะ

2) การบริหารความเปลี่ยนแปลงถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป ดังนั้น

o กฟผ. จะต้อง สร้างผู้นำองค์กร

o ผู้นำองค์กรจะต้องเป็นผู้นำที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

o องค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจะสร้างการเจริญเติบโต(Growth)

o องค์กรที่มีการเจริญเติบโต(Growth) อย่างต่อเนื่องจะเป็นองค์กรที่สามารถยืนอยู่ได้ ในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

ไพศาล ชัยเลิศพงษา

ผมเคยถูกใช้ให้เป็น Team Leader มีแรงต่อต้านมากการใช้อำนาจจากการสั่งการอย่างเดียวไม่สามารถทำให้งานสำเร็จได้การมีส่วนร่วม( Commitment)ในการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้จริงๆและการโน้มน้าวให้เห็นถึงประโยชน์ทั้งตนเองและองค์กรที่จะได้รับ(Motivation)และประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือหาแนวร่วมถ้าเป็นไปได้ต้องใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดมาช่วยเรา ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จัก CAP(Chang Acceleration Process)พอมาคิดย้อนหลังไปจึงรู้ว่าที่ทำไปก็คล้ายๆเหมือนกันแต่ไม่ครบถ้วนถ้าทำเป็นขั้นตอนตาม CAP น่าจะทำให้แรงต้านน้อยลง และผลงานคงดีกว่าที่เป็น

      ช่วงบ่ายจากอาจรย์หม่อมฯได้ขยายความให้ Panal Discussion มีความกระจ่างขึ้นด้วยพร้อมทั้งชี้ทิศทางในอนาคตของ กฟผ. เพื่อตอบสนองต่อ ศก.ของประเทศที่จะเกิด Suothern Sae Board ในอนาตค

      BLUE OCEAN เคยได้ยินมาบ้างแต่การได้มาฟังจาก อ.สมชายฯที่บรรยายในเชิงลึกทำให้เห็นว่าทุกสินค้าสามารถสร้างโอกาสในการเป็น BLUE OCEAN ได้โดยอนุโลม

      ขอบคุณ อ.ดร. จีระฯ  ที่จัดการอบรมที่ได้ความรู้ แนวคิดและสนุก(3 IN 1)

พงษ์ศักดิ์ วิจิตรพงษ์

ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสได้เข้ารับการอบรม หรือ รับฟังการบรรยาย (ซึ่งไม่ค่อยได้รับโอกาส )ผมก็หวังว่าผมจะต้องได้รับความรู้เพิ่มเติมแน่นอน

แต่ครั้งมันมากกว่าที่คาดหวังไว้ครับ ทั้งเนื้อหา และ ความรู้ความสามารถของอาจารย์ที่มาเป็นวิทยากรทุกท่าน

ขอขอบคุณทุกท่านที่ทำให้มี PROGRAM นี้เกิดขึ้น

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

Lesson from a student of life ของอาจารย์พาผมไปหา "Built to Last" and "Good to great" สำหรับ Drucker นั้น รุ่นผมรู้จักเพราะตำราเรียนและเพิ่งทราบว่าท่านถึงแก่กรรมไปตั้ง 4 ปีแล้ว..เชยจัง มัวแต่ง่วนกับสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ(เห็นไหมว่าอาจารย์ทำให้ชีวิตผมลำบากกว่าเมื่ออาทิตย์ก่อนเยอะ...แต่สนุกเหมือนก่อน)ในสังคมพุทธนั้น การเสียสละเพื่อสังคมเป็นสิ่งที่พบเห็นทั่วไป แต่ปัจจุบัน csr จะมาทำให้การเสียสละเพื่อสังคมในสายตาของผู้บริหารบางคนเปลี่ยนไป

ภูมิใจมากเช่นกันที่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์เพราะ ลูกศิษย์ของผมต้องฉลาด enjoy life,work smart และมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง ไม่ใช่ว่าจะได้เป็นได้ง่ายๆ

ขอขอบคุณผู้บริหารระดับสูง อาจารย์จิระและทีมงานฝึกอบรมทุกท่าน ที่เห็นความสำคัญในเรื่องของคนเพราะคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร และผลักดันให้เกิดโครงการขึ้นได้ในภาวะเศรฐกิจเช่นนี้

ตลอด 3 วันที่ผ่านมาอิ่มเอมกับความรู้ที่ได้รับเป็นอย่างมาก เพลิดเพลินกับอาจารย์ที่มากด้วยประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดเป็นอย่างยิ่ง

ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยไม่รู้สึกตัวกับอาจารย์จิระ

กว่าจะถึงวันนี้ของผู้นำสตรี ต้องมี head hand heart

ชัดเจนกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย และเทคโนโลยี่ที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วต้องเตรียมตัวเสียแต่วันนี้มิฉน้นอาจจะล่มสลายได้ในชั่วข้ามคืน

การตลาดที่ต้องคำนึงถึง Stakeholder 7 กลุ่ม ที่เป็น demand side ของ กฟผ.ควบคุมไม่ได้แต่ทำให้บรรลุได้ถ้าเข้าถืง

มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล ฝากกฟผ.ต้องมีบทบาทกับ Southern Sea Board

เพราะสิ่งที่ตามมาคือโรงไฟฟ้าที่ต้องขึ้นอีก 1 โรงทันที

ได้รู้จักกับ Blue Ocean จากที่เป็นและทำแต่ Red ocean

รอด้วยความระทึกใจกับอีก 5 วันที่เหลือ ค่ะ

ยงชัย จันทร์เลิศฟ้า

สรุปกรณีคุณยรรยง

- เมื่อท่านได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีแล้ว เชื่อว่าท่านต้องเตรียมข้อมูล รายละเอียดไว้ครบถ้วนแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่ากำหนดเป้าหมายว่าทำอย่างไรให้ ครม.เห็นด้วย หรือหากมีประเด็นคำถามนอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้จะตอบอย่างไร จึงจะโน้มน้าว ครม.ได้ และไม่เกิดความขัดแย้งในที่ประชุม

- มองอีกมุม กรณีนี้อาจมีการสนทนาโต้ตอบระหว่าง ครม.กับท่าน ที่เราไม่ได้รับรู้และไม่ได้เปิดเผยอีกมาก ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านต้องตอบแบบท้าทายอย่างนั้น

- กรณีนี้ แม้จะเป็นคนที่มีความสามารถ แต่ไม่เลือกทางที่ประนีประนอม ก็อาจได้รับผลกระทบโดยตรง ต่อหน้าที่การงานในอนาคต

- อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคงไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับท่านเป็นครั้งที่สองแน่นอน เพราะท่านคงได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ทั้งหลายที่หวังดีกับท่าน

มุมมองต่อกรณี คุณยรรยงที่ ครม.

1.วัตถุประสงค์การทำงาน

นโยบาย รับจำนำข้าวโพด ต้องยอมรับหลักการที่มีประโยชน์ ถ้าปฏิบัติได้เป็นผลสำเร็จ ประชาชนในภาคเกษตรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เท่ากับเป็นการกระตุ้นการบริโภค ทำให้วงจรเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลดลง บรรยากาศในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่สื่อนำออกมาบอกกล่าว ในลักษณะที่ นโยบาย รับจำนำข้าวโพด อาจมี คอรับชัน ทำให้พรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลสะสมกระสุนดินดำ ทำให้ได้เปรียบการเลือกตั้งในครั้งต่อไป ซึ่งทำให้ มติ ครม. ในวันนั้นก็ต้อง ชะลอออกไป ทำให้เสียโอกาส ( เวลา คน และ/หรือ สถานที่ )

นโยบายอะไรก็ตามที่ต้องใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ในการพัฒนาประเทศ ประเมินแล้วมีโอกาส คอรับชัน จะต้องยกเลิกหรือชะลอ ออกไป คนที่เสียโอกาสในการพัฒนาตนเองก็คือประชาชนระดับรากหญ้า รัฐบาลต้องใช้ความเป็นผู้นำ ในการบริหารจัดการ ให้นโยบายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้งมีกระบวนการหรือมาตรการป้องกัน การคอรับชัน ควบคู่ไปด้วย

2.สถานการณ์ที่พึงประสงค์

วิธีการนำเสนอของ คุณยรรยง ในที่ประชุม ครม.ในวันนั้นสร้างความไม่พอใจให้กับนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ( รัฐมนตรีคนอื่น สื่อไม่ได้กล่าวถึง ) พิจารณา จากวุฒิภาวะและประสบการณ์ การทำงานที่ผ่านของ คุณยรรยง เป็นไปไม่ได้ ที่ คุณยรรยง ไม่มีวิธีการที่นำเสนอ ต่อที่ประชุม ครม.ให้เกิด บรรยากาศ ที่ดีได้ บรรยากาศ ความขัดแย้งเกิดขึ้น หลังจากการนำเสนอของ รัฐมนตรีพานิชและคุณยรรยง ซึ่งเป็นไปตามความต้องการและผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาล ในที่สุด รัฐบาลจะดำเนินการจำนำหรือประกันราคา หรือไม่ก็ตาม พรรคร่วมรัฐบาล ได้บอกกับประชาชนรากหญ้าว่านโยบาย ที่จะทำให้ได้ประโยชน์พวกเขา พรรคแกนนำรัฐบาลไม่จริงใจและขัดขวาง

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

กรณีศึกษาของคุณยรรยง ในความเห็นส่วนตัว คุณยรรยงควรจะตระหนักดีว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์มีการบริหารราชการที่เน้นความรอบคอบ โปร่งใส และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ดังนั้นแม้โครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นตามมติ ครม.เดิม แต่บทบาทที่ดีของคุณยรรยงควรนำเสนอข้อมูลที่มีรายละเอียดเพียงพอ และชี้แจงให้รัฐบาลเห็นว่าการเสนอโครงการดังกล่าวดำเนินการด้วยความโปร่งใส อย่างไร เพื่อให้รัฐบาลชุดนี้เป็นผู้พิจารณาและใช้อำนาจตัดสินใจเองว่าจะอนุมัติ หรือไม่

คุณยรรยงน่าจะเห็นตัวอย่างของข้าราชการหลายคนในอดีต ที่ได้รับผลกระทบจากผู้มีอำนาจทางการเมือง จึงควรต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง โดยยึดความถูกต้อง เป็นหลัก

กรณืที่เกิดขึ้น คุณยรรยง คงไม่ทำให้ รมว.พาณิขย์ถูกใจ เพราะ ครม.ก็ไม่อนุมัติ แต่ให้ส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการข้าวโพดฯพิจารณาอีก แถมยังอาจเสียคะเเนนความไว้วางใจจากฝ่าย ปชป.ด้วย

ถ้าดูตามทฤษฎี 8 H's (ที่คุณหญิงทิพาวดีสอน) กรณีนี้ ตกไปหลายข้อ

อย่างไรก็ตาม หากมองผลในแง่ประเทศชาติก็นับว่ามีประโยชน์ เพราะจะได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายละเอียดต่างๆให้มากขึ้น ดีกว่า ครม.จะอนุมัติโครงการไปง่ายๆ

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

ชนินทร์ เชาวน์นิรัติศัย

กรณีศึกษาคุณยรรยงที่ครม. ในความเห็นส่วนตัว (ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น) คิดว่ารัฐมนตรีพาณิชย์ต้องการให้เรื่องประมูลข้าวโพดผ่านโดยเร็วในขณะเดียวกันไม่ต้องการขัดแย้งในครม.รัฐบาลผสม เนื่องจากมีหลายฝ่ายเห็นว่ามีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น จึงให้อธิบดีฯซึ่งมีข้อมูลพร้อมนำเสนอแทนในครม. แต่อธิบดีฯอาจไม่เห็นด้วยทั้งหมดกับเรื่องดังกล่าวแต่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองจึงทำไปด้วยความไม่เต็มใจ การชี้แจงจึงออกมาในรูปแบบดังกล่าว อธิบดีฯน่าจะใช้ความเป็นคนเก่งและคนดีของท่านในการใช้เหตุใช้ผลในการชึ้แจงถ้าเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นผลดีต่อประเทศชาติ ความไม่โปร่งใสอาจถูกขจัดลงได้หากเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ ทั้งกระทรวงพาณิชย์และครม.ก็ไม่เสียหน้า ประเทศชาติก็จะได้เดินหน้าต่อไป

ชนินทร์ เชาวน์นิรัติศัย

เรียนรู้จาก Peter Drucker Peter Drucker เป็น อัจฉริยะ ผู้นำทางความคิด นักเขียน ที่ปรึกษา และ อาจารย์ ในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ ท่านเป็นผู้ให้ความรู้ที่ยิ่งใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล จนมีคำกล่าวว่า "Winston Churchill เป็นผู้ปกป้องโลกเสรีเอาไว้ แต่ Peter Drucker เป็นผู้บอกว่าโลกเสรีจะดำเนินไปอย่างถูกด้องได้อย่างไร"  Peter Drucker เป็นผู้นำ ไฝ่รู้ และนักถ่ายทอดความรู้จนวาระสุดท้ายของชีวิต จะเห็นได้ด้วยผลงานหนังสือจำนวนมากไม่ตํ่ากว่า 34 เล่ม เคยมีผู้ถามท่านว่าท่านภูมิใจเล่มไหนมากที่สุด ท่านตอบว่าเล่มหน้า และการเป็นอาจารย์ที่รักของลูกศิษย์โดยการชักชวนไปบ้านเพื่อกระตุ้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นกันเอง จากการที่ท่านปรารถนาที่จะเรียนรู้จากลูกศิษย์ทุกคนของท่านจนทำให้ท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นอาจารย์ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดของลูกศิษย์

กรณีศึกษาของอธิบดียรรยง

อธิบดียรรยงได้รับมอบหมายจาก รมว.พาณิชย์ นำเสนอการประมูลข้าวโพดที่ ครม.ชุดที่แล้วเคยอนุมัติแล้ว ผมสนใจ 2 ประเด็น

1. ท่านอธิบดีฯ ทราบดีว่านายกฯ อภิสิทธิ์ มีการบริหารราชการที่เน้นความรอบคอบ โปร่งใส ดังนั้นเวลานำเสนอใหม่ไม่จำเป็นต้องอ้างว่าเรื่องนี้ ครม.ชุดที่แล้วมีมติอนุมัติและขอให้ ครม.ชุดนี้อนุมัติด้วย เพราะ ปชป.ไม่ใช่รัฐบาลในขณะนั้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลในรายละเอียดที่นำเสนอ ถูกต้อง โปร่งใสหรือไม่

2. บทบาทของข้าราชการประจำกับนักการเมือง ต้องทำอย่างไรโดยเฉพาะกระทรวงที่มีผลประโยชน์มากๆ เช่นกระทรวงพาณิชย์ การยึดหลักการ การยืดหยุ่น การประคับประคองผลประโยชน์ชาติ-ผลประโยชน์นักการเมือง ควรอยู่ตรงใหน จึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคม

ภัทรพงศ์

 

ชนินทร์ เชาวน์นิรัติศัย

Loyalty is out, Performance is in  แนวคิดแบบนี้ก็ได้เกิดขึ้นในบ้านเราแล้วแต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด เห็นได้ชัดจากความแตกต่างด้านความคิดในการทำงานของคนเก่าและคนใหม่ คนใหม่จะเรียกร้องอะไรๆ มากขึ้นกว่าเดิมถ้าเขาคิดว่าเขาควรได้รับไม่ใช่เท่ากันทุกคน ถ้า Performance (P) ดีมี Loyalty (L) ดีด้วยก็เป็นสุดยอดปรารถนา องค์กรควรสนับสนุนและให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร ถ้า P ดีแต่มี L ไม่ดี องค์กรคงต้องพยายามหาวิธีแก้ไขให้เขามีความผูกพันกับองค์กรมากขึ้นไม่เช่นนั้นเขาอาจทำความเสียหายอย่างมากได้ ถ้า P ไม่ดีแต่มี L ดี องค์กรคงต้องพยายามพัฒนา ฝึกอบรมให้ดีขึ้น แต่ถ้า P ไม่ดีและ L ก็ไม่ดี องค์กรคงต้องพยายามให้เขาออกไปและระบบการสรรหาคนใหม่ที่ดีจะต้องสามารถป้องกันไม่ให้คนแบบนี้เข้ามาในองค์กรได้

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

ดีใจมากค่ะที่เพื่อนๆมีความสุขและได้ความรู้-ประสบการณ์มากมายจากโครงการนี้ เท่าที่อ่าน comment ดู ก็ทราบว่าพวกเราเอาจริง และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องรอบตัวกันมากทีเดียว น่าภาคภูมิใจที่ได้เข้ามาอยู่ในองค์กรที่มีบุคคลากรที่มีคุณภาพเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม กฟผ.จึงเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ อยากให้พวกเรามีความรักและสามัคคีกันมากๆ และรวมตัวกันแข่งขันกับคนอื่น ประเทศไทยจะได้เป็นผู้นำทางด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซี่ยน

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้คือ

1.ความรู้ที่หลากหลายมาก แตกต่างจากงานประจำ ทำให้มีมุมมองที่กว้างไกลและในเชิงลีก ซี่งจำเป็นมากสำหรับผู้บริหาร [จะขอไม่พูดถึงเนื้อหา เพราะจะซ้ำกับเพื่อนๆและในบทเรียน]

2.การที่พวกเราได้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดจะทำให้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติจากหลากหลายวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นการแก้จุดอ่อนของเราในอดีตที่ขาดความหลากหลายอันมีผลให้เกิดความคิดที่แคบ และไม่ประสพความสำเร็จเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับสังคมในวงกว้าง

3.กฟผ.มีวิศวกรที่เก่งที่สุดในประเทศในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า แต่การทำงานด้านชุมชนและการประชาสัมพันธ์นั้น เราต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีประสพการณ์เฉพาะทาง และผู้ที่ถูกฝีกให้มีความหลากหลายทางความคิด ซี่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับผู้ที่ถูกฝีกให้มีความสามารถทางเทคนิค ขอฝากท่านอาจารย์ ดร.จีระนำความความเห็นนี้เสนอผู้บริหารด้วยค่ะ

เรืองวรายุตก์

นาย สุรพล วงศ์ธัญญกรณ์

กรณีศึกษา ของอธิบดีฯ ยรรยง ในกรณีชี้แจง ครม.เรื่งอการประมูลข้าวโพด ของกระทรวงหาณิชย์ เมื่อวันที่ 13 พค.52 มีประเด็นที่น่าสึกษา คือ

- การนำเสนอ เรื่องนโยบายต่อ ครม.ซึ่งเป้นผู้กำหนดนโนบาย

เนื่องด้วย รัฐบาลนั้นเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ โดยผ่านทางมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทีจะพิจารณานโยบายของแต่ละกระทรวง เพื่อให้ความเห็นชอบ หรืออนุมัติ เพื่อนำนโยบายต่างๆไปปฏิบัติโดยข้าราชการประจำ

คุณยรรยง ฯ เป็นข้าราชการประจำ ในตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าภายใน ได้รับมอบหมายจาก รมว.กระทรวงพาณิชย์ ให้มาชี้แจงต่อครม.ในเรื่องมติของครม.ชุดที่แล้วได้อนุมัติเรื่องการประมูลข้าวโพดไปแล้ว จึงจะขอให้ความเห็นชอบตามมติดังกล่าว

จะเห็นได้ว่า การมอบหมายเรื่องดังกล่าว ทาง รมว.พาณิชย์ต้องการจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในครม.รัฐบาลผสม ทั้งนี้เนื่องจากการประมูลผลิตผลทางการเกษตรต่างๆในแต่ละปี จะถูกมองในเรื่องของความไม่โปร่งใส และมักจะถุกนักการเมืองนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองของตนเอง

การที่อธิบดีฯ ยรรยง ในฐานะข้าราชการประจำ นำมติ ครม.ชุดที่แล้ว ไปขอความเห็นชอบตามมติเดิมจะทำให้ รมว.พาณิชย์ สามารถหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาในเรื่องความไม่โปร่งใสในนโยบายประมูลข้าวโพด หากครม.นายกฯอภิสิทธิ์ อนุมัติ แต่เนื่องจากนายกฯอภิสิทธิ์ กำหนดนโยบายในการบริหารราชการ ที่เน้นความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส

บทบาทของข้าราชการประจำในการนำเสนอพิจารณาในเรื่องนโยบาย ที่มีผลประโยชน์มหาศาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรใช้ประสบการณ์และข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน บนพื้นฐานฃองการโปร่งใส มีธรรมาภิบาล เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

จากกรณีดังกล่าว สามารถพิจารณาได้ว่า การตัดสินใจ ในการปฏิบัติตามคำสั่งบังคับบัญชา ควรพิจารณาว่า ผลที่จะเกิดจะต้องไม่กระทบต่อผู้ปฏิบัติและผุ้ที่เกี่ยวข้องทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม บนพื้นฐานของข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและครบถ้วน

วันที่สามของการอบรม วิทยากรที่มาบรรยายในวันนี้ บรรยายได้ดีมากทุกคน แต่ผู้บรรยายที่ผมชื่นชอบมากที่สุด คือ มรว. ปรีดิยาธร เทวกุล ท่านบรรยายในหัวข้อภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน บรรยายด้วยถ้อยคำที่ง่ายต่อการเข้าใจ มองเห็นสภาพภาวะทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี 2006 ถึงปัจจุบัน ว่าอะไรคือสาเหตุ อะไรคือผล ปัจจุบันเป็นอย่างไร และอนาคตเป็นอย่างไร รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างไร ที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น และในส่วนของ กฟผ. เราต้องเตรียมการอะไร เพื่อรองรับสภาวะเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า

ผมได้อ่าน เอกสารเพิ่มเติมที่เป็นภาษาอังกฤษ(ไม่แข็งแรง)แล้วมีความเห็นดังนี้

Lesson from a student of life

By Jim Collins

Mr. Peter F. Drucker เป็นผู้ดำรงตนเป็น “ครู “อย่างแท้จริงกล่าวคือ

1.เรียนรู้จากข้อเท็จจริง ที่ได้จากสภาพแวดล้อม ผู้มาขอคำแนะนำและรวมทั้งลูกศิษย์

2.เป็นผู้มีความเมตตาและตั้งมั่นในแนวทาง (ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม) ของตนอย่างมั่นคง

3.เป็นปรมาจารย์ การคิดค้นเทคนิคการบริหารการจัดการอย่างแท้จริง

The new office social contract : Loyalty is out , performance is in

By Steve Lohr

Mr. Steve Lohr อธิบายถึงทัศนคติของ คนทำงานระดับผู้จัดการและมืออาชีพ ในประเทศอเมริกา เปลี่ยนไปจากอดีตอย่างมาก จากที่เคยมีความต้องการ ด้าน ความมั่นคง และ สวัสดิการ เปลี่ยนมามีความต้องการ ผลตอบแทนและความก้าวหน้าในอาชีพ (พัฒนาตนเอง )สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีใครทำวิจัย แต่ที่แน่ชัดสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่และคนทำงานที่ยังไม่ได้อยู่ในระดับผู้จัดการและมืออาชีพ ยังเลือกเข้าทำงานในหน่วยงานที่ มีความมั่นคง และสวัสดิการ ดูจากการรับสมัครเข้ารับราชการ และ พนักรัฐวิสาหกิจ ที่ผ่านมา ถึงอย่างไรก็ตามพื้นฐานทางสังคมแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะการได้มาซึ่งปัจจัยสี่เพื่อดำรงชีพ(เป็นปัญหาหลักของประเทศไทย)มีต้นทุนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้

ใครทำให้ กฟผ.ประสพความสำเร็จในธุระกิจผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีหลายคนตอบแล้ว ฟังและคิดก็ยังไม่ครอบคลุมถึงความเป็นไปได้ หลักสูตรนี้ให้คำตอบแล้วโดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

1.General public

2.Goverment

3.Media

4.NGO

5.Finance

6.Local public

7.Internal public

บทวิเคราะห์กรณีคุณยรรยง

คงเป็นไปตามบทวิเคราะห์ของอาจารย์จิระฯ ที่ว่า ที่ผ่านมาเป็นยุคที่ข้าราชการตกต่ำสุดขีด ถึงแม้เปลี่ยนรัฐบาลมาเป็นรัฐบาล ปชป.แล้ว ข้าราชการอาจยังไม่มีอิสระโดยแท้จริง เนื่องจาก รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม สถานการณ์หลายๆ กรณี ทำให้มองว่ารัฐบาลมีสถานะปริ่มน้ำ อาจเปลี่ยนแปลงกลับขั้วได้อีก นักการเมือง พรรคขนาดรองลงไป ก็ล้วนแต่ หน้าเดิมๆ หรือเป็นตัวแทน นักการเมืองในยุคก่อน ที่ถูกแขวนไว้ ยังมีอิทธิพลต่อข้าราชการ เป็นอย่างสูง ใครเล่าจะกล้าขัด(ถ้าไม่แน่จริง) นอกจากนี้ หากเทียบกับกรณีคุณหญิงทิพาวดีฯ ที่ท่านได้กรุณาเล่าประสบการณ์ให้ฟังแล้ว การจะนำเสนองานในที่ประชุมระดับสูง คุณหญิงท่านเตรียมการไว้เฉียบแหลมกว่ามาก มีความรอบคอบ ประเมินสถานการณ์ มีการประสานงานผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้อง และดักทางได้ดี จนประสบผลสำเร็จในการนำเสนองาน ในที่สุด

บทวิเคราะห์ Lesson From a Student of Life

บทความนี้ ยอมรับว่าอ่านเข้าใจยากมากๆ ครับ ตามความเข้าใจของผม Peter F. Drucker เป็นอาจารย์ที่ไม่ชอบการตอบคำถาม หรือรับเชิญไปบรรยาย ถึงขนาดเตรียม Postcard ไว้เพื่อตอบปฏิเสธสำหรับการเชิญ ในกรณีต่างๆ (แสดงว่าท่านถูกเชื้อเชิญบ่อยมาก) ในทางตรงข้าม ท่านชอบการเป็นที่ปรึกษา และ โค้ชมากกว่า เป็นผู้สอน แทนที่ท่านจะตอบคำถาม ท่านมักจะใช้วิธี ยิงคำถาม ให้ผู้ฟังได้มีความคิดนอกกรอบตำรา บทเรียนที่ท่านสอน จะไม่มีปรากฏอยู่ในตำรา เช่นเดียวกับวิธีการสอนของอาจารย์ จิระฯ ในหลักสูตร EADP #5 นี้ ที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์จริง ในบทความนี้มีประโยคที่น่าสนใจบอกว่า “Winston Churchill saved the free world but Peter Drucker showed us how to make that free world work” อ่านแล้วกินใจ แต่ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยอย่างไรครับ

บทวิเคราะห์ The new Office Social Contract: Loyalty is out, Performance is in

บทความนี้บรรยายถึงความแตกต่างของความรัก ความผูกพันกับองค์การของพนักงาน 2 รุ่น ในบริษัทยักษ์ใหญ่สีฟ้าเก่าแก่ที่ชื่อ IBM นับเป็นสัจจะธรรมของโลกจริงๆ บริษัท IBM ยุคก่อนเป็นผู้ผลิตเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ รวมถึงอุปกรณ์ประกอบต่างๆ แบบเบ็ดเสร็จ เป็นเจ้าตลาดอันดับหนึ่งในเรื่องคอมพิวเตอร์ และมีบุคลากรที่มีคุณภาพสูงมาก มีความมั่นคง มีสวัสดิการ ที่สำคัญคือ มีการลงทุนฝึกอบรมให้พนักงานมีความรู้ความสามารถในอุปกรณ์ IBM ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เป็นอย่างดี บริษัท IBM ปัจจุบัน ยังขายผลิตภัณฑ์และบริการด้านเมนเฟรมอยู่ แต่ก็มีผลิตภัณฑ์ไอทีอื่นๆ ให้บริการด้วย และไม่ใหญ่โตเหมือนเดิม เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดรองลงมามีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบกับมีซอฟท์แวร์ให้เลือกหลากหลาย ราคาดีกว่า มีผู้ให้บริการมากมาย หรือ ผู้ใช้งานดูแลเองได้ ในมุมมองของคนรุ่นใหม่แล้ว บริษัท IBM อาจไม่ใช่เป้าหมายที่ต้องการอยู่ยาวอีกต่อไป เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีบริษัทไอที และไม่ใช่ไอที ที่ยิ่งใหญ่น่าสนใจกว่าหลากหลาย เช่น ไมโครซอฟท์ เอสเอพี ซิสโก้ ธนาคารต่างๆ เป็นต้น

กฟผ.เป็นลูกค้า IBM มานาน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของบริษัทฯ ซึ่งทำการ Reengineering คนIBM ที่มาให้บริการ กฟผ. แยกย้ายเปลี่ยนงานไปเกือบหมด ส่วนมากจะประสบผลสำเร็จอย่างดีในบริษัทอื่นๆ เนื่องจาก IBM ฝึกมาดี การทำงานของคนในบริษัทฯ สมัยใหม่นี้ ไม่เหมือนเดิม เป็นไปตามบทความที่บอกว่าเป็น Market Oriented Productive Model สนใจผลงานเป็นหลัก

วรพจน์ มานะพันธุ์พงศ์

ศึกษากรณีของคุณยรรยง ที่ขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพด ที่อาจารย์ จีระ ให้ผู้เข้าอบรมศึกษา จากบทความเพื่อเป็นบทเรียนตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง ให้ผู้เข้าอบรมเห็นความผิดพลาดโดยไม่เจตนา ในการทำงาน ระหว่างข้าราชการประจำกับนักการเมือง อาจารย์สรุปให้เห็นข้อผิดพลาดและแนวทางป้องกันชัดเจน ซึ่งพิจารณาแล้ว พวกเราคงต้องฝึกฝนอีกมาก เพื่อที่จะไม่ผิดพลาดเหมือนคุณยรรยง เพราะขนาดคุณยรรยงเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ที่ทำงานใกล้ชิดกับนักการเมือง (มากกว่าพวกเราเยอะเลย)ยังขาดความรอบคอบกลายเป็นแพะแต่เพียงผู้เดียว

LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

อ่านแล้วคงจำชื่อ Peter Drucker ได้และร้สึกทึ่ง ในความเป็นตัวตนของ Peter Drucker ข้อคิดและการเรียนรู้พัฒนาตนเองที่ดี ๆ หลายเรื่องมาจาก Peter Drucker นี่เอง อีกทั้งวิธีการเรียนการสอนของอาจารย์จีระและทีมงานน่าจะพัฒนามาจากแนวทางเดียวกับ Peter Drucker

กรณีศึกษา อธิบดี

การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์

ผลประโยชน์ของใครกันแน่นักการเมือง เครือญาติ หรือของประเทศชาติ หากดำเนินการได้แนบเนียน ดูแล้วเหมือนคอร์รับชั่นทางนโยบายอีกแล้วหรือไม่ ประกันราคาไว้สูงตอนหาเสียง ประมูลขายด้วยราคาต่ำ รัฐชดเชยการขาดทุนด้วยเงินภาษี

ดังนั้อาจกล่าวได้ว่าถูกการเมืองนำไปสู่ความไม่โปรง่ใส นำไปสู่ผลประโยชน์ทับซ้อน

ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม

อาจจะประมาทเพราะเคยเป็นผู้ประสบผลสำเร็จมาแล้วในอดีต และต้องการให้ถูกใจนายจึงไม่ได้ติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด

ข้าราชการอ่อนแอและยอมศิโรราบต่อนักการเมือง

ก็มีส่วนอยู่มากเช่นกันหากเติบโตสู่ระดับสูงด้วยการเกื้อกูลอุปถัมภ์จากระบอบการเมือง

ปราถนาให้ข้าราชการประจำเก่งๆทั้งหลาย มีจิตใจแข็งแกร่ง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ยืนหยัดอยู่ในหลักธรรมาภิบาลไม่ถูกนักการเมืองครอบงำ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ

1) Lesson from a student of life

จากบาทความของ Jim Collins นั้น Peter F. Drucker เป็นอาจารย์ที่นอกจากจะมีเมตตาอย่างสูงแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความปราดเปรื่องมากอีกด้วย ท่านยินดีที่จะชี้แนะและให้คำปรึกษาแก่บุคคลธรรมดาทั่วไปที่หาเส้นทางเดินในชีวิต มากกว่าการให้สัมภาษณ์หรือการปรากฏตัวตามสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งหนึ่งที่เรียนรู้จากท่านคือการเป็นผู้ให้และเสียสละ มากกว่าที่จะถามว่าเราจะได้รับอะไร นอกจากนี้ท่านยังอุทิศตนในการทำให้สังคมเสรีที่ดำรงอยู่สามารถ เอาชนะสังคมเผด็จการได้

จากที่กล่าวมาข้างต้น เห็นได้ว่าชีวิตของ Peter F. Drucker เป็นดังบทเรียนสำคัญที่ไม่สามารถหาได้จากตำราเรียนใดๆ

2) The new office social contract : Loyalty is out, performance is in

ในปัจจุบันกระแสวิธีปฏิบัติของบริษัทที่มีต่อพนักงานได้เปลี่ยนไปจากเดิม คือจากที่บริษัทจะเน้นและมักให้ความสำคัญต่อความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์ของพนักงานที่มีต่อบริษัท มาเป็นการให้ผลตอบแทนพนักงานโดยประเมินจากความสามารถ และผลงานของพนักงานแทน เนื่องจากบริษัทต้องการพนักงานที่มีความสามารถซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการคงอยู่ได้ของบริษัทในปัจจุบัน

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

ศึกษากรณีคุณ__ที่ ค.ร.ม.

เป็นข้าราชการที่มีความรู้และประสบการณ์ แต่ต้องทำตัวเสมือนตัวแทนนักการเมือง และเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและบางพรรคการเมือง

นำเสนอ ค.ร.ม.โดยวิธีไม่เหมาะสม ใช้คำพูดที่ไม่ให้เกียรติ อ้างอิงการได้รับการอนุมัติจากค.ร.ม.ชุดที่แล้ว(ไม่น่าอ้างได้)เป็นความชอบธรรมในการเดินหน้าขอประมูล___ไม่ respect นายกฯและ ค.ร.ม.โดยเร่งรัดให้ตัดสินใจ โดยไม่มีการนำเสนอที่ดีมีเหตุผล___ถูกชักจูงโดยนักการเมืองและผลประโยชน์ รักตำแน่งมากกว่าประเทศชาติ

มองต่างมุม____เป็นข้าราชการที่มีความรู้ ประสบการณ์ ซื่อสัตย์สุจริต

โดยทราบว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงในเรื่องการประมูลฯจากพรรคการเมืองบางพรรค จึงสร้างเงื่อนไขไม่ให้เกิดการประมูล ไม่ได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม.ตัวเองยอมถูกตำหนิและเสียชื่อ(ในระยะสั้น)เพื่อประเทศชาติ

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

ผมไปอยู่บ้านที่ computer ของลูกมี keyboard เป็นภาษาอังกฤษ คลำไม่ถูกเลยขอมาต่อที่ที่ทำงาน

จาก Lesson from a student of life มีหลายจุดที่น่าสนใจ ได้แก่

1 Self-renewal ส่วนหนึ่งมาจากการทำงาน

2 right answers - right questions

3 spread-throught-out autonomous institutions

4 "the next one"

5 compassionate and general human being

ข้อ 1 2 และ 5 ผมคงไม่ต้องพูดถึง ส่วนข้อ 3 นั้น ในปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่าองค์กรระดับท้องถิ่นมีความแข็งแรงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ถึงแม้ว่าผู้แข็งแรงมักจะขาดความรอบรู้ไปบ้าง ในช่วงก่อนผมจะเกษียณ การทำงานของเราคงจะยากมากขึ้น แต่หวังว่าจากทฤษฎีวิวัฒนาการทั่งๆไป เราคงจะพบเห็นองค์กรท้องถิ่นที่มีเหตุมีผลหลังจากผมเกษียณไปไม่นาน

ข้อที่น่านำมาเป็นแบบอย่างก็คือ drucker จะทำงานที่รับผิดชอบให้ดีที่สุดเสมอ คุณลักษณะนี้ควรมีอยู่กับผู้ที่ประสบความสำเร็จทั่วไป อย่างไรก็ตาม ดีที่สุดนั้นต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดต่างๆ ด้วย เช่น เวลาที่จำกัด ประสิทธิภาพผู้ปฏิบัติ ฯลฯ

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

สำหรับ Office social contract นั้น ขอเสนอว่า เด็กสมัยใหม่ในไทยที่มั่นใจในตนเอง (ว่าเก่งและต้องเก่งจริง) เท่านั้นที่มีสิทธิเลือกงาน การรักษาเขาไว้จึง้ป็นสิ่งสำคัญเท่ากับหรือมากกว่าการเลือกเขาเข้ามาทำงาน การ treat แบบนี้ก็ควรกระทำกับผู้ที่มีอายุ (เหลือ)น้อยเช่นพวกผมด้วยเช่นกัน (ผมหมายถึงทุกคนควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมนั่นเอง)

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

Lesson From a Student of Life

Peter F. Drucker is not only guru but a beloved professor and he is generosity and compassion for every student including unknown young men by welcoming ,having a stimulating conversation, giving advising and guidance. He like to learn something from every student and not waste time for interview and useless request. He suggest that Right questions shoud be more important than right answer.

He prefer contribution to achievement. It is said that he has contributed to our understanding of effective management in the last 50 years and show how to make free world work and to the triumph of free society over tyranny by suggesting high performing autonomous institute spread through out as mentioned in text management:Task Responsibility , Practice

He never forgot his own teaching and writing a book until he died at the age of 95. However ,his most important lesson may not be found in any text or lecture but inthe example of his life. He is the greatest thinker of our age.

จากที่ ครม. ชุดเดิมได้อนุมัติเรื่องการประมูลข้าวโพดไปแล้ว และการที่ รมต.พรทิวา ได้สั่งการให้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมอีกครั้ง คุณยรรยงค์น่าจะฉุกคิดได้ว่า รายละเอียดที่ ครม.ชุดใหม่ต้องการคืออะไร หรือต้อการซักฟอกในรายละเอียดส่วนไหน หรือมีวาระซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ แต่ทั้งนี้มองว่าคุณยรรยงค์ขาดการหาข้อมูลและปรึกษากับ รมต. ที่กำกับ ให้ชัดเจน ถึงความต้องการของ ครม.(ลูกค้า) แนวการนำเสนอต้องรอบคอบหรือขอให้ รมต.นำเสนอแทน

และเนื่องจากเป็นการ recheck การอนุมัติจาก ครม.ชุดเก่า ดังนั้นการนำเสนอต้องรอบคอบ ให้ข้อมูลตามจริง และไม่ควรเสนอแนะแนวความคิดหรือข้อสรุปของตนเองให้กับ ครม.หรือนายกรัฐมนตรี

ไชยา ทิพย์มาบุตร

Lesson from a student of life

Peter Drucker เป็นหนึ่งของนักทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ที่ซึ่งหากผู้ศึกษาได้มีโอกาสเรียนอย่างลึกซึ้ง จะ

สามารถเพิ่มองค์ความรู้ด้านทฤษฎีการจัดการให้ลุ่มลึก ผู้เขียนคือ Jim Collins ได้ใช้หัวข้อว่า Lesson

from a student of life เหมาะสมสำหรับ ดรักเกอร์ ผู้เปรียบเสมือนกูรูทางด้านการจัดการ ซึ่งผู้ศึกษา

จากกูรูท่านนี้ควรจะถูกกระตุ้นให้เรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นเคล็ดลับของ ปีเตอร์ ดรักเกอร คือ ศึกษาให้รู้จริง เห็น

จริง ในคำตอบ ทุกคำตอบที่ถูกต้อง Jim Collins ได้กล่าวยกย่อง Peter Drucker ในบทความนี้

Drucker ไม่เพียงแค่สอนลูกศิษย์ เขายังปรารถนาที่จะเรียนรู้จากลูกศิษย์ทุกคนด้วย นั่นคือเขาจะได้เรียนรู้

ตลอดชีวิตประโยคประทับใจในบทความนี้มีมาก อาทิ เช่น “Winston Shurchill saved the free

world, but Peter Drucker showed us how to make that free world work.”

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Winston Churchill ช่วยวิกฤตการณ์ของโลกปลอดภัย แต่สำหรับ ปีเตอร์ ดรัก

เกอร แล้ว แสดงให้เห็นวิธีการสร้างความปลอดภัยให้กับโลก ซึ่งหมายถึงสอนให้รับรู้ก่อน แล้วนำไปปฏิบัต

ให้เกิดผลลัพท์ที่ดี ชัดเจน และถูกต้องต่อไป

นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับคำถาม หากคำถามดี และถูกต้อง ตรงประเด็น จะทำให้ได้คำตอบที่ทำให้

ประสบความสำเร็จได้อย่างดี ดังนั้นคำถามจึงมีความสำคัญมากกว่า

The new office social contract : Loyalty is out, performance is in

บทความนี้กล่าวถึงสัญญาจ้างที่เปลี่ยนไปจากยุคก่อนๆ มาถึงยุคปัจจุบัน สภาพการจ้างงานมีความต่างกัน

กรณีศึกษาเป็นบริษัท IBM ใน US. อันจะนำมาเป็นอุทาหรณ์ปรับใช้ในองค์กรของเราได้อย่างดี ความ

จงรักภักดีแบบเก่าไม่ได้รับความสนใจเหมือนในอดีต หากแต่การจ้างงานแบบใหม่คำนึงถึงผลงานมากกว่า อัน

เป็นกระแสสังคมในปัจจุบันที่มุ่งหวังให้ได้ผลงานเพื่อผลกำไรสูงสุด ปัจจุบันองค์กรเอกชนจะต้องมีความชัดเจน

ในเรื่องระบบวัดที่ประเมินสมรรถนะจากความคาดหวังของฝ่ายนายจ้างที่ต้องการอะไร และ ฝ่ายลูกจ้างเมื่อ

ปฏิบัติงานบรรลุควรจะได้รับอะไร อย่างไรก็ตามขอให้พิจารณาด้วยว่า “ความสุข” ของคนทำงานคืออะไร

ไชยา ทิพย์มาบุตร

สันติชัย โอสถภวภูษิต

ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม.

กรณีขออนุมัติ ครม.ประมูลข้าวโพด ในตอนแรกคิดว่า คุณพรทิวาฉลาดเนื่องจากภาพลักษณ์ตัวเองไม่ดี จึงได้ให้คุณยรรยง อธิบดีกรมการค้าภายในเข้าชี้แจง แต่พอฟังคำชี้แจงแล้วกลายเป็นว่าคุณพรทิวา ฉลาดแค่ครึ่งเดียวเพราะน่าจะแนะนำให้คุณยรรยงพูดถึงแต่เฉพาะข้อดีที่เกษตรกรจะได้ประโยชน์ ไม่ใช่พูดแบบนักกฏหมาย ว่าครม.ชุดที่แล้วอนุมัติไปแล้ว จะขอให้ ครม.เห็นชอบตามมติเดิม คุณยรรยงเป็นใคร ครม.เป็นใคร พูดแบบนี้เป็นก็ไม่อนุมัติเพราะถ้าผิดพลาดอย่างไรครม.ชุดนี้ก็ต้องรับผิดชอบอยู่ดี ตัวคุณยรรยงก็พลาดเยอะ ไปเอาใจนักการเมืองมากเกินไป และตัวเองก็ขาดประสบการณ์ เลยพูดชี้แจงได้ไม่ดีในอนาคตคงจะไม่ผิดพลาดซำอีก เพราะบทเรียนครั้งนี้น่าจะจำไปอีกนานแต่ถ้าคุณพรทิวายังอยู่ก็อาจจะก้าวหน้าในการทำงานก็เป็นไปได้

สันติชัย โอสถภวภูษิต

The new office social contract:loyalty is out performance is in.

ค่านิยมในการทำงานในสหรัฐเริมเปลี่ยนไปโดยในยุคก่อนหน้านั้นจะคล้ายกันกับในสังคมตะวันออก คือมีความจงรักภักดีอยู่ด้วยกันตลอดล่มหัวจมท้ายด้วยกัน เหมือนครอบครัว แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว คนทำงานกันบริษัทจะไม่ผูกพันกัน โดยคนทำงานจะเป็นผู้เลือกบริษัท ที่มี vision and strategy ที่ดีและการตอบแทนผลประโยชน์ต้องขึ้กับผลงานที่ดีโดยมีความผูกพันกันด้วยสัญญาเท่านั้น

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

The New Office Social Contract Loyalty is Out ,Performance is in

There are two differant official contracts ,case study from IBM,are time dependent discussed by Steve Lohr from the New York Times 12nd December 2005.

First,it is called the Old Loyalty for Security is now fading from corporate America. Steady job and regular raises, work hard and play hard, have been explained to this contract. The company like an extended family and the employee have a cradle to grave mentality.

The second,it is said to be the Production Contract. Employee'expectation (like long range career goal, compensation etc.)performance measures instead of seniority,mutual benefit etc., can be explained to this contract. It is said that corporate loyalty like a market transaction and no longer happiness in worker.

This tranformation is caused by rapid technological change, the globalization and faster moving market and market and corporate disruption occurred.

However,in modern work place, the market oriented production model is used and accepted by most managers and professionals,vision and reputation of the company will be part of the key elements.

It can be concluded that the productivity as well as meaning in their work and the institute are necessary. Social connections and skills are also important for a career today

กรณีศึกษา คุณ ยรรยงที่ ครม.

โดย แก้วตา ชาญชัยศรีสกุล

EADP รุ่นที่ 5 กลุ่มที่ 1

 


        กรณีคุณยรรยง สำหรับดิฉัน ถือเป็นสิ่งที่พิสูจน์ จุดยืนของข้าราชการประจำที่เข้มแข็งคนหนึ่ง เพราะถ้าจะบอกว่าท่านน่าจะคิดก่อนพูด เพื่อให้คนฟังถูกใจ (ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้) ก็น่าเห็นใจท่านมาก เพราะพิจารณาแล้วท่านก็ไม่ได้พูดอะไรที่ไม่ถูกต้องจากความจริง ซึ่งถ้าพูดตามข้อมูลตามความจริงก็พูดได้เลย แต่ถ้าจะพูดให้ถูกใจคนฟังก็แน่นอนต้องคิดให้ดี หรือ ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ต้องพูดซะเลย

        ข้าราชการทุกวันนี้ ก็น่าสงสารอยากได้ดีจนต้องแปลงร่างกันหมดแล้ว ลืมไปว่ากินเงินเดือนหลวง บางท่านทั้งเก่ง ทั้งพริ้วก็ทำได้เนียน แต่บางท่านไม่เคย ก็ทำแบบเก้ กังๆ บางท่านยืนกระต่ายลูกเดียวไม่ทำตามก็ไม่โตตามธรรมชาติ(ข้าราชการการเมือง)

        ดิฉันคงเป็นคนหนึ่งที่เป็นแบบท่านยรรยงแน่ เพราะ คิดว่าเราเป็นข้าราชการ แปลว่ารับใช้พระราชา ท่านให้เราทำงานให้ประชาชนอยู่ดี มีความสุข โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ชี้แจงได้ ตรวจสอบได้ มิได้จ้างมารับใช้นักการเมือง ที่มาๆ ไปๆ ไม่แน่นอน ถ้าข้าราชการทุกคนต้องพูด ต้องทำให้นักการเมืองถูกใจ เพื่อหวังความก้าวหน้าซึ่งเป็นลาภยศ สรรเสริญ ก็ควรเปลี่ยนชื่อ ข้าราชการ เป็น ข้าโกงกิน ซะเลยให้ชัดเจน

     บางครั้งรากเง้า วงศ์ตระกูล การศึกษา ก็ไม่ใช่เป็นปัจจัยในการตัดสินความเป็น คนดี คนเลว คนโกงเมือง ซึ่งสามารถเห็นได้จริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในสังคม จึงต้องเริ่มจากตัวเรา ครอบครัวเราก่อน ซึ่งเป็นสังคมที่เล็กที่สุด โดยหวังว่า หากทุกคนเริ่มทำจริง (ไม่ใช่แค่คิดว่าจะทำ) ก็จะช่วยให้ประเทศไทยของเรามีคนดีครองเมือง ได้ตามพระราชดำรัสของในหลวงในวันข้างหน้า

VVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVV

 

 

  

กรณีศึกษา  Mr.Peter F.Drucker

โดย แก้วตา ชาญชัยศรีสกุล

EADP รุ่นที่ 5 กลุ่มที่ 1

"ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์" เป็นนักเขียน ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารจัดการ และอาจารย์มหาวิทยาลัย เขาเกิดในกรุงเวียนนา ออสเตรีย ในเดือน พ.. 1909 และจบชีวิตในเดือนเดียวกันของปี 2005 รวมอายุ 95 ปี

          จากการที่ท่านอาจารย์ จีระ ให้การบ้านมา ทำให้ดิฉันต้องไปศึกษาชีวะประวัติของ Peter Drucker จึงทำให้เข้าใจว่าทำไมนาย Jim Collin หนึ่งในเจ้าของผลงานหนังสือขายดี  รวมทั้ง นักวิชาการ นักธุรกิจระดับยักษ์ๆ ไม่ว่าจะเป็น Bill Gates แห่ง Microsoft, Jack Welch แห่ง GE, หรือ Alfred Sloan แห่งค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง GM และกูรูรุ่นหลัง อาจารย์มหาวิทยาลัยดังๆ และอีกหลายต่อหลายคน ต่างก็ให้คุณค่าต่อแนวคิดและข้อเสนอแนะของ Peter Drucker ซึ่งถือเป็นกูรูด้านการบริหารจัดการที่น่าเลื่อมใสศรัทธามากๆ

ดิฉันคิดว่า Drucker น่าเป็นตัวอย่างของ ปรมาจารย์  ที่อุทิศเวลาและชีวิตให้กับการศึกษา ค้นคว้า และ สั่งสอน ให้คำปรึกษา และจุดประกายความคิดในแง่มุมต่างๆ แก่ลูกศิษย์ หรือผู้ที่ใคร่ศึกษาหาความรู้   Drucker มีวิธีบริหารจัดการเวลาอย่างมีคุณค่าเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด  การที่เขาไม่รับคำเชิญไปร่วมกิจกรรม อาทิCommentator หนังสือ  ร่วม Panel อภิปรายต่างๆ เป็นกรรมการสมาคม ให้สัมภาษณ์ หรือ  ออกรายการวิทยุโทรทัศน์ ในขณะที่คนส่วนใหญ่อยากทำ  ก็เป็นเครื่องยืนยันเจตจำนงค์ของการอุทิศตนเพื่อสังคมอย่างชัดเจน

การให้โอกาส Jim Coll ได้ร่วมเขียน คำนำในหนังสือ The Daily Drucker ซึ่งเป็นหนังสือเรื่องล่าสุด และเป็นเรื่องสุดท้ายที่แต่งโดย Peter Drucker แสดงถึงความเอื้ออาทรให้การสนับสนุนผู้อื่น  รวมทั้ง การบริจาคเงินสนับสนุนให้แก่สมาคมทิ่ได้มุ่งหวังหารายได้ต่างๆ แสดงถึงความเมตตาต่อผู้อื่นในสังคม

ดิฉันจึงคิดว่าสมควรแล้วที่ผู้คนชื่นชมและยกย่องท่านเป็นปรมาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านการบริหารจัดการ  เพราะหนังสือของท่านมิใช่เป็นเพียงเนื้อหา แต่สามารถนำแนวทาง วิธีการบริหาร ไปปฏิบัติได้จริงและประสบผลสำเร็จ

 

Wwwwwwwwwwwwwwwwwwwwwww


“The new office social contract : Loyalty is out ,performance is in.

โดย แก้วตา ชาญชัยศรีสกุล

EADP รุ่นที่ 5 กลุ่มที่ 1

 


     ข้อคิดที่ได้จากบทความของ Steve Lohr ที่ได้ไปสัมภาษณ์พนักงาน IBM ทำให้ยืนยันความคิดของดิฉันและคนทั่วไปที่ว่า บริษัทชาติตะวันตกสนใจแต่ Bottom Line ไม่สนใจเรื่อง Royalty ของพนักงาน เหตุที่ไม่สนใจหรือไม่อยากสร้างความผูกพันก็อาจเป็นเพราะเวลาให้ออกจะไม่ต้องลำบากใจ   เช่นนี้เมื่อบริษัทมีปัญหาทางการเงิน วิธีคิดง่ายๆ ก็คือลดคน
ลดค่าใช้จ่าย เช่น กรณีนาย
Vincent Papke ซึ่งทำงานให้ IBM ตั้ง 27 ปียังถูกให้ออก 

บริษัทชาติตะวันตกมักสร้างข้อตกลงในการทำงานที่ชัดเจน โดยเครื่องมือการบริหารจัดการ อาทิ  BSC Performance KPI ต่างๆ มากมาย เพื่อทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนกับพนักงานว่า งานมา เงินไปโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ซึ่งเริ่มมีพันธุกรรมที่ไม่มีความเอื้ออาทรต่อกันและกันในสังคม ชอบการแข่งขัน เช่น นาย Steven Cohn ก็สามารถเข้าใจและยอมรับกติกาได้   แต่บริษัทก็ต้องทำใจว่าเมื่อไรมีบริษัทอื่นมาเสนอเงินเดือนที่มากกว่าให้นาย Steven Cohn เขาก็ต้องลาออกแน่นอนในทางกลับกัน

          ส่วนบริษัทชาติตะวันออก โดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่น เช่น บริษัท Toyota เป็นที่ยอมรับทั่วไปในเรื่องความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ โดยเครื่องมือหลากหลาย อาทิ KAIZEN  TQM ฯลฯ  แต่ก็ให้ความสำคัญต่อการสร้างคนให้มี Royalty ต่อองค์กร  ถึงแม้จะเป็นบริษัทข้ามชาติ ลงทุนทั่วโลก แต่การปฏิบัติต่อพนักงานชาติอื่นถึงแม้จะไม่เท่าเทียมคนญี่ปุ่นในบางเรื่อง ก็สามารถผูกใจพนักงาน โดยแสดงให้เห็นได้จริงในรูปแบบผสมผสานทั้งในส่วนของผลตอบแทนตาม Performance และ สวัสดิการต่างๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อสหภาพ ทำให้บริษัทสามารถฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจได้ โดยช่วงปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำกำลังผลิตลดลง มีการ
กำหนดเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน มีนโยบายการลดค่าใช้จ่ายบุคคลที่ชัดเจน โดยไม่ขึ้นเงินเดือนผู้บริหารระดับสูง แต่ขณะเดียวกันยังคงขึ้นเงินเดือนให้พนักงานทั่วไป เพียงแต่ขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ ที่เคยได้รับ ซึ่งพนักงานยอมรับได้ นำมาสู่ความรู้สึกร่วมกันในการที่ช่วย
แบ่งเบาภาระองค์กรในยามวิกฤติ

          ดิฉันคิดว่า หากองค์กรสามารถทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในองค์กร โดยคนในองค์กรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี  ได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างชัดเจนตามความสามารถ (ไม่ใช่ ทำ ไม่ทำ ก็ให้เท่ากัน ) และมีความรู้สึกที่ดีร่วมกัน  ย่อมจะช่วยให้องค์กรนั้นฝ่าฟันอุปสรรคในยามวิกฤติ  และทำให้องค์กรมีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

         

ถึงทุกๆคน

ช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ดู Blog ลูกศิษย์รุ่น 5 ของผมใช้ Blog กันได้ดีมากกว่าทุกรุ่น ขอบคุณมากครับ ผมมีความสุขที่ได้เห็นทุกคน Enjoy Learning ได้มองอะไรใหม่ๆ และสิ่งที่มองนั้นมีความจำเป็นครับ ขอให้เวลาในการเรียนรู้ที่มี เหลืออยู่อีก 5 วันสร้างพลังขึ้นมา

จีระ

 

 

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

The new office social contract

บทความนี้ได้เปรียบเทียบคนของบริษัท IBM 2 คนที่เข้าทำงานกันคนละยุค Vincent Papke ซึ่งอายุ 63 ปี เข้าทำงานกับบริษัท IBMในปี ค.ศ. 1963 เขารู้สึกว่าอยู่ร่วมกับคนในบริษัทเหมือนครอบครัวใหญ่และมีความผูกพันกับองค์กรมาก ทำงานกับบริษัท IBM จนถึงปี 1990 จึงลาออกเมื่อบริษัทเริ่มมีปํญหาทางการเงินและต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอด

สำหรับ Steven Cohn อายุ 29 เป็นคนหนุ่มซึ่งมาเข้าทำงานกับบริษัท IBM หลังจากที่เคยทำงานธนาคาร และบริษัท Internet Advertising แล้วลาออกไปเรียนต่อMBAจนจบ ก่อนตกลงใจทำงานกับ IBM Stevenต่อรองเรืองเงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆที่เขาจะควรจะได้รับอย่างเป็นธรรมเพื่อแลกกับงานที่ต้องทำให้บริษัท

ทั้งสองคนเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแทบทุกองค์กร เดิมลูกจ้างส่วนใหญ่ทำงานให้องค์กรด้วยความสุข และมีความพึงพอใจในความมั่นคงขององค์กร และยิ่งอยู่นานก็ยิ่งมีความผูกพันกับองค์กร แต่ปัจจุบันลูกจ้างทำงานให้องค์กรตามข้อตกลงที่เขียนไว้ในสัญญา และต่างฝ่ายต่างเน้นการวัดความพึงพอใจที่ประสิทธิภาพของผลงาน และผลตอบแทนที่แต่ละฝ่ายได้รับ มากกว่าความสุขจากการทำงาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าเพื่อนร่วมงาน

วันนี้ เราถึงยุคที่ต้องกลับไปสร้างความภักดีและความคิดว่า องค์กรจะได้อะไรจากเรา มากกว่าเราจะได้อะไรจากองค์กร ให้เกิดขึ้นกับคนในองค์กรปัจจุบัน แล้วกระมัง ?

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

Lesson from a student of life

จากบทความของ Jim Collins ทำให้ได้รู้จัก Peter F. Drucker การตั้งคำถามเพียงคำถามเดียวของ Peter F. Drucker ว่า ”คุณจะให้อะไรกับสังคมได้บ้าง?”เป็นวิธีการสอนที่ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่สำหรับผู้ไปขอคำแนะนำว่าเขาจะให้อะไรแก่สังคมได้บ้าง แทนที่จะคิดแต่จะเป็นฝ่ายได้รับ

Peter F. Drucker ที่ได้รับยกย่องให้เป็น guru ของ guru , เป็น one of the most influential teacher นอกจากจะเป็นเพราะความคิดเห็นอันลึกซึ้งและเป็นสัจจธรรม และความรู้ความสามารถทางด้านการศึกษา การบริหารจัดการ การบริหารธุรกิจฯลฯ แล้วเขายังเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดย ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการทำประโยชน์ให้สังคม เช่น การสอนในมหาวิทยาลัย การเขียนหนังสือ และการเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และได้เห็นว่าเขาเป็นปราชญ์นักคิดผู้เข้าใจชีวิตอย่างแท้จริง

มุมมองที่ได้รับจากบทความนี้

1.การเรียนรู้ เกิดได้จากการกระตุ้นให้เกิดความคิด และไม่จำเป็นต้องเกิดในห้องเรียนหรือห้องสัมมนา

2. ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรใดๆมีความเจริญก้าวหน้า คนในองค์กรต้องคิดที่จะเป็นฝ่ายทำประโยชน์และเสียสละให้องค์กร แทนที่จะเรียกร้องหรือตักตวงจากองค์กร เพราะสุดท้ายถ้าองค์กรอยู่ไม่ได้ คนในองค์กรก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน แต่วันนี้หลายๆคนในหลายองค์กรยังไม่ได้คิดอย่างนั้น

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

กรณีศึกษาของท่านอาจารย์ยรรยงฯ น่าจะให้แง่คิดได้ว่า หากได้รับมอบหมายให้ไป Present หรือตอบคำถาม ซึ่งมีความสำคัญในที่ประชุมระดับชาติ (ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้บริหารหรือผู้ปฎิบัติงาน) การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ เตรียมข้อมูลในเรื่องที่จะไปให้ข้อมูล รวมทั้ง เรียนรู้ที่จะไปบรรยายหรืตอบคำถามให้ฟังด้วยว่าความต้องการของผู้ฟังเป็นอย่างไรเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาเตรียมตัวในการที่จะตอบคำถามหรือโน้มน้าวให้ผู้ฟังมีความเห็นเช่นเดียวกับเรา

กรณีศึกษา กระทรวงพาณิชย์ต้องการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโควต้าข้าว คงต้องชี้แจง ข้อดี ข้อเสีย สภาพการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ การที่คณะรัฐมนรีชุดที่แล้วอนุมัติ เนื่องจาก เหตุผลใดเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและอธิบายให้ชัดเจนว่า ถ้าคณะรัฐมนตรีตัดสินใจ ไปในทางหนึ่งให้เห็นความผิดพลาดบางอย่าง อย่างไรก้อตาม ก็สามารถนำมาเป็นบทเรียนให้แก่ผู้อ่านให้ได้ข้อคิดว่า หากเราอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น เราควรทำอย่างไร

ศึกษา กรณีคุณยรรยงที่ ครม.

กรณีของคุณยรรยง แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการประจำและปัญหาการเมือง เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และข้าราชการประจำจะต้องอาศัยความสามารถ และประสบการณ์อย่างสูงที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเอาตัวรอดได้ โดยเฉพาะหากนักการเมืองขาดคุณธรรม จริยธรรมและไม่มีธรรมาธิบาลในการบริหารงาน ข้าราชการจะมีแต่ความเก่งและดีในการทำงานในหน้าที่ เพียงอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีความฉลาดเฉลียวเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่ต้องตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

วิธีแก้ปัญหาข้อผิดพลาดในหนังสือ Think again น่าจะสามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาให้แก่ข้าราชการประจำได้ แต่ตราบใดนี่นักการเมืองยังไม่ยกย่องข้าราชการประจำให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการประจำที่แม้จะพยายามฝึกตนให้ฉลาดเฉลียวและพร้อมรับมือกับนักการเมืองก็คงไม่วายที่จะต้องตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยไม่จำเป็น

คุณบวร กุศลสิทธารถ

กรณีศึกษา คุณยรรยง พวงราช

ความเห็น

1. คุณยรรยง เชือ่มั่นในตนเองมากเกินไป ถึงกล้าเถียงกับนายก

2. คุณยรรยง อาจจะยังไม่ได้ศึกษาหรือเข้าใจสไตล์การทำงานของพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะนายกอภิสิทธิ์

3 การประมูลข้าวโพดครั้งนี้คุณยรรยง ทราบอยู่แล้วว่ารัฐบาลขาดทุนและคุณพรทิวา รมต. พาณิชย์ ก็ทราบเช่นกัน แต่รมต.ไม่กล้าชี้แจง จึงมอบให้คุณยรรยง ชี้แจงเพราะเป็นเรื่องเดิมที่เกิดขึ้นในรัฐบาลก่อนและรู้ข้อมูลดี พอเกิดเรืองถกเถียงใน ครม. ไม่มีข่าวว่าคุณพรทิวา ปกป้องคุณยรรยง ดังน้นงานนี้คุณยรรยง โดนตำหนิคนเดียว น่าเห็นใจเหมือนกัน

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

ผู้นำรุ่นใหม่

ผู้บริหารและนักการเมืองรวมทั้งนักธุรกิจรุ่นใหม่ทั่วโลกจะเป็นคนหนุ่ม สาว ที่มีการศีกษาดีและมีความสามารถ มีศักยภาพของความเป็นผู้นำ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่โลกในอนาคตจะทะยานไปข้างหน้าด้วยอัตราเร่งที่ไม่เคยเป็นมาในอดีต

กฟผ.มีคนหนุ่ม สาว จำนวนมากที่มีคุณสมบัติสูงเช่นนี้ หากแต่ติดขัดที่ระบบ ระเบียบของการเลื่อนระดับ จีงไม่สามารถใช้ประโยชน์จากบุคคลากรเหล่านี้ได้ หลายคนที่เก่งมากๆถูกซื้อตัวไปโดยบริษัทเอกชน นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย สำหรับคนเก่งที่คงเหลืออยู่ ก็ต้องใช้เวลาชั่วชีวิตจึงจะอาจมีโอกาสได้ใช้ความสามารถให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

หากผู้บริหารแก้ปัญหานี้ได้ [เช่นด้วยวิธี Fast Tract]จะทำให้ได้ใช้ศักยภาพของบุคคลากรเต็มที่ กฟผ.จะพุ่งทะยานได้เช่นเดียวกับภาคเอกชน

บทวิเคราะห์ Lesson From a Student of Life

Peter F. Drucker เป็นตัวอย่างในเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเรียนรู้ในทุกสิ่งที่สนใจแม้กระทั่งลูกศิษย์ตัวเองยังสามารถค้นหาและสกัดเอาความรู้มาเป็นของตัวเองได้ การตั้งคำถามที่ยากสามารถกระตุ้นให้ผู้ถูกถามทำการค้นคว่าคำตอบซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ได้เป็นอย่างดียี่ง อีกทั้งยังทำประโยชน์ให้สังคมเป็นอย่างมาก

บทวิเคราะห์ The new Office Social Contract: Loyalty is out, Performance is in

IBM ขาดการบริหารความเสี่ยงโดยไม่คาดคิดว่าเครื่อง PC เล็กจะสร้างปัญหาอันใหญ่หลวงให้บริษัทยักใหญ่ได้หากมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะทำให้มีการป้องกันปัญหาก็จะไม่รุนแรงดังเช่นที่เป็นซึ่งจะเหมือนกับวิกฤติปัจจุบันของ USA. ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบบริหารความเสียงดีแต่ในทางปฏิบัติกลับเป็นสิ่งที่ตรงข้าม

การที่บรษัทไม่สนใจเรื่องความผูกพันโดยสนใจแต่เพียงผลงานนั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ยั่งยืน การดูแลพนักงานตั้งแต่เข้างานให้เขามีความสุขและสนุกกับการทำงานจะทำให้ผลงานออกมาดีในที่สุด

ทั้ง Papke และ Cohn มียุคสมัยที่ต่างกันมีแนวความคิดที่แตกต่างเป็นผลพวงจากเทคโนโลยีและโลกาภิวัตน์เป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุมแต่สิ่งที่บริษัทอยากให้พนักงานเป็นสามารถทำได้โดยการกล่อมเกลาก็จะได้ในสิ่งที่อยากได้

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

โอบามาร์ค vs. โอบาฮูล

ไทยและอินเดียมีความสัมพันธ์กันมายาวนานตั้งแต่ในอดีต มาในปัจจุบันเราเกือบจะมีตัวร่วมกันในบางเรื่อง เช่นผู้นำที่มีอายุน้อย อย่างไรก็ตามผู้นำอายุน้อยทั้งคู่ก็กำลังถูกจับตามองทั่วโลก

การเอาชนะคู่แข่งและได้ใจคนในระดับรากหญ้าเป็นสิ่งสำคัญที่คุณอภิสิทธ์ต้องทำให้สำเร็จ เช่นเดียวกับที่ กฟผ.ะต้องได้ใจคนในระดับรากหญ้าเช่นเดียวกัน

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

Lesson From A Student of Life

Peter Drucker เป็นปรมาจารย์ที่เป็นผู้ให้อย่างแท้จริง แม้จะทุ่มเททำงานหนัก และไม่มีเวลาสำหรับการให้สัมภาษณ์หรือตอบคำถามใดๆ แต่สำหรับการเป็นครูผู้แนะนำให้กับคนหนุ่ม สาว แล้วเขาพร้อมเสมอ

นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพวกเราได้นำไปปฏิบัติ และเป็นแนวทางในการทำงาน ซึ่งจะทำให้ทั้งองค์กรและประเทศชาติเจริญรุีงเรืองต่อไปในอนาคต

วันนี้ได้อ่านบทความที่ อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ เขียนถึง คุณอสิทธิ์ คุณโอบาฮูล Mr.Obama และMr.Mededev ซึ่งผมเองรับทราบ อ่านจากสื่อไทยมาบ้าง (เข้าใจว่าสื่อไทยก็รับทราบมาเช่นกัน) เพราะ ผมเองก็ไม่รู้(ความรู้)จักทั้งสี่ท่านเลย แต่ผมเองมีทัศนะเกี่ยวกับผู้นำทางการเมืองไทยอย่างนี้

1.พรรคการเมืองและคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องต้องแสดงถึงภาวะผู้นำอย่างชัดแจ้ง ในการอธิบายถึงนโยบายและวิธีการอย่างเป็นรูปธรรมและมีเป้าหมาย อย่างชัดเจน เมื่อได้เป็นรัฐบาล อย่างต่อเนื่องต่อประชาชน เมื่อพรรคตนได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาเกินครึ่งหนึ่ง(ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง)ถ้าหากไม่มีพรรคได้รับเลือกเกินครึ่งหนึ่ง(ไม่มีพรรคไดได้รับชัยชนะ)จะต้องให้พรรคที่มีคะแนนเสียงมากกว่าเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล(เคารพในเสียงส่วนมากของประชาชน)ไม่มีเหตุผลอื่นมาโต้แย้ง

2.คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีประสบการณ์การใช้ความสามารถ บริหารเชิงยุทธศาสตร์อย่างมีคุณธรรม มิใช่ดูจาก

1) ชาติตระกูล

2) วุฒิการศึกษา

3) ผู้มีตำแหน่งทางสังคมและฐานะเศรษฐกิจ

4) เป็นผู้นำ กลุ่มอิทธิพล(อันธพาล)ทางสังคมและการเมือง

วันนี้ได้อ่านบทความที่ อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ เขียนถึง คุณอสิทธิ์ คุณโอบาฮูล Mr.Obama และMr.Mededev ซึ่งผมเองรับทราบ อ่านจากสื่อไทยมาบ้าง (เข้าใจว่าสื่อไทยก็รับทราบมาเช่นกัน) เพราะ ผมเองก็ไม่รู้(ความรู้)จักทั้งสี่ท่านเลย แต่ผมเองมีทัศนะเกี่ยวกับผู้นำทางการเมืองไทยอย่างนี้

1.พรรคการเมืองและคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องต้องแสดงถึงภาวะผู้นำอย่างชัดแจ้ง ในการอธิบายถึงนโยบายและวิธีการอย่างเป็นรูปธรรมและมีเป้าหมาย อย่างชัดเจน เมื่อได้เป็นรัฐบาล อย่างต่อเนื่องต่อประชาชน เมื่อพรรคตนได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาเกินครึ่งหนึ่ง(ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง)ถ้าหากไม่มีพรรคได้รับเลือกเกินครึ่งหนึ่ง(ไม่มีพรรคไดได้รับชัยชนะ)จะต้องให้พรรคที่มีคะแนนเสียงมากกว่าเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล(เคารพในเสียงส่วนมากของประชาชน)ไม่มีเหตุผลอื่นมาโต้แย้ง

2.คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีประสบการณ์การใช้ความสามารถ บริหารเชิงยุทธศาสตร์อย่างมีคุณธรรม มิใช่ดูจาก

1) ชาติตระกูล

2) วุฒิการศึกษา

3) ผู้มีตำแหน่งทางสังคมและฐานะเศรษฐกิจ

4) เป็นผู้นำ กลุ่มอิทธิพล(อันธพาล)ทางสังคมและการเมือง

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

The New Office Social Contract:

การทำงานในสมัยก่อนถือความซื่อสัตย์ จงรักพักดี และการทำงานที่เดิมยาวนาน เป็นสำคัญ แต่ปัจจุบันนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

และสำหรับเจ้าของกิจการนั้น มุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับ 'If you give,you'll get'

นี้คือแนวคิดที่เราต้องปรับตัวให้ยอมรับให้ได้

จากบทความของอาจารย์ เกี่ยวกับผู้นำรุ่นใหม่ทั้ง2ฉบับ(บทเรียนจากความจริงกับ ดร.จีระ)เห็นด้วยกับอาจารย์ว่า นักการเมืองรุ่นใหม่จะมีอายุน้อยลงอย่างเช่น คุณโอบามา คุณอภิสิทธิ์ คุณราฮูล

ผมคิดว่าไม่เฉพาะนักการเมืองเท่านั้น ผู้นำยุคใหม่อายุน้อยจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นโดยเน้นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้การศึกษาดี ใฝ่รู้ศึกษาความเป็นไปของโลกรอบด้าน เพราะปัจจุบันสถานะการณ์ของประเทศ ของโลกเปลี่ยนไปเร็วขึ้น ทั้งด้านเทคโนโลยี ธุรกิจเศรษฐกิจ การเมืองฯลฯ เปลี่ยนไปแบบคาดเดาอนาคตยาก จึงต้องการผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้ สามารถตามทันความเปลี่ยนแปลง และบริหารพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ได้อย่างทันการ ในขณะที่ผู้นำรุ่นเก่าเริ่มปลดเกษียณ

แต่การเมืองในประเทศไทยยังน่าห่วงอยู่ว่า แม้จะได้ผู้นำทางการเมืองรุ่นใหม่อายุน้อย มีความรู้การศึกษาดี มีความสามารถ ก็อาจถูกครอบงำ ชักนำ ใช้อิทธิพลทางตรง ทางอ้อมโดยผู้มีอำนาจ(ทางการเงิน)เพื่อควบคุมทางการเมืองอยู่ ทำให้ประเทศไทยยังคงก้าวไปข้างหน้าได้ช้าและล้าหลังประเทศอื่นเช่นเดิม

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

ผู้นำของโลกปัจจุบันผรวมถึงไทย)มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันไม่ว่าจะอายุน้อย(๔๐ถึง ๔๕ปี) การศึกษาดี(มหาวิทยาลัยดัง ถ้าเป็นคนเอเซียต้องจบต่างประเทศ ตรี โท เอก ยิ่งดี ?)ความคิดดี มีวิสัยทัศน์

มาสู่การเมืองเรียกได้ว่าน่าจะมือสะอาด ถึงแม้ประสบการณ์น้อยแต่น่าจะไม่มีปํญหาในเรื่องการตัดสินใจที่ดี แต่สิ่งที่ต้องติดตามก็คือจะเก่งหรือไม่(เก่งการเมือ-ประชานิยม) เก่งทำงาน เก่งเอาตัวรอด เก่งกลยุทธ์) ดีจริงหรือไม่ คงทนต่อแรงเสียดทานหรือไม่(อันนี้ผมขอเน้นโดยเฉพาะเมืองไทย คุณอภิสิทธิ์ สอบผ่านขั้นแรกกรณี พัทยา และมหาดไทย) สรุปแล้วคงต้องให้โอกาสทุกท่านและให้กำลังใจสัก ๔ ป๊ ทุกอย่างต้องดูLong Term ครับเคยผิดหวังมาแล้วต้องทำใจ(แต่คนที่ไม่ทำให้ผิดหวังก็มี เช่น พลเอกเปรม นายอานันท์ฯถึงแม้จะไม่ได้มาจากประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ และบางท่านอยู่ไม่นาน)

ส่วนการเมืองในอินเดียผมเพิ่งสังเกตุ(เพราะ อ.จีระ)ว่าอยู่กันมายาวนานโดยไม่เคยปฎิวัติ แต่ผมว่าในแง่ความรุนแรงเราน่าจะน้อยกว่า ไม่มีการฆ่าผู้นำ ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศคงต้องมองถึง วัฒนธรรม ประเพณี การศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและเวลา

ยงชัย จันทร์เลิศฟ้า

อ่านบทความ อภิสิทธิ์ ราฮูล Obama Medvedev มีความคิดเห็นดังนี้

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่สนใจการเมืองมากขึ้น และมีความรู้ความสามารถ

มีจุดยืนในการหาเสียง และเข้าถึงประชาชนในทุกระดับ

แต่ก็จะเห็นว่าครอบครัวการเมือง และฐานการเมืองเก่า ก็มีอิทธิพลต่อ

การเลือกตั้งสูงมาก

แม้ว่าทุกคนจะมีจุดแข็งจุดอ่อนบ้าง แต่ก็จะสามารถบริหารประเทศ

และพัฒนาการเมืองไปสู่ยุคใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ

จากบทความเรื่อง ผู้นำรุ่นใหม่: อภิสิทธิ์, Obama และ Mededev และ โอบามาร์ค VS โอบาฮู

เห็นว่า :

-ในประเด็น ผู้นำรุ่นใหม่ กับ ปัญหาเรื่องประสบการณ์ และ แนวความคิด ใหม่ เห็นว่า เป็นเรื่องเดียวกัน ในมุมมอง เรื่อง การต่อยอดองค์ความรู้ แน่นอน มักจะมีการพูดว่า คนรุ่นใหม่ที่อายุน้อย มักจะขาดประสบการณ์ แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นตลอดไป เนื่องจาก ในสังคมยุดข้อมูลข่าวสาร จะทำให้การต่อยอดขององค์ความรู้ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีรายละเอียดในหลายแง่มุม ดังนั้นความแตกต่าง และปัญหาน่าจะอยู่ที่ ภาวะการตัดสินใจ

-ในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องประเทศอินเดีย มีมุมมองในเรื่อง การมีรากฐานบางช่วงในประวัติศาสตร์ จากสังคมอังกฤษ ซึ่ง อาจจะคล้ายๆ กับ สิงคโปร แต่อินมีก็มีรากฐานและเป็นต้นกำเนิดแนวความคิดหลายเรื่องยาวนานกว่า ดังนั้น จึงทำให้อินเดียเป็นแหล่งความรู้ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะปรัชญาความคิด แต่เท่าที่ทราบ เมื่อ จะต้องไปดูงาน เข้าร่วมสัมมนา หรือ อบรมที่ประเทศอินเดีย หลายคน มักจะไม่ค่อย มีความสุขนัก เนื่องจาก จะเริ่มคิดเกี่ยวกับ การรับมือในปัญหา สิ่งรอบข้างที่จะต้องสัมผัสในชีวิตประจำวันเมื่ออยู่ที่ อินเดีย

วิชัย สิมะธัมนันท์

ผ่านไปแล้วครึ่งทางของการอบรม ได้เรียนรู้หลักการบริหารใหม่ๆหลายอย่างจากท่านผู้มีความรู้ชั้นนำของประเทศทุกคน โดยเฉพาะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ถือว่าเป็นสุดยอดของการอบรมจริงๆ

ความเห็นเกี่ยวกับ โอบามาร์ค โอบามา เมดเวเดบ และโอบาฮูล จัดเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่อายุน้อย มีการศึกษาที่ดี เป็นความหวังใหม่ของผู้สนับสนุน มีโอกาสที่จะสร้างมิติใหม่ของการเมืองในประเทศตนเองได้ทุกคน หวังว่านายกอภิสิทธิ์จะลบภาพเดิมของพรรคได้และไม่ทำให้ผิดหวัง

กรณีศึกษา..ผู้นำรุ่นใหม่

ผู้นำรุ่นใหม่ ตามความคิดของผมคือเป็นคนมีความรู้ มีภาวะผู้นำจากการแสดงออกทั้งคำพูดและแนวคิดรวมทั้งอายุยังน้อย.. ดังนั้นผู้นำของอเมริกา รัฐเซียและไทย ต่างอยู่ในแนวคิดของผมทั้งสิ้น ส่วนใครจะมีฝีมือขนาดใหน คงต้องดูในช่วงที่อยู่ในอำนาจ

สำหรับนายกของเรา จะลำบากหน่อยเพราะไม่รู้ว่า จะทนรับแรงกดดันแค่ใหน ซึ่งจะต่างกับโอบามา (อเมริกา) และMedvedev(รัฐเซีย) ซึ่งทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวไม่ดีอย่างไรประชาชนสามารถเลือกใหม่เมื่อครบวาระ ในขณะที่นายกของเรามีโอกาสไปได้ทุกเมื่อ(ผลประโยชน์ไม่ลงตัว)

ดังนั้นนายกของเรา จึงต้องเก่ง ด้านบริหารคนมากๆๆๆ  ส่วนบริหารงานต้องมีผู้ช่วยที่มีประสบการณ์ ผมอยากจะบอกว่า การเป็นผู้นำของไทยในภาวะที่ต้องพึ่งพาหลายพรรค จำเป็นต้องดูแลและระมัดระวังพรรคร่วมตลอดเวลา ทั้งคนและช่องทางหากิน....

ภัทรพงศ์ เทพา

สันติชัย โอสถภวภูษิต

LESSON FROM A STUDENT OF LIFE

อ่านแล้วบอกได้เลยว่า สุดยอดของการให้คือ การให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ ของการ สอน การเขียนหนังสือ การให้สัมภาษณ์

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

อย่างน้อย การเมืองไทยกับการเมืองอเมริกันก็มีลักษณะอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน (หน้า 1 ของ Prologue ใน The audacity of hope บรรทัดสุดท้ายก่อนย่อหน้าสุดท้าย)การเข้ามาเล่นการเมืองของคนดี มีความรู้ โดยหวังที่จะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติจึงเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง

เมื่อ 1 ปีก่อนหน้านี้ ผมพบคนไทยที่ทำงานที่อเมริกาและได้ถามเขาถึงการเลือกตั้งผู้แทน Democrat เขาบอกว่า Obama อ่อนประสบการณ์ ไม่มีผลงานที่ชัดเจนในขณะที่ Clinton มีภาษีกว่าในด้านนี้ จะเห็นได้ว่า Obama ก็รู้จุดอ่อนของตน ในการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาจึงเลือกผู้มีวัยวุฒิมาเป็นรองประธานาธิบดีเพื่อเสริมจุดอ่อนไทยก็เหมือนกัน หากต้องการเด็กหนุ่มไฟแรงโดยไม่ดูอาวุโส (อายุ)แล้ว นายกอภิสิทธิ์คงได้เป็นหัวหน้าพรรคก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ต้องเอาท่านบัญญัติมาขัดตราทัพหรอก

ในกรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ในการตัดสินใจนั้น จะต้องมีการ Trade off ระหว่างความรู้ความสามารถกับประสบการณ์ ซึ่งสมการนี้คงไม่สามารถใช้เครื่องมือทาง Quantitative มาอธิบายได้

ในองค์กรใหญ่และมีคนเก่งมากเช่น กฟผ.ความก้าวหน้าในหน้าที่ย่อมช้ากว่าองค์กรเล็กเป็นธรรมดา ในการPromoteคนนั้น เราจะทิ้งคนที่มีความสามารถเท่าหรือมากกว่า แต่มีอาวุโสมากกว่าได้อย่างไร ถ้าจะทำ ผู้บริหารที่จะต้องสร้างสภาวะให้ทุกฝ่าย Win ไม่ใช่เปิดโอกาสให้เสียคนดี 2 คนโดยเปิด Early retirement แต่ได้คนชนะคนเดียว

ผู้นำรุ่นใหม่

ปัจจุบันประชาชนต้องการที่จะเลือกผู้นำประเทศที่อยู่ในวัยหนุ่ม มีการศึกษาที่ดี เนื่องจากต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมา ผู้นำที่มีอุดมการณ์ ความคิดก้าวหน้า มองการณ์ไกล ตัดสินในที่ถูกต้องและแม่นยำ โปร่งใส พร้อมที่จะเป็นผู้นำที่สำคัญในเวทีโลก

สันติชัย โอสถภวภูษิต

ผู้นำรุ่นใหม่ อภิสิทธิ์ OBAMA ,MEDEDEV ;โอบามาร์ค VS โอบาฮูล

Trend ของผู้นำรุ่นใหม่ ไม่ต้องมีประสบการณ์มาก,อายุไม่มาก ,การศึกษาดี และภาพลักษณ์ต้องดี อาจเป็นเพราะสังคมในปัจจุบันเริ่มเบื่อการเมืองแบบเดิมๆ คนหน้าเดิมๆ ขนาดตอนก่อนเลือกตั้งในอเมริการะหว่าง โอบามา และ ฮิลารี ช่วงทำโพลยังสูส๊อยู่เลยโอบามา นำนิดหน่อยได้คุยกับคนอเมริกัน บอกว่าอย่างไรฮิลารี ชนะแน่นอนเพราะสุดท้าย คนอเมริกันต้องการคนมาทำงานซึ่งต้องมีประสบการณ์ นี่คือการคิดแบบคคนรุ่นเก่า สุดท้ายก็ไม่ได้ เพราะในสังคมยุคใหม่มองในมุมที่ต่างกันแล้ว

จากบทความจะเห็นได้ว่า การดำเนินชีวิตของ Professor Drucker มีความน่าสนใจและควรเอาเป็นแบบอย่าง คือ

1. การให้และมีเมตตากับผู้อื่น เขาสามารถทำให้ลูกศิษย์ของเขา รวมทั้งคนที่มาพูดคุยกับเขาคิดได้จากคำพูดที่ว่า “ What do you do want to contribute? “ ซึ่งตรงนี้เราสามารถนำมาใช้ได้ คือ เราในฐานะผู้นำได้ให้อะไรกับองค์กร และสังคม ประเทศชาติบ้าง หากนำคำพูดนี้มาคิดสักนิดอาจทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต รวมทั้งการบริหารจัดการที่เรารับผิดชอบอยู่ได้ แทนที่จะให้คำตอบ Drucker จะตั้งคำถามที่จะต้องนำไปคิดดต่อเพื่อก่อให้เกิดปัญญากับผู้ฟังได้

2. การเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ตลอดชีวิต เขาเรียนรู้จากผู้คนที่เข้ามาพบเขา สังคม ฯลฯ และเขียนหนังสือจนอายุ 95 ปี ก่อนเสียชีวิตก็ยังมีผลงานเป็นแนวคิดให้ได้ว่าอย่าหยุดนิ่ง ทั้งในตอนที่ยังทำงานให้กับองค์กร หรือเมื่อเกษียณไปแล้วก็ตาม ทำงานที่รับผิดชอบต่อองค์กรให้ดีที่สุดตลอดเวลาและเมื่อเกษียณก็ควรเรียนรู้ต่อและนำความรู้ที่มีอยู่ ที่เรียนรู้จากสิ่งใหม่ๆ แบ่งปันให้กับสังคมต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กร จะบริหารอย่างไรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร คงต้องเข้าใจความต้องการขององค์กร ผู้บริหาร และของผู้ปฏิบัติงานด้วย นอกจากนี้ มองไปข้างนอกองค์กรว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจะจัดการกับองค์กร ทรัพยากรมนุษย์ของเราอย่างไรเพื่อให้สามารถต่อสู้กับสิ่งเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น บางครั้งการที่ผู้ปฏิบัติงานจะเลือกเข้าทำงานในองค์กรใด เขาอาจไม่ได้มองเพียงเรื่องเงิน สวัสดิการ หรือเรื่องงานที่จะทำเท่านั้น แต่มองถึงผู้นำ (วิสัยทัศน์ และความเป็นมืออาชีพในการบริหาร) ด้วย ซึ่งจะทำให้เขาเห็นได้ว่าองค์กรจะดำเนินไปอย่างยั่งยืนและมั่นคง การพัฒนาทักษะของผู้นำเพื่อบริหารจัดการองค์กร ทรัพยากรมนุษย์ และการมีเครือข่ายกับองค์กรหรือสังคมภายนอก เพื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อการวางแนวทางในการบริหารจัดการ จึงมีความสำคัญเช่นกัน

ผู้นำรุ่นใหม่ ปัจจุบันประชาชนในหลายประเทศต้องการเห็นและลองของใหม่ ๆ ผู้นำที่มีอายุน้อย ประสบการณ์น้อย แต่การศึกษาดี จึงได้มีโอกาสเกิดขึ้นมาให้เราได้เห็นกันใน 4 ประเทศ คือ คุณอภิสิทธิ์ , คุณ Obama , คุณ Mededev และ คุณ Rahul ความหวังของประชาชนก็คือ หวังว่าผู้นำเหล่านี้จะเป็นคนดี มีอุดมการณ์ ทำงานจริง และไม่ถูกการเมืองเก่า ๆ กลืนไปในที่สุด

เทวัญ ตันทนะเทวินทร์

ผมคิดว่าผู้นำรุ่นใหม่ๆที่มีการศึกษาดีและมีภาวะผู้นำ(Leadership)มีแนวโน้มที่จะเป็นคนอายุน้อยรุ่นหนุ่มไฟแรง ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีโอบามาของสหรัฐอเมริกา ราฮูล คานธี ของอินเดีย หรืออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะของไทย ผู้นำที่พูดเก่ง พูดเป็น และมีความสุขุมอย่างนายกอภิสิทธิ์ฯ สามารถถ่ายทอดความคิดต่างๆออกมาให้คนคล้อยตามและเปลี่ยนจากการคัดค้านเป็นการยอมรับมากยิ่งขึ้น สำหรับราฮูลฯของอินเดียซึ่งอาจจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปก็ได้นั้น ผมคิดว่าการที่พรรคคองเกรสได้เสียงข้างมากจากประชาชนระดับกลางและระดับรากหญ้าการเลือกตั้งล่าสุด อาจเกิดจากความต้องการผู้นำรุ่นใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีความเป็นอินเตอร์ ประกอบกับการแบ่งชนชั้นในอินเดียเริ่มจะลดน้อยลงไปเมื่อเทียบกับในอีต.

เรื่อง โอบามาร์ค โอบาฮูล และผู้นำรุ่นใหม่

ผมคิดว่าระยะหลายปีที่ผ่านมา คนระดับกลาง มีการศึกษาในประเทศไทย ให้ความสนใจกับการเมืองมากขึ้น มีความเบื่อหน่ายกับนักการเมืองรุ่นเก่า ซ้ำซาก จำเจ โดยเฉพาะกับนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีการศึกษา การพูดจาน่าเชื่อถือ มีภาพลักษณ์ที่ดี อย่างคุณอภิสิทธิ์ฯ แต่น่าเป็นห่วงอย่างหนึ่งว่า อิทธิพลของนักการเมืองรุ่นก่อน ยังคงครอบงำการเมืองอยู่ และคุณอภิสิทธิ์ฯยังไม่สามารถชนะใจชาวรากหญ้าได้ จึงดูเหมือนว่าคุณอภิสิทธิ์ฯ ยังคงใช้อำนาจตัดสินใจไม่ได้เต็มที่ เกรงใจ เสถียรภาพคงของรัฐบาลจึงน่าเป็นห่วง

สำหรับในวงการธุรกิจ ผมเห็นคนอายุน้อยๆ รุ่นหลังๆ ส่วนหนึ่งเป็นผู้บริหารที่ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก ระดับการศึกษา กระบวนการ ความคิด การปรับตัวตามเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างรวดเร็ว

สุรพล วงศ์ธัญญกรณ์

Creative Thinking เป็นวิธีการคิดที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้งานได้มาก โดยเฉพาะ ในงานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ทั้งนี้งานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องจักร (Machine) เครื่องมือ (Tool)รวมทั้ง Spare parts ที่ต้อง สั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่เราสามารถที่จะนำ แนวคิด Creative Thinking มาพัฒนา ในการสร้างอุปกรณ์ เครื่องมือขึ้นมาใช้เอง ทำให้สามารถ ลดการลงทุนในการสั่งซื้ออุปกรณ์เครื่องมือลงได้มาก ทำให้สามารถลด ต้นทุนในการบำรุงรักษา และระยะเวลาในการบำรุงรักษาลงได้มาก ซึ่งปัจจุบัน กฟผ.ได้มีการพัฒนาและสร้าง อุปกรณ์ เครื่องมือมาใช้ในการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ปัจจุบันประเทศต่างๆต้องแข่งขันกันทางการค้า เศรษฐกิจ และ การเมือง คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนต้องการผู้นำประเทศรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาดี มีวิสัยทัศน์

เชื่อว่าคนไทยหลายๆคนไม่ว่าจะนิยมพรรคไหน ถ้ามองด้วยใจเป็นธรรม ก็คงจะชื่นชมคุณ อภิสิทธิ์ เมื่อต้องไปปรากฎตัวในสาธารณะหรือโชว์ตัวบนเวทีโลก พูดง่ายๆว่า ไม่อายเขาที่มีนายกรัฐมนตรีที่มีการศึกษาดี เป็นผู้ดี ฉลาด และมีไหวพริบ สำหรับคนที่นิยมคุณ อภิสิทธิ์ อยู่แล้ว แค่คุณอภิสิทธิ์ได้สวมบทบาทนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งได้นานเท่าใด ก็พอใจแล้ว เพราะได้ลบคำสบประมาทของหลายๆคนที่ว่า ไม่มีฝีมือ และ บารมียังไม่พอ

โดยส่วนตัว เอาใจช่วยคุณอภิสิทธิ์ ให้อยู่ในตำแหน่งนานๆ ทนต่อแรงเสียดทาน อย่างน้อยก็ให้ พรบ. และ พรก. เงินกู้ ผ่านสภา จัดการประชุมอาเซียนได้เสร็จเรียบร้อยตามที่ตั้งใจ แล้วอีกสักพักหนึ่ง(ยาวๆ)ค่อยยุบสภาแบบสวยๆ

กรณีศึกษา : ผู้นำรุ่นใหม่

โลกในยุคปัจจุบันยอมรับและให้โอกาสแก่คนหนุ่มสาวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ เขาเหล่านั้นเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาดี มีความสามารถ มีโลกทัศน์กว้างไกล และที่สำคัญที่สุดมีภาวะผู้นำสูง การจะมีภาวะผู้นำได้จะต้องผ่านกระบวนการหล่อหลอมมาอย่างยาวนาน มีการเตรียมตัว ฝึกฝนเป็นผู้นำ เฉกเช่นเดียวกับนักกอล์ฟมือหนึ่งของโลก ไทเกอร์ วูด ที่ได้รับการฝึกฝนให้เป็นนักกอล์ฟตั้งแต่อายุเพียง 2 ขวบ เขาจึงเป็นนักกอล์ฟมือหนื่งของโลกที่อายุน้อยในเวลาต่อมา

การเป็นผู้นำรุ่นใหม่จะต้องมีผู้สร้าง แล้ว กฟผ.พร้อมหรือยังที่จะเป็นผู้สร้าง ? 

ทฤษฎี 4L's ของอาจารย์จีระ หงศ์ลดารมภ์ น่าจะถูกหยิบยกนำมาใช้

สร้างวิธีการเรียนรู้ (Learning Methodology) : ด้วยการแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากรุ่น สู่ รุ่น ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และ ต่อเนื่องจนเป็นค่านิยมองค์กร

สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Environment ):ที่อบอุ่น ที่เข้าใจกัน มีความเชื่อมั่นและศร้ทธาจนเกิดแรงบ้นดาลใจ และ จินตนาการสร้างสรรค์ สิ่งที่เรียกว่า Value Innovation ให้แก่กฟผ.

สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Learning Opportunities): ให้โอกาสเป็นผู้นำในแต่ละสถานการณ์ ให้โอกาสการเรียนรู้เส้นทางความก้าวหน้าตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดแห่งเส้นทางนั้น

สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Communities) :ชุมชนนี้มีครือข่าย มีสายสัมพันธ์ เข้าถึงได้ เชื่อมต่อกันด้วยวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ทั่วทั้งองค์กร และออกนอก องค์กรสู่สังคม ประเทศชาติและในภูมิภาคเอเซียหรือทั่วทั้งโลก ด้วยความรู้ทุกศาสตร์ทุกแขนง ที่ กฟผ.มีอยู่แล้ว

กฟผ.พร้อมหรือยังที่จะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้ เป็นภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืนตลอดไป

 

 

 

 

 

แก้วตา ชาญชัยศรีสกุล

ขอวิพากษ์ โอบามา โอบามารค์ โอบาฮูล ด้วยคน!!!

เราว่า การที่คนหนุ่มเหล่านี้ได้รับเลือกตั้ง Fact คือ

1.ความสามารถในการพูดโน้มน้าวคนให้เชื่อและศรัทธาในตัวของเขาเหล่านั้น Marketing เก่ง ว่างั้นเถอะ สำหรับจุดขายใช้ตั้งแต่ เรื่องคนผิวสี (ของแปลก) ทายาทคานธี หรือ ไม่มีพรรคให้เลือก เป็นต้น

2.คนเบื่อคนเก่า อยากลองของใหม่ (เหมือนตอน จำลอง ทักษิณ ได้รับเลือกตั้งไงงั้น) คือ ดี ไม่ดี ไม่รู้

แต่ท่านทั้งหลาย การได้รับเลือกตั้งจึงยังไม่ใช่ข้อสรุป ฝีมือ ที่แท้จริงในการทำงาน ถ้าเปรียบก็คือ จีบสาวจนได้แต่งงาน ซึ่งไม่ใช่ Happy Ending but Just the Beginning เท่านั้น คงต้องรอดูกันต่อไป นะว่านอกจากไปเยี่ยมตะวันออกกลาง แล้วโดนแขกถล่มกลับมา ว่าไม่ใช่เพียงพูดแล้วความสัมพัธ์จะหวานแหว๋วได้ ยังต้องมีอะไรอีกมากมาย ให้พิสูจน์ฝีมือ ว่าราคาคุย หรือ ของแท้ กันแน่

เรื่องนี้เชื่อว่าคนไทยน่าจะเข้าใจ เพราะเคยเลือกของใหม่ ไฟแรงมาแล้ว ไปๆมา เลยไฟเลยลามไปทั่ว ทำให้วุ่นวายไปหมด ไม่ได้บอกว่าให้เข็ด แต่ให้เอาอดีตไว้เป็นบทเรียน เพื่อระมัดระวังด้วย

วิจิตรา ม่วงมิ่งสุข

ได้ฟัง ดร.กมล พูดเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว ทำให้เพิ่มพูนความรู้ และได้ประโยชน์มาก อยากให้ไปพูดให้คนกฟผ.ทุกระดับ มีความรู้ทั่วทั้งกฟผ. บรรจุหัวข้อนี้ ในหลักสูตรผู้บังคับัญชาระดับอื่น และจัดบรรยายเฉพาะเรื่องนี้บ่อยๆ ต่อเนื่อง และขยายไปบรรยายภายนอก กฟผ.ด้วย เพราะเป็นความจำเป็นของกฟผ.

เรื่องจริยธรรม กฟผ.มุ่งมั่นจะเป็น"องค์กรแห่งสุจริตธรรม " จะสำเร็จได้ คน กฟผ.ต้องช่วยกันทั้งองค์กร โดยเฉพาะผู้นำ ต้องเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างด้านคุณธรรม โดยการยึดมั่นใน"จรรยาบรรณ กฟผ."

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

CREATIVE THINKING

การบรรยายเรื่อง Crative Thinking เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก และเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดข้อหนี่งของผู้นำ ถ้าลองสังเกตุดูรอบตัวจะเห็นว่าไม่ว่าคนคนหนี่งจะทำงานได้มากขนาดไหน หรือขยันขนาดไหน ถ้าไม่มี Creative Thinking แล้ว ก็จะไม่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำได้เลย และถ้าบังเอิญได้ตำแหน่งผู้นำ ก็ไม่สามารถสร้างความเจริญให้แก่องค์กรได้

ตอนหนี่งของการบรรยาย วิทยากรได้กล่าวถึงคำพูดของผู้ว่าราชการจังหวัด ของญี่ปุ่นท่านหนี่งที่กล่าวว่า "ขณะประชุม ห้ามพูดถึงปัญหา แต่ให้พูดถีงโอกาสที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนี่งให้สำเร็จเสียก่อน" ซี่งเป็นคำพูดที่น่าประทับใจมาก และเมื่อคิดดูแล้วเห็นว่าหากนำมาปฎิบัติจะทำให้ทำงานยากได้สำเร็จ ซึ่งเป็นคำแนะนำที่มีค่ายิ่งสำหรับการอบรมวันนี้

CREATIVE THINKING บทเรียนที่มีคุณค่ามาก จำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนา แข่งขัน สร้างนวัตกรรม แต่การสร้างคนให้มี CREATIVE THINKING SKILLS เป็นสิ่งที่ยาก ต้องฝึกฝน ทำบ่อยๆ และยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรวมทั้งบรรยากาศในการทำงานด้วย ที่สำคัญทำอย่างไรจึงจะสร้างทีมงานที่มี CREATIVE THINKING

โอบามาร์ค โอบามา เมดเวเดบ และราฮูล

2คนแรก โอบามาร์ค โอบามา มีความมุงม้นที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในการบริหารประเทศของตัวเองตั้งแต่ย้งเยาว์วัยและทำสำเร็จในปัจจุบันแสดงถึงความมีจุดยืนและกำหนดเป็นหมายของชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง

การก้าวเดินแตกต่างกันโดนโอบามาร์ค เป็นอาจารย์ แล้วเข้าสู่เส้นทางการเมืองส่วนโอบามา ทำงานกับรากหญ้าสะสมประสบการณ์แล้วเข้าสู่เส้นทางการเมือง ทำให้ทั้งสองคนมีความเข้าใจและรู้ซึ้งถึงความต้องการของคนระดับล่างต่างกัน ถึงแม้ว่าจะมีอุดมการณ์ที่จะทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองเหมือนกันแต่ผลลัพธ์และการยอมรับต่างกัน

เมดเวเดบ มาทำนองเดียวกันกับ โอบามาร์ค แต่มีคนหนุนหลังอยู่ซึ่งอาจมีแนวโนมเป็นหุ่นที่ถูกเชิดได้และพื้นฐานประเทศเป็นสังคมนิยม การบริหารน่าไม่มีความซับซ้อนมาก

ราฮูล มาทำนองเดียวกันกับ โอบามาหาเสียงทำความเข้าใจรากหญ้าสะสมประสบการณ์อีกทั้งต้นตระกูลคานทีถือว่ามีทุนเดิมสูง

วันนี้ทดลองใช้ Mind Map ในการจดบันทึก Creative Thinking ที่ได้ฟังจากอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ซึ่งท่าน Creative Thinking ได้สุดยอดมาก

รวมทั้งภาคบ่าย Nuclear และปิดท้ายด้วย white ocean ได้ความรู้และแนวคิดอย่างมากมายจริงๆ

ได้อ่านบทความหลายเรื่องที่อาจารย์ ดร.จีระ ได้กรุณาคัดเลือกมา ผมประทับใจ ปีเตอร์ ดลักเกอร์ ที่จิมคอนลินที่เขียนถึงเป็นอย่างมาก นับว่าท่านเป็นปรมาจารย์ของการบริหารงานยุคใหม่ ท่านได้ทุ่มเทในการเขียนหนังสือ การสอนและที่น่าสนใจคือท่านได้เรียนรู้จากบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายที่ท่านสอน อายุ 95 ปี นับเป็นการปิดฉากชีวิตอันยาวนานของนักคิด นักเขียน อาจารย์ผู้เป็นที่รักและบุคลสำคัญของโลกที่น่ายกย่องแต่หนังสือที่ท่านเขียนได้ฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าแก่มวลมนุษยชาติ

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

ผ่านมา ๕ วัน ได้ความรู้และคามคิดท่วมหัว เมื่อวาน(วันที่ ๕)เห็นอ.หนุ่มๆก็ทึ่งในศักยภาพไม่ว่าจะเป็น อ.ณรงค์ศักดิืฯในเรื่อง creativity อ.ดร.ฯ ในเรื่องการสร้างทุนทางจริยธรรม รวมถึง ดร.กอบศักดิืฯ ในวันที่ ๒ ดูแล้วเราคงต้องให้โอกาสคนรุ่นใหม่มากกว่านี้ (ยุคผู้นำผู้อาวุโสผ่านไป)ในการทำงานเพื่อประเทศ ถ้าประสานพลังกับผู้อาวุโส เมืองไทยไปโลดแน่

กล่าวสำหรับ อ.พจนารถฯ (คมในฝัก)ในเรื่อง people managementได้ให้เทคนิค แนวทางการจัดการกับมนุษย์ โดยเฉพาะสมการการจัดการมนุษย์ ดูง่ายแต่ไม่ง่ายที่จะทำ น่าจะเชิญมาสอนในรายละเอียดในแต่ละเรื่องอีกหลายรอบ ส่วน อ.สุขุม ก้ยังยอดเยี่ยมเหมือนเดิม นำไปใช้ประโยชน์ได้มาก โดยเฉพาะการแก้ไขความขัดแย้งซึ่งมีหลายระดับและเทคนิคการประชุม

ผู้นำรุ่นใหม่

ในมุมหนึ่งจากบทความของอาจารย์ พบว่าการยอมรับผู้นำของประชาชนในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น มีแนวโน้มที่ต้องการผู้นำที่มีลักษณะ เช่น มีความรู้ความสามารถ ในการเชื่อมต่อกับผู้นำในระดับประเทศด้วยกันเอง แต่ก็ยังมีความเข้าใจในจิตใจของคนในประเทศของตน ซึ่งสะท้อนออกมาจากการที่ทั้งผู้นำ สหรัฐอเมริการ, อินเดีย และรัสเซีย สามารถได้คะแนนเสียงจากคนรากหญ้าได้ จึงได้โอกาสเข้ามาใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศของตน

จากจุดนี้ หากหันมามองในภาพขององค์กร และของผู้นำองค์กร ก็น่าจะต้องมีส่วนหนึ่ง ที่เข้าถึงบุคคลากรขององค์กร ทำให้เกิดความรู้สึก เป็นส่วนร่วมขององค์กร มีความร่วมแรงร่วมใจ แล้วจึงผลักดันให้บุคคลากรเกิดความใส่ใจ ในการพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง

Theme ของทั้งสองเรื่องสามารถสรุปว่า คลื่นลูกใหม่ใหญ่และมีพลังกว่าลูกเก่า เฉกเช่นการเป็นผู้นำองค์กรต้อง รู้ลึก รูจริง และรู้กว้าง แม่นกฏข้อบังคับ ดังนั้น ประโยคคำพูดของ Obama ค่อนข้างมีน้าหนักพอที่พูดว่า Experience กับ Judgment อาจจะไม่ไปด้วยกัน

ไชยา ทิพย์มาบุตร

เรื่อง Creative Thinking หรือที่เรียกว่า ความคิดสร้างสรรค์ เห็นว่า ถ้าทำไม่ดีจะกลายเป็น ความคิดเพ้อเจ้อ,ไร้สาระ ดังนั้นกระบวนการบริหารจัดการ ความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะที่ผ่าน ส่วนหนึ่งผมได้พบปัญหา เรื่องประสบการณ์ มักจะมา กั้น Creative หรือบางครั้ง มา เป็นแรงพลักดันดัน ทำให้ Outcome ยั้งเป็น Solution แบบเดิมๆ แต่เมื่อได้รู้ว่า จะต้องมีการจัดการอย่างเป็นกระบวนการ และ ฝึกปฏิบัติ ก็จะทำให้ สามารถนำเรื่อง ประสบการณมาต่อยอด แทนที่จะมากั้น และน่าจะนำไปสู่ การ Break Through ดังเช่นในมุมมอง เรื่อง Streak Holder หรือที่เรียกว่า ผู้เกี่ยวข้องในการทำงาน ถ้าคิดว่า Streak Holder เหล่านั้น เป็น Customer แล้วนำ Customer Requirement มากำหนดเป็น Strategy ในการดำเนินการ Result ที่ได้น่าจะดี โดยเฉพาะเรื่อง การบริหารเจ้านาย

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

ก่อนอื่น ผมขอยืนยันว่า ที่คุณแก้วตาโฆษณาว่า "ผมนั่งสมาธิวันละ 2 ชั่วโมง"นั้น เป็นเรื่องเกินจริง ใครว่าง ช่วยแจ้ง กบว.โดยด่วน จะได้มาตรวจสอบ ผู้ที่คอยตรวจสอบเราซะหน่อย

ในการพูดคุยทั่วไปนั้น เราจะเห็นว่าพวกที่มีวุฒิบัตรแสดงความรู้ทางโลกมักพยายามอธิบายเรื่องศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับการปฏิบัติโดยอาศัยทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้ ซึ่งยิ่งพยายามเท่าไรก็ยิ่งผิดเพี้ยนไปเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับจิตนั้น เขาฟังมาจากผู้ที่ไม่รู้จริงและพยายามเอาความรู้ทางโลกของที่มาและตนเองมาอธิบาย

ความจริงแล้ว เรื่องทางจิตนั้น หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ท่านทรงทราบว่าความรู้ที่ทุกคนมีอยู่ในเรื่องการใฝ่หาความสุขเป็นเรื่องที่ผิดทั้งสิ้น ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า บทอาราธนาธรรมที่ว่า "พรหมมา..."นั้น เกิดเพราะพระพุทธเจ้าท่านจะไม่ทรงเผยแผ่ศาสนาเพราะท่านจะต้องบอกว่าทุกคนในโลกคิดผิด คงไปไม่รอดแน่ แต่พระพรหมท่านมาทูลขอว่าคนมีหลายจำพวก (บัวสี่เหล่าไง) นั้นแหละ ท่านจึงทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่ศาสนาตั้งแต่นั้นมา

สำหรับพระป่าสายท่านอาจารย์มั่นนั้น ชื่อ กฟผ.พอจะนำไปอ้างกับท่านได้ ทั้งนี้เพราะ กฟผ.เป็นอุบาสกและอุบาสิกาใหญ่ที่ใกล้ชิดมานาน ซึ่งต้องยกย่องให้คุณหญิงสุรีย์พันธุ์เป็นผู้นำ ทุกปีตอนใกล้ปีใหม่จะมีการนิมนต์พระป่าหลายสิบองค์มาฉันเช้าและถวายสังฆทานซึ่งในวงลูกศิษย์มักทราบว่า หลายองค์ที่มาเป็นถึงพระอรหันต์(ไม่ได้คิดเอง พระท่านจะคุยกันแล้วลูกศิษย์ได้ยิน)กล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีการทำบุญใดที่ได้บุญมากกว่านี้แล้ว จึงขอเชิญชวนอาจารย์หรือผู้ใดก็ได้มาร่วมทำบุญด้วย...หมดหน้าพอดี

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

อ.จีระให้คิดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ มาหนึ่งเรื่องทำงานมา สามสิบกว่าปี ยังหาไม่ได้มส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์งาน และการแก้ไขปัญหางานมากกว่า

มีอยู่เรื่องเดียวที่ใกล้เคียง(คิดเอง)ถ้าใครเคยไปเขื่อนวชิราลงกรณ์(เขื่อนเขาแหลมเดิม) บริเวณสันเขื่อนฝั่งขวามีหน้าผาสูงชันอยู่ บริเวณนั้นเป็นที่ร่มเงา เป็นทางขึ้นลงเรือ ป้อมรปภ.ป้ายชื่อเขื่อน ฯลฯ เป็นที่ยืนชมวิวเนื่อจากมีเงาร่มเย็นที่สุดของสันเขื่อน ตั้งแต่สร้างเขื่อนเสร็จปี ๒๕๒๗ มักมีหินร่วงลงใน บริเวณนั้นเป็นประจำซึ่งมีความเสี่ยงที่จะโดนนักท่องเที่ยวและรปภ. เนื่องจากในบริเวณหน้าผามีลิงอาศัยอยู่จำนวนมาก นักท่องเที่ยวมักจะมาให้อาหาร(ถึงแม้มีป้ายห้าม) แนวคิดเดิม จะมีการป้องกันหินร่วงที่หน้าผาสูงชันโดยใช้ตาข่ายเหล็กคลุม และเย็บหิน แต่ในการดำเนินการต้องมีการไปรบกวนธรรมชาติเช่น ตัดต้นไม้ ขุดก้อนหินบางส่วนออก รบกวนถิ่นที่อยุ่อาศัย (คงต้องรบกับลิง)และใช้งบประมาณสูงมาก ได้มีการประชุมแก้ปัญหาหลายครั้ง ก็ยังไม่สามารถสรุปได้

ล่วงเลยมาประมาณ ๑๐ ปี ได้มีการขอคำปรึกษา ในการทำการป้องกันหินร่วงที่หน้าผาโดยใช้ตาข่ายเหล็กคลุม เย็บหิน ฯลฯ อีก จึงเสนอวิธีทำหลังคาคอนกรีตคลุมบริเวณพื้นที่หินร่วง ใต้หลังคาเป็นที่ยืนชมวิว ทางขึ้นลงเรือและทำสวนหย่อมด้านหลังมีรั้วๆเล็กเพื่อกันนักท่องเที่ยวเข้าไปวิธีการนี้ได้นำมาปฎิบัติใช้ได้ตามวัตถุประสงค์พอควร

Moment;ช่วง สมองโปร่งและจิตว่าง

ชนินทร์ อารีพิทักษ์c

ฟังเรื่องพลังงานได้ข้อคิดดีๆจาก ผวก.ไกรสีห์ฯและ ชพฟ.ดร.กมลฯหลายเรื่องผมมีความเห็นว่าคงต้องบริหารจัดการทั้ง supply sideและ demand side ตามที่พวกเราอภิปรายกัน

ในส่วน supply side คงต้องพึ่งพา Fossil fuel เป้นหลักอีกสัก ๕๐ ปี ตามมาด้วยนิวเคลียส์อีก ๑๐๐ปี ประเทศไหนโชคดีหน่อย ก็ใช้พลังน้ำเช่นในแถบยุโรปเหนือ(ถ้าน้ำแข็งไม่ละลายเร็วเกินไป)นิวซีแลนด์ ก็เช่นกันมีแผนใช้ renewable ถึง ๙๐%(สาเหตุที่อยากไปจะได้ดูว่าเขาทำอย่างไร?)เวลาที่เหลือช่วงนี้คงเป็นช่วงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ในส่วน demand side เรื่อง DSM เป็นหลัก อีกเรื่องหนึ่งพอช่วยได้คือการควบคุมประชากร zero or minus birth ประเทศบางประเทศความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงอันเนื่องมาจาก DSM แล้ว เรื่องประชากรก็ไม่เพิ่มขึ้นด้วย

การบรรยายเรื่อง Creativity thinking ของอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ฯ สุดยอดจริงๆ สังเกตว่าจากที่อาจารย์เล่า การดำรงชีวิต การทำงานของอาจารย์ แม้จะมีภารกิจมาก แต่ดูเรียบง่าย สบายๆ มีความสุขกับงาน อาจเป็นส่วนช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่งได้ ผมเคยศึกษา 80/20 Principle ของ Pareto โดย Richard Koch กล่าวว่า 20% ของเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทำงาน ก่อให้เกิดผลงาน 80% ของผลงานทั้งหมด หมายความว่า เราเสียเวลาไป 80% ของเวลาทั้งหมดสำหรับผลงานเพียง 20% ผมสังเกตตัวเองว่า เมื่อมีปัญหาที่ต้องสรรหาคำตอบ เวลาที่ใช้ในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นส่วนใหญ่ไร้ประโยชน์ แต่จังหวะเวลาที่คิดออกได้คำตอบนั้น ใช้เวลาคิดไม่นาน และไอ้ช่วงเวลานี้แหละเป็นเวลาที่ผมต้องการ แต่ช่างหายากเสียเหลือเกิน มันคงอยู่ในช่วง 20% ของเวลาทั้งหมดนั่นเอง สิ่งที่ยากคือ ไอ้ 20 % นี้มันอยู่ตรงไหน จะได้ Focus และสร้างผลงานเป็น 100% เวลาที่เหลือ 80% จะได้ทำอย่างอื่น

กลับมาเรื่องจังหวะความคิดของผม ช่วงเวลาใดเป็นช่วงเวลาที่ Create ความคิดสร้างสรรค์ได้ดี คำตอบคือไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน แต่เป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายสบายๆ เช่น หลังจากเลิกคิดถึงโจทย์ เข้านอนก่อนหลับเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายมักจะได้ความคิด แนวทางในการหาคำตอบ จนต้องลุกขึ้นมาจดบันทึกแล้วจึงกลับไปนอนต่อ เรื่องอย่างนี้ แต่ละคนคงมีไม่เหมือนกัน ทำยังไงจะสร้างบรรยากาศให้ทีมงานได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในช่วงเวลาเดียวกันคงดีไม่น้อยนะครับ

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

Creativity แนวจีระ

อาจารย์จีระได้พูดถีงเรื่อง Creativity ไว้อย่างน่าสนใจตอนหนี่งว่า "แค่การมีความคิดสร้างสรรค์ [Criativity] หรือจินตนาการ [Imagination] นั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้ จุดที่สำคัญคือ [b]ต้องทำ[/b] ต้องทดลอง ต้องเจ็บปวด"

ซี่งเป็นความจริงอย่างที่สุด การมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ แม้จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดประการหนี่งของผู้นำ แต่ก็เป็นเพียงก้าวแรกของการเดินทางที่ยาวไกล หากปราศจากการลงมีอทำอย่างจริงจัง มุ่งมั่นและทุ่มเทแล้ว จินตนาการที่เจิดจรัสก็ไม่ต่างจาก "ความฝัน ที่ไม่มีวันเป็นจริง"

ดังนั้น "ท่านผู้นำทั้งหลายใน Class นี้ จงลงมือทำความฝันของท่านให้เป็นจริงได้นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป" แล้วจะพบว่าด้วยหนี่งสมอง สองมือก็สานฝันให้เป็นจริงได้ไม่ยาก

วันนึ้เป็นวันที่ 6 ที่ผมได้เข้ารับการอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ มูลนิธิพัฒนาทรัพย์การมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Acardemy (ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์)

ผมได้เรียนรู้วิธี(แนวคิด)การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทรัพย์กรมนุษย์ ซึ่งในการฝึกอบรมเรามุ่งเน้นให้มีความรู้ด้านเทคนิค การจัดการและจริยธรรม ผมสังเกตเห็นผู้ที่ผ่านการอบรมแล้ว พฤติกรรมการทำงานไม่มีการเปลี่ยนแปลง(เหมือนเดิมทุกอย่าง)วันนี้ทำให้ผมได้รับคำตอบ เนื่องจากคนเหล่านั้นไม่มีพลังความคิดสร้างสรรค์ คงต้องเป็นการบ้านสำหรับผู้บริหารต้องคิดค้นสร้างพลังความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกน้อง บนบริบทของตัวเอง

อีกเรื่องหนึ่งที่พวกเราให้ความสนใจอย่างมากใน ประเด็นที่มี โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ไหนก็ตาม จะมีผู้คนออกมาต่อต้าน ผมเองมีประสบการณ์ตรง จากผู้ไม่รับผลกระทบ แต่พวกเขาได้รับการบอกเหล่าต่อๆกันมา ว่าจะมีผลกระทบทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่เลวลง ถึงแม้น ได้รับการชดเชยแล้วก็ตาม ในระยะยาวทำให้ด้อยโอกาสพัฒนาตนเอง ประกอบกับที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านั้นไม่ได้รับประโยชน์จากการสร้างโรงไฟฟ้าทั้งในตรงและอ้อม กลับเป็นคนที่อยู่ไกลจากโรงไฟฟ้าได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะคนเมือง

ทัศนคติดังกล่าว ท้าทายรัฐบาล และ กฟผ.ในการที่จะต้องเปลี่ยนทัศนคติของคนเหล่านั้น ให้ได้ด้วยทำให้กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ มีวิถีชีวิตที่มีคุณภาพดีกว่าเก่าและมีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน ควบคู่ให้ความรู้ความเข้าใจ ต่อประชาชนแปรเปลี่ยนเป็นเป้าหมายเดียวกันในความจำเป็น ต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ (ประเทศ)ให้ดีขึ้น ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชน

Creative Thinking ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ๆแต่ทำไมเกิดยากจัง ยังไม่แน่ใจว่าที่ทำไปมันใช่ความคดิสร้างสรรค์หรือไม่กับงานที่ผมทำอยู่คืองานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าบางปะกงมีตัวอย่างเช่นผมสร้างเครื่องมือทดสอบหลอดวัดรังสี UV เพื่อยืนยันว่าหลอดวัดรังสี UV นั้นยังสามารถใช้งานได้อยู่โดยจำลองห้องเผาไหม้เล็กมาใช้ในการทดสอบเป็นการแก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานประจำ ดังนั้น momentum น่าจะไปทางด้านงานวิศวกรรมมาก

    CSR in process ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องผมเห็นด้วย

ผมได้อ่านบทความ Creativity แนวจีระ (ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) ประกอบกับมีโอกาสดีที่ได้เป็นศิษย์ท่านในหลักสูตร EADP ทำให้ผมเชื่อว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะในระดับผู้บริหารเป็นเรื่องที่ยากมาก ที่จะทำให้ได้ผล คือขาด “ V ” (Value added) หรือ“ V ” อาจติดลบ และการที่อาจารย์ จีระเปรียบทีมฟุตบอลบราซิลเก่งกว่าทีมอังกฤษเพราะ Creativity เป็นการอธิบายแบบง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจได้เลย และจะให้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)ไปสู่ความสำเร็จต้องทดลองทำ ต้องถ่อมตนอยู่เสมอว่าเรายังทำไม่สำเร็จ อีกเรื่องที่ต้องกล่าวถึงคือกฎ 10 ข้อ ของ ดร.จีระ ผมว่ามีความสอดคล้องชัดเจนที่นำไปประยุกต์ใช้ได้

PANEL DISCUSSION วันนี้ 17มิ.ย.52ถือเป็นโอกาสดีที่ได้รับทราบทิศทางพลังงาน กฟผ.จาก ผวก.ไกรสีห์ฯ ชพฟ.ดร.กมลฯ ได้ทั้งความใกล้ชิด ความมั่นใจในทิศทางการทำงานของ กฟผ.ในอนาคต ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่จะนำไปวางเข็มทิศในการทำงานต่อไป

ช่วงบ่าย คุณไพบูลย์ฯและ รวค.วิรัชฯได้เจาะลึก CSR กับการทำงานของ กฟผ.อย่างถึงรากถึงแก่นและสร้างความเข้าใจถึงขั้นตอนการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติวิธี ทำให้มองเห็นภาพการอยู่ร่วมกันของ กฟผ.กับชุมชนอย่างปกติสุข มีกำลังใจที่จะทำงานให้องค์กรอีกนาน

Creativity แนวธรรมะ

การพายเรือทวนกระแสน้ำ หากหยุดพายเรือก็จะไหลไปตามกระแสน้ำทันที จิตใจเราก็ทำนองเดียวกัน เวลากิเลสเกิดขึ้น มีความอยาก ความหลง ความโกรธ ความนึกคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ถ้าเราไม่ได้ดู เราก็จะหลงตามกิเลสไปทันที

การดู ก็หมือนกับการพายเรือทวนกระแสน้ำ การจะดูได้ ต้องมีความรู้ตัวบ่อยๆ เพื่อดูกายดูใจ ถ้าไม่มีความรู้ตัว เราก็จะตามกิเลสไปโดยไม่ได้ดูกายดูใจตนเอง เรียกว่าไหลไปตามกระแสน้ำ

อาจารย์คะ การพายเรือทวนกระแสน้ำ เทียบเคียงได้กับ Creativity ที่อาจารย์แปลว่า ทำอะไรที่สวนทางกับสิ่งที่ได้ทำมานาน ส่วนการหยุดพายเรือทวนกระแสน้ำ เทียบเคียงได้กับ ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง ที่อาจารย์แปลว่า ชีวิตเราเกิดมาด้วยความเคยชิน

ทำให้นึกถึงหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ท่านเมตตามาแสดงธรรมที่ กฟผ.บ่อยๆ ท่านเทศน์ว่าชีวิตเราเกิดมากับกิเลส กิเลสพาให้เรามาเกิด ถ้าเช่นนั้นความเคยชินของเราก็คือกิเลส กิเลสที่ติดตัวเรามาหลายภพหลายชาติ

เพื่อนๆ คะ คงต้องออกแรงกันหน่อย มาพายเรือทวนกระแส เพื่อจะได้ดูกายดูใจไม่หลงไปตามกิเลส

จากคำที่อาจารย์พูดถึงเสมอ CREATIVE และบทความ CREATIVITY แนวจีระ ทำให้ผมได้คิดว่า อาจารย์คอยพร่ำสอนให้รู้จักคิด พยายามให้วิเคราะห์กับความจริงชีวิตจริงร่วมกับ จินตนาการ ก็จะได้ ความคิดสร้างสรรค์ CREATIVE THINKING ขึ้นมา แล้วหาบรรยากาศ โอกาส ที่จะสร้างความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาบ่อยๆ ฝึกฝนจนเป็นนิสัย การมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีอย่างเดียวคงไม่พอถ้าไม่ลงมือทำให้เป็นจริง

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

การจะมี Creativity นั้น คงต้องประกอบด้วยหลายๆส่วน ความรู้ดี กว้าง ลึก เรียนรู้อยู่เสมอ มีประสบการณืบ้าง เห็นมากๆ ฝึกคิดบ่อยๆ mind mapping ช่วยได้ จิตใจดีงาม ไม่เครียด หมกมุ่น สมองโปร่งศึกษาธรรมะบ้าง ทำกิจกรรมอื่นๆเช่น กีฬา เล่นเกม พักผ่อนนอนหลับ

ยงชัย จันทร์เลิศฟ้า

เรื่อง Creativity นั้น จะเกิดก็ต่อเมื่อเรามีจิตที่สงบ มีสมาธิ ผ่อนคลาย

แล้วเรื่องต่างในเชิงสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้น โดยไม่มีเวลา และสถานที่แน่นอน

โดยส่วนตัวผมแล้ว มักจะเกิดตอนเช้าขณะที่สมองปลอดโปร่ง อากาศแจ่มใส

แต่อย่างไรก็ตามความคิดพวกนี้มาเร็วไปเร็ว ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ ต้องรีบจด

บันทึกไว้ ไม่เช่นนั้นก็จะลืม

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญเป็นบุคคลที่น่ายกย่องเพราะสามารถนำ Creativity ในตนออกมาปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง

อย่างไรก็ตาม นอกจากการสรรสร้างสิ่งต่างๆ แล้ว Creativity ในการทำงานปรกติก็เป็นสิ่งที่ควรนำมากล่าวถึง ทั้งนี้เพราะในหน่วยงานที่ใหญ่และ Bureaucratic นั้น คนทำงานมักติดกับระบบ บางครั้งก็ทำงานตามแนวทางที่พี่ๆ เขาทำกันมา(เอ! มีหญ้าติดปากมั๊ยเนี่ย) บางครั้ง การแก้ปัญหาโดยวิธีการใหม่จะได้ผลที่ดีกว่าเดิม

ตัวอย่างของการคิดหาแนวทางใหม่ๆ นั้น ดูได้จากสงครามเก้าทัพ!!!!! อย่างเพิ่งงง ลองอ่านดูก่อน

ในสมัยสุโขทัย เอ๊ยไม่ใช่ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีสงครามใหญ่ระหว่างไทยกับพม่าครั้งสุดท้ายเกิดขึ้น ในอดีตก่อนหน้านั้น พม่าจะยกกองทัพมาตีไทยโดยไม่แยกกองทัพออกเป็นหลายสาย แต่พระเจ้าปดุงคิดใหม่ แบ่งกองทัพจำนวนถึง 144000 คนออกเป็นเก้าทัพยกมาตีไทยในทุกทางโดยคิดว่าไทยไม่มีทางสู้ได้แน่ ในขณะเดียวกัน กองทัพไทยซึ่งมีจำนวนราว 70000 คนมักตั้งรับในพระนครเพราะกำลังน้อยกว่าก็ปรับยุทธวิธีโดยออกไปตั้งรับทางเหนือแถบนครสวรรค์..ประมาณนั้น(จำไม่ได้)และออกไปรับที่ชายแดนแถบเมืองกาญจนบุรี ยุทธวิธีของไทยทำให้ได้รับชัยชนะ

จากข้อมูลที่นำเสนอ จะเห็นได้ว่า Creativity ที่จะสำเร็จได้ก็ต้องประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆ เช่นเดียวกับที่อาจารย์บอกว่าต้องกระทำ และกระทำโดยรอบคอบ มิฉะนั้นแล้วการปิดฉากของสงครามไทยกับพม่า(ในอดีต)ก็จะไม่เป็นการจบที่คนไทยประทับใจได้

สันติชัย โอสถภวภูษิต

Creativity แนวจีระ

Creativity เป็นเรื่องที่ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่ขาดสำหรับคนไทย เพราะการเรียนการสอนบ้านเรา จะเน้นที่การจำมาก จะไม่ค่อยให้เด็กคิด แต่ถ้ามีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติแบบเพิ่มคุณค่าให้ได้ด้วย อย่าคิดแบบเพ้อฝันแล้วทำไม่ได้ เรื่องนี้ต้องฝึกคิดไปเรื่อยๆ อย่าหยุดเพื่อให้เป็นนิสัย เหมือนทีอาจารย์สอน ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

Creativity

ตลอดระยะเวลาการทำงานที่ กฟผ.....ปี ผมย้ายไปปฏิบัติงานหลายที่ เจอผู้คนมากมาย มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงาน ที่สามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

การสอนงานในความคิดของผม จึงไม่ใช่เป็นเพียงการส่งพนักงานเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ แต่ควรเอาประสบการณ์ของเราไปสอนผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ที่ไม่มีในตำรา เราจะได้รับความเชื่อถือและศรัทธาจากลูกน้อง และถ้าหัวหน้าทุกคนทำได้ ก็จะทำให้องค์กรของเราเต็มไปด้วยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าแก่องค์กร

วรพจน์ มานะพันธุ์พงศ์

เรื่อง Creativity มีและเกิดขี้นได้ตลอดเวลา ถ้าเราให้เวลาและคิดทบทวนเรื่องนั้น ๆ ทุกช่วงเวลาที่มีโอกาส แต่มักจะเกิดตอนช่วงที่่จิตสงบ มีสมาธิ ไม่หมกมุ่นเป็นอย่างที่อาจารย์และเพื่อน ๆ ให้ความเห็นและมาเร็วไปเร็ว อย่างที่คุณยงชัยกล่าวจึงต้องรับจดบันทึกไว้ ช่วงเวลาที่่ร่างกายได้รับการพักผ่อนและผ่อนคลายจะอยู่ในช่วงเช้า 3.00 - 7.00 น. จึงต้องมีกระดาษและปากกาไว้ที่หัวเตียงตลอดเวลา

ในส่วน Creative Thinking ที่ อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริย มาให้ความรู้ในวันที่ 16มิ.ย.52ผมเห็นว่าได้ประโยชน์มากถึงแม้เรื่องนี้จะมีผู้มาให้ความรู้หลายครั้งแล้ว แต่ถ้าได้รวบรวมจากผู้ที่ อ.จีระ จัดมาให้แล้วนำมาย่อย ประมวล รวมประสพการณ์จากเพื่อนๆ และตนเองที่มีอยู่ก็จะ Creative ต่อยอด หรือสร้างสรรค์วิธีการทำงานและแก้ไขปัญหาใหม่ ๆได้

สำหรับ "ห้องความคิดสร้างสรรค์" ผมขอเสนอให้เพื่อนๆไปช่วยคิดเล่นๆอย่างจริงจัง 2 ห้อง ที่อาคาร ท.102

1.ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ห้องสมุด ชั้น 3

2.ห้อง VIP ชั้น 20

เพื่อนๆเห็นชื่อห้องแล้วอาจจะแปลกใจแต่ห้องดังกล่าวมีอยู่จริง

ส่วนเรื่อง EGAT UNPLUG ที่ อ.ณรงค์ศักดิ์ เสนอความคิดก็เป็นเรื่องที่น่าทำแต่ปัญหาของเรื่องที่น่าทำน่าดำเนินการหลายๆเรื่องที่ไม้เกิดขี้นก็เพราะความใหญ่โตมีหน่วยงานหลากหลายไม่รู้ว่าใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบและส่วนใหญ่ก็จะมาติดขัดที่กฎระเบียบ ควรมีการแก้กฎระเบียบกันอย่างจริงๆจังๆกันเสียที

หนังสือที่ อ.ณรงค์ศักดิ์ แนะนำ

- Harvard Businese Review

- International Marketing

- Blue Ocean Strategy

- Entrepreneurial Mindset

- Marketing Moves

- The World is Flat

- Leisure Marketing

- Customer Relationship Manaeement

- DIFFERENTIATE OR DIE

ถึงลูกศิษย์รุ่น 5

          เมื่อ เช้าวันพุธ เราได้รับเกียรติจากคุณไกรสีห์ กรรณสูต ท่านอดีตผู้ว่าการฯ และคุณสมบัติ ศานติจารี ท่านผู้ว่าการคนปัจจุบัน ทั้ง  2 ท่านมาพบเรา พวกเราได้แสดงความขอบคุณ

            พูดถึงการพัฒนาคนในกฟผ. ไม่ใช่แค่ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องเท่านั้น แต่เน้น Quality, Quality, Quality เน้น Low Volume, High Value มากขึ้น ลงทุนให้คุ้มค่า และใช้ Brand วันนี้อีกไม่เกิน 5 ปี กฟผ. ก็เป็นองค์กรที่มีนโยบายเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ได้แน่นอน

            ดูการใช้ Blog รุ่น 5 แค่ 6 วัน มีลูกศิษย์ส่งมากว่า 100 ครั้ง คนดูของเราช่วงเช้าวันที่ 18  เกือบ 600 กว่าคนแล้ว

การบ้าน : อ่านบทความ Creativity แนวจีระ

                ความคิดสร้างสรรค์นั้นจะต้องมีแรงบันดาลใจบางอย่าง เช่น การต้องการแก้ปัญหาในงานซึ่งได้ทำมาแล้วหลายครั้ง แต่ผลที่ออกมายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้เท่าที่ควร ทำให้ต้องพยายามนั่งคิด นอนคิดตลอดเวลา และสุดท้ายเมื่อนอนหลับไปได้ฝันเห็นวิธีแก้ไข และได้กลับมาคิดทบทวนและนำมาแก้ไขจนเกิดผลสำเร็จ ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้แต่เป็นเรื่องจริงที่เกิด

                ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อคิดแล้วไม่มีโอกาสได้ลองทำหรือลงมือปฏิบัติก็จะไม่เกิดความสำเร็จได้ ดังนั้น จะต้องมีการอธิบายแนวความคิดใหม่ ๆ นั้น กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระดับเพื่อให้เห็นคล้อยตามไปในทิศทางเดียวกัน และเมื่อเกิดความสำเร็จถือว่าเป็นผลสำเร็จร่วมมิใช่ของเราเพียงคนเดียว ซึ่งต่อไปองค์กรก็จะเปิดโอกาสให้ทุกคนคิดออกนอกกรอบได้ และจะเป็นองค์กรแห่งความเรียนรู้ขึ้น และเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อไป

                                                                                                                ปรีชา ศรีน้อย

เทวัญ ตันทนะเทวินทร์

การบ้าน : อ่านบทความ Creativity แนวจีระ

โดยทฤษฎีหลักของอาจารย์ ดร.จีระ เกี่ยวกับ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัย 4L’s ได้แก่รู้วิธีการเรียน สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ โอกาสของการเรียนรู้และกลุ่มคนในการเรียนรู้ โดยมีหัวใจสำคัญ คือ การค้นหาคำตอบเพิ่มเติมด้วยตัวเองเพื่อความกระจ่างชัด นอกจากนี้ควรมีการเรียนแบบข้ามศาสตร์ด้วย และมีสมาธิในการคิดเพื่อให้เกิดจินตนาการในทางสร้างสรรค์และหากมีโอกาสได้ทดลองทำหรือสัมผัสนำร่องด้วยก็ยิ่งจะนำไปสู่นวัตกรรมสร้างสรรค์ (Creative Innovation) ในเรื่องต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้นซึ่งจะสามารถ Apply ได้กับงานทุก ๆ ด้าน

เทวัญ ตันทนะเทวินทร์

วันนี้ 18 มิถุนายน 2552 ผมได้อ่านบทความของอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง ตำแหน่งใหม่ : ผู้ตรวจการทางความรู้ แล้วอาจารย์ กล่าวถึง Knowledge Management (KM) ผมมีประสบการณ์ในการนำ KM ใช้ในหน่วยงาน โดยใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ดังนี้

โดยเริ่มต้นที่ผมกำหนด KV ( Knowledge Vision ) คือ “การปรับแต่งระบบควบคุมและอุปกรณ์เผาไหม้ เครื่องกังหันก๊าซ” กำหนดให้ผู้บริหารระดับหัวหน้ากอง เป็นผู้ดำเนินการรวบรวมผู้มีความรู้และประสบการณ์ มาแลกเปลี่ยนกัน จนได้เป็น “คู่มือการปรับแต่งระบบควบคุมและอุปกรณ์เผาไหม้ เครื่องกังหันก๊าซ” เพื่อนำมาใช้กับเครื่องกังหันก๊าซ ที่มีใช้กับโรงไฟฟ้า ในประเทศไทย

สองสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มผู้รู้จำนวนประมาณ 20 คน ได้มาประชุมร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน ผมได้เข้าไปเพื่อให้คำแนะนำถึงกระบวนการทำ KM โดยคำนึง ถึงการสร้างบรรยากาศ โดยให้ทั้งผู้พูดและฟังมีความอิสระไร้ความกังวลไดๆ ในการแสดงออก ซึ่งผมสังเกตเห็นว่าบรรยากาศในวันนั้น เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ผมมีความมั่นใจอย่างยิ่ง ว่าบรรลุ KV แน่นอน

วันี้ได้พัฒนาบุคลิกภาพซึ่งก็ได้แนวทางในการสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีและความเหมาะสมตามด้วยเศรษฐพลังงานซึ่งฟังแล้วรู้สึกว่าการทำงานของ กฟผ.ต่อไปในอนาคตไม่ง่ายแล้ว เป็นงานที่ท้าทายความสามารถของ กฟผ.ในการที่จะต้องผลิตพลังงานให้เพียงพอเชื่อว่าพวกเราชาว กฟผ. จะฝ่าฟันอุปสรรค์นี้ไปได้เพราะทุกครั้งที่มีวิกฤติเราก็ฝ่ามาได้ทุกครั้ง

สุดท้ายต้องขอขอบคุณ อ.จิระ รวฟ. ชผว. ที่ให้เกียรติ รุ่น 5 อยู่ร่วมงานเลี้ยง

ที่พวกเราจัดขึ้นวันนี้ และขอขอบคุณเพื่อนแทรกเพลง Happy Birth Day และ CAKE ให้ผม ขอขอบคุณเพื่อนๆและทีมงานที่จัดงานอีกครั้ง

ผู้ตรวจการทางความรู้ : จากแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ เป็นกลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์มากที่นำมาเสริมในระบบการดำเนินการ KM - LO และการแบ่งวิเคราะห์พฤติกรรมเป็น 3 ระดับคือ บุคคล องค์กร สังคม และประเทศชาติจนถึงการสร้างให้เกิด CSR หากทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นการปลูกฝังรากอย่างมั่นคงและแผ่ขยายอย่างต่อเนื่อง

ผู้ตรวจการทางความรู้ : จากแนวคิดของ ศ.ดร.จีระเป็นกลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์มาก ที่นำมาเสริมในระบบการดำเนินการ KM - LO การแบ่งวิเคราะห์พฤติกรรมในออกเป็น 3 ระดับคือ บุคคล องค์กร สังคม และประเทศชาติจนถึงการสร้างให้เกิด CSR หากทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นการปลูกฝังรากอย่างมั่นคงและแผ่ขยายอย่างต่อเนื่อง

งานเลี้ยงสังสรรค์ครอบครัวรุ่น5 : มีความสุขกันทั่วหน้าครับ

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

เมื่อวานได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานเและได้สาระกับหม่อมราชวงศ์เบญจภา ไกรฤกษ์ และทีมงาน ใครพลาดคงเสียดาย ตั้งแต่การดูแลร่างกาย ดูแลจิตใจ ฝึกพูดคุยกับร่างกายตัวเอง การแต่งกาย การพูดในที่สาธารณะ การเข้าสังคมรับประทานอาหาร ส่วนอาจารย์ฯ พรายพลได้ให้ความรู้ทั่วไปกับเศรษฐศาสตร์พลังงานและตอบข้อซักถามได้ถูกใจ(ถึงแม้ผู้เขียนไม่มีโอกาสถาม..... เพราะเพื่อนถามให้)

ตกดึกหลังเลิกเรียน มีการสังสรรค์เหนื่อยท่านประธานพลและทีมงาน

พิธีกรคูณยงชัยกับคุณแก้วตา เห็น creativity จากคุณแก้วตาฯ initiateจากคุณพงษ์ศักดิ์ ฟังเสียงเพลงเพราะๆจาก อ.จีระ ชพฟ.ดร.กมล และเพื่อนๆ(รวมถึงผู้เขียน)บางท่านน่าจะเป็นนักร้องอาชีพ ขายเสียงได้สบายๆ ปิดงานเร็วไปหน่อยแต่ก็เหมาะกับกาลเทศะ คราวหน้าคงสนุกกว่านี้ที่เขื่อนศรีฯ

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

เรื่อง KM และ LO ได้เริ่มเข้ามาสู่ กฟผ.ร่วมเกือบ ๑๐ ปีแล้วสมัยรวน.เฉลิมชัย รัตนรักษ์ ได้มีการดำเนินการในเรื่อง KM มาหลายเรื่องเช่น านก่อสร้างเขื่อน งานด้านแก้ไขผลกระทบ งานติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น มีการตั้ง Knowledge engineer ,udkiทำ knowledge capture โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารหลายท่านเช่น อ.สว่าง จำปา พี่สมควร วํฒกีกุล ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ พี่ศิลป์ชัย พี่กิตติวัฒน์ สุจริตพงศ์ รวมถึง รวห.ปราโมทย์ อินสว่าง รวมถึงผุ้เชี่ยวชาญในปัจจุบัน เป็นต้นและได้มีการเผยแพร่ทาง Internet ส่วน LO ขององค์กรณ์ ตรวจสอบจากพฤติกรรม ๑๕ ข้อ ของอาจารย์จีระ ยังหลงเหลืออยู่บ้างโดยดูจากพฤติกรรมของ พี่ เพื่อน น้อง ในรุ่นนี้ มีกันครบ

ส่วนตำแหน่ง ผุ้ตรวจการความรุ้( คล้ายๆกับ CKO ) น่าจะเป็นประโยชน์ กับ กฟผ.แต่ก็อย่างว่า ตั้งแล้วจะเกิดความเครียดกับผุ้ได้รับการแต่งตั้งหรือไม่เพราะสร้างผลงานได้ยากผมว่าช่วงนี้ใช้วิธีกระจายความซึมซาบในเรื่องนี็ไปทุกอณูของหน่วยงานไปพลางๆก่อนดีกว่าเหมือนตำแหน่ง CFO ที่ กฟผ.เคยมี

ความรู้ใน กฟผ. นั้นมีมากมาย เป้นความรู้ที่ดีและมีประโยชน์ แต่บางทีการเรียนรู้จากความรู้ที่มีและเก็บรวบรวมไว้นั้นอาจยังมีไม่มากพอ หากมีบรรยากาศในการเรียนรู้มากขึ้นคงจะได้มีการนำความรู้ที่มีไปใช้ประโยชน์และต่อยอดออกไปได้อีก

จาก บทความ ของ อ.จีระ เรื่อง ตำแหน่งใหม่ : ผู้ตรวจการทางความรู้

เห็นด้วย เป็นอย่างยิ่ง ว่า ปัญหา ในบ้านเมืองเราในปัจจุบันนี้ การที่จะแก้ไข และนำไปสู่ความสุขในสังคม อย่างยั่งยืน เราต้อง สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และผมเอง ก็จะช่วยอาจารย์ นำสิ่งที่ จะพอรู้บ้างเกี่ยวกับ สังคมในการเรียนรู้ นำไปขยายผล ดังนั้นสักวัน...... สังคมไทยคงต้องมีความสูขอย่างแน่นอน

การบ้าน: อ่านบทความเรื่อง ตำแหน่งใหม่: ผู้ตรวจการความรู้

          กฟผ. เป็นองค์กรใหญ่ มีภาระหน้าที่หลักคือผลิตไฟฟ้าและจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้พอเพียงต่อปริมาณการใช้ของประชาชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมของประเทศทั้งหมด โดยจะต้องมีคุณภาพการผลิตที่ได้มาตรฐานสากลเชื่อถือได้ มีกำลังสำรองเพียงพอเหมาะสม และยังต้องมองไปข้างหน้าเพื่อหาแหล่งผลิตเพิ่มเติมเพื่อสนองความต้องการในอนาคต ดังนั้น องค์กรจะต้องมีการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ โดยความรู้เดิมจะต้องมีการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนให้กับบุคลากรรุ่นต่อรุ่นเพื่อการต่อเนื่อง และยังต้องค้นคว้าหาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะต้องใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งหาวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อให้ประชาชนยอมรับที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำ เพื่อให้ราคาค่าพลังงานไฟฟ้าไม่แพงเกินไป เหมาะสมในการลงทุนทางอุตสาหกรรม ประเทศชาติ จะได้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้

          การจะทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องหาผู้ที่มีประสบการณ์มาช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของบุคลากรทุกระดับให้มีจิตสำนึกรับผิดชอบและมองเห็นประโยชน์อย่างแท้จริง และจะต้องทำไปตลอดเพื่อการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดผลสำเร็จตามความคาดหวัง

                                                         ปรีชา ศรีน้อย

กฟผ.กับการเรียนรู้เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับการกลับเข้าสู่วงจรเดิมของพวกเรารุ่น 5 การกลับสู่ Silo ผมคิดว่าไม่ไช่ปัญหาแต่กลับเป็นโอกาสอันดีที่เรากลับไปสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ใน Silo ของเราให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้แล้วเรามาขยายเครือข่ายก็จะทำให้สามารถเกิดขึ้นในวงกว้างได้ตามที่ อ.จิระและหลายๆท่านพูดถึงทฤษฏีผีเสื้อกระพือปีก กับตำแหน่งใหม่: ผู้ตรวจการความรู้ ถ้า กฟผ.สามารถนำมาใช้และได้ผู้ตรวจการที่มีความสามรถสูงและเป็นที่ยอมรับด้วยก็จะสามารถกระตุ้นเกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุดได้ไม่ยากเท่าที่ผม Scan จากเพื่อนๆต่างก็เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้และผมเองก็ได้แนวคิดที่หลากหลายจากเพื่อนซึ่งสามารถนำไปต่อยอดได้

เรืองวรายุตก์ ประดิษฐ์ทัศนีย์

ผู้ตรวจการทางความรู้

แนวความคิดเรื่อง "ผู้ตรวจการทางความรู้" เป็น Creative Thinking ของท่านอาจารย์ จีระ ที่วิเศษที่สุดเรื่องหนี่งทีเดียว

ปัจจุบัน กฟผ.มีการตื่นตัวกันอย่างมากในเรื่องการจัดทำ Knowledge Tranfer ถีงขั้นบรรจุลงในหัวข้อ PA ของสายรองฯ ที่เราใช้คำว่า KM และ LO ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางวิชาการที่มีความพิเศษเฉพาะทาง ไม่ใช่ความรู้ทั่วไปที่เรียนกันในมหาวิทยาลัย

อีกทั้งยังมีผู้ตรวจสอบระบบต่างๆกันอีกมากมาย เช่น ระบบคุณภาพ ISO 9001-2000 ระบบควบคุมความปลอดภัย [ESMS] คณะกรรมการทางด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย[คปอส] คณะกรรมการ 5ส เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการข้างต้นคงไม่ใช่สิ่งที่ท่านอาจารย์ จีระ ตั้งใจจะหมายความถึงในเรื่องของ "ผู้ตรวจการทางความรู้"

การมี "ผู้ตรวจการทางความรู้" จะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ.เป็นอันมาก เช่นเมื่อมีการตรวจสอบไปแล้วจะพบว่า ผู้ปฎิบัติงานในระดับบริหารบางส่วนไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีพอสำหรับการประชุมหรือการ Debate ในระดับนานาชาติ หรือพบว่าความรู้ทางเทคนิคบางเรื่องที่มีอยู่นั้นไม่ทันสมัยเสียแล้ว ซี่งหากไม่มีผู้ตรวจสอบเราอาจไม่ทราบความจริงเหล่านี้ จึงคิดว่า Creative Thinking ของท่านอาจารย์ จีระ ในเรื่อง "ผู้ตรวจการทางความรู้"นั้น วิเศษมากค่ะ

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

หลังจากจบคอร์ส บางท่านอาจรู้สึกว่า อาจารย์ได้เอากะลาที่ครอบออกแล้ว แต่ขอให้คิดดูให้ดีนะครับว่า มีกะลาอันใหม่ที่รูปลักษณ์แปลกออกไปหรือขนาดที่แปลกออกไปครอบอยู่หรือปล่าว

การอบรมเพียง 8 วัน ไม่ทำให้เรามีความรู้อะไรเพิ่มขึ้นมากมายนัก การกระตุ้นให้เราไปเรียนรู้ต่อเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ฉะนั้น การกำหนดหัวข้อที่จะนำเสนอนั้น จึงควรให้เวลาในการหาหัวข้อเพราะหัวข้อในหัวเราที่ได้มาในขณะนี้ จะมีเพียงเรื่องที่อาจารย์และ Guest speaker ยัดเยียดความรู้มาให้ บวกกับความรู้ที่เรามีมาก่อนหน้านี้ เราควรมีหัวข้อเด็ดๆ คัดมาจากหนังสือ edition ใหม่ล่าสุดที่ practical และนำมาดัดแปลงใช้กับหน่วยงานได้ นั่นจึงจะแสดงว่า คอร์สนี้ประสบผลสำเร็จจริง

เอ!!!!ฟังดูดีนะ แต่ทำได้ป่าว

ผมมีงาน กฟผ.ที่ต้องไปทำในที่ห่างไกล(ลาว????)ระหว่างวันที่ 25 มิย.ถึง 5 กค.

กลับมาแล้วค่อยว่ากัน ผมจะลองพยายามทำตามที่ได้เกริ่นไว้ (ถ้ามีเวลาพอ)

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

เราควรเอา Blog นี้เป็นที่ติดต่อกันและเอาความรู้ใหม่ๆ หรืออะไรที่เห็นว่าเป็นประโยชน์มา share กันจะดีไหม?????

ผมเห็นด้วยตามที่คุณอภินันท์ บุญญเศรษฐ์ เสนอ blog นี้เป็นอีกฃ่องทางหนึ่งที่ทุกคนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ share แนวคิดใหม่ๆอีกทั้งยังได้สื่อสารก้บอาจารย์และอาจได้คำชี้แนะที่เป็นประโยชน์ในการทำงานของเราจากอารจารย์อีกทางหนึ่งด้วย

ผมขอเริ่มที่อาจารย์ให้เราสรุปว่าหลังจากที่อบรมมา 8 วันเราได้อะไรบ้าง

1.สิ่งแรกที่ได้คือการได้รู้จักกับเพื่อนและเป็นเครือข่ายใหม่ที่แต่ละคนก็มีความสามารถแตกต่างกันไปเมื่อผมมีปัญหาในการทำงานผมจะขอคำปรึกษาจากใครได้บ้างเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด

2.อาจารย์พยายามสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้พวกเราและชี้ช่องทางในการหาและแบ่งปันความรู้ได้จาก blog

3.ได้แนวความคิดเพื่อนำไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ตามความเหมาะสมของแต่ละเรื่อง(ว้นนี้ขอพอเท่านี้ก่อน)

ผมเห็นด้วยกับความเห็นที่154,155 ที่จะใช้blogนี้เป็นช่องทางติดต่อ สื่อสาร แต่ต้องเป็นcaseที่พวกเราส่วนใหญ่รู้เรื่องเช่นเรื่องงานกฟผ. เศรษฐกิจประเทศไทย การสัมมนาที่พวกเราเข้าร่วม ฯลฯ เพื่อshareความคิดหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ้ามีผู้นำหลักที่อ่านมาก ติดตามข่าวสารต่างๆเป็นประจำ เป็นต้นเรี่องนำเสนอก็จะดียิ่ง

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

สรุปการเรียนรู้ตลอด ๘ วันดึก ที่เป็นแก่นแท้คือ การสร้าง Learning Culture ให้พวกเรา ถึงบางท่านเรียนรู้มาแล้วก้เน้นย้ำและช่วยกันสร้างให้เป็นรูปธรรมในองค์กร ในรูปแบบ knowledge management มี CKO ประจำองค์กร เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร รับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร้ว รุนแรง ทั้งกว้างและลึก ทำนายได้ยาก(มหากาพย์ Changeเลยละครับ)เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและเทคโนโลยี) มีการเรียนรู้ HR for Non HR พร้อมกฏ ๑๐ ข้อ ของ อ.จีระ พร้อมประสบการณ์จากนักบริหารมืออาชีพเ(8K&8S)เพื่อไปสู่ Leadership และเป็นผู้นำที่ต้องทำจริงสามารถนำการเปลี่ยนแปลงได้ สมการมนุษย์คือ

คน +แรงจูงใจและมุ่งมั่น(สำคัญทีเดียว) = Value Added(ได้Blue Ocean คือ Innovation)

สวัสดี ลูกศิษย์ กฟผ. และชาว Blog ทุกท่าน

 

          หลังจากวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ที่งานสัมมนาจบไปแล้ว ผมได้ดู blog ทุกวัน และได้ค้นพบอย่างหนึ่งว่า เมื่อเทียบกับ กฟผ. รุ่นที่ผ่านมา ในรุ่นที่ 5 ได้มีการเรียนรู้โดยการส่งข้อมูลผ่าน Blog เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

          ขอเป็นกำลังใจให้กับ Feedback ที่ส่งเข้ามาผ่าน blog

          คุณชนินทร์ อารีพิทักษ์  ส่งมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552 เวลาบ่าย 3 โมง 19 นาที ถือได้ว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการต่อเนื่องในการเรียน

          ผมเลยขอฝากบทความแนวหน้าสัปดาห์ผ่านมา มาให้อ่านและช่วยกันร่วม Comment มาด้วยนะครับ

 

ทฤษฎีตัว L,U,V และ W

          บรรยากาศในประเทศไทยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คงเป็นบรรยากาศการประชุมสภาผู้แทน 4 วันเต็ม เรื่องพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติ 800,000  ล้าน และการอภิปรายกันในเรื่องงบประมาณ ปี 2553

          บทบาทของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่ ถึงแม้ว่ามีข่าวบางกระแสว่า เศรษฐกิจโลกถึงจุดต่ำสุดแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีเครื่องชี้วัดอะไรแน่นอนได้ว่าอนาคตเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร เพราะยังมีภาพของความไม่แน่นอนอยู่มาก

          ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมจัด Learning Forum ให้ผู้นำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย จะขึ้นไปเป็นผู้นำ กฟผ.ใน 10 ปีข้างหน้าแน่นอน

          ได้เชิญผู้นำทางเศรษฐกิจและพลังงานมาปรึกษาอย่างลึกซึ้งในหลายแห่งและมีข้อมูลที่สดและเชื่อถือได้ เพราะ ณ วันนี้ไม่มีอะไรที่สำคัญกระทบ กฟผ. เท่ากับเรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

 

 

 

การจัด Learning Forum ครั้งนี้ผมได้เรียนเชิญกูรูหลายท่าน เช่น รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, คุณมนูญ ศิริวรรณ, ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูลและหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล มีหลายข้อที่ท่านผู้อ่านอาจจะนำไปพัฒนา ก็คือ

§       การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลกมีสัญญาณที่เป็นและบางเรื่อง เช่น สหรัฐฯ การสั่งซื้อของสินค้าเริ่มกระตุ้นขึ้นบ้าง

§       ในช่วง 6 – 8 เดือนที่ผ่าน ธุรกิจนิ่งไม่มีการสั่งซื้อใหม่ ๆ เลย ส่วนมากใช้สินค้าคงเหลือ (Inventory) แต่บัดนี้เริ่มใช้หมดแล้ว ก็เป็นของธรรมดาที่จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งกระแสไปถึงตลาดหุ้นทั่วโลกที่ดีขึ้น แต่เรื่องอื่น ๆ เช่น การว่างงานยังไม่กระเตื้องขึ้นคงต้องรออีกพักใหญ่

จึงมีการสรุปกันว่า ต้องดูให้ดีว่ามีการฟื้นตัวอย่างถาวรหรือไม่ เลยคิดว่าการฟื้นของโลกคงจะคล้าย ๆ ทฤษฎีตัว W คือขึ้นมาระดับหนึ่งและอาจจะลงไปอีก และอาจจะขึ้นมาอีกเหมือน ตัว W อยู่พักใหญ่ และค่อย ๆ ขึ้น

ท่านผู้อ่านก็คงต้องไปศึกษาว่าในอดีตเคยมีประเทศไม่ฟื้นแบบลักษณะตัว L ที่ญี่ปุ่น และหลังจากนั้นญี่ปุ่นเริ่มเป็นตัว U คือตกต่ำถึงระดับหนึ่ง 10 กว่าปีกระเตื้องขึ้น

ส่วนตัว V ก็อาจจะเป็นหลังช่วงฟองสบู่แตกใหม่ๆในเอเชีย เกาหลีที่ปรับตัวเร็วหลังจากตกต่ำมาช่วงต้มยำกุ้งในเอเชีย แต่ทำได้รวดเร็ว

สรุปก็คือท่านผู้อ่านได้แนวคิดไปว่า โลกในอนาคตไม่มีอะไรแน่นอน ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สรุปว่าผมภูมิใจมากที่ทำงานให้ กฟผ. มา 5 รุ่น จบไปแล้วเมื่อวานรุ่น 5 ได้วิธีการรียนแบบ 4 L’s และได้ความรู้ใหม่ ๆ ทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ แถมหลักสูตรของเรายังปรับปรุงตลอดเวลา

ท่านที่สนใจความคิดเห็นหรือ Blog ของลูกศิษย์ รุ่น 5 ที่ www.chiraacademy.com จะมีข้อมูลมากมายและดูวิธีการคิดของลูกศิษย์ผม

อาทิตย์นี้ยังมีข่าวที่ค่อนข้างวิกฤต คือเหตุการณ์ชายแดนใต้ ซึ่งหลังจากเงียบมาพักหนึ่งก็เริ่มรุนแรงมากขึ้น ก็เป็นเรื่องคนไทยทุก ๆ คนต้องเฝ้ามอง

แต่อย่างน้อยรัฐบาลชุดคุณอภิสิทธิ์ก็คงมีแนวทางที่จะแก้ปัญหาแบบสันติวิธี ใช้กฎหมายนำ แต่ขณะเดียวกันก็คงจะต้องใช้วิธีให้ทหารและตำรวจโต้ตอบอย่างรวดเร็วและเหมาะสม

ก็อยากจะฝากประเด็นไว้ว่า กว่า 5 ปีแล้วที่รัฐบาลคุณทักษิณมองปัญหาภาคใต้แบบคิดว่าง่ายๆ และพูดเร็ว เช่น คำว่า โจรกระจอก

แต่ก็ต้องยอมรับว่าอิทธิพลกลุ่มอิสลาม ข้างนอกคงจะมีบ้าง แต่ถ้าไม่ผิดพลาดทางการเมืองในประเทศช่วงนายกฯ ทักษิณก็อาจจะไม่รุนแรงขนาดนี้

อาทิตย์นี้ ฝากให้ท่านผู้อ่านจับตาดูข่าวในอิหร่านด้วย เพราะเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจต่อโลกและประเทศไทย โดยเฉพาะเป็นบทเรียนที่ดีของไทย เช่น

§       การต่อสู้กันระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า

§       การเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสจะแก้อย่างไร

§       การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สู้กับการควบคุมโดยอำนาจรัฐ

§       การเมืองโดยเน้นศาสนานำแบบเด็ดขาด เกิดแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ในอิหร่าน

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นคงจะต้องมองไว้เป็นบทเรียนของโลกและของไทยด้วย เพราะประเทศไทยก็ยังมีการเมืองแบบ

§       ภาคนิยม

§       เมือง / ชนบท

§       ความคิดระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า

แต่ดูเหมือนว่าคนรุ่นใหม่ในไทยยังขาดการศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย ค่านิยมทางการเมืองที่ถูกต้อง เน้นวัตถุนิยมมากเกินไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะปลูกฝังให้เยาวชนไทยคิดเป็นวิเคราะห์เป็น สนใจการเมืองมากขึ้น

ในระหว่างที่ผมจัด Learning Forum ที่ กฟผ. อยู่ 8 วัน ก็ได้ไปร่วมแสดงความคิดเห็นกับข้าราชการระดับ C7 – C8 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กว่า 60 คน โดยการแนะนำของพี่ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ซึ่งเป็นทั้งอดีตผู้ว่าของมหาดไทย และท่านเป็นรุ่นพี่แม่รำเพยของผม

เป็นที่น่าสังเกตว่าภาพลักษณ์ของกระทรวงนี้ในสายตาประชาชนทั่วๆไป ดูเหมือนว่าเป็นกระทรวงที่ไม่เด่นนัก

 

แต่เมื่อผมได้ใช้เวลากว่า 7 ชั่วโมงบรรยายให้แก่ข้าราชการของกระทรวงฯ เรื่อง

§       เศรษฐกิจและการเมืองในอดีตปัจจุบันและอนาคต ผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม เห็นว่าการพัฒนาสังคมต้องมีปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองเข้าไป

ผมสังเกตว่าพอเขาได้รับการกระตุ้นให้ทำงานและคิดเป็นทีม ปรากฏว่าคุณภาพการวิเคราะห์ดีกว่าหลายกลุ่มที่ผมเคยสอนมา ทำให้ทัศนคติของผมเปลี่ยนไปมากว่าข้าราชการที่ถูกมองว่าไม่เก่ง ล้าสมัย อาจจะไม่จริงก็ได้ ผมประทับใจลูกศิษย์กลุ่มนี้มาก

สำหรับหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของ กฟผ. รุ่นที่ 5 ผมรู้สึกประทับใจและขอขอบคุณคุณไกรสีห์ กรรณสูต อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และคุณสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ กฟผ. คนปัจจุบัน ทั้ง 2 ท่านช่วยสร้างทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่องใน กฟผ. มารุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 5 แล้ว ผู้นำที่สนใจทุนมนุษย์เราต้องยกย่อง ซึ่งผมและลูกศิษย์รุ่น 5 ก็ได้ร่วมกันแสดงความขอบคุณต่อท่านทั้งสอง

 สุดท้ายหลักสูตรผู้นำสหกรณ์ รุ่นที่ 2 แม้ว่าจบไปแล้วแต่ยังได้ร่วมกันทำงานเพื่อสังคม เพื่อมอบห้องสมุดให้แก่โรงเรียนวัดคลองขุนศรี ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี  เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 14 มิถุนายน 2552 ซึ่งผมภูมิใจมากที่การสร้างผู้นำเป็นความจริงให้เป็นจริงและต่อเนื่องต่อไป

 

                        

                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

อภินันท์ บุญญเศรษฐ์

ที่พวกเราหายไปจาก blog เพราะเรามีช่องทางการติดต่อทางตรงอีกช่องทางหนึ่ง คือ intranet และนอกจากนั้น เราทุกคนต้องกลับมาอยู่ในสภาวะแวดล้อมในที่ทำงานเดิมซึ่งมีงานที่รับผิดชอบมากมาย(จริงๆ) แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากงานที่ต้องเตรียมนำเสนอแล้ว เรายังได้รับการกระตุ้นให้สนใจโลกกว้างมากขึ้นหลังจากละทิ้งไปในระดับหนึ่ง

แน่นอน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมมีผลให้ต้องแบ่งเวลาที่ใช้กับด้านอื่นของชีวิต ซึ่งทุกคนทราบดีว่า ไม่มีของอะไรได้มาฟรีๆ

ก็ยังคิดถึงอาจารย์ และเพื่อนๆ อยู่ การกลับสู่วงจรที่ทำงานต้องทำหลายเรื่องที่ค้างๆให้เสร็จก่อน เลยต้องห่างจาก blog อาจารย์ไปบ้าง

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

พอดีได้อ่านปรัชญาการเรียรรู้ของมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในทำนองว่า"การเรียนรู้สำคัญมาก แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับการนำไปประยุกต์ใช้ให้ได้ประโยชน์กับสังคมและมวลมนุษยชาติ"

สำหรับเศรษฐกิจเมืองไทย เป้นเศรษฐกิจเล็กๆขึ้นกับปัจจัยภายนอกนอกประเทศเป็นหลัก พึ่งพาการส่งออก และธุรกิจบริการเป็นหลัก การฟื้นตัวคงเป็นแบบ ตอนนี้คงเป้น L to U ส่วน V และ W คงยากหน่อย ถ้าจะเกิดก็เป็นช่วงสั้นๆ ขึ้นกับเศรษฐกิจโลก ปัจจัยหลักในอนาคตที่เห็นชัดๆคือ ต้องพึ่งพาพลังงานนอกประเทศมาก พลังงานRenewable ไม่ว่าลม น้ำ แสงอาทิตย์ ก้ต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ไฟฟ้าอาจจะไม่สามารถผลิตได้ตามแผน เพราะประชาชนต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้น(การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า(ไม่อยากใช้ประหยัดพลังงาน)Birth Control Educationน่าจะช่วยได้)

จะพึ่งพาการเมืองก็ได้น้อย ไม่มั่นคง ภาคเอกชนต้องเป็นเสาหลักเสาหนึ่ง เมืองไทยต้องการผู้นำที่ต้องเก่งและดี เพื่อที่จะกล้าตัดสินใจที่จะกำหนดยุทธศาสตร์หรือทางเดินของประเทศในอนาคต ภาคเกษตร ภาคบริการคงเป็นปัจจัยหลักของประเทศ อย่างยั่งยืนอยู่ต่อไปโดยมีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยที่สำคัญ ประเทศเล็กๆอย่างญี่ปุ่นยังเป็นมหาอำนาจได้ในทุกด้านควรเรียนรู้ ไม่เทียบเคียงกับจีนที่เป็นยักษ์ใหญ่ หรือสิงคโปร์ที่เล็กกว่าเรามาก(ถึงแม้จะมีเศรษฐกิจดีแต่เป็นมหาอำนาจไม่ได้)

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หรือ กินพอดีอยู่พอดีตามฐานะ คงจะประคับประคองเมืองไทยไปได้ต่อไปทั้งนระยะสั้นและระยะยาว

สวัสดีครับ

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปฟังการแสดงเดี่ยวเปียโนคลาสสิกของ คุณชัญพงศ์ ทองสว่าง นักเปียโนหนุ่มอนาคตไกล(อายุ ๒๗ ปี)จัดโดย โรงเรียนดนตรีพีรพงศ์(อยู่แถว ถนนรามคำแหง)ร่วมกับ ThaiBev ของคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณและเมตตาคุณ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีต่อดนตรีคลาสสิก โดยจัดแสดงที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ถึงแม้โรงเรียนดนตรีพีรพงศ์เป็นโรงเรียนเล็กๆ แต่สมเด็จกรมหลวงฯทรงมีความสนพระทัยและมีพระเมตตา เคยเสด็จพระดำเนินทอดพระเนตรการแสดงเปียโนของนักเรียนของโรงเรียนนี้ที่ศูนย์วัฒนธรรมฯ และยังได้พระราชทานโอกาสให้คณะครูและนักเรียนของโรงเรียนดนตรีพีรพงศ์ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทถวายการแสดงเปียโนอย่างใกล้ชิด ณ ตำหนักวิลล่าวัฒนา หลายครั้ง

สำหรับการแสดงของคุณชัญพงศ์ฯเป็นการแสดงเดี่ยวเปียโนและเปียโนทริโอโดยใช้เวลาแสดงร่วม ๒ ชั่วโมง โดยในส่วนการเล่นเปียโนทริโอได้ร่วมแสดงกับเพื่อนนักไวโอลินและเชลโล ชาวสวิสและชาวนิวซีแลนด์คือคุI Simone Roggen และ Benjamin Heim ที่จบการแสดงมาจากสถาบันเดียวกัน และยังมีนักร้องชายชาวสวิสที่ติดตามมา(เที่ยวเมืองไทย)อีก ๑ ท่านที่จบการร้องเพลงมาร้องตบท้ายอีก ๒ เพลงโดย หนึ่งในสองเพลงเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงขณะทรงประทับอยู่ที่สวิส คือเพลงอาทิตย์อับแสดง โดยร้องทั้งภาษาอังกฤษและไทยการแสดงจบลงด้วยความสนุกสนานให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมทีอยู่เต็มความจุ โดยคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ชอบใจเป็นอย่างมากมอบรางวัลให้นักแสดงอีกคนละ ๒๐,๐๐๐บาท

สำหรับคุณชัญพงศ์ฯเองในวงการเปียโนคลาสสิกเป็นที่รู้จักันดีพอสมควรเพราะสนใจเรียนและเล่นเปียโนมาตั้งแต่เด็กโดยเรียนกับ อ.ณัฐ ยนตรรักษ์ และเข้าแข่งขันได้รับรางวัลมาหลายรายการเช่น ชนะเลิศรุ่นกลางปี ๒๕๔๐ จัดโดยณัฐสตูดิโอ ปี๒๕๔๓ ได้รับรางวัล'ดีเลิศ'ในระดับมัธยมปลาย จากการแข่งขันเปียโนโชแปงนานาชาติครั้งที่ ๑ ที่ญี่ปุ่น ในปี๒๕๔๕ ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลยอดเยี่ยม 'รุ่นใหญ่'จากการแข่งขันโชแปงครั้งที่ ๖ ที่ประเทศไทย

คุณชัญพงศ์ฯจบปริญญาโทดนตรีด้านการแสดง ที่มหาวิทยาลัยด้านดนตรี ณ กรุงเบิร์น สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี ๒๕๕๑ ขณะนี้กำลังเรียนปริญญาโทด้านการสอนดนตรี ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ก่อนเรียนปริญญาโทสอบผ่าน LTCL โดยสอบผ่านได้คะแนนสูงที่สุดในประเทศไทยเมื่อปี ๒๕๔๗ จริงๆแล้วคุณชัญพงศ์ฯ ควรเป็นวิศวกรเหมือนพวกเราหลายๆคนเพราะเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๕๔๗ (ที่เลือกเรียนวิศวกรรมศาสตร์เพราะชอบฟิสิคส์)โดยขณะเรียนก็สอนเปียโนไปด้วย หลังจากจบการศึกษาได้ไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติเพื่อการฝึกงานด้านเทคนิค(IAESTE) ประเทศสวิตเวอร์แลนด์ โดยฝึกงานด้าน Acoustic ที่สถาบัน EMPA( Material Science and Technology Research Institute) ในเมือง Duebendorf ใกล้ๆ Zuerich แต่ด้วยใจรักดนตรีจึงตัดสินใจเรียนต่อด้านดนตรีดังกล่าว และคงจะเลือกเส้นทางสายนี้คือเลือกศิลปินนักดนตรีในอนาคต โดยคุณชัญพงศ์ฯเคยกล่าวกับผมว่าไม่ได้ทิ้งความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์"โดยตระหนักอยู่เสมอว่า สามัญวินิจฉัยวิศวกร (Sense of engineer)กระบวนการคิดประยุกต์ และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จะติดตัวอยู่ตลอดไปและสามารถนำมาช่วยเสริมสร้างการพัฒนาทางด้านดนตรีอย่างมีประสิทธิภาพและปัจจุบันเขามีความสุขมากที่ได้เรียนต่อทางด้านดนตรีอย่างจริงจัง"

สรุปแล้วการแสดงเดี่ยวเปียโนและเปียโนทริโอในคืนนั้นมาจาก"ปลายนิ้ววิศวกร" การเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุดสามารถเรียนได้ทั้งศาสตร์และศิลป์ควบคู่กันไป และสามารถเลือกทำในสิ่งที่เรารัก ที่เล่าเรื่องนี้เพราะเห็นว่า ลูกๆพวกเราหลายๆคนยังอยู่ในวัยเรียนอาจจะนำมาใช้ประโยชน์ได้

สวัสดีครับ

ถึง ท่านประธานและทุกๆท่าน รุ่น 5

          คิดถึงทุก ๆ คน อยากให้ Blog alive  เลยส่งการบ้าน 2 บทความ

§       บทความแรกเรื่อง คนอายุมาก

§       บทความที่ 2 เรื่องผู้หญิง

ช่วยอ่านและ วิภาค ว่าเกี่ยวอะไรกับตัวเราหรือประเทศทั่ว ๆ ไป

รุ่น 5 มีใครติดหวัดหรือเปล่า? กรุณาส่งข่าวด้วย อย่าลืม Learning Communities คือต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่อไป  

 

                                                จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

คุณชวลิต,คุณบรรหาร,คุณเสนาะ,คุณสนั่น โปรดอ่านบทความนี้

         บทความที่ว่านี้ คือบทความในหนังสือ Herald Tribune ฉบับวันเสาร์ อาทิตย์ที่ 27 -28 นี้ ซึ่งเขียนโดยคุณ Isabel Kershner พูดถึงอดีตนักการเมืองชาวอิสราเอล คือคุณ Shimon Peres ซึ่งในอดีตเป็นทั้ง

§        นายกฯของอิสราเอล 2 ครั้ง

§       ได้รับรางวัล Nobel สันติภาพ

§       อายุ 85 ปี แล้ว

§       ยังถูกชาวอิสราเอลและโลกมองว่าเป็นคนที่มีคุณค่าต่อการเมืองในปัจจุบัน

ปัจจุบันอายุ 85 ปี ดำรงตำแหน่งแบบไม่มีอำนาจอะไร คือเป็นประธานาธิบดี แต่ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่คนอิสราเอลกำลังฝากความหวังให้มาช่วยแก้ปัญหาของประเทศของเขา

ประเด็นคือ ถึงแม้ว่าผมจะเขียนถึงการเมืองหนุ่มเสมอไม่ว่าจะเป็นอภิสิทธิ์ โอบามาหรือล่าสุดโอบาฮูล แต่ผมไม่ได้ละเลยบุคคลที่มีอายุมาก แต่ยังทำงานได้อย่างเข้มแข็ง และช่วยประเทศเราได้อย่างมาก ในสาขาอื่นที่ไม่ใช่การเมืองก็มีเช่น แก่สุดน่าจะเป็นคุณหมอเสม พริ้งพวงแก้ว นอกจากนั้นก็มีอาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่แก่ยังมาก เช่น คุณอานันท์ ปัญญารชุนและคุณหมอประเวศ วะสี

แต่เราก็มีนักการเมืองซึ่งยังอายุมากแล้ว 4 ท่าน คุณชวลิต,คุณบรรหาร,คุณเสนาะ,คุณสนั่น ซึ่งบางครั้งอาจจะถูกมองว่า แก่เกินไปที่จะทำประโยชน์ให้ชาติไทย

พออ่านบทความของคุณ Peres ผมก็เลยมีความรู้สึกว่า นักการเมืองทั้ง 4 ท่านยังมีและควรทำประโยชน์ต่อประเทศไทยของเราอีกมาก เพียงแต่ได้อ่านบทความที่ผมได้กล่าวมาแล้วและเราเป็นแบบอย่างที่ดี กล่าวคือ อายุมากขึ้นแต่อาจจะทำอะไรเพื่อประโยชน์ของประเทศส่วนรวมได้มากกว่าเดิม แต่วิธีการต้องทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ไม่ใช่แก่แบบไดโนเสาร์

เพราะการเมืองประเทศไทยไม่จำเป็นจะต้องเน้นคนรุ่นหนุ่มเท่านั้น จริงอยู่แนวโน้มบางประเทศก็อาจจะเป็นอย่างนั้น แต่ผมก็เป็นคนหนึ่งที่มั่นใจว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข อยู่ที่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะรักษาสุขภาพ สนใจการหาความรู้ เป็นที่พึ่งของรุ่นน้องๆได้อย่างแท้จริงหรือไม่

ความจริงทั้ง 4 ท่านที่ผมพูดถึง ผมก็ถือว่าเป็นบุคคลที่น่าเคารพและสะสมประสบการณ์อย่างมากและถ้าในอนาคตการเมืองข้างหน้าของท่าน คงได้อ่านบทความนี้แล้วก็อาจจะถูกจุดประกาย กระตุ้นให้ท่านไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างแน่นอน

กลับมาถึงบทความดังกล่าว ผู้เขียนเน้นว่า ช่วงนี้แม้ว่าคุณ Peres อายุจะมากถึง 85 แต่การรักษาตัว สุขภาพแข็งแรง การแต่งตัวทันสมัย ดูว่าคุณ Peres ไม่ได้อายุมากอย่างที่คาดคิดไว้เลย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่านักการเมือง 4 ท่านที่ผมพูดถึง แต่ละท่านยังไม่มีใครอายุเท่ากับคุณ Peres เลย จะมีก็คุณบรรหาร จะขึ้นเลข 8 แล้วกระมัง

ในบทความนี้เน้นว่าช่วงที่อิสราเอลกำลังได้นายกฯคนใหม่ ชื่อ Netanyahu ซึ่งหลาย ๆคนก็คงจะทราบว่าคุณ Netanyahu เป็นนักการเมืองหัวรุนแรงไม่ยอมจะให้ชาว Palestine มีประเทศของตัวเอง ซึ่งปรากฏว่าคุณ Peres สามารถพูดและโน้มน้าวให้คุณ Netanyahu เปลี่ยนใจได้ซึ่งก็ถือความประสบการณ์ของท่านถึงแก่แต่ก็ทำงานได้ผล

ในบทความยังเน้นว่า คุณลักษณะของคุณ Peres มี 3 อย่าง

§       Honesty     ความซื่อสัตย์

§       Depth        ทำอะไรลึกซึ้ง

§       Vision         มีวิสัยทัศน์

แต่ที่ผมประทับใจมากในบทความก็คือ อายุ 85 ปีแล้วยัง

§       อยากรู้ อยากเห็น   Curiosity

§       นวัตกรรม             Innovation

ซึ่งทั้ง 2 เรื่องที่ คนรุ่นใหม่ มักจะมีแต่คนรุ่นเก่าอาจะไม่มี แต่คุณ Peres มีแต่ในเรื่อง Innovation คุณ Peres เน้นให้ชาวอิสราเอลเน้นอุดมการณ์ใหม่ ๆ ที่ใช้ความรู้ เช่น

§       Stem Cell               เซลล์ต้นกำเนิด

§       Electric Car             รถที่ใช้ไฟฟ้า

§       Alternative Energy   พลังงานทดแทน

ผมหวังว่า นักการเมืองที่มีอายุมากๆ ก็คงจะสนใจที่จะนำเอาบทเรียนของคุณ Peres ไปใช้ สิ่งที่ท้าทายก็คือ นักการเมืองอายุมากๆของเราจะมีศักยภาพแบบคุณ Peres หรือไม่และถ้าไม่มีก็ไม่ใช่ว่า จะมีไม่ได้ ตราบใดก็ตามท่านก็ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่ม เพราะปัจจุบันไม่มีใครแก่เกินเรียน

อาทิตย์นี้ผมเพิ่งกลับมาจากการทำการทูต ภาคประชาชนที่ประเทศกัมพูชา

ช่วงก่อนไปผมก็วิตกเพราะสื่อในประเทศไทยประโคมข่าวเหลือเกินเรื่องความขัดแย้งชายแดนไทย กัมพูชา ผมไปถึงที่พนมเปญ ปรากฏว่าข่าวต่างๆเรื่องความตึงเครียดของไทย กัมพูชาไม่มีเลย บางครั้งสื่อเมืองไทยขายข่าวมากไปหรือเปล่า?

ความรู้สึกที่รัฐบาลเขมรและประชาชนมีต่อประเทศไทยในส่วนใหญ่แล้วยังดีอยู่ และความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคมการเมือง พลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก

          ไปคราวนี้ ผมนำเอาทีมวิชาการไป 45 คนใช้เวลา 5 วัน (Learning Forum on Tourism  Management for Cambodia On Monday 29 June –   Friday 3 July 2009 At Sunway Hotel Phnom Penh, Phnom Penh, Cambodia) มีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ท่านคงจะเพิ่มบรรยากาศ ความอยากรู้อยากเห็นของชาวกัมพูชาที่รู้ว่าความรู้เท่านั้นที่จะทำให้ชาติเขาเจริญอย่างแท้จริง เขาสนใจสร้างทุนทางปัญญา หาความรู้มากกว่าคนไทยมาก

 ในปัจจุบันผมมีความภูมิใจที่การทูตภาคประชาชนของผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศยังทำงานได้ผลเสมอ

 

นักการเมืองหญิงไทย โปรดอ่านบทความนี้

         ผมขอขอบคุณท่านผู้อ่านจำนวนมากที่มีความคิดเห็นตอบกลับมาจากเรื่องคุณ Peres ผมเลือกมา 3 4 เรื่องที่ส่งมาเพื่อให้ท่านวิเคราะห์ดู

§       ต้องพัฒนานักการเมืองทุกค่ายให้มีความซื่อสัตย์ ไม่พูดคำหยาบ แสดงออกในทางก้าวร้าวและใช้กฎหมู่เรียกร้องให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่คนกลุ่มที่ต้องพัฒนาสมองอีกมาก

§       ประเทศไทย :คนดีๆไม่ค่อยได้ปกครองบ้านเมือง ขอบคุณ ดร.จีระ มีอะไรดีๆบอกคนไทยเสมอ นักการศึกษาไทยชอบให้เด็กเรียนเรื่องไกลตัว จนลืมเรื่องใกล้ตัว เช่น เรียนยุโรป อเมริกา จนเด็กไทยไม่รู้จักอาเซียน สวัสดีประเทศไทย

§       เยี่ยมยอดในบทความนี้มาก.....เป็นความลึกซึ้งในเนื้อหา...ถ้าแก่แต่ไม่เปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์นำนวัตกรรมมาแก้ปัญหา...อยู่ในการเมืองเพียงต้องการอำนาจเท่านั้น...ควรเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงโลกธรรม8 ควรแนะนำให้อ่านหนังสือศิลปะแห่งอำนาจ ของ ท่านติช นัท ฮันท์

§       ลักษณะของคนไทยปัจจุบันไม่เรียกว่าแสวงหาความรู้ แต่แสวงหาใบประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ตรี โท เอก เพื่อเอามาแลกกับตำแหน่งงาน แลกกับหน้าตาทางสังคมและ เกียรติยศจอมปลอม แต่ไม่เคยนึกถึงความจริงที่ว่า ยิ่งร่ำเรียนมาสูง ๆ ยิ่งควรนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาตนเอง ลด ละ เลิก โลภ โกรธ หลง แต่เปล่าเลย ยิ่งเรียนสูงยิ่งมีแต่ความอยากมีเงินมาก ๆ อยากมีอำนาจไว้คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ชีวิต ส่วนตัวเรียกว่าเห็นแก่ตัวที่สุด จะว่าคิดแต่ในแง่ลบก็ใช่เพราะสังคมปัจจุบันมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แม้แต่เด็กและเยาวชนยังบอกว่า โกงก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทำเพื่อประชาชนบ้าง

§       พวกนักการเมืองแก่ๆพวกนี้ เขาไม่มีลักษณะของ Peres 3 คนอย่าง Honesty, Depth, Vision.มีแต่ Corruption and money money.

          ในบทความดี ๆ ของต่างประเทศเขียนเพื่อให้เราคิดและคนไทยอาจจะนำมาวิเคราะห์ต่อให้ได้ประโยชน์ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีความคิดดี ๆ ช่วยได้มาก การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษบ้างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ

          ทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าอายุน้อยหรืออายุมากก็มีประโยชน์ทั้งนั้น แต่ต้องเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทันโลก คืออย่าประมาท ภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุดก็คือ ความรู้และนำไปคิดต่อยอดพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ผมดีใจที่มีเวทีอย่าง แนวหน้า ให้โอกาสผมได้แสดงออกเสมอ

          บทความคุณ Peres คิดว่าคงจะเป็นกำลังใจให้แก่คนไทยไม่ใช่เฉพาะวงการการเมืองที่อายุ 60 ไปแล้ว ซึ่งจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่โครงสร้างประชากรเขาเรียกว่า ผู้สูงอายุ ยังมีประโยชน์ในปัจจุบัน ประเทศไทยจะมีคนอายุเกิน 60 ปี ปัจจุบันจำนวนกว่า 6 – 7 ล้านคนแล้ว แต่อีกคาดว่าไม่ถึง 10 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 12 15 ล้าน ถ้าบุคคลเหล่านี้รักษาสุขภาพดี มีความรู้ก็จะช่วยเป็นพี่เลี้ยงของสังคมได้อยู่เสมอ ประเทศจะได้ประโยชน์มาก

          สังคมทั่วไปมองผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ เห็นคุณค่าและค้นหาสิ่งดี ๆ จากท่านเหล่านั้น ที่ได้สะสมประสบการณ์มาอย่างมากมาย

          ประสบการณ์เหล่านั้นอาจจะซ่อนในตัวท่าน  Tacit Knowledge คนรุ่นหลังจะต้องค้นหาสิ่งดีๆออกมาให้ได้

          ครอบครัวไทยที่เป็นครอบครัวเดี่ยว มีพ่อ แม่ ลูก ไม่มีปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ด้วย อาจจะดีตรงที่มีอิสระ แต่ไม่ได้รับการถ่ายทอดความรักความอบอุ่นความรู้และประสบการณ์จากผู้ใหญ่ ยิ่งยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งอันตรายครอบครัวไม่อบอุ่นมีปัญหามากมาย

          ดีใจที่รัฐบาลมีนโยบายให้อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต่ออายุได้ถึง 65 ปี ซึ่งช่วยให้อาจารย์จำนวนหนึ่งได้ทำงานต่อไป ผมเห็นในต่างประเทศอาจารย์ไม่มีวันเกษียณอายุ Peter Drucker ยังทำงานถึง 95 อาจารย์เกษียณที่ 65 ก็อาจจะเร็วไป อาจจะต่อให้ถึง 70 แบบระบบศาลหรืออัยการ

          ผมยังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหาราชินีที่ทรงกระตุ้นให้สภาพัฒน์มีโครงการฯ คลังสมอง ของคนอายุเกิน 60 และ วปอ. มีโครงการคลังสมองของตัวเองสร้างคุณประโยชน์ให้ประเทศมากมาย

          ทั้งหมดไม่ใช่ เน้นแต่ผู้อาวุโสเท่านั้น อายุเท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ แต่ต้อง

§       ดูแลสุขภาพให้ดี

§       มีเวทีให้บุคคลเหล่านี้ได้แสดง

§       มี Peres model ที่เป็นตัวอย่างของคนที่มีอายุแต่มีคุณภาพ

§       ไม่ว่าอายุมากหรือน้อยต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

สัปดาห์นี้ผมขอยกบทความอีกเรื่องในหนังสือ “The Economist” ฉบับล่าสุด June 27 – July 3RD 2009 ลงบทความและเป็นหน้าปกของนายกฯรัฐมนตรีหญิงคนแรกของ German คือ Mrs.Merkel เพื่อให้นักการเมืองหญิงไทยได้นำไปพิจารณา

          บทความฉบับนี้ กล่าวว่าคุณ Merkel เป็นนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จและแตกต่างกับผู้อื่น น่าศึกษาเพราะ

§       โตมาจากเยอรมันตะวันออก (ครั้งหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์)

§       เรียนสาขาฟิสิกส์

§       บุคลิกและการแต่งตัวก็ไม่ตามสมัย (เชย ๆ)

§       พูดไม่เก่ง

§       ไม่มี Charisma  

แต่ทำงานได้ผลดี มีแนวคิดเป็นของตัวเอง ผู้คนส่วนใหญ่วิเคราะห์ไม่ออก ตีโจทย์ไม่แตกว่าเก่งเพราะอะไร หนังสือ Economist ใช้คำ “Mystery” คือคล้าย ๆ ว่ายังเป็นเรื่องปริศนาอยู่ ประเด็นก็คือ เขาได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนชาวเยอรมันค่อนข้างมากและคาดว่าเป็นนายกฯหญิงที่จะได้รับเลือกตั้งให้กลับมาเป็นผู้นำอีกสมัย

ผมมาดูแล้ว ก็น่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์กับคนไทยเพราะนักการเมืองหญิงในเมืองไทยมีน้อยคนที่จะมีประวัติหรือวิถีชีวิตแบบคุณ Merkel และนักการเมืองหญิงไทยจำนวนหนึ่งก็จะสไตล์ แบบไทยๆ คือมองออกว่าเล่นการเมืองเพราะอะไร จะเน้นบุคลิกที่ดีหรือเน้นครอบครัวที่สนับสนุน มีพ่อดีหรือสามีเล่นการเมือง ขาดจุดยืนและอุดมการณ์ทางการเมือง เล่นไปเพื่อส่วนตัวหรือหวังผลประโยชน์ ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบตาราง 2 ตารางที่ผมเขียนขึ้นมาและลองสรุปดูว่า บทเรียนของคุณ Merkel  จะประยุกต์กับการเมืองไทยได้อย่างไร

 

สไตล์ไทย ๆ

สไตล์ Merkel

§       คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

§       คุณปวีณา หงสกุล

§       คุณพรทิวา นาคาศัย

 

§       คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

§       ดร.จุรี วิจิตรวาทการ

§       ดร.ผุสดี ตามไท

 

ผมคิดว่ามี 3 ท่าน ที่อาจจะเป็น Model ของ คุณ Merkel

ถึง ท่านประธานและทุกๆท่าน รุ่น 5

          คิดถึงทุก ๆ คน อยากให้ Blog alive  เลยส่งการบ้าน 2 บทความ

§       บทความแรกเรื่อง คนอายุมาก

§       บทความที่ 2 เรื่องผู้หญิง

ช่วยอ่านและ วิภาค ว่าเกี่ยวอะไรกับตัวเราหรือประเทศทั่ว ๆ ไป

รุ่น 5 มีใครติดหวัดหรือเปล่า? กรุณาส่งข่าวด้วย อย่าลืม Learning Communities คือต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่อไป  

 

                                                จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

คุณชวลิต,คุณบรรหาร,คุณเสนาะ,คุณสนั่น โปรดอ่านบทความนี้

         บทความที่ว่านี้ คือบทความในหนังสือ Herald Tribune ฉบับวันเสาร์ อาทิตย์ที่ 27 -28 นี้ ซึ่งเขียนโดยคุณ Isabel Kershner พูดถึงอดีตนักการเมืองชาวอิสราเอล คือคุณ Shimon Peres ซึ่งในอดีตเป็นทั้ง

§        นายกฯของอิสราเอล 2 ครั้ง

§       ได้รับรางวัล Nobel สันติภาพ

§       อายุ 85 ปี แล้ว

§       ยังถูกชาวอิสราเอลและโลกมองว่าเป็นคนที่มีคุณค่าต่อการเมืองในปัจจุบัน

ปัจจุบันอายุ 85 ปี ดำรงตำแหน่งแบบไม่มีอำนาจอะไร คือเป็นประธานาธิบดี แต่ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่คนอิสราเอลกำลังฝากความหวังให้มาช่วยแก้ปัญหาของประเทศของเขา

ประเด็นคือ ถึงแม้ว่าผมจะเขียนถึงการเมืองหนุ่มเสมอไม่ว่าจะเป็นอภิสิทธิ์ โอบามาหรือล่าสุดโอบาฮูล แต่ผมไม่ได้ละเลยบุคคลที่มีอายุมาก แต่ยังทำงานได้อย่างเข้มแข็ง และช่วยประเทศเราได้อย่างมาก ในสาขาอื่นที่ไม่ใช่การเมืองก็มีเช่น แก่สุดน่าจะเป็นคุณหมอเสม พริ้งพวงแก้ว นอกจากนั้นก็มีอาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่แก่ยังมาก เช่น คุณอานันท์ ปัญญารชุนและคุณหมอประเวศ วะสี

แต่เราก็มีนักการเมืองซึ่งยังอายุมากแล้ว 4 ท่าน คุณชวลิต,คุณบรรหาร,คุณเสนาะ,คุณสนั่น ซึ่งบางครั้งอาจจะถูกมองว่า แก่เกินไปที่จะทำประโยชน์ให้ชาติไทย

พออ่านบทความของคุณ Peres ผมก็เลยมีความรู้สึกว่า นักการเมืองทั้ง 4 ท่านยังมีและควรทำประโยชน์ต่อประเทศไทยของเราอีกมาก เพียงแต่ได้อ่านบทความที่ผมได้กล่าวมาแล้วและเราเป็นแบบอย่างที่ดี กล่าวคือ อายุมากขึ้นแต่อาจจะทำอะไรเพื่อประโยชน์ของประเทศส่วนรวมได้มากกว่าเดิม แต่วิธีการต้องทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ไม่ใช่แก่แบบไดโนเสาร์

เพราะการเมืองประเทศไทยไม่จำเป็นจะต้องเน้นคนรุ่นหนุ่มเท่านั้น จริงอยู่แนวโน้มบางประเทศก็อาจจะเป็นอย่างนั้น แต่ผมก็เป็นคนหนึ่งที่มั่นใจว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข อยู่ที่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะรักษาสุขภาพ สนใจการหาความรู้ เป็นที่พึ่งของรุ่นน้องๆได้อย่างแท้จริงหรือไม่

ความจริงทั้ง 4 ท่านที่ผมพูดถึง ผมก็ถือว่าเป็นบุคคลที่น่าเคารพและสะสมประสบการณ์อย่างมากและถ้าในอนาคตการเมืองข้างหน้าของท่าน คงได้อ่านบทความนี้แล้วก็อาจจะถูกจุดประกาย กระตุ้นให้ท่านไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างแน่นอน

กลับมาถึงบทความดังกล่าว ผู้เขียนเน้นว่า ช่วงนี้แม้ว่าคุณ Peres อายุจะมากถึง 85 แต่การรักษาตัว สุขภาพแข็งแรง การแต่งตัวทันสมัย ดูว่าคุณ Peres ไม่ได้อายุมากอย่างที่คาดคิดไว้เลย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่านักการเมือง 4 ท่านที่ผมพูดถึง แต่ละท่านยังไม่มีใครอายุเท่ากับคุณ Peres เลย จะมีก็คุณบรรหาร จะขึ้นเลข 8 แล้วกระมัง

ในบทความนี้เน้นว่าช่วงที่อิสราเอลกำลังได้นายกฯคนใหม่ ชื่อ Netanyahu ซึ่งหลาย ๆคนก็คงจะทราบว่าคุณ Netanyahu เป็นนักการเมืองหัวรุนแรงไม่ยอมจะให้ชาว Palestine มีประเทศของตัวเอง ซึ่งปรากฏว่าคุณ Peres สามารถพูดและโน้มน้าวให้คุณ Netanyahu เปลี่ยนใจได้ซึ่งก็ถือความประสบการณ์ของท่านถึงแก่แต่ก็ทำงานได้ผล

ในบทความยังเน้นว่า คุณลักษณะของคุณ Peres มี 3 อย่าง

§       Honesty     ความซื่อสัตย์

§       Depth        ทำอะไรลึกซึ้ง

§       Vision         มีวิสัยทัศน์

แต่ที่ผมประทับใจมากในบทความก็คือ อายุ 85 ปีแล้วยัง

§       อยากรู้ อยากเห็น   Curiosity

§       นวัตกรรม             Innovation

ซึ่งทั้ง 2 เรื่องที่ คนรุ่นใหม่ มักจะมีแต่คนรุ่นเก่าอาจะไม่มี แต่คุณ Peres มีแต่ในเรื่อง Innovation คุณ Peres เน้นให้ชาวอิสราเอลเน้นอุดมการณ์ใหม่ ๆ ที่ใช้ความรู้ เช่น

§       Stem Cell               เซลล์ต้นกำเนิด

§       Electric Car             รถที่ใช้ไฟฟ้า

§       Alternative Energy   พลังงานทดแทน

ผมหวังว่า นักการเมืองที่มีอายุมากๆ ก็คงจะสนใจที่จะนำเอาบทเรียนของคุณ Peres ไปใช้ สิ่งที่ท้าทายก็คือ นักการเมืองอายุมากๆของเราจะมีศักยภาพแบบคุณ Peres หรือไม่และถ้าไม่มีก็ไม่ใช่ว่า จะมีไม่ได้ ตราบใดก็ตามท่านก็ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่ม เพราะปัจจุบันไม่มีใครแก่เกินเรียน

อาทิตย์นี้ผมเพิ่งกลับมาจากการทำการทูต ภาคประชาชนที่ประเทศกัมพูชา

ช่วงก่อนไปผมก็วิตกเพราะสื่อในประเทศไทยประโคมข่าวเหลือเกินเรื่องความขัดแย้งชายแดนไทย กัมพูชา ผมไปถึงที่พนมเปญ ปรากฏว่าข่าวต่างๆเรื่องความตึงเครียดของไทย กัมพูชาไม่มีเลย บางครั้งสื่อเมืองไทยขายข่าวมากไปหรือเปล่า?

ความรู้สึกที่รัฐบาลเขมรและประชาชนมีต่อประเทศไทยในส่วนใหญ่แล้วยังดีอยู่ และความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคมการเมือง พลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก

          ไปคราวนี้ ผมนำเอาทีมวิชาการไป 45 คนใช้เวลา 5 วัน (Learning Forum on Tourism  Management for Cambodia On Monday 29 June –   Friday 3 July 2009 At Sunway Hotel Phnom Penh, Phnom Penh, Cambodia) มีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ท่านคงจะเพิ่มบรรยากาศ ความอยากรู้อยากเห็นของชาวกัมพูชาที่รู้ว่าความรู้เท่านั้นที่จะทำให้ชาติเขาเจริญอย่างแท้จริง เขาสนใจสร้างทุนทางปัญญา หาความรู้มากกว่าคนไทยมาก

 ในปัจจุบันผมมีความภูมิใจที่การทูตภาคประชาชนของผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศยังทำงานได้ผลเสมอ

 

นักการเมืองหญิงไทย โปรดอ่านบทความนี้

         ผมขอขอบคุณท่านผู้อ่านจำนวนมากที่มีความคิดเห็นตอบกลับมาจากเรื่องคุณ Peres ผมเลือกมา 3 4 เรื่องที่ส่งมาเพื่อให้ท่านวิเคราะห์ดู

§       ต้องพัฒนานักการเมืองทุกค่ายให้มีความซื่อสัตย์ ไม่พูดคำหยาบ แสดงออกในทางก้าวร้าวและใช้กฎหมู่เรียกร้องให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่คนกลุ่มที่ต้องพัฒนาสมองอีกมาก

§       ประเทศไทย :คนดีๆไม่ค่อยได้ปกครองบ้านเมือง ขอบคุณ ดร.จีระ มีอะไรดีๆบอกคนไทยเสมอ นักการศึกษาไทยชอบให้เด็กเรียนเรื่องไกลตัว จนลืมเรื่องใกล้ตัว เช่น เรียนยุโรป อเมริกา จนเด็กไทยไม่รู้จักอาเซียน สวัสดีประเทศไทย

§       เยี่ยมยอดในบทความนี้มาก.....เป็นความลึกซึ้งในเนื้อหา...ถ้าแก่แต่ไม่เปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์นำนวัตกรรมมาแก้ปัญหา...อยู่ในการเมืองเพียงต้องการอำนาจเท่านั้น...ควรเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงโลกธรรม8 ควรแนะนำให้อ่านหนังสือศิลปะแห่งอำนาจ ของ ท่านติช นัท ฮันท์

§       ลักษณะของคนไทยปัจจุบันไม่เรียกว่าแสวงหาความรู้ แต่แสวงหาใบประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ตรี โท เอก เพื่อเอามาแลกกับตำแหน่งงาน แลกกับหน้าตาทางสังคมและ เกียรติยศจอมปลอม แต่ไม่เคยนึกถึงความจริงที่ว่า ยิ่งร่ำเรียนมาสูง ๆ ยิ่งควรนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาตนเอง ลด ละ เลิก โลภ โกรธ หลง แต่เปล่าเลย ยิ่งเรียนสูงยิ่งมีแต่ความอยากมีเงินมาก ๆ อยากมีอำนาจไว้คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ชีวิต ส่วนตัวเรียกว่าเห็นแก่ตัวที่สุด จะว่าคิดแต่ในแง่ลบก็ใช่เพราะสังคมปัจจุบันมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แม้แต่เด็กและเยาวชนยังบอกว่า โกงก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทำเพื่อประชาชนบ้าง

§       พวกนักการเมืองแก่ๆพวกนี้ เขาไม่มีลักษณะของ Peres 3 คนอย่าง Honesty, Depth, Vision.มีแต่ Corruption and money money.

          ในบทความดี ๆ ของต่างประเทศเขียนเพื่อให้เราคิดและคนไทยอาจจะนำมาวิเคราะห์ต่อให้ได้ประโยชน์ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีความคิดดี ๆ ช่วยได้มาก การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษบ้างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ

          ทรัพยากรมนุษย์ไม่ว่าอายุน้อยหรืออายุมากก็มีประโยชน์ทั้งนั้น แต่ต้องเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทันโลก คืออย่าประมาท ภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุดก็คือ ความรู้และนำไปคิดต่อยอดพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ผมดีใจที่มีเวทีอย่าง แนวหน้า ให้โอกาสผมได้แสดงออกเสมอ

          บทความคุณ Peres คิดว่าคงจะเป็นกำลังใจให้แก่คนไทยไม่ใช่เฉพาะวงการการเมืองที่อายุ 60 ไปแล้ว ซึ่งจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่โครงสร้างประชากรเขาเรียกว่า ผู้สูงอายุ ยังมีประโยชน์ในปัจจุบัน ประเทศไทยจะมีคนอายุเกิน 60 ปี ปัจจุบันจำนวนกว่า 6 – 7 ล้านคนแล้ว แต่อีกคาดว่าไม่ถึง 10 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 12 15 ล้าน ถ้าบุคคลเหล่านี้รักษาสุขภาพดี มีความรู้ก็จะช่วยเป็นพี่เลี้ยงของสังคมได้อยู่เสมอ ประเทศจะได้ประโยชน์มาก

          สังคมทั่วไปมองผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ เห็นคุณค่าและค้นหาสิ่งดี ๆ จากท่านเหล่านั้น ที่ได้สะสมประสบการณ์มาอย่างมากมาย

          ประสบการณ์เหล่านั้นอาจจะซ่อนในตัวท่าน  Tacit Knowledge คนรุ่นหลังจะต้องค้นหาสิ่งดีๆออกมาให้ได้

          ครอบครัวไทยที่เป็นครอบครัวเดี่ยว มีพ่อ แม่ ลูก ไม่มีปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ด้วย อาจจะดีตรงที่มีอิสระ แต่ไม่ได้รับการถ่ายทอดความรักความอบอุ่นความรู้และประสบการณ์จากผู้ใหญ่ ยิ่งยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งอันตรายครอบครัวไม่อบอุ่นมีปัญหามากมาย

          ดีใจที่รัฐบาลมีนโยบายให้อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต่ออายุได้ถึง 65 ปี ซึ่งช่วยให้อาจารย์จำนวนหนึ่งได้ทำงานต่อไป ผมเห็นในต่างประเทศอาจารย์ไม่มีวันเกษียณอายุ Peter Drucker ยังทำงานถึง 95 อาจารย์เกษียณที่ 65 ก็อาจจะเร็วไป อาจจะต่อให้ถึง 70 แบบระบบศาลหรืออัยการ

          ผมยังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหาราชินีที่ทรงกระตุ้นให้สภาพัฒน์มีโครงการฯ คลังสมอง ของคนอายุเกิน 60 และ วปอ. มีโครงการคลังสมองของตัวเองสร้างคุณประโยชน์ให้ประเทศมากมาย

          ทั้งหมดไม่ใช่ เน้นแต่ผู้อาวุโสเท่านั้น อายุเท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ แต่ต้อง

§       ดูแลสุขภาพให้ดี

§       มีเวทีให้บุคคลเหล่านี้ได้แสดง

§       มี Peres model ที่เป็นตัวอย่างของคนที่มีอายุแต่มีคุณภาพ

§       ไม่ว่าอายุมากหรือน้อยต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

สัปดาห์นี้ผมขอยกบทความอีกเรื่องในหนังสือ “The Economist” ฉบับล่าสุด June 27 – July 3RD 2009 ลงบทความและเป็นหน้าปกของนายกฯรัฐมนตรีหญิงคนแรกของ German คือ Mrs.Merkel เพื่อให้นักการเมืองหญิงไทยได้นำไปพิจารณา

          บทความฉบับนี้ กล่าวว่าคุณ Merkel เป็นนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จและแตกต่างกับผู้อื่น น่าศึกษาเพราะ

§       โตมาจากเยอรมันตะวันออก (ครั้งหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์)

§       เรียนสาขาฟิสิกส์

§       บุคลิกและการแต่งตัวก็ไม่ตามสมัย (เชย ๆ)

§       พูดไม่เก่ง

§       ไม่มี Charisma  

แต่ทำงานได้ผลดี มีแนวคิดเป็นของตัวเอง ผู้คนส่วนใหญ่วิเคราะห์ไม่ออก ตีโจทย์ไม่แตกว่าเก่งเพราะอะไร หนังสือ Economist ใช้คำ “Mystery” คือคล้าย ๆ ว่ายังเป็นเรื่องปริศนาอยู่ ประเด็นก็คือ เขาได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนชาวเยอรมันค่อนข้างมากและคาดว่าเป็นนายกฯหญิงที่จะได้รับเลือกตั้งให้กลับมาเป็นผู้นำอีกสมัย

ผมมาดูแล้ว ก็น่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์กับคนไทยเพราะนักการเมืองหญิงในเมืองไทยมีน้อยคนที่จะมีประวัติหรือวิถีชีวิตแบบคุณ Merkel และนักการเมืองหญิงไทยจำนวนหนึ่งก็จะสไตล์ แบบไทยๆ คือมองออกว่าเล่นการเมืองเพราะอะไร จะเน้นบุคลิกที่ดีหรือเน้นครอบครัวที่สนับสนุน มีพ่อดีหรือสามีเล่นการเมือง ขาดจุดยืนและอุดมการณ์ทางการเมือง เล่นไปเพื่อส่วนตัวหรือหวังผลประโยชน์ ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบตาราง 2 ตารางที่ผมเขียนขึ้นมาและลองสรุปดูว่า บทเรียนของคุณ Merkel  จะประยุกต์กับการเมืองไทยได้อย่างไร

 

สไตล์ไทย ๆ

สไตล์ Merkel

§       คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

§       คุณปวีณา หงสกุล

§       คุณพรทิวา นาคาศัย

 

§       คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

§       ดร.จุรี วิจิตรวาทการ

§       ดร.ผุสดี ตามไท

 

ผมคิดว่ามี 3 ท่าน ที่อาจจะเป็น Model ของ คุณ Merkel

ก็คือคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ท่านนี้จบ Ph.D ทางวิทยาศาสตร์จากอังกฤษและบุคลิกต่าง ๆ ก็ไม่หวือหวาแบบนักการเมืองหญิงทั่วๆไป เล่นการเมืองไม่เก่ง แต่อาจจะทำงานเพื่อชาติได้ดี

ส่วน ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ก็ถือว่าเป็นนักวิชาการที่โดดเด่น มีความรู้ดีและ ดร.ผุสดี ตามไท ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างของนักการเมืองที่มีความรู้ มุ่งมั่นเพื่อส่วนรวม

ส่วนอีก 3 ท่านคือคุณหญิงสุดารัตน์ คุณปวีณาและคุณพรทิวาก็เป็นนักการเมืองหญิงอีกแบบหนึ่งสไตล์ไทยๆ เล่นการเมืองเพื่ออะไร ผู้อ่านก็ตัดสินใจได้เอง

สรุปก็คือ ในอนาคตเราต้องการนักการเมืองหญิงแบบไหน ที่จะทำให้ชาติของเราเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง บทความวันนี้อาจจะกระตุ้นให้ ผู้หญิงที่มีความรู้ โดยเฉพาะ คนที่จบทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวะหรือแพทย์และกลุ่มที่ชอบเรื่องสิ่งแวดล้อม กระโดดเข้ามาการเมืองมากขึ้น มากกว่าที่มาจากสืบสายเลือดเพราะพ่อเคยเล่นหรือสามีประโยชน์ของนักการเมืองหญิงไทยเหล่านั้นต่อประเทศก็อาจจะไม่มากนัก

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

ชอบใจบทความของอาจารย์ตรงประเด็นฺ

"มีเวทีให้บุคคลเหล่านี้ได้แสดง" เพราะถึงแม้จะเป็นผุู้มีความรู้ดี มีประสบการณ์ ทันสมัยเรียนรู้อยู่เสมอ มีความมุ่งมั่นอุดมการณ์และเจตนาที่ดี คือเป็น คนเก่ง คนดี มีคุณภาพ ถ้าปิดโอกาสไม่ให้เวทีเขาแสดงเนื่องจากเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ก็แทบจะไม่มีประโยชน์อันใด ทรัพยากรมนุษย์ที่สร้างไว้ก็ไม่มีคุณค่า การเมืองไทยเป็นเช่นที่ว่านี้หรือไม่ครับ

วรพจน์ มานะพันธุ์พงศ์

ผมยังคงเข้ามาดู blog อยู่เมื่อมีโอกาส เพื่อนๆอีกหลายท่านก็คงเช่นกัน กรุณาให้ซุ่มให้เสียงหน่อย คงต้องขอบคุณ อ.จีระ ,คุณชนินทร์ และ เพื่อนๆ ที่ส่งบทความดีๆ และ เสนอข้อคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เวลาเปิดเข้ามาใน blog แล้วมีความคืบหน้า เคลื่อนไหว พวกเราปกติส่งข่าวคราวกันด้วย E-mail เดินเจอกันก็ได้แต่ยกมือทักทาย จะมีโอกาสได้คุยกันเป็นเรื่องเป็นราว ก็เฉพาะมีงานที่ต้องประสานงานกัน หรือ นัดพบในกลุ่มที่ทำรายงานเรื่องเดียวกันเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ค่อยพร้อมเพรียงกันนัก เพราะแต่ละท่านก็มักจะติดภาระกิจงานประจำ เรื่องที่หารือทำรายงานก็จะ e-mailส่งกันอยู่เฉพาะในกลุ่มเท่านั้น ส่วนเรื่องที่ทำหากทำกันสมบูรณ์พอที่จะเผยแพร่ได้ คงนำมาลงใน blog เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้

แล้วเจอกันร่วมรุ่นเป็นกลุ่มในระยะเวลาอันใกล้ได้อีก 2ครั้ง

-ทิ่เขื่อนศรีนครินทร์ 6-7 สิงหาคม 2552

-โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ประเทศจีน 17-20 สิงหาคม 2552

หลังจากนี้คงต้องอาศัย การอบรมที่ อพบ.จัดให้ และ ท่านประธานรุ่นต่อไป

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

ล้อหมุน 0815 น. ไปสัมนาเขื่อนศรีนครินทร์ฯเช้านี้ เป็นการ Reunion ครั้งแรก

• ทราบว่ากลับจากการเยี่่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ DYA BAY & LING AO แล้ว

• คงจะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างจากโรงไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ หลาย ๆ ด้าน

• โดยเฉพาะด้าน Safety Security & Safeguard (3 S)

• หวังว่าสมาชิกทุกท่านจะได้รับประโยชน์ในทุก ๆ ด้านจากการดูงานครั้งนี้โดยทั่วกัน

• รวพ. และ ชพฟ. ก็ได้ร่วมเดินทางไปดูงานโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เซินเจิ้น ประเทศจีน

• พร้อมกับผู้แทนกลุ่ม NGO จาก ภาคตะวันออก (ระยอง) ภาคกลาง (สมุทรสงคราม) และ ภาคใต้ (สุราษฏร์ธานี)

• ระหว่างวันที่ 26 – 29 กค. 2552

• โดยข้อมูลที่ NGO สื่อสารกันไว้ ไม่น่าจะถูกต้อง อาทิ

• น้ำหล่อเย็นโรงไฟฟ้าทุกชนิด จะร้อนมาก สามารถต้มไข่สุกได้ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่ไปกับน้ำตายหมด

• หรือโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จะไม่มีสัตว์ที่มีชีวิตเหลืออยู่เลย เป็นต้น

• ในระหว่างการดูงานที่ DAYA BAY ซึ่งมีโรงฯ ที่อยู่ระหว่างการเดินเครื่อง 2 + 2 โรง (DAYA BAY 2 โรง และ LING AO 2 โรง)

• ได้มีการสรุปสาระสำคัญของการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของจีน

• และการเยี่ยมชมโรงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (LING AO 3-4 )

• รวมทั้งการเดินทางไปพบผู้นำชุมชนรอบ ๆ โรงไฟฟ้า DAYA BAY

• การร่วมเดินทางครั้งนี้ ก็นับได้ว่าได้ตอบประเด็นคำถามบางรายการด้วยการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงจากการเดินเครื่องจริง ๆ

• อย่างไรก็ตาม ยังมีเงื่อนไขอีกหลาย ๆ ประการที่จะต้องดำเนินการต่อเนื่องอีก

กมล ตรรกบุตร

ชนินทร์ อารีพิทักษ์

ได้กลับจากการดูงานโรงไฟฟ้านิวเคลียส์ที่ Chenzhen ตั้งแต่วันพฤหัสที่ ๒๐ สิงหาคมตามกำหนด ทุกคนกลับมาโดยสวัสดิภาพ ไม่มี H1N1 แถม(รอดออกมาได้หวุดหวิด)หลังจากถุกตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งขาเข้าขาออกประเทศจีน

จากการไปเยี่ยมชมและฟังบรรยายมีระบบที่น่าสนใจโดยเฉพาะ Training Center

ที่มีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน มีเครื่องมือ อุปกรณ์ทันสมัย มีแผนการพัฒนาและอบรมบุคลากรของบริษัทที่ชัดเจน มีการหมุนเวียนทดแทนการได้ดี

เป็นการไปดูงานที่ได้ประโยชน์ ในระดับหนึ่ง เวลาที่เยี่ยมชมค่อนข้างสั้น ไม่ละเอียดนักอย่างเช่น ระบบการกำจัดกาก ระบบการนำน้ำทะเลมาใช้งาน รวมถึง การผลิตไฟฟ้าด้วยRenewable resources ที่ใช้ในบริเวณนั้น

ขอขอบคุณ กฟผ.โดยเฉพาะ รวพ. ชพฟ. อนค. ที่ให้โอกาสได้ไปดูงาน

แก้วตา ชาญชัยศรีสกุล

เห็นภาพแล้วคิดถึงอาจารย์จีระ ขอรายงานอาจารย์ว่า เพื่อนร่วมรุ่น EADP5 ยังได้เจอกันบ้าง ล่าสุดจัดเลี้ยงแสดงความยินดีเพื่อนๆ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ระดับฝ่าย 2 ท่านคือ คุณชนินทร์ และ คุณณัฐพร ค่ะ

ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ

ยงชัย จันทร์เลิศฟ้า

after the training program eadp 5 in 2009. everybody ready to go to the future...............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท