PhD. สวนสุนันทา รุ่น 3 (Blog 2)


การเรียนปริญญาเอกในวันนี้สิ่งสำคัญคือเรียนให้รู้จริง คิดป็นระบบ และสร้างงานวิจัยให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

ถึงทุกคน

            เนื่องจาก Blog เดิมนั้นมีข้อมูลค่อนข้างมาก อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งข้อมูล ผมจึงเปิด Blog นี้แทน

                                                                        จีระ หงส์ลดารมภ์

                                                                                   

คำสำคัญ (Tags): #phd. รุ่น 3 blog 2
หมายเลขบันทึก: 274993เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (336)

ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

กรอบความคิดของอุปนิสัยทั้ง 7 ประการ The 7 Habits (อุปนิสัย 7 อย่าง)
เริ่มจากการพึ่งพาผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

ชนะใจตน

1. เป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (โปรแอกทีฟ)
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
3. ทำตามลำดับความสำคัญ

ชนะใจผู้อื่น

4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ
5.เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา
6. ประสานพลัง
7. ลับเลื่อยให้คม

อุปนิสัยที่ 1 Be Proactive ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน ( Individuals are responsible for their own choices and have the freedom to choose.) “ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเอง” “เราเป็นอย่างที่เราเป็น หรือเป็นอย่างที่เขาพูดการรุก คือ การทำให้ดีที่สุด ตั้งแต่ครั้งแรก (อย่าคิดว่าจะสามารถแก้ไขครั้งที่ 2 ได้อีก ฉันทำได้สิ่งที่จำเป็นต้องทำ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ชอบ แต่จำเป็นต้องทำ ให้พยายามทำจิตใจให้ชอบ ทำซ้ำ ๆ จนเข้าไปอยู่ในจิตใจของตนเอง
Be Proactive คือ อะไรไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้ ทำให้ได้ ทำให้เกิดความชำนาญ
การคิดแนวรุก คือ การตัดสินปัญหาแก้ไขได้ อย่าให้สิ่งภายนอกตัดสินเรา ฉันเลือกที่จะไป ฉันควบคุมความรู้สึกของฉันได้
แก่นสารของความอยู่รอด

อย่าไปสนใจว่าใครทำอะไร ให้สนใจเฉพาะว่า ตนเองทำอะไร ทำดีหรือยัง เพื่อที่จะเปิดเกมส์รุกได้ เช่น หัวหน้าว่า คือ เรื่องของหัวหน้า เรื่องของเรา คือ งานที่เราต้องทำ ทำไป อย่าสนใจสิ่งที่หัวหน้าว่า จนทำให้เราไม่สามารถทำงานในส่วนที่เรารับผิดชอบ

ความมีอิสระในการเลือก เช่น Self Awareness (เตือนตนเอง ให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร) Imagination
(ใช้สมองคิดว่าตอบโต้ให้เป็นการออมบัญชีความรู้สึก) Conscience (สติ) Independent Will (อิสระในความคิด)
อย่าสนใจสิ่งที่มากระทบระหว่างทางก่อนถึงความสำเร็จหรือเป้าหมาย ปล่อยวางมันไป มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย

- ตอบสนองตามค่านิยม โดยไม่ยอมให้ อิทธิพลภายนอก (อารมณ์ ความรู้สึก หรือ สภาวการณ์) มาควบคุมการตอบสนองของตน
- รับผิดชอบต่อ พฤติกรรมของตนเอง (ทุกคนมีอิสระในการเลือกที่จะทำอะไร แต่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตามมาจากสิ่งที่เราเลือก)
- มุ่งเน้นที่ Circle of Influence (หาทางแก้ไขปัญหาเพื่อกำจัดความกังวล หรือ ไม่มองหรือคิดกังวลแต่เรื่องปัญหา) และถ้าฝึกไปเรื่อยๆ จะนำไปสู่ระดับ ให้อภัยต่อผู้อื่น (Transition Figure)
ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีหลักการบริหาร 5 ข้อ คือ
Personal Mastery มุ่งสู่ความเป็นเลิศ สมอง (ความคิดสร้างสรรค์) – innovation
Mental Models วิธีคิดมุมมอง – channel (ช่องทาง) เช่น ตัวอย่างสินค้า เช่น แชมพู เป็นต้น
Shared Vision ประสานวิสัยทัศน์ แบ่งปันความคิด เรียนรู้นิสัยใจคอกัน
Team Learning เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (Top – Down/ Down – Top)
Systems Thinking (คิดเป็นระบบ)

อุปนิสัยที่ 2 Begin with the End in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ(Mental creation precedes physical creation)
จิต คือผู้เดินทางอยู่เหนือมิติแห่งกาลเวลา ทุกอย่างเริ่มต้นที่จิต
เจตนา เป็นเครื่องชี้กรรม ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
ความสำเร็จ เริ่มต้นจากก้าวแรก เริ่มสะสมความสำเร็จด้วยระยะเวลาที่ท่านไปอย่างสม่ำเสมอ
You are what you think.
การเรียน คือ ฟังด้วยหู การอบรม การพัฒนา
ความร่วมมือเป็นทีม/ ความคิดที่ช่วยกันแก้ปัญหา/ ความรับผิดชอบหน้าที่ตนเองให้ดี
การที่มนุษย์จะประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ ได้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่าติดกับกรอบความคิด (สิ่งที่เราเห็นแล้วคิด เกิดความเข้าใจไปเอง ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้)
มนุษย์ควรหาความสามารถ เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เราจะทำงานให้เหมือนว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต
Think smart – ชี้เฉพาะ วัดได้ เป็นไปได้ เชื่อถือได้ มีตัวตน
จินตภาพ = Mind Map
วันใดที่คิดอยากจะทำอะไรที่ดี ให้เขียนไว้เพื่อให้จำได้ และต้องทำให้สำเร็จ ระวังทัศนคติที่ทำลายตัวเอง เช่น ขี้เกียจ ท้อแท้ พลัดวันประกันพรุ่ง วิตกกังวล ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่สามารถไปถึงความสำเร็จได้ การปรับเปลี่ยนกรอบความคิด โดยมีหลักการ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เข้าใจถึง ความไม่เที่ยงแท้ ฯลฯ
สมองมี 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (ปัญญา) ซีกขวา (อารมณ์) การฝึกสมองด้านขวาโดยจินตนาการให้แข็งแกร่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน
อย่ายึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นคนหลงและผิดพลาด ยึดกับกรอบของตนเอง
ยุทธศาสตร์ - วางแผน ตัดสินใจทำ- คาดการณ์ว่าจะเพิ่มกี่ % - คิดว่าจะทำอย่างไร-ลงมือทำ
- การเริ่มต้นที่จุดมุ่งหมายในใจ คือ การสร้างหรือวางแผน การออกแบบ และ วางโครงร่างสำหรับสิ่งที่เราต้องการจะเป็น ก่อน โดยคิดหลายๆ ทางเลือก และ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดในใจก่อน แล้วค่อยนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ ให้เกิดผล ตามความคิดหรือสิ่งที่เราคาดหวังไว้
- การฝึกฝน อุปนิสัยที่ 2 นี้ ต้องเริ่มต้นที่ ต้องตั้ง Personal Mission ก่อน แล้ว จาก Personal Mission ค่อยๆ แตกมาเป็น Activity ย่อยๆ ในการทำอะไรในแต่ละช่วงของชีวิต และ ทบทวนสิ่งที่เรากระทำว่า support หรือ เป็นไปตาม Mission ที่เราอยากได้ หรือ อยากเป็น หรือไม่ 
- นิสัยข้อนี้เป็นการสร้าง ความปรารถนา และแรงจูงใจ ให้ทำในสิ่งที่เราควรจะทำ แต่เรามัก ผลัดวันกับตัวเองเสมอ

อุปนิสัยที่ 3 Put First Things First ลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Effectiveness requires balancing important relationships, roles, and activities.)

-         อุปนิสัยนี้เป็นการฝึก การบริหารเวลา โดยต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยจะโยงมาจาก Personal Mission คือทำในสิ่งที่ support mission ชีวิตที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง คือ คิดว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร เริ่มจากอะไรก่อน โดยตอบรับในสิ่งที่ดีและปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี ทุกคนมีต้นทุน คือ เวลาที่เท่ากัน 24 ช.ม. แต่ต่างกันในการใช้เวลาให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างไร

การสั่งสม (คุณลักษณะที่ดีที่ควรสะสมไว้)

การลบล้าง (สิ่งที่ควรเลิก)

ความเมตตากรุณาและสุภาพ

รักษาสัญญา

ทำตามความคาดหวัง

ซื่อสัตย์ต่อผู้ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์

กล่าวขอโทษ คำทักทาย คำขอบคุณ

เอาใจใส่คนในครอบครัว พูดคุย รับประทานอาหารร่วมกัน นอนให้ได้วันละ 6 ช.ม. เต็ม

ออกกำลังกายทุกวัน ๆ ละ 15 นาที

สงบจิตใจทุกวัน ๆ ละ 15 นาที

อ่านหนังสือทุกวัน ๆ ละ 30 นาที

             ความโหดร้าย ความหยาบคาย และอบายมุขต่าง ๆ

         ไม่รักษาสัญญา

           ทำลายความคาดหวัง

          ไม่ซื่อสัตย์และตีสองหน้า

             ยโส หลอกลวง

            ทำเย่อหยิ่งดูละครโทรทัศน์จนดึก

             ผัดวันประกันพรุ่ง

             ทะเลาะกันในครอบครัว

            เอาความเครียดจากงานมาระบายกับคนในบ้าน

- ใช้หลักในการแบ่ง สิ่งที่ต้องทำออกเป็น 4 ส่วนคือ 
I. สำคัญ และ เร่งด่วน (Emergency Job)
II. สำคัญ แต่ ไม่เร่งด่วน (Planning Job) ถ้า Plan ไม่ดี จะกลายไปเป็น ข้อ I
III. ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Yes Man คือ ใครชวนทำอะไร ทำหมด)
IV. ไม่สำคัญ และ ไม่เร่งด่วน (สิ่งบันเทิง ที่เกินความจำเป็นในชีวิต ) ต้องเลิกทำ

1. Urgent (เร่งด่วน) Important (สำคัญ)
เช่น วิกฤตการณ์ การแก้ปัญหางานเฉพาะหน้า

2. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Important (สำคัญ)
เช่น การวางแผน การพักผ่อนหย่อนใจ การวางแผน

3.Urgent (เร่งด่วน) Unimportant (ไม่สำคัญ)
เช่น การรับโทรศัพท์ รายงาน ปิดประชุม

4. Unurgent (ไม่เร่งด่วน) Unimportant(ไม่สำคัญ)
เช่น การดูละครโทรทัศน์ กิจกรรมเสียเวลาต่าง ๆ

- สรุป คือต้องเลือกทำในข้อ I & II และ พยายามอย่าปล่อยให้ ข้อ II กลายมาเป็นข้อ I (Try to Keep Schedule)
Permanent change – Result/Action/Think/Idea/Conditioning
Strategy – Change Condition/New Idea/Positive Thinking/Focus Action/Better Result
Put First Think First คือ หน้าที่เราทำอะไร ให้ทำตามนั้นเป็นอันดับแรก ให้ได้ Productivity

อุปนิสัยที่ 4 Think Win-Win (Effective long-term relationships require mutual benefit)
- แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน
- ให้ความร่วมมือ ไม่ใช่แข่งขันชิงดีกัน
- เน้นการฟัง ใช้เวลาในการสื่อสารกันให้ยาวนานขึ้น และ พูดคุยกันด้วยความกล้าแสดงออก
- จุดประสงค์ ของ การฝึกนิสัยที่ 4 คือ การสร้าง ความเชื่อซึ่งกันและกัน (Interpersonal Thrust ) หากเราคิดชนะ วันหนึ่งเราก็ต้องแพ้ หากเราปรองดองกันมีแต่ ชนะ-ชนะ เราควรฝึกให้คนคิดและต้องการสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง
วุฒิภาวะ คือ การแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออกและด้วยความเอาใจใส่ต่อความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
Character (คุณลักษณะ) + Competence (ความรู้ความสามารถ) นำไปสู่ Trustworthiness (ความน่าไว้วางใจ) นำไปสู่ Trust (ความไว้วางใจ) รวมกันเป็นความสัมพันธ์ (Relationship)
นิสัยที่มีประสิทธิภาพ (Effective Habits Internalized Principles and Patterns of Behavior) ประกอบไปด้วย
Knowledge & Skill (What to, Why to)
Skills (How to) ทำซ้ำ ๆ กลายเป็น Habit (นิสัย)
Desire = I want to (ความต้องการ)
กรอบความคิด คือ สิ่งที่เห็นเข้ากระบวนการความคิด ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ค่านิยมเฉพาะคน สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของตน ออกมาเป็น กรอบความคิดเฉพาะของตนเอง
กรอบความคิด หรือ กระบวนทัศน์ (Paradigm) เป็นวิธีการที่บุคคลรับรู้ มองเห็นเข้าใจ และตีความโลกที่อยู่รอบตัว เปรียบเสมือนแผนที่ในใจ บุคคล เป็นผลผลิต ของ การเรียนรู้ และ ประสบการณ์ และไม่มีบุคคลที่สองที่จะมีความรู้แบบเดียวกัน ดังนั้น จึง ไม่มีบุคคลสองคนที่จะตึกรอบความคิดลักษณะเดียวกัน
กรอบความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดการการกระทำ ส่งผลต่ออนาคตของตนเองและผู้อื่น คนจะต้องคิดและควบคุมความคิดให้ได้
การกระทำอย่างเดียวกัน บางคนมีความสามารถในการทำงานให้เสร็จเร็วหรือช้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการตัดสินใจของแต่ละคน คนที่อยู่ข้างหน้า มีผลต่างจากคนที่อยู่ข้างหลัง รางวัลที่ได้ มีผลต่างกันมหาศาล แม้ว่าจะทุ่มสุดตัว เช่น การวิ่งแข่ง ที่ 1 มีความแตกต่างจากที่ 2 ดังนั้น เราจะต้องคิดให้ทันกับการการเปลี่ยนแปลงของโลก
ความผิดที่ไม่ก่อความเสียหายในทางศีลธรรมไม่ถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย ความผิด คือ สิ่งที่ทำให้คนก้าวหน้าจาก การพัฒนาสิ่งที่ผิด ให้ทำถูกและดีขึ้น
ปัจจุบัน สิ่งที่เราต้องคำนึง คือ เป้าหมายสูงสุดที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้น สิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ วิธีการ อย่ายึดวิธีการเดิม ๆ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
ความสำเร็จ คือ มีชีวิตเป็นอิสระ ที่เกิดจาก ความมุ่งมั่นให้ได้เป้าหมาย (Mission) + สิ่งที่ต้องการจะไป (Vision) + พลังผลักดัน (Passion)
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงการกระทำ เกิดเป็นพฤติกรรมแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ความรู้ ดึงความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นการกระทำ ซึ่งเป็นรูปธรรม
กรอบความคิดใหม่ คือ ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส
การว่าใคร ให้คิดเสมอว่า เราเอากรอบความคิดเราว่าเขา = เราว่าตัวเราเอง
กรอบความคิด สร้างจากอารมณ์ + ความคิด
ทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
Principle = หลักการที่เป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่
ถ้าไม่มีการสูญเสีย จะไม่มีการได้มา ต้องเสียสละ อดทน จึงจะได้มา นี่คือหลักการ
Independence = การพึ่งพาตนเองได้ Interdependence นำไปสู่ Globalization การผูกพันพึ่งพาคนหนึ่งคน มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ให้ระลึกไว้เสมอว่า เราจะร่วมกันทำอย่างไรดี
สงบจิตใจวันละ 15-30 นาที ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันทุก ๆ วัน สร้างภาพความสำเร็จของตนเองให้ชัดขึ้นทุก ๆ วัน กล้าพูด กล้าทำ
คนพยายามมองโลกอย่างที่ต้องการเห็น ไม่มองอย่างโลกที่เป็นอยู่
คุณลักษณะ (Character) + ความรู้ความสามารถ (Competence) นำไปสู่ ความน่าไว้วางใจ (Trustworthiness) และนำไปสู่ความไว้วางใจ (Trust)
การทำงานร่วมกันอยู่ตรงที่ว่า รู้จักเอาวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลัก ไม่ใช่เอาเรื่องใจชอบหรือไม่ชอบเป็นเกณฑ์
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีสิ่งใดอยู่กับที่ไม่ว่าบุคคลหรือวัตถุ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะคิดและทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร นักต่อสู้ที่แท้ ย่อมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง

รากฐานความก้าวหน้า 5 ประการ (5 Pillars) คือ

Productive – ผลผลิตขององค์กร เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริหารและบุคคลในองค์กร
Participate – การร่วมมือการยอมรับ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือที่ดีต่อกัน
Positive – ความคิดบวก การมีมุมมองที่กว้างไกล มองโอกาสที่ซ่อนตัวอยู่ในปัญหาทุกปัญหาได้ออก รู้จักคิด ความคิดเป็นตัวเริ่มต้นที่จะจุดประกายไฟทุกอย่าง ความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ให้คนทำอะไรที่เป็นประโยชน์
Patriotic – ความผูกพันความรัก ความเสียสละให้กับองค์กร เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ เราก็อยู่ได้
Professionals – การเป็นมืออาชีพ จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ ตาถึง - ต้องมองอะไรกว้าง มองไกล มองลึกซึ้ง มองให้เห็นที่มาที่ไป มองเห็นภาพรวมภาพย่อย มองเห็นความชัดเจนของข้อมูล การมองกว้าง ความลึกซึ้งเป็นเรื่องของประสบการณ์และทักษะจะต้องมีควบคู่กันไป มองเห็นรายละเอียด เห็นที่มาที่ไปโปร่งใส

ใจถึง กล้าตัดสินใจ แต่จะต้องตัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
มือถึง ทำอะไรต้องเก่ง หากเราไม่เก่ง ก็ขอความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆ ได้ เพียงใช้ศิลปะการเข้าไปนั่งในใจคนให้เป็น
เงินถึง เงินในที่นี้ หมายถึง สมองมนุษย์ คนมีสมองก็เหมือนมีเงิน เศรษฐีของโลกร่ำรวยมาจากการใช้สมองมากกว่าขนเงินมาลงทุน
บุญถึง เป็นคนมีความสุข จิตใจสงบ ทำดี ผลมาย่อมดี

คนที่เข้มแข็ง อดทน และเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะยืนอยู่บนฝั่งแห่งความสำเร็จได้
ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Responsive Listening Skills)
โดยไม่ใช้คำพูด โดยใช้คำพูด
- ฟังอย่างสนใจ
- มีสีหน้าที่เอาใจใส
- สบตา
- พยักหน้า
- เอนตัวมาข้างหน้า
- เล่าต่ออีกซิครับ/ค่ะ
- อ้อ/ งั้นหรือ/ จริงหรือ
- ผมยังไม่ค่อยเข้าใจกรุณาเล่า อีกครั้งได้ไหมครับ

เทคนิคการใช้สูตร Taking the heat ในการรับฟัง

H - Hear them out (ตั้งใจรับฟัง)
E - Empathize (แสดงความเห็นอกเห็นใจ)
A - Apologize (ให้อภัย)
T - Take responsibility for action (รับผิดชอบในการแก้ไข)

อุปนิสัยที่ 5 Seek First to Understand , Then to Be Understood (การวินิจฉัยโรคต้องมาก่อนการจ่ายยา ความเข้าใจได้มาจากการฟัง)
- อุปนิสัยนี้ เป็นการฝึก การฟัง โดยพยายามให้เป็นการฟังแบบ เข้าอกเข้าใจกัน
- มักจะพบว่าในองค์กร มีคนที่มักจะ ตัดสินใจ หรือ ออกคำสั่ง โดยยังไม่ได้ ทำความเข้าใจกับ สิ่ง ที่ผู้สื่อสาร ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ เพื่อนร่วมงาน ต้องการให้เราเข้าใจ

อุปนิสัยที่ 6 Synergize (ผลรวมที่ได้รับทั้งหมดมีค่ามากกว่าการเอา แต่ละส่วนมาร่วมกัน)
- ถ้าเราสามารถ ฝึก อุปนิสัยที่ 4 และ 5 ผ่านแล้ว จะทำให้เราสามารถ ผนึกพลังแนวความคิด ที่แตกต่างของแต่ละคน มาช่วยกันเป็นจุดเสริม เป็นทางเลือกใหม่ ทีมีประสิทธิผลมากขึ้น
- ผลรวมทั้งปวงจะมากกว่าการเอาแต่ละส่วนประกอบมาบวกกัน เช่น การเกิด Synergize ไม่ใช้การหารือร่วมกันเพื่อเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งของแต่ละคน แต่เป็นการนำ ข้อดีของแนวทางของแต่ละคน มารวมกันเป็นทางเลือกใหม่ ให้มีประสิทธิผลการขึ้น กว่าการนำแนวทางของแต่ละคนมารวมกัน

อุปนิสัยที่ 7 Sharpen the Saw (Production (results) requires development of Production Capability (resources) )
- เป็นการฝึกฝนอุปนิสัยทั้ง 6 ให้คมอยู่เสมอ โดยแบ่งเป็น 
การฝึกฝน ด้านกายภาพ (ทำร่างกายให้สมบูรณ์)
การฝึกฝน ด้านสติปัญญา (อ่าน หนังสือ หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ)
การฝึกฝน ด้านจิตวิญญาณ ( ทำสมาธิ หรือ การใช้เวลากับธรรมชาติ)
เสียอะไรเสียได้อย่าเสียใจ เพราะมันหมายถึงการสูญสิ้นทุก ๆ อย่าง
อดีตจบไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบัน ขณะจิตให้ดีที่สุด
ความคิดมีตัวตน คนจะเป็นอย่างที่คิด จงพูดอย่างที่คิดและทำอย่างที่พูด

  สมศรี  นวรัตน์  Ph.D รุ่น  3  SSRU

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เกรียวกราวพอสมควรชื่อว่า Parallel thinking หรือแปลเป็นไทยว่า ความคิดคู่ขนาน ของ Dr’ Edward de Bono ออกวางตลาด ต่อจากนั้น ดูเหมือนจะได้รับข่าวคราวเสมอเกี่ยวกับ การจะพัฒนาความคิด ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ? มีการอบรมเรื่องของ Mind Mapping เพื่อสังเคราะห์ไอเดียต่างๆ ทำให้เห็นภาพว่า สังคมไทยมีความตื่นตัวในเรื่องนี้กันพอสมควร สำหรับความเรียงชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นมาจาก และความคิดของผู้เขียน และจากบทความหลายชิ้นของ Melvin D. Saunders อย่างเช่น Improving Your Creative Thinking Skills, Creativity and Creative Thinking, How creative thinking technique works, Ways to kill and ways to help an idea เป็นต้น ซึ่ง Saunders เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีผลงานทางด้านนี้ ซึ่งจะกระตุ้นให้เรากล้าคิด ในหนทางที่แตกต่าง เช่น การใช้ความคิดจากมุมองที่ต่างออกไป คิดแบบทำลายกฎเกณฑ์เก่าๆ คิดแบบเล่นๆ หรือใช้จินตนาการทุกชนิด เพื่อทำให้เกิดความเป็นไปได้ และเขายังเสนอหนทางที่จะได้มาซึ่ง ความคิด หรือไอเดียใหม่ๆ อย่างเช่น ใช้วิธีการสุ่มต่างๆ เช่น การสุ่มด้วยภาพ การสุ่มด้วยคำ หรือกระทั่งการสุ่มด้วย Website (ลองเปิด website ที่ไม่เคยคิดว่าจะเปิดดูมาก่อน) รวมไปถึงการนำเอาไอเดีย ตั้งแต่สองไอเดีย ที่ไม่เคยรวมกันมาก่อน มาสังเคราะห์เข้าด้วยกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่มาของการได้มาซึ่ง ความคิดสร้างสรรค์

เราจะปรับปรุงทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ ได้อย่างไร ?

กล่าวกันว่า ความคิดสร้างสรรค์ และการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา เป็นกิจกรรมสองอย่างที่เกี่ยวแขนไปกันไป. หลายปีมาแล้ว Dr. Edward de Bono, นักจิตวิทยา และนักค้นคว้าทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ได้ส่งเสริมเรื่องของ การใช้ความคิด สร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า Lateral thinking (ความคิดข้างเคียง).

ความคิดแนวตั้ง (Vertical  Thinking) จะปฏิบัติการต่อเมื่อเราพยายามที่จะแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยเริ่มต้นจาก ขั้นตอนทางตรรกะขั้นหนึ่งไปสู่ ขั้นตอนต่อไป เพื่อบรรลุผลของการแก้ปัญหา ส่วนความคิดข้างเคียง (Lateral Thinking) นั้น จะวาดภาพ แบบแผนทางความคิดซึ่งมา กับการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการที่ไม่เป็นไปตามวิธีการเดิมๆ (Unorthodox Methods) หรือการเล่นเกมส์กับข้อมูล

การขยายความสามารถทางสมอง หรือการใช้ความคิดด้วย ความคิดสร้างสรรค์ สามารถปรับปรุงขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น เราจะใช้ไม้ขีดไฟ 6 ก้านบนโต๊ะสร้างสามเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้านเท่ากันได้อย่างไร?     หลังจากที่ใช้ ความพยายามอย่างหนัก และไม่ประสบผลสำเร็จในลักษณะสองมิติ ในไม่ช้าเราก็จะเรียนรู้ว่า การทำให้มันเป็น สามเหลี่ยม ด้านเท่าสี่ด้านในรูปสามมิติ เป็นหนทางเดียวที่บรรลุผลสำเร็จได้. ดังนั้น จงหัดคิดแบบเถื่อนๆ (Think Wild) เสียบ้าง ความหมายของคำว่า คิดแบบเถื่อนๆ มิได้หมายความว่า ป่าเถื่อน ไร้อารยะธรรม แต่มีนัยว่า ให้เราใช้จินตนาการทุกชนิด ของความเป็นไปได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ Imagine all kinds of possibility และหาหนทางอีกทางหนึ่ง (Alternative) มาแก้ปัญหา, รวมไปถึงสิ่งที่เราคิดว่า มันทำไม่ได้ หรือน่าหัวเราะด้วย ยกตัวอย่างเช่น พยายามคิดถึง ความตรงกันข้าม กับสิ่งที่เป็นปกติเท่าที่คิดขึ้นมาได้ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา จากนั้นก็ลงมือทำมัน อย่างจริงจังและประณีต

นอกจากนี้ ในหลายๆ สถานการณ์ที่มีการเผชิญหน้า หรือในที่ประชุมถ้าเผื่อว่าเรามีความเห็นอย่างหนึ่ง และอีกคนมีความเห็น ตรงข้ามกันกับเรา, ให้เราพยายามจินตภาพถึง ความคิดเห็นของคนๆนั้น ดูทีในเชิงกลับกัน จดบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความเห็นของเขาจึงใช้การได้; ต่อจากนั้นลองบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความคิดเห็นของเขาจึงใช้การไม่ได้; และในท้ายที่สุด จดบันทึกถึงสิ่งที่ไม่เข้าประเด็น หรือสอดคล้อง. ผู้คนเป็นจำนวนมากต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ ที่ยากลำบาก โดยการไม่ลงรอยกันในการอธิบาย, การกล่าวหากัน และการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง, แทนที่จะ ควบคุม ความคิด ของพวกเขาต่อการกระทำ และการตัดสินใจว่า อะไรสามารถทำได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว.

เราเคยทราบไหมว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้ถูกทำขึ้นมาโดยผ่าน การค้นพบโดยบังเอิญ (Serendipity) หรือการค้นพบบางสิ่ง ขณะที่กำลังค้นหาบางสิ่งอยู่; และให้จำไว้ว่า, สิ่งนี้ได้ทำให้คนที่มี ความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงโอกาสอันหนึ่ง เมื่อมันเสนอตัวของมันเองออกมา. ในภาวะฉุกเฉิน ผู้คนมีแนวโน้มที่จะตกอกตกใจหรือบ้าคลั่ง แทนที่จะใช้หัวสมอง เพื่อกำหนดตัดสินใจถึงทางเลือกต่างๆของพวกเขา.

สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดหนึ่งของคนเรา ซึ่งควรแก้ไขให้ถูกต้องก็คือผู้คนส่วนใหญ่มักยึดถือความคิดเห็น หรือทัศนะต่างๆ ของตนเอาไว้ ทั้งนี้เพราะ พวกเขาได้ถูกล้อมกรอบเอาไว้ด้วยอารมณ์ความรู้สึก หรือเหตุผลในเชิงอคติต่างๆ. การที่เราจะขยับ ขยาย แนวคิดของเราออกไปให้กว้างขวาง เพื่อคลุมถึงความคิดเห็น ในทางตรงข้ามจากจุดยืนของเรา, บ่อยครั้งจะต้องปลด เปลื้องพันธนาการจากการถูกจำกัดเช่นนี้ให้ได้ และให้เร็ว (ลบอคติออก และไม่ใช้เรื่องอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นพันธนาการ). ขณะที่สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มนำโลกไปสู่อาชญากรรม, การติดยาเสพติด และการมีหนี้สิน, ญี่ปุ่นกลับมีอาชญากรรม เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่ค่อยมีผู้ติดยาเสพติด , มีความสามารถที่จะชำระหนี้ และเป็นชาติที่มีการศึกษาในโลก. เราคิดกันไหมว่า เหตุผลต่างๆ ในเชิงอคติ และอารมณ์ความรู้สึก ทำให้ทางการสหรัฐจำกัด ตนเองจากการเรียนรู้ จากตัวอย่าง ของญี่ปุ่น หรือมันมีเหตุผลอื่นๆหรือ ?

พอพูดกันมาถึงตรงนี้ ลองทดลองกับเพื่อนของเรา ที่มีสมมุติฐานหรือความเห็นในเชิงตรงข้าม เพื่อดูว่ามันนำพาเราไป ณ ที่ใด. เปิดใจของเราให้กว้างและคิดแบบเถื่อนๆ.

การคิดแบบวิภาษวิธี และการคิดด้วยสมองซีกขวา

นอกจากการใช้ความคิดในแบบข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการในการปรับปรุงทักษะของการใช้ ความคิดสร้างสรรค์ อีก 2 วิธี ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องราว เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆได้คือ การคิดแบบวิภาษวิธี และ การคิดด้วยสมองซีกขวา

อันแรก, เป็นการคิดในแบบวิภาษวิธี (Dialectic) ซึ่งมีโครงสร้างแบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่ ข้อสรุปเดิม (Thesis), การต่อต้านข้อสรุปเดิม (Anti-thesis), และการสังเคราะห์ข้อสรุปเก่ากับใหม่ (Synthesis) ในที่นี้จะลองยกตัวอย่าง ที่เป็น รูปธรรมคือ ชาวประมงคนหนึ่งใช้วิธีการจับปลาแต่เดิมๆมาตลอด แต่ตอนนี้เขามีครอบครัว และมีคนที่ต้องเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น การจับปลาในแบบเดิมๆจึงไม่พอกิน จะทำอย่างไรถึงจะพอกิน. ออกไปหาปลาไกลขึ้นหรือ เรือก็เล็กเกินไป แทนที่จะจับปลา ก็เป็นการปล่อยปลาแทน จับแล้วนำมาปล่อยในกระชังเลี้ยงดู ดังนั้นเขาจึงได้ปลาเพิ่มขึ้น

อันที่สอง, การคิดด้วยสมองซีกขวา. เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนบนของคนเรา ซึ่งตามปกติแล้ว สมองในส่วนซีกซ้าย จะทำหน้าที่ครอบงำ สมองส่วนซีกขวาอยู่ตลอดเวลา จนกล่าวได้ว่า เรามีโอกาสใช้สมอง ซึ่งทรงประสิทธิภาพของคนเราเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะนับแต่สังคมได้มาถึงยุคแห่งการใช้เหตุผล (สมองซีกซ้าย), สมองที่เกี่ยวข้องกับจินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึก (สมองซีกขวา) เกือบจะไม่ถูกนำมาใช้เลย เพื่อคิดแบบสร้างสรรค์ หรือคิดแก้ปัญหาต่างๆ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการทำงานของสมองส่วนบนทั้งสองซีก(ซ้ายและขวา)ว่า มันทำงานแตกต่างกันอย่างไร? เพื่อว่าเราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้ ความคิดสร้างสรรค์

สมองซีกซ้าย 1.เป็นเรื่องของสติปัญญาแบบเหตุผล, 2.เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเลข, 3.เป็นการคิดแบบนามธรรม, 4.คิดเป็นเส้นตรง, 5.เป็นเรื่องของการวิเคราะห์, 6.ไม่เกี่ยวกับจินตนาการ, 7.คิดแบบต่อเนื่องตามลำดับ, 8.เป็นเรื่องของวัตถุวิสัย, 9.เกี่ยวข้องกับคำพูด

สมองซีกขวา 1. เป็นเรื่องของสหัชญาน(ไม่เกี่ยวกับเหตุผล) 2.เป็นเรื่องของการอุปมาอุปมัย, 3.เป็นการคิดแบบรูปธรรม, 4. คิดอิสระไม่เป็นเส้นตรง, เห็นภาพทั้งหมด, 5.เป็นเรื่องของการสังเคราะห์, 6.ใช้จินตนาการ, 7. คิดไม่เป็นไปตามลำดับ มีความหลากหลายเชื่อมต่อหลายมุม, 8.เป็นเรื่องของอัตวิสัย, 9.ไม่เกี่ยวกับคำพูด, เห็นเป็นภาพ

แม้ว่าจากการจำแนกจะเห็นว่า สมองส่วนบนซีกซ้ายและขวา จะมีลักษณะที่ตรงข้ามกัน แต่ความจริงแล้วมันเสริมกัน เพื่อให้ความคิดของเราสมบูรณ์มากขึ้น แทนที่จะใช้ความคิดหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น การคิดด้วยสมองซีกขวา จึงเป็นการคิดในแบบที่มาเสริมหรือช่วยให้เราคิดได้มากขึ้น

สมศรี  นวรัตน์    Ph.D รุ่น 3  SSRU

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์

อะไรคือการสร้างสรรค์ ?

การสร้างสรรค์คือ การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งนั้นไม่เคยทีอยู่มาก่อน, ทั้งผลผลิตอันหนึ่ง, หรือกระบวนการอันหนึ่ง หรือความคิด-ไอเดียอันหนึ่ง.

อะไรบ้างที่จัดอยู่ในข่ายของการสร้างสรรค์. ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่มามาก่อนให้มีขึ้นมา. การประดิษฐ์สิ่งซึ่งมีอยู่ใน ณ ที่ไหนที่ใดสักแห่งหนึ่งแต่เราไม่รู้ว่ามีมันอยู่แล้ว. การคิดค้นกระบวนการใหม่อันหนึ่งขึ้นมาเพื่อกระทำบางสิ่งบางอย่าง. การประยุกต์กระบวนการที่มีอยู่ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วเข้าสู่ความต้องการอีกครั้ง. การพัฒนาวิธีการใหม่ อันหนึ่งเกี่ยวกับ การมองไปยังบางสิ่งบางอย่าง. การนำมาซึ่งไอเดียหรือความคิดใหม่ ทำให้มันดำรงอยู่ หรือมีอยู่ขึ้นมา เปลี่ยนแปลงวิธีการมอง ของใครคนใดคนหนึ่งที่มองบางสิ่งบางอย่างไป

พวกเราทั้งหลายต่างก็สร้างสรรค์กันทุกวัน เพราะเราเปลี่ยนแปลง ไอเดียหรือ ความคิดซึ่งเรายึดถือ เกี่ยวกับโลกรอบตัวเรา ต่างๆ อยู่เสมอ. การสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่ถึงขนาดการพัฒนาบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาให้กับโลก แต่มันอาจจะ เกี่ยวข้อง กับพัฒนาการ บางสิ่งบางอย่างให้ใหม่ขึ้นมาเล็กๆน้อยๆเพื่อตัวของเราเอง. เมื่อเราเปลี่ยนแปลงตัวของเราเอง, โลกก็จะเปลี่ยน แปลงไปพร้อมกันกับเรา ทั้งการที่โลกได้รับผลกระทบโดยการกระทำที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของเรา และในวิถีแห่ง การเปลี่ยนแปลง ที่เราได้มีประสบการณ์กับโลก.

ความคิดสร้างสรรค์จึงมีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการผลิตสินค้า การสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ กระบวนการที่คิดขึ้นมา และการบริการที่ดีขึ้น. เราคาดหวังกันว่า การสร้างสรรค์นั้นจะช่วยเราในหลายๆด้าน, เช่น องค์กร ของเราดีขึ้น, ลูกค้า หรือคนที่รับบริการจากเรามีความสุขมากขึ้น โดยผ่านการปรับปรุงขึ้นมา ใหม่นี้ใน ด้านคุณภาพ และปริมาณที่ผลิตออกมา

สมศรี  นวรัตน์  Ph.D.  รุ่น  3  SSRU

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์

อะไรคือความคิดสร้างสรรค์ ?

ความคิดสร้างสรรค์คือกระบวนการอันหนึ่ง ซึ่งเราใช้เมื่อเรามีไอเดียใหม่ๆ. มันเป็นการผสมผสานเของไอเดีย หรือความคิดต่างๆ ซึ่งไม่เคยผสมรวมตัวกันมาก่อน. การระดมสมอง(brainstorming) เป็นรูปแบบหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์: มันทำงานโดย การรวบรวมไอเดียต่างๆที่กู่ก้องดังออกมาโดยใครบางคน ผสมรวมกัน กับของเรา เพื่อสรรค์สร้าง ไอเดียใหม่ อันหนึ่ง. คุณได้ใช้ประโยชน์ไอเดียนั้นของคนอื่นในฐานะแรงกระตุ้น. ไอเดียใหม่ต่างๆได้รับการก่อตัวขึ้นมา โดยการผสม รวมตัวของไอเดีย ที่มีอยู่ในใจเรา กับไอเดียที่ดังขึ้นของคนอื่น

โดยไม่มีการใช้เทคนิคพิเศษใดๆ ความคิดสร้างสรรค์ก็ยังคงเกิดขึ้นมา แต่โดยปกติแล้ว มันจะเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ; ความบังเอิญ หรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำให้เราคิดถึงบางสิ่งบางอย่างในหนทางที่แตกต่าง และเราได้ค้นพบ การเปลี่ยนแปลง ที่เป็นประโยชน์. ความเปลี่ยนแปลง บางอย่างมันเกิดขึ้นมา อย่างช้าๆโดยผ่าน การใช้ความคิดสติปัญญา อันบริสุทธิ์ และความก้าวหน้าเชิงตรรกะ การอาศัยความก้าวหน้าโดยความบังเอิญหรือในเชิงตรรกะ หลายครั้ง ต้องใช้เวลานานมากสำหรับการผลิตเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุง

ดังนั้น การใช้เทคนิควิธีพิเศษ, ความคิดสร้างสรรค์อันละเอียดอ่อนประณีตสามารถถูกนำมาใช้ได้เพื่อพัฒนาไอเดียใหม่ๆ. เทคนิคดังกล่าวจะช่วยทำให้ หรือไปบังคับให้เกิดลำดับการณ์อันกว้างขวางของการผสมผสานไอเดีย เพื่อจุดประกาย ความคิด ใหม่ๆและกระบวนการใหม่ๆ. การระดมสมองเป็นหนึ่งในเทคนิคพิเศษเหล่านี้ แต่ตามขนบประเพณี แล้ว มันจะเริ่มต้น ด้วยไอเดียที่ไม่ธรรมดา(start with un-original ideas).

ด้วยปฏิบัติการ, ความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง(การค้นหาอยู่เสมอ, การตั้งคำถาม และการวิเคราะห์ ที่พัฒนาได้โดย ผ่านการศึกษา, การฝึกฝนและการรู้ตัวของเราเอง) ได้เกิดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา. ความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง(ongoing creative thinking)ทำให้ ทั้งความบังเอิญและความคิดสร้างสรรค์ที่ตั้งอกตั้งใจเกิดขึ้นมาได้มากที่สุด. ความคิดสร้างสรรค์ อย่างต่อเนื่องต้องใช้เวลา และปฏิบัติการอย่างใจจดใจจ่อเพื่อกลายมาเป็นทักษะที่สมบูรณ์ และในไม่ช้า ความคิดสร้างสรรค์ อย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายมาเป็นท่าที ไม่ใช่เรื่องของเทคนิคอีกต่อไป

สมศรี  นวรัตน์  Ph.D  รุ่น  3  SSRU

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์                  หนูได้เข้า www.Google.com ทำให้หนูมี Skill เพิ่มขึ้น ทราบรายละเอียดของงานวิจัยเพิ่มขึ้นจริง ๆ คะ หนูได้ค้นหาเรื่องกระบวนการวิจัยทรัพยากรมนุษย์  มาเรียนอาจารย์ดังนี้คะ

       

  การตระหนักถึงปัญหา สิ่งที่ยุ่งยากมากที่สุดในกระบวนการวิจัยก็คือ การตระหนักถึงปัญหาที่มีอยู่ เช่น จุดใดที่มีการ ขาดงาน และออกจากงานมีมากที่สุด จำนวนคนงานที่ขาดงาน หรืออกจากงานอาจทำให้สุขภาพขององค์การดีขึ้นก็ได้ ผู้บริหารอาจพิจารณา แล้วเห็นว่าการขาดงาน และการออกจากงานของพนักงานไม่เป็นปัญหา เพราะพนักงานเหล่านี้ ไม่เหมาะสมกับองค์การอยู่แล้ว ซึ่ง การพิจารณาดังกล่าวอาจเป็นที่สงสัยของผู้วิจัยว่าผู้บริหารไม่ได้ตระหนักถึงปัญหา ในความเป็นจริงปัญหาอาจมีสาเหตุมาจาก กระบวนการคัดเลือกไม่ดีพอ การฝึกอบรมทางการบริหารไม่เพียงพอ หรือาจากสาเหตุอื่น หรืออาจจะเป็นอย่างที่ผู้บริหาร พิจารณา ไว้ก็ได้

กระบวนการวิจัยทรัพยากรมนุษย์

1. การระบุปัญหา

ขั้นต่อมาก็คือการระบุความมุ่งหมายของการวิจัยให้ชัดเจน อุปสรรคที่สำคัญที่ต้องเอาชนะก็คือ ปัญหาไม่ใช่อาการของปัญหา ดังนั้นจึงต้องระบุปัญหาให้ชัดเจน

2. การเลือกวิธีสอบถาม

วิธีการสอบถามที่เลือกมาใช้ขึ้นอยู่ลักษณะของการวิจัยอาจเป็นวิธีกรณีศึกษา วิธีการสำรวจหรือการทดลอง ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ทุกวิธีที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างไรก็ตาม การวิจัยทรัพยากรมนุษย์ส่วนมากจะใช้วิธีกรณีศึกษา หรือวิธีการสำรวจ

3. การเลือก และใช้เครื่องมือที่เหมาะสม

เครื่องมือเชิงปริมาณหลายอย่างสามารถนำมาใช้กับการวิจัยทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากผู้บริหารไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเครื่องมือเหล่านี้ อย่างไรก็ตามผู้บริหารจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับความสะดวกในการใช้เครื่องมือเชิงปริมาณ สถานที่สมควรใช้เครื่องมือจุดอ่อน และ จุดแข็งของแต่ละวิธี และวิธีการตีความผลที่ได้จากการวิจัย การเลือกเครื่องมือจึงขึ้นอยู่กับ ความมุ่งหมายเฉพาะ ของการ ดำเนินการวิจัยนั้น

4. การแปลผลการวิจัย

ผู้วิจัยเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับปัญหาในการวิจัยจึงควรเป็นผู้แปลผลการวิจัยไม่ใช่บุคคลภายนอก หรือบุคคล ที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง กับการวิจัยมาโดยตลอด ซึ่งอาจทำให้การแปลผลการวิจัยผิดไป

5. การนำผลการวิจัยไปปฏิบัติ

ขั้นที่ค่อนข้างยากในกระบวนการวิจัยก็คือการนำผลการวิจัยไปปฏิบัติ ผลการวิจัยอาจแสดง ถึงความจำเป็นที่จะต้อง ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัย หรือผู้บริหารจะเป็นตัวกระตุ้น ให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง แต่ก็เป็น เรื่องที่ค่อนข้าง ทำได้ลำบากอย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยก็อยู่ที่ การนำผลการวิจัยไปลงมือปฏิบัติ ให้เกิดการแก้ปัญหา ตามผลการวิจัย ที่ค้นพบ

6. การประเมินผลการปฏิบัติ        

ความเพียรพยายามในการวิจัยอาจจะไม่สมบูรณ์หากไม่มีการประเมินการนำผลการวิจัยไปปฏิบัติ การประเมินผลการ ปฏิบัติจึงต้องมีวัตถุประสงค์ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าการนำไปปฏิบัตินั้นแก้ไขปัญหาได้หรือไม่เพียงใด ผลการประเมินจะสะท้อนให้เห็นการตระหนักถึงปัญหา ช่วยสนับสนุน ความเพียรพยายามในการวิจัยต่อไป และช่วยในการคิดทบทวนถึงความจำเป็นในการวิจัย

 

ท่านอาจารย์คะ การเข้าอ่านในInternet หรือการอ่านหนังสือทำให้เรามี Knowledge เพิ่มขึ้นจริง ๆ นะคะ

 

  สมศรี  นวรัตน์  Ph.D รุ่น 3  SSRU

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

 หนูได้อ่านเอกสารที่ท่านอาจารย์ได้ให้มา

  ตอนที่ 8.1  บทบาททรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

8.1.1    ความหมายของทรัพยากรมนุษย์และโลกาภิวัตน์

8.1.2        ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อทรัพยากรมนุษย์

ตอนที่    8.2  แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

8.2.1        ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

8.2.2        การเกษตรกับสังคมฐานความรู้

ตอนที่    8.3  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคเกษตร

8.3.1        บทบาททรัพยากรมนุษย์ต่อการจัดการทรัพยากรเกษตร

8.3.2        การประยุกต์แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการจัดการทรัพยากรเกษตร

แนวคิด

            1.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร   ซึ่งมองว่าทรัพยากรมนุษย์เปรียบเสมือนปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่ง  เช่นเดียวกับ  ที่ดิน  น้ำ  และอื่น ๆ ซึ่งจะต้องถูกจัดการ  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด  ซึ่งได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งทางเทคโนโลยี  เศรษฐกิจและการค้า  สังคม  และสิ่งแวดล้อม

2.แนวคิดการเรียนรู้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แนวคิดและทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  คือ ทฤษฎี  8 K’s, 5K’s, ทฤษฎี 3 วงกลม, แนวคิดของ  Peter Senge และทฤษฎีของคุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา  และทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ  ในการเป็นสังคมการเรียนรู้  ซึ่งจะช่วยในการดำเนินชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ต่าง ๆ ในการเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง

3.บทบาทและหน้าที่ของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรและการประยุกต์แนวคิด  ทฤษฎีต่าง ๆ  ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เรื่องที่  8.1.1  ความหมายของทรัพยากรมนุษย์และโลกาภิวัตน์

1.      ความหมายของทรัพยากรมนุษย์

ทรัพยากรมนุษย์ หรือ Human Resource ในระดับองค์การ  จะหมายถึง  คนที่มีความพร้อม  มีความตั้งใจ  มีความสามารถที่จะอุทิศตนให้แก่เป้าหมายขององค์การ  หรือเป็นบุคคลในองค์กรที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้

พระธรรมปิฎก  ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับมนุษย์  โดยมองมนุษย์เป็นสองมิติ  คือ

1)                  มองว่าเป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ความรู้สึกและมีความสามารถ  มีศักยภาพสามารถพัฒนาได้  คือ  ความหมายในฐานะเป็นคน  ซึ่งพัฒนาเพื่อตัวของเขาเองให้เป็นชีวิตที่มีคุณค่า  เป็นชีวิตที่ดีงามและสมบูรณ์ในตัวเอง

2)                  มองมนุษย์ในฐานะ เป็นทรัพยากร  เป็นเครื่องมือหรือเป็นทุน  เป็นปัจจัย  เป็นผู้ผลิต  เป็นผลผลิตและพัฒนาเพิ่มผลผลิตได้  เพิ่มศักยภาพในการผลิตได้  เพิ่มมูลค่าทุนได้ ซึ่งมนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรนั้นสามารถจัดการบริหารได้  จัดสรรให้มีทั้งมูลค่าและคุณค่า

 2.      ความหมายของโลกาภิวัตน์

โลกาภิวัตน์หรือโลกานุวัตร  (globalization)  คือ  ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร  การคมนาคมขนส่ง  และเทคโนโลยีสารสมเทศ  อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ  การเมือง  เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล  ชุมชน  หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล  ทั่วทั้งโลก

สรุปได้ว่า  กระบวนการโลกาภิวัตน์  คือ กระบวนการเศรษฐกิจโลกไร้พรมแดนหรือบางคนอาจเรียกว่า กระบวนการทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวหมายถึงการทำให้ทุนนิยมโลกได้แก่  ระบบเงินตรา  เงินทุน  การผลิต  การขายสินค้า  และการบริการต่าง ๆ สามารถทะลุทะลวงพรมแดนของประเทศต่าง ๆ ได้โดยโลกทั้งโลก  คือ  ตลาดเดียว  เราอาจเรียกขบวนการโลกาภิวัตน์ว่าเป็น  ขบวนการครอบโลก

 

 สมศรี  นวรัตน์  Ph.D รุ่น 3 SSRU

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ ที่เคารพอย่างสูง

หนูได้ค้นข้อมูลทาง Internet พบว่า

การวิจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Management Research) การวิจัยเป็นกระบวนการต่างๆที่ดำเนินไปอย่างมีระเบียบและกฎเกณฑ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินงานกับข้อมูล วิเคราะห์ และตีความหมายข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้องต่อปัญหา หรือคำถามที่ได้ตั้งไว้ การวิจัย การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสหวิทยาการทำให้ยากลำบากและสับสนมีคนสนใจน้อย

ประเภทการวิจัย

- การวิจัยหลัก (Basic or Exploratory research) เพื่อสร้างองค์ความรู้ และทฤษฎี

- การวิจัยประยุกต์ (Applied or Operational research) เพื่อแก้ปัญหา

รูปแบบการวิจัย ทัศนะของ Flippo De, Cenzo & Robbins, Mondy & Noe

1. การวิจัยแบบทดลอง (Controlled experiments) - Controlled experiments - Experiment

2. การวิจัยสำรวจ (Survey) เช่น การทำโพล - Survey - Survey feedback

3. การศึกษาประวัติ(Historical studies)จากข้อมูลทุติยภูมิHistorical Studiss Ethod

4. การวิจัยกรณีศึกษา (Case studies) ศึกษาวิธีการแก้ปัญหา Case studies

5. การจำลองเหตุการณ์ (Simulation)เรื่องที่ควรทำวิจัย (ตามทัศนะของ Flippo)

จุดเน้นของการวิจัย (ตามทัศนะของ Mandy & Noe)

การจัดหาบุคลากร(Procurement)คือการเพิ่มผลผลิต(Increase Productivity)

การพัฒนา (Development)ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัย ต่อไปนี้

1. การจ่ายค่าตอบแทน (Compensation) - การจัดการที่มีประสิทธิภาพ

2. การประสานประโยชน์ หรือการบูรณาการ (Integration) - การวางแผน การสรรหาและคัดเลือก

3. การธำรงรักษา (Maintenance) - การฝึกอบรมและพัฒนา 4. การพ้นจากงาน (Separation) - การจ่ายค่าตอบแทน พนักงานสัมพันธ์ O&S

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต

 1. ประชากร (Demographic factor) ไม่ใช่ดูแต่จำนวน ต้องเน้นคุณภาพด้วย

 2. ความเสมอภาคในโอกาสเข้าทำงาน (Affirmative action) 3. แนวความคิดเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD)

4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technological factor)

5. การรวมตัวของผู้ปฏิบัติงาน (Union factor)

แนวโน้มของ HR (ในทัศนะของ De Cenzo & Robbins)

1. องค์การจะเกี่ยวข้องกับ HR มากขึ้น (concern by organization with HRM)

2. ทัศนคติดีขึ้น ไม่มีการขู่ไล่ออก แต่ใช้วิธีเชิญออก (removal of termination as a threat)

3. แยกเป็นสองกลุ่ม ผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงสมอง (creation of bimodal workforce)

4. ฝ่ายจัดการต้องทำให้องค์การเล็ก แต่มีประสิทธิภาพ (lean and mean)

5. คู่สมรสต้องทำงานทั้งสองคน (dual-career couples)

6. ประโยชน์เกื้อกูล และสุขภาพ (benefits and health)

7. การทำงานที่บ้าน (working at home)

 8. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับพนักงาน (matching the environment to employee : ergonomics)

 9. สหภาพแรงงานลดบทบาทลง (decline of unions)

ในทัศนะของ Singer – ภาคเอกชน (ในทัศนะของ Stahl – ภาครัฐ)

1. กฎระเบียบของรัฐบาล

2. ยังคงยึดถือระบบคุณธรรม(ยาเสพติด โรคเอดส์ สิทธิส่วนตัว)

3. ผู้ทำงานต้องมีความสามารถสูง

4. การเปลี่ยนแปลงด้านกำลังคน

3. การศึกษา (ฝึกอบรม พัฒนา) ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง (สรรหา รักษา คนกลุ่มน้อย ผู้อาวุโส-อ่อนวัย)

5. จริยธรรมจะมีบทบาทมากขึ้น 6. การจัดการระหว่างประเทศ

7. ฝ่ายบริหารจะต้องมีความมั่นใจ(โลกาภิวัฒน์ , competitive advantage)

6. ใช้ความมั่นใจให้เกิดประโยชน์

7. สถานภาพของสหภาพแรงงาน

8. ลดการใช้ระเบียบ ข้อบังคับ(การปรับเปลี่ยนกลวิธี)

9. การบริหารเป็นงานที่ท้าทาย (ไปทั่วโลก) (worldwide challenge)

10. การตรวจสอบหน้าที่ในการจัดการ HR

11. การบริหารต้องมีหลักเกณฑ์ (เป็นวิทยาศาสตร์) (การออกจากงาน การขาดงาน พนักงานสัมพันธ์) 10.ต้องส่งเสริมให้ภาครัฐได้รับความสนใจ

 สมศรี นวรัตน์ Ph.D ร่น 3 SSRU

Workshop 1:      วิเคราะห์ Michael Jackson กับทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 K’s และ 5 K’s

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital                                   ทุนมนุษย์

Intellectual Capital                           ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                                    ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital                            ทุนแห่งความสุข

Social Capital                                      ทุนทางสังคม

Sustainability Capital                       ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                                     ทุนทาง IT

Talented Capital                           ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

 

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital                              ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital                          ทุนทางความรู้

Innovation Capital                           ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital                             ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital                                 ทุนทางวัฒนธรรม

................................................................................................................................................................................

กลุ่มที่ 1 (คุณธนพล คุณสมศรี คุณสุนันทา)

วิเคราะห์ว่า Michael Jackson

·         ขาด Ethical Capital – จากข่าวเรื่องทำอนาจารย์เด็กชาย

·         ขาด Happiness Capital – เริ่มจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ครอบครัวไม่อบอุ่น

·         ขาด Sustainability Capital

เขาเป็น Human Capital of the world (Macro) แต่ในระดับตัวเอง (Micro) กลับไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าหาก Michael Jackson ไม่ขาดทุนทั้ง 3 ประการข้างต้นเขาจะเป็น Human Capital of the world ตัวจริง

กลุ่มที่ 2 (คุณฉัตรแก้ว คุณจิราพร คุณสมศรี)

วิเคราะห์ว่า Michael Jackson

·         มีทักษะ พรสวรรค์

·         มี Creative และมี Innovation ใหม่ ๆ คือ เป็นคนแรกของโลกที่สร้างอาชีพใหม่ ๆ ทางด้านการเต้น และประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขาย

·         ขาดทุนทางปัญญา ทำให้การคิดและการตัดสินใจบางอย่างของเขามีความผิดพลาด

กลุ่มที่ 3 (คุณสกลชัย คุณฐิติรัตน์ คุณรัชศักดิ์)

วิเคราะห์ว่า Michael Jackson

·         หากมองในแง่ของการทำงานเขาน่าจะมีครบทุกทุน แต่ถ้ามองเป็นตัวบุคคลจะเห็นว่าเขาขาดทุนบางประการโดยเฉพาะเรื่องทุนทางจริยธรรมดังที่เป็นข่าว

·         หากมอง 5 K’s ในด้านการทำงานเขามีทุนทางด้านความรู้และความคิดสร้างสรรค์เยอะ

 

กลุ่มที่ 4 (คุณชัยธนัตถ์กร คุณลัดดา  คุณทักษิณานันท์ คุณวัชรินทร์)

วิเคราะห์ว่า Michael Jackson

·         ขาด Ethical Capital

·         ขาด Happiness Capital

·         ขาด Sustainability Capital

แต่สิ่งที่ขาดมากที่สุดน่าจะเป็นทุนแห่งความสุข

และหากมองเรื่อง 5 K’s แล้ว สิ่งที่เขามีมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่อง Cultural Capital คือเขาสามารถทำให้วัฒนธรรมในแบบของอเมริกาให้ดังไปทั่วโลก

Workshop 2:      อ่านบทความ”นักการเมืองผู้หญิงไทยฯ” แล้ว ประเทศไทยได้อะไร?

กลุ่มที่ 4 (คุณชัยธนัตถ์กร คุณลัดดา  คุณทักษิณานันท์ คุณวัชรินทร์)

·         ประเทศไทยได้แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เช่น เรื่องผู้สูงอายุ

กลุ่มที่ 3 (คุณสกลชัย คุณฐิติรัตน์ คุณรัชศักดิ์)

·         คนไทยต้องมองเรื่องการเลือกผู้แทน เป็นมุมมองที่จะเลือกคนเก่ง คนมีความรู้มากขึ้น ให้โอกาสผู้หญิงมากขึ้นโดยเลิกความคิดแบบเดิม ๆ ที่เลือกจากครอบครัวที่มีอิทธิพล

กลุ่มที่ 1 (คุณธนพล คุณสมศรี คุณสุนันทา)

·         เรื่องทุนมนุษย์ เช่น เรื่องของการเกษียณอายุที่อายุ 60 ปี ควรจะยกเลิกได้แล้ว

กลุ่มที่ 2 (คุณฉัตรแก้ว คุณจิราพร คุณสมศรี)

ทำให้คนไทยได้คิดนอกกรอบ เช่น เรื่องการเมืองควรจะมีมุมมองใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิมและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไทย

Workshop 3:     

  • เลือกจากบทความออกมาเป็น Research Research Hypothesis 1เรื่อง
  • จากการวิเคราะห์เรื่อง Michael Jackson เลือกมากเป็น Research Hypothesis 1 เรื่อง

กราบเรียน  ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์

            วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์)  ขออนุญาตคุยกับท่านอาจารย์เรื่อง เปรียบเทียบความสุขของคนไทย(หนู)กับคนญี่ปุ่น ในฐานะผู้ที่ต้องบริโภคการขนส่งมวลชน ตอนที่ 1 จากการที่หนูได้ไป ทัศนศึกษาช่วงวันที่  48 กรกฎาคม ณ. เมือง Tokyo  กับเพื่อน 4 คน  ไปกันเองคะ เพราะสะดวกในการ Planning สิ่งที่อยากจะศึกษาเพราะการวางแผนที่จะศึกษาจะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์  เนื่องจากช่วงนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นฤดูฝนเหมือนกับบ้านเราเมืองไทย  โดยไปลงที่สนามบิน Narita Airport  หนูพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีมาก  ๆ แสดงถึงผู้นำประเทศแต่ละยุคแต่ละสมัยของญี่ปุ่น เขามี Vision ดีเยี่ยมมาก  มีการวางแผนระยะยาวได้ดี  ในเรื่องการคมนาคมเพราะหลังจากนั้นหนูเดินทางไป Tokyo ด้วยรถไฟ Keisei  Limited Express เพื่อเข้าพักที่โรงแรม Sky  Court Asakusa  ระหว่างเดินทางหนู ไม่แปลกใจเลย ว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงได้เจริญรวดเร็ว (หลังจากแพ้สงครามโลก) ในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการขนส่งมวลชน  ในความคิดวิเคราะห์ของหนู  คิดว่าตรงกับทฤษฎีของท่านอาจารย์  จีระ  หงส์ลดารมภ์ นั่นเอง  คือ ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องมีทุนทั้ง 8 ทุน (8K’s) เพิ่มเติมในยุคโลกาภิวัตน์ อีก  5K’s และเพิ่มการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขเพราะมนุษย์เมื่อได้รับการ Development แล้ว   จะสามารถดำเนินชีวิต อย่างมีความสุขได้  โดยทุนทางความสุขที่มนุษย์ควรมี  ซึ่งหนูได้เห็น  ได้สัมผัสที่ประเทศญี่ปุ่นคือ เมื่อหนูขึ้นไปในรถไฟ  หนูได้พบว่า คนญี่ปุ่นมีการเดินทางที่สะดวกไม่ต้องขับรถเอง ไม่ต้องรอรถติด  ไม่ต้องยุ่งยากในการหาที่จอดรถ  ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกรถชนหรือขับรถไปชนคนอื่น  ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมัน (ซึ่งบ้านเราราคาแพงมาก)  และเมื่อเขาขึ้นมานั่งรถไฟทุก ๆคนไม่ว่าจะอายุมากขนาดไหนทุก ๆ คนที่ขึ้นรถจะมีหนังสือติดมือไว้สำหรับอ่านเกือบ 80 %  คนญี่ปุ่นชอบอ่านหนังสือและถ้าเป็นเด็กรุ่นใหม่ก็จะนั่งเล่นComputerผ่านมือถือ(Mobile)ซึ่งหนูทราบที่หลังว่า เขาไม่ได้เล่นเกมส์เหมือนเด็กเมืองไทยแต่เขาอ่านหนังสือพิมพ์  ข่าวสารด้านต่าง ๆ ผ่านหน้าจอมือถือ เช่น อ่านข่าวกีฬา ผ่านMobile  ไม่ต้องถือหนังสือจำนวนหลาย ๆ เล่ม  ลดการพิมพ์หนังสือ และไม่ต้องใช้กระดาษมากมาย(ต้นไม้ถูกตัด)เหมือนบ้านเรา  จากการนั่งรถไฟจากสนามบินNaritaเพื่อเข้าไปเมืองTokyoใช้เวลาเกือบชั่วโมง   หนูเห็นคนญี่ปุ่นใช้เวลาที่คุ้มค่า(ทุนทางมนุษย์+ทุนด้านเวลา)ของประเทศ  เขาได้ใช้เวลาช่วงที่อยู่ในรถเพิ่มKnowledgeให้กับตัวเอง  โดยการอ่านหนังสือหรือติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลา

            สรุปได้ว่าช่วงเวลา  1  ชั่วโมงในรถไฟ คนญี่ปุ่นมีความสุขมากเมื่อเทียบกับหนู (คนไทย) ที่นั่งรถเข้าไปกรุงเทพ ฯ ซึ่งระยะทางและเวลาพอ ๆ กัน แต่หนูมี ความสุขน้อยกว่าคนญี่ปุ่นมากมาย ดังนี้

1. หนูนั่งรถจากเพชรบุรีเข้ากรุงเทพ ฯ หนูไม่สามารถอ่านหนังสือได้ เพราะความไม่สะดวกของการเดินทาง  การไม่เข้าถึงบริการที่เอื้อต่อการอ่านหนังสือ ระยะเวลาที่เดินทางเท่ากัน หนูได้แค่ฟัง MP3 ที่บันทึกเสียงของท่านอาจารย์จีระและท่านอาจารย์สมชาย ไม่ได้อ่าน Paper ที่จริงแล้วหนูชอบอ่านจาก Paper มากกว่า เพราะได้ฝึกสายตาและสมอง มากกว่าฟังจาก MP3 หนูคิดว่าถ้าเมืองไทยสามารถพัฒนาการขนส่งทางรถไฟให้ดีได้ สามารถบริการสะดวกรวดเร็วกว่ารถไฟไทยในปัจจุบันที่ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ที่บริการดี ๆ คงจะทำให้ Human Capital ตัวหนูและอีกหลาย ๆ คน ใช้เวลาตรงนี้ได้ดี มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ขึ้นอีกมาก

2.  เมื่อหนูสามารถอ่านหนังสือ อ่านสารคดีที่ดี ๆ  ในช่วงที่เดินทางชั่วโมงกว่า ๆ  ถ้าได้อ่านหนังสือดี ๆ  บวกกับ สิ่งที่หนูมีประสบการณ์ (Experience) จากหน้าที่และงานที่ทำในเรื่อง Community Heath คือการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ให้คนในพื้นที่ที่หนูรับผิดชอบ โดยเน้นการทำงานเชิงรุก (Pro-Active) มากกว่าเชิงรับ คือสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนตามบริบท (Context) ตนเองและระบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวนโยบาย 6 อ.  คือ 

1.  อาหาร  ต้องรสไม่จัด (อ่อนหวาน  อ่อนมัน  อ่อนเค็ม)  ในปริมาณที่ถูกต้องและเหมาะสม

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง  3 5 วันต่อสัปดาห์ คนไทยจะไม่อ้วนลงพุง นำสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ฯลฯ 

3.  อารมณ์  คนถ้าไม่เจ็บป่วย สุขภาพดี  อารมณ์จะดี  การเดินทางมาพบแพทย์ซึ่งพยาบาลไม่มากมายเช่นทุกวันนี้ (เชิงรับ) การใช้เวลารอการตรวจนานมากแต่ได้คุยกับแพทย์ไม่เกิน 2 นาที  คนไม่เจ็บป่วย ไม่เครียด  ความสุขก็จะเกิด  (Happiness)

4.  อโรคยา   ต้องตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะเมื่ออายุ  35  ปีขึ้นไป เพราะเป็นวัยที่เริ่ม เสื่อมสภาพของร่างกาย 

5.  อนามัยสิ่งแวดล้อม   ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางอากาศ โลกร้อน เมืองไทยยิ่งร้อนกว่าประเทศญี่ปุ่นเพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร(ยังไม่รวมร้อนใจอีกนะคะ)  มลภาวะที่เป็นพิษ  ทั้งเรื่องเสียงดังเกินเกณฑ์ที่กำหนด  การใช้กล่องโฟร์มบรรจุอาหาร  การตัดต้นไม้โดยเฉพาะไม้สักทอง  โดนตัดเหมือนเย้ยยันต่อกฎหมาย  อากาศเป็นพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ อ.เขาย้อย  จ.เพชรบุรี  ของหนูเป็นเขตอุตสาหกรรม มีมลพิษมากมาย  ชาวบ้านเคยปลูกข้าว ก็ปลูกไม่ได้ มีโรงงานมาตั้งเต็มไปหมด  น้ำฝนที่เคยดื่มได้ก็ต้องซื้อน้ำดื่ม (กลายเป็นสังคมเมือง)

6.  อบายมุข โดยเฉพาะ บุหรี่ สุรา ยาเสพติด สารเสพติด นำไปสู่การเป็นโรคที่อันตราย เช่น โรคมะเร็งปอด, โรคถุงลมโปร่งพอง ฯลฯ 

ถ้าหนูอยู่ในเมืองที่มีการขนส่งมวลชนดี ๆ และมีเวลาเดินทางในชั่วโมงกว่า ๆ หนูจะสามารถคิดงานใหม่ ๆ ได้ (Creative) โดยทำโครงการในลักษณะเชิงรุกในการสร้างเสริมสุขภาพดี ๆ ขึ้นเสนอของบประมาณสนับสนุนจาก อบต.ที่เป็นภาคีเครือข่ายได้อีกอย่างน้อย 1 2 เรื่อง เช่น ตอนนี้กำลังทำโครงการ ออกกำลังละลายไขมันคือการให้รางวัลชีวิต  คือค้นหา Target group  ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์(BMI)  แล้วส่งเสริมให้เขาออกกำลังกายมาก ๆ  โดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในบริบทให้เกิดประโยชน์และมีศักยภาพเช่น สร้างและใช้สนามฟุตบอลของหนุ่มสาว  มีสนามเปตองสำหรับผู้สูงอายุได้เล่นกีฬา  จากนั้นใช้เวลาอีก  6 เดือนในการเจาะหาค่าไขมัน  และค่า BMI  แต่ต้องมี  Data Baseอยู่ก่อนแล้ว และนำค่าก่อนทำโครงการและค่าหลังจากทำโครงการมาเปรียบเทียบกันว่า ค่าBMIและค่า Cholesterol, HDL,LDL, Triglyceride  แล้วดูภาพรวม(Total)ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง?    การทำงาน เชิงรุก”  จะเป็นInnovation ที่หนูคิดว่าจะช่วยลดความเสี่ยง(Risk)ไม่ให้คนในชุมชนป่วยมากขึ้น  เป็นการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง(Risk) คือ คนที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์, มีค่าไขมันสูงเกินเกณฑ์เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน  โรคหลอดเลือดหัวใจ การประเมินผล  จะเก็บข้อมูลทั่วไป  เช่น เพศ อายุ  การศึกษา  อาชีพ  ค่าBMI  ค่าไขมันในเลือด ค่าBlood Pressure แล้วนำไปวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS จะได้ค่าออกมาว่าประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาวะดีขึ้น  เท่าเดิมหรือแย่ลง (อ้วนขึ้น)  เมื่อผลการวิเคราะห์ออกมา หนูจะคืนข้อมูลสู่ชุมชน  ผ่านอาสาสมัคร สาธารณสุข  (อสม.),กำนัน,ผู้ใหญ่บ้านและนำเสนอในเวลาร่วมประชุมกับ อบต.ท่าช้าง  ซึ่งหนูเข้าร่วมประชุมเดือนละ 1 ครั้ง  ไม่ทราบว่าจะเป็น Social Capitalได้หรือไม่นะคะ? เพราะเมื่อเราคืนข้อมูลสู่ชุมชนแล้ว ชุมชนก็จะรู้สถานะสุขภาพของชุมชน และคืนเจ้าตัว(ผู้เข้าร่วมโครงการด้วย)ทำให้เขาเกิด Intellectual Capital ในการดูแลสุขภาพของตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองใน 6 อ.  ขณะนี้หนูกำลังตั้งชมรม  คนรักสุขภาพไม่กินหวานจัด  มันจัด  เค็มจัด” โดยใช้กิจกรรม  6 อ. และถ้าใครสามารถลดน้ำหนักได้ภายใน  6 เดือน โดยที่เราจะมีการพบปะพูดคุยและยกย่อง ชมเชย เป็นRewordชนิดหนึ่ง มีการมอบประกาศนียบัตรจากท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านลาดและนำรายชื่อคนเหล่านั้นประกาศออกเสียงตามสาย วิทยุชุมชนและสวท. เพชรบุรี  เขาจะภูมิใจตนเองขณะเดียวกันคนในชุมชนก็จะภูมิใจด้วย รวมถึงครอบครัวก็จะยินดีด้วยคะ

            วันนี้หนูคุยกับท่านอาจารย์ยาวไปหน่อยนะคะ  เรื่องการเดินทางไปญี่ปุ่น  แล้วนำมาประยุกต์และเปรียบเทียบในเรื่องคนไทย(หนู)กับคนญี่ปุ่นโดยวันนี้คุยกับอาจารย์เรื่องระบบขนส่งมวลชนและการIntegrationให้เข้ากับทฤษฎี 8K’s + 5K’s และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามทฤษฎี 3 วงกลมของท่านอาจารย์  เพื่อใช้ "การบริหารความเป็นเลิศของคนในองค์กร" โดยเฉพาะของโรงพยาบาลบ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี และวันที่ 13-14 กรกฎาคมนี้ หนูได้รับเชิญจากกรมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อโดย  ไปพูดเรื่องโครงการ สุขภาพดีวิถีใน Model รุก รับ ลึก ด้วยทีมภาคีเครือข่ายมิตรภาพบำบัด ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ท ดอนเมือง วันนี้หนูขอยุติการพูดคุยกับอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ 

 

สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด  จ.เพชรบุรี   Tel. 081-9435033, 089-2549166

 

เรียนท่านอจ.จีระ หงส์ลดารมณ์

ขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านใส่ใจพวกเราอย่างมากนะครับ

ธนพล

และ

Ph.D.3 SSRU

เรียนท่านอจ.จีระ หงส์ลดารมณ์

ขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านใส่ใจพวกเราอย่างมากนะครับ

ธนพล

และ

Ph.D.3 SSRU

Dear All

Khun Ladda Ph.D.3 SSRU ส่งมาให้เพื่อน ๆ เป็นข้อมูลนะครับ

ladda pinta <[email protected]>

บ ท ที่ ๗

ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจจะต้องสามารถสร้างให้เกิดเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันที่เอื้อต่อการปรับตัวเมื่อได้รับผลกระทบจากภาวะผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งจะต้องมีสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและรู้เท่าทัน มีการปรับโครงสร้างการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตแทนการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิต ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมในภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งเชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างสมดุล เพื่อสร้าง

มูลค่าเพิ่มของภาคการผลิตและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดภายในและภายนอกประเทศตลอดจนสร้างความแปลกใหม่เพื่อนำตลาด นำไปสู่การเพิ่มการจ้างงาน การยกระดับรายได้ที่แท้จริงและคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ

ในปัจจุบันปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวยังมีประสิทธิภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศักยภาพของคน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสามารถด้านการบริหารจัดการ และบริการโครงสร้างพื้นฐานที่คุณภาพไม่ดีพอ การเสริมสร้างให้ปัจจัยเหล่านี้มีคุณภาพและ

เพียงพอเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะทำให้ภาคการผลิตมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยการสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัยนโยบายและมาตรการระดับมหภาคโดยลำพัง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งต่อธุรกิจพื้นฐานด้านการผลิต การค้า และบริการ

ภาคการผลิตในช่วงที่ผ่านมามีการปรับตัวที่ค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะที่โลกปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยฐานความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง โดยพืชเกษตรหลักไม่สามารถแข่งขันได้ มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ขาดการอนุรักษ์ฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะที่ดินและทรัพยากรน้ำ ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของฐานการผลิตและเป็นปัญหาต่อเนื่องด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว อีกทั้งสถาบันเกษตรกรยังขาดความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและภาคการเกษตรโดยรวม ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนในกระบวนการผลิตสูง เนื่องจากแรงงานขาดทักษะและไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำ ขาดการออกแบบที่ดี รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ยังอ่อนแอ และขาดกลไกที่จะประสานเชื่อมโยงธุรกิจข้ามชาติในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน รวมทั้งผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปรับตัวเพื่อการแข่งขันในตลาดที่มีพลวัตและผันผวนสูงขึ้นได้

ในด้านบริการ แม้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งทำรายได้และการจ้างงานที่สำคัญ แต่ก็ได้ส่งผลกระทบในเชิงลบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมหลายประการ อาทิ ความเสื่อมโทรม

ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รวมทั้งวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ธุรกิจบริการที่ต่อเนื่องกับการท่องเที่ยว ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านบริการการท่องเที่ยวที่ไม่เพียงพอและขาดคุณภาพ การเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนภาพพจน์ด้านลบของประเทศด้านยาเสพติดและโสเภณีเด็ก

สำหรับด้านการค้า สินค้าส่งออกหลักส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่า

เพิ่มต่ำและสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐานโดยสินค้าเกษตรแปรรูปประเภทอาหารและมิใช่อาหาร

ยังมีน้อยประเภท ทำให้ฐานสินค้าส่งออกค่อนข้างแคบ ขาดความหลากหลาย ขณะเดียวกัน

การส่งออกยังต้องพึ่งพิงตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จึงมีโอกาสได้รับผลกระทบจากภาวะผันแปรทางเศรษฐกิจในตลาดหลักเหล่านี้ได้ง่าย ในขณะที่ประเทศไทย

ยังมีอำนาจการต่อรองต่ำในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถขยายส่วนแบ่งด้านของตลาด

สินค้าส่งออก รวมทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นได้ ความเป็นเอกภาพในกรอบอาเซียนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความสำคัญในภาวะที่การรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคมีอิทธิพลต่อการค้าและการลงทุนของโลกสูงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมอย่างยั่งยืน ในส่วนการเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าของประเทศให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันในการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มในทุกขั้นตอนของการผลิตและการตลาด ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงการผสมผสานและความสอดคล้องกับหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นขบวนการในระดับชาติ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในกระบวนการทำงาน การแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคม สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพึ่งพาตนเอง รวมถึงการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากธุรกิจขนาดใหญ่ โดยผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และการปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพและความรวดเร็วของบริการโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน

๑ 1 วัตถุประสงค์

เพื่อให้ประเทศมีรากฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และกระจายผลสู่ประชาชนทั้งในเมืองและชนบทอย่างทั่วถึง สามารถวางรากฐานให้

คนไทยมีความพร้อมด้านทุนทางปัญญาในการก้าวเข้าสู่เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกและประเทศได้อย่างเชื่อมั่น เห็นควรกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา ดังนี้

๑.๑ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยการปรับโครงสร้างของภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ที่มุ่งเน้นการพัฒนาในเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง

๑.๒ สร้างความเชื่อมโยงและความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการวางรากฐานและสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจเสรี นำไปสู่การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๒ 2 เป้าหมาย

๒.๑ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน

(๑) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งเป็นแหล่งแปรรูปสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง

(๒) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคเกษตรขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒.๐ ต่อปี โดยที่ผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๐.๕ ต่อปี

(๓) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๔.๕ ต่อปี โดยผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๒.๕ ต่อปี

(๔) ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๓ ต่อปี

(๕) สร้างความมั่นคงของภาคเกษตรโดยขยายกระบวนการพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร ด้วยการยกระดับรายได้ควบคู่กับการมีงานทำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

(๖) ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น โดยมีวิสาหกิจที่จดทะเบียน คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๒ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ทั้งหมดในปี ๒๕๔๙

(๗) สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบมีความต่อเนื่องในการพัฒนาคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และโครงสร้างพื้นฐาน

(๘) สร้างระบบข้อมูลและตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผล

๒.๒ สร้างความเชื่อมโยงและความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจภายในและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการสร้างรากฐานและสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจเสรี

(๑) ให้การส่งออกสินค้าขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖ ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทย ให้อยู่ในระดับร้อยละ ๑.๑ ของตลาดโลก ในปี ๒๕๔๙

(๒) ให้มีนโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว โดยมุ่งการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสร้างมูลค่าเพิ่มควบคู่ไปกับการส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และการริเริ่มสร้างเทคโนโลยีด้วยตนเอง

(๓) รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ ๗-๘ ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี

๓ 3 แนวทางการพัฒนา

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการเสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าให้สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยอาศัยปัจจัยหลักที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะและองค์ความรู้ของคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และการยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ

คุณภาพของกระบวนการผลิตและความคล่องตัวด้านการตลาด คำนึงถึงสมดุลกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างและผลักดันการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นขบวนการในระดับชาติ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจชุมชน รวมทั้งการปรับระบบการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีเอกภาพสร้างอำนาจต่อรอง และขยายศักยภาพการลงทุนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคควบคู่ไปกับการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ภาคการผลิต การค้า และบริการของประเทศมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้เกิดเสถียรภาพ มีภูมิคุ้มกัน และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยมีแนวทางการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ ดังนี้

๓.๑ การปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองและสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจโดยรวม

(๑) ปรับกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพโดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ โดย

(๑.๑) สร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบการเกษตร โดยส่งเสริมการแปรรูป

ผลผลิตการเกษตร การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาระบบงานวิจัยและบุคลากรวิจัยทางการเกษตรและเกษตรแปรรูป พร้อมทั้งสนับสนุนการผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

(๑.๒) เร่งรัดการพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรในรูปอาหารและไม่ใช่อาหารที่มีศักยภาพในการขยายสัดส่วนการตลาดและการ

ส่งออก โดยนำเอาเทคโนโลยี ผลการวิจัยและพัฒนา มาใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อการเพิ่มมูลค่าของปัจจัยและกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง

(๑.๓) เพิ่มขีดความสามารถ ทักษะของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ให้มีขีดความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการได้ สามารถตัดสินใจและวางแผนการผลิตเชื่อมโยงกับการตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ มีการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารด้านการผลิต ราคาสินค้า และการตลาดเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ รวมทั้งการแปรรูปสินค้าและการตลาด โดยใช้หลักสหกรณ์

(๑.๔) ผลิตและพัฒนาบุคลากรในภาคการผลิตที่แท้จริง เพื่อให้ทันกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและตลาดแรงงาน โดยพัฒนากลไกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันฝึกอบรม สถาบันเฉพาะทาง และสถานประกอบการในภาคการผลิตต่างๆ

(๑.๕) สนับสนุนให้สถาบันเฉพาะทางมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นศูนย์กลางการให้บริการแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะ

อุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมวิศวการ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี การตลาด รวมทั้งคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน โดยการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารองค์กรทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

(๑.๖) ปรับโครงสร้างภาษี เพื่อสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการผลิตที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วน และการนำเข้า ปรับใช้ หรือพัฒนาเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อใช้ในการลดต้นทุนและผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง โดยให้องค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในภาคการผลิตเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วย

(๑.๗) ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยสนับสนุนการลงทุนและการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างวิสาหกิจข้ามชาติและวิสาหกิจท้องถิ่น

(๑.๘) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต การประกอบการธุรกรรมและขยายโอกาสทางการตลาด

(๑.๙) ส่งเสริมและพัฒนาระบบคุณภาพของประเทศ เพื่อให้เป็นกลไก

ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ อาทิ ระบบมาตรวิทยา ระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ระบบทดสอบผลิตภัณฑ์ และระบบรับรองระบบงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและสามารถรองรับความต้องการของภาคการผลิต

(๒) เสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการตลาดและการกระจายผลผลิตไปสู่ตลาด และเตรียมความพร้อมเพื่อแสวงโอกาสจากการค้าเสรี โดย

(๒.๑) ปรับปรุงตลาดสินค้าเกษตรทุกระดับให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนการผลิตอย่างเพียงพอ ให้สามารถสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างตลาดท้องถิ่น ตลาดกลางสินค้าเกษตรในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ และตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีขีดความสามารถในการกระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง

(๒.๒) กระจายตลาดสินค้าส่งออกไทยที่มีศักยภาพสูงให้กว้างขวางเพื่อลดผลกระทบจากการพึ่งพิงตลาดหลัก โดยส่งเสริมภาคเอกชนในการขยายลู่ทางการตลาดของสินค้าไทยร่วมกับกลุ่มเศรษฐกิจและประเทศต่างๆ ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี การผนึกพลังร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐในต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาสินค้าที่มีเครื่องหมาย

การค้าของตนเองที่เน้นคุณภาพและมาตรฐาน มีการวางระบบการขายและกระจายสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมทั้งใช้มาตรการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่างๆ เช่น การซื้อขายแบบให้

สินเชื่อและการค้าต่างตอบแทน

(๒.๓) ส่งเสริมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดหาและเป็น

ช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้า โดยให้ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค เตรียมความพร้อมในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งด้านบุคลากรระบบโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และสนับสนุนกลไกที่จำเป็นต่อการสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้ามามีบทบาทในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนร่วมมือกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคต่างๆ ในการผลักดันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ

(๒.๔) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ให้สามารถให้บริการข้อมูลแก่กลไกที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมการเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในระดับจังหวัด เพื่อให้สามารถบริการข้อมูลด้านการค้า การตลาด และการลงทุน แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน นำไปสู่การส่งเสริมการค้าและการลงทุนได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่

(๒.๕) ทบทวน ปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการค้าและการลงทุน และการนำกฎหมายที่จำเป็นมาใช้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างหลักประกัน สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยของสังคม รวมทั้งพัฒนาสถาบันและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้กฎหมายสามารถบังคับใช้และส่งผลต่อการสร้างความสมดุลของการเปิดรับกระแสเศรษฐกิจโลกและการคุ้มครองภาคการผลิตและผู้บริโภคภายในประเทศ

(๓) สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย

(๓.๑) ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนโดยให้เกษตรกรเรียนรู้จากประสบการณ์ของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในหลายๆ รูปแบบ

(๓.๒) ขยายการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสร้างดุลยภาพของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และเสริมสร้างขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้การเกษตรยั่งยืนอยู่รอดได้ในเชิงพาณิชย์ โดยให้มีการจำแนกประเภทกิจกรรมทางการเกษตรแบบยั่งยืนที่มีโอกาสในการพัฒนาสูง ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่องทางการตลาดที่แตกต่างกัน

(๓.๓) สร้างระบบเครือข่ายให้สามารถเชื่อมโยงการเกษตรแบบยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจชุมชน พร้อมทั้งพิจารณาจัดทำมาตรฐานการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน ควบคู่ไปกับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ตระหนักในเรื่องคุณภาพของสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ

(๓.๔) สร้างความรู้และความเข้าใจให้เแก่เกษตรกรเพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีการเกษตรอย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมการเกษตรปลอดสารพิษให้แพร่หลาย พร้อมทั้งเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนสารเคมีการเกษตรและให้มีการขยายผลในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง

๓.๒ เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านระบบการขนส่ง สื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน และสาธารณูปการเพื่อสนับสนุนการเพิ่มสมรรถนะภาคการผลิตและบริการ โดย

(๑) ใช้ประโยชน์จากระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วให้คุ้มค่า โดยให้ความสำคัญกับการจัดการดูแลบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพและการเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัย มีราคาที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของระบบเศรษฐกิจโดยรวม

(๒) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงข่ายโทรคมนาคม ท่าอากาศยานและท่าเรือหลัก รวมทั้งกิจการพาณิชย์นาวี ให้มีคุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐาน สะดวกรวดเร็ว เพื่อสนับสนุนการเพิ่มสมรรถนะของภาคการผลิตและบริการของประเทศ

(๓) จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการอย่างมีคุณภาพ มีความ

มั่นคงในระดับราคาที่เหมาะสม และพัฒนาการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

(๔) ปรับปรุงกระบวนการจัดเตรียมโครงการให้มีความสมบูรณ์ โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ภาระหนี้ของประเทศ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของ

ชุมชน และสนับสนุนให้มีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งมีการดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพ

โปร่งใส และเกิดการยอมรับจากประชาชน

(๕) ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อม ทั้งในด้านการปรับองค์กรและการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี สนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คำนึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ และเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพดีขึ้น ขณะเดียวกันมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานรายสาขาให้ได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพและอัตราค่าบริการ เพื่อให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเกิดความเป็นธรรมต่อผู้ให้และผู้ใช้บริการ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม

๓.๓ สร้างและผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศเพื่อการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย

(๑) พัฒนาปัจจัยหลักในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต ได้แก่ การสร้างให้เกิดจิตสำนึกในการเพิ่มผลผลิตของคนในชาติ การพัฒนาทักษะของคน การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานและดัชนีชี้วัดการติดตามประเมินผลเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้แผนพัฒนาของชาติทุกด้านและทุกระดับเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

(๒) พัฒนาเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาชน โดยให้มีองค์กรที่เป็นมืออาชีพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสาน เชื่อมโยง และผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตในระดับประเทศ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

(๓) พัฒนากฎหมายและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง และสนับสนุนผู้ประกอบการให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

๓.๔ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและธุรกิจชุมชน เพื่อการสร้างงานและขยายฐานการผลิตให้มั่นคงและยั่งยืน

(๑) สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดย

(๑.๑) พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบและครบวงจร เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน นำไปสู่การขยายฐานด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการของภาคการผลิตและบริการ โดยส่งเสริมการรับช่วงและเชื่อมโยงการผลิตระหว่างกิจการอุตสาหกรรมในลักษณะของกลุ่มอุตสาหกรรม ฝึกอบรม

ผู้ประกอบการในด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเพิ่มการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

(๑.๒) สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจขนาดใหญ่โดยใช้มาตรการจูงใจ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการตลาดทุกระดับร่วมกัน

(๒) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจชุมชน โดย

(๒.๑) สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแก่ธุรกิจชุมชน โดยส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการ

ร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ในรูปเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน จัดทำระบบข้อมูลสินค้าชุมชน สนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ที่เน้นการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ โดยให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการได้ด้วย

ตนเองตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด

(๒.๒) เพิ่มปริมาณสินเชื่อให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และ

ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจอย่างเพียงพอตามความจำเป็น รวมทั้งพัฒนาระบบเครือข่ายสินเชื่อให้เชื่อมโยงกับสถาบันเกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบการ

(๒.๓) สนับสนุนกระบวนการสหกรณ์ให้เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจที่จะ

ส่งเสริมการผลิตของชุมชน รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ

การเมืองภาคประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนให้บรรจุในหลักสูตรการศึกษาเพื่อประชาสัมพันธ์แนวคิดแก่ชุมชน

๓.๕ ปรับปรุงระบบการเจรจาและความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ การค้า และ การลงทุน

(๑) การสร้างเอกภาพในการเจรจาทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดย

(๑.๑) ให้มีการกำหนดทิศทางในการเจรจาการค้า ทั้งภาครัฐและเอกชน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นแกนกลางร่วมกับกลไกระดับนโยบายเฉพาะด้านในการจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดภารกิจ และการแบ่งงานกันทำ รวมทั้งการประสานงานระหว่างกัน

(๑.๒) กำหนดกลไกในการดำเนินการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคี ให้มีความชัดเจน รวมทั้งระบบการประสานงานภายใต้ยุทธศาสตร์ที่กำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

(๑.๓) สนับสนุนใหัภาคเอกชนมีการรวมตัวกันในการกำหนดท่าทีของประเทศร่วมกับภาครัฐในการเจรจาและร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกรอบต่างๆ

(๒) เสริมสร้างอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีเศรษฐกิจ การค้า การ

ลงทุนระหว่างประเทศ

(๒.๑) แสวงหาโอกาสสร้างเงื่อนไขใหัไทยและมิตรประเทศสามารถเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น ในการกำหนดทิศทาง การสร้างกฎระเบียบและรูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการค้า การลงทุน และการเงินระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับ

ผลประโยชน์และทิศทางในการพัฒนาประเทศของไทย

(๒.๒) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับประเทศในภูมิภาค เช่น อาเซียน เอเปค อาเซม เพื่อการขยายตลาดสินค้าและบริการ

รวมทั้งการเพิ่มแหล่งวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าที่มีศักยภาพ ตลอดจนการขายบริการด้านการศึกษา ท่องเที่ยว และสาธารณสุข ที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน

(๓) ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน นำไปสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในภูมิภาค โดย

(๓.๑) ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและอินโดจีน โดยเฉพาะการสนับสนุนการดำเนินการด้านตลาดร่วมกันเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค และการพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานระหว่างแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน

(๓.๒) พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกันให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ที่สามารถสนับสนุนการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมขีดความสามารถด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

(๓.๓) ร่วมมือกับประเทศที่สามและ/หรือองค์กรระหว่างประเทศในการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน โดยการกระตุ้นธุรกิจด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจที่มีศักยภาพ

๓.๖ ส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงาน กระจายรายได้ และหา

รายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(๑) พัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ชุมชน โดย

(๑.๑) พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกลุ่มพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับศักยภาพเชิงวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงขีดความสามารถของพื้นที่ในการรองรับนักท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างถูกวิธี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี กา

Dear All

Khun Lada Ph.D.3 SSRU ส่งมาให้เพื่อน ๆ ดูนะครับ

ladda pinta <[email protected]>

ล้วงลึกความสำคัญ 'ทุนมนุษย์' กับ 'ดิพาก ซี เจน' แห่ง Kellogg

'คน' ทรัพยากรหนึ่งเดียวที่สร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ

ชี้โอกาสทอง 'เอเชีย' ต่อยอดสิ่งที่มีก้าวเทียบชั้นสากล

กับ 3 จุดแข็งประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจ ย้ำหัวใจสำคัญลงทุนในคน

การก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 มีหลายเรื่องหลายมิติที่ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ได้หยิบยกขึ้นมาพูดถึง เพราะเป็นศตวรรษที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและรวดเร็วทั้งเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงมนุษย์

และ "โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะ ด้านการจัดการทุนมนุษย์" ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ.) ที่ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาศศินท์และสถาบันเอกชนที่มุ่งพัฒนามนุษย์รับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย จึงเชื่อมโยงให้เห็นการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21

โดยได้จัดบรรยายพิเศษ "ทิศทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยยุคใหม่" หรือ "Crystallizing Thailand ’ s Human Capital in the 21 Century " โดย ศาสตราจารย์ ดิพาก ซี เจน คณบดีแห่งสถาบันการบริการจัดการ Kellogg

ฉายภาพเศรษฐกิจโลก

'ยุคทอง' ของเอเชีย

ศาสตราจารย์ ดิพาก ซี เจน คณบดีแห่งสถาบันการบริการจัดการ Kellogg มองถึงภาพเศรษฐกิจโลกในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็น "ยุคทอง" ของเอเชีย ขึ้นมาแทนที่สหรัฐและยุโรป ดูได้จากโครงสร้างเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนไปจากอัตราการเติบโตเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ที่เพิ่มสูงมากขึ้น ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วกลับเริ่มชะลอตัวลง

มีการคาดการณ์ว่าราวปี ค.ศ. 2015 GDP ของจีน อินเดีย ญี่ปุ่นและประเทศเอเชียอื่นๆ รวมกัน จะสูงเป็นร้อยละ 45 ของ GDP โลก ขณะเดียวกันนโยบายในระดับประเทศต่างๆก็จะหันไปมองทางตะวันออก Look East แทนที่จะมองตะวันตก Look West ตามแนวนโยบายแบบเดิมๆ

"เอเชียอาจจะกลายเป็น United States of Asia หรือเรียกสั้นๆ ว่า New USA ฉะนั้นประเทศในเอเชียจะต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่และพลังในการแข่งขันบนเวทีโลกให้กับภูมิภาค"

และในประเด็น ยุคสมัยแห่งความรู้ความสามารถ The Age of Talent โดยยกตัวอย่างทิศทางเศรษฐกิจการลงทุนและการพัฒนาในอนาคตของประเทศในเอเชียที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง อย่างจีน และอินเดีย โดยเปรียบเทียบกับประเทศไทยว่า

จีนมีแนวโน้มให้ความสำคัญในภาคการผลิตขนาดใหญ่ เน้นการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีการบริโภคนิยมและอัตราการออมสูงมาก รวมถึงมีความผูกพันกับประเทศชาติและชนเชื้อชาติจีนด้วยกัน

ขณะที่อินเดีย มีการดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานในประเทศเพื่อให้บริการทางไกลแก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และรัฐบาลอินเดียพยายามอย่างหนักในการปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหม่พูดภาษาอังกฤษชัดเจนมากขึ้น รวมถึงมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีความใส่ใจในเรื่องของการศึกษาของเด็กและเยาวชนอย่างมาก

และสำหรับประเทศไทยนั้น เจน มองว่า มีจุดแข็งที่ระบบสาธารณูปโภคที่ดีประกอบกับสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถเป็นศูนย์กลางภาคการผลิตของเอเชียได้ประเทศไทยยังมี เอกลักษณ์ความเป็นไทย ที่มีความโอบอ้อมอารี และวิถีชีวิตที่เป็นไปอย่างเรียบง่าย สบายๆ ทำให้ต่างชาติหลงใหลและต้องการกลับมาเยือนประเทศไทยอีก

"ต่างจากสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของนวัตกรรม การคิดค้นสร้างสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา คนอเมริกันชอบคิดอะไรที่ใหญ่ๆ และมีความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างดี เป็นศูนย์รวมของทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถจากทั่วโลก มีสภาพแวดล้อมที่เป็นอิสรเสรี ดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วโลกเดินทางเข้ามาทำงานในอเมริกา"

ชี้ 'ทุนมนุษย์'

ปัจจัยแข่งขันในอนาคต

เจน ยังกล่าวต่อว่า ทิศทางที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยหากขาดในเรื่องมิติของคน หรือทรัพยากรมนุษย์ หรือที่เรียกกันว่า "ทุนมนุษย์"

ดังนั้น สิ่งสำคัญในการประกอบธุรกิจเพื่อให้แข่งขันได้ในอนาคตนั้น ต้องตระหนักว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรเพียงประการเดียวที่จะสามารถสร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้

ซึ่ง เจน ได้นำเสนอโมเดลใหม่ในการพัฒนาที่เรียกว่า “5P Model” ที่มีคน (People) เป็นศูนย์กลาง นำไปสู่ความเป็นไปได้ (Potentiality) ความร่ำรวย (Prosperity) ความสามารถในการผลิต (Productivity) และสามารถในการเจริญเติบโตที่สร้างผลกำไร (Profitability) ซึ่งนำมาสู่ความร่ำรวยและความผาสุกของคนในประเทศ ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลควรคำนึงถึงความสำคัญของคนเป็นอันดับแรก

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง "5 H Model” ซึ่งประกอบไปด้วย ความสมดุลย์ (Harmony) หัว (Head) ซึ่งหมายถึงความรู้ ความสามารถที่ร่ำเรียนและสั่งสมมา มือ (Hand) หมายถึง ความขยันขันแข็งในการทำงาน หัวใจ (Heart) สำหรับคนไทย เจน หมายถึงความเป็นไทยและความโอบอ้อมอารี ที่ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ และสุดท้าย สุขภาพ (Health) ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่เอื้อต่อการทำงาน

เจน ได้กล่าวถึงการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ว่า หากจะเพิ่มผลผลิต โดยเน้นไปที่ปัจจัยมนุษย์นั้น จะต้องคำนึงถึง การสร้างแรงจูงใจ (Inspiration) และแรงกระตุ้น (Motivation)โดยการให้รางวัลด้วยเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การเลื่อนตำแหน่ง พาไปเที่ยว ให้กับพนักงานที่ปฏิบัติผลงานยอดเยี่ยม เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ (Vision) และนำไปสู่การปฏิบัติ (Action) ที่เกิดประสิทธิภาพในที่สุด เพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ไม่ใช่แค่เพียงการอบรมสั่งสอนให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานเท่านั้น แต่ยังต้องปลูกฝังความเฉลียวฉลาดทางปัญญา ทางอารมณ์ การมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมให้ผู้นั้นมีความสามารถรอบด้าน

เจน ได้กล่าวถึง เรื่องการตลาดที่มีปัจจัยคนเป็นศูนย์กลาง โดยได้กล่าวถึงหลักสูตรของ Kellogg ในการปลูกฝังผู้นำทางธุรกิจยุคใหม่ให้กับโลก โดยเน้นความสำคัญในทุกๆ ด้าน ได้แก่ การมีความรู้ที่ลึกซึ้ง มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น การมีมุมมองในระดับสากลเห็นความเป็นไปของโลกและประการสุดท้ายคือ การมีภาวะผู้นำ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

สำหรับประเทศไทยนั้น เจน ได้มองถึงจุดแข็งที่จะนำมาพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปคือ

1. แนวโน้มของโลกที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาลและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในระดับโลก

2.ไทยมีความโดดเด่นในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า เช่น อุตสาหกรรมสื่อและการบันเทิงต่างๆ

3.ไทยมีความพร้อมในด้านการบริการต่างๆ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร

โดยสรุป การพัฒนาทางเศรษฐกิจในยุคใหม่ หัวใจสำคัญคือ การพัฒนาและการลงทุนในคน

เจน กล่าวทิ้งท้ายว่า คนเราก็ต้องอุทิศตนให้กับประเทศชาติและสังคม โดยในช่วงชีวิตของคนสามารถแบ่งได้เป็นสี่ช่วงวัย ช่วง 25 ปีแรก เป็นช่วงของการศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้และความสามารถในการประกอบอาชีพ 25 ปีต่อมา เป็นช่วงของการทำงานหนักเพื่อสร้างตัว 25 ปี ถัดมา เป็นช่วงที่คนจะสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง และช่วง 25 ปีสุดท้ายเป็นช่วงของการอุทิศตนให้กับคนรอบข้าง สังคม และประเทศชาติโดยรวม

------------------------------

Humanistic Society ความรู้ คู่คุณธรรม

การเปลี่ยนผ่านของโลกจากอดีตถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคสังคมเกษตร ยุคสังคมอุตสาหกรรม ยุคสังคมฐานความรู้ และเตรียมก้าวสู่ยุคสังคมหลังยุคสังคมฐานเรียนรู้ เมื่อยุคเปลี่ยนย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งโครงสร้างอุตสาหกรรม วัฒนธรรมองค์กรตลอดจนโมเดลทางธุรกิจ แต่คำถามมีอยู่ว่าจะการดำเนินธุรกิจในโลก ที่มีความแตกต่างกันอย่างไร

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินท์ กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังเดินเข้าสู่ "หลังยุคสังคมฐานความรู้" (Post Knowledge-based Society หรือ Humanistic Society ) ทำให้สังคม ความรู้ และพัฒนาการจะเข้าไปสู่สังคมแห่ง "Trust Care Share & Collaboration" เพื่อแก้ปัญหาในยุคสังคมฐานความรู้ โดยเฉพาะช่องว่างระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้

ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวทาง Humanistic Society จำเป็นต้องกำกับด้วยคุณธรรม New Value ยุคนี้จึงเป็น "ความรู้ คู่คุณธรรม" หรือความรู้ที่เป็นจิตสาธารณะ สำหรับประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องดำเนินการบริหารจัดการองค์ความรู้ให้มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายมิติ โดยดึงความรู้แฝงในทุนทั้ง 4 ได้แก่ ทุนธรรมชาติ ทุนมนุษย์ ทุนสังคมและทุนทางกายภาพ

และหากมองในมุมของการดำเนินธุรกิจของโลกในยุค “หลังสังคมฐานความรู้” แบ่งออกเป็น 5 มิติ คือ

1.การปรับเปลี่ยนในกระบวนทัศน์ จุดเน้นและยุทธศาสตร์หลัก กระบวนทัศน์

"หลังสังคมฐานความรู้" พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนจาก “ผู้บริโภค”เป็น“ผู้ร่วมสร้าง” ยุทธศาสตร์หลักจึงเปลี่ยนสู่ Mass Collaboration ที่ผู้บริโภคเชื่อมต่อกันเองและทำกิจกรรมร่วมกันได้ในลักษณะเครือข่าย กระบวนทัศน์มีการปรับเปลี่ยนสู่ “การใส่ใจและแบ่งปัน” จุดเน้นเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ People Governance

2.การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการแลกเปลี่ยนและพลังขับเคลื่อน

นอกจากเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการทำธุรกรรมแล้ว ผู้คนยังปรับเปลี่ยนโดยหันมาสร้างความสัมพันธ์มากขึ้น ร่วมกันสร้างนวัตกรรมแบบเปิดระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง หรือระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิต ทั้งในกิจกรรมเชิงพาณิชย์และกิจกรรมทางสังคม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการแลกเปลี่ยนของผู้คนในสังคมยุคนี้

3.การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ และปัจจัยสู่ความสำเร็จ

ยังเป็นโลกของไซเบอร์แต่กลับมีเรื่องของจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องคล้ายกับ “สังคมเกษตรกรรม” เศรษฐศาสตร์ของโลกในยุคนี้ จึงเป็นลักษณะEconomics of Reciprocity นอกจากการแลกเปลี่ยนความรู้แล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรื่องของคุณค่าและอุดมการณ์ของความเป็นมนุษย์ ปัจจัยความสำเร็จจึงเป็นเรื่องของของการดึงศักยภาพของคนออกมาให้มากขึ้น เพื่อร่วมรังสรรค์กับผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม คุณประโยชน์จึงตกอยู่กับคนส่วนใหญ่ของสังคม

4.การเปลี่ยนแปลงในบทบาท วิถีสู่เป้าหมาย และผลผลิต

บทบาทของผู้ผลิตจะถอยลงเป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้บริโภคเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กันเองมากขึ้น เริ่มมีสินค้าหลายอย่างที่ผลิตและใช้โดยผู้บริโภคกันเอง ในลักษณะ Goods For and By Everyone

5.การเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขและรูปแบบของการทำกำไร

กำไรจะขึ้นอยู่กับการร่วมรังสรรค์ในนวัตกรรมของลูกค้า ผ่านระบบของบริษัท ยิ่งลูกค้ามีการร่วมรังสรรค์ในระบบหรือเครือข่ายมากเท่าไรก็จะเกิด Switching Cost ทำให้โอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้ระบบหรือเครือข่ายของคู่แข่งยิ่งน้อยลงเท่านั้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องตระหนักและปรับวิธีการดำเนินธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มโลกที่กำลังเปลี่ยนไป หากคิดจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบเก่าๆ ก็คงกลายเป็น “คนตกยุค” ที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้าแล้ว

Dear All

Khun Lada Ph.D.3 SSRU ส่งมาให้เพื่อน ๆ ดูนะครับ

ladda pinta <[email protected]>

ล้วงลึกความสำคัญ 'ทุนมนุษย์' กับ 'ดิพาก ซี เจน' แห่ง Kellogg

'คน' ทรัพยากรหนึ่งเดียวที่สร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ

ชี้โอกาสทอง 'เอเชีย' ต่อยอดสิ่งที่มีก้าวเทียบชั้นสากล

กับ 3 จุดแข็งประเทศไทยพัฒนาเศรษฐกิจ ย้ำหัวใจสำคัญลงทุนในคน

การก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 มีหลายเรื่องหลายมิติที่ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ได้หยิบยกขึ้นมาพูดถึง เพราะเป็นศตวรรษที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและรวดเร็วทั้งเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงมนุษย์

และ "โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะ ด้านการจัดการทุนมนุษย์" ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ.) ที่ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาศศินท์และสถาบันเอกชนที่มุ่งพัฒนามนุษย์รับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย จึงเชื่อมโยงให้เห็นการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21

โดยได้จัดบรรยายพิเศษ "ทิศทางการพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยยุคใหม่" หรือ "Crystallizing Thailand ’ s Human Capital in the 21 Century " โดย ศาสตราจารย์ ดิพาก ซี เจน คณบดีแห่งสถาบันการบริการจัดการ Kellogg

ฉายภาพเศรษฐกิจโลก

'ยุคทอง' ของเอเชีย

ศาสตราจารย์ ดิพาก ซี เจน คณบดีแห่งสถาบันการบริการจัดการ Kellogg มองถึงภาพเศรษฐกิจโลกในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็น "ยุคทอง" ของเอเชีย ขึ้นมาแทนที่สหรัฐและยุโรป ดูได้จากโครงสร้างเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนไปจากอัตราการเติบโตเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ที่เพิ่มสูงมากขึ้น ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วกลับเริ่มชะลอตัวลง

มีการคาดการณ์ว่าราวปี ค.ศ. 2015 GDP ของจีน อินเดีย ญี่ปุ่นและประเทศเอเชียอื่นๆ รวมกัน จะสูงเป็นร้อยละ 45 ของ GDP โลก ขณะเดียวกันนโยบายในระดับประเทศต่างๆก็จะหันไปมองทางตะวันออก Look East แทนที่จะมองตะวันตก Look West ตามแนวนโยบายแบบเดิมๆ

"เอเชียอาจจะกลายเป็น United States of Asia หรือเรียกสั้นๆ ว่า New USA ฉะนั้นประเทศในเอเชียจะต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่และพลังในการแข่งขันบนเวทีโลกให้กับภูมิภาค"

และในประเด็น ยุคสมัยแห่งความรู้ความสามารถ The Age of Talent โดยยกตัวอย่างทิศทางเศรษฐกิจการลงทุนและการพัฒนาในอนาคตของประเทศในเอเชียที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง อย่างจีน และอินเดีย โดยเปรียบเทียบกับประเทศไทยว่า

จีนมีแนวโน้มให้ความสำคัญในภาคการผลิตขนาดใหญ่ เน้นการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีการบริโภคนิยมและอัตราการออมสูงมาก รวมถึงมีความผูกพันกับประเทศชาติและชนเชื้อชาติจีนด้วยกัน

ขณะที่อินเดีย มีการดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานในประเทศเพื่อให้บริการทางไกลแก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และรัฐบาลอินเดียพยายามอย่างหนักในการปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหม่พูดภาษาอังกฤษชัดเจนมากขึ้น รวมถึงมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีความใส่ใจในเรื่องของการศึกษาของเด็กและเยาวชนอย่างมาก

และสำหรับประเทศไทยนั้น เจน มองว่า มีจุดแข็งที่ระบบสาธารณูปโภคที่ดีประกอบกับสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถเป็นศูนย์กลางภาคการผลิตของเอเชียได้ประเทศไทยยังมี เอกลักษณ์ความเป็นไทย ที่มีความโอบอ้อมอารี และวิถีชีวิตที่เป็นไปอย่างเรียบง่าย สบายๆ ทำให้ต่างชาติหลงใหลและต้องการกลับมาเยือนประเทศไทยอีก

"ต่างจากสหรัฐอเมริกา ที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของนวัตกรรม การคิดค้นสร้างสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา คนอเมริกันชอบคิดอะไรที่ใหญ่ๆ และมีความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างดี เป็นศูนย์รวมของทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถจากทั่วโลก มีสภาพแวดล้อมที่เป็นอิสรเสรี ดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วโลกเดินทางเข้ามาทำงานในอเมริกา"

ชี้ 'ทุนมนุษย์'

ปัจจัยแข่งขันในอนาคต

เจน ยังกล่าวต่อว่า ทิศทางที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยหากขาดในเรื่องมิติของคน หรือทรัพยากรมนุษย์ หรือที่เรียกกันว่า "ทุนมนุษย์"

ดังนั้น สิ่งสำคัญในการประกอบธุรกิจเพื่อให้แข่งขันได้ในอนาคตนั้น ต้องตระหนักว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรเพียงประการเดียวที่จะสามารถสร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้

ซึ่ง เจน ได้นำเสนอโมเดลใหม่ในการพัฒนาที่เรียกว่า “5P Model” ที่มีคน (People) เป็นศูนย์กลาง นำไปสู่ความเป็นไปได้ (Potentiality) ความร่ำรวย (Prosperity) ความสามารถในการผลิต (Productivity) และสามารถในการเจริญเติบโตที่สร้างผลกำไร (Profitability) ซึ่งนำมาสู่ความร่ำรวยและความผาสุกของคนในประเทศ ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลควรคำนึงถึงความสำคัญของคนเป็นอันดับแรก

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง "5 H Model” ซึ่งประกอบไปด้วย ความสมดุลย์ (Harmony) หัว (Head) ซึ่งหมายถึงความรู้ ความสามารถที่ร่ำเรียนและสั่งสมมา มือ (Hand) หมายถึง ความขยันขันแข็งในการทำงาน หัวใจ (Heart) สำหรับคนไทย เจน หมายถึงความเป็นไทยและความโอบอ้อมอารี ที่ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ และสุดท้าย สุขภาพ (Health) ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่เอื้อต่อการทำงาน

เจน ได้กล่าวถึงการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ว่า หากจะเพิ่มผลผลิต โดยเน้นไปที่ปัจจัยมนุษย์นั้น จะต้องคำนึงถึง การสร้างแรงจูงใจ (Inspiration) และแรงกระตุ้น (Motivation)โดยการให้รางวัลด้วยเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การเลื่อนตำแหน่ง พาไปเที่ยว ให้กับพนักงานที่ปฏิบัติผลงานยอดเยี่ยม เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ (Vision) และนำไปสู่การปฏิบัติ (Action) ที่เกิดประสิทธิภาพในที่สุด เพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ไม่ใช่แค่เพียงการอบรมสั่งสอนให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานเท่านั้น แต่ยังต้องปลูกฝังความเฉลียวฉลาดทางปัญญา ทางอารมณ์ การมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมให้ผู้นั้นมีความสามารถรอบด้าน

เจน ได้กล่าวถึง เรื่องการตลาดที่มีปัจจัยคนเป็นศูนย์กลาง โดยได้กล่าวถึงหลักสูตรของ Kellogg ในการปลูกฝังผู้นำทางธุรกิจยุคใหม่ให้กับโลก โดยเน้นความสำคัญในทุกๆ ด้าน ได้แก่ การมีความรู้ที่ลึกซึ้ง มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น การมีมุมมองในระดับสากลเห็นความเป็นไปของโลกและประการสุดท้ายคือ การมีภาวะผู้นำ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

สำหรับประเทศไทยนั้น เจน ได้มองถึงจุดแข็งที่จะนำมาพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปคือ

1. แนวโน้มของโลกที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาลและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในระดับโลก

2.ไทยมีความโดดเด่นในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า เช่น อุตสาหกรรมสื่อและการบันเทิงต่างๆ

3.ไทยมีความพร้อมในด้านการบริการต่างๆ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร

โดยสรุป การพัฒนาทางเศรษฐกิจในยุคใหม่ หัวใจสำคัญคือ การพัฒนาและการลงทุนในคน

เจน กล่าวทิ้งท้ายว่า คนเราก็ต้องอุทิศตนให้กับประเทศชาติและสังคม โดยในช่วงชีวิตของคนสามารถแบ่งได้เป็นสี่ช่วงวัย ช่วง 25 ปีแรก เป็นช่วงของการศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้และความสามารถในการประกอบอาชีพ 25 ปีต่อมา เป็นช่วงของการทำงานหนักเพื่อสร้างตัว 25 ปี ถัดมา เป็นช่วงที่คนจะสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง และช่วง 25 ปีสุดท้ายเป็นช่วงของการอุทิศตนให้กับคนรอบข้าง สังคม และประเทศชาติโดยรวม

------------------------------

Humanistic Society ความรู้ คู่คุณธรรม

การเปลี่ยนผ่านของโลกจากอดีตถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคสังคมเกษตร ยุคสังคมอุตสาหกรรม ยุคสังคมฐานความรู้ และเตรียมก้าวสู่ยุคสังคมหลังยุคสังคมฐานเรียนรู้ เมื่อยุคเปลี่ยนย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งโครงสร้างอุตสาหกรรม วัฒนธรรมองค์กรตลอดจนโมเดลทางธุรกิจ แต่คำถามมีอยู่ว่าจะการดำเนินธุรกิจในโลก ที่มีความแตกต่างกันอย่างไร

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินท์ กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังเดินเข้าสู่ "หลังยุคสังคมฐานความรู้" (Post Knowledge-based Society หรือ Humanistic Society ) ทำให้สังคม ความรู้ และพัฒนาการจะเข้าไปสู่สังคมแห่ง "Trust Care Share & Collaboration" เพื่อแก้ปัญหาในยุคสังคมฐานความรู้ โดยเฉพาะช่องว่างระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้

ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวทาง Humanistic Society จำเป็นต้องกำกับด้วยคุณธรรม New Value ยุคนี้จึงเป็น "ความรู้ คู่คุณธรรม" หรือความรู้ที่เป็นจิตสาธารณะ สำหรับประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องดำเนินการบริหารจัดการองค์ความรู้ให้มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายมิติ โดยดึงความรู้แฝงในทุนทั้ง 4 ได้แก่ ทุนธรรมชาติ ทุนมนุษย์ ทุนสังคมและทุนทางกายภาพ

และหากมองในมุมของการดำเนินธุรกิจของโลกในยุค “หลังสังคมฐานความรู้” แบ่งออกเป็น 5 มิติ คือ

1.การปรับเปลี่ยนในกระบวนทัศน์ จุดเน้นและยุทธศาสตร์หลัก กระบวนทัศน์

"หลังสังคมฐานความรู้" พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนจาก “ผู้บริโภค”เป็น“ผู้ร่วมสร้าง” ยุทธศาสตร์หลักจึงเปลี่ยนสู่ Mass Collaboration ที่ผู้บริโภคเชื่อมต่อกันเองและทำกิจกรรมร่วมกันได้ในลักษณะเครือข่าย กระบวนทัศน์มีการปรับเปลี่ยนสู่ “การใส่ใจและแบ่งปัน” จุดเน้นเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ People Governance

2.การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการแลกเปลี่ยนและพลังขับเคลื่อน

นอกจากเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการทำธุรกรรมแล้ว ผู้คนยังปรับเปลี่ยนโดยหันมาสร้างความสัมพันธ์มากขึ้น ร่วมกันสร้างนวัตกรรมแบบเปิดระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง หรือระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิต ทั้งในกิจกรรมเชิงพาณิชย์และกิจกรรมทางสังคม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการแลกเปลี่ยนของผู้คนในสังคมยุคนี้

3.การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ และปัจจัยสู่ความสำเร็จ

ยังเป็นโลกของไซเบอร์แต่กลับมีเรื่องของจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องคล้ายกับ “สังคมเกษตรกรรม” เศรษฐศาสตร์ของโลกในยุคนี้ จึงเป็นลักษณะEconomics of Reciprocity นอกจากการแลกเปลี่ยนความรู้แล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรื่องของคุณค่าและอุดมการณ์ของความเป็นมนุษย์ ปัจจัยความสำเร็จจึงเป็นเรื่องของของการดึงศักยภาพของคนออกมาให้มากขึ้น เพื่อร่วมรังสรรค์กับผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม คุณประโยชน์จึงตกอยู่กับคนส่วนใหญ่ของสังคม

4.การเปลี่ยนแปลงในบทบาท วิถีสู่เป้าหมาย และผลผลิต

บทบาทของผู้ผลิตจะถอยลงเป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้บริโภคเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กันเองมากขึ้น เริ่มมีสินค้าหลายอย่างที่ผลิตและใช้โดยผู้บริโภคกันเอง ในลักษณะ Goods For and By Everyone

5.การเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขและรูปแบบของการทำกำไร

กำไรจะขึ้นอยู่กับการร่วมรังสรรค์ในนวัตกรรมของลูกค้า ผ่านระบบของบริษัท ยิ่งลูกค้ามีการร่วมรังสรรค์ในระบบหรือเครือข่ายมากเท่าไรก็จะเกิด Switching Cost ทำให้โอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้ระบบหรือเครือข่ายของคู่แข่งยิ่งน้อยลงเท่านั้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องตระหนักและปรับวิธีการดำเนินธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มโลกที่กำลังเปลี่ยนไป หากคิดจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบเก่าๆ ก็คงกลายเป็น “คนตกยุค” ที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้าแล้ว

Dear Khun A and Ae'

Thank you for your help and support na krab.

From

All Ph.D.3 SSRU

เรียน อจ.ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทางคุณอิ๋วได้ช่วยจัดการนัดหมายให้รุ่น 2 และ 3 ได้พบปะกันตามรายละเอียดครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล

081-840-6444

เรียน นักศึกษารุ่น 2 และรุ่น 3 ทุกท่าน

ด้วยทางโครงการ ฯ ขอประสานงานเรื่องพบปะนักศึกษารุ่น 2 และร่น 3 ซึ่งนักศึกษารุ่น 3 มีความประสงค์ขอพบปะนักศึกษารุ่น 2 เพื่อทำความรู้จัก แนะนำ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียน การทำงาน

ดังนั้นทางโครงการ ฯ ขอกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการพบปะของนักศึกษา ในวันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.00 น. ณ ห้องเรียน 2153 อาคารศรีจุฑาภา ชั้น 5 (เนื่องจากนักศึกษาทั้ง 2 รุ่น มีการเรียนในเวลา 17.00 น. เหมือนกัน)

จึงขอเรียนเชิญมา ตามวัน เวลา และสถานที่ ดังกล่าว

ขอบพระคุณค่ะ

ด้วยความเคารพ

อิ๋ว

 

เรียน ท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ค่ะ

หนูไค้นคว้าเรื่อง Creative Economy

เปิดโมเดล Creative Economy
       
        จอห์น ฮอกิ้น กูรูด้านเศรษฐกิจ และเจ้าของผลงานหนังสือ Creative Economy ชาวอังกฤษ
ได้อธิบาย เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง แนวคิดที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อภาคการผลิต บริการ ภาคการขาย หรือแม้แต่อุตสาหกรรมบันเทิง เป็นแนวคิดที่อยู่บนการทำงานแบบใหม่ ที่มีปัจจัยหลักมาจากความสามารถ และทักษะพิเศษของบุคคล "มันเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีกระบวนการนำเอาวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี่มารวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Industry ) หรือ อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม ( Culture Industry )"
       
        ปัจจุบันธุรกิจที่จัดอยู่ในข่าย อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ งานโฆษณา, สถาปัตยกรรม งานฝีมือ และการออกแบบ, แฟชั่น และเครื่องนุ่งห่ม, ภาพยนตร์ และวิดีโอ, การออกแบบกราฟิก, ซอฟท์แวร์ เพื่อการศึกษา และการพักผ่อนหย่อนใจ, ดนตรี และผลงานเพลง, ศิลปะการแสดง และบันเทิง, การเผยแพร่โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต, ผลงานทัศนศิลป์ และของเก่า งานเขียน และงานพิมพ์ต่างๆ
       
        อย่างไรก็ตาม บางครั้ง Creative Economy :CE ก็ถูกเรียกกันว่า Creative Industry :CI โดยแนวคิดนี้มีการนำไปใช้อย่างจริงจังในหลายประเทศของโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อาทิ อังกฤษ จีน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น สำหรับอังกฤษ ถือว่าเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์นี้ โดยขนาดของอุตสาหกรรมดังกล่าวของอังกฤษ คิดเป็น 7.3% ของจีดีพีทั้งประเทศ เป็นรองก็เพียงแต่ภาคการเงิน
       
        ขณะที่อัตราการเติบโตคิดเป็น 5% ต่อปี คิดเป็นสองเท่าของอุตสาหกรรมอื่นๆ และมีการจ้างงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวถึง 1.8 ล้านคน เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ รัฐบาลอังกฤษได้จัดให้มีโปรแกรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (The Creative Economy Program) ขึ้นตั้งแต่ปี 2005
       
        ในรายงานของ UNCTAD ระบุว่า อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ จัดเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญในฐานะพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับโกบอลมากขึ้น มีอัตราเฉลี่ยเติบโตประมาณ 8.7 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2000-2005 ในกลุ่มประเทศยุโรป มูลค่า สินค้า บริการได้ถูกส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 424.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็นสัดส่วน 3.4 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการค้าโลก ส่วนกลุ่มประเทศ เอเชีย คาดการณ์ว่าในอนาคตจะกลายเป็นอันดับสองของโลกในการส่งออกสินค้าประเภทความคิดสร้างสรรค์ โดยมีจีนเป็นประเทศที่ถูกจับตามากที่สุดแห่งหนึ่ง
       
        "ปัจจุบันแนวคิดเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ เป็นที่ยอมรับจากรัฐบาลของประเทศต่างๆทั่วโลก ในฐานะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต อีกทั้งยังเป็นรูปแบบเศรษฐกิจระบบใหม่ที่เปิดให้บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนบริหารเศรษฐกิจ" ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการสำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้ หรือ สบร. OKMD บอกถึงบทบาทสำคัญของ CE
       
       คน... ขุมพลังความคิดสร้างสรรค์
       
        เขาย้ำว่า สิ่งสำคัญที่สุด สำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจรูปแบบใหม่นี้ คือ การสร้างบรรยากาศ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้บุคคลมีความคิดสร้างสรรค์ ได้ใช้เป็นพื้นที่หรือแรงบันดาลใจผลงานต่างๆขึ้นมา ขณะเดียวกัน คนอีกกลุ่มที่ยังไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ก็อาจเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ หากพวกเขาได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้
       
        ทางด้าน จอห์น ยังให้ข้อคิดอีกด้วย การสร้างเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้ประสบความสำเร็จ ดังเช่นกรณีประเทศอังกฤษนั้น จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ อาทิ เสถียรภาพการเมืองมั่นคง มีความเป็นประชาธิปไตย รวมทั้งการศึกษา และความเข้าใจของคนอย่างทั่วถึง และ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ ความเป็นอิสระทางความคิด และการแสดงออก
       
        " เพราะถ้าคนเรามีอิสระที่จะตัดสินใจว่าจะทำอะไรได้ รวมถึงการทำกิจกรรมที่สามารถฝึกสมองความคิดอย่างต่อเนื่อง มันก็จะส่งเสริมให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด และกล้าแสดงออกมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ต้องฝึกขจัดความคิดไม่ดีออกไป คิดแต่เรื่องดีให้จนเป็นนิสัย ความคิดนั้นต้องมาจากที่ตนเองคิดไม่ได้ไปลอกเลียนใคร มีความหมาย และนำไปใช้ประโยชน์ได้ "
       
        ทั้งนี้โมเดลพื้นฐานสำคัญ ที่ทำให้ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์มาจากหลักการ 3 ข้อ ได้แก่ 1. ทุกคน สามารถมีความคิดสร้างสรรค์ (Everyone needs Creativity or Everyone can be Creativity ) เพราะเชื่อว่า คนเราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวตั้งแต่เด็กๆแล้ว 2. ความคิดสร้างสรรค์ต้องการอิสรภาพ ( Creativity needs Freedom ) ทั้งนี้ในสังคมที่สนับสนุนให้คนแสดงความคิด และสามารถแสดงออกได้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการศึกษา ฝึกฝน และเรียนรู้ 3. อิสรภาพความคิดสร้างสรรค์ต้องการตลาด ( Freedom needs markets ) ทั้งอิสระของความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดตลาด อันเนื่องมาจากความคิดสร้างสรรค์ได้มีการค้นคว้า ทำเป็นข้อมูลที่มูลค่าราคา และสามารถแลกเปลี่ยนนำไปใช้ประโยชน์ได้
       
        สำหรับประเทศไทย จอห์น บอกว่า ก็มีความเป็นไปได้มากที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และโรงแรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก จัดว่าทำได้ดีก็ให้มุ่งเน้นสร้างจุดแข็งอย่างจริงจัง
       
        สำหรับภาคธุรกิจ กับการนำ Creative Economy มาประยุกต์ใช้ให้ได้ผล สำหรับบุคคล จะต้องสร้างให้ตนเองมีความคิดสร้างสรรค์ก่อน ไม่ว่าในภาคอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาทิ นักโฆษณา นักสื่อสารมวลชน หรือนักสถาปนิก สำหรับธุรกิจ นั้นก็ต้องรู้จัก และเข้าใจในสิ่งที่ตนจะทำธุรกิจ อย่างรอบด้าน


ลัดดา  ปินตา Ph.D SSRU 3 084-8073320

เรียนท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านเพิ่มเติมค่ะ

จากที่ชั่วโมงเรียนของท่านอาจารย์ประกาย นั้น หัวข้อที่น่าสนใจในการทำวิจัยคือ

ปัจจัยที่ส่งต่อขีดความสามารถของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

ตัวแปรตาม ขีดความสามารถของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

ตัวแปรอิสระ

1. บุคลากรขององค์กร

1.1 ความสามารถของบุคลากร -ความรู้

-ประสบการณ์ / ทักษะ

-ทัศนคติ

1.2 แรงจูงใจของบุคลากร

2. นโยบายขององค์กร

3. สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร

หัวข้อวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ที่มีผู้จัดทำแล้ว มีตัวอย่างดังนี้

1. ประสิทธิภาพการกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์กรณีศึกษา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก โดย นางอัปสร บุญยัง ผู้วิจัย

2. ผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรในบุคลากรที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลปฏิบัติงาน กรณีศึกษา : โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดย นางอรรจนา จำปาแก้ว ผู้วิจัย

3. ภาวะผู้นำโครงสร้างองค์การและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษา:โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก โดย นพ.ละลิ่ว จิตต์การุญ ผู้วิจัย

4. บริษัทข้ามชาติกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย รองศาสตราจารย์ สุปราณี ศรีฉัตราภิมุข หัวหน้าโครงการวิจัย

5. เรื่องบทบาทและศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการเสริมสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดย นายสมชาย สุขสิริเสรีกุล ผู้วิจัย

6. การศึกษารูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะทางสำหรับบุคลากรผู้ใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการผลิต โดย นายแมนฤทธิ์ บุญเย็น ผู้วิจัย

7. หัวหน้าโครงการวิจัย “คุณลักษณะและขีดความสามารถของข้าราชการไทยใน 10 ปีข้างหน้า” สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2551) โดย ดร. สมบัติ กุสุมาวลี หัวหน้าโครงการวิจัย

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา

โทร.081-309-5959

SSRU. Ph.D. รุ่น 3

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
ดิฉันและผอ.สมศรี เต็มอนุภาพกุล ได้ค้นคว้าเรื่องของการพัฒนาวิธีคิดสร้างสรรค์ ของ กิลฟอร์ด
( Guilford ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันและคณะ กิลฟอร์ด ได้พัฒนาแนวคิดขึ้น 2 ประเภท คือ
1. ความคิดรวมหรือความคิดเอกนัย ( Convergent Thinking ) หมายถึงความคิดที่นำไปสู่คำตอบที่ถูกต้องตามสภาพข้อมูลที่กำหนดเพียงคำตอบเดียว
2. ความคิดกระจายหรือความคิดอเนกนัย ( Divergent Thinking ) หมายถึงความคิดหลายทิศทางที่สามารถเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาได้ตลอดจนการนำไปสู่ผลิตผลของความคิดหรือคำตอบได้หลายอย่างด้วย กิลฟอร์ดกล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์คือความคิดอเนกนัยนั่นเอง
โครงสร้างของความคิดสร้างสรรค์ มี 3 มิติ คือเนื้อหา วิธีการ และผลของการคิด ส่วนองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ต้อง มี 4 ส่วน ต่อไปนี้
1. ความคิดคล่องแคล่ว ( Fluency ) หมายถึงการคิดตอบสนองได้รวดเร็วและมากที่สุด
2. ความคิดยืดหยุ่น ( Flexibility ) หมายถึงความสามารถในการปรับสภาพของความคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
3. ความคิดริเริ่ม ( Originality ) หมายถึงความสามารถในการคิดแปลกใหม่
4. ความคิดละเอียดลออ ( Elaboration ) หมายถึงความสามารถมองเห็นรายละเอียดที่
คนอื่นมองไม่เห็น
ประเภทของความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดกิลฟอร์ด
1. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการเปลี่ยนแปลง ( Innovation ) คือแนวคิดที่เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นเช่น ทฤษฎีใหม่ การประดิษฐ์ใหม่
2. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการสังเคราะห์ ( Synthesis ) คือการผสมผสานแนวคิดจากแหล่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แล้วก่อให้เกิดแนวคิดใหม่อันมีคุณค่า
3. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการต่อเนื่อง ( Extention ) เป็นการผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์ประเภทการเปลี่ยนแปลงกับความคิดสร้างสรรค์ประเภทการสังเคราะห์คือเป็นโครงสร้างหรือกรอบที่กำหนดไว้กว้าง ๆ แต่ความต่อเนื่องเป็นรายละเอียดที่จำเป็น
4. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการลอกเลียน ( Duplication ) เป็นลักษณะการจำลองหรือลอกเลียนจากความสำเร็จอื่น ๆ
กระบวนการคิดสร้างสรรค์
ขั้นที่ 1 ค้นพบปัญหา
ขั้นที่ 2 เตรียมการและรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์
ขั้นที่ 4 ฟูมฟักความคิด
ขั้นที่ 5 ความคิดกระจ่างชัด
ขั้นที่ 6 ทดสอบความคิด
ประมวลมาจากการคิดสร้างสรรค์ของ Torrance,1965 Wallach, 1962 Osborn, 1957 Anderson, 1957 Jungs, 1963
ขอแสดงความนับถือ
นางจิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359
นางสมศรี เต็มอนุภาพกุล 081-755-6338

พี่ เพื่อนๆ ทุกคน

สวัสดีค่ะทุกคน นาได้เก็บสิ่งดีดีจากเวทีการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทย ร่วมกับคณะที่ปรึกษาสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของพวกเรา

ซึ่งจะนำเสนอ ทั้งหมด 6 ตอน แต่ละตอนอยากให้พี่ๆ เพื่อนทุกคนแสดงความคิดเห็นด้วยนะค่ะ รวมถึงผู้ที่สนใจจะเข้ามาร่วมเสนอความคิดเห็น เพื่อนจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติของเรา

6 กลยุทธ์ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่ 1)

เพื่อแก้ไขความไม่สมดุลของทรัพยากรมนุษย์ในการสนองการพัฒนาประเทศเชิงการเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม คลอดจนการดำรงชีพที่มีสุขภาพและปลอดภัย การพัฒนาคนควรเร่งการสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทโนโลยีไหม้มีมากขึ้น นอกจากนี้ควรเน้นการจัด วางระเบียบ และปรับวัฒนธรรมไทยใหม่ โดยเฉพาะความคิดและจริยธรรมให้ถูกต้องซึ่งต้องเริ่มปลูกฝังความคิดตั้งแต่อนุบาล ทั้งนี้โดยมีการศึกษา และปรับแก้ไขจุดอ่อนของคนไทยที่ทำให้ประเทศไทยไม่พัฒนา ทั้งๆ ที่ความจริงคนไทยฉลาดสามารถแข่งขันได้ทัดเทียมประเทศที่เจริญแล้ว แต่ไม่สามารถทำให้ประเทศไทยเจริญได้

1.กลยุทธ์การศึกษาครั้งเดียวได้ความรู้ ความชำนาญพร้อมกัน

ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสามารถเข้ารับการศึกษาในสายวิทยศาสตร์และเทคโนโลยีตามความถนัดของแต่ละบุคคล และความต้องการของตลาดอย่างเหมาะสม นอกจานั้นยังต้องเพิ่มเรื่องภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ โดยภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมกันกำหนดสาขาและจำนวน พร้อมทั้งสัดส่วนที่เป็นความต้องการของประเทศ โดยรัฐและเอกชนจะร่วมกันสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีและด้านการเงิน

1.1) เน้นการพัฒนาความสามารถให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของชาติในอนาคต คือให้ความสำคัญอันดับแรกแก่ สาขาเกษตรอุตสาหกรรม และบุคลากรทางการแพทย์

1.2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสามารถเข้ารับการศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความถนัดของแต่ละบุคคลและความต้องการของตลาดอย่างเหมาะสม

1.3) ส่งเสริมทักษะแรงงานด้านภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้

ทักษิณานันท์

080-6148578

พี่ เพื่อนๆ ทุกคน

กลยุทธ์ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่ 3)

3.การฝึกอบรมในหน่วยงานราชการและเอกชน

1) การฝึกอบรมในองค์กรหรือภายในหน่วยงานเป็นสิ่งที่รัฐและธุรกิจเอกชนจะต้องลงทุนจริงจังและต่อเนื่องทั้งเชิงลึก เชิงกว้าง และเชิงบูรณาการอย่างกว้างขวางให้ทันสมัยกับหรือก้าวหน้าไปกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันพร้อมทั้งสร้างให้บุคลากรดังกล่าวให้มีจินตนาการทั้งเชิงลึกและกว้างเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นบุคลากรจะล้าหลังทำให้ไม่สามารถจะแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ได้

2)ส่งเสริมทักษะแรงงานด้านภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ รวมถึงการต่อยอดความรู้ของแรงงานในทุกระดับอาชีพ

3) จัดประชุมวิชาการระดับหน่วยงานระหว่างหน่วยงานในประเทศและระดับนานาชาติ ทั้งภาครับและเอกชน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

ทักษิณานันท์

080-6148578

พี่ เพื่อนๆ ทุกคน

กลยุทธ์ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่ 4)

4กำจัดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและส่งเสริมนักวิชาการ

กฎระเบียบใดที่เป็นอุปสรรคควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วนเช่น อัตราเงินเดือนที่เท่ากัน ไม่ว่าจะจบมาจากสถาบันใดก็ตาม จะต้องมีเป้าหมายอย่างชัดเจนในการสร้างมูลค่าเพิ่มและความเป็นเลิศทางวิชาการ

ทักษิณานันท์

080-6148578

พี่ เพื่อนๆ ทุกคน

กลยุทธ์ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่ 5)

5.พัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

ประเทศไทย ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ เมื่อเทียบกับมาตรฐานของนานาชาติได้แก่ สาขาอาชีวะ เศรษฐศาสตรืการเงิน บัญชีประกันภัย และโลจิสจิกส์ ซึ่งมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารมืออาชีพและผู้กำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศ จึงจำเป็นต้องดำเนินการ ดังนี้

1) เร่งสนับสนุนและให้แรงจูงใจในการผลิตบุคลากรในสาขาทางอาชีวะ เศรษฐศาสตร์การเงิน บัญชี ประกันภัย และโลจิสจิกส์ เพื่อพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

2)เร่งพัฒนทักษะ และความสามารถของครู อาจารย์ ในกระบวนการสอน และถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน และนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ทักษิณานันท์

080-6148578

พี่ เพื่อนๆ ทุกคน

กลยุทธ์ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ตอนที่ 6)

6. กลยุทธ์การสร้างค่านิยมใหม่ในการสร้างทุนมนุษย์

1) ต้องสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นขยันทำงานหนักมีวินัยสูงทำงานอย่างชาญฉลาดและทำงานอย่างมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ (ให้มีมูลค่าของผลิตภาพอย่างน้อยสัก สามเท่าในอีก 10 ปีข้างหน้าเพื่อรองรับสังคมสูงอายุและการแข่งขันและความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจที่นับวันจะมีความรุนแรงและรวดเร็วมากเป็นทวีคูณ) ซึ่งจะทำได้ก็จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง การศึกษา จะต้องเป็นการลงทุนที่ต่อเนื่องตลอดเวลา (life Long Learning ) พร้อมทั้งเข้าใจและอ่านทิศทางของกระแสเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ได้อย่างถูกต้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรองรับการเป็นคนสูงอายุที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการผลิตมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขเป็นการรองรับและเสริมความเข้มแข็งให้กับสังคมผู้สูงอายุในเวทีการแข่งขันโลกได้เป็นอย่างดี กฎระเบียบในการเกษียณอายุ 60 ปี ในขณะนี้อาจจะไม่เหมาะสมแล้วก็ได้ การที่ปล่อยให้คนที่มีความรู้ความสามารถจำนวนไม่น้อยเกษียณอายุออกไปทั้งๆที่ ยังมีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้ความสามารถเป็นการสูญเสียใหญ่หลวง ซึ่งระบบเช่นนี้ในต่างประเทศได้ติดตั้งใช้การไปแล้วหลายประเทศ ศาสตราจารย์หลายคนทำงานต่อเนื่องตลอดจนอายุเกิน 80 ปี และมีนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ

2) ส่งเสริมการเรียนรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและสร้างค่านิยมสู่ความเออาทรและสมานฉันท์ เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและเป็นรากฐานในประเทศอย่างยั่งยืน

ทักษิณานันท์

080-6148578

กฎ 13 ข้อของ John C. Maxwell VS กฎ 13 ข้อของ จีระ หงส์ลดารมภ์

1. Belief lifts your talents = ความเชื่อยกระดับพรสวรรค์ของคุณ

2. Passion energizes your talents = ความกระตือรือร้นทำให้พรสวรรค์ของคุณมีพลัง

3.Initiative activates your talent=การริเริ่มต้นกระตุ้นพรสวรรค์ของคุณ

4. Focus directs your talents = มุ่งมั่นช่วยพรสวรรค์ของคุณ

5. Preparation positions your talent = การเตรียมตัวช่วยพรสวรรค์ของคุณ

6. Practice sharpens your talent = การฝึกฝนทำให้พรสวรรค์ของคุณแหลมคมมากขึ้น

7. Perseverance sustains your talent = ความพยายามอดทนจะรักษาพรสวรรค์ของคุณ

8. Courage tests your talent = ความกล้าหาญทดสอบพรสวรรค์ของคุณ

9. Teach ability expands your talent = ความสามารถในการสอน/ถ่ายทอดช่วยขยายพรสวรรค์ของคุณ

10. Character protects your talent = อุปนิสัยลักษณะปกป้องพรสวรรค์ของคุณ

11. Relationships influence your talent = ความสัมพันธ์ที่ดีมีอิทธิพลต่อพรสวรรค์ของคุณ

12. Responsibility strengthens your talent = ความรับผิดชอบทำให้พรสวรรค์ของคุณแข็งแรงขึ้น

13.Teamwork multiplies your talent = การทำงานเป็นทีมทำให้พรสวรรค์ของคุณเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

1. Hard work = ทำงานหนัก/ยาก

2. Discipline = มีการฝึกฝน/มีวินัย

3.Inspiration = มีแรงบันดาลใจ

4.Moderation = เดินสายกลาง

5.Patience = มีความอดทน

6.Love = มีความรัก

7.Caring = มีความห่วงใยใส่ใจ

8.Creativity = มีความคิดสร้างสรรค์

9.Innovation = มีนวัตกรรม

10.Emotional = รู้จักควบคุมอารมณ์

11.Spiritual = ทำด้วยจิตวิญญาณ

12.Luck = โชค

13.Happiness = ทำด้วยความสุข

2 ตารางนี้ก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้น้องนกได้คิดต่อ หรือใครก็ได้ไม่ว่าจะวงการกีฬาหรือวงการบันเทิงที่มีพรสวรรค์และสามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างสมบูรณ์ โดยนำเอาหลักการนี้ไปใช้

ส่วนของฝากจากอังกฤษอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระหว่างที่อยู่อังกฤษ ผมได้อ่านหนังสือชื่อ ''Winning Mind'' ของ Sebastian COE

ซึ่งเป็นอดีตนักกีฬากรีฑาทีมชาติเหรียญทองโอลิมปิกของอังกฤษ ขอนำข้อสรุปมาฝาก ที่เน้นคำว่า ''Winning Mind'' เพราะ

* Coe ได้ทำอะไรสำเร็จหลายๆ เรื่อง

* เป็นนักกีฬาเหรียญทอง, เป็นนักการเมือง, เป็นนักธุรกิจ

* ได้รับมอบให้เป็นประธานคณะกรรมการของโอลิมปิกอังกฤษที่เสนอตัวชิงชัยจนอังกฤษได้เป็นเจ้าภาพ 2012 อย่างเฉียดฉิว เมื่อ 5 ปีที่แล้วที่สิงคโปร์ ทำเอาฝรั่งเศสเพราะคะแนนนำมาตลอด มาแพ้อังกฤษในช่วงโค้งสุดท้าย

* ได้รับเกียรติจากสมเด็จพระราชินีอังกฤษให้เป็น Lord Coe ด้วย

ผมเข้าใจว่าหนังสือเล่มนี้ใหม่มากยังไม่มีขายที่ร้านหนังสือ Kinokuniya Coe เน้นหลายเรื่องน่าสนใจ เพราะเขาเขียนจากความจริงจากประสบการณ์ของเขา หนังสือเล่มนี้ถ้าจะสั่งซื้อจาก Internet น่าจะได้

จริงๆ แล้วเน้นเรื่องภาวะผู้นำซึ่งผมเคยเรียนคุณระวิไปว่า พนักงานของ ''สยามกีฬา'' ทุกคนควรจะได้รับการฝึกเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งคุณระวิก็ให้ความสนใจอยู่อย่างมาก เคยเชิญ อ.สุขุม นวลสุกุล มาร่วมงานอยู่แล้ว และในอนาคต ''สยามกีฬา'' ก็จะสร้างผู้นำตั้งแต่เยาวชน หันมาสนใจเรื่องอื่นที่ไม่ใช่จากกีฬา ในที่สุดก็ช่วยให้เกิดสังคมที่สันติสุข มีความสุข สมดุล ปราศจากยาเสพติด และลดความขัดแย้งในสังคม

มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ คือ Coe เอาการกรีฑา (วิ่ง) 1,500 เมตร มาเป็นปรัชญาทางการวิเคราะห์ และพัฒนาผู้นำ คือ

* ต้องมี Vision ก่อนว่าต้องการอะไร

* ต้องมี Goal คือ เป้าหมายอาจจะเล็กๆ แต่สำเร็จก็อาจจะนำไปสู่จุดหมายใหญ่ได้

* เริ่มต้นจากกรีฑา คือ เริ่มวิ่งแต่ในชีวิตจริงคงอาจจะมี Vision แต่ต้องมี Action ด้วย

* ระหว่างที่วิ่งออกไปก็ต้องควบคุมการวิ่งให้อยู่ในระดับที่พอใจ มุ่งมั่น

* และสุดท้ายช่วงก่อนจะถึงเส้นชัย ต้องเร่งหรือใช้ยุทธวิธีที่นำไปสู่ชัยชนะให้ได้ ซึ่งการเป็นผู้นำก็เรียนรู้ได้จากนักกีฬา ไม่ต้องไปเรียนในตำรา บางมหาวิทยาลัยสอนเรื่องผู้นำแต่ไปลอกตำราฝรั่งมา

หรือถ้าในหนังสือ ''ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้'' ของผมกับคุณพารณ ท่านเน้น

Plan = วางแผน

Do = ลงมือทำ

Check = ตรวจสอบ/ปรับปรุง

Act = ทำให้สำเร็จ

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

0863517928

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
ดิฉันและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาโรงเรียนไทรน้อย นายทวีศักดิ์ คงกะพัน ได้ตระหนักว่าทุนมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญอันหนึ่งในกระบวนการผลิต เฉกเช่นเดียวกับจำนวนแรงงาน ที่ดิน เงินทุน และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ แต่ทุนมนุษย์มีข้อได้เปรียบปัจจัยการผลิตชนิดอื่น ตรงที่มันสามารถถูกสะสมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด นอกจากนั้นการสะสมทุนมนุษย์ไม่มีค่าเสื่อม แต่กลับจะยิ่งเอื้อต่อการสะสมทุนมนุษย์ให้มีมากขึ้นไปอีกในอนาคต
การเพิ่มทุนมนุษย์ยังถือเป็นการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน โดยการพัฒนาทักษะฝีมือของแรงงานจะเป็นการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างถาวรให้กับแรงงานเหล่านั้น นอกจากนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์ยังถูกยกให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางด้านรายได้ เนื่องจากการพัฒนาทุนมนุษย์ในผู้คนกลุ่มหนึ่งจะทำให้อุปทานของแรงงานมีทักษะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จะลดอุปทานแรงงานด้อยทักษะลง ซึ่งจะส่งผลให้ค่าจ้างของแรงงานมีทักษะในสังคมปรับตัวลดลง ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานด้อยทักษะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น นั่นก็คือการที่ค่าจ้างแรงงานของผู้คนในสังคมปรับตัวเข้าใกล้กันมากขึ้นนั่นเอง
ด้วยความสำคัญทางเศรษฐกิจในหลากหลายประการ จึงไม่น่าแปลกใจที่แวดวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ของโลก จะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก ก็ถือเป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งให้ความสำคัญอย่างจริงจัง กับหัวข้อของการพัฒนาทุนมนุษย์นี้ โดยบทบรรยายชิ้นหนึ่งของเขา ได้กล่าววิจารณ์นโยบายการพัฒนาทุนมนุษย์ ของประเทศสหรัฐอเมริกาไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนจะขอนำเอาข้อคิดส่วนหนึ่งของบทบรรยายดังกล่าว มาถ่ายทอดให้สังคมไทยได้รับทราบในบทความนี้
เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าการพัฒนาทุนมนุษย์มักจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบการศึกษาของประเทศ โดยการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ล้มเหลวของประเทศหนึ่ง มักจะถูกใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงความล้มเหลว ของระบบการศึกษาในประเทศนั้นๆ ดังนั้นนโยบายปฏิรูปการศึกษา การปรับเปลี่ยนรูปแบบหลักสูตร การลดจำนวนนักเรียนต่อครูหนึ่งคน หรือการเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวของเด็กนักเรียน จึงมักจะถูกหยิบยกขึ้นมา เป็นประเด็นถกเถียง เมื่อเกิดปัญหาคุณภาพของแรงงานในสังคมต่างๆ
นอกจากนั้นปัจจัยที่กีดกันการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็ก ก็มักจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกให้ความสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยดังกล่าวจะรวมไปถึงการขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อใช้ในการศึกษา การขาดแคลนแรงงานภายในครัวเรือน หรือความบกพร่องในการรับรู้ถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการศึกษา เป็นต้น นโยบายให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ทุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจน หรือนโยบายเรียนฟรีภายใต้โรงเรียนสังกัดภาครัฐภายในท้องถิ่น จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้
ในระดับหนึ่งนโยบายเหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ แต่การวิเคราะห์ถึงปัญหาเหล่านี้ มักจะยังมองข้ามประเด็นสำคัญหลายประการ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ก็อาจจะทำให้รูปแบบของนโยบาย ในการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับประเทศ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก
ใน ประการแรก นั้น กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นกระบวนการที่ดำรงอยู่ตลอดชีวิต มันมิได้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเข้าศึกษาภายในโรงเรียน แต่มันตั้งต้นมาตั้งแต่เด็กเริ่มลืมตาดูโลก โดยสิ่งแวดล้อมภายในบ้านจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของเด็กในช่วงนี้ นอกจากนั้นกระบวนการเรียนรู้ก็มิได้มีจุดจบภายหลังจากสำเร็จการศึกษา การพัฒนาทุนมนุษย์ ยังเกี่ยวพันกับการพัฒนาทักษะฝีมือในที่ทำงาน ไปจนถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมากมายภายหลังจากจบการศึกษา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความล้มเหลวในการพัฒนาทุนมนุษย์อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ มิใช่แต่เพียงปัญหาในระบบการศึกษา โดยความล้มเหลวดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งสิ่งแวดล้อมในครอบครัวอาจจะทำให้เด็กไม่มีแรงจูงใจในการใฝ่หาความรู้หรือพัฒนาความคิด หรืออาจจะเกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำงาน ซึ่งการขาดกระบวนการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง หรือการคุ้มครองการจ้างงานที่สูงเกินไปก็อาจจะทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์ขาดช่วงไป
ดังนั้นนโยบายในการพัฒนาทุนมนุษย์จึงควรจะมุ่งส่งเสริมกระบวนการภายนอกระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงเด็กก่อนวัยเรียน เนื่องจากการศึกษาเปรียบเทียบ รายงานวิจัยหลายงานให้ข้อสรุปว่า ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จากนโยบายพัฒนาทุนมนุษย์ของเด็ก ในช่วงนี้จะอยู่ในระดับสูงที่สุด และอาจจะสูงกว่าการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงชีวิตอื่น รวมทั้งการพัฒนาในช่วงวัยเรียนหลายเท่าตัว
โดยผลตอบแทนที่สูงขึ้นนี้เกิดจากการที่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากนโยบายดังกล่าวที่ยาวนานที่สุด และนอกจากนั้นการพัฒนาทักษะ แรงจูงใจในการศึกษา ความรู้ ความคิด ก็ยิ่งก่อให้เกิดพัฒนาการต่างๆ ในด้านเหล่านี้เพิ่มเติมขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งส่งเสริมให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ของการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงนี้ สูงมากขึ้นเป็นลำดับ
นอกจากการมองการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องมีอยู่ตลอดชีวิตแล้ว ในประการที่สอง การวิเคราะห์ถึงผลตอบแทนจากการพัฒนาทุนมนุษย์ ก็มิควรเจาะจงอยู่แต่เพียงผลลัพธ์ทางการพัฒนาในระดับสติปัญญาแต่เพียงเท่านั้น มีส่วนประกอบอีกหลากหลายที่จะช่วยส่งเสริมให้การทำงานของแรงงานมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น นอกเหนือไปจากสติปัญญาของพวกเขา
สิ่งเหล่านี้ประกอบด้วยจริยธรรมในการทำงาน ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะทางสังคม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถสร้างเสริมได้ง่าย ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเสริมสติปัญญา แต่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาสติปัญญาดังกล่าว
ถ้าหากผลตอบแทนในด้านต่างๆ เหล่านี้ถูกคิดรวมเข้าไปในนโยบายการพัฒนาทุนมนุษย์ กระบวนการพัฒนานอกเหนือจากระบบการศึกษาจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นไปอีก และจะยิ่งตอกย้ำความสำคัญของกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงเด็กก่อนวัยเรียน รวมไปถึงบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองและสภาพแวดล้อมภายในและรอบๆ บ้าน มากยิ่งขึ้น
และใน ประการสุดท้าย เราก็ควรจะมีความเชื่อถือในความฉลาดของพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการเลือกสถานศึกษาที่เหมาะสมที่สุด ให้กับเด็ก นั่นคือสถานศึกษาต่างๆ ควรจะมีอิสระจากการควบคุมดูแลจากรัฐบาลมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการให้ความเคารพต่อการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ เช่น การเรียนกับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือการศึกษานอกโรงเรียนมากยิ่งขึ้น
มีหลักฐานงานศึกษาที่ชี้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะสามารถแยกแยะสถานศึกษา (หรือวิธีการศึกษา) ที่ดีออกจากส่วนที่ไม่มีคุณภาพได้ ถ้าพวกเขามีประสบการณ์จากการเลือกอย่างอิสระมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนอีกประการหนึ่งที่ชี้ว่า การแข่งขันก่อให้เกิดการพัฒนาในคุณภาพของสถานศึกษา ซึ่งหลักฐานนี้จะยิ่งชัดเจนขึ้นอีก ถ้าหากนำไปเปรียบเทียบกับระบบการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมมากมาย แต่กลับไม่มีการพัฒนาคุณภาพมากนัก และนอกจากนั้นยังมีหลักสูตรการศึกษาห่างไกลจากสังคม และความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นไปทุกทีด้วย
ด้วยความเคารพอย่างสูง
นางจิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359
นายทวีศักดิ์ คงกะพันธ์ 085-901-5175

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขออนุญาตคุยกับท่านอาจารย์ต่อนะคะ หยุดไป 2 วัน เนื่องจากหนูต้องมาบรรยาย วิชาการให้กับสำนักผู้ตรวจราชการเขต 4 เรื่องโรคไม่ติดต่อ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2552 ที่โรงแรมอมารีแอร์พอร์ท ( Amari Hotels ) ดอนเมือง แล้วต่อในวันที่ 15 – 17 กรกฎาคม 2552 ที่โรงแรม Rama Gardens หนูได้รับเชิญมาบรรยายและแสดงนิทรรศการของทีมงานของหนู เป็นตัวแทนของโรงพยาบาลบ้านลาด เรื่อง “ คลินิกวัยใส..สายใย..เพื่อวัยรุ่น ” และวันที่16 กรกฎาคม (วันนี้)หนูจะบรรยายร่วมกับภาคีเครือข่าย(Network)ที่ทำงานกับวัยรุ่น และหนูจะบรรยายเกี่ยวกับFunctionที่หนูได้ทำในรพ.บ้านลาด ทีมที่บรรยายประกอบด้วยมาจาก รพ.รามาธิบดี, สำนักงานสาธารณสุข จ.สุพรรณบุรี, อบต.จากจ.มหาสารคาม, จากรพ.บ้านลาด(ตัวหนู)และประธานเยาวชนของประเทศไทย(น้องน้ำเต้า)มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 250 คน มีผู้ใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุขและแพทย์หลายคนมาพูดในวันแรก โดย มี รมช.ว่าการของกระทรวงสาธารณสุข มาเปิดงานและได้แวะเยี่ยมชม “บูทนิทรรศการของโรงพยาบาลบ้านลาด” หนูได้บรรยายให้ท่าน รตช.ทราบถึง “คลินิกวัยใสสายใยเพื่อวัยรุ่น” ของหนูว่า คืออะไร? ทำอย่างไร? มีมูลเหตุจูงใจอะไรที่ต้องทำ ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น หนูจำได้ว่าสมัยที่เรียนป.โท ที่ NIDAกับอาจารย์ท่านหนึ่งเคยกล่าวถึงคำพูดของ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ เคยพูดว่า คุณภาพชีวิตคนที่ท่านอยากจะเห็นและอยากให้เป็นไปได้ในอนาคต คือ “คนในสังคม ไทยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี”จะเกิดได้นั้น “ต้องเริ่มตั้งแต่ครรภ์มารดา..ถึงเชิงตระกอน” พอพูดถึงคุณภาพชีวิตของคนไทยจะเทียบได้กับทฤษฎี 8K’s ของท่านอาจารย์จีระนั้นคนไทยจำนวน 63 ล้านคนในเวลานี้ ตามความคิดของหนูนั้น คิดว่าตอนนี้คนไทยโดยภาพรวม ในเรื่องโครงสร้างอายุพบว่ามีปัญหา 2 กลุ่มใหญ่ ๆคือกลุ่มเด็ก(โดยเฉพาะวัยรุ่น) และวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากโครงสร้าง “ด้านอายุ” ของประชากรเปลี่ยนแปลงไป พบว่าจำนวนการของทารกมีจำนวนการเกิดน้อย(เด็กทารก) เนื่องจากใช้วิธีการคุมกำเนิดได้ผลตามวัตถุประสงค์ ขณะนี้การแพทย์และสาธารณสุขของเมืองไทยดีขึ้นกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้สถิติของผู้สูงอายุจะมีมากขึ้นขณะที่อัตราการเกิดของทารกลดลง หนูมองประเด็นนี้ว่า “ผู้สูงอายุกับการจัดการด้านสุขภาพ” (Health Management ) ต้องมีการออกแบบระบบ( Design) การวางแผน(Plan) นำแผนสู่การปฏิบัติ(Implement) ประเมินผล( Evaluate)ไว้ในระยะยาว ….ในอนาคต เพราะผู้สูงอายุจะมีมากขึ้น ขณะที่เด็กเกิดน้อยลง หนูและทีมงาน (Teamwork) มีหน้าที่ดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่ แรกเกิด….เด็กเล็ก…จนถึงผู้สูงอายุ หนูคิดว่าวันนี้หนูจะคุย และวิเคราะห์เรื่อง “คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ(Quality of life)กับ…อาชีพปีนต้นตาล” โดยใช้ ทฤษฎี 8K’s ก่อนนะคะแล้วตามด้วย ทฤษฎี 5K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม (C2M หนูตั้งใหม่เพื่อจำได้ง่าย ๆๆๆๆๆๆคะ) + ทฤษฎี 4L’ ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่สามารถแบ่งมองได้ 2 มิติ คือ

มิติที่1เขาเหล่านั้น เป็นผู้มีประสบการณ์ดั้งเดิม(Experience) ที่ผู้สูงอายุสะสมมาตลอดชั่วชีวิตเช่น ผู้สูงอายุในอำเภอบ้านลาด เขาจะมีความเชี่ยวชาญในการปีนขึ้นต้นตาล โดยเขาเหล่านั้นจะตื่นแต่เช้าตรู่ ออกจากบ้านเช้ามืดไป “กรีดงวงตาล” แล้วทิ้งให้น้ำตาลไหลลงกระบอกไม้ไผ่ทิ้งระยะเวลาไว้ต้นละ 2 ชั่วโมงต่อต้น พอถึงเวลาก็จะปีนขึ้นไปเก็บน้ำตาลลงมาจากต้น จากนั้นจะนำไปเคี่ยวด้วยเตาไฟ เปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นน้ำตาลปึก การเก็บผลผลิตน้ำตาลสดสามารถเก็บได้ในช่วงเวลา 3 - 4 เดือนเท่านั้น เพราะเมื่อถึงฤดูฝนก็จะไม่สามารถเก็บน้ำตาลได้อีกแล้ว และจะเข้าสู่ฤดูทำนาข้าว จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุผู้สูงอายุเหล่านี้เป็นทุนทางมนุษย์(Human Capital)ที่มีองค์ความรู้เดิมสั่งสม มานานเพราะหนูถามคุณลุงที่ทำอาชีพปีนต้นตาล ว่าทำมากี่ปีแล้ว เขาเล่าว่า “ขึ้นตาล”ตั้งแต่อายุ 15-16 ปี(ภาษาพูดของคนเมืองเพชร)ปัจจุบันอายุ 62 ปีแล้ว แสดงว่าขึ้นตาลเพื่อเก็บน้ำตาลสดมา 47 ปี หนูคิดว่านี่คือ Skill Knowledge + กับ เป็น Talented Capital ของคุณลุงเขา(ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่านะคะ? ) เพราะต้นตาลเมืองเพชรบุรี เป็นต้นไม้ที่มีความสูงมาก ถ้าใครไม่มีทักษะ ไม่มีความรู้ที่สั่งสมประสบการณ์มานาน ๆ ก็คงจะตกต้นตาลและไม่สามารถ อดทนกับความเสี่ยง (Risk)ที่ต้องปีนขึ้นที่สูง ๆ ได้ แต่ชาวบ้านมี Creative Thinking มีวิธีการขึ้นต้นตาลแบบพิเศษ โดยเขาจะนำบันไดพาดเวลาขึ้นต้นตาล เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า “พะอง” ทำจากไม้ไผ่ ซึ่งมีความยาวพอ ๆ กับความสูงของต้นตาล ใช้ไม้ไผ่ที่ยาวและมีกิ่งต่อไผ่ใช้สำหลับเหยียบขึ้นไปได้ง่าย สะดวกเป็นไม้ไผ่ต้นเดียว สิ่งเหล่านี้หนูคิดว่าเป็นทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางปัญญาที่เขามีมา + กับทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ที่ชาวบ้าน เมืองเพชรบุรีได้สร้างขึ้นจากสิ่งที่มีในหมู่บ้านชนบทแบบไทย ๆ วิเคราะห์ได้กับทฤษฎี 5K’s ของท่านอาจารย์ จีระได้ไหมคะ? + กับทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่มีความสามารถในการมองหาและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ไม้ไผ่ที่ยาวพอ ๆ กับลำต้นตาล มาประยุกต์ใช้ (Appropriate)กับการขึ้นปีนต้นตาลเพื่อขึ้นไป “กรีดงวงตาล” เพื่อเก็บน้ำตาลสด

หนูกำลังสื่อสารกับ ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ ในแนวคิดที่ว่า “ภูมิปัญญาพื้นบ้านโดยปีนต้นตาลเป็น “ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)อย่างหนึ่ง” แต่หนูคิดว่าทุนทางวัฒนธรรมตัวนี้ จะกำลังจะเกิดปัญหาในอนาคต เพราะคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไม่ได้สนใจเรื่อง “ปีนต้นตาล” ไม่สนใจการอนุรักษ์อาชีพดั่งเดิม (วัฒนธรรมด้านอาชีพ) คนรุ่นใหม่ไม่สนใจอาชีพนี้ แต่กลับไปสนใจอาชีพภาคอุตสาหกรรม ที่อำเภอเขาย้อยและยกเป็นอำเภอที่ได้รับการยกเลิกให้เป็นเขต “อุตสาหกรรม” ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ ละทิ้งอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ไปเป็น “หนุ่มสาวโรงงาน” ไปเป็น “มนุษย์โรงงาน” หนูคิดว่าในอนาคตไม่น่าจะเกิน 20 ปีข้างหน้า เมื่อคนรุ่นเก่าหมดอายุไขไปแล้ว หนูมีความรู้สึกเป็นห่วง เสียดายทุนทางวัฒนธรรมในการปีนต้นตาลเพื่อเก็บน้ำตาลสดที่เป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมมานาน เป็นวิถีชีวิต(Life style)ของชุมชน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น(Local Wisdom) เป็นความรู้ (Knowledge) เป็นภูมิหลังของชุมชน โดยเฉพาะอำเภอบ้านลาดที่มีต้นตาลมากมาย

ผู้สูงอายุในมิติที่ 2 ในฐานะทุนมนุษย์ที่ควรเรียนรู้ ศึกษาวิถีชีวิต+ประสบการณ์ หนูคิดว่าผู้สูงอายุ (ในชนบทอำเภอบ้านลาด) ซึ่งโรงพยาบาลบ้านลาดของหนูตั้งอยู่เป็นทุนทางมนุษย์ ที่มีลักษณะ Intellectual Capital เพราะผู้สูงอายุมีความสามารถในการวิเคราะห์เป็นคือวิเคราะห์ว่าจะขึ้นต้นตาลอย่างไรถึงจะปลอดภัย ไม่ตกต้นตาล เป็นการคิดวิเคราะห์ (Analysis Thinking) เพื่อคุณภาพชีวิตของตนเองและของคนในครอบครัว ขณะเดียวกันทุนทางปัญญาในการขึ้นไปเก็บน้ำตาลและสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) คือนำน้ำตาลที่เก็บได้ไปประยุกต์จากน้ำตาลสดไปทำขนมหวาน นำมาสู่ การเพิ่มรายได้ (Value Added) เสริมอาชีพหลักจากทำไร่ ทำนา ทำสวน หนูคิดว่าทุนทางปัญญาในตัวผู้สูงอายุนั้นเป็นการแสดงพฤติกรรมออกโดยที่ ผู้สูงอายุที่ “คิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้จักใช้ความรู้และประสบการณ์และนำความรู้ต่าง ๆ มา Create หรือวิเคราะห์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม” ตัวอย่างเช่น ขนมตาลที่ทำจากลูกตาลสุก นำมาห่อด้วยใบตาลอ่อน (คล้าย ๆ กับขนมถ้วยฟู) ทำน้ำตาลปึกที่ทำจากน้ำตาลสดจากงวงต้นตาลซึ่งต่างจากน้ำตาลปึกจากจังหวัดสมุทรสงครามที่ทำน้ำตาลปึกจากต้นมะพร้าว ขนมที่ทำจากน้ำตาลมีมากมายหลายชนิด ซึ่งถือว่าโชคดีของคนเมืองเพชรบุรีที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติ (ต้นตาล)ที่มีมากมาย แต่สิ่งที่หนูคิดกังวลในอนาคต (คิดเอง กังวลเอง) คือ รู้สึก (ส่วนตัวว่า) จะทำอย่างไร?? กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(Local Wisdom)ในการปีนต้นตาลเพื่อเก็บน้ำตาลสดจากต้นตาล แล้วนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)จะยังคงอยู่คู่เมืองเพชรบุรีในกลุ่มชน คนรุ่นหลังที่จะมารับช่วงต่อ เพราะความนิยมอาชีพที่ทันสมัยของคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน ที่ชอบงานที่สบาย ตื่นเช้าขึ้นมาแทนที่จะเตรียมไปปีนต้นตาลเพื่อเก็บน้ำตาลสด นำมาสร้าง Value Added ในการทำขนมต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงดังเช่น ขนมจ่ามงกุฏ, ทองเอก, ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ขนมชั้น, ขนมหม้อแกง, ขนมบ้าบิ่น, ขนมลูกชุบ, ขนมเสน่ห์จันทร์, ขนมสัมปันนี ,ขนมข้าวตู, ข้าวเกรียบ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีน้ำตาลจากต้นตาลเป็นหลักของส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของเมืองเพชรบุรี

สรุปแล้วคนเป็นทุนที่สำคัญในทุก ๆ เรื่อง Human Capital ส่งผลให้เกิดทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)นำไปสู่ ทุนทางสังคม (Social Capital) นำไปสู่ทุนทางความรู้ ทักษะ (Talented Capital)ซึ่งสำคัญมาก ทุนเหล่านี้ไปสร้างเสริมเพิ่มเติมและเติมเต็มให้สามารถอยู่ในยุคปัจจุบัน (โลกโลกาภิวัตน์) บวก(+)ด้วยทฤษฎี 5K’s ของท่านอาจารย์ จีระ โดยทุนความคิดสร้างสรรค์ที่ชาวอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ที่ได้สร้างสรรค์จากน้ำตาลสดมาเพิ่มมูลค่า(Value Added)เป็นขนมต่าง ๆดังกล่าวออกมาข้างต้น เป็นวิธีการใหม่ ๆ เป็นนวัตกรรม(Innovative) เป็นทุนปัญญา(Intellectual Capital) ที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เติมเต็ม(Fulfilled) ด้วยความรู้สมัยใหม่โดยการทำ Package ให้สวยงาม จัดรูปแบบให้มีสีสรรที่น่ารับประทาน เช่น ขนมชั้นจะใส่สีจากธรรมชาติ เช่นสีม่วงทำจากสีของดอกอัญชัน สีเขียวทำจากใบเตย มีกลิ่นหอมเชิญชวนรับประทาน สิ่งเหล่านี้เป็นCultural Capital ซึ่งทุนนี้ใช้เวลาสะสมนาน หลายชั่วอายุคน จากรุ่น…สู่รุ่น แต่หนูรู้สึกเสียดายอย่างมากนะคะ ทุนทางวัฒนธรรมนี้ “มีโอกาส” สูญหายไปในอนาคตเพราะคนรุ่นใหม่ หนุ่มสาวรุ่นใหม่จะ “ขึ้นต้นตาล” และ “เก็บน้ำตาลสด” จากต้นตาลไม่ได้หรือถ้าขึ้นได้ก็เหลือน้อยเต็มที เพราะเหตุว่าทุก ๆเช้าที่หนูขับรถไปทำงานที่รพ.บ้านลาด (บ้านหนูอยู่ในอำเภอเมือง) หนูจะขับรถสวนทางกับคนหนุ่มสาวเหล่านั้นที่ตั้งหน้าตั้งตาขับรถไปทำงานในอำเภอเมืองหรืออำเภอเขาย้อย ซึ่งเขาเข้ามาทำงานในลักษณะงานบริการทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน(ร้านค้า/ห้าง) และภาคอุตสาหกรรมที่อำเภอเขาย้อย ขณะขับรถไปทำงานหนูจะเห็นแต่คนอายุเกือบ 60 ปี ที่ยังคงอนุรักษ์อาชีพเก็บน้ำตาลสดจากการปีนต้นตาล(สูงมาก ๆ) เพื่อนำน้ำตาลมาเคี่ยวเป็นน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ ส่งตลาดเพื่อเข้าโรงงานทำขนม ถ้าบุคคลที่หนูเรียกเขาว่า “ปราชญ์พื้นบ้าน” ในเรื่องขึ้นต้นตาลเก็บน้ำตาลสด หมดอายุขัยไปแล้วคนรุ่นหลังไม่รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น(Local Wisdom) เหล่านี้ไว้ ไม่สืบสานต่อทุนทางวัฒนธรรมดังกล่าว ก็ไม่รักษาไว้ให้ ยั่งยืนสืบไป (Sustainable) เพราะทุนดังกล่าวจะหดหายไปเพราะ Knowledge เหล่านี้ไม่ได้ฝึกฝน Skill “ไม่เกิด” Talented Capital ทัศนคติ(Attitude)ของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไป Mindset เขาไปให้ความสำคัญกับงานสมัยใหม่ละทิ้งอาชีพทำน้ำตาลสดจากต้นตาล ก็จะเริ่มถดถอย หดหายไปในอนาคต ดังนั้นอาชีพทำน้ำตาลสดจากต้นตาลซึ่งเป็น Knowledge ที่ท่านอาจารย์จีระได้อธิบายไว้ในหนังสือว่า Knowledge มี 2 ประการ หนึ่งในนั้นคือ ความรู้ ข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และหนูกำลังคิดว่าถ้าไม่มีการจัดการความรู้ (ปีนต้นตาล+เก็บน้ำตาล) ให้ดี ดำรงค์รักษาและถ่ายทอดสู่ลูกหลานเป็น KM หรือ Knowledge Management ซึ่งที่อาจารย์จีระ ได้อธิบายว่า KM หมายถึงจะหาความรู้อย่างไร (Acquired) ซึ่งต้องคิดเป็นด้วย ว่าจะหาความรู้ได้อย่างไร(จากคนเก่ง)จากคนที่ปีนต้นตาลต้นสูง ๆได้อย่างปลอดภัย) จะShare หรือแบ่งปันความรู้นี้อย่างไร (เพราะคนรุ่นหลังไม่รับ ไม่อยาก ได้ไม่สนใจที่จะเรียนรู้) ที่สำคัญจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง? แล้วจะวัด(KPI) ประโยชน์นั้นได้อย่างไร? ในขณะที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตาม ทฤษฎี 3 วงกลมของท่านอาจารย์จีระ แล้วบวกเพิ่มเข้าไปทฤษฎี 8K’s และทฤษฎี 5K’sนั้นคือเรื่องของ Context หรือบริบท Competence และ Motivation ในเรื่องบริบท(Context)นั้น อ.บ้านลาด มีต้นตาลในการผลิตน้ำตาลมากที่สุด ขณะเดียว กันความสามารถ(Competencies)ของคนในรุ่นใหม่หรือรุ่นหลัง ๆมีความต้องการลดลง (ไม่ชอบปีนต้นตาล ไม่ชอบอาชีพนี้) คนก็จะไม่สนใจ ไม่ฝึกทักษะอาชีพ ขณะเดียวกันไม่มีใคร(รวมทั้งตัวหนูด้วย) ไป Motivation กระตุ้น ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญ สร้างบรรยากาศที่จูงใจ ให้คนรุ่นใหม่ ๆรักชื่นชอบ ดำรงรักษาอาชีพนี้ไว้คู่กับต้นตาลเมืองเพชรบุรี ซึ่งจะ ไปเชื่อมโยงกับทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์จีระ อีกนะคะ เพราะ Lที่ 1 = วิธีการเรียนรู้ (Learning Methodology) โดยใช้วิธีการศึกษากรณีศึกษา (Care Study = ขึ้นต้นตาล) ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิท่านใด จัดทำ Workshop การขึ้นปีนต้นตาลบ้างเลยคะ Lที่ 2 = การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Learning Environment) เพราะจากการสังเกตของหนู พบว่าไม่ค่อยจะเห็นคนหนุ่มสาว ไตร่ถาม ยืนมองอย่างสนใจแล้วมีผู้สูงอายุคอยอธิบาย สาธิต ทำWorkshop ไม่มีการแสดงซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข(Happiness)เลย ไม่สนใจที่จะShareความรู้ Shareประสบการณ์ไม่มีการแสวงหาความรู้ร่วมกันเลย(ถ้ามีคงจะดีม๊ากมากนะคะ) Lที่ 3คือLearning Opportunities สร้างโอกาส ในการเรียนรู้ซึ่งเกิดจากผู้เรียนได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน แต่เท่าที่หนูพบเห็นคือ ผู้สูงอายุทำงานปีนต้นตาลเป็นอาชีพเสริมช่วงว่างจากการทำนา คนหนุ่มสาวก็ขับมอร์เตอร์ไซต์เข้าในเมืองไปทำงานภาคบริการ และ L ที่ 4 คือ Learning Communities สร้างชุมชนในการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นแต่ที่หนูเห็นคือ คนหนุ่มสาวในชุมชนต่าง “เดินทางหนี” ออกจากอาชีพดั้งเดิมของชุมชนตนเอง มุ่งหน้าไปสู่อาชีพใหม่ที่เรียกว่า “มนุษย์เงินเดือน” ซึ่งหนูเองก็เป็นคนหนึ่ง (วิเคราะห์คนอื่น..แต่ลืมมองตนเองใช่ไหมคะ....) แต่หนูไม่มีความรู้ตรงนี้ มีแต่เรื่อง Health Promotion & Health Prevention in Communication แต่การชึ้นตนตาลก็เป็นการออกกำลังกายเพราะการปีนขึ้นไปในที่สูง ๆนั้นเหนื่อยมาก ๆโดยเฉพาะต้นตาลมีกลอนของท่านสุนทรภู่แต่งไว้ว่า

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น

ระวังตนตีนมือระมัดมั้น

เหมือนครบคนคำหวานรำคราญครัน

ถ้าพลั้งพลัน “เจ็บอก” เหมืนตกตาล

หนูคุยกับท่านอาจารย์มากแล้วหนูขอจบด้วยกลอนนะคะ เนื่องจากหนูมาประชุมและพักอยู่ที่โรงแรม Rama Gordens ตั้งแต่ 14-17 กค. (4วัน 3คืน) ทำให้หนูเขียนไม่จบในคราวเดียวกัน ประกรอบกับหนูคิดถึงบ้านที่เมืองเพชรมากคะ เขียนได้แต่เรื่องผู้สูงอายุกับวิถีชีวิตอาชีพผู้ผลิตน้ำตาล เมืองเพชรบุรี อันที่จริงแล้วหนูตั้งใจจะเขียนเรื่อง คลินิกวัยรุ่น…วัยใสสายใยรักเพื่อวัยรุ่น ด้วย ขอเก็บไว้เป็นคราวหน้านะคะเพราะหนูจะต้องเตรียม Power Pointในการประชุมเช้าต่อคะ หนูขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงที่ทำให้หนูได้มี สำหรับเขียนข้อความสิ่งที่คิดไว้ในใจ+ในสมองและได้ มีโอกาสสื่อสาร มีพื้นที่เขียนสำหรับพูดคุยกับท่านอาจารย์ด้วยนะคะ

รักและเคารพอาจารย์มากที่สุด สมศรี นวรัตน์ Tel. 081-9435033

เรียน อาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงลดารมภ์

คำตอบ ข้อสอบกลางภาคข้อที่ 1 การนำ HR Architecture มาประยุกต์

กับ Life long Learning อย่างไร?

By Tanapol Kortana Ph.D. 3 SSRU

HR Architecture

จากรูปนี้ผมขอเริ่มที่กรอบสีฟ้าว่าด้วยเรื่อง( คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ) ผมขอพูดเรื่อง KM องค์ความรู้ทางด้านการบริหาร โดยเลือกเรื่องอุตสาหกรรมด้านการเงินและการธนาคาร

และเน้นส่วนของการแช่งขัน

Globalization (โลกาภิวัตน์ )

เราต้องนำเอากลยุทธ์ Systematic, Process and Network มาใช้เพื่อสร้าง KM , เครื่องมือต่าง ๆ (H/W) และการเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วประเทศ หรือทั่วโลกมาใช้ในการทำงานเพื่อ การเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร, เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน, เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ และการสร้าง Community ขององค์กรที่มีขีดความสามารถแข่งขัน เรียนรู้และอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับทฤษฎี 4L’s ของ อจ.จีระ หงส์ลดารมภ์

4L’S

*Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้Learning

*Environmentสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้Learning

*Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

*Learning Communitiesสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ถ้า CEO,CFO,COO,CMO ของธนาคารสามารถนำองค์ความรู้และข้อมูล KM [โดยใช้ข้อมูลในรูปแบบของ Business Intelligent(BI) และ Data Warehouse] มาใช้ได้ถูกต้องจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการคิดแบบ Strategic Thinking และสามารถทำให้เขาเหล่านั้นเป็น Strategic Leadership เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารให้เหนือคู่แข่งขันและเป็นผู้ชนะในสนามธุรกิจ”

ผู้บริหารที่มีการสร้าง KM ได้ถูกต้องจะสามารถสร้างผลการดำเนินการได้อย่างประสบความสำเร็จ ต้องดำเนินการโครงการ BI และ Data Warehouse โดยใช้ผู้รู้ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการนำเครื่องมือต่าง ๆ H/W , Application, Network และอื่น ๆ มาประกอบพร้อมทั้งทำ Research Culture ของผู้บริหารระดับสูงของธนาคารทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการทำ Questionnaire ,การทำ In-depth Interview และการนำ Case Study ที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาใช้ประกอบเพื่อ ออกแบบระบบ, ขั้นตอนทุก ๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็น H/W, Network, Application และ Innovation ใหม่ ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม,เร็วกกว่าเดิม และ Real Time

การสร้าง KM ที่ดี และสามารถตอบสนองทฤษฎี 4L’s ได้จะมีส่วนสนับสนุนให้สามารถเกิด Life long Learning ให้กับชุมชนของธนาคารนั้น ๆ ได้อย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น จากจุดเริ่มต้นของการทำงานจนเกษียณอายุ และยังต่อเนื่องให้กับพนักงานรุ่นใหม่ต่อ ๆ ไปอีกด้วย

ภาวะโลกร้อน กับ HR Architecture

ผลที่ได้นอกจากการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นกับคนไทย สร้างระบบ BI ที่ช่วยให้ระบบการเงิน การและการธนาคารของไทยยั่งยืนและแข็งแรงอย่างยาวนาน ยังสามารถลดผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อนได้อย่างมากมายคือ

1. การสร้างระบบสื่อสาร On line จะช่วยลดการเดินทางโดยรถยนต์ และด้านอื่น ๆ จะเกี่ยวเนื่องตามมาคือลดมลภาวะที่เป็นผิดต่อสิ่งแวดล้อม

2. การออกแบบระบบ IT ที่มีประสิทธิภาพจะลดการใช้วัตถุต่าง ๆ ที่มีผลต่อการ

บริโภคทรัพยากรธรรมชาติ และมีส่วนลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

3. การติดต่อสื่อสารโดยใช้ Network เป็นการสนับสนุน Green Creative Economy อีกด้วย

4. การบริหารจัดการโดยใช้โดยใช้ High Performance Computing จะช่วยสนับสนุนการใช้ Strategy ของ Scope, Space and Scale เพื่อลดปัญหามลภาวะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะ

Mobile 081-840-6444

เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำตอบข้อ 4 By Tanapol Kortana Ph.D.3 SSRU

ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ การฟื้นตัวอะไร U,L,V หรือ W แต่ละแนว Human Capital จะมีบทบาทอย่างไรอธิบายเป็นข้อ ๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ โดยแบ่งเป็นระยะสั้น, ระยะกลาง และระยะยาว

ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ กับ การฟื้นตัวของลักษณะ U

ความหมายลักษณะการฟื้นตัวรูปตัว U หมายถึง ลักษณะของวิกฤตทีลงมาไม่ถึงจุดสุดท้าย หรือมักจะพูดกันว่า “วิกฤตมันไม่สุดเสียที” นั่นเอง และถ้าสุดแล้วก็จะอยู่ ในสถานะที่ว่า “เมื่อไหร่มันจะดีขึ้นเสียที” มันช่างใช้เวลายาวนานจริง ๆ กว่าจะดีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เหมือนสมัยปี พ.ศ.2540 ประเทศไทยเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง สถานะของประเทศและธุรกิจต่าง ๆ มีผลประกอบการที่แย่ลง ๆ จนมีคำพูดที่ว่า “วิกฤตมันไม่สุดเสียที” เกิดขึ้นในช่วงนั้นนั่นเอง ต่อมากว่า 5 ปีเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มจะเรียกได้ว่าไม่ลงกว่านี้อีกแล้ว และก็อยู่ในสภาพคงที่อีกระยะหนึ่งถึงได้เริ่มเงยหัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งประมาณปี พ.ศ.2548 นี่ละคือที่มาของรูปตัว U

วิกฤตรูปตัว U กับ Human Capital

ระยะสั้น ช่วงขาลงของวิกฤตเศรษฐกิจก็จะมีแต่คำพูดที่ว่า “ลดคน ๆๆๆๆ” เกิดขึ้นในทุกองค์กรจนมีคำพูดเกิดขึ้นอย่างมากมายว่า “เตะฝุ่น”, “Lay Off” , “คนเคยรวย”, “เปิดท้ายขายของ” และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งล้วนแล้วแต่พูดถึงเศรษฐกิจที่วิกฤต ต่างคนต่างต้องเอาตัวรอดทั้งที่เป็น ประเทศไทย , รัฐวิสาหกิจ, ราชการ, องค์กรต่าง ๆ , บริษัทต่าง ๆ ,ร้านค้าย่อย และประชาชนคนธรรมดาหรือแต่ละครอบครัว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ Human Capital ทั้งหมด 8K’s (พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการชี้วัดว่า “ใครสมควรจะอยู่ต่อ” หรือ “ใครสมควรจะตกงาน” หรือ “ใครสมควรเตะฝุ่น” เพราะช่วงขาลงระยะสั้นที่ดีที่สุดของกลยุทธ์ในการลดค่าใช้จ่ายคือการลดคน และแน่นอนต้องเลือกคนที่มีทุนมนุษย์ของ 8K’s

มากที่สุดเอาไว้ ดังนั้นถ้าใครไม่มี 8K’s ก็ต้องถูกไล่ออก

ระยะกลาง เมื่อมีคนตกงานจำนวนมากเกิดขึ้น ก็ต้องมาดูว่าใครจะมี Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ, และ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา ที่จะออกมาต่อสู้ชีวิตต่อไป เพราะจะหางานใหม่ในเวลานี้ก็ยากมาก ๆ ดังนั้นใครที่ความรู้ ความสามารถ ทัศนะคติที่ดีในการดำเนินชีวิตต่อไปก็จะหาธุรกิจเล็ก ๆ หรืออาชีพอิสระต่าง ๆ ทำเพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว เช่น มีคนทำแซนวิซขาย หรือมีคนขับแท็กซี่ หรือมีคนขายมะหมีและเกี๊ยวชายสี่ หรือเปิดท้ายขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งของเก่าและของใหม่เกิดขึ้นเต็มไปหมด

ระยะยาว พอทุกอย่างผ่านไปได้สักระยะหนึ่ง ก็จะเป็นภาวะช่วงกำลังจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ดังนั้นช่วงที่กำลังขาลงและคงอยู่ในช่วงของทรงตัว เราควรจะมีแผนระยะยาวไว้รองรับเมื่อเศรษฐกิจกำลังจะเปลี่ยนเป็นช่วงขาขึ้น เราจะได้วิ่งอย่างรวดเร็วเพื่อฉกฉวยโอกาสของขาขึ้นให้เราได้สามารถโหนตามกระแสขาขึ้นจะทำให้เราฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และอะไรคือสิ่งที่เราจะเตรียมตัวไว้เพื่อรอโอกาสนี้ที่จะมาถึง เราก็ต้องหันมามองด้าน Human Capital ว่าเราควรเตรียมอะไรไว้บ้างและถ้าดูให้ดีจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทคือ

1.Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

2.Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

3.Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

4.Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

เมื่อเราได้ผ่านช่วงวิกฤตมาแล้วย่อมทำให้เราตระหนักถึง “ความอยู่รอด” ว่าเราจะสามารถอยู่รอดได้อย่างไรแบบยังยืน “Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน” และเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับอนาคตเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั่นก็คือเราต้องมี “Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์” คิดในสิ่งใหม่ ๆ ทำด้วยวิธีใหม่ ๆ ไม่เหมือนเดิมเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน และถ้าเรามีสิ่งที่เราคิดค้นประดิษฐ์ ขึ้นมาใหม่ด้วย “Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม” จะทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งขันและสามารถช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากที่สุด ยิ่งประกอบกับการที่เราเตรียมตัวมาก่อนพอดีกับช่วงขาขึ้นเราก็จะยิ่งได้เปรียบ และต่อเนื่องจากการที่เราเริ่มประสบความสำเร็จ เราต้องมาคำนึงถึงการที่จะทำอย่างไรให้สิ่งต่าง ๆ ที่เราดำเนินการมาด้วยดีจะสามารถทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาให้ได้ด้วยการสร้าง “Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม”

ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ กับ การฟื้นตัวของลักษณะ V

ความหมายของการฟื้นตัวรูปตัว V ก็สามารถเปรียบได้กับการฟื้นตัวในประเทศเกาหลี ซึ่งอยู่ในช่วงเดียวกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งของประเทศไทย (พ.ศ.2539-2540) แต่ทำไมประเทศเกาหลีถึงได้ฟื้นตัวเร็วมากใช้เวลาเพียงประมาณ 2 ปีทุก ๆ อย่างก็กลับมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จะขออธิบายในรูปแบบของการนำเอาเรื่อง Human Capital มาชี้ให้เห็นถึงรูปแบบระยะสั้น , ระยะกลาง และระยะยาว โดยจะขอนำเอา ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ กับ การฟื้นตัวของลักษณะ W มาอธิบายพร้อมกันเนื่องจากว่าการที่จะมีการฟื้นตัวในรูปแบบของตัว W นี้ได้ก็คือการมีวิกฤตเศรษฐกิจและฟื้นตัวในรูปตัว V 2 ครั้งนั่นเอง และเป็นความต่อเนื่องกันเนื่องจากว่าประเทศที่สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ

ระยะสั้น ประชาชนชาวเกาหลีส่วนใหญ่มีพื้นฐานในด้าน “Intellectual Capitalทุนทางปัญญา” , “Digital Capital ทุนทาง IT” ดีมากอยู่แล้ว

ระยะกลาง รัฐบาลเกาหลีในเวลานั้น (พ.ศ. 2539-2540) ก็มีการวางแผนด้าน HR Architecture โดยมุ่งเน้นพัฒนาประชากรให้ได้มี “Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม” ตัวอย่างเช่น ประชาชนชายทุกคนอายุ 18 ปี ต้องเป็นทหาร 2 ปีทุก ๆ คนไม่มีข้อยกเว้นเพื่อเน้นฝึกความเป็นระเบียบ ความรักชาติ ความถูกต้อง เพื่อหล่อหลอมให้ประชาชนทุกคนมีความมีระเบียบวินัยและความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องซึ่งจะนำมาถึงความมีจริยธรรมนั่นเอง นอกจากนี้ยังเน้นการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยให้ประชาชนเลือกเรียนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเช่น ถ้าจะจบมาเพื่อทำธุรกิจ หรือจะเป็นลูกจ้างให้เรียนเพื่อมีจุดเด่นเฉพาะคือท่านจะเลือก ทำธุรกิจกับคนชาติไหนจะมีการเตรียมให้ท่านเรียนภาษาของชาตินั้น ๆ ตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย (มีโปรแกรมให้เรียบร้อย) นี่คือที่มาที่ทำให้ประชาชนชาวเกาหลีมี “Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ” ในอาชีพและพร้อมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องมีเพื่อการนั้น ๆ

ระยะยาว สิ่งที่เกิดขึ้นตามของประเทศเกาหลีหลังจากวิกฤตปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน ประเทศเกาหลีมีบริษัทเอกชนชื่อ “Sumsung” ปัจจุบันเป็นอันดับหนึ่งของโลกทางด้านอิเล็คโทรนิค นั่นหมายถึงว่าช่วงเวลาประมาณ 10 ปีนับแต่นั้นมาประเทศเกาหลีเปลี่ยนแปลงแซงหน้า ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอเมริกา ประเทศยุโรป เพราะเขามีการวางรากฐานของ “Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์”

และปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจและดำเนินชีวิตทุกอย่างจนกลายเป็น “Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม”

ในปัจจุบันประเทศเกาหลีจะไม่มีวันโดนผลกระทบแล้วเกิดภาวะวิกฤตได้อย่างง่าย ๆ อีกแล้ว เพราะเขาได้สร้างเสริมด้าน “Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน” โดยมีการสร้าง “Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม” จนสามารถนำประเทศชาติมาสู่อันดับหนึ่งทางด้าน IT ดังเช่นในปัจจุบันสินค้าของเกาหลีได้รับการยอมรับทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ จนกระทั่งอุตสาหกรรม IT และเราสังเกตและเห็นได้ชัดว่าประเทศเกาหลีรุกคืบหน้าต่อเนื่องมาถึงการขยายอุตสาหกรรม “วัฒนธรรมเกาหลี” เป็นสินค้าส่งออกได้จนมีกระแส “แดจังกึม” , กระแสเด็กเกาหลี เป็นต้น

ในยุควิกฤตเศรษฐกิจ กับ การฟื้นตัวของลักษณะ L

ความหมายของเศรษฐกิจรูปตัว L คือการที่ประเทศประสบภาวะวิกฤต แล้วก็ยังคงอยู่ในสภาวะวิกฤตตลอดมา ยังไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติฟื้นได้เลย และยังส่งผลให้ประชาชนลำบากแสนยากเข็น จะขอยกตัวอย่างประเทศพม่า เพื่อเราจะมองได้เห็นอย่างชัดเจน ในปัจจุบันถ้าเราจะพูดถึง Human Capital ในประเทศพม่าแล้ว ส่วนตัวอยากจะพูดว่าไม่มี Human Capital ทั้ง 8K’s และ 5 K’s เป็นผลให้ประชาชนที่ยังต้องการต่อสู้และยืนอยู่ได้ต้องหนีออกนอกประเทศเพื่อมาแสวงหาโอกาสที่จะทำให้มี “Human Capital” และแสวงหาความรู้ “Knowledge Capital ทุนทางความรู้” เนื่องจากการบริหารการปกครองเป็นแบบเผด็จการทางทหาร จึงไม่สามารถที่จะคาดเดาเป็น ระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว แต่เขาเหล่านั้นมีเพียง “ระยะเดียว”

By Tanapol Kortana Ph.D.3 SSRU

081-840-6444

เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

คำตอบข้อ 5 การปฏิรูปการศึกษารอบ 2

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวไว้ว่าไม่ควรทำแบบดาวกระจาย ท่านได้กล่าวตอนหนึ่งในการสัมมนา เรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มด้วยร่วมใจปฏิรูปการศึกษา”ภาคกลางซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ว่า

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2

เบื้องต้นได้กำหนดแนวทางไว้ 9 ประเด็น คือ

1.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและผู้เรียน

2.การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

3.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาและการมี ส่วนร่วม 4.การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา

5. การผลิตและพัฒนากำลังคน

6.การเงินเพื่อการศึกษา

7.เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

8.กฎหมายเพื่อการศึกษา และ

9.การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ซึ่งหลังการรับฟังความคิดเห็นภายในเดือนมีนาคมนี้จะต้องได้คำตอบใน 3 ข้อคือ

1.จะปฏิรูปอะไร

2.จะจัดลำดับความสำคัญอย่างไร

3.และจะปฏิรูปอย่างไร

เพื่อให้การศึกษาไทยทัดเทียมอารยประเทศ ซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้ต้องได้ข้อสรุปทั้งหมด และตนมั่นใจว่าภายในปีนี้จะได้เห็นผลงานในการปฏิรูปการศึกษารอบสองอย่างชัดเจนแน่นอน

ความคิดเห็นท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ไม่ควรทำแบบดาวกระจาย หรือทำทุกเรื่อง หากทำเช่นนั้นอีก 10 ปีมั่นใจว่าต้องมีการปฏิรูปรอบสาม เพราะขณะนี้ระบบการศึกษาและบรรยากาศในโรงเรียนนอกจากจะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว ยังทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้วย ที่สำคัญสังคมไทยยังบ้าปริญญาแต่ไม่บ้าปัญญา ซึ่งถือเป็นการล้มละลายทางปัญญาอย่างช้า ๆ

ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษารอบสอง

1.ต้องสร้างการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง

2.ต้องปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก

3.ต้องสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้บริหาร

เพราะขณะนี้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีไม่ถึงร้อยละ 10 ที่มีภาวะผู้นำที่จะนำพาองค์กรให้ถึงจุดหมาย ส่วนใหญ่จะทำตามคำสั่งจากนักการเมือง.

คำตอบคือ จากการที่ ดร.จีระได้เน้นตามข้อมูลข้างต้นอธิบายได้ดังนี้คือ

1.ต้องสร้างการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง

เราสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีของ 3 วงกลมเพื่อที่จะสร้างระบบการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็งโดยต้อง เน้นถึงสภาพแวดล้อมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานประถมศึกษา, ผู้บริหารโดยเฉพาะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด, ครูหรืออาจารย์ทั้งหมดให้เกิดความเข้มแข็งโดยการนำ 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท ว่าด้วยเรื่องพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังต่อไปนี้คือ

2.ต้องปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก

โดยการนำทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ; 5 K’s (ใหม่) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ มาใช้เป็นนโยบายเพื่อที่จะสร้างเด็กใหม่ให้เกิดและเจริญเติบโตมาในแบบของคนที่กล้าคิด กล้าแสดงออก และรักการเรียนรู้ (Long Life Learning)

การสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้บริหาร เราเน้น 3 หัวข้อหลัก ๆ เพื่อให้ได้ผู้นำที่มีความรู้และความสามารถ อีกทั้งมีวิสัยทัศน์และความเป็นผู้บริหารที่ใช้ใจ ความทุ่มเท ความจริงใจสามารถทำให้ได้รับการยอบรับและนำองค์กรไปสู่เป้าหมายได้จริง เพื่อที่จะให้ได้ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์จุดสำคัญคือต้องให้เขาเหล่านั้นมีความเข้าใจวิสัยทัศน์ในด้าน HR ใหม่ดังนี้คือ

ธนพล ก่อฐานะ

Ph.D.3 SSRU

เรียน อาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

By Tanapol kortana Ph.D. 3 SSRU

คำตอบข้อ 2 รัฐบาลไทยเน้นแผน 11 Creative Economy

Creative Economy เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

หมายถึง แนวคิดที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อภาคการผลิต บริการ ภาคการขาย หรือแม้แต่อุตสาหกรรมบันเทิง เป็นแนวคิดที่อยู่บนการทำงานแบบใหม่ ที่มีปัจจัยหลักมาจากความสามารถ และทักษะพิเศษของบุคคล "มันเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีกระบวนการนำเอาวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี่มารวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Industry ) หรือ อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม ( Culture Industry )"

ปัจจุบันธุรกิจที่จัดอยู่ในข่าย อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ งานโฆษณา, สถาปัตยกรรม งานฝีมือ และการออกแบบ, แฟชั่น และเครื่องนุ่งห่ม, ภาพยนตร์ และวิดีโอ, การออกแบบกราฟิก, ซอฟท์แวร์ เพื่อการศึกษา และการพักผ่อนหย่อนใจ, ดนตรี และผลงานเพลง, ศิลปะการแสดง และบันเทิง, การเผยแพร่โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต, ผลงานทัศนศิลป์ และของเก่า งานเขียน และงานพิมพ์ต่างๆ”

จุดอ่อนของรัฐบาลไทยที่เป็นอุปสรรค

การสร้างเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ อาทิ เสถียรภาพการเมืองมั่นคง มีความเป็นประชาธิปไตย รวมทั้งการศึกษา และความเข้าใจของคนอย่างทั่วถึง และ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ ความเป็นอิสระทางความคิด และการแสดงออก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยขาดซึ่งปัจจัยที่จะสามารถใช้กลยุทธ์ Creative Economy เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ได้อย่างเต็มที่ อาจจะมีได้ก็เพียงบางกลุ่ม หรือบางคน หรือบางธุรกิจที่เราได้เปรียบทางการแข่งขันเท่านั้น ซึ่งเราต้องหันมามองให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะไรคือจุดแข็งของประเทศไทย

จุดแข็งของประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มีจุดแข็งคือ

1. ระบบสาธารณูปโภคที่ดี

2. ประกอบกับสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ทำให้สามารถเป็นศูนย์กลางภาคการผลิตของเอเชียได้

3. ประเทศไทยยังมีเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่มีความโอบอ้อมอารี

4. ประเทศไทยมีวิถีชีวิตที่เป็นไปอย่างสบายๆ ทำให้ต่างชาติหลงใหลและต้องการกลับมาเยือนประเทศไทยอีก

ทางด้านจอห์น ฮอกิ้น กูรูด้านเศรษฐกิจ และเจ้าของผลงานหนังสือ Creative Economy ชาวอังกฤษ ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า

“ คน... ขุมพลังความคิดสร้างสรรค์”

เขาย้ำว่า สิ่งสำคัญที่สุด สำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจรูปแบบใหม่นี้ คือ การสร้างบรรยากาศ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้บุคคลมีความคิดสร้างสรรค์ ได้ใช้เป็นพื้นที่หรือแรงบันดาลใจผลงานต่างๆขึ้นมา ขณะเดียวกัน คนอีกกลุ่มที่ยังไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ก็อาจเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ หากพวกเขาได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้

ทางด้าน จอห์น ยังให้ข้อคิดอีกด้วย การสร้างเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้ประสบความสำเร็จ ดังเช่นกรณีประเทศอังกฤษนั้น จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ อาทิ เสถียรภาพการเมืองมั่นคง มีความเป็นประชาธิปไตย รวมทั้งการศึกษา และความเข้าใจของคนอย่างทั่วถึง และ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ ความเป็นอิสระทางความคิด และการแสดงออก

" เพราะถ้าคนเรามีอิสระที่จะตัดสินใจว่าจะทำอะไรได้ รวมถึงการทำกิจกรรมที่สามารถฝึกสมองความคิดอย่างต่อเนื่อง มันก็จะส่งเสริมให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด และกล้าแสดงออกมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ต้องฝึกขจัดความคิดไม่ดีออกไป คิดแต่เรื่องดีให้จนเป็นนิสัย ความคิดนั้นต้องมาจากที่ตนเองคิดไม่ได้ไปลอกเลียนใคร มีความหมาย และนำไปใช้ประโยชน์ได้ "

ทั้งนี้โมเดลพื้นฐานสำคัญ ที่ทำให้ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์มาจากหลักการ 3 ข้อ ได้แก่ 1. ทุกคน สามารถมีความคิดสร้างสรรค์ (Everyone needs Creativity or Everyone can be Creativity ) เพราะเชื่อว่า คนเราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวตั้งแต่เด็กๆแล้ว 2. ความคิดสร้างสรรค์ต้องการอิสรภาพ ( Creativity needs Freedom ) ทั้งนี้ในสังคมที่สนับสนุนให้คนแสดงความคิด และสามารถแสดงออกได้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการศึกษา ฝึกฝน และเรียนรู้ 3. อิสรภาพความคิดสร้างสรรค์ต้องการตลาด ( Freedom needs markets ) ทั้งอิสระของความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดตลาด อันเนื่องมาจากความคิดสร้างสรรค์ได้มีการค้นคว้า ทำเป็นข้อมูลที่มูลค่าราคา และสามารถแลกเปลี่ยนนำไปใช้ประโยชน์ได้

สำหรับประเทศไทย จอห์น บอกว่า ก็มีความเป็นไปได้มากที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และโรงแรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก จัดว่าทำได้ดีก็ให้มุ่งเน้นสร้างจุดแข็งอย่างจริงจัง

สำหรับภาคธุรกิจ กับการนำ Creative Economy มาประยุกต์ใช้ให้ได้ผล สำหรับบุคคล จะต้องสร้างให้ตนเองมีความคิดสร้างสรรค์ก่อน ไม่ว่าในภาคอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาทิ นักโฆษณา นักสื่อสารมวลชน หรือนักสถาปนิก สำหรับธุรกิจ นั้นก็ต้องรู้จัก และเข้าใจในสิ่งที่ตนจะทำธุรกิจ อย่างรอบด้าน

จากข้อคิดดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์พันธ์แท้ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดังนี้คือ

ดังนั้นถ้าเรามีการนำทฤษฎี 3 วงกลมของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มาใช้บริหารจัดการทุนมนุษย์อย่างแท้จริงจะสามารถลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งให้กับประเทสอย่างเห็นได้เป็นรูปธรรม

ตัวอย่างธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในการใช้

“Creative Economy เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์”

ตัวอย่างที่ 1

บริษัทไทยผลิต S/W ที่ใช้สำหรับการสร้างระบบเครือข่าย(สาขาของธนาคาร) โดยมีเพียงสายสัญญาณ Internet ,Computer 1ชุด และ Printer 1 ตัว ก็สามารถเปิดเป็นสาขาของธนาคาร ทำธุรกรรม ฝาก,ถอน ,โอนเงินได้และยังสามารถรับชำระเงินค่าบริการต่าง ๆ ได้อีกด้วย ที่สำคัญคือเป็น S/W ที่คนไทยผลิตและใช้ได้จริงในธนาคารชั้นนำของประเทศไทย

รายละเอียดของ S/W

ตัวอย่างที่ 2

Netbay Co., Ltd.

http://www.netbay.co.th

ประวัติบริษัท

บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด ได้จัดตั้งขึ้นจากการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ "INET" และบริษัท ซอฟท์แวร์ลิ้งค์ จำกัด หรือ SWL โดยที่ INET ซึ่งถือเป็น ISP (Internet Service Provider) รายแรกและรายใหญ่ของประเทศไทยมีโครงข่ายความเร็วสูงทั่วประเทศ อีกทั้งยังให้บริการ Data Center ให้แก่ ภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด การร่วมลงทุนในการจัดตั้งบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด เป็นการร่วมประสานจุดแข็งของผู้ร่วมลงทุน นั่นคือ INET เป็นบริษัทที่มีความพร้อมในการให้บริการ Hosting Service Provider ซึ่งประกอบด้วยการรับฝาก ระบบคอมพิวเตอร์ การจัดเตรียมระบบเครือข่าย (Network) ระบบไฟสำรองและระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้ มาตรฐานสากล ในขณะที่ SWL เป็นผู้นำในการพัฒนาโปรแกรม / ซอฟต์แวร์ระบบงานทางด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Logistics & Supply Chain Management) อีกทั้งยังเป็นผู้ให้บริการการรับ-ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับใบขนสินค้าขาเข้าและขาออก, Manifest ทางอากาศ ทางเรือ และอื่นๆ อีกมากโดยการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบ e-Customs Paperless ของกรมศุลกากรและยังเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction Service Provider)

จากจุดแข็งของผู้ร่วมลงทุนทั้งสองทำให้บริษัท เน็ตเบย์ จำกัดสามารถเพิ่มคุณค่าในการให้บริการ (Value Added Services) แก่ลูกค้าของบริษัท ฯ โดยสามารถนำเสนอการให้บริการหลากหลายรูปแบบสอดคล้องตามความต้องการ และนโยบายการพัฒนาระบบงานของลูกค้าและมุ่งมั่นเป็น Gateway กลางในการเชื่อมโยงกับภาครัฐและเอกชน (National Single Window Entry) โดยมีความปลอดภัยมั่นคงจากการที่มี DRC Site (Disaster Recovery Center) รองรับกรณีระบบใดระบบหนึ่งเกิดปัญหา อีกระบบจะทำงานอัตโนมัติทันที โดยมีทีมงานที่มีคุณภาพดูแลควบคุม ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจของท่านจะดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์ (Vision)

Netbay เป็นผู้นำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้าน e-Business ครบวงจร ที่มุ่งมั่น สร้างสรรค์ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี และความใส่ใจ โดยคำนึงถึงความพึงพอใจอันสูงสุดของลูกค้า และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน

พันธกิจ (Mission)

1. เป็นศูนย์กลางในการให้บริการการทำธุรกรรมออนไลน์ที่ครบวงจรระหว่าง B2G/B2B/G2C

2. มุ่งพัฒนาคุณภาพของระบบและการบริการให้เป็นที่เชื่อถือในระดับสูงของทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

3. ยืนหยัดในภารกิจที่จะส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในเวทีการค้าโลก

คุณค่าหลัก (Core Value) 3 ประการของ "เน็ตเบย์"

เรามุ่งมั่นทำงานดั่งมืออาชีพ โดยมี

1. เป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจน วัดผลได้ สอดคล้องกับองค์กรและรับรู้ทั่วกัน

2. แผนงาน (Plan) ที่เป็นรูปธรรม เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์

3. ความตั้งใจจริง (Commitment) ที่จะฝ่าฟันเพื่อบรรลุผลสำเร็จดังมุ่งหมาย

เราจะทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้บริการลูกค้า ด้วย

1. คุณภาพ (Quality) ที่เป็นที่ต้องการจริงๆ ของทุกคน

2. ความเร็ว (Speed) ที่ตอบสนองความพึงพอใจสูงสุด

3. ความใส่ใจ (Care) ที่แสดงถึงจิตใจของนักบริการ

เราจะร่วมแรงร่วมใจกันด้วยจิตวิญญาณ (Spirit) ที่มี

1. ความเข้าใจกัน (Understanding) โดยคำนึงถึงทุกฝ่ายอย่างมีเหตุและผล

2. ความเต็มใจ (Willingness) ด้วยการทุ่มเทกำลังอย่างไม่ย่อท้อ

3. ความจริงใจ (Sincerity) ที่กล้าพูดและทำในสิ่งที่ถูกต้อง

Products & Services

e-Cargo Insurance

การจัดทำข้อมูลขอรับการประกันภัยสินคาด้วยระบบออนไลน์ (Online Marine Inusurance System) เป็นโปรแกรมการจัดทำข้อมูลเพื่อขอรับประกันภัยสินค้า เป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประยุกต์ในธุรกิจประกันภัย ทำให้ช่วยลดประหยัดเวลาในการขอรับ Policy สำหรับนำไปดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ได้

Read more...

e-Freight Net

e-Freight Net

 การจัดการเรื่องการจองระวางบนเครื่องบินทั้งทางเรือและทางอากาศ

 การออกเอกสารสำหรับส่งสินค้าระหว่างประเทศ เช่น MAWB, HAWB, B/L * สำหรับกลุ่มบริษัท Freight Forwarder, Shipping

 การสืบค้นข้อมูล เส้นทางและตารางการขนส่งของเรือต่างๆ

 อื่น ๆ

* MAWB = Master Air Waybill

* HAWB = House Air Waybill

* B/L = Bill of Lading

Read more...

e-Auction

e-AUCTION PROVIDER

การให้บริการ e-Auction เป็นส่วนหนึ่งของระบบ e-Procurement ที่บริษัทมีพร้อมให้บริการครบวงจรทั้งระบบ และนำไปใช้ในการให้บริการกับรัฐวิสาหกิจ เช่น ระบบ E-Ordering ในการซื้อขายบุหรี่ ผ่านระบบ Internet แก่ตัวแทนจำหน่ายของโรงงานยาสูบ ส่วนการให้บริการ e-Auction แก่หน่วยงานราชการนั้น ทางบริษัท ฯ เริ่มต้นดังนี้

ธันวาคม 2545 : ได้รับการคัดเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้ให้บริการ E-Auction Provider จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

มกราคม 2546 : ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานราชการ เริ่ม Present และสาธิตระบบ E-Auction กับลูกค้าและหน่วยราชการ

กุมภาพันธ์ 2546 : ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานราชการในการเป็นผู้ให้บริการ E-Auction จนถึงปัจจุบัน รวมกว่า 60 หน่วยงาน และกว่า 100 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งสิ้น ประมาณ 300 กว่าล้านบาท

Read more...

e-Marketplace & Procurement

e-Procurement

การให้บริการของ www.Thaiburi.com เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ บริษัทมีพร้อมให้บริการครบวงจรทั้งระบบ และนำไปใช้ในการให้บริการกับองค์กร, รัฐวิสาหกิจ, หน่วยงานอื่นๆ เช่น ระบบ E-Ordering, E-Procurement, E-Catalog, E-Auction Provider, ฯลฯ เป็นการจัดการซื้อขาย ผ่านระบบ Internet แก่ตัวแทนจำหน่ายต่างๆ โดยเป็นระบบการบริหารธุรกิจ Online ของทางบริษัทซอฟท์แวร์ลิ้งค์ จำกัด

ทั้งสองบริษัทคือบริษัทของคนไทย 100% ที่สามารถต่อสู้ด้วยตัวเองและก้าวเข้ามาเป็นผู้ประกอบการที่มาจากนโยบาย Creative Economy เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งทั้งสองบริษัทต้องต่อสู้กับคู่แข่งระดับโลกด้วยตัวเอง

ดังนั้นถ้ารัฐบาลไทยได้วางแผน HR Architecture , การวางแผนพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้หลัก 8K’s ,การวางรากฐานเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ 5K’s ,การนำหลักการ 4L’s มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้แบบ Life Long Learning และการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบทฤษฎี 3 วงกลมตามหลักของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ น่าจะทำให้เกิด Creative Economy และทำให้เกิดผู้ประกอบการไทยอีกมากมายตามมาอย่างแน่นอน ย่อมส่งให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การวางแผนระยะยาวเพื่อความยั่งยืน Sustainability

ได้อย่างแท้จริง

By Tanapol Kortana Ph.D.3 SSRU

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำตอบข้อ 3 "Positioning for the Future and the Present" is the capture 9 of "Necessary Revolution" และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเทียบกับ 8K's ของอาจารย์เรื่อง Sustainability Capital ว่ามีอะไรแตกต่างหรือเหมือนกัน

คำตอบ By Tanapol Kortana Ph.D.3 SSRU 081-840-6444

     สืบเนื่องจาก "Necessary Revolution" Capture1 ซึ่งกล่าวถึง Change or Necessary Revolution การเปลี่ยนขนาดใหญ่ในทุก ๆ ด้านอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเรื่องต้นทุนต่าง ๆ เช่น คน วัตถุดิบ การขนส่ง การจัดการ การดูแลหลังการขาย การสื่อสารรวดเร็ว ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้การอยู่รอดของธุรกิจยากลำบากมากยิ่งขึ้นทุกที ๆ ๆ ๆ ดังนั้นในบทนี้จะกล่าวถึงการคิดเพื่อความอยู่รอดในด้านของผู้ลงทุน สังคม สิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนต้องคำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง

     เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎี 8K'S ของอาจารย์แล้วจะตรงกับ Sustainability Capital แต่เราจะมองลึกลงไปจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ถ้าต้องการความอยู่รอดขององค์กร หรือของธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม ก็ต้องเข้าใจและนำไปปฏิบัติให้ได้ถึงทุน(Capital)ต่าง ๆ เหล่านี้คือ

• Human Capital ทุนมนุษย์

• Digital Capital ทุนทางปัญญา

• Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

• Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

• Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

     สิ่งเหล่านี้คือความเหมือนแต่สิ่งที่สำคัญและแตกต่าง คืออาจารย์จีระพยายามสอนและสร้างให้มนุษย์ หรือผู้นำทั้งหลาย (Leadership) ควรตระหนักและต้องมีทุนตัวที่สำคัญคือ Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม และเขาเหล่านั้นจะได้มี Happiness Capital ทุนแห่งความสุขอย่างแท้จริง

      นอกจากนี้แล้วความสุดยอดที่แตกต่าง ของ “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” จาก “Positioning for the Future and the Present" is the capture 9 of "Necessary Revolution" คือ นอกจาก “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” สอนให้คนรู้จัก เข้าใจ เข้าถึง เรียนรู้และพัฒนา แล้วยังเน้นอย่างมาก ๆ ที่จะสอนให้คนไม่ประมาท ซึ่งหนังสือ “Leading Change” by John p. Kotter ก็ได้กล่าวไว้ว่า “Declaring Victory to soon” ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน และยังมีมากกว่านั้นอีกก็คือ “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” ยังสอนให้คนรู้จักประเมินตัวเองเพื่อให้รู้จัก “ทำหรือลงทุนให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ อย่าทำอะไรเกินตัว”

      ซึ่งตรงกับอาจารย์จีระ ในหัวข้อ “Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ” และยังตรงกับ ทฤษฎี “ Strategic Thinking as Balance Thinking”

     เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่ “ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ “ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวงของเรา สามารถตอบทุก ๆ เรื่องที่เป็นปัญหายาก ๆ และแก้ได้ด้วยหลักการที่เข้าใจได้ง่าย ๆ หรือที่ฝรั่งชอบพูดว่า “Simple”

     ความคิดเห็นข้างต้นนี้เป็นความคิดเห็นด้วย ความบริสุทธิ์ใจเพื่อตอบข้อสอบของลูกศิษย์อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     By Tanapol Kortana Ph.D.3 SSRU 081-840-6444

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมอยากจะเสนอบทความเรื่อง "ต้นไม้มนุษย์ ปลูกโดยอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์"

" The Human Tree " Planted by Dr.Chira Hongladarom

อาจารย์ได้พยายามพัฒนามนุษย์ทำมานานแล้ว...ทำอยู่ทุกวัน....และคงทำต่อไปในอนาคต......แบบยั่งยืน Sustainability Capital เพราะอาจารย์สร้างลูกศิษย์ให้มีความรู้ 8K's and 5K's เพื่อสร้างมนุษย์พันธ์แท้ หรือเปรียบเหมือนต้นไม้ ให้เกิดขึ้นต่อ ๆ ๆ ไป และยังสร้าง 4L's โดยเฉพาะ "Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้" ไว้ให้มีเครื่องมือเพื่อต่อเนื่องอย่างยาวนานครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียนท่านอาจารย์

ในงานสัมมนาย่อยในวันนี้(19-7-2552) เป็นงานสัมมนาที่ทำให้ได้ความรู้และภาพที่ชัดเจนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งตรงตามกฎ 3 ข้อ ของหนังสือเป็นอย่างยิ่ง

หนูขออนุญาตแสดงความคิดเห็นและขอเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ว่า ถ้าบุคคลมีการฝึกฝนให้มี Positive Thinking จะมีส่วนช่วยให้การล้างภาพความทรงจำ(ภาพที่ไม่ดี)ให้เป็นสีขาวนั้นมีจำนวนน้อยลงก็เป็นได้ เพราะการคิดเชิงบวก จะมีส่วนช่วยให้ความรุนแรงต่างๆที่เกี่ยวกับภาพในอดีตลดลงบ้างไม่มากก็น้อย เพราะหนูมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า ทุกสิ่งในโลกนี้จะมีผสมผสานกัน เช่นคำกล่าวที่ว่า ในสิ่งไม่ดี ก็มีสิ่งดีแอบแฝงอยู่ และในสิ่งดี ก็จะมีสิ่งไม่ดีแอบแฝงอยู่ ตัวอย่างเช่น ยารักษาโรค มีคุณค่าอนันต์ในการรักษาโรคให้หายได้ แต่ถ้าบริโภคมากก็จะเกิดโทษได้มหันต์เช่นเดียวกัน ซึ่งก็จะตรงกับ HR Architecture ของท่านอาจารย์ ที่กล่าวในลำดับสุดท้าย คือ ความยั่งยืน ความสุข และความสมดุล นั่นเอง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา เสถียรมาศ (081-309-5959)

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่าสูง

 วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์)มีความสุข(Happiness)มากที่สุด.....ดีใจ....ตื่นเต้นที่สุด.....ที่ในชีวิตที่ได้พบเห็น.....ได้สัมผัส....ได้เรียนรู้กับปรมาจารย์ …กูรูที่เก่งสุดยอดเมืองไทย หนูคิดว่าการที่นักศึกษา Ph.Dรุ่น 3SSRU โชคดีมาก ๆๆๆ และเป็นโอกาส (Opportunity)ที่ “ไม่สามารถ” ประเมินค่าออกมาได้

คะแนนได้ที่ 1 “ต้อง” ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ “ เจ้าของ ” ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการเป็นสังคมการเรียนรู้ + ทฤษฎี 4 L’s (ตัวจริง...ขอจริง)

 @ ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ

 @ รศ. ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช

@ ดร. ดวงสมร แกรโกศล

 @ คุณ พจนารถ ซีบังเกิด “คนเก่ง.. คนสำคัญ...และคนสวย ” แห่ง APM Assessment & APMLearning & APMConsulting ในการเปิดตัวหนังสือ (วิพากษ์) “The Three Laws of Performance ”

1. The Three Law in Action

2. Rewriting the Future of Leadership

3. Mastering the Game Performance

 @ คน (Human)พนักงาน/บุคลากรในองค์การ ผลการทำงานจะแสดงอาการ/การปฏิสัมพันธ์(Action)กับสิ่งที่เขาประสบอยู่จากสิ่งที่เขาคิด...กระทำ.....ตีความออกมา....แสดงออกเป็นพฤติกรรม(Behavior) ผู้นำในองค์กรที่ดี ต้องสื่อสารกับทุก ๆคนให้เข้าใจ ต้องสื่อสารให้รู้ทั่วถึงทั้งองค์กร

@ Situation ------> Performance ของคน โดยเฉพาะต้องเปิดใจ....ในสิ่งที่ค้างคาใจ...ทำให้ผ้าใบสะอาด....พร้อมที่จะวาดภาพฝัน (Vision)ขององค์กรได้สวย = Performance ก็จะเกิดแก่องค์กร

@ Language------->การแสดงออก, ท่าทาง, ภาษากาย, อารมณ์ (Emotion)ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ เน้นว่า การที่คนในองค์กร...ไม่พูดอะไรออกมา เป็น “อันตรายยิ่ง” เพราะถ้าเขาไม่พูด....เขามีสิ่งค้างคาในใจ “ผู้บริหารไม่รู้.... Language.......” การสื่อสาร...การตัดสินใจ....ผู้นำที่เก่งต้องอ่าน Language ของคนในองค์การให้ได้ และต้องปรับปรุง Behavior ของตนทุกที่...ทุกเวลา ในยุคโลกไร้พรมแดน ----> ผู้นำต้องแก้ปัญหาได้เร็ว....เพื่อไม่ให้เสียโอกาส

@ Performance ของคน คือ ผลประกอบการขององค์การ

ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ

@ ทฤษฎี 4 อ.

1. อ. อวิชา = ไม่รู้แต่คิดว่าตัวเองรู้------->ปัญหาผู้บริหารต้องพูดให้Clear

2. อ. อิจฉา = แก้ไขโดยการ “ลด”-----> เริ่มที่ตัวเราก่อน ต้องมีคนช่วยลดและต้องใช้ Positive Thinking

3. อ. อัตตา = การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น---->ผู้นำต้อง “รับฟังความคิดเห็นลูกน้อง” จึงจะเกิดPerformance ของคน

4. อ.อคติ = Egoที่สูง โดยเฉพาะผู้บริหาร ---->ต้องแก้ไข

หนูคิดว่า “ทั้งหมด” ที่กล่าวมาเป็น Subset ของ ศ.ดร. จีระ หมดแล้วโดยเฉพาะทฤษฎี 8 K’s = Intellectual Capita: ทุนทางปัญญา (พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์)

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

 Social Capital ทุนทางสังคม

 Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

ดังนั้น การที่จะเป็นคนที่มีคุณภาพ มีศักยภาพขององค์กร---> ต้องเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ตัวเราก่อน เตรียมเป็นผ้าใบที่สะอาด พร้อมจะวาดภาพที่สวยงามตามใจต้องการ โดย Action + Create + Fulfill Potential of my life  & Use Language  to Communication & Change my perspective on my Organization ,my Peole ,and mysefe......> เพื่อการเป็น HR ที่ดีของครอบครัว องค์กร ของคูรอาจารย์โดยเฉพราะ ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ ที่รักศิษย์ ดูแล เมตตาศิษย์ ยกย่อ ชมเชย ปรารภนาดี ให้ศิษย์ทุกคน เป็นคน " รักการอ่าน  ใฝ่เรียนรู้ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ" ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

    หนูกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากนะคะ ที่กรุณาพวกหนูทุกคน ในทุก ๆ เรื่อง ดีใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกศิษย์ของท่านคะ 

สมศรี  นวรัตน์ 081-9435033

เรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

พวกเราทุกคน(Ph.D.3 SSRU)ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างมากที่ได้ให้เราได้มีส่วนร่วมในการจัดงานสัมนาเมื่อวันอาทิตยืที่ 19/7/52 ที่ผ่านมา พวกเราได้รับประสบการณ์และได้รับความรู้อย่างมากครับ

และพวกเราต้องขอขอบพระคุณอย่างมากสำหรับทีมงานของอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นคุณเอ,คุณเอ้ และอีกหลาย ๆ คนด้วยนะครับ

ด้วยความเคารพ

Ph.D.3 SSRU

ภาพบรรยากาศการเสวนา เรื่อง The three laws of performance และการปรับใช้กับสังคมไทย โดยได้รับเกียรติจาก รศ. ดร. ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด ดร.ดวงสมร แกลโกศล ผู้อำนวยการกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 สำนักงานคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และคุณพจนารถ ซีบังเกิด ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทุนมนุษย์ ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2552 ณ ห้องเรียนปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

.............................................................

              Core Learning

         Capabilities

เรียน พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกคนนะคะ

วันนี้ท่านอาจารย์จีระได้โทรศัพท์มาคุยกับเล็ก แล้วให้บอกทุกคนด้วยว่า ให้ทำการบ้านเกี่ยวกับการสัมมนาในวันอาทิตย์ที่ 19-7-52 รวม 2 เรื่อง ดังนี้

1.ได้อะไรจากการสัมมนา

2.หากจะทำ Research ควรมี Hypothesis อะไร อะไรเป็นตัวแปรต้น อะไรเป็นตัวแปรตาม

ขอให้ทุกคนช่วยส่งการบ้านให้ท่านอาจารย์ด้วยนะคะ

สุนันทา

081-309-5959

กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

หนู (สมศรี  นวรัตน์)  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  ได้กลับบ้านและมาอ่านหนังสือที่ท่านอาจารย์ “The Necessary Revolution” -------> How Individuals and Organizations are Working Together to Create a Sustainable World  โดยท่าน Peter Senge  โดยหนูจะเลือกอ่านเรื่องที่หนูพอที่จะอ่านเข้าใจได้ เช่น หน้าที่ 45  มีเนื้อหาที่น่าสนใจคือ  เรื่อง  Learning  Capabilities  for System Change  พูดถึง  Core  Learning และ Capabilities นั้น ต้อง “Creative”  ความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาองค์กร หรือการเพิ่มสมรรถภาพ, ขีดความสามารถขององค์กรต้องมี  <-----  ความมุ่งมั่น (Commitment) ด้วย Long – Term ด้วย

-         Vision (วิสัยทัศน์) ---->  Larger  Vision

-         Goals

-         Outcome (ที่ desired = ที่ปรารถนา,พอใจ)

-         ทำงานที่มีความท้าทาย (Challenge Work)

-         มองระบบใหญ่ (System)

-         Transforming Relationship

-         พัฒนาทักษะ (Skills)

-         ร่วมกันหาแนวทางที่จะพัฒนา (Develop) ในการเรียน (Learn)

-         ระบบทุนทางปัญญา (System Intelligence)

-         Focus on Optimizing

เขาได้อธิบายว่า เหมือนชิ้นของ Puzzle ซึ่ง วางบนโต๊ะที่มี 3 ขา (leg)

บนถาดของ  Puzzle ประกอบด้วย Core Learning & Capabilities  ขาตั้งทั้ง 3 ขา ประกอบด้วย

1.      การมองระบบใหญ่ (Seeing System)

2.      Collaborating Across Boundaries (ร่วมกับผู้อื่นที่อยู่ข้ามเขตแดน)

3.      Creating Desired Futures (สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในอนาคต)

1. Seeing System = Larger systems

            การจัดการ (Management) โดยมีนโยบาย (policies) มีกลยุทธ์ (Strategies) ในการแก้ปัญหาที่กำลังใหญ่โต ได้แก่เรื่อง

-         Waste (ของเสีย)

-         Toxicity (สารพิษ,ความเป็นพิษ)

2. Collaborating Across Boun-daries

            พูดถึงการทำงานในลักษณะ

-         Wet work

-         Organization

-         System thinking ----> เป็น thinker (นักคิด)

-         System Intelligence

-         Sustainable Development (การพัฒนาที่ยั่งยืนและประเด็นความยั่งยืน (sustainability Issues)

-         GDP ของระดับชาติ ระดับโลก

-         ความรับผิดชอบต่อสังคม  (Social Resporsibity)

-         Head Working

-         High  Level  Commitionent 

3.  Creating; Beyond Reactive Problem Solving

            เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ (Creating) นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะสร้างขึ้นมาและกระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Process of creating) ต้องมีความต้องการอย่างแท้จริง (Truly want ) โดยใช้ทักษะ (Skills)และสร้าง Imaginable และเกิด New Energy System เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) ในอนาคตเพื่อให้เกิดความยั่งยืน 

การอ่านบทความหน้า 45 แล้วหนูคิดว่าเนื้อหา แนวคิด (Concept)  อยู่ในทฤษฎี 8K’s +5K’s+ 4L’s+ ทฤษฎี Value  Added +ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งท่าน ศ.ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของหนูเป็นเจ้าของทฤษฎีตัวจริง +ของจริง

 

วันนี้หนูขอยุติการพูดคุยกับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  แค่นี้ก่อนนะคะ  พรุ่งนี้หนูจะคุยเรื่อง Thesis ในหัวข้อสัมมนาวันที่ 19 ที่สนุกมาก ๆๆๆๆๆๆๆ   อยากให้อาจารย์จัดแบบนี้อีกนะคะ

สมศรี  นวรัตน์  Tel. 081-9435033

  กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หนู (สมศรี นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ได้กลับบ้านและมาอ่านหนังสือที่ท่านอาจารย์ “The Necessary Revolution” -------> How Individuals and Organizations are Working Together to Create a Sustainable World โดยท่าน Peter Senge โดยหนูจะเลือกอ่านเรื่องที่หนูพอที่จะอ่านเข้าใจได้ เช่น หน้าที่ 45 มีเนื้อหาที่น่าสนใจคือ เรื่อง Learning Capabilities for System Change พูดถึง Core Learning และ Capabilities นั้น ต้อง

“Creative” ความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาองค์กร หรือการเพิ่มสมรรถภาพ, ขีดความสามารถขององค์กร

ต้องมี <----- ความมุ่งมั่น (Commitment) ด้วย Long – Term ด้วย

- Vision (วิสัยทัศน์) ----> Larger

- Vision

 - Goals

- Outcome (ที่ desired = ที่ปรารถนา,พอใจ)

- ทำงานที่มีความท้าทาย (Challenge Work)

- มองระบบใหญ่ (System)

- Transforming Relationship -

 พัฒนาทักษะ (Skills)

- ร่วมกันหาแนวทางที่จะพัฒนา (Develop) ในการเรียน (Learn) - ระบบทุนทางปัญญา (System Intelligence)

- Focus on Optimizing

เขาได้อธิบายว่า เหมือน ชิ้นของ Puzzle ซึ่ง วางบนโต๊ะที่มี 3 ขา (leg) บนถาดของ Puzzle ประกอบด้วย  Core Learning & Capabilities

ขาตั้งทั้ง 3 ขา ประกอบด้วย

1. การมองระบบใหญ่ (Seeing System)

2. Collaborating Across Boundaries (ร่วมกับผู้อื่นที่อยู่ข้ามเขตแดน)

3. Creating Desired Futures (สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในอนาคต)

 1. Seeing System = Larger systems การจัดการ (Management) โดยมีนโยบาย (policies)

มีกลยุทธ์ (Strategies) ในการแก้ปัญหาที่กำลังใหญ่โต ได้แก่เรื่อง

 - Waste (ของเสีย)

- Toxicity (สารพิษ,ความเป็นพิษ)

2. Collaborating Across Boun-daries พูดถึงการทำงานในลักษณะ

- Network(เครือข่าย) -

 Organization (องค์กรที่ต้อง...เป็นเลิศ)

- System thinking ----> เป็น thinker (นักคิด)

- System Intelligence (ระบบปัญญา.....ไม่ใช่มีแต่ ...ปริญญา..?????)

- Sustainable Development (การพัฒนาที่ยั่งยืนและประเด็นของความยั่งยืน (sustainability Issues)

- GDP ของระดับชาติ ระดับโลก

- ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Resporsibity) - Head Working - High Level Commitionent

3. Creating; Beyond Reactive Problem Solving

เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ (Creating) นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะสร้างขึ้นมาและกระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Process of creating) ต้องมีความต้องการอย่างแท้จริง (Truly want ) โดยใช้ทักษะ (Skills)และสร้าง Imaginable และเกิด New Energy System เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) ในอนาคตเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

   การอ่านบทความหน้า 45 แล้วหนูคิดว่าเนื้อหา / แนวคิด (Concept) อยู่ในทฤษฎี 8K’s +5K’s+ 4L’s+ ทฤษฎี Value Added +ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งท่าน ศ.ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของหนูเป็นเจ้าของทฤษฎีตัวจริง +ของจริง วันนี้หนูขอยุติการพูดคุยกับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ แค่นี้ก่อนนะคะ พรุ่งนี้หนูจะคุยเรื่อง Thesis ในหัวข้อสัมมนาวันที่ 19 ที่สนุกมาก ๆๆๆๆๆๆๆ อยากให้อาจารย์จัดแบบนี้อีกนะคะ สมศรี นวรัตน์ Tel. 081-9435033

เรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

จากงานสัมนาเกี่ยวกับหนังสือ "Three Law of Performance" ผมพอจะเข้าใจได้ว่า

1. ผลงานขึ้นอยู่กับสถาณการณ์ที่เกิดขึ้น

2. สถาณการ์ที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับภาษาหรือสิ่งที่สื่อออกไป

3. สิ่งที่สื่อออกไปในอนาคต จะเปลี่ยนเป็นสถาณการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้คน

กฏทั้ง 3 ข้อเป็นคล้าย ๆ กับเป็นปรัชญาและเป็นสัจธรรม แต่เราจะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้อย่างไร เมื่อผมได้พิจารณาแล้วก็เห็นได้ชัดว่าถ้าเรานำทฤษฎี 8K's กับ 5K's ของอาจารย์จีระ มา Apply เพื่อที่จะใช้เป็น Process ในการสร้างผลงานที่ดี เกี่ยวเนื่องกับการสร้างสถาณการณ์ที่ดีให้เกิดขึ้น โดยการสื่อสารหรือภาษาที่ดีออกไปในอนาคต สิ่งที่เราจะได้คือโอกาสร้างผลงานที่ดี สร้างสถาณ์การที่ดีให้เกิดขึ้น พร้อมกับการสื่อภาษาที่ดีหรือการสื่อสารสิ่งดี ๆ ออกไปสู่สาธารณะ จะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่าย ๆ คือ

1.การเริ่มต้นด้วยการสอนให้คนเข้าใจถึงเรื่อง"ทุนทางปัญญา Intellectual Capital" เพื่อจะได้มองไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในจุดหมายปลายทาง ก่อนการตัดสินใจทำอะไรลงไป หรือจะพูดง่าย ๆ คือ "คิดก่อนทำ"

2.จะสามารถทำให้คนเข้าใจและสามารถสร้าง"ทุนทางอารมณ์ Emotional Capital" คือสามารถทำให้คนควบคุมอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง

3.การที่จะแก้ไขปัญหาหรือการที่จะสร้างสถานการณ์ที่ดีและสร้างโอกาสและผลงานที่ดีได้ต้องอาศัย "ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ Talented Capital" ถ้าใครมีทุนข้อนี้จะสามารถทำให้รับได้กับสถาณ์การต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ดี

4.ถ้าเราทำได้ตามนี้เราจะพบกับสถานการ์ที่ดี ผลงานที่ดี โดยการสื่อภาษาที่ดีหรือการสื่อสารที่ดีออกไปในอนาคตอย่างมี"ทุนทางวัฒนธรรม Culture Capital"คือการทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย หรือเป็นสันดารได้ยิ่งดี(เพราะสิ่งดี ๆ ควรฝึกและทำให้ได้)

5.และถ้าคุณคือคนที่มีการคิด การทำงาน การวางแผนตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คุณมั่นใจได้เลยว่าชีวิตของคุณจะพบกับ"ทุนความยั่งยืน Sustainability Capital"

สำหรับการตั้ง Hypothesis ที่ได้จากการสัมนาครั้งนี้ ผมอยากตั้ง Hypothesis ดังนี้คือ "การพัฒนาคนโดยใช้ทฤษฎี 8K's และ 5K's ของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์สำหรับนักศึกษา Ph.D.จะสามารถทำให้คนเหล่านั้นมี "ทุนแห่งความยั่งยืน Sustainability Capital"

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

Mobile 081-840-6444

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
การบ้าน 19 กรกฎาคม 2552
นางจิราพร สวัสดิรักษ์
1. ได้อะไรจากการสัมมนา
จากการสัมมนา เห็นว่าเป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยใช้ทฤษฎี 4L's โดยเฉพาะวิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นความทันสมัย ( Learning Methodology )ที่ลงทุนไม่มากนักแต่กำไรมหาศาล ทำไมจึงพูดเช่นนี้ เพราะ เราจะเห็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้ชมผู้ฟังได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องของการส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้ตลอดชีวิต ( Life Long Learning )อย่างแท้จริง ในการสัมมนาครั้งนี้ มีวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ มีความรอบรู้ทั้งลึกและกว้าง มากด้วยประสบการณ์ ท่านแรกคือ คุณพจนารถ ซีบังเกิด ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทุนมนุษย์
หลังจากที่ได้ฟังท่านสรุปแล้ว ทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงกฎ 3 ข้อ ที่อยู่ภายใต้ผลประกอบการขององค์กรและเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงองค์กร จากหนังสือThe three laws of performance ซึ่งกฏ 3 ข้อที่ว่า มีดังนี้
1.1 คนทำงานจะปฏิบัติตัวอย่างไรกับสิ่งที่ประสบอยู่ โดยมองความจริงให้ตรงประเด็นเหมือนทฤษฎี 2 R's ของ ศ.ดร.จีระ การมีความคิดในใจ มีปฏิสัมพันธ์กับปัญหาเกิดจาก เขาคิดและตีความกันอย่างไร
1.2 ภาษาใช้ภาษาแบบใด สะท้อนมาจาก ภาษากาย ภาษาตา และภาษาพฤติกรรม บางครั้งเจ้าตัวไม่ทราบว่าได้แสดงภาษาดังกล่าวออกมา จะสังเกตได้ว่าการใช้ภาษาและการแสดงออกดังกล่าว เกี่ยวข้องกับทฤษฎี 8 K's ของ ศ.ดร.จีระ เรื่องของทุนทางด้านปัญญา ( Intellectual Capital ) และทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital )
หากบุคคลมีปัญญาและมีจริยธรรม การแสดงออกต้องเป็นไปในทาง Positive
1.3 ภาษาอนาคต ซึ่งต้องล้างใจก่อน เรื่องคาใจต้องไม่มี แล้วจึงคิดทำเรื่องใหม่ ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ 5 K's ของศ.ดร.จีระ คือทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital)
และทุนทางอารมณ์ ( Emotional Capital )
ส่วน ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด ได้ให้ข้อคิดไว้น่าประทับใจว่าทั้งหมดนี้ เกิดจาก อวิชา อิจฉา อัตตา และอัคติ ซึ่งเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับทุนทางจริยธรรม
( Ethical Capital ) ทั้งสิ้น นอกจากนั้น ท่านยังให้แนวคิดที่กระตุ้นให้คนไทยรักการอ่านเพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง แบบ Life Long Learning อีกด้วย รศ. ดร. ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ข้อคิดว่าควรใช้ปิยวาจาในการสื่อสาร ภาษาอนาคต มีภาษาพูด ภาษากาย และภาษาใจ พื้นฐานทางการศึกษา จะมีผลให้คนมีสติมากกว่าอารมณ์ ส่วนดร.ดวงสมร แกลโกศล ผู้อำนวยการกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 สำนักงานคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน แสดงความคิดเห็นว่า คุณจะทำงานอะไรขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ได้รับ การสื่อสารมีผลต่อการทำงานและต้องมองเห็นภาพอนาคตให้ได้ ก็จะเกิดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
สำหรับดิฉันคิดว่า องค์กรใดก็ตามที่ต้องการพัฒนาบุคลากร ควรนำทฤษฎี 8K's , 5k's ไปใช้ และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ตาม ทฤษฎี 4L's จะทำให้องค์กรก้าวไปสู่ความเจริญและยั่งยืนในอนาคต


2. หากจะทำ Research ควรมี Hypothesis อะไร อะไรเป็นตัวแปรต้น อะไรเป็นตัวแปรตาม
Hypothesis ที่น่าสนใจ คือ ภาวะผู้นำมีผลต่อการใช้ภาษาอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวแปรต้น คือ ภาวะผู้นำ
ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพการใช้ภาษาอนาคต
ด้วยความเคารพอย่างสูง
นางจิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

 

 

รียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
การบ้าน 19 กรกฎาคม 2552
นางจิราพร สวัสดิรักษ์
1. ได้อะไรจากการสัมมนา
จากการสัมมนา เห็นว่าเป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยใช้ทฤษฎี 4L's โดยเฉพาะวิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นความทันสมัย ( Learning Methodology )ที่ลงทุนไม่มากนักแต่กำไรมหาศาล ทำไมจึงพูดเช่นนี้ เพราะ เราจะเห็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้ชมผู้ฟังได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องของการส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้ตลอดชีวิต ( Life Long Learning )อย่างแท้จริง ในการสัมมนาครั้งนี้ มีวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ มีความรอบรู้ทั้งลึกและกว้าง มากด้วยประสบการณ์ ท่านแรกคือ คุณพจนารถ ซีบังเกิด ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทุนมนุษย์
หลังจากที่ได้ฟังท่านสรุปแล้ว ทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงกฎ 3 ข้อ ที่อยู่ภายใต้ผลประกอบการขององค์กรและเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงองค์กร จากหนังสือThe three laws of performance ซึ่งกฏ 3 ข้อที่ว่า มีดังนี้
1.1 คนทำงานจะปฏิบัติตัวอย่างไรกับสิ่งที่ประสบอยู่ โดยมองความจริงให้ตรงประเด็นเหมือนทฤษฎี 2 R's ของ ศ.ดร.จีระ การมีความคิดในใจ มีปฏิสัมพันธ์กับปัญหาเกิดจาก เขาคิดและตีความกันอย่างไร
1.2 ภาษาใช้ภาษาแบบใด สะท้อนมาจาก ภาษากาย ภาษาตา และภาษาพฤติกรรม บางครั้งเจ้าตัวไม่ทราบว่าได้แสดงภาษาดังกล่าวออกมา จะสังเกตได้ว่าการใช้ภาษาและการแสดงออกดังกล่าว เกี่ยวข้องกับทฤษฎี 8 K's ของ ศ.ดร.จีระ เรื่องของทุนทางด้านปัญญา ( Intellectual Capital ) และทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital )
หากบุคคลมีปัญญาและมีจริยธรรม การแสดงออกต้องเป็นไปในทาง Positive
1.3 ภาษาอนาคต ซึ่งต้องล้างใจก่อน เรื่องคาใจต้องไม่มี แล้วจึงคิดทำเรื่องใหม่ ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ 5 K's ของศ.ดร.จีระ คือทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital)
และทุนทางอารมณ์ ( Emotional Capital )
ส่วน ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด ได้ให้ข้อคิดไว้น่าประทับใจว่าทั้งหมดนี้ เกิดจาก อวิชา อิจฉา อัตตา และอัคติ ซึ่งเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับทุนทางจริยธรรม
( Ethical Capital ) ทั้งสิ้น นอกจากนั้น ท่านยังให้แนวคิดที่กระตุ้นให้คนไทยรักการอ่านเพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง แบบ Life Long Learning อีกด้วย รศ. ดร. ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ข้อคิดว่าควรใช้ปิยวาจาในการสื่อสาร ภาษาอนาคต มีภาษาพูด ภาษากาย และภาษาใจ พื้นฐานทางการศึกษา จะมีผลให้คนมีสติมากกว่าอารมณ์ ส่วนดร.ดวงสมร แกลโกศล ผู้อำนวยการกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 สำนักงานคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน แสดงความคิดเห็นว่า คุณจะทำงานอะไรขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ได้รับ การสื่อสารมีผลต่อการทำงานและต้องมองเห็นภาพอนาคตให้ได้ ก็จะเกิดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
สำหรับดิฉันคิดว่า องค์กรใดก็ตามที่ต้องการพัฒนาบุคลากร ควรนำทฤษฎี 8K's , 5k's ไปใช้ และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ตาม ทฤษฎี 4L's จะทำให้องค์กรก้าวไปสู่ความเจริญและยั่งยืนในอนาคต


2. หากจะทำ Research ควรมี Hypothesis อะไร อะไรเป็นตัวแปรต้น อะไรเป็นตัวแปรตาม
Hypothesis ที่น่าสนใจ คือ ภาวะผู้นำมีผลต่อการใช้ภาษาอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวแปรต้น คือ ภาวะผู้นำ
ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพการใช้ภาษาอนาคต
ด้วยความเคารพอย่างสูง
นางจิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

 

 

 

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

การบ้าน  19  กรกฎาคม  2552

นางจิราพร  สวัสดิรักษ์

  • 1. ได้อะไรจากการสัมมนา

จากการสัมมนา  เห็นว่าเป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยใช้ทฤษฎี  4L's  โดยเฉพาะวิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นความทันสมัย  ( Learning  Methodology )ที่ลงทุนไม่มากนักแต่กำไรมหาศาล  ทำไมจึงพูดเช่นนี้  เพราะ  เราจะเห็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้ชมผู้ฟังได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องของการส่งเสริมการอ่าน  การเรียนรู้ตลอดชีวิต ( Life  Long  Learning )อย่างแท้จริง  ในการสัมมนาครั้งนี้  มีวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ  มีความรอบรู้ทั้งลึกและกว้าง  มากด้วยประสบการณ์  ท่านแรกคือ  คุณพจนารถ ซีบังเกิด ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทุนมนุษย์

หลังจากที่ได้ฟังท่านสรุปแล้ว  ทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงกฎ  3  ข้อ  ที่อยู่ภายใต้ผลประกอบการขององค์กรและเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงองค์กร  จากหนังสือThe three laws of performance  ซึ่งกฏ  3  ข้อที่ว่า  มีดังนี้

  • 1.1 คนทำงานจะปฏิบัติตัวอย่างไรกับสิ่งที่ประสบอยู่ โดยมองความจริงให้ตรงประเด็นเหมือนทฤษฎี 2 R's ของ ศ.ดร.จีระ การมีความคิดในใจ มีปฏิสัมพันธ์กับปัญหาเกิดจาก เขาคิดและตีความกันอย่างไร
  • 1.2 ภาษาใช้ภาษาแบบใด สะท้อนมาจาก ภาษากาย ภาษาตา และภาษาพฤติกรรม บางครั้งเจ้าตัวไม่ทราบว่าได้แสดงภาษาดังกล่าวออกมา จะสังเกตได้ว่าการใช้ภาษาและการแสดงออกดังกล่าว เกี่ยวข้องกับทฤษฎี 8 K's ของ ศ.ดร.จีระ เรื่องของทุนทางด้านปัญญา ( Intellectual Capital ) และทุนทางจริยธรรม ( Ethical Capital )

หากบุคคลมีปัญญาและมีจริยธรรม  การแสดงออกต้องเป็นไปในทาง Positive

  • 1.3 ภาษาอนาคต ซึ่งต้องล้างใจก่อน เรื่องคาใจต้องไม่มี แล้วจึงคิดทำเรื่องใหม่ ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ 5 K's ของศ.ดร.จีระ คือทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital)

และทุนทางอารมณ์ ( Emotional  Capital )

ส่วน ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด  ได้ให้ข้อคิดไว้น่าประทับใจว่าทั้งหมดนี้  เกิดจาก  อวิชา  อิจฉา  อัตตา  และอัคติ  ซึ่งเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับทุนทางจริยธรรม

( Ethical  Capital ) ทั้งสิ้น  นอกจากนั้น  ท่านยังให้แนวคิดที่กระตุ้นให้คนไทยรักการอ่านเพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง  แบบ  Life  Long  Learning  อีกด้วย  รศ. ดร. ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ให้ข้อคิดว่าควรใช้ปิยวาจาในการสื่อสาร  ภาษาอนาคต มีภาษาพูด  ภาษากาย  และภาษาใจ   พื้นฐานทางการศึกษา  จะมีผลให้คนมีสติมากกว่าอารมณ์ ส่วนดร.ดวงสมร แกลโกศล ผู้อำนวยการกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 สำนักงานคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน  แสดงความคิดเห็นว่า  คุณจะทำงานอะไรขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ได้รับ  การสื่อสารมีผลต่อการทำงานและต้องมองเห็นภาพอนาคตให้ได้  ก็จะเกิดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

      สำหรับดิฉันคิดว่า  องค์กรใดก็ตามที่ต้องการพัฒนาบุคลากร  ควรนำทฤษฎี  8K's , 5k's  ไปใช้  และพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ตาม  ทฤษฎี  4L's  จะทำให้องค์กรก้าวไปสู่ความเจริญและยั่งยืนในอนาคต

 

 

  • 2. หากจะทำ Research ควรมี Hypothesis อะไร อะไรเป็นตัวแปรต้น อะไรเป็นตัวแปรตาม

Hypothesis  ที่น่าสนใจ  คือ  ภาวะผู้นำมีผลต่อการใช้ภาษาอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวแปรต้น  คือ  ภาวะผู้นำ

ตัวแปรตาม  คือ  ประสิทธิภาพการใช้ภาษาอนาคต

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางจิราพร  สวัสดิรักษ์  087-066-2359

 

 

 

เรียน ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์

หัวข้อที่ได้คุยกัน Performance Management (Overview book)

วิทยากรรับเชิญ

1. รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช

2. ดร.ดวงสมร แกลโกศล

3. คุณพจนารถ ซีบังเกิด

4. ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ

 

กฎ 3 ข้อ ให้ผลประกอบการของกิจการเป็นเลิศ

1. How people perform correlates to how situation occur to them

คนจะแสดงพฤติกรรมอย่างไรขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาเคยประสบ หรือเป็นภาพที่ติดค้างอยู่ในใจ

2. How a situation language

ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้การติดต่อสื่อสารประสบผลสำเร็จ คือ  ภาษาที่เป็นคำพูด, ภาษาทางสีหน้า หรือการแสดงออกทางความรู้สึก, ภาษาทางพฤติกรรม ซึ่งภาษาที่แสดงออกมานั้นมาจากจิตใต้สำนึก ของแต่ละบุคคล หรือสิ่งที่ค้างคาในจิตใจของแต่ละบุคคล

3. Future based language transforms how situations occur to people

ภาษาอนาคตของผู้บริหาร และพนักงาน ต้องสอดคล้อง โดยนำเอาระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยผ่านองค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารที่สมบูรณ์ และสามารถถ่ายทอดให้พนักงานได้ทราบว่าจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร (การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน) เพื่อให้พนักงานได้มองเห็นเป้าหมายร่วมกัน

ดังนั้น สิ่งที่ได้รับจากการสัมมนาฯ ในวันนี้ คือ

         ทฤษฎี 4l's - เห็นวิธีการเรียนรู้ การเรียนรู้สามารถ เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เท่านั้น การเรียนรู้หากเรา เปิดใจ-เปิดสมอง ที่จะเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น จะทำให้มนุษย์สามารถรับเอาสิ่งใหม่ ๆ นำมาปรับใช้ในตัวเองและในการทำงานได้   ดังนั้น การเรียนรู้สามารถจะ เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา หาโอกาสในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องใหม่ ๆ และจะเกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง

Hypothesis : การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรที่ดีส่งผลให้ผลการ ปฏิบัติงานของพนักงานเพิ่มขึ้น

                   : การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรที่ไม่ดีส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานลดลง

ตัวแปรหลัก          : การติดต่อสื่อสาร

ตัวแปรอิสระ        : ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

 ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา  ปินตา 084-8073320                            

เรียนท่านอาจารย์

หนูขอตอบกรบ้านเกี่ยวกับเรื่องการสัมมนา เมื่อ 19-7-2552 ดังนี้ค่ะ

ข้อ 1. สิ่งที่ได้จากการสัมมนาได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก จากหนังสือ THREE LAW OF PERFORMANCE ว่า

1. ผลของการแสดงออก ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับในอดีต

2. สถานการณ์ที่แสดงออก ขึ้นอยู่กับภาษา หรือ สิ่งที่สื่อออกมา เช่น กริยา ท่าทาง

3. ภาษา หรือสิ่งที่สื่อในอนาคต จะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพราะสิ่งที่สื่อนั้นมีผลให้สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องได้

วิธีการแก้ไข คือ ต้องดำเนินการล้างภาพประสบการณ์ในอดีต(ที่ไม่ดี) ด้วยการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ในอดีต เพื่อไม่ให้มีความทรงจำที่ไม่ดี หลังจากพฤติกรรมก็จะเปลี่ยนแปลงไปเอง

นอกจากนี้ยังสาเหตุอื่น ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งได้แก่ 4 อ.

-อวิชชา คนเราเมื่อไม่มีความรู้ หรือไม่มีข้อมูล ก็อาจจะแสดงออกในสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ และเกินความคาดหวัง หรือ ความไม่รู้ตัว เช่นในกรณีที่ผู้บริหาร มีงานเครียด แต่ไม่ได้พูดในสิ่งที่ไม่ดีกับลูกน้อง แต่ลูกน้องรู้ว่า ผู้บริหารเครียด ก็เนื่องการแสดงออกของสีหน้า ซึ่งขณะนั้น ตัวผู้บริหารเองไม่ทราบ เป็นต้น ดังนั้น ความไม่รู้ หรือ อวิชชา ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาความรู้เสมอไป ซึ่งถ้าหากมองในแง่ดี (POSITIVE THINK) ลูกน้องน่าจะเข้าใจผู้บริหารมากขึ้นด้วยซ้ำ และน่าจะช่วยกันในรื่องงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่ไม่ให้เป็นภาระของผู้บริหาร เพื่อเป็นการช่วยลดภาระ หรือ อย่างน้อยอย่าพยายามเพิ่มภาระให้กับผู้บริหารมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารมีเวลาสำหรับการแก้ปัญหาที่ประสบอยู่

-อิจฉา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความไม่รู้จักพอ หรือ ไม่มีคำว่า พอประมาณ

-อคติ เป็นพฤติกรรมที่มองคนในแง่ร้าย คิดในสิ่งที่ไม่ดี

-อัตตา เป็นการยึดถือตัวยึดถือตน ส่วนมากจะเกิดกับบุคคลที่ไม่เคยประสบความล้มเหลวเลยซึ่งข้อนี้ ถือว่า บุคคลนั้นมีอวิชชาด้วย คือ คนนั้นไม่รู้ว่า มีบุคคลเช่นเขาอยู่อีกมากมาย

หนูขอเสนอแนะวิธีแก้ไข กรณี 4 อ. ดังนี้

กรณี อวิชชา คือ การให้ความรู้ ให้ข้อมูล หรือ บอกกล่าวข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา รวมถึง POSITIVE THINKING ด้วย จะตรงกับ INTELLECTUAL CAPITAL

กรณี อิจฉา คือ การรู้จักประมาณตน พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี และหากอยากได้ในสิ่งที่ดี ที่คนอื่นมี ก็ต้องประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดี ก็จะได้ในสิ่งที่ดีตามมาภายหลัง จะตรงกับ ETHIC CAPITAL , HAPPINESS CAPITAL และ TALENTED CAPITAL

กรณี อคติ คือ การนำ POSITIVE THINKING มาใช้ แต่จะใช้ได้ต้องทำการฝึกฝนก่อน ฝึกจนชำนาญ แล้วจะเกิดเป็นนิสัยเอง และจะช่วยส่งผลดีในเรื่องของ CREATIVE THINKING อีกด้วย

ซึ่งตรงกับ ETHIC CAPITAL , HAPPINESS CAPITAL และ TALENTED CAPITAL

กรณี อัตตา คือ ต้องให้ข้อมูลแก่บุคคลนั้นมากๆ ทำให้เขารู้ว่า คนที่ประสบผลสำเร็จเช่นเขายังมีอีกมากมาย เขาจะได้ไม่ยึดถือในตนเองมากเกินกว่าเหตุ ซึ่งตรงกับ DIGITAL CAPITAL , SOCIAL CAPITAL และ TALENTED CAPITAL

สรุปได้ว่า จากทฤษฎีทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์ กรณี 8 K’s สามารถนำมาปรับใช้กับเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ได้อย่างแท้จริง ส่วนกรณี 5 K’s ที่น่านำมาปรับใช้ คือ

1. ทุนทางอารมณ์ (EMOTIONAL CAPITAL) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางอารมณ์ที่มนุษย์ได้แสดงออก ที่ทุกคนต้องรู้จักนำมาใช้ในทางที่ถูกที่ควร และเหมาะสมกับเวลาด้วย

2. ทุนความรู้ (KNOWLEDGE CAPITAL) เป็นทุนที่ต้องมีในมนุษย์ทุกคน เมื่อนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป

3. ทุนวัฒนธรรม (CULTURE CAPITAL) เป็นทุนเกี่ยวข้องวัฒนธรรม ประเพณี ของแต่ละสังคม ที่ต้องนำมาปรับใช้ให้ถูกสถานการณ์ ถูกกาลเทศะด้วย

หมายเหตุ .- สิ่งที่หนูเขียนข้อเสนอแนะ และการนำทุนมนุษย์มาใช้ในการแก้ไข นั้นไม่ทราบว่า ถูกต้องมากน้อยเพียงใดคะ เพราะหนูพยายามจะฝึกวิธีการนำทุนมนุษย์มาใช้ เมื่อพบกรณีศึกษาต่างๆ

ข้อ 2. หัวข้อ Research จากเนื้อหาในงานสัมมนา คือ

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์

ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์

ตัวแปรต้น คือ 1. สถานการณ์ที่ประสบในอดีต

2. ประเภทของการแสดงออก (เช่น บางคนโกรธแล้วเงียบ บางคนโกรธแล้วอาละวาด เป็นต้น)

3. ระดับการศึกษา

4. อาชีพ

5. อายุ

6. เพศ

7. สภาพครอบครัว

8. ฐานะทางครอบครัว

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้ส่งบทความลง Blog หลาย ๆ บทความเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และมีคนเข้ามาให้ความคิดเห็นดี ๆ ครับ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

http://gotoknow.org/blog/tanapol-human-tree/278629

Human Tree (ต้นมนุษย์)

คำว่า “ต้นมนุษย์” ผู้เขียนต้องการจะเริ่มต้นด้วยบทความตอนแรกนี้ว่าด้วยเรื่องที่มาของคำว่า “ต้นมนุษย์” ก่อนว่าเป็นมาอย่างไรและผู้เขียนได้เตรียมหัวข้อต่าง ๆ ในบทความที่จะเขียนตอนต่อ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นของผู้ที่สนใจ และเป้าหมายที่แท้จริงก็คือความต้องการที่จะพยายามพัฒนาบุคลากร หรือนักเรียน หรือนักศึกษา หรือผู้รักการอ่าน การพัฒนา หรือผู้ที่จะต้องการความก้าวหน้า หรือผู้ที่จะต้องความท้าทาย หรือผู้ที่ต้องการจะ เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีเป้าหมายและจุดหมายเหมือนกันคือ “การพัฒนาทุนมนุษย์ โดยแนะนำแนวทาง วิธีการให้เกิดแนวคิดในทางที่ดีขึ้น เข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพิ่มพูนในเรื่องของ ทัศนะคติที่ดี ,ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งทาง IT ,สร้างเสริมภูมิปัญญา ,ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดในเชิงนวัตกรรม, พัฒนาด้านอารมณ์ให้เหมาะสมทุกสถานการณ์ ยึดหลักแนวทางจริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถที่จะไปถึงจุดที่มีความสุขได้อย่างแท้จริง และต้องพยายามที่จะช่วยแนะนำให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและปฏิบัติให้ได้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมของเขาเหล่านั้นให้ได้ เพื่อความสำเร็จและความสุขที่ยั่งยืนซึ่งนำมาถึงทุนทางสังคมที่ดีในอนาคต”

การพัฒนาคนหรือการสร้างทุนมนุษย์ให้ได้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนอยากจะเปรียบเทียบกับต้นไม้เพื่อจะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจจึงเป็นที่มาของ “ต้นมนุษย์” จากประสบการณ์ที่เขียนบทความมาได้ระยะหนึ่งและความตั้งใจที่จะเขียนบทความให้ดี มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้อ่านจริงๆ จึงมีความคิดที่จะสร้างบทความทุก ๆ ตอนให้มีแนวทาง(Road Map) อย่างมีขบวนการ (Process) ที่ดีเพื่อให้เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ ผู้เขียนจึงได้นำแบบอย่างของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รวมทั้งแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ของท่าน อีกทั้งจะนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้เรียนมาตอนเป็นนักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตแขนงนวัตกรรมการจัดการภาคธุรกิจ (Innovative Management) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และขอให้ผู้อ่านมั่นใจได้เลยว่าคณาจารย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงระดับต้น ๆ ของประเทศเทศไทย อีกทั้งยังมีอาจารย์ชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ๆ อีกด้วย และตัวผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์การทำงานมากว่าสามสิบปีและมีพื้นฐานการศึกษาจบปริญญาตรีด้านบัญชีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบปริญญาโททางด้านบริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำงานเป็นผู้บริหารในองค์กรระหว่างประเทศและในประเทศระดับชั้นแนวหน้ามาแล้วในทุก ๆ ด้านได้แก่ ขาย การตลาด การจัดการ การส่งออก การนำเข้า การบัญชี การเงิน และการบริหารงานบุคคล ปัจจุบันงานหลักคือการพัฒนาคน การมองให้เห็นถึงความสามารถของคนที่ซ่อนอยู่ภายในและต้องนำออกมาใช้และแสดงให้ได้ การที่ต้องช่วยให้คนอื่น ๆ มองเห็นโอกาส การสร้างโอกาสได้เอง การสร้างโอกาสในอนาคตให้ได้ด้วยตัวเอง

ผู้อ่านอาจจะงง ๆ ว่าผู้เขียนมีอาชีพอะไร ผู้เขียนนอกจากเป็นวิทยากรพิเศษให้โครงการสอนปริญญาโทในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยแล้ว ยังเป็นผู้บริหารในองค์กรภาคธุรกิจด้าน IT และยังนั่งเป็นที่ปรึกษา SMEs ด้านการบริหารจัดการธุรกิจและ IT ในฝ่ายประสานและบริการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม) มีหน้าที่คอย(ทุกวันศุกร์)ให้คำปรึกษานักธุรกิจ 3 ประเภทคือ ผู้ประกอบการใหม่ที่ต้องการคำแนะนำในด้านต่าง ๆ , นักธุรกิจที่กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตต้องการมองหาทางออกของปัญหา และนักธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจมาได้ดีแล้วไม่รู้จะต่อยอดอย่างไร และถ้าเขาต่อยอดไม่ได้จะทำให้เกิดวิกฤตได้ในอนาคตนั่นเอง นี่คือสิ่งที่ทำอยู่ทุก ๆ วันถ้ามองลึก ๆ แล้วคือการสอนให้คนรู้จักวิธีพัฒนาตัวเอง สอนให้เขาเหล่านั้นรู้จักคิดและนำไปปฏิบัติ สอนผู้ประกอบการให้มองทะลุปัญหาและแก้ปัญหาได้ สอนให้ผู้ประกอบการรู้จักวิธีการสร้างโอกาสทางธุรกิจได้เอง เป็นต้นหรือในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Coaching (ผู้ฝึกสอน) และนี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความตั้งใจที่จะสร้างบทความที่เป็นประโยชน์สามารถช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้ตัวเองจากบทความซึ่งจะเป็น Coaching ให้เขาเหล่านั้นได้และก็ตรงกับทฤษฎี 4L’s ของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์นั่นเองซึ่งเราจะมาอธิบายในตอนต่อไป

ธนพล ก่อฐานะ

ถึงทุก ๆ คน

            ยินดีมากที่ช่วยจัด “Reality Show” และมี Style ในการ Take care แขก ส่งแขก มีมารยาท ดูแลอธิการบดี และสำคัญที่สุดได้เรียนรู้เพื่อไปทำวิจัยเพื่อมีอนาคต

            Future ของคุณไม่ใช่แค่สอบ Coursework ต้องมี PhD Culture ให้ได้ มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างแท้จริง

§       อ่าน วิเคราะห์

§       ชอบที่ทุกคนเห็นแล้วว่าอาจารย์มี ideas ที่นำไปปฏิบัติได้ และลูกศิษย์ควรจะถ่ายทอดให้นักเรียนทั้งในระดับปริญญาโท ตรี มัธยม อาชีวะ ให้มีทุนทางปัญญาให้ได้

§       โจทย์ที่จะฝากให้คิด และให้ทั้ง 13 ท่านตอบมาใน Blog ช่วงอาทิตย์ที่ไม่ได้พบกัน

o     อาจารย์จีระได้ 8 K และ 5 K มาเพราะอะไร?

o     อธิบายเพิ่มเติมรายละเอียดของ 8 K และ 5 K

o     มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในต่างประเทศหรือไม่

o     มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกหรือปริญญาโทในประเทศไทยหรือไม่ ขอดู

o     ลองกำหนดยุทธวิธีทั้ง Macro – Micro โดยมองจาก HR Architecture ว่าจะพัฒนา 8 K และ 5 K อย่างไร

o     พัฒนาแบบไหนที่ล้มเหลว

o     พัฒนาแบบไหนที่ประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ดูด้วย

§       ช่วยดู คิดวางแผนเรื่อง Ph.P Project ด่วน
                                                              จีระ หงส์ลดารมภ์

Dear Ajan Prof.Chira Hongladarom

There are a lot of The Thesis of Human Capital in abroad na krab.

Best regards,

Tanapol Kortana

Mobile 081-840-6444

[email protected] | My Account | Sign out

Advanced Scholar Search

Scholar Preferences

Scholar All articles Recent articles

Results 1 - 10 of about 69,600 for Thesis+Human Capital+Ph.D.. (0.12 seconds)

Did you mean: Thesis+Human Capital+Phd.

Family investments in human capital: earnings of women

J Mincer, S Polachek - The journal of political economy, 1974 - jstor.org

... The human-capital approach was first applied to these data by Polachek in his Columbia

Ph.D. thesis, "Work Experience and the Difference between Male and ...

Cited by 1053 - Related articles - All 9 versions

Returns to education: a further international update and implications

G Psacharopoulos - Journal of Human Resources, 1985 - jstor.org

... areas. Estimates of the profitability of investment in human capital have pro- ... man

[21]). One of the earliest questions following the human capital revolution ...

Cited by 772 - Related articles - All 3 versions

Firm-specific human capital and promotion ladders

L Carmichael - The Bell Journal of Economics, 1983 - jstor.org

... investments in specific human capital. ... This article is a substantial revision of

chapter 4 of my Ph.D. thesis presented to Stanford University, 1980. ...

Cited by 207 - Related articles - All 8 versions

Paradoxical fate and biological action of peroxynitrite on human platelets

- ►pnas.org [PDF]

MA Moro, VM Darley-Usmar, DA Goodwin, NG … - Proceedings of the National Academy of Sciences, 1994 - National Acad Sciences

... Paradoxical fate and biological action of peroxynitrite on human platelets ... We have

Investigated the effects of ONOO- on human platelets in vitro in order to ...

Cited by 273 - Related articles - BL Direct - All 11 versions

The off-farm labor supply of farmers

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้ลองหา Thesis ของปริญญาเอก Ph.D.เกี่ยวกับ 8K's or 5K's ยังไม่พบ แต่พบของปริญญาโท MBA หลายรายการครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

Scholar All articles Recent articles

Results 1 - 10 of about 1,090 for Thesis+Human Capital+MBA +in Thailand. (0.08 seconds)

Promotion systems and career development in Thailand: a case study of Siam Cement

SJ Appold, S Siengthai, JD Kasarda - Administrative Science Quarterly, 1998 - questia.com

... aspect of the social homophily thesis, a higher ... 1974 "Family investments in human

capital: Earnings of women ... 1948 Human Relations in the Restaurant Industry. ...

Cited by 22 - Related articles - BL Direct - All 5 versions

►Human Resource Management in Thailand: A Strategic Transition for Firm Competitiveness

S Siengthai, C Bechter - Research and Practice in Human Resource …, 2005 - rphrm.curtin.edu.au

... allows free flow of products, capital and labour. ... Human resource management in economic

recovery: A ... Master’s Degree Thesis, Chulalongkorn University, Thailand ...

Cited by 2 - Related articles - Cached - All 2 versions

Management of Technology in Thailand

C Sripaipan - Developing Technology Managers in the Pacific Rim: …, 1995 - books.google.com

... the development of a technical human capital base adequate ... In human resources

development, funding for 172 schol ... of the courses, there is a thesis or research ...

Cited by 1 - Related articles - All 2 versions

The third wave: future trends in international education

T Mazzarol, GN Soutar, MSY Seng - International Journal of Educational Management, 2003 - emeraldinsight.com

... a more sustained investment in their intellectual and human capital. ... were offering

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้ลองทำโครงการ Ph.P Project โดย Post บทความลง Blog คือ

http://gotoknow.org/portal/tanapolk

บล็อก

“ท่านเป็นผู้บริหารปัญหาหรือบริหารข้อมูล”

“การแก้ปัญหา ด้วยวิธีที่ง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ”

Human Tree

จากวิกฤตสร้างเถ้าแก่

“ลิขิตฟ้าหรือต้องฝ่าฟัน”

“คลินิกธุรกิจ”

คุณเป็นผู้ประกอบการที่ “ไม่ใช่”, “ไม่ครบ” และ “ยังไม่ประสบความสำเร็จ?”

ลูกศิษย์ตอบอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงลดารมภ์

และถ้าทำแล้วพอใช้ได้อาจจะเป็นการเริ่มต้นเตรียมตัวสำหรับโครงการได้นะครับ

ผมจะลองปรึกษากับคุรเอและคุณเอ้ดูนะครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

ถึงทุก ๆ คน

            เมื่อเช้านี้ช่วง 9 โมง ผมได้อ่านหนังสือที่ผมซื้อมาจากเขมร ชื่อว่า Staying Street Smart” ซึ่งแปลว่า คนเราจะเรียนรู้อะไรไม่จำเป็นต้องไปจบปริญญาโทหรือเอกเท่านั้น เรียนจาก Experience ก็ได้ 

            คนเขียนชื่อ Mark H. Mc Coemack หนังสือเล่มนี้ดีก็คือ What they don’t teach you at Harvard ซึ่งก็น่าสนใจ แต่ก็มีประเด็นว่า จริง  MBA Harvard ก็ไม่ได้สอนตำรา เขาเอาคนเก่งที่จบ MBA กลับมาช่วยให้ประสบการณ์คล้าย ๆ กับที่เราทำเมื่อวันอาทิตย์ แต่ในหนังสือเล่มนี้ก็มีแนวคิดอันหนึ่งเรียกว่า Learning Disability คล้าย ๆ พิการทางการเรียน เพราะมีมหาเศรษฐีคนหนึ่งรวยมากแต่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่งงาน และที่น่าสนใจก็คือ หย่ามาแล้ว 5 ครั้ง ทุก ๆ ครั้งจะแต่งงานกับสาวสวยและมีอาชีพเป็นนางแบบ

            เมื่อถามว่าเพราะอะไรคำตอบก็คือเขาคิดว่าหย่าคนที่หนึ่งเขาน่าจะได้บทเรียน และก็ปรับตัว แต่อาจจะเป็นเพราะเขาคิดไม่เป็น ขาดทุนทางปัญญาก็เลยไม่เรียนจากความเจ็บปวด

            สังเกตดูลูกน้องหรือเจ้านายบางคนไม่เคยเรียนรู้อะไร ในที่สุดก็พิการทางการเรียนรู้

            คำถามสำหรับท่าน PhD Students – เหตุผลคืออะไร มีการวิจัยหรือไม่ และวิจัยแล้วตั้ง Hypothesis อย่างไร? 8K และ 5K ช่วยได้หรือเปล่า ลองไปคิดดู

                                           จีระ หงส์ลดารมภ์

           

           

 

ก่อนจะตอบการบ้าน ของ ท่านอาจารย์จีระ อยากให้ข้อมูลเพื่อนๆ เรื่อง

Multiple Regression Analysis ซึ่งอาจารย์จีระ พูดถึงบ่อยๆ

การวิเคราะห์การถดถอยหูคูณ Multiple Regression Analysis

หมายถึง การวิเคราะห์เกี่ยวกับการมีอิทธิพล หรือการส่งผล (Contribute)

ของตัวแปรต้นหลาย ๆ ตัวที่มีต่อตัวแปรตาม นั่นคือ เป็นการหาคำอธิบาย

(Explanation) และการพยากรณ์ (Prediction)

- การหาคำอธิบาย ได้แก่การหาคำตอบว่าตัวแปรต้นแต่ละตัวมีอิทธิพล

ต่อตัวแปรตามมากน้องเพียงใด

- การพยากรณ์ ได้แก่ การสร้างสมการพยากรณ์โดยใช้ตัวแปรต้นเป็น

ตัวพยากรณ์ตัวแปรตาม

- ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดเป็นขั้น ๆ นั้น

(ต่าย เซี่ยงฉี) กล่าวว่า ให้ความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้มากกว่าวิธีอื่น ๆ และสอดคล้องกับเอกชัย ชัยประเสริฐสิทธิ์ ที่กล่าวว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลือกสมการทั้งหมดและเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลาย วิธีการวิเคราะห์การถดถอย-พหุคูณแบบเพิ่มหรือลดเป็นขั้นๆ(Stepwise Multiple Regression Analysis) จะเลือกตัวแปรต้นที่มีค่าสหสัมพันธ์ กับตัวแปรตามสูงสุดเข้าสู่การวิเคราะห์เป็นอันดับแรกเสมอ และตัวต่อๆ ไป จะเลือกจากตัวแปรที่มีค่าสหสัมพันธ์ส่วนย่อย (Partial correlation ) สูงสุดในกลุ่มตัวแปรต้นที่ยังไม่ถูกเลือกเข้าเป็นอันดับต่อไป จากนั้นจะตรวจสอบตัวแปรต้นที่เลือกไว้แล้วว่า มีตัวแปรใดบ้างที่ เมื่อเอาตัวแปรต้นอีกตัวหนึ่งเข้ามาแล้วทำให้ค่าสัมประสิทธิ์ของการทำนาย (Coefficient of determination : R2 ) ของตัวแปรนั้นไม่มีนัยสำคัญ ( F to Remove, not Significant) ก็จะเอาตัวแปรนั้นออกจากสมการ

ขบวนการตรวจสอบ 2 ขั้นตอนนี้จะทำไปเรื่อยๆ จนกว่าตัวแปรต้น

ทุกตัวที่มีอยู่ในสมการมีค่า F to Remove มีนัยสำคัญ และตัวแปรต้นไม่อยู่ใน

สมการมีค่า F to Enter ไม่มีนัยสำคัญ จึงหยุด ก็จะได้ตัวแปรทุกตัวที่อยู่ในสมการ เป็นตัวแปรต้นที่คัดเลือกไว้ตามต้องการ

เป็นความเข้าใจดั่งเดิม แต่อาจารย์จีระ ท่านบอกว่า มัน Advanes มากกว่าเดิมแล้ว ดิฉันคงต้องขอความรู้จากคนที่เข้าใจ Multiple Regression Analysis ช่วยแนะนำ เพราะท่านคง เข้าสถิติมากกว่าตัวหนังสือข้างต้น(เพราะนี่เป็นความรู้เก่าที่ขุดขึ้นมาบอกกัน)

กฎ 3 ข้อ เพื่อให้ผลประกอบการของกิจการเป็นเลิศ

1. How people perform correlates to how situation occur to themคนทำอย่างไรขึ้นอยู่กับ(สัมพันธ์กันกับ) สิ่งที่เขาที่มากระทบเขา หรือที่เขาได้รับ เช่น มีความผิดหวังเขาก็มีอาการห่อเหี่ยว หรือถ้าเขารู้สึก happy ดวงตาก็จะมีประกาย

2. How a situation language

สถานการณ์เป็นอย่างไร อยู่ที่ภาษาที่แสดงออกมา เช่น ภาษาที่เป็นคำพูด, ภาษาทางสีหน้า หรือการแสดงออกทางความรู้สึก, ภาษาทางพฤติกรรม ซึ่งภาษาที่แสดงออกมานั้นมาจากจิตใต้สำนึก ของแต่ละบุคคล หรือสิ่งที่ค้างคาในจิตใจของแต่ละบุคคล

3. Future based language transforms how situations occur to people

ภาษาอนาคตของผู้บริหาร และพนักงาน ต้องสอดคล้อง โดยนำเอาระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยผ่านองค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารที่สมบูรณ์ (การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน) เพื่อให้พนักงานได้มองเห็นเป้าหมายร่วมกัน และที่สำคัญ คือ เป็นภาษาของผู้นำในองค์กร โดย การจัดการกับเรื่อง(สิ่ง)ค้างคาใจ ให้เหมือนกันการเคลียผืนผ้าใบให้สะอาด และผู้นำต้องหาให้เจอก่อนว่า อะไรคือสิ่งเหล่านั้น

Hypothesis ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อ ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน หน่วยงาน

ตัวแปรต้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ (สิ่งที่ค้างคาใจ)

ตัวแปรตาม ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน

สรุปและรายงานหัววิจัยโดย สมศรี เต็มอนุภาพกุล (ผอ.081-7556338)

กราบเรียนศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างสูง วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอพูดคุยเกี่ยวกับงานวิจัย (Thesis) จากการวิภาคหนังสือ The three laws of performance (กฎ 3 ข้อในการปฏิบัติงาน) เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยอาจารย์พจนารถได้นิยาม

คำว่า Laws ว่าไม่ได้หมายถึงกฎระเบียบหรือเทคนิคแต่ Laws ในที่นี้เป็นกฎที่ (คุณ) จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่มันเป็นความจริงที่เกิดขึ้น เช่น พระอาทิตย์ต้องขึ้นทางด้านตะวันออกเสมอ ซึ่งคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ วิจัย และเขียนขึ้นจากการทำงานเป็นที่ปรึกษาโครงการต่าง ๆ จากประสบการณ์และคิดว่ากฎทั้ง 3 ข้ออยู่ภายใต้ Performance ไม่ว่ากฎนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตามแต่จะอยู่ภายใต้กฎนั้นเสมอ คุณพจนารถได้พูดถึงหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นเรื่องที่น่าอ่านอย่างยิ่ง

กฎข้อที่ 1 สรุปว่า คนจะทำงานหรือปฏิบัติตัวอย่างไร จะสัมพันธ์/เกี่ยวข้อง (Correlate) กับสิ่งที่เขาประสบอยู่ ความสัมพันธ์หมายถึงปฏิกิริยาโต้ตอบของทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Environment) กับบุคลากรในองค์กร อาจารย์พจนารถได้ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า เหมือนคน 2 คนกำลังเต้นรำกัน ทั้ง 2 คนต้องมีความสัมพันธ์กัน มีปฏิกิริยาที่ Action ต่อกัน หรือ Correlate ต่อกัน กฎข้อที่ 1 อธิบายว่า ความสัมพันธ์ต้องเกิดจาก 2 ฝ่าย คือ องค์กร/สิ่งแวดล้อม/สถานการณ์ในองค์กรร่วมกับบุคคล/พนักงานในองค์กร ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันไม่ใช่เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายเดียวต้องมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน

โดยอาจารย์พจนารถสรุป

กฎข้อที่ 1 ว่า คนทำงานในองค์กรจะเป็นอย่างไร? หรือ Performance ขึ้นอยู่กับ

1. สิ่งที่พนักงาน/บุคลากรในองค์กรคิด (อยู่ในใจ)

2. สิ่งที่มากระทบ, Environment ต่าง ๆ ที่มากระทบกับตัวพนักงาน/บุคลากรในองค์กร

3. การตีความอย่างไร?ของ------>พนักงานหรือบุคลากรในองค์กร โดยที่อาจารย์พจนารถได้ยกตัวอย่างว่าถ้าพนักงาน/บุคลากรคิดว่าองค์กรของเขากำลัง “แย่แล้ว” (สิ่งที่เขากำลังประสบ) องค์กรของเขาไม่มีอนาคต ดังนั้นพฤติกรรมการแสดงออกของเขาในการทำงานคือจะทำงานไปเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันก็หางานใหม่ควบคู่ไปด้วยอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เขาคิดว่าองค์กรกำลังแย่แล้วคือสิ่งที่เขากำลังประสบอยู่ ในทางตรงข้าม ถ้าเขาคิดว่า (สิ่งที่เขาประสบ) องค์กรของเขา “มีอนาคต” พฤติกรรม (Behavior) ที่เขาแสดงออกก็จะเป็นอีกลักษณะหนึ่ง เช่น มีความสุข (Happiness) ขณะทำงาน แสดงออกทางสีหน้าและแววตาเป็นประกาย มีความกระตือรือร้นอยากทำงาน

กฎข้อที่ 2 สถานการณ์จะเป็นอย่างไร (Performance) ขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ทั้งที่พูดออกมาเป็นคำพูด ไม่เป็นคำพูด ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ใช้คำว่า Language ซึ่งประกอบด้วย

1. ภาษากาย

2. ภาษาพูด ที่สื่อเนื้อความออกมา

3. ภาษาที่แสดงออกมา (Feeling) เช่น ประกายสายตา รวมถึงพฤติกรรมการแสดงออก

ทั้ง 3 ข้อเป็น Environment ประเภทหนึ่งโดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัวในพฤติกรรมที่แสดงออกมา Languageนี้ทุกคนจะมีอยู่ในตัวของทุกคน Language คือ สิ่งที่ข้างค้างอยู่ในใจโดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว มี Complain อยู่ในใจตลอดเวลา เป็นเหตุผลทางจิตวิทยาและจะ “โทษคนอื่น” ว่า “เราไม่ผิด” และโทษคนอื่น---> “ที่ฉันPerform ไม่ดี” เพราะมาจากคนอื่นทั้งนั้น ดังนั้น ในหนังสือเล่มนี้ได้แนะนำให้หา/วิเคราะห์  “รากของปัญหา” (Root Cause Analysis : RCA) การหาสิ่งที่ค้างคาในใจ ข้อข้องใจ ให้เจอ โดย--->ต้อง กลับไปถามตัวเอง ว่าเรามีข้อค้างค่าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร? ถึงได้ส่งภาษา (Language) ออกมาอย่างนั้น “คนส่วนใหญ่จะหาไม่เจอ” เพราะคนเหล่านั้น ไม่รู้ตัวเอง

กฎข้อที่ 3 ถ้าอย่างนั้นเราควรใช้ Facture Language (ภาษาอนาคต) ในใจคิดถึงอนาคตแล้วพูดออกมา---------> ทำให้คนพูดออกมา----->เห็นภาพข้างหน้าที่จะเดินไป ว่าภาพข้างหน้าเป็นอย่างไร? คำพูดที่เป็นภาษาอนาคตเป็นคำพูดที่ “เกี่ยวโยง” ไปกับผู้นำในองค์กร (Leader) คนในองค์กรต้องใช้ภาษานี้นั้นก็คือ Vision (วิสัยทัศน์) ซึ่งเป็นภาพข้างหน้า “ว่าจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร” และเห็นภาพข้างหน้าร่วมกันกับทุกคนในองค์กร (การมีส่วนร่วมใน Vision ขององค์กร) คำพูดที่เป็นภาษาอนาคตเป็นคำพูดที่เกี่ยวโยง “อย่างยิ่ง” กับ คนที่เป็น Leader ในองค์กร ผู้นำองค์กรต้องใช้ภาษานี้โดยการเขียน Vision ขององค์กรที่น่า “จูงใจ (Motivation)” ต้องเขียนและเรียนรู้ (Learning) ว่าจะเขียนอย่างไรที่จะจูงใจให้คนในองค์กร เห็นภาพข้างหน้า = Facture Language การเขียนและสื่อสาร Vision แล้วทำให้คนในองค์กรมีความรู้สึกขนรุกขนพองเกิดความกระตือรือร้น “อยากร่วมเดินไปข้างหน้ากับองค์กร” มีความหวัง มีอนาคต สรุปสุดท้ายอาจารย์พจนารถได้สรุปกฎทั้ง 3 ข้อนี้ว่า “เราต้องคำนึงถึงกฎ 3 ข้อนี้เสมอ” เพื่อให้เกิดการปรับปรุง Performance โดยแนะนำว่า

1. การใช้กฎทั้ง 3 ข้อในองค์กรจะทำอย่างไร? ----> ให้ Performance ของผู้นำและขององค์กรดีขึ้น

2. กฎทั้ง 3 ข้อสามารถใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ชีวิตส่วนตัว อนาคตชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร?

สามารถดูได้จากกฎทั้ง 3 ข้อ คือ

 กฎข้อที่ 1 คุณ Focus เรื่องอะไร? อะไรทำให้เราตกอยู่ในสถานการณ์นั้น เช่น เรามีทัศนคติ (Attitude) ที่ไม่ดี รู้สึกแย่ ไม่มีอนาคต หรือรู้สึกดี มองเห็นอนาคตของตัวเองและขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับ Attitude กฎข้อที่

2 ภาษาที่ใช้ ----> เราใช้ภาษาแบบไหน เรามี Language ข้อค้างคาใจอยู่เกี่ยวกับเรื่องอะไร

กฎข้อที่ 3 ภาษาอนาคต (Facture Language) การจะบอกภาษาอนาคตได้

อาจารย์พจนารถได้อธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าภาษาอนาคตเปรียบเสมือนการที่เราวาดรูปบนผืนผ้าใบที่เดิมมีรูปอยู่แล้ว เราไม่มีทางที่จะวาดรูปใหม่ลงไปได้ โดยที่เราไม่ได้ทำความสะอาด (Clean) ผืนผ้าใบ เราจะไม่สามารถวาดรูปได้ ผ้าใบที่มีพื้นที่ที่สะอาดเท่านั้นที่จะสามารถวาดรูปลงไปได้ นั่นคือ Facture Language หมายถึง เราต้องกลับไปดูเรื่องที่ค้างคาในใจ ทั้งหลายว่ามีเรื่องอะไรบ้าง (กฎข้อที่ 2) สุดท้ายอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเรื่องของคู่สามีภรรยา ซึ่งเป็นเรื่องของคน 2คนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน (เป็นคู่ที่รักกันมากและเป็นครอบครัวที่ Prefect มาก) มีอนาคตที่ดี หน้าที่การงานที่ก้าวหน้า แต่ ในใจของภรรยา “ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ” คิดในใจว่าสามีพฤติกรรมมาสายตลอดเวลา ดังนั้น ความเคารพนับถือสามีจึงมีน้อย และ Complain (บ่น, คร่ำครวญ) ว่า “สามีมาสายอีกแล้ว” ซึ่งทำให้ภรรยามี Power ที่จะ Control สามี โดยที่ตนเอง “ก็ไม่รู้ตัว” ขณะเดียวกันสิ่งที่สามีคิดว่า “ทำไมภรรยาของฉันขี้บ่นจังเลย” เพราะฉะนั้นที่ฉัน (สามี) กลับบ้านดึก ไม่ใส่ใจครอบครัวนั้นเพราะคุณ (ภรรยา) ขี้บ่น สิ่งที่ทั้งสามีและภรรยาแสดงออกมาเป็นภาษา (Language) ที่สื่อออกมาตามกฎข้อที่ 2 ดังนั้น ทั้งสามี-ภรรยา “ต้องรู้ตัวก่อนว่าอะไรคือสิ่งนั้น” ที่เรา Complain ตลอดเวลา โดยที่ “เราไม่รู้ตัว” ที่สำคัญที่สุดต้องหา “ตัวช่วย” (คนช่วย) โดยมีคนช่วยแนะนำ เสนอแนะ บอก ถ้าเราสามารถทำความสะอาด (Clean) สิ่งเหล่านี้ได้ ก็เปรียบเสมือนเราทำผืนผ้าใบได้ขาวสะอาด ทำให้ได้ผืนผ้าใบผืนใหม่พร้อมที่จะวาดรูปภาพ ภาพฝันในอนาคต (Vision) ได้ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้นำองค์กร ผู้นำชุมชน หรือครอบครัว (ชุมชนพื้นฐาน)

ศ.ดร.จีระ ได้เสริมความรู้ต่อจากอาจารย์พจนารถว่า

- หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนภาษาวิชาการที่ “พรมแดนของความรู้”

- เป็นหนังสือที่ “คุ้มค่า” กับการอ่าน เพราะผู้เขียนได้เขียนจากประสบการณ์จากการทำงาน ที่ได้ปฏิบัติงานจริง เกิดขึ้นจริง เรา (ผู้อ่าน/นักศึกษา) สามารถนำเอา Knowledge จากการอ่านมาต่อยอดให้กับตนเองโดยเฉพาะคนที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร

- สามารถนำมาประยุกต์ใช้ (Apply) ในองค์กร, บริษัท, ชุมชน

- ในหนังสือได้บอกถึง Process ของการทำให้ผืนผ้าใบให้ขาวสะอาดว่าต้องทำอย่างไร?

- การที่คนจะรู้กฎข้อที่ 1 ว่าสถานการณ์ตนเองอยู่ที่ไหน? จะรู้ได้อย่างไรใครจะมาบอกให้รู้ เพื่อต่อยอด เพื่อช่วยทั้งในเรื่องส่วนตัวและช่วยเรื่องในองค์กร ----> จะทำให้เกิดการต่อยอดได้ “กว้างและไกล”

-กฎข้อที่ 2 จากการที่อาจารย์ศ.ดร.จีระ เป็นผู้นำในองค์มาตลอดชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของ Human Capital อาจารย์ได้พูดถึงการใช้ Language ซึ่งประกอบด้วย ภาษา, การใช้อารมณ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของตัวหนังสือ แต่เป็นการสื่อภาษาที่ไม่ใช่คำพูด ซึ่งท่านอาจารย์ได้พูดถึงหนังสือที่ชื่อว่า “Crusoe Conversation” (ไม่ทราบว่าเขียนถูกหรือเปล่านะคะ) ในหนังสือได้บอกว่า “การไม่พูดอะไรเลย” -----> “เป็นสิ่งที่อันตรายมาก” เพราะถูกเก็บกด ไม่ได้แสดงออก ขณะเดียวกัน “การพูดมากเกินไป” ก็อันตรายเช่นกัน การฝึกใช้ Language ก็เหมือนกับ Emotion Capital (ทฤษฎีของท่านอาจารย์จีระนั่นเอง)

- กฎข้อที่ 3 ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ได้พูดถึง “Performance” หมายถึง ผลประกอบการขององค์กร “ไม่ใช่” ผลการปฏิบัติงาน และถ้าPerformance เกิดสูงสุดในองค์กรแล้ว จะแสดงถึง Human Capital ซึ่งเป็นทุนที่ทำให้เกิด Performance สูงสุดนั่นเอง และ Human Capital หรือทุนทางมนุษย์ถูกนำไปใช้ในองค์กรจะทำให้องค์กรไปสู่ “ความเป็นเลิศ (Excellence)” เพราะคนจะมี “พลังสูงสุด”

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) จาก รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรีขอยุติการพูดคุย การสื่อสาร การทบทวน การทำการบ้าน ส่งท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ พรุ่งนี้หนูจะนำเรื่องที่ท่านอาจารย์พจนารถและท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ไปคิดต่อยอดเพื่อค้นหา Thesis สำหรับบทความจากหนังสือ The three laws of performance นะคะ สมศรี นวรัตน์ Tel. 081-9435033

กราบเรียนศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างสูง

วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอพูดคุยเกี่ยวกับงานวิจัย (Thesis) จากการวิภาคหนังสือ The three laws of performance (กฎ 3 ข้อในการปฏิบัติงาน) เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยอาจารย์พจนารถได้นิยามคำว่า Laws ว่าไม่ได้หมายถึงกฎระเบียบหรือเทคนิคแต่ Laws ในที่นี้เป็นกฎที่ (คุณ) จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่มันเป็นความจริงที่เกิดขึ้น เช่น พระอาทิตย์ต้องขึ้นทางด้านตะวันออกเสมอ ซึ่งคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ วิจัย และเขียนขึ้นจากการทำงานเป็นที่ปรึกษาโครงการต่าง ๆ จากประสบการณ์และคิดว่ากฎทั้ง 3 ข้ออยู่ภายใต้ Performance ไม่ว่ากฎนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตามแต่จะอยู่ภายใต้กฎนั้นเสมอ คุณพจนารถได้พูดถึงหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นเรื่องที่น่าอ่านอย่างยิ่ง

กฎข้อที่ 1 สรุปว่า คนจะทำงานหรือปฏิบัติตัวอย่างไร จะสัมพันธ์/เกี่ยวข้อง (Correlate) กับสิ่งที่เขาประสบอยู่ ความสัมพันธ์หมายถึงปฏิกิริยาโต้ตอบของทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Environment) กับบุคลากรในองค์กร อาจารย์พจนารถได้ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า เหมือนคน 2 คนกำลังเต้นรำกัน ทั้ง 2 คนต้องมีความสัมพันธ์กัน มีปฏิกิริยาที่ Action ต่อกัน หรือ Correlate ต่อกัน กฎข้อที่ 1 อธิบายว่า ความสัมพันธ์ต้องเกิดจาก 2 ฝ่าย คือ องค์กร/สิ่งแวดล้อม/สถานการณ์ในองค์กรร่วมกับบุคคล/พนักงานในองค์กร ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันไม่ใช่เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายเดียวต้องมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน โดยอาจารย์พจนารถสรุปกฎข้อที่ 1 ว่า คนทำงานในองค์กรจะเป็นอย่างไร? หรือ Performance ขึ้นอยู่กับ

1. สิ่งที่พนักงาน/บุคลากรในองค์กรคิด (อยู่ในใจ)

2. สิ่งที่มากระทบ, Environment ต่าง ๆ ที่มากระทบกับตัวพนักงาน/บุคลากรในองค์กร

3. การตีความอย่างไร?ของ------>พนักงานหรือบุคลากรในองค์กร

โดยที่อาจารย์พจนารถได้ยกตัวอย่างว่าถ้าพนักงาน/บุคลากรคิดว่าองค์กรของเขากำลัง แย่แล้ว(สิ่งที่เขากำลังประสบ) องค์กรของเขาไม่มีอนาคต ดังนั้นพฤติกรรมการแสดงออกของเขาในการทำงานคือจะทำงานไปเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันก็หางานใหม่ควบคู่ไปด้วยอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เขาคิดว่าองค์กรกำลังแย่แล้วคือสิ่งที่เขากำลังประสบอยู่ ในทางตรงข้าม ถ้าเขาคิดว่า (สิ่งที่เขาประสบ) องค์กรของเขา มีอนาคต พฤติกรรม (Behavior) ที่เขาแสดงออกก็จะเป็นอีกลักษณะหนึ่ง เช่น มีความสุข (Happiness) ขณะทำงาน แสดงออกทางสีหน้าและแววตาเป็นประกาย มีความกระตือรือร้นอยากทำงาน

กฎข้อที่ 2 สถานการณ์จะเป็นอย่างไร (Performance) ขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ทั้งที่พูดออกมาเป็นคำพูด ไม่เป็นคำพูด ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ใช้คำว่า Language ซึ่งประกอบด้วย

1. ภาษากาย

2. ภาษาพูด ที่สื่อเนื้อความออกมา

3. ภาษาที่แสดงออกมา (Feeling) เช่น ประกายสายตา รวมถึงพฤติกรรมการแสดงออก ทั้ง 3 ข้อเป็น Environment ประเภทหนึ่งโดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัวในพฤติกรรมที่แสดงออกมา

Languageนี้ทุกคนจะมีอยู่ในตัวของทุกคน Language คือ สิ่งที่ข้างค้างอยู่ในใจโดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว มี Complain อยู่ในใจตลอดเวลา เป็นเหตุผลทางจิตวิทยาและจะ โทษคนอื่น ว่า เราไม่ผิด และโทษคนอื่น---> “ที่ฉันPerform ไม่ดีเพราะมาจากคนอื่นทั้งนั้น

            ดังนั้น ในหนังสือเล่มนี้ได้แนะนำให้หา รากของปัญหา (Root Cause Analysis : RCA) การหาสิ่งที่ค้างคาในใจ ข้อข้องใจ ให้เจอ โดย--->ต้องกลับไปถามตัวเองว่าเรามีข้อค้างค่าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร? ถึงได้ส่งภาษา (Language) ออกมาอย่างนั้น คนส่วนใหญ่จะหาไม่เจอ เพราะคนเหล่านั้นไม่รู้ตัวเอง

            กฎข้อที่ 3 ถ้าอย่างนั้นเราควรใช้ Facture Language (ภาษาอนาคต) ในใจคิดถึงอนาคตแล้วพูดออกมา---------> ทำให้คนพูดออกมา----->เห็นภาพข้างหน้าที่จะเดินไป ว่าภาพข้างหน้าเป็นอย่างไร? คำพูดที่เป็นภาษาอนาคตเป็นคำพูดที่ เกี่ยวโยง ไปกับผู้นำในองค์กร (Leader) คนในองค์กรต้องใช้ภาษานี้นั้นก็คือ Vision (วิสัยทัศน์) ซึ่งเป็นภาพข้างหน้า ว่าจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร และเห็นภาพข้างหน้าร่วมกันกับทุกคนในองค์กร (การมีส่วนร่วมใน Vision ขององค์กร) คำพูดที่เป็นภาษาอนาคตเป็นคำพูดที่เกี่ยวโยง อย่างยิ่ง กับ คนที่เป็น Leader ในองค์กร ผู้นำองค์กรต้องใช้ภาษานี้โดยการเขียน Vision ขององค์กรที่น่า จูงใจ (Motivation) ต้องเขียนและเรียนรู้ (Learning) ว่าจะเขียนอย่างไรที่จะจูงใจให้คนในองค์กรเห็นภาพข้างหน้า =  Facture Language การเขียนและสื่อสาร Vision แล้วทำให้คนในองค์กรมีความรู้สึกขนรุกขนพองเกิดความกระตือรือร้น อยากร่วมเดินไปข้างหน้ากับองค์กร มีความหวัง มีอนาคต

            สรุปสุดท้ายอาจารย์พจนารถได้สรุปกฎทั้ง 3 ข้อนี้ว่า เราต้องคำนึงถึงกฎ 3 ข้อนี้เสมอ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง Performance โดยแนะนำว่า

            1. การใช้กฎทั้ง 3 ข้อในองค์กรจะทำอย่างไร? ----> ให้ Performance ของผู้นำและขององค์กรดีขึ้น

            2. กฎทั้ง 3 ข้อสามารถใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ชีวิตส่วนตัว อนาคตชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร? สามารถดูได้จากกฎทั้ง 3 ข้อ คือ

            กฎข้อที่ 1 คุณ Focus เรื่องอะไร? อะไรทำให้เราตกอยู่ในสถานการณ์นั้น เช่น เรามีทัศนคติ (Attitude) ที่ไม่ดี รู้สึกแย่ ไม่มีอนาคต หรือรู้สึกดี มองเห็นอนาคตของตัวเองและขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับ Attitude

            กฎข้อที่ 2 ภาษาที่ใช้ ----> เราใช้ภาษาแบบไหน เรามี Language ข้อค้างคาใจอยู่เกี่ยวกับเรื่องอะไร

            กฎข้อที่ 3 ภาษาอนาคต (Facture Language) การจะบอกภาษาอนาคตได้ อาจารย์พจนารถได้อธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าภาษาอนาคตเปรียบเสมือนการที่เราวาดรูปบนผืนผ้าใบที่เดิมมีรูปอยู่แล้ว เราไม่มีทางที่จะวาดรูปใหม่ลงไปได้ โดยที่เราไม่ได้ทำความสะอาด (Clean) ผืนผ้าใบ เราจะไม่สามารถวาดรูปได้ ผ้าใบที่มีพื้นที่ที่สะอาดเท่านั้นที่จะสามารถวาดรูปลงไปได้ นั่นคือ Facture Language หมายถึง เราต้องกลับไปดูเรื่องที่ค้างคาในใจ ทั้งหลายว่ามีเรื่องอะไรบ้าง (กฎข้อที่ 2)

            สุดท้ายอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเรื่องของคู่สามีภรรยา ซึ่งเป็นเรื่องของคน 2คนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน (เป็นคู่ที่รักกันมากและเป็นครอบครัวที่ Prefect มาก) มีอนาคตที่ดี หน้าที่การงานที่ก้าวหน้า แต่ ในใจของภรรยา ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ คิดในใจว่าสามีพฤติกรรมมาสายตลอดเวลา ดังนั้น ความเคารพนับถือสามีจึงมีน้อย และ Complain (บ่น, คร่ำครวญ) ว่า สามีมาสายอีกแล้ว ซึ่งทำให้ภรรยามี Power ที่จะ Control สามี โดยที่ตนเอง ก็ไม่รู้ตัว  ขณะเดียวกันสิ่งที่สามีคิดว่า ทำไมภรรยาของฉันขี้บ่นจังเลย  เพราะฉะนั้นที่ฉัน (สามี) กลับบ้านดึก ไม่ใส่ใจครอบครัวนั้นเพราะคุณ (ภรรยา) ขี้บ่น สิ่งที่ทั้งสามีและภรรยาแสดงออกมาเป็นภาษา (Language) ที่สื่อออกมาตามกฎข้อที่ 2 ดังนั้น ทั้งสามี-ภรรยา ต้องรู้ตัวก่อนว่าอะไรคือสิ่งนั้น ที่เรา Complain ตลอดเวลา โดยที่ เราไม่รู้ตัว ที่สำคัญที่สุดต้องหา ตัวช่วย (คนช่วย) โดยมีคนช่วยแนะนำ เสนอแนะ บอก ถ้าเราสามารถทำความสะอาด (Clean) สิ่งเหล่านี้ได้ ก็เปรียบเสมือนเราทำผืนผ้าใบได้ขาวสะอาด ทำให้ได้ผืนผ้าใบผืนใหม่พร้อมที่จะวาดรูปภาพ ภาพฝันในอนาคต (Vision) ได้ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้นำองค์กร ผู้นำชุมชน หรือครอบครัว (ชุมชนพื้นฐาน)

            ศ.ดร.จีระ ได้เสริมความรู้ต่อจากอาจารย์พจนารถว่า

            - หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนภาษาวิชาการที่ พรมแดนของความรู้

            - เป็นหนังสือที่ คุ้มค่า กับการอ่าน เพราะผู้เขียนได้เขียนจากประสบการณ์จากการทำงาน ที่ได้ปฏิบัติงานจริง เกิดขึ้นจริง เรา (ผู้อ่าน/นักศึกษา) สามารถนำเอา Knowledge จากการอ่านมาต่อยอดให้กับตนเองโดยเฉพาะคนที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร

            - สามารถนำมาประยุกต์ใช้ (Apply) ในองค์กร, บริษัท, ชุมชน

            - ในหนังสือได้บอกถึง Process ของการทำให้ผืนผ้าใบให้ขาวสะอาดว่าต้องทำอย่างไร?

            - การที่คนจะรู้กฎข้อที่ 1 ว่าสถานการณ์ตนเองอยู่ที่ไหน? จะรู้ได้อย่างไรใครจะมาบอกให้รู้ เพื่อต่อยอด เพื่อช่วยทั้งในเรื่องส่วนตัวและช่วยเรื่องในองค์กร ----> จะทำให้เกิดการต่อยอดได้ กว้างและไกล   

            -กฎข้อที่ 2 จากการที่อาจารย์ศ.ดร.จีระ เป็นผู้นำในองค์มาตลอดชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของ Human Capital อาจารย์ได้พูดถึงการใช้ Language ซึ่งประกอบด้วย ภาษา, การใช้อารมณ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของตัวหนังสือ แต่เป็นการสื่อภาษาที่ไม่ใช่คำพูด ซึ่งท่านอาจารย์ได้พูดถึงหนังสือที่ชื่อว่า “Crusoe Conversation” (ไม่ทราบว่าเขียนถูกหรือเปล่านะคะ) ในหนังสือได้บอกว่า การไม่พูดอะไรเลย” -----> “เป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะถูกเก็บกด ไม่ได้แสดงออก ขณะเดียวกัน การพูดมากเกินไป ก็อันตรายเช่นกัน การฝึกใช้ Language ก็เหมือนกับ Emotion Capital (ทฤษฎีของท่านอาจารย์จีระนั่นเอง)

            - กฎข้อที่ 3 ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ได้พูดถึง “Performance” หมายถึง ผลประกอบการขององค์กร ไม่ใช่ ผลการปฏิบัติงาน และถ้าPerformance เกิดสูงสุดในองค์กรแล้ว จะแสดงถึง Human Capital ซึ่งเป็นทุนที่ทำให้เกิด Performance สูงสุดนั่นเอง และ Human Capital หรือทุนทางมนุษย์ถูกนำไปใช้ในองค์กรจะทำให้องค์กรไปสู่ ความเป็นเลิศ (Excellence) เพราะคนจะมี พลังสูงสุด

            วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์) จาก รพ.บ้านลาดขอยุติการพูดคุย การสื่อสาร การทบทวน การทำการบ้าน ส่งท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ พรุ่งนี้หนูจะนำเรื่องที่ท่านอาจารย์พจนารถและท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ไปคิดต่อยอดเพื่อค้นหา Thesis สำหรับบทความจากหนังสือ The three laws of performance นะคะ

สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

 

กราบเรียนศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างสูง

 

จากการวิภาคหนังสือ The three laws of performance (กฎ 3 ข้อต่อผลประกอบการจากการปฏิบัติงาน) เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมานั้นหนูคิดว่าสามารตั้งThesis ทั้ง ซึ่งหนูคิดเรื่อง Research Question ได้แค่นี้ (ก่อนนะคะ) ได้แก่

1. ภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์กับการเติบโตขององค์กรหรือไม่?

2. ภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์กับผลประกอบการขององค์กรอย่างไร?

3. ภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลประกอบการขององค์กรหรือไม่?

(Human Capital มีความสัมพันธ์ กับ Organization Performance)หรือไม่?

4. องค์กรที่มีภาวะผู้นำระดับสูงจะมีต่อผลประกอบการสูงกว่า (High Performance ) องค์กรที่มีภาวะผู้นำระดับต่ำ

5.การสื่อสารของผู้นำเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญของการเพิ่ม ผลประกอบการ(Performance) ขององค์กร

6. การสื่อสารของผู้นำในองค์กรเป็นปัจจัยหลักของการสร้างผลประกอบการ

7. การสื่อสารของผู้นำมีผลกระทบเชิงบวกต่อของบุคลากรขององค์กร

 8. การสร้างแรงจูงใจของผู้นำมีผลกระทบต่อของบุคลากรในองค์กรหรือไม่?

9. สภาวะทางอารมณ์(Emotion)ของผู้นำ มีต่อผลประกอบการ(Performance)หรือไม่?

10. การสื่อสาร (Communication) มีความสัมพันธ์กับ ผลประกอบการหรือไม่?

 

วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์) จาก รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ขอยุติการพูดคุย การสื่อสาร การทบทวน การทำการบ้าน ส่งท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ

สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอบการบ้านข้อ "การพัฒนาแบบไหนล้มเหลว"

      ความคิดเห็นท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศกล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ไม่ควรทำแบบดาวกระจาย หรือทำทุกเรื่อง หากทำเช่นนั้นอีก 10 ปีมั่นใจว่าต้องมีการปฏิรูปรอบสาม เพราะขณะนี้ระบบการศึกษาและบรรยากาศในโรงเรียนนอกจากจะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว ยังทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้วย ที่สำคัญสังคมไทยยังบ้าปริญญาแต่ไม่บ้าปัญญา ซึ่งถือเป็นการล้มละลายทางปัญญาอย่างช้า ๆ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอบคำถาม "การพัฒนาแบบไหน" และยกตัวอย่าง

ขอตอบว่า จะเลือกใช้ทฤษฎี 4L's ของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

โดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ Leanring Community เช่นตัวอย่างของ gotoknow และสร้างบทความต่าง ๆ จากขึ้นมาเพื่อพัฒนาให้คนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง และแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่นอีกด้วย ตัวอย่างบทความ

Human Tree (ต้นมนุษย์)

คำว่า “ต้นมนุษย์” ผู้เขียนต้องการจะเริ่มต้นด้วยบทความตอนแรกนี้ว่าด้วยเรื่องที่มาของคำว่า “ต้นมนุษย์” ก่อนว่าเป็นมาอย่างไรและผู้เขียนได้เตรียมหัวข้อต่าง ๆ ในบทความที่จะเขียนตอนต่อ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นของผู้ที่สนใจ และเป้าหมายที่แท้จริงก็คือความต้องการที่จะพยายามพัฒนาบุคลากร หรือนักเรียน หรือนักศึกษา หรือผู้รักการอ่าน การพัฒนา หรือผู้ที่จะต้องการความก้าวหน้า หรือผู้ที่จะต้องความท้าทาย หรือผู้ที่ต้องการจะ เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีเป้าหมายและจุดหมายเหมือนกันคือ “การพัฒนาทุนมนุษย์ โดยแนะนำแนวทาง วิธีการให้เกิดแนวคิดในทางที่ดีขึ้น เข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพิ่มพูนในเรื่องของ ทัศนะคติที่ดี ,ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งทาง IT ,สร้างเสริมภูมิปัญญา ,ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดในเชิงนวัตกรรม, พัฒนาด้านอารมณ์ให้เหมาะสมทุกสถานการณ์ ยึดหลักแนวทางจริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถที่จะไปถึงจุดที่มีความสุขได้อย่างแท้จริง และต้องพยายามที่จะช่วยแนะนำให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและปฏิบัติให้ได้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมของเขาเหล่านั้นให้ได้ เพื่อความสำเร็จและความสุขที่ยั่งยืนซึ่งนำมาถึงทุนทางสังคมที่ดีในอนาคต” การพัฒนาคนหรือการสร้างทุนมนุษย์ให้ได้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนอยากจะเปรียบเทียบกับต้นไม้เพื่อจะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจจึงเป็นที่มาของ “ต้นมนุษย์” จากประสบการณ์ที่เขียนบทความมาได้ระยะหนึ่งและความตั้งใจที่จะเขียนบทความให้ดี มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้อ่านจริงๆ จึงมีความคิดที่จะสร้างบทความทุก ๆ ตอนให้มีแนวทาง(Road Map) อย่างมีขบวนการ (Process) ที่ดีเพื่อให้เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ ผู้เขียนจึงได้นำแบบอย่างของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รวมทั้งแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ของท่าน อีกทั้งจะนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้เรียนมาตอนเป็นนักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตแขนงนวัตกรรมการจัดการภาคธุรกิจ (Innovative Management) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และขอให้ผู้อ่านมั่นใจได้เลยว่าคณาจารย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงระดับต้น ๆ ของประเทศเทศไทย อีกทั้งยังมีอาจารย์ชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ๆ อีกด้วย และตัวผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์การทำงานมากว่าสามสิบปีและมีพื้นฐานการศึกษาจบปริญญาตรีด้านบัญชีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบปริญญาโททางด้านบริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำงานเป็นผู้บริหารในองค์กรระหว่างประเทศและในประเทศระดับชั้นแนวหน้ามาแล้วในทุก ๆ ด้านได้แก่ ขาย การตลาด การจัดการ การส่งออก การนำเข้า การบัญชี การเงิน และการบริหารงานบุคคล ปัจจุบันงานหลักคือการพัฒนาคน การมองให้เห็นถึงความสามารถของคนที่ซ่อนอยู่ภายในและต้องนำออกมาใช้และแสดงให้ได้ การที่ต้องช่วยให้คนอื่น ๆ มองเห็นโอกาส การสร้างโอกาสได้เอง การสร้างโอกาสในอนาคตให้ได้ด้วยตัวเอง ผู้อ่านอาจจะงง ๆ ว่าผู้เขียนมีอาชีพอะไร ผู้เขียนนอกจากเป็นวิทยากรพิเศษให้โครงการสอนปริญญาโทในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยแล้ว ยังเป็นผู้บริหารในองค์กรภาคธุรกิจด้าน IT และยังนั่งเป็นที่ปรึกษา SMEs ด้านการบริหารจัดการธุรกิจและ IT ในฝ่ายประสานและบริการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม) มีหน้าที่คอย(ทุกวันศุกร์)ให้คำปรึกษานักธุรกิจ 3 ประเภทคือ ผู้ประกอบการใหม่ที่ต้องการคำแนะนำในด้านต่าง ๆ , นักธุรกิจที่กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตต้องการมองหาทางออกของปัญหา และนักธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจมาได้ดีแล้วไม่รู้จะต่อยอดอย่างไร และถ้าเขาต่อยอดไม่ได้จะทำให้เกิดวิกฤตได้ในอนาคตนั่นเอง นี่คือสิ่งที่ทำอยู่ทุก ๆ วันถ้ามองลึก ๆ แล้วคือการสอนให้คนรู้จักวิธีพัฒนาตัวเอง สอนให้เขาเหล่านั้นรู้จักคิดและนำไปปฏิบัติ สอนผู้ประกอบการให้มองทะลุปัญหาและแก้ปัญหาได้ สอนให้ผู้ประกอบการรู้จักวิธีการสร้างโอกาสทางธุรกิจได้เอง เป็นต้นหรือในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Coaching (ผู้ฝึกสอน) และนี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความตั้งใจที่จะสร้างบทความที่เป็นประโยชน์สามารถช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้ตัวเองจากบทความซึ่งจะเป็น Coaching ให้เขาเหล่านั้นได้และก็ตรงกับทฤษฎี 4L’s ของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์นั่นเองซึ่งเราจะมาอธิบายในตอนต่อไป

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียนอาจารยืศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำตอบข้อ Macro และ Micro โดยมองจาก HR Architecture ว่าจะพัฒนา 8K's และ 5K's อย่างไร

คำตอบคือ

1.ต้องสร้างการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง

เราสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีของ 3 วงกลม

     เพื่อที่จะสร้างระบบการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็งโดยต้อง เน้นถึงสภาพแวดล้อมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานประถมศึกษา, ผู้บริหารโดยเฉพาะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด, ครูหรืออาจารย์ทั้งหมด ให้เกิดความเข้มแข็งโดยการนำ 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท ว่าด้วยเรื่องพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังต่อไปนี้คือ ทุน 8K's คือ

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

2.ต้องปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก

     โดยการนำทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ; 5 K’s (ใหม่) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ มาใช้เป็นนโยบายเพื่อที่จะสร้างเด็กใหม่ให้เกิดและเจริญเติบโตมาในแบบของคนที่กล้าคิด กล้าแสดงออก และรักการเรียนรู้ (Long Life Learning) ทุน 5K's คือ

1. Creative Capital

2. Knowledge Capital

3. Innovation Capital

4. Emotional Capital

5. Culture Capital

3.Leadership Competency การสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้บริหาร

เราเน้น 3 หัวข้อหลัก ๆ เพื่อให้ได้ผู้นำที่มีความรู้และความสามารถ อีกทั้งมีวิสัยทัศน์และความเป็นผู้บริหารที่ใช้ใจ ความทุ่มเท ความจริงใจสามารถทำให้ได้รับการยอบรับและนำองค์กรไปสู่เป้าหมายได้จริง เพื่อที่จะให้ได้ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์จุดสำคัญคือต้องให้เขาเหล่านั้นมีความเข้าใจวิสัยทัศน์ในด้าน HR ใหม่ดังนี้คือ

 

Old HR
New HR

 

Routine
Strategic
HR Department
CEO + Other Departments
Training
Learning
Expense
Investment
Static
Change Management
Information
Knowledge
Stand alone
Partnership
efficiency
Effectiveness
Value
Value Added
Command & Control
Respect & Dignity
Micro
Macro to Micro
Red Ocean
Blue Ocean
Liability
Assets

 

 

ภาพบรรยากาศการเสวนา เรื่อง The three laws of performance และการปรับใช้กับสังคมไทย ค่ะ

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตอบคำถามที่ว่าอาจารย์จีระได้ 8K's และ 5K's มาอย่างไร

ขอตอบว่า

อาจารย์ต้องสะสมทุนมนุษย์อย่างมากมาย รวมทั้งทุก ๆ ทุนใน 8K's และ 5K's ไว้ครบหมดอยู่ในตัวเองเรียบร้อยก่อนแล้ว จึงนำมาสอนในรูปแบบเป็น Process ที่เรียกว่า "ทฤษฎี 8K's" และ "ทฤษฎี 5K's" ได้ในภายหลัง

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

สรุปสิ่งที่ได้จากเวทีเสวนาวิชาการ เมื่ออาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2552

1.ด้านวิชาการ

จากการวิพากษ์หนังสือ The three laws of performance เนื้อหาสาระในหนังสือจะพูดถึงประเด็นการ Performance ด้วยกฎ 3 ข้อ ดังนี้

กฎข้อที่ 1 How people perform correlates to how situation occur to them

กล่าวคือ Performance ของคนขึ้นอยู่กับ 1) สิ่งที่เขาคิดอยู่ในใจ 2) สิ่งที่มากระทบ, Environment กับตัวเขา และ 3) การตีความความ

กฎข้อที่ 2 How a situation language กล่าวคือ Performance ของสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับภาษาที่แสดงออกมาทั้งที่เป็นภาษาพูด ภาษากาย และใจ (อารมณ์)

กฎข้อที่ 3 .Future based language transforms how situations occur to people กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ Performance ขึ้นอยู่กับ ภาษาในอนาคต หรือ Vision ขององค์กร ซึ่งผู้ที่จะเป็นคนสื่อภาษานี้ให้เกิด Performance ในองค์กรที่สำคัญนั้นก็คือผู้นำองค์กร

กฎทั้ง 3 เป็นวิธีการ Performance ไปสู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งสื่อออกมาเป็นภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด ภาษากาย ภาษาใจ (อารมณ์) สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน ธุรกิจองค์กรต่างๆ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าใครจะเป็นผู้สื่อภาษา? สถานการณ์ไหนที่ควรจะใช้ภาษาอะไร? จะสื่ออย่างไร ? ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของคนสื่อ

2.ด้านการบริหารจัดการ

1) ได้เรียนรู้วิธีการ กระบวนการจัดเสวนาวิชาการแบบมืออาชีพ

2) ได้เรียนรู้วิธีการวิพากษ์หนังสือ

3) ได้เรียนรู้การเป็นผู้ดำเนินรายการ

4) ได้เรียนการแสดงความคิดเห็นต่อที่สาธารณะ แบบมืออาชีพ

ทักษิณานันท์ โทร. 080-6148578

Hypothesis ที่ได้จากการเสวนาวิชาการ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2552

Hypothesis : การสื่อสารของผู้นำองค์กรมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มผลิตภาพในองค์กร

1. ตัวแปรต้น การสื่อสาร

2. ตัวแปรตาม การเพิ่มผลิตภาพ

ทักษิณานันท์ โทร. 080-6148578

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

ผมได้สร้าง Blog เพื่อเขียนบทความเผยแพร่แบบต่อเนื่องนี่เป็นตอนที่สอง โดยจะนำเอาทฤษฎีของอาจารย์มาเป็นพื้นฐานในการเขียนบทความเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ พร้อมทั้งสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยผมใช้บทความที่ผมจะเขียนต่อเนื่องเป็นการสอนวิธีแห่งการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และถ้าทำได้ก็น่าจะช่วยให้คนที่เข้ามาอ่านก็จะเกิดขึ้นในอีกรูปแบบหนึ่งของสภาพแวดล้อมครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

http://gotoknow.org/blog/tanapol-human-tree/278954

Human Tree (ต้นมนุษย์) ตอนที่สอง

อนาคตของทุนมนุษย์ของคนไทย เราจะมาช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อให้เขาเหล่านั้นเจริญเติบโตขึ้นมาโดยมีทุนมนุษย์และความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ที่ควรจะมีเพื่อต่อสู้และสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ดีขึ้น สำหรับตอนที่สองนี้ผู้เขียนขอให้ภาพรวมต่อจากตอนที่หนึ่งว่า มีทฤษฎีอะไรบ้าง หรือหัวข้อของแต่ละทฤษฎีมีอะไรบ้าง เพื่อจะได้มองเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน และเราจะมาเรียนรู้แต่ละทฤษฎีและแต่ละหัวข้อตามลำดับขั้นตอนที่ผู้เขียนจะพยายามสื่อและเรียบเรียงให้เข้าใจแบบง่าย ๆ นอกจากนี้ยังจะมีตัวอย่างประกอบคล้าย ๆ การทำ "Workshop" หรือการนำกรณีศึกษา(Case Study) เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง หรือชีวิตที่ต้องอยู่กับการแข่งขัน ต้องมีความรวดเร็ว(Speed) ต้องสามารถอยู่ได้แบบยั่งยืน สอดคล้องกับวัฒนธรรม ต้องมีความสุขและสิ่งสำคัญที่สุดต้องมีจริยธรรม

ทฤษฎีต่าง ๆ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎีต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการอธิบาย

ทุน 8K's คือ

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

ทุน 5K's คือ

1. Creative Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

4. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5. Culture Capital ทุนทางวัฒนธรรม

สำหรับ 4L's คือ

Learning Methodology วิธีการเรียนรู้

Learning Environment สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้

Learning Opportunities โอกาสแห่งการเรียนรู้

Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้

คอยพบตอนต่อไปเร็ว ๆ นี้นะครับ

ธนพล ก่อฐานะ

Ph.D.3 SSRU (Innovative Management)

คุณฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

เรียน  ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

                                                                                                                                                                               

                วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2009 ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการเรียนรู้ให้กับพวกเราเพื่อให้เข้าใจถึงแก่นและสัมผัสกับรรยากาศและสังคมของการเรียนรู้  เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และภูมิปัญญา  เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามหลักทฤษฎี 4L’S, 8K’S, 5K’S โดยได้เชิญ รศ. ดร. ช่วงโชติ  พันธุเวช  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนัทา  ดร. สรจักร  เกษมสุวรรณ  อธิการบดีมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด  ดร. ดวงสมร  แกลโกศล และคุณพจนารถ  ซีบังเกิด  ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทุนมนุษย์ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ  เพื่อเสวนา  เรื่อง  The Three Laws of Performance and the Leadership Corollaries ซึ่งในหนังสือดังกล่าวได้พูดถึงความสำคัญของภาษาที่แสดงออกและใช้ในการสื่อสารทุกระดับขององค์กร เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจที่มีพลังโดยสรุปเป็นกฎได้ 3 ข้อคือ

 

First Law of Performance

   How people perform correlates to how situations occur to them

        Leadership Corollary 1

            Leaders have a say, and give others a say, in how situations occur

 

Second Law of Performance

   How a situation occurs arises in language

        Leadership Corollary 2

            Leaders master the conversational environment

 

Third Law of Performance

   Future-based language transforms how situations occur to people

        Leadership Corollary 3

            Leaders listen for the future of their organization      

 

            ซึ่งจากกฎทั้ง 3 ข้อที่ได้เข้าร่วมฟังการเสวนาในครั้งนี้ผมเห็นว่าตัวผู้นำองค์กรในการที่จะนำพาธุรกิจและองค์กรมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะบริหารจัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เพื่อความสำเร็จของธุรกิจและองค์กร โดยเฉพาะความสามารถในการใช้ภาษาและการมองการไกล มีตัวอย่าง Hypothesis ที่สนใจคือ

                - “ความสำเร็จของธุรกิจขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการสื่อสารของผู้นำองค์กร”

                         * ตัวแปรอิสระ คือ การสื่อสาร และตัวผู้นำองค์กร

                                * ตัวแปรตาม  คือ ผลสำเร็จของธุรกิจ

            - “การเจริญเติบโตของธุรกิจขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กร

                        * ตัวแปรอิสระ คือ ผู้นำองค์กร

                                * ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโตของธุรกิจ

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

ขอแก้ไขข้อความใน Blog เมื่อวานนี้

ถึงทุก ๆ คน

            เมื่อเช้านี้ช่วง 9 โมง ผมได้อ่านหนังสือที่ผมซื้อมาจากเขมร ชื่อว่า Staying Street Smart” ซึ่งแปลว่า คนเราจะเรียนรู้อะไรไม่จำเป็นต้องไปจบปริญญาโทหรือเอกเท่านั้น เรียนจาก Experience ก็ได้ 

            คนเขียนชื่อ Mark H. Mc Coemack ซึ่งเคยแต่งหนังสือ ชื่อWhat they don’t teach you at Harvard ซึ่งก็น่าสนใจ แต่ก็มีประเด็นว่า จริง  MBA Harvard ก็ไม่ได้สอนตำรา เขาเอาคนเก่งที่จบ MBA กลับมาช่วยให้ประสบการณ์คล้าย ๆ กับที่เราทำเมื่อวันอาทิตย์ แต่ในหนังสือเล่มนี้ก็มีแนวคิดอันหนึ่งเรียกว่า Learning Disability คล้าย ๆ พิการทางการเรียน เพราะมีมหาเศรษฐีคนหนึ่งรวยมากแต่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่งงาน และที่น่าสนใจก็คือ หย่ามาแล้ว 5 ครั้ง ทุก ๆ ครั้งจะแต่งงานกับสาวสวยและมีอาชีพเป็นนางแบบ

            เมื่อถามว่าเพราะอะไรคำตอบก็คือเขาคิดว่าหย่าคนที่หนึ่งเขาน่าจะได้บทเรียน และก็ปรับตัว แต่อาจจะเป็นเพราะเขาคิดไม่เป็น ขาดทุนทางปัญญาก็เลยไม่เรียนจากความเจ็บปวด

            สังเกตดูลูกน้องหรือเจ้านายบางคนไม่เคยเรียนรู้อะไร ในที่สุดก็พิการทางการเรียนรู้

            คำถามสำหรับท่าน PhD Students – เหตุผลคืออะไร มีการวิจัยหรือไม่ และวิจัยแล้วตั้ง Hypothesis อย่างไร? 8K และ 5K ช่วยได้หรือเปล่า ลองไปคิดดู

                                           จีระ หงส์ลดารมภ์

สมมติฐาน(Hypothesis) คืออะไร ?

            หลังจากได้ทำการเลือกปัญหาและศึกษารายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ  กับปัญหาที่จะทำการวิจัยแล้ว  ขั้นต่อไปก็จะต้องทำการตั้งสมมติฐานเพื่อใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงจากปัญหานั้น สมมติฐานเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง  ดังนั้น  สมมติฐานจึงเป็นข้อความที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปเพื่ออธิบายข้อเท็จจริง  เงื่อนไขหรือพฤติกรรม  เพื่อใช้เป็นแนวทางในขบวนการวิจัย  สมมติฐานอาจจะถูกหรือผิด  จริงหรือไม่จริงก็ได้  ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการทดสอบว่าได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยันจากข้อมูลเพียงใด  ถ้าหากสมมติฐานใดได้รับการยืนยันจากข้อมูล  เราก็จะยอมรับสมมติฐานนั้นว่าเป็นจริงหรือถูกต้อง  แต่ถ้าสมมติฐานใดไม่ได้รับการยืนยันจากข้อมูล  เราก็จะปฏิเสธสมมติฐานนั้นทันที  สมมติฐานจึงเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่มีลักษณะเป็นข้อความที่แสวงหาคำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือเหตุการณ์  โดยที่ยังไม่มีการยืนยันจากข้อเท็จจริง

 

สมมติฐานมีความสำคัญอย่างไร ?

            การแก้ปัญหาที่ยุ่งยากจำเป็นต้องใช้ขบวนการที่ซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะคล้ายกับงานก่อสร้างใหญ่ ๆ ทั่วไป บางครั้งความคิดใหม่ ๆ มิได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามลำดับขั้นหรือการปฏิบัติตามคำสั่งชี้แจงของหนังสือคู่มือเสมอไป  แต่อาจเกิดขึ้นจากการตั้งสมมติฐานหรือตั้งคำถามในการวิจัยซึ่งเป็นการเดาอย่างมีเหตุผล  สมมติฐานจึงนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญของนักวิจัยอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีเข้ากับสิ่งต่าง ๆ  ที่สังเกตได้  หรือเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกตได้เข้ากับทฤษฎี

โดยทั่วไปเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เราก็พยายามเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหานั้น ลักษณะการเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างเดา ๆ ไม่มีขอบเขต  บางครั้งจะพบว่ามีผู้เก็บข้อมูลใช้เวลาเป็นแรมปีก็ยังไม่สามารถที่จะนำมาแก้ปัญหาได้  และยิ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถจะทำการสังเกตได้โดยตรง ก็ทำให้เกิดความเลื่อนลอยมากยิ่งขึ้น สมมติฐานจะเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่จะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลได้ถูกต้องและมีความสัมพันธ์กับปัญหาที่จะแก้อย่างแท้จริง  อย่างไรก็ดีเราต้องการข้อเท็จจริงมาเพื่อแก้ปัญหา แต่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ มันไม่ได้ปรากฏขึ้นให้เราเห็นอย่างง่าย ๆได้เสมอไป  นอกจากจะต้องมีสมมติฐานเพื่อทำการทดสอบเสียก่อนเท่านั้น  เมื่อเริ่มวิเคราะห์ปัญหา  อาทิ  เช่น  ปัญหานักเรียนยกพวกตีกัน  ฯลฯ  เป็นต้น  อาจสังเกตได้ว่าข้อมูลบางอย่างเลือนรางและไม่สมบูรณ์  ข้อมูลบางอย่างก็ไม่มีความสัมพันธ์กับปัญหาแต่อย่างใด แต่เราก็พยายามถามตัวเองว่าจะรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ได้อย่างไรเพื่อจะนำมาอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ทราบ  ถ้าหากสามารถจินตนาการ(Imagination) อย่างมีเหตุผลอย่างหนึ่ง  เพราะสมมติฐาน เปรียบเสมือนสะพานที่ทอดเชื่อมโยง ระหว่าง ข้อเท็จจริงที่เราทราบไปสู่ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ทราบ

นักวิจัยใช้สมมติฐานในการแก้ปัญหาตั้งแต่ง่ายไปจนถึงยากที่สุดได้  อาทิ เช่น  ถ้าเราเดินเข้าไปในห้องมืดแห่งหนึ่งกดสวิทช์แล้วไฟไม่สว่าง  เราอาจรวบรวมข้อเท็จจริงที่ทราบแล้วกับที่ยังไม่ทราบเข้าด้วยกัน  โดยตั้งจินตนาการหรือคาดคะเนว่าสาเหตุที่ไฟในห้องไม่สว่างนั้นอาจเนื่องมาจาก

(1) หลอดขาด     (2) สายไฟหลุด  หรือ (3) ฟิวส์ขาด  สมมติฐานเหล่านี้จะช่วยในการกำหนดว่าจะใช้ข้อมูลอะไรบ้าง  และใช้อย่างไรในการแก้ปัญหานี้  ถ้าเราถอดหลอดไฟดวงนี้ไฟใส่แทนดวงอื่นปรากฏว่าสว่าง   

สมมติฐานข้อที่ 1 ก็ไม่ใช่คำตอบของปัญหานี้  หลังจากทดสอบสมมติฐานอื่น ๆ อีก 2 ข้อ ก็พบว่าสมมติฐานข้อที่ 3 นั้นเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมหลอดไฟจึงไม่สว่าง 

สมมติฐานนี้ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง  ก็ คล้ายกับนัยน์ตาที่ช่วยให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์  อะไรที่ทำไม่ถูกต้อง  ไม่มีระบบก็จะช่วยให้เรามองเห็นทางที่จะทำได้ถูกต้องและมีระบบชัดเจนยิ่งขึ้น  สมมติฐานจะช่วยให้ความรู้แก่เราในการคัดเลือกข้อมูล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ในการตีความหมายหรืออธิบายสถานการณ์ที่ไม่ทราบ  สมมติฐานจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการวิเดาจากสิ่งที่ทราบไปยังสิ่งที่ไม่ทราบ  สมมติฐานจึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมากที่ช่วยให้สามารถแสวงหาความรู้ความจริงต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง

 

สมมติฐานมีกี่ชนิด

โดยทั่วไปนักวิจัยจะแบ่งสมมติฐานออกเป็น 2 ชนิด  คือ สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis) และ สมมติฐานทางสถิติ  (Statistical Hypothesis)

สมมติฐานทางวิจัย มักจะเขียนอยู่ใน ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวหรือมากกว่าขึ้นไป  ที่นักวิจัยคาดคะเนไว้  อาทิ  เช่น  เด็กที่ถนัดตาซ้ายจะได้คะแนนการสอบอ่านต่ำกว่าเด็กทั่วไปที่เรียนอยู่ในชั้นเดียวกัน

สมมติฐานทางสถิติหรือ  Competing Hypothesis  ประกอบด้วย

-         Null Hypothesis (H0)

-         Alternative Hypothesis (H1) Null Hypothesis

ไม่จำเป็นจะต้องตั้งให้แทนความคาดหวังผลของนักวิจัยเสมอไป  ตามปกติมักจะเขียนให้อยู่ในลักษณะไม่มีความแตกต่างหรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้อง  เป็นต้น  อาทิ  เช่น  จากสมมติฐานทางวิจัยเมื่อเขียนเป็น Null  Hypothesis ก็จะได้ดังนี้ไม่มีความแตกต่างระหว่างคะแนนการสอบอ่านของเด็กถนัดตาซ้ายและเด็กทั่วไป

นักวิจัยส่วนมากตั้ง Null  Hypothesis  ขึ้นมีก็คาดหวังว่าจะปฏิเสธ (reject) H0 และยอมรับ (accept) Alternative Hypothesis (H1)  ซึ่งมี ข้อความคล้ายกับสมมติฐานทางวิจัยนั่นเอง  การที่ต้องแปลงสมมติฐานทางวิจัยให้เป็น Null  Hypothesis นั้นก็เพื่อให้สามารถทำการทดสอบทางสถิติได้  ซึ่งได้กล่าวอย่างละเอียดในหนังสือสถิติเบื้องต้น  ของ ดร.อนันต์  ศรีโสภา  สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช  กรุงเทพมหานคร 

วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์)รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ขอคุยกับท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ และเพื่อน ๆ  Ph.D3 SSRU รุ่น 3 เพื่อให้เกิด 8K’s +5K’s+4L’s+ทฤษฎี 3 วงกลม+ทฤษฎี Value Added เจ้าของทฤษฎีตัวจริงคือท่าน ศ.ดร. จีระ ซึ่งหนูภาคภูมิใจมากที่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์  หนูคิดว่าเพื่อน ๆ Ph.D รุ่น 3 ทุกคนก็คิดเช่นเดียวกัน คิดเหมือนกันกับหนูนะคะ  

สมมติฐาน(Hypothesis) คืออะไร ?

            หลังจากได้ทำการเลือกปัญหาและศึกษารายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ  กับปัญหาที่จะทำการวิจัยแล้ว  ขั้นต่อไปก็จะต้องทำการตั้งสมมติฐานเพื่อใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงจากปัญหานั้น สมมติฐานเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง  ดังนั้น  สมมติฐานจึงเป็นข้อความที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปเพื่ออธิบายข้อเท็จจริง  เงื่อนไขหรือพฤติกรรม  เพื่อใช้เป็นแนวทางในขบวนการวิจัย  สมมติฐานอาจจะถูกหรือผิด  จริงหรือไม่จริงก็ได้  ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการทดสอบว่าได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยันจากข้อมูลเพียงใด  ถ้าหากสมมติฐานใดได้รับการยืนยันจากข้อมูล  เราก็จะยอมรับสมมติฐานนั้นว่าเป็นจริงหรือถูกต้อง  แต่ถ้าสมมติฐานใดไม่ได้รับการยืนยันจากข้อมูล  เราก็จะปฏิเสธสมมติฐานนั้นทันที  สมมติฐานจึงเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่มีลักษณะเป็นข้อความที่แสวงหาคำอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือเหตุการณ์  โดยที่ยังไม่มีการยืนยันจากข้อเท็จจริง

 

สมมติฐานมีความสำคัญอย่างไร ?

            การแก้ปัญหาที่ยุ่งยากจำเป็นต้องใช้ขบวนการที่ซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะคล้ายกับงานก่อสร้างใหญ่ ๆ ทั่วไป บางครั้ง ความคิดใหม่ ๆ(Creative) มิได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามลำดับขั้นหรือการปฏิบัติตามคำสั่งชี้แจงของหนังสือคู่มือเสมอไป  แต่อาจเกิดขึ้นจากการตั้งสมมติฐานหรือตั้งคำถามในการวิจัยซึ่ง เป็นการเดาอย่างมีเหตุผล  สมมติฐานจึงนับว่า เป็นเครื่องมือ(Tool)ที่สำคัญของนักวิจัย อย่างหนึ่งที่ช่วยให้สามารถ เชื่อมโยงทฤษฎีเข้ากับสิ่งต่าง ๆ  ที่สังเกตได้ หรือเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกตได้เข้ากับทฤษฎี

โดยทั่วไปเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เราก็พยายาม เก็บรวบรวมข้อมูล(Data)ต่าง ๆ  เพื่อนำมาแก้ไขปัญหานั้น ลักษณะการเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างเดา ๆ ไม่มีขอบเขต  บางครั้งจะพบว่ามีผู้เก็บข้อมูล ใช้เวลาเป็นแรมปี ก็ยัง ไม่สามารถที่จะนำมาแก้ปัญหาได้  และ ยิ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถจะทำการสังเกตได้โดยตรง ก็ทำให้เกิด ความเลื่อนลอย มากยิ่งขึ้น สมมติฐานจะเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ที่จะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลได้ ถูกต้อง และ มีความสัมพันธ์กับปัญหาที่จะแก้อย่างแท้จริง  อย่างไรก็ดีเราต้องการข้อเท็จจริงมาเพื่อแก้ปัญหา แต่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ มันไม่ได้ปรากฏขึ้นให้เราเห็นอย่างง่าย ๆได้เสมอไป  นอกจากจะต้อง มีสมมติฐานเพื่อทำการทดสอบ เสียก่อนเท่านั้น  เมื่อเริ่มวิเคราะห์ปัญหา  อาทิ เช่น  ปัญหานักเรียนยกพวกตีกัน  ฯลฯ  เป็นต้น  อาจสังเกตได้ว่า ข้อมูลบางอย่างเลือนรางและไม่สมบูรณ์  ข้อมูลบางอย่างก็ไม่มีความสัมพันธ์กับปัญหาแต่อย่างใด แต่เราก็พยายาม ถามตัวเอง ว่า จะรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ได้อย่างไร เพื่อจะนำมา อธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ทราบ  ถ้าหากสามารถจินตนาการ(Imagination) อย่างมีเหตุผลอย่างหนึ่ง  เพราะสมมติฐาน เปรียบเสมือนสะพานที่ทอดเชื่อมโยง ระหว่าง ข้อเท็จจริงที่เราทราบไปสู่ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ทราบ

นักวิจัยใช้สมมติฐานในการ แก้ปัญหา ตั้งแต่ง่ายไปจนถึงยากที่สุดได้  อาทิ เช่น  ถ้าเราเดินเข้าไปในห้องมืดแห่งหนึ่งกดสวิทช์แล้วไฟไม่สว่าง  เราอาจรวบรวมข้อเท็จจริงที่ทราบแล้วกับที่ ยังไม่ทราบเข้าด้วยกัน  โดย ตั้งจินตนาการหรือคาดคะเน ว่าสาเหตุที่ไฟในห้องไม่สว่างนั้นอาจเนื่องมาจาก

(1) หลอดขาด     (2) สายไฟหลุด  หรือ (3) ฟิวส์ขาด  สมมติฐานเหล่านี้จะ ช่วยในการกำหนดว่าจะใช้ข้อมูลอะไรบ้าง  และใช้อย่างไร? ในการแก้ปัญหานี้  ถ้าเราถอดหลอดไฟดวงนี้ไฟใส่แทนดวงอื่นปรากฏว่าสว่าง   

สมมติฐานข้อที่ 1 ก็ไม่ใช่คำตอบของปัญหานี้  หลังจากทดสอบสมมติฐานอื่น ๆ อีก 2 ข้อ ก็พบว่าสมมติฐานข้อที่ 3 นั้นเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมหลอดไฟจึงไม่สว่าง 

สมมติฐานนี้ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง  ก็ คล้ายกับนัยน์ตาที่ช่วยให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์  อะไรที่ทำไม่ถูกต้อง  ไม่มีระบบก็จะช่วยให้ เรามองเห็นทาง ที่จะทำได้ถูกต้องและมีระบบชัดเจนยิ่งขึ้น  สมมติฐานจะช่วยให้ความรู้แก่เราในการคัดเลือกข้อมูล ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ในการตีความหมายหรืออธิบายสถานการณ์ที่ไม่ทราบ  สมมติฐานจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการวิเดาจากสิ่งที่ทราบไปยังสิ่งที่ไม่ทราบ  สมมติฐานจึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมากที่ช่วยให้สามารถแสวงหาความรู้ความจริงต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง

 

สมมติฐานมีกี่ชนิด

โดยทั่วไปนักวิจัยจะแบ่ง สมมติฐานออกเป็น 2 ชนิด  คือ สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis) และ สมมติฐานทางสถิติ  (Statistical Hypothesis)

สมมติฐานทางวิจัย มักจะเขียนอยู่ใน ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวหรือมากกว่าขึ้นไป  ที่นักวิจัยคาดคะเนไว้  อาทิ  เช่น  เด็กที่ถนัดตาซ้ายจะได้คะแนนการสอบอ่านต่ำกว่าเด็กทั่วไปที่เรียนอยู่ในชั้นเดียวกัน

สมมติฐานทางสถิติหรือ  Competing Hypothesis  ประกอบด้วย

-         Null Hypothesis (H0)

-         Alternative Hypothesis (H1) Null Hypothesis

ไม่จำเป็นจะต้องตั้งให้แทนความคาดหวังผลของนักวิจัยเสมอไป  ตามปกติมักจะเขียนให้อยู่ในลักษณะไม่มีความแตกต่างหรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้องเป็นต้น เช่น  จากสมมติฐานทางวิจัยเมื่อเขียนเป็น Null  Hypothesis ก็จะได้ดังนี้ ไม่มีความแตกต่างระหว่างคะแนนการสอบอ่านของเด็กถนัดตาซ้ายและเด็กทั่วไป

นักวิจัยส่วนมากตั้ง Null  Hypothesis  ขึ้นมีก็คาดหวังว่าจะปฏิเสธ (reject) H0 และยอมรับ (accept) Alternative Hypothesis (H1)  ซึ่งมี ข้อความคล้ายกับสมมติฐานทางวิจัยนั่นเอง   การที่ต้องแปลงสมมติฐานทางวิจัยให้เป็น Null  Hypothesis นั้นก็เพื่อให้สามารถทำการทดสอบทางสถิติได้  ซึ่งได้กล่าวอย่างละเอียดในหนังสือสถิติเบื้องต้น  ของ ดร.อนันต์  ศรีโสภา  สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช  กรุงเทพมหานคร 

วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ขอคุยกับท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ และเพื่อนๆ Ph.D3 SSRU รุ่น 3 เพื่อให้เกิด 8K’s +5K’s+4L’s+ทฤษฎี 3 วงกลม+ทฤษฎี Value Added เจ้าของทฤษฎีตัวจริงคือท่าน ศ.ดร. จีระ ซึ่งหนูภาคภูมิใจมากที่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์  หนูคิดว่าเพื่อน ๆ Ph.D รุ่น 3 ทุกคนก็คิดเช่นเดียวกัน คิดเหมือนกันกับหนูนะคะ 

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำถามจากหัวข้อหนังสือ “ Staying Street Smart”

"สังเกตดูลูกน้องหรือเจ้านายบางคนไม่เคยเรียนรู้อะไร ในที่สุดก็พิการทางการเรียนรู้ "

คำถามคือเหตุผลอะไร

     ผมขอตอบว่าการขาดทุนทางปัญญาเป็นสาเหตุหลักของ "เรื่องพิการทางการเรียนรู้" และผมได้ศึกษาและลองหาข้อมูลพบว่ามีการนำ 8K's หัวข้อ Intellectual Capital และ 5K's หัวข้อ Innovation Capital มาใช้ในการทำ Thesis ดังตัวอย่างคือ

Nitin Sawhney: Doctoral Thesis Research

COOPERATIVE INNOVATION IN THE COMMONS:
Rethinking Distributed Collaboration and Intellectual Property
for Sustainable Design Innovation

Nitin Sawhney, Doctoral Candidate,
MIT Program in Media Arts and Sciences
MIT Media Laboratory

Thesis Objective: Understanding the role of online collaboration, pedagogical approaches and intellectual property rights towards distributed cooperation for sustainable design innovation.

Research Questions: How can we create an environment that encourages distributed individuals and organizations to tackle engineering design challenges in critical problem domains? How should we design appropriate online collaboration platforms, support learning, social incentives and novel property rights to foster innovation in sustainable design?

The thesis seeks to address these interconnected issues using three main approaches:

Research Projects and Activities

Doctoral Dissertation

  •  
    • Ch.1: Introduction: Cooperative Innovation in the Commons? (14 pages, 112 K)
      Abstract: Motivation: Expanding Cooperative R&D in Sustainable Design for Universal Human Rights. Lessons from the Appropriate Technology movement, recent global trends and evolution of the ThinkCycle Initiative at MIT. Key research challenges - Cooperation, Community and Intellectual Property.
    • Ch.2: Cooperation and Property Rights in the Commons (21 pages, 117 K)
      Abstract: Survey of prior literature and theories of cooperation and property rights, particularly for online communities. Examines the Free Software & Open Source movements and limitations for distributed peer-production in product design. Affordances, conflicts and policies for dealing with property rights (Private, Communal & Public) in natural resources, grassroots innovation and online digital content.
    • Ch.3: Open Collaboratories for Design Innovation (27 pages, 1 MB) [Low-res 300 K]
      Abstract: Review of collaboration tools, distributed computing and open knowledge initiatives. Description of design, architecture, and development of the ThinkCycle Collaboration Platform. Discuss evolving design criteria, case study and lessons learned. Literature review on the nature of Design Rationale, Social Context and Physical Settings in shaping cooperative online design.
    • Ch.4: Collaborative Design and Learning in Studio Courses (21 pages, 154 K)
      Abstract: Survey of prior studies on learning and collaboration using web-based platforms in schools and university courses. Results of study conducted with the Design that Matters Studio courses at MIT in 2001 and 2003, using online surveys and intensive interviews. Summarizes nature of collaborative design, learning outcomes, and usage patterns of students and participants. Recommendations for future courses in sustainable design and collaboration tools.
    • Ch.5: Role of Intellectual Property Rights in Open Collaborative Design (31 pages, 169 K)
      Abstract: Understanding social incentives, formal/informal mechanisms and the role of IPR in scientific research, based on prior studies by sociologists. Social inquiry (ethnographic study) conducted into motivations, perceptions and IPR patterns among 10 informants involved in 7 design projects on ThinkCycle. Results of study include perceptions of Patents vs. Open Source, social incentives for protection or dissemination, and emergence of 4 primary IPR patterns observed. Recommendations on IPR policies and approaches for critical design innovation.
    • Ch.6: Conclusions: Rethinking Cooperative Innovation (14 pages, 76 K)
      Abstract: Summary of thesis research, challenges, contributions and critical issues. Key lessons learned for: 1) Developing online collaboration platforms, 2) Establishing sustainable design curricula in universities, and 3) Understanding intellectual property rights in open collaborative design. Future work for expanding cooperative innovation in the commons.
  • Dissertation Defense at MIT: Monday, Nov 25th, 2002

    Defense Talk Slides (380K PowerPoint) | Archived Realvideo Webcast (45 mins)

    Doctoral Dissertation: Sawhney, N. Cooperative Innovation in the Commons: Rethinking Distributed Collaboration and Intellectual Property for Sustainable Design Innovation. Submitted to MIT, Jan 17, 2003. (128 pages, 1.6 MB) [Low-res version 900K PDF] (Abstract)


      Thesis Chapters (Open Peer Review on ThinkCycle)
     

Research Papers and Working Reports (PDF docs)

Nitin Biography | ThinkCycle.org

Updated: Feb 18, 2003
[email protected]

เรียนเพื่อน ๆ ครับ

การตัวอย่าง Thesis ของ 8K's และ 5K's สามารถหาได้ง่าย ๆ นะครับโดย

เพื่อน ๆ เข้า google และเลือกตัวอย่างคือ เพียงแต่เลือก Key Word คำว่า Thesis + เราเลือกตัวเลือกของ 8K's and 5K's มาใส่ตามตัวอย่างก็โผล่ออกมามากมาย

สิ่งที่ผมได้จากการทำการบ้านนี้ก็คือ ผมได้ตัวอย่างดี ๆ เกี่ยวกับการตั้ง Hyphotesis

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

Google Advanced Search

Preferences

Search: the web pages from Thailand

WebHide optionsShow options... Results 1 - 10 of about 1,640,000 for Thesis+ Learining+Intellecture. (0.35 seconds)

Sponsored Links

Education Research

Education books, journals, articles

full-text at Questia Online Library

www.Questia.com/Education

See your ad here »

Did you mean: Thesis Learning+Intellectual

Search ResultsResults include your SearchWiki notes for Thesis+ Learining+Intellecture. Share these notes

Copy and paste this link into an email or IM:

See a preview of the shared page

Nitin Sawhney: Ph.D. Thesis ResearchRethinking Distributed Collaboration and Intellectual Property .... Incentives Towards Sustainable Design and Learning. Ph.D. Thesis Proposal, June 2002. ...

web.media.mit.edu/~nitin/thesis/ - Cached - Similar -

[PDF] ThinkCycle: Supporting Open Collaborative Design for Product ...File Format: PDF/Adobe Acrobat - View

Product Innovation and Learning in Sustainable Engineering ... Thesis Objective: Understanding the role of online collaboration, ... Research Goal: Understanding how Intellectual Property Rights (IPR) are perceived and ...

web.media.mit.edu/~nitin/thesis/thesis-research-summary.pdf - Similar -

คุณฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

เรียน  ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

            สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดย Thai Cyber University ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ ASEM Education and Research Hub for Lifelong Learning (ASEM LLL) ได้จัดการประชุม ASEM Conference หัวข้อ Lifelong Learning: e-Learning and Workplace Learning” ระหว่างวันที่ 20 – 21 กรกฎาคม 2552 ที่ Adriatic Palace Hotel, Bangkok โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นระหว่างผู้กำหนดนโยบาย, นักวิจัย ในภูมิภาคเอชียและยุโรป และเพื่อเป็นการต่อยอดการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศต่อไป

การประชุมในครั้งนี้นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ นายกอรปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ ทำหน้าที่เป็นประธานเปิดงาน   โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และนายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

Lifelong Learning (LLL) จัดเป็นนโยบายหลักในการวางนโยบายในการบริหารประเทศของนานาประเทศ LLL ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความสำร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ และยอมรับว่าเป็นเครื่องมือ (A tool) อย่างหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based society)

ASEM LLL Hub ในปัจจุบันมีหน้าที่เป็นศูนยดำเนินการวิจัยใน 5 เครือข่าย (Networks) ดังนี้:

เครือข่าย 1: ศูนย์พัฒนา ICT Skills, e-Learning and the Cultural of e-Learning in LLL

เครือข่าย 2: ศูนย์พัฒนาความสามารถในการทำงาน (Competence) เป็น Workplace Learning

เครือข่าย 3: ศูนย์พัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้าน LLL โดยเน้นด้านการพัฒนาครูผู้สอน (Teacher Training)

เครือข่าย 4: ศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติด้าน LLL ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแรงจูงใจ (Motivations) ให้ผู้เรียน รวมถึงการลดข้อจำกัด (Barriers) ที่มีผลต่อการเรียนรู้/การเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง (Continuing Education and Training)

เครือข่าย 5: ศูนย์การวิจัยกลุ่มเพื่อหาความสามารถหลัก (Core Competence) ของ ASEM

งานวิจัยที่นำเสนอในการประชุมครั้งนี้เน้นงานวิจัยในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น  เกาหลี  รวมถึงประเทศไทย และยุโรป เช่นอังกฤษ เดนมาร์ค เยอรมัน  เอสโทเนีย ในเครือข่ายที่ 1 และในเครือข่ายที่ 2 นั่นคือ การจัดทำนโยบาย การจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning in Educational Settings ต่างๆ และ Workplace Learning รวมถึงระบบการประกันคุณภาพ (Quality Assurance System) ในการศึกษาแบบ e-Learning มีประเด็นและหัวข้อที่น่าสนใจหลายหัวข้อ

Reflection:

Workplace learning เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่สามารถ ส่งเสริมให้คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตจริง (Lifelong Learning) เพราะผู้เรียนได้เรียน ได้คิด ได้ฝึกในเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานและการเรียนในสถานประกอบการยังสามารถนำไปสู่การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Communities) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในทฤษฎี 4 L’S

แต่ไม่แน่ใจว่า 0n-line Learning หรือ e-Learning ในระบบการศึกษาที่ประเทศไทยกำลังดำเนินการอยู่ โดย Thai Cyber University ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศจัดหลักสูตรแบบ e-Learning เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)   จะสามารถตอบคำถามเรื่องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based society) โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่เน้นฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ไขปัญหาเป็น รวมถึงสามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนไปสอดใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ยิ่งถ้ามองให้ลึกลงไปถึง 6 ปัจจัยของความยั่งยืน(Chira ‘s 6 factors)ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มุ่งให้การจัดการศึกษาสามารถสนันสนุนให้คนไทยสามารถพัฒนาตนเองได้ (Self- reliance) โดยให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก เพราะ e-Learning ผู้เรียนจะต้องเข้าไปศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง โดย Culture ของคนไทยแล้วยังยึดติดกับการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น ความรู้ ความจำ เพื่อสอบผ่านในวิชาหรือหลักสูตรที่เรียน ไม่ได้เน้นการเรียนรู้ให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก และศึกษาด้วยตนเองเพื่อเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

การฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ไขปัญหาเป็น รวมถึงสามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนไปสอดใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิต และการทำงาน  จนสามารถนำวิธีการเรียนไปใช้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง โดยระบบ 0n-line Learning หรือ e-Learning นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ครูผู้สอนต้องเข้าใจความหมาย วิธีการสอน รวมไปถึงการจัดกิจกรรมการเรียน และการประเมินผล ของการเรียนดังกล่าวอย่างถ่องแท้ ผู้สอนต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการเรียน (Learning how to Learn) ที่จะเป็นบันไดทอดไปสู่การเรียนได้ด้วยตนเอง (Autonomous Learning/Self-directed Learning) การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ในที่สุด

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์หนูขอส่งบทความเรื่อง พลังสร้างสรรค์หญิงฝากครรภ์ได้รับคุณค่า(Value Added)

คำสำคัญ :     

ANC :  Ante Natal Care , OF: Osmotic Fragility

DCIP : Dichlorophenolindophenol,  Hct : Hematocrit

HBs Ab : Hepatitis  B surface  antibody, TLC : Therapeutic Life -Style  Change, RCA : Root Cause Analysis, ABO: หมู่โลหิตชนิด A ,B ,AB,O  ,  Rh : หมู่โลหิตชนิด Rh, CQI : Continuous Quality Improvement ,  Lab : Laboratory ,  PPH. : Post Partum Hemorrhage,  R&D: Research and Development, AAR.: After Action Review , อสม : อาสาสมัครสาธารณสุข

สรุปผลงานโดยย่อ : ทีมงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนได้ปรับปรุงกระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งระบบ โดยแนวทางประเมินภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ 20 ข้อ ปรับปรุงการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โดยมีค่า Hematocrit :Hct. ก่อนคลอดมากกว่า 33 %    หญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรอย่างปลอดภัย   ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า2,500 กรัม แม่ไม่เกิดภาวะ Post Partum Hemorrhage : PPH และทารกแรกเกิดไม่มีภาวะ Birth Asphyxia

เป้าหมาย

เพื่อให้การป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ โดยเฉพาะเพิ่มค่า Haematocrit หญิงตั้งครรภ์ให้สูงกว่าค่าที่เป็นความเสี่ยง (33 %) ในช่วงเวลาที่ฝากครรภ์จนครบกำหนดคลอด อันจะนำไปสู่การป้องกันความเสี่ยงของแม่จากภาวะ Post Partum Hemorrhage : PPH และส่งเสริมสุขภาพทารกในครรภ์ให้มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม และติดตามระบบ Refer เมื่อหญิงตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เป็นพิษจากภาวะความดันโลหิตสูง (140/90 mmHg.) และมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ หรือมีภาวะครรภ์แฝด หรือพบว่าแม่หรือพ่อเป็นพาหะของโรคThalassemia รวมถึงการประเมินและวิเคราะห์ความเครียดของหญิงตั้งครรภ์

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : จากการทบทวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในกิจกรรมทบทวน 12 กิจกรรม ทำให้ทราบปัญหาความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ในคลินิก ANC ทำให้ต้องการแก้ไขปัญหาของหญิงตั้งครรภ์อย่างเป็นระบบ โดยการปรับปรุงพัฒนาศักยภาพหญิงตั้งครรภ์ โดยนำสามี ญาติ ครอบครัว (พ่อ แม่ ปู่ ยา ตา ยาย ของหญิงตั้งครรภ์) มีส่วนร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพให้การดูแลในลักษณะของพี่เลี้ยงและครูผู้ฝึก (Coaching) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอด

มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

การเปลี่ยนแปลง : กระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างคุณค่า

1 จัดให้มีการเจาะหาค่า Hct. ครั้งที่ 1 เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรกในคลินิก เมื่อพบว่าซีด Hct น้อยกว่าเกณฑ์ 33 % จะ Empowerment เรื่องการรับประทานอาหารที่เพิ่มค่า Hct. สอนแนะนำ สาธิตการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เพิ่มอาหารเสริมธาตุเหล็ก แพทย์แนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก และมีการติดตามเฝ้าระวังให้เจาะ Hct. ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 เดือน (กรณี Hct.ต่ำ) โดยให้ความสำคัญกับ Hct. ครั้งนี้มากเพราะหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มของ Hct. ลดต่ำลงทุกครั้ง   แต่กรณี Hct. อยู่ในเกณฑ์(33 %)  จะเจาะอีกครั้งในช่วงก่อนคลอด 1 เดือน

2 มีการตรวจคัดกรองโรค Thalassemia ของหญิงตั้งครรภ์และสามี โดยถ้าพบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้ค่าที่คัดกรองให้ ผล Positive วิธีใดวิธีหนึ่ง จาก 2 วิธี คือ OF และ DCIP จะต้องตามสามีเพื่อมาตรวจคัดกรองThalassemia เนื่องจากถ้าพบว่าแม่(หญิงตั้งครรภ์)และสามีเป็นพาหะ จะส่งผลให้ลูกในครรภ์มีโอกาสเป็นโรคร้อยละ25 ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์และสามีจะได้รับคำแนะนำและคำปรึกษาจากทีมงาน

3 มีการประเมินความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยให้หญิงตั้งครรภ์ประเมิน

ความเครียดตนเอง ทีมงานวิเคราะห์ผล ถ้าพบระดับความเครียดที่สูงกว่าปกติ ทีมงานจะส่งพบทีมสุขภาพจิตของโรงพยาบาลทุกครั้ง

4 มีการนำแนวทางการประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ 20 ข้อ มาวิเคราะห์ถ้า

พบว่าประวัติครอบครัวมีการตั้งครรภ์แฝด จะมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยแพทย์ และปรึกษา     สูติแพทย์จากโรงพยาบาลพระจอมเกล้า และเป็นการลดความเสี่ยงให้ผู้ป่วย เนื่องจากโรงพยาบาลบ้านลาด เป็นโรงพยาบาลชุมชนไม่มีแพทย์เฉพาะทาง

    5 มีการเฝ้าระวังในเรื่องความดันโลหิตสูงของหญิงตั้งครรภ์ ถ้าพบค่าที่เกินเกณฑ์140/90 mmHg ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษและต้อง Refer ไปพบสูติแพทย์เช่นเดียวกับครรภ์แฝด

6 มีการเฝ้าระวังภาวะที่มีค่า BMI สูงอย่างรวดเร็ว และประวัติการตั้งครรภ์แรก และ

ตรวจคัดกรองพบภาวะน้ำตาลสูง

7 มีการเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ และอายุมากกว่าเกณฑ์ของหญิง

ตั้งครรภ์ คืออายุ 17-35 ปี เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงสูงอาจเกิดอันตรายต่อแม่และลูกน้อยในครรภ์

8 กิจกรรม โรงเรียนพ่อแม่, กิจกรรม ธงโภชนาการ, กิจกรรม ß–Endorphinลูกดิ้นดี  แม่แข็งแรง, กิจกรรม คุยกับลูกในท้องน้องจะฉลาด

9 กิจกรรมใน โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว  โดยแนะนำ สอนเรื่อง

- สอนนิทานให้ลูก นิทานทำให้เด็กฉลาด ไม่ขาดคุณธรรม

- แม่จ๋า หนูอยากมีน้ำหนักแรกเกิด 2,500 กรัม    

            - หนูดีใจจังที่ได้กินนมแม่

            - พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วม ในการดูแลการเจริญเติบโตของเด็ก

            - โปรดมาตามนัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ของลูก

            - วันนี้คุณกอดลูกหรือยัง

            - เดือนนี้ แม่ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองหรือยัง

            - แม่ควรตรวจ มะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง

            10 ประเมิน การสูบบุหรี่ ของหญิงตั้งครรภ์ สามี ครอบครัว และญาติ

            11 ติดตามผล การRefer ของหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย โดยเน้นติดตามแบบรายบุคคล

            12 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจ อนามัยช่องปาก  ได้รับบริการตรวจฟัน บริการแนะนำการใช้ไหมขัดฟันให้บริการทำฟัน อุดฟัน ถอนฟัน  ในอายุครรภ์อยู่ในช่วง 4 - 6 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กทารกในครรภ์มีความเสี่ยงน้อยที่สุด(Low Risk) ขณะเดี่ยวกันแม่พ้นภาวะแพ้ท้องแล้ว

            13 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจหมู่โลหิต(Blood group) ทั้งระบบ ABO และ Rh

 

การวัดผลและผลลัพธ์ (ขอยกตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์จำนวน 31 คน)

1. ผลการตรวจ Hct. ครั้งแรก มีภาวะซีดค่า Hct. ต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 2 คน คือคนแรก Hct.ได้ 33% คนที่ 2 Hct.ได้ 31% หลังจากได้ใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Therapeutic Life -Style Change : TLC) การเจาะ Hct. ครั้งที่ 2 พบว่าหญิงตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน พบผลลัพธ์ว่า

- Hct. ครั้งที่ 2 มีค่าเท่าเดิม จำนวน 6 คน คิดเป็น 19.4%

- Hct. ครั้งที่ 2 มีค่าลดลงกว่าครั้งที่ 1 จำนวน 17 คน คิดเป็น 54.9%

- Hct. ครั้งที่ 2 มีค่าเพิ่มขึ้นกว่าครั้งที่ 1 จำนวน 7 คน คิดเป็น 22.5 %

- Hct. ครั้งที่ 2มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน33% จำนวน 1คน คิดเป็น 3.2 %

2. ค่า Hct.ครั้งที่ 2 ที่ลดลงน้อยที่สุดคือ 1% ค่าลดลงมากที่สุด 6 % จากจำนวน 18 คน

- ค่า Hct. ลดลง 1 % มีจำนวน 2 คน คิดเป็น 11.1 %

- ค่า Hct. ลดลง 2 % มีจำนวน 5 คน คิดเป็น 27.7 %

- ค่า Hct. ลดลง 3 % มีจำนวน 2 คน คิดเป็น 11.1 %

- ค่า Hct. ลดลง 4 % มีจำนวน 4 คน คิดเป็น 22.2 %

- ค่า Hct. ลดลง 5 % มีจำนวน 3 คน คิดเป็น 16.8 %

- ค่า Hct. ลดลง 6 % มีจำนวน 2 คน คิดเป็น 11.1 %

3. ผลการตรวจคัดกรองโรค Thalassemia ในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 31 คน พบหญิงตั้งครรภ์ให้ผล Positive ในการตรวจ OF และ DCIP รวม 6 คน คือ

            (1)  พบว่าหญิงตั้งครรภ์ให้ผลลัพธ์

            - Positive ในการตรวจ OF test จำนวน 1 คน คิดเป็น 3.2%

             - Positive ในการตรวจ DCIP test จำนวน 5 คน คิดเป็น 16.1%

            (2)มีการติดตามสามีของหญิงตั้งครรภ์ที่พบผล Positiveในข้อ (1)  มาตรวจเลือดค้นหาความเสี่ยงThalassemia ในสามีของหญิงตั้งครรภ์  จำนวน  6  คน  โดยตรวจเลือด  ชนิด OF test และ DCIP test  พบผลลัพธ์ว่า

            -  ผลการตรวจสามีจำนวน 6 คน พบ Positive ใน OF test จำนวน1คน คิดเป็น16.7%ให้ผลNegativeจำนวน 5 คนคิดเป็น 83.3 %

            -  สรุปผลคู่เสี่ยง  (หญิงตั้งครรภ์และสามี)  มีจำนวน  1  คู่

            -  ค้นหาชนิดของ Thalassemia ในสามีโดยการตรวจ Hb.typing เพื่อค้นหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคกับทารกในครรภ์ พบผลตรวจของบิดาทารกในครรภ์จาก Hb.typing เป็นชนิด Hb.E-trait ซึ่งเป็นชนิดปกติ( Normal)

ผลการประเมินความเครียดของหญิงตั้งครรภ์  กลุ่มตัวอย่างจำนวน  31  คน  พบว่า

-  ผลความเครียดอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติจำนวน 5 คน คิดเป็น16.1%

-  ผลความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ  จำนวน  24  คน  คิดเป็น  77.4%

-  ผลความเครียดอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ จำนวน 2คน คิดเป็น  6.5%

การส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มสูงกว่าปกติจำนวน  2  คน  คือการส่งไปพบแพทย์และพยาบาลจิตวิทยาเพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ  แนะนำ  ในเรื่อง ปัญหาชีวิตที่หาทางแก้ไม่ได้  ประสบปัญหาไม่สบายใจ  โดยจะช่วยค้นหาสาเหตุของปัญหา(RCA)  และช่วยในการหาแนวทางแก้ไข

-  การเผชิญภาวะวิกฤติในชีวิต   มีความเครียดสะสมมากและเป็นเวลานานพอสมควร ผลลัพธ์ การให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ทั้ง  2  คน  สุขภาพจิตดีขึ้นโดยมีการประเมินอีก  1  เดือนต่อมา  ผลลัพธ์การประเมินระดับความเครียด ลดลงสู่ระดับปกติ สามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเองใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น  ปรับตัวปรับใจเข้ากับสถานการณ์ต่าง    ได้อย่างเหมาะสมขึ้นกว่าเดิม

- การนอนหลับได้ดี  หลับสนิทมากขึ้น

- แนะนำให้คลายเครียดโดย  ต้องหยุดพักความคิด

- ยืดเส้นยืดสายให้ร่างกายผ่อนคลาย   ด้วยกิจกรรมการออกกำลังกายเรียกว่ากิจกรรม ß-endorphinลูกดิ้นดีแม่แข็งแรง  ซึ่งมี คู่มือ  สอน แนะนำ  สาธิตให้กับหญิงตั้งครรภ์ซึ่งกิจกรรมนี้จะมีสอนสาธิต  3  แห่ง  ได้แก่คลินิก ANC ห้องคลอด(ก่อนคลอด)และตึกผู้ป่วยใน(หลังคลอด)  เป็นกิจกรรมที่มีคู่มือปฏิบัติ/การสอนจากคู่มือการออกกำลังกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดจัดทำโดยสำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  โดยมีการประเมินคัดเลือกหญิงตั้งครรภ์ที่ ไม่มี ความเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรม  แต่ถ้าเป็นโรคหัวใจ โรคครรภ์เป็นพิษ  ภาวะรกเกาะต่ำหรือมีความดันโลหิตสูง จะงดกิจกรรมนี้  ถ้าหญิงตั้งครรภ์แข็งแรงดี ภายใต้การดูแลของแพทย์กิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อหญิงตั้งครรภ์(Optimize) ในการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์

ผลลัพธ์จากการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเวลา 10 เดือน เมื่อหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดคือ

-  ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า  2,500  กรัม  ซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดค่า Hct. ต่ำกว่า  33%(คือ  32%)  จำนวน  1  คน  คลอดบุตรน้ำหนัก  2,480  กรัม  คิดเป็น  3.2%

-  ไม่พบแม่เกิดภาวะ Post Partum Hemorrhage: PPH คิดเป็น 0%

-  ไม่เกิดภาวะ Birth Asphyxia คิดเป็น 0%

ในระบบส่งต่อ (Refer)  เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลที่ดีที่สุด  เนื่องจาก รพ.บ้านลาด ไม่มี สูติแพทย์

-  Referหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 5 คน(กรณีตัวอย่าง31คน)คิดเป็น 16.1%

- กรณีหญิงตั้งครรภ์มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 2 คนคิดเป็น6.4 %

-  กรณีที่ต้องผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง(Previous Caesarian Section) จำนวน 1 คน  คิดเป็น 3.2%

- กรณีที่พยากรณ์(Predict) จากน้ำหนักแม่ไม่ขึ้นตามเกณฑ์คาดว่าเด็กทารกจะอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 gm ต้องRefer ไปพบแพทย์ จำนวน  2  คน  คิดเป็น  6.4% ซึ่งเป็นผลจากการเฝ้าระวังค่าBMIในหญิงตั้งครรภ์ ขณะมารับบริการในคลินิก ANC

หญิงตั้งครรภ์มีปัญหาเรื่องอายุต่ำกว่าเกณฑ์หรือมากเกินเกณฑ์ (ตัวอย่าง 31 คน)

-  หญิงตั้งครรภ์  มีอายุต่ำกว่า 17 ปี มีจำนวน 1 คน คืออายุขณะตั้งครรภ์อายุ  16  ปี  คิดเป็น  3.2%

-  หญิงตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปีมีจำนวน 1 คน คืออายุ 43 ปี 

คิดเป็น  3.2%

-  หญิงตั้งครรภ์มีอายุที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการตั้งครรภ์ปกติ(17-35ปี)  จำนวน 29  คน  คิดเป็น 93.6%

ประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ที่พบได้แก่

-  มีประวัติครอบครัวมีการตั้งครรภ์แฝดจำนวน 2คนคิดเป็น6.4%

-  มีประวัติเคยคลอดแล้วเกิดภาวะรกค้าง จำนวน 1 คน คิดเป็น  3.1%

-  มีประวัติคลอดก่อนกำหนดจำนวน 1  คน  คิดเป็น  3.1%

- ประวัติหญิงตั้งครรภ์มี HBAgPositive จำนวน 1คน คิดเป็น3.1%

-  มีประวัติตั้งครรภ์ครั้งที่ 4 จำนวน 1 คน  คิดเป็น  3.1%

การประเมิน การสูบบุหรี่ ของหญิงตั้งครรภ์และสามีซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยง  พบว่า

- ไม่พบหญิงตั้งครรภ์สูบบุหรี่ คิดเป็น  100 %

- พบสามีหญิงตั้งครรภ์สูบบุหรี่จำนวน 8 คน คิดเป็น 25.8 %

หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการตรวจอนามัยช่องปากทั้งจำนวน 31คนคิดเป็น 100 %

ผลลัพธ์ของการตรวจหมู่โลหิต (ตัวอย่างจำนวน 31 คน)พบว่า

- หมู่โลหิต A พบ จำนวน 9 คน  คิดเป็น  29.1 %

- หมู่โลหิต B พบ จำนวน 10 คน คิดเป็น  32.1 %

- หมู่โลหิต O พบ จำนวน 11 คน คิดเป็น  35.5 %

- หมู่โลหิต AB พบ จำนวน 1 คน คิดเป็น  3.3 %

บทเรียนที่ได้รับ :

      1) มีการทำงานในคลินิก ANC ในลักษณะทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multi-disprinary) ทั้งแพทย์,พยาบาล,ห้อง Lab ,ระบบบันทึกข้อมูล(Management  Information System : MIS) ระบบเยี่ยมบ้าน HHC ร่วมกับ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ สามี ครอบครัว

เนื่องจาก Blog ที่แล้ว บทเรียนที่ได้รับ จากการทำโครงการพลังสร้างสรรค์หญิงฝากครรภ์ได้รับคุณค่าได้หายไป หนูขอส่งมาเพื่อนเติมนะคะ

บทเรียนที่ได้รับ :

      1) มีการทำงานในคลินิก ANC ในลักษณะทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multi-disprinary) ทั้งแพทย์,พยาบาล,ห้อง Lab ,ระบบบันทึกข้อมูล(Management  Information System : MIS) ระบบเยี่ยมบ้าน HHC ร่วมกับ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ สามี ครอบครัว (พ่อแม่ของหญิงตั้งครรภ์หรือพ่อแม่ของสามี) รวมถึงการจัดตั้งชมรม สายใยรักแห่งครอบครัว ซึ่งมีภาคประชาชนและผู้นำชุมชน อสม.ได้แก่ ประธาน อสม. และสมาชิกในตำบลท่าช้าง(นางเสย  ช้างน้ำ) รองนายก อบต.ท่าช้างและประธานชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว(นายมิ่ง ช้างน้ำ)

      2)ทีมงานสหสาขาวิชาชีพ รพ.บ้านลาด โดยมีทีมงานในคลินิก ANC เป็นแกนนำได้เกิดการเรียนรู้(Learning) ในเรื่องกระบวนการทำงานของทีมงานทั้ง ข้อดีที่เป็นจุดแข็ง(Strength) ข้อเสียหรือจุดอ่อน (Weakness) ได้เรียนรู้ถึงการ อดทน รอคอย เมื่อโอกาสการทำงานที่ได้ผลงานไม่ดีอย่างที่ทีมงานต้องการ  ตั้งตารอคอย โอกาส(Opportunities) เพื่อพัฒนาทีมงานในโอกาสต่อไปและค้นหาข้อจำจัดของทีมงานและแต่ละบุคคลซึ่งข้อจำกัด(Threats) ซึ่งแต่ละคนในทีมงานไม่เหมือนกัน ขณะเดียวกันข้อจำกัดของผู้ป่วย(หญิงตั้งครรภ์) และครอบครัวก็แตกต่างกันไป  ดังนั้น วงล้อPDCA/PDSA/DALI ก็ต้องหมุนไปตลอดกระบวนการทำงานในคลินิกANC เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ  เพื่อลดความเสี่ยง(Risk)ในหญิงตั้งครรภ์) ให้เหลือเป็น ของเสีย(Waste)สูญเสียน้อยที่สุด เท่าทีมงานจะสามารถพัฒนาได้นั้นคือการทำงานที่นำเอา ระบบLearn” มาใช้ในกระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกANCคือการปฏิบัติงาน(Act)ให้ดีที่สุดลดความเสี่ยง ความสูญเสีย ลดของเสีย โดยนำแนวคิดใหม่ ๆ (Rethinking)เข้ามาพัฒนากระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับงาน(Value Added)  ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผน(Plan)หรือการออกแบบ(Design)ให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์  การให้บริการ/ดูแล/ตลอดจนสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงต่าง ๆ ของหญิงตั้งครรภ์ถูกขจัดออกไป   มีการปรับปรุงกระบวนการ(Process Improvement)  ให้บริการที่เติมเต็ม(Fulfillment)ไปด้วยการสร้างคุณค่า(Value)ในการปฏิบัติงานใหม่อีกครั้ง(Value creation action)          การทำงานก็จะลดช่องว่าง(Gap)กระบวนทำงาน  เกิดการเรียนรู้ในงาน เกิดการเรียนรู้ของทีมงานANC และเกิดการเรียนรู้ข้ามสายงาน(Cross Function)ในองค์กร

      3) ทีมงานสหสาขาวิชาชีพได้  หาความรู้และเรียนรู้(Learn) เข้าใจ(Comprehend) ใส่ใจ(Attention) ในการ เพิ่มคุณค่า(Value Added) ให้หญิงตั้งครรภ์ ญาติ อสม. ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว เช่น ทีมงานได้เชิญคุณครูจากโรงเรียนบ้าน ท่ายาง มาสาธิต การเล่านิทาน ให้หญิงตั้งครรภ์ในชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว  ซึ่งทำให้เราต้องเรียนรู้ในเรื่องการประสานงาน (Co-ordination) ทั้งในโรงพยาบาลบ้านลาดกับองค์กรภายนอกที่เป็นพันธมิตรกัน(Alliance)ซึ่งจะส่งผลให้งานมีความสำเร็จสูงขึ้นตอบสนองเป้าหมาย(Target)ได้โดยตรงและชัดเจนยิ่งขึ้น

         4) ทีมงานสหสาขาวิชาชีพ   มีการทำงาน  เชิงรุกไปในชุมชน  โดยทีม HHC ได้ติดตามเยี่ยมบ้านในหมู่บ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหา โดยติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อให้คำแนะนำเช่น กรณีหญิงตั้งครรภ์ มีน้ำหนักน้อยหรือน้ำหนักไม่ขึ้น ลงไปเยี่ยมเพื่อดูสภาพความเป็นจริง(Fact)ที่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเป็นอยู่  บางครั้งติดตามเยี่ยมโดยทางโทรศัพท์เมื่อขาดนัด(ผิดนัด) เยี่ยมบ้านหลังคลอด นัดติดตามให้มาตรวจหลังคลอด และแนะนำการวางแผนครอบครัวเป็นการเสนอแนะบริการที่เหมาะสมสำหรับหญิงหลังคลอดแต่ละบุคคล การทำงานในการดูแลหญิงตั้งครรภ์จะเป็นลักษณะเชิงระบบ(System) เริ่มตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์เข้ามาฝากครรภ์ ได้รับการตรวจสุขภาพ  การค้นหาความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง การสร้างเสริมสุขภาพ การติดตามดูแล เชิงรุกลงไปในชุมชน เพื่อให้การแนะนำ สามี  ญาติ ครอบครัว ในเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ปัญหาในครอบครัว ปฏิสัมพันธ์กับชุมชน สังคม การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก โรคประจำตัว/ภัย/ความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรืออบายมุข เช่น บุหรี่/ยาเส้นพื้นเมือง สุรา เครื่องดื่มอันตรายบางชนิดโดยกระบวนการให้บริการจะเกิดความครอบคลุมทั้ง เชิงรับ ในคลินิก การ รุกลงไปในชุมชน เชิงลึก ในรายละเอียดของการบริการและบางเรื่องต้องเป็น ความลับ ของหญิงตั้งครรภ์(ผลHIV) เป็นสิทธิผู้ป่วย ดังนั้นกระบวนการทำงานในคลินิกจะมีลักษะ ไร้รอยต่อ ไร้ตะเข็บ(Seamless) เพื่อให้งานบริการฝากครรภ์เกิดคุณภาพมากที่สุด

     5) ทีมงานมีการเก็บข้อมูล เพื่อทำ วิจัยขนาดเล็ก (Mini-Research) เพื่อนำผลมาใช้ในการเรียนรู้และพัฒนางาน (Development) เช่น เก็บข้อมูลค่าHct.1 และ Hct.2 เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อให้การช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ โดยแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารที่ครบ 5 หมู่ อาหารชนิดที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก เช่น Folic acid, Nataral ทำให้เกิดการวิจัยสำหรับใช้ในการพัฒนางานบริการ (Process Research and Development: R&D)

     6) รพ.บ้านลาดมีการพัฒนาบุคลากรและใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างเกิดคุณค่าสำหรับองค์กร โดยมีการจัดการ(Management) มีการวางแผน (Plan) ในการทำงานร่วมกันในลักษณะ Matrix Structure โดยมีเป้าหมาย(goal)ร่วมกัน คือ ให้บริการดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ดีที่สุด มีการจัดการ(Organization)ที่เหมาะสมเป็นไปตามแผนที่วางไว้  จัดบุคลากรเข้าทำงาน(Staffing)หาทีมงานที่ ต้องการร่วมทีม ร่วมใจ เหมาะสม มีความรู้ความสามารถ และสอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกองค์กรที่เกิดขึ้น  การดำเนินการและสั่งการมีการชักจูง ชักนำ จูงใจ ให้ทีมงานทำงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ให้เกิดประสิทธิภาพ(Efficiency) เกิดประสิทธิผล(Effectiveness)และประหยัด(Economy)ตามบริบท(Context)ของรพ.บ้านลาด และการติดตามและประเมินผล(Evaluation and Controlling)ว่าสอดคล้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ถ้ามีข้อผิดพลาด ทีมงานจะต้องมาร่วมกันทบทวนหลังเสร็จกิจกรรมในคลินิกANC แต่ละครั้งในลักษณะ After action review : AAR เพราะยิ่งคุยกันมากจะยิ่งได้ เกลียวความรู้(Knowledge Spiral) เพราะเป็นการพูดคุยกันอย่าง กัลยาณมิตร แบบลุ่มลึก(Deep Conversation) ความรู้จากหลาย ๆคน ทำให้ความรู้ของทีมงานรายบุคคลเพิ่มขึ้น ทำให้ทีมเรียนรู้ทั้งความสำเร็จ(Success story) และความล้มเหลว(Failure story) ที่ผ่านมาในงานANCของทีมงาน ในลักษณะแสดงร่วมกัน(Show and Share)

     7) ทีมงานสหสาขาวิชาชีพเกิดวัฒนธรรมองค์กร(Corporate  Culture) ทำให้ทีมงานรู้สึก มีส่วนร่วม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับรพ.บ้านลาดในเรื่อง การทำงานคุณภาพ(Quality)ในคลินิก ANCซึ่งเป็น ระบบบริการงาน(Service System) หนึ่งของรพ.บ้านลาด  ขณะได้ทำงานร่วมกันเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานเกิดความผูกพันกัน เช่น เจ้าหน้าที่งาน ANC เจาะเลือดหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้จะขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ห้องLab เป็นการทำงานที่ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ร่วมมือกันโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการที่มีคุณค่าและเพิ่มบริการทุก ๆ เรื่องให้เกิดกับหญิงตั้งครรภ์ในลักษณะ  Patient Focus and Patient Safeและทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำงานโดยนำค่านิยมมาใช้ร่วมกัน(Share Value)ซึ่งเริ่มแรกจะเป็น ลักษณะSuper-ordinate goals  และจากการทำงานหลาย ๆ ปีร่วมกันจะมีลักษณะเป็น ค่านิยมร่วมของทีมงานและขององค์กร

     8)การทำงานเกิด การเปลี่ยนแปลง(Change)กระบวน(Process) การดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยง (Risk) ลดความสูญเสีย(Loss) ลดสิ่งที่จะเป็นภัยอันตราย(Harm)ที่จะมีต่อหญิงตั้งครรภ์ ขณะเดียวกันจะเป็นการทำงานที่ ก่อให้เกิดคุณภาพ(Quality) สูงสุดต่อหญิงตั้งครรภ์ และเป็นการทำงานที่คาดการณ์(Predictable) เพื่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เช่น เรื่องบุหรี่ เรื่องอนามัยช่องปาก ซึ่งเป็นการดึง(Pull)กระบวนการให้บริการดี ๆให้ผู้ป่วย และผลัก(Push)หรือผลักดัน(Force)สิ่งไม่ดีออกจากหญิงตั้งครรภ์เช่นอยู่ห่างบุคคลที่สูบบุหรี่ส่งผลให้กระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์สมบูรณ์ที่สุด(Completely)

          9) คลินิกANCจะ ส่งเสริมสุขภาพ(Promotion) หญิงตั้งครรภ์ สามี ญาติ ครอบครัวและเป็นการพลังเสริม(Synergy)ให้องค์กร(โรงพยาบาลบ้านลาด) ให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง(Risk)ให้มีสุขภาพดีที่สุดตามบริบท(Context)ที่ รพ.บ้านลาดจะทำได้   ทำให้รพ.บ้านลาดเป็น Health Promotion Hospital : HPH  กระบวนการดูแลให้เกิดคุณค่า(Good Value)และการเพิ่มคุณค่า(Value Added)ให้หญิงตั้งครรภ์  ทารกในครรภ์  สามี ญาติ ครอบครัว ทำให้เป็นการ เปลี่ยนความต้องการของคนไข้มาเป็น....งานบริการของเรา การทำงานไหลลื่นดีขึ้น(Flow) โดยใช้การทำงานตามหลักการมีส่วนร่วม(Participation) ของทีมสหสาขาวิชาชีพ(Multidesplinary) ทำให้งานได้พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous Quality Improvement : CQI) ส่งผลให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์มีความสมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม(Perfection) เกิดการทำงานแนวใหม่(Innovation) ขณะทีมงานมีความผูกพัน(Commitment)กันมากขึ้น  มีการตอบสนอง(Responsiveness)ต่อความต้องการทั้งของผู้ป่วยและทีมงาน  เพราะทุกคนทำงานอย่างเสียสละมากขึ้น(Devotion) ขณะเดียวกันเราจะทำงานที่มีความยืดหยุ่น(Flexible) โดยไม่ยึดในความคิดของใครคนใดคนหนึ่งแต่ยึดให้บริการคุณภาพสำหรับผู้ป่วยเป็นหลัก ทุก ๆคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกัน(Decision making)ทำงานด้วยความสุขของทุกคนในหน่วยงาน(Humanize Health care)และการทำงานข้ามหน่วยงาน(Cross Function)ทำให้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง(Change)ในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization)

เป็นเรื่องที่หนูได้นำเสนอเวทีคุณภาพที่อิมแพค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 11-14 มีนาคม 2552 หนูได้นำเสนอต่อหน้า พระพักตร์พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาต ทำให้หนูมีความภาคภูมิใจมาก หนูคิดว่าเรื่องที่หนูได้นำมาเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ วันนี้หนูคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี  8K’s +5K’s+4L’s+ทฤษฎี 3 วงกลม+ทฤษฎี Value Added ของท่านอาจารย์ด้วย ไม่ทราบว่าหนูคิดถูกหรือเปล่านะคะ

วันนี้หนูขอยุติการาคุยกับอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ

สมศรี  นวรัตน์   081-9435033

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎีของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยแนวคิดมนุษย์ : 8K’s

1) ทฤษฎี 8K’s K ย่อมาจากคำว่า Kapital เป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึง  ทุน (Capital)  คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ใช้กันมากในทางเศรษฐศาสตร์  จึงเป็นที่มาของการใช้สัญลักษณ์ K แทน

            ทฤษฎี 8 K’s เป็นแนวคิดที่จำเป็นต้องมีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งต้องการให้บุคลากรมีทุนทั้ง 8 ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญที่มนุษย์ควรมี  ดังนี้

            1.1) Human Capital หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา  ทุนที่ได้มาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดา  มารดา ซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมีมา  เมื่อมีพื้นฐานทุนมนุษย์มาดี  เมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนเข้าสู่ของสังคมหรือองค์กร  ก็จะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง  สังคม  องค์กรและประเทศชาติได้เป็นอย่างดี  ทุนมนุษย์จึงเป็นรากฐานที่สำคัญ  ที่จะมีผลต่อการพัฒนาทุนด้านอื่น ๆ  ของมนุษย์

            ทุนมนุษย์ทีมีในภาคเกษตร เช่น การได้รับถ่ายทอดวิธีการทำเกษตรจากบรรพบุรุษหรือการใฝ่หาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาเล่าเรียน  หรือทุนมนุษย์ในองค์กรก็คือ การได้รับการศึกษาเล่าเรียน

            1.2) Intellectual Capital ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เสนอไป  คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง  และสามารถที่จะนำความรู้  และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

            ทุนทางปัญญา  คือ  การที่มนุษย์คิดเป็น  วิเคราะห์เป็น รู้จักใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีนำมาคิดวิเคราะห์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น  การผสมข้าวพันธุ์ใหม่

            1.3) Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม  หมายถึง  บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี  แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม  ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี  ยิ่งถ้านำเอาความรู้  ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงควรให้การปลูกฝัง  ทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องแรก  หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง

            ทุนทางจริยธรรม คือ การเป็นคนดี  มีความยุติธรรม  ดำเนินชีวิตโดยไม่เบียดเบียนใครนั่นเอง  ซึ่งส่วนมากคนในภาคเกษตร  จะมีทุนทางจริยธรรมสูง  และในองค์กร  ถ้าทุกคนมีทุนตัวนี้สูงก็สามารถช่วยกันนำพาให้องค์กรอยู่รอดได้

            1.4) Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข  เมื่อมนุษย์มีทุนทางความรู้  ทุนทางปัญญา  และทุนทางจริยธรรม ย่อมเป็นผู้มีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์  มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข  ไม่ว่าจะเป็นสุขกายหรือสุขใจ  เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

            การที่เราจะทำงานอย่างมีความสุขได้จะต้อง

(1)  รู้จุดมุ่งหมายของงาน  และรู้ว่าผู้รับบริการต้องการอะไร

(2)  รู้ว่าเรามีความสามารถในการนำเสนอ  พอเพียงหรือไม่

(3)  ต้องเตรียมตัวดี  มีเวลาเพียงพอ

(4)  พักผ่อนเพียงพอ

(5)  มีทีมที่ดี

(6)  สุขภาพกายและสุขภาพใจต้องดี

(7)  ต้องสนุกกับกาท้าทาย

(8)  ทำงานด้วยความกระตือรือร้น

(9)  ต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้

(10)         ต้องมีความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน

(11)         ต้องไม่เครียด (no stress)

(12)         เพิ่มคุณค่าให้ตัวเองในการทำงาน (enrich ตัวเอง)

1.5) Social Capital หรือทุนทางสังคม หมายถึง การรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว ให้อยู่รวมกันเป็นชุมชน เป็นเครือข่าย  เป็นสังคม  ที่ไว้ใจกันพึ่งพาอาศัย  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม เมื่อมนุษย์มีความรู้  มีปัญญา มีจริยธรรม  และมีทุนทางความสุขแล้ว  ก็กล้าพอที่จะมีการออกสังคม  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนทั่วไปในทางสร้างสรรค์ มีทุนทางสังคมที่ดี

คนในภาคเกษตร  โดยเฉพาะในชนบทจะมีทุนทางสังคมสูงมาก  จะเห็นได้จากวัฒนธรรมในอดีต  คือ  การลงแขกเกี่ยวข้าว  ซึ่งคนในหมู่บ้านจะมาช่วยกันเก็บเกี่ยวข้าว  เป็นตัวอย่างที่แสดงทุนทางสังคมได้อย่างดี  ในองค์กรก็เช่นเดียวกัน  ผู้ที่มีทุนทางสังคมสูงก็มีโอกาสที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

1.6) Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง โลกยุคปัจจุบัน  เป็นโลกยุคข่าวสาร  และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์  ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความสามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจ  ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้  จึงเป็นผู้ที่มีความได้เปรียบสูง

ในอดีตภาคเกษตรจะมีการใช้ทุนตัวนี้ค่อนข้างน้อย  แต่อนาคตจากนี้ไป  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  จะทำให้ทุนตัวนี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น  ซึ่งทุกคนจะต้องหาความรู้และรู้จักใช้ประโยชน์จากทุนนี้มากขึ้น

1.7) Sustainability Capital  หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์  เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมากหากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์นี้  เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน (Chira’s 6 factors) ประกอบด้วย

(1) การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลในระยะยาวอย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องไม่ถูกทำลาย  และต้องไปด้วยกันกับการพัฒนา

(3) การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือ มีศีลธรรม  คุณธรรมไปกับการพัฒนา

(4) ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้

(5) ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย  ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ

(6) ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self-reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว

โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ค่อนข้างมาก หากไม่สามารถปรับตัวได้  เช่นเดียวกันกับองค์กรธุรกิจก็ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ทีเกิดขึ้นมา  มิเช่นนั้น  ก็คงไม่สามารถที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนในยุคนี้

1.8) talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เป็นทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจ  การมีความรู้  ทักษะ และทัศนคติ (mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน  องค์กรก็จะดำเนินธุรกิจไปได้ดี  แต่บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย ถ้าบุคคลนั้นไม่มีความรู้  ทักษะ และทัศนคติที่ดี  ที่เหมาะสมในการทำงานและถูกต้อง

 

สมศรี  นวรัตน์  081-9435033

กราบเรียนท่านเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

หนู(สมศรี นวรัตน์)ขออนุญาต กราบเรียนว่า หนูมีงานวิชาการที่ต้องปฏิบัติในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2552 โดยหนูได้รับเชิญจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง Good Value สู่ชุมชน  ณ.โรงแรม Miracle Grand Convention Hotel กรุงเทพมหานคร

 

เรื่อง Good Value สู่ชุมชน  

เนื่องจากบริบท(Context) ของอำเภอบ้านลาด เป็นเมืองน้ำตาล ขนมหวาน อาหารทะเลมากมาย ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นสิ่งที่ทีมงานทุกทีมของโรงพยาบาลต้องหาโอกาสพัฒนา เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหา สร้างเสริมสุขภาพ และพัฒนาสุขภาพของประชาชนในชุมชน โดยใช้แนวคิด(Concept)การระดมพลังสร้างสรรค์          “A-I-C” เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่บุคลากรในโรงพยาบาลบ้านลาด เพื่อให้เกิดพลังและรู้จักใช้วิธีระดมพลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในองค์กรไป ประสาน(Coordination) ไปสร้างสัมพันธภาพ (Relation) ไปปฏิสัมพันธ์(Interaction) ไปเกี่ยวข้อง(Associate)กับประชาชนในชุมชน ซึ่งมีทั้งกลุ่มปกติมีสุขภาพแข็งแรงดี กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง (Risk group) เป็นกลุ่มที่สามารถใช้พลังสร้างสรรค์ที่มีในตัวบุคคล กลุ่มคน องค์กร และชุมชนจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงให้สามารถเปลี่ยนเป็นกลุ่มปกติได้ สามารถให้รับรู้(Perception) สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพต่อคุณภาพชีวิต มีทัศนคติ(Attitudes) ความรู้สึกที่ดี(Feeling) ต่อสุขภาพไม่กลัว ไม่สิ้นหวัง มีค่านิยม(Values) ที่ถูกต้อง มีความเชื่อถือ(Beliefs) ความเลื่อมใสว่าสุขภาพสร้างได้

          ทีมเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ได้นำ เทคนิคA-I-C มาใช้ในกระบวนการทำงานสร้างทีมงาน(Team work) ในการเชิญผู้นำชุมชนทั้ง อบต. ท่าช้าง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.ท่าช้าง ประธานชมรมผู้สูงอายุประจำตำบล ประชาชกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้ามาประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) ทำให้ได้พลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวบุคคลเหล่านั้นออกมาด้วย 3 พลังคือ พลังแห่งความซาบซึ้ง (Appreciation) คือพลังที่มีความปารถนาดี ความรัก ความเมตตาเป็นมิตร ซาบซึ้งคุณค่า รับรู้ เข้าใจ ใส่ใจต่อสิ่งที่อยู่รอบตัว บุคคล กลุ่มคน องค์กร ชุมชน สังคม พลังแห่งความคิดและปฏิสัมพันธ์ผสมผสาน(Influence) คือการใช้ความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์(Creative) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์(Synthesis) โดยคิดรวมกัน แลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์กัน ผสมผสานกันด้วยความเข้าใจ มิตรไมตรี ปารถนาดี ให้เกียรติ ให้ความเคารพกันและกัน พลังความพยายามและการควบคุมจัดการ (Control) คือ ความมุ่งมั่น ผูกพัน รับผิดชอบ ที่จะปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายที่อยู่ในความดูแลของตน ให้ดำเนินไปด้วยดี จนประสบผลสำเร็จ มีการวางแผนจัดการระบบ จัดคน จัดทรัพยากร สร้างความเข้าใจ สร้างกำลังใจ สร้างความร่วมมือ ประสานงาน ควบคุมการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง  จากการระดมพลังสร้างสรรค์  “ A-I-C ”  ในการประชุม เชิงปฏิบัติการทำให้เกิดโครงการ “ Good value สู่ชุมชน  ภายใต้แผนปฏิบัติการ (Active Plan)  วัดความดัน วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ด้วยความรักและห่วงใย โดยมีการปฏิบัติงานร่วมกันของ เครือข่าย(Network)และเครือข่ายที่ดีเปรียบเสมือน สิ่งมีชีวิต มีการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปมาหากันรวดเร็วและพร้อมกับปรับตัว(Adaptation)เพื่อดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ การทำงานเครือข่ายมีดังนี้

1.                 การประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ปัจจุบันของชุมชน  และอยากเห็นความสำเร็จในอนาคต เหตุผลและความรู้สึกทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มองภาพกว้าง คิดในสิ่งแปลกใหม่ เกิดอุดมการณ์ร่วมของกลุ่มที่มาประชุมชน ซึ่งเกิดจาก พลังAppreciation เนื่องจากทุกคนได้แสดงออกอย่างทัดเทียมกันด้วยคำพูดที่เขาเห็นเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร ทุนคนให้การยอมรับ มติของการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อทุกคนได้แสดงออกโดยได้รับการยอมรับจากคนอื่น ๆ จะทำให้ทุกคนมี ความรู้สึกที่ดี มีความสุข มีความอบอุ่น และเกิดพลังงานขึ้น  ขั้นตอนนี้ทำให้ทราบปัญหาต่าง ๆ และทราบข้อมูล

2.       การได้วิธีการทำงานที่สำคัญ การใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แต่ละคนมีอยู่ มาช่วยกัน กำหนดวิธีการสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มหรืวัตถุประสงค์ ของโครงการร่วมกัน เมื่อทุกคนแสดงความคิดเห็นแล้ว จะนำวิธีการที่เสนอแนะทั้งหมดมาจัดหมวดหมู่ แยกแยะและพิจารณาร่วมกันจนได้ วิธีการสำคัญสมาชิกที่ประชุมจะมีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันสูง(Interaction) มีการโต้แย้ง ถกเถียงกันบ้าง โดยมีเป้าหมายร่วมกัน ส่งผลให้กลุ่มมีแนวโน้มรักษาความสามัคคี การมีส่วนร่วม การสร้างกรอบแนวคิดของกลุ่ม

3.การนำวิธีการสำคัญมากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) อย่างละเอียดว่าจะทำอย่างไร หลักการและเหตุผลใด  มีเป้าหมายอย่างไร ใครรับผิดชอบเป็นหลัก ใครต้องให้ความร่วมมือ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายจากแหล่งใด สมาชิกกลุ่มแต่ละคนจะเลือกเอาว่าสมัครใจรับผิดชอบในเรื่องใด ใครจะให้ความร่วมมือเรื่องใด ใครจะเป็นผู้ร่วมคิดแผนปฏิบัติการข้อใด เป็นการกำหนดข้อผูกพัน(Commitment) ให้ตนเองเพื่อควบคุม (Control) ให้เกิดการกระทำอันจะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

3.                 การประชุมเชิงปฏิบัติการลงสู่การปฏิบัติจริง(Implementation of Action) ของโครงการ “Good Value สู่ชุมชน เป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนที่ร่วมกันวางไว้

4.การติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามโครงการ (Follow –up&Evaluation) เป็นการประเมินประสิทธิผลของโครงการและผลของคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน โครงการ Good Value สู่ชุมชน    มีเป้าหมายเพื่อคัดกรอง(Screening)  ประชาชนทั้งหญิงและชาย   ที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่มีค่าดัชนีมวลกาย(Body mass Index : BMI) เป็นมาตรฐานที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนในผู้ใหญ่วัยทำงาน ซึ่งทางระบาดวิทยาได้นิยามค่า BMI มาตรฐาน ควรต่ำกว่า 25 กก/ม2 แต่ถ้าประชาชนที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์ มีโอกาสและมีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง ดังนั้น ทีมภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันคิด ร่วมกันระดมพลังสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิค A-I-C เกิดกิจกรรมลงสู่การปฏิบัติดังนี้

1)  ร่วมกันกำหนดประชาชนกลุ่มและพื้นที่เป้าหมาย ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อ BMI ซึ่งทีมได้ใช้พื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านลาดได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านท่าช้าง หมู่ที่ 5 บ้านไร่มะตุ่มและหมู่ที่ 8 บ้านไร่มาบ  ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้าน ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง

2) ร่วมกันกำหนดทีมที่จะลงไปร่วมกันทำงาน ในลักษณะภาคีเครือข่าย  ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะมี อบต. ประจำหมู่บ้านหรือ อบต.ตัวแทนของหมู่บ้าน หมู่ละ 2 คนมี อสม. ที่ดูแลละแวกหมู่บ้าน โดย อสม. 1 คน ดูแล10 -15 ครอบครัว ขณะเดียวกันแต่ละหมู่ก็จะมีผู้ใหญ่บ้านดูแลหมู่บ้านในลักษณะภาพรวม หมู่ละ 1 คน เช่นหมู่ที่ 8 จะมีผู้ใหญ่บ้านแฉล้ม  ทับแก้ว  หมูที่ 1 มี ผู้ใหญ่เสงี่ยม  นุชเจริญ  ขณะเดียวกันทีมงานจะมี ภรรยาของ อบต. ภรรยาของกำนัน ภรรยาของผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียนวัดโพธิ์กรุและ    อสม.น้อยในโรงเรียนวัดโพธิ์กรุ ร่วมทีมทำงานในชุมชนและเป็น ผู้สนับสนุน(Supporter) ให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน ทุน( Cost ) ได้แก่ ทุนทางมนุษย์(Human Capital)  ทุนทางสังคม(Social Capital)  ทุนทางเวลา(Time Capital)และทุนทางวัฒนธรรม(Culture Capital)

5.3ในโรงพยาบาลบ้านลาด(องค์กร) จะมี พยาบาลประจำครอบครัว ทั้ง 3 หมู่บ้าน  หมู่ที่ 1 จำนวน 2 คน  หมู่ที่ 5  จำนวน 2 คน  และหมู่ที่  8 จำนวน  3 คน เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก ซึ่งพยาบาลประจำครอบครัว จะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษา เสนอทางออก(Option) ด้านดูแลสุขภาพทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพและสร้างเสริมสุขภาพตามนโยบาย 6 อ.   ให้กับประชาชนในพื้นที่

5.4มีการประชาสัมพันธ์โครงการลงพื้นที่ผ่านการประชุมประจำเดือน อสม.มีการประชาสัมพันธ์ผ่านการประชุม อบต.ท่าช้าง ซึ่งทีมของโรงพยาบาลจะประชุมกับ อบต.และประชุม อสม. ทุกเดือน ขณะเดียวกันมีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ซึ่งมี อสม.ใหญ่ อสม.น้อย  ผู้นำชุมชน  คอยกระจายข่าวให้ทราบทั่วถึงเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทราบละเอียด และให้ความร่วมมือในการคัดกรองสุขภาพ

5.5  การปฏิบัติตามโครงการและตามแผนปฏิบัติการ  วัดความดัน วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ด้วยความรักและห่วงใย ใน 3 หมู่บ้านประชากรเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 505 คน

ผลผลิต ( Output ) ของโครงการ

1.              ภายหลจากการคัดกรองสิ้นสุดพบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เป้าหมายมีระดับ BMI เกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 52 คน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงจากค่า BMI เกินเกณฑ์ เป็นชาย  16  คน  หญิงจำนวน  36  คน 

2.                 กลุ่มเสี่ยงมี BMI เกินเกณฑ์ มีภาวะอ้วนระดับ 1 จำนวน  39 คน มีค่าBMIอยู่ระหว่าง 25.0 29.9

3.                 กลุ่มเสี่ยงมี BMI เกินเกณฑ์ มีภาวะอ้วนระดับ 2   จำนวน  13   คน มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 30.0 39.9

4.                 ภาวะอ้วนระดับ  3  ที่มีค่า BMI   40.0  ทางทีมงานภาคีเครือข่ายยัง  ไม่พบ ประชาชนที่มีภาวะอ้วนระดับ 3 หรือ เป็นโรคอ้วน

5.                 ประชาชนที่อายุ  35 ปีขึ้นไป มี รอบเอวเกินเกณฑ์   จำนวน  47  คน ชาย  13  คน หญิง  จำนวน 34  คน  เกณฑ์รอบเอวปกติผู้ชายอยู่ที่ 90 ซม.   ผู้หญิงอยู่ที่ 80 ซม.

จากผลลัพธ์ของโครงการดังกล่าวข้างต้น ทำให้ภาคีเครือข่ายต้องประชุมสรุปผลโครงการต่อโดยมีแนวคิด การระดมพลังสร้างสรรค์ A-I-C เพื่อแก้ไขกลุ่มเสี่ยงที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์มาตรฐาน  เพราะพลัง Influence เป็นพลังแห่งความคิดและปฏิสัมพันธ์ผสมผสานที่ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ วิเคราะห์โดยการคิดร่วมกัน แลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์และพลังความพยายามและการควบคุมจัดการ(Control) เป็นพลังมุ่งมั่น ผูกพันและรับผิดชอบที่จะปฏิบัติภารกิจของตนให้ดำเนินไปด้วยความสำเร็จ รวมถึงการร่วมมือประสานงาน ปฏิบัติงาน ปรับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้นกว่าเดิม จาก 3 พลังดังกล่าว ทีมภาคีเครือข่ายจึงคิดแผนปฏิบัติการต่อยอดจากโครงการเดิมด้วยการตั้งคำถามว่า กลุ่มเสี่ยงที่มีค่า BMI เกินในระดับ 1 และ ระดับ 2  เขาเหล่านั้นมี โอกาสเสี่ยง  ที่จะเป็น กลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ คำถามเหล่านี้ทำให้ทีมงานต้องใช้ Tracer ตามรอย กลุ่มที่มี BMI เกินเกณฑ์และมีรอบเอวเกินเกณฑ์หรือการใช้อุบัติการณ์ มาวิเคราะห์ (Root cause Analysis from Inciden) หรือเป็นการสอบความรู้ทางวิชาการ (Evidence Based Prac) ซึ่งเป็นการยึดที่เป้าหมายที่ค้นหากลุ่มเสี่ยง แสดงถึงทีมภาคีเครือข่าย ใส่ใจให้ความสำคัญ และเป็นห่วงเป็นใย โดยมีแผนปฏิบัติการต่อดังนี้

1.  แจ้งผลภาวะเสี่ยงระดับ  BMI และรอบเอวเกินเกณฑ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบข้อมูลของตนเอง ให้ข้อมูลอัตราความเสี่ยงที่อาจจะเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ให้ข้อมูลมาตรฐานที่ควรรับรู้เกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ค่าปกติของBMIมาตรฐานไม่ควรเกิน 25.0 ความยาวรอบเอวผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม.ผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 ซม.เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รู้สถานะสุขภาพของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มเริ่มป่วย

2.  การ จัดอบรม ให้ผู้ที่มีค่า BMI เกิน เรื่องอันตรายของโรคอ้วนที่มีผลต่อสุขภาพ และมีกิจกรรมธงโภชนาการดังนี้

-  กินอาหารอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

-  อ้วนนักมักอมโรค

-  มหัศจรรย์ของการออกกำลังกาย

-  ไม่ออกกำลังกายเท่ากับขังโรคไว้กับตัว

-  กินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง แนะนำอาหารที่มีเส้นใย

-  ปฏิบัติการ 80-90 รวมพล คนไร้พุง

-  แนะนำชั่งน้ำหนักบ่อย ๆ

-  อาหารเพื่อชีวิตที่รื่นรมย์  เป็นอาหารสำหรับคนนอนดึก คนช่างหิว

-  อาหาร 10 ชนิด พิชิตโรค

-  แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง

3. กิจกรรมใน โรงเรียนวัดโพธิ์กรุและกิจกรรมของอสม.น้อย ใน วันพ่อและวันแม่แห่งชาติ

- เสริมพลัง(Empowerment) ให้ ครูอนามัยสอน เรื่องโรคอ้วน เด็กอ้วน การดื่มน้ำอัดลม อันตรายของขนมหวาน   ขนมครุบกรอบ  ขนมคบเคี้ยว  

- ประกวดการเขียนเรียงความ ในหัวข้อ  เมื่อตัวฉันอ้วน........?” หนูไม่อยากเห็นคุณพ่อ...คุณแม่......เป็นโรคอ้วน

- ประกวดวาดภาพ  เรื่อง อันตรายของบุหรี่  อันตรายโรคอ้วน    อันตรายโรคไข้เลือดออก   ขับขี่ปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ

- เชิญทีมสุขศึกษาไป ให้ความรู้เด็กนักเรียน  เรื่องโรคอ้วน โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง    ธงโภชนาการตามเกณฑ์ของกองโภชนาการ

4. เกิดการตั้งชมรมสร้างสุขภาพขึ้นเช่น ชมรมตะกร้อ  ชมรมว่ายน้ำคลอง ( ชนบทมีแต่คลองชลประทาน ) ชมรมปั่นจักรยาน  ชมรมเปตอง ชมรมฟุตบอล  ชมรมฟุตซอล  ชมรมคนไร้พุง 

5. อบต.ท่าช้างจัดงานแข่งกีฬาให้ประชาชนตำบลท่าช้างทุกคนเข้าร่วมแข่งปีละ 1 ครั้งโดยแข่งกีฬาตามประเภทของชมรม เช่นแข่งวายน้ำในคลอง ตะกร้อ เปตอง ปั่นจักรยาน วิ่งผลัด 4 X 100 ของเด็กในโรงเรียนวัดโพธิ์กรุ แถมด้วยการแข่งขันมวยทะเล แข่งพายเรือในคลอง เป็นที่สนุกสนานของประชาชนชุมชนตำบลท่าช้าง

6. อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.ตำบลท่าช้าง โครงการ อสม. เชี่ยวชาญ ของสาธารณสุขอำเภอบ้านลาด โดยการสอนให้ อสม.มีทักษะการวัดความดันโลหิตเบื้องต้น  สอนการคลำก้อนเต้านม แนะนำส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมาตรวจมะเร็งปากมดลูก แนะนำกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคเบาหวานรายใหม่  แนะนำประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพตำบล

          7.  การใช้ BMI ที่เกินเกณฑ์เป็นตัวตามรอย( Tracer ) เพื่อค้นหาโรคเบาหวานรายใหม่และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ โดยทีมงานภาคีเครือข่ายได้ประสานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าBMIเกินเกณฑ์มาตรฐานทั้ง ระดับ 1 และระดับ  2 จำนวน  52 คนและกลุ่มเสี่ยงที่ค่ารอบเอวเกินเกณฑ์ทั้งชายและหญิงจำนวน  47  คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลเดียวกันที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์และมีรอบเอวเกินเกณฑ์อยู่ในคน ๆ เดียวกัน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะค้นหาโรครายใหม่ เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาล สร้างเสริมสุขภาพ ควบคุมโรค โดยนัดกลุ่มเสี่ยงเจาะเลือดโดยวิธีFBS (Fasting Blood Sugar) เพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลหลังงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และตรวจวัดความดันโลหิต

ผลผลิต(Output)

          1. การค้นหาและตามรอย(Tracer)ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

          กลุ่มเสี่ยงทั้งที่มีค่า BMI และค่ารอบเอวเกินเกณฑ์จำนวน 52 คน และในจำนวนนี้มีค่ารอบเอวเกินเกณฑ์จำนวน 47 คน พบว่ามีค่า FBS สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน 126 mg/dl จำนวน 1 คน เป็นคนที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์ในระดับ 2 ทางทีมภาคีเครือข่ายชุมชน ได้นัดกลุ่มเสี่ยงรายนี้มาพบแพทย์ (ทีมองค์กรแพทย์) จาการติดตามการรักษาของแพทย์ ได้นัดมาเจาะ FBS อีกครั้ง ห่างจากครั้งแรก 1 เดือนขณะเดียวกันได้ให้การรักษาโดยวิธี“Diet Control”  ซึ่งจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ การออกกำลังกาย พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเกิดโรค

2. การตามรอย( Tracer )โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

          2.1การค้นหาการจัดการกลุ่มเสี่ยง(Organizing)กลุ่มที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์ จำนวน 52 คน ร่วมกับกลุ่มเสี่ยงที่มีพันธุกรรม  กลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงอีก

กราบเรียนท่านเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

หนู(สมศรี นวรัตน์)ขออนุญาต กราบเรียนว่า หนูมีงานวิชาการที่ต้องปฏิบัติในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2552 โดยหนูได้รับเชิญจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง Good Value สู่ชุมชน  ณ.โรงแรม Miracle Grand Convention Hotel กรุงเทพมหานคร

 

เรื่อง Good Value สู่ชุมชน  (ต่อจากครั้งก่อน)

2. การตามรอย(Tracer)โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

          2.1การค้นหาการจัดการกลุ่มเสี่ยง(Organizing)กลุ่มที่มีค่า BMI เกินเกณฑ์ จำนวน 52 คน ร่วมกับกลุ่มเสี่ยงที่มีพันธุกรรม  กลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงอีก  จำนวน 31  คน  รวมกลุ่มเป้าหมายจำนวน 83 คน เป็นโจทย์ ที่ทีมภาคีเครือข่ายต้องหาคำตอบโดยการ Tracer ต่อไป   โดยการวัดความดันโลหิตกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวรอบแรกวัดโดย อสม.เชี่ยวชาญ โดยให้อสม.วัด 2 ครั้ง ถ้ากลุ่มเสี่ยงดังกล่าวมีค่าสูงเกินเกณฑ์  จะนัดกลุ่มเสี่ยงวัดรอบสอง  โดยพยาบาลประจำครอบครัว  และกลุ่มทีมงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน  ผลสรุปดังนี้

                   1)  กลุ่ม Normal โดยมีค่า SBP(systolic blood pressure) ต่ำกว่า 120 mmHg และค่า DBP (Diastolic blood pressure)ต่ำกว่า 80 mmHg  จำนวน 51 คน

                   2)  กลุ่ม Pre-hypertension  โดยมีค่า SBP อยู่ในช่วง 120 139 mmHg และหรือมีค่า DBP อยู่ในช่วง 80 89 mmHg  จำนวน 9 คน

                   3) กลุ่ม Stage 1 Hypertension มีค่า SBP อยู่ในช่วง 140 159 mmHg และหรือค่า DBP อยู่ในช่วง 90 95 mmHg จำนวน 19 คน

                   4) กลุ่ม Stage 2 Hypertension มีค่า SBP มากกว่า 160 mmHg และหรือค่า DBP มากกว่าหรือเท่ากับ  100 mmHg จำนวน 4 คน

          2.2การจัดการ(Organizing)และการเสริมพลัง(Empowerment) แต่ละกลุ่มให้เหมาะสมโดย ใช้พลัง  Appreciation ดังนี้

          1) กลุ่มปกติ(Normal) ชมเชย เสริมแรงที่เขาสุขภาพแข็งแรง  เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวและแนะนำให้ปฏิบัติตนเช่นนี้ตลอดไป

          2) กลุ่ม Pre-hypertension จัดกิจกรรมให้ความรู้   ความเข้าใจ รับรู้ถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (Perception and Health Education)   พูดคุย     แนะนำเรื่องการออกกำลังกาย     การลดน้ำหนัก    การรับประทานอาหารมันจัด  เค็มจัด  หวานจัด  ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ควรลด เลิกการสูบบุหรี่  นัดมาวัดความดันโลหิตกับ อสม.ประจำครอบครัวหรือพยาบาลประจำครอบครัว  เดือนละ 1 ครั้ง

          3) กลุ่ม Stage 1 Hypertension ให้ความรู้  ความเข้าใจและยอมรับข้อมูล  รวมทั้งเสริมพลังให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค  แนะนำให้เลิกปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด  ถ้ามีค่า BMI เกิน  ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ได้จะดีมาก  โดยยังควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ  โดยเฉพาะมื้อเช้า  การออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร  จะให้ผลดีกว่า  ห้ามใช้ยาลดน้ำหนักเพราะจำทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่ที่สำคัญ  อาจจะส่งผลต่อไต  แนะนำดื่มน้ำวันละ 68 แก้วเพราะน้ำจะช่วยลดน้ำหนักได้  นัดให้มาตรวจความดันโลหิตกับพยาบาลประจำครอบครัว  เป็นการตรวจ ยืนยัน(Confirm) โดยวัดอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการออกกำลังกายชนิด aerobic ที่มีเหงื่อออกจริงๆ ส่งเสริมให้เข้าชมรมกีฬาประเภทต่างๆ  ถ้ามีน้ำหนักตัวมากให้เลือกกีฬาที่เหมาะสมกับตัวเอง  แต่ต้องออกกำลังกายอยางสม่ำเสมอ  ต่อเนื่องวันละครึ่งชั่วโมง  ทุกๆวัน  จะดีต่อสุขภาพอย่างมาก

          4) กลุ่ม Stage 2 Hypertension ให้คำแนะนำ เพื่อมาพบแพทย์ในโรงพยาบาลบ้านลาด  ให้ข้อมูลสุขภาพที่กลุ่มนี้ เผชิญว่าไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงแต่เป็น กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง ต้องเข้าตรวจรักษาในคลินิกความดันโลหิตสูง  เพื่อรักษาด้วยยาและให้แพทย์แนะนำวิธีรักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย  ขณะเดียวกันทีมภาคีเครือข่ายชุมชนใช้กระบวนการ AIC และกระบวนการเยี่ยมบ้าน (Home Health Care : HHC) เพื่อติดตามการรักษาของกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง  ดังนี้

          -  ติดตามพฤติกรรมการรักษา  การมาตรวจตามแพทย์นัด  การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

          -  ทีมการรักษา(PCT ทีม) ตั้งเป้าหมายในการรักษา คือ ลดระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเกณฑ์การรักษา

          -  กิจกรรม  HHC. โดย กิจกรรม เบาหวานความดันเชิงรุกบุกเยี่ยมบ้าน ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วย

          - เสริมพลัง (Empowerment) พลัง Appreciations พลัง Reinforcement ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย  เข้าใจโรค ข้าใจคุณค่าของชีวิตและคุณค่าของคนรอบข้างมองโรคที่ป่วยในเชิงบวก(Positive Thinking) เข้าใจธรรมชาติของโรคก็จะสามารถอยู่กับโรคอย่างมีความสุข (Happiness Capital)  ขณะเดียวกันต้องเลิกปัจจัยเสี่ยงด้านอบายมุขให้ได้ลดความเครียดเพราะปัจจัยเหล่านั้นจะนำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

          - แนะนำให้เข้าใจเรื่องยารับประทานตามคำสั่งแพทย์ตามกิจกรรม “ R to R to 6 R ” ของทีมห้องยาเรื่องการรับประทานยา ถูกคน ถูกโรค ถูกเทคนิค ถูกขนาด  ถูกเวลา ถูกยาพาสุขภาพดี

          - กระบวนการ HHC. จะช่วยแนะนำญาติ  ครอบครัว  ลูกหลาน  ญาติให้เข้าใจ  เห็นใจ  เอื้ออาทร  ห่วงใย  ใส่ใจผู้ป่วย ในกิจกรรม “Home Health Care Share สุขภาพ

          -  อสม.น้อย  อสม.น้อยคอยส่งเสริมสุขภาพ เด็กจะช่วยอ่านฉลากยาให้ ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ได้ดีกว่า  เพราะถ้าคนป่วยเป็นผู้สูงอายุ  และสายตามไม่ดี  บางคนอ่านหนังสือไม่ออก  หลงลืมเรื่องการกินยา  อสม.น้อยจะช่วยอ่านฉลากยา  ช่วยบอกเตือน เป็นการส่งเสริมให้เด็ก บุตรหลานกับปู่ ยา ตา ยาย ผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์  ผูกพัน  มีความรักใคร่กันมากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ (Outcome)

          หลังจากโครงการดำเนินไป1ปี สรุปผลลัพธ์คุณภาพทั้ง 3 กลุ่มดังนี้

1. กลุ่มเสี่ยงมีค่าBMIเกินเกณฑ์

          1) กลุ่มที่มีค่า “ BMIเกินเกณฑ์ในระดับ1 จำนวน 39 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้น้ำหนักลดลง  ส่งผลให้ค่าBMIลด

- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมาเป็นกลุ่มที่มีค่าBMIปกติจำนวน 9คนคิดเป็นร้อยละ 23.1

- น้ำหนักลดลงครึ่ง - 2กิโลกรัมทำให้ค่าBMIลดลงเล็กน้อย จำนวน 16 คน   คิดเป็นร้อยละ 41.0

 - น้ำหนักไม่ลดลง เลยทำให้ค่า BMIเท่าเดิม จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8

- น้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย(ครึ่งกก.) จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.1

          2) กลุ่มที่มีค่า “ BMIเกินเกณฑ์ในระดับ 2 จำนวน 13 คน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรมทำให้น้ำหนักลดลง  ส่งผลให้ค่าBMIลดระดับลงมาเป็น “ BMIเกินเกณฑ์ในระดับ1

-  ปรับค่า BMIเกินเกณฑ์ในระดับ 1  ได้จำนวน  5 คน  คิดเป็นร้อยละ 38.2

- ปรับค่า BMIเกินเกณฑ์ไม่ได้  BMIเกินเกณฑ์ในระดับ2  จำนวน 7 คนคิดเป็นร้อยละ 61.5

3. การตรวจโรคเบาหวาน

 การตรวจ FBS.ในกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าBMIเกินเกณฑ์ จำนวน 52 คน พบว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน 1 คนและได้รับการรักษาจากแพทย์ในคลินิกโรคเบาหวาน

4. การตรวจโรคความดันโลหิตสูง

             1) กลุ่ม Pre-hypertension ซึ่งค้นพบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจำนวน 9คน สามารถปรับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ (Normal) ได้ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

             2) กลุ่ม Stage 1  Hypertensions ซึ่งเดิมมีจำนวน 19 คน ภายหลังได้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  สามารถปรับระดับความดันโลหิตเป็นกลุ่มปกติ(Normal)ได้จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ  68.5  ปรับไม่ได้  ยังอยู่ Stage 1 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 31.5 ทีมภาคีเครือข่ายชุมชนได้ติดตามหา Root Cause  พบปัจจัยเสริม  ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ มีภาวะ BMI  เกินเกณฑ์  มีรอบเอวเกินเกณฑ์  ยังสูบบุหรี่  ยังดื่มแอลกอฮอล์  ดื่มกาแฟ  มีปัญหาครอบครัว  เครียด  ไม่ชอบออกกำลังกาย  และมีพันธุกรรมโรคความดันโลหิตสูง

             3) กลุ่ม Stage 2 Hypertension มีจำนวน 4 คน ได้รับการรักษาโรคในคลินิกความดันโลหิตสูง  ขณะเดียวกันทีมภาคีเครือข่ายชุมชนได้หา RCA พบว่า กลุ่มนี้มีพันธุกรรมเป็นโรคนี้  BMI เกินเกณฑ์ในระดับ 2 ทีมกำลังพยายามแนะนำให้เลิกบุหรี่  โดยแนะนำให้เข้าคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาล  เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาที่ถูกต้อง  เหมาะสม  ถ้าพบภาวะเครียดจะส่งต่อเพื่อพบทีมสุขภาพจิตของโรงพยาบาลซึ่งจะมีความชำนาญกว่าทีมภาคีเครือข่ายชุมชน

             หลังจากสิ้นสุดโครงการ  ทีมเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลบ้านลาด  ทีมภาคีเครือข่ายชุมชน  ได้กลับมาทบทวนการทำงาน (After action review : AAR) ได้สรุปผลร่วมกัน  ทั้ง อบต.ท่าช้าง  อสม.ท่าช้าง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน  พยาบาลประจำครอบครัว  กลุ่มเสี่ยงบางคนโดยเฉพาะทีมในโรงพยาบาลบ้านลาดทำให้ได้ข้อคิดว่า การทำงานนั้นไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ยากจนเกิดความสามารถ  แต่การทำงานต้องใช้ความอดทน  ความเพียรพยายาม  ต้องเข้าใจเพื่อนร่วมงาน  ต้องเข้าใจประชาชนทั้งกลุ่มเสี่ยง  กลุ่มป่วย  ต้องเข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มญาติ  ครอบครัว  และชุมชน  ที่สำคัญต้องสร้างขวัญ สร้างกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน การทำงานในชุมชนนั้นทำยากลำบาก  เพราะกว่าจะทำให้กลุ่มเป้าหมาย มาวัดความดันโลหิต  เจาะเลือดFBS  วัดส่วนสูง  ชั่งน้ำหนัก จนได้กลุ่มเป้าหมายครบถ้วนสมบูรณ์(Complete)ตามที่ทีมของเราต้องการ ทีมงานภาคีเครือข่ายต้องเข้าไปในหมู่บ้านร่วมกับ อสม.ท่าช้าง  ผู้นำชุมชน  หลายครั้งมาก ซึ่งคนทำงานต้อง มีใจรักงานอย่างแท้จริง เพราะต้อง ใช้พลังงาน (Energy)  อย่างมากมายผสมผสานกับ ความมุ่งมั่น (Commitment) ความแน่วแน่  ความรับผิดชอบ(Responsibility) การมีส่วนร่วม (Participation)  การเสียสละ (Devotion) และทำงานหนัก (Hard - Working) และเมื่องานได้เสร็จสิ้นลง  เมื่อเรามาทบทวนร่วมกันทำให้ทีม เข้าใจถึงความสำคัญของการเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้ที่จะวางแผนการทำกิจกรรม  เรียนรู้ถึงการอดทน  การรอคอย การเข้าใจสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นขณะทำงาน เรียนรู้ถึงความสำเร็จ  เรียนรู้ถึงความยากลำบากและความล้มเหลว  เป็นการได้เรียนรู้ไปเกือบทุกอย่าง  ถ้าเราคิดจะเรียนรู้จริงๆ  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทั้ง ระดับบุคคล(Individual) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม(Node) การเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเกิดเป็นความรู้ของเครือข่าย(Networks)  ทีมเรียนรู้จะให้กำลังใจเพื่อนอย่างไรในยามที่เขาเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรงขณะทำงาน เช่น ทีมงานจะชื่นชมน้องว่า น้องเป็นคนเก่งมากและมีความสามารถต้องทำได้สำเร็จแน่นอน” “วันนี้พวกเราเหนื่อยกันทั้งวันแล้วเราพักก่อนนะ” “วันนี้น้องได้ทำดี ทำสิ่งมีคุณค่ารู้ตัวหรือเปล่าเอ่ย คำพูดเหล่านี้จะมีผลมากเกิดปฏิกิริยาขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดจากสีหน้าและแววตา  มองเห็นความมีชีวิตชีวาเกิดขึ้น พลังAppreciations ” ที่ชื่นชมคนอื่นเป็น สิ่งมหัศจรรย์จริงๆ เป็นการให้รางวัล(Reward)ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

  นอกจากการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับบุคคล กลุ่มคน ทีมงานแล้ว  การทำงานยังทำให้ทีมงานของเรา เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่(Paradigm Shift) ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม(Adaptations) ต้องปรับแนวคิดใหม่ การคิดวิธีทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนขั้นตอนให้ดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ได้นวัตกรรม(Innovations) เพื่อให้ผลงานออกมามีคุณภาพ  เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง  จากเดิมที่หัวหน้าคิดแล้วให้น้องทำทั้งวันโดยที่น้องไม่ต้องคิด   ไม่มีส่วนร่วม  เปลี่ยนมาเป็น   ร่วมกันคิดร่วมกันทำเป็นทีมภาคีเครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาจึงทำให้เกิด Synergy อย่างมากมาย  สิ่งใดวิธีการใดที่หัวหน้าคนเดียวคิดไม่ออก  แต่ถ้าเราทบทวนร่วมกัน   ฟังน้อง ๆได้แสดงความคิดเห็น  ให้เขาได้พูดได้แสดงออก  ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  ได้ผลลัพธ์ที่หัวหน้าเองคิดไม่ถึง  คิดไม่ออก  คิดไม่ได้  และทำให้สามารถลดขั้นตอนของการทำงานสั้นลง  กระซับมากขึ้น ทำงานเร็วขึ้น  ทำงานสะดวกขึ้น   การเข้าถึงเป้าหมายได้โดยคาดไม่ถึง  ดังนั้น พลัง A-I-C จึงเป็นพลังสร้างสรรค์ที่แฝงอยู่ในตัวของลูกน้อง  กลุ่มคน  ทีมงาน  ชุมชน  ดังคำกล่าวของพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี คนสำราญงานสำเร็จ ได้จริงๆและตาม ทฤษฎี ของท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s + 4L’s+ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี Value Added เมื่องานสำเร็จทีมงานจะมีผลผลิต (Productivity) ของหน่วยงานของโรงพยาบาลบ้านลาด(องค์กร)ขณะเดียวกันก็ยังมีการปฏิสัมพันธ์(Interaction) เกิดขึ้นทั้งที่เป็นทางการ(Formation)และไม่เป็นทางการ(Information) ทั้งแนวดิ่งแนวราบ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กรขยายเป็นภาคีเครือข่าย(Networks) เป็นหุ้นส่วนการทำงาน(Partnership) เป็นพันธมิตร(Alliances) เพื่อการทำงานในชุมชนทั้ง  กลุ่มปกติ  กลุ่มเสี่ยง  กลุ่มป่วย ทั้งภาครัฐภาคประชาชน อย่างเป็นรูปธรรมโดยเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่สุขภาวะของประชาชน พฤติกรรมเหล่านี้มีในองค์กรที่มีในชีวิตเท่านั้น(Living Organization) เพื่อความอยู่รอด(Survival) ขององค์กรท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในยุคโลกาภิวัฒน์(Globalization)ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เพื่อเพิ่มพลังและเสริมแรงให้ทีม  เราจึงคิดคำขวัญที่ช่วยสร้างแรงจูงใจและเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานว่า

                             ใช้พื้นที่เป็นฐาน

                                      บูรณาการทุกภาคส่วน

                                                สร้างกระบวนการเรียน

                                                          สู่วิถีชุมชน

1. ได้อะไรจากการสัมมนา

สิ่งที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้มีมากมายเหลือเกินครับ ที่แน่ๆสิ่งที่ได้เป็นอันดับแรก ก็คือ ความรู้จากหนังสือเรื่อง Three Laws Of Performance ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ครับ 1) มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาเคยประสบมา (ประสบการณ์) หรือจากภาพที่ติดค้างอยู่ในใจ 2) Performance ของคน จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ซึ่งในที่นี้ ได้แก่ คือ ภาษาที่เป็นคำพูดภาษาทางสีหน้า หรือการแสดงออกทางความรู้สึก, ภาษาทางกายหรือพฤติกรรม 3) ผู้บริหาร และพนักงานในองค์กร จะต้องสื่อสารกันด้วย ภาษาแห่งอนาคตของ ต้องคิดถึงอนาคตที่อยากจะให้เกิดขึ้นกับองค์กร มีจุดมุ่งหมายร่วมกันและเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน อันดับที่สอง เราได้นำเอาหลักทฤษฎี 4 L’s มาใช้ในการจัดสัมมนาครั้งนี้และ พิสูจน์ให้เราทราบว่าทฤษฎี 4 L’s ของท่านศ.ดร.จีระ สามารถใช้ได้กับการเรียนรู้ทุกรูปแบบ และเป็นLife Long Learning จริงๆ อันดับที่สาม ได้เรียนรู้วิธีการทำงานของท่านอาจารย์ การให้เกียรติซึ่งกันและกันของคณะวิทยากรทั้งหมด การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำงานซึ่งทำได้ดี รวมถึงการวางตัวของท่านศ.ดร.จีระ ที่ต้องยอมรับว่าเยี่ยมมากๆครับในสองบทบาทคือ พิธีกรผู้ดำเนินรายการ และ อาจารย์ผู้ให้ความรู้ซึ่งผมจะจำเอาไว้เป็นแบบอย่างในการทำงานของผมต่อไป อันดับที่สี่ ผมได้เรียนรู้เพื่อนร่วมรุ่นปริญญาเอกสวนสุนันทารุ่นที่3มากขึ้น ได้ทำงานร่วมกัน ได้ทราบถึงขีดความสามารถของพี่ๆแต่ละคนที่มีอย่างมากมาย เรียนรู้ถึงความเอื้อเฟื้อและความมีน้ำใจซึ่งกันและกัน (ตอนช่วงก่อนสอบครับ)

2. หากจะทำ Research ควรมี Hypothesis อะไร อะไรเป็นตัวแปรต้น อะไรเป็นตัวแปรตาม

Hypothesis : การใช้ภาษาแห่งอนาคตในองค์กรที่มีลักษณะแตกต่างกัน สามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และยั่งยืนได้แตกต่างกันหรือไม่

ตัวแปรต้น : การใช้ภาษาแห่งอนาคตขององค์กรที่มีลักษณะแตกต่างกัน

ตัวแปรตาม : ความสำเร็จขององค์กร และความยั่งยืนขององค์กร

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

0863517928

สกลชัย เจริญชัย  (Cell phone: 087 102 8285)

Mr. Sakonechai Charoenchai, PhD student, SSRU

 

Question (1) What have you learned from the Book Review Sunday’s Seminar?

 

First of all, I would like to thank Dr. Chira and his team who organized the book review seminar. It was a good opportunity to learn from many distinguished guest speakers. I have learned that optimistic view is yet better than pessimistic view.  The knowledge from the seminar is useful. However, what I got the most from the seminar is inspiration. It makes me think seriously about my future how it should have been better.  One thing that stuck in my mind is about the idea of rewriting the future. I started to think, may be I don’t want my future to be so normal or without any big success. I need to use the idea of language to apply to my personal life. I need to start act like a PhD, think like a PhD, and talk like PhD. Most importance is to finish my PhD as soon as possible.

 

Question (2) Do you have any research idea?  What is your hypothesis? What are your independent variables and dependent variables?

 

Research Project: The study of the differences in income and job opportunity between individuals who have MBA from Thailand and MBA from abroad.

 

Hypothesis: Individuals who have MBA from abroad make higher income and have more job opportunity than individuals who have MBA from Thailand.

 

Independent Variables: MBA degree from abroad and MBA degree from Thailand

Dependent Variables: Income, job status, opportunity for advancement.

 

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากคำถาม อาจารย์จีระได้ 8 K และ 5 K มาเพราะอะไร

ทุน 8K's ซึ่งประกอบด้วย 1) Human Capital ทุนมนุษย์ 2)Intellectual Capital ทุนทางปัญญา 3)Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม 4)Happiness Capital ทุนแห่งความสุข 5)Social Capital ทุนทางสังคม 6)Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน 7)Digital Capital ทุนทาง IT 8) Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

จากที่ผมได้ศึกษาเรื่องทุน 8K's ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นขององค์กร เนื่องจากคนคือสิ่งสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้น คนจึงควรมีทุนตามหลัก 8K's ซึ่งเปรียบเสมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นและสำคัญและประกอบขึ้นเป็นร่างกายที่สมบูรณ์ เพื่อสร้างให้คนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

สรุป การที่ท่านอาจารย์จีระ ได้ 8 K และ 5 K มาเพราะอะไร?

เนื่องจากอาจารย์จีระมีทุนที่สำคัญ ตาม 8 K คือ Intellectual Capital เหตุผลเพราะว่า บุลคลอาจศึกษาเท่าเทียมกัน ศึกษาตำราเดียวกัน หรือมี Experience เช่นเดียวกัน แต่ใช่ว่าแต่ละคนจะนำสิ่งเหล่านั้นมีสร้างองค์ความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งได้เหมือนกัน

รัชศักดิ์ สารนอก 0813824884

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากคำถาม อาจารย์จีระได้ 8 K และ 5 K มาเพราะอะไร

ทุน 8K's ซึ่งประกอบด้วย 1) Human Capital ทุนมนุษย์ 2)Intellectual Capital ทุนทางปัญญา 3)Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม 4)Happiness Capital ทุนแห่งความสุข 5)Social Capital ทุนทางสังคม 6)Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน 7)Digital Capital ทุนทาง IT 8) Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

จากที่ผมได้ศึกษาเรื่องทุน 8K's ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นขององค์กร เนื่องจากคนคือสิ่งสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้น คนจึงควรมีทุนตามหลัก 8K's ซึ่งเปรียบเสมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นและสำคัญและประกอบขึ้นเป็นร่างกายที่สมบูรณ์ เพื่อสร้างให้คนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

สรุป การที่ท่านอาจารย์จีระ ได้ 8 K และ 5 K มาเพราะอะไร?

เนื่องจากอาจารย์จีระมีทุนที่สำคัญ ตาม 8 K คือ Intellectual Capital เหตุผลเพราะว่า บุลคลอาจศึกษาเท่าเทียมกัน ศึกษาตำราเดียวกัน หรือมี Experience เช่นเดียวกัน แต่ใช่ว่าแต่ละคนจะนำสิ่งเหล่านั้นมีสร้างองค์ความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งได้เหมือนกัน

รัชศักดิ์ สารนอก 0813824884

เรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

มีคนเข้ามาอ่านบทความและชมทฤษฎีของอาจารย์มาครับ (เป็นครูต่างจังหวัด)

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้

คำสำคัญ: 8ks,5ks,4ls human tree (ต้นมนุษย์) ตอนที่สอง ph.d.3 ssru (innovative management) ทฤษฎีต่าง ๆ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ธนพล ก่อฐานะ

สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

สร้าง: พ. 22 ก.ค. 2552 @ 08:14 แก้ไข: พ. 22 ก.ค. 2552 @ 08:14 ขนาด: 6595 ไบต์

ความคิดเห็น

2. ครูแมว

เมื่อ พฤ. 23 ก.ค. 2552 @ 12:48

1429037 [ลบ] [แจ้งลบ]

เรียนคูณธนพลที่เคารพ

ขอบพระคูณท่านมากค่ะที่นำ ความรู้ที่ควรต้องเรียนรู้มาแบ่งปัน

ทุน8 และทุน5 ของท่านอาจารย์ดร.จิระ น่าเรียนรู้สู่การปฎิบัติ

หนูครูประเภทfacilitater ต้องจินตนาการให้ได้ว่ารูปธรรมของกระบวนการที่นำสู่การเรียนรู้ที่มีชีวิตกับนักเรียนและเพื่อนครูคืออย่างไร จะขอเรียนรู้และแลกเปลื่ยนด้วยค่ะ และ4 แห่งการเรียนรู้ยิ่งน่าสนใจค่ะ

3. tanapol kortana

เมื่อ พฤ. 23 ก.ค. 2552 @ 13:06

1429062 [ลบ] [แจ้งลบ]

เรียนครูแมว ที่นับถือ

อย่าลืมเข้าไปดู

http://gotoknow.org/file/tanapolk/PhD_2_27.6.09.ppt#256,1,การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management)

มี Power Point ของอาจารย์ที่ดีมากครับ

เรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

ครูต่างจังหวัดที่มาชมทฤษฎีของอาจารย์ดูได้ที่นี่ครับ

http://gotoknow.org/blog/tanapol-human-tree/278954

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนูขอส่งบทความให้ท่านอาจารย์อ่านเนื่องจากบทความนี้หนูได้นำเสนอการประชุมวิชาการคุณภาพโรงพยาบาลของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) และได้นำเสนอในเวทีระดับชาติ ( HA National  Forum ครั้งที่ 9 )

 เรื่อง ก่อนสู่โลกกว้างเส้นทางของน้องหนู

 

ตอนบ่ายของวันจันทร์ปี 2548  ทีมงานส่งเสริมสุขภาพจะทบทวนคุณภาพ 12 กิจกรรม โดยหัวหน้างานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน  ร่วมกับเพื่อนพยาบาลอีก 5 คนที่รับผิดชอบในคลินิกANC ได้รับรายงานและพูดคุยกับทีมงานเวชปฏิบัติ ฯ ว่า พี่คะวันนี้หนูพบความเสี่ยงของคนไข้ที่มาฝากครรภ์อายุเพียง 12 ปี  ยังเป็น ด.ญ. อยู่เลย   หนูได้พาไปให้คำปรึกษาที่ห้อง Counseling พบปัญหาของเขาหลายอย่าง เช่น โครงสร้างร่างกายเขาเล็กมากโดยเฉพาะกระดูกเชิงกรานแคบ  ขณะเดียวกันเขาก็ซีดด้วย เจาะเลือด Hematocrit  ได้แค่ 29 % เราจะทำอย่างไรดี

            ทีมงานทุกคนในห้องฟังอย่างตั้งใจ  ขณะเดียวกันก็ตกใจด้วย  เพราะสิ่งที่ได้ฟังนั้นเป็น ความเสี่ยงของงานในคลินิกANC ” เราทั้งหมด  ต้องช่วยกันขบคิดหาทางในการแก้ไขปัญหา  เพราะทุกคนทราบดีว่าเกณฑ์มาตรฐานหญิงไทยที่ควรจะมีบุตรได้ดีคือ  ควรมีอายุ 17 ปี ถึง 35 ปี แต่สิ่งที่ทีมงานพบคือ ยังเป็นเด็กหญิงและตั้งครรภ์ขณะเรียน อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่6 (ป.6)  ต้องถือว่าเป็นปัญหา เป็นโจทย์ที่ทีมงานANCและทีมPCT ” ต้องสนใจอย่างรีบด่วน เพราะเป็นความเสี่ยงทางคลินิกของโรงพยาบาลบ้านลาด  ทีม PCTและงานคลินิกANCได้ดูแลหญิงตั้งครรภ์อายุ 12 ปี  ตามกระบวนการฝากครรภ์คุณภาพ     โดยส่งพบแพทย์ของโรงพยาบาลบ้านลาด ให้ดูแลรักษาให้ยาบำรุงเลือดและให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ต่อมาองค์กรแพทย์โรงพยาบาลบ้านลาดได้Referหญิงตั้งครรภ์รายนี้ ไปให้สูติแพทย์ที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า(โรงพยาบาลทั่วไป) ดูแลเป็นระยะๆ เนื่องจากโรงพยาบาลบ้านลาดเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงไม่มีสูติแพทย์  เพื่อให้การรักษาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับแม่และลูก  จนกระทั่งหญิงตั้งครรภ์อายุ 12 ปีครบกำหนดคลอดและทำการคลอดโดยวิธี ผ่าทางหน้าท้อง เนื่องจากกระดูกเชิงกรานของแม่ไม่ขยายพอที่จะคลอดบุตรด้วยวิธีปกติได้   ภายหลังจากแม่อายุ 12 ปีกลับจากโรงพยาบาลพระจอมเกล้าแล้ว  ทีมงานเยี่ยมบ้าน (Home Health Care : HHC) ซึ่งมาจากหลายหน่วยงาน จากงานวางแผนครอบครัว  งานส่งเสริมสุขภาพ  งานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์  ทำหน้าที่  Case Counseling  ขณะเดียวกันก็มีการประสานงานไปยัง PCUตำหรุ  เพื่อร่วมกันเยี่ยมบ้าน  เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ  ร่วมกับเครือข่าย (Network)PCU ตำหรุ   ซึ่งจะรู้จักบ้านของหญิงตั้งครรภ์ดีกว่าทีมโรงพยาบาลบ้านลาดการ ไป HHC. ก็จะแนะนำแม่อายุ 12 ปี คุมกำเนิดให้ต่อเนื่องรอจนกว่าอายุที่พร้อม  อย่างน้อยที่สุดต้องอายุเกิน 17 ปีขึ้นไป  แนะนำให้คุมกำเนิดที่ PCUตำหรุ หรือมาที่โรงพยาบาลบ้านลาดก็ได้  ขณะเดียวกันเรื่องลูกต้องไปรับวัคซีนที่ PCU ตามที่หมออนามัยนัดหมายจนครบ  แม่อายุ 12 ปีมีปัญหาเรื่องมีน้ำนมไม่พอให้ลูกดื่ม ทีมงานต้องประสานกับงานบริหารทั่วไปของโรงพยาบาลเพื่อของบประมาณสนับสนุนชื้อนมผงช่วยเหลือ  แม่อายุ12ปีไม่มีทักษะการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง ทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับPCUตำหรุ ต้องช่วยกันสอนทักษะการเลี้ยงลูก การดูพัฒนาการของลูกแต่ละช่วงอายุและลงไปเยี่ยมเยียนเป็นระยะ  ขณะเดียวกันทีมงานต้อง เสริมพลังใจ ให้กับครอบครัวด้วย

            หลังจากที่เราลงไปเยี่ยมเป็นระยะ ทำให้ทีมงานทราบว่า  แม่อายุ 12 ปีรายนี้มีปัญหาครอบครัวแตกแยก  พ่อแม่หย่าร้างกัน  หลังตั้งครรภ์ต้องอาศัยอยู่กับป้า  และเมื่อตนเองรู้ว่าตั้งครรภ์  ก็ต้องออกจากโรงเรียนทำให้เรียนไม่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ทีมHHC. จึงได้แนะนำให้แม่อายุ 12 ปี เรียนหนังสือต่อที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน : กศน. ซึ่งจะเปิดสอนในวันเสาร์ อาทิตย์ แนะนำให้เขา คิดถึงอนาคตตนเองในวันข้างหน้า   ส่วนสามีของแม่อายุ 12 ปีกำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก็ยังต้องศึกษาต่อให้จบ  ทีม HHC. ได้ให้คำปรึกษาแนะนำ ป้า ของหญิงตั้งครรภ์อายุ 12 ปี  ให้เข้าใจและ ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต  ไม่กล่าวโทษ  ไม่ตอกย้ำซ้ำเติมในเรื่องนี้อีก และ   หยุดความโกรธและความทุกข์ เพราะเป็นอดีตที่ผ่านไปแล้ว  แก้ไขอะไรไม่ได้  แต่ สามารถทำสิ่งที่ดีในอนาคตได้   เพื่อชีวิตของทุกคนในครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุข  คำพูดของคนนอกบ้านถ้าเรานำมาคิด คนที่ทุกข์ใจคือคนในครอบครัวของเรา ชีวิตจะสุขหรือทุกข์ ไม่ใช่ คนอื่นทำให้เรา  คนในครอบครัวต่างหากที่จะ เติมพลังสุขทางใจให้กันเอง ไม่ใช่สังคมภายนอก  ขณะนี้ครอบครัวของแม่อายุ 12 ปีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข  ลูกมีพัฒนาการสมวัย

 

จาก ตั้งรับปัญหา ไปสู่ การรุกไปข้างหน้า เพื่อแก้ปัญหาในอนาคต

            จากเรื่องราวที่แม่อายุ 12  ปีตั้งครรภ์ทำให้ทีม PCT โรงพยาบาลบ้านลาด   เกิดแรงบันดาลใจสร้างแนวคิดใหม่ๆ (concept) เพราะถ้าโรงพยาบาลของเรา ตั้งรับปัญหา เราก็จะพบแต่ปัญหาอยู่ตลอดไป  แต่ถ้าเราเปลี่ยน แนวคิดใหม่ แก้ไขปัญหาแบบ คิดเชิงรุก ไปส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง (Risk Group) คิดหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคตข้างหน้า (Forward) เพื่อลดปัญหา  ลดความเสี่ยงและภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลของเรา  เราต้องเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่(Paradigm shift) ทีมเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน  ทีม PCT ได้วิเคราะห์ SWOT องค์กรของเรา   พบว่า จุดแข็ง ของทีมงานที่จะสามารถนำมาใช้คือ ทีมงานภาคชุมชนที่เข้มแข็ง ศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในองค์กรของเรา  ที่มีความสามารถที่จะปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและโรงเรียนได้ดี  เราสามารถนำ จุดแข็งขององค์กร ไป ปิดจุดอ่อนหรือภาวะคุกคาม ที่โรงพยาบาลกำลังเผชิญอยู่  ทุกคนลงความเห็นว่าเราต้องทำ โครงการแก้ไขปัญหา  ถ้าเรานิ่งเฉยปัญหา และความเสี่ยงจะคืบคลานเข้ามาในองค์กรของเราอยู่เรื่อย ๆ จนเรารับไม่ไหวเพราะโรงพยาบาลเป็นปลายน้ำ(Down  Steam)โรงเรียนและชุมชนเป็นต้นน้ำ( UP  Steam ) น้องอีกคนหนึ่งพูดเสริมต่อว่า ใช่เลย.....เป็นการป้องความเสี่ยงเชิงรุกในชุมชนด้วยนะค่ะ

            ทีมงานจึงคิดโครงการ ก่อนสู่โลกกว้าง เพื่อขออนุมัติงบประมาณ และตั้งทีมในการทำงานติดขัดเรื่องงบประมาณจึงขึ้นไปปรึกษาผู้อำนวยการ นพ.สมพนธ์  นวรัตน์ คำตอบที่ทีมงาน ชื่นใจเป็นที่สุด ที่ได้รับจากท่าน ทำได้เลย  หมอเห็นด้วยและไม่ต้องกังวลใจในเรื่องงบประมาณ  ถ้าโรงพยาบาลมีงบไม่พอหมอจะหามาเพิ่มเติมให้  ทีมงานฟังแล้วทุกคน ชื่นใจ ดีใจและมีพลังสร้างแรงบันดาลใจ ที่ผู้นำสนับสนุน  เข้าใจ  ส่งเสริมให้เราทำกิจกรรมคุณภาพเชิงรุกและการออกแบบระบบใหม่( System design ) การทำกิจกรรม  ทีมงานทราบดีว่าต้องใช้เงิน เมื่อเราไม่กังวลใจเรื่องเงินทำให้เรามีแรงสู้เต็มร้อยเปอร์เช็นต์ แต่ที่เรากังวลใจคือ เรื่องค่าใช้จ่ายในโครงการเพราะคาดว่าต้องใช้เงินในหลักหมื่น  ขณะเดียวกันโรงพยาบาลของเรายากจน  มีประชากรในความรับผิดชอบแค่หนึ่งหมื่นเก้าพันกว่าคน  แต่เมื่อได้รับคำรับรองจากผู้อำนวยการที่บอกพวกเราว่า ติดเครื่องสตาร์ทโครงการได้เลย เพราะหมอของบประมาณด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน( งบประมาณ P&P Com.)   จากสปสช.  เขต 4 ราชบุรีมาให้ตามที่พวกเราเขียนโครงการมาได้ทั้งหมด 43,700 บาท ให้พวกเราไปช่วยกันหาแนวทางและวิธีการ สำหรับเดินทางขึ้นภูเขาแห่งความสำเร็จ    กันเถอะ

 

นำโครงการสู่การปฏิบัติให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

            ก่อนจะนำโครงการลงสู่การปฏิบัติจริง  ทีมงานได้กำหนดเป้าหมายโรงเรียนในพื้นที่ไว้จำนวน        2 แห่ง ได้แก่  โรงเรียนวัดศาลาเขื่อนและโรงเรียนวัดอินจำปา  เด็กนักเรียนเป้าหมาย (Target Group) คือเด็กนักเรียนชั้น ป. 4 ป.5 และ ป.6  จำนวนทั้งหมด 64 คน วัตถุประสงค์ของโครงการในระยะสั้นเพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป. 4 ป.5 และ ป.6  มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา  ในระยะยาวเพื่อลดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ    เช่น  ลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์   การตั้งครรภ์ขณะวัยเรียน  ลดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  โรคเอดส์  ก่อนนำโครงการลงสู่การปฏิบัติในโรงเรียน  ทีมงานสหสาขาวิชาชีพ(Interdisciplinary)ได้ตั้งคณะทำงาน     ประกอบกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน      พยาบาลจิตเวช   งานวางแผนครอบครัว  งานอนามัยแม่และเด็ก  งานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์  ทีมงานต้องประสานการทำโครงการลงสู่การปฏิบัติ  ในแนวดิ่งต้องประสานกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 ซึ่งดูแลโรงเรียนในเขตอำเภอบ้านลาด  ขณะเดียวกันต้องประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเป้าหมายทั้ง 2 แห่ง  ทีมงานได้คำตอบที่ทำให้ทีมมีกำลังใจ โครงการดีมากครับคุณหมอ เนื่องจากอำเภอบ้านลาดเราเป็นชนบท  ใครที่อยู่ในโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นพยาบาล  เภสัชกร ฯลฯ จะถูกเรียกว่าหมอทั้งหมด ผมยินดีและพร้อมจะสนับสนุนให้ครูอนามัยและครูพละเข้าร่วมโครงการกับคุณหมอด้วย

            จากนั้นทีมงานก็มาร่วมกันคิดกิจกรรมเพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน ร่วมกับครูอนามัยและครูพละสอนเป็นบางเรื่อง  เช่น  เรื่องการวางแผนครอบครัว  ผลสุดท้าย พวกเราก็คิดออกว่า ต้องประยุกต์ กิจกรรมการสอนเพศศึกษาจากหลักสูตรของชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น มาใช้กับนักเรียนชั้นประถม ซึ่งมีทั้งหมด 12 กิจกรรมครอบคลุมความรู้ด้านเพศศึกษา  ประกอบด้วยกิจกรรม มารู้จักร่างกายกันเถอะ, วัยรุ่นวัยเรา, ย่างสู่วัยรุ่นอย่างรู้ทัน, เพศศึกษาในช่วงวัยรุ่น, สารพัดโอกาส...จริงหรือ?, พรายกระซิบ,ข้างหลังภาพ,  เพศสัมพันธ์มีได้เมื่อไหร่,  รู้จักคุ้นเคย,  แลกน้ำ , ยอมไม่ได้ และ ไม่มีแต่เท่ห์  ทีมได้นำกิจกรรมเหล่านี้ไปร่วมกับครูอนามัยและครูพละสอน ทำให้เด็กนักเรียน ตื่นเต้นสนุกสนาน ครูอนามัยบอกกับทีมงานของเราว่า เวลาที่หมอมาช่วยสอนเด็ก ๆจะชอบและตั้งใจเรียนมาก  ขณะที่อีกโรงเรียนก็บอกทีมงานว่า คุณหมอรู้ไหมค่ะเด็ก ๆ ใจจดใจจ่อรอคอย เฝ้ารอและแวะเวียนมาถามอยู่เสมอว่าสัปดาห์ไหนที่คุณหมอจะมาสอนอีก ฟังแล้วทำให้ทีมงานภูมิใจ  ดีใจจนหัวใจพองโต  รู้สึกได้ว่า ทีมงานของเรามีคุณค่าสำหรับเด็กๆ   มีความสำคัญต่อคณะครูและผู้บริหารโรงเรียน  การลงไปช่วยสอนทั้ง 12 กิจกรรมใช้เวลา 8 เดือนสอน 2 เทอม  ทำให้ทีมงานของเราเกิดปฏิสัมพันธ์ (Interaction)และเกิดความผูกพันกับเด็กนักเรียนทั้ง 2 แห่ง  ทีมงานของเราได้คณะครูและผู้บริหารโรงเรียนเป็น พันธมิตรที่ดีต่อกันในอำเภอบ้านลาด    ในวันเสาร์  อาทิตย์เวลาไปจ่ายตลาด ทีมงานของเราจะเจอเด็กและผู้ปกครองเข้ามา ทักทาย มาสวัสดี ทำให้ทีมงานรู้สึกภาคภูมิใจมาก  ทีมงานบางคนยังแซวกันเล่นๆ ว่า เดี๋ยวนี้หมอ ... ดังใหญ่แล้วนะ คนรู้จักชื่อกันทั้งตำบล หลังจากปิดโครงการทีมงานของเราได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินผลเพราะเราได้ทำ Pre – test และ Post – test กิจกรรมการสอนทั้ง 12 กิจกรรม( กิจกรรมละ10คะแนน ) พบว่าผลการสอนเด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจดีขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 4.8 เป็น 8.6 คะแนน และผลการวัดความความพึงพอใจของเด็กนักเรียนได้ร้อยละ 98 ความพึงพอใจของคณะครูและผู้บริหารได้ร้อยละ 94 ความพึงพอใจของผู้ปกครองได้ร้อยละ 91 ตัวเลขไม่สำคัญเท่าไรขอเพียงงานที่เราทำ เป็นที่พึงพอใจของชุมชน ทีมงานก็รู้สึก ภูมิใจและสุขใจ

 

จากโครงการ ก่อนสู่โลกกว้าง สู่โครงการ สร้างโปรแกรมและพัฒนาหลักสูตรเพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นตอนต้น

            กองอนามัยการเจริญพันธุ  กรมอนามัยกับ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกันพัฒนาและสร้างหลักสูตรการสอนเพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นตอนต้น  และได้ประสานงานมายังผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านลาด  เชิญทีมงานก่อนสู่โลกกว้างและขอให้เรา เชิญโรงเรียนทั้ง 2 แห่งเข้าร่วมโครงการร่างหลักสูตรโปรแกรมการสอนเพศศึกษาวัยรุ่นตอนต้น ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่  โรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ  นนทบุรี  ชลบุรี  ราชบุรี  และของอำเภอบ้านลาด 2 โรงเรียน   ทีมงานได้นำกิจกรรมในโครงการก่อนสู่โลกกว้างเป็น Modelขณะเดียวกันกองอนามัยการเจริญพันธุ์ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการร่างหลักสูตรวัยรุ่นจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะ โดยใช้แนวกิจกรรมเดิมของโครงการ ก่อนสู่โลกกว้าง มาเป็นแนวทางและปรับกิจกรรมบางตัวให้เหมาะสมแล้วสรุปเหลือ 8 กิจกรรม ได้แก่   หนูเป็นสาวแล้ว..... ......ผมเป็นหนุ่มแล้ว ,  เรื่องปกติ...หรือผิดปกติ ,   อารมณ์เพศวิเศษสุด , คุณค่าในตัวฉัน , สิทธิวัยรุ่น , รู้เขารู้เรา ... ไม่เศร้าไม่เสี่ยง ,  รู้ว่าเสี่ยงจะเลี่ยงอย่างไร และ รู้จักรัก   เมื่อได้กิจกรรมใหม่แล้ว  โรงเรียนในโครงการนำร่องทั้ง 7 แห่ง  ได้ก็นำหลักสูตรไปทดลองสอนในโรงเรียน  ทีมงานโรงพยาบาลบ้านลาดในฐานะเป็นพี่เลี้ยงของโรงเรียนได้ร่วมกับกองนามัยการเจริญพันธุติดตามผลกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ  และเมื่อโครงการสิ้นสุด  ต้องสรุปผลรวบยอดโครงการของโรงเรียนทั้ง 7 แห่งที่โรงแรมทีเคพาเลส กรุงเทพมหานครฯ  มีทั้งคณะครูและคณะหมออนามัยทำให้เราได้รู้จักเป็นเครือข่ายกัน ทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาล  ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เราเป็นเครือข่ายพันธมิตรกัน  ต่อมากองอนามัยวัยเจริญพันธุได้นำเสนอหลักสูตรโปรแกรมการสอนให้กับกระทรวงศึกษาเพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษา 2551

 

โรงเรียนในจังหวัดเพชรบุรี ตื่นตัว เรื่องหลักสูตรเพศศึกษาวัยรุ่นตอนต้น

            เนื่องจากการสอนเพศศึกษาวัยรุ่นตอนต้นเป็นเรื่องใหม่ มีความทันสมัยและยังไม่เคยมีการสอนในโรงเรียนระดับประถมต้นเลย  จึงทำให้โรงเรียนในจังหวัดเพชรบุรีหลายแห่ง  ซึ่งมีปัญหาเรื่อง เด็กนักเรียนมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนมากขึ้น   ทำให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านลาดได้รับหนังสือ  ขอความอนุเคราะห์ให้ทีมงานก่อนสู่โลกกว้าง ไปช่วยเป็นวิทยากรให้กับคณะครูทั้งจังหวัดเพชรบุรี  โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเป็นเจ้าภาพจัดประชุมให้กับคณะครูในจังหวัดเพชรบุรีทั้งเขต 1 และ เขต 2   ขณะเดียวกันโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดได้เชิญทีมงานไปเป็นวิทยากรพูดเรื่อง วิธี....รับมือกับลูกวัยรุ่น ในวันแม่แห่งชาติ   ปัจจุบันทีมงานก่อนสู่โลกกว้างได้ขยายผลไปเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนต่าง ๆ หลายอำเภอ และร่วมกับโรงเรียนทำ โครงการแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ให้กับโรงเรียนอีกหลายแห่งในจังหวัดเพชรบุรี  ทำให้ทีมงานรู้สึกภูมิใจ  กับ ผลงานที่เป็นที่ต้องการของสังคม มากขึ้น  ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดเกิดจากแรงบันดาลใจ เรื่องเด็กอายุ 12 ปีตั้งครรภ์  ว่าจะขยายผลไปสู่สังคมได้มากอย่างนี้เนื่องจากทีมของเรา มักจะพูดติดปากอยู่เสมอ ๆว่า ไม่มีคำว่าพ่ายแพ้ถ้าเรารวมพลังกันแก้ปัญหา

 

จากโครงการ ก่อนสู่โลกกว้าง สู่  โครงการ วัยเรียน  วัยใส  อนามัยดี๊ ดี

            ต่อมาทีมงานก่อนสู่โลกกว้าง ได้รับเชิญจากกรมอนามัยให้เข้าร่วมโครงการของกรม         ซึ่งเป็นโครงการนำร่องทำใน 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดราชบุรี  และจังหวัดเพชรบุรี  ได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการ วัยเรียน วัยใส  อนามัย ดี๊ ดี ซึ่งวัตถุประสงค์โครงการเพื่อ แก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ ให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนทั้งปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น  เรื่องโภชนาการ  เรื่องทันตกรรม กรมอนามัยได้เชิญโรงพยาบาลบ้านลาดเข้าร่วมโครงการ และขอให้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอีก 3 แห่งประกอบด้วย โรงเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นได้แก่ ร.ร.วัดโพธิ์กรุ  ระดับมัธยมศึกษาได้แก่ โรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนวัดหนองแก และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ โรงเรียนคงคาราม ขณะเดียวกันโรงพยาบาลบ้านลาดได้จัดตั้ง คลินิกวัยเรียนวัยใส ขึ้นในโรงพยาบาลบ้านลาดเพื่อเป็นคลินิกสำหรับให้คำปรึกษาสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียนและที่ Walk-in  เข้ามาขอคำปรึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์  ปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์   ปัญหาครอบครัวของเด็กวัยรุ่น  ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ  ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร  และปัญหาสุขอนามัยอนามัยช่องปาก ทีมของโรงพยาบาลได้รับเงินงบประมาณจากกรมอนามัยในโครงการนี้ จำนวน330,666 บาท เพื่อจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจกับวัยรุ่น  ผู้ปกครอง  และจัดตั้งคลินิก วัยเรียนวัยใส ในโรงพยาบาลบ้านลาด  ให้คำแนะนำปรึกษาวัยรุ่นทั้งในและนอกเวลาราชการ  แก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหาร  ติดตามให้คำแนะนำปรึกษาการดำเนินงานโครงการ วัยเรียน  วัยใส  อนามัย ดี๊ ดี ในโรงเรียนทั้ง 3 แห่ง

จากปัญหา บุคคล สู่การแก้ปัญหาของ สังคม อย่างบูรณาการ

จากปัญหาแม่อายุ 12 ปีตั้งครรภ์ ทำให้การทำงานของทีมโรงพยาบาลบ้านลาดขยายผล    เป็นวงกว้างสู่การบูรณาการแก้ปัญหาที่หลากหลาย  จากการทำงานแก้ปัญหาของคนหนึ่งคน (Individual) นำไปสู่การแก้ปัญหาของกลุ่ม (Node) นำไปสู่การทำงานเป็นเครือข่าย(Network) ทำให้ทีมงานโรงพยาบาลบ้านลาดภาคภูมิใจ

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนูขอส่งบทความให้ท่านอาจารย์อ่านเนื่องจากบทความนี้หนูได้นำเสนอการประชุมวิชาการคุณภาพโรงพยาบาลของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) และได้นำเสนอในเวทีระดับชาติ ( HA National  Forum ครั้งที่ 9 )ปี2550

 

 เรื่อง “ก่อนสู่โลกกว้างเส้นทางของน้องหนู”(ต่อจากBlogก่อน)

จากโครงการ “ ก่อนสู่โลกกว้าง สู่  โครงการ “ วัยเรียน  วัยใส  อนามัยดี๊ ดี

            ต่อมาทีมงานก่อนสู่โลกกว้าง ได้รับเชิญจากกรมอนามัยให้เข้าร่วมโครงการของกรม         ซึ่งเป็นโครงการนำร่องทำใน 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดราชบุรี  และจังหวัดเพชรบุรี  ได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการ “ วัยเรียน วัยใส  อนามัย ดี๊ ดี ” ซึ่งวัตถุประสงค์โครงการเพื่อ “ แก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ ” ให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนทั้งปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น  เรื่องโภชนาการ  เรื่องทันตกรรม กรมอนามัยได้เชิญโรงพยาบาลบ้านลาดเข้าร่วมโครงการ และขอให้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอีก 3 แห่งประกอบด้วย โรงเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นได้แก่ “ร.ร.วัดโพธิ์กรุ  ระดับมัธยมศึกษาได้แก่ โรงเรียนขยายโอกาส “โรงเรียนวัดหนองแก และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ โรงเรียนคงคาราม ขณะเดียวกันโรงพยาบาลบ้านลาดได้จัดตั้ง คลินิกวัยเรียนวัยใส ขึ้นในโรงพยาบาลบ้านลาดเพื่อเป็นคลินิกสำหรับให้คำปรึกษาสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียนและที่ Walk-in  เข้ามาขอคำปรึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์  ปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์   ปัญหาครอบครัวของเด็กวัยรุ่น  ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ  ปัญหาเด็กขาดสารอาหาร  และปัญหาสุขอนามัยอนามัยช่องปาก ทีมของโรงพยาบาลได้รับเงินงบประมาณจากกรมอนามัยในโครงการนี้ จำนวน330,666 บาท เพื่อจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจกับวัยรุ่น  ผู้ปกครอง  และจัดตั้งคลินิก วัยเรียนวัยใส ในโรงพยาบาลบ้านลาด  ให้คำแนะนำปรึกษาวัยรุ่นทั้งในและนอกเวลาราชการ  แก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหาร  ติดตามให้คำแนะนำปรึกษาการดำเนินงานโครงการ วัยเรียน  วัยใส  อนามัย ดี๊ ดี ในโรงเรียนทั้ง 3 แห่ง

จากปัญหา “ บุคคล สู่การแก้ปัญหาของ สังคม อย่างบูรณาการ

จากปัญหาแม่อายุ 12 ปีตั้งครรภ์ ทำให้การทำงานของทีมโรงพยาบาลบ้านลาดขยายผล    เป็นวงกว้างสู่การบูรณาการแก้ปัญหาที่หลากหลาย  จากการทำงาน แก้ปัญหาของคนหนึ่งคน (Individual) นำไปสู่การแก้ปัญหาของกลุ่ม (Node) นำไปสู่การทำงานเป็นเครือข่าย(Network) ทำให้ทีมงานโรงพยาบาลบ้านลาดภาคภูมิใจ  ที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม  ในที่ประชุม ท่านผู้อำนวยการ มักพูดให้กำลังใจทีมงานของเราอยู่เสมอ ๆ ว่า ความคิดใหม่ ๆ ช่วยทำให้คุณเป็นคนใหม่ และเตือนทีมงานของเราว่า เวลาทำงานอย่าลืมค้นหาพลังอันยิ่งใหญ่ของเราว่าอยู่ตรงไหนด้วยนะครับ ขณะเดียวกันทีมงานของเราก็ไม่ลืมที่จะติดตามผลงานของเราจาก ปี 2548 ถึง ปี 2550 รวมเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เรายังไม่พบปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ขณะวัยเรียน ของ 2 โรงเรียนที่ทีมเรานำกิจกรรมลงไปทำ ทีมของเราจึงคิดคำขวัญที่ช่วย สร้างแรงจูงใจและเป็น แรงบันดาลใจในการทำงาน  ดังนี้

เรามีผู้นำดี

เรามีวิสัยทัศน์

เราสร้างนวัตกรรม

เราทำงานให้ประหยัด

เราวัดความพึงพอใจของประชาชน

เราพัฒนาคนและระบบ

เราทำงานจบที่ชุมชน

เราจะวนสู่ความเป็นเลิศ ”

 

 

       หนูคิดว่าเรื่องที่หนูได้นำมาเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ วันนี้หนูคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี  8K’s +5K’s+4L’s+ทฤษฎี 3 วงกลม+ทฤษฎี Value Added ของท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ(เจ้าของทฤษฎีตัวจริง+ของจริง) วันนี้หนูขอยุติการส่งการบ้านHRของท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ

สมศรี  นวรัตน์ Tel.  081-9435033

 

 

  • เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
  • การบ้าน จาก Blog
  • นางจิราพร สวัสดิรักษ์
  • 1. อาจารย์จีระได้ 8 K's และ 5 K's มาเพราะอะไร?

ตอบ  ศ.ดร.จีระ  ได้ 8 K's และ 5 K's มาด้วยปัจจัยหลายประการ  ประการแรกท่านเคยเล่าว่า  ได้จากครอบครัวของท่าน  เพราะเวลาคุณพ่อท่านถามก็จะให้แสดงความคิดอยู่ตลอดเวลา  รู้จักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบด้าน  ท่านจึงเป็นผู้มีศักยภาพด้านวิชาการ  ความคิดริเริ่ม  มีวิสัยทัศน์  มองไกล  มองลึกและกว้าง  ริเริ่มสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ทันเหตุการณ์  ท่านเป็นคนชอบแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา  ไม่ใช้สนใจแขนงใดแขนงหนึ่งเท่านั้นแต่ยังสนใจหลาย ๆ แขนง  ข้ามศาสตร์อีกด้วย  ประการที่สองคือศ.ดร.จีระ  มีเครือข่ายความสัมพันธ์ (network)ทั้งในและนอกประเทศจึงทำให้งานยากกลายเป็นงานง่าย  นอกจากนั้นท่านยังมีวิธีการบริหาร  network อย่างได้ผลซึ่งท่านก็ได้  ทุนทางสังคม  (Social  Capital)  ที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กัน  การเชื่อมโยงข้อมูลก็ครบถ้วนและที่สำคัญท่านยังมีการบริหารแบบเปลี่ยนกระบวนทัศน์  (Paradigm  Shift) คือการบริหารแบบนอกกล่อง  คือรวดเร็วและคล่องตัว  ทรัพยากรของมนุษย์เป็นต้นทุนขององค์กร  ย่อมจำเป็นต้องมีการลงทุน  Human  Capital  ที่  Gary  S  Backer นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังเคยพูด  Human  Capital  เป็น  1  ใน  8K's  ซึ่ง  Karl  Mark  กล่าวถึงทุนมนุษย์  6  ทุน  ได้แก่

 

  • K1 = Human Capital ทุนมนุษย์
  • K2 = Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
  • K3 = Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม
  • K4 = Happiness Capital ทุนแห่งความสุข
  • K5 = Social Capital ทุนทางสังคม
  • K6 = Sustainability ทุนแห่งความยั่งยืน
  • ศ.ดร.จีระ ค้นพบว่า ยังมีอีก 2 ทุนที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ นั่นคือ
  • K7 = Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT
  • K8 = Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
  • ปัจจัยทั้งหลายนี้ มีส่วนส่งเสริมความสำเร็จของทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้อย่างศ.ดร.จีระ ให้ทำงานเพื่อชาติได้อย่างสง่างาม
  • 2. อธิบายเพิ่มเติมรายละเอียดของ 8 K และ 5 K

ตอบ  Human  Capital  คล้ายกับ  Human  Resources  เพราะ Resources  กับ Capital  จะแปลความคือการลงทุนด้านคนถ้าสังคมใดก็ตาม  ประชากรประเทศนั้นย่อมมีความรู้มากกว่าประชากรอีกประเทศหนึ่งและสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศได้

           Intellectual  Capital  ทุนทางปัญญาหมายถึงความสามารถในการคิด  วิเคราะห์และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม  จากข้อมูล (Data) จะต้องเพิ่มมูลค่าเป็นข่าวสาร (Information ) จากนั้นเป็นความรู้ (Knowledge) และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value  Added)  สู่การวางแผน  คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ สู่  ปัญญา  (Wisdom)  ยกตัวอย่างคนที่จบจากประเทศทางยุโรป  เมื่อเทียบกับเมืองไทยคุณภาพไม่เท่ากัน 

  • Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม ซึ่งศ.ดร.จีระ ประเมินว่ากลุ่มที่อ่อนในเรื่องนี้คือนักการเมืองกับข้าราชการ แม้แต่นักธุรกิจก็มีปัญหาในทุนข้อนี้

            Happiness  Capital       ทุนแห่งความสุข  จะเห็นได้ว่าทุนแห่งความสุขนี้เมื่อ

  • เกิดขึ้นในชนกลุ่มใดประเทศใด ก็จะทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนด้วย
  • Social Capital ทุนทางสังคม จะเป็นทุนที่เชื่อมโยงให้ทุนมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในวงกว้าง มีการติดต่อข่าวสาร ความรู้ที่เป็น network
  • Sustainability ทุนแห่งความยั่งยืน ในการพัฒนาประเทศหรือองค์กรใดก็ตาม
  • ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนในอนาคตด้วย ดังนั้นการที่จะสร้างความยั่งยืนได้ ผู้นำ หรือ บุคลากรในองค์กรต้องมองไปข้างหน้า เพื่อการปฏิบัติในวันนี้ ที่เหมาะสม คุ้มค่า
  • Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT ทุนด้านนี้มีความสำคัญมากที่จะทำให้การติดต่อสื่อสาร ทั้งการค้า เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ฯลฯ
  • รวมทั้งการผลิต การบริโภค เป็นไปอย่างทันสมัย รวดเร็ว และแปลกใหม่ตลอดเวลา หากชาติใด พลเมืองมีทุนทางเทคโนโลยีสูงก็จะได้เปรียบในทุก ๆ ด้าน
  • Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เป็นทุนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ชาติใดมีทุนด้านนี้จะสามารถพัฒนาชาติไปอย่างรวดเร็ว เพราะ ความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ เป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนามนุษย์
  • 3. มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในต่างประเทศหรือไม่

ตอบ  หัวข้อวิทยานิพนธ์ในต่างประเทศมีดังนี้

Human resource management within small and medium-sized enterprises

PhD thesis # 313

Author: Jan de Kok
Email: [email protected]

 

  • 4. มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกหรือปริญญาโทในประเทศไทยหรือไม่ ขอดู

ตอบ  มีงานวิจัยระดับปริญญาเอก

•1.    เรื่อง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในห้องเรียนโดยดร. ปานเทพ

ลาภเกษร์: นักวิชาการศึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (อดีตผู้ได้รับทุนรัฐบาลออสเตรเลีย 2004-2007)

  • 2. การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน : ศึกษากรณีบ้านหนองบัว หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดย ผศ.ดร.ณัฐนรี ศรีทอง*
  • 3. ความสุขจากทุนทางสังคม: กรณีศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดกาญจนบุรี Happiness from Social Capital:

                        An Investigation from Kanchanaburi Data

                           พิริยะ ผลพิรุฬห์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

                      สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ , ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ    

                      สถาบันวิจัย   ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ด้วยความเคารพ

จิราพร  สวัสดิรักษ์  087-066-2359

เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

       ในการสัมมนาเพื่ออภิปรายประเด็นหนังสือใหม่เรื่อง Three Laws of Performance หรือ กฎ 3 ข้อแห่งการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็น กฏในที่นี้มิใช่ระเบียบปฏิบัติแต่เป็นกฎที่ได้มาจากประสบการณ์ทำงานจริง ของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ และนำมาเขียนโดยที่ผู้เขียนกล่าวว่าอาจจะเป็นกฎที่สามารถสร้างอนาคตได้ กฎ3 ข้อมีดังนี้คือ

1) คนทำงานจะปฏิบัติตัวอย่างไรสัมพันธ์กับสิ่งที่ประสบอยู่เมื่อประสบเหตุการณ์จะแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาเคยประสบมา (ประสบการณ์) หรือจากภาพที่ติดค้างอยู่ในใจ

2) ทำอย่างไรขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นภาษาที่เป็นคำพูด หรือภาษาท่าทาง หรือการแสดงออกทางความรู้สึก, ภาษาทางกายหรือพฤติกรรม

3) จากกฎข้อ 2 ต้องในคนที่มีสิ่งค้างคาใจได้พูดหรือแสดงออกมาเหมือนกับล้างสิ่งที่ทำให้ไม่เข้าใจกันให้หมดก่อนจากนั้นผู้บริหารก็สามารถเขียนอนาคตใหม่ได้ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ของ องค์กร มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มุ่งเดินไปในทิศทางเดียวกัน มีความเข้าใจกันเพราะใช้ภาษาที่ทุกคนเข้าใจเหมือนกัน สิ่งที่ได้รับนำไปประยุกต์ใช้คือการสื่อสารภายในองค์กรที่ทำงานควรมีความเข้าใจกันเปรียบเสมือนพูดภาษาเดียวกัน เมื่อมีอะไรไม่เข้าใจกันต้องพูดไม่เช่นนั้นต่างคนต่างคิด เมื่อเริ่มเป็นเพียงจุดเล็กๆ แล้วขยายใหญ่ขึ้น รอวันประทุออกมาภายนอกด้วยการแสดงภาษากายหรือคำพูดที่รุนแรงเพราะต่างคนต่างเก็บกดไม่สื่อสารให้เข้าใจกันก่อน

        สำหรับคนที่เป็นผู้บริหารเมื่อรับรู้หรือเข้าใจก็นำไปวางแผนการอนาคตขององก์กรได้ ทุกคนก็ทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันองค์กรก็จะเกิดความยั่งยืน

        ต่อมาก็ทำให้เกิดความเข้าใจถึงการจัดห้องเรียนที่มีสภาพของการเรียนรู้ที่แตกต่างจากห้องเรียนปกติแต่ทุกคนได้ปัญญา เกิดการเรียนรู้ที่มากมาย เหมือนกับการนำทฤษฎี 4 L’s มาใช้ ทำให้เราทราบว่าทฤษฎี 4 L’s ของอาจารย์ มีผลต่อการเรียนรู้จริง ซึ่งพวกเราทุกคนสามารถนำไปปรับใช้และต้องทำให้เป็นLife Long Learning เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ต้องมี 4 L’s และทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมากแต่ได้รับผลตอบแทนมหาศาล

       จากการสมัมนาได้แนวความคิดทำ Research โดยมี Hypothesis เป็นตัวดังนี้

Hypothesis : การพัฒนาทุนทางปัญญามีผลกระทบต่อ Performance ของคน

ตัวแปรต้น : การพัฒนาทุนทางปัญญา

ตัวแปรตาม : Performance ของคน

จาก วัชรินทร์ แสงมา 085-1122-737

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ ค่ะ

วิทยานิพนธ์ภายในประเทศ ปริญญาโท

1. การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน ศึกษาธิการอำเภอ              โดย สนอง เอกวณิชสกุลพร      มหาวิทยาลัยบูรพา

2. การศึกษาตลาดแรงงานของอุตสาหกรรมในจังหวัดสกลนคร

โดย ชนินทร์ วะสีนนท์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษาเรื่อง การศึกษาตลาดแรงงานของอุตสาหกรรมในจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุปสงค์และอุปทานแรงงาน พยากรณ์ความต้องการแรงงาน และศึกษาปัญหาและข้อจำกัด ของตลาดแรงงาน วิธีการที่ใช้ในการศึกษา คือ การศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาภาคสนามโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 100 แห่ง และนักเรียน นักศึกษาระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปวช. ปวส. อนุปริญญา และปริญญาตรี ที่จะจบ การศึกษาในปี 2540 จำนวน 322 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และค่า สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าไค-สแควร์ (Chi-Squares) ค่าซี (Contingency Coefficient) ค่า t-test และใช้สมการเชิงถดถอย (Regression equation) ผลการศึกษาภาพรวมของตลาดแรงงาน พบว่า โครงสร้างกำลังแรงงาน มีผู้มีงานทำเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 96 โดยทำงานในภาคเกษตรกรรมประมาณ 2 ใน 3 ของผู้มีงานทำทั้งหมด สำหรับ ผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม อยู่ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากที่สุด รองลงมาคือ พาณิชยกรรม การบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต โดยผู้มีงานทำส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาประถมศึกษา สำหรับผลการศึกษาข้อมูลภาคสนาม พบว่า 1. ทางด้านอุปทานแรงงาน นักเรียนนักศึกษามีความต้องการทำงานประมาณ 1 ใน 4 มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากครอบครัวต้องการให้ช่วยทำงาน ครอบครัวมีฐานะยากจน และครอบครัว มีภาระหนี้สิน ส่วนความต้องการการทำงานส่วนบุคคล พบว่า นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ ต้องการจบปริญญาตรีก่อน โดยส่วนใหญ่ต้องการเงินเดือนเริ่มต้น 5,001 - 7,000 บาท สถานที่ทำงานใกล้บ้าน และพิจารณาตัดสินใจเลือกงานจากปัจจัยเหล่านี้ในระดับมากคือ เงินเดือนค่าจ้าง ความปลอดภัย ความมั่นคง งานอิสระ สถานที่ตั้งของที่ทำงาน สภาพแวดล้อม ของงาน การยกย่องชมเชย บำเหน็จบำนาญ การรักษาพยาบาล ที่พัก เงินปันผล การส่งเสริม ให้ศึกษาต่อ การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี ความก้าวหน้าและชื่อเสียงของธุรกิจ สำหรับการ สนองตอบความต้องการทำงาน นักเรียนนักศึกษาต้องการให้ฝึกอาชีพให้มากที่สุด 2. ทางด้านอุปกรณ์แรงงาน นายจ้างให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการทำงานมากที่สุด โดยนายจ้างส่วนใหญ่ต้องการจ้างแรงงานที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา เพศชาย ช่วงอายุ 16 - 20 ปี เงินเดือน 2,001 - 3,000 บาท ตำแหน่งพนักงาน ทั่วไป และมีความอดทนสูง ในการสรรหาแรงงานนายจ้างใช้วิธีการให้พนักงานในสถานประกอบการ หาให้ ทำให้ต้นทุนในการจ้างงานต่ำ และในการลงทุนในทุนมนุษย์ใช้วิธีการฝึกอบรมในขณะ ทำงานมากที่สุด สำหรับการประมาณการความต้องการจ้างงาน ในช่วงระยะเวลา 1 - 10 ปี พบว่า นายจ้างต้องการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 3,963 คน โดยสถานประกอบการที่มีจำนวนลูกจ้าง จำนวนน้อยมีความต้องการแรงงานมากกว่าสถานประกอบการที่มีลูกจ้างจำนวนมาก 3. การศึกษาตลาดแรงงาน พบว่า มีปัญหาข้อจำกัดในเรื่องคุณสมบัติของแรงงานไม่ตรง ตามความต้องการ ปัญหาเรื่องเงินเดือนค่าจ้างต่ำ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในฤดูทำนา และ ปัญหาเรื่องการไม่รู้แหล่งงานของแรงงาน การทดสอบสมมติฐาน ทางด้านอุปทานแรงงานพบว่า ความต้องการทำงานของแรงงานมีความ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับระดับการศึกษา ที่ตั้งของสถานศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของ ครอบครัว รายได้ที่ได้รับประจำวัน และจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา ทางด้านอุปสงค์แรงงาน พบว่า ความต้องการจ้างแรงงานของนายจ้างมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับขนาดของธุรกิจ จำนวนลูกจ้างระดับมัธยม จำนวนลูกจ้างระดับ ปวช. และต้นทุนการจัดจ้างแรงงานในระยะที่ ผ่านมา สำหรับปัจจัยจำนวนลูกจ้าง ปวส. อนุปริญญา และอัตราค่าจ้างมีความสัมพันธ์กับ ความต้องการจ้างแรงงานในทิศทางตรงกันข้าม และในการทดสอบประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน พบว่า ตลาดแรงงานยังไม่มีประสิทธิภาพในเรื่องสารสนเทศเกี่ยวกับข้อมูลแหล่งงาน การกีดกันใน ตลาดแรงงานในการเลือกสถาบันการศึกษา ตลาดแรงงานภายในเกี่ยวกับการหางานโดยระบบอุปถัมภ์ และตลาดแรงงานทวิลักษณ์ เรื่องการทำงานต่ำระดับของแรงงาน และการโยกย้ายแรงงานเรื่อง การย้ายงานของแรงงาน สำหรับตลาดแรงงานภายในเกี่ยวกับค่าจ้าเงินเดือนที่แรงงานได้รับและ ตลาดแรงงานทวิลักษณ์ เรื่องคุณสมบัติของแรงงาน พบว่าตลาดแรงงานมีประสิทธิภาพ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ หน่วยราชการะดับจังหวัดควรให้ความ สำคัญกับภาคการเกษตรกรรมมากขึ้น เพื่อให้กลไกตลาดแรงงานสามารถปรับตัวได้ รวมถึงส่งเสริม ให้ตลาดแรงงานมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการให้บริการการจัดหางาน การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เกี่ยวกับแหล่งงาน รวมถึงการฝึกอาชีพและการพัฒนาบุคลิกภาพของแรงงาน นอกจากนี้ทางด้าน แรงงานควรปรับแนวคิดทัศนคติในการยอมรับสภาพของตลาดแรงงาน พร้อมทั้งปรับปรุงตัวเองให้มี ความรู้ความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง ทางด้านนายจ้างก็ควรปรับตัวในเรื่อง วิธีการสรรหา และมีสิ่งจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้ได้แรงงานที่มีคุณภาพเช่นกัน

3.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับขีดความสามารถในการพึ่งตนเองของ องค์กรประชาชนในเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์บริการชุมชน ในกรุงเทพมหานคร

โดย สามารถชาย จอมวิญญา  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

4. การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคมของการเปลี่ยนแปลงจาก ภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

โดย ธนพรรณ สุนทระ  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วิทยานิพนธ์ในประเทศ ระดับปริญญาเอก

1. ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย โดย ดนัย เทียนพุฒ

เรื่อง ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด

A Strategic Intellectual Capital Model for Thai Enterprises: A Study of Construction Accessories Co., Ltd.
โดยนาย ดนัย เทียนพุฒ
นักศึกษาปริญญาเอกการจัดการธุรกิจ รุ่นที่ 2 กลุ่ม 2
หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เรื่องตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง จำกัด

วิทยานิพนธ์ต่างประเทศ ระดับปริญญาเอก

1. Essays on inequality: Trade liberalization and human capital

Author      Prina, Silvia, Ph.D.

Adviosor   Mookherjee, Dilip   United States - Massachusetts

 Abstract This dissertation considers the implications of endogenous fertility and trade liberalization on human capital and income inequality. The first chapter studies theoretically the effects on human capital and long run inequality of endogenous fertility, the phenomenon wherein higher wage parents have fewer children. In a model of human capital investment with credit constraints, skilled households have fewer children and invest more in their human capital, compared with unskilled households. Fertility differences then induce a downward demographic drift to the skill ratio in the economy. This causes the set of steady states that obtains with fixed fertility to shrink from a continuum to a finite set. Moreover, steady states must be characterized by upward mobility among the unskilled to counteract this demographic drift. This generates a novel theory of long run mobility not driven by any stochastic shocks or heterogeneity in abilities or tastes, but instead by endogenous fertility. The second chapter examines empirically the impact of trade liberalization in agricultural products between Mexico and the U.S. due to NAFTA on the distribution of Mexican farm incomes during the 1990s. I find that NAFTA-induced tariff reductions decreased the border price of Mexican imports, notably corn, and increased the border prices of Mexican exports such as fruits and vegetables. Using farm level data, the chapter finds that the rise in fruit and vegetable prices benefited small farmers more than large farmers, while the drop in corn prices hurt large farmers more. Impacts on northern, central, and southern parts of Mexico are assessed separately. The results indicate that trade liberalization increased earnings of poor farmers relative to those of large farmers, particularly in the central region of Mexico. The third chapter focuses on how trade liberalization affects agricultural employment and wages in Mexico. The effects of NAFTA-induced border price changes on employment and wages are assessed, using Mexican household level data. I find no effect of trade liberalization on wages of agricultural workers and a small impact on the composition of employment.

 

2. Human capital, labour demand and wages. Aspects of labour market heterogeneity

Author: Gerbert Hebbink         Supervisor(s): prof.dr. J.C. Siebrand

 3. Successful Entrepreneurship and Human Capital

Author: Justin van der Sluis    Supervisor(s): Prof. Dr. J. Hartog en Prof. Dr. C.M. van Praag

Abstract:  The contribution of entrepreneurs to economic value creation is significant. This is acknowledged by both researchers and public policy makers. However, only successful entrepreneurs contribute to value creation. Identifying determinants of successful entrepreneurship and using these as instruments to influence the achievement of entrepreneurs can therefore increase welfare. This book focuses on the effects of formal education on the individual performance of entrepreneurs. The returns to formal education for entrepreneurs have not yet been measured using rigorous methods to quantify causal effects. The studies included in this book apply these methods and show to what extent the returns to education are different

Justin van der Sluis (1979) studied Work and Organizational Psychology at the Universiteit van Amsterdam (UvA). After his graduation in 2002 he tried being an entrepreneur for a while and decided that he would be better off studying entrepreneurs instead, as part of a PhD project at the Faculty of Economics and Business at the UvA. Currently he works as researcher at SEO Economic Research and academic manager at the Amsterdam Center for Entrepreneurship

 

4.  Human Capital and Economic Growth in India, Indonesia, and Japan: A quantitative analysis, 1890-2000

Bas van Leeuwen

Abstract of thesis :  The analysis of endogenous economic growth may be subdivided into two broad streams of theories. The main difference between these two groups rests on whether a country is at the technological frontier. In less developed countries (which are further from the technological frontier) technologies can be adopted from abroad (Lucasian growth). Hence, their human capital is used entirely to apply these technologies in the productive process. As a country develops further (approaches the technological frontier), it becomes increasingly difficult to adopt technologies from abroad and, therefore, more and more of its own human capital must be used to create new technologies (Romerian growth: R&D). The remaining human capital is used to apply these new technologies in the productive process.From this perspective it is not surprising that Japan moved from Lucasian to Romerian growth in the mid-twentieth century. In the first half of the century, Japan witnessed a strong growth of human capital. This led to a strong growth of the industrial sector and an increase in technological development which attributed to the switch to Romerian growth in the second half of the century. India and Indonesia, however, remained dominated by Lucasian growth. Not only was their per capita stock of human capital much lower than in Japan, but it was also less efficient. In addition, these countries were disadvantaged by their late economic development. It was no longer enough to employ enough secondary trained persons to generate technological development. Technological development started to take place at the level of higher education, a level where these countries had a relative disadvantage compared to more developed countries.

 

5.Cultural Sustainability in a Transition Society: Relations between Foreign Languages and Geo-Cultural Self-Position in Estonia

By Anu Masso and Tõnu Tender.

Published by The International Journal of Environmental, Cultural, Economic and Social Sustainability

 ขอบคุณค่ะ

ลัดดา  ปินตา

084-8073320

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ค่ะ

อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม 8K 5K

Human Capital ทุนมนุษย์-มนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าในองค์กรและเป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กรให้ไปข้างหน้า

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา-มุ่งให้มนุษย์มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใฝ่รู้ อยากรู้ และนำเอาสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเพื่อปฏิบัติได้

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม-ไม่เบียดเบียนตัวเองและเบียดเบียนผู้อื่น มีจิตใจที่เข้มแข็งและมีภูคุ้มกันที่ดี

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข-การรู้จักตัวเองและรู้จักผู้อื่น

Social Capital ทุนทางสังคม-สามารถสร้างเครือข่าย และเชื่อมโยงความรู้แก่ชุมชน และสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน-การสร้างความสมดุลในระยะยาว

Digital Capital ทุนทาง IT-การค้นคว้าวิจัยในองค์กรและในท้องถิ่น สามารถนำส่งที่วิจัยให้เกิด นวัตกรรมใหม่ ๆ

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม-การคิดเป็น วิเคราะห์เป็นและสามารถใช้ประโยชน์จากฐานความรู้ได้

ทุน 5K's คือ

1. Creative Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์-การนำเอาความคิดสร้างสรรค์ นำมาปรับใช้กับการพัฒนา

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้-ความสามารถในการคิด วิเคราะห์และถ่ายทอดความรู้ ในการใช้ประโยชน์

3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม-การคิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น แนวคิดใหม่ ทฤษฎี หรือเทคโนโลยี

4. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์-การมีจิตใจที่ดี มีความสมดุลนการดำรงชีวิตและการทำงาน

5. Culture Capital ทุนทางวัฒนธรรม-คุณค่า ค่านิยมของสังคมที่แสดงออกทางจารีตประเพณี หรือวิถีชุมชน จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือจากความรู้บุคคล

อาจารย์ ได้ 5K 8K มาเนื่องจาก

อาจารย์ได้จากการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Life Long Learning และสามารถนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ แล้วปรับใช้งานจริง ๆ คือ รู้ลึก รู้จริง และมองให้ตรงประเด็น

ขอบคุณค่ะ

084-8073320

เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่ถามว่าอาจารย์จีระได้ 8K's และ 5K's มาอย่างไรนั้น ขอตอบว่าน่าจะเริ่มมาจากจิตของอาจารย์ที่สะสมแต่กรรมดีในภพภูมิก่อนๆจึงได้มาเกิดใหม่ในครอบครัวที่เข้าใจการปลูกต้นมนุษย์ (Human Tree) ให้งดงามทั้งจิตด้านในและพฤติกรรมด้านนอก นั่นก็คือการใช้ทฤษฎีทุน 8 ประเภท ว่าด้วยเรื่องพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาเป็นเกณฑ์ในการอบรมเลี้ยงดู

เมื่ออาจารย์ได้ทุนทั้ง 8 แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่อาจารย์จะต่อยอดทฤษฏี 5K หรือจะคิด concept เรื่อง Chira’s 6 factors รวมไปถึงสร้างทฤษฏีใหม่ๆที่ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ทำงานอย่างมีความสุขไม่ว่าสถานการณ์ หรือสภาวแวดล้อมรอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไปทางใด

ด้วยความเคารพ

ฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ขอนำเรียนท่านอาจารย์เรื่องเกี่ยวกับการทำวิจัย คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ PhD3SSRU เนื่องจากการเรียนระดับ PhD ความสำคัญอยู่ที่การทำงาน    วิจัยดังนั้นหนูคิดว่าสิ่งที่หนูค้นคว้าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อน ๆนะคะ

 

ลักษณะ 10 ประการของนักวิจัย

การที่จะดำเนินงานงานวิจัยให้สำเร็จ เป็นความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล มีลักษณะ 10 ประการที่นักวิจัยควรมี ดังนี้

1.  เป็นผู้เหตุผล (Reasoning Power) นักวิจัยต้องมีความสามารถที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล

2.  มีความคิดริเริ่ม (Originality) นักวิจัยต้องมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์

3.  มีความจำดี (Memory) นักวิจัยต้องสามารถจดจำข้อเท็จจริงต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและพร้อมมูล

4.  ตื่นตัวอยู่เสมอ (Alertness) นักวิจัยต้องเป็นนักสังเกตที่ฉับไว เปี่ยมไปด้วยความคิดที่เฉียบแหลม และพร้อมที่จะซักถามโต้ตอบ

5.  มีความถูกต้องแน่นอน (Accuracy) นักวิจัยต้องเป็นนักสังเกตที่เชื่อถือได้ ชัดเจน สม่ำเสมอ ไม่ผิดพลาด

6.  การเอาใจใส่กับงาน (Application) นักวิจัยต้องมีสมาธิแน่วแน่ เอาใจใส่กับงานอย่างส่ำเสมอและเป็นระเบียบ

7.  ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น (Cooperation) นักวิจัยต้องสามารถที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นหมู่คณะได้ และมีภาวะผู้นำ

8.  มีทัศนคติที่ดีมีศีลธรรม (Moral Attitudes) นักวิจัยต้องมีอุดมการณ์ ทัศนคติ และศีลธรรมอันดี

9.  มีสุขภาพที่ดี (Health) นักวิจัยต้องมีความอดทน ไม่หวั่นไหวง่าย และมีพลานามัยสมบูรณ์

10.  มีความสนใจและความกระตือรือร้นกับงาน (Zeal) นักวิจัยต้องมีความสนใจในการริเริ่มและสร้างสรรค์

 

ข้อเสนอแนะในการเลือกปัญหาสำหรับทำการวิจัย

มีข้อแนะนำ 3 ข้อ สำหรับการเลือกปัญหามาวิจัย คือ

1.  ต้องมีความเข้าใจข้อเท็จจริง (Facts) และความคิดอันเป็นที่ยอมรับกัน (Accepted Ideas) ในสาขาที่จะทำการวิจัยอย่างถ่องแท้

2. ใช้ความอยากรู้อยากเห็นของท่านเอง (Curiosity) เป็นตัวนำ (Guide) เพื่อคัดเลือกปัญหา ความพึงพอใจที่อยากจะรู้ อยากจะเห็นอะไรเป็นการส่วนตัวเป็นแรงจูงใจอันสำคัญในการคัดเลือกปัญหาหรือชื่อเรื่องสำหรับวิจัย

3.  นักวิจัยหน้าใหม่ หรือยังมีประสบการณ์น้อย ควรเลือกเรื่องที่สั้นและชัดเจน (Short and Clear Topics)

 

มีคำถาม 5 ข้อ เกี่ยวกับปัญหาที่จะทำการวิจัย คือ

1.  ปัญหาเป็นที่น่าสนใจหรือไม่

2.  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่หรือไม่

3.  หากทำการวิจัยจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้หรือไม่

4.  มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่ทำการวิจัย

5.  จะมีผู้ใดฟ้องร้องหรือไม่ว่าเขากำลังทำอยู่ (ความซับซ้อน)

 

ข้อแนะนำในการกำหนดปัญหาหรือเขียนชื่อเรื่องการวิจัย (Research Problem)

1.  ขอให้แน่ใจว่าปัญหาที่ท่านคิดหรือเลือกไม่คลุมเครือหรือมีขอบเขตกว้างจนเกินไป

2.  เพื่อทำให้ปัญหามีความชัดเจนและเข้าใจมากขึ้น อาจจะกำหนดเป็นคำถาม ซึ่งต้องการคำตอบที่แน่นอน หรือเป็นเชิงอธิบาย หรือเปรียบเทียบ

3.  กำหนดชื่อให้ตรงประเด็นปัญหา โดยตัดคำที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป

4.  ใช้คำหรือวลีพิเศษในชื่อเรื่อง เพื่อสร้างความน่าสนใจ

 วันนี้ขอยุติการทำการบ้านและการพูดคุยกับท่านอาจารย์เพียงแค่นี้ก่อนนะคำ หนูคิดว่าสิ่งที่หนูค้นคว้าเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีของท่านอาจารย์ โดยเฉพาะทฤษฎี8K’s+5K’s+4L’s+ทฤษฎี3วงกลมและทฤษฎีValue Added ซึ่งท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ เป็นเจ้าของทฤษฎีและเป็นอาจารย์ที่พวกหนู (Ph.D3SSRU) เคารพรักยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

        อาจารย์จีระ ท่านได้ ทฤษฎี 8K และ 5K มาจากการถามตัวเองว่า

• “คนเราเรียนไปเพื่ออะไร? เป้าหมายของคนเราคืออะไร?”

• “คนเก่ง”นั้นวัดกันที่ผลการเรียน คือสอบได้คะแนนดี สอบได้ที่หนึ่ง หรืออะไร

• การเป็นคนที่เรียนเก่งจะทำให้คนเหล่านั้นประสบความสำเร็จเสมอไป

• ปัจจัยอะไรที่จะทำให้คนเราสามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว โดยหมายถึงทำงานดี มีความก้าวหน้า เป็นผู้นำ เป็นคนดี เป็นคนเก่งของสังคม

         จากคำถามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่จูงใจให้อาจารย์มีการคิด วิเคราะห์มากขึ้น และพยายามหาคำตอบมาโดยตลอด แล้วในที่สุด อาจารย์ก็ได้คำตอบโดยคำตอบเหล่านั้นมีที่มาจากคำสอนและแนวความคิดที่อาจารย์ได้รับจาก

• คุณพ่อของอาจารย์ ฯพณฯ สุนทร หงส์ลดารมภ์ และ ครอบครัว 

• จากการเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กว่า 30 ปี

• จากการร่วมงานกับท่านอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ หรือ ท่านศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ปูชนียบุคคลที่อาจารย์เคารพรักเป็นอย่างสูง เพราะเป็นผู้ที่ให้โอกาส สนับสนุนและมองเห็นความสำคัญของการพัฒนา “คน” ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาสังคมและประเทศชาติและเป็นผู้สนับสนุนให้อาจารย์ได้มีโอกาสในการก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์

• จากการเป็นผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน ทรัพยากรมนุษย์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4 สมัย ประมาณ 16 ปี

• จากประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนา “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่ได้ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงทุก วันนี้ก็ทำให้อาจารย์ได้ออกแบบ “ทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource Architecture) ขึ้นมา จากแนวคิดที่ว่าถ้ามองทางด้านsupply side เริ่มมาจาก คนเกิดขึ้นมาหนึ่ง “คน” นั้น ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยทำงานเขาจะต้องได้รับการเลี้ยงดู ปลูกฝัง หล่อหลอมจากพ่อ-แม่ครอบครัว เมื่อเข้าสู่วัยเรียน ก็เรียนรู้ จากโรงเรียนตามระบบการศึกษา ดังนั้น ครูและโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาจึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง “คน” ที่จะให้เป็น “ทรัพยากรมนุษย์” เมื่อจบการศึกษาจากนั้นก็จะเข้าสู่ส่วนdemand side ไปประกอบการงานมีอาชีพที่มีคุณค่าต่อสังคม พัฒนาประเทศชาติต่อไป การสร้าง “ทรัพยากรมนุษย์” นั้น หากคิด วิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์ก็คงจะเปรียบเทียบได้กับ ทฤษฎี “ทุน” (K) และทุนที่จะใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง “ทรัพยากรมนุษย์” ในยุคโลกาภิวัตน์อย่างน้อยควรจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีทุน 8 ประการด้วยกัน โดยอาจารย์ได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎี 8 K’s คือซึ่งประกอบด้วย

1. Human Capital ทุนมนุษย์

2. Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

3. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

5. Social Capital ทุนทางสังคม

6. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

7. Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

8. Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

Human Capital คือ ทุนมนุษย์ ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งได้เข้าสู่ระบบการศึกษานั้น เราถึงว่านั่นเป็น

Human Capital หรือทุนที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องได้รับแต่จะได้รับแบบสมบูรณ์หรือมีคุณภาพมากเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ ครอบครัว ครูอาจารย์ และโรงเรียนที่มีบทบาทสำคัญที่จะหล่อหลอม ปลุกฝังทั้งความรู้ ความคิด และคุณธรรมเพื่อให้เขาสามารถเป็นคนที่ดีได้ในสังคม

Intellectual Capital คือ ทุนทางปัญญา บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital แต่ทุกคนไม่ได้มีทุนทางปัญญา

Intellectual Capital เสมอไป คนที่มีการศึกษาไม่สูงสามารถมีทุนทางปัญญาได้หากรู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับนั้นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศให้ดีได้ ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรปลูกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่แรก หรือสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง โดยความดีต้องเด่นเหนือกว่าความเก่ง

Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข ความสุข (Happiness) ถือได้เป็นอีกทุนหนึ่งที่สำคัญเพราะเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์มีแรง มีกำลังกายและกำลังใจที่จะทำงาน หรือสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ทุนแห่งความสุขจึงถือเป็นหลักยึดที่สำคัญของมนุษย์

Social Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคมเป็นทุนที่สำคัญของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างมูลค่า (Value added) ให้แก่เรา นั่นคือสร้างเครือข่าย (Network) หรือแนวร่วม (Partnership) หรือพันธมิตรทางสังคม

Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความยั่งยืนคืออะไร เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนคือ ความต่อเนื่องและความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคน เพราะความรู้ใหม่ ๆ นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากทรัพยากรมนุษย์ของเรามีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทรัพยากรมนุษย์ของเราก็จะมีคุณภาพและศักยภาพทัดเทียมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก

Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูล ข่าวสารและเทคโนโลยี หรือที่มีชื่อเรียกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะ ความรู้และความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ITของคนให้มีความเป็นเลิศด้วยเช่นกัน

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญอีกทุนหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงานและการดำเนินชีวิต “คน” ทุกคนไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถ้าปราศจากทุนนี้เพราะจะไม่มีความสมดุลในชีวิตการทำงาน

        ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันนี้มากขึ้น ทำให้ การติดต่อสื่อสารถึงกันทำกันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น จึงต้องการความรู้แบบรวดเร็ว ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถในการปรับตัวให้อยู่รอดได้ ดังนั้นอาจารย์คิดว่าการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้นั้นมีเพียงทุนแปดข้อ หรือ 8 K’s คงจะไม่พอแล้วและค้นพบว่ายังมีทุนอีก 5 ทุนที่สำคัญสำหรับคนในยุคที่มีการแข่งขันที่สูงมากและสังคมของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง ควรจะมีอะไรใหม่ๆเพิ่มเข้ามาอีกจึงได้เพิ่มทฤษฎีใหม่ให้ทันกับยุคของปัจจุบันและอาจารย์เรียกทฤษฎีนี้ว่า 5 K’s (New)

  ทฤษฎี 5 K’s (New)คือ ทำอะไรให้รู้จริง เกิดเป็นทุนความรู้ และเกิดความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย

1. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

4. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม มนุษย์ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ คิดนอกกรอบไม่ควรยึดติดกับความรู้ เดิมๆ ไม่มีการพัฒนา

Knowledge Capital ทุนทางความรู้ คิดเป็นทำเป็น วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ให้ทับกับการ เปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม เป็นผู้มีความเจริญทางวัฒนธรรม รู้จักผิดชอบชั่วดี มีจิตสารธารณะรับผิดชอบ ต่อสังคม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ ต้องรู้จักมีความฉลาด ในการควบคุมอารมณ์ มีการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลไม่ใช้ อารมณ์ของตนเป็น

ใหญ่

เมื่อได้ความรู้จากอาจารย์แล้วลูกศิษย์ของอาจารย์จะต้องนำไปพัมนาให้เกิดเป็นรูปธรมมท่ขยายออกไปสู่สังคมให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษยืแบบยั่งยืนและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป

จาก วัชรินทร์ แสงมา Ph.D 3 SSRU (085-1122-737)

Human Tree (ต้นไม้มนุษย์) ตอนที่ 3 “Human Capital ทุนมนุษย์”

ไม่ใช่ว่าถ้าเกิดในตระกูลที่ดีแล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะเราเห็นได้มากมายว่าคนเหล่านั้นหลาย ๆ คนไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ และในทางตรงกันข้ามคนที่เกิดในตระกูลที่ธรรมดาก็ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คน ดังนั้นทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ใช่มีปัจจัยเดียวก็จะประสบความสำเร็จ และที่สำคัญทุนมนุษย์สามารถสร้างให้ทันกัน หรือแซงหน้ากันได้Human Tree (ต้นไม้มนุษย์) ตอนที่ 3 “Human Capital ทุนมนุษย์”

ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นทุนตัวที่หนึ่งในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และมีความสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ถ้าใครโชคดีมีทุนมนุษย์ที่ดีก็จะทำให้มีพื้นฐานที่ดี และจะก้าวต่อไปได้ง่ายกว่าและดีกว่า เปรียบเหมือนต้นไม้ถ้าเป็นต้นไม้พันธ์ดีก็จะเจริญงอกงามได้ดี ถ้าเป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าต่อสังคม ต่อความต้องการก็จะมีราคาที่ดี นอกจากนี้ถ้าเกิดอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็ยิ่งทำให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ผู้เขียนจึงได้นำเรื่อง “ต้นไม้มนุษย์” มาเปรียบเทียบเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

ระยะเริ่มต้น อะไรคือ “ทุนมนุษย์” (Human Capital) เรามาเริ่มต้นตั้งแต่เราเกิด จะเห็นได้ว่าคนเราเลือกเกิดไม่ได้ ถ้าใครโชคดีหรือมีบุญเก่าอาจได้เกิดในตระกูลที่ดี ฐานะดี และอะไร ๆ ก็ดี คนเหล่านี้ก็จะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ ในทุก ๆ เรื่องโดยเฉพาะการศึกษา เพราะการศึกษาคือพื้นฐานของความรู้ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรามีต้นทุนมนุษย์ที่ดีมากน้อยต่างกัน แต่ไม่ใช่ว่าถ้าเกิดในตระกูลที่ดีแล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะเราเห็นได้มากมายว่าคนเหล่านั้นหลาย ๆ คนไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ และในทางตรงกันข้ามคนที่เกิดในตระกูลที่ธรรมดาก็ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คน ดังนั้นทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ใช่มีปัจจัยเดียวก็จะประสบความสำเร็จ และที่สำคัญทุนมนุษย์สามารถสร้างให้ทันกัน หรือแซงหน้ากันได้

อีกด้วย และจะเห็นได้ว่ามีคำพูดหนึ่งซึ่งน่าจะนำมาพิจารณาและขบคิดเพื่อความเข้าใจในชีวิตให้ดีมากยิ่งขึ้นคือ “กรณีศึกษา SMEs "ลิขิตฟ้าหรือต้องฝ่าฟัน"

กรณีศึกษา SMEs “ลิขิตฟ้าหรือต้องฝ่าฟัน”

ถ้าเราจะกล่าวถึงผู้ที่ประสบความสำเร็จ หลายคนอาจจะกล่าวว่าเพราะ “ สวรรค์ลิขิต” , บางคนอาจจะกล่าวว่า “สร้างมากับมือ” แล้วท่านผู้อ่านคิดว่าอย่างไร (ลองตอบในใจดู) ผู้เขียนขอยกเรื่องเพลงของคุณเจิน เจิน ที่ว่า “ สามสิบลิขิตฟ้า เจ็ดสิบต้องฝ่าฟัน ต้องสู้ ต้องสู้จึงจะชนะ” มาเป็นข้อคิด สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทุกท่าน เรื่องจริง ๆ แล้วนั้นเราสามารถกำหนด หรือมีส่วนในการที่จะกำหนดอนาคต ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของตัวเราเองได้ ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเรา ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ทุ่มเทในการทำงาน การเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา การหาตัวช่วยซึ่งทางเรา “ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” หรือ สสว. พร้อมและยินดีให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ 0-2278-8800 ต่อ 400

หลาย ๆ เรื่องเป็นสิ่งที่เรากำหนดไม่ได้ และถ้าเราจะกล่าวว่าฟ้ากำหนดก็น่าจะไม่ผิด , หรือแล้วแต่เวร แต่กรรมของคน , หรือแล้วแต่บุญวาสนาเช่น การเลือกเกิด เราไม่สามารถเลือกเกิดเองได้ว่า จะเกิดที่ไหน , ครอบครัวจะรวยหรือจน , เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เป็นต้น ถ้าจะเปรียบเทียบกับเพลงก็อาจจะเป็น “ สามสิบลิขิตฟ้า” แต่หลังจากที่เราเติบโตจนมีความคิด เราจะเลือกขยันเรียนหรือขี้เกียจ , เราจะเลือกตั้งใจทำงานหรือเช้าชามเย็นชาม , เราจะเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือเราจะปิดหูปิดตาตัวเอง , เราจะเลือกทำสิ่งที่ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย , เราจะเลือกต่อสู้อุปสรรคหรือคิดสั้น เหล่านี้ล้วนคือ “ เจ็ดสิบต้องฝ่าฟัน ต้องสู้ ต้องสู้จึงจะชนะ” จะขอยกตัวอย่างผู้ประกอบการที่พยายามต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ นานา มาให้ดูดังนี้

กรณีศึกษาผู้ประกอบการในประเทศลาว

ผู้เขียนพึ่งจะกลับมาจากประเทศลาวได้เห็นถึงความแตกต่างของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในประเทศลาว ในปัจจุบันนี้เมืองหลวงเวียงจันทน์มีคนต่างชาติเข้าไปลงทุนอย่างมากมายเช่น คนไทย , คนจีน , คนเวียตนาม , คนเกาหลีและฝรั่งหลาย ๆ ชาติ เป็นต้น และก็เริ่มจะมีการแบ่งเขตของการทำการค้าเป็นย่าน ๆ เช่น ย่านของคนจีน ถ้าเราเข้าไปในย่านนี้ตอนกลางคืนประมาณสามทุ่ม ท่านจะสังเกตเห็นความแตกต่างได้ทันทีว่า ยังมีการเปิดร้านค้าขายเหมือนตอนกลางวัน ถึงแม้ว่าในเวียงจันทร์ร้านค้าขายส่วนใหญ่จะปิดหมดแล้ว ( ยกเว้นร้านอาหาร ) ไม่ว่าจะเป็นขายของเบ็ดเตล็ด , ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ , ร้ายขายเครื่องยนต์คล้าย ๆ เซียนกงบ้านเรา และร้านขายของต่าง ๆ มากมายของย่านคนจีนยังคงเปิดอยู่ บางร้านเปิดยันสว่าง เขาทำอย่างนั้นทำไม? เราสอบถามมาได้ว่าการค้าในประเทศลาวมีโอกาสยังไม่มากนักจึงต้องการเปิดรับทุก ๆ โอกาสที่จะเข้ามาในทุก ๆ เวลา เพื่อให้ความสะดวกของโอกาสให้มากที่สุด และแน่นอนเขาเหล่านั้นย่อมจะต้องขายดีมากกว่าคนอื่น ๆ เพราะเขารอและเปิดโอกาสให้ตัวเองคอยต้อนรับลูกค้าทุก ๆ คนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของ “ เจ็ดสิบต้องฝ่าฟัน ต้องสู้ ต้องสู้จึงจะชนะ”

กรณีศึกษา ผู้ประกอบการร้านอาหารในอเมริกา

ในประจุบันถ้าเราเดินทางไปอเมริกาและมีโอกาสอยู่ในช่วงวันอาทิตย์ในเมืองไม่ใหญ่มากนัก และลองออกไปหาอาหารทานเองนอกที่พัก จะพบว่ามีแต่ร้านอาหารคนจีน , ร้านอาหารคนอินเดีย และร้านอาหารคนไทยเท่านั้น เพราะร้านอาหารของคนฝรั่งปิดหมดเพราะเป็นวันหยุด และร้านอาหารที่เปิดก็ขายดีมาก ๆ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคนที่ต่อสู้เพื่อกำหนดความสำเร็จของตัวเอง เพื่อกำหนดอนาคตของตัวเองและสามารถกำหนดได้ถ้าเราเลือกทำงานให้มากกว่าคนอื่น ถ้าเราเลือกขยันอดทนมากกว่าคนอื่น เราจะเป็นผู้ชนะได้ด้วยตัวเรากำหนด

กรณีศึกษา ร้านขายเสื้อผ้าสามสาขา (สยามสแคว,พารากอนและเกศร)

มีผู้ประกอบการมาปรึกษาหาทางแก้ปัญหาว่า “ขายไม่ดีจะทำอย่างไรดี” เราก็เริ่มต้นค้นหาข้อมูลจากผู้ประกอบการเช่น การลดค่าใช้จ่าย , การจัดการส่งเสริมการขาย , การจัดการในด้านการผลิตให้มีการลดต้นทุน และมองหาทางแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ แต่ก็ไม่พบจุดอ่อน และค้นพบว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีการบริหารงานที่มีความสามัคคี รักใคร่กันดีมาก ยอมรับซึ่งกันและกัน มีผู้นำที่เสียสละ,มีความสามารถและได้รับการยอมรับสูง เมื่อที่ปรึกษาพยายามวิเคราะห์ดูก็ทราบว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาทางแก้ไขเนื่องจากว่าสภาวะทางเศรษฐกิจมีผลต่อการขายเสื้อผ้าราคาสูง มีการออกแบบที่โดดเด่น แปลกและไม่เหมือนใคร และลูกค้าที่เคยมาซื้อก็ลดลงมากไม่มีคนมาเดิน ทำให้ยากที่จะแก้ไข ที่ปรึกษาจึงเสนอแนวความคิดที่จะยกสินค้าไปหาลูกค้าในบริเวณที่ทำงานของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเราวางแผนที่จะทำในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเป็นแผนการแก้ไขชั่วคราว โดยเราจะไม่ลงทุนเปิดสาขาใหม่ การนำสินค้าไปหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายถึงที่ทำงานก็ได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการว่าสามารถนำไปทำได้จริง ใช้จ่ายต่ำ น่าลองทำดีกว่านั่งรอแบบไม่มีอนาคต ที่ปรึกษาก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเขาเหล่านั้นน่าจะสามารถต่อสู้และแก้ปัญหาได้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นเร็ว ๆ นี้ “ต้องสู้ จึงจะชนะ”

กรณีศึกษา ร้านขายสีรถยนต์ มีสองสาขา

เธอเป็นวัยรุ่นอายุประมาณสิบเก้าถึงยี่สิบปี กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เข้ามารับการปรึกษาได้ 4 ครั้งและครั้งหลังสุดก็น่าจะได้แนวทางแก้ไขที่น่าจะเป็นไปได้จริง ๆ จุดเริ่มต้นคือ คุณพ่อทำงานต่อไปไม่ไหวเนื่องจากปัญหารุมเร้าอย่างมากมาย มีร้านขายสีรถยนต์สองแห่งย่านสำโรง มีปัญหาขาดสภาพคล่องเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ , ลูกค้าไม่จ่ายเงิน , เจ้าหนี้ตามเก็บเงิน , ลูกน้องลาออกไปเปิดร้านแข่งขันในทำเลใกล้ ๆ กัน , ธนาคารเร่งรัดเงินตลอดเวลาและไม่ดูแลเท่าที่ควรเช่นลูกค้ามีถึงแถวมูลค่า 5 ล้านบาทปลอดหนี้ต้องการนำมาค้ำประกันวงเงินเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาแต่ทางธนาคารก็ไม่ยินยอมอย่างเดียวเลย เราจึงต้องแนะนำให้ขายตึกแถว 5 ล้านบาทไปก่อนเพราะสามารถแก้ปัญหาได้ทันทีเนื่องจากปัญหาเพียง 2 ล้านบาทเท่านั้น วันหลังค้าขายดีแล้วกลับมาซื้อใหม่ก็ได้ สำหรับสาขานี้ขายดีก็ไม่ต้องเลิกเพียงแต่หาทำเลใกล้เคียงเช่าทำกิจการต่อไปและต้องแจ้งลูกค้าให้ทราบทั่วถึงก่อนย้าย เธอก็ได้นำไปปรึกษาคุณพ่อก็ได้รับการเห็นชอบ และคาดว่าจะสามารถแก้ไขในเร็ว ๆ นี้ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เด็กผู้หญิงกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยเพียงแค่ปีหนึ่ง ก็ต้องหยุดเรียนมาช่วยแก้ปัญหาเร่งด่วนเพื่อครอบครัว น้อง ๆ จะต้องใช้จ่ายเรียนหนังสือ และดำเนินชีวิตต่อไปได้ด้วยดี และนี่ก็คืออีกตัวอย่างหนึ่งที่ต้องพยายามต่อสู้เพื่อกำหนดอนาคตของตน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเธอจะช่วยคุณพ่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยดีและขอเป็นกำลังใจให้เธอด้วยคนนะครับ

จากตัวอย่างต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วขอเป็นกำลังใจให้นักสู้ทั้งหลายสามารถฟันฝ่าปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ด้วยความพยายาม ความอดทนและความอุสสาหะนะครับ

ธนพล ก่อฐานะ

ที่ปรึกษา SMEs ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ

ฝ่ายประสานและบริการ SMEs

จากบทความข้างต้นผู้เขียนอยากที่จะให้ข้อคิดในแง่ต่าง ๆ เพื่อให้ท่านทั้งหลายเห็นว่าเราสามารถต่อสู้เอาชนะอุปสรรคได้อย่างแน่นอนถ้าเราพยายาม สำหรับเรื่องทุนมนุษย์ ผู้เขียนอยากจะแนะนำว่าถ้าเราเป็นพ่อหรือเป็นแม่เราต้องพยายามสอนลูก สอนหลานให้เรียนหนังสือ(ในปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการเรียนฟรี) ให้เขาเหล่านั้นเข้าใจว่าการเรียนดีอย่างไร และพยายามให้เขาเหล่านั้นเรียนให้สูงที่สุดเท่าที่จะมีความสามรถ ไม่ต้องสงสัยเลย เพราะว่าจะมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเป็นพื้นฐานให้ลูก หรือหลานของเราก้าวไปในอนาคตได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และถ้าท่านเป็นคนที่กำลังอยู่ในวัยศึกษา (การศึกษาไม่มีวันหมดอายุ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือการศึกษาสามารถทำได้ตลอดเวลาตราบใดก็ตามที่ยังมีชีวิต Life Long Learning ) และเริ่มเข้าใจ หรือเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง ผู้เขียนขอให้ท่านตระหนักว่าถ้าท่านต้องการอนาคตที่ดี ท่านต้องพยายามเรียนให้มากและดีที่สุดเท่าที่ท่านมีความสามารถ

ระยะกลาง ผู้เขียนอยากให้มามองถึงชีวิตช่วงการทำงาน หรือช่วงหาประสบการณ์นั่นเอง บางคนเรียนหนังสือมาไม่เท่ากัน แต่คนที่เรียนหนังสือน้อยอาจจะแซงหน้าคนที่เรียนหนังสือมาก หรือเรียนหนังสือดีกว่าในเรื่องทุนมนุษย์ (Human Capital)ได้ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่หลาย ๆ คนมีประสบการณ์และก้าวกระโดดมาเป็นเศรษฐี หรือเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้หลาย ๆ คน แต่จะมีสักกี่คนที่โชคดี จึงอยากฝากให้ท่านทั้งหลายถ้ามีสิทธิเลือกได้ให้เลือกเรียนไว้ก่อน สำหรับช่วงการทำงาน ผู้เขียนอยากจะแนะนำให้ลองมองไปข้างหน้าว่าเราอยากจะเป็นอะไร แต่ให้ลองเลือกไว้สัก 3 อย่างเช่น

1. อย่างแรกขอให้เลือกเป้าหมายที่ดีที่สุด ที่คาดว่าจะทำไม่ได้แต่อยากจะคาดหวังให้ได้เป็น (ต้องเป็นเรื่องที่ดีและถูกต้อง)

2. อย่างที่สองให้เลือกถึงเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้

3. ให้เลือกทางเลือกแผนสำรองถึงเป้าหมายที่ต้องเป็นและอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อน

เมื่อเราเลือกเป้าหมายแล้วลองวางแผนว่าเราควรจะเลือกเรียนอย่างไร เลือกเรียนอะไรและต้องมีประสบการณ์อะไรถึงจะสามารถทำให้เราได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ถ้าเราจะเป็นเจ้าของธุรกิจอะไรก็ตาม เราควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้น ๆ และที่ดีที่สุดคือเราควรมีความรู้ในธุรกิจนั้น ๆ ในหลาย ๆ ด้านของธุรกิจนั้นเพราะทุกประเด็นมีผลต่อความสำเร็จทั้งนั้น ยิ่งมีมากโอกาสของความสำเร็จยิ่งมาก

สำหรับระยะยาว ผู้เขียนอยากจะแนะนำว่าให้นำเรื่องต่าง ๆ ของระยะสั้นและระยะกลางมาสร้างเป็นระยะยาวของตัวเอง แต่ผู้เขียนอยากจะแนะนำให้เรียนรู้ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของอาจารย์ ศ.ดรจีระ หงส์ลดารมภ์ และนำมาปฏิบัติเพื่อแผนระยะยาวของตัวท่านเอง เช่น ทุน ทางจริยธรรม Ethical Capital ,ทุนแห่งความสุข Happiness Capital และทุนแห่งความยั่งยืน Sustainability Capital เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนได้นำมากล่าวไว้ตอนก่อนหน้านี้แล้วนะครับ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ ทุน 8K และ 5K

1.การพัฒนารูปแบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาพัฒนาศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2543 .ชัยยศ อิ่มสุวรรณ

2.ทุนทางสังคมกับการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,(การบริหารสังคม) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2543 .ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์

3.ทุนทางสังคมในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตของเศรษฐกิจชุมชน ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,2546 .วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์

4.การพัฒนารูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาพัฒนาศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549 .ประไพ ศิวะลีลาวิลาศ

5.Social Capital in the Creation of Human Capital. American Journal of Sociology,1988 .Coleman,James.

6. Social Capital .Rout ledge: New Fetter Lane,London,2003 .John Field.

7. Social Relation and Social Capital in Vietnam : Findings from the 2001 World Values Survey .(2002) Russell Dalton,Pham Hac, Pham Nghi and Nhu –Ngoc Ong.

ทักษิณานันท์ 080 -6148578

Howard Gardner นักวิชาการด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เขียนหนังสือ Five Minds for the Future หรือ “5 จิต คิดเพื่ออนาคต” โดยชี้ให้เห็นและเน้นความสำคัญของ “ความฉลาดหรือทักษะ” ซึ่ง Gardner ใช้แทนด้วยคำว่า “จิต” (Mind) ทั้ง 5 ประการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกๆ ด้านในโลกยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องมีจิตสาธารณะทั้ง 5 ประการ ประกอบรวมอยู่ในตัวของคนๆนั้น ประกอบด้วย

1) จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) หมายถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น

2) จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) หมายถึง การสั่งสม ต่อยอด และสร้างนวัตกรรมความรู้

3) จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ สร้างด้วยการหมั่นฝึกฝน

4) จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) หมายถึง การเปิดใจกว้าง พร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น และ

5) จิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind) หมายถึง ความรู้คู่คุณธรรม นำการพัฒนา

โดยจิตทั้ง 5 มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อมนุษย์ในโลกยุคใหม่ และจะต้องมีครบทั้ง 5 จิตจะขาดจิตใดจิตหนึ่งไปเสียไม่ได้ เพราะจิตทั้ง 5 มีผลต่อการพัฒนาตัวบุคคลทั้งในแง่การทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและศักยภาพในทุกๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นพลังในการที่จะขับเคลื่อนองค์กร สังคม และประเทศชาติให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย และยืนหยัดอยู่ภายใต้การแข่งขันในโลกยุคใหม่ไ ด้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

  • เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
  • การบ้าน ต่อเนื่อง จาก Blog
  • นางจิราพร สวัสดิรักษ์
  • ลองกำหนดยุทธวิธีทั้ง Macro - Micro โดยมองจาก HR Architecture ว่าจะพัฒนา 8 K และ 5 K อย่างไร

ตอบ  ยุทธวิธี  ระดับ   Macro  ในการที่จะพัฒนา  ทุนมนุษย์ (Human  Capital )  คือปฏิรูปการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความเป็นไปในยุคโลกาภิวัตน์ ( Globalization )  โดยมีนโยบายที่จะส่งเสริมพัฒนาปัญญาในระดับโลก  หรือในระดับภูมิภาค  เริ่มจากประชากรในวัยเรียน  จนถึงวัยทำงาน  และตลอดจนทุกสาขาอาชีพ  ทั้งทางด้านเกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  การบริการและภาครัฐบาล  เพื่อเป็นการส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ อย่างเป็นองค์รวม ( holistic )  ในการทำยุทธวิธีดังกล่าวควรประสานกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นอกจากดำเนินการเรื่องการศึกษาแล้ว  ควรมีนโยบายในการพัฒนาสุขภาพเชิงรุก  และครอบครัวเข้มแข็ง  เพื่อเป็นฐานกำลังในการแข่งขันในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม  ซึ่งเป็นภาพของเศรษฐกิจโดยรวม  สู่ความยั่งยืนในเวทีโลก

ยุทธวิธี  ระดับ   Micro  ให้หน่วยงานหรือองค์กร  พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐและสังคมโลก  เพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันที่ไม่มีวันแพ้  ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา  สุขภาพ  การประกอบอาชีพเกษตร  อุตสาหกรรม  การบริการ  และด้านเศรษฐกิจ  โดยใช้ทฤษฎี  8k's  5k's  ให้เหมาะสมตามบริบทของหน่วยงาน  แต่มี  Vision  ร่วมกันในระดับชาติ

 

  • พัฒนาแบบไหนที่ล้มเหลว

ตอบ  การพัฒนาที่ล้มเหลว  เนื่องจาก  ผู้บริหารองค์กรขาดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ไม่ได้ใช้  ทฤษฎี  8k's  และ  5k's  ในการบริหารจัดการ  ขาดภาวะผู้นำในการจัดการ  ทำงานโดยไม่มี  network  ขาดการนำ  Innovation  มาใช้ในการจัดการ  และไม่ได้บริหารตามทฤษฎี  3  วงกลม  ที่ประกอบด้วย  Context  Competency  และ  Motivation  เมื่อองค์กรขาดสิ่งเหล่านี้  ในการจัดการ  การพัฒนาก็ย่อมประสบความสำเร็จได้ยาก

 

  • พัฒนาแบบไหนที่ประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ดูด้วย

ตอบ  การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จได้นั้น  ผู้บริหารองค์กรต้องมีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง  มีกลยุทธ์ที่มองไกล  ต้องเข้าใจการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความยั่งยืนให้ได้ตามทฤษฎี  8k's  ,  5k's  ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม Value  Added   ทฤษฎี  3  วงกลม  และใช้ทฤษฎี  2R's  ในการแก้ปัญหา  เช่นกรณี  บริษัทปูนซีเมนต์ไทย  ที่มีการพัฒนาทรัพยากรได้ดีเยี่ยม  ทำให้บุคลากรของบริษัท  เป็นทุนมนุษย์ที่มีค่า  นั่นหมายถึง  ความยั่งยืนอย่างไม่ต้องสงสัย

 

                    คำถามพิเศษ  สังเกตดูลูกน้องหรือเจ้านายบางคนไม่เคยเรียนรู้อะไร ในที่สุดก็พิการทางการเรียนรู้

            คำถามสำหรับท่าน PhD Students - เหตุผลคืออะไร มีการวิจัยหรือไม่ และวิจัยแล้วตั้ง Hypothesis อย่างไร? 8K และ 5K ช่วยได้หรือเปล่า ลองไปคิดดู

 

                     ตอบ  เหตุผลที่ลูกน้องและเจ้านายพิการทางการเรียนรู้  เนื่องจากทั้งเจ้านายและลูกน้องไม่ได้ตระหนักถึงการสร้างทรัพยากรมนุษย์  ไม่ตระหนักถึงความจำเป็นในการเรียนรู้  มองไม่เห็นประโยชน์ของการเรียนรู้  โดยเฉพาะคนเป็นเจ้านายควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  มองปัญหาในอนาคตได้  มองภาพอนาคตเห็น  ขาดการใช้ทฤษฎี  4L's   ในเรื่องการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่ทันสมัย  เรื่องการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้  เรื่องการสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  และทฤษฎี  8K's และ 5K's  ในการบริหารจัดการ

มีการวิจัยหรือไม่ ?

                      ตอบ  มีงานวิจัยเรื่องดังกล่าว  ต่อไปนี้

  • 1. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในอำเภอเกาะสมุย จังหวัด

สุราษฎร์ธานี - ธนัญชัย นวลนิรันดร์ - 2551 - บธ.ม. สาขาบริหารธุรกิจ

  • 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี - วีณา นวลละออง- 2551 - บธ.ม. สาขาบริหารธุรกิจ

 

3.ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมในอำเภอเกาะสมุย

จังหวัดสุราษฎร์ธานี - แววนภา พันเรือง - 2551 - บธ.ม. สาขาบริหารธุรกิจ

4.การศึกษาความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ - ศักดา ศิริพันธุ์ - 2551 - บธ.ม. สาขาบริหารธุรกิจ

5.กลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการต่อการรับซื้อผลผลิตจากยางพาราในจังหวัด

สุราษฎร์ธานี - สรรค์ ชัยปรีชา - 2551 - บธ.ม. สาขาบริหารธุรกิจ

6.ความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารทรัพยากรมุนษย์ในสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ - สุดใจ ชุมพรพันธุ์ - 2551 - บธ.ม. สาขาบริหารธุรกิจ

7.ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี - อรอุมา คมสัน - 2551 - บธ.ม. สาขาบริหารธุรกิจ

วิจัยแล้วตั้ง Hypothesis อย่างไร?

ตั้ง  Hypothesis  ดังนี้

  • 1. ข้าราชการตำรวจมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น
  • 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องส่งผลต่อการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • 3. พนักงานของโรงแรมในอำเภอเกาะสมุยมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น
  • 4. การปฎิบัติงานของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความพึงพอใจ

มากขึ้น

  • 5. ผู้ประกอบการมีกลยุทธ์ทางการตลาดต่อการรับซื้อผลผลิตจากยางพาราในจังหวัด

สุราษฎร์ธานี 

  • 6. บุคลากรพึงพอใจของต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้มากขึ้น
  • 7. พนักงานของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน สูงขึ้น

8K และ 5K ช่วยได้หรือเปล่า ลองไปคิดดู

หากใช้ทฤษฎี  8k's  และ  5k's  ในการบริหารงาน  เชื่อว่าจะทำให้องค์กร ที่ประกอบด้วยเจ้านายและลูกน้องที่ขาดวิสัยทัศน์ร่วมกัน  ได้รับการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสมตามทฤษฎี  ดังกล่าว  แน่นอน  เพราะเริ่มจาก  การพัฒนาทุนต่อไปนี้

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

     และนำทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ; 5 K's (ใหม่) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุค

โลกาภิวัตน์ มาใช้เป็นนโยบายเพื่อที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning) ทุน 5K's คือ

1. Creative Capital

2. Knowledge Capital

3. Innovation Capital

4. Emotional Capital

5. Culture Capital

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นางจิราพร  สวัสดิรักษ์

สถานการณ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

(1) คุณภาพการศึกษาของไทยยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องที่ต้องให้ความสำคัญและแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยที่วัดจากคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบ 4 วิชาหลัก (ภาษาไทย ภาษอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ต่ำกว่าร้อยละ 50 มาโดยตลอด และทักษะความสามารถเชื่อมโยงความรู้กับการนำไปใช้ของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสะท้อนถึงความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ของคนไทยให้มากขึ้น

(2) การผลิตและพัฒนากำลังคนยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของกำลังคนระดับกลางภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องเร่งผลิตกำลังคนระดับกลางโดยเฉพาะสายอาชีวะ เพื่อสนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย สำหรับกำลังคนระดับสูง ด้านวิทยาศาสตร์ยังขาดแคลนมาก โดยมีกำลังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำงานด้านการออกแบบและการวิจัยและพัฒนาไม่ถึงร้อยละ 2.0 ขณะที่คนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศมีเพียง 67 คนต่อประชากรหมื่นคนเท่านั้น

(3) การลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 7 เท่า โดยมีเพียงร้อยละ 0.26 ต่อ GDP เท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดของประเทศในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ โดยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา ถึงแม้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังอยู่ในระดับต่ำ

ในปัจจุบันการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน และมีความสำคัญในระดับชาติ เพราะการที่เรามีทรัพยากรบุคลที่มีความรู้ความสามารถจะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้สามารถยืนหยัดอย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงในโลกยุคปัจจุบัน

thaksinanan 080-6148578

HR Architecture หรือสถาปัตยกรรมของทรัพยากรมนุษย์ กับการพัฒนาประเทศ

เมื่อทรัพยากรมนุษย์เกิดมาตั้งแต่เด็กจะต้องได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากครอบครัว ได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย มีสุขภาพที่ดี และได้รับการศึกษาอย่างดี ได้รับอิทธิพลจากสื่อต่างๆที่เข้ามากระทบ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นคนทำงาน (Labour force) ซึ่งเป็นด้านอุปทานเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งมีความต้องการแรงงาน หรืออุปสงค์ในภาคการผลิตต่างๆ คือ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาครัฐ และ ผู้ประกอบการซึ่งในปัจจุบันเริ่มขยายตัวมากขึ้น

เมื่อเข้าสู่แรงงาน ทุกคนต้องมีอาชีพ ได้รับค่าจ้าง ต้องมีแรงงานสัมพันธ์ และต้องเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาสมรรถนะ หรือ Competency เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน เพราะอยู่ในโลกที่ต้องแข่งขัน เพื่อที่จะสามารถดำเนินชีวิตให้ดำเนินไปอย่างยั่งยืน จนกระทั่งเกษียณตัวเองออกจากงาน เป็นชีวิตหลังกระเกษียณที่ทุกคนจะใช้จ่ายจากเงินที่ออมไว้ ขณะที่ยังทำงานอยู่ จนกระทั่งถึงแก่ความตาย เป็นแบบของทรัพยากรมนุษย์ทุกคน

ดังนั้น ในระหว่างการทำงาน จึงต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรใหญ่ๆ ซึ่งต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งที่สามารถคาดการณ์ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่มาอย่างฉับพลัน ไม่ทันตั้งตัว ทรัพยากรมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร จึงต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในภาคการผลิตใดก็ตาม โดย ดร.จีระ ได้เสนอแนวคิดที่ช่วยในการพัฒนาทรัพยากร ดังนี้

1.ทฤษฎีทุน 8 K’ s K มาจากคำว่า Kapital เป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึง ทุน ทฤษฎี 8 K’ s เป็นแนวคิดที่จำเป็นต้องมีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องให้บุคลากรมีทุนทั้ง 8 ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ที่ควรมี ดังนี้

1.1) Human Capital ทุนมนุษย์

1.2) Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

1.3) Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

1.4) Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

1.5) Social Capitalทุนทางสังคม

1.6) Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

1.7) Digital Capital ทุนทาง IT

1.8) Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

2.ทฤษฎีทุน 5 K’ s ทุนที่จำเป็นต้องมีเพิ่มเติมในยุคโลกาภิวัตน์ หลังจากที่ได้พัฒนาทุน 8 ประการไปแล้ว เพื่อที่สามารถแข่งขันในโลกได้อย่างยั่งยืน ได้แก่

1) Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2) Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3) Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

4) Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5) Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ประเทศใดๆ ก็ตามเป็นสังคมฐานความรู้ และเศรษฐกิจฐานความรู้ เริ่มต้นจากการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ คู่คุณธรรม โดยให้ความสำคัญกับ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลง โดยการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในทุกมิติอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กต่อเนื่องถึงวัยทำงานและสูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างการเรียนรู้ในชุมชน ที่มุ่งเน้นการบ่มเพาะเด็กให้เกิดการใฝ่รู้ รักการอ่าน มีทักษะชีวิต ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมไทย การสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่คนทุกวัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life Long learning ) พัฒนาต่อยอดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เป็นเครือข่าย มีการจัดการความรู้ที่หลากหลายทั้งเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการส่งเสริมปราชญ์ชาวบ้านถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเน้นบทบาทครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา รวมทั้งการวางพื้นฐานการศึกษาและการเรียนรู้แบบองค์รวม มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับขั้นพื้นฐานให้ได้รับความรู้เต็มตามศักยภาพ ตามช่วงวัย สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหคุผลเป็นระบบ มีจิตสาธารณะ มีวินัย และเร่งยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในวิชาหลัก การกระจายข้อมูลข่าวสารด้วยความเร็วด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การจัดตั้งโครงการอินเตอร์เน็ตตำบล การจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ e- BooK , e –Library etc.

สรุป

การพัฒนาสังคมในช่วงที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในหลายด้าน ทำให้คนไทยมีอายุยืนยาว สามารถเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพได้อย่างทั่วถึง การขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และประชากรมีการศึกษาสูงขึ้น แต่ยังมีบางประเด็นที่ต้องเร่งรัดและปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ คุณภาพการศึกษาไทยภาพรวมยังด้อย แรงงานยังมีระดับการศึกษาต่ำ และต้องพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถแข่งขั้นได้ การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นฐานสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ยังมีน้อย สุขภาพของคนไทยยังอยู่ในภาวะเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เกิดจากภาวะโลกร้อน ปัญหาสุขภาพจิตและความมั่นคงทางสังคม และความปลอดภัยของคนและสังคมยังน่าวิตก รวมทั้งครอบครัวไทยสถาบันต่างๆ มีแนวอ่อนแอลง ส่งผลให้คนไทยประสบปัญหาวิกฤติค่านิยม จริยธรรม วัฒนธรรม และพฤติกรรม

ดังนั้น การพัฒนาประเทศในระยะต่อไปควรให้ความสำคัญกับการ “พัฒนาคน” ให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

thaksinanan 080-6148578

สถาปัตยกรรมทุนมนุษย์ (HR Architecture ) :

ทางเลือกใหม่

คุณภาพคนเป็นรากฐานของความเจริญเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน แม้ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการขยายโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา จนทำให้อัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษาพุ่งสูงขึ้นจนอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือสูงกว้าประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีรายได้ใกล้เคียงกันกับไทย แต่ก็ปรากฎหลักฐานอย่างกว้างขวางว่าสังคมไทยกำลังมีปัญหาวิกฤติคุณภาพ “คน” อาทิ คุณภาพการศึกษาลดลง ขณะเดียวกันคุณภาพแรงงานไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าความต้องการและคาดหวังภาคอุตสาหกรรม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเตรียมเข้าสู่ทศวรรษที่ 21

1.กลยุทธ์การศึกษาครั้งเดียวได้ความรู้ความชำนาญพร้อมกัน

1.1 เน้นพัฒนาความสามารถให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของชาติในอนาคต คือ การให้ความสำคัญอันดับแรกแก่ สาขาเกษตรและอุตสาหกรรม และบุคลากรทางการแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง

1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสามารถเข้ารับการศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความถนัดของแต่ละบุคคลและความต้องการของตลาดอย่างเหมาะสม

1.3 ส่งเสริมทักษะแรงงานด้านภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้

2.กลยุทธ์การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในระบบการศึกษาให้สังคมและชุมชนเข้มแข็ง

ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ยั่งยืน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการปลูกฝังด้านคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไปด้วยจาความร่วมมือของหลายฝ่ายโดยผ่านรัฐบาลเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้กับประชาชน ตั้งแต่ระดับเด็ก วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เพื่อความผาสุกร่วมกัน โดยที่ฝ่ายองค์กรการศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล และฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายครอบครัวทำหน้าที่ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในระดับผู้ปกครอง พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และความสัมพันธ์ในบ้าน

สำหรับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในสถาบันการศึกษา ต้องมีหลักสูตรการสอนคุณธรรมและจริยธรรมที่ชัดเจน ทั้งหลักสูตรตรงและหลักสูตรแฝง ดังตัวอย่างประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี

3.กลยุทธ์การฝึกอบรมในหน่วยงานภาคราชการและเอกชน

1) การลงทุนในองค์กรหรือภายในหน่วยงานเป็นสิ่งที่รัฐและธุรกิจเอกชนจะต้องลงทุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งเชิงลึก และเชิงกว้างและเชิงบูรณาการอย่างกว้างขวางให้ทันกับหรือก้าวหน้าไปกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันพร้อมทั้งสร้างให้บุคลากรดังกล่าวมีจินตนาการทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นบุคลากรจะล้าหลังทำให้ไม่สามารถจะแข่งในยุคโลกาภิวัตน์ได้

2) ส่งเสริมแรงงานด้านภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ รวมถึงการต่อยอดความรู้ของแรงงานในทุกระดับอาชีพ

3) จัดประชุมวิชาการระดับระหว่างหน่วยงานในประเทศและระดับนานาชาติทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

4.กลยุทธ์กำจัดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและส่งเสริมนักวิชาการ

กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วนเช่น อัตราเงินเดือนที่เท่ากัน ไม่ว่าจะจบมาจากสถาบันใดก็ตาม จะต้องมีเป้าหมายอย่างชัดเจนในการสร้างมูลค่าเพิ่มและความเป็นเลิศทางวิชาการไปพร้อมๆกัน

5.กลยุทธิพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

1) เร่งสนับสนุนและให้แรงจูงใจในการผลิตบุคลากรในสาขาทางอาชีวะ เศรษฐศาสตร์ การเงิน บัญชี ประกันภัย และโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนาให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

2) เร่งพัฒนาทักษะ และความสามารถของครู อาจารย์ในกระบวนการสอน และการถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน และนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

6.กลยุทธ์สร้างค่านิยมใหม่

1) ต้องสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนขยันทำงานหนักมีวินัยสูงทำงานอย่างชาญฉลาดและทำงานอย่างมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำได้ก็จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง การศึกษาจะต้องเป็นการลงทุนที่ต่อเนื่องตลอดเวลาพร้อมทั้งเข้าใจและอ่านทิศทางของกระแสเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ได้อย่างถูกต้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรองรับการเป็นตนสูงอายุที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการผลิตมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขเป็นการรองรับและเสริมความเข้มแข็งให้กับสังคมผู้สูงอายุในเวทีการแข่งขันโลกได้เป็นอย่างดี กฎระเบียบในการเกษียณอายุ 60 ปี ในขณะนี้อาจจะไม่เหมาะสมแล้วก็ได้ การที่ปล่อยให้คนมีความรู้ความสามารถจำนวนไม่น้อยเกษียณอายุออกไปทั้งๆ ที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้ความสามารถเป็นการสูญเสียใหญ่หลวง

2) ส่งเสริมการเรียนรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและสร้างค่านิยมสู่ความเอื้ออาทรและสมานฉันท์ เพื่อชุมชนเข้มแข็งและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

Thaksinanan 080 -6148578

สำหรับการบ้านเพิ่มเติมที่อาจารย์ได้สอนไว้นั้น ก็จะมีในเรื่องของ 8K’s

เป็นพื้นฐานของHRD คือ สิ่งที่มนุษย์สร้าขึ้น เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ใช้กันมากในทางเศรษฐศาสตร์ทฤษฎี 8 K's ได้ให้แนวคิดไว้ว่า "ทรัพยากรมนุษย์" นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของทุนทั้งสิ้น 8 ประการ ได้แก่

1. Human Capital หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้น พื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี และสามารถสร้างต่อได้

2. Intellectual Capital หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ Intellectual Capital เสมอไป คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

3. Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง

4. Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

5. Social Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม

6. Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน

7. Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

8. Talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วน5 K’s คือทุนที่จำเป็นต้องมีเพิ่มในยุคโลกาภิวัตน์หลังจากที่ได้พฒนา8K’s ไปแล้วซึ่งก็คือ

1. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม โดยท่านอาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว้า ทุนทางนวัตกรรมนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

นวัต ซึ่งมาจากคำว่าใหม่ ต้องมาความคิดใหม่ กรรม คือเอาไปทำ และ 3 คือ ต้องเอาไปทำให้สำเร็จ

2. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (ต้องคิดนอกกรอบ แต่ทำได้ยากเพราะคนส่วนมากชอบทำในสิ่งที่ทำมาแล้ว

3. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

5. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

องค์กรต้องพัฒนาองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมเผชิญปัญหา ต่าง ๆ และสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั่วทั้งองค์กร โดยการใช้ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ

 ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's

o I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประก ายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

o I ตัวที่ 2 เน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า " Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย

ในการให้ความคิดเป็น ต้องมีการสะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม เขียนเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ด้วยความเคารพ สมศรี เต็มอนุภาพกุล (081-7556338)

หัวข้อวิจัย

ที่ได้ค้นเจอ 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กับระดับการรับรู้ที่มีต่อการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ของงาน ศึกษากรณีสำนักงานเทศบาลนนทบุรี โดยนายอดิศร รัตนาภิรตานนท์

2. โครงการสำรวจ และวางแผนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโลยี่ พ.ศ.2527 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการประมวลผลกำลังคนคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโลยี่ โดย อ.มัทนา พนานิรามัย และดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

และสำหรับการมอง HR Architecture

1. การกำหนดยุทธวิธีด้าน Macro

ด้านนี้ เป็นภาพใหญ่น่าจะมาจากแผนพัฒนา เศรษฐกิจ สังคมก่อนที่มองว่า การพัฒนามนุษย์เราต้องลงทุนและลงทุนอย่างมีหลักการ(เช่น ให้ทุนเพื่อพัฒนา 8k's 5k's อย่างเป็นรูปธรรม) ทำไมให้เรียนฟรี 15 ปีแต่น่าจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่า(แต่ยังคิดไม่ออก) ความจริงเราก็เห็นว่ารัฐบาลมีงบประมาณที่จะให้เพื่อพัฒนาทุนทางสังคม สำหรับการศึกษาในระบบที่เริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็ก(เรียนฟรี 15 ปี เริ่มตั้งอนุบาล 3 ขวบ ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6)ต่อเนื่องถึงวัย 18 ปี โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาในระบบโรงเรียนให้เรียนอย่างมีคุณภาพ หลักการ คือเด็กเกิดการใฝ่รู้ รักการอ่าน มีทักษะชีวิต คิด วิเคราะห์เป็น ค่านิยมไทย มีจิตใจสาธารณะและการสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่คนทุกวัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life Long learning)

2. การกำหนดยุทธวิธีด้าน Micro

ด้านนี้ เป็นระดับหน่วยงานหรือองค์กร พัฒนาบุคลากร โดยใช้ทฤษฎี 8k's 5k's ให้เหมาะสมตามบริบทของหน่วยงาน แต่มีความต้องการ พัฒนาHR ร่วมกันเพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สุขภาพ (สาธารณสุข) อาชีพเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ และด้านเศรษฐกิจ ในระดับชุมชนรากหญ้าก่อน

ท พัฒนาแบบไหนที่ล้มเหลว ของที่ล้มเหลวเพราะเราต่างคนต่างทำแล้วแต่นโยบายและแนวคิดของต้นสังกัด

ท พัฒนาแบบไหนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องพัฒนาผู้นำให้ร่วมกันคิดร่วมกันทำและมีการทำงานเป็นเครือข่ายจริงๆ ทุกระดับและทุกระบบทั้งการเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ รัฐบาลและการจ้างงานก็จะไปสู้กับนานาอารยประเทศได้

ด้วยความเคารพอย่างสูงและขอโทษค่ะที่คิดการบ้านช้าไป

สมศรี เต็มอนุภาพกุล(081-7556338)

เรียนอาจารย์ ศงดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราได้เรียนกับอาจารย์ พจน์นารถ ซีบังเกิด ท่านอาจารย์ถามพวกเราว่าอยากจะให้พูดอะไรเกี่ยวกับเรื่อง Research เราก็สรุปกันว่าอยากฟังภาพรวมและปัจจะสำคัญในการทำ Research และจริง ๆ แล้วท่านได้เตรียมการสอน Power Point ตรงกับที่เราต้องการอยู่แล้วจึงทำให้พวกเราได้ตรงตามที่ต้องการมากมายครับ

สำหรับตัวผมเองผมก็ได้รับความรู้และทำให้ผมได้แนวคิดของการที่จะทำ Thesis ของผมชัดเจนมากขึ้น และก็มีผลตามมาก็คือทำให้ผมกังวลน้อยลงด้วยครับ

สิ่งที่ผมจะพูดถึงก็คือ

1.ผมได้ความชัดเจนและเป้าหมายที่ต้องการมากขึ้นเกี่ยวกับการเรื่องหัวข้อ เนื่องจากอาจารย์พจนารถ แนะนำเราถึงระดับของนวัตกรรมมี 3 แบบคือ Improvement, Evolution ,Revolution และทำให้ผมสามารถเลือกแบบของ Thesis ได้ดีมากขึ้นคือ ผมอยากจะเลือกทำแบบ Revotion เพราะน่าจะสร้าง Thesis ให้มีคุณค่ามากขึ้น

2.ผมได้แนวคิดในการที่จะอธิบาย Thesis ของผมในเรื่องของการก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อเนื่องต่อไปได้อย่างไร และทำให้ผมเลือกที่จะอธิบายและทำเรื่องของ Thesis ของผมในแบบ Revolution และเกิดประโยชน์ในระดับ Creative Economy ครับ

3.ผมได้รับทราบถึงปัจจัยสำคัญต่าง ๆ และที่ผมได้รับและจะเตรียมตัวก็คือ การเตรียมทีม(Teamwork)ในการช่วยเหลือเพื่อทำ Thesis ให้สำเร็จให้ได้เช่น คนอ่าน,คนเก็บข้อมูล,คนวางแผนและคำณวน และอื่น ๆ

4. และถ้าผมทำได้สำเร็จจริงและก่อนคนอื่น(ผมตั้งใจทำให้ได้ตามเวลาที่เหมาะสม ไม่รีบเร่งให้เสร็จเร็วที่สุดครับ) ผมจะอาสาเป็น Teamwork ให้เพื่อน ๆ ที่ยังขาดตัวช่วยและยังไม่เสร็จ เพราะเป็นเป้าหมายของผมอยู่แล้วซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะตรงกับ Happiness Capital,Social Capital,Sustainability Capital และผมจะพยายามสร้างให้เป็น Cultural Capital ของ Ph.D.3 SSRU ,Ph.D.P ของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และถ้าเป็นได้ผมก็จะพยายามสร้างต่อไปในรูปแบบของ Learning Community ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อบานะ

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

ผมได้นำไปเผยแพร่ใน Blog ที่ชื่อ "ลูกศิษย์ตอบอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงลดารมภ์"และได้แก้คำผิดบางคำเรียบร้อยแล้วต้องขอโทษอย่างมากที่มีการพิพม์ผิดนะครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

http://gotoknow.org/blog/tanapol-kortana-phdp/280247

ผมอยากจะเลือกทำแบบ Revolution เพราะน่าจะสร้าง Thesis ให้มีคุณค่ามากขึ้น

ผมได้แนวคิดในการที่จะอธิบาย Thesis ของผมในเรื่องของการก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อเนื่องต่อไปได้อย่างไร และทำให้ผมเลือกที่จะอธิบายและทำเรื่องของ Thesis ของผมในแบบ Revolution และเกิดประโยชน์ในระดับ Creative Economy ครับเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราได้เรียนกับอาจารย์ พจน์นารถ ซีบังเกิด ท่านอาจารย์ถามพวกเราว่าอยากจะให้พูดอะไรเกี่ยวกับเรื่อง Research เราก็สรุปกันว่าอยากฟังภาพรวมและปัจจะสำคัญในการทำ Research และจริง ๆ แล้วท่านได้เตรียมการสอน Power Point ตรงกับที่เราต้องการอยู่แล้วจึงทำให้พวกเราได้ตรงตามที่ต้องการมากมายครับ

สำหรับตัวผมเองผมก็ได้รับความรู้และทำให้ผมได้แนวคิดของการที่จะทำ Thesis ของผมชัดเจนมากขึ้น และก็มีผลตามมาก็คือทำให้ผมกังวลน้อยลงด้วยครับ

สิ่งที่ผมจะพูดถึงก็คือ

1.ผมได้ความชัดเจนและเป้าหมายที่ต้องการมากขึ้นเกี่ยวกับการเรื่องหัวข้อ เนื่องจากอาจารย์พจนารถ แนะนำเราถึงระดับของนวัตกรรมมี 3 แบบคือ Improvement, Evolution ,Revolution และทำให้ผมสามารถเลือกแบบของ Thesis ได้ดีมากขึ้นคือ ผมอยากจะเลือกทำแบบ Revolution เพราะน่าจะสร้าง Thesis ให้มีคุณค่ามากขึ้น

2.ผมได้แนวคิดในการที่จะอธิบาย Thesis ของผมในเรื่องของการก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อเนื่องต่อไปได้อย่างไร และทำให้ผมเลือกที่จะอธิบายและทำเรื่องของ Thesis ของผมในแบบ Revolution และเกิดประโยชน์ในระดับ Creative Economy ครับ

3.ผมได้รับทราบถึงปัจจัยสำคัญต่าง ๆ และที่ผมได้รับและจะเตรียมตัวก็คือ การเตรียมทีม(Teamwork)ในการช่วยเหลือเพื่อทำ Thesis ให้สำเร็จให้ได้เช่น คนอ่าน,คนเก็บข้อมูล,คนวางแผนและคำณวน และอื่น ๆ

4. และถ้าผมทำได้สำเร็จจริงและก่อนคนอื่น(ผมตั้งใจทำให้ได้ตามเวลาที่เหมาะสม ไม่รีบเร่งให้เสร็จเร็วที่สุดครับ) ผมจะอาสาเป็น Teamwork ให้เพื่อน ๆ ที่ยังขาดตัวช่วยและยังไม่เสร็จ เพราะเป็นเป้าหมายของผมอยู่แล้วซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะตรงกับ Happiness Capital,Social Capital,Sustainability Capital และผมจะพยายามสร้างให้เป็น Cultural Capital ของ Ph.D.3 SSRU ,Ph.D.P ของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และถ้าเป็นได้ผมก็จะพยายามสร้างต่อไปในรูปแบบของ Learning Community ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
รายงานการพัฒนาการเรียนรู้ จากการได้ศึกษากับอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด
25 กรกฎาคม 2552
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอประเด็นที่สนใจในการทำวิจัยทุกคน ดิฉันได้นำเสนอประเด็น " นวัตกรรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของคนวัยทองในอนาคต" ส่วนที่ยังไม่ได้นำเสนอแต่เป็นประเด็นที่สนใจ มี ดังนี้
1. การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาวะชุมชน
2. การพัฒนาความร่วมมือด้านสุขภาพของสถานศึกษาและองค์กรท้องถิ่น
3. นวัตกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 ด้านการสอนคิด
4. ระบบการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในอนาคต
5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ใช้นวัตกรรมกับ Performance
6. การบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้ทฤษฎี 8 K's
อาจารย์ได้อธิบายว่า Innovation มี 3 ระดับ
1. Improvement ปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้ดีกว่าเดิม
2. Evolution เปลี่ยนพฤติกรรม วิธีการ รูปแบบผู้รับบริการ
3. Revolution เปลี่ยนไปทั้งระบบที่สำคัญต้องมีกฎหมายรองรับ เป็นระดับ Macro
ดังนั้นการจะทำวิจัยในระดับปริญญาเอก ควรจะเป็นระดับที่ 2 ขึ้นไป
ถามว่าทำไมต้องมี Innovation คำตอบคือเมื่อองค์กรหรือสินค้าเติบโต
ไประยะหนึ่งมันจะdown จึงต้องมี Innovation เพื่อให้องค์กรหรือสินค้าเติบโตต่อไปได้ การจะมี Innovation ต้องมี Creativity ก่อน และเมื่อนำมาปฏิบัติจริง เป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาเขาได้อย่างแท้จริง จึงเป็น Innovation
คำถาม งานวิจัยคืออะไร
ตอบ เป็นการเรียนที่ต้องตั้งใจ และเป็นการลงทุน ในการที่จะค้นหาข้อเท็จจริงและข้อมูลที่สำคัญ
ระดับของการวิจัย มี ดังนี้
1. Me too เธอทำ ฉันทำ
2. I can do better ต่อยอด Research ของคนอื่น
3. Original คิดเอง ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
4. Novel ยิ่งใหญ่ เป็นทฤษฎีใหม่ได้ ต้องใช้เวลานาน ทำวิจัยแล้วนำมาเขียนหนังสือ
สิ่งสำคัญในการทำวิจัย
1. อย่าทำเพราะเป็นหน้าที่เท่านั้น แต่ต้องทำเพราะสงสัยหรือสนใจจริง ๆ
2. ต้องมีความตั้งใจ เอาใจใส่ มุ่งมั่น
3. อย่าทำคนเดียว
ลักษณะของงานวิจัยที่ดี
1. ภาษาต้องน่าอ่าน ใหม่ คม
2. เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
3. มีความเชื่อมั่น
4. มีข้อมูลที่ดี
5. มีเพื่อนที่ดี
6. มีปัญญาดี
7. มีมารยาท
ขั้นตอนการทำวิจัย
1. เตรียม
2. ทำงาน
3. หาเวทีในการนำเสนอ
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. Internet/web page
2. Libraries
3. Experts in the Field
4. Colleagues & Collaborators
คำถามที่ดีในการวิจัย
1. ทำได้จริง
2. น่าสนใจ
3. อ้างอิงในระดับสูงได้
4. มีจริยธรรม
5. ตรงประเด็น
ด้วยความเคารพอย่างสูง
Jiraphorn Sawasdiruk 087-066-2359

 

 

 

บริหารคน บนกระแสโลกาภิวัตน์ (ตอนที่1)

ทุนมนุษย์ = ทุนปัญญา+ทุนทางสังคม+อารมณ์ ความรู้สึกและจิตใจ

การให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานที่ดีนั้น ต้องไม่เป็นเพียงตอบสนองความต้องการแค่เชิงกายภาพเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงความต้องการด้านจิตใจของคนทำงานด้วย ผู้นำองค์กรต้องคิดใหม่ทำใหม่โดยปรับกระบวนทัศน์การบริหารจากเดิมที่เชื่อว่า ภาวะผู้นำ คือ ความสามารถในการแปรเปลี่ยนวิสัยทัศน์ขององค์กรให้มีผลในทางปฏิบัติในทันที โดยมองข้ามการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรออกไป

ในยุคสมัยนี้ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากความสามารถในการเชื่อมต่อจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ที่เกี่ยวกข้องกับความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร อย่างมืออาชีพ

กลยุทธ์หนึ่งของการปรับการบริหารบุคลากรในองค์กร คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จากเดิมที่เน้นระเบียบธุรการอย่างเป็นทางการไปสู่รูปแบบการเห็น "คน" เป็น "คน" ที่มี่อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ชีวิต จิตใจ ไม่ใช่เพียงเป็น "ทรัพยากร" ประเภทหนึ่งในการผลิต

ทักษิณานันท์

080-6148578

บริหารคน บนกระแสโลกาภิวัตน์ (ตอนที่2)

(Human Capital) = Intellectual Capital +Social Capital+(Emotional Capital)

ศาสตร์ใหม่ในการบริหาคนยุคโลกาภิวัตน์ ใช่ว่าจะละเลยคุณค่าเดิมของแนวทางการบริหารคนไปเสียทั้งหมด แน่นอนที่ว่า การเห็นความสำคัญของการสร้างทุนทางปัญญา(Intellectual Capital) เป็นผลมาจากการศึกษา ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ คู่ขนานกันไปกับการพัฒนาทุนมนุษย์(Human Capital)จำเป็นต้องให้คุณค่าและความสำคัญต่อการสร้างทุนทางจิตใจ (Psychological capital) ที่เชื่อมั่น การมองโลกในแง่ดีและมีความมุ่งมั่น อดทน ยืดหยุ่น คล่องตัว พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบไม่สามารถคาดเดา เช่นเดียวกับการสร้างทุนทางสังคม (Social Capital) ที่มีผลต่อคุณภาพงานและคุณภาพชีวิตของคนทำงาน คนทุกคนต้องการผู้ที่จะเข้ามาสนับสนุน ยอมรับเป็นพวก องค์กรที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ด้วยคนทำงานที่มีความแตกต่างหลากหลาย จะประสบความสำเร็จบนเวทีโลกยุคใหม่ การศึกษาวิจัยในเรื่องของการบริหารคนจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าการที่องค์กรสร้างการยอมรับและรู้จักใช้ในเรื่องของความแตกต่างของบุคลากรภายในองค์กร ไม่เพียงแต่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังทำให้เกิดหนทางไปสู่ค่านิยมสร้างสรรค์ขององค์กรได้

ทักษิณานันท์

080-6148578

พี่ๆ เพื่อนๆทุกคน

อย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะค่ะว่า "การบริหารคน บนกระแสโลกาภิวัตน์ สูตร Human Capital = Intellectual Capital +Social Capital+Emotional Capitalกับทฤษฎี 8 K’ s และ 5 K’ s ของ ดร.จีระจะมาสนับสนุนสูตรนี้ได้อย่างไร? ไว้เจอกันตอนหน้านะค่ะ

ทักษิณานันท์

080-6148578

เรียนท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้าน ดังนี้ค่ะ

ข้อ 1. อาจารย์จีระได้ 8K’s และ 5K’s มาเพราะอะไร

ตอบ ท่านอาจารย์ได้ 8K’s และ 5K’s มาเพราะ

1. ท่านอาจารย์เล็งเห็นแล้วว่า การลงทุนที่สำคัญสุด คือ การลงทุนในมนุษย์ และ การจัดการที่ยากสุด คือ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมา รวมทั้งการทำการวิจัย ทั้งทางตรง ทางอ้อม หรือ แม้กระทั่งการสัมภาษณ์ผู้อาวุโสท่านต่างๆ อาทิเช่น ท่านพารณ อิศรเสนา ตามหนังสือ มนุษย์พันธุ์แท้ ทำให้ท่านอาจารย์จีระ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้ทฤษฎีดังกล่าว

ข้อ 2. รายละเอียดเพิ่มเติมของ 8K’s และ 5K’s

8K’s ประกอบด้วย

1. Human Capital = ทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนในการหาความรู้ขั้นพื้นฐานการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งทุกคนจะต้องมี เช่น การศึกษาภาคบังคับ โดยที่บุคคลใดก็ตามที่มีเพียงทุนขั้นนี้อยู่เพียงอย่างเดียว ก็สามารถประกอบอาชีพได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้สามารถประกอบอาชีพในระดับที่ดีขึ้น ควรทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

2. Intellectual Capital = ทุนทางปัญญา เป็นทุนที่ได้จากการแสวงหาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นบุคคลที่สามารถคิดเป็น วิเคราะห์เป็น นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นทุนที่อาจมีทั้งการศึกษาในสถาบัน หรือ การศึกษาในประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์ทำงานก็ได้

3. Ethic Capital = ทุนทางจริยธรรม เป็นทุนที่มนุษย์ต้องใช้ในการฝึกฝนให้นำทุนมนุษย์ หรือ ทุนทางปัญญา ไปใช้ในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งทุนทางจริยธรรม นั้นสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สามารถวัดได้จากความคิด การกระทำ แต่ไม่สามารถวัดได้จากทุนมนุษย์ หรือ ทุนทางปัญญา เพราะผู้ที่มีทุนมนุษย์หรือ ทุนทางปัญญา สูง อาจมีทุนทางจริยธรรมต่ำก็ได้ ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ อาจต้องลงทุนในการสร้างทุนทางจรยธรรมให้กับบุคคลในองค์กรด้วย

4. Happiness Capital = ทุนแห่งความสุข เป็นทุนที่ทุกคนแสวงหา โดยความคิด การกระทำใดก็ตาม ต้องดำเนินอย่างมีความสุขของตนเอง และสิ่งสำคัญ คือ การที่ต้องคำนึงความสุขของผู้อื่นด้วย มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหา หรือ จาดทุนทางจริยธรรมได้

5. Social Capital = ทุนทางสังคม เป็นทุนที่ทุกคนเริ่มสะสมตั้งแต่เกิด เพราะตั้งแต่เกิดทุกคนมีสังคม ทั้งนั้น เช่น สังคมครอบครัว สังคมโรงเรียน สังคมที่ทำงาน แต่ละสังคมก็เป็นชุมชนย่อย ที่ทุกคนต้องมีการเรียนรู้ เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข เป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ

6. Sustainability Capital= ทุนแห่งความยั่งยืน จากสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งผู้ที่สามารถอยู่รอดได้ จะต้องมีการพัฒนาตน พัฒนาความรู้ รวมถึงการนำมาปรับใช้ให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งเรียกว่าการลงทุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และการจะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบ การพึ่งตนเอง โดยการเรียนรู้ หรือฝึกฝนการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น กระทำในสิ่งที่ดีระยะสั้น สมดุลระยะยาว ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในการพัฒนา เพื่อความเจริญก้าวหน้าของชุมชน และสังคม

7. Digital Capital = ทุนทางIT เนื่องจากปัจจุบันวิวัฒนาการมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนมีรับรู้ขาวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องการมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อทำให้สามารถแข่งขัน กับนานาอารยประเทศได้

8. Talented Capital = ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เป็นสิ่งที่ลงทุนนอกเหนือจากการลงทุนทางความรู้และปัญญา แล้ว ทุกคนจะต้องมีการลงทุนประเภทนี้ด้วย มิฉะนั้นอาจเข้าข่ายที่ว่า ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด เพราะการเป็นคนที่มีอคติ มีทัศนคติที่ไม่ดี อาจทำให้พลาดโอกาสที่ดี หรือ กระทำในสิ่งที่ไม่ดีออกมาได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในรอบชีวิตของคนเรา เริ่มตั้งแต่แรกเกิด เรียนรู้ เพื่อการอยู่รอด เช่น การร้องไห้ เพราะหิว พอโตขึ้นจะต้องมีการศึกษาในระดับภาคบังคับ (Human Capital) และระดับสายวิชาชีพ หรือ มหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรณีที่มีทุนทรัพย์เพียงพอ หรืออาจเรียนรู้จากประสบกาณ์ที่ผ่านเข้ามาจัดเป็น Intellectual Capital , Ethic Capital , Social Capital , Happiness Capital , Digital Capital , Talented capital ที่ทุกคนจะต้องมี มิฉะนั้น จะเป็นการดำรงชีพที่อย่างไม่มีความสุข และไม่ยั่งยืน และหากมีในทุนต่างๆแล้ว ก็จะมี Sustainability Capital ด้วย และเมื่อเหตุการณ์เปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน ความคิด หรือ การกระทำก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย มิฉะนั้น จะทำให้ไม่สามารถยืนอยู่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้อง จะต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา หรือ ที่เรียกว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)

ส่วนในกรณี 5 K’s นั้น เป็นการจัดหมวดหมู่ของการลทุนเกี่ยวมนุษย์อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้แก่

1. Creative Capital = ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2. Knowledge Capital = ทุนทางความรู้

3. Innovation Capital = ทุนทางนวัตกรรม

4. Emotional Capital = ทุนทางอารมณ์

5. Cultural Capital = ทุนทางวัฒนธรรม

กล่าวโดยสรุป คือ ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้จะต้องรวดเร็ว พร้อมกับมีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆนี้ ก็จะเป็นการลงทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Capital) แต่การคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ มีสิ่งใหม่ ที่สามารถสร้างประโยชน์และคุณค่าที่มากขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพียงพอเดียว ก็จะเท่ากับ Innovation Capital และทั้ง Creative Capital และ Innovation Capital ก็จัดเป็น Knowledge Capital เพราะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น แต่เพื่อให้สิ่งต่างๆนั้นยั่งยืน สิ่งที่สร้างขึ้นนั้น จะต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ด้วย นั่นคือ Cultural Capital และการสังคมแต่ละสังคมจะอยู่กันอย่างเป็นสุขและยั่งยืน ทุกคนในสังคม จะต้องมีการเรียนรู้เรื่องของอารมณ์ ที่สมควร หรือ ไม่สมควรแสดงออก เพราะสภาพความเป็นอยู่ หรือ สถานการณ์ที่แต่ละคนจะพบ จะเจอนั้น จะเป็นแรงกดดัน ซึ่งถ้าทุกคนแสดงอย่างที่ต้องการในทุกเรื่อง จะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย ไม่เป็นสุข การที่รู้จักระงับ หรือ แสดงออกซึ่งอารมณ์นั้น เรียกว่า Emotional Capital

3. มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ในต่างประเทศ อาทิเช่น

Title : Mutuality, reciprocity and mature relatedness : a psychodynamic perspective on sustainability

Author(s) : Mnguni, Peliwe Peilisa ph.d , Swinburne University of Technology

Title : Environmental management systems – a way towards sustainable development in universities”,

Author(s) : Kaisu Sammalisto, successfully defended, 17 December 2007, IIIEE, University of Lund

Title : The Sustainable Development of Heritage Cities and their Regions: Analysis, Policy, Governance

Author : Antonio Russo

ส่วนข้อที่เหลือ หนูจะทยอยส่งตามมาค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอคุยกับท่านอาจารย์เรื่องของ Research ทางสังคมศาสตร์ในเรื่องของ ตัวแปร (Variable) ซึ่งหนูได้ไปอ่านเอกสารของท่าน ศ.ดร.บุญธรรม  จิตต์อนันต์ ดังนี้คะ    

 

สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)

 

            ความหมายโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว หมายถึง คำกล่าวเป็นเชิงทำนายผลล่วงหน้าตามประเด็นที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือปัญหาของการวิจัย มีผู้ให้ความหมายไว้ในแนวทางเดียวกัน ดังนี้

สมมติฐานหมายถึง

1. ข้อสมมติฐานที่ใช้เป็นข้อมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลองหรือกาวิจัย

2. ข้อความที่พยายามอธิบาย หรือทำนายปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า

 3. ข้อเสนอ เงื่อนไข หรือหลักการ เป็นข้อมูลสันนิษฐานที่ตั้งไว้เพื่อหาข้อมูลสรุป โดยการทดสอบกับข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุผล

4. ทฤษฎีที่ยังมิได้พิสูจน์ ข้อสมมติฐาน หรือข้อสันนิษฐาน หรือข้อสันนิษฐานที่ยอมรับกันชั่วคราว เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงที่ปรากฏหรือใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการค้นคว้าวิจัยให้ละเอียดมากขึ้นต่อไป

 

จากนิยามทั้งหมดที่กล่าวมาอาจกล่าวสรุปได้ว่า

1.  สมมติฐานเป็นข้อสันนิษฐาน   ข้อสมมติหรือคำทำนายปรากฏการณ์ที่ตั้งไว้เพื่อทำการทดลองหาเหตุผล หรือพิสูจน์กับข้อเท็จจริงว่าจะเป็นจริงตามที่สันนิษฐานหรือคาดการณ์ไว้หรือไม่

2. คำกล่าวที่ทำนายหรือคาดการณ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า

 

วัตถุประสงค์ของการตั้งสมมติฐาน

            1. เพื่อให้คำอธิบายชี้แนะเกี่ยวกับข้อเท็จจริงบางอย่างของปรากฏการณ์ และเป็นตัวนำไปสู่การค้นคว้าข้อเท็จจริงอื่น ๆ

            2. สมมติฐานที่ได้มาจากความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา จะเป็นตัวช่วยในการศึกษาค้นคว้า  การจัดระเบียบข้อเท็จจริง

            3.เป็นแนวทางในการแสวงหา ค้นหา สิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่รู้ หรือใช้เป็นพื้นฐานเพื่อการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมให้ละเอียดลึกซึ้งต่อไป

           

เนื่องจากในการ ตั้งสมมติฐาน สำหรับการวิจัย จะมีเรื่องเกี่ยวกับ การพิจารณาปัญหาต่าง ๆ จากปรากฏการณ์และตัวแปร จึงขอนำเรื่องปรากฏการณ์และตัวแปรมากล่าวไว้ก่อนเพื่อความเข้าใจเรื่องสมมติฐาน

 

เกี่ยวกับตัวแปรมีผู้ให้นิยามไว้อีกดังนี้

            1. เฟรเดอริค วิลเลี่ยมส์ (Frederick Williams) ได้ให้นิยามของ ตัวแปร (Variable) ไว้ว่า คุณลักษณะในแง่ความแตกต่างและผลกระทบต่อกันของปรากฏการณ์ ตามเค้าโครงการจำแนกที่กำหนด

            2. จูเลียน ไซมอน (Julian L.Simon) ให้นิยามไว้ว่า ตัวแปร (Variable) หมายถึง ปริมาณของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่แตกต่างกันไปหรือค่าที่แตกต่างกันของตัวอย่างต่าง ๆ (samples) ที่นำมาศึกษา

            3. วิลเลียม  บรูค (Willian D.Brooks) ได้อธิบาย ไว้ใกล้เคียงกันว่า ตัวแปรใช้สำหรับจำแนกสิ่งของ (Objects) หรือเหตุการณ์ (Events)พร้อมด้วยคุณสมบัติ (Properties) สำหรับการศึกษาค้นคว้า หรือการวิจัยเชิงประจักษ์(Empirical)

            โดยสรุป ตัวแปร (Variables) หมายถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติทีแตกต่างกันไปของปรากฏการณ์ซึ่งอาจเป็นสิ่งของรวมถึงสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต หรือเหตุการณ์ อาจแสดงให้เห็นความแตกต่างหรือผลกระทบต่อกันได้ชัดเจนเมื่อทำการศึกษาวิจัย

 

            ชนิดของตัวแปร

            ตัวแปรที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ

            1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อตัวแปรตาม (Dependent Variable)  ในการวิจัยหาสาเหตุและผล (Cause-and-Effect research) ตัวแปรที่เป็นสาเหตุ (Cause variable) จะเป็นตัวแปรต้น

            2. ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ ตัวแปรที่ถูกอิทธิพลหรือผลกระทบจากตัวแปรต้น หรือตัวแปรทีเป็นผลเกิดขึ้น (Effect, Consequent,resultant) จากตัวแปรต้น

            ในการวิจัยหาสาเหตุและผล ตัวแปรที่เป็นผล (Effect Variable) จะเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variable) ดังตัวอย่าง

ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น

1.   การสูบบุหรี่ของมารดา

2.      การออกกำลังกาย

3.      น้ำหนัก

ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว มีผลต่อ ตัวแปรตาม คือ น้ำหนักเด็กแรกเกิด

 

            3. ตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variables) ตัวแปรสอดแทรกเป็นตัวแปรที่สังเกตยาก หรือวัดโดย๖รงไม่ได้ ตัวแปรนี้จะสอดแทรกเข้ามา ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนรู้ระหว่างตัวแปรที่จะเขียน (Stimulus Variable หรือ Information Inputs) กับตัวแปรตอบสนอง (Response Variables)ได้แก่  กรใช้ประสาท (Senses) ทั้ง 5 อย่าง คือ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น และชิมรสเพื่อการเรียนรู้

            ตัวแปรที่สอดแทรก เข้ามาในกระบวนการเรียนรู้นี้ได้แก่ แรงกระตุ้น (Motive) ความถนัด (Aptitude) แรงขับ (Drive) ความเหนื่อย (Fatigue) ความหิว (Hunger)  ตัวแปรสอดแทรกเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้หรือผลการเรียนของนักเรียนหรือผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนอาจจะทราบหรือไม่ทราบเลยว่า นักเรียนกำลังเหนื่อยล้าเพราะอดนอน กำลังหิวหรือมีความพร้อมในการเรียน (Readiness) สูง เป็นต้น

            ตัวแปรสอดแทรกนี้ส่งผลกระทบกับตัวแปรตาม นักพฤติกรรมศาสตร์ใช้สำหรับอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามในกระบวนการเรียนรู้ หรือด้านอื่นทางพฤติกรรมศาสตร์

 

ประเภทของสมมติฐาน

            สมมติฐาน  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

            (1) สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis)

(2)สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

1. สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis)  เป็นสมมติฐานที่กล่าวถึง ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ สมมติฐานทางวิจัยนี้ แบ่งตามลักษณะการเขียนออกเป็น 2 แบบ คือ

                        1.1 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่สมารถระบุทิศทางในความสัมพันธ์ของตัวแปรว่าสัมพันธ์ไปในทางใด (บวกหรือลบ) หรืออาจระบุในเชิงเปรียบเทียบ เช่น มากกว่า - น้อยกว่า, สูงกว่า - ต่ำกว่า, ดีกว่า เลวกว่า เป็นต้น

                        1.2 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ไม่ระบุทิศทางในความสัมพันธ์ของตัวแปรหรือทิศทางของการเปรียบเทียบ เพียงแต่ระบุว่ามีความสัมพันธ์หรือมีความแตกต่างระหว่างตัวแปร

2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนเปลี่ยนรูปมาจากสมมติฐานทางวิจัยให้อยู่ในรูปของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สัญลักษณ์ที่แทนคุณลักษณ์ของประชากรซึ่งเรียกว่า ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) มาเขียนอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปร หรืออธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่ม แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

            2.1 สมมติฐานเป็นกลาง (Null Hypothesis) อาจเรียกสมมติฐานศูนย์ หรือสมมติฐานไร้ความแตกต่างแทนด้วยสัญลักษณ์ H0 เป็นสมมติฐานที่ระบุถึงความมีแตกต่างหรือไม่มีความสัมพันธ์กันของค่าพารามิเตอร์ (คุณลักษณะของประชากร)

            2.2 สมมติฐานอื่น (Alternative Hypothesis) อาจเรียกสมมติฐานตัวเลือก หรือสมมติฐานแสดงความแตกต่าง แทนด้วยสัญลักษณ์ H เป็นสมมติฐานทางสถิติที่ระบุถึงค่าของพารามิเตอร์ในลักษณะทีเป็นส่วนประกอบของ Null Hypothesis ในแง่ที่ว่าถ้า Null Hypothesis ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ควรจะเป็นคืออะไร ก็ต้องเขียนในรูปสมมติฐานอื่น (Alternative Hypothesis)

 

สมมติฐานของการวิจัย

การวิจัยบางเรื่องผู้วิจัยอาจจะระบุสมมติฐานของการวิจัยด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์ทั้งในด้านปฏิบัติและด้านทฤษฎี  อย่างไรก็ดี  ในกรณีที่การวิจัยมีสมมติฐานประกอบ ผู้วิจัยจะต้องระบุอย่างมีความหมาย อย่างน้อยเป็นไปตามคำแนะนำต่อไปนี้

1. เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์หรือปัญหาการวิจัยข้างต้น สมมติฐานที่ระบุนั้นจะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ ผู้อ่านสามารถเข้าใจทิศทางหรือความประสงค์ของผู้วิจัยได้อย่างดี คำศัพท์หรือข้อความที่ใช้ควรจะต้องมีความหมายแน่นอน  ไม่กำกวม

2. คำว่าสมมติฐานนั้น โดยทั่วไปแล้วหมายถึงคำกล่าวเป็นเชิงทำนายผลล่วงหน้า ตามประเด็นที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือปัญหาของการวิจัย เพราะฉะนั้นสมมติฐานที่ดีนั้น จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือปัญหาดังกล่าว การระบุสมมติฐานเรื่องหนึ่ง และระบุวัตถุประสงค์หรือปัญหาอีกเรื่องหนึ่งโดยหาความเกี่ยวข้องต่อกันมิได้นั้น เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง

3. โดยปกติแล้ว สมมติฐานแต่ละเรื่องนั้นเกิดจากความเชื่อของผู้วิจัยแต่ละคนว่า สิ่งหนึ่ง ๆ นั้นเป็นอย่างไรและทำไม  ความเชื่อดังกล่าวอาจจะตั้งบนฐานของเหตุผลส่วนตัวหรือแนวทฤษฎีของแต่ละวิชาการ เพราะฉะนั้นในการกำหนดสมมติฐานแต่ละข้อนั้น ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องระบุเหตุผลหรือฐานสนับสนุนของสมมติฐานนั้น ๆ ประกอบไว้เสมอ เหตุผลหรือฐานสนับสนุนเหล่านั้นควรจะสอดคล้องกับทฤษฎีหรือแนวความคิดทางวิชาการ  อย่าลืมว่าสมมติฐานโดด ๆ โดยไม่อธิบายเหตุผลประกอบนั้นคือสมมติฐานที่ฟุ้งเฟ้อ  และเลื่อนลอยไม้เป็นที่ปรารถนาแก่การวิจัย

โรเบอร์ต เทรเวอร์ (Robert M. W. Travers) ให้ข้อแนะนำในการตั้งสมมติฐาน ดังนี้

1.      ควรเขียนสมมติฐานให้รวบรัดชัดเจน

2.      เป็นสมมติฐานที่ใช้ทดสอบ

3.      สมมติฐานควรระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Variables)

4.      มีขอบเขตจำกัดแน่นอน

5.      สมมติฐานต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากที่สุด

6.      ตั้งสมมติฐานด้วยข้อความที่เข้าใจง่าย

7.      สมมติฐานที่คัดเลือกไว้สามารถที่จะทดสอบได้ภายในเวลาที่เหมาะสม

 

ตัวแปรในการวิจัย

นักวิจัยบางคนได้แสดงรายการตัวแปรอย่างละเอียดในรายงานการวิจัย โดยแยกแยะให้เห็นชัดเจนว่า การวิจัยนั้น ๆ  มีตัวแปรทั้งหมดกี่ตัว  ตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดเป็นตัวแปรคุม และคุมตัวแปรชุดใด เหล่านี้เป็นต้น ที่จริงแล้ว การแสดงรายการตัวแปรโดยแยกแยะให้เห็นชัดเจน เป็นสิ่งที่ดีและพึงกระทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจโครงสร้างของการวิจัยและสามารถติดตามเรื่องราวในรายงานการวิจัยได้ดี

            เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น อาจสรุปหัวข้อและเนื้อหา สำคัญ ๆ ได้ดังนี้

            กระบวนการวิจัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอน วิธีการ และลำดับการกระทำที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

            การวิจัยเป็นเรื่องสำคัญที่ก่อประโยชน์ให้กับมนุษย์เป็นอันมาก อาจแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ  คือ

            (1) การวิจัยเชิงพรรณนา

(2) การวิจัยแบบจำแนก

(3) การวิจัยแบบวัดผล หรือ ประมาณค่า 

(4) การวิจัยแบบเปรียบเทียบ 

(5) การวิจัยแบบสัมพันธ์ 

(6) การวิจัยแบบจัดระบบ 

(7) การวิจัยแบบสำรวจ 

(8) การวิจัยแบบทดสอบสมมติฐาน 

(9) การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ 

(10) การวิจัยประยุกต์ 

(11) การวิจัยกิริยา  

(12) การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ 

(13) การวิจัยแบบทดสอบ  

(14) การศึกษาเป็นกรณี 

(15) การวิจัยจากเอกสาร  

(16) การวิจัยสนาม 

(17) การวิจัยแบบสร้างสรรค์

 

สำหรับขั้นตอนในการวิจัย

- เริ่มตั้งแต่การตั้งปัญหาเพื่อการวิจัยโดย

- ศึกษาสภาพปัญหาต่าง ๆ ในด้านสังคมศาสตร์ 

- อธิบายความสำคัญของปัญหา

- ดำเนินการตั้งวัตถุประสงค์ 

- การทำตรวจเอกสาร 

- พิจารณาเขียนกรอบทางทฤษฎี/กรอบแนวความคิด  

- ตั้งสมมติฐานของการวิจัย  (ถ้ามี)

- กำหนดตัวแปรต่าง ๆ ในการวิจัย

- วิธีการวิจัย  สถิติ  เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย 

- การดำเนินงาน

- การเขียนรายงานวิจัย

  (จากหนังสือ การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ของท่าน ศ.ดร.บุญธรรม  จิตต์อนันต์)

                                                                    

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

วันนี้หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอคุยกับท่านอาจารย์เรื่องของ Research ทางสังคมศาสตร์ในเรื่องของ ตัวแปร (Variable) ซึ่งหนูได้ไปอ่านเอกสารของท่าน ศ.ดร.บุญธรรม  จิตต์อนันต์ ดังนี้คะ    

สมมติฐานของการวิจัย

การวิจัยบางเรื่องผู้วิจัยอาจจะระบุสมมติฐานของการวิจัยด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์ทั้งในด้านปฏิบัติและด้านทฤษฎี  อย่างไรก็ดี  ในกรณีที่การวิจัยมีสมมติฐานประกอบ ผู้วิจัยจะต้องระบุอย่างมีความหมาย อย่างน้อยเป็นไปตามคำแนะนำต่อไปนี้

1. เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์หรือปัญหาการวิจัยข้างต้น สมมติฐานที่ระบุนั้นจะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ ผู้อ่านสามารถเข้าใจทิศทางหรือความประสงค์ของผู้วิจัยได้อย่างดี คำศัพท์หรือข้อความที่ใช้ควรจะต้องมีความหมายแน่นอน  ไม่กำกวม

2. คำว่าสมมติฐานนั้น โดยทั่วไปแล้วหมายถึงคำกล่าวเป็นเชิงทำนายผลล่วงหน้า ตามประเด็นที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือปัญหาของการวิจัย เพราะฉะนั้นสมมติฐานที่ดีนั้น จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือปัญหาดังกล่าว การระบุสมมติฐานเรื่องหนึ่ง และระบุวัตถุประสงค์หรือปัญหาอีกเรื่องหนึ่งโดยหาความเกี่ยวข้องต่อกันมิได้นั้น เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง

3. โดยปกติแล้ว สมมติฐานแต่ละเรื่องนั้นเกิดจากความเชื่อของผู้วิจัยแต่ละคนว่า สิ่งหนึ่ง ๆ นั้นเป็นอย่างไรและทำไม  ความเชื่อดังกล่าวอาจจะตั้งบนฐานของเหตุผลส่วนตัวหรือแนวทฤษฎีของแต่ละวิชาการ เพราะฉะนั้นในการกำหนดสมมติฐานแต่ละข้อนั้น ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องระบุเหตุผลหรือฐานสนับสนุนของสมมติฐานนั้น ๆ ประกอบไว้เสมอ เหตุผลหรือฐานสนับสนุนเหล่านั้นควรจะสอดคล้องกับทฤษฎีหรือแนวความคิดทางวิชาการ  อย่าลืมว่าสมมติฐานโดด ๆ โดยไม่อธิบายเหตุผลประกอบนั้นคือสมมติฐานที่ฟุ้งเฟ้อ  และเลื่อนลอยไม้เป็นที่ปรารถนาแก่การวิจัย

โรเบอร์ต เทรเวอร์ (Robert M. W. Travers) ให้ข้อแนะนำในการตั้งสมมติฐาน ดังนี้

1.      ควรเขียนสมมติฐานให้รวบรัดชัดเจน

2.      เป็นสมมติฐานที่ใช้ทดสอบ

3.      สมมติฐานควรระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Variables)

4.      มีขอบเขตจำกัดแน่นอน

5.      สมมติฐานต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากที่สุด

6.      ตั้งสมมติฐานด้วยข้อความที่เข้าใจง่าย

7.      สมมติฐานที่คัดเลือกไว้สามารถที่จะทดสอบได้ภายในเวลาที่เหมาะสม

 

ตัวแปรในการวิจัย

นักวิจัยบางคนได้แสดงรายการตัวแปรอย่างละเอียดในรายงานการวิจัย โดยแยกแยะให้เห็นชัดเจนว่า การวิจัยนั้น ๆ  มีตัวแปรทั้งหมดกี่ตัว  ตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดเป็นตัวแปรคุม และคุมตัวแปรชุดใด เหล่านี้เป็นต้น ที่จริงแล้ว การแสดงรายการตัวแปรโดยแยกแยะให้เห็นชัดเจน เป็นสิ่งที่ดีและพึงกระทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจโครงสร้างของการวิจัยและสามารถติดตามเรื่องราวในรายงานการวิจัยได้ดี

            เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น อาจสรุปหัวข้อและเนื้อหา สำคัญ ๆ ได้ดังนี้

            กระบวนการวิจัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอน วิธีการ และลำดับการกระทำที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

            การวิจัยเป็นเรื่องสำคัญที่ก่อประโยชน์ให้กับมนุษย์เป็นอันมาก อาจแบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ  คือ

            (1) การวิจัยเชิงพรรณนา

(2) การวิจัยแบบจำแนก

(3) การวิจัยแบบวัดผล หรือ ประมาณค่า 

(4) การวิจัยแบบเปรียบเทียบ 

(5) การวิจัยแบบสัมพันธ์ 

(6) การวิจัยแบบจัดระบบ 

(7) การวิจัยแบบสำรวจ 

(8) การวิจัยแบบทดสอบสมมติฐาน 

(9) การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ 

(10) การวิจัยประยุกต์ 

(11) การวิจัยกิริยา  

(12) การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ 

(13) การวิจัยแบบทดสอบ  

(14) การศึกษาเป็นกรณี 

(15) การวิจัยจากเอกสาร  

(16) การวิจัยสนาม 

(17) การวิจัยแบบสร้างสรรค์

 

สำหรับขั้นตอนในการวิจัย

- เริ่มตั้งแต่การตั้งปัญหาเพื่อการวิจัยโดย

- ศึกษาสภาพปัญหาต่าง ๆ ในด้านสังคมศาสตร์ 

- อธิบายความสำคัญของปัญหา

- ดำเนินการตั้งวัตถุประสงค์ 

- การทำตรวจเอกสาร 

- พิจารณาเขียนกรอบทางทฤษฎี/กรอบแนวความคิด  

- ตั้งสมมติฐานของการวิจัย  (ถ้ามี)

- กำหนดตัวแปรต่าง ๆ ในการวิจัย

- วิธีการวิจัย  สถิติ  เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย 

- การดำเนินงาน

- การเขียนรายงานวิจัย

  (จากหนังสือ การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ของท่าน ศ.ดร.บุญธรรม  จิตต์อนันต์)

                                                                    

วันนี้หนูขอคุยและส่งการบ้านกับท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ  หนูและเพื่อน ๆ คิดถึงท่านอาจารย์ม๊าก….มากคะ วันเสาร์นี้ (1สิงหาคม) ดีใจจังเลยที่จะได้พบท่านอาจารย์ และหนูมีคำถาม 2 คำถาม ไว้ถามท่านอาจารย์ด้วยคะ

สมศรี  นวรัตน์   081-9435033  รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

คุณฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

                ก่อนที่จะตอบโจทย์ที่อาจารย์ฝากให้คิดมา ผมอยากจะเล่าเรื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (คือตั้งแต่ 6 ก.ค – 25 ก.ค 52) ให้กับชาว Blog ได้รับทราบสักเล็กน้อยกล่าวคือ

                ช่วงนี้แทบทุกอุตสาหกรรมผู้บริหารและทีมงานคงจะต้องทบทวนและปรับแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ว่าในช่วง Crisis 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ยอดขายและผลประกอลการของบริษัทเป็นไปอย่างไร แทบทุกอุตสาหกรรมคงมีการปรับกำลังการผลิตและลดกำลังคน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาบุคคลกรที่มีอยู่ให้สามารถรองรับกับการกลับมาฟื้นตัวของธุระกิจที่จะมีขึ้นในอนาคต รวมทั้งการเพิ่มและปรับลด Budgeting ต่าง ๆ ซึ่งในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการหนีคงหนีไม่พ้นทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และ 2R’s

 

ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์

1.  Human Capital ทุนมนุษย์ (จากการเรียนรู้)

2.  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

3.  Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

4.  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

5.  Social Capital ทุนทางสังคม

6.  Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

7.  Digital Capital ทุนทาง IT

8. Talented Capital ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindset

 

ทฤษฎีทุน 5 ประการที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์

1. Creative Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2.  Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3.  Innovation Capital ทุนทางนวัตวกรรม

4.  Emotional Capital ทุนทางอารมย์

5.  Culture Capital ทุนทางวัฒนธรรม

 

ทฤษฎี 2 R’s ใช้ในการมองปัญหาและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

1.  Reality คือ การมองความจริง

2.  Relevance คือ การมองอย่างตรงประเด็น และเข้ากับสถานการณ์

               

ในส่วนขององค์กรธุรกิจที่ผมมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบริหารได้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรและธุรกิจสามารถผ่านพ้น Crisis นี้ โดยได้ผสมผสานทฤษฎีทุนในหลาย ๆ ทฤษฎี โดยเริ่มจาก ทฤษฎี 2 R’s, 8K’s และ 5K’s เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ กล่าวคือ

                ปี 2008 เรามียอดขายที่ 7,800 ล้านบาท มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 3,700 คน โดยในจำนวนนี้เป็นพนักงาน O/S = 981 คน ในปี 2009 เราคาดการณ์ว่ายอดขายจะลด 38.5% หรืออยู่ที่ 4,800 ล้านบาท

                เราจะต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  ทุกคนต้องทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ทุกคนจะต้องทำงานให้เกิดมูลค่าเพิ่ม  เราจะไม่ปลดพนักงาน สำหรับพนักงานประจำและ O/S เมื่อลาออกเราจะไม่ทดแทน

                เป้าหมายการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานทุกระดับจะต้องพัฒนาและฝึกอบรมในเรื่องที่ต้องรู้และควรรู้  56 ชั่วโมง / คน / ปี สำหรับพนักงานระดับจัดการ, 36 ชั่วโมง /คน/ปี สำหรับพนักงานระดับหัวหน้างานและวิศวกร และ 24 ชั่วโมง/คน/ปี สำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ

                ผ่านมา 2 ไตรมาส พนักงานปัจจุบันลดลงเหลือ 3,137 คน โดยในจำนวนนี้เป็นพนักงาน O/S = 521 คน จะเห็นได้ว่าพนักงานลดลงไปประมาณ 563 คน 

                เหตุผลที่บริษัทไม่ได้มีการปลดพนักงานออกเนื่องจากเรามองในเรื่องของทุนทางจริยธรรม, ทุนทางสังคม, ทุนทางปัญญา, ทุนแห่งการเรียนรู้และทุนแห่งความยั่งยืน เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพนักงานเมื่อเขาตกงานจะนำซึ่งปัญหาทางสังคมอีกหลายด้าน และอีกมุมมองเราจะสูญเสียพนักงานที่มีทักษะและฝีมือ ในขณะเดียวกันเราก็มีการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ทุกคนมีความรู้และตระหนักในเรื่องต่าง ๆ สิ่งที่เป็น Key ในการพัฒนาและปรับปรุงในปีนี้เรามุ่งเน้นในเรื่อง Quality Awareness, Productivity Improvement และการพัฒนา Innovation ในโครงการ 100 P Project และเมื่อ Volume กลับมาเหมือนก่อนที่จะเกิด Crisis เราคาดหวังว่าจะยังคงรองรับการผลิตได้โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังคน โดยใช้ Productivity Improvement และการพัฒนา Innovation เป็นเครื่องชี้วัดผลสัมฤทธิ์แห่งการปรับปรุง

โดยมีแผนธุรกิจ V2, Vision 2007-2011   

Management Policy, 2009

ตอบคำถามที่โจทย์ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดาภมย์ ฝากให้คิด

·       อาจารย์จีระได้ 8K’s และ 5K’s มาเพราะอะไร

ถ้ามองตามมุมมองทางด้านกฎแห่งกรรมจะเห็นได้ว่าในภพภูมิก่อน ๆ ท่านอาจารย์ได้สะสมกรรมดี ๆ ไว้มาก จึงส่งผลให้ท่านอาจารย์มาเกิดในครอบครัวที่ดีได้รับการหล่อหลอมและฝูกฝังทั้งทางด้านจริยธรรม ทางด้านสังคมให้มีจิตเป็นสาธารณะให้เป็นต้นมนุษย์ (Human Tree) ที่งดงามทั้งจิตด้านในและพฤติกรรมด้านนอก

ผลจากการสะสมกรรมดีในพบภูมิก่อน ๆ ที่ท่านอาจารย์ได้ทำมาจึงทำให้ในภพนี้ ท่านอาจารย์จะอ่านและเรียนรู้อะไรก็จะสามารถเข้าใจและ Creative ได้รวดเร็ว สรุปประเด็นปัญหาได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ได้อ่านและเรียนรู้มาแต่ภพภูมิก่อนมาก เมื่อมาอ่านเพิ่มเติมในภพภูมินี้จึงเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็ว

                เมื่ออ่านและสะสมองค์ความรู้ไว้อย่างมากมายก็จะสามารถ Creative ในสิ่งที่สร้างสรรค์กอปรกับท่านอาจารย์มีประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกรูรูอีกหลาย ๆ ท่าน จึงทำให้ท่านอาจารย์สามารถที่จะสร้างสรรค์และคิดทฤษฎี 8K’s, 5K’s และอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

 

·       อธิบายเพิ่มรายละเอียด 8K’s และ 5K’s

ในมุมมองของผมแล้วก่อนที่จะนำทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ไปใช้ควรจะมองทฤษฎี 2R’s ก่อน

-                   Reality คือการมองความจริง

-                   Relevance คือการมองอย่างตรงประเด็นและเข้ากับสถานะ

การที่จะลงมือปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหาใด ๆ ถ้าเรามองไม่ตรงประเด็น และเห็นความจริงที่เกิดขึ้นนั้น ๆ แล้วการแก้ปัญหาทุกอย่างก็จะล้มเหลว ในหลาย ๆ องค์กรและหลาย ๆ บริษัท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์แล้วก่อนที่จะลงมือและสรุปแก้ไขปัญหางานต่าง ๆ จะต้องยึดหลัก 3Gen ซึ่งในทฤษฎีนี้พูดไว้ใน Toyota Way หรือ Toyota University

                3Gen หรือ SAF เรียกเป็นภาษาไทยก็คือหลัก “3 จริง” นั่นคือ ต้องไปดูเครื่องจักรที่เป็นปัญหาดูลักษณะชิ้นงานที่เสีย และดูวิธีการปฏิบัติงานจริง เพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดของเสีย

 

3 Gen (ญี่ปุ่น)

SAF (อังกฤษ)

3 จริง

Genba

at Site

สถานที่ปฏิบัติงานจริง

เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

                ก่อนที่จะตอบโจทย์ที่อาจารย์ฝากให้คิดมา ผมอยากจะเล่าเรื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (คือตั้งแต่ 6 ก.ค – 25 ก.ค 52) ให้กับชาว Blog ได้รับทราบสักเล็กน้อยกล่าวคือ

                ช่วงนี้แทบทุกอุตสาหกรรมผู้บริหารและทีมงานคงจะต้องทบทวนและปรับแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ว่าในช่วง Crisis 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ยอดขายและผลประกอลการของบริษัทเป็นไปอย่างไร แทบทุกอุตสาหกรรมคงมีการปรับกำลังการผลิตและลดกำลังคน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาบุคคลกรที่มีอยู่ให้สามารถรองรับกับการกลับมาฟื้นตัวของธุระกิจที่จะมีขึ้นในอนาคต รวมทั้งการเพิ่มและปรับลด Budgeting ต่าง ๆ ซึ่งในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการหนีคงหนีไม่พ้นทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และ 2R’s

 

ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์

1.  Human Capital ทุนมนุษย์ (จากการเรียนรู้)

2.  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

3.  Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

4.  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

5.  Social Capital ทุนทางสังคม

6.  Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

7.  Digital Capital ทุนทาง IT

8. Talented Capital ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindset

 

ทฤษฎีทุน 5 ประการที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์

1. Creative Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2.  Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3.  Innovation Capital ทุนทางนวัตวกรรม

4.  Emotional Capital ทุนทางอารมย์

5.  Culture Capital ทุนทางวัฒนธรรม

 

ทฤษฎี 2 R’s ใช้ในการมองปัญหาและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

1.  Reality คือ การมองความจริง

2.  Relevance คือ การมองอย่างตรงประเด็น และเข้ากับสถานการณ์

                ในส่วนขององค์กรธุรกิจที่ผมมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบริหารได้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรและธุรกิจสามารถผ่านพ้น Crisis นี้ โดยได้ผสมผสานทฤษฎีทุนในหลาย ๆ ทฤษฎี โดยเริ่มจาก ทฤษฎี 2 R’s, 8K’s และ 5K’s เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ กล่าวคือ

                ปี 2008 เรามียอดขายที่ 7,800 ล้านบาท มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 3,700 คน โดยในจำนวนนี้เป็นพนักงาน O/S = 981 คน ในปี 2009 เราคาดการณ์ว่ายอดขายจะลด 38.5% หรืออยู่ที่ 4,800 ล้านบาท

                เราจะต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  ทุกคนต้องทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ทุกคนจะต้องทำงานให้เกิดมูลค่าเพิ่ม  เราจะไม่ปลดพนักงาน สำหรับพนักงานประจำและ O/S เมื่อลาออกเราจะไม่ทดแทน

                เป้าหมายการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานทุกระดับจะต้องพัฒนาและฝึกอบรมในเรื่องที่ต้องรู้และควรรู้  56 ชั่วโมง / คน / ปี สำหรับพนักงานระดับจัดการ, 36 ชั่วโมง /คน/ปี สำหรับพนักงานระดับหัวหน้างานและวิศวกร และ 24 ชั่วโมง/คน/ปี สำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ

                ผ่านมา 2 ไตรมาส พนักงานปัจจุบันลดลงเหลือ 3,137 คน โดยในจำนวนนี้เป็นพนักงาน O/S = 521 คน จะเห็นได้ว่าพนักงานลดลงไปประมาณ 563 คน 

                เหตุผลที่บริษัทไม่ได้มีการปลดพนักงานออกเนื่องจากเรามองในเรื่องของทุนทางจริยธรรม, ทุนทางสังคม, ทุนทางปัญญา, ทุนแห่งการเรียนรู้และทุนแห่งความยั่งยืน เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพนักงานเมื่อเขาตกงานจะนำซึ่งปัญหาทางสังคมอีกหลายด้าน และอีกมุมมองเราจะสูญเสียพนักงานที่มีทักษะและฝีมือ ในขณะเดียวกันเราก็มีการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ทุกคนมีความรู้และตระหนักในเรื่องต่าง ๆ สิ่งที่เป็น Key ในการพัฒนาและปรับปรุงในปีนี้เรามุ่งเน้นในเรื่อง Quality Awareness, Productivity Improvement และการพัฒนา Innovation ในโครงการ 100 P Project และเมื่อ Volume กลับมาเหมือนก่อนที่จะเกิด Crisis เราคาดหวังว่าจะยังคงรองรับการผลิตได้โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังคน โดยใช้ Productivity Improvement และการพัฒนา Innovation เป็นเครื่องชี้วัดผลสัมฤทธิ์แห่งการปรับปรุง

โดยมีแผนธุรกิจ V2, Vision 2007-2011   

Management Policy, 2009

ตอบคำถามที่โจทย์ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดาภมย์ ฝากให้คิด

·       อาจารย์จีระได้ 8K’s และ 5K’s มาเพราะอะไร

ถ้ามองตามมุมมองทางด้านกฎแห่งกรรมจะเห็นได้ว่าในภพภูมิก่อน ๆ ท่านอาจารย์ได้สะสมกรรมดี ๆ ไว้มาก จึงส่งผลให้ท่านอาจารย์มาเกิดในครอบครัวที่ดีได้รับการหล่อหลอมและฝูกฝังทั้งทางด้านจริยธรรม ทางด้านสังคมให้มีจิตเป็นสาธารณะให้เป็นต้นมนุษย์ (Human Tree) ที่งดงามทั้งจิตด้านในและพฤติกรรมด้านนอก

ผลจากการสะสมกรรมดีในพบภูมิก่อน ๆ ที่ท่านอาจารย์ได้ทำมาจึงทำให้ในภพนี้ ท่านอาจารย์จะอ่านและเรียนรู้อะไรก็จะสามารถเข้าใจและ Creative ได้รวดเร็ว สรุปประเด็นปัญหาได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ได้อ่านและเรียนรู้มาแต่ภพภูมิก่อนมาก เมื่อมาอ่านเพิ่มเติมในภพภูมินี้จึงเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็ว

                เมื่ออ่านและสะสมองค์ความรู้ไว้อย่างมากมายก็จะสามารถ Creative ในสิ่งที่สร้างสรรค์กอปรกับท่านอาจารย์มีประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกรูรูอีกหลาย ๆ ท่าน จึงทำให้ท่านอาจารย์สามารถที่จะสร้างสรรค์และคิดทฤษฎี 8K’s, 5K’s และอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

 ·       อธิบายเพิ่มรายละเอียด 8K’s และ 5K’s

ในมุมมองของผมแล้วก่อนที่จะนำทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ไปใช้ควรจะมองทฤษฎี 2R’s ก่อน

-                   Reality คือการมองความจริง

-                   Relevance คือการมองอย่างตรงประเด็นและเข้ากับสถานะ

การที่จะลงมือปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหาใด ๆ ถ้าเรามองไม่ตรงประเด็น และเห็นความจริงที่เกิดขึ้นนั้น ๆ แล้วการแก้ปัญหาทุกอย่างก็จะล้มเหลว ในหลาย ๆ องค์กรและหลาย ๆ บริษัท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์แล้วก่อนที่จะลงมือและสรุปแก้ไขปัญหางานต่าง ๆ จะต้องยึดหลัก 3Gen ซึ่งในทฤษฎีนี้พูดไว้ใน Toyota Way หรือ Toyota University

                3Gen หรือ SAF เรียกเป็นภาษาไทยก็คือหลัก “3 จริง” นั่นคือ ต้องไปดูเครื่องจักรที่เป็นปัญหาดูลักษณะชิ้นงานที่เสีย และดูวิธีการปฏิบัติงานจริง เพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดของเสีย

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

 

คุณฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

                ก่อนที่จะตอบโจทย์ที่อาจารย์ฝากให้คิดมา ผมอยากจะเล่าเรื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (คือตั้งแต่ 6 ก.ค – 25 ก.ค 52) ให้กับชาว Blog ได้รับทราบสักเล็กน้อยกล่าวคือ

                ช่วงนี้แทบทุกอุตสาหกรรมผู้บริหารและทีมงานคงจะต้องทบทวนและปรับแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ว่าในช่วง Crisis 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ยอดขายและผลประกอลการของบริษัทเป็นไปอย่างไร แทบทุกอุตสาหกรรมคงมีการปรับกำลังการผลิตและลดกำลังคน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาบุคคลกรที่มีอยู่ให้สามารถรองรับกับการกลับมาฟื้นตัวของธุระกิจที่จะมีขึ้นในอนาคต รวมทั้งการเพิ่มและปรับลด Budgeting ต่าง ๆ ซึ่งในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการหนีคงหนีไม่พ้นทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และ 2R’s

 

ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์

1.  Human Capital ทุนมนุษย์ (จากการเรียนรู้)

2.  Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

3.  Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

4.  Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

5.  Social Capital ทุนทางสังคม

6.  Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

7.  Digital Capital ทุนทาง IT

8. Talented Capital ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindset

 

ทฤษฎีทุน 5 ประการที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์

1. Creative Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2.  Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3.  Innovation Capital ทุนทางนวัตวกรรม

4.  Emotional Capital ทุนทางอารมย์

5.  Culture Capital ทุนทางวัฒนธรรม

 

ทฤษฎี 2 R’s ใช้ในการมองปัญหาและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

1.  Reality คือ การมองความจริง

2.  Relevance คือ การมองอย่างตรงประเด็น และเข้ากับสถานการณ์

               

ในส่วนขององค์กรธุรกิจที่ผมมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบริหารได้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรและธุรกิจสามารถผ่านพ้น Crisis นี้ โดยได้ผสมผสานทฤษฎีทุนในหลาย ๆ ทฤษฎี โดยเริ่มจาก ทฤษฎี 2 R’s, 8K’s และ 5K’s เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ กล่าวคือ

                ปี 2008 เรามียอดขายที่ 7,800 ล้านบาท มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 3,700 คน โดยในจำนวนนี้เป็นพนักงาน O/S = 981 คน ในปี 2009 เราคาดการณ์ว่ายอดขายจะลด 38.5% หรืออยู่ที่ 4,800 ล้านบาท

                เราจะต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  ทุกคนต้องทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ทุกคนจะต้องทำงานให้เกิดมูลค่าเพิ่ม  เราจะไม่ปลดพนักงาน สำหรับพนักงานประจำและ O/S เมื่อลาออกเราจะไม่ทดแทน

                เป้าหมายการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานทุกระดับจะต้องพัฒนาและฝึกอบรมในเรื่องที่ต้องรู้และควรรู้  56 ชั่วโมง / คน / ปี สำหรับพนักงานระดับจัดการ, 36 ชั่วโมง /คน/ปี สำหรับพนักงานระดับหัวหน้างานและวิศวกร และ 24 ชั่วโมง/คน/ปี สำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ

                ผ่านมา 2 ไตรมาส พนักงานปัจจุบันลดลงเหลือ 3,137 คน โดยในจำนวนนี้เป็นพนักงาน O/S = 521 คน จะเห็นได้ว่าพนักงานลดลงไปประมาณ 563 คน 

                เหตุผลที่บริษัทไม่ได้มีการปลดพนักงานออกเนื่องจากเรามองในเรื่องของทุนทางจริยธรรม, ทุนทางสังคม, ทุนทางปัญญา, ทุนแห่งการเรียนรู้และทุนแห่งความยั่งยืน เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพนักงานเมื่อเขาตกงานจะนำซึ่งปัญหาทางสังคมอีกหลายด้าน และอีกมุมมองเราจะสูญเสียพนักงานที่มีทักษะและฝีมือ ในขณะเดียวกันเราก็มีการพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ทุกคนมีความรู้และตระหนักในเรื่องต่าง ๆ สิ่งที่เป็น Key ในการพัฒนาและปรับปรุงในปีนี้เรามุ่งเน้นในเรื่อง Quality Awareness, Productivity Improvement และการพัฒนา Innovation ในโครงการ 100 P Project และเมื่อ Volume กลับมาเหมือนก่อนที่จะเกิด Crisis เราคาดหวังว่าจะยังคงรองรับการผลิตได้โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังคน โดยใช้ Productivity Improvement และการพัฒนา Innovation เป็นเครื่องชี้วัดผลสัมฤทธิ์แห่งการปรับปรุง

โดยมีแผนธุรกิจ V2, Vision 2007-2011   

Management Policy, 2009

 

ตอบคำถามที่โจทย์ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดาภมย์ ฝากให้คิด

·       อาจารย์จีระได้ 8K’s และ 5K’s มาเพราะอะไร

ถ้ามองตามมุมมองทางด้านกฎแห่งกรรมจะเห็นได้ว่าในภพภูมิก่อน ๆ ท่านอาจารย์ได้สะสมกรรมดี ๆ ไว้มาก จึงส่งผลให้ท่านอาจารย์มาเกิดในครอบครัวที่ดีได้รับการหล่อหลอมและฝูกฝังทั้งทางด้านจริยธรรม ทางด้านสังคมให้มีจิตเป็นสาธารณะให้เป็นต้นมนุษย์ (Human Tree) ที่งดงามทั้งจิตด้านในและพฤติกรรมด้านนอก

ผลจากการสะสมกรรมดีในพบภูมิก่อน ๆ ที่ท่านอาจารย์ได้ทำมาจึงทำให้ในภพนี้ ท่านอาจารย์จะอ่านและเรียนรู้อะไรก็จะสามารถเข้าใจและ Creative ได้รวดเร็ว สรุปประเด็นปัญหาได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ได้อ่านและเรียนรู้มาแต่ภพภูมิก่อนมาก เมื่อมาอ่านเพิ่มเติมในภพภูมินี้จึงเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็ว

                เมื่ออ่านและสะสมองค์ความรู้ไว้อย่างมากมายก็จะสามารถ Creative ในสิ่งที่สร้างสรรค์กอปรกับท่านอาจารย์มีประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกรูรูอีกหลาย ๆ ท่าน จึงทำให้ท่านอาจารย์สามารถที่จะสร้างสรรค์และคิดทฤษฎี 8K’s, 5K’s และอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

 

·       อธิบายเพิ่มรายละเอียด 8K’s และ 5K’s

ในมุมมองของผมแล้วก่อนที่จะนำทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ไปใช้ควรจะมองทฤษฎี 2R’s ก่อน

-                   Reality คือการมองความจริง

-                   Relevance คือการมองอย่างตรงประเด็นและเข้ากับสถานะ

การที่จะลงมือปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหาใด ๆ ถ้าเรามองไม่ตรงประเด็น และเห็นความจริงที่เกิดขึ้นนั้น ๆ แล้วการแก้ปัญหาทุกอย่างก็จะล้มเหลว ในหลาย ๆ องค์กรและหลาย ๆ บริษัท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์แล้วก่อนที่จะลงมือและสรุปแก้ไขปัญหางานต่าง ๆ จะต้องยึดหลัก 3Gen ซึ่งในทฤษฎีนี้พูดไว้ใน Toyota Way หรือ Toyota University

                3Gen หรือ SAF เรียกเป็นภาษาไทยก็คือหลัก “3 จริง” นั่นคือ ต้องไปดูเครื่องจักรที่เป็นปัญหาดูลักษณะชิ้นงานที่เสีย และดูวิธีการปฏิบัติงานจริง เพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดของเสีย

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

 

คุณฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

 

·       มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในต่างประเทศที่พูดถึงและกล่าวไว้คือ

thesis+development of human capital in business enterprise 

1. "Role of Human and Social Capital in the Growth of Women-owned Enterprises"

By Muhammad Azam Roomi

He mentioned that there have been few empirical studies in the UK confirming the relationship of growth / performance of women-owned enterprises and social capital. Roomi’s doctoral thesis aims to fill this gap. Its purpose is to explore the effect of social capital and human capital on the growth / performance of women-owned enterprises in the UK. It further explores whether human capital plays any role in building, maintaining, and using social capital to foster growth of women-owned enterprises.

This statistical analyses of the quantitative data does not show a significant effect on compound profit growth. Though, the direct impact of human capital on growth of women owned enterprises is not much significant, medium level of human capital plays a mediating role in the relationship of social capital and their compound sales growth.

One of the outcomes of the research could be a guideline for the government or other business development agencies/organisations to have a greater understanding of the growth patterns of women-owned enterprises in the UK, which can enable them to cater for the needs of developing specific human capital as well as providing a conducive environment for the development of opportunities for building human and social capital for existing or potential women entrepreneurs

2. Human Capital Accumulation, Innovation, and Firm Performance

This empirical study examined the mediating effect of innovation on the relationship between human capital accumulation and firm performance. In the resource-based view of the firm, human capital is frequently assumed to contribute to competitive advantage due to its inimitability based on its intangible, firm-specific, and socially complex nature. Consistent with this view, accumulating human capital has long been regarded as not only a critical resource but also the capabilities of individuals who are the source of innovation within companies (Stewart, 1997).
Based on a sample of 145 Taiwanese listed companies, the results of this study indicated that 1) firms can improve their performance by minor improvement or simple adjustments in current product/service lines (incremental innovation); 2) as to human capital accumulation capabilities, firms can improve their performance by administering some appropriate training activities to employees; 3) the empirical result indicated that training is very essential in the process of an incremental change of current product/service; 4) the major finding in this study indicated that incremental innovation acted as a full mediator of the relationship between training and self-evaluate performance. It means top managers believed that they can improve firms incremental innovation which can result in high performance by investing human capital in training.

.3.Research Framework of Human Resource Development Based on Competency about Knowledge Enterprise

By

(1) Jianfeng Jia

School of Business Administration, Northeastern University, Shenyang 110004, China

Tel: 86-24-8367-9954 E-mail: [email protected]

(2) Lili Fan

Tianjin College, University of Science and Technology Beijing, Tianjin 301830, China

Tel: 86-22-2241-0736 E-mail: [email protected]

 

This paper constructs a systematic research framework for knowledge enterprise which is based on the theory of human capital, theory of knowledge management, theory of team role, and the theory of organizational learning, taking enterprise strategy as the core, chiefly studying the development of competency of individuals, teams, and organizations in knowledge enterprises. Its ultimate objective is to improve the performance of individuals, teams, and organizations.

4. Business Incubation and Social Capital

By (1) Henrik Tötterman  (2) Jan Sten

Swedish School of Economics and Business Administration, Finland

The underlying idea is that business incubators can support new potential companies in their development process by giving them credibility, but also by helping them to build promising support and business networks. The main research question is how business incubators can support entrepreneurs, in their efforts to build up networks for the benefit of their own company, by focusing more on social capital. The article evaluates three not-for-profit managed business incubators from different parts of Finland. The empirical material proposes that entrepreneurs who have received substantial support for the creation of business or support networks are more satisfied with the services of the business incubators than those who have not attained such support. Another finding was that support that focuses principally on financial capital is not the key aspect that business incubators should focus on when supporting entrepreneurs who try to develop a viable business.

5. Thesis on management

By Management Team

The direction of the economy is truly challenging ahead. From new economy to k-economy, business leaders have recognised the dependence on how fast an organisation, can align itself to the general and task influence PEST-I (ie. Politics, Economy, Social, Technology and Internationalisation) environment in determining corporate survival.

Recent research has shown that most companies fail to execute Strategic HRM (SHRM) in unison with their organisation’s strategy successfully (Lee 2002). Behind this abysmal track record lies an undeniable fact that many companies continue to use traditional Personnel Management (PM) processes that are designed to run yesterdayТs organisations.

Having now recognised the general and the task changing business environment, HRM must produce environmental fitting plans relating to a company’s objectives. The changing role of HRM does not only contribute to achieving competitive advantage, but a critical success competitive advantage factor itself in maximising shareholder’s return.

The Paradigm Shift of HRM
Guest (1987) commented that the main dimensions of SHRM involves the goal of integration

Legge (2001) detected three general differences between PM models and HRM models. Firstly, PM is often seen as a management activity aimed at non-managers. Secondly, in PM, the role of line management is an expression of “all managers manage people” with most specialist personnel work still implemented within line management’s departments. Lastly, reiterating Guest (1987), PM was not fully integrated with the organisation development models and they were generally separated in the formal organisational sense.

Herring (The Market-Valued Model: A New Paradigm for HR) postulated that the survival of HR hinges on the ability to shift to a new and different model of HR value.

·       มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและปริญญาโทในประเทศไทยที่พูดถึงและกล่าวไว้คือ

 

1.               การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติ : ศึกษาเฉพาะ กรณีบรรษัทญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

ลัดดา จารึกสถิตย์วงศ์ 2535 (ปริญญาโท)

 บทคัดย่อ

ผลการศึกษาปรากฎสาระสำคัญตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ดังนี้

1.รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่กำหนด ให้มีขึ้นในกระบวนการบริหารงานบุคคลของบรรษัท ข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ร้อยละ 53.0 ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์การที่ได้รับการกำหนดจาก บรรษัทแม่ในต่างประเทศและผู้บริหารซึ่งเป็นคนไทย และมีผลต่อรูปแบบการจ้างงานโดยร้อยละ 50.0 การจ้างงานขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความต้องการกำลังแรงงาน นอกจากการจ้างงานตลอดชีพและการจ้างงานระยะยาว นอกจากนี้ขนาดของบรรษัทก็มีส่วนต่อการกำหนดรูปแบบ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการใช้การ กำหนดคำบรรยายงานและการปฐมนิเทศ ส่วนการ หมุนเวียนงาน การกำหนดเส้นทางก้าวหน้าในสายงาน อาชีพ การจัดการอบรมด้านความปลอดภัย การฝึกอบรม ตลอดจนการจัดกลุ่มคุณภาพงาน แปรตามขนาดของ บรรษัท คือ มีในบรรษัทขนาดใหญ่มากกว่าบรรษัทขนาดเล็ก รวมทั้งมีรูปแบบที่เป็นระบบมากกว่าบรรษัทขนาดเล็กด้วย

        2. การปรับตัว การปรับแผนของการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ที่กำหนดโดยบรรษัทข้ามชาติ ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัว และการปรับแผน คือ การกำหนดนโยบายการบริหารงาน มีรูปแบบที่สืบเนื่องมาจากที่บรรษัทข้ามชาติมีลักษณะของ การร่วมลงทุน การปรับแผน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น การพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง บรรษัทขนาดเล็กจะใช้ การพิจารณาจากคุณภาพงานเป็นหลัก ส่วนบรรษัทขนาดใหญ่ ใช้การประเมินผลงาน ในด้านงบประมาณสำหรับการจัดให้มี การพัฒนาและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาพนักงาน เช่น การฝึกอบรม การให้ทุนการศึกษาและอื่น ๆ ปัญหาและ อุปสรรคที่สำคัญของเรื่องนี้ คือ งบประมาณโดยพบในบรรษัท ขนาดเล็กของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาขนาดใหญ่มีปัญหานี้เพียง ร้อยละ 6.2 และ 12.5 เท่านั้น ประการสุดท้ายก็คือ แนวคิดและปรัชญาการจัดการของผู้บริหารที่แปรตามเนื้อหา ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งสร้างแรงจูงใจต่อเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ตนสนใจ เพื่อให้เกิดการปรับแผนในกระบวน การทำงาน

3. แนวทางและความเป็นไปได้ที่จะให้บรรษัทข้ามขาติ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมีการกำหนดนโยบายการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง และเป็นประโยชน์แก่แรงงานไทย อย่างเป็นธรรม ตลอดจนองค์การสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิด การพัฒนาองค์การเองได้ คือ การพัฒนาแนวคิดของพนักงาน ในระดับบริหารงาน เพราะการให้ผู้บริหารมีแนวคิดเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ย่อมส่งผลต่อการจัดทำนโยบายและ แนวทางสำหรับการปฏิบัติที่ดีได้ แนวโน้มของการสรรหา บุคลากรจากสถาบันศึกษา โดยการรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ย่อมทำให้องค์การมีการพัฒนาพนักงานตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่ง ในระหว่างการปฏิบัติงาน แต่เมื่อถึงวัยที่พ้นจากวัยทำงานคือ ช่วงเกษียณอายุ ซึ่งพบว่าร้อยละ 79.0 ไม่มีการกำหนดการ เกษียณอายุ และไม่มีโครงการรองรับสำหรับผู้ที่เกษียณอายุด้วย ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา บทบาทของผู้ที่มีส่วนในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติ 3 ระดับ คือ รัฐ องค์การ และแรงงานไทย โดยรัฐจะต้องมีการกำหนดแผนที่ชัดเจน เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนมีการกำหนด กลไกที่สอดคล้องเช่น กระบวนการทางการศึกษา บทบาท ของเอกชน และการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นให้เห็นถึง ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ องค์การในฐานะที่ต้อง มีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารองค์การจะต้อง มีบทบาทที่ชัดเจนที่จะทำให้เกิดแนวทางการปฎิบัติที่ต่อเนื่อง อันจะทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนแรงงานไทยจะต้องมีความกระตือรือร้น มีการพัฒนา ตนเองให้เหมาะสมกับระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ องค์การ เพื่อที่จะได้เกิดการพัฒนาทั้งในระดับตนเอง และระดับองค์การอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป

 

2.               ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับการทำงานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร

อัจฉรา อาศิรพจน์มนตรี: 2540  มหาวิทยาลัยบูรพา (ปริญญาโท)

 

3.               พฤติกรรมผู้นำและความสามารถในการบริหารภาควิชาของหัวหน้าภาควิชา สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ปริยา รอดปรีชา 2540  มหาวิทยาลัยบูรพา (ปริญญาโท)

 

4.               แนวทางการพัฒนาผู้บริหารระดับต้นตามทัศนะของผู้บริหารฯ บริษัท วอลโว่ ทรัค แอนด์ บัส (ประเทศไทย) จำกัด

สุทธิศักดิ์ จรัญศิริไพศาล 2541  มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

คุณฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

คุณเอ้

รบกวนช่วยรบหัวข้อลำดับที่ 113 และ 114 ให้ผมด้วยครับ เพราะว่าลงข้อมูลแล้วขึ้นได้ไม่ครบ

 

ขอบคุณมากครับ

ฉัตรแก้ว ฮาตระวัง

Ph.D. รุ่น 3 SSRU  Mobile : 081-661-1701

เรียนท่านอาจารย์

หนูขอตอบการบ้านส่วนที่เหลือ ดังนี้นะคะ

4. หัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในประเทศไทย อาทิเช่น

Title: Factor Affecting on Business Start-ups in Vietnam of Thai small and Medium

Enterprises (Thai SMEs) Entrepreneurs

Author : Chalaluck Cheoicheom , The University of the Thai Chamber of Commerce

Title : แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแนวพุทธของปราชญ์อีสาน

(BUDDHIST CONCEPT AND METHOD OF SOLVING ECONOMIC PROBLEMS BY I – SAN THINKERS)

Author : พระมหาจุลศักดิ์ จิรวฑฺฒโน (รถน้อย) , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Research : Sustainable Land Use and Rural Development in Mountainous Regions of Southeast Asia

Author : Dr. Andreas Neef, Coordinator

‘The Uplands Program Thailand’, Hohenheim Ofce,

New Building, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University,

Chiang Mai 50200, Thailand

การพัฒนาแบบที่ล้มเหลว คือ การพัฒนาที่มองเพียงด้านเดียว เช่น มองเพียง Macro หรือ Micro อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เนื่องจาก

ตัวอย่างของการมองเฉพาะ Macro ไม่มอง Micro เช่น ระบบการศึกษาของไทย กำหนดเพียงแต่ว่า ประชาชนทุกคนจะต้องจบการศึกษาภาคบังคับ คือ 12 ปี แต่ไม่ได้มองว่า หลักสูตรที่จัดสำหรับการเรียนการสอนนั้นเหมาะสมกับประชาชน หรือไม่ จำนวนครูผู้สอนมีเพียงพอหรือไม่ ทำให้ผลที่ได้จากการออกนโยบายการศึกษาภาคบังคับ คือ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ผู้เรียนไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถอ่านหนังสือได้

ตัวอย่างของการมองเฉพาะ Micro ไม่มอง Macro อาจจะส่งผลดีระยะสั้น แต่ระยะยาวไม่ยั่งยืน เนื่องจากการไม่ปรับให้เข้าสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การจำหน่ายสินค้า OTOP ที่มีรายละเอียดสินค้าดี รูปลักษณะสวยงาม เช่น เบญจรงค์ ที่เป็นสินค้าที่สวยงาม เข้ากับวัฒนธรรมของไทย เมื่อระยะแรกจำหน่ายได้ดี จะทำให้มีผู้ผลิตเพิ่มจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันมีการแย่งกันขาย ราคาต่ำลงจากเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่จำกัดพื้นที่ในการผลิต ซึ่งไม่เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จริง เพราะกลายเป็นสินค้าที่สามารถผลิตได้ในหลายจังหวัดหลายตำบล ทำให้สินค้าล้นตลาด เรียกว่า Macro ไม่ได้กำหนดพื้นที่การผลิตจริง

การพัฒนาแบบที่ประสบผลสำเร็จ คือ การพัฒนาที่ต้องมองทั้งภาพ Macro และ Micro ตัวอย่างเช่น ในระบบการศึกษาของไทย ควรมีการจัดสรรการผลิตบุคลากรให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ หรือ เหมาะสมกับนโยบายของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการสร้างผลผลิตด้านใด ก็ต้องสร้างระบบการศึกษาในด้านนั้นไว้ก่อน เช่น กรณีสินค้า OTOP ควรมีการแบ่งโซนของแต่ละท้องถิ่นให้มีการผลิตสินค้าที่ไม่ซ้ำกัน เพราะภูมิประเทศไม่เหมือนกัน สินค้าบางอย่างที่มาจากวัตถุดิบด้านการเกษตร ก็ย่อมไม่เหมือนกัน ระบบการศึกษาที่รองรับสำหรับการผลิตสินค้า และ การบริหารจัดการก็ไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่า มีการนำ 8 K’s และ 5K’s มาใช้ เช่น Creative Capital , Innovation Capital , Knowledge Capital , Cultural Capital มาจัดสรรให้เหมาะสม และจะต้องมี Emotional Capital ที่จะกระตุ้นการเรียนรู้ มาใช้ด้วย และจากคำตอบข้อนี้ สามารถนำไปใช้ข้อที่ว่า การกำหนดยุทธวิธีทั้ง Macro-Micro ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 8 K’s และ 5 K’s มาปรับใช้ด้วย

จากคำถามในหนังสือ “ Staying Street Smart” หากจะใช้ 8 K’s และ 5 K’s จะตั้ง Hypothesis คือ

ตัวแปรตาม : รูปแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับทุนทางปัญญา

ตัวแปรต้น : 1. การเรียนรู้โดยผ่านสถาบันการศึกษา

2. การเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ของผู้เรียน

3. การเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ของผู้อื่น

เหตุผลในการตั้ง Hypothesis เช่นนี้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า การเรียนรู้ทางปัญญา (Intellectual Capital) นั้น สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาของชีวิตคนเรา และไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะ ให้รู้จักการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แล้วนำผลจากการวิเคราะห์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ จริงหรือไม่ หรือว่า เป็นการเฉพาะในสถาบันการศึกษา จึงทำให้บุคคลในหนังสือเล่มนี้ ไม่สามารถนำประโยชน์จากประสบการณ์มาวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เพื่อการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

เรียนท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านส่วนที่เหลือค่ะ

หัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หรือ ปริญญาโท ในประเทศไทย อาทิเช่น

Title: Factor Affecting on Business Start-ups in Vietnam of Thai small and Medium

Enterprises (Thai SMEs) Entrepreneurs

Author : Chalaluck Cheoicheom , The University of the Thai Chamber of Commerce

Title : แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแนวพุทธของปราชญ์อีสาน

(BUDDHIST CONCEPT AND METHOD OF SOLVING ECONOMIC PROBLEMS BY I – SAN THINKERS)

Author : พระมหาจุลศักดิ์ จิรวฑฺฒโน (รถน้อย) , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Research : Sustainable Land Use and Rural Development in Mountainous Regions of Southeast Asia

Author : Dr. Andreas Neef, Coordinator

‘The Uplands Program Thailand’, Hohenheim Ofce,

New Building, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University,

Chiang Mai 50200, Thailand

การพัฒนาแบบที่ล้มเหลว คือ การพัฒนาที่มองเพียงด้านเดียว เช่น มองเพียง Macro หรือ Micro อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เนื่องจาก

ตัวอย่างของการมองเฉพาะ Macro ไม่มอง Micro เช่น ระบบการศึกษาของไทย กำหนดเพียงแต่ว่า ประชาชนทุกคนจะต้องจบการศึกษาภาคบังคับ คือ 12 ปี แต่ไม่ได้มองว่า หลักสูตรที่จัดสำหรับการเรียนการสอนนั้นเหมาะสมกับประชาชน หรือไม่ จำนวนครูผู้สอนมีเพียงพอหรือไม่ ทำให้ผลที่ได้จากการออกนโยบายการศึกษาภาคบังคับ คือ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ผู้เรียนไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถอ่านหนังสือได้

ตัวอย่างของการมองเฉพาะ Micro ไม่มอง Macro อาจจะส่งผลดีระยะสั้น แต่ระยะยาวไม่ยั่งยืน เนื่องจากการไม่ปรับให้เข้าสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การจำหน่ายสินค้า OTOP ที่มีรายละเอียดสินค้าดี รูปลักษณะสวยงาม เช่น เบญจรงค์ ที่เป็นสินค้าที่สวยงาม เข้ากับวัฒนธรรมของไทย เมื่อระยะแรกจำหน่ายได้ดี จะทำให้มีผู้ผลิตเพิ่มจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันมีการแย่งกันขาย ราคาต่ำลงจากเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่จำกัดพื้นที่ในการผลิต ซึ่งไม่เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จริง เพราะกลายเป็นสินค้าที่สามารถผลิตได้ในหลายจังหวัดหลายตำบล ทำให้สินค้าล้นตลาด เรียกว่า Macro ไม่ได้กำหนดพื้นที่การผลิตจริง

การพัฒนาแบบที่ประสบผลสำเร็จ คือ การพัฒนาที่ต้องมองทั้งภาพ Macro และ Micro ตัวอย่างเช่น ในระบบการศึกษาของไทย ควรมีการจัดสรรการผลิตบุคลากรให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ หรือ เหมาะสมกับนโยบายของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการสร้างผลผลิตด้านใด ก็ต้องสร้างระบบการศึกษาในด้านนั้นไว้ก่อน เช่น กรณีสินค้า OTOP ควรมีการแบ่งโซนของแต่ละท้องถิ่นให้มีการผลิตสินค้าที่ไม่ซ้ำกัน เพราะภูมิประเทศไม่เหมือนกัน สินค้าบางอย่างที่มาจากวัตถุดิบด้านการเกษตร ก็ย่อมไม่เหมือนกัน ระบบการศึกษาที่รองรับสำหรับการผลิตสินค้า และ การบริหารจัดการก็ไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่า มีการนำ 8 K’s และ 5K’s มาใช้ เช่น Creative Capital , Innovation Capital , Knowledge Capital , Cultural Capital มาจัดสรรให้เหมาะสม และจะต้องมี Emotional Capital ที่จะกระตุ้นการเรียนรู้ มาใช้ด้วย และจากคำตอบข้อนี้ สามารถนำไปใช้ข้อที่ว่า การกำหนดยุทธวิธีทั้ง Macro-Micro ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 8 K’s และ 5 K’s มาปรับใช้ด้วย

จากคำถามในหนังสือ “ Staying Street Smart” หากจะใช้ 8 K’s และ 5 K’s จะตั้ง Hypothesis คือ

ตัวแปรตาม : รูปแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับทุนทางปัญญา

ตัวแปรต้น : 1. การเรียนรู้โดยผ่านสถาบันการศึกษา

2. การเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ของผู้เรียน

3. การเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ของผู้อื่น

เหตุผลในการตั้ง Hypothesis เช่นนี้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า การเรียนรู้ทางปัญญา (Intellectual Capital) นั้น สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาของชีวิตคนเรา และไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะ ให้รู้จักการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แล้วนำผลจากการวิเคราะห์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ จริงหรือไม่ หรือว่า เป็นการเฉพาะในสถาบันการศึกษา จึงทำให้บุคคลในหนังสือเล่มนี้ ไม่สามารถนำประโยชน์จากประสบการณ์มาวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เพื่อการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 801-309-5959

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

สวัสดีค่ะพี่ๆ ทุกคน

วันนี้ยังไม่ได้นำเสนอบทความ"การบริหารคน บนกระแสโลกาภิวัตน์" ต่อนะค่ะ ยังอยู่ในขั้นตอนแช่แข็งไว้ก่อนรอตกผลึกอีกสักนิดแล้วค่อยนำเสนอให้อ่านต่อในวันพรุ่งนี้อดใจรออีนิดนะค่ะ แต่ยังไงเพื่อไม่ให้เสียความรู้สึกหนูจะนำเสนอทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศให้อ่านก่อนนะ เพื่อจะมีประโยชน์บ้าง ลองอ่านดูหน่อยค่ะอย่าพึ่งคลิ๊กผ่านเฉยๆ

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์ (ตอนที่ 1)

“ทุนทางสังคม” เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำบนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจสายใยผูกพัน และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ที่มีการสะสมในลักษณะเครือข่ายขององค์ประกอบหลักได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังชุมชนและสังคม

ผลการประเมินทุนทางสังคมระดับ Macro พบว่า ระบบสถาบันทางสังคมต่างๆ มีแนวโน้มอ่อนแอและมีบทบาทในการพัฒนาทุนมนุษย์ลดลง ทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ศาสนา ธุรกิจและเอกชน รวมถึงสถาบันสื่อต่างๆ ฯลฯ ในขณะที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ดีงามแต่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศเท่าที่ควร ทำให้วัฒนธรรมที่ดีงามหลายอย่างเลือนหายไปจากสังคม ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ และการพัฒนาประเทศ

ผลการประเมินทุนทางสังคมระดับ Micro พบว่าประเทศไทยมีทุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง จุดเด่นคือประชาชนมีแนวโน้มรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกันมากขึ้น คนส่วนใหญ่เป็นคนมีน้ำใจไมตรี มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น มีความสามัคคี มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณะต่างๆ มีความไว้วางใจต่อกัน และเป็นผู้มีจิตสาธารณะ ขณะที่จุดด้อย คือ คนส่วนหนึ่งไม่ค่อยยึดถือกฎระเบียบ กติกาของสังคม มีค่านิยมฟุ่มเฟือย นิยมวัตถุ รักสนุก รักสบาย รักพวกพ้อง ให้ความสำคัญกับระบบอุปถัมภ์ ฯลฯ ขณะเดียวกันความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่คาดว่ามีแนวโน้มจะเกิดขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อทุนทางสังคมและทุนมนุษย์ของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี/การสื่อสาร การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี การก้าวสู่สังคมหลังฐานความรู้ การขยายตัวของเมือง ฯลฯ

ทักษิณานันท์

080- 6148578

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

สวัสดีค่ะพี่ๆ ทุกคน

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์ (ต่อ) าทายต่อการพัฒนาทุนมนุษย์กับทุนทางสังคมในอนาคต

            1.การพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมเพื่อเพิ่มผลิตภาพทางสังคม (social  Productivity)  โดย

                              1.1 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม และทุนทางปัญญา โดยกำหนดค่านิยมพื้นฐานร่วม (Core Value) สำหรับสังคมและคนไทยทุกคนในการสร้างเสริมและใช้ประโยชน์ทุนทางสังคมระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อนำไปสู่ผลิตภาพทางสังคม อันเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

                              1.2 เร่งพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยไปสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21  โดยนอกจากมีทุนมนุษย์แล้วต้องรู้ว่าในโลกนี้มีอะไร รู้แล้วนำมาคิดต่อยอดได้หรือไม่ คิดเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ นำความรู้ที่มีและได้มาเป็นประสบการณ์ได้หรือไม่ และต้องมีจิตสาธารณะ 5 ประการ  1) จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) 2) จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind 3) จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) 4) จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) และ 5) จิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind) ซึ่งล้วนแต่เป็นมิติต้นทางในการสร้างทุนทางสังคมที่นำมาเติมเต็มในกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยน และที่สำคัญเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายทุกระดับของกระบวนการพัฒนาประเทศ

                              1.3 เสริมสร้างบทบาทสถาบันครอบครัว ชุมชน ศาสนาให้เข้มแข็ง มีสัมพันธ์ภาพที่ดี ตลอดจนการส่งเสริมบทบาทสื่อให้มีการนำเสนอข้อมูลข่าวอย่างสร้างสรรค์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ควบคู่กับการสร้างกระแสให้เกิดการรับรู้และความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

                              1.4 ขยายและพัฒนาต่อยอดการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเป็นเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

               2. การสร้างพลังให้เกิดทุนทางสังคมที่เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนในอนาคต

 

ทักษิณานันท์

080- 6148578

 

 

 

 

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้เขียบทความเกี่ยว 8K's และ 5K's อย่างต่อเนื่องครับ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

Human Tree (ต้นไม้มนุษย์) ตอนที่สี่ “ทุนทางปัญญา Intellectual Capital”

เป็นทุนที่สำคัญมากในการสร้างรากฐานของแต่ละคน หลายคนอาจจะคิดว่าแล้วแต่พรสวรรค์ให้มา แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลย “ปัญญา” เราสามารถเรียนรู้เพื่อให้เกิดปัญญาและนี่คือเหตุผลที่คุณพ่อและคุณแม่ทั้งหลาย ผู้ปกครองทั้งหลายรวมทั้งภาครัฐ มีทั้งการส่งเสริมและบังคับให้ทุกคนต้องเข้าโรงเรียน ต้องเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะทำให้เราเกิด “ปัญญา” ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีปัญญาไม่เท่ากันเพราะความเข้าใจที่ต่างกัน ความตั้งใจที่ต่างกัน ความใส่ใจที่แตกต่างกัน ความพยายามที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเรามีเป้าหมายที่ตองการเป็นคนที่มี “ปัญญา” ถ้าเราต้องการเป็นคนที่มีปัญญา เราต้องทำตามที่กล่าวมาแล้วให้ดี ให้มากที่สุดแล้วเราจะสมหวังHuman Tree (ต้นไม้มนุษย์) ตอนที่สี่

“ทุนทางปัญญา Intellectual Capital”

เป็นทุนที่สำคัญมากในการสร้างรากฐานของแต่ละคน หลายคนอาจจะคิดว่าแล้วแต่พรสวรรค์ให้มา แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลย “ปัญญา” เราสามารถเรียนรู้เพื่อให้เกิดปัญญาและนี่คือเหตุผลที่คุณพ่อและคุณแม่ทั้งหลาย ผู้ปกครองทั้งหลายรวมทั้งภาครัฐ มีทั้งการส่งเสริมและบังคับให้ทุกคนต้องเข้าโรงเรียน ต้องเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะทำให้เราเกิด “ปัญญา” ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีปัญญาไม่เท่ากันเพราะความเข้าใจที่ต่างกัน ความตั้งใจที่ต่างกัน ความใส่ใจที่แตกต่างกัน ความพยายามที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเรามีเป้าหมายที่ตองการเป็นคนที่มี “ปัญญา” ถ้าเราต้องการเป็นคนที่มีปัญญา เราต้องทำตามที่กล่าวมาแล้วให้ดี ให้มากที่สุดแล้วเราจะสมหวัง

ผู้เขียนต้องการที่จะแนะนำเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาให้เป็นคนที่มีปัญญาเพิ่มขึ้นได้ด้วยตัวเอง โดยจะยกตัวอย่างจากบทความที่ผู้เขียนเคยเขียนตอนเป็นหนุ่ม ๆ มา ให้ดู มาให้เพื่อการเรียนรู้คือ

“การเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง”

การเรียนรู้ด้วยตัวเองดูเหมือนเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ในปัจจุบันเวลารับพนักงานใหม่ๆ

ถ้าไม่มีการสอนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นหรือเวลาพูดเราจะพูดว่า”ต้องให้สอนตั้งแต่ ก เลยหรือ” คนส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจวิธีทำงาน เช่น บางเรื่องเราต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่มีการสอน คนบางคนทำไม่ได้เลย เป็นต้น บางครั้งมีเรื่องง่ายๆ จนคนที่มีหน้าที่แนะนำมองข้ามไปก็มี และก็เกิดการผิดพลาดของพนักงานใหม่สร้างความเสียหายอยู่ประจำ และผู้เขียนก็ประสบด้วยตัวเองอยู่เสมอจึงได้เขียนบทความเรื่องนี้ โดยขอแนะนำขั้นตอนง่ายๆ เผื่อจะมีประโยชน์สำหรับพนักงานใหม่จะได้ทดลองนำไปปฏิบัติ เพื่อจะได้มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง จะได้มีการพัฒนาการทำงานได้ด้วยตัวเอง

และย่อมส่งผลให้ความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เร็วยิ่งขึ้น

การเริ่มต้นด้วยการอ่าน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและมีผลต่อการเรียนรู้ได้อย่างมากคือ ไม่ว่า เราจะมีตำแหน่งหน้าที่อะไรก็ตามวิธีนี้ใช้ได้ผลอย่างแน่นอนเช่น อ่านหนังสือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่บริษัทของเราทำ อ่านหนังสือเกี่ยวกับสินค้าที่บริษัทของเราทำ อ่านเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าในด้านเทคนิค การอ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง คู่แข่ง ความเคลื่อนไหวของธุรกิจ การอ่านวิธีการใช้งาน การอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆเป็นต้น

การปฏิบัติจริง การที่เราจะศึกษาหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่สามารถศึกษาแค่ภาคทฤษฎี เราต้องทดลองปฏิบัติจริงๆอีกด้วย หลังจากนั้นเราต้องนำมาเปรียบเทียบ ปรับปรุงเพื่อจะได้สามรถทำงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพและการทดลองปฏิบัติต้องมีจำนวนครั้งมากพอสมควร

จึงจะสามารถนำมาพิจารณาได้อย่างชัดเจนเช่น พนักงานขายต้องทดลองขายลูกค้าจำนวนมากพอสมควรจึงจะสามารถสรุปเรื่องต่างๆได้ดี

การลอกเลียนแบบและการพัฒนา ต้องขอย้ำว่าไม่ใช่การลอกเลียนแบบสินค้าหรือการลอกเรียนแบบสิ่งที่มีการจดสิทธิบัตร แต่เป็นการลอกเลียนแบบสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายเช่น วิธีการขายสินค้าที่ถูกวิธี วิธีการสาธิตที่ถูกต้อง วิธีพูดที่ทำให้คนสนใจฟัง วิธีคิดที่ทำให้เกิดความเข้าใจ

วิธีจำที่ทำให้เราจำได้แม่นยำ เป็นต้นและสิ่งที่ต้องทำตามมาก็คือการพัฒนาให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

เพราะว่าการทำงานเราต้องหวังความก้าวหน้า การทำธุรกิจมีการแข่งขันอย่างรุนแรงเราต้องไม่หยุดอยู่กับที่ เราต้องเร็วกว่าคู่แข่งขันดังนั้นเราต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

การประยุกต์ใช้ ถ้าเรามีประสบการมากขึ้นเราจะต้องไม่เพียงลอกเลียนแบบแต่เราจะต้องรู้วิธีที่จะประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เราจะทำ เพราะว่าวิธีการหนึ่งอาจจะใช้ได้กับสิ่งหนึ่ง สภาพแวดล้อมหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้กับทุกๆสิ่งหรือทุกๆสภาพแวดล้อม

การดู UBC ผู้เขียนไม่อยากโฆษณาให้ใครแต่ต้องยอมรับจริงๆว่าหลายช่องมีความรู้

มีสารคดีที่ดีมากมาย มีหนังเกี่ยวกับการจับผู้ร้ายที่ให้ความรู้อย่างมากและยังมีสิ่งดีๆที่ควรค่ากับการศึกษาดูแล้วสามารถทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างมากมาย

การเรียนรู้ใน INTERNET เป็นวิธีการเรียนรู้สมัยใหม่ที่ต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันการใช้งานนั้นง่ายมากและทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างมากมายจากที่ต่างๆทั่วโลกโดยใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่นี้ทำให้เราสามารถเพิ่มขีดการเรียนรู้ได้อย่างไร้ขอบเขต

การมีทัศนคติที่ดี (Talented Capital) สิ่งนี้สำคัญมากในทุกๆเรื่องเช่น ถ้าเรารอคนที่ต้องมาอบรมหรือสอนเรามาทำการสอนเราถึงจะเรียนรู้ เราจะรออีกนานเท่าไร เมื่อไหร่เราถึงจะประสบความสำเร็จล้วนแล้วแต่ต้องให้คนอื่นเป็นคนกำหนดและถ้าเราโชคไม่ดีเจอครูที่ไม่เก่ง เรารอไม่คิดที่จะช่วยตัวเอง

เราอาจจะไม่มีวันพบวันแห่งความสำเร็จของเรา ดังนั้นทัศนคติที่ดีในที่นี้หมายถึงการที่เรามีความคิดที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทำความเข้าใจหน้าที่การงานของตัวเองด้วยตัวเองในวิธีที่ถูกต้อง ต้องคอยอ่านและเรียนรู้ข้อมูลต่างๆทั้งสินค้า ธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นด้วยตัวเองไม่ต้องรอใครมาสั่ง ต้องคอยพัฒนาตัวเองให้มีความเจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องเป็นคนมีความรับผิดชอบ ต้องทำตามกฎหมาย ถ้าเรารู้จักการที่จะเรียนรู้โดยมีทัศนคติที่ดีแน่นอนความสำเร็จต้องอยู่ไม่ไกลเกินฝัน

การฟังหรือการมีภาครับที่ดี

เราควรที่จะต้องพัฒนาวิธีการรับฟังข้อมูล ข่าวสาร คำพูดของลูกค้า ความ

ต้องการของลูกค้าให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น เพราะว่าถ้าเราสามารถฟังและเก็บรายระเอียดได้ดี ได้มากพอจะทำให้การขายง่ายขึ้นอย่างมาก ทำให้เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้เราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามความต้องการที่แท้จริง ทำให้เราสามารถให้บริการลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจได้

และนี่จะทำให้เราเป็นนักขายที่ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะปัญหา เอาชนะคู่แข่งได้อย่างง่ายดาย ผู้เขียนขอแนะนำวิธีพัฒนาการฟังแบบง่ายๆให้ลองปฏิบัติ และหวังว่าจะสามารถช่วยให้มีการพัฒนามากขึ้น

ต้องรู้จักพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับ เวลาเรารับฟังสิ่งต่างๆเช่น รับฟังข่าวสาร รับฟังการฝึกอบรม รับฟังลูกค้า ต้องพิจารณาและวิเคราะห์ให้ได้ว่าส่วนไหนเป็นข้อเท็จจริง ส่วนไหนเป็นความคิดเห็น โดยอาศัยเหตุผลมาพิจารณาเพื่อแยกแยะเช่น

คำพูดที่ว่า “ครีมตัวนี้เป็นครีมสารพัดประโยชน์ ใช้ทำความสะอาดลบรอยเปื้อนได้ทุกอย่าง “

ถ้าเราใช้เหตุผลมาพิจารณาจะสามารถแยกแยะได้ว่า ข้อเท็จจริงคือไม่มีครีมตัวไหนที่สามารถทำความสะอาดลบรอยเปื้อนได้ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าครีมตัวนี้มีความสามารถลบรอยเปื้อนได้หลายอย่างจนทำให้ผู้พูดมีความเห็นว่าสามารถลบรอยเปื้อนได้ทุกอย่าง

คำพูดที่ว่า “ยี่ห้อนี้แพงเกินไป “

ถ้าเราใช้เหตุผลมาพิจารณาจะสามารถแยกแยะได้ว่าข้อเท็จจริงคือยี่ห้อนี้มีราคาสูงกว่าอีกยี่ห้อหนึ่ง และลูกค้าไม่มีข้อมูลว่าที่มีราคาสูงกว่าเพราะมีคุณสมบัติอะไรที่แตกต่าง จนทำให้มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นว่ามีราคาแพงเกินไป

ต้องรู้จักการตีความและทำความเข้าใจ หลังจากที่เราสามารถแยกแยะข่าวสาร ข้อมูลเหล่านั้นได้ว่าอะไรคือข้อเท็จจริง อะไรคือความคิดเห็น เราต้องตีความข้อมูลข่าวสารนั้นอย่างละเอียด มีสติและสัมปชัญญะ

จนทำให้สามารถเข้าใจข้อมูลข่าวสารนั้นๆได้อย่างแท้จริงเช่น

คำพูดที่ว่า “ครีมตัวนี้เป็นครีมสารพัดประโยชน์ ใช้ทำความสะอาดลบรอยเปื้อนได้ทุกอย่าง “

เราต้องตีความข้อเท็จจริงที่ว่าครีมตัวนี้สามารถลบรอยเปื้อนได้หลายอย่างมีอะไรบ้างโดยทำความเข้าใจจากข้อมูลของฉลากหรือจากเอกสารที่แนะนำรายละเอียดคุณสมบัติของสินค้า วิธีใช้ ข้อจำกัดต่างๆ เพื่อใช้อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และแน่นอนจะทำให้การขายมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

คำพูดที่ว่า “ยี่ห้อนี้แพงเกินไป “

เราต้องตีความข้อเท็จจริงที่ว่าลูกค้าไม่มีข้อมูลว่าสินค้าตัวนี้มีอะไรที่แตกต่าง เราต้องทำความเข้าใจแล้วอธิบายความแตกต่างของคุณสมบัติสินค้าให้ลูกค้าเข้าใจว่า สินค้าตัวนี้มีคุณสมบัติที่ดีกว่ามากมายจนทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าสินค้าตัวนี้ไม่ได้แพงกว่าเลย และสิ่งที่มีมากกว่าคุ้มค่าพอที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าตัวนี้

การรับรู้รับฟังที่ดีต้องปราศจาก อคติ การใช้อารมณ์ การหลงตัวเอง หัวข้อนี้มีความชัดเจนว่าการที่คนเรามีอคติ หรือมีอารมณ์ไม่ปรกติ หรือการหลงตังเอง ทำให้ขาดความเป็นกลางจะทำให้เราวิเคราะห์ผิดพลาด พิจารณาผิดพลาด ตีความผิดพลาด ทำความเข้าใจผิด ผลที่ตามมาคือการขายที่ล้มเหลว

คำพูดที่ว่า “ยี่ห้อนี้แพงเกินไป”

เราต้องไม่มีอคติคิดว่าลูกค้าไม่มีเจตนาจะซื้อสินค้า เพียงแต่ลูกค้าไม่มีข้อมูล และเรามีหน้าที่ต้องชี้แจง ให้รายละเอียดเพิ่มอย่างเต็มที่ จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหา อุปสรรคได้

คำพูดที่ว่า “ทำไมสินค้าของคุณถึงไม่มีการตรวจสอบก่อนนำมาขาย มีตำหนิเต็มไปหมด”

เราไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์เสียที่ถูกตำหนิ ติเตียนหรือต่อว่าจากลูกค้า เพราะทันทีที่ลูกค้าต่อว่าแบบนี้แปลว่ามีสัญญาณที่ดี ลูกค้ามีความสนใจจริง เพียงแต่เราหาคำอธิบายที่ดี ตรงประเด็นเช่น “นี่เป็นสินค้าตัวอย่างที่ใช้โชว์ มีลูกค้าทดลองใช้มากมายเลยมีรอย มีตำหนิแต่เรามีสินค้าตัวใหม่ให้ลูกค้าที่ต้องการซื้อ รับรองครับไม่มีปัญหา ไม่มีรอย ไม่มีตำหนิชอบสีไหนครับ เรามีสามสีให้เลือก” เป็นต้น

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างบทความเกี่ยวกับนักขาย(ได้เคยเขียนมาแล้วกว่าสิบปีที่แล้ว)

“การเป็นคนช่างสังเกต คือคุณสมบัติของนักขายมืออาชีพ”

ผู้เขียนได้ทำอาชีพเป็นนักขายมากว่า 20 ปีก็ได้สังเกตเห็นว่า การที่เราเป็นคนช่างสังเกตมีส่วนที่ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์งานขายให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมากมาย เลยอยากที่จะแนะนำให้นักขายใหม่ ๆ

ได้ลองนำเคล็ดลับการเป็นคนช่างสังเกตไปใช้ช่วยในงานการขายรับลองได้ผล 100 % โดยจะแนะนำหัวข้อหลักที่สำคัญดังนี้

การสังเกตคุณสมบัติที่เด่นของสินค้า

การสังเกตสภาพแวดล้อมของลูกค้าที่มีส่วนสำคัญในการขาย

การสังเกตจุดขายที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย

การสังเกตค้นหาผู้มีอำนาจที่จะตัดสินใจ

การสังเกตสัญญาณการขาย

ต้องสังเกตว่าการขายแต่ละครั้งทำไมขายได้และทำไมขายไม่ได้

การสังเกตคุณสมบัติที่เด่นของสินค้า ขั้นตอนนี้คือการเริ่มต้นของนักขายทุก ๆ คน คือการศึกษาตัวสินค้าที่กำลังจะนำไปขายให้ดีเสียก่อน เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติที่ดีหลายข้อ แต่นักขายมืออาชีพต้องศึกษาและมีความรู้มากกว่านี้คือ ต้องรู้ว่าข้อดีข้อไหนที่คู่แข่งไม่มี หรือต้องรู้ว่าข้อดีข้อไหนที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการเช่น

-การขายประกันชีวิตลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการซื้อประกันที่มีการรักษาพยาบาลและคลอบคลุมเรื่องอุบัติเหตุด้วย ดังนั้นการเสนอขายประกันชีวิตต้องไม่ลืมที่จะอธิบายและเสนอข้อดีทั้งสองนี้เพราะลูกค้าส่วนใหญ่

มักจะมีความต้องการ สำหรับตัวอย่างจุดเด่นที่คู่แข่งไม่มีเช่น บางบริษัทประกันชีวิตได้ออกกรมธรรม์ใหม่ซึ่ง

คลอบคลุมเกี่ยวกับโรคมะเร็ง คือถ้าขณะที่ทำประกันไม่ได้เป็นโรคมะเร็งและได้เป็นโรคมะเร็งในภายหลังสามารถรวมอยู่ในเงื่อนไขในการเอาประกันได้ นี่คือจุดเด่นที่จูงใจลูกค้ามากในช่วงหนึ่งที่คู่แข่งขันไม่มีทำให้นักขายประกันที่รู้จักนำจุดเด่นนี้ไปแนะนำลูกค้าสามารถสร้างผลงานได้อย่างมากมาย เป็นต้น

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้

คำสำคัญ: 4ls learning methodologies ph.d.3 ssru ธนพล ก่อฐานะ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ “ทุนทางปัญญา intellectual capital”

สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

สร้าง: อ. 28 ก.ค. 2552 @ 10:36 แก้ไข: อ. 28 ก.ค. 2552 @ 10:36 ขนาด: 65535 ไบต์

ความคิดเห็น

1. tanapol kortana

เมื่อ อ. 28 ก.ค. 2552 @ 10:37

1439709 [ลบ] [แจ้งลบ]

มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การพัมนาตนเองให้มีปัญญาและขีดความสามารถนะครับ

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และพี่ ๆ ทุกท่านค่ะ

การปฏิรูปการศึกษารอบสองกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

การพัฒนาของสถานการณ์ของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ไทยจะบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในประเทศได้อย่างไรภายใต้โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน โลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ ทุนมนุษย์ เช่น การอพยพเข้าเมือง การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ ทุนการเงิน เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ ทุนทรัพยากร เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ ทุนอำนาจ เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ

ตั้งแต่ยุคสังคมเกษตร ยุคสังคมอุตสาหกรรม ยุคสังคมฐานความรู้ และเตรียมก้าวสู่ยุคสังคมหลังยุคสังคมฐานเรียนรู้ เมื่อยุคเปลี่ยนย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งโครงสร้างอุตสาหกรรม วัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนโมเดลทางธุรกิจ แต่คำถามมีอยู่ว่าจะการดำเนินธุรกิจในโลก ที่มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้สามารถสอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และระบบการศึกษาไทย สกศ.ได้จัดทำกรอบของการปฏิรูปการศึกษารอบสองไว้ 8 กรอบ คือ 1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา/ผู้เรียน 2) การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วม 4) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา 5) การผลิตและพัฒนากำลังคน 6) การเงินเพื่อการศึกษา 7) เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 8) กฎหมายการศึกษา และเพิ่มเติมกรอบที่ 9 คือ "การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย" เพื่อให้เป็น Jigsaw เติมเต็มช่องว่างที่เหลือที่จะช่วยสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งกรอบในการปฏิรูปการศึกษารอบสองทั้ง 9 กรอบนี้ จะต้องเดินไปสู่ "คุณภาพทางการศึกษา โอกาสทางการศึกษา และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม" โดยมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นคนเก่งและเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีความภาคภูมิใจในรากเหง้าของความเป็นไทย

การปฏิรูปการศึกษารอบสองกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นจำเป็นที่จะอาศัย ทุน 8 ประการสำคัญที่มีผลต่อการจัดการศึกษาไทย ดังนี้ 1. ทุนมนุษย์ การพัฒนาคนในประเทศให้มีกำลังสมองและกำลังแรงงานที่ดี 2. ทุนทางปัญญา มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ 3.ทุนทางจริยธรรม เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมในสังคม 4.ทุนทางสังคม สามารถนำความรู้ ไปการถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชนและสังคมได้ 5. ทุนแห่งความสุข ให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 6.ทุนแห่งความยั่งยืน การปฏิบัติงานในระยะสั้นและให้เห็นผลในระยะยาว 7.ทุนทางเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ 8. ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ เน้นให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกแบน และจำเป็นต้องพัฒนาทุนมนุษย์ใหม่ 5Ks คือ ทุนแห่งการสร้างสรรค์และทุนทางนวัตกรรม ทำให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ ทุนแห่งความรู้ การอพยพและย้ายถิ่นฐานของทรัพยากรมนุษย์ทำให้เกิดการแข่งขันและเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะพัฒนาคนให้มีทุนทางความรู้ควบคู่กับทุนทางอารมณ์และทุนด้านวัฒนธรรม สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังนี้ ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง รักความสนุกและความสบาย คนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำ เป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนที่ปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา 084-8073320

เรียน  ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

   

            มหาวิทยาลัย Bedfordshair คงเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอังกฤษ การเรียนการสอนคงเป็นแบบ Interactive สำหรับเรื่อง Journal ต่าง ๆ ที่นักศึกษาสามารถนำมา Reference ได้คงออกมาไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้และทันต่อเหตุการณ์

                มหาวิทยาลัยในเมืองไทยมีการเรียนการสอนแบบ Interactive คงจะพอมีบ้างเช่นหลักสูตร International ของมหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ

                ส่วนอื่น ๆ แล้วการเรียนการสอนแบบนี้คงจะมองหาโอกาสยากมาก  ถ้าผู้บริหารประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการศึกษาของประเทศเราไม่ปฏิรูประบบการศึกษาอย่างจริงจัง  และมีเป้าหมายที่ชัดเจน  ลูกหลานเราคงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ดีอย่างอังกฤษครับ

 

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

 

เรียนท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ และพี่ ๆ ทุกคนค่ะ

หนูได้ค้นคว้ามาและแชร์ความรู้นะคะ  

Learning Disability


นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์ ได้กล่าวว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้แตกต่างจากความพิการอย่างอื่น เช่น การพิการแขนขา หรือ ตาบอด ความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นความพิการที่ซ่อนเร้นอยู่  ความบกพร่องทางการเรียนรู้ไม่ได้ทิ้งร่องรอยที่ร่างกายหรือทิ้งอาการที่มองเห็นได้ซึ่งอาจช่วยทำให้คนอื่นเข้าใจหรือให้การช่วยเหลือ

ความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นความผิดปกติที่ส่งผลต่อความสามารถของบุคคลในการแปลความหมายสิ่งที่เห็น หรือ สิ่งที่ได้ยิน หรือ เชื่อมโยงข้อมูลจากหลายส่วนของสมองเข้าด้วยกัน ข้อจำกัดในความสามารถดังกล่าวนี้สามารถก่อให้เกิดปัญหาในหลายรูปแบบ เช่น มีความยากลำบากในการพูด และ การเขียน สหสัมพันธ์ด้านการเคลื่อนไหว การควบคุมตนเอง หรือ สมาธิ ความยากลำบากเหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนและเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ที่จะอ่าน หรือ เขียน หรือ คิดคำนวณ

ความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นสภาวะที่เกิดตลอดชีวิต ในบางรายอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของบุคคล ทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงาน การทำกิจวัตรประจำวัน ชีวิตครอบครัว และบางครั้งแม้แต่มิตรภาพและการเล่น

และกล่าวโดยสรุป(ตามความคิดของหนู) ความบกพร่องทางการเรียนรู้  เป็นพวกที่รู้ว่าผิดพลาดแต่ไม่รู้จักจำ จะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่ผิดพลาด  และผลกระทบจะทำให้ระบบการเรียนรู้ของบุคคล ไม่สามารถเรียนรู้และนำไปปรับปรุงได้

 ที่มา :    สมาคมนักกิจกรรมบำบัด/อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทย ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

งานวิจัย

เรื่อง : การพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)โดยการร่วมมือกัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ผู้วิจัย นายอิศรพงษ์ แสงตะวัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1  ปีการศึกษา 2551

Hypothesis :  บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ส่งผลให้การพัฒนาขีดความสามารถด้านทุนทางปัญญาต่ำ

ลัดดา  ปินตา 084-8073320

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนู (สมศรี นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี วันนี้หนูขอส่งการบ้านและพูดคุยกับท่านอาจารย์เกี่ยวกับงานวิจัยทั้งต่างประเทศและในประเทศ แต่วันนี้หนูขอนำเสนอชื่อ "านวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งท่านอาจารย์ของหนูเจ้าของทฤษฎี 8K's+5K's+4L's+ ทฤษฎี Value Added +ทฤษฎี 3 วงกลม+ทฤษฎี 2 R" แต่หนูควรเริ่มที่งานวิจัยของท่านอาจารย์และ Blog ต่อไปหนูจะนำเสนองานวิจัยของท่านอื่น ๆ นะค่ะ

 

งานวิจัยในประเทศไทยของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ

-          โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร บมจ.มีเดีย อ็อฟ มีเดียส์

-          โครงการสัมมนาเพื่อหาวิสัยทัศน์ของกระทรวงแรงงาน

-          โครงการศึกษาและจัดทำโครงการสร้างเงินเดือนสำหรับการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดีให้การไฟฟ้านครหลวง

-          โครงการดำเนินการปรับปรุงองค์กรของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

-          โครงการสัมมนา เพื่อหาวิสัยทัศน์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

-          การวิจัยสำรวจบรรยากาศในการทำงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

-          โครงการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสำนักงาน ประกันสังคม

-          โครงการศึกษาโครงสร้างการเกษตรและสินค้ายุทธศาสตร์เกษตรในกิจกรรมด้านการจัดสรรทรัพยากรเกษตรให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-          โครงการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้บริษัท                  TN-NIXDORFCOMPUTER (THALAND)CO.,LTD.

 

งานวิจัยในต่างประเทศของ ศ.ดร.จีระ

-          Case Studies on Labor Relation at The Level of The Enterprise in Asia: Siam Cement Company, with Vanee Choikiatkul, Human Resources Institute, Thammasat University, 1982

-          A Feasibility of Reducing The Population Growth Rate of Thailand to 1.5% per Annum By The End of The fifth Five – Year Plan : An Analysis of Contraceptive Markets and Supply, An Analysis of Contraceptive Markets and Supply, submitted to National Economic and So cial Development Board, 1980.

-          Comparative Assessment of Strategies and Programmers Rising Productivity of Poor, submitted to Asian Pacific Development Center, April 1984.

-          Land Tenure Security, Rural Credit and Farm Productivity in Thailand, Published by World Bank.

-          Employment and unemployment in Thailand: The Current Situation and the Projection, with Chesada Lohaunchit, submitted to USAID, August 1984.

-          Different Ways to Measure Minimum Wage and Their Impact in Thailand, with Associates, submitted to Friedrich Ebert Stiftung, July 1985 (in Thai)

-          Employment Effects of Investment, with Predict Charsombat and Watana Israngkura, Paper prepared for USAID, September 1984.

-          Public Sector Employment, with Associates, submitted to Asian Employment Program, International Lab our Organization, 1986.

-          Increasing the Absorptive Capacity of the Urban Economy: A Case of Bangkok, with Watana Isarankura, submitted to UNCRD, 1987.

-          โครงการ ความต้องการกำลังคนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการ MANRES เสนอต่อ USAID, 2532.

-          สหภาพรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย เสนอต่อ สถาบันแรงงานเสรีเอเชีย อเมริกัน 2534

-          Globalization and World of Work : Thailand’s case study, submitted to ILO, 1995

วันนี้หนูขอส่งการบ้านและพูดคุยกับท่านอาจารย์ เพื่อน ๆPh.D3SSRU และท่านผู้อ่านบทความนะค่ะ  "หนูและเพื่อน ๆ ทุกคน.....คิดถึงท่านอาจารย์ม๊าก...มาก ค่ะ" วันที่ 1 ส.ค.ที่จะถึงนี้ หนูและเพื่อน ๆ ดีใจมากที่จะได้พบท่านอาจารย์ และหนูได้เตรียมคำถามที่ไม่เข้าใจไว้เรียนถามท่านอาจารย์ 2 ข้อค่ะ วันนี้หนูขอยุติเพียงเท่านี้ก่อนนะค่ะ

    สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

 

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี ได้ค้นหา งานวิจัยภายในประเทศจาก วารสารการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development Journal) Ramkhamhaeng University Thailand. จากVol.2 No.2 April-June 2006 เพื่อนำเรียนท่านอาจารย์ เพื่อน ๆและผู้สนใจที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning) หนูนำเสนอชื่อเรื่องของงานวิจัยและชื่อผุ้วิจัยดังนี้นะค่ะ

1. เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยอาหารและโภชนาการ: โดย อนุกูล พลศิริ

2. วัฒนธรรมองค์กร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง: โดย นวลลออ แสงสุข

3. การจัดทำแผนกลยุทธ์สำหรับนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: โดย ประชา ตันเสนีย์

4. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับความฉลาดทางอารมณ์: โดย ณรัฐ  วัฒนพานิช

5. ภาวะผู้นำในโลกแห่งหารเปลี่ยนแปลง: โดย โกศล อินทวงศ์

6. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณค่าของพนักงานได้อย่างไร:
    โดย ชูศักดิ์ เจนประโคน

7. องค์ประกอบสุดท้ายของงบการเงิน: ข้อสมมติและหลักการในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน: โดย บุษยา สุโฆสิต

8. กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มทุนในองค์การ: โดย ปรัชญา ชุ่มนาเสียว

9. นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการจัดการความรู้สำหรับผู้ใหญ่: โดย สมศรี เพชรโชติ

10. จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ ABC ในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ดีหรือไม่: โดย วิภาดา ศุภรพันธ์

11. ปัญหาภาษีสรรพากร: กรณีการหักค่าใช้จ่ายแบบ เหมาในอาชีพรับจ้างแรงงาน:
    
โดย อรวรรณ พจนานุรัตน์

12. การบริหารโครงการ: แนวทางสำหรับการปฏิบัติงานโครงการ: โดย วันชัย ปานจันทร์

13. ตัวแบบการย้ายถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โดย มนตรี พิริยะกุล

14. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเชิงธุรกิจ: โดย ศรีนวล แก้วแพรก

15. การคุ้มครองแรงงานด้วยการตรวจแรงงาน: โดย สมรักษ์ รักษาทรัพย์

16. เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์งบการเงิน: โดย บุษยา สุโฆสิต

17. เครือข่ายจัดการความรู้: โดย เกรียงไกรยศ พันธุ์ไทย

18. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรสะท้อนภาระหน้าที่ของนักบริหาร:
โดย มานะ ศรีสุวรรณ

19. เหตุผลทางทฤษฎีสังคมของการไม่ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถาม: โดย มนตรี พิริยะกุล

20. จะต้องใช้ ABC คำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ในระบบ JIT หรือไม่: โดย วิภาดา ศุภรพันธ์

21. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่: โดย สุดารัตน์ ครุฑกะ

22. รูปแบบปัจจัยแห่งความสำเร็จและขอบเขตผลงานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ 
     :
โดย รุ่งฤดี กิจควร

23. การบริหารโครงการ: ในบริบทของการบริหารทีมงาน: โดย ทวีศักดิ์ รูปสิงห์

24. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: โดย สุพินดา ธีระวราพิชญ์

25. การบริหารโครงการของมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จในอนาคต: โดย ฉัตรชัย ประภัศร

26. การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา: โดย รัตนา เฮงสวัสดิ์

27. การพัฒนานิสัยการเรียนเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: โดย สกุล มูลแสดง

28. ฟุตบอลโลกกับเศรษฐกิจ: โดย วิรัช ธเนศวร

29. วิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาที่มีผลกระทบต่อจำเลยในคดีแพ่ง: โดย นคร เศรษฐ์ภูริวัจน์

30. การคำนวณจุดคุ้มทุนที่สอดคล้องกับการคำนวณต้นทุนตามกิจกรรม : โดย วิภาดา ศุภรพันธ์

31. การวิเคราะห์งบการเงินเกี่ยวกับความมีสภาพคล่องและความเสี่ยงในการให้กู้ยืม: โดย บุษยา สุโฆสิต

32. การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: โดย สกุล มูลแสดง

วันนี้หนูขอส่งการบ้านและพูดคุยกับท่านอาจารย์ เพื่อน ๆPh.D3SSRU และท่านผู้อ่านบทความใน Blog นะค่ะ  "หนูและเพื่อน ๆ ทุกคน.....คิดถึงท่านอาจารย์ม๊าก...มาก ค่ะ" วันที่ 1 ส.ค.ที่จะถึงนี้ หนูและเพื่อน ๆ ดีใจมากที่จะได้พบท่านอาจารย์ และหนูได้เตรียมคำถามที่ไม่เข้าใจไว้เรียนถามท่านอาจารย์ 2 ข้อค่ะ วันนี้หนูขอยุติเพียงเท่านี้ก่อนนะค่ะ

 สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

 

       

 

 

 

 

Thailand Top 100 HR

จัดขึ้นโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งที่ 2

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้กลับมาเยี่ยมรั้วเหลืองแดงอีกครั้งหนึ่ง และยิ่งภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งนี้ที่ได้จัดงานที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกคืองาน “ Thailand Top 100 HR” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่มีชื่อเสียง มีความสามารถมากมายเต็มห้องประชุมและมีการจัดงานได้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบมาก ๆ ครับ

ผมจะขอพูดถึงการกล่าวปาฐกถาพิเศษของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติอาเชี่ยน เกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีที่อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สอนพวกเราเท่าที่ผมจะเก็บเกี่ยวมาได้คือ

1. การพูดถึง MRA การทำความตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement : MRA) ของอาเชียน ซึ่งตรงกับการสอนเรื่อง HR Architecture คือ ท่านได้พูดถึงมาตรฐานของคุณภาพวิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิศวกร , บัญชี ,นักกฎหมาย เป็นต้นโดยความหมายของการทำ MAR คือ MRA ย่อมาจาก “Mutual Recognition Agreement” โดยมีชื่อที่เรียกเป็นภาษาไทยว่า “การทำความตกลงยอมรับร่วม” อันเป็นความตกลงที่เสนอให้คู่ค้าแต่ละฝ่ายยอมรับมาตรฐานและการตรวจสอบสินค้าของกันและกันในการทำการค้าระหว่างประเทศ และเกิดขึ้นเมื่อประเทศคู่ค้ามีมาตรฐานบังคับที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละประเทศจะเปรียบเทียบมาตรฐาน และวิธีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าแต่ละชนิดที่จะทำการค้าของประเทศคู่ค้า โดยที่ไม่ต้องตรวจสอบและรับรองซ้ำอีกต่อไป (ความหมายของ MAR ทางคุณเอ้ ผู้ช่วยของอาจารย์ช่วยค้นหาให้เราครับ) ดังนั้นถ้าเราสามารถสร้างบุคลากรวิชาชีพเหล่านั้นได้ตามมาตรฐานะ MAR ของอาเชี่ยนคนไทยของเราก็สามารถไปทำงานในเครือข่าย 10 ประเทศของอาเชี่ยนได้ทันที นี่คือเรื่อง HR Architecture และส่วนของทฤษฎี 3 วงกลมหัวข้อ Competency การสร้างในบุคลากรคนไทยมีขีดความสามารถที่สามารถทำงานในทุกประเทศทั่วโลกทัดเทียมกับชาติอื่น ๆ นั่นเอง

2. การพูดถึงโอกาสของเราขอให้มองอาเชียน 10 ประเทศซึ่งมีประชากร 600 ล้านคนเป็นภาพรวมไม่ใช่มองเพียงประเทศไทย ก็เปรียบได้กับการพูดถึงทฤษฎี 3 วงกลมที่พูดถึงเรื่อง Context หมายถึงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในอนาคตคือพื้นที่ของประชากร 600 ล้านคนใน 10 ประเทศของอาเชี่ยน นี่คือการเปลี่ยนแปลงของการรวมกันเป็นประชาคมซึ่งเกิดขึ้นมามากมายเช่นเดียวกับของ EU เป็นต้นและสอดคล้องกับเรื่อง Necessary Revolution นั่นเอง

3. Innovation และ Intellectual ท่านได้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างมากมายและเป็นจุดสำคัญที่สุดที่เราต้องสร้างให้คนของเรามีและจะเป็นหัวใจของการแข่งขัน Competition ซึ่งตรงกับหัวข้อ Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม)และ Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) ของอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s นั่นเองถ้าเราทำได้เราจะสามารถมีการแข่งขัน Competition กับทุก ๆ ประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบเป็นตัวของตัวเอง ถ้าเราทำไม่ได้ก็จะต้องกลายเป็นการทำธุรกิจแบบ Supplementary หรือจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเราต้องทำธุรกิจภายใต้จมูกของคนอื่นตลอดไป เช่นการเป็นได้แค่ Subcontract (รับงานต่อจากคนอื่นอีกทอดหนึ่ง) ไม่สามารถเป็นตัวจริงของการทำงาน หรือเป็นตัวจริงของการเซ็นสัญญาต่าง ๆ (Prime)

4. Motivation (การจูงใจ) ท่านได้มาพูดปาฐกถาในครั้งนี้ผู้ร่วมงานทั้งหมดล้วนแล้วแต่ผู้นำทางธุรกิจของประเทศ ดังนั้นท่านได้ทำหน้าที่ Motivation คนเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี และก็ตรงกับทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์ นั่นเอง

ผมขอสรุปถึงสิ่งที่ผมได้รับนั้นมีมากมายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่สิ่งที่ผมรู้สึกเพิ่มขึ้นคือ ความทันสมัยกับเหตุการณ์ ฟังแล้วรู้เรื่อง มีส่วนร่วม หรือมีความรู้สึกว่า เราได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อนหน้านี้แล้วครับ

ธนพล ก่อฐานะ

Ph.D.3 SSRU

081-840-6444

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมนำลงใน Blog ด้วยครับ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

http://gotoknow.org/blog/tanapol-kortana-phdp

Thailand Top 100 HR จัดขึ้นโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งที่ 2

Thailand Top 100 HR จัดขึ้นโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งที่ 2 เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ... มีต่อ »

หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้

คำสำคัญ: 1. การพูดถึง mra การทำความตกลงยอมรับร่วม (mutual recognition agreement : mra) ของอาเชียน ph.d.3 ssru thailand top 100 hr จัดขึ้นโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งที่ 2 ธนพล ก่อฐานะ

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้กลับมาเยี่ยมรั้วเหลืองแดงอีกครั้งหนึ่ง และยิ่งภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งนี้ที่ได้จัดงานที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกคืองาน “ Thailand Top 100 HR” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่มีชื่อเสียง มีความสามารถมากมายเต็มห้องประชุมและมีการจัดงานได้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบมาก ๆ ครับ

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี ได้ค้นหา งานวิจัยภายในประเทศจาก วารสารการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development Journal) Ramkhamhaeng University Thailand. จากVol.2 No.1 January-March 2006 เพื่อนำเรียนท่านอาจารย์ เพื่อน ๆและผู้สนใจที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning) หนูนำเสนอชื่อเรื่องของงานวิจัยและชื่อผุ้วิจัยดังนี้นะค่ะ

 

1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรโดยใช้ฐานการความรู้ โดย วันชัย ปานจันทร์

2. พัฒนาครูด้วยนวัตกรรมการศึกษา : การนิเทศแบบเชิญชวน   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง อารมณ์ ฉนวนจิตร

3. นโยบายต่อต้านการก่อสร้างของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : มิติการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศานต์ พันธุลาภ

4. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในเชิงกลยุทธ์ของกิจการค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดย นายประชา ตันเสนีย์

5. การศึกษากับการเมือง..ปุจฉา : การศึกษากับการเมืองเกี่ยวข้อง/สัมพันธ์กันอย่างไร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพิศ  โห้งาม

6. การบริหารการประเมิน : ความเป็นองค์กรการแห่งการเรียนรู้ของ สมศ. โดย นายอัมพร  ปัญญา

7. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับบัตรเครดิต  โดย  รองศาสตราจารย์ประกอบ  ประพันธ์เนติวุฒิ

8. Agenda Setting on Telecommunications Services Policy :Two Case Studies  โดย Assoc. Prof. Dr. Sumalee Wongwitit

9. กระบวนการคิดเชิงระบบ...พบความสำเร็จแบบยากที่จะอธิบาย  โดย นายมานะ  ศรีสุวรรณ

10. องค์การแห่งการเรียนรู้กับการจัดการองค์การความรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูประบบราชการไทยได้อย่างไร  โดย  รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์  เจนประโคน

11. เด็กออทิสติก : ความรู้สู่การฟื้นฟูพัฒนา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวชล ขุนแก้ว

12. การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..ของนักแสดงสาธารณะ  โดย  รองศาสตราจารย์อรวรรณ  พจนานุวัตน์

13. วิธีแทนที่ข้อมูลที่สูญหาย  โดย  รองศาสตราจารย์มนตรี  พิรพยะกุล

14. พฤติกรรมการบริการของผู้นำองค์การ  โดย นายฉัตรชัย ประภัศร

15. คุณลักษณะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการวางแผนอาชีพ  โดย  อาจารย์ผกาพันธ์  อินต๊ะแก้ว

16. แนวทางการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรม  โดย  น.ส. จรัสศรี  รัตตะมาน

17. ความสำคัญของบุคลิกภาพกับการสอนงาน    โดย  น.ส.สุภัชชา  กิ่งแก้วเจริญชัย

18. การจัดการความรู้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงเดือน  จันทร์เจริญ

19. ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างในการทำละเมิดของผู้รับจ้าง   โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสิทธิ์  จงวิชิต

20. การจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้สู่ระบบราชการไทย  โดย  น.ส. บงกช  ลิมปะพันธุ์

21. การใช้ Competency พัฒนาบุคลากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงเดือน จันทร์เจริญ

22. โรคอ้วน (Obesity)  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราพร วรแสน

 

วันนี้หนูขอส่งการบ้านและพูดคุยกับท่านอาจารย์ เพื่อน ๆPh.D3SSRU และท่านผู้อ่านบทความใน Blog นะค่ะ  "หนูและเพื่อน ๆ ทุกคน.....คิดถึงท่านอาจารย์ม๊าก...มาก ค่ะ" วันที่ 1 ส.ค.ที่จะถึงนี้ หนูและเพื่อน ๆ ดีใจมากที่จะได้พบท่านอาจารย์ และหนูได้เตรียมคำถามที่ไม่เข้าใจไว้เรียนถามท่านอาจารย์ 2 ข้อค่ะ วันนี้หนูขอยุติเพียงเท่านี้ก่อนนะค่ะ

 สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

 

เรียนอาจารย์ ศ.ดรงจีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้ถ่ายรูปในงานThailand Top 100 HR จัดขึ้นโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งที่ 2ไว้เป็นที่ระลึกครับ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

 

ผมถ่ายภาพร่วมกับคุณฉัตรแก้วครับ

Thailand Top 100 HR
จัดขึ้นโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งที่ 2
เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันรู้สึกประทับใจมากที่ได้เห็นคนเก่ง ล้วนเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับประเทศ
มารวมกันอยู่ ณ หอเชิดชูเกียรติแห่งนี้ นอกจากนั้นยังได้ฟังปาฐกถาพิเศษ ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติอาเชี่ยน ซึ่งมีประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาประเทศ 4 ประการที่เราต้องพึ่งพาต่างชาติ คือ ทุนที่จะพัฒนาประเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะพัฒนาสังคมไทย ผู้บริหารองค์กร หน่วยงานที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ และเมื่อผลิตสินค้าแล้วก็ขายต่างประเทศ ท่านยังได้พูดถึงในอนาคต ปี ค.ศ. 2015 จะสร้างประชาคมอาเซียน ประเทศไทยต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและปฏิบัติงานได้ในทุกประเทศทั่วโลก ในอนาคตต้องเป็นเศรษฐกิจแบบบูรณาการ คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ต้องเท่าเทียมกัน ต้องมองว่าทรัพยากรมนุษย์ของไทยต้องต่อสู้กับคน 600 ล้านคน ในอาเซียน ซึ่งมี 10 ประเทศ ในทุกสาขาวิชาชีพต้องมีการประกันคุณภาพ และ ต้องมี MRA (Mutual Recognition Agreement) คือการทำความตกลงยอมรับ ของอาเซียน อยากให้คนไทยเก่งในด้านใด ควรมีการค้นคว้า วิจัย พัฒนา และให้สร้าง Center of Excellence แชร์ความสามารถ ให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ในอาเซียน เราต้องเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่เป็นผู้ถูกกำหนด
หลังจากได้ฟังแล้วทำให้รู้สึกว่าหากเราทุกคนร่วมมือกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ทฤษฎี 8k's , 5k's และพัฒนาทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยใช้ทฤษฎี 3 วงกลม ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์แล้ว ทรัพยากรมนุษย์ที่ทุกคนคาดหวังจะได้เห็นในอนาคต ต้องปรากฏอย่างแน่นอน

นางจิราพร สวัสดิรักษ์ โทร. 087-066-2359

เรียน ท่านอาจารย์จีระ

หนูได้มีโอกาสไปร่วมงาน Thailand Top 100 HR ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 กค.ที่ผ่านมา ซึ่งภายในงานมีปาฐกถาของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ถือว่า เป็นปาฐกถาที่ให้ความรู้ แนวทางของการพัฒนาประเทศ แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยเป็นอย่างยิ่ง โดย ดร.สุรินทร์กล่าวว่า

1. ต้องการเห็นความร่วมมือในกลุ่ม ASEAN ด้วยกัน เป็นความร่วมมือที่เรียกว่า Mutual

Recognition Agreement : MRA โดยเป็นความร่วมมือในการสร้างมาตรฐานสินค้าของกลุ่มประเทศที่ร่วมลงนาม เป็นการยอมรับมาตรฐานและการตรวจสอบสินค้าของกันและกัน โดยไม่ต้องตรวจสอบและรับรองซ้ำอีก

2. ต้องการเห็นความร่วมมือที่เรียกว่า Complementary Economy ในระหว่างกลุ่มประเทศ ASEAN ซึ่งแปลความหมายได้ว่า แต่ละประเทศจะทำการผลิตสินค้าตามที่ตนเองถนัด และมีทรัพยกรธรรมชาติเกื้อหนุน เช่น ประเทศไทย เป็นศูนย์การผลิตด้านอาหาร ประเทศสิงคโปร์ เป็นศูนย์การขนส่ง การเงิน เทคโนโลยี่ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์ด้านพลังงาน เป็นต้น แล้วประเทศในกลุ่ม ASEAN จะมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะแต่ละประเทศผลิตตามที่ตนเองถนัด จะทำให้ ต้นทุนการผลิตต่ำลง ราคาซื้อขายก็จะต่ำลงตามไปด้วย เป็นการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน ทำให้ประเทศใน กุล่ม ASEAN ไม่ต้องคอยแต่รับความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆตามที่เคยเป็นมา

จากแนวความคิดของ ดร.สุรินทร์ ดังกล่าวข้างต้น ถ้าเป็นจริงได้ ก็จะส่งผลมายังแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยด้วย โดยการนำ 8 K’s และ 5K’s มาใช้ในการแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไป เพราะจะกระทบต่อองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของประเทศ ตาม HR Architecture ของท่านอาจารย์ค่ะ

สุนันทา 081-309-5959

คนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ แต่ล้มเหลวในชีวิตการแต่งงาน เหตุผลคืออะไร

การที่คนประสบความสำเร็จในธุรกิจ แต่ล้มเหลวในชีวิตการแต่งงาน จากทฤษฎี 8K’s อธิบายได้ว่า คนที่รวย มีทรัพย์สินมาก ใช่ว่าจะทำให้คนเหล่านั้นประสบความสำเร็จเสมอไป ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เขาสามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว ในกรณีนี้ คือ Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน เนื่องจากเพราะเขาอาจไม่เข้าใจว่าการเรียนรู้เป็นสภาวะที่เกิดตลอดชีวิต เช่นเดียวกับ ทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ขาดความต่อเนื่องในการเรียนรู้ซึ่งสิ่งสำคัญในการพัฒนาคนให้เกิดความยั่งยืน เพราะความรู้ใหม่ ๆ นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ของเราจะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

จากกรณีข้างต้น จึงอาจตั้ง Hypothesis ในการทำวิจัยดังนี้

คนที่มีทุนแห่งความยั่งยืนน้อย จะส่งผลให้เกิดการหย่าร้างมากกว่าคนที่มีฐานะทางการเงินต่ำ

รัชศักดิ์ สารนอก 08-1382-4884

อาจารย์จีระได้ 8 K และ 5 K มาเพราะอะไร?

เกิดจากความสงสัยและความไม่แน่ใจของท่านอาจารย์ครับ ตั้งแต่ตอนเด็กท่านอาจารย์เคยมีคำถามกับตัวเองว่า .. “เราเรียนไปเพื่ออะไร? และการเรียนชั้นมัธยม ปริญญาตรีหรือแม้กระทั่งสูงกว่านั้น เป้าหมายของเราคืออะไร?” คนเก่ง”นั้น เราวัดกันที่ผลการเรียน คือสอบได้คะแนนดี สอบได้ที่หนึ่ง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เรามักจะใช้วัดกัน พอมาถึงตอนนี้ทำให้ชักไม่แน่ใจว่าการเป็นคนที่เรียนเก่งจะทำให้คนเหล่านั้นประสบความสำเร็จเสมอไป แล้วปัจจัยอะไรที่จะทำให้คนเราสามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว ซึ่งก็น่าจะหมายถึงทำงานดี มีความก้าวหน้า เป็นผู้นำ เป็นคนดี เป็นคนเก่งของสังคมต่อไป.. (บทความจากหนังสือชื่นชุมนุมฯ ในฐานะนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์…) ซึ่งคำถามเหล่านี้ทำให้ท่านอาจารย์จีระ คิด วิเคราะห์มากยิ่งขึ้น และพยายามหาคำตอบมาโดยตลอด รวมกับท่านอาจารย์มีโอกาสได้ร่วมทำงานกับท่านอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี รวมถึงท่านพารณ ซึ่งท่านทั้งหลายเหล่านนี้เป็นผู้ที่ให้โอกาส สนับสนุนและมองเห็นความสำคัญของการพัฒนา “คน” ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ตลอดจนการได้เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันฯ อยู่ด้วยกันเป็นเวลา 4 สมัย หรือประมาณ 16 ปี จากงานต่าง ๆ เหล่านี้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนา “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” ที่ทำอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ได้ค้นพบ Human Resource Architecture จนทำให้ท่านอาจารย์เกิดความคิดว่าการสร้าง “ทรัพยากรมนุษย์” นั้น หากคิด วิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์ก็คงจะเปรียบเทียบได้กับ ทฤษฎี “ทุน” (K) และทุนที่จะใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง “ทรัพยากรมนุษย์” ในยุคโลกาภิวัตน์อย่างน้อยควรจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีทุน 8 ประการด้วยกันผมตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่าทฤษฎี 8 K’s และเมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดความทันสมัยทฤษฎี 5 K’s จึงได้เกิดขึ้นตามมาอีก(ที่มาของข้อมูล http://chiraacademy.info/index.php?option=com_content&task=view&id=56&Itemid=66 )

ฐิติรัตน์ ถาวสุจริตกุล

Tel. 0863517928

มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในต่างประเทศหรือไม่

1. HAWAIIAN MEN AND INCOME ATTAINMENT: A HUMAN CAPITAL ANALYSIS

Abstract by Maria-Elena D. Diaz

Using 1990 U.S. Census Five Percent Public Use Micro sample data for Hawaii and California, I examine the income attainment process for understudied Hawaiian men compared to white, Japanese, Chinese, Filipino, and African American men,using a human capital model with multivariate analysis. My analysis is limited to American born wage earners residing in a Metropolitan Statistical Area. Although

California Hawaiians earn a higher income and obtain higher returns to their human capital, I find that differences are greater between racial/ethnic groups in California compared to Hawaii. Further, there seems to be a two-tiered socioeconomic attainment process in terms of returns to human capital and income attainment, whereby Hawaiians, Filipinos, and African Americans constitute the bottom tier.

Possible theoretical explanations for income attainment are explored, including assimilation, cultural

and structural theories, internal colonialism, and discrimination.

( ที่มา http://etd.nd.edu/ETD-db/theses/available/etd-04142005-102639/unrestricted/DiazMD042005.pdf )

2. Abstract : Title : The Subtleties of Retention – A Human Resource Management Perspective

Authors : Christian Wallin and Ivan Stipic

Purpose : The purpose of this thesis is to discuss and explain the subtleties of retention in knowledge-based firms from a human resource management perspective. Furthermore, to investigate which employee demands firms should consider when formulating their retention strategies. Realization: Initially, the thesis presents a theoretical study where existing theory of Human Resource Management and retention strategies is presented. Secondly, empirical evidence collected through interviews with so-called knowledge workers and HR-managers is presented. The empirical evidence is compared to existing theoretical material and also between interviewees. Results :The subtleties of retention present themselves in every aspect of the retention equation. From a resource-based view of the firm, retention of employees is of great importance in knowledge-based firms, as the human resources mainly constitute their competitive advantage. However, the degree of importance varies depending on factors such as organizational size, industry and lab our supply. Employees have become increasingly flexible making it difficult to build sustainable competitive advantage on human resources, since people cannot be owned. We found that theory often neglects the social complexity of people and formulate retention strategies based on homogeneous groups. If retention is deemed of great importance we find that firms should consider the employee’s individual demands, where challenging work, opportunities for learning and substantive rewards are usually deemed most valuable.

( ที่มา http://www.essays.se/essay/2e456fd071/ )

3. Modern Human Capital Management

Author: Madita Feldberger; [2008]

Abstract: Title: Modern Human Capital Management Seminar date: 30th of May 2008 Course: Master thesis in Business Administration, 15 ECTS Authors: Madita Feldberger Supervisor: Lars Svensson Research Problem: Despite of the success of Human Capital Management (HCM) in research it did not arrive yet in the HR departments of many companies. Numerous firms even have problems to set their strategic goals with focus on HR. The HR Balanced Scorecard approach could be a big opportunity as a help method to assist HCM entering the doors of many organizations and it even could reach understanding about the usefulness of HCM. Research objectives: The purpose of this thesis is firstly to make a SWOT analysis with focus on Human Resources for a specific company, secondly to develop a Strategic Map and thirdly to create an HR Balanced Scorecard for that organization in order to illustrate a way to create understanding about the usefulness of HCM. Methodology: In this master thesis, it has been selected to employ a case study approach in a single organization, Sigvaris, where the data collection is based on both from existing available sources of information and from qualitative interviews. To give this dissertation a practical point of view a thorough SWOT analysis about the Swiss company Sigvaris with focus on human capital was made. Three employees of the HR department were interviewed. The results out of the SWOT analysis are applied to develop a Strategy Map. Then this Strategy Map was shown to the three interview partners and the strategic goals were discussed and the links between them were reviewed as well. For the development of the HR BSC the three interview partners’ assisted to decide which strategic goals are important, which measures are useful, defined the target values and gave examples for the action plans. Theoretical framework: The theoretical framework includes an explanation of the Human Capital, the HCM methods to collect data, the SWOT analysis and the Balanced Scorecard. Conclusion: The conclusion is that regardless of the catchphrases about employees that they are their most essential asset, a lot of managers haven’t methodically explored how and where human capital makes winning strategy execution in their firms. The present HCM realization is characterized through the following three aspects: 1. Quantitative orientation; 2. Operative orientation; 3. Related to the past orientation. The analysis of the HR department at Sigvaris approves this as well. That means that the difference between traditional and modern HCM does not exist in the time dimension. You can not say “yesterday” means traditional HCM, “today” means modern HCM. The practical example with the company Sigvaris shows that the SWOT analysis is a useful tool for obtaining a first impression of an organization’s strategic situation and a big aid to develop the strategic goals. To develop a Strategic Map for Sigvaris made clear how the HR department generates value and therefore it is an important task for planning an HR Balanced Scorecard. HR BSC is a concept that can be used easily to check and apply the HR strategy of the firm. As the work with Sigvaris showed, is the HR BSC a model which should definitely be used more in practice. The HR BSC with help of the SWOT analysis and the Strategy Map is an approach which can open the doors to firms for the HCM.

(ที่มา http://www.essays.se/essay/696f8a85ed/ )

4. Title : Corporate Sustainability/CSR Communications and Value Creation: A Marketing Approach

Author: Bibri Mohamed; [2008]

Abstract: The purpose of this study is to explore the current practices in corporate sustainability/CSR communications and how this trend contributes to corporate value creation. More specifically, this study looks at this subject from the angle of how companies can use corporate sustainability/CSR communications in marketing activities to attain corporate marketing objectives. To achieve the aim of this study, an examination of the current practices in corporate sustainability /CSR communications was performed through a pertinent empirical and theoretical literature review as well as a quantitative and qualitative empirical method using a survey questionnaire. The author attempted, in the same way, to illustrate how corporate sustainability/CSR communications can strengthen corporate reputation and directly enhance financial performance. For theory, two bodies of literature (corporate communications and corporate sustainability) were selected for review in terms of the degree of synergy and integration between them and their implications for this thesis. The key findings from literature review and empirical study showed that the practices of corporate social responsibility communications occurs through CSR, Triple Bottom Line (PPP) or corporate sustainability reporting, stakeholder dialogue on sustainability issues and social and environmental communication programs. Also, the auditing and assurance of CSR reporting is carried out through different measures including internal (i.e. human resources management, CSR and/or PR department) and external (i.e. business partner, consulting or risk management firm) or both measures. It was also found that sustainability has been a part of corporate culture and strategy development for a number of organizations pursuing the sustainability path for decades. Moreover, public relations activity is ranked the most effective in communicating sustainability at corporate level and has the potential to reach a wide spectrum of stakeholder audiences. However, a level of skepticism was noticed among stakeholders towards corporate sustainability/CSR communications. Nonetheless, knowing how stakeholders perceive corporate image and what they expect in return for their support is fundamental in designing effective corporate and marketing communications strategies. Stakeholders’ relations management is the bottom line for success and sustainability of the business and lies at the core of CSR practice and its reporting. Further, the growth of corporate sustainability/CSR communications has reflected the keen interest from all stakeholders; hence, it has become a topic of major importance and also, as it was found, a key factor that experts and planners in the field should capitalize on and watch in competitive marketplaces. Furthermore, having a prosocial and environmental agenda means having a sound corporate and marketing communications strategies that can build a company’s reputational standing and create sustainable competitive advantages. The trend towards injecting sustainability into corporate decisions making and strategy development has come about through what organizations have achieved in terms of value creation pertaining to reputation and financial performance enhancement. The author’s review of the literature makes an advance on extant reviews of the literature by highlighting the importance of corporate sustainability/CSR communications in marketing with respect to corporate value maximization. Overall, this thesis end eavours to present contributions, avenues and departure of journeying for further empirical research and development.

(ที่มา http://www.essays.se/essay/63fc44ffec/ )

5. What leaders can do to keep their key employees - Retention Management

Author: Lisa Hedberg; Maria Helnius; [2007-09-03T08:22:31Z]

Abstract: Background: retention management is a highly topical subject and an important dilemma many organizations might face in the future, if not facing it already. We believe that the leader plays a key role in employee retention and retention management. The concept of retention management can both have a narrow, and a broader significance. Both parts of its significance are generally included in this thesis. The background of the thesis present a few articles that discuss issues that makes it important for the organization, and the leaders, to work hard with retention management. The research is based on the leaders in the Finnish case company Tradeka. Following key questions are intended to be answered: What are the consequences between leaders actions and employees retention? Which is the leader’s role when it comes to retaining employees? Purpose statement: The purpose of the thesis is to investigate and analyze how company leaders today can retain their key employees. How can the provision of key human resources develop a long-term relationship that makes top employees stay in the company? The study aims to establish the procedure leaders apply to retain employees. The purpose is to compare the qualitative study, made at the case company, with findings from the thesis theoretical framework.Research method: The study is a qualitative, as well as a theoretical study where empirical findings and theories has been compared. The intention of investigating and using the Finnish company Tradeka Limited as a case company, is to make the information from the theories more valid, and also the interest in how retention management works in practice. Eleven qualitative interviews were conducted at Tradeka’s financial department, both with supervisors and employees to get a broader view at the phenomenon retention management .Result: Leaders and their skill in creating a culture of retention, has becoming a key in why people stay and what usually drives them away from a company. The leader has become the main factor in what motivates people’s decision to stay or leave. For organizations to keep its key employees their number one priority should be to look at their management, because people leave managers and not companies. Characteristics in a leader that are of importance, as the leader plays a key role in retention management is: trust builder, esteem builder, communicator, talent developer and coach, and talent finder. The leader’s relation to the employees plays a central role in retaining employees, because employees need to feel involvement, and that their presence count. When retention is a core value, good things happen for customers, employees, and the company.

(ที่มา http://www.essays.se/essay/e3d28c68a0/ )

6. Sustainable Business at Small and Medium-Sized Enterprises (SMEs) : The Case of Coffee Queen AB

Author: Julia Jonas; Stefan Eriksson; [2007]

Abstract: Society demands more and more that corporations take over responsibility on the effects of their business actions in a stakeholder view. Corporate Social Responsibility and Corporate Governance are catchwords in this context that stand for a management view there one focuses on more than profits and quality. In corporate responsibility management one takes a stakeholder view and integrates also issues such as supplier relations, supply chain management, environmental practices and sustainability as well as labor standards and human rights into the management view. The integration and balance between economic, environmental and social issues going above legal requirements is called triple bottom line thinking. Today, corporate responsibility is no more only an issue for large international corporations but also for SMEs with limited resources and less market power. The purpose of this thesis is to describe and understand how a sustainable business approach can develop and be maintained in SMEs. By examining the case Coffee Queen, we want to find out about driving forces for development of corporate responsibility. To receive nuanced information and deeper insight into the corporate responsibility of a company, a single case study with a qualitative research approach was chosen. The empirical material for this case was collected during a visit of Coffee Queens’ plant in Arvika and three open personal interviews. Based on a literature review and narratives from the empirical material it was found that driving forces for the development towards sustainable business are strongly related to leadership by values. The engagement of one or more organization members that are supported by the top management and a values base that gives a framework for corporate behavior and supports the reputation of the company were found to be important variables to reach an ISO 14000 certification for Coffee Queen. From the management side, the corporate responsibility can be seen as a market requirement and used as a marketing tool for competitive advantage. A strategic approach to corporate responsibility was appeared to be helpful as it increases the accountability of positions, and demanded in SMEs. Total quality management according to ISO 9000 and 14000 was in this context found as additional driver for sustainable development. On a basis of continuous improvement companies have to forward their positions step-by-step towards an integrated sustainability approach. This idea of corporate responsibility development is demonstrated by a model showing the steps towards an integrated triple bottom line. With these findings, this study provides insight into corporate responsibility in a SME and links values-based management and quality management to the process of developing a sustainable business approach.

(ที่มา http://www.essays.se/essay/5421642f31/ )

7. How to motivate assembly line workers

Author: Maja Saitovic; Valdete Jusufi; [2007]

Abstract: The purpose of our master thesis was to investigate what motivates assembly line workers performing low-skill jobs in a small industrial laundry business. We wanted to see what factors determine and influence their motivation to work and if and how this motivation can be improved with respect to assembly line systems in general. The method of our investigation was qualitative in nature, where we studied one firm that leases clean bed clothes and textiles to hotels and restaurants around Sweden. We constructed a survey on motivation and handed it out to the assembly line workers who deal with the laundry. Furthermore, we interviewed the shift manager in order to get the company’s view on employee motivation. Our findings indicate that there are several overlapping factors that determine and influence motivation in the long run. From this particular case we saw that a unified working culture and collective efforts both boost the willingness to work and help the process run smoothly. Furthermore, proper communication is motivating, where everyone should be committed to company goals, but the workers should be able to take part in profits, and not just generate them. Also, employees have to be considered as important as customers are. Another factor is to have the right resources to execute company plans, such as proper working techniques that minimize stress, injuries and frustration, and more responsibility that allows employees to see the whole system by learning about the technical aspects, or engaging in customer contacts. When trust builds up between the workers and the management, there will be less need for a controlling boss, and people will be more motivated to work when they are not constantly monitored by their leader. In addition, more CEO visits are encouraged at plant level, because they send the signal that the company cares about all its employees. Finally, a crucial factor is feedback, where the firm should not only criticise, but praise everyone for a job well done. This way, the workers will feel worthy. When long term factors are weak or missing in the company, the only motivation for the people is money. However, money can work as a short term and a long term motivator because it serves as a tool to satisfy needs of both security and self esteem outside work. Considering motivation and assembly lines in general, when the assembly line is at its core, where efficiency is the goal and workers serve as means to get there, the only motivation is money, and possibly working colleagues. Intrinsic motivation can be reached by moving away from the actual system and performing other tasks. Still, the long term factors can improve the situation to a certain extent, but sooner or later everyone will turn into a well oiled machine with no further ways to improve motivation, since boredom and routines will remain. One goes from being a cog in the machinery to an integral part of a successful engine. It is still the same content, but in a different package. (ที่มา http://www.essays.se/essay/a1b21206c2/ )

8. Talent Management : How firms in Sweden find and nurture value adding human resources

Author: Patrik Kull; Erik Brandt; [2007]

Abstract: Sweden is entering a time characterized by a shortfall of qualified labour. Thus companies will have to hold on to, and develop their most valued employees since it is getting harder to find competent replacements. By finding and developing Talents, companies will improve their position in the market and perhaps even create a competitive advantage. The academic discipline concerning locating, assessing, developing and retaining Talents is called Talent Management.

Purpose

To identify how the most desirable employers in Sweden work with Talent Management, and implications following its practises.

Method

The selection was made based on the response of a pre-study of 30 large Swedish companies recognised for their employment practises. Nine oral interviews, with a number of HR professionals at the corporations, were performed to investigate how they utilise Talent Management to create more value from human resources. The thesis takes a multiple case study approach investigating the utilization of Talent Management practises in Sweden.

Conclusion

The Swedish dialect of Talent Management correlates with the frame presented by theory. Swedish firms are mostly locating Talents internally but are willing to use outsourcing for some recruitments. Talents’ competencies are more important than their credentials. Within the frame of their job description, Talents are encouraged to find creative solutions to solve their tasks. Swedish firms are increasingly using assessment and clear feedback as foundation for the individual development plans. Within the individual development plans there is on-the-job training, job rotation and mentors. This is also a part of the retention process which focuses on recognition, relocation and career management. Implications of the work with Talent Management in Sweden are; since the companies investigated employed, or were about to employ, Talent Management processes, it seems that they are well prepared for the future war for Talents and will better cope with the gap occurring when baby boomers retire. Thus, firms adapting to Talent Management, and sees the strategic importance of it, can gain a competitive advantage against others not concerned with these practises.

(ที่มา http://www.essays.se/essay/47c110a845/ )

9. M&A : Leading Human Capital from a Strategic Management Perspective

Author: Paul Guiot; Mary Carmen Parra Gomez; [2006]

Abstract: The following is the presentation of our master thesis study which intended to studied from a Human Resources perspective the M&A process. “What defines the integration achievement in a M&A process from a organizational level perspective?” This represents the main issue to answer and discuss about. It was conducted by the analysis of New Wave Group and Orrefors Kosta Boda acquisition process as the case study, representing the reality field and source of practical implications. To answer this research question, it was selected some of the most important elements of the Human Resources Strategies like Leadership and communication, motivation and commitment. Moreover, two main stages made up the attention of our study; the pre stage negotiation, and the post acquisition phase. The principal outcome constitutes the analysis in practical and theoretical terms, of the special condition of acquisitions with one dominant part constituting the “big saviour” and how this change is traduced into the integration process.

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

0863517928

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี  วันที่30-31กรกฏาคม2552 นี้ตัวหนูเข้ารับการสัมมนาวิชาการและในวันที่ 31 หนูได้รับเชิญให้มาบรรยายเรื่อง "Good Value สู่ชุมชน" ทีณ.โรงแรมมิราเดิลแกรนด์ กรุงเทพฯ โดย ภาพรวมของงานมี Themes ว่า "พลังปัญญาแห่งงานจิตอาสาและงานบริการปฐมภูมิ ปี2552" ผู้จัดคือกรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข 

ในช่วงเช้าของวันแรกนั้นหลังจากพิธีเปิดงาน หนูได้ฟังการบรรยายของ "ดร.ระพี สาคริก" ปราชญ์การเกษตรของแผ่นดินประจำปี2552 ได้บรรยายเรื่อง "ความงดงามแห่งชีวิต" ท่านดร.ระพี สาคริก อายุ 87ปี แต่ท่านดูแลสุขภาพดีมากคะ สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ โดยเฉพาะจิตใจดูจะแข็งแกร่งกว่า(หนู)อีกนะคะ  ท่านได้นำเสนอเรื่องดี ๆๆดังนี้คะ

1. ปราชญ์ของแผ่นดิน

2. ศิลป์ในการดำเนินชีวิต

3. กว่าจะรู้ความจริง?

4. "การศึกษา กับ การจัดการ"

5. การ "เรียนรู้" นั้น "สำคัญไฉน"

6. คืนกล้วยไม้ "สู่ธรรมชาติ"

7. กลับบ้านเราเกิดที่รัก

8. ชุมชนเข้มแข็ง....เข้มแข็งจริงหรือ????

9. วิญญาณความรักของนักปราชญ์

หนูคิดว่าการมาสัมมนาครั้งนี้นอกจากหนูจะนำเรื่อง "Good Value สู่ชุมชน" ของหนูมา "แลกเปลี่ยน"กับบุคคลากรสาธารณสุขด้วยกันแล้ว  หนูยังโชคดีที่ได้ "เรียนรู้"สิ่งดี ๆ ๆ สิ่งที่ "งดงาน" จากท่าน ดร.ระพี สาคริก  มีบุคคลมากมายถามท่านว่า "ทำอย่างไร" ถึงได้รักษาสุขภาพที่แข๊งแรงได้ขณะที่อายุขนาดนี้  การเดิน  การทรงตัวได้อย่างสง่างาม เดินตัวตรง ความผึ่งผาย ท่านตอบง่าย ๆ ว่า "บุญคือความสุข....ส่านกรรมคือ ความทุกข์" และท่านก็ตอบอีกว่า "ฉันทำงานให้กับสังคมอย่างมีความสุขมาตลอด"และที่ สำคํญที่สุด คือ ท่านได้พูดถึงการจัดการการศึกษาว่า "การเรียนเพื่อต้องการความรู้นั้น "ยังไม่พอ".....ควรจะศึกษาหาความรู้ให้เป็นผู้ให้เป็น รู้เท่าทัน...ต่อทุกสิ่ง...ทุกอย่าง  โดยเฉพาะคน  ทุกรูปลักษณะ  ความคิด...ที่แสดงออก...ด้วย

หนูได้ฟังท่านบรรยาย แล้ว....หนูก็มาอ่านทบทวนทฤษฎีของท่าน ศ.ดร.จีระ(ท่านอาจารย์ของหนู)...ทุก ๆ ๆอย่าง อยู่ในทฤษฎี8K's + 5K's + 4L's + ทฤษฎี Value Added + ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R"ทั้งหมด ขณะเดียวกันหนูได้เข้า Internet ก็พบว่า วันที่หนูไปประชุม(30-31กค.2552) กรุงเทพฯ ก็มีการประชุม ASEAM ด้วย(ดังข้อความข้างล่าง)  จะเห็นได้ว่า "ทุก ๆ วินาที" ระบบ IT เกิดอยู่ตลอดเวลา "ถ้าเราหยุดอยู่กับที่" เราจะเป็นล้าสมัยลงทุกวินาที่เช่นกัน..

(2nd ASEAN Forum on Migrant Labour Bangkok, 30-31 July 2009 An ASEAN forum currently taking place in Bangkok is expected to come up with a set of recommendations on regional migrant labour issues including on how to proceed further with the ASEAN instrument on migrant workers.)

วันนี้หนูขอยุติพูดคุยกับท่านอาจารย์เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ

สมศรี  นวรัตน์ 081-9435033

 

มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกหรือปริญญาโทในประเทศไทยหรือไม่ ขอดู

1. ชื่อเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติ : ศึกษาเฉพาะ กรณีบรรษัทญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

ผู้วิจัย ลัดดา จารึกสถิตย์วงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตร สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

สาขา สวัสดิการแรงงาน

บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัท ข้ามชาติ : ศึกษาเฉพาะกรณีบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและสหรัฐ อเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ที่กำหนดให้มีขึ้นในกระบวนการบริหารงานบุคคลของ บรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยการปรับตัว การปรับแผนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่กำหนดโดยบรรษัท ข้ามชาติรวมทั้งแนวคิดและความเป็นไปได้ ที่จะให้บรรษัท ข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย มีการกำหนดนโยบาย ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง และเป็น ประโยชน์แก่แรงงานไทยอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น วิธีการศึกษาที่ใช้มีทั้งการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาภาคสนามด้วยการใช้แบบ สัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ การสุ่มตัวอย่างใช้วิธี Random Sampling จากประชากร 2 กลุ่ม คือ ผู้จัดการ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์/บุคคล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่น จำนวน 50 ราย และผู้จัดการ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์/บุคคล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายของ บรรษัทข้ามชาติสหรัฐอเมริกา จำนวน 50 ราย ผลการศึกษาปรากฎสาระสำคัญตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ดังนี้ 1.รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่กำหนด ให้มีขึ้นในกระบวนการบริหารงานบุคคลของบรรษัท ข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ร้อยละ 53.0 ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์การที่ได้รับการกำหนดจาก บรรษัทแม่ในต่างประเทศและผู้บริหารซึ่งเป็นคนไทย และมีผลต่อรูปแบบการจ้างงานโดยร้อยละ 50.0 การจ้างงานขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความต้องการกำลังแรงงาน นอกจากการจ้างงานตลอดชีพและการจ้างงานระยะยาว นอกจากนี้ขนาดของบรรษัทก็มีส่วนต่อการกำหนดรูปแบบ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการใช้การ กำหนดคำบรรยายงานและการปฐมนิเทศ ส่วนการ หมุนเวียนงาน การกำหนดเส้นทางก้าวหน้าในสายงาน อาชีพ การจัดการอบรมด้านความปลอดภัย การฝึกอบรม ตลอดจนการจัดกลุ่มคุณภาพงาน แปรตามขนาดของ บรรษัท คือ มีในบรรษัทขนาดใหญ่มากกว่าบรรษัทขนาดเล็ก รวมทั้งมีรูปแบบที่เป็นระบบมากกว่าบรรษัทขนาดเล็กด้วย 2. การปรับตัว การปรับแผนของการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ที่กำหนดโดยบรรษัทข้ามชาติ ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัว และการปรับแผน คือ การกำหนดนโยบายการบริหารงาน มีรูปแบบที่สืบเนื่องมาจากที่บรรษัทข้ามชาติมีลักษณะของ การร่วมลงทุน การปรับแผน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น การพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง บรรษัทขนาดเล็กจะใช้ การพิจารณาจากคุณภาพงานเป็นหลัก ส่วนบรรษัทขนาดใหญ่ ใช้การประเมินผลงาน ในด้านงบประมาณสำหรับการจัดให้มี การพัฒนาและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาพนักงาน เช่น การฝึกอบรม การให้ทุนการศึกษาและอื่น ๆ ปัญหาและ อุปสรรคที่สำคัญของเรื่องนี้ คือ งบประมาณโดยพบในบรรษัท ขนาดเล็กของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาขนาดใหญ่มีปัญหานี้เพียง ร้อยละ 6.2 และ 12.5 เท่านั้น ประการสุดท้ายก็คือ แนวคิดและปรัชญาการจัดการของผู้บริหารที่แปรตามเนื้อหา ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งสร้างแรงจูงใจต่อเนื้อหา หรือกิจกรรมที่ตนสนใจ เพื่อให้เกิดการปรับแผนในกระบวน การทำงาน 3. แนวทางและความเป็นไปได้ที่จะให้บรรษัทข้ามขาติ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมีการกำหนดนโยบายการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง และเป็นประโยชน์แก่แรงงานไทย อย่างเป็นธรรม ตลอดจนองค์การสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิด การพัฒนาองค์การเองได้ คือ การพัฒนาแนวคิดของพนักงาน ในระดับบริหารงาน เพราะการให้ผู้บริหารมีแนวคิดเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ย่อมส่งผลต่อการจัดทำนโยบายและ แนวทางสำหรับการปฏิบัติที่ดีได้ แนวโน้มของการสรรหา บุคลากรจากสถาบันศึกษา โดยการรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ย่อมทำให้องค์การมีการพัฒนาพนักงานตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่ง ในระหว่างการปฏิบัติงาน แต่เมื่อถึงวัยที่พ้นจากวัยทำงานคือ ช่วงเกษียณอายุ ซึ่งพบว่าร้อยละ 79.0 ไม่มีการกำหนดการ เกษียณอายุ และไม่มีโครงการรองรับสำหรับผู้ที่เกษียณอายุด้วย ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา บทบาทของผู้ที่มีส่วนในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติ 3 ระดับ คือ รัฐ องค์การ และแรงงานไทย โดยรัฐจะต้องมีการกำหนดแผนที่ชัดเจน เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนมีการกำหนด กลไกที่สอดคล้องเช่น กระบวนการทางการศึกษา บทบาท ของเอกชน และการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นให้เห็นถึง ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ องค์การในฐานะที่ต้อง มีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารองค์การจะต้อง มีบทบาทที่ชัดเจนที่จะทำให้เกิดแนวทางการปฎิบัติที่ต่อเนื่อง อันจะทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนแรงงานไทยจะต้องมีความกระตือรือร้น มีการพัฒนา ตนเองให้เหมาะสมกับระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ องค์การ เพื่อที่จะได้เกิดการพัฒนาทั้งในระดับตนเอง และระดับองค์การอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป

2. ชื่อวิทยานิพนธ์ : ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

ชื่อผู้วิจัย : จารุณี แซ่เล่า มหาวิทยาลัยศรีปทุม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารองค์การ

บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง สภาพปัญหาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ และข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ผู้วิจัย ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลได้กลุ่มตัวอย่าง 379 คน ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2543 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไค - สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของบุคลากรในการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ เป็นเรื่องการกำหนดนโยบายการคัดเลือกบุคลากรเข้ารับการอบรม ที่ไม่ชัดเจน และไม่ทั่วถึง และการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ บุคลากร มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับปานกลาง ส่วนการ ทดสอบความสัมพันธ์นั้นพบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้าน การศึกษา ด้านการฝึกอบรม ด้านการพัฒนาตนเอง ยกเว้นด้านการพัฒนา สภาพแวดล้อม อายุมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้านการฝึกอบรม ยกเว้นด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อม ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความคิดเห็น ด้านการศึกษา ด้านการ ฝึกอบรม ด้านการพัฒนาตนเอง ยกเว้นด้านความสัมพันธ์กับความคิดเห็น ด้านการศึกษา ด้านการฝึกอบรม ด้านการพัฒนาตนเอง ยกเว้นด้านการ พัฒนาสภาพแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุงาน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็น และในส่วนแนวทางการแก้ไข ปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เห็นว่า ควรกำหนดรูปแบบหรือแนวทางในการคัดเลือกบุคลากรเข้ารับ การพัฒนาให้ชัดเจน ควรให้การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างทั่วถึง ควรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่าง เพียงพอ และควรมีการแจ้งข่าวสารให้บุคลากรทราบอย่างทั่วถึง

3. ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน ศึกษาธิการอำเภอ

ชื่อผู้วิจัย : สนอง เอกวณิชสกุลพร มหาวิทยาลัยบูรพา การบริหารการศึกษา

บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหา เปรียบเทียบปัญหาและ ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ใน 6 ด้าน คือ ด้านการวางแผนบุคลากร ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการ พัฒนาบุคลากร ด้านการบำรุงรักษาบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ ด้านการให้บุคลากรพ้นจากงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ศึกษาธิการอำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ จำนวน 327 คน เครื่อง มือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอโดยรวมและรายด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบปัญหา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ จำแนกตามสภาพในการดำรง ตำแหน่ง ปรากฏว่า มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

4. ชื่อวิทยานิพนธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับการทำงานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร

ชื่อผู้วิจัย อัจฉรา อาศิรพจน์มนตรี มหาวิทยาลัยบูรพา สาขาการบริหารการศึกษา

บทคัดย่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) เนื่องจากคนเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของ การพัฒนาในทุกเรื่อง ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีการพัฒนาสาธารณสุข เพื่อสนองตอบต่อ เป้าหมายที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรเป็นหน่วยงานหนึ่ง ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่หลักสำคัญคือ การผลิตและพัฒนา บุคลากรทางด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ยังทำหน้าที่วิจัยเพื่อพัฒนา จัดบริการสาธารณสุขสาธิตที่ เหมาะสม ให้บริการวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่สังคม และส่งเสริม ทำนุ บำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคมและประชาธิปไตย (การกำหนดบทบาทหน้าที่ ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 2538) ในการปฏิบัติงานต่างๆ ดังกล่าว อาจารย์ จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพราะการทำงานเป็นทีมจะเป็นการระดมความสามารถ และสติปัญญาที่แตกต่างกันของบุคคลให้มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อให้เกิดความคิดที่กว้างขวาง รอบคอบ และเมื่อนำมาประสานกันอย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้การทำงานที่ต้องใช้ความสามารถ หลายๆ อย่างดำเนินไปด้วยดี การทำงานเป็นทีมของอาจารย์จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ปัจจัยหนึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงาน จากสภาพปัจจุบันวิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร ประสบปัญหาหลายด้าน เช่น ห้องสมุดมีสภาพไม่เหมาะสมในการใช้บริการ หนังสือ วารสารมีน้อยและเก่า อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ไม่ทันสมัย การไม่ร่วมมือกันอย่างจริงจัง ของบุคลากรในการปฏิบัติงาน การขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องของผลประโยชน์ ขาดขวัญและกำลังใจ ในการทำงาน บุคลากรน้อย มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นต้น และจากข้อมูล เอกสารการรายงาน ผลการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากร ปี พ.ศ.2539 ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัด ชลบุรี ปีงบประมาณ 2540 ที่ระบุว่า บุคลากรส่วนใหญ่ขาดทักษะในด้านการทำงานร่วมกันเป็น ทีม จากปัญหาการปฏิบัติงานร่วมกันดังกล่าวของอาจารย์ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะกีดขวางให้ อาจารย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจที่จะทำงานร่วมกัน ต่างคนต่างก็มุ่งหวังแต่ความสำเร็จของตนเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงเป้าหมายของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นผลทำให้วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรไม่ สามารถดำเนินงานผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ตลอดจนการดำเนินงานด้านอื่นๆ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ อันจะเป็นผลทำให้การพัฒนาสุขภาพพลานามัย ของประชาชนและการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไม่บรรลุผล ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา ว่าอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข มีการ ทำงานเป็นทีมอย่างไร อยู่ในระดับใดและศึกษาถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานของอาจารย์ว่า เหมาะสมเพียงใด ตลอดจนศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับการทำงาน เป็นทีมของอาจารย์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมและสภาพแวดล้อม ในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร กระทรวงสาธารณสุขต่อไป ~uความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า~u 1. เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ตาม ความคิดเห็นของอาจารย์ใน 7 ด้าน คือ 1.1 การมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน1.2 การติดต่อสื่อสาร 1.3 การสนับสนุนและการมีความจริงใจต่อกัน 1.4 การสร้างความคล่องตัวในการทำงานท 1.5 การส่งเสริมการพัฒนาบุคคล 1.6 การมีความสัมพันธ์ภายในระหว่างกลุ่ม 1.7 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 2. เพื่อศึกษาระดับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธร ตามความคิดเห็นของอาจารย์ 3. เพื่อเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำแนก ตามอายุของอาจารย์และจังหวัดที่ตั้งของวิทยาลัย 4. เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำแนกตามอายุของ อาจารย์และจังหวัดที่ตั้งของวิทยาลัย 5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับการทำงานเป็นทีมของ อาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ~uวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า~u การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ 127 คน จากวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแบ่งเป็น 4 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี ขอนแก่น พิษณุโลก และยะลา โดยสอบถามความคิดเห็นจากอาจารย์เกี่ยวกับการ ทำงานเป็นทีม และความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงานของอาจารย์ ซึ่งแสดงถึงระดับ การทำงานเป็นทีม และความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงาน จากนั้นศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับการทำงานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จากตัวแปรการทำงานเป็นทีมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามข้อมูล และความคิดเห็นของ อาจารย์ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร เกี่ยวกับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการทำงานเป็นทีมของอาจารย์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ สถานภาพของผู้ตอบแบบเติมคำและเลือกตอบ จำนวน 2 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามการทำงาน เป็นทีมของอาจารย์ จำนวน 37 ข้อ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยเรียงจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามความเหมาะสม ของสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านกายภาพ จำนวน 8 ข้อ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ โดยเรียงจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตอนที่ 4 เป็นแบบ สอบถามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านการบริหาร จำนวน 30 ข้อ ลักษณะแบบ สอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยเรียงจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และ น้อยที่สุด แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC(+) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบในการศึกษาค้นคว้าและเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าที การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย แล้วทำการแปลผลและนำเสนอเป็นตารางประกอบ การบรรยายความเรียง ~uสรุปผลการศึกษาค้นคว้า~u 1. การทำงานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ทั้งโดยรวมและแต่ละด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 2. สภาพแวดล้อมในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ทั้งโดยรวมและ แต่ละด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง 3. เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำแนกตาม อายุของอาจารย์ ระหว่างต่ำกว่าอายุเฉลี่ยลงมาและตั้งแต่อายุเฉลี่ยขึ้นไป โดยรวม พบว่า ด้าน การมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน การติดต่อสื่อสาร การสนับสนุนและการมีความจริงใจต่อ กัน การสร้างความคล่องตัวในการทำงาน การส่งเสริมการพัฒนาบุคคล การมีความสัมพันธ์ภายใน ระหว่างกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนและการมีความจริงใจต่อกัน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

5. ชื่อวิทยานิพนธ์ แนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงขององค์การในปี 2000 กรณีศึกษา บริษัทอินช์เคปเอ็นอาร์จี (ประเทศไทย) จำกัด

ชื่อนักศึกษา สุชาติ แม้นโชติ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษาแนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงขององค์การในปี 2000 กรณีศึกษาบริษัท อินซ์เคป เอ็น อาร์จี (ประเทศไทย) จำกัด คือการศึกษาขีดความสามารถของพนักงาน บริษัทที่ขายกิจการคือ บริษัทอินซ์เคป เอ็นอาร์จี (ประเทศไทย) จำกัด ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่พึงประสงค์ของ บริษัทริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มาซื้อกิจการและเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาขีด ความสามารถของพนักงานบริษัท อินซ์เคปเอ็นอาร์จี (ประเทศไทย) จำกัด ให้มีความพร้อม และสามารถรับผิดชอบงานตามบทบาทและหน้าที่ของตนใน บริษัทริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผู้ศึกษาทำการ โดยใช้แบบสอบถามพนักงานแผนกคอมพิวเตอร์บริษัท อินซ์เคป เอ็นอาร์จี (ประเทศไทย) จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 35 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทริโก้ (ประเทศไทย)จำกัด รวมทั้งลูกค้าที่ใช้บริการของแผนกคอมพิวเตอร์เพื่อสอบถาม ระดับความสามารถที่พนักงานสามารถปฏิบัติ งานตามเกณฑ์ที่กำหนด(โดยความเห็น ชอบของผู้บริหารบริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และความต้องการที่จะ พัฒนาตนเองให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่(ตามเกณฑ์ที่กำหนด) ได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในขณะเดียวกันก็ได้สัมภาษณ์ลูกค้าที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับความพึงพอใจในตัวสินค้าการปฏิบัติงานของพนักงานขายและการบริการ ของพนักงานบริการเพื่อประกอบการวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอแนะซึ่งสรุป ได้ ดังต่อไปนี้ ในด้านความสามารถในการปฎิบัติงานโดยเฉลี่ยแล้วพนักงาน มีความเห็นว่าตนเองสามารถปฏิบัติงานได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นด้าน (1) การติดต่อ สื่อสารและความเป็นผู้นำ เป็นปัญหาของพนักงาน แผนกคอมพิวเตอร์ทุกคน (2) ด้านการทำงานเป็นทีม/ความร่วมมือ เป็นปัญหา ของผู้จัดการแผนกและหัวหน้าฝ่าย (3) ด้านการบริหารคนเป็น ปัญหาของหัวหน้าฝ่ายและพนักงานบริการและ (4) ด้านการบริหารงาน และความรู้ในการปฏิบัติงาน เป็นปัญหาของหัวหน้าฝ่ายและพนักงานบริการ (5) ด้านปฏิภาณทางการตลาด/ขาย เป็นปัญหา (6) ด้านการกำกับดูแลและ ติดตามผลเป็นปัญหาของหัวหน้าฝ่ายและพนักงานบริการ ที่จะปฏิบัติงานให้ได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนด้านความรู้ที่ต้องการเพื่อพัฒนาตนเองให้มีขีด ความสามารถในการปฏิบัติงานสูงขึ้นนั้นพนักงานแผนกคอมพิวเตอร์มีความต้องการ แตกต่างกันดังนี้ (1) ผู้จัดการแผนกต้องการจะได้รับความรู้เพิ่มเติมทุก ๆ ด้านในระดับปานกลาง (2) หัวหน้าต้องการจะได้รับความรู้เพิ่มเติมระดับ มากในด้านการติดต่อสื่อสารความเป็นผู้นำ การบริหารคน ความรู้ใน การปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม/ความร่วมมือและการใช้ดุล ดุลพินิจ / การแก้ปัญหา (3) พนักงานขายต้องการจะได้รับความรู้เพิ่มเติมระดับมาก ในด้านความรู้ในการปฏิบัติงาน ปฏิภาณทางการตลาด / ขาย และการใช้ ดุลพินิจ/การแก้ปัญหาและ (4) พนักงานบริการต้องการความรู้เพิ่มเติม ระดับมากในด้านความรู้ในการปฏิบัติงาน จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจที่กล่าวมาแล้วร่วมกับ ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและลูกค้าของบริษัท อินช์เคป เอ็นอาร์จี (ประเทศไทย) จำกัดพบว่ากำไรของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาและลูกค้าของบริษัทมีความพึงพอใจพนักงานขายและการบริการของ พนักงานบริการน้อยกว่าที่ควรทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากพนักงานขาดแรงจูงใจและ ความมั่นใจในชีวิตการทำงานโดยเหตุนี้ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การเพิ่มและพัฒนาขีดความสมารถของพนักงาน 2 แนวทางด้วยกันดังนี้ แนวทางที่ 1 เป็นข้อเสนอแนะของบริษัทริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ศึกษามีความเห็นว่าพนักงานบริษัท อินซ์เคป เอ็นอาร์จี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ที่ รู้จักตัวสินค้า ลูกค้าและช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าบริษัทจะพิจารณารับพนักงานขายจากบริษัทเดิมที่มีผลงานดี และมี ความตั้งใจที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้สูงขึ้นในการทำงานที่บริษัทใหม่พร้อม ทั้งสร้างความเชื่อมั่น และ แรงจูงใจโดยแจ้งให้พนักงานทราบอย่าง ชัดเจนเกี่ยวกับผลตอบแทนความมั่นคง และโอกาสความก้าวหน้า สำหรับ ผู้ปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายของบริษัทแล้วบริษัทจะได้พนักงานที่มี ความก้าวหน้าสำหรับผู้ปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายของบริษัทแล้วบริษัทก็จะ ได้พนักงานที่มีความสามารถและมีความภักดีต่อองค์การทั้งมีบริษัทควรจัดทำ แผนการอบรมในด้านความรู้ที่พนักงานยังมีไม่มากเท่าที่ควรและต้องการจะ ได้รับความรู้ดังกล่าวเพิ่มเติมเช่นจัดหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับ Manage Work และ Supervisor Skills สำหรับผู้จัดการแผนกและหัวหน้าฝ่าย ส่วนพนักงานขายและพนักงานบริการจัดหลักสูตรการอบรมด้าน Basic Knowledge ในหลักสูตร Manage self และ Service Plus for Support Function อนึ่งในระยะยาวควรสนับสนุนให้พนักงานศึกษาต่อในสาขาที่สอดคล้องกับความต้อง การของบริษัทในระดับสูงขึ้น และจัดโครงการพัฒนาบุคลากรในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมให้มีการสร้างวัฒนธรรมองค์การ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นต้น แนวทางที่ 2 เป็นข้อเสนอแนะสำหรับพนักงานแผนกคอมพิวเตอร์ บริษัทอินช์เคป เอ็นอาร์จี (ประเทศไทย) จำกัด โดยผู้ศึกษาเห็นว่าพนักงาน เหล่านี้ ควรจะพยายามทำงานในหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุดพร้อมทั้งขวนขวาย หาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของบริษัท ริโก้ (ปะเทศไทย) จำกัดและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อให้แข่งขันได้ในยุคไร้พรมแดน

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

Tel. 0863517928

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ค่ะ

จากการที่ได้ไปเข้าร่วมงาน ในพิธีมอบรางวัล Thailand Top 100 HR Award ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนูรู้สึกคุ้มค่ามากกับความรู้ที่ได้รับ และได้มุมมองเกี่ยวกับการทำงานในอนาคต และหนูขอสรุปเนื้อหาที่ได้จากการฟัง
เรื่อง มิติใหม่ของทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอาเซียน
โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติอาเชี่ยน วันที่ 29 กรกฎาคม 2552
ประเด็นที่ท่านพูดถึง ดังต่อไปนี้
สถานการณ์ในปัจจุบันของไทย
1. การขาดแหล่งทุน ในการประกอบการ
2. การพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ และเน้นให้ทรัพยากรมนุษย์ได้ทำวิจัย นำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิด Innovation ใหม่ ๆ
3. การพัฒนาผู้บริหารให้มีคุณธรรมจริยธรรม
4. การผลิตสินค้า ที่ยังมุ่งผลิตโดยส่งออกไปต่างประเทศ เน้นการผลิตเป็น Supplementary Economy เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต เท่านั้นซึ่งอาศัยการตลาดของต่างประเทศเป็นตลาดหลัก
ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในมิติใหม่ ยุคของโลกาภิวัตน์ สาเหตุของการเกิดโลกาภิวัตน์ คือ The world is Flat + FTA (การเปิดเสรีทางการค้า ไม่มีกำแพงภาษี) และทำให้เกิดความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้
1. การทำความตกลงยอมรับร่วมของอาเชียน (Mutual Recognition Agreement : MRA) คือ ข้อตกลงที่เสนอให้คู่ค้าแต่ละฝ่ายยอมรับมาตรฐานและการตรวจสอบสินค้าของกันและกันในการทำการค้าระหว่างประเทศ และเกิดขึ้นเมื่อประเทศคู่ค้ามีมาตรฐานบังคับที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละประเทศจะเปรียบเทียบมาตรฐาน และวิธีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าแต่ละชนิดที่จะทำการค้าของประเทศคู่ค้า โดยที่ไม่ต้องตรวจสอบและรับรองซ้ำอีกต่อไปการกำหนดมาตรฐานของคุณภาพวิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิศวกร , บัญชี ,นักกฎหมาย หมอฟัน ออกแบบ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าเราสามารถสร้างบุคลากรวิชาชีพเหล่านั้นได้ตามมาตรฐาน MAR ของอาเชี่ยนคนไทยก็จะสามารถไปทำงานในเครือข่าย 10 ประเทศของอาเชี่ยนได้ทันที การสร้างในบุคลากรคนไทยมีขีดความสามารถที่สามารถทำงานในทุกประเทศทั่วโลกทัดเทียมกับชาติอื่น ๆ นั่นเอง
2. โอกาสทางการค้า โดยมองอาเชียน10 ประเทศเป็นตลาดเดียว ซึ่งมีประชากร 600 ล้านคน ไม่ใช่มองเพียงประเทศไทย ซึ่งผลมาจาก The word is Flat + FTA ทำให้คนที่อยู่ในอาเซี่ยนสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แม้แต่ทรัพยากรมนุษย์ก็มีความสามารถหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีมันสมองของประเทศต่าง ๆ หลั่งไหลเข้ามาในประเทศ ทำให้เกิดการร่วมกลุ่ม
3. Innovation และ Intellectual เป็นเรื่องที่ท่านให้ความสำคัญที่สุด จำเป็นต้องสร้างให้ทรัพยากรมนุษย์มีหัวใจของการแข่งขัน Competition หากเราทำได้ เราจะสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน Competition กับทุก ๆ ประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบเป็นตัวของตัวเอง ถ้าเราทำไม่ได้ก็จะต้องกลายเป็นการทำธุรกิจแบบ Supplementary Economy หรือจะให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เราต้องทำธุรกิจภายใต้จมูกของคนอื่นตลอดไป เช่น การเป็นได้แค่ Subcontract (รับงานต่อจากคนอื่นอีกทอดหนึ่ง) ไม่สามารถเป็นตัวจริงของการทำงาน หรือเป็นตัวจริงของการเซ็นสัญญาต่าง ๆ (Prime)
4. บูรณาการเศรษฐกิจของอาเซี่ยน ให้เป็นตลาดแรงงาน 600 ล้านคน โดยมองการไหลของประชากร ทำให้แรงงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ไม่ได้มองแค่ประเทศตัวเองแล้ว
5. การจัดตั้ง Center of Excellence โดยตกลงร่วมกัน ให้ประเทศในอาเซี่ยนเน้นความเป็นเลิศของแต่ละประเทศ และการพัฒนาคนโดยให้สอดคล้องกับ ความเป็นเลิศของประเทศในอาเชี่ยน
และโดยสรุปตามความคิดเห็นของหนู หากมหาวิทยาลัยฯ ในประเทศไทย มีหน้าที่หลักในการผลิตบัญฑิตที่มีคุณภาพ และมุ่งเน้นทางด้าน Creativity เพื่อจะทำให้เกิด Innovation & Technology ดังนั้น ในการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฯ ควรที่จะให้สอดรับกับสถานการณ์ในอนาคต ที่ไม่ได้มองเฉพาะการผลิตบัญฑิตเพื่อเป็นแรงงานในประเทศเท่านั้น แต่ต้องมองในกลุ่มอาเซี่ยนด้วย ว่าต้องการทรัพยากรมนุษย์ทางด้านไหน และเน้นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยฯ ให้เกิดความเป็นเลิศเพื่อที่จะแข่งขันกับมหาวิทยาลัยในประเทศ และต่างประเทศให้ได้

-------------------------------------------------------

ลัดดา  ปินตา 084-8073320

ลองกำหนดยุทธวิธีทั้ง Macro – Micro โดยมองจาก HR Architecture ว่าจะพัฒนา 8 K และ 5 K อย่างไร

ผมขอเสนอยุทธวิธีในการที่จะพัฒนา 8 K’s และ5 K’s ดังนี้ครับ เริ่มจาก Macro รัฐบาลในฐานะผู้บริหารประเทศจะต้องหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง กับ ทรัพยากรมนุษย์หรือคนมากขึ้น ตั้งแต่พวกเขาเหล่านั้น เกิด จนกระทั่ง ถึง วัยเกษียณหลังทำงาน โดยจะต้องให้ความสำคัญกับคน ว่า คนนั้น เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสูงขององค์กร ไม่ใช่มองแค่เป็น Cost หรือต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระ ซึ่งในความคิดเห็นของผม อยากให้มีการเน้นเรื่องของการจัดการทุนปัญญาของคนเป็นเรื่องเร่งด่วน (ทุนทั้ง 8K’s และ 5K’s มีความสำคัญด้วยกันทั้งหมด) เราคงจะปฏิเสธไม่ได้อย่างแน่นอนครับว่าปัญญาเป็นต้นกำเนิดขององค์ความรู้ต่างๆมากมาย และเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิด การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในโลกยุคปัจจุบัน ตามความคิดของผม หากมนุษย์มีทุนทางปัญญาที่ดี ก็จะช่วยส่งเสริมให้ทุนตัวอื่นๆดีตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางเทคโนโลยี และทุนทางความรู้ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งทุนทุกตัวจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ในระดับ Micro ก็จะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ส่งเสริมให้เกิดทุนทางปัญญา ในระดับองค์กร โดยใช้ 4 L’s เป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ ทั้งของตนเองและขององค์กร และจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งตรงกับ HR Architecture ที่บอกให้เราทราบว่าเราจำเป็นที่จะต้องพัฒนาคนที่เป็นทรัพยากรที่มีค่าให้ รู้จัก คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดเป็น Creativity Innovation สร้างสังคมการเรียนรู้ และจิตสาธารณะ เพื่อให้คนเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขในการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิด ทำงาน เกษียณอายุ และทำให้ความยั่งยืนในความสุขของคนเหล่านั้น และความยั่งยืนของประเทศไทย

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

Tel. 0863517928

พัฒนาแบบไหนที่ล้มเหลว

การพัฒนาแบบที่ล้มเหลว คือ การพัฒนาที่ขาดหลัก 2 R’s ได้แก่

1. การพัฒนาที่ขาด Reality ขาดการมองความจริง ขาดการมองปัญหาจากความเป็นจริง เราจะต้องมองปัญหาจากความเป็นจริงเพื่อนำปัญหาเหล่านั้นไปคิด วิเคราะห์ หาสาเหตุจริงของปัญหาว่ามันคืออะไร นอกจากนี้ยังจะต้องมีความจริงใจ จริงจัง มุ่งมั่นในการที่จะแก้ปัญหานั้นๆให้สำเร็จลุล่วง

2. การพัฒนาที่ขาด Relevance ขาดการมองอย่างตรงประเด็น และเข้ากับสถานการณ์ ในการแก้ไขปัญหาเราจะต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็น ให้ถูกจุด ให้ถูกที่ถูกเวลา ไม่หลงประเด็น ที่สำคัญจะต้องยึดหลักของคุณธรรม ความโปร่งใสด้วย

ผมขอยกตัวอย่าง ในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย(ตามความคิดของผม)ที่เป็นเพียงการปฏิรูประบบบริหารราชการ แบบแก้กฎหมาย ไม่ได้ปฏิรูปให้เกิดแนวคิดใหม่และแรงผลักดันที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนอย่างขนานใหญ่ (จากแบบท่องจำเป็นแบบคิดวิเคราะห์เป็น) ที่ดีขึ้นและแตกต่างไปจากเดิมอย่างแท้จริง ไม่มีการสร้างแนวคิด ที่สร้างสรรค์และ เป็นนวัตกรรม ไม่ได้สร้างให้เกิดองค์กร / ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ไม่มีการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่เยาวชน ไม่มีการพัฒนาคุณภาพของครูทั้งในเรื่องของวิชาการและคุณธรรมจริยธรรมอย่างจริงจัง จะเห็นได้จากการสอนย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กไปเรียนพิเศษ กวดวิชา สร้างค่านิยมที่ผิดในการเรียนโดยมุ่งหวังเพียงแค่เกรด คะแนน หรือปริญญา ไม่เคยมีใครถามเด็กเลยว่าได้ความรู้อะไรบ้างเอาไปใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือประเทศชาติ ไม่เคยสอนให้คนคิดถึงการเป็นผู้ให้ มากกว่าเป็นผู้รับ คงต้องย้อนกลับมามองความเป็นจริงและมองอย่างตรงประเด็นกันเสียที ว่าจะแก้ไขปัญหา หรือปฎิรูปการศึกษากันอย่างไรในรอบที่2นี้ครับ

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

Tel. 0863517928

พัฒนาแบบไหนที่ประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ดูด้วย

การพัฒนาแบบยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันสูง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง "3 ห่วง 2 เงื่อนไข"ประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้ และ คุณธรรม" จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงต้องการเห็นคนไทย รู้จักความพอดี ใช้สติในการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล และรู้จักการวางแผนที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในโลกยุคปัจจุบัน โดยจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นคนเก่งและเป็นคนดี ซึ่งการที่จะเป็นคนเก่งและคนดีได้เราก็จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีทุน 8K’s และ5K’s นั่นเองครับ

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

Tel. 0863517928

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

หนู (สมศรี นวรัตน์) รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี  หนูได้ฟังข่าวเรื่อง "น้ำท่วมเมืองเวนิส" ประเทศอิตาลี .........ฟังข่าวแล้ว...."ถ้าไม่ดิด .......ก็ ไม่ใช่ศิษย์ของ ศ. ดร.จีระ" เพราะการฟังแล้วต้องคิดและคิดแบบ "เชื่อมโยง"กับสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้..สอน..ให้ความรู้...และตัวของศิษย์ก็ต้องฝึกฝน ฝึกคิดและคิดแบบมีหลักวิชาการด้วยWhy...Why...Analysis ? และต้องหาประสบการณ์ให้ตนเองมาก ๆๆโดย การอ่านหนังสือมาก ๆๆ การค้นหาข้อมูลในปัจจุบัน หาง่าย  เข้า ถึงข้อมูลได้รวดเร็ว สะดวก มีช่องทางที่เอื้ออำนวยมากมาย  เราสามารถ "บริหารพฤติกรรมตัวเราแบบใหม่" ที่เรียกว่าเปลี่ยน "Paradigm shift" ประสบการณ์ การได้เห็นสิ่งแวดล้อมภายนอกและต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้  จากประเด็น "น้ำจะท่วมเมืองเวนิส" หนูคิดว่าเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ..ๆ..มีประเด็นดังนี้

1. ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมาก "ทั้งโลก"

2. น้ำแข็งจากขั้วโลก "ละลาย"

3. ฟื้นดิน(ใต้น้ำ)ของเมืองเวนิสทรุดต่ำลง (ของพื้นโลกด้วยเช่นกัน)

4. ทุกพื้นที่ ที่มีป่าไม้..ถูกตัด...ถูกทำลาย (แม้นว่าเมืองเวนิช)ไม่ได้ตัด แต่......เมืองไทย...ตัดต้นไม้...แล้วก็....ตัดต้นไม้..จึงกระทบกระเทือนไปทั้งโลก   คล้าย ๆกับ....เด็ดดอกไม้...กระเทือนถึงดวงดาว (หนูพูดถูกหรือเปล่าคะ)

5. Environment สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไปรวดเร็ว เกินที่ "มนุษย์" ที่มี Human Capital + Intellectual Capital + Ethical Capital + Social Capital (8 K'+5K'sของท่าน ศ.ดร. จีระ)   เกินจะทัดทาน..(เหมือนชื่อเพลงที่ คุณกี้..ร้อง)แล้วนะคะ....หรือไม่มีทุนทางมนุษย์.....หรือว่ามีแต่.....มีไม่ครบทั้ง 8K's   "ขาดK"  ตัวใดตัวหนึ่งไปหรือขาดไปหลาย ๆ ตัว   Ex. เช่นไม่มี "Ethical"  "ไม่มีCultural"  เช่น

1. การไม่รักษาสิ่งแวดล้อม  ปลูกป่า "ทดแทน" ทำให้แหล่งน้ำทาง "ธรรมชาติ"มีไม่พอต้อง...ขุดน้ำใต้ดินมาใช้... ขาดจิตสำนัก (รักบ้านเกิด)....รักชุมชน..รักสังคม....รักโลก

2. น้ำทะเล กับมีปริมาณมากขึ้น...ระดับน้ำสูงขึ้น จากการละลายของน้ำแข็ง

3. การเจาะ "น้ำมันใต้ดิน" (ต่างประเทศ) ขึ้นมาใช้มาก..บริโภค...เกินความจำเป็น .....เจาะ "น้ำใต้ดิน" ขึ้นมาใช้ (เมืองไทย)

4.การ ตัดต้นไม้...การทำลายป่าไม้.....(เท่ากับทำลายตนเอง + ทำลายเมืองไทย....(ที่หนูอยู่)

5. การใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวด....ทำลายชั้นบรรยากาศ เกิดปฎิกิริยา "เรือนกระจก"(Green House Effect)  การปล่อยCO2 ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม  การใช้รถ ......ใช้เรือบิน (ลำใหญ่.....สำหรับคนที่ยิ่งใหญ่) คนไม่ยิ่งใหญ่(คนตัวเล็ก ๆ).....เดินดิน...ด้วยเท้าเปล่า....คือไม่มีเงินแม้นแต่จะชื้อรองเท้า..ความยากจนมาเยือน..แต่ก็อยู่ร่วมโลก..ใบเดียวกันนี้.......สุดท้ายก็ได้รับผลกระทบทุก ๆ คนถ้วนหน้า....ไม่เว้น(ป้ามาและลุงมี)..ในอำเภอบ้านลาด....จ. เพชรบุรี เพราะวันก่อน  ฝนตกหนักมากที่เมืองเพชร  บ้านป้าและลุง...เป็นเพลิง..กันแดด..แต่ไม่กันฝน....ที่นอน  หมอนมุ่งจึง...เปียกน้ำฝนหมดคะ

ตอนแรกหนู(สมศรี นวรัตน์)  นำเรียนท่านอาจารย์  เรื่อง น้ำท่วมเมือง เวนิช......แต่หนูมาจบที่.....บ้านป้ามาและลุงมี..ที่บ้านลาด อำเภอที่หนูอยู่........ไม่รู้ว่าจะเชื่อมโยงกันถูกหรือไม่นะคะ....แต่หนูว่า..น่าจะเกี่ยวโยงบ้างนะคะ(คิดตามประสาคนตัวเล็ก ๆๆอย่งหนู)   ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ(ของหนูและเพื่อนชาว Ph.D3SSRU) คิดว่าหนูกำลังง่วงนอนอยู่หรือไม่...ดูเวลา ตี 1 ครึ่งของวันใหม่แล้วหรือนี่????

หนูขอกราบสวัสดีท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ

สมศรี  นวรัตน์ 081-9435033

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     เมื่อวันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2552 ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ได้เรียนเชิญท่านสุทธิเดช สุทธิสมภ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าภูมิภาค มาร่วมบรรยายในบรรยากาศ Morning Talk ได้สร้างให้เกิดองค์ความรู้และบรรยากาศของ Learning Environmentตามที่ท่านอาจารย์ได้สอนและวันนี้ได้ทำให้ดูเป็นตัวอย่างอีกด้วย ดีจริง ๆ ครับ

     สำหรับเรื่องที่ท่านสุทธิเดช ได้มาเล่าก็คือ การสร้าง Learning Organization ให้เกิดขึ้นในหน่วยงานของท่านโดยท่านได้เรียนเชิญท่านอาจารย์จีระ ไปช่วยบรรยายและสร้างให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม  ผมก็ได้เรียนรู้จากท่านว่า  การที่จะทำให้คนจำนวน 27,000 คนได้รับรู้ Vision และ Mission ขององค์กรอย่างมีความเข้าใจต้องมีวิธีการ Learning Methodlogy + Learning Environment ซึ่งอยู่ในทฤศฎี 4L's ของอาจารย์ และท่านยังได้ทำตามทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์อีกด้วยคือ การนำเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถ Competency และนำเรื่อง Motivation เช่นการนำไปดูงานในต่างประเทศ เป็นต้น  และก็เป็นที่น่ายินดีกับท่านด้วยว่าสามารถทำได้ตามเป้าหมายและเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง

     และสุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านสุทธเดช สุทธิสมณ์ อีกครั้งหนึ่งที่ท่านจะช่วยเหลือนักศึกษาปริญญาเอกในเรื่องการงานวิจัยอีกด้วยครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

Ph.D.3 SSRU (Innovative Management) 

 

Image003

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

โรงเรียนแห่งอนาคต

Singularity University นำเสนอหลักสูตรเตรียมรับมือเทคโนโลยี

แห่งอนาคต (โดย  Ellen Gibson)

            Bill Gates เรียกเขาว่า “เป็นคนที่เก่งที่สุดในเรื่องพยากรณ์อนาคตของจักรกลอัจฉริยะ” แต่ Douglas Hofstadter นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มองว่าไอเดียของเขาคนนั้น “เป็นเรื่องขี้หมาที่สุด”

                Ray Kurzweil ไม่ใช่คนหน้าใหม่ของการถกเถียง เพราะเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้วที่นักประดิษฐ์ที่กลายมาเป็นนักประพันธ์ผู้นี้ตีพิมพ์คำทำนายเรื่องมนุษย์จักรกลพลังเหนือมนุษย์และความเป็นอมตะจากเทคโนโลยีชีวภาพที่อยู่ในขอบเขตของนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ทฤษฎีของ Kurzweil ยังคงได้รับแรงหนุนจากนักเทคโนโลยีกระแสหลัก และยังสร้างจุดยืนร่วมในระดับคณะกรรมการบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย เช่นการที่ Google และ NASA สนับสนุนมหาวิทยาลัยแนวใหม่โดยก่อร่างมาจากแนวคิดของเขา แถมด้วยทุนสนับสนุนจาก Peter H. Diamandis ผู้ก่อตั้งรางวัล X Prize

            Singularity University ตั้งอยู่ใน NASA Ames Research Center Mountain View รัฐ California โดยสถาบันนำเสนอเวิร์คช็อปแบบเข้มข้น 3 วันและ 10 วันเพื่อช่วยผู้บริหารระดับสูงนำพาบริษัทของพวกเขาสู่อนาคต หลังจากประกาศตัวในงานนิทรรศการ Technology, Entertainment, Design (TED) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  สถาบันแห่งนี้ได้ว่าจ้างอาจารย์ระดับหัวกะทิ อย่าง Vint Cerf หัวหน้าผู้เผยแพร่อินเทอร์เน็ตของ Google และ Jim Karkanias ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Microsoft มาสอน และผู้สนใจเข้าเรียนรุ่นแรกปลายปีนี้ อาทิ Heidi Roizen นักลงทุนเวนเจอร์แคปปิตอลและ Judy Estrin อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Cisco Systems

            บางหัวข้อที่นำมาสนทนาในห้องเรียนจะให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในนิทรรศการของเหล่า Star Trek แค่ชื่อของสถาบันฟังก็เหมือนแล้ว เพราะทางดาราศาสตร์ฟิสิกศ์ “Singularity” หมายถึงสภาพระยะไกลของหลุมดำ แต่ก็เป็น Kurzweil นี่เองที่สร้าง

ชั้นเรียนเร่งรัดสำหรับผู้บริหาร จะเรียนรู้ภาพรวมว่า

เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม

ปัจจุบันและต่อยอดเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างไร

                ความหมายใหม่ให้แก่ชื่อนี้ จากหนังสือขายดีของเขาในปี 2005 ที่มีชื่อว่า “The Singularity is Near” ซึ่งพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้ว่าจักรกลอัจฉระยะจะเก่งกว่าพลังสมองและความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ (นึกถึงการแข่งขันระหว่าง Deep Blue คอมพิวเตอร์เล่นหมากรุกของ IBM กับบแชมป์โลก Garry Kasparov ที่สุดท้ายจักรกลชนะไป แต่ขยายสเกลเป็นในระดับทั่วโลก) ในกรณีที่สุดของ Kurzweil คนจะรวมเข้ากับเครื่องจักรผ่านหุ่นยนต์จิ๋ว ซึ่งฝังเข้าไปในร่างกายและสมองของคนเรา ซึ่ง Kurzweil เรียกว่าสมองอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะทำหน้าที่ลดปัญหาที่ยากแก่การแก้ไขของโลก ตั้งแต่ภาวะโลกร้อนไปถึงเชื้อดี้อยา

            ภาระกิจของสถาบันแห่งนี้ไม่ใช่แค่ให้นักเรียนซึมซับโลกอนาคตของ Kurzweil หรือเรียนเพื่อเอาปริญญา แต่งานของสถาบันจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจความหมายของศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพและหุ่นยนต์ ทั้งบัณฑิตที่จะจบในระดับปริญญหาตรีและปริญญาโทจะใช้เวลา 9 สัปดาห์เพื่อซึบซับเนื้อหา ขณะที่ชั้นเรียนเร่งรัดสำหรับผู้บริหาร จะเรียนรู้ภาพรวมว่าเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปัจจุบัน และต่อยอดเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างไร พวกเขาจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มย่อยเพื่อช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น ชีอีโอของบริษัทที่ทำเซลล์สุริยะจากแผ่นซิลิคอน จะอยู่ในกลุ่มที่ค้นหาผลกระทบจากวัสดุชนิดใหม่ และแน่นอนว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรพื้นฐานด้วย

               “เราจะเน้นหนักในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์” Salim Ismail ผู้อำนวยการบริหารของมหาวิทยาลัยและอดีตประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัฑ์ของ Yahoo! กล่าวเมื่อ 5 ปีที่แล้วผู้คนอาจตกใจเมื่อได้ยินว่าการพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาจใช้รวบรวมเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อสร้างเป็นอวัยวะเทียมได้ “ปัจจุบัน พวกเขาใกล้ที่จะได้เครื่องต้นแบบในห้องทดลองแล้ว” เขาว่า “แล้วเราจะเห็นอะไรในอีก 5 ปีข้างหน้า”

เร็วและไปได้ไกล

                Kurzweil ใช้กฎของ Moore จากแวดวงไมโครอิเล็กทรอนิกส์อธิบายว่า Singularity หรือภาวะเอกฐานทางเทคโนโลยี หรือภาวะที่เทคโนโลยีก้าวไปไกลถึงขึดสุดจนเกิดเทคโนโลยีเดียวที่ทะลุทะลวงทุกแง่มุมของชีวิตมนุษย์ ไม่ใช่แค่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หากแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เขายกตัวอย่างแบบเห็นภาพว่า พลังของเซมิคอนคัดเตอร์เพิ่มเป็น 2 เท่าทุก 2 ปี เหล่าวิศวกรประกาศครั้งแล้วครั้งเล่าว่ารูปแบบนี้ได้มาถึงทางตันแล้ว แต่สุดท้ายคอมพิวเตอร์ก็มีพลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อหันไปทางชีววิทยา Kurzweil กล่าวว่ามันใช้เวลาถึง 15 ปี เพื่อจัดอนุกรมของไวรัส HIV แต่ในปี 2003 นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาไม่ถึงเดือนจัดอนุกรมไวรัสเกิดใหม่อย่าง SARS

                ขณะเดียวกัน สังคมก็รับเทคโนโลยีกันเร็วมากขึ้น เร็วขึ้นทุกช่วงอายุคน จากโทรศัพท์ที่ใช้เวลาถึงครึ่งศตวรรษกว่าจะกลายมาเป็นที่นิยมแพร่หลาย ขณะที่โทรศัพท์มือถือประสบความสำเร็จแบบเดียวกันในระยะเวลา 8 ปี ระยะเวลาของการพัฒนาจึงพังลงความก้าวหน้าก็ยิ่งเผยให้เห็น “ในฐานะผู้นำขององค์กรเอกชน เราถูกจับตามอบแบบวันต่อวัน และเราไม่คิดว่ามันเป็นการเสียเวลาเลยที่จะล้มเลิกและใคร่ครวญถึงเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้” Diamandis กล่าว “มันก็เหมือนกับรถยนต์ที่ทำให้อุตสาหกรรมรถม้าไม่มีทางไป”

                แต่ก็ใช่ว่าทุกคนเชื่อว่าโลกนี้ต้องการ Singularity University โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังตั้งคำถามความคิดหลายอย่างของ Kurzweil ตั้งแต่ความเชื่อทางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองที่จะทำการจำลองสิ่งที่มีความซับซ้อน อย่างเช่นสมองของมนุษย์ บลอกเกอร์ด้านเทคโลโลยีบางรายถึงกับดูถูกว่าสถาบันแห่งนี้เป็นสนามเด็กเล่นของผู้คนใน Silicon Valley ที่ใช้เวลาสิ้นเปลืองและใช้เงินมากจนเกินไป (คอร์ส 10 วันของผู้บริหารมีราคาราว 15,000 เหรียญ) Peter Glaskowsky นักวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี แสดงความคิดเห็นในบลอก CNET ของเขาว่าหลักสูตรนี้จะเป็น “เรื่องผสมปนเปที่น่าเจ็บปวดระหว่างวิทยาศาสตร์ และนิยายในโลกจินตนาการที่ระบุว่าอนาคตคลุมเครือ และอาจเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ”

                อย่างไรก็ดี มีหลายคนเอาจริงกับแนวความคิดนี้ โดย Stephanie Langhoff หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ NASA Ames ตกลงที่จะเป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบัน และผู้สมัครเรียนในระดับปริญญาโทเพื่อเข้าเรียนให้รุ่นบุกเบิกกลางปีนี้ ก็ตบเท้ากันมาจากกว่า 60 ประเทศ ทำให้แผนกอำนวยการต้องคัดนักศึกษาออกเช่นเดียวกับผู้บริหารหลายคนที่แสดงความสนใจเช่นกัน Ismail กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ถ้าผู้บริหารไม่ถามคำถามใหญ่ว่าเทคโนโลยีใหม่มีผลต่อธุรกิจของเขาเร็วแค่ไหน คุณคงต้องเริ่มถามคำถามพวกเขาได้แล้ว” IBWI

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

ถึงเพื่อนๆ ทุกคน Ph.D. รุ่น 3 SSRU

 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint)

 

                คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์

                เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย ซึ่งจะข่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน จะช่วยให้เรามีอำนวจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลกเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

                การดำเนินการกิจกรรมโครงการ เริ่มจากการคัดเลือกผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จากนั้นจึงทำการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์โรงงานนำร่อง โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC เป็นที่ปรึกษาหลักในเรื่องของเทคนิคในการประเมินวัฏจักรผลิตภัณฑ์หรือแอลซีเอ (Life Cycle Assessment: LCA) ของผลิตภัณฑ์กับโรงงานนำร่อง ขณะเดียวกัน อบก. จะเร่งสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านคาร์บอนฟรุตพริ้นต์เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับเอกชนในการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อขออนุมัติติดเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก อบก. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

 

สัญลักษณ์ของคาร์บอนพริ้นท์ในประเทศไทย

 

                ผลการประกวดตราสัญลักษณ์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทย ตามที่ อบก. กำหนดให้มีการประกวดตราสัญลักษณ์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของไทย โดยเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้แสดงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ และใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในเรื่องความสำคัญของภาวะโลกร้อน ที่ผ่านมา ได้มีผู้สนใจส่งผลงานประกวด จำนวน 90 ผลงาน จากการที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้ทำการพิจารณาคัดเลือกผลงานโดยมีเกณฑ์การตัดสิน ได้แก่ (1) การสื่อความหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (2) ความสวยงาน (3) ความคิดสร้างสรรค์  (4) จดจำง่ายและเด่นชัด (5) ความเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ พบว่า มีผลงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ 1 รางวัล คือผลงานของ นายรำรุ่ง  อิศรกุล ซึ่งเจ้าของรางวัลรองชนะเลิศจะได้รับโล้เกียรติยศและเงินมูลค่า 10,000 บาท

 

 

 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile : 081-661-1701

 

 

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

The answer for question 3

จากการฟังท่านสุทธิเดช และท่านอาจารย์จีระ บรรยายในวันนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นโอกาสของนักศึกษาที่จะทำ Thesis เกี่ยวกับเรื่อง LO (Learning Organization) เนื่องจากว่าที่การไฟฟ้าภูมิภาคนั้นได้มีการสอนเรื่อง 4L's ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ท่านอาจารย์ได้สอนไว้แล้ว และได้เกิด Learning Organization ที่ดีโดยที่ผู้ผู้บริหารระดับสูงได้สนับสนุนเป็นเป้าหมายขององค์กรและให้ทั้งงบประมาณ

นอกจากนี้ทางท่านสุทธิเดช ยังได้พูดไว้ในห้องบรรยายว่ายินดีสนับสนุนให้นักศึกษาปริญญาเอกของเราในเรื่องการเก็บข้อมูลเพื่อทำ Thesis อีกด้วย และมีหัวข้อที่จะตั้ง Hypothesis ได้คือ "การวัดผลของการทำ LO ว่าส่งผลดีต่อองค์กรได้จริงหรือไม่"

นอกจากมีหัวข้อที่ดีแล้ว ยังตรงกับที่ท่านอาจารย์จีระ เคยสอนและแนะนำว่าควรทำ Hypothesis ที่มีขอบเขตชัดเจนในการเก็บข้อมูลและต้องเป็นไปได้ ดังนั้นหัวข้อนี้จึงมีความชัดเจนและเป็นไปได้เพราะเราสามารถเก็บข้อมูลจากจำนวนพนักงาน 27,000 คนของการไฟฟ้าภูมิภาคและยังได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงสุดสาย HR ซึ่งตรงประเด็นอย่างมาก ๆ (มีหลายคนสนใจจะทำเรื่องนี้อยู่แล้ว ผมก็ยินดีและสนับสนุนเพื่อน ๆ นะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

องค์กรที่มีการพยายามสร้างให้เกิด Learning Organization เช่น http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/278823

การสอนที่ "ไปรษณีไทย" ตาม www ข้างต้นจะเห็นได้ว่าคำตอบของลูกศิษย์ที่ท่านอาจารย์สอนจะได้คำตอบว่าต้องทำให้เกิด Learning Organization ครับ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

94. กลุ่ม 5 [IP: 58.8.172.93]

เมื่อ จ. 27 ก.ค. 2552 @ 16:32

1438124 [ลบ] [แจ้งลบ]

จุดอ่อน

จุดแข็ง

1. ทำงาน routine ไม่เป็นทีม

2. ทำตามคำสั่ง

1.พนักงานมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน

2.พร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3.มองคนมีคุณภาพ

ยุทธศาสตร์

1.ให้พนักงานออกความคิดเห็นมีส่วนร่วมในการบริหาร

2.Learning Organization

3.ให้ผู้นำเป็นโค้ช

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
การบ้าน วันที่ 1 สิงหาคม 2552
ตอบคำถาม ข้อ 1.


วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกในสหรัฐอเมริกา
ดร. ศุภรา คภะสุวรรณ

ทำวิจัย เรื่องLinking Organizational Learning and Network Characteristics Effects on Firm Performance เนื่องจาก Internationalization เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และความสำเร็จของบริษัทที่เป็น entrepreneurieal firms ในธุรกิจระหว่างประเทศ และการเจริญเติบโตอย่างมากของการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ขององค์กร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรเพิ่มขึ้นหรือไม่ ความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร อธิบายได้ว่าเหตุใดบางองค์กรหรือบริษัทมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และประสบความสำเร็จมากกว่าองค์กรหรือบริษัทอื่น ๆ เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือทักษะใหม่ ๆ เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์นำไปสู่ผลประกอบการที่ดีขึ้นหรือไม่ ประเด็นใหม่ ๆ ที่ต้องพิจารณาคือ การเรียนรู้ขององค์กร เกี่ยวกับผลประกอบการภายในประเทศกับผลประกอบในธุรกิจระหว่างประเทศ และ การเชื่อมโยงระหว่างลักษณะของเครือข่ายความสัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร
สมมติฐาน 6 ข้อ คือ 1) Extensiveness of Out-ties : H1(+) คุณรู้จักคนมากน้อยเท่าไร การรู้จักคนมากถือว่าดี 2) Relational Embeddedness : H2(+) ในความสัมพันธ์รู้สึกได้ถึงความใกล้ชิดสนิทสนมไหม ถ้ามีถือว่าดี 3) Knowledge/Resource : H3(-) ความสัมพันธ์มีความซับซ้อนหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าไม่ดี 4) Redundancy : H4(+) มีจำนวนความสัมพันธ์หลากหลายประเทศหรือไม่ มีแสดงว่าดี 5) Organizational Learning Capability Domestic Performance : H5(+) มีมากเป็นบวก 6) Organizational Learning Capability International Performance : H6(+)มากเป็นบวก
ขอบเขตการวิจัย คือ ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทส่งออกในอุตสาหกรรมการผลิต Transportation equipment & machinery ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ประธานบริษัท เจ้าของกิจการ หรือผู้จัดการอาวุโส (ผู้จัดการทั่วไปหรือผู้จัดการฝ่ายการตลาด) มีการส่งแบบสอบถาม 3 ครั้ง ใช้โทรศัพท์ติดตามผลโดยการจ้างนักศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยสำหรับประเทศไทย รวมทั้งมีการใช้ monetary incentives แบบไปกับจดหมาย
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Regression analysis โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มรวม กลุ่ม 1 มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับผู้ป้อนขายปัจจัยการผลิต กลุ่ม 2 มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับผู้จัดจำหน่าย กลุ่ม 3 มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับลูกค้า กลุ่ม 4 มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับบริษัท/องค์กรแหล่งเงินทุน กลุ่ม 5 มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับบริษัท/องค์กรอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน กลุ่ม 6 มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับบริษัท/องค์กรวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการใช้ OLS สำหรับ Hypotheses 1-5 และ WLS สำหรับ Hypothesis 6 เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับ nonconstant variance of residuals
ข้อเสนอแนะของงานวิจัยคือ บริษัทที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมมากกับองค์กรอื่น(RE) ภายในเครือข่ายความสัมพันธ์และมีความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กรสูง ผลกระทบของความคล้ายคลึงกันในด้านทักษะและความรู้ระหว่างองค์กรที่สัมพันธ์กัน (KNR)ที่มีต่อการเรียนรู้ขององค์กรขึ้นอยู่กับชนิดของความสัมพันธ์ อายุของบริษัทมีผลกระทบต่อความสำคัญของจำนวนความสัมพันธ์ (EXT) และจำนวนประเทศที่บริษัทมีความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น ๆ (GLO) จำนวนความสัมพันธ์ยิ่งมากอาจทำให้การเรียนรู้น้อยลงเนื่องจาก information overload การเรียนรู้ขององค์กรส่งผลกระทบต่อผลประกอบการในตลาดในประเทศ การเรียนรู้ขององค์กรเป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์ระหว่าง RE และ KNR กับผลประกอบการของบริษัท สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นต่อองค์กรจากการวิจัย คือ บูรณาการแนวคิดจากทฤษฎีด้านสังคมวิทยาและการจัดการ โดยประยุกต์เข้ากับการศึกษาวิจัยในด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ให้คำตอบเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ในแง่ของผลประกอบการของบริษัท เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ขององค์กรกับผลประกอบการภายในและความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ขององค์กรกับผลประกอบการในระดับตลาดระหว่างประเทศ ศึกษา Mediation effects ของตัวแปรการเรียนรู้ขององค์กร (OLC) ให้ข้อแนะนำแก่ผู้จัดการบริษัทในการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรประเภทต่างๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น
ประสิทธิผลโครงการองค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษา บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ส่วนงานท่าอากาศยานกรุงเทพ 2546 ศิริพงษ์ แก้วสนธิ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง”ประสิทธิผลโครงการแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษา บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ส่วนงานท่าอากาศยานกรุงเทพ” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับ ประสิทธิผลของโครงการแห่งการเรียนรู้ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ส่วนงานท่า อากาศยานกรุงเทพ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นปัญหาและ/หรืออุปสรรคที่มีต่อเป้าหมายของโครงการ 3) เพื่อค้นหาแนวทางการปรับปรุงโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้ทําการรวบรวม ข้อมูลด้วยวิธี ดังนี้ คือ 1) การสัมภาษณ์บุคลลากรของ ทอท. จํานวน 4 คน ประกอยด้วยผู้บริหาร ระดับสูง จํานวน 2 คน และบุคลากรของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงกับการ บริหารโครงการฯ จํานวน 2 คน 2) การสังเกตการณ์เพื่อเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและบันทึกข้อมูล 3) การศึกษาจากกฎ ระเบียบ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 4) การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรของ ทอท. ที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ จํานวน 319 คน โดยการใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง

ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพของโครงการมีระดับสูงมาก ซึ่งแสดงว่าองค์การได้จัดให้ มีปัจจัยสนับสนุนการสร้างองค์การให้เป็นองค์การณ์แห่งการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง และในส่วน ของปัญหาและอุปสรรคนั้น พบว่ามีเพียงปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อโครงการเพียงเล็กน้อย เท่านั้น เช่น ปัญหาการมีโครงการพัฒนาบุคลากรจํานวนมาก ปัญหาของบุคคลากรบางส่วนที่มีภารกิจ ในหน้าที่การงานมากทําให้ไม่มีเวลาในการศึกษาความรู้เพิ่มเติม เป็นต้น
2) ประสิทธิผลและสาระสําคัญ โดยสรุปขององค์กรประกอบที่สําคัญในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน สรุปได้ ดังนี้

1. องค์ประกอบด้านการจัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ พบว่ามีประสิทธิผลสูงมาก โดยพิจารณาได้จากการที่องค์การได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์การ ระดับชั้นบังคับบัญชา สายการบังคับบัญชา และช่องทางการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งมีการแก้ไขปรับปรุง กฎ ระเบียบ ให้มีความคล่องตัวมีความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับองค์การภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มีการจัดทําระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลงาน และการสร้างระบบจูงใจให้สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานที่แท้จริง

2. องค์ประกอบด้านเทคนิควิธีการที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ พบว่ามีประสิทธิผลที่สูงมากโดยพิจารณาได้จากการสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูงที่เปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถที่จะแสวงหาความรู้ และนําวิธีการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาขององค์การ บุคคลากรสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้การพิจารณาค้นหาแนวทางในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน โดยเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ การได้รับการสอนงานจากผู้บังคับบัญชาและการสอนงานจากบุคลากรรุ่นพี่ นอกจากนี้องค์การได้มีการกําหนดหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรที่มีความหลากหลาย มี ความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการจัดสถานที่ และสิ่งอํานวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการเพิ่มศักยภาพของบุคคลากร เช่น ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ห้องฝึกอบรมภาษาต่างประเทศ ห้องสมุดที่บุคลากรสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Learning)

3. ด้านเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนรู้ พบว่ามีระดับประสิทธิผลที่สูงมาก โดยพิจารณาได้ จากภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการด้าน อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศที่ต้องเกี่ยวข้องและประสานงานกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การการบินระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) เป็นต้น และต้องให้ความสําคัญกับการสร้างศักยภาพเพื่อผลแห่งการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการรักษาสถานภาพการเป็นศูนย์กลางการบินไว้ ทําให้จําเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณภาพ และมีความเพียงพอในการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับการเรียนรู้ของบุคคลากร ปัจจุบันได้มีการนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบข้อสนเทศเพื่อการบริหารระบบเครือข่ายข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ทุกท่าอากาศยาน ระบบเช่าเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาใช้แทนการซื้อเพื่อให้สามารถ upgrade ทันต่อการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังได้จัดให้มรการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ

4. ด้านการเพิ่มอํานาจในการตัดสินใจ พบว่ามีประสิทธิผลที่สูงมาก โดยพิจารณาได้จากการที่ ผู้บังคับบัญชามีการมอบอํานาจและการตัดสินใจให้กับบุคคลากร ซึ่งประกอบด้วยการมอบอํานาจที่ เป็นทางการมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และการมอบอํานาจที่ไม่เป็นทางการด้วยวาจา นอกจากนี้ คําบรรยายลักษณะงานมีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบและความสามารถในการตัดสินใจไว้อย่าง ชัดเจน ทําให้มีการปฏิบัติงานไปด้วยความรวดเร็ว บุคคลากรสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง

5. ด้านการทํางานเป็นทีมและเครือข่าย พบว่ามีประสิทธิผลที่สูงมาก โดยพิจารณาได้จากการสนับสนุนของผู้บริหารในการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งทีมงานได้อย่างอิสระบุคลากรส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการสร้างทีมงานในการปฏิบัติงานร่วมกัน มีการร่วมวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน มีการร่วมประเมินผลงาน ร่วมกันแก้ไขปรับปรุง และร่วมกันรับผิดชอบในผลงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีการยอมรับนับถือระหว่างสมาชิกในทีมมากกว่าการให้ความสําคัญชั้นยศของบุคคล

การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิผลของโครงการฯ ที่ มาจากการประมวลข้อคิดเห็นของแบบสอบถามปลายเปิด และข้อเสนอแนะของผู้วิจัยซึ่ง ประกอบด้วยข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโครงการฯ และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อเนื่องเพ่อพัฒนา องค์ความรู้ของทฤษฎีและ/หรือ แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้และพัฒนาไปสู่การประยุกต์ในการ พัฒนาองค์การต่อไป

มิติบรรยากาศองค์การที่มีต่อการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ : แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่ ดร.พิชิต เทพวรรณ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจึงได้ร่วมมือกับบริษัท ริเวอร์เน็ท จำกัด รวบรวมคณาจารย์ กลุ่มนักวิชาการ และนักบริหารในภาคธุรกิจที่มีประสบการณ์ มีความสามารถและมีความเชี่ยวชาญเรื่องการถ่ายทอดจำนวนหนึ่ง อันประกอบไปด้วย นักกฎหมาย นักบัญชี นักการเงิน นักบริหารจัดการ นักการตลาด นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักภาษาศาสตร์ นักเทคโนโลยี นักบริหารทรัพยากรบุคคล นักฝึกอบรมและอื่นๆ ที่มีแนวคิดสอดคล้องกันจึงรวมตัวกันขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรให้แก่ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการแก้ปัญหาด้านการพัฒนาบุคลากรให้กับองค์กรต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกองค์กรมีองค์ความรู้ใหม่ๆมากเพียงพอในการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของธุรกิจให้แข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดว่า "การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด" Learning Never End
วัตถุประสงค์สถาบัน
1. เป็นศูนย์รวมนักวิชาการ นักบริหาร และนักฝึกอบรมที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ในการทำงานวิชาการ งานด้านธุรกิจรวมทั้งงานภาครัฐมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยมีอุดมการณ์ และพร้อมที่จะอุทิศตนถ่ายทอดองค์ความรู้ ภายใต้กระบวนการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรให้ในองค์กรต่างๆ ที่ต้องการเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่บุคคลากร
2. สร้างสรรค์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ ตำรา กระบวนการฝึกอบรมภาควิชาการ และภาคปฏิบัติด้านเทคโนโลยี วิศวกรรม การบริหารจัดการ การตลาด การขาย การบริการ ภาษาศาสตร์ การบัญชี การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โทรคมนาคม กฏหมาย และความรู้เฉพาะทางด้านต่างๆ อันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการทำธุรกิจยุคใหม่
3. ก่อตั้งองค์กรธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เป็นองค์กรของภาครัฐที่มีวิธีการบริหารจัดการแบบธุรกิจเอกชนที่ดำรงอยู่ได้ และเติบโตเป็นองค์กรหลัก เป็นที่พึ่งพิงในการพัฒนาบุคลากรให้กับองค์กรอื่น ๆ
การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้รับรางวัลชมเชย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2548 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
ศาสตราจารย์ อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แถลงแก่สื่อมวลชนว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ชมเชย ประจำปี 2548 สาขาการศึกษา แก่วิทยานิพนธ์ เรื่อง "การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา" ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด สร้อยน้ำ วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นพื้นฐานในการก้าวไปสู่ความสำเร็จขององค์การได้ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงเรียน ควรเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มากกว่าองค์การประเภทใด ต้องไม่ถูกควบคุมโดยระบบราชการเพราะองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับการปรับปรุงโรงเรียนในการค้นหาวิธีการใหม่ ๆ และการปรับโครงสร้างใหม่ของโรงเรียน การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการนำทาง การมีวิสัยทัศน์ การสนับสนุนบรรยากาศทางบวก (positive Climate) เป็นต้น องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นทฤษฎีที่พัฒนาในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาทฤษฎีองค์การแห่งการเรียนรู้จากระบบโรงเรียนและวัฒนธรรมของไทย อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาตัวแบบที่ใช้พัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย ผู้วิจัยจึงมุ่งที่จะทำการศึกษาวิจัย การวิจัยนี้มุ่งพัฒนาและตรวจสอบตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการวิจัยพบว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้มีปัจจัยทางการบริหารและการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยเป้าหมายและข้อมูลย้อนกลับการปฏิบัติงาน ปัจจัยการปฏิบัติของครูและทีมงาน ปัจจัยการจูงใจ ปัจจัยบรรยากาศและวัฒนธรรมของโรงเรียน ปัจจัยวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ และปัจจัยการพัฒนาครูทีมงานผลจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความรู้เชิงวิชาการในบริบทสังคมไทย เป็นการนำเอาทฤษฎีทางตะวันตกมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมไทยและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างถูกทิศทางหากประชากรของประเทศได้รับการศึกษาที่ดี ผลผลิตเหล่านี้จะเป็นศักยภาพในการพัฒนาองค์การสังคม รวมไปถึงการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพในที่สุด
วิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัลชมเชย จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณจากรองนายกรัฐมนตรี โดยพิธีมอบรางวัลจะมีขึ้นในงาน "วันนักประดิษฐ์"ประจำปี 2549 ณ ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
วัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้: บริบทในบริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า จํากัด
Organizational Culture and Learning Organization: Context in Better Pharma Co., Ltd.
2546 ชนกพรรณ ดิลกโกมล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การและ องค์การแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาลักษณะวัฒนธรรมองค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้ของ บริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า จํากัด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การและองค์การแห่ง การเรียนรู้ของบริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า จํากัด และ 4) นําเสนอกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรม องค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พนักงานของบริษัทเบ็ทเทอร์ฟาม่า จํากัด จํานวน 119 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SpSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูแบบขั้นตอน โดยมีนัยสําคัทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า บริษัทเบ็ทเทอร์ฟาม่า จํากัด มีลักษณะวัฒนธรรมองค์การในภาพรวมทั้ง 3 แบบ ได้แก่ 1) ความสามารถในการปรับตัว 2) การมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในการปฏิบัติพันธกิจและ 3) ความสอดคล้องต้องกัน อยู่ในระดับปานกลาง รวมทั้งระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัทเบ็ทเทอร์ฟาม่า จํากัด อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อทําการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ลักษณะวัฒนธรรมที่มีความสอดคล้องต้องกันมีความสัมพันธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ และสามารถใช้เป็นตัวพยากรณ์ในการคาดคะเนลักษณะองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งประสิทธิภาพของการพยากรณ์มีค่าเท่ากับร้อยละ 39.5 กลยุทธ์ที่สําคัญเป็นอันดับแรกในการสร้างวัฒนธรรมองค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การรักษาสมดุลระหว่างการเรียนรู้และความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาของพนักงานและองค์การ

ด้วยความเคารพ ข้อต่อไปกำลังตามมาค่ะ
นางจิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

 

 

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำถามเกี่ยวกับการเปรียบเทียบระหว่าง Peter Senge กับ 4L's ของอาจารย์ ผมพยายามอ่านและศึกษาทั้ง 2 เรื่องแล้วผมจะขอแสดงความคิดตามแบบของผมว่า เนื่องจากทั้งคู่เป็นผู้รู้และสั่งสมความรู้มามาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ทำให้ทั้งสองคนสามารถที่จะขยายแนวการสอน หรือเปลี่ยนท่า เปลี่ยนรูปแบบ ออกไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะเริ่มต้นที่ System Thinking หรือ Learning Methodology แต่ก็สามารถจบ หรือไปถึง Learning Organization ได้ทั้งคู่ครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ


ดิฉันขออนุญาตตอบ ข้อ 1 (ต่อ ) จากงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ LO พบว่า IT เป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ ที่สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน เรียนรู้เป็นทีม มีแบบแผนความคิด ทำให้เป็นบุคลากรชั้นเลิศที่มีการคิดเป็นระบบ กระบวนการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องมาจากผู้นำที่แสดงวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าจะพาองค์กรสู่การเรียนรู้ จากนั้นก็จัดสัมมนา อบรม workshop เพื่อสร้างความตระหนัก และส่วนสำคัญก็ต้องสร้าง Motivation ให้กับคนในองค์กรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการที่จะนำพาองค์กรสู่การเรียนรู้ร่วมกัน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี 4L's คือ Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้Learning *Environmentสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้Learning *Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้*Learning Communitiesสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ หากใช้ทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ก็จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน ดังเช่นที่ PEA ประสบความสำเร็จมาแล้ว ซึ่งมีการดำเนินการจัดบรรยายวิชาการ โดยเชิญผู้รู้เช่น ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วให้ CD กลับไปทบทวนต่อ ใช้โปรแกรม Edosoft มาลงใน e- learning ให้พนักงานได้เรียนภาษาอังกฤษ ในเวลา วันละ 1 ชั่วโมง มีความคิดสร้างสรรค์สู่วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เน้นบริหารจัดการการเรียนรู้เป็นเครือข่าย ให้มีการเรียนรู้และแบ่งปัน ส่วนตัวบ่งชี้ความสำเร็จของ LO คือ


1. ผู้บริหารสูงสุดประกาศนโยบายในการที่จะนำพาทุคนในองค์กรสู่ LO
2. ทรัพยากรในองค์กร เครื่องมือต่าง ๆ ต้องพร้อม
3. พนักงานมีจิตใจใฝ่รู้ ในการสร้างนวัตกรรม
4. ต้องมีเวทีการนำเสนอผลงานที่น่าภูมิใจ เช่น บทความหรือ งานวิจัย
โดยสรุป การจะทำให้องค์กรสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง CEO ต้องมุ่งมั่น พนักงานให้
ความร่วมมือ มีวิธีขับเคลื่อนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และมีการประเมินผลด้วยการทำวิจัย


ด้วยความเคารพ ข้อต่อไปกำลังตามมาค่ะ
จิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ


2. Read Peter Sange's and compare with 4L's


Peter Sange's
1. การคิดที่เป็นระบบ (system thinking) คือ สร้างกรอบความคิดซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้และกระบวนการคิด ศึกษาเหตุผลและการค้นหาคำตอบอย่างมีวิจารณญาณ
2. ความสามารถของบุคคล (personal mastery) คือ ความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองทำสิ่งใหม่ สร้างวิสัยทัศน์แห่งตนตระหนักรู้ว่าตนเองอยู่ห่างจากเป้าหมายของตนมากน้อยเพียงไรเพื่อเป็นแรงผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายนั้น ใฝ่ใจที่จะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ
3. กรอบความคิดภายใน(mental models)คือการรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือประสบการณ์ทั้งปวงที่เป็นรากฐานฝังลึกในตัวบุคคล มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง เนื่องมาจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และวิสัยทัศน์ ไม่ยึดติดกับความเชื่อเก่าที่ล้าสมัยเพียรพัฒนารูปแบบความคิดความเชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับความแปรเปลี่ยนไปของโลก เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์การ
4. การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building share vision) คือ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และโลกทัศน์ของบุคคลในองค์การ เพื่อนำไปสู่การเป็นวิสัยทัศน์หลักร่วมกันขององค์การโดยทุกคนในองค์การควรมีส่วนร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์นี้ ช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงานที่ทุกคนจะทุมเท ผนึกแรงกาย แรงใจ ทำให้บรรลุเป้าหมายองค์การ
5. การเรียนรู้ทีม (team learning) คือ การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีมบุคคลในองค์การ อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคคลในทีมซึ่งทำให้บุคคลมีความรู้เพิ่มขึ้น พัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงานโดยรวม มีการนำเอาความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแต่ละบุคคลมาผสมผสานเสริมกัน เพื่อให้งานที่ทำร่วมกันบรรลุผลสูงสุดตามเป้าหมาย


ทฤษฏี 4 L's


L ที่ 1 คือ Learning Methodology วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia
L ที่ 2 คือ Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก สนใจ และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ - ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)
L ที่ 3 คือ Learning Opportunity การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน
L ที่ 4 คือ Learning Communities การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment) และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง


จากการเปรียบเทียบ Peter Sange's with 4L's จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เหมือนกันดังต่อไปนี้


1. จะเน้นการเรียนรู้โดยสร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
2. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3. การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
4. การเรียนรู้เป็นทีมเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในลักษณะที่กว้างขึ้น มีการแบ่งปันความรู้จากเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างความยั่งยืนและสร้างมูลค่าเพิ่ม


ความแตกต่างคือ



 4L's เน้นปรัชญาการเรียนรู้ ที่มุ่งสู่สากลมากขึ้น


ขอแสดงความนับถือ
Jiraphorn Sawasdiruk MP 087-066-2359

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ


3. Any ideas about setting up hypothesis for Ph.D. thesis proposal.


1. องค์กรแห่งการเรียนรู้สามารถพัฒนา Performance ได้ตามเป้าหมาย


2. การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับปัญหาสมองไหล


3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีผลต่อการพัฒนาวิทยฐานะของข้าราชการ


4. ความยั่งยืนขององค์กรมีความสัมพันธ์กับ LO


5. LO มีความสัมพันธ์กับ Competency ของบุคคลในองค์กร

ขอแสดงความนับถือ


Jiraphorn Sawasdiruk MP.087-066-2359

 

เรียนอาจารย์ ศ.ดรงจีระ หงส์ลดารมภ์

สำหรับหัวข้อที่ให้อ่าน Newsweek และคำถาม

1.Anything to do with 8K's,5K's ?

May be ,we have to add the new K as "Financial Capital" krab.

2. Any link between Human Capital and Financial Capital?

The “Hamburger Crisis” situation have effected with the world situation and the point that has been very especially to help as financial knowledge. So we can conclude that Human Capital should have been financial knowledge or Financial Capital too.

3. The leadership should have been Financial Capital.

4. The Hypothesis ; “The Financial Capital can help the leadership to face with the crisis situation”

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

การบ้าน ข้อ 4. What do you think of PEA's experiences in LO's ? Explain what did you learn?

ดิฉันคิดว่า การสร้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่สะท้อนวิสัยทัศน์ในการมองโลกอนาคตของผู้นำองค์กรอย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่ามีแผนในการที่จะสร้างองค์กรไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่เป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการแบ่งคนเป็น 3 ระดับ เพื่อง่ายต่อการใช้นวัตกรรมการพัฒนาในแต่ละระดับให้มีคุณภาพในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และเขามีวินัย 5 ประการของ Peter Sange's คือ

1. การคิดที่เป็นระบบ (system thinking) คือ สร้างกรอบความคิดซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้และกระบวนการคิด ศึกษาเหตุผลและการค้นหาคำตอบอย่างมีวิจารณญาณ

2. ความสามารถของบุคคล (personal mastery) คือ ความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองทำสิ่งใหม่ สร้างวิสัยทัศน์แห่งตนตระหนักรู้ว่าตนเองอยู่ห่างจากเป้าหมายของตนมากน้อยเพียงไรเพื่อเป็นแรงผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายนั้น ใฝ่ใจที่จะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ

3. กรอบความคิดภายใน(mental models)คือการรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือประสบการณ์ทั้งปวงที่เป็นรากฐานฝังลึกในตัวบุคคล มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง เนื่องมาจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และวิสัยทัศน์ ไม่ยึดติดกับความเชื่อเก่าที่ล้าสมัยเพียรพัฒนารูปแบบความคิดความเชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับความแปรเปลี่ยนไปของโลก เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์การ

4. การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building share vision) คือ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และโลกทัศน์ของบุคคลในองค์การ เพื่อนำไปสู่การเป็นวิสัยทัศน์หลักร่วมกันขององค์การโดยทุกคนในองค์การควรมีส่วนร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์นี้ ช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงานที่ทุกคนจะทุมเท ผนึกแรงกาย แรงใจ ทำให้บรรลุเป้าหมายองค์การ

5. การเรียนรู้ทีม (team learning) คือ การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีมบุคคลในองค์การ อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคคลในทีมซึ่งทำให้บุคคลมีความรู้เพิ่มขึ้น พัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงานโดยรวม มีการนำเอาความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญของแต่ละบุคคลมาผสมผสานเสริมกัน เพื่อให้งานที่ทำร่วมกันบรรลุผลสูงสุดตามเป้าหมาย

องค์กรแห่งการเรียนรู้เกิดจาก วัฒนธรรมการเรียนรู้ของหน่วยงานนั้น โดยผู้นำต้องบอกทุกคนให้รับทราบร่วมกันว่าจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จากนั้นก็จัดสัมมนา Workshop เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับคนในองค์กร อีกประการที่ขาดเสียไม่ได้คือการ Motivation เช่นการไปศึกษาดูงาน ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อให้บุคลากรในองค์กร มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ PEA ได้ใช้ทฤษฎี 4L's คือ  L ที่ 1 คือ Learning Methodology วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia
L ที่ 2 คือ Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก สนใจ และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ - ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)
L ที่ 3 คือ Learning Opportunity การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน
L ที่ 4 คือ Learning Communities การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment) และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง

ดังนั้นในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของ PEA จึงประสบผลสำเร็จที่สำคัญ เขาใช้ทฤษฎี 3 ต. คือการทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ พอ CEO คนใหม่มาก็เปลี่ยนนโยบาย ทำให้การพัฒนาองค์กรหยุดชะงัก

กิจกรรมสำคัญเช่นการจัดบรรยายทางวิชาการ โดยเชิญ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาให้ความรู้และเป็นผู้ตรวจสอบการเรียนรู้ หลังจากนั้น ผู้เข้าฟังบรรยายก็จะได้รับ CD กลับไปทบทวน PEA ยังพัฒนาบุคลากรให้ศึกษาภาษาอังกฤษ โดยนำโปรแกรม Edusoft มาให้พนักงานได้เรียนในเวลางาน วันละ 1 ชั่วโมง หาบทความภาษาอังกฤษบ้าง งานวิจัยบ้าง ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้คนในองค์กรสามารถก้าวไปพร้อมกันเพื่อสู่โลกแห่งการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด นอกจากนั้นยังเน้นให้แบ่งปันความรู้กับเครือข่ายอีกด้วย

สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการสร้าง LO

1. ผู้บริหารสูงสุดประกาศนโยบายที่จะสร้าง LO
2. ทรัพยากรในองค์กร เครื่องมือต้องพร้อม
3. พนักงานมีจิตใจใฝ่รู้ในการสร้างนวัตกรรม
4. ต้องจัดให้มีเวทีในการนำเสนอ ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งงานวิจัย

สรุปในการทำ LO ของ PEA ความสำเร็จเกิดจาก 5 ประการต่อไปนี้

1. มีความต่อเนื่อง โดยใช้ทฤษฎี 3 ต. คือต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง
2. CEO ต้องมุ่งมั่น นโยบายต้องชัด
3. พนักงานให้ความร่วมมือ
4. มีวิธีการขับเคลื่อน PEA ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
5. มีการประเมินผลและทำวิจัย

ขอแสดงความนับถือ

Jiraporn Sawasdiruk MP.087-066-2359

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมเขียนบทความลง Blog ต่อเนื่องเป็นตอน ๆ ครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

Human Tree (ต้นไม้มนุษย์) ตอนที่ห้า

“Digital Capital (ทุนทาง IT)”

สำหรับทุนทางด้าน IT นี้ในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทั้งคนที่ทำงานเป็นลูกจ้าง และคนที่ทำธุรกิจ เพราะ IT มีบทบาทสำคัญมาก ๆ ในทุก ๆ ด้าน โดยผู้เขียนได้ทำการบรรยายหัวข้อ “ติดปีกธุรกิจด้วย IT” ในงานสัมมนาหลาย ๆ ที่ จึงได้นำตัวอย่างเนื้อหาและตัวอย่าง Power Point (http://gotoknow.org/file/tanapolk/IT.pdf) ที่ได้ใช้นำเสนอมาลงให้ดูเป็นข้อมูลดังนี้คือ

“นอกเหนือจากการแข่งขันที่สูง ผู้ประกอบการธุรกิจในทุกๆภาคส่วน ยังต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน และ IT คือคำตอบที่ดีที่สุดเหมาะอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบัน”

ธุรกิจทุกอย่างต้องใช้ IT

 ประสิทธิภาพ

 คุณภาพ

 ความได้เปรียบ รวดเร็ว

 ลดค่าใช้จ่าย

 สร้างความพึงพอใจ

 สร้างความอยู่รอด

ถ้าเรามีความรู้เรื่อง IT

 โอกาส

 มูลค่าเพิ่ม

 ประสิทธิภาพ

 คุณภาพ

 ความพึงพอใจ

 ความอยู่รอดของเรา

ใครเริ่มก่อนได้เปรียบ

 เรียนรู้เพิ่มเติม

 ประสบการณ์

 ความอยากรู้อยากเห็น

 ความทุ่มเท

 ความตั้งใจ

 ความพยายาม

จะพยายามมาอธิบายเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งนะครับ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ซึ่งมีหัวข้อใหญ่ 4 ข้อคำถาม คือ หนูขอทบทวนดังนี้นะคะ

1. เปรียบเทียบเรื่อง LO ของ PEA กับ บ. เอกชน, องค์กรเอกชน, รัฐวิสาหกิจ

2. เปรียบเทียบ ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  กับ Peter Senge

3. คิด/ได้ Ideas ที่สามารถนำมาตั้ง PhD. Proposals หรือ Hypothesis จากการเรียนเรื่อง LO (Learning Organization) 

4. จากการอ่าน Article ใน Newsweek

            1) ในเนื้อหามีเรื่องที่เกี่ยวกับ ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s ของท่านอาจารย์ ศ. ดร.จีระ  

            2) ในเนื้อหามีอะไรที่ Linking กับ Human Capital และ Financial

            3) เรียนรู้เรื่อง Leadership จาก การอ่าน การอ่าน Article ใน Newsweek

            4)  คิดงานวิจัย(Research) อะไร?  ได้บ้าง? จากการอ่าน Article ใน Newsweek

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอตอบ ข้อที่3  ก่อนนะค่ะ

1. PEA ใช้ ระบบ IT เพื่อให้เกิด Innovative ได้อย่างไร?

2. Team Learning ของ PEA ส่งผล Performance ได้อย่างไร?

3. HR ของ PEA มีวิธีสร้าง System Thinking

4. LO ของ PEA ก่อให้เกิด Happiness มากน้อยเพียงใด?

5. Leadership ของ PEA ก่อให้เกิด Performance ได้อย่างไร?

6. LO ของ PEA Team ก่อให้เกิด Sustainability แค่ไหน? และได้อย่างไร?

7. Intellectual Capital ของ PEA สามารถนำไปสร้าง Value Added ได้อย่างไร?

8. Digital Capital ของ PEA ส่งผล Performance ได้อย่างไร?

9. Social Capital ของพนักงาน PEA ทำให้เกิด Innovative ได้อย่างไร?

10. จากการไปดูงานทั้งในและต่างประเทศของพนักงาน PEA ทำให้เกิด Competency &Creative & Innovative อะไรบ้าง?

 

สมศรี นวรัตน์ 081-9435033

Mr. Sakonechai Charoenchai, SSRU, Ph.D. student
Homework: Human Capital Management

Question (1) Search private companies or organizations, government state enterprise and look for LO Experience besides PEA (explain).
I have searched many companies, so far it is unsuccessful.

Question (2) Read Peter Senge's and compare with 4L's.
Peter Senge wrote the famous book "The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization" in 1990. He explained about his disciplines as follow.
1. Personal mastery
We have to be our own boss and control our way of life. We must have our vision about our life and vision will lead us there.
2. Mental Model
We have to set a frame of thinking and it will have the effects to how we understand things around us. It will change the way we think and the way we do.
3. Shared Vision
The vision of the organization must be shared and understood by everyone in the organization. Shared vision will lead to success in organization.
4. Team Leaning
Team learning can provide the synergy of the group and multiple effects. It also provides the unity of organization.
5. System Thinking
Use system thinking as the approach to decision making. Think as a holistic view and try to see the problem as a relationship between causes and effects.
Dr. Chira also has a theory of 4 L's: learning Methodology, learning environment, learning opportunity, and learning community. If we want to compare between two theories, Peter Senge's theory is harder to understand and more abstract form.
Where as, Dr. Chira's theory is easy to understand and more practical form. Dr. Chira 4 L's is very practical and can be used in any organization and see the result immediately.

Question (3) Any ideas about setting up hypothesis for Ph.D. thesis proposal?
I am interested in testing hypothesis if LO make the difference in terms of productivity in the organization or not.
1 represents the productivity of workers who experience LO
2 represents the productivity of workers who has no experience with LO

HO 1 = 2
Hi 1  2

Question (4) What do you think of PEA's experience in LO's? Explain what did you learn?
I think the six year plan to build PEA to be a learning organization is a smart move of this organization. There are three steps: awareness, knowledge monitoring, and knowledge critique and embedding. This LO experience has been supported by the CEO at the beginning with substantial budget. What we know so far is that the organization unofficially claims that it becomes more productive even during the economic crisis. However, it needs a real research to prove it conclusively.

Question (5) Read article in Newsweek and answer the questions.
The article talks about the USA may fail in terms of leading the economics recession. However, it does well in terms of leading the political process of the recovery process of the recession. President Obama is the only one who has a charismatic and in the position to lead the world compared with other countries such as Japan, China, England, France, and Germany.

 

เรียนท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่าสูง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์)รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  ขอตอบ การบ้าน ข้อที่ 1 นะคะ

โจทย์คือ การเปรียบเทียบเรื่อง LO ของ PEA กับ บ. เอกชน, องค์กรเอกชน, รัฐวิสาหกิจ

โดยหนูจะเปรียบเทียบดังนี้

LO การไฟฟ้าภูมิภาค (PEA) < ------> LO ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 

LO การไฟฟ้าภูมิภาค (PEA)

1. ผู้นำระดับสูงของ PEA  ผู้ว่าการ กฟภ.

 คนที่ 10(2550 - 2553)   นายอดิศร  เกียรติโชควิวัฒน์

คำขวัญการบริหารและจัดการงาน

สร้างคน สรรค์งาน เสริมความรู้ สู่คุณภาพ

- มีพนักงานจำนวน 27,717 คน 

2. PEAได้เสนอแนวคิดและหลักการเรื่อง LO ของ Peter Senge (1990) และ Dr. Michael Marquardt (1996)

3. Peter Senge เรื่อง LO มาสู่การปฏิบัติดังนี้

1) มีวิสัยทัศน์ร่วม (Building shared vision) ของ PEA

2) เรียนรู้เป็นทีม  (Team Leaning)ของ PEA

3) บุคลากรชั้นเลิศ (Personal Mastery)ของ PEA

4) มีแบบแผนความคิดร่วม  (Mental Model)ของ PEA

5) คิดเป็นระบบ  (Systems Thinking)ของ PEA

เครื่องมือ (Tools) สนับสนุนการสร้างการเรียนรู้

1.        ระบบ   KM   ของ กฟภ.

2.        ระบบ e-Learning

3.        ระบบ   e-Library /   e-Book

4.        หนังสือ / เอกสาร

5.        เวทีการนำเสนอผลงานวิจัย / นวัตกรรม 

 

PEAแนวคิดและหลักการเรื่อง LO

- Vision ร่วม ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรชั้นนำในระดับสากล  ในธุรกิจพลังงาน   ธุรกิจบริการ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

                        - Mission มี 3 ข้อ คือ

1.To continually  improve the provision and distribution of electricity to its customers to achieve the highest level of sufficiency, efficiency and reliability in power distribution commensurate with safety practices ; to meet the timely need of customers ; and to keep pace with changing circumstances.

2. To optimize its business processes and operations in order to be more profitable and thereby achieve sufficient revenues to facilitate developments.

3.   To develop its organizational structure, manpower and  resources management in order to achieve the highest level of  efficiency and effectiveness

                        - Strategic ของ PEA มี 4 ข้อ

1. Maintaining growth of electricity delivery business in domestic market

2. Expanding electricity delivery business to neighboring countries

3. Expanding non-core business in domestic & overseas market

4. Diversifying toward power generation, telecommunications and energy-related businesses

การสร้างLOของPEA มี 3 Step คือ

1. Learning Organization Awareness (สร้างความตระหนักเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ )

2. Knowledge Auditing & Monitoring (การตรวจสอบและติดตามการเรียนรู้)

3. Knowledge Critique & Embedding(การวิพากษ์และปลูกฝังองค์ความรู้ )

กิจกรรมที่ดำเนินการ

          จัดบรรยายวิชาการและความรู้ทั่วไป ( Seminar)

          จัดกิจกรรมสัมมนาระดมสมองและการสร้างทีมงาน (Brain Storming & Team Building)

          จัดศึกษาดูงานภายในประเทศ  (Study Tour)

          จัดตั้งเครือข่ายสื่อสารการเรียนรู้  (Team Learning)

          จัดทำวิจัยพนักงาน (Employees’ Research)

จัดบรรยายวิชาการและความรู้ทั่วไป

วิทยากรภายนอก. ==========àà ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ คณสอนจำนวน 16 รุ่น (4,044 คน) (สนญ.4, ต่างจังหวัด 12) จัดสัมมนาภายในประเทศ  2 วัน (บรรยาย + สัมมนากลุ่ม) ศึกษาดูงานประเทศจีน  5  วัน

วิทยากรภายใน ผู้บริหาร กฟภ. กิจกรรมข้อเสนอแนะ นำเสนอบทความ ปฏิบัติการสถานการณ์สมมุติ ศึกษาดูงานด้านการจ่ายไฟฟ้า

ดูงานศูนย์บริการลูกค้า ศึกษาภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ห่างไกล การเขียนบทความ  หนังสือทางการและบันทึก การนำเสนอด้วยวาจาและภาษากาย ภาษาอังกฤษ  การเขียน  การสนทนาและการประชุมมารยาทในสังคมและธุรกิจ คุณธรรมและจริธรรม

 

 LO ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) :  สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ชนิดธุรกิจ -      บริการ ส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

ชื่อผู้บริหาร -   คุณพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

จำนวนพนักงาน : 352 คน

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ : 

• วิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มุ่งมั่นต้องการสร้างองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
• มีการวางแผนกลยุทธ์แบบ Synergy กันทั้ง ปตท. อันทำให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจ
• พนักงานสามารถตอบสนองต่อทิศทางความต้องการขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยการบริหารจัดการและประยุกต์ใช้เครื่องมือบริหารจัดการสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้า TQA:

• สร้างโอกาสการพัฒนา และปรับปรุงตนเอง มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์ TQA รวมถึงการรับข้อมูลป้อนกลับ (Feedback Report) เพื่อมาปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล

• พนักงานมีแนวคิดการทำงานแบบบูรณาการกันทั้งกระบวนการ และปฏิบัติงานโดยมุ่งบรรลุภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร

ขอจบแค่นี้นะคะด้วยความเคารพยิ่ง

หนูสมศรี นวรัตน์  081-9435033

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

                วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2552 สำหรับการเรียน Human Capital Management ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เชิญคุณสุทธิเดช สิทธิสมณ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์การไฟฟ้ามาร่วมบรรยาย เพื่อ Sharing ประสบการณ์การเรียนรู้ ในหัวหัว การสร้าง กฟภ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Building PEA tobe a Learning Organization)

            นอกจากนี้ท่านอาจารย์ได้ฝากประเด็นและหัวข้อเกี่ยวกับ Learning Organization ไว้เป็น Home Work ในหัวข้อดังต่อไปนี้

                1. Search private companies or organization, Government State Enterprise and look for Lo Experience besides PEA

                  บริษัท Volvo ที่ประเทศสวีเดนเป็นตัวอย่างหนึ่งในเรื่อง Learning Organization Model ดังตัวอย่าง Model

Principle of Volvo for LO

 1.การเรียนรู้รายบุคคล และ กระจายความรู้เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

Volvo จะเน้นในเรื่องของการสร้างทรัพยากรบุคคล โดยที่จะมีการ train ในเรื่องของทักษะที่จำเป็น และความสามารถที่จำเป็นอย่างน้อย 16 เดือน จากนั้นจะอบรมต่อในส่วนของทักษะการจัดการและวิศวกรรม เพื่อให้สามารถทำงานเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้มีความมั่นใจที่จะหาความรู้เพิ่มเติมในอนาคต

 

พนักงานจะมีการแบ่งปันความรู้กัน เพื่อก่อให้เกิดองค์รวมของความรู้ขององค์กร โดยองค์กรจะสร้างสภวะให้เหมาะกับการแบ่งปันทั้งในส่วนของคนที่ทำงานร่วมกันผ่านระบบการทำงานเป็นทีม และ การสร้างโอกาสให้ติดต่อคนภายนอก เช่น ทีมงานออกแบบสามารถไปรับเอาความเห็น หรือ แบ่งปันความรู้กับทีมงานโรงงานได้ โดยจะสามารถรับ Feedback ได้โดยตรง รวมถึงไป showroom เพื่อรับfeedback จากลูกค้าได้

 

เมื่อได้ข้อเสนอแนะมาจากแหล่งโดยตรงทำให้มีความมั่นใจที่จะแก้ไขปัญหา สร้างกระบวนการใหม่ หรือท้าทายกิจวัตรประจำวันเพื่อให้เกิดความร็ใหม่ ๆ อีกได้

 

  1. วัฒนธรรมองค์กรที่เกื้อหนุน

วัฒนธรรมในเรื่องของการเชื่อใจส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ กล่าวคือ ผู้นำของ Volvo จะเชื่อใจคนงานโดยที่จะสามารถเสนอความคิดที่ผิดไปจากกิจวัตร หรือ ตั้งคำถามกับสภาพการทำงานปัจจุบันได้

 

โดยเฉพาะวัฒนธรรมของการกระจายอำนาจ โดยทีมงานสามารถเสนอ Project ของตัวเองได้ในหลาย ๆ ส่วนงาน การทำงานใหนแบบของ Project ทำให้บุคคลากรเกิดการขวนขวายหาความรู้ ท้าทายปัญหาเดิม และทำการทดลอง และ แก้ไขปัญหา จนเกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมา

 

  1. บทบาทของผู้นำ

ในการทำให้เกิดการเรียนรู้ และ แบ่งปันความรู้จำเป็นต้องมีการให้แรงจูงใจ โดยผู้นำของ Volvo จะเป็นไปในลักษณะของผู้สนับสนุนในองค์กร

 

โดยเบื้องต้นต้องทำการอบรมเฉพาะทักษะและความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้ทีมงานขวนขวายแต่ความรู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

 

ผู้นำในองค์กรจะจัดสร้าง Cross-functional team ทำให้แต่ละทีมจะมีการจัดการของตนเอง และ เรียนรู้ภายในทีม โดยในแต่ละทีมจะมีผู้จัดการเป็นที่ปรึกษาอยู่ 3 คน เพื่อคอยตรวจสอบ ปรึกษา และ ช่วยเหลือให้อยู่ภายใต้นโยบายของบริษัท และ ทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้

 

  1. สร้างแรงจูงใจ

ในการประเมิณผลจะทำการประเมิณผลในแบบของทีม ไม่ใช่รายบุคคล และยิ่งกว่านั้นปัจจัยหนึ่งในการประเมิณผลคือความพอใจของลูกค้า ดังนั้นทีมงานจะทำการหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

 

ในส่วนของพนักงงานการผลิต พนักงานทุกคนจะต้องทำงานได้ในทุก Function งานในทีมของตน เพื่อที่ว่าหากเกิดปัญหาทีมงานขาดไปชั่วคราว ทีมงานสำรองจะต้องสามารถทำแทนได้ในทุกหน้าที่เพื่อให้ทันความต้องการลูกค้าอันส่งผลต่อการประเมิณผลของทีม ในส่วนนี้ทีมงานจะทำการแบ่งปันความรู้ที่ตัวเองถนัดให้ทีมงานคนอื่น ๆ เพื่อให้ถนัดใกล้เคียงตนที่สุดเพื่อผลงานของทีม

 

โดยตัวรางวัลที่ให้จะมีทั้งตัวเงิน และ ไม่ใช่ตัวเงิน โดยในส่วนของตัวเงินนั้นก็จะส่งต่อให้กับทีมงานที่ทำผลงานดี และในส่วนที่ไม่ใช่ตัวเงินก็อย่างเช่น การกระจายอำนาจการทำงาน ทำให้ทีมงานเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ Project นั้น     

บริษัท Thai Summit Autoparts Industry Co.,Ltd. และ TS.Group

 

                กว่า 30 บริษัทมีปรัชญาการดำเนินการธุรกิจ (TSG Philosophy) โดยมุ่งเน้นสร้างค่านิยมของบุคคลากรในองค์กรให้เกิดคุณค่าร่วมกัน (Core Value) โดยใช้ TSCIC เป็นพื้นฐานในการสร้างค่านิยมและขับเคลื่อนองค์กร

            T  =  Teamwork (การทำงานเป็นทีม)

            S  =  Social Responsibility (ความรับผิดชอบต่อสังคม)

                C  =  Continuous Improvement (การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง)

                 I  =  Initiative & Leadership (ความคิดริเริ่มและความเป็นผู้นำ)

                C  =  Commitment (พันธสัญญาต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน)

 

 

                    เพื่อสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา  โดยใช้ TSPS Foundation เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและขับเคลื่อน (TSPS = Thai Summit Production System) เพื่อมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย Customer Delight

ด้วยความเคารพอย่างสูง                 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile : 081-661-1701

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ซึ่ง ข้อที่ 3  คือการ

เปรียบเทียบ ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  กับ Peter M Senge”

-ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ สำหรับสร้างฐานทางสังคมประกอบด้วย

 L1 คือ  Learning  Methodology (วิธีการเรียนรู้) วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia

L2 คือ  Learning Environment  (การสร้างบรรยายกาศในการเรียนรู้) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก สนใจ และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ - ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)

L3 คือ Learning  Opportunities (การสร้างโอกาสในการเรียนรู้) การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน

L4 คือ Learning  Communities  (การสร้างชุมชนในการเรียนรู้) การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment) และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง

Peter M.Senge ได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้โดยการเขียนผลงานออกเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน คือ หนังสือ The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization (1990) โดยหนังสือเล่มนี้  Senge ใช้คำว่า Learning Organization  แทนคำว่า Organization  Learning  

ซึ่งหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง วินัย 5 ประการ ที่จะนำไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎี  ต่อมาในปี  1994  Senge  ได้ออกหนังสือเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวินัย 5 ประการ  ในชื่อ The Fifth Discipline Field book : Strategies and Tools for Building a Learning Organization (1994) เพื่อให้ข้อแนะนำและแนวทางที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในองค์การ  และในปี  1998  Senge   ได้ออกหนังสืออีกเล่มชื่อ The Fifth Discipline Challenge : Mastering The Twelve Challenge to Change in Learning Organization  (1998) องค์ประกอบสำคัญของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้คือ 5 แนวทางแนวพัฒนา (Discipline) ได้แก่ 

1.      Personal Masteryเป็นพื้นฐานด้านจิตวิญญาณขององค์กรแห่งการเรียนรู้  เป็นแนวทางพัฒนาโดยการกำหนดวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) ให้ชัดเจนและลึกซึ้งอย่างต่อเนื่อง  พัฒนาการมองเห็นความเป็นจริง  สามารถบริหารส่วนต่าง (Gaps) ระหว่างวิสัยทัศน์ส่วนตนและความเป็นจริง  วิสัยทัศน์เป็นความรู้สึกว่าเราถูกกระตุ้นเรียกร้อง (Calling) ให้ทำ  มากกว่าเพียงแค่ความคิดดี ๆ  Personal Mastery มิใช่สิ่งที่เราครอบครอง  แต่เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process) คนที่มี Personal Mastery ระดับสูงจะตระหนักถึงความไม่รู้ของตนเอง  ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างลึก ๆ

2.      Mental Model เป็นสมมติฐานลึก ๆ เกี่ยวกับแนวคิด  ข้อสรุป  ที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่เราทำความเข้าใจโลกและวิธีที่เราทำงาน  บ่อยครั้งที่เรามิได้ตระหนักถึงสิ่งที่มีอิทธิพลเหล่านี้  หรือผลของมันที่มีต่อพฤติกรรมของเรา

3.      Shared Vision คงไม่มีองค์กรที่ยิ่งใหญ่ในโลก  ที่อยู่โดยปราศจากเป้าหมาย  คุณค่า (Value) ซึ่งเข้าใจร่วมกันอย่างลึก ๆ ทั่วทั้งองค์กร  ผู้นำส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) แต่ขาดแนวทางที่จะแปลเป็น Shared Vision ซึ่งสร้างจิตสำนึกของพันธะผูกพัน (Commitment)

4.      Team Learning เป็นกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถของทีม  เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่สมาชิกต้องการจริง ๆ ดังนั้นเมื่อทีมเรียนรู้ร่วมกัน จึงไม่ใช่จะเกิดแค่ผลลัพธ์ที่ดีกับองค์กรเท่านั้น  แต่สมาชิกจะได้พัฒนาตนเองด้วย  ดังนั้น Team Learning จะเกิดขึ้นได้โดยอยู่บนพื้นฐานของ Personal Mastery และ Shared Vision

5.      System Thinking – เป็นแนวทางพัฒนาที่บูรณาการ  หัวข้อทั้งสี่ข้างต้น  ให้เกิดความเข้าใจภาพรวมและการเชื่อมโยงกันของส่วนต่าง ๆ

วันนี้หนูขอยุติการส่งการบ้าน ข้อที่ 3 ก่อนนะค่ะ

สมศรี นวรัตน์ Tel.081-9435033

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

2. Read Peter Senge’s and compare with 4L’S

   

                Peter Senge (1990) แห่ง Massachusetts Institute of Technology กล่าวว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้” หรือ Learning Organization คือสถานที่ที่ทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ หลากหลายมากมายที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจและเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน

            สำหรับทฤษฎี 4L’S มีข้อที่แตกต่างออกไปคือในหัวขอ Learning Methodology ได้มุ่งเน้นถึงวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้กล้าคิด กล้าแสดงออกให้สามารถวิเคราะห์สิ่งที่เรียนรู้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Learning Environment) เพื่อเป็นสิ่งเร้า (Stimulus) ให้คนสร้างพลังแห่งการเรียนรู้ออกมา

 

3. And ideas about setting up hypothesis for Ph.D. thesis proposal

 

Thesis proposal

 

The criteria to develop thesis proposal are including the followings:

1.      The thesis must be significant to cope with the recent problems of the country. Recently, Thailand faced difficulty in the second round in economic crisis where the industrial for export had experienced the greatest impact. It is important to carry on the research to improve production technology as well as to increase capacity of technology transfer to improve production efficiency of the industries.

2.      The thesis must be an originality that initiated new knowledge. During the past, Thailand had imported high technology industrial goods from the developed countries. Moreover, we also gained knowledge from the imported know-how that sometime do not appropriate. It is therefore, important to create our own knowledge as well as developing the knowledge transferring techniques that appropriate for Thailand.

3.      The thesis must be relevance that the knowledge and understanding which gained during the investigation can be use to solve the problems of our country directly or indirectly. Another words, the thesis is an applied research that develop to cope with the recent need of the country.

4.      The research must be reasonable that the research can be fulfilling within the time-frame and with the availability of resource.     

ด้วยความเคารพอย่างสูง                 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile : 081-661-1701

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์)รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  ขอตอบ การบ้าน ข้อที่ 1 นะคะ

โจทย์คือ การเปรียบเทียบเรื่อง LO ของ PEA กับ บ. เอกชน, องค์กรเอกชน, รัฐวิสาหกิจ

โดยหนูจะเปรียบเทียบดังนี้

LO การไฟฟ้าภูมิภาค (PEA) < ------> LO ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

( PEA.------VS--------ปตท.)

..............................................................................................................

LO การไฟฟ้าภูมิภาค (PEA)

1. ผู้นำระดับสูงของ PEA  ผู้ว่าการ กฟภ.

 คนที่ 10 (2550 - 2553)   นาย อดิศร  เกียรติโชควิวัฒน์

คำขวัญการบริหารและจัดการงาน

สร้างคน สรรค์งาน เสริมความรู้ สู่คุณภาพ

- มีพนักงานจำนวน 27,717 คน 

2. PEAได้เสนอแนวคิดและหลักการเรื่อง LO ของ Peter Senge (1990) และ Dr. Michael Marquardt (1996)

3. Peter M Senge เรื่อง LO มาสู่การปฏิบัติดังนี้

1) มีวิสัยทัศน์ร่วม (Building shared vision) ของ PEA

2) เรียนรู้เป็นทีม  (Team Leaning)ของ PEA

3) บุคลากรชั้นเลิศ (Personal Mastery)ของ PEA

4) มีแบบแผนความคิดร่วม  (Mental Model)ของ PEA

5) คิดเป็นระบบ  (Systems Thinking)ของ PEA

เครื่องมือ (Tools) สนับสนุนการสร้างการเรียนรู้

     -  ระบบ   KM   ของ กฟภ.

        -   ระบบ e-Learning

     -  ระบบ   e-Library /   e-Book

             -  หนังสือ / เอกสาร

     -  เวทีการนำเสนอผลงานวิจัย / นวัตกรรม 

 

PEAแนวคิดและหลักการเรื่อง LO

- Vision ร่วม ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรชั้นนำในระดับสากล  ในธุรกิจพลังงาน   ธุรกิจบริการ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

                        - Mission มี 3 ข้อ คือ

1.To continually  improve the provision and distribution of electricity to its customers to achieve the highest level of sufficiency, efficiency and reliability in power distribution commensurate with safety practices ; to meet the timely need of customers ; and to keep pace with changing circumstances.

2. To optimize its business processes and operations in order to be more profitable and thereby achieve sufficient revenues to facilitate developments.

3.   To develop its organizational structure, manpower and  resources management in order to achieve the highest level of  efficiency and effectiveness

                        - Strategic ของ PEA มี 4 ข้อ

1. Maintaining growth of electricity delivery business in domestic market

2. Expanding electricity delivery business to neighboring countries

3. Expanding non-core business in domestic & overseas market

4. Diversifying toward power generation, telecommunications and energy-related businesses

 

การสร้าง LO ของ PEA มี 3 Step คือ

1. Learning Organization Awareness (สร้างความตระหนักเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ )

2. Knowledge Auditing & Monitoring (การตรวจสอบและติดตามการเรียนรู้)

3. Knowledge Critique & Embedding(การวิพากษ์และปลูกฝังองค์ความรู้ )

 

กิจกรรมที่ดำเนินการ

-  จัดบรรยายวิชาการและความรู้ทั่วไป ( Seminar)

        -  จัดกิจกรรมสัมมนาระดมสมองและการสร้างทีมงาน (Brain Storming & Team Building)

        -   จัดศึกษาดูงานภายในประเทศ  (Study Tour)

-   จัดตั้งเครือข่ายสื่อสารการเรียนรู้  (Team Learning)

-   จัดทำวิจัยพนักงาน (Employees’ Research)

 

จัดบรรยายวิชาการและความรู้ทั่วไป

วิทยากรภายนอก. ========> ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ คณสอนจำนวน 16 รุ่น (4,044 คน) (สนญ. 4,  ต่างจังหวัด 12) จัดสัมมนาภายในประเทศ 2 วัน (บรรยาย + สัมมนากลุ่ม) ศึกษาดูงานประเทศจีน  5  วัน และวิทยากรภายใน ผู้บริหาร กฟภ.

 

กิจกรรม(Active) และการดูงานนอกสถานที่ (Environment)

กิจกรรมข้อเสนอแนะ /นำเสนอบทความ /ปฏิบัติการสถานการณ์สมมุติ /ศึกษาดูงานด้านการจ่ายไฟฟ้า/

ดูงานศูนย์บริการลูกค้า /ศึกษาภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายแดน/ พื้นที่ห่างไกล / การเขียนบทความ  หนังสือทางการและบันทึก / การนำเสนอด้วยวาจาและภาษากาย / ภาษาอังกฤษ / การเขียน  /การสนทนาและการประชุมมารยาทในสังคมและธุรกิจ คุณธรรมและจริธรรม

 

 LO ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) :  สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ชนิดธุรกิจ -      บริการ ส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

ชื่อผู้บริหาร -   คุณพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

จำนวนพนักงาน : 352 คน

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ : 

• วิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มุ่งมั่นต้องการสร้างองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
• มีการวางแผนกลยุทธ์แบบ Synergy กันทั้ง ปตท. อันทำให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจ
• พนักงานสามารถตอบสนองต่อทิศทางความต้องการขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยการบริหารจัดการและประยุกต์ใช้เครื่องมือบริหารจัดการสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้า TQA:

• สร้างโอกาสการพัฒนา และปรับปรุงตนเอง มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์ TQA รวมถึงการรับข้อมูลป้อนกลับ (Feedback Report) เพื่อมาปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล

• พนักงานมีแนวคิดการทำงานแบบบูรณาการกันทั้งกระบวนการ และปฏิบัติงานโดยมุ่งบรรลุภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร

ขอจบแค่นี้นะคะด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  081-9435033

 

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ซึ่ง ข้อที่ 2  คือการ

เปรียบเทียบ ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  กับ Peter M Senge”

-ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ สำหรับสร้างฐานทางสังคมประกอบด้วย

 L1 คือ  Learning  Methodology (วิธีการเรียนรู้) วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia

L2 คือ  Learning Environment  (การสร้างบรรยายกาศในการเรียนรู้) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก สนใจ และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ - ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)

L3 คือ Learning  Opportunities (การสร้างโอกาสในการเรียนรู้) การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน

L4 คือ Learning  Communities  (การสร้างชุมชนในการเรียนรู้) การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment) และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง


Peter M Senge ได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้โดยการเขียนผลงานออกเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน คือ หนังสือ The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization (1990) โดยหนังสือเล่มนี้  Senge ใช้คำว่า Learning Organization  แทนคำว่า Organization  Learning  ซึ่งหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง วินัย 5 ประการ ที่จะนำไปสู่ องค์การแห่งการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎี  ต่อมาในปี  1994  Senge  ได้ออกหนังสือเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวินัย 5 ประการ  ในชื่อ The Fifth Discipline Field book : Strategies and Tools for Building a Learning Organization (1994) เพื่อให้ข้อแนะนำและแนวทางที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในองค์การ  และในปี  1998  Senge ได้ออกหนังสืออีกเล่มชื่อ The Fifth Discipline Challenge : Mastering The Twelve Challenge to Change in Learning Organization  (1998)

 องค์ประกอบสำคัญของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้คือ 5 แนวทางแนวพัฒนา (Discipline) ได้แก่ 

1.      Personal Masteryเป็นพื้นฐานด้านจิตวิญญาณขององค์กรแห่งการเรียนรู้  เป็นแนวทางพัฒนาโดยการกำหนดวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) ให้ชัดเจนและลึกซึ้งอย่างต่อเนื่อง  พัฒนาการมองเห็นความเป็นจริง  สามารถบริหารส่วนต่าง (Gaps) ระหว่างวิสัยทัศน์ส่วนตนและความเป็นจริง  วิสัยทัศน์เป็นความ รู้สึกว่าเราถูกกระตุ้นเรียกร้อง(Calling) ให้ทำมากกว่าเพียงแค่ความคิดดี ๆ   Personal Mastery มิใช่สิ่งที่เราครอบครอง  แต่เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process) คนที่มี Personal Mastery ระดับสูงจะตระหนักถึงความไม่รู้ของตนเอง  ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างลึก ๆ

2.      Mental Modelเป็นสมมติฐานลึก ๆ เกี่ยวกับแนวคิด ข้อสรุป  ที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่เราทำความเข้าใจโลกและวิธีที่เราทำงาน  บ่อยครั้งที่เรามิได้ตระหนักถึงสิ่งที่มีอิทธิพลเหล่านี้  หรือผลของมันที่มีต่อพฤติกรรมของเรา

3.      Shared Vision คงไม่มีองค์กรที่ยิ่งใหญ่ในโลก  ที่อยู่โดยปราศจากเป้าหมาย(Goal)  คุณค่า (Value) ซึ่งเข้าใจร่วมกันอย่างลึก ๆ ทั่วทั้งองค์กร  ผู้นำส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) แต่ขาดแนวทางที่จะแปลเป็น Shared Vision ซึ่งสร้างจิตสำนึกของพันธะผูกพัน (Commitment)

4.      Team Learningเป็นกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถของทีม  เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่สมาชิกต้องการจริง ๆ ดังนั้นเมื่อทีมเรียนรู้ร่วมกัน จึงไม่ใช่จะเกิดแค่ผลลัพธ์ที่ดีกับองค์กรเท่านั้น  แต่สมาชิกจะได้พัฒนาตนเองด้วย  ดังนั้น Team Learning จะเกิดขึ้นได้โดยอยู่บนพื้นฐานของ Personal Mastery และ Shared Vision

5.      System Thinkingเป็นแนวทางพัฒนาที่บูรณาการ(Integration)  หัวข้อทั้งสี่ข้างต้น  ให้เกิดความเข้าใจภาพรวมและการเชื่อมโยงกันของส่วนต่าง ๆ

วันนี้หนูขอยุติการส่งการบ้าน ข้อที่ 2 ก่อนนะค่ะ

สมศรี นวรัตน์ Tel.081-9435033

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ซึ่ง ข้อที่ 2  คือการ เปรียบเทียบ ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  กับ Peter M Senge”

-ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ สำหรับสร้างฐานทางสังคมประกอบด้วย

 L1 คือ  Learning  Methodology (วิธีการเรียนรู้) วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia

L2 คือ  Learning Environment  (การสร้างบรรยายกาศในการเรียนรู้) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก สนใจ และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ - ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)

L3 คือ Learning  Opportunities (การสร้างโอกาสในการเรียนรู้) การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน

L4 คือ Learning  Communities  (การสร้างชุมชนในการเรียนรู้) การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment) และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง

Peter M Senge ได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้โดยการเขียนผลงานออกเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน คือ หนังสือ The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization (1990) โดยหนังสือเล่มนี้  Senge ใช้คำว่า Learning Organization  แทนคำว่า Organization  Learning  ซึ่งหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง วินัย 5 ประการ ที่จะนำไปสู่ องค์การแห่งการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎี  ต่อมาในปี  1994  Senge  ได้ออกหนังสือเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวินัย 5 ประการ  ในชื่อ The Fifth Discipline Field book : Strategies and Tools for Building a Learning Organization (1994) เพื่อให้ข้อแนะนำและแนวทางที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในองค์การ  และในปี  1998  Senge ได้ออกหนังสืออีกเล่มชื่อ The Fifth Discipline Challenge : Mastering The Twelve Challenge to Change in Learning Organization  (1998)

 องค์ประกอบสำคัญของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้คือ 5 แนวทางแนวพัฒนา (Discipline) ได้แก่ 

1.      Personal Masteryเป็นพื้นฐานด้านจิตวิญญาณขององค์กรแห่งการเรียนรู้  เป็นแนวทางพัฒนาโดยการกำหนดวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) ให้ชัดเจนและลึกซึ้งอย่างต่อเนื่อง  พัฒนาการมองเห็นความเป็นจริง  สามารถบริหารส่วนต่าง (Gaps) ระหว่างวิสัยทัศน์ส่วนตนและความเป็นจริง  วิสัยทัศน์เป็นความ รู้สึกว่าเราถูกกระตุ้นเรียกร้อง(Calling) ให้ทำมากกว่าเพียงแค่ความคิดดี ๆ   Personal Mastery มิใช่สิ่งที่เราครอบครอง  แต่เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process) คนที่มี Personal Mastery ระดับสูงจะตระหนักถึงความไม่รู้ของตนเอง  ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างลึก ๆ

2.      Mental Modelเป็นสมมติฐานลึก ๆ เกี่ยวกับแนวคิด ข้อสรุป  ที่มีอิทธิพลต่อวิธีที่เราทำความเข้าใจโลกและวิธีที่เราทำงาน  บ่อยครั้งที่เรามิได้ตระหนักถึงสิ่งที่มีอิทธิพลเหล่านี้  หรือผลของมันที่มีต่อพฤติกรรมของเรา

3.      Shared Vision คงไม่มีองค์กรที่ยิ่งใหญ่ในโลก  ที่อยู่โดยปราศจากเป้าหมาย(Goal)  คุณค่า (Value) ซึ่งเข้าใจร่วมกันอย่างลึก ๆ ทั่วทั้งองค์กร  ผู้นำส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vision) แต่ขาดแนวทางที่จะแปลเป็น Shared Vision ซึ่งสร้างจิตสำนึกของพันธะผูกพัน (Commitment)

4.      Team Learningเป็นกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถของทีม  เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่สมาชิกต้องการจริง ๆ ดังนั้นเมื่อทีมเรียนรู้ร่วมกัน จึงไม่ใช่จะเกิดแค่ผลลัพธ์ที่ดีกับองค์กรเท่านั้น  แต่สมาชิกจะได้พัฒนาตนเองด้วย  ดังนั้น Team Learning จะเกิดขึ้นได้โดยอยู่บนพื้นฐานของ Personal Mastery และ Shared Vision

5.      System Thinkingเป็นแนวทางพัฒนาที่บูรณาการ(Integration)  หัวข้อทั้งสี่ข้างต้น  ให้เกิดความเข้าใจภาพรวมและการเชื่อมโยงกันของส่วนต่าง ๆ

วันนี้หนูขอยุติการส่งการบ้าน ข้อที่ 2 ก่อนนะค่ะ

สมศรี นวรัตน์ Tel.081-9435033

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ เรื่อง Learning Organization:LO ของ Peter M Senge   เรื่อง ทฤษฎี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนโดย Focus การเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อม (Environment) เพื่อความยังยืนของ ปตท. และ การไฟฟ้าภูมิภาค(PEA)ตาม ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ โดยที่หนูคิดว่า องค์กรมหาชน ต่าง ๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน + สังคม + ประเทศไทย เป็น Role Model” ให้คนไทยที่อยู่ในสังคมได้รับรู้ ประจักษ์ เห็นเป็น รูปธรรม และภาครัฐมีหน้าที่ให้ “Reward” โดยเฉพาะ ทางจิตใจที่สังคมมอบให้เช่นโครงการดี ๆของปตท.

-          โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง

-          โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจสู้ภัยแล้ง

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจต้านภัยหนาว

-          โครงการขับขี่ปลอดภัยรักวินัยจราจร

-          โครงการ PTT Tune Up ช่วยชาติประหยัดพลังงาน

-          โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจราจร

-          โครงการปันน้ำใจชุมชนซึ่งเปิดคลินิกรักษาพยาบาลฟรีและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าบริการตรวจรักษาและให้ความรู้เบื้องต้นทางสาธารณสุขแก่ชุมชน

-          โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

-          โครงการรางวัลลูกโลกสีเขียว โครงการทองผาภูมิตะวันตก

-          โครงการจัดการทรัพยากรชีวภาพชายฝั่งทะเลถึงยอดเขา พื้นที่หาดขนอม เขานัน

-          โครงการ ค่ายเยาวชน ปตท. อนุรักษ์ทะเลไทย

-          โครงการปตท. ยังได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาในสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

-          โครงการระยองเมืองสีเขียว สนับสนุนมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองมาบตาพุดและบ้านฉาง

-          โครงการสนับสนุนการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ณ วิทยาเขตโป่งสลอดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี(อยู่ที่อำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี)

หนูคิดว่าการทำงาน / โครงการที่ดี ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นนั้นมาจาก ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างแน่นอน เพราะ ทุนทีสำคัญที่สุด คือ Human Capital นั้นเอง

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  Tle.  081-9435033

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ เรื่อง Learning Organization:LO ของ Peter M Senge   เรื่อง ทฤษฎี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนโดย Focus การเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อม (Environment) เพื่อความยังยืนของ ปตท. และ การไฟฟ้าภูมิภาค(PEA)ตาม ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ โดยที่หนูคิดว่า องค์กรมหาชน ต่าง ๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน + สังคม + ประเทศไทย เป็น Role Model” ให้คนไทยที่อยู่ในสังคมได้รับรู้ ประจักษ์ เห็นเป็น รูปธรรม และภาครัฐมีหน้าที่ให้ “Reward” โดยเฉพาะ ทางจิตใจที่สังคมมอบให้เช่นโครงการดี ๆของปตท.

-          โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง

-          โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจสู้ภัยแล้ง

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจต้านภัยหนาว

-          โครงการขับขี่ปลอดภัยรักวินัยจราจร

-          โครงการ PTT Tune Up ช่วยชาติประหยัดพลังงาน

-          โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจราจร

-          โครงการปันน้ำใจชุมชนซึ่งเปิดคลินิกรักษาพยาบาลฟรีและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าบริการตรวจรักษาและให้ความรู้เบื้องต้นทางสาธารณสุขแก่ชุมชน

-          โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

-          โครงการรางวัลลูกโลกสีเขียว โครงการทองผาภูมิตะวันตก

-          โครงการจัดการทรัพยากรชีวภาพชายฝั่งทะเลถึงยอดเขา พื้นที่หาดขนอม เขานัน

-          โครงการ ค่ายเยาวชน ปตท. อนุรักษ์ทะเลไทย

-          โครงการปตท. ยังได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาในสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

-          โครงการระยองเมืองสีเขียว สนับสนุนมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองมาบตาพุดและบ้านฉาง

-          โครงการสนับสนุนการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ณ วิทยาเขตโป่งสลอดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี(อยู่ที่อำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี)

หนูคิดว่าการทำงาน / โครงการที่ดี ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นนั้นมาจาก ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างแน่นอน เพราะ ทุนทีสำคัญที่สุด คือ Human Capital นั้นเอง

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  Tle.  081-9435033

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ เรื่อง Learning Organization:LO ของ Peter M Senge   เรื่อง ทฤษฎี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนโดย Focus การเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อม (Environment) เพื่อความยังยืนของ ปตท. และ การไฟฟ้าภูมิภาค(PEA)ตาม ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ โดยที่หนูคิดว่า องค์กรมหาชน ต่าง ๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน + สังคม + ประเทศไทย เป็น Role Model” ให้คนไทยที่อยู่ในสังคมได้รับรู้ ประจักษ์ เห็นเป็น รูปธรรม และภาครัฐมีหน้าที่ให้ “Reward” โดยเฉพาะ ทางจิตใจที่สังคมมอบให้เช่นโครงการดี ๆของปตท.

-          โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง

-          โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจสู้ภัยแล้ง

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจต้านภัยหนาว

-          โครงการขับขี่ปลอดภัยรักวินัยจราจร

-          โครงการ PTT Tune Up ช่วยชาติประหยัดพลังงาน

-          โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจราจร

-          โครงการปันน้ำใจชุมชนซึ่งเปิดคลินิกรักษาพยาบาลฟรีและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าบริการตรวจรักษาและให้ความรู้เบื้องต้นทางสาธารณสุขแก่ชุมชน

-          โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

-          โครงการรางวัลลูกโลกสีเขียว โครงการทองผาภูมิตะวันตก

-          โครงการจัดการทรัพยากรชีวภาพชายฝั่งทะเลถึงยอดเขา พื้นที่หาดขนอม เขานัน

-          โครงการ ค่ายเยาวชน ปตท. อนุรักษ์ทะเลไทย

-          โครงการปตท. ยังได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาในสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

-          โครงการระยองเมืองสีเขียว สนับสนุนมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองมาบตาพุดและบ้านฉาง

-          โครงการสนับสนุนการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ณ วิทยาเขตโป่งสลอดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี(อยู่ที่อำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี)

หนูคิดว่าการทำงาน / โครงการที่ดี ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นนั้นมาจาก ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างแน่นอน เพราะ ทุนทีสำคัญที่สุด คือ Human Capital นั้นเอง

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  Tle.  081-9435033

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ เรื่อง Learning Organization:LO ของ Peter M Senge   เรื่อง ทฤษฎี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนโดย Focus การเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อม (Environment) เพื่อความยั่งยืนของ ปตท. และ การไฟฟ้าภูมิภาค(PEA)ตาม ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ โดยที่หนูคิดว่า องค์กรมหาชน ต่าง ๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน + สังคม + ประเทศไทย เป็น Role Model” ให้คนไทยที่อยู่ในสังคมได้รับรู้ ประจักษ์ เห็นเป็น รูปธรรม และภาครัฐมีหน้าที่ให้ “Reward” โดยเฉพาะ ทางจิตใจที่สังคมมอบให้เช่นโครงการดี ๆของปตท.+กฟภ+ทบ

-          โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง

-          โครงการ ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจสู้ภัยแล้ง

-          โครงการ กรมทรัพย์ฯ -กฟภ.-ปตท.-กปภ.-ทบ.ร่วมใจต้านภัยหนาว

-          โครงการ ขับขี่ปลอดภัยรักวินัยจราจร

-          โครงการ PTT Tune Up ช่วยชาติประหยัดพลังงาน

-          โครงการ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาจราจร

-          โครงการ ปันน้ำใจชุมชนซึ่งเปิดคลินิกรักษาพยาบาลฟรีและจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าบริการตรวจรักษาและให้ความรู้เบื้องต้นทางสาธารณสุขแก่ชุมชน

-          โครงการ พัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

-          โครงการ รางวัลลูกโลกสีเขียว โครงการทองผาภูมิตะวันตก

-          โครงการ จัดการทรัพยากรชีวภาพชายฝั่งทะเลถึงยอดเขา พื้นที่หาดขนอม เขานัน

-          โครงการ ค่ายเยาวชน ปตท. อนุรักษ์ทะเลไทย

-          โครงการปตท. ยังได้สร้าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาในสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

-          โครงการ ระยองเมืองสีเขียว สนับสนุนมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองมาบตาพุดและบ้านฉาง

-          โครงการ สนับสนุนการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ณ วิทยาเขตโป่งสลอด มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี(อยู่ใกล้ ๆรพ.บ้านลาดอ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี)

หนูคิดว่าการทำงาน / โครงการที่ดี ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นนั้นมาจาก ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างแน่นอน เพราะ ทุนที่สำคัญที่สุด คือ Human Capital นั้นเอง

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  Tle.  081-9435033

สุนันทา เสถียรมาศ

เรียนท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านดังนี้ค่ะ (อาจไม่เรียงตามลำดับนะคะ เพราะส่งข้อ 4 มาก่อนค่ะ)ข้อ 4. จากแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะพบว่า วิธีการดำเนินการที่ผสมผสาน ระหว่าง ทฤษฎี 4 L’s กับ ทฤษฎีของ Peter Senge ทั้ง 5 ข้อ คือ

1. Share Vision ดำเนินการด้วยการบอกกล่าวกับพนักงานทุกท่านว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะมี Vision เช่นไร เพื่อให้ทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน กรณีนี้ ได้ดำเนินการโดยให้ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฯ เป็นผู้บอกกล่าวกับพนักงานทุกท่าน

2. Team Learning การไฟฟ้าฯ ได้ดำเนินการโดยการจัดให้มีการอบรม สัมมนา เพื่อสร้างความเป็นเพื่อนร่วมรุ่นอบรม /เพื่อนร่วมรุ่นสัมมนา ซึ่งมีข้อดี คือ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกว่า เป็นทีมเดียวกัน

3. Personal Mastery การสร้างให้บุคคลในองค์กรเป็นบุคลากรชั้นเลิศ ซึ่งอาจมาจากคุณสมบัติของพนักงานตั้งแต่ก่อนเป็นพนักงานการไฟฟ้าฯ และ การได้รับเพิ่มหลังจากการเป็นพนักงานของการไฟฟ้าฯ ซึ่งสิ่งนี้ การไฟฟ้าฯได้ดำเนินการอยู่แล้ว จากคำนิยมที่ว่า ต้องการให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นั่นเอง

4. Mental Model การมีแผนความคิดร่วมกัน ซึ่งการไฟฟ้าฯ ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เพราะว่า มีการบอกกล่าวกับพนักงานทุกคนว่า ต้องการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน การดำเนินการใดๆก็ตาม ก็จะมีแนวคิดเดียวกัน

5. System Thinking การมีความคิดเป็นระบบ เห็นได้จากการ มีแผนงาน มีการดำเนินการ มีการติดตามผล เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ถือว่า เป็นการดำเนินงานอย่างมีขั้นตอน เป็นระบบ และด้วยลักษณะของกิจการด้านการไฟฟ้า แล้ว โดยพื้นฐานของบุคลากรจะต้องมีระบบความคิดอย่างเป็นขั้นตอน เพราะเป็นงานที่มีอันตรายเนื่องจากเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ และถ้าพลาดก็หมายถึงชีวิต

ส่วนที่การไฟฟ้าฯ ได้นำหลักทฤษฎี 4L’s เข้ามาใช้ร่วมด้วย คือ Learning Methodology , Learning Environment โดยจะเห็นจากการมีวิธีการเรียนรู้ในหลายรูปแบบ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ที่เพิ่มเติมขึ้น ทั้งด้านเอกสาร อุปกรณ์การศึกษา เวลา เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ส่วนการสร้างโอกาสการเรียนรู้ ได้มีเวทีการนำเสนอผลงานวิจัย /นวัตกรรม (แต่ไม่ทราบว่า มีการจำกัดประเภทหรือไม่ว่า จะต้องเป็นสายวิศวะ ถ้าเป็นสายบริหารจัดการ ได้หรือ ไม่ เป็นคนภายนอกคือ ไม่ใช่พนักงานของการไฟฟ้าฯได้หรือไม่ เป็นต้น)

นอกจากนี้ไม่ทราบว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ มีการจัดหลักสูตรการฝึกอบรม เป็นรายปี ในแต่ละระดับของพนักงาน กำหนดเป็นตารางว่า แต่ละปีจะมีการอบรมในเรื่องใด แล้วให้พนักงานสมัครเข้ามาอบรม เท่ากับ เป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ โดยใจสมัครของพนักงานเอง แต่ถ้าพนักงานคนใดไม่สมัคร อาจต้องมีหลักสูตรอื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นก็ได้ (เช่น กรณีมีการพาทัศนศึกษายังต่างประเทศ ก็เป็นแรงจูงใจประการหนึ่งด้วย) หรือ ถ้ามีหลักสูตรภายนอกที่พนักงานสนใจไปอบรมให้นำเสนอตามลำดับชั้น โดยการไฟฟ้าฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการอบรมให้ทั้งหมด แต่ต้องมีเอกสารแสดงว่า เรียนครบตามหลักสูตร แล้ว ให้นำความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดต่อผู้ร่วมงานให้ได้ความรู้โดยทั่วถึงกันด้วย และสิ่งนี้จะเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณาความดีความชอบด้วย

เมื่อการไฟฟ้าฯดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ สังคมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นั่นคือ ความสำเร็จของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ นั่นเอง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

สุนันทา เสถียรมาศ

เรียนท่านอาจารย์

ขอส่งการบ้านข้อ 1.ดังนี้ค่ะ

หน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้เช่นเดียวกับ การฟ้าส่วนภูมิภาค และเห็นได้เด่นชัดและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อบุคลากร สิ่งแวดล้อม พยายามสร้างชุมชนที่มีความพอเพียง ให้สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น การปลูกป่าชายเลน ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่า การสร้างชุมชนให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน จะต้องเป็นเป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่จะสามารถปรับเปลี่ยน เรียนรู้ในทุกด้าน ถึงจะยั่งยืนได้

บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย จัดว่า เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากนโยบายของท่านพารณ ที่ดำเนินการมาตลอดเวลา จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ นั่นเอง

การไฟฟ้านครหลวง เช่น การสร้าง WWW.youngmea.com เพื่อเป็นการพัฒนา ปลูกฝังคนรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการ จริยธรรม ศีลธรรม เป็นการสร้างชุมชนขึ้นอีกชุมชนหนึ่ง คือ การปลูกฝังเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีการใฝ่รู้ พัฒนาตนเองในทุกด้าน

ดังนั้น จะเห็นว่า ทั้ง 3 องค์กรมีแนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ต่างวิธีการ ต่างแนวทางกัน แต่เป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ ค่ะ

ข้อ 1 บริษัทที่ทำ LO ประสบความสำเร็จบริษัท เอ็นโอเค พรีซิชั่น คอมโพเนนท์(ประเทศไทย) จำกัด หรือ NOKPCT

เป็นบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544ด้วยทุนจดทะเบียน 360 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 29 ไร่ ของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ผลิตเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในฮาร์ดดิสก์

 กระบวนการทำงานของบริษัท NOK  ยึดหลักปรัชญาด้านคุณภาพและเน้นการสร้างคุณภาพให้คน เครื่องจักร วัตถุดิบ กระบวนการและสิ่งแวดล้อม   

NOK ได้พัฒนาตัวแบบ ในการสร้างองค์กร สร้างกิจกรรม สร้างความรู้ เป็น PCT Model ขึ้นมาในการบริหารจัดการ ด้วยการเชื่อมคนให้ไปถึงกันในการทำงานทุกกระบวนการ โดยคนเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการจัดการความรู้ การจัดการความรู้เป็นการจัดการ โดยคนเพื่อคน เพราะคนจะเป็นสิ่งดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง การจัดการความรู้ในองค์การจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็อยู่ที่คนอีกนั้นแหละ

ดังนั้น คนที่พึงประสงค์ในองค์การของ NOK จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อคือ

Open Mine คือ มีจิตใจที่เปิดกว้างยอมรับในสิ่งใหม่ๆ มีคำว่า "ต้องดีกว่า" อยู่ในความคิดอยู่เสมอ ใจที่เปิดกว้างย่อมจะรับสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

Good Attitude มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดี มองปัญหาเป็นขุมทรัพย์ เมื่อพบปัญหาแล้วคิดหาวิธีในการแก้ไข ไม่ใช่มาเสียเวลาหาตัวคนผิด การคิดและแก้ไขปัญหาได้นั้นสิ่งที่จะได้ตามมาโดยอัตโนมัติก็คือ "ความรู้" อย่าลืมนึกไปอีกข้อว่า บริษัทฯ หรือ องค์การนั้นจ้างเรามาเพื่อแก้ปัญหา ถ้าองค์การไม่มีปัญหาจะจ้างเรามาทำไมให้เปลืองเงิน

Self Learning การเรียนรู้ด้วยตนเอง ต้องใส่ใจในการเรียนรู้ ถ้าเรามองย้อนกลับไปวันที่เราสำเร็จการศึกษาและรับปริญญา หลายคนคิดว่าการศึกษาจบลงตรงนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ ถือว่าความรู้ก็จบลงด้วยเช่นกันจริงๆ แล้วการศึกษาไม่มีวันจบสิ้นถ้าเราเรียนรู้ด้วยตนเอง ความรู้ที่เกิดนอกสถาบันการศึกษานั้นมากมายกว่าร้อยกว่าพันเท่า "การเลือกคนเข้ามาทำงานที่ NOK เราจึงใช้คุณสมบัติ 3 ข้อนี้เป็นหลัก NOK ไม่ต้องการคนเก่ง เราต้องการคนดี เพราะเราเชื่อว่าคนดีจะสร้างงานที่ดี แต่คนเก่งไม่ได้สร้างงานที่ดีเสมอไป คนไม่เก่งก็สามารถทำงานได้ เพราะการทำงานมีการสร้าง Knowledge Development การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ และสิ่งที่เป็น Outcome ขององค์การก็คือ Maximize Productivity พอ Productivity ได้ Profit ก็ได้ แล้วก็ทำให้เกิด Knowledge Society  สังคมแห่งการเรียนรู้ ฉะนั้นจะเกิด Quality of Life คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น" NOK เป็นองค์การที่คิดใหม่ทำใหม่ เป็นการรวมเอาวัฒนธรรมการทำงานทั้งบริษัทสัญชาติฝรั่ง ญี่ปุ่น และไทย ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมในหลายๆ เรื่องเข้าด้วยกัน โดย Performance ตามแบบบริษัทฝรั่ง ที่เน้นทางด้าน Out of come เป็น

หลัก เรื่องของวินัย เราทำตามแบบบริษัทญี่ปุ่นเป็นหลักและการอยู่ร่วมกัน Quality of Life เราใช้แบบไทยเป็นหลัก

กลยุทธ์ 4 ด้านที่ทำให้องค์การของ NOK อยู่ได้อย่างยั่งยืน คือ

1. ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

2. การรักษาความเปลี่ยนแปลง โดย NOKจะไม่เหมือนองค์การอื่น เรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

3. การมีส่วนร่วมของพนักงาน สิ่งนี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ยกตัวอย่างเช่น บริษัท หรือโรงงานของท่านทำ 5ส ไคเซ็น กิจกรรมคุณภาพ หรือกิจกรรมอื่นๆ ถ้าทำกิจกรรมไปมีแค่คณะกรรมการที่รู้เรื่องไม่พอ พนักงานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วย และ

4. การใช้เทคโนโลยี นำไอทีเข้ามาช่วย นอกจากลักษณะของคน การผสมผสานของวัฒนธรรมองค์กรและกลยุทธ์ขององค์กรดังที่กล่าวมาข้างต้น เรื่องของ Knowledge Environment (KE) ก็มีส่วนที่สำคัญที่จะทำให้คนในองค์การได้มีเครื่องมือในการศึกษาและแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, Research, Internet, Computer expert ฯลฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดการบวนการพัฒนาความรู้ในองค์การหรือที่เรียกว่า Knowledge Development (KD) เกิดจากคนที่มีลักษณะที่พึงประสงค์ในองค์การนำสภาพแวดล้อมที่มีอยู่รอบๆ ตัวมาพัฒนางานและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การอยู่เสมอเมื่อมีการพัฒนาย่อมจะเกิดองค์ ความรู้ (Body of Knowledge) เกิดขึ้นตามมาอย่างไม่ต้องสงสัยองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นสินทรัพย์ทางความรู้หรือที่เรียกว่า Knowledge Assets (KA) จริงๆแล้วเกิดจากคน ดังนั้น KA จึงมีค่าเป็นอย่างยิ่งและมีความสำคัญต่อองค์การที่จะแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินและทำกำไรให้กับองค์การในอนาคต เมื่อเห็นแล้วว่า KA เป็นสิ่งที่มีค่าจะจัดการและจัดเก็บอย่างไรต่อไป KA อีกนัยหนึ่งก็คือสารสนเทศ หรือ Informationนั่นเองการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมาจากการออกแบบการจัดการความรู้ภายใต้บริบทของตัวเองเพราะการนำเอาตัวแบบต่างๆ มาใช้ โดยมิได้คำนึงถึงวัฒนธรรมองค์การ สภาพทางธุรกิจ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของตนเองย่อมจะทำให้การจัดการความรู้ไม่ประสบความสำเร็จและไม่ได้การตอบรับและสนับสนุนจากพนักงานและผู้บริหารโดยสรุปการจัดการความรู้หมายถึงการรวบรวมอย่างเป็นระบบในการสรรหา คัด-เลือก การจัดระบบการสร้างและจัดเก็บความรู้ซึ่งทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถแบ่งปันความรู้ที่ได้มาอย่างเหมาะสมและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้และสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังส่งผลให้องค์การมีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด

โดยสรุป บ. NOK สามารถนำเอา LO มาใช้แล้วประสบความสำเร็จ เนื่องจาก ผู้บริหารได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานโดยมุ่งให้พนักงานขององค์กรเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) และนำเอาวิธีการเรียนรู้ ต่าง ๆ เข้ามาจูงใจแก่พนักงาน แล้วให้พนักงานได้มองเห็นสภาพแวดล้อม ๆ ในองค์กรให้เป็น สภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้   จนเกิดเป็น วัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร

 

สำหรับ PEA ปัจจัยที่ทำให้การนำ LO มาใช้แล้วประสบผลสำเร็จ

1.        ผู้บริหารถือธงนำ และมีวิสัยทัศน์ มุ่งการเรียนรู้

2.        ทำให้การเรียนรู้ ทำอย่างต่อเนื่อง

3.        พนักงานให้ความร่วมมือ และสร้างความมีส่วนร่วมแก่พนักงาน

4.        วิธีการในการเรียนรู้ เน้น การเรียนรู้โดยสร้างจิตสำนึกแก่พนักงาน

5.        นำเอาประเด็นการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาองค์กร เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง โดยมุ่งสนับสนุนการทำวิจัยแก่พนักงานและบุคคลภายนอก และนำผลงานวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไข

 ทั้ง 2 บริษัทมีปัจจัยที่ใกล้เคียงกันในการนำเอา LO มาใช้แล้วประสบความสำเร็จค่ะ

 2. Read Peter Senge's and Compare with 4L's

Peter M.Senge

4L's ดร.จิระ

1. รู้อะไร รู้ให้จริง /5. คิดมีเหตุผล

เข้าใจวิธีการเรียนรู้

2. แบบอย่างทางความคิด

สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. เห็นอนาคตร่วมกัน

สร้างโอกาสในการเรียนรู้

4. เรียนเป็นทีม

สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

  

 

 

ข้ออื่น ๆ หนูจะขอตอบครั้งต่อไปค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา  ปินตา 084-8073320

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Question (2) Read Peter Senge's and compare with 4L's.

การจัดการองค์กรในศตวรรษที่ 21 หรือยุคโลกาภิวัตน์ มีความแตกต่างจากการจัดการในศตวรรษที่ 20 อย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงยุคโลกาภิวัตน์มิใช่เป็นในลักษณะเส้นตรง (nonlinearity) ทำให้เกิดภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงต้องอาศัยความคิดจินตนาการ การเห็นการณ์ล่วงหน้า (foresight) การกระตุ้นให้ตื่นตัวตลอดเวลา มีความกล้า มีความซื่อสัตย์ (faith) และความมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดต่อสู้ รวมทั้งมีความหวังใหม่ที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หากใครก็ตามขาดองค์ประกอบของคนยุคโลกาภิวัตน์ดังกล่าวจะนำมาซึ่งความขัดแย้ง สับสน และยอมแพ้ไปในที่สุด

ดังนั้นการจัดการองค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ องค์กรจะต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาหรือที่รู้จักกันเรียกว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” ปีเตอร์ เซงเก (Peter Senge) ชี้แนะว่าองค์ประกอบที่จะช่วยทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีการเรียนรู้มีอยู่ 5 ประการ

1.การคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking)

2.ความเป็นตัวของตัวเอง (personal mastery)

3.มีแบบฉบับความคิด (mental model)

4.สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building share)

5.มีการเรียนรู้ร่วมกัน (team learning)

ปีเตอร์ เซงเก (Peter Senge ) กล่าวว่า การเรียนรู้มิใช่เพื่อการอยู่รอดเท่านั้น แต่ต้องเป็นการเรียนรู้ให้มีความพร้อมที่ปรับเปลี่ยน (adaptive learning) กล่าวคือไม่ให้ยึดความรู้ที่มีอยู่เดิมเป็นสรณะ ความรู้ที่มีอยู่ใช้เป็นเพียงฐานความคิด และพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่และปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้แบบเพิ่มพูน มิใช่เป็นการเรียนรู้เพื่อพิสูจน์ความจริงแท้แน่นอน(ปรมัติสัจจะ) เพราะเราอยู่ในโลกสมมุติสัจจะ มิใช่โลกปรมัติสัจจะ ดังนั้นความถูกต้องของโลกสมมุติจึงมีฐานะที่จะเป็นความจริงบนเหตุผลของความเป็นไปได้ทางธุรกิจเท่านั้น

การเรียนรู้ที่จะถือว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สมาชิกองค์กรต้องคิดเป็นระบบ มิใช่คิดแบบแยกส่วน หรือตัดตอน(shortcut thinking) ความคิดที่ได้ต้องเป็นความคิดของตนเองที่เกิดจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์และจินตนาการ

การสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ คือ การให้การศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน การที่จะสร้างองค์กรการเรียนรู้ โดยอาศัยกระบวนการให้การศึกษา การฝึกอบรม ซึ่งมิใช่เรื่องใหม่ ทุกคนเชื่อสนิทใจว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คงไม่มีวิธีการดีกว่าการให้การศึกษาและฝึกอบรม ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการในการพัฒนากำลังคน แต่ความแตกต่างที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทุนนั้น อยู่ที่เนื้อหาของการศึกษาฝึกอบรมหาใช่กระบวนการไม่

ทฤษฎี 4 L’s ของศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ต้องใช้วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ (Learning Methodology) เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia 2) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Learning Environment) คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน 3) การสร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ (Learning Opportunities)เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน และ 4) การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นคือ (Learning Communities)โดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ซึ่งทฤษฎี 4 L’s เป็นแนวคิดที่ส่งเสริมกระบวนเรียนรู้ของมนุษย์ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนด้วยทุนทางปัญญา เมื่อมนุษย์เกิดการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การสร้างเครือข่ายเพิ่มพลังในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ แล้วจะนำไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นการจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ยั่งยืน ทฤษฎีของปีเตอร์ เซงเก และทฤษฎี4 L’s ของศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จำเป็นต้องใช้ควบคู่กันอย่างยิ่งถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

การศึกษาโดยพื้นฐานแล้วเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มีนโยบายให้ทรัพยากรมนุษย์เข้ารับการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี กว่าจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นการลงทุนสร้างทุนมนุษย์ระดับชาติ สิ่งที่ได้จากการศึกษาของชาติคือกำลังคนที่ป้อนสู่ตลาดแรง เป็นผลผลิตที่สำคัญที่ภาคการผลิตจะใช้ประโยชน์ แต่จะใช้ได้ดีหรือไม่ยังเป็นข้อถกเถียงสงสัยกันอยู่ในปัจจุบัน กำลังคนที่ได้ยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาดโดยเฉพาะความรู้ ความสามารถยังต่ำกว่ามาตรฐาน หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการสอนให้นักเรียนนักศึกษามีความคิด วิเคราะห์และความคิดจินตนาการ (analysis & imaginative thinking) แต่ดูเหมือนยังไม่มีวิธีการที่เป็นรูปธรรม

สำหรับการให้การศึกษาและฝึกอบรมในองค์กรซึ่งเป็นกระบวนการที่รับช่วงต่อจากกระบวนการศึกษาของชาติ หากระบบการศึกษายังมุ่งสอนให้ทรัพยากรมนุษย์คิดแบบจำ (memory thinking) บุคลากรที่รับช่วงมาทำงานอาจไม่ตรงตามความต้องการขององค์กรทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนามากกว่าที่ควรจะเป็นทำให้ต้นทุน ในการผลิตสูงกว่าคู่แข่ง

อันนี้เป็นข้อที่น่าคิด เพราะตราบใดที่ระบบการศึกษายังมุ่งสอนให้คนคิดแบบจำอย่างเดียวนั้น การที่จะพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งในระดับประเทศ ระดับองค์กรภาครัฐและเอกชนจึงยากที่จะประสบผลสำเร็จ

**************************

thaksinanan

080-6148578

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้านท่านอาจารย์ซึ่งเป็นข้อที่ 3 ในเรื่อง Ideas ที่สามารถนำมาตั้ง PhD. Proposals จากการเรียนเรื่อง LO (Learning Organization) กับภาวะผู้นำ (Leadership) เชื่อมโยงกับทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการเป็นสังคมการเรียนรู้ + ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ...... โดยหนูขอสรุปหัวข้อดังนี้นะค่ะ

            1. Learning Organization : LO (องค์กรแห่งการเรียนรู้) มีความสัมพันธ์กับการสร้าง Innovation อย่างไร?

            2.  Leadership (ภาวะผู้นำ) กับการสนับสนุน ส่งเสริม และสร้าง Creativity ในองค์กร PEA เป็นอย่างไร?

            3. Leadership กับการเกิด Learning Communities ในองค์กร PEA เป็นอย่างไร?

            4. Human Capital กับการสร้างทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ในองค์กร PEA เป็นอย่างไร?

            5. ความสัมพันธ์ระหว่าง Emotional Capital กับ Creativity Capital ของบุคคลในองค์กรมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร?

            6. Learning Environment (การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเกิด Innovation ในองค์กรอย่างไร?

            7. Digital Capital (ทุนทางระบบสารสนเทศ) มีความสัมพันธ์กับการสร้างชุมชนในการเรียนรู้ (Learning Environment) ขององค์กรอย่างไร?

            8. Talented Capital (Knowledge + Skill + Mindset) ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต (Value Added) ในองค์กรอย่างไร?

            9. ทุนทาง IT ส่งผลต่อการทำงานด้าน Intellectual ขององค์กร PEA เป็นอย่างไร?

            10. Learning Methodology (วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ที่เน้นความทันสมัย) ส่งผลต่อหรือมีความสัมพันธ์กับ Value  Added (มูลค่าเพิ่มของสินค้า) อย่างไร?

            11. Leadership (ภาวะผู้นำ) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการสร้างชุมชนในการเรียนรู้ (Learning Communities) อย่างไร?

            12. Motivation (การสร้างแรงจูงใจในระบบการทำงาน) ในองค์กรส่งผลต่อการเกิดนวัตกรรม (Innovation) มากน้อยเพียงใด?

            13. Learning Organization (องค์กรแห่งการเรียนรู้) ส่งผลต่อการเกิดทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ในองค์กรอย่างไร?

            14. ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ส่งผลต่อการมีจริยธรรม (Ethical) ในการสร้างนวัตกรรม (Innovative) ในองค์กรอย่างไร?

            15. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทุนทางสังคม (Social Capital) ในองค์กรหรือไม่อย่างไร?

 

            วันนี้หนู ขอส่งการบ้านข้อที่ 3 เพิ่มเติมจาก Blog ครั้งก่อนเพียงแค่นี้ก่อนนะค่ะ

            สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

 

 

 

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Question (1) Search private companies or organizations, government state enterprise and look for LO Experience besides PEA (explain).

“องค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (ฺBest Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง (core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ คือ กรมราชทัณฑ์

หลักการสำคัญในการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมราชทัณฑ์ คือ งานในกรมราชทัณฑ์ จำเป็นต้องมีการจัดการความรู้ เพราะ "ความรู้เปลี่ยนเร็วมาก" ทั้งนี้เนื่องจาก "ลูกค้า" ที่เข้ามาใช้บริการ (ผู้ต้องขัง) นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เช่น จากที่เคยกินปลาร้ามา เดี๋ยวนี้หันมากินพิซซ่า เป็นต้น Tacit Knowledge ของคนที่ทำงานในกรมฯ นั้นมีมากมาย ถ้าหากไม่มีการจัดการ เกรงว่าจะเกิดการสูญหายได้ง่ายมาก

เดิมทีเดียวกรมฯ มีการ "Sharing" อยู่บ้างแล้ว แต่อาจจะเป็นแบบ ไม่เป็นทางการ การจัดการความรู้ ทำให้สิ่งที่ทำอยู่นี้เป็นระบบมากขึ้น "กรอบแนวคิด" ที่กรมฯ ใช้ ก็คือจะเน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Action Learning) และจัดให้มีการตั้ง CoPs ขึ้นมา มีการจัดระบบองค์ความรู้ (Knowledge Asset & Taxonomy) และใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน (Enabling Technology)

ขั้นตอนการทำ งานของกรมฯ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มุ่งสร้าง "Facilitator" ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจในเรื่อง KM และการสื่อให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากการทำ KM มีการนำความรู้เรื่อง KM ใส่เข้าไปในการ "สอบเลื่อนขั้น" บุคลากรทุกระดับ

ระยะที่ 2 เป็นการจัดตั้งชมรมนักปฏิบัติ (CoPs) โดยเริ่มจากสายงานหลักๆ 3 CoPs คือ 1. CoPs ครูหลังกำแพง 2. CoPs นักทัณฑวิทยา และ 3. CoPs นักสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยา โดยจัดให้มีการพูดคุย เพื่อกลั่นประสบการณ์ออกมา

ระยะที่ 3 เป็นการจัดทำ Knowledge Asset คือหลังจากที่ "ผู้จัดเก็บความรู้" ในแต่ละ CoPs ได้ประเด็น/องค์ความรู้แล้ว ก็จะมานำเสนอในที่ประชุมใหญ่ จัดให้มีการแยกแยะ กลั่นกรอง เพื่อให้ได้ออกมาเป็นความรู้ที่นำไปใช้งานได้ เช่น ได้เป็นคำแนะนำ เป็นวิธีปฏิบัติงาน (Work Procedure) etc. ตลอดจนมีการรับ feedback จากคนกลุ่มใหญ่ (ที่หลากหลาย) เพื่อนำมาใช้ปรับปรุง มีการจัดระบบ/โครงสร้าง/ หมวดหมู่ของความรู้ (Taxonomy) ที่ได้นี้เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหา

เป้าหมายการของกรมฯ มิได้หยุดอยู่ที่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) หากแต่อยู่ที่ว่าจะสามารถพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ทำให้เกิด "นวัตกรรม" ได้อย่างไร? ในสถานที่ปฏิบัติราช (วันปฏิบัติราชการ กรมฯ มีการนำเสนอ VCD ผลงานที่ มีนวัตกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง ตัวอย่างเช่น ผลงานของผู้ต้องขังในเรื่องการออกแบบและเดินแฟชั่น, การสนับสนุนเรื่องกีฬาจนสามารถก้าวสู่เวทีโลก, โครงการ Art for All โครงการ "ครูคนคุก" (ให้ผู้ต้องขังเป็นครูสอนประชาชน) หรือ โครงการ "เรือนจำเรือนปัญญา" (ส่งเสริมให้เรียนจนจบ มสธ. จำนวนหลายร้อยคน) เป็นต้น

ปัจจุบัน กรมฯ สามารถบูรณาการ กับเรื่อง HR Scorecard, Talent Management, Competency - Based Management, Performance Management และเรื่อง Quality of Work Life ได้ด้วย

*******************

thaksinanan

0808-6148578

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

 

4. What do you think of PEA’S experiences in LO’S?

 

            การพัฒนาและสร้างกลุ่มผู้บริหารและพนักงานของการไฟฟ้าภูมิภาค ในเรื่องของ Learning Organization (LO) ถือว่าเป็นแบบอย่างในการพัฒนา เพื่อสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพราะการไฟฟ้าภูมิภาคมีส่วนสัมพันธ์กับประชากรของประเทศในภูมิภาคเกือบ 50 ล้านคน เพราะคนเรานี้ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและจะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรและประเทศในอนาคต โดยการนำแนวความคิดหรือประสบการ์ที่ได้จากการเรียนรู้มาและพัฒนามาปรับปรุงใช้กับองค์กรเพื่อจะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในอนาคตต่อไป และกิจกรรมหนึ่งที่ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง คือ การศึกษาดูงานภายในและต่างประเทศเพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ผลที่ได้รับจากการศึกษาดูงานก็คือเพื่อที่จะทำให้ทีมงานได้เห็นและ Sharing ประสบการณ์จากการเรียนรู้และศึกษามาปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การที่ทีมงานได้อยู่ร่วมกันได้แลกเปลี่ยนแนวความคิด ได้เรียนรู้ร่วมกันก็จะทำให้เกิด Positive thinking อันจะนำมาซึ่งแนวความคิดที่สร้างสรรค์ เพื่อนำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน

 

 

5. Read article in Newsweek

 

1. Anything to do with 8K or 5K

To continue the U.S. leadership, it seems that some of the factors in 8K or 5K need to be applied.

·        Social capital needs to be performed through political issues and diplomatic process. Only related economic factors are not enough.

·        Human capital needs to equip with the right knowledge & understanding on society both domestic and global & the right mind set, especially human that are in charge to deal with crisis directly.

·        Talent capital needs to be applied in every leader in order for the suitable leadership which will lead their countries or world economic during the crisis

 

2. Any link between human capital & financial capital

In order to create sustainable economic condition or solve economic crisis, human capital need to equip the knowledge of financing which could lead to financial capital managing.

 

With the right human capital in the right place, financial capital will not only be managed to continue the economic recovery but it is also develop another human capital in order to continue country growth.

 

3. You will learn more about leadership- what about leadership in this article

There should be some issues regarding to leadership

·        Leader should have the right person with the right knowledge and mindset to manage critical issues such as economic. Former president Bush has the people who are either lack of experience or have limited mindset of economic (lack of flexibility). This wrong human capital lead to larger crisis

·        The world need leader who lead other country to pass through the crisis. The leader has to be supported with right people, mindset, social responsibility and do not have political crisis. The U.S. is in the most suitable condition to lead according to the article.

 

4. Any research possibility

Leadership & Human Capital: Relation & Dependency for Dealing with Economic Crisis”

 

 

  

ด้วยความเคารพอย่างสูง                 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile : 081-661-1701

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

และเพื่อน ๆ ครับ

งานสัมมนาฟรีเผื่อมีคนสนใจครับ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้ามีใครสนใจสามารถดูรายละเอียดตัวใหญ่ได้ที่

http://gotoknow.org/file/tanapolk/TRUE.jpg

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

และเพื่อน ๆ ทุกท่านครับ

ผมได้ทำ Power Point อธิบายถึงความสำคัญของ "ทุนทางด้าน IT"และได้เน้นบรรยายให้นักธุรกิจ SME เพื่อชี้ให้เขาเหล่านั้นเข้าใจถึงความสำคัญของ IT และต้องนำมาใช้ในธุรกิจเพื่อ "ติดปีกธุรกิจด้วย IT" ตรงกับทฤษฎี 8K's (Digital Capital)ของอาจารย์จีระด้วยนะครับ

สามารถลองดูได้ตาม Link ข้างล่างนี้นะครับ(เผื่อจะมีประโยชน์)

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

http://gotoknow.org/file/tanapolk/IT.pdf

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบคำถามท่านอาจารย์ข้อที่ 4  ที่ได้อ่านใน Article in Newsweek ดังนี้

 

จากการอ่าน Article แล้วมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับ 8K’s + 5K’s ได้แก่

-          Leadership (ภาวะผู้นำ) ของ U8A ที่ชื่อ President Obama

-    (นำจีน ,ผู้นำฝรั่งเศส, ผู้นำญี่ปุ่น และผู้นำเยอรมัน เกี่ยวข้องกับ  “Human Capital” ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญของโลก และทุนของแต่ละประเทศ ที่มีความพยายามใช้ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  เพื่อแก้ปัญหาระบบการเงินของระหว่างประเทศ (Internation Financial System)

-          Intellectual Capital ที่อยู่ในตัว (สมอง) ของผู้นำในประเทศต่าง ๆ ที่ร่ำรวยและเริ่มมีปัญหา (crisis)

-    USA กับ Ethical Capital  นั้น  (หนูคิด) ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีจริยธรรมมากนัก เพราะ มักจะพูด  ที่กดดัน (โอ้อวด)  ตนเอง (USA) พูดข่ม  ทับถม  ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน , ญี่ปุ่น (ประเทศทางเอเชีย) มากไป

-    Happiness Capital เมื่อระบบเศรษฐกิจดีค่าที่ดีขึ้นเป็นไปในทิศทางบวก (+) คนที่เริ่มมีความสุข ความสุขเริ่มกลับมา เพราะระบบเศรษฐกิจโลกที่เริ่มถอยหลัง (Recessions) นั้น กำลังจะพ้นผ่านไป (Past)

-    ระบบการเงิน ,  ธนาคารต่าง ๆ (Bank of America, CIT  and  Citigroup)  แสดงถึงเกี่ยวข้องกับ ระบบ IT หรือ IT Capital (Digital capital)  เมื่อระบบการเงินของโลกดีขึ้น  ดังนั้นเกี่ยวข้องกับทุนทาง IT ของ ศ.ดร. จีระ  (8K’s) อย่างแน่นอน

-    เมื่อ IMP ออกมาบอกว่าการเจริญเติบโตของระบบเงินดีขึ้น 2% แสดงว่า human Capital ของผู้นำทั่วโลก ทั้ง USA , จีน , ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น,เยอรมัน มีทุนทางมนุษย์ที่ดี (Human Capital)ที่สำคัญคือมีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital )  ส่งผลให้แสดงถึงภาวะผู้นำ (Leader ) ของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นประเทศสำคัญ ๆ ในการนำการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลก

-    เมื่อระบบเศรษฐกิจโลกดีขึ้น (จริงตามที่เขียนไว้ Newsweek) แสดงถึงภาพรวมของ Social Capital ของสังคมโลก

-          Sustainable Capital นั้น (หนูไม่แน่ใจ) ว่า USA จะมีระบบ Finale ของ USA  จะ Sustainability จริงหรือไม่ ?

-    แต่ถ้าระบบเศรษฐกิจโลกดีขึ้นจริง แสดงถึง Creativity Capital ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลก ทั้ง USA , จีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, เยอรมัน

-    Knowledge Capital แสดงถึง ผู้นำประเทศต่าง ๆ มีความรู้  ความสามารถ  ทักษะ  ที่สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์นำพาการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ  ระบบการเงินของโลกดีขึ้น

-    เมื่อระบบเศรษฐกิจดีขึ้น  ระบบการเงินดีขึ้น  คนก็ไม่เครียดคนก็จะมี อารมณ์ดี    Emotional  ดีขึ้น ส่งผลให้เกิด Creativity  สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ คิดใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหานำไปสู่ Innovation ต่าง ๆ ขึ้นมาได้มากมาย  ทำให้เกิด Happiness แน่นอน

 

วันนี้หนู ขอส่งการบ้านข้อที่ 4  เพียงแค่นี้ก่อนนะค่ะ

          สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

 

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบคำถามท่านอาจารย์ ข้อที่ 4  ที่ได้อ่านใน Article in Newsweek ดังนี้

 

จากการอ่าน Article แล้วมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎี 8K’s + 5K’s” ของท่านอาจารย์ ศ. ดร.จีระ  ดังนี้

Leadership (ภาวะผู้นำ) ของ USA. ที่ชื่อ President Obama และผู้นำจีน ,ผู้นำฝรั่งเศส, ผู้นำญี่ปุ่นและผู้นำเยอรมัน เกี่ยวข้องกับทุนทางมนุษย์  “Human Capital” ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญของโลกและทุนของแต่ละประเทศ          ที่มีความพยายามใช้ ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  เพื่อแก้ปัญหาระบบการเงินของระหว่างประเทศ (International Financial System)

Intellectual Capital ที่อยู่ใน ตัว + สมอง ของผู้นำในประเทศต่าง ๆ ที่ร่ำรวยและเริ่มมีปัญหา (Crisis)

-    USA กับ Ethical  Capital  นั้น(หนูคิด) ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีจริยธรรมมากนัก เพราะ มักจะพูด (USA)   ที่กดดันผู้นำประเทศอื่น ๆ (โอ้อวดตนเอง)  พูดข่ม  พูดทับถม  ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน , ญี่ปุ่น (ประเทศทางเอเชีย) มากไป(เราก็อยู่ในเอเชียด้วยนะคะ)

-    Happiness Capital แต่ถ้าเมื่อระบบเศรษฐกิจโลกดีค่าที่ดีขึ้น  เป็นไปในทิศทางบวก (+)ถ้าเป็นจริง  คิดว่าคนที่เริ่ม มีความสุข ความสุขเริ่มกลับมา เพราะระบบเศรษฐกิจโลกที่เริ่มถอยหลัง (Recessions)นั้น  กำลังจะผ่านพ้น ไป (Past) การจับจ่ายใช้สอยของคนทั้งโลกจะเริ่มดี(รวมคนไทยด้วย) คนไม่อดยาก ไม่ยากจน โดยเฉพาะ ปัจจัย 4 คือ อาหาร, เครื่องนุ่งห่ม,ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย คิดว่าคนส่วนใหญ่ น่าจะมี ความสุข มากขึ้น นั้นก็คือเกี่ยวกับ Happiness Capital ของ ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ 

-  ระบบการเงินและธนาคารต่าง ๆ (Bank of America, CITandCitigroup)  แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับระบบ IT หรือ ทฤษฎี IT Capital (Digital capital)  เมื่อระบบการเงินของโลกดีขึ้น  ดังนั้นเกี่ยวข้องกับทุนทาง IT ของ ท่าน ศ.ดร. จีระ  (8K’s) อย่างแน่นอน

-    เมื่อ IMF ออกมาบอกว่าการเจริญเติบโตของระบบเงินดีขึ้น 2% และProject in Aril ดีขึ้น 2.5 %  แสดงว่า Human Capital ของผู้นำทั่วโลก ในทั้ง USA, จีน, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, เยอรมัน มีทุนทางมนุษย์ที่ดี (Human Capital)ที่สำคัญคือมีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) สนับสนุน เสริมส่ง  สู่ผลให้เห็นหรือแสดงถึง ภาวะผู้นำ(Leadership) ของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นผู้นำประเทศสำคัญ ๆ ในการ นำการเจริญเติบโต ของระบบเศรษฐกิจโลก

-    เมื่อระบบเศรษฐกิจโลกดีขึ้น (ถ้าจริงตามที่เขียนไว้ Newsweek) แสดงถึงภาพรวมของ “Social Capital” ของสังคมโลกเกิดขึ้นแล้ว

-    Sustainable Capital นั้น (ข้อนี้หนูไม่แน่ใจ) ว่า USA จะมี ระบบ Financialของ USA”ซึ่งเป็นผู้นำระบบการเงินของโลกจะ Sustainability จริงหรือไม่ ?

-    แต่ถ้า ระบบเศรษฐกิจโลกดีขึ้นจริง แสดงถึง Creativity Capital ของบุคคลสำคัญ ๆของโลกทั้ง USA , จีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, เยอรมัน

-    Knowledge Capital แสดงถึง ผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่มี ความรู้(Knowledge)  ความสามารถ(Competence)  ทักษะ(Skill)  ที่สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์(Creativity) นำพาความเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ(Economy)  ระบบการเงิน(Financial)ของโลกดีขึ้น

-    เมื่อระบบเศรษฐกิจดีขึ้น  ระบบการเงินดีขึ้น  คนก็มีความเครียดลดลง คนก็จะมี อารมณ์ดี “Emotional” ดีขึ้น ส่งผลให้เกิด Creativity  สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ คิดใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหานำไปสู่ Innovation ต่าง ๆ ขึ้นมาได้มากมาย  ทำให้เกิด Happiness แน่นอน………สิ่งเหล่านี้อยู่ในทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการเป็นสังคมการเรียนรู้ + ทฤษฎี 4 L’s ของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ทั้งหมดแล้วนะคะ

 

วันนี้หนู ขอส่งการบ้านข้อที่ 4  เพียงแค่นี้ก่อนนะค่ะ

สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

 

สมศรี เต็มอนุภาพกุล

เรียน อจ.จีระที่เคารพ

การบ้านจาก สมศรี เต็มอนุภาพกุล (ผอ.โรงเรียน)

ข้อ1) สรุปกฟภ.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

1. PEAได้เสนอแนวคิดและหลักการเรื่อง LO โดยการนำเสนอจาก ศาสตราจาร์ ดร. จีระของ Peter Senge (1990) และ Dr. Michael Marquardt (1996)ให้สร้าง กฟภ.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2. Peter M Senge เรื่อง LO มาสู่การปฏิบัติดังนี้โดยเสนอแนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ

2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model) หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ

5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน ที่เริ่ม

ตำแหน่งรองผู้ว่าการ และผู้ช่วยฯไล่เรียงลง

มาสู่พนักงานระดับล่างสุดพนักงานจำนวน 27,700 คน

ให้เปรียบเทียบกับ องค์กรอื่นๆ ที่หนูนำมา คือ ของสพร.

(น่าจะมาจากสำนักงาน กพ.ที่กำหนดให้ทุกกระทรวงมี กพร.)

กำหนดความหมายและให้หน่วยงานใหญ่ตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตการศึกษา ไปจนสุดท้ายลงที่โรงเรียนต้องมี KM.

“องค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

การพัฒนาองค์ความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามโครงการนี้ ได้มุ่งหวังให้เป็นแหล่งในการพัฒนาองค์ความรู้ใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ในด้านการบริหารจัดการภาครัฐ โดยอาจใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเป็นแหล่งเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ และเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในหลายรูปแบบ เช่น ข่าวสารทันโลก รอบรู้รอบโลก สื่อความรู้เพื่อการเผยแพร่ และการแนะนำหนังสือที่เป็นประโยชน์ และรูปแบบการเป็นศูนย์การเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ ขณะนี้มี 2 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตร mini MPM และหลักสูตร mini MBA

การพัฒนาส่วนราชการให้เป็น“องค์การแห่งการเรียนรู้” โดยอาศัยกระบวนการ “การจัดการความรู้” ในยุคที่มีการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนราชการต้องสร้างให้ข้าราชการในส่วนราชการมีความรู้ เข้มแข็งและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผลักดันส่วนราชการให้บรรลุผล ตามยุทธศาสตร์30โดยในขั้นตอนของการแปลงแผนการปฏิบัติราชการสู่การปฏิบัติจริงนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการที่จะช่วยผลักดันสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ดังนี้

1. การปรับโครงสร้างองค์การพื้นฐานเพื่อรองรับบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้สะดวก เช่น สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ

2. การปรัับขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็ว และกระชับมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น

3. การพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ มีระบบการยกย่องชมเชย และการให้รางวัลที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ และมีวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุก และวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์การ

4. ปรับกฎระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการความรู้ในองค์การ1 ต้องดำเนินการ 3 ระดับ คือ (1) การจัดการความรู้ในองค์การ (2) การจัดการความรู้ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน (3) การจัดการความรู้ในตัวบุคคล ซึ่งเป็นการนำข้อมูลมาประมวลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ และเป็นการจัดการความรู้สมัยใหม่ในยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้

การจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นในส่วนราชการ แต่ละส่วนราชการมีการดำเนินการ ดังนี้

1. ส่วนราชการมีวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่นในการจัดการความรู้ ทำให้ทราบปัญหาในการปฎิบัติเพื่อนำไปสู่การแก้ไขวัฒนธรรมของส่วนราชการ โดยต้องเกื้อกูลข้าราชการให้มีทัศนคติเชิงบวกต่อการสร้างความรู้

2. ผู้นำด้านความรู้ ต้องเป็นคนผลักดันให้เป็นจริง โดยการสร้างระบบ และมีความผูกพัน มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนา มีกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ ดูแลให้ความสนับสนุนอย่างใกล้ชิดที่จะพัฒนาส่วนราชการให้ไปสู่ความสำเร็จ

3. ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในส่วนราชการ โดยมีกลุ่มคนมารวมตัวกัน ร่วมกันพัฒนา และเสริมสร้างความรู้เพื่อนำไปใช้ในส่วนราชการของตน โดยผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขีดความสามารถให้สมาชิกในกลุ่ม ผลประโยชน์ที่สมาชิกในกลุ่มจะได้รับคือ การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพ

4. มีผู้รับผิดชอบดูแลเว็บทำความรู้ (Knowledge Portal) บนเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อดูแลอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการในสังกัด และผู้ที่สนใจทั่วไปได้รับความกระจ่างในความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีประสบการณ์ด้านเนื้อหาที่ต้องการทราบผ่านการตั้งกระทู้ซักถาม และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ต่อเนื่อง นับเป็นการพัฒนาช่องทางเพื่อการแลกเปลี่ยนถ่ายเทความรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสถานที่และเวลาที่เป็นปัจจุบัน

5. จัดทำสารคดีสั้นเสียงตามสาย ในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของข้าราชการในสังกัดในช่วงเช้าและเที่ยงของทุก ๆ วันเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างสารคดีสั้นเสียงตามสาย เช่น 1) การมองภาพองค์รวม 2) การสร้างวัฒนธรรมส่วนราชการไปสู่การเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ 3) แนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 4) วินัยและการรักษาวินัย

6. จัดทำสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Computer Assisted Instruction: CAI) เพื่อให้ผู้บริหาร ข้าราชการ ทุกกลุ่ม และทุกระดับ สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลาตามอัธยาศัย โดยจัดทำในรูปของซีดีรอมที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียน

7. กลวิธีและสื่อในการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มบุคคลทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน ยังมีความจำเป็นที่จะต้องขยายช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอ ผลงาน ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น และมีกิจกรรมรองรับอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการทำจดหมายข่าว จุลสาร มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีมุมกาแฟสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้โดยอิสระ ลดรูปแบบใด ๆ ที่เป็นทางการ เพื่อให้มีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นกันเองมากที่สุด

ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินการ

1. หน่วยงานระดับจังหวัดมีส่วนราชการเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก หลายส่วนราชการขาดความรู้ความเข้าใจ มีงานประจำมาก และขาดความพร้อมในการเข้าร่วมประชุมทำให้การกำหนดและการเลือกขอบเขตในการทำโครงการการจัดการความรู้จึงค่อนข้างยาก มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของทั้งองค์กร ซึ่งเป็นผลทำให้ได้ผลงานไม่ดีเท่าที่ควร

2. การทำงานจะโหมทำเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะการมาประเมินตาม

ตัวKPI เป็นต้น

31 การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในทุกส่วนในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1. ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ทั่วไป หรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

สมศรี เต็มอนุภาพกุล

ตอบการบ้านข้อ2)(Learning Organization)” ปีเตอร์ เซงเก (Peter Senge) ชี้แนะว่าองค์ประกอบที่จะช่วยทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีการเรียนรู้มีอยู่ 5 ประการ 1.การคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking) 2.ความเป็นตัวของตัวเอง (personal mastery) 3.มีแบบฉบับความคิด (mental model) 4.สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building share) 5.มีการเรียนรู้ร่วมกัน (team learning) ปีเตอร์ เซงเก (Peter Senge ) กล่าวว่า การเรียนรู้มิใช่เพื่อการอยู่รอดเท่านั้น แต่ต้องเป็นการเรียนรู้ให้มีความพร้อมที่ปรับเปลี่ยน (adaptive learning) กล่าวคือไม่ให้ยึดความรู้ที่มีอยู่เดิมเป็นสรณะ ความรู้ที่มีอยู่ใช้เป็นเพียงฐานความคิด และพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่และปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้แบบเพิ่มพูน มิใช่เป็นการเรียนรู้เพื่อพิสูจน์ความจริงแท้แน่นอน การเรียนรู้ที่จะถือว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สมาชิกองค์กรต้องคิดเป็นระบบ มิใช่คิดแบบแยกส่วน หรือตัดตอน(shortcut thinking) ความคิดที่ได้ต้องเป็นความคิดของตนเองที่เกิดจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์และจินตนาการ การสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ คือ การให้การศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน การที่จะสร้างองค์กรการเรียนรู้ โดยอาศัยกระบวนการให้การศึกษา การฝึกอบรม ซึ่งมิใช่เรื่องใหม่ ทุกคนเชื่อสนิทใจว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คงไม่มีวิธีการดีกว่าการให้การศึกษาและฝึกอบรม ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนการในการพัฒนากำลังคน แต่ความแตกต่างที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทุนนั้น อยู่ที่เนื้อหาของการศึกษาฝึกอบรมหาใช่กระบวนการไม่ ทฤษฎี 4 L’s ของศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ต้องใช้วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ (Learning Methodology) เป็นรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม มีการทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia 2) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Learning Environment) คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน เช่นสร้างความสดชื่นโดยการให้มีดอกไม้ หรือบรรยายกาศแบบมุมสนทนากาแฟมีบรรยากาศที่เป็นกันเอง 3) การสร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ (Learning Opportunities)เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน และ 4) การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นคือ (Learning Communities)โดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนเรียนรู้แบบออนไลน์ เช่น Blog เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ซึ่งทฤษฎี 4 L’s เป็นแนวคิดที่ส่งเสริมกระบวนเรียนรู้ของมนุษย์ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนด้วยทุนทางปัญญา เมื่อมนุษย์เกิดการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การสร้างเครือข่ายเพิ่มพลังในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ แล้วจะนำไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นการจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ยั่งยืน ทฤษฎีของปีเตอร์ เซงเก และทฤษฎี4 L’s ของศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จำเป็นต้องใช้แบบบูรณาการด้วยกันอย่างยิ่งถึงจะเกิดสัมฤทธิ์ผล และหนูไป(searchXค้นหาเจอหน่วยงานที่เป็นองค์กรมหาชน ตอนนี้หน่วยงานเขามีข้อมูลอะไรให้พวกเราได้ใช้ประโยชน์ได้บ้าง เพื่อนช่วยให้ข้อมูลด้วยนะค่ะ . สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ Office of Knowledge Management and Development ในปัจจุบัน จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้าน 6 หน่วยงาน ได้แก่ 1. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ Thailand Creative & Design Center 2. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ National Discovery Museum Institute 3. สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ Institute for Gifted and Innovative Learning 4. สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ Thailand Knowledge Park 5. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย Thailand Center of Excellence for Life Science 6. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม Center for the Promotion of National Strength on Moral Ethics and Values ตอบการบ้านข้อ3) ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะ (Social Determinants Related of health) ซึ่งทางสมัชชาอนามัยโลก ได้เน้นว่า การที่ประชาชนจะมีสุขภาพดีนั้นจะละเลยเหตุปัจจัยทางสังคม ไม่ได้ เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ สวัสดิการ ที่อยู่อาศัย ระบบเศรษฐกิจ ตลอดระบบการเมืองการปกครอง เป็นต้น (เป็นตัวแปรอิสระ) ดังนั้นหากประชาชนเป็นสังคมที่มี LO ก็น่าจะ เกิดสุขภาวะที่ดี ตอบการบ้านข้อ Read article in Newsweek (ทบทวน)1. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม โดยท่านอาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว้า ทุนทางนวัตกรรมนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ นวัต ซึ่งมาจากคำว่าใหม่ ต้องมาความคิดใหม่ กรรม คือเอาไปทำ และ 3 คือ ต้องเอาไปทำให้สำเร็จ 2. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ 3. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ 4. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม 5. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ IMF ออกมาบอกว่าการเจริญเติบโตของระบบเงินดีขึ้น 2% และProject in Aril ดีขึ้น 2.5 % แสดงว่า human Capitalใน 8K’s ของผู้นำทั่วโลก ทั้ง USA , จีน , ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น,เยอรมัน มีทุนทางมนุษย์ที่ดี (Human Capital)ที่สำคัญคือมีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital ) ส่งผลให้แสดงถึงภาวะผู้นำ (Leader) ของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นประเทศสำคัญ ๆ ในการนำการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลก และ และการมีทุนทางมนุษย์ที่ดี (Human Capital) นั้นย่อมช่วยให้ Financial Capital มีการฟื้นคืนสู่สภาพปกติ(recovery)โดยใช้เวลาไม่นานนัก ในท้ายที่สุดประเทศที่มีผู้นำ ที่เห็นทิศทางของอนาคตไม่ว่าเป็นประเทศ USA , จีน , ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น,เยอรมัน ก็จะสามารถนำพาองค์กรออกจากวิกฤตเศรษฐกิจได้โดยมาจากความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศนั้นๆ การทำวิจัย คือ ดิฉันสงสัยว่า ตอนเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยได้รับผลกระทบ ต่อๆ มา แต่พอเขาฟื้นตัวกันทำไมเราถึงฟื้นตัว ช้ากว่าทั้ง USA , จีน , ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น,เยอรมัน และไม่คิดว่าผู้นำของประเทศเรารวมทั้งการเงินการคลังเราจะไม่เก่ง ดังนั้นจึงต้องวิจัยต่อว่าทำไม 

คงสรุปการบ้านได้เท่านี้ก่อนค่ะ กราบสวัสดี ผอ.สมศรี (ษ081 7556338)

เรียน อาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    จากการค้นหาหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่มีการจัดทำองค์กรของตนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยเลือกมา 3 หน่วยงานที่คิดว่ามีแนวทางการดำเนินงานที่ดีเป็นระบบมีดังนี้

1. สำนักพิมพ์ดีเอ็มจีผนึก JobsDB.com สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั่วประเทศ เร่งพัฒนาทุนมนุษย์ ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่การบริการเป็นเลิศด้วย 4 Learnในงานห้องสมุดโลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งภูมิปัญญา (Knowledge Base Society “KBS”)องค์กรที่อยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญานี้เอง ทุกองค์กรต่างแสวงหาความเจริญ ความมั่นคงจากปัจจัยความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นตัวขับเคลื่อน ความคิด ความเข้าใจเชิงระบบ(Systems Thinking)โดยเน้นวิธีคิดมีการปฏิบัติอย่างเป็นระบบและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) ซึ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและทีมงานการสร้าง “องค์กรแห่งการเรียนรู้ “Learning Organization” จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพอย่างต่อเนื่องอันจะนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน และห้องสมุดควรปรับเปลี่ยนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ 4 ได้แก่ Learn Learn to Learn , Learn to Share, Learn to connect , Learn to Innovate เพื่อก้าวไปสู่การบริการที่เป็นเลิศ

2. TOT ปรับสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เดินหน้า Re-Branding บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ปรับองค์กรสู่การเรียนรู้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งก็คือองค์กรที่มุ่งเน้นให้บุคลากรมีความสนใจใฝ่รู้ กระตือรือร้น และพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยการ Re-Branding

3. บริษัท DI bella&Schein ใช้กรรมวิธีLearning Organization transformation Process ในการพัฒนา Learning Organization ในเชิง Capability Perspective ของ DI bella&Schein ที่เป็นรูปธรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ

ขั้นตอนที่ 1 การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การและประเมินรูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ และการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ การวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์การ (Culture Diagnosis) ได้แบ่งวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ ใน ระดับแรกคือ Artifacts โดยสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตด้วยตา เช่น การจัดการแผนผัง (Layout) ของบริษัท การแต่งกายของพนักงาน ระดับที่ 2 คือ Espaused Values เป็นค่านิยมที่ทุกคนในองค์การสื่อถึงกันว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องควรทำ ซึ่งโดยมากจะถูกกำหนดโดยผู้นำขององค์การตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัท ระดับที่ 3 คือ Basic Underlining Assumtion เป็นความเชื่อ การรับ ความคิด และความรู้สึกที่กำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การและเป็นระดับที่ยากที่สุดในการทำความเข้าใจและดึงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม

การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Orientation Assessment) รูปแบบการเรียนรู้ขององค์การ (Learning Orientation) นับเป็นขึ้นตอนที่สำคัญ มีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ

1.วิธีการหาความรู้ (Knowledge Source)

2.โฟกัสที่เนื้อหาหรือที่กระบวนการ (Content -process Focus)

3.การเก็บความรู้ (Knowledge Reserve)

4.วิธีการเผยแพร่ความรู้ (Dissemination Mode)

5.ขอบเขตการเรียนรู้ (Learning Scope)

6.Value Focus

7.Learn Focus

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้าง Learning Organization ใช้ SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

1. เน้นการปรับปรุง Facilitating Factors

2. เน้นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและรูปแบบการเรียนรู้ควบคู่กับการปรับปรุง Facilitating Factors

ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่ Learning Organization คือ การปรับปรุง Facilitating Factors แบ่งเป็น 10 แนวทาง คือ 1.Scanning Imparative การกระตุ้นให้พนักงานองค์การกระตือรือร้นเพื่อหาข้อมูลภายนอกองค์การ

2.Concern for Measurement การทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของผลต่างระหว่างระดับการปฏิบัติที่เป็นอยู่

3.Performance Gap การทำให้ทุกคนตื่นตัวและเห็นความสำคัญของผลต่างระหว่างระดับการปฏิบัติที่เป็นอยู่

4.Organization Curiousity การทำให้เกิดบรรยากาศในการทดลองความคิดใหม่ ๆ

5.Climate of Openness การทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เชื่อใจซึ่งกันและกัน

6.Contious Education การสนับสนุนให้เกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องในหมู่พนักงาน

7.Operational Variety การทำให้พนักงานยอมรับวิธีการทำงานใหม่ 

8.Multiple Leadership การทำให้เกิดผู้สนับสนุนในการเรียนรู้ เริ่มจากผู้จัดการในแต่ละส่วนงาน

9.Innovation Leadership การให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของพนักงานเพื่อสนับสนุนในทุกกิจกรรม

10.System Perspective การทำให้มองเห็นภาพการทำงานของทุกหน่วยในองค์การอย่างเป็นระบบ เช่น การใช้ Job Rotation

        จากหน่วยงานที่สร้างองค์กรของตนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีแนวความคิดที่เหมือนกันคือ เพื่อความอยู่รอดและยั่งยืนโดยเน้นการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือฝ่ายบริหารเป็นผู้เริ่มต้นประกาศเป็นนโยบายแต่จะสำเร็จหรือไม่ต้องมาจากทุกคนในองค์กร มีการทำอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ มีการสนับสนุนทั้งขวัญกำลังใจมีการกระตุ้น โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและมีทุนทรัพย์อย่างพอเพียง

จาก วัชรินทร์ แสงมา Ph.D-3 SSRU

ตอบฉบับย่อค่ะการบ้านข้อ2)(Learning Organization)” ปีเตอร์ เซงเก (Peter Senge) ชี้แนะว่าองค์ประกอบที่จะช่วยทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีการเรียนรู้มีอยู่ 5 ประการ

1.การคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking)

2.ความเป็นตัวของตัวเอง (personal mastery)

3.มีแบบฉบับความคิด (mental model)

4.สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (building share)

5.มีการเรียนรู้ร่วมกัน (team learning) ปีเตอร์ เซงเก (Peter Senge ) กล่าวว่า การเรียนรู้มิใช่เพื่อการอยู่รอดเท่านั้น แต่ต้องเป็นการเรียนรู้ให้มีความพร้อมที่ปรับเปลี่ยน (adaptive learning)

กล่าวคือไม่ให้ยึดความรู้ที่มีอยู่เดิมเป็นสรณะ ความรู้ที่มีอยู่ใช้เป็นเพียงฐานความคิด และพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่และปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการเรียนรู้แบบเพิ่มพูน มิใช่เป็นการเรียนรู้เพื่อพิสูจน์ความจริงแท้แน่นอน

ทฤษฎี 4 L’s ของศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประกอบด้วย

1) การเรียนรู้ต้องใช้วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ (Learning Methodology) เป็นรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม มีการทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia

2) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Learning Environment) คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน เช่นสร้างความสดชื่นโดยการให้มีดอกไม้ หรือบรรยายกาศแบบมุมสนทนากาแฟมีบรรยากาศที่เป็นกันเอง

3) การสร้างโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ (Learning Opportunities)เพื่อพบปะแลก เปลี่ยน ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน

และ 4) การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นคือ (Learning Communities)โดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนเรียนรู้แบบออนไลน์ เช่น Blog เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital ทฤษฎีของปีเตอร์ เซงเก และทฤษฎี4 L’s ของศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จำเป็นต้องใช้แบบบูรณาการด้วยกันอย่างยิ่งถึงจะเกิดสัมฤทธิ์ผล

และหนูไป(search)ค้นหาเจอหน่วยงานที่เป็นองค์กรมหาชน ตอนนี้หน่วยงานเขามีข้อมูลอะไรให้พวกเราได้ใช้ประโยชน์ได้บ้าง เพื่อนช่วยให้ข้อมูลด้วยนะค่ะ . สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ Office of Knowledge Management and Development ในปัจจุบัน จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้าน 6 หน่วยงาน ได้แก่

 1. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ Thailand Creative & Design Center

2. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ National Discovery Museum Institute

3. สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ Institute for Gifted and Innovative Learning

4. สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ Thailand Knowledge Park

 5. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย Thailand Center of Excellence for Life Science

6. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม Center for the Promotion of National Strength on Moral Ethics and Values ตอบการบ้านข้อ3) ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะ (Social Determinants Related of health) ซึ่งทางสมัชชาอนามัยโลก ได้เน้นว่า การที่ประชาชนจะมีสุขภาพดีนั้นจะละเลยเหตุปัจจัยทางสังคม ไม่ได้ เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ สวัสดิการ ที่อยู่อาศัย ระบบเศรษฐกิจ ตลอดระบบการเมืองการปกครอง เป็นต้น (เป็นตัวแปรอิสระ) ดังนั้นหากประชาชนเป็นสังคมที่มี LO ก็น่าจะ เกิดสุขภาวะที่ดี

การทำวิจัย คือ ดิฉันสงสัยว่า ตอนเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยได้รับผลกระทบ ต่อๆ มา แต่พอเขาฟื้นตัวกันทำไมเราถึงฟื้นตัว ช้ากว่าทั้ง USA , จีน , ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น,เยอรมัน และไม่คิดว่าผู้นำของประเทศเรารวมทั้งการเงินการคลังเราจะไม่เก่ง ดังนั้นจึงต้องวิจัยต่อว่าทำไม คงสรุปการบ้านได้เท่านี้ก่อนค่ะ กราบสวัสดี ผอ.สมศรี (ษ081 7556338)

เรียน อาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

What do you think of PEA’s experiences in LO’s ?. สิ่งที่ได้รับจากการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคคือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ กฟภ. มีดังนี้

1. ต้องกำหนดเป็นนโยบายจากบนลงล่าง ถ้าผู้บริหารสูงสุดไม่เห็นความสำคัญแล้วยากที่จะสำเร็จ

2. ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

3. ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

4. แนวทางของ กฟภ. เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้หากองค์กรอื่นจะนำไปก็ต้องทำการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของตนเอง โดยทางกฟภ.วิธี มีการทำเป็น 3 ขั้นตอน คือ

4.1 สร้างความตระหนักเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้

4.2 ตรวจสอบและติดตามการเรียนรู้

4.3 การวิพากย์และปลูกฝังองค์ความรู้

5. การทำงานต้องใช้หน่วยงานนำร่องก่อนเมื่อสำเร็จแล้วจึงขยายผลไปหน่วยงานอื่น

6. ต้องมีการประเมินผลและติดตามผล อย่างชัดเจน เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. ต้องมีการทำวิจัยว่าสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วจะสอดคล้องกับองค์กรหรือไม่อย่างไร

      กฟภ. มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบแบบแผนที่ดีซึ่งพอจะสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้

1. มีการประกาศนโยบายว่าจะดำเนินการทำLOจากCEOแล้วแจ้งให้พนักงานรับทราบโดยจัดกลุ่มสัมมนา เพื่อแจ้งนโยบายนี้ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการกระจายข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและรับทราบทั่วทั้งองค์กร หรือจะเรียกว่าต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ได้ก่อนการทำLO

2. ผู้บริหารมีความตระหนัก และเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์โดยมีการจัดสรรงบประมาณลงทุนให้อย่างไม่เสียดาย

3. มีการสร้างขวัญและแรงจูงใจในการให้แก่ทุกคนที่ ร่วมมือและช่วยกันการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เช่น ศึกษาดูงานต่างประเทศ

4. มีการจัดกิจกรรมพื้นฐาน ต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนอยากเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การเขียนบทความ มีเวทีให้นำเสนองานด้านวิชาการ การเรียนภาษาอังกฤษ 2 วันต่อสัปดาห์ (โดยใช้เวลาทำงาน)

5. มีการจัดสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างพอเพียง เช่น มีห้องสมุด มีระบบ ITที่ทันสมัย

จากวัชรินทร์ แสงมา Ph.D-3 SSRU

เรียน  อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                Read Peter Senge'S and compare with 4L's.

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ Peter M. Senge   กล่าวไว้ว่า องค์กรแห่ง

การเรียนรู้คือ " องค์กรที่ซึ่งบุคลากรสามารถเพิ่มพูนความรู้ความสามารถได้อย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างผลงานได้ตามความปรารถนาอีกทั้งเป็นแหล่งสร้างความคิดทางปัญญาโดยการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ร่วมกัน" และการที่จะสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้น Peter M. Senge ได้ข้อคิดว่าองค์กรนั้นต้องสร้างวินัย 5 ประการ (Fifth Discipline) ให้เกิดขึ้นแก่บุคลากร ดังนี้

1. บุคลากรที่มีความรอบรู้ (Personal mastery) การเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งบุคคลควรต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาอยู่เสมอโดยในการพัฒนาควรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รูปแบบของการเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้ในที่ทำงาน (Work place learning) หรือการเรียนรู้งานในหน้าที่ (On the job learning)

2. รูปแบบความคิด   (Mental models) รูปแบบความคิดของบุคคลมีอิทธิพลต่อแนวทางการปฏิบัติของบุคคลนั้นๆ  อีกทั้งเป็นสิ่งที่กำหนด  พฤติกรรมการปฏิบัติงานว่าจะมีลักษณะเช่นไร  ด้วยเหตุนี้เององค์กรต้องพัฒนาบุคลากรให้มีการเรียนรู้และเข้าใจถึงสิ่งที่บุคคลต้องการ(Self Vision) กับสิ่งที่องค์กรต้องการ (Organizational Vision) ซึ่งองค์กรควรเตรียมการสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่างกันอันทำให้คนในองค์กรมีแนวความคิดไปในแนวทางเดียวกัน และนำไปสู่ผลงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

3.วิสัยทัศน์ร่วม   (Shared vision) ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ขององค์กรและวิสัยทัศน์ของบุคคล ส่งผลให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพันมิใช่เพียงแค่การทำตามหน้าที่เท่านั้น ดังนั้นจุดมุ่งหมายขององค์กรแห่งการเรียนรู้คือการผลักดันให้บุคคลในองค์กรทุกคนมีข้อสัญญาผูกมัดทางใจ โดยอาศัยจุดประสงค์ร่วมกันบนพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วน(Partner) ซึ่งสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นได้เนื่องจากการแลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งกันและกันนั่นเอง

4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning) ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่ควรให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเก่งอยู่ผู้เดียวในองค์กร ควรก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ

(Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) ก่อให้เกิดเป็นความรู้ ความคิดร่วมกัน ภายในองค์กร การดำเนินการอาจตั้งเป็นทีมเรียนรู้เพื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร รวมทั้งสภาพความเป็นไปภายในองค์กร เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนแนวความคิดและนำไปสู่ข้อกำหนดในการปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

5. ความคิดเป็นระบบ (System thinking) เป็นวินัยข้อนี้ คือการพิจารณาองค์กรต้องพิจารณาในรูปแบบองค์รวมขององค์กร ไม่ควรพิจารณาแต่เพียงปัจเจกบุคคลเท่านั้น มีกรอบแนวความคิดคือ  คิดเป็นกลยุทธ์ เน้นรูปแบบที่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้   ทันเหตุการณ์  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อองค์กร และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์   พิจารณาถึงสภาพการณ์ในอนาคต เพื่อสามารถกำหนดแนวทางการปฏิบัติเชิงรุกได้ 

การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) อย่างแท้จริงเพราะสถานะขององค์กรแห่งการเรียนรู้จะดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนต้องอาศัยบุคลากรทุกระระดับ คือ ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความคิดที่จะนำทั้ง 5 ประการของ Peter M. Senge ไปประพฤติประปฏิบัติให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้คิดทฤษฎี 4L's เปรียบเสมือนเป็นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยแนวคิดของอาจารย์จีระ จะเน้นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ว่าการเรียนรู้ไม่จำเป็นเกิดขึ้นในห้องเรียนหรือเป็นทางการเท่านั้นแต่เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม จัดรูปแบบวิธีการเรียน จัดวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ และการสร้างเครือข่าย เรียนรู้ร่วมกันแบ่งทำให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และมีความยั่งยืนเพราะไม่มีวันจะสูญสิ้นมีแต่จะขยายขึ้นไปอย่างต่อเนื่องโดยทั้งนี้ได้ต้องมาจาก 4L's

จากเปรียบเทียบกฎของ Peter Sengeกับทฤษฎี 4L's จะเห็นว่ามีความเหมือนกันดังแสดงในตาราง

กฎของ Peter Senge

ทฤษฎี 4L's

Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้

 

System Thinking คิดมีเหตุผล

Mental Models แบบอย่างทางความคิด

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Shared Vision เห็นอนาคตร่วมกัน

Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

Team Learning เรียนเป็นทีม

Learning Communitiesสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

 

จากวัชรินทร์  แสงมา Ph.D-3  SSRU

 


 

 

 

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

การบ้าน ข้อ 3 ค่ะ

3. Any ideas about setting up hypothesis for Ph.D thesis proposal

1. Hypothesis:  การสร้างแรงจูงใจที่ดีแก่พนักงานส่งผลให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ตัวแปรต้น :  แรงจูงใจที่ดีแก่พนักงาน

ตัวแปรอิสระ  : องค์กรแห่งการเรียนรู้

2. Hypothesis: วัฒนธรรมองค์การที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

ตัวแปรต้น :  วัฒนธรรมองค์การที่มุ่งเน้นการเรียนรู้

ตัวแปรอิสระ  : เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

ลัดดา ปินตา 084-8073320

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
ตอบข้อ 5 ค่ะ

Read article in Newsweek

 


2. Any link between human capital and financial capital ?
ทีมเศรษฐกิจของโอบามา มีความสามารถทำให้สถาบันการเงินในอเมริกามีความเข้มแข็งขึ้นหลังจากการประชุม G8 และ G20


3. You will learn more about leadership - what about leadership in this article?
ความฉลาด ความกล้าหาญ การติดสินใจภายใต้เหตุผลอันเหมาะสม การมองการณ์ไกล ภาวะผู้นำที่จะนำพาประเทศชาติสู่ความยั่งยืน


4. Any research possibilities?
"ภาวะผู้นำที่มีผลต่อการฟื้นตัวของวิกฤตเศรษฐกิจ"

 

Ph.DP


หัวข้อ สอนเด็กให้คิดเป็น


ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย เดือดร้อน ส่วนหนึ่งเนื่องจาก คน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ขาดความสามารถ ด้านการคิด การวิเคราะห์ การไตร่ตรอง การใช้วิจารณญาณและขาดจิตสำนึกที่ดี ในการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกัน แต่ละคนมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน พื้นฐานทางการศึกษาต่างกัน มีสันดานต่างกัน การปลูกฝังความรู้ ความคิด ทัศนคติ ก็ต่างกัน แน่นอน ย่อมทำให้พฤติกรรมต่างกันด้วย แล้วคนเหล่านั้นมาอยู่ในสังคมเดียวกัน ความวุ่นวายจึงเกิดขึ้น อย่างที่ทุกคนได้เห็นในขณะนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเยาวชน เด็ก ๆ ทั่วประเทศมองภาพผู้ใหญ่ เสพข่าวสาร บันเทิงทั้งในและต่างประเทศ โดยขาดพื้นฐานของการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดควรเลือกบริโภค หรือไม่ควรเลือก IT มีเพื่อให้ค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับไปใช้เล่นเกมจนติดกันทั้งประเทศ ไม่เป็นอันเรียนหนังสือ ผู้ประกอบการก็มองเห็นแต่ประโยชน์ ไม่มองถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอนาคตของชาติ โทรศัพท์มือถือมีใช้เพื่อการสื่อสารที่เป็นประโยชน์หรือบันทึกภาพที่สร้างสรรค์ เด็ก ๆ กลับนำไปใช้ในการเล่นการพนันไฮโล บันทึกการทะเลาะวิวาท หรือบันทึกกิจกรรมทางเพศ ซึ่งที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย จากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและควรเข้ามาจัดการ มิใช่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยใดหน่วยหนึ่ง แต่ควรร่วมมือกันทั้งระบบ เริ่มจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการให้นโยบายหรือรัฐบาล ที่ต้องแก้ปัญหาเป็นองค์รวม เริ่มจากการวางรากฐานทางการศึกษาให้เด็ก ๆ ที่จะเป็นอนาคตของชาติ " รู้จักการคิดเป็น" แบบไหนคือคิดเป็น คิดเป็นคือคิดวิเคราะห์ได้ แยกแยะได้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ และต้องสร้างทัศนคติที่ดีในการคิด เมื่อคิดได้ คิดเป็นแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นด้วย ดังนั้น คุณธรรม จริยธรรม Ethical Capital จาก ทฤษฎี 8K's ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อนำมาใช้ก็จะสร้างจิตสำนึกสาธารณะได้ด้วย คนเราลองมีคุณธรรมเสียอย่าง ความโลภ การเอาเปรียบ การคอรัปชั่น ก็จะน้อยลง การประกอบกิจการใด ๆ ก็ตาม ก็จะสุขสงบมากขึ้น ความอยากได้ อยากมี ก็น้อยลง การเลือกบริโภครวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันก็จะมีคุณค่ามากขึ้น เยาวชนก็จะรู้จักการปฏิบัติที่เหมาะสมขึ้น สังคมก็จะน่าอยู่มากกว่าที่เป็นอย่างทุกวันนี้ ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทย ควรจะเป็นผู้นำในเรื่อง " สอนเด็กให้คิดเป็น" หน่วยอื่น ๆ ก็ควรให้ความร่วมมือ ในเป้าหมายเดียวกัน ทุกภาคส่วนก็จะถูกขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กันเพื่อความเป็น Sustainabilityของ Thailand


ด้วยความเคารพ


Jiraphorn Sawasdiruk WWW.ji2359.ob.tc
e-mail : [email protected] MP.087-066-2359
Ph.D SSRU 3

1. Anything to do with 8 K's , 5 K's
ประธานาธิปดีโอบามาเป็นผู้ที่มี Human Capital และ Talent Capital ในการนำพาอเมริกาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้รวดเร็วกว่าผู้นำในชาติอื่น

 

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ตอบข้อ  5  ค่ะ

 

Read  article  in  Newsweek

•1.       Anything  to  do  with  8 K's , 5 K's

ประธานาธิปดีโอบามาเป็นผู้ที่มี  Human  Capital  และ  Talent  Capital  ในการนำพาอเมริกาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้รวดเร็วกว่าผู้นำในชาติอื่น

•2.      Any  link  between  human  capital  and  financial  capital  ?

ทีมเศรษฐกิจของโอบามา  มีความสามารถทำให้สถาบันการเงินในอเมริกามีความเข้มแข็งขึ้นหลังจากการประชุม  G8  และ  G20

•3.      You  will  learn  more  about  leadership - what  about  leadership  in  this  article?

ความฉลาด  ความกล้าหาญ  การติดสินใจภายใต้เหตุผลอันเหมาะสม  การมองการณ์ไกล  ภาวะผู้นำที่จะนำพาประเทศชาติสู่ความยั่งยืน

•4.      Any  research  possibilities?

"ภาวะผู้นำที่มีผลต่อการฟื้นตัวของวิกฤตเศรษฐกิจ"

 

     Ph.DP

หัวข้อ  สอนเด็กให้คิดเป็น

 

            ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย  เดือดร้อน  ส่วนหนึ่งเนื่องจาก  คน  ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ขาดความสามารถ  ด้านการคิด  การวิเคราะห์  การไตร่ตรอง  การใช้วิจารณญาณและขาดจิตสำนึกที่ดี  ในการใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกัน  แต่ละคนมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน  พื้นฐานทางการศึกษาต่างกัน  มีสันดานต่างกัน  การปลูกฝังความรู้  ความคิด  ทัศนคติ  ก็ต่างกัน  แน่นอน  ย่อมทำให้พฤติกรรมต่างกันด้วย  แล้วคนเหล่านั้นมาอยู่ในสังคมเดียวกัน  ความวุ่นวายจึงเกิดขึ้น  อย่างที่ทุกคนได้เห็นในขณะนี้  สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเยาวชน  เด็ก ๆ ทั่วประเทศมองภาพผู้ใหญ่  เสพข่าวสาร  บันเทิงทั้งในและต่างประเทศ  โดยขาดพื้นฐานของการคิดวิเคราะห์  ไตร่ตรองว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี  สิ่งใดควรเลือกบริโภค  หรือไม่ควรเลือก  IT มีเพื่อให้ค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับไปใช้เล่นเกมจนติดกันทั้งประเทศ  ไม่เป็นอันเรียนหนังสือ  ผู้ประกอบการก็มองเห็นแต่ประโยชน์  ไม่มองถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอนาคตของชาติ  โทรศัพท์มือถือมีใช้เพื่อการสื่อสารที่เป็นประโยชน์หรือบันทึกภาพที่สร้างสรรค์  เด็ก ๆ กลับนำไปใช้ในการเล่นการพนันไฮโล  บันทึกการทะเลาะวิวาท  หรือบันทึกกิจกรรมทางเพศ  ซึ่งที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย  จากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น  ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและควรเข้ามาจัดการ  มิใช่ใครคนใดคนหนึ่ง  หรือหน่วยใดหน่วยหนึ่ง  แต่ควรร่วมมือกันทั้งระบบ  เริ่มจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการให้นโยบายหรือรัฐบาล  ที่ต้องแก้ปัญหาเป็นองค์รวม  เริ่มจากการวางรากฐานทางการศึกษาให้เด็ก ๆ ที่จะเป็นอนาคตของชาติ " รู้จักการคิดเป็น" แบบไหนคือคิดเป็น  คิดเป็นคือคิดวิเคราะห์ได้  แยกแยะได้ว่าอะไรดี  อะไรชั่ว  อะไรควรทำ  อะไรไม่ควรทำ  และต้องสร้างทัศนคติที่ดีในการคิด  เมื่อคิดได้  คิดเป็นแล้ว  ต้องปฏิบัติให้เป็นด้วย  ดังนั้น  คุณธรรม  จริยธรรม  Ethical  Capital  จาก  ทฤษฎี  8K's  ของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เมื่อนำมาใช้ก็จะสร้างจิตสำนึกสาธารณะได้ด้วย  คนเราลองมีคุณธรรมเสียอย่าง  ความโลภ  การเอาเปรียบ  การคอรัปชั่น  ก็จะน้อยลง  การประกอบกิจการใด ๆ ก็ตาม  ก็จะสุขสงบมากขึ้น  ความอยากได้  อยากมี  ก็น้อยลง  การเลือกบริโภครวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันก็จะมีคุณค่ามากขึ้น  เยาวชนก็จะรู้จักการปฏิบัติที่เหมาะสมขึ้น  สังคมก็จะน่าอยู่มากกว่าที่เป็นอย่างทุกวันนี้ 

          ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทย  ควรจะเป็นผู้นำในเรื่อง  " สอนเด็กให้คิดเป็น" หน่วยอื่น ๆ ก็ควรให้ความร่วมมือ  ในเป้าหมายเดียวกัน  ทุกภาคส่วนก็จะถูกขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กันเพื่อความเป็น Sustainabilityของ Thailand

ด้วยความเคารพ

   Jiraphorn  Sawasdiruk   WWW.ji2359.ob.tc    

e-mail : [email protected]  MP.087-066-2359

                                                                              Ph.D  SSRU  3

 

ตอบการบ้านข้อ3"แนวโน้มการเลิกจ้างงานจะเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้(2008) หากวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจยังไม่คลี่คลายจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในปีหน้าเด่นชัดขึ้น โดยภาคการผลิตสินค้าและบริการที่อิงตลาดในประเทศจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชะลอตัว "แนวโน้มการเลิกจ้างงานจะเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ หากวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจยังไม่คลี่คลายจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในปีหน้าเด่นชัดขึ้น โดยภาคการผลิตสินค้าและบริการที่อิงตลาดในประเทศจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชะลอตัว จากข่าวสารดังกล่าว  คนว่างงานหรือการถูกเลิกจ้างงานมีแนวโน้มลงลดแล้ว

คงต้องหาบริษัทต่างๆ ต่อไปแต่สำหรับการบรรจุครูผู้จบการศึกษาของสนง.เขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ เท่าที่  คือ จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานีและสุพรรณบุรีได้บรรจุไปแล้วจังหวัดละเกือบ 100 คน

ตอนนี้คุณลูกกำลังสอนคุณแม่สมศรีส่งBlog  อยู่ค่ะ(081-7556338)

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     พวกเราต้องขอขอบพระคุณอย่างมากที่ท่านอาจารย์ได้จัด Morning Talk ให้พวกเราอีกครั้งหนึ่ง โดยเชิญอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ มาร่วมบรรยายในหัวข้อ Thesis ในเชิง Qualitative

     ก่อนอื่นพวกเราต้องขอแสดงความยินดีกับทางอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ที่ได้รับรางวัล Thailand Top 100 HR จัดโดย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความชื่นชมครับ

     และต้องขอขอบพระคุณทางอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สละเวลามาให้ข้อคิดและความรู้กับพวกเราอย่างมาก ๆ เกี่ยวกับเรื่องการทำ Qualitative Thesis ให้หัวข้อ Organization Learning ซึ่งพวกเราก็ได้รับความรู้เป็นอย่างมากว่าการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่ควรจะเป็น

1. Culture

2. Leader

3. Formal and Informal Learning

4. Strategy

5. Dynamic

6. Structure

    สำหรับตัวผมได้ Coaching สองบริษัทที่ทำธุรกิจด้าน IT และได้ทำตามขั้นตอนที่ทางอาจารย์ได้สรุปอยู่แล้ว ดังนั้นผมจะเขียนขั้นตอนและวิธีต่าง ๆ ที่ทำเพื่อสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้จากเรื่องจริงและทำจริงในสองบริษัทนั้น  เพราะว่าในธุรกิจ IT ถ้าไม่มี Learning Organization จะไม่สามารถยืนดยู่ได้อย่างยั่งยืนหรือการขาด Sastainability Capital(ทุนแห่งความยั่งยืน) นั่นเอง และจะจัดส่งให้ภายในเร็ววันนี้นะครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

Image008

Image005

 

 

 

บรรยากาศก่อนเรียน Morning Talk โดยเชิญอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

มาร่วมบรรยายในหัวข้อ Thesis ในเชิง Qualitative

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ขออนุญาต  ตอบ  ข้อ  3  เรื่องเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับการจ้างงานอย่างไร  ธุรกิจในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง  ในช่วง  2  เดือนที่ผ่านมา

 


จากสภาวการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่เผชิญกับวิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เป็นผลให้อุปสงค์ต่อสินค้าและบริการต่างๆ ในตลาดทั่วโลกสูญหายไปอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน หลังจากปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐ อันเนื่องมาจากสินเชื่อ

ซับไพรม์ ได้ลุกลามส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง สร้างความสูญเสียในระบบการเงินโลกสูงขึ้นไปถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ตามการประเมินล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) ซึ่งระบุไว้ในรายงานเมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ผลกระทบจากวิกฤติการเงินที่แผ่ขยายกว้างออกไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ส่งผลให้ IMF ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2552 นี้ลงมาที่ร้อยละ 0.5 (จากประมาณการเดิมอยู่ที่ร้อยละ 2.2) ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือกว่า 60 ปี สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทั่วทุกภูมิภาคของโลกส่งผลต่อภาวะการมีงานทำของแรงงานในหลายประเทศทั่วโลก และยิ่งทำให้ตลาดสินค้าโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่มีความจำเป็นน้อย เช่น ที่อยู่อาศัย รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มียอดขายลดลงเป็นประวัติการณ์ และภาวะดังกล่าวนี้กระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจส่งออกของไทย

การว่างงานในเดือนธันวาคม ... เพิ่มขึ้นกว่า 2 แสนคนจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคหลักของโลก ส่งผลกระทบให้ธุรกิจส่งออกของไทยหลากหลายสาขากำลังประสบปัญหาอย่างหนัก
หลังจากอุปสงค์ทั่วโลกที่หดหายไปอย่างรวดเร็ว โดยผลกระทบเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 การส่งออกและการท่องเที่ยวหดตัวลงเป็นตัวเลข 2 หลักต่อเนื่องมาถึงเดือนธันวาคม เป็นสาเหตุให้ธุรกิจเริ่มลดกำลังการผลิต ลดเวลาทำงาน ตลอดจนลดจำนวนพนักงานลงให้สอดคล้องกับภาวะการผลิต หรือบางรายอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการลง ส่งผลให้ปัญหาการจ้างงานเริ่มเป็นที่น่าวิตกมากขึ้น

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวเลขการว่างงานล่าสุด ณ เดือนธันวาคม 2551 มีจำนวนผู้ว่างงาน 538,500 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้น 220,000 คนจากเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2551 ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเดือนที่อัตราการว่างงานลดลง นอกจากผู้ว่างงานจะเพิ่มจำนวนขึ้นแล้ว ในกลุ่มผู้มีงานทำยังมีผู้ทำงานไม่เต็มเวลา (ทำงานน้อยกว่า 7 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน) เพิ่มขึ้น 103,000 คน สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีผู้มีงานทำลดลง ที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลง การผลิตสิ่งทอ การผลิตขั้นมูลฐาน การฟอกหนังและตกแต่งหนัง การผลิตยานยนต์ การผลิตอุปกรณ์การขนส่งอื่นๆ การพิมพ์โฆษณา การผลิตกระดาษ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานลดลงเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคหลักๆ ของโลก

แนวโน้มการว่างงานอาจเพิ่มขึ้นแตะ 1.5 ล้านคน ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัว
สิ่งที่น่ากังวลคือ การว่างงานเพิ่มขึ้นในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2551 เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระแสการเลิกจ้างที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย โดยเป็นการเลิกจ้างในกิจการเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานในภาวะที่ยอดขายและคำสั่งซื้อหายไปถึงร้อยละ 20-30 ต่อไปได้ แต่ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่ยังเลือกใช้แนวทางรักษาพนักงานไว้ แต่มีการปรับลดวันทำงาน ลดโอทีและโบนัส ซึ่งหากยอดสั่งสินค้าในรอบต่อไปยังคงไม่ฟื้นตัวดีขึ้นจากที่เป็นอยู่ ธุรกิจคงจะมีการทยอยปลดพนักงานตามมาอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2552 เป็นช่วงที่การว่างงานตามฤดูกาลจะสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูที่ทำการเกษตรกรรม ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการว่างงานในเดือนไตรมาสแรกจะสูงขึ้นมาเกิน 1 ล้านคน

จากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า การว่างงานมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยตามสมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย การส่งออกของไทยในปี 2552 อาจจะหดตัวลงร้อยละ 7.0-12.0 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจต่ำเพียงร้อยละ 0.0-1.2 ในกรณีดังกล่าว คาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาจมีระดับประมาณร้อยละ 55.0-56.8 จากร้อยละ 69.3 ในปีก่อนหน้า ซึ่งจะนับเป็นระดับการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำกว่าในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และคาดว่าจะส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานในปี 2552 อาจมีระดับขึ้นไปใกล้หรือเกินกว่า 1.5 ล้านคน

หากพิจารณาเป็นรายประเภทธุรกิจ ธุรกิจที่มีตลาดส่งออกหดตัวลงอย่างรุนแรง รวมถึงธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการขนส่งเพื่อการส่งออก เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะลดการจ้างงานลงมากที่สุดในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า ตามทิศทางภาวะยอดขายที่คาดว่าจะยังคงหดตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงการว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 87,000-116,000 คน อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน ประมาณ 49,000-70,000 คน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ประมาณ 115,200-153,600 คน เฟอร์นิเจอร์ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ประมาณ 56,400-94,000 คน ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว ประมาณ 40,000-72,000 คน ธุรกิจขนส่ง โดยสารและคมนาคมอื่นๆ ประมาณ 65,000-100,000 คน สำหรับธุรกิจอื่นๆ เมื่อคำนึงถึงแรงงานบางส่วนที่ไหลกลับเข้าไปทำงานในภาคเกษตรกรรมแล้ว จะมีจำนวนผู้ว่างงานรวมสุทธิประมาณ 103,750-105,200 คน โดยคาดว่าการดูดซับแรงงานโดยภาคเกษตรอาจน้อยกว่าระดับเฉลี่ยของปีก่อนๆ เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง รวมทั้งความต้องการพืชผลการเกษตรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมลดน้อยลง ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่สภาพอากาศจะแห้งแล้ง

นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่คาดว่าจะว่างงานมีจำนวนประมาณ 158,000-184,000 คน เมื่อรวมกับผู้ว่างงานที่มีอยู่แล้วในระบบประมาณ 540,000 คน คาดว่าจำนวนผู้ว่างงานสุทธิในช่วงครึ่งแรกปี 2552 อาจขึ้นไปที่ระดับ 1.28-1.52 ล้านคนในบางเดือน คิดเป็นอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 3.4-4.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด นับเป็นอัตราที่สูงสุดตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

โดยช่วงเวลาที่ปัญหาการว่างงานรุนแรงที่สุด อาจเป็นช่วงประมาณต้นไตรมาสที่ 2 ก่อนที่จำนวนผู้ว่างงานจะค่อยๆ ลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลด้านฤดูกาล ที่เข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้ภาคเกษตรกรรมสามารถดูดซับแรงงานว่างงานตามฤดูกาลกลับเข้าไปทำงานได้มากขึ้น และผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ทยอยได้งานทำ ขณะที่ภายใต้สมมติฐานประมาณการในกรณีพื้นฐานที่เศรษฐกิจยังมีอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกได้ อาจมีการจ้างงานกลับเข้ามาจากภาคธุรกิจและโครงการของภาครัฐ (ในกรณีนี้ คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการรองรับปัญหาการว่างงานของรัฐบาลอาจช่วยรองรับแรงงานได้บางส่วน รวมทั้งภาวะการส่งออกอาจจะผ่านพ้นช่วงถดถอยต่ำสุดไปได้) อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัวและการฟื้นตัวล่าช้าออกไป ปัญหาการว่างงานจะเป็นภาระหนักสำหรับรัฐบาลที่ต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาแก้ไขผลกระทบในขอบเขตที่กว้างขวางและกินระยะเวลายาวนานขึ้น

โดยสรุป จากสัญญาณการว่างงานที่เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2551 ประกอบกับภาคธุรกิจส่งออกจะยังคงมีแนวโน้มถูกกระทบหนักจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสถดถอยรุนแรงมากขึ้นกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการเลิกจ้างในภาคธุรกิจแผ่ขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรก ปี 2552 เป็นช่วงที่การว่างงานตามฤดูกาลจะสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูที่ทำการเกษตรกรรม ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการว่างงานในไตรมาสแรกจะสูงขึ้นมาเกิน 1 ล้านคน จาก 538,500 คนในเดือนธันวาคม 2551 และเมื่อรวมกับการทยอยเลิกจ้างในภาคธุรกิจในเดือนต่อๆ มา ตลอดจนผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่คาดว่าจะว่างงานประมาณ 158,000-184,000 คน ก็คาดว่าในช่วงที่ปัญหาการว่างงานรุนแรงที่สุด จำนวนผู้ว่างงานทั้งหมดอาจจะเพิ่มขึ้นไปถึง 1.28-1.52 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 3.4-4.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด นับเป็นอัตราที่สูงสุดตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 โดยการคาดการณ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2552 อาจจะหดตัวลงร้อยละ 7.0-12.0 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจต่ำเพียงร้อยละ 0.0-1.2

อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะลดการจ้างงานในระยะเดือนถัดๆ ไป ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง อุตสาหกรรมโลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การขนส่งและคมนาคม เป็นต้น ปัญหาการว่างงานอาจจะเข้าขั้นรุนแรงที่สุดประมาณช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ก่อนที่จำนวนผู้ว่างงานจะค่อยๆ ลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลด้านฤดูกาล ที่เข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้ภาคเกษตรกรรมสามารถดูดซับแรงงานว่างงานตามฤดูกาลกลับเข้าไปทำงานได้มากขึ้น และผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ทยอยได้งานทำ ขณะที่ในกรณีที่มาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาลบังเกิดผล และการส่งออกผ่านพ้นช่วงถดถอยต่ำสุดไปได้ อาจมีการจ้างงานกลับเข้ามาจากภาคธุรกิจและโครงการของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัวและการฟื้นตัวล่าช้าออกไป ปัญหาการว่างงานจะเป็นภาระหนักสำหรับรัฐบาลที่ต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาแก้ไขผลกระทบในขอบเขตที่กว้างขวางและกินระยะเวลายาวนานขึ้น

ปัญหาการว่างงานถือเป็นวาระสำคัญเร่งด่วนอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่ภาครัฐต้องเร่งหาแนวทางป้องกัน รวมทั้งเตรียมมาตรการรองรับกับจำนวนผู้ถูกเลิกจ้างโดยธุรกิจภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมา รัฐบาลได้บรรจุมาตรการแก้ไขปัญหาผู้ว่างงานไว้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายแนวทาง อย่างไรก็ตาม มาตรการส่วนใหญ่มุ่งช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนระยะสั้น เช่น การลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค การให้เงินช่วยเหลือค่าครองชีพซึ่งมุ่งไปที่ผู้รายได้น้อย การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่มาตรการช่วยเหลือไปที่หัวใจหลักของปัญหาคือการทำให้คนมีงานทำนั้น ส่วนหนึ่งรัฐบาลได้มีแผนดำเนินการไว้ เช่น โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน วงเงิน 6,900 ล้านบาท โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและงานก่อสร้างในท้องถิ่น และการก่อสร้าง (เช่น การจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร แหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการจัดการน้ำ การก่อสร้างทางในหมู่บ้าน การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน การปรับปรุงสถานีอนามัย) วงเงินรวมประมาณ 7,200 ล้านบาท รัฐบาลควรเร่งดำเนินการมาตรการที่มีแผนการอยู่แล้วให้เกิดผลโดยเร็ว แต่ต้องยอมรับว่ามาตรการที่ออกมาอาจยังไม่เพียงพอที่จะรับมือปัญหา โดยในกรณีเลวร้าย ถ้าการว่างงานสูงถึงไปถึง 1.5 ล้านคน หมายความว่าในระบบเศรษฐกิจจะมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ล้านคนจากปีก่อน

ในระยะจากนี้จนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ปัญหาการว่างงานคงจะเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องเตรียมแผนมาตรการเพิ่มเติมเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะรุนแรงกว่าที่คาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าหากรัฐบาลจะมีมาตรการชุดใหม่ออกมา ควรให้เป็นมาตรการมุ่งไปที่การสร้างงานโดยตรงเพื่อรองรับผู้ว่างงาน ซึ่งน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีผลต่อเนื่องและยั่งยืนมากขึ้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลอาจต้องมีการแผนการจัดหางบประมาณเพิ่มเติมสำหรับโครงการดังกล่าว เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้ว่างงาน (ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งรัฐบาลจ้างโดยตรง หรือการให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่มีจ้างงานตามแนวนโยบายของรัฐบาล) ทั้งนี้ ในกรณีของผู้ว่างงานที่มีทักษะความรู้ อาจหาช่องทางให้มีการสร้างงานที่สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงแรงงานเหล่านั้นเข้ากับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนของรัฐบาล ให้เกิดการพัฒนาชุมชนหรือต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์สำหรับชุมชนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ก็มีโครงการพัฒนาทักษะเสริมอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ว่างงานเพื่อออกไปประกอบอาชีพต่อไป ซึ่งถ้าโครงการภายใต้งบประมาณของรัฐบาลต่างๆ ได้ถูกออกแบบให้มีการสร้างตำแหน่งงาน การพัฒนาทักษะความรู้ในการทำงาน และการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศควบคู่กันไปด้วย จะทำให้การใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดก่อเกิดผลทวีคูณทางเศรษฐกิจได้มาก ขณะเดียวกัน มาตรการต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ก่อเกิดผลในการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่กำลังเดือดร้อนอย่างแท้จริง

 

 

 

     ด้วยความเคารพ

    นางจิราพร  สวัสดิรักษ์  www.ji2359.ob.tc

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

หนู (สมศรี  นวรัตน์) วันนี้หนูขอเกรินเรื่อง.....บรรยากาศในการเรียน Morning Talk โดย ท่าน ศ. ดร.จีระ และทีมงาน ได้เชิญอาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ มาร่วมบรรยายในหัวข้อ Thesis ในเชิง Qualitative ซึ่งหนูแน่ใจ 100 % ว่า คือ L ที่ 2 ของ ศ. ดร.จีระ คือ Learning  Environment  การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือ การสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก  สนใจ  และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ ผู้เรียนมีโอกาส ได้สัมผัสกับธรรมชาติ(แจกันดอกไม้สด) ผ่อนคลายจากความเครียด(เสียงหัวเราะ...เสียงทักทายกัน...ของเพื่อน ๆ...พี่ ๆ....น้องๆ.....)  มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ต(ของSSU + Computerส่วนตัว) ในการรับส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ(ขณะที่เรียน) โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, & Mentoring(ของอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน) บรรยากาศของการ หาความรู้ที่ดี นั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องถึงมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)อย่างแน่นอนค่ะ (หนูมั่นใจคะ)..........โดยที่หนูกลับมาบ้านที่เพชรบุรี....หนูต้องมาค้นคว้า “Qualitative Research” = การวิจัยเชิงคุณภาพทันที่....เพราะหนูยังมีการบ้านท่านอาจารย์ ศ. ดร.จีระ อีก 4 ข้อใหญ่....แต่ละเรื่อง..ต้องวิเคราะห์ในภาพ.....Macro…..ถึงจะสมกับเป็น.......ศิษย์ของท่านอาจารย์...โดยหนูขอสรุปQualitative Research ที่ได้เรียนและค้นคว้าเพิ่มจาก รศ. ดร. รวีวรรณ ชินะตระกูล ซึ่งมีดังนี้นะคะ

1)     การวิจัยคุณภาพ = คำว่า คุณภาพเป็นศัพท์ทางวิชาการที่สื่อความหมายถึง คุณลักษณะและความหมายของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมมนุษย์ในสังคม การวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะสำคัญได้แก่

                  @ มองจากหลายมิติ

                  @ การเห็นภาพรวม

                  @ การไม่ใช้เกณฑ์ ของผู้วิจัย ในการตัดสินปรากฏการณ์หรือในการ ให้ความหมาย แก่พฤติกรรมของ ผู้ถูกวิจัย

2)     การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ วิธีศึกษาปรากฏการณ์จากสภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริงในทุกมิติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจปรากฏการณ์นั้น ๆส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม ข้อมูลเหล่านั้นเช่น ความรูสึกนึกคิด ประสบการณ์หรือปัญหาในการดำเนินชีวิตบางประการ

3)     ความแตกต่างที่สำคัญ จากการวิจัย เชิงปริมาณ คือ

@ ความแตกต่างในวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

@ การเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้โดยใช้วิธีการสังเกตจากการเข้าไปอยู่ในชุมชน (องค์กร) ประกอบกับ การสนทนา พูดคุยและการสัมภาษณ์อย่าง ไม่เป็นทางการ

@ การวิเคราะห์ข้อมูลคือ การนำข้อมูลที่เก็บได้ทั้งหมดมาหาข้อสรุป และอาจจะไม่ต้อง อาศัย ตัวเลขทางสถิติเป็นหลัก แต่หากสร้างขึ้นจาก สิ่งที่ได้จาก การสังเกต....การสัมภาษณ์....และการจดบันทึกมา ด้วยตัวเอง

      @ การวิจัยเชิงปริมาณให้ความสำคัญกับ การจัดการในเรื่องตัวเลขและสถิติ….ซึ่งไม่สามารถตอบปัญหาบางประการที่ ลึกซึ้งได้พอเพียงได้แก่.....เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม(Social) หรือวัฒนธรรม(Culture)ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมมาประกอบในการบรรยายและวิธีการวิจัยเชิงปริมาณไม่สามารถแสวงหาลักษณะที่สำคัญของข้อมูลเหล่นั้นมาได้ทั้งหมด

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอยุติเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ พรุ่งนี้จะคุยกับ ท่าน ศ. ดร.จีระ ในเรื่อง...องค์ประกอบที่สำคัญ ของ “Qualitative Research” = การวิจัยเชิงคุณภาพ เพราะท่านอาจารย์เคยบอกหนูว่า ต้องนอนให้พอดี- เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการ สุขภาพดี (Good Healthy) จะทำให้เรา มีกำลังกาย....กำลังใจ....มีพลัง=Synergy” และ ที่สำคัญ Healthy คือ ระบบ Macro ที่อยู่ใน HR Architecture ทฤษฎีของ ศ. ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของหนูค่ะ

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) วันนี้หนูขอเกรินเรื่อง.....บรรยากาศในการเรียน Morning Talk โดย ท่าน ศ. ดร.จีระ และทีมงาน ได้เชิญอาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ มาร่วมบรรยายในหัวข้อ Thesis ในเชิง Qualitative ซึ่งหนูแน่ใจ 100 % ว่า คือ L ที่ 2 ของ ศ. ดร.จีระ คือ Learning  Environment  การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือ การสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก  สนใจ  และมีส่วนร่วม บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ ผู้เรียนมีโอกาส ได้สัมผัสกับธรรมชาติ(แจกันดอกไม้สด) ผ่อนคลายจากความเครียด(เสียงหัวเราะ...เสียงทักทายกัน...ของเพื่อน ๆ...พี่ ๆ....น้องๆ.....)  มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ต(ของSSU + Computerส่วนตัว) ในการรับส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ(ขณะที่เรียน) โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, & Mentoring(ของอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน) บรรยากาศของการ หาความรู้ที่ดี นั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องถึงมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)อย่างแน่นอนค่ะ (หนูมั่นใจคะ)..........โดยที่หนูกลับมาบ้านที่เพชรบุรี....หนูต้องมาค้นคว้า “Qualitative Research” = การวิจัยเชิงคุณภาพทันที่....เพราะหนูยังมีการบ้านท่านอาจารย์ ศ. ดร.จีระ อีก 4 ข้อใหญ่....แต่ละเรื่อง..ต้องวิเคราะห์ในภาพ.....Macro…..ถึงจะสมกับเป็น.......ศิษย์ของท่านอาจารย์...โดยหนูขอสรุปQualitative Research ที่ได้เรียนและค้นคว้าเพิ่มจาก รศ. ดร. รวีวรรณ ชินะตระกูล ซึ่งมีดังนี้นะคะ

1)     การวิจัยคุณภาพ = คำว่า คุณภาพเป็นศัพท์ทางวิชาการที่สื่อความหมายถึง คุณลักษณะและความหมายของปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมมนุษย์ในสังคม การวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะสำคัญได้แก่

                  @ มองจากหลายมิติ

                  @ การเห็นภาพรวม

                  @ การไม่ใช้เกณฑ์ ของผู้วิจัย ในการตัดสินปรากฏการณ์หรือในการ ให้ความหมาย แก่พฤติกรรมของ ผู้ถูกวิจัย

2)     การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ วิธีศึกษาปรากฏการณ์จากสภาพแวดล้อม ตามความเป็นจริงในทุกมิติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจปรากฏการณ์นั้น ๆส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม ข้อมูลเหล่านั้นเช่น ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์หรือปัญหาในการดำเนินชีวิตบางประการ

3)     ความแตกต่างที่สำคัญ จากการวิจัย เชิงปริมาณ คือ

@ ความแตกต่างใน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล

@ การ เก็บรวบรวมข้อมูล ทำได้โดยใช้วิธีการสังเกตจาก การเข้าไปอยู่ในชุมชน (องค์กร) ประกอบกับ การสนทนา พูดคุยและการสัมภาษณ์ อย่าง ไม่เป็นทางการ

@ การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่เก็บได้ทั้งหมด มาหาข้อสรุป และอาจจะไม่ต้อง อาศัย ตัวเลขทางสถิติเป็นหลัก แต่หาก สร้างขึ้น จาก สิ่งที่ได้จาก....การสังเกต....การสัมภาษณ์....และการจดบันทึกมา ด้วยตัวเอง

      @ การวิจัยเชิงปริมาณให้ความสำคัญกับ การจัดการในเรื่องตัวเลขและสถิติ….ซึ่งไม่สามารถตอบปัญหาบางประการที่ ลึกซึ้งได้พอเพียงได้แก่.....เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม (Social) หรือวัฒนธรรม (Culture)ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมมาประกอบในการบรรยายและวิธีการวิจัยเชิงปริมาณไม่สามารถแสวงหาลักษณะที่สำคัญของข้อมูลเหล่นั้นมาได้ทั้งหมด

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอยุติเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ พรุ่งนี้จะคุยกับ ท่าน ศ. ดร.จีระ ในเรื่อง...องค์ประกอบที่สำคัญ ของ “Qualitative Research” = การวิจัยเชิงคุณภาพ เพราะท่านอาจารย์เคยบอกหนูว่า ต้องนอนให้พอเพียง...พอดี...เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการ....สุขภาพดี (Good Healthy) จะทำให้เรา มีกำลังกาย....กำลังใจ....มีพลัง=Synergy” และ ที่สำคัญHealthy คือ ระบบ Macro ที่อยู่ใน HR Architecture ทฤษฎีของท่าน ศ. ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของหนูค่ะ

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 081-9435033

 

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

หนู (สมศรี  นวรัตน์) วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่องQualitative Research ในส่วนองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งมีจำนวน 20 รายการที่หนูค้นคว้าเพิ่มจาก รศ. ดร. รวีวรรณ ชินะตระกูล มีดังนี้

1. ชื่อเรื่อง...ควรเป็นหัวข้อที่ไม่กว้างเกินไปหรือแคบจนเกินไป...มีประโยชน์และอยู่ในความสามารถของผู้วิจัยที่จะสามารถดำเนินการได้.....ต้องสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษา

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหา ผู้วิจัยต้องกำหนดให้ชัดเจน...จะทำให้การวางแผนวิจัยได้อย่างดี  ในการเขียนควรกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย...เพื่อนำไปสู่ วัตถุประสงค์ที่ทำการวิจัย

3. การกำหนด วัตถุประสงค์ของการวิจัย...เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของการวิจัย....ต้องมี

@ ต้องสอดคล้อง กับเรื่องที่ต้องการศึกษา

@ ต้องกำหนดให้ชัดเจน

@ ต้องสัมพันธ์กับขอบเขตของปัญหา...ที่จะศึกษา...เพื่อตอบ...ข้อคำถามได้ครบตามความต้องการ....สามารถบอกรายละเอียดว่าต้องการศึกษาอะไรบ้าง? เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลและการเสนอผลการวิจัยได้อย่าชัดเจน

4. กรอบทฤษฎีหรือกรอบความคิดที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย....โดยนักวิจัยที่ดีจึงต้องสร้างกรอบทฤษฎีหรือกรอบความคิดที่เหมาะสม..ที่สอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา...ซึ่งเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม...เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคม...วัฒนธรรม...ประเพณี...ค่านิยม...ความเชื่อ...และกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม.....แนวคิดในเรื่องบทบาท...สถานภาพอันเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในสังคม ถ้าเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้อย่างถ่องแท้...จะเห็นภาพปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่องอย่างชัดเจน...สามารถเชื่อมโยงปรากฏการณ์ต่าง ๆเข้าด้วยกัน....สามารถเสนอภาพสิ่งที่ศึกษาได้อย่างมีความหมาย....สามารถสะท้อนหรือถ่ายทอดสภาพความคิดของคนในชุมชนที่ศึกษาได้อย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริง.....งานวิจัยมีคุณค่ายิ่งขึ้น...งานวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ยึดแนวความคิดทางด้าน มานุษยวิทยา.....ศึกษาแบบภาพรวม (Holistic Approach) ซึ่ง จุดเน้น อยู่ที่แนวความคิดเรื่อง ระบบ(System Approach) และนักวิจัยจะมองปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในแง่ของระบบใหญ่(Macro)และระบบย่อย(Micro) ถือว่า สังคมหรือองค์กรเป็นระบบกระทำการ ชนิดหนึ่ง(เช่นเดียวกับ HR Architecture ทฤษฎีของท่าน ศ. ดร.จีระ)

5. การตั้งสมมติฐานของการวิจัย.....นักวิจัยเชิงคุณภาพ.....มักไม่นิยมตั้งสมมติฐาน.....จะมีแต่ปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการศึกษาและแนวความคิดเชิงทฤษฎีกว้าง ๆเท่านั้น

6.ขอบเขตของการวิจัย......การทำวิจัยแต่ละเรื่องควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน.....เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้...และ ตามลักษณะของปัญหาที่ต้องการศึกษา....โดย

            @ กำหนด...ขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร

@ กำหนด.....ชนิดของเครื่องมือ

@ ลักษณะและขอบเขตของ…..เนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้ สำหรับงานวิจัย

@ การกำหนดเรื่องที่ศึกษาว่า.....มีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา

 

ท่านอาจารย์คะ หนูง่วงนอนแล้ว....หนูขอเก็บอีก 14 รายการไว้วันพรุ่งนี้นะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 081-9435033

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำถามข้อที่ 1 การปฏิรูปการศึกษาของตำรวจและทหาร สามารถนำ HR Architectture มาประยุกต์ใช้คือ

     การวางรากฐานการศึกษา HR Architecture เพื่อที่จะปฏิรูปนั้น เราต้องมามองจุดแข็งและจุดอ่อนของระบบเดิมก่อนคือ

     จุดแข็งการคัดเลือกบุคลากรของการเป็นทหารและตำรวจนั้นส่วนใหญ่จะได้คนหัวกะทิ(ฉลาดและเรียนเก่ง)เพราะเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูง และในระบบก็มีการเรียนมากมายที่พัฒนาให้คนมีทุนทางปัญญาสูงมาก (Intellectual Capital) และยังมีหลักสูตรที่เข้มข้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นผู้นำเช่น ก่อนขึ้นเป็นผู้นำต้องเรียนหลักสูตรมากมายเช่น วปอ.เป็นต้น

     จุดอ่อน เราสามารถสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีทหารและตำรวจหลาย ๆ นายมีการกระทำซึ่งขาดทุนทางจริยธรรม(Ethical อย่างชัดเจน(ไม่ใช่ทุกคนนะครับ) ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญคือการปลูกฝังทุนทางจริยธรรม Ethical Capital เข้าไปในหลักสูตรของการเรียนเป็นทหารและตำรวจอย่างเข้มข้นคือต้องทำตั้งแต่ปีที่1 และเป็นวิชาหลัก หมายถึงต้องนำบุคลากรที่ได้รับการยอมรับและมีความรู้อย่างชัดเจน(อาจจะนำพระที่มีวิชาความรู้สูงและอาจรวมถึงการนั่งสมาธิ) และต้องมีรายละเอียดของหลักสูตรโดยวางแผนไว้อย่างมีระบบ รวมทั้งต้องมีการทำ Work Shop เช่นการพาไปดูคนที่ทำผิดและได้รับโทษ หรือการนั่งสมาธิตรึกตรองถึงสิ่งที่ผิดและถูก ผลของการทำผิดและถูกต่างกันอย่างไร เน้นการศึกษาทุนทางจริยธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นวิชาหลักและทำแบบ Life Long Learning สำหรับทหารและตำรวจ อาจจะช่วยปฏิรูปได้ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

    

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์รมภ์

คำถามข้อที่ 2 ปัญหาทุนมนุษย์ในฐานทัพอากาศเมื่อดูจากทฤษฎี 8K's,5K's และทฤษฎี 3 วงกลม(สภาพแวดล้อม,ความสามารถและการจูงใจ)คือ

     ในความคิดเห็นของผมนั้นเชื่ออย่าง 100% ว่าทหารอากาศของเรามีคุณภาพและศักยภาพมาก ๆ ส่วนสำหรับสภาพแวดล้อมนั้นก็เป็นอย่างทหารซึ่งปฏิบัติกันมานาน  ผมจะขอแสดงความคิดเห็นในส่วนเฉพาะที่น่าจะทำแล้วเพิ่ม Out Come ในทางที่ดีคือ

     1. Digital Capital ทุนทางด้าน IT เพราะการพัฒนาการทาง IT จะสามารถช่วยได้หลาย ๆ เรื่องเช่น การสื่อสารอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว,ช่วยในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ และอื่น ๆ อีกมากมาย

     2. Creativity Capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์) ในรูปแบบของทหารส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฏและประเพณีอย่างเข้มข้น ดังนั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก ที่จะทำให้เกิดความคิดเห็นใหม่ ๆ หรือดีกว่าเดิมจะได้รับการยอมรับ ดังนั้นถ้ามีผู้นำที่กล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นแล้วสร้างโอกาส Learning Opportunities ให้เกิดขึ้นในกองทัพอากาศ ก็จะสามารถที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืนได้(Sustainability Capital)

     3. การสร้างให้เกิดสิ่งดี ๆ ต่องเนื่องจนเป็นทุนทางวัฒนธรรม Cultural Capital จะเป็นอีกกุญแจหนึ่งของความยั่งยืนที่แท้จริง (Sustainability Capital)

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

 

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

คำถามข้อที่ 4 การเปรียบเทียบ Employment และ Employee Ability

     กรณีที่หนึ่ง Employment นั้นการตัดสินใจอยู่ที่ผู้จ้าง

     สำหรับตำแหน่งหน้าที่ลูกจ้างทั่ว ๆ ไป ไม่มีความสามารถพิเศษหรือโดดเด่นนั้น  ผู้จ้างจะมีทางเลือกมากมายและสารมารถเลือกได้ตามใจชอบ

     Employee Ability นั้นการตัดสินใจอยู่ที่ผู้ถูกจ้าง

     สำหรับกรณีนี้หมายถึง ความต้องการบางตำแหน่งต้องการความสามารถพิเศษ หรือความรู้เฉพาะทาง หรือคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากคนอื่น ก็จะทำให้บุคคลเหล่านี้มีทางเลือกว่าจะทำงานกับใคร หรืออาจจะสามารถทำธุรกิจของตัวเองได้

     ดังนั้นทุก ๆ คนยังมีโอกาสที่จะสามารถเลือกได้ว่าท่านต้องการเป็น Employment หรือต้องการเป็นกลุ่มที่มี Employee Ability ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

    

เรียน ท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านของวันที่ 8-8-52

ข้อ 1.การนำ HR Architecture มาประยุกต์ใช้ คำตอบ คือ การนำ Creative Innovation มาประยุกต์ใช้ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ทันต่อโลกาภิวัตน์ สุดท้ายจะส่งผลต่อ ความยั่งยืน ความสุข ความสมดุล

ข้อ 2. ปัญหาทุนมนุษย์ในฐานทัพอากาศ คืออะไร ศึกษาข้อมูลจาก ทฤษฎี 8K’s , 5 K’s และ 3 วงกลม

ก่อนตอบคำถามข้อนี้หนูขอให้ความคิดเห็นส่วนหนึ่งก่อนว่า ฐานทัพอากาศ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้มแข็ง มีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาก เป็นหน่วยงานที่เป็นเอกลักษณ์ มีศักยภาพสูง แต่ถ้านำทฤษฎี 8K’s , 5 K’s และ 3 วงกลม มาใช้ในการวิเคราะห์ ก็จะสามารถตอบคำถาม ได้ดังนี้

กรณีทฤษฎี 8K’s สามารถกล่าวได้ว่าขาด Intellectual Capital , Happiness Capital , Talent Capital ขออธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้

กรณี Intellectual Capital เพราะ ขาดการวิเคราะห์เป็น คิดเป็น โดยเป็นหน่วยงานที่ยังคงใช้วิธีการเดิมๆ ซึ่งปัจจุบันถือว่าล้าสมัยแล้ว แต่ถ้าจะถามว่า มีทุนทาง IT หรือ ไม่ เชื่อว่า มี แต่ไม่ได้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ถือว่า ขาด Intellectual Capital รวมถึงการขาด Talent Capital ด้วย เพราะขาดทักษะในการบริหารจัดการให้ทันต่อโลกสมัยใหม่

กรณี Happiness Capital เพราะเป็นหน่วยงานที่จำเป็นต้องมีกฎระเบียบที่เข้มแข็งมาก แต่สภาพสังคมที่จัดว่าดี ทุกคนอยู่อย่างยั่งยืน และมีความสุขได้ จะต้องเป็นการปฏิบัติตนในลักษณะที่ใช้กฎระเบียบที่น้อยลง ให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน และโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการอิสระ จึงเชื่อมั่นว่า เป็นองค์กรที่ขาด Happiness Capital

กรณีทฤษฎี 5K’s ขอตอบว่า ขาด Creativity Capital , Innovation Capital เพราะเชื่อได้ว่า เป็นหน่วยงานที่มี Knowledge Capital ที่ดี และมาก แต่ไม่ได้นำมาใช้ให้ก่อประโยชน์และทันต่อโลกยุคใหม่ และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ในระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะจะส่งผลกระทบต่อทุนอื่นๆในทฤษฎี 8K’s และ 5 K’s

กรณี 3 วงกลม ซึ่งประกอบด้วย

1. Context ถือว่า ดี เข้มแข็ง

2.Competency ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

2.1 Functional Competency จัดว่า ดี เหมาะสม เชื่อว่า บุคคลในองค์กรนี้มีความรู้ แต่ไม่นำมาใช้ เพราะแต่ละบุคคลมีพื้นฐานทางความรู้ที่ดี ศึกษาดูงานต่างประเทศบ่อยมาก ย่อมก้าวทันต่อวิทยาการสมัยใหม่ แต่ปัญหาอาจอยู่ที่การนำมาใช้ นำมาปฏิบัติงาน

2.2 Organizational Competency จัดว่า ขาดในข้อนี้ เพราะเห็นได้จากการไม่ปรับองค์กรให้ทันต่อโลกสมัยใหม่

2.3 Leadership Competency จัดว่า ค่อนข้างดี โดยเฉพาะเรื่อง Trust ที่มีสูงมาก

2.4 Entrepreneurial Competency จัดว่า ดีในเรื่องของความรู้สึกการเป็นเจ้าของว่า ทุกคนรักในหน่วยงานของตนมาก แต่ระยะยาวอาจมีปัญหา เพราะไม่สามารถรักษาองค์กรให้ยั่งยืนได้ เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานประเภทเดียวกันของประเทศอื่น เนื่องจากประเทศอื่นก้าวหน้าล้ำลึกไปมากแล้ว

2.5 Macro and Global Competency กรณีนี้อาจต้องปรับปรุงเพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

3. Motivation ถือว่า ดี มีขั้นตอนที่เด่นชัด และคนส่วนใหญ่ในองค์กรยอมรับและพอใจ

เรียน ท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านของวันที่ 8-8-52 ข้อ 4. เรื่อง เปรียบเทียบ concept employment กับ employee ability ว่าเหมือนกัน หรือ ต่างกันอย่างไร

คำตอบ Employment หมายถึง การจ้างงาน ซึ่งการจ้างงานนี้แต่ละประเทศจะให้ความหมายไม่เหมือนกัน บางประเทศนับการจ้างงานเฉพาะบุคคลที่มีงานประจำทำ แต่บางประเทศนับทุกคนที่ถูกว่าจ้าง โดยไม่ได้คำนึงถึงลักษณะการว่าจ้างว่า การว่าจ้างนั้น เป็นลักษณะของงาน part time ถือว่า มีการจ้างงานแล้ว นอกจากนี้การจ้างงานในบางสถานการณ์ บางสถานที่ เกิดการจ้างงานที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดแรงงานแฝง ซึ่งหมายความว่า มีการจ้างงาน แต่ไม่ได้เกิดผลงานจากการว่าจ้าง หรือ เรียกว่า บุคคลที่เป็นแรงงานแฝง นั้น จะมี หรือ ไม่มีในองค์กรนั้นๆ ก็ไม่ได้ทำให้ผลงานขององค์กรเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ทำให้ต้นทุนขององค์เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้น การจ้างงานในความหมายนี้ จึงขึ้นอยู่กับ ผู้ว่าจ้าง

Employee Ability หมายถึง ความสามารถของลูกจ้างที่ทำให้เกิดผลงานจากการว่าจ้าง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในองค์กร หรืออาจกล่าวว่า ความสามารถในการว่าจ้างงานขององค์กรที่มีต่อบุคคลนั้น เพราะบุคคลที่จะถูกว่าจ้างนั้น จะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร ดังนั้น การจ้างงานในความหมายนี้ จึงขึ้นอยู่กับ ผู้ถูกว่าจ้าง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา

081-309-5959

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำตอบข้อ 3 อัตราการว่างงานเป็นอย่างไร

ผมได้หาข้อมูลจากข่าวได้ตามข้างล่างนี้ว่าอัตราการว่างงานลดลงครับ

และแน่นอนถ้าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว(ท่านนายกอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเราฟื้นตัวแบบรูปตัว V ครับ) อัตราการว่างานย่อมจะต้องลดลงผันแปรไปตามกันครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

http://www.newswit.net/read/831795.html

ปชป.มั่นใจ ไทยเข้มแข็ง ช่วยฟื้นศก.

เสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 13:46 น. — INN : ข่าวเศรษฐกิจ

http://www.innnews.co.th/biz.php?nid=182319

นายอัครวิทย์ สุวรรณภักดี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผย ตัวเลขการหดตัวของการถดถอยทางเศรษฐกิจภายหลังรัฐบาล บริหารประเทศมา 6 เดือนว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2552 เศรษฐกิจของประเทศ มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากพบว่า มีอัตราการว่างงานลดลง จากประมาณ 800,000 คน เหลือประมาณ 600,000 คนขณะที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคในประเทศ ลดลงจาก ลบร้อยละ 22.6 เป็น ลบร้อยละ 11.7 ส่วน ผลผลิตด้านอุตสาหกรรม ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน จากลบร้อยละ 25.5 เหลือ ร้อยละ 6.7 อย่างไรก็ดีหากแผนไทยเข้มแข็ง มีเงินอัดฉีดลงสู่ระบบอย่างเต็มตัว เชื่อว่า ประเทศไทย ภายใต้การทำงานของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมจำได้ว่ามีคำถามเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจตอนปี 40 "ต้มยำกุ้ง" แตกต่างกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 52 "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์" อย่างไร?

ผมขอตอบในมุมมองของผมดังนี้คือ

1. ตอนปี 40 "ต้มยำกุ้ง" เกิดขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือสถาบันการเงินและผู้ที่ใช้เงินกู้เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ จะเกิดภาวะล้มละลายทันทีไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้เสีย และเกิดการตั้งศูนย์ Nation Credit Bureau (NCB)เพื่อเก็บข้อมูลว่าคนเหล่านี้เป็นหนี้เสีย และมีคนจำนวนมากไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบบการเงินได้จนปัจจุบันนี้

2. ตอนปี 52 "วิกฟตแฮมเบอร์เกอร์" เกิดจากวิกฤตการเงินภายนอกประเทศ ทำให้ส่งผลกระทบอย่างช้า ๆ และเพิ่มมากขึ้น ๆ ผลกระทบเกิดกับผู้ทำธุรกิจส่งออกเป็นหลักและกระทบชิ่งเรื่อย ๆ มากินลึกเข้าสู่ธุรกิจทุก ๆ ระบบ ส่งผลต่อหน่วยงาน องค์กร ธุรกิจทั้งหลายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ที่ขาดประสิทธิ์เต็ม ๆ แต่ผู้ที่มีการปับเปลี่ยนองค์กรอยู่ตลอดเวลาโดยยึดเป้าหมายสร้างนวัตกรรม Innovation Capital และพัฒนาต่อเนื่องเป็นวัฒนธรรม Cultural Capital จะสามารถต่อสู้อยู่ได้และต่อเนื่องสู่ความยั่งยืน Sustainability Capital

3. คนที่เคย Pain เมื่อปี 40 แล้วสามารถต่อสู้จนถึงปัจจุบันกลับจะได้ Gain ในสภาวะของ "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์" ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียน ท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านของวันที่ 1-8-52 ข้อ2.ให้เปรียบเทียบ ทฤษฎี 4L's กับ Peter Senge ดังนี้

Learning Methodology = Team Learning , System Thinking คือ การเข้าใจวิธีการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนแบบเป็นทีม หรือ การเรียนแบบวิเคราะห์ อย่างมีขั้นตอน

Learning Environment = Personal Mastery คือ การสร้างสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้ เป็นการสร้างว่า ถ้าจะรู้อะไร ให้รู้ลึก รู้จริง จากสิ่งรอบตัว โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือเปรียบเสมือนว่า นำสิ่งแวดล้อมมาเป็นการเรียนรู้ได้ เพราะแต่ละอย่าง จะมีธรรมชาติเป็นของตนเอง

Learning Opportunity = Mental Model คือ การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ คือ เมื่อเห็นแบบอย่าง หรือ มีแนวความคิดร่วมกันแล้ว ถือว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้ ว่า แบบอย่างนั้น บ่งบอกอะไร สะท้อนความคิดอะไร ผลแนวคิดเป็นเช่นไร สามารถปรับปรุงได้หรือไม่อย่างไร

Learning Community = Share Vision คือ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้เมื่อทุกคนในองค์กรจะต้องมีความมุ่งมั่น มีความต้องการร่วมกัน ถึงจะเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกันได้ โดยแต่ละหน่วยขององค์กรจะสามารถที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่แตกต่างกัน แล้วนำมาสังเคราะห์ร่วมกันได้ เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่อง Qualitative  Research ในส่วนองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งมีจำนวน 20 รายการที่หนูค้นคว้าเพิ่มจาก รศ. ดร. รวีวรรณ ชินะตระกูล ต่อจากเมื่อคืน(9ส.ค.52)ในข้อที่ 7- 10 ก่อนนะคะดังนี้

          7. ข้อจำกัดในการวิจัยการทำวิจัยแต่ละเรื่อง ผู้วิจัยย่อมทราบว่ามีข้อจำกัดในการทำวิจัยในเรื่องอะไรบ้าง  เช่นด้านเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการสัมภาษณ์ การศึกษาเอกสาร ฯลฯ

8.คำจำกัดความของศัพท์เฉพาะ ผู้วิจัยอาจมี คำเฉพาะที่ใช้ในการวิจัย  เนื่องจากคำที่ใช้มี ความหมายคลุมเครือหรือแปลความได้หลายความหมาย  จึงจำเป็นต้องใช้คำจำกัดความไว้เพื่อให้ผู้อ่านมีคามเข้าใจได้ตรงกับผู้วิจัย สำหรับคำที่เป็นศัพท์ทางวิชาการที่ไม่ค่อยได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย  ก็ควร ต้องให้คำจำกัดความไว้เช่นกัน ถึงแม้ว่าผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตของความหมายของคำ แต่ก็ไม่ควรให้ความหมายที่แตกต่างมากไปจากความหมายโดยทั่วไปของคำนั้น เนื่องจากจะทำให้ผู้อ่านตีความหมายของผู้ทำการวิจัยผิดพลาดได้

 

9. ประโยชน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ

- ช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์สังคมอย่างลึกซึ้ง และได้พบข้อเท็จจริงใหม่ ๆ

- ใช้ในการทำวิจัยที่ให้ความสำคัญแก่สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

- ใช้ในการศึกษากระบวนการ (Process evaluation)

-ใช้ในการทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรม และใช้ในการวิจัยและพัฒนา (R&D)

- เหมาะสำหรับการวิจัยในสังคมที่มีผู้ไม่รู้หนังสือหรือต้องสื่อสารกันคนละภาษา

- ใช้ผลการวิจัยประกอบการตัดสินใจและการวางแผนได้ดี

10. การเลือกตัวอย่างของการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพถูกจำกัดโดยวีการ (Methodologies) ไม่ให้ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่เกินกว่าที่จะควบคุมได้ นักวิจัยจะพยายามเลือก หน่วย ของการวิจัยที่มี ขนาด ที่ตัวเองพอจะทำการวิจัยให้ดี เนื่องจากผู้วิจัยจะต้องออกไปปฏิบัติงาน การเลือกหน่วยนั้นต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวิจัยเป็นเกณฑ์ หน่วยเหล่านี้ประกอบด้วย ชุมชน องค์กรนั้น ๆที่จะศึกษา นักวิจัยต้อง ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ โดยเฉพาะทฤษฎีทาง Ecological Psychology หรือทฤษฎีทาง Cultural Psychology  หรือ Personality เป็นต้น เมื่อเลือก หน่วย ของการวิจัยได้แล้ว นักวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องศึกษาหน่วยของตนจนเกิดความเข้าใจในระบบความสัมพันธ์ต่าง  ๆ การศึกษาหน่วยในเบื้องต้น   อาจทำได้โดยอาศัยผู้เป็น Key informants ได้แก่ บุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับหน่วยทีจะวิเคราะห์นั้นดีพอประมาณ  ต่อไปก็อาจ เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการที่เรียกว่า “Expert choice” นั่นก็คือ  การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง  ประกอบกับ คำแนะนำจากผู้เป็น Key Informants วิธีการแบบ Expert choice นี้ได้เปรียบการสุ่มตัวอย่างเป็นเกณฑ์ ผู้วิจัยอาจ เลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อจะหาความแตกต่างทั้งในด้านบทบาทหน้าที่ (Function) และด้านโครงสร้าง (Structure)

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอยุติเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ พรุ่งนี้จะคุยกับท่าน ศ. ดร.จีระ ในเรื่อง...องค์ประกอบที่สำคัญ ของ “Qualitative Research” พรุ่งนี้ หนูจะคุยต่อในข้อที่ 11-20 นะค่ะ

 

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel 081-9435033

วิธีการเรียนรู้(Learning Methodology) ตามทฤษฎี 4L’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ ด้วยวิธี Morning Talk โดยเชิญอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ มาร่วมบรรยายในหัวข้อ Thesis ในเชิง Qualitative สนุกมาก...ม๊าก ๆ..ค่ะ  ดูรูปภาพก็แสดงถึง Happiness  จริง ๆ นะค่ะ

ความสุขหาได้ "ไม่ยาก...ถ้าเรา....จะค้นหา"  โดยเฉพาะ ความสุขจากการ "เรียนในสิ่งที่เราชอบ"

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

Tle. 081-9435033

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ


ตอบการบ้าน ข้อ 1. ศึกษา HR Architecture จะประยุกต์ใช้การปฏิรูปการศึกษาของตำรวจและทหารในเมืองไทยได้อย่างไร
การจะปฏิรูปการศึกษาของทหารและตำรวจไทยนั้น ก่อนอื่นเรามาดูพื้นฐานเดิมที่ทั้งสองหน่วยงานที่เป็นกำลังสำคัญในการปกป้องชาติ บ้านเมืองก่อน เดิมการส่งเสริมด้านการศึกษาของทั้งสองหน่วยงาน ก็ทำได้เข้มข้นดีมาก มีการฝึกกองกำลัง ให้ความรู้และพัฒนากองกำลังอยู่สม่ำเสมอ มีการส่งเสริมและพัฒนาในทุกระดับ ระเบียบวินัยก็ยอดเยี่ยม แต่แนวคิด ทัศนคติ เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงความมั่นคงที่สำคัญของบ้านเมือง การจะพัฒนาแนวคิด ทัศนคติที่เหมาะสมได้ก็ต้องให้การศึกษาเป็นตัวจักรในการจัดการ การปฏิรูปการศึกษาของทหารและตำรวจสามารถทำได้ตามทฤษฎี 4K's ดังนี้
เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ คือใช้วิธีการเรียนรู้หลากหลาย ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย การมอบหมายงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วจากการใช้สื่อ IT ในทุกระดับ ทุกหน้าที่ ทุกตำแหน่ง จัดวิธีการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ เช่นการเรียนรู้จากสถานการณ์ต่าง ๆ หรือที่เราเรียกว่าเป็นการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ ในทุกกระบวนการเรียนรู้ต้องเน้นคุณธรรม จริยธรรม และหลักแห่งความถูกต้อง ที่ประเทศและสถาบันพึงได้รับ


สร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ให้เหมาะสม ลดความตึงเครียดในการเรียน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ วินัยและรอยยิ้มต้องมาพร้อมกับผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ความกังวลความเครียด ความกลัว ไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ มีอุปกรณ์ในการเรียนรู้ที่ทันสมัย และเพียงพอกับผู้เรียน


สร้างโอกาสในการเรียนรู้ คือเรียนได้ทุกโอกาสอย่างมีความสุข และสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่แปลกใหม่หลาย ๆ รูปแบบ ทั้งจากภูมิปัญญาของประเทศไทยและต่างประเทศ การศึกษาดูงาน การจัดรูปแบบการเรียนรู้ควรให้เกิดขึ้นตลอดเวลา ในโอกาสที่แตกต่างกัน


สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ก่อน แล้วพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่กว้างขึ้น คนในองค์กรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยไม่แบ่งตำแหน่งและสถานะ มีการเพิ่มประสบการณ์ให้แก่กันและกัน คำว่าลูกน้องและนาย ไม่ควรให้เกิดช่องว่างมากนัก


ด้วยความเคารพ
จิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

 

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

หนูขอตอบคำถาม ดังนี้ค่ะ 

ข้อแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจ กับการจ้างงาน

เศรษฐกิจ คือ ระบบ

การจ้างงาน เป็น ส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ

 

ศึกษาธุรกิจที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ใน 2-3 เดือนที่ผ่านมา

รถจักรยานยนต์
         อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 อย่างไรก็ดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐส่งผลให้อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2552 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม ดังนี้
         - การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 121,704 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีการผลิต 182,137 คัน ร้อยละ 33.18 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ร้อยละ 6.43
         - การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 135,369 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 150,126 คัน ร้อยละ 9.83 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ร้อยละ 28.84
         - การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป จำนวน 9,083 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีการส่งออก 11,530 คัน ร้อยละ 21.22 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนเมษายน 2552 ร้อยละ 33.49
         -  ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2552 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 6

บทวิเคราะห์ จากข้อมูลดังกล่าวตามความเห็นของข้าพเจ้า คิดว่า จากการที่อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ในภาคการผลิตและการจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น เดือน เมษายน และเดือน พฤษภาคม 2552 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และราคาน้ำมันของตลาดโลกเริ่มมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ผู้บริโภคจึงหันมาใช้รถจักรยานยนต์มากขึ้น และเหตุผลอีกประการหนึ่ง เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีการนำเอากลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ เช่น เงินดาวน์ 0% หรือ ระยะเวลาในการผ่อนใช้เวลานานขึ้น จึงทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์มีแนวโน้มการขยายตัวและการจ้างงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2552
         - ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2552 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 296 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 263 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 12.55 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,488.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการลงทุน 4,878.07 ล้านบาท ร้อยละ 94.51 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 8,440 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 4,934 คน ร้อยละ 71.06
                   - อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดิน 22 โรงงาน และอุตสาหกรรม ซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 20 โรงงาน
                   - อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2552 คือ อุตสาหกรรม ผลิตสุรา กลั่นสุรา เงินทุน 1,500 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แก้ว เงินลงทุน 1,260.71 ล้านบาท
                   - อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2552 คือ อุตสาหกรรม ผลิตถุงพลาสติกและกระสอบพลาสติก จำนวนคนงาน 2,072 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 746 คน
         - ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2552 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 104 ราย น้อยกว่าเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 114 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.77 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการจำนวน 6,343.66 ล้านบาท มากกว่าเดือนเมษายน 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,309.28 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานจำนวน 3,844 คน มากกว่าเดือนเมษายน 2552 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 2,905 คน
                   - อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2552 คืออุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 13 รายรองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 12 ราย
                   - อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2552 คืออุตสาหกรรมผลิตแก้ว เส้นใยแก้ว ผลิตภัณฑ์แก้ว เงินทุน 4,970 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ เงินทุน
624 ล้านบาท
                   - อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมผลิตแก้ว เส้นใยแก้ว ผลิตภัณฑ์แก้ว คนงาน 1,388 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 520 คน

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา 084-8073320

นำมาเล่าเพิ่มเติม จากการค้นคว้า เผื่อจะได้แลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ค่ะ

รายงานการศึกษาวิจัยของสถาบันเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum ) เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 มค.2552 ระบุว่า ราคาของทรัพย์สินประเภทหุ้นและบ้าน ที่กำลังจะพังทะลายต่อไปในปีนี้ คือความเสี่ยงใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจโลกและอาจก่อความเสียหายถึง 1 ล้านๆเหรียญสหรัฐ

รายงานความเสี่ยงของโลก ในปี 2552 (The Global Risks 2009 report) ยาว 37 หน้า ระบุว่า ประเทศในโลกส่วนใหญ่ กำลังประสบกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่มืดมน โดยตลาดจะมีความผันผวน การว่างงานจะเพิ่มมากขึ้น และความเชื่อมั่นขององค์กรธุรกิจและผู้บริโภค จะลดลงต่ำเป็นประวัติการณ์

รายงานนี้ได้คาดการณ์ว่า การใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลของรัฐบาลทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินที่เสียหายจากวิกฤติสินเชื่อ นอกจากไม่อาจแก้ไขปัญหาได้แล้ว กลับเป็นการก่อปัญหาเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะต้องเผชิญ ในปี 2552 มี 36 เรื่อง ที่อาจสร้างผลกระทบต่อปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่เลวร้ายอยู่แล้ว ให้เลวร้ายลงไปอีก โดยมี 5 เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ

เรื่องที่ 1 ความผันผวนของราคาอาหารในตลาดโลก ซึ่งจะยังมีความไม่แน่นอนตลอดช่วงหลายนับจากนี้

เรื่องที่ 2 คือ ความผันผวนของราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก ซึ่งจำเป็นต้องจับตาอย่างใกล้ชิดตลอดช่วง 12 เดือนนับจากนี้

เรื่องที่ 3 คือ ความตกต่ำของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องจับตาดู 2 ตัวแปรสำคัญ คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก

เรื่องที่ 4 คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เนื่องจากรายได้จากการส่งออกสินค้าลดลงมาก แม้รัฐบาลจีน จะพยายามกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ เพื่อชดเชยรายได้จากการส่งออก แต่เศรษฐกิจของจีน น่าจะเติบโตลดลงจากร้อยละ 9 เมื่อปีที่แล้ว เหลือต่ำกว่า ร้อยละ 6 ในปีนี้

เรื่องที่ 5 คือ ประเทศต่างๆ มีแนวโน้มจะต้องเผชิญกับวิกฤติด้านงบประมาณมากขึ้น เนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมากในการแก้ไขวิกฤติและให้ความช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหางบประมาณและวิกฤติเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ย่ำแย่ลงไปอีก

ขอบพระคุณค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

จากการศึกษา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในขณะนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้พัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecard) และจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล โดยมี รอง ผบ.ตร. (บร) เป็นหัวหน้าคณะทำงาน  ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เป็นรูปธรรมชัดเจน  สอดคล้องกับแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ 

ขั้นการดำเนินการ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแสวงหาข้อมูลในการบริหารทรัพยากรบุคคล จากหน่วยต่างๆ ในสังกัด ตร. ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อที่จะทราบ จุดแข็ง  จุดอ่อน และความคาดหวังในการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ตร. ในภาพรวม  เพื่อที่จะนำข้อมูลไปพิจารณากำหนดประเด็นยุทธศาสตร์  เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด และนำมาสรุปเป็นแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลของ ตร.   ซึ่งจะเป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ตร. ในอนาคต ส่งผลให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลของ ตร. ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีทิศทาง ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและความเจริญของประเทศอย่างยั่งยืน  

ศึกษา HR Architecture จะประยุกต์ใช้การปฏิรูปการศึกษาของตำรวจและทหารในเมืองไทยได้อย่างไร

จาก HR Architecture - ตำรวจและทหารจะอยู่ในส่วนของ Demand side ในการจะปฏิรูปการศึกษาของตำรวจและทหาร ควรจะปฎิรูป โดยการนำเอาการเรียนรู้ตลอดชีวิต เข้ามาปฎิรูปตำรวจและทหาร จะทำให้สามารถพัฒนาบุคลากรตลอดเวลา ตลอดชีวิตของการรับราชการตำรวจ จะต้องขวนขวายหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง หน่วยงานต้องมีเป้าหมาย หลักการในการเพิ่มพูนความรู้ทักษะในอาชีพให้แก่บุคลากรตลอดเวลา ด้วยทุกรูปแบบของการศึกษาและฝึกอบรม ทุกแหล่งความรู้ ทุกแหล่งข้อมูล ที่จะนำมาประสานประโยชน์ และในประการสำคัญ คือ ทำอย่างไรจึงปลูกจิตสำนึกให้บุคลกรใฝ่ที่จะเรียนรู้ด้วยการนำตนเองตลอดเวลา สามารถวางแผนในการศึกษาหาความรู้  เพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา

เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

ปัญหาทุนมนุษย์ในกองทัพอากาศ คืออะไรศึกษาข้อมูลจากทฤษฎี 8K 5K และ 3 วงกลม

จากการวิเคราะห์ปัญหาทุนมนุษย์ในกองทัพอากาศ ซึ่งมองว่า ในการพัฒนาศักยภาพของกองทัพปัจจุบันนี้ จากคำกล่าวของท่านอาจารย์ที่ว่า "สงครามในโลกาภิวัตน์จะไม่มีการรบกันด้วยอาวุธ แต่จะรบกันด้วยปัญญา" ดังนั้นจึงขอสรุปปัญหาคร่าว ๆ ตามทฤษฎี ดังต่อไปนี้ค่ะ

 8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านที่เป็นปัญหา

Ethical Capital    ทุนทางจริยธรรม คือ การบริหารจัดการยังเป็นระบบอุปภัมภ์ ดังนั้นก็ยังอิงกับการใช้ระบบพวกพ้องในการให้ตำแหน่งและการเลื่อนตำแหน่ง

Happiness Capital   ทุนแห่งความสุข คือ ในภาพของทหารเป็นหน้าด่านของการพยายามขจัดความขัดแย้ง หรือ การทำสงคราม ดังนั้นทุนแห่งความสุขอาจจะมีน้อย

Talented Capital     ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ คือ ในระบบการบริหารจัดการของกองทัพอากาศนั้นใช้ระบบการบริหารจัดการในระบบที่เป็นทางการ ทำให้ผู้ทีทำงานในองค์กร ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์

 

5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ  เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ด้านที่เป็นปัญหา

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ - ยังใช้ระบบการบริหารจัดการแบบราชการเดิม คือ ผู้บังคับบัญชาระดับล่างยังไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ ในการโต้แย้งและนำไปสู่แนวคิดใหม่ ๆ ในการทำงาน ซึ่งในระบบการทำงานของทหารนั้น จะมุ่งเน้นในเรื่องของการเคารพความอาวุโสมาก

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม - จากการขาดทุนทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ก็มีผลทำให้ไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เนื่องจาก นวัตกรรม เกิดจากความคิดสร้างสรรค์

Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์ -  ทางด้านการทำงานอย่างมีความสุข อาศัยการมีส่วนร่วมโดย ความร่วมมือจากทุกฝ่ายซึ่งมิใช่ มีส่วนร่วมโดยการถูกบังคับ

ทฤษฎี 3 วงกลม

1. Context  - สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานมีการทำงานเป็นขั้นตอน และมีความเรียบร้อย

2. Competencies - คนที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งหลักๆมักหาความรู้น้อยลงด้วย

3. Motivation - กองทัพอากาศยังไม่มีระบบการบริหารคนที่มีประสิทธิภาพ มีการเลื่อนยศโดยไม่มีกติกาที่ชัดเจน

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา  ปินตา 084-8073320

ขอแสดงความ ยินดี+ดีใจ กับ มหาบัณฑิต เพื่อนสนิทของลูกสาวที่จบป.โท “HR” ของ ม. ธรรมศาสตร์ ในวันจันทร์ 10 สิงหาคม 2552 เกิดเกลียวความรู้ (knowledge spiral) ที่ช่วยยกระดับ (Cross-leveling) ความรู้ (Knowledge) ความสามารถ(Ability) ทักษะ(Skill) เพื่อมาช่วยกัน พัฒนาสังคมไทย ด้วยการเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งทุนทางปัญญา อันจะนำไปสู่ ----->การลดลง---->ให้เหลือน้อย ๆๆๆ ตัด วงจรอุบาศ นี้ให้ได้นะคะ

--> ความไม่รู้(โง่)-->ความยากจน(จน)-->ความเจ็บป่วย(เจ็บ)

 

สมศรี นวรัตน์  Tel.081-9435033

 

ขอแสดงความ ยินดี+ดีใจ กับ มหาบัณฑิต เพื่อนสนิทของลูกสาวที่จบป.โท “HR” ของ ม. ธรรมศาสตร์ ในวันจันทร์ 10 สิงหาคม 2552 เกิดเกลียวความรู้ (knowledge spiral) ที่ช่วยยกระดับ (Cross-leveling) ความรู้ (Knowledge) ความสามารถ(Ability) ทักษะ(Skill) เพื่อมาช่วยกัน พัฒนาสังคมไทย ด้วยการเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งทุนทางปัญญา และเรามาเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Long Learning) อันจะนำไปสู่ ----->การลดลง---->ให้เหลือน้อย ๆๆๆ ตัด วงจรอุบาศ ข้างล่างนี้ให้ได้นะคะ

 

---> ความไม่รู้(โง่)------>ความยากจน(จน)------>ความเจ็บป่วย(เจ็บ)

สมศรี นวรัตน์  Tel.081-9435033

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบการบ้านข้อที่ 1 ก่อนนะคะในเรื่อง HR Architecture มาประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปการศึกษาตำรวจและทหารในเมืองไทยได้ดังนี้

            1. HR ในระบบทหารอาชีพจากกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับการเลี้ยงดูมา อย่างดี เนื่องจากสุขภาพที่ดี (Good Health) เพราะถ้าสุขภาพไม่ดีคงจะมาศึกษาวิชาการทหารอากาศคงไม่ได้แน่นอน ขณะเดียวกันเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรและมาศึกษาต่อในระบบที่สูงขึ้นของ 3 กองทัพ (กองทัพอากาศ, บก, ตำรวจ) เช่น ผู้บังคับบัญชา, โรงเรียนเสนาธิการ,วิทยาลัยกองทัพอากาศ, วปอ ซึ่งตรงนี้เป็น จุดแข็ง ของทหารและตำรวจ  ดังนั้นเมื่อมองเห็นจุดแข็งเหล่านี้น่าจะหาโอกาสนำ จุดแข็ง ไปปิด จุดอ่อน ต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น

                        - การมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภายนอก (Organization Network) กับภาครัฐอื่น เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อเชิญผู้มีความรู้ความสามารถมาสร้างเสริมความรู้สู่การปฏิบัติให้ เป็นรูปธรรม สามารถปฏิบัติได้จริง วัดผลได้ เกิดคุณค่ากับสังคม

                        - เป็นการนำ Knowledge ที่ทหาร/ตำรวจมีอยู่ในตัวบุคคล มาเชื่อมโยงกัน ทำให้เกิดการทำงาน ร่วมมือ ก่อให้เกิดสิ่งสร้างสรรค์ใหม่ ๆ (Creativity) และนำไปสู่การเกิดปัญญาสร้างสรรค์ เกิด Innovation และรูปธรรมการทำงานแบบใหม่  

            2. เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นสังคมทั้งภายในกองทัพอากาศ (Internal) และสังคมภายนอก (External) นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Community) นำไปสู่การทำงานร่วมกัน  การเรียนรู้ร่วมกัน เป็นทีม (Team Learning)

            3. การบริหารงานในกองทัพอากาศ ควรจะทำ ใช้ระบบการบริหารที่มีความยืดหยุ่น (Flexibility) และไม่แข็งตัว(Agility) มากเกินไป โดยควรทำวิจัย (Research) ในเรื่องทหารอากาศกับการพัฒนาด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติที่เกิดคุณค่าต่อสังคมภายนอกองค์กร

            4. การวิจัย HR ของกองทัพอากาศนำไปสู่การพัฒนาหน่วยงานในระดับต่าง ๆ อย่างไร? ในลักษณะของการปฏิบัติจริง (Performance)

            5. บรรยากาศในองค์กรกองทัพอากาศ ในลักษณะ

                        1) สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Share) เพราะทหาร, ตำรวจ มีลำดับชั้น (Hierarchy) ที่หลายขั้นตอน หลายระดับชั้น

                        2) Human  Capital ของทหาร , ตำรวจ มีมากมายอยู่แล้วจากการศึกษาในสถาบันทั้งหลาย แต่ ปัญหาอยู่ที่ ไม่ดึงทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ที่มี (มากด้วย) ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม (ทั้งภายในและภายนอก) ในลักษณะ รูปธรรม และเป็นที่ประจักษ์ ยอมรับของสังคมอย่างไร?

                        3) ในกองทัพอากาศและกองทัพบก, ตำรวจ มี Talented Capital อยู่มากมายทั้ง Knowledge Skill และ Attitude ควรจะมีการใช้ศักยภาพที่มีตรงนั้นหรือ Capital นี้ ดึงออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร สังคม และประชาชน (เริ่มจากประชาชนในกองทัพ หมายถึง ทหารชั้นผู้น้อยก่อนก็จะดีมากนะคะ)

                        4) ผู้นำในกองทัพ ทั้งกองทัพอากาศ กองทัพบก ตำรวจ ควรนำภาวะผู้นำที่มีออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะเป็น ’CEO ของแต่ละกองทัพ โดยเติมเต็ม (Fulfillment) ในกระบวนการคิด การให้กำลังใจ (Motivation) ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ ลงไปถึงแม่บ้าน (ระดับล่าง) เพราะถ้าครอบครัว (Family) มีความสุข (Happened) ทหารอาชีพก็จะมีความสุข

                        5) ผู้นำกองทัพต่าง ๆ ต้อง Reinforcement ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยการพูด ให้เขาเหล่านั้นมีกำลังใจและเติมเต็ม (Fulfillment) ให้ลูกน้อง ระดับต่าง ๆ ถ้ามีกำลังใจ มีการเสริมแรง อันจะนำไปสู่ Preferment ที่เกิด Value Added เกิดการทำงานที่ Change ในภาวะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมาจากโลกาภิวัตน์

                        6) ผู้นำต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) ให้รู้เท่าทันโลกปัจจุบัน เพราะต้อง ไม่ติดกับความคิดแบบเก่า ๆ แบบเดิม ๆ  ไม่ค้นหาสิ่งใหม่ ไม่ได้ เพราะโลกเปลี่ยนเร็ว เปลี่ยนทุกวัน ตอนนี้ปัญหาของประเทศไทย ของสังคม ทหารทั้งอากาศ ทหารบก ตำรวจ ต้องยื่นมือเข้ามาช่วย ประชาชนคนไทย และเป็นหน้าที่สำคัญของผู้นำ เพราะท่าน เป็นผู้นำ ต้องนำ คนไทย ช่วยเหลือคนไทย

                        7) ผู้นำที่มี ภาวะผู้นำ (Leadership) ต้องเป็น ศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจ (The Inspiration Leader) เพราะผู้นำมีทุนมากมายอยู่ ในมือ ทั้งทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทาง IT หรือ Digital Capital Knowledge โดยจะพบว่าทหารที่จบการศึกษาระดับ Ph.D. จำนวนมาก ควรจะดึงทุนที่มีอยู่มาสร้างและก่อให้เกิด Innovative และมีการบริหารนวัตกรรม (Innovative Management) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ Social และทำให้เป็นOrganize Culture เป็นรูปธรรมจริง ทำอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) จะส่งผลให้สังคมที่มีความสุข (Happiness Social) ทั้งใน บุคลากร ครอบครัวของเหล่าทัพและประชาชน เพราะท่าน อย่าลืมว่า เงินเดือน, ยศฐานะและบรรดาศักดิ์ของท่านมาจาก ภาษี ของประชาชนนะค่ะ

                        8) สิ่งเป็นจุดอ่อนของกองทัพทหารอากาศ, กองทัพบก และตำรวจ คือ Ethical Capital เพราะความสัมพันธ์เป็น แบบระบบอุปถัมภ์ (Patron –client Association System) คือ มีผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ เพราะเป็นสังคมที่มีการกำหนดสถานภาพ (Status) ของบุคลากรจากบนลงล่าง ความแตกต่างที่โครงสร้าง (Structure) ระหว่างผู้อุปถัมภ์ที่มีฐานะ ตำแหน่งสูงกว่า และผู้รับอุปถัมภ์ที่มีฐานะต่ำกว่า และความสัมพันธ์ไม่เท่าเทียมกัน นำไปสู่การทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลประกอบการ (Productivity) หรือ การบริการทางสังคมก็เกิดไม่ ดีเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับทุน (Capital) ที่มีอยู่ใน มือของผู้บริหาร

                        9) ผู้บริหารทุกระดับและทุกกองทัพควรรู้จัก การบริหารความประทับใจ (Impression Management) ต้องรู้จัก โอกาส ที่จะ ชู บทบาท (Role) ภาพลักษณ์ (Image) ของตนเอง ให้โดดเด่น (Set a high Profile) หรือ ลดบทบาทให้น้อยลง (Keep a low profile)ให้ถูกกาลเทศะ คิดว่าถ้าเรายอม เสียเหลี่ยมเรากลับได้เหลี่ยมเพิ่มขึ้น (มี 4 เหลี่ยมถูกมุมออกไป แต่กลับได้เพิ่มเป็น 5 เหลี่ยม)

 

สรุปการวิเคราะห์

(1) การปฏิรูปการศึกษาของกองทัพ (อากาศ, บก, ตำรวจ) ควรปฏิรูปที่การศึกษาของบุคลากรทุกระดับ โดยเฉพาะผู้นำสูงสุด มีความรู้มาก แต่ไม่นำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเกิดประโยชน์ได้จริงให้ได้

(2) ปฏิรูปปัญญา เพราะทุนทางปัญญา คิดว่าผู้นำส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำปัญญา มาใช้จริง ให้เกิด ประโยชน์สุข กับประชาชน (ทั้งในกองทัพ) และประชาชนชาวไทย

(3) จริยธรรม ยังพบข่าวออกมาอยู่เสมอ ๆ ว่า ทั้งตำรวจ ทหาร (บก, อากาศ) ขาดจริยธรรม โดยเฉพาะทหารระดับผู้นำใช้อำนาจหน้าที่ไปสู่ Corruption เชิงนโยบาย

(4) ใช้อำนาจ (Power) ไม่เหมาะสม นำอำนาจไปหาผลประโยชน์ถึงแม้นมีการศึกษาดีแต่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ...มีความรู้ต้องคู่การมีคุณธรรม

(5) ทุนทางสังคม ทั้ง 3 กองทัพ มีสังคมที่เรียกว่า “Power of Power” ควรใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศไทย ความดีทำได้ง่ายถ้ามี Power หนุนนำ

(6) ทุนทาง IT กองทัพทั้ง 3 แห่งมีระบบ IT มากมาย ต้องใช้ให้เกิด Profit สูงสุด เกิด Service สูงสุด

(7)  เมื่อมีทุนต่าง ๆ มารวมกัน น่าจะส่งผลต่อการทำงานให้กับสังคม ให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งความสุขได้

(8) สังคมจะเป็นสังคมแห่งความสุขจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทุนต่าง ๆ ที่มีนำมาสร้างการพัฒนา (Social Development) อย่างต่อเนื่อง (Continues) จึงจะเกิดความสุขที่ยั่งยืน (Sustainability Happiness) 

 

หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ขอจบการวิเคราะห์เพียงเท่านี้ก่อนนะค่ะ ด้วยความเคารพยิ่ง

Tel. 081 – 9435033

ผมมีความสุขมากที่เห็น PhD Student มีความสามารถโดยเฉพาะเรื่องการโต้ตอบและถามกับ อ. ศิริลักษณ์ ชอบที่เราเริ่มมี Research Culture การเรียนรู้แต่ละเรื่องแต่ละอาทิตย์ควรจะเพิ่มมูลค่าและจบด้วยมี PhPโดยมีปรัชญาคู่ด้วย 

 

C→U→V

 

ขอแสดงความยินดีต่อการสอบที่มีวิธีการหาความรู้ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ การสอบนั้นเป็นแค่จุกเล็กๆ แต่ในการสอบครั้งที่ 2 จะเน้น OL กับ Leadership ผมจะหารือกับนักศึกษาอีกที ส่วน Final ไม่มีจะมี Public Seminar ให้กำหนดวันสถานที่แล้วก็ขออนุญาตในการจัดเตรียม

  • กำหนดหน้าที่ขอแต่ละคนให้มีบทบาทให้ดี (Role)
  • แบ่งหน้าทีให้ชัดเจนว่าใครทำอะไร
  • ผมจะวัดผลด้วยการดูว่า Role ของแต่ละคนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรและแต่ละคนเขียนว่าทำอะไรและมีอุปสรรคอะไรจึงทำไม่สำเร็จ ซึ่งปัจจุบันเรียกทฤษฎีนี้ว่าการทำงานแบ Cross Functional Team ในการสัมมนาตัวแทนที่เป็นผู้พูดไม่ใช่คนที่สำคัญที่สุดแต่คนที่อยู่เบื้องหลังก็สำคัญ
  • การเตรียมเอกสาร เชิญผู้เข้ามาร่วม คำถามที่ตัวเองถนัด
  • Role as Leader เป็นธนพลดีแล้ว แต่ผู้นำก็ต้องดึงความเป็นเลิศของทุกคนออกมา การแบ่งหน้าที่เพื่อให้ทุกๆคนได้แสดงออก ได้มีบทบาท เพราะผู้นำต้องกระตุ้นให้ทุกคนได้มีโอกาสปรับปรุงเพื่อให้ได้ผมสำเร็จที่ดีกว่าของเดิม แต่ถ้าผู้นำไม่มีผู้ตามก็คงไม่สำเร็จ ผู้นำต้องอย่ามองแต่ตัวเอง(ECO) ผู้นำต้องฟังให้เยอะและจุดสำคัญคือการตัดสินใจให้ดีรอบครอบ

การไป Kinokuniya ในครั้งนี้

  • ใช้เวลาให้คุ้มค่าคิดวางแผนก่อนไป
  • ทุกคนมารวมตัวกันที่ มหาวิทยาลัย 08.15 น.
  • 08.15-09.15 Morning Coffee จัดโต๊ะให้ดี
  • 09.15 นั่ง Taxi 3-4 คันไป สถานีรถไฟฟ้า BTS ที่ใกล้ที่สุดคือราชเทวี และนั่งรถไปลงที่สถานีพร้อมพงศ์ด้วยกัน
  • มีธง Ph.D แบบมีเสาสวยๆ ถือไปให้เขารู้ว่าเราคือใครเป็นใครด้วย
  • ทำงานเป็นทีมอย่าต่างคนต่างไป
  • ให้เอาน้องๆที่ดูแลเราไปด้วยเพื่อทำให้เขากว้างขึ้น
  • ผมขอเสนอว่าให้วิเคราะห์ร้านหนังสือจากเมืองนอกกับร้านหนังสือไทยว่าต่างกันอย่างไร
  • Habit ของคนไทยทำไมไม่เข้าร้านหนังสือหรืออ่านหนังสือ
  • ระหว่างที่นั่งรถไฟฟ้าไปให้สังเกตว่าคนเขานั่งทำอะไรเวลาอยู่บนรถไฟ
  • คุณเสกสรร ผู้จัดการร้านเป็นบุคคลที่น่าสนใจมาก ศึกษาว่าอาชีพแบบนี้ Career Path จะไปถึงไหน และทำแบบญี่ปุ่นหรือเปล่า ใครทำงานกับญี่ปุ่นบ้างสำคัญที่สุดก็คือความหลากหลายทางวัฒนธรรม รู้เขารู้เรา คุณเสกสรร ต้องปรับตัวอย่างไร
  • จุดแข็งของการบริหารงานแบบญี่ปุ่นคืออะไร
  • อะไรคือ Research Agenda ของเขาต่อไป
  • หลังจากจบการพูดคุณที่ร้าน Kinokunaya เราจะขึ้นไปที่ชั้น 5 ร้านภรณี ให้เชิญคุณเสกสรรมาร่วมด้วย อาจารย์ จะให้ทางร้านจัดโต๊ะไว้ต้อนรับ และจะเชิญผู้จัดการร้านภรณีมาคุยให้ฟัง ด้านบ้างเป็นศูนย์ Design อาจะเข้าไปเยี่ยมหรือเชิญผู้จัดการ้านมาเล่าให้ฟัง หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ
  • ช่วงท้ายก็จะเชิญเจ้าของ The Emporium มาพบ ช่วงแรกก็จะขอเวลาคุยก่อน หลังจากนั้นก็ไปดูตลาดสดของ Emporium ดูว่าสินค้าทางเกษตรมาสู่ผู้บริโภคคุณภาพดีขึ้นๆอย่างไร
  • ขากลับ ก็กลับด้วย BTS เหมือนเดิมอย่าขับรถไปเองไม่คุ้ม จอดรถไว้ที่มหาวิทยาลัยดีกว่า
  • การบ้าน ให้สรุปว่าการไปศึกษานอกสถานที่ครั้งนี้ได้อะไรบ้าง
  • มี Concept อะไรใหม่ๆ
  • ความคิดที่จะเพิ่มมูลค่าคืออะไร
  • มีกลุ่มหนึ่งถ่ายรูปลง Ph.P

                                                                                                                     จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่อง Qualitative  Research ในส่วนองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งมีจำนวน 20 รายการที่หนูค้นคว้าเพิ่มจาก รศ. ดร. รวีวรรณ ชินะตระกูล ต่อจากครั้งที่แล้ว องค์ประกอบในข้อที่ 11- 20 ดังนี้นะคะ

 

11. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย: เครื่องมือที่สำคัญก็คือ ตัวผู้วิจัย เพราะการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการใช้บุคคลไปสัมผัสกับบุคคลอื่นโดยตรง นอกจากตัวผู้วิจัยแล้ว ยังอาจใช้เครื่องมืออื่น ๆ ได้ทุกชนิด จนถือว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นMulti instrument Approach เครื่องมื้อนี้มีประโยชน์มากสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กล่าวคือ การบันทึกภาคสนามของนักวิจัย การบันทึกนี้จะระบุรายละเอียดต่าง ๆ ทีนักวิจัย ได้รับรู้ระหว่างการสังเกตหรือสัมภาษณ์ ได้แก่ กิจกรรมทีสังเกต พฤติกรรมที่เกิดขึ้น ปฏิกิริยา เวลา บุคคลกับสภาพแวดล้อม ให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการได้เหมือนกับผู้วิจัย

12. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล: เป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการเก็บรวบรวมได้  3  วิธี

            1) การเก็บรวบรวมข้อมูล  จากเอกสาร

            2)  การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสังเกต

3)  การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์

 

13. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัย: การเก็บข้อมูลภาคสนามต้องเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ และไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยอารมณ์ผูกพันมากเกินไป เพราะจะทำให้สูญเสียความเป็นกลาง ซึ่งจะทำให้การแปลข้อมูลเกิดอคติ (Bias) เชื่อถือไม่ได้ ถ้าเข้าไปโดยไม่มีอารมณ์ผูกพันก็อาจไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ที่จะไปศึกษาวิจัยกับผู้วิจัย การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัย เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ

 

14. ความเที่ยงตรงของข้อมูล:การวิจัยมักถูกนักวิจัยโดยทั่วไปสงสัยในความเที่ยงตรงของการเก็บรวบรวมข้อมูลและการแปลความหมายของข้อมูล นอกจากนั้นยังสงสัยในเรื่องความลำเอียง (bias) ในการแปลความของผู้วิจัยที่จริงแล้ว นักวิจัยเชิงคุณภาพมีเกณฑ์วัดความเทียงตรงของข้อมูลที่ได้มาเช่นเดียวกับนักวิจัยทั่วไป วิธีที่นักวิจัยเชิงคุณภาพใช้เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงคือ

1.      ทดสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง

2.   พยายามขจัดทีมาของความไม่เที่ยงตรง ซึ่งมี 2 ประการที่สำคัญ ได้แก่ ความไม่เที่ยงตรงของข่าวสารผู้ถูกสัมภาษณ์และความไม่เที่ยงตรงจากการสังเกตของนักวิจัย

3.  ควบคุมสถานการณ์วิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เทียงตรง นั่นคือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจระหว่างผู้วิจัยแลผู้ถูกวิจัย (Rapport) ใช้เวลาอยู่ในภาคสนามนานพอสมควรและสังเกตซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

 

15. ขั้นตอนการออกเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม:ก่อนอื่นนักวิจัยต้องทำความเข้าใจคำว่า ภาคสนาม เสียก่อน หมายถึงสถานที่ ทีนักวิจัยจะเข้ารวบรวมข้อมูล

 16. การวิเคราะห์ข้อมูล :การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นขั้นตอนทีสำคัญขั้นตอนหนึ่ง การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้จะวิเคราะห์ได้หรือไม่ จะวิเคราะห์อย่างไร เป็นปัญหาที่สำคัญมาก ยิ่งถ้าผู้วิจัย ปราศจากกรอบความคิด (Conceptual framework) การวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นไปได้ยาก เพราะผู้วิจัยไม่รู้ว่าจะเอาข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ได้อย่างไร ก่อนทำการวิเคราะห์ข้อมูล จำเป็นต้องนำข้อมูลมาจัดมาจัดระเบียบ แล้วโยงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ตามกรอบความคิดที่กำหนดไว้เสียก่อน

 

 17. การเขียนรายงานการวิจัยเป็นเรื่องสำคัญมากในงานวิจัยทุกประเภท ถึงแม้ว่านักวิจัยจะได้ดำเนินงานวิจัยอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการทุกประการ แต่ถ้า ไม่สามารถเขียนรายงานเสนอผลการวิจัยที่ทำมาได้ก็ไม่มีความหมายอะไร ฉะนั้น การเขียนรายงานที่ดีจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก

 

18.ประเภทของรายงานวิจัย รายงานวิจัยจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

            1. รายงานวิจัยที่มุ่งเสนอเพื่อเป็น การเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ งานวิจัยประเภทนี้จะพิถีพิถันของความถูกต้องด้านแนวความคิด (Concept) และระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) จึงไม่ค่อยคำนึงถึงความสิ้นเปลืองเวลาในการทำการวิจัยเท่าใดนัก งานวิจัยบางเรื่องดำเนินการมาแล้ว 5-6 ปี หรือ 10 ปี จึงจะมีผลงานเป็นรายงานออกมา ซึ่งถือว่ายังไม่ล้าสมัยโดยเฉพาะงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพราะผลงานทางวิชาการในลักษณะดังกล่าวจะเสริมต่อแนวความคิดทางทฤษฎี ข้อสมมติฐาน ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

            2. รายงานวิจัยเพื่อตอบสนองนโยบายการปฏิบัติงานขององค์กรและหน่วยงาน  เป็นงานวิจัยที่เน้นในแง่ของการประยุกต์หรือการปฏิบัติการ งานวิจัยประเภทนี้สำหรับด้านแนวความคิดและระเบียบวิธีวิจัยอาจมีการดัดแปลงหรือปรับปรุงค่อนข้างมาก เป็นงานวิจัยประเภทที่มุ่งศึกษาเพื่อนำไปแก้ปัญหา วางนโยบายหรือพัฒนาปรับปรุงเฉพาะเรื่อง

 

19. หลักการเขียนเชิงพรรณนาในรายงานการวิจัยมี 2 ลักษณะ คือ

            1) การพรรณนาความโดยแท้ (Pure description) เป็นการเขียนพรรณนาว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร มีอะไรหรือเป็นอย่างไร     

2) การพรรณนา เพื่ออธิบาย (Explanatory description) เป็นการพรรณนาความเพื่อมุ่งอธิบายโดยเชื่อมโยงเข้าไปสู่ตัวทฤษฎีที่นำมาใช้ เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรในเชิงเหตุหรือผล หรือ เชิงการทำหน้าที่ หรือเชิงความขัดแย้ง คำว่าอธิบายในภาษาวิจัยนั้นคือการเขียนในลักษณะที่เชื่อมโยงเข้าไปสู่แนวความคิด อาจเขียนจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทฤษฎี การพรรณนาความในงานวิจัยบางครั้งมีข้อสรุปในรูปของการอธิบาย ฉะนั้นการอธิบายความก็คือ การพรรณนาความรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมุ่งเชื่อมโยงตัวแปรและความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรเข้าด้วยกัน เป็นการแปลความหมายของข้อมูล คือ การอธิบายนั่นเอง

 

20.  ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ

            1) การที่จะเขียนรายงานวิจัยที่ดีได้ต้องหมั่นฝึกฝน โดยวิธีการฝึกที่ดีวิธีหนึ่งก็คือ การอ่านรายงานวิจัยที่ดี

            2) การวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ตามปกติแล้ว วิธีการเก็บข้อมูลจะไม่ได้กำหนดรูปแบบที่แน่ชัดออกมาเพื่อที่จะตอบปัญหาในข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้ข้อใดข้อหนึ่ง

            3. การเขียนข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติต้องพิจารณาว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ในทางปฏิบัติเพราะนักวิจัยอยู่ตรงกลางระหว่างเจ้าของงานคือหน่วยงานกับผู้ให้ข้อมูล

            4. การเขียนปัญหาหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นในการทำวิจัย เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มาก สำหรับนักวิจัยเชิงคุณภาพรุ่นหลัง ๆ หรือว่าคนอื่น ๆ ที่อ่านรายงานการวิจัยคุณภาพที่เกี่ยวกับปัญหาหรือประสบการณ์

            5. ลักษณะของการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น จะเขียนถึงตัวระบบที่ทำการศึกษารวมทั้งสภาพแวดล้อมด้วยนะคะ

 

หนูขอจบเรื่อง Qualitative  Research ที่ได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม...เพื่อเกิดประโยชน์สำหรับตัวหนู.....และเพื่อน ๆๆนะคะ

 

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel 081-9435033

 

เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

 

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบการบ้านเรื่อง การบริหารงานแบบญี่ป่น ซึ่งหนูคิดว่า ตรงกับทฤษฏี 8K’s + 5K’s + ทฤษฏี 3 วงกลม + 4L’s ของท่านศ. ดร. จีระ อาจารย์ของหนู

            จากการที่หนูได้อ่านหนังสือ “The Machine that Change the world” มีระบบการผลิตแบบ Lean Production หรือ Manufacturing Paradigm โดยยึดตามเป้าหมายพื้นฐานของ ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyoto Production System :TPS) หลักคือ การ ลดการสูญเปล่า ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการไหล สูงสุด

 

ความเหมือน กับทฤษฏี 8K’s + 5K’s + ทฤษฏี 3 วงกลม + 4L’s ของท่านศ. ดร. จีระคือ

            1.  Lean เป็นการเปลี่ยน Mindset ซึ่งเรื่อง Mindset ของท่านอาจารย์ได้พูดไว้ใน Talented Capital ไว้แล้ว (Knowledge + Skill + Mindset) อยู่ใน ทฤษฏี 8K’s แล้วคะ

2.  Lean ได้พูดถึงการทำงานที่สร้างการปรับปรุงแบบยั่งยืนคือ Sustainability Capital...ซึ่งทฤษฏี 8K’s ของท่าน ศ. ดร. จีระ ได้พูดไว้ในทฤษฏี 8K’s แล้วคะ

3. Lean การจัดสายธารคุณค่า (Value Stream Management) ในทฤษฏีของท่านศ. ดร. จีระได้พูด Knowledge Management :KM + ทฤษฏี Value Added = ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม = ได้จากการเปลี่ยน Data(ข้อมูล)----> ไปสู่ Information (ข่าวสาร)-----® Knowledge (ความรู้)®® Value Added (มูลค่าเพิ่ม)

4. Lean พูดถึงการสังเคราะห์วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ในทฤษฏีของท่านศ. ดร. จีระได้พูด ความคิดสร้างสรรค์(Creativity) และนวัตกรรม (Innovation) + Ideaใหม่ ๆๆ

5. Lean พูดถึงการการลงทุนในบุคลากร ผู้บริหารต้อง ปฏิบัติต่อพนักงานเหมือนกับเป็นสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets)ที่เป็นมนุษย์ในทฤษฏี8K’s ของท่านศ. ดร. จีระก็ได้พูด Human Capital + Intellectual Capital แล้วคะ

สรุปในทฤษฏี8K’s + 5K’s + ทฤษฏี 3 วงกลม + 4L’s ของท่านศ. ดร. จีระ  มีมากกว่าและคิดเป็นทฤษฎีไว้หมดแล้ว วันนี้หนูขอพูดคุย ทบทวนเท่านี้ก่อนนะคะ

 

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบการบ้านเรื่องEmployee ตรงกับทฤษฏี 8K’s + 5K’s + ทฤษฏี 3 วงกลม + 4L’s ของท่านศ. ดร. จีระ อาจารย์ของหนู

การจูงใจ พนักงานด้วย Motivation  เป็นเงื่อนไขของการได้รับการกระตุ้นโดยมีการให้ความหมายไว้ ดังนี้

1.   การจูงใจ หมายถึง "แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายในของบุคคลที่กระตุ้นให้บุคคลมีการกระทำ" (Schiffman and Kanuk. 1991:69)

2.   การจูงใจ เป็นภาวะภายใน ของบุคคล ที่ถูกกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรมอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง (แอนนิต้า อี วูลฟอล์ค Anita E. Woolfolk 1995)

3.   การจูงใจเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรม การกระทำหรือกิจกรรมของบุคคล โดยบุคคลจงใจ กระทำพฤติกรรม นั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ ต้องการ (ไมเคิล ดอมแจน Domjan 1996)

จูงใจในการทำงานได้ดังนี้

1.      พลัง (Energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำ หรือ พฤติกรรมของมนุษย์ ในการทำงานใดๆ ถ้าบุคคลมี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง ย่อมทำให้ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น กระทำให้สำเร็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับ บุคคลที่ทำงานประเภท เช้าชาม เย็นชามที่ทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านไปวันๆ
2. ความพยายาม (Persistence)
ทำให้บุคคลมีความมานะ อดทน บากบั่น คิดหาวิธีการนำความรู้ความสามารถ และ ประสบการณ์ของตน มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานให้มากที่สุด ไม่ท้อถอยหรือละความพยายามง่ายๆ แม้งาน จะมีอุปสรรคขัดขวาง และเมื่องานได้รับผลสำเร็จ ด้วยดีก็มักคิดหา วิธีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
3. การเปลี่ยนแปลง (variability) รูปแบบการทำงานหรือวิธีทำงานในบางครั้ง ก่อให้เกิการค้นพบช่องทาง ดำเนินงาน ที่ดีกว่า หรือประสบ ผลสำเร็จมากกว่า นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องหมายของ ความเจริญ ก้าวหน้า ของบุคคล แสดงให้เห็นว่า บุคคลกำลังแสวงหาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต บุคคลที่มี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง เมื่อดิ้นรน เพื่อจะบรรลุ วัตถุประสงค์ใดๆ หากไม่สำเร็จบุคคล ก็มักพยายามค้นหา สิ่งผิดพลาด และพยายามแก้ไข ให้ดีขึ้นในทุก วิถีทาง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานจน ในที่สุดทำให้ค้นพบแนวทาง ที่เหมาะสมซึ่ง อาจจะต่างไป จากแนวเดิม
4. บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงาน จะเป็นบุคคลที่มุ่งมั่นทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการมุ่งมั่นทำงานที่ตนรับผิดชอบ ให้เจริญก้าวหน้า จัดว่าบุคคลผู้นั้นมี จรรยาบรรณในการทำงาน (work ethics) ผู้มีจรรยาบรรณในการทำงาน จะเป็นบุคคล ที่มีความรับผิดชอบ มั่นคงในหน้าที่ มีวินัยในการทำงาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ ผู้มีลักษณะ ดังกล่าวนี้ มักไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดและทำในสิ่งที่ไม่ดี

5.ลักษณะของแรงจูงใจแรงจูงใจของมนุษย์มีมากมายหลายอย่าง เราถูกจูงใจให้มีการกระทำหรือพฤติกรรม หลายรูปแบบ เพื่อหาน้ำและ อาหารมาดื่มกิน สนองความต้องการทางกาย แต่ยังมีความต้องการมากกว่านั้น เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการเงิน คำชมเชย อำนาจ และในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม คนยังต้องการมีอารมณ์ผูกพันและอยู่รวมกลุ่มกับผู้อื่น แรงจูงใจ จึงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

สรุปได้ว่า การจูงใจ เป็นกระบวนการที่บุคคลถูก กระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจ ให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมที่เกิดจาก การจูงใจ เป็น พฤติกรรม ที่มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา แต่ ต้องเป็นพฤติกรรมที่มีความเข้มข้น มีทิศทางจริงจัง มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการไปสู่จุดใด และ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาจาก แรงผลักดัน หรือ แรงกระตุ้น ที่เรียกว่า แรงจูงใจ ด้วย

หนูคิดว่า การทำงานที่ดี ต้องมีสิ่งนี้ นะคะ

Motivation + Recognition + Rewards + Retention

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

 

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ตอบการบ้านวันที่  8  ส.ค. 52  ข้อ  2  ปัญหาทุนมนุษย์ในฐานทัพอากาศคืออะไร  ศึกษาข้อมูลจากทฤษฎี  8K's , 5K's , 3  วงกลม

          ปัญหาทุนมนุษย์ในฐานทัพอากาศถ้าพิจารณาตาม    8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  พบว่า มีปัญหา  ดังนี้ ข้อ 1. Intellectual Capital            ทุนทางปัญญา  ในกองทัพหรือระบบของทหาร  การคิดวิเคราะห์  การคิดสร้างสรรค์  จากการพัฒนาทุนมนุษย์จะถูกจำกัดในวงแคบด้วยระบบ  เมื่อไรที่มีคำว่านาย / ลูกน้อง  ความเสมอภาคทางความคิด  การยอมรับ  การเปิดโอกาสทางความคิดก็จะถูกจำกัดไปโดยปริยาย  ทั้งๆที่ในกองทัพอากาศมีการอบรม  มีการพัฒนากำลังพลอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ  แต่การแบ่งระดับ  แบ่งชั้นกันอยู่  ความรู้ที่จะเป็น  network  และเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ก็ไม่เกิดขึ้น  ความรู้ที่ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับขั้นจะแบ่งปันความรู้  ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาก็ถูกวางกรอบให้  ในลักษณะที่จำกัด  เป็นคำสั่ง  หรือการฝึกอบรมเท่านั้น  ซึ่งไม่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงต่อองค์กรโดยรวม  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้  ต้องใช้  ทฤษฎี  4L's ให้ครบ  ระบบการเรียนจึงจะเดินไปได้โดยไม่สะดุด  ไม่ควรมียศ  อำนาจ  มาขวางกระบวนการเรียนรู้  คนเราหากไม่ได้เรียนรู้  ปัญญา  การวิเคราะห์  ความคิดสร้างสรรค์  ก็เกิดขึ้นไม่ได้  ปัญหาข้อ2.คือ Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม  เราจะพบว่า  คุณธรรมและจริยธรรม  ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่ต้องเกิดขึ้นจากการอบรม  พัฒนา  ฝึกปฏิบัติ  ตรวจสอบ  ประเมินผลอยู่เสมอ  ทุนข้อนี้เป็นทุนที่อยู่ภายในจิตใจ  ยากที่มองเห็นได้ง่ายนอกจากสังเกตการปฏิบัติทั้งต่อหน้าและลับหลัง  เท่านั้น ใครคิดอะไรในใจ  ใครจะรู้  ทั้งผู้บริหารระดับสูง  ระดับกลาง  ระดับล่าง  เมื่อมีอำนาจ  มีอาวุธ  อยู่ในมือ  ดังนั้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญมาก  การปลูกฝังเรื่องการทำความดี  จิตสาธารณะ  การรักสถาบันหลักของชาติ  ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันง่าย ๆ หรือจะประเมินกันแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นแต่คิดว่า  ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร  ต้องเป็นผู้นำที่แสดงตรงนี้ออกมาให้ชัดเจนทั้งทางด้านนโยบายและการปฏิบัติ  เชื่อว่าในกองทัพอากาศ  จะต้องมีกำลังพลที่สามารถพัฒนาชาติไทยสู่ความยั่งยืนได้   ปัญหาข้อ 3.คือ  Social Capital  ทุนทางสังคม  ทหารทุกเหล่าทัพ  รู้  รัก  สามัคคี  สังคมของเขาเป็นปึกแผ่นดีมาก  แต่เป็นสังคมภายใน  การเรียนรู้  แนวคิด  ทัศนคติ  ก็จะเป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน  สิ่งใหม่ที่นอกเหนือสังคมของเขาก็ไม่สามารถเข้าไปได้  การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความแตกต่างที่ดีกว่าก็ไม่สามารถมองเห็นได้  ทำให้ขาดทุนทางด้านสังคม  ปัญหาข้อ 4. คือ  Talented Capital   ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  โดยเฉพาะทัศนคติ  เป็นเรื่องสำคัญมาก  และหากจะเปลี่ยนแปลงก็เป็นการยากมาก  ต้องสร้างจิตสำนึก  การรู้ผิดรู้ถูก  ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องคุณธรรม  จริยธรรม  มนุษย์ส่วนใหญ่ก็มีความต้องการตามทฤษฎีของมาสโลว์  แต่ทำอย่างไรให้คนมีจิตใจที่สูงขึ้น  ทำอะไรเพื่อผู้อื่นให้มากขึ้น  ลดความเป็นตัวตนมากขึ้น  คนอยู่ในตระกูลสูง  อาจไม่เคยพบกับความเจ็บปวดมากเหมือนคนในตระกูลอื่น ๆ   แล้วในประเทศไทยมีคนตระกูลสูงกี่ตระกูล  ที่ส่งลูกไปเป็นทหาร  ดังนั้นทหารส่วนใหญ่มาจากความหลากหลาย  ความต้องการ  ในสิ่งที่ยังไม่มีก็ย่อมมาก  เมื่อมียศ  อำนาจ  หากคิดดี  ก็ดีไป  หากคิดไม่ดี  อะไรจะเกิดขึ้น  ก็ต้องทำทุกอย่างที่อยากมี  สิ่งนี้อันตรายต่อชาติ  บ้านเมือง  หากวิเคราะห์กับ  5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์  พบว่าปัญหาคือขาด Creativity Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์  อาจจะติดที่ระบบของทหารที่ต้องฟังคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา  ซึ่งถือเป็นวินัยที่น่ายกย่อง  แต่ความคิดสร้างสรรค์ที่จะเกิดขึ้นได้ในโลกแห่งการเรียนรู้จิตใจต้องเป็นอิสระ  หรือเราเรียกว่ามีอิสระด้านการคิด  และเมื่อมีอิสระทางการคิดมากขึ้น  ก็จะเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้  และจะดีมากกว่านั้นหากความคิดใหม่ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนทหารด้วยกัน ปัญหาต่อไปคือ  Innovation Capital    ทุนทางนวัตกรรม  เพราะ  นวัตกรรมเกิดจากความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกันกับทุนทางความรู้ Knowledge Capital    โยงไปถึง Emotional Capital  ทุนทางอารมณ์ และความสุข 

            ส่วนด้านContext  ก็เป็นปัญหา  วัฒนธรรม  และระบบ  Competency ก็มีปัญหาจากทุนมนุษย์  ด้านความรู้  ทักษะและทัศนะคติ  ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น  Motivation  ก็เป็นปัญหาสำคัญที่กองทัพอากาศไม่ควรมองข้าม  ขวัญ  กำลังใจ  ในการปฏิบัติงานของกองกำลังฐานทัพอากาศ

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

จิราพร  สวัสดิรักษ์  WWW.ji2359.ob.tc    MP.087-066-2359

 

 

 

                       

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ


ตอบการบ้าน 8 ส.ค. 52 ข้อ 4 เปรียบเทียบ Concept Employment และ Employee Ability


Employment คือการจ้างงาน มีความหมายว่าผู้ประกอบการมีอัตราตำแหน่งที่ต้องการลูกจ้าง คนงานหรือพนักงานเพื่อมาปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เป็นได้ทั้งของรัฐและเอกชน การจ้างงานอาจจะมีผู้ประกอบการประกาศจ้างเอง หรือหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการงานจัดหางานเป็นผู้จัดหาให้ อำนาจในการกำหนดงานอยู่ที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ
Employee Ability คือความสามารถของลูกจ้างหรือพนักงาน หมายถึงCompetency ของคนที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างซึ่งประกอบด้วย ความรู้ความสามารถ ทักษะ และmindset ดังนั้นอำนาจการจะได้งานขึ้นอยู่กับตัวของพนักงานหรือลูกจ้างนั่นเอง นอกจากนั้นยังสามารถเลือกงานที่เหมาะสมได้ด้วย ดังนั้นการที่จะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างที่มีคุณภาพต้องพัฒนาตนเองให้มี Competencyที่สามารถแข่งขันได้กับทั่วทุกภูมิภาค ดัง ปาฐกถาพิเศษของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติอาเชี่ยน ที่สนับสนุนให้ประเทศไทยพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถในระดับสูงพร้อมแข่งขันกับนานาอารยประเทศได้

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง


จิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

            วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2552 เป็นการเรียน Human Capital Management ครั้งที่ 7 ในครั้งนี้ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เชิญ อ.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ มาร่วมบรรยายในหัวข้อ Human Capital ประเด็นที่มีการ Sharing และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่กันและกันมากที่สุดคือ อาจารย์ได้นำ Hypotheses Ph.D. ของอาจารย์ซึ่งอยู่ในขั้นตอนอภิปรายผลมา Sharing ให้กับพวกเรา ถือว่าเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ดี และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีต่อกัน

                และท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ฝากการบ้านให้พวกเราไว้ 4 ข้อ ซึ่งบางประเด็นได้จากการที่ท่านได้เข้าไปร่วมเสวนาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศในหัวข้อ “บทบาทการเป็นสถานศึกษาหลักในระบบการศึกษาทหารอาชีพกับยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ” ในวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2552 ดังหัวข้อต่อไปนี้

 

1. ศึกษา HR Architecture ว่าประยุกต์ใช้จะปฏิรูปการศึกษาของตำรวจและทหารในเมืองไทยได้อย่างไร

                ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาถ้าทุกคนยังคงจำได้ เมื่อเราเป็นเด็กและอยู่ในวัยเรียน ทุกคนคงเคยได้ยินคำพูดจากครูว่า “นักเรียนเมื่อเราโตขึ้นแล้วอยากเป็นอะไร” คำตอบอาชีพหลักที่เด็กในวัยนั้นอยากจะเป็นคือ ทหาร, ตำรวจ และครู เมื่อถามลงไปลึก ๆ แล้วว่าทำไมถึงอยากเป็นตำรวจ ทหาร คำตอบจากเด็ก ๆ ก็คือ เป็นตำรวจ ทหารแล้วทุกๆ คนจะเก่งกว่า เพราะมีอำนาจ เป็นทหารจะต้องไปรบ เป็นตำรวจจะต้องจับผู้ร้าย คนในต่างจังหวัดเห็นคนที่อยู่ในเครื่องแบบทหาร ตำรวจ แล้วจะมีความเกรงกลัว เวลาผ่านไปหมู่บ้านไหนชาวบ้านจะหาอาหารที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ให้ท่านเหล่านั้น

                เมื่อเด็กวัยเรียนได้จบชั้นมัธยมและเข้าศึกษาต่อในสถาบันและโรงเรียนต่าง ๆ ของตำรวจและทหาร พวกเขาเหล่านั้นก็จะถูกหล่อหลอมในแนวความคิดและอุดมการณ์ ในการที่จะต้องมีความจงรักภักดี และปฏิบัติตามระเบียบวินัย สำหรับตำรวจและทหารชั้นผู้น้อยที่เรียนในโรงเรียนนายสิบและโรงเรียนตำรวจ เมื่อจบออกมาปฏิบัติราชการ ค่าตอบแทนต่าง ๆ ก็น้อยไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีได้ เมื่อความเป็นอยู่ไม่ดีและเพียงพอประกอบกับมีอำนวจอยู่ในมือก็จะทำให้เขาเหล่านั้นเกิดการคอรัปชั่นและบางครั้งก็ไม่มีความยุติธรรม

              

                 จาก HR Architecture Frame  Work การที่จะปฏิรูปการศึกษาของตำรวจ ทหาร และขบวนการเรียนรู้ จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่การเรียนในชั้นประถมและมัธยม สำหรับผู้ที่ต้องการจะมุ่งเป้ามาสู่การเป็นทหารและตำรวจอาชีพ  และในสถาบันการศึกษาของตำรวจและทหารเช่นโรงเรียนเตรียมทหาร, โรงเรียนนายสิบ, โรงเรียนตำรวจ จะต้องสอดแทรกวิชาทางด้านการเรียนการสอนให้ตำรวจและทหารให้เข้าใจถึงเป้าในการเรียนให้มีมุมมองทางด้านอื่นๆ ให้มากขึ้น เช่น การแข่งขันด้านการค้า, ประชาธิปไตย, สิ่งแวดล้อมและผลกระทบอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้น ไม่ใช้มุ่งเน้นให้ทหาร ตำรวจมีวินัยเกี่ยวกับเรื่องการรบและจับผู้ร้ายเพียงอย่างเดียว  จะต้องมุ่งเน้นสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ การปรับตัวตามกระแสโลกาภิวัตน์ และสู่เป้าหมาย Life Long Learning

2.  ปัญหาทุนมนุษย์ในฐานทัพอากาศคืออะไรศึกษาข้อมูลจากทฤษฏี 8K’S, 5K’S, 3 วงกลม 

วิเคราะห์จากทฤษฏี 3 วงกลม

ด้าน Context

            1.  ระบบโครงสร้างองค์กรของกองทัพอากาศไม่คล่องตัวจะต้องมีการจัดรูปแบบการบริหารให้ Flexible มากกว่านี้

                2. การนำเสนอ Data และ Knowledge ในระบบของทหารแล้วถือว่าเป็นความลับไม่มีการมา Sharing ระหว่างหน่วยงานด้วยกันหรือระหว่างกองทัพด้วยกัน

 ด้าน Competencies

            1. Functional Competency คือความรู้ที่จะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม เช่นทหารช่างที่จบทางด้านวิศวกรรมจะต้องฝึกช่าง หรือผู้ที่จบทางด้านบริหารจะต้องมีการฝึกเรื่องบริหารหรือด้าน Admin ในสาขานั้น ๆ

                2. Organization Competency จะต้องเป็นเรื่องความรู้ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร เช่น การ Re engineering, การปรับเปลี่ยนองค์กร รวมทั้งวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งระบบทหารจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก)

                3.  ด้านอื่น เช่น ความคิดสร้างสรรค์ มุมมองและทัศนคติด้านนี้ทหารก็จะขาดมาก เพราะทหารฝึกให้คิดในการเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา

 ด้าน Motivation

            ระบบการสร้างขวัญและกำลังใจ, การสร้างความเป็นธรรม, การสร้างโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้ ในเรื่องนี้สำหรับทหารระดับล่างแล้วโอกาสในเรื่องพวกนี้มีน้อยมาก

 วิเคราะห์จากทฤษฏี 8K’S และ 5K’S

            1. Human Capital, Intellectual Capital, Creativity Capital Knowledge Capital ทุนทั้ง 4 ด้านนี้สำหรับกองทัพอากาศแล้วจะไม่สามารถสมบูรณ์หรือเพิ่มเติมให้เป็นเลิศได้ถ้ากองทัพไม่สร้าง Network แห่งการเรียนรู้โดยเชิญคนนอกเข้าไปสอนเข้าไปแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์หรือระหว่างกองทัพทั้ง 4 เหล่าทัพ ด้วยกัน เมื่อใดที่ไม่เปิดโอกาสศึกษาหรือรับองค์ความรู้จากภายนอก ก็จะทำให้ความรู้ที่ได้หรือมีอยู่ไม่หลากหลาย ก็จะยึดติดกับองค์ความรู้เดิม ๆ

                2. Social Capital, Cultural Capital ทุนทางด้านนี้กองทัพก็จะยึดกองทัพเป็นที่ตั้งมีวัฒนธรรมของระบบ Sotus วินัยและระเบียบแบบแผนของทหาร ยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ทหารจะต้องปรับเปลี่ยนไม่ใช่คิดเพียงจะรบและทำสงคราม ต้องคิดถึงสงครามเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

             3. Innovation Capital, Happiness Capital, Talented Capital ในกองทัพทหาร กองทัพยังปรับตัวช้ากับการเปลี่ยนแปลง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ก็จะไม่เกิดถ้าไม่คัดสรรบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารและเป็นผู้นำในทุกระดับชั้นขึ้นสู่ตำแหน่ง

                สรุป โรงเรียนเตรียมทหารถือว่าเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงของประเทศมานานและจะมีคนเก่งระดับหัวกะทิเข้าไปคัดสรรเพื่อแข่งขันเข้าไปเรียนรู้และศึกษาแต่ระบบการเรียนและการศึกษาฝึกให้ทหารมีระเบียบวินัยและ Cultural ที่จะต้องเคารพในรุ่นพี่และการขึ้นสู่ตำแหน่งก็เป็นไปตามความอาวุโส ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดติดมานาน การที่จะให้ทหารคิดนอกกรอบเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้เวลา

                ปัจจุบันยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่เป็นยุคแห่งการทำสงครามและไล่ล่าอาณานิคม  แต่เป็นยุคแห่งสงครามการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างและพัฒนาบุคคลให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่ายิ่งมาพัฒนาประเทศ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิด Life Long Learning

 

4. เปรียบเทียบ Concept Employment และ Employee Ability ว่าเหมือนกันและต่างกันอย่างไร

                

              จากกราฟเราจะเห็นว่าถ้าเส้นทางแกนนอนเป็นตำแหน่งงานที่เราต้องการจะจ้างเข้าไปทำงาน ส่วนเส้นทางแกนตั้งเป็นคุณสมบัติความรู้ที่ต้องการและประสบการณ์ของตำแหน่งงานที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจ้างวิศวกรเข้าทำงานใน Job งานหนึ่งๆ กำหนดคุณสมบัติความรู้ ความสามารถเบื้องต้นว่า จบปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมทุกสาขา มีบุคคลิกดีสูง 175 ชม. ขึ้นไป ใช้ Auto CAD ในการออกแบบได้, มีความรู้ด้าน PLC, ใช้ Program Simulation ได้ ความรู้ภาษาอังกฤษต้องผ่าน Toeic หรือขั้นต่ำ 500 คะแนน ขึ้นไป แต่ขบวนการสรรหาและจัดจ้างไม่สามารถสรรหาและจัดจ้างได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ขาดในหัวข้อความสามารถในการใช้ PLC และคะแนนภาษาอังกฤษได้เพียง 420 คะแนน

                ซึ่ง Employee Ability ที่ต่ำกว่า Concept Employment ที่ต้องการ เราจำเป็นต้อง Training หรือ ฝึกทักษะในด้านที่ยังขาด ส่วนใครที่มีความสามารถหรือมีคุณสมบัติที่สูงกว่า Concept Employment ก็สามารถที่จะมีทางเลือกที่จะเลือกงานให้เหมาะสมและดีกับตัวเอง และมีโอกาสในการเลือกและหางานได้ง่าย

ด้วยความเคารพอย่างสูง                 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile: 081-661-1701

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

3. อธิบายเศรษฐกิจกับการจ้างงานต่างกันอย่างไร ศึกษาธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและลดลงในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา

 

                คำว่า เศรษฐกิจ หรือ Economy มีที่มาดั้งเดิมจากคำในภาษากรีกสองคำคือคำว่า Oikos แปลว่า บ้านเรือน กับคำว่า Nomos ที่แปลว่า กฎ

                คำว่า Economy จึงหมายถึง การจัดการปกครองเคหะสถานอย่างชาญฉลาดและเป็นธรรมให้เกิดผลดีแก่คนทั้งครอบครัว

                ต่อมาความหมายของคำว่า เศรษฐกิจ (Economy) ครอบคุมถึงการจัดการปกครองของรัฐ ซึ่งโดยนับก็เหมือนกับครอบครัวขนาดมหึมานั้นเอง

                พระพุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของคำว่า เศรษฐกิจ คือการกระทำที่ดีที่สุด ผลออกมาก็ดีที่สุด ทำให้มนุษย์มีสันติภาพได้ไม่มีอันตรายและแก้ปัญหาได้ด้วย และเศรษฐกิจจะต้องมีศิลธรรมรวมอยู่ด้วย

                ฉนั้นคำว่า เศรษฐกิจ ของประเทศจึงหมายถึง องค์กรรวมที่จะดูแลความเป็นไปความเป็นอยู่และความอยู่รอดของประเทศชาติในทุกแง่มุมเช่น การบริโภคภาคเอกชน, การลงทุนภาคเอกชน, การส่งออก, การจ้างงาน, ตลาดทุน,การเงินการธนาคารและสินเชื่อ          

                การจ้างงาน หมายถึง การจ่ายผลตอบแทนให้กับพนักงานในการเข้าไปบริการและทำงานในแต่ละธุรกิจและองค์กร

 

ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและธุรกจิในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2552 และแนวโน้มครึ่งปีหลังของ 2552

                สถาบันและสมาคมธุรกิจในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 242 ราย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 รวมถึงผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ (Business Sentiment Survey) 1 และการสำรวจพิเศษเรื่องการลงทุนปี 25522 พบว่าภาวะธุรกิจโดยรวมยังคงชะลอตัว แต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวบางธุรกิจส่งออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคำสั่งซื้อปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจส่วนใหญ่ได้ปรับตัวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเป็นผลต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ผู้ประกอบการปรับตัวโดยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การบริหารระดับสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการเพิ่มความระดับระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น

                สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมทั้งด้านการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ยกเว้นการลงทุนจากภาคเอกชนที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ตามอุปสงค์ที่ยังอ่อนตัวและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยผู้ประกอบการยังคงกังวลต่อปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการเบิกจ่ายงบประมาณที่เร่งตัวขึ้นมากในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 น่าจะมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจให้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี

 

การบริโภคภาคเอกชน

                การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยและสินค้าคงทน (Durable Goods) อาทิ อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ แต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 1 ปี 2552 การชะลอตัวเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนในทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ด้านการอุปโภคบริโภค เช่นนโยบายเช็คช่วยชาติ มีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ในด้านบริการการท่องเที่ยวหดตัวต่อเนื่อง จากการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เป็นผลจากการถดถ่อยต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่เป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลัก อาทิ เอเชีย ยุโรป และอเมริกา จากความไม่สงบทางการเมืองที่ส่งผลทางจิตวิทยาอย่างมากต่อตลาดนักท่องเที่ยวเอเชียซึ่งเป็นตลาดหลักในช่วง Low Season และจากการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในตอนใต้ของประเทศโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ผ่านมายังไม่ส่งผลชัดเจนมากนัก

                แนวโน้มการบริโภคในครึ่งหลังของปี 2552 ผู้ประกอบการคาดว่า  การอุปโภคบริโภคจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในครึ่งปีแรก เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและเห็นว่าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะตกต่ำกว่านี้มีน้อยลง

 

การลงทุนภาคเอกชน

                ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอยู่ในระดับต่ำและการเพิ่มความระดับระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ทำให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ประกอบกับระดับสินค้าคงคลังค้างสต๊อกอยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดกำลังการผลิตลงให้สอดคล้องกับยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องรักษาสภาพคล่องของธุรกิจไว้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ จึงชะลอการลงทุนทั้งในด้านการก่อสร้าง และเครื่องจักรและเครื่องมือ

                     ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการด้านภาษีที่สนับสนุนให้เกิดการลงทุน เช่น มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในต้นปีที่ผ่านมาแต่ก็ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่มากนัก  สอดคล้องกับผลการสำรวจพิเศษเรื่อง การลงทุนปี 2552 พบว่า ร้อยละ 53.90 ของผู้ประกอบการมีแผนการลงทุนในปี 2552 ต่ำกว่าการลงทุนจริงในปี 2551 และมีเพียงร้อยละ 29.20 ที่มีแผนการลงทุนในระดับเดิม และการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อบำรุงรักษาและทดแทน

                        แนวโน้มการลงทุนในครึ่งหลังของปี 2552 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าจะยังไม่มีแผนการลงทุนเพิ่มเติม เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทยยังเปราะบาง จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาภาคการส่งออกในระดับสูง จากผลการสำรวจพิเศษ พบว่าร้อยละ 60.10 ของผู้ประกอบการไม่มีแผนการลงทุนใน 6 เดือนข้างหน้า ส่วนผู้ประกอบการที่มีแผนการลงทุนร้อยละ 70 เป็นการลงทุนเพื่อบำรุงรักษาหรือทดแทน (Replacement) (ดูรายละเอียดในบทวิเคราะห์เรื่อง วิเคราะห์ทิศทางการลงทุนภาคเอกชนจากผลการสำรวจผู้ประกอบการและนัยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ)

 

การส่งออก

            การส่งออกหดตัวต่อเนื่อง เป็นผลจากอุปสงค์ต่างประเทศที่หดตัวลงมาก โดยเฉพาะจากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากคำสั่งซื้อล่วงหน้าของการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าในเอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีคำสั่งซื้อในต่างประเทศในอีก 3 เดือนข้างหน้าจากผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการ Re-stock สินค้าคงคลังของผู้ซื้อในต่างประเทศ หลังจากที่สินค้าคงคลังลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาสก่อน

                การส่งออกในครึ่งหลังของปี 2552 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องตามการอ่อนตัวของอุปสงค์ต่างประเทศแต่เป็นการหดตัวในอัตราที่ต่ำลง  อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นสะท้อนจากดัชนีการส่งออกในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับตัวดีขึ้นบ้าง

 

การจ้างงาน

                แม้ว่าบางอุตสาหกรรมจะเริ่มมีการรับแรงงานบางส่วนกลับเข้ามาทำงาน แต่ภาวะการจ้างงานโดยรวมยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิต สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามการจ้างงานในภาคการค้าและการบริการโดยรวมยังขยายตัว สะท้อนถึงความสามารถของตลาดแรงงานในการรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง

                ทางด้านจำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา พบว่า ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายไตรมาส โดยในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจพยายามไม่ปลดคนงาน แต่จะลดชั่วโมงการทำงานลงและไม่ปรับขึ้นเงินเดือน (Salary Freeze) หรือปรับขึ้นในอัตราที่ลดลงแทน เพื่อรักษาแรงงานที่มีฝีมือและความเชี่ยวชาญเอาไว้รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เพื่อรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและในไตรมาสนี้ บางอุตสาหกรรมได้มีการรับคนงานบางส่วนกลับเข้ามามากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น

 

ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ

                จากผลการสำรวจผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ทำให้ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและไม่สามารถขยายธุรกิจ การปรับราคาสินค้าทำได้ยากในภาวะการหดตัวของอุปสงค์ทั้งจากตลาดในและต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันสูงระหว่างคู่แข่ง นอกจากนี้ แรงกดดันทางด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งขึ้น ตลอดจนความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง  ยังคงเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในไตรมาสนี้

ด้วยความเคารพอย่างสูง                 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile: 081-661-1701

ทุนมนุษย์ กับงานที่มีคุณค่า

แรงงานจากมนุษย์เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาและทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อกล่าวถึงแรงงานในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตในเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาค แรงงานมักจะถูกมองเหมือนกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่เป็นวัตถุดิบไม่ต่างไปจากวัตถุดิบอื่นๆ เช่น น้ำมันหรือเครื่องจักรแรงงานถูกมองว่าเป็นกำลังของคนทำงานที่เหมือนๆ กัน กำลังกายของคนๆ หนึ่งมิได้แตกต่างไปจากกำลังกายของคนอีกคนหนึ่ง ถ้าแรงงานคนหนึ่งออกไป ก็สามารถหาคนใหม่มาทดแทนได้ความเป็นวัตถุดิบๆ ของแรงงานลดลงไปบ้างเมื่อมองแรงงานในฐานะที่เป็นที่สิงอยู่ของทุนมนุษย์ซึ่งทุนมนุษย์มายถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถ ทุนมนุษย์สามารถถูกพัฒนาให้เพิ่มขึ้นหรือดีขึ้นได้ด้วยการศึกษาและการฝึกฝน แรงงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนมักจะลงทุนในทุนมนุษย์มากกว่าแรงงานที่ได้รับค่าจ้างรายวัน (Haber and Goldfarb, 1995)

ทุนมนุษย์สามารถทำให้ผลผลิตที่ออกจากกำลังของแรงงานแตกต่างกัน และทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานแตกต่างกัน จึงทำให้แรงงานแต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างนี้นับเป็นมิติในเชิงคุณภาพของแรงงานทุนมนุษย์แตกต่างไปจากทุนทางกายภาพอื่นๆ ตรงที่มันสามารถพอกพูนได้และมีปฏิสัมพันธ์กับ ปัจจัยแวดล้อม การศึกษาหรือการฝึกอบรมอาจเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มทุนมนุษย์และประสิทธิภาพการผลิตของทุนมนุษย์ แต่ประสิทธิภาพของทุนมนุษย์นั้นยังอาจจะเพิ่มขึ้นได้จากปัจจัยอื่นๆ ใน World Development Report 1980 ของธนาคารโลกได้กล่าวไว้ว่านอกจากการพัฒนาในด้านการศึกษาแล้วการพัฒนาในด้านสาธารณสุข และมาตรฐานทางโภชนาการ ก็สามารถช่วยทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของทุนมนุษย์ดีขึ้น และปัจจัยเหล่านั้นยังช่วยกระตุ้นให้มีการเพิ่มทุนทางกายภาพและช่วยลดการพึ่งพิงของประชากรและในที่สุดได้ช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันการเติบโตทางเศรษฐกิจก็สามารถช่วยให้มีการลงทุนในทุนมนุษย์เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ประสิทธิภาพการผลิตของทุนมนุษย์สามารถเพิ่มขึ้นเมื่อเจ้าของทุนมนุษย์นั้นมีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในชีวิต หรือไม่มีความเครียด Konrad and Mangel (2000) พบว่าการอำนวยความสะดวกในการทำงานที่ช่วยลดภาระความเครียดในการบริหารชีวิตครอบครัว เช่น การมีสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนในที่ทำงาน การให้ความยืดหยุ่นในการเข้าหรือออกสำนักงาน การอนุญาตให้ลาเพื่อดูแลลูกเล็กๆ สิ่งแวดล้อมในการทำงานต่างๆ เหล่านี้ทำให้ชีวิตการทำงานไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารชีวิตครอบครัว ช่วยเพิ่มความสามารถในการระดมคนงาน ลดการลางาน และลาออก และในที่สุดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ 2 งานที่มีคุณค่า (Decent Work)

ทุนมนุษย์โดยเฉพาะในสถานประกอบการที่ต้องการแรงงานวิชาชีพหรือแรงงานผู้หญิง การที่แรงงานมีความขัดแย้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานนั้น มีผลทำให้ความพึงพอใจในงานและชีวิตลดลง ทว่า Konrad and Mangel (2000) ได้เตือนว่าการมีโครงการที่ช่วยเหลือครอบครัวของแรงงานดีเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาการเกิดแรงดึงดูดที่ไม่พึงประสงค์สำหรับหน่วยงานนั้นๆ เพราะโครงการช่วยเหลือครอบครัวจะดึงดูดคนที่มีภาระทางครอบครัวให้เข้ามาทำงาน ในที่สุดอาจได้กลุ่มคนที่มีลักษณะเหมือนกันคือไม่สามารถอุทิศเวลาให้กับงานได้อย่างเต็มที่เข้ามาอยู่ในที่ทำงานเดียวกันจำนวนมากและอาจเกิดผลทางลบต่อประสิทธิภาพของแรงงานในที่ทำงานนั้น อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการศึกษาเชิงประจักษ์ว่าประโยชน์ที่ให้กับครอบครัวแรงงานได้สร้างปัญหาในด้านประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน

คุณภาพชีวิตและความสุขในชีวิตของแรงงานเป็นมิติที่กว้างและอาจมีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายประเด็นในเรื่องความสุขอาจจะมีข้อโต้แย้งมากกว่าประเด็นในเรื่องคุณภาพชีวิต ความสุขในชีวิตมีมิติทั้งทางกายและจิตใจ คนที่มีความสุขสบายทางกายอาจจะไม่มีความสุขทางใจ ในขณะที่ผู้ที่มีความสุขทางใจอาจจะมีความยากลำบากแร้นแค้นในทางกายภาพหรือไม่ได้มีความสะดวกหรูหราในทางกาย เป็นการยากที่จะบอกว่าสุขกายหรือสบายใจขนาดเท่าใดที่เหมาะสมหรือเป็นที่ต้องการของมนุษย์แต่ละบุคคล มนุษย์บางคนมีความสุขและอบอุ่นทางใจที่ได้อยู่ในบ้านที่มีพ่อ แม่ พี่ น้อง และญาติมากมาย ในขณะที่มนุษย์บางคนมีความสุขใจที่ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบและอยู่อย่างสันโดษ การเปรียบเทียบความสุขโดยรวมทั้งกายและจิตใจระหว่างบุคคลจึงเป็นนามธรรมที่เปรียบเทียบกันค่อนข้างยากเมื่อใดก็ตามที่การประเมินความรู้สึกเป็นการประเมินที่เป็นนามธรรมก็มักจะเกิดปัญหาในการวัดและการเปรียบเทียบ ตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนได้ประสบด้วยตนเองและเหมาะกับการชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลของการประเมินความรู้สึกที่เป็นนามธรรม คือ การสำรวจเรื่องสถานะสุขภาพของบุคคล ครัวเรือนหนึ่งที่ถูกสุ่มเป็นตัวอย่างนั้นเป็นครัวเรือนที่ประกอบด้วยชายชราที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน และหญิงชราที่เป็นภรรยา เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนการสำรวจชายชราได้เผชิญกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจนถึงขั้นเป็นผลให้เป็นอัมพฤกษ์ ซึ่งมีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกาย ต้องมีการรักษาเยียวยาและมีการปรับวิถีชีวิตค่อนข้างสูงมาก การรักษาพยาบาลในช่วง 2 ปีได้ทำให้สุขภาพโดยรวมของชายชราดีขึ้นมากกว่าเมื่อเริ่มเกิดการเจ็บป่วยใหม่ๆ เมื่อเราให้ชายชราประเมินสถานะสุขภาพตนเองในขณะที่ให้สัมภาษณ์เขาก็ตอบว่าสุขภาพดี ในทางกลับกันหญิงชราซึ่งทำหน้าที่ดูแลงานทุกอย่างในบ้าน ไม่เคยเจ็บป่วยหนักๆ แต่ก็พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ความทรุดโทรมของร่างกายมันรวดเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การเคลื่อนไหวขึ้นลงบันไดก็ยากลำบากกว่าเดิม เมื่อให้หญิงชราประเมินสถานะสุขภาพของตนเอง เขาประเมินว่าแย่ ในสายตาของบุคคลภายนอกนั้นจะมองว่า หญิงชรามีสถานะสุขภาพที่ดีกว่าชายชรามาก แต่การประเมินความรู้สึกของทั้งสองกลับให้คำตอบที่ทำให้เห็นว่าการเปรียบเทียบคำตอบที่แสดงความรู้สึกที่เป็นนามธรรมระหว่างบุคคลนั้นมีปัญหา แต่ถ้าหากเราเปรียบเทียบความรู้สึกนั้นของคนเดียวกันแต่ในระหว่างช่วงเวลาจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า

นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักได้พยายามวัดความสุขในลักษณะที่เป็นความรู้สึกที่ดีขึ้นหรือแย่ลงเกี่ยวกับชีวิตโดยรวม โดยทำการเปรียบเทียบความสุขของคนเดียวกันระหว่างเวลาต่างๆ หรือในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ Frey and Stutzer (2000) ใช้การสำรวจในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ทำการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของคนในประเทศ การศึกษาพบว่าปัจจัยด้านสถาบันที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีผลทำให้คนในประเทศมีความสุขยิ่งขึ้นมากกว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การว่างงานทำให้คนมีความสุขน้อยลง ปัจจัยด้านฐานะทางการเงินของครอบครัวก็มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความสุข ที่น่าสนใจคือการมีฐานะทางการเงินดีขึ้นนั้นมีผลให้ความสุขของคนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พบว่าคนใน 12 ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีความสุขมากขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อต่ำหรืออัตราการว่างงานต่ำ (Tella et al., 2001)สำหรับทัศนะเกี่ยวกับคุณภาพแห่งชีวิตของคนนั้น ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้แสดงทัศนะไว้ในบทความ “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง: จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทความที่มีชื่อเสียงและเป็นที่กล่าวถึงอย่างบ่อยครั้งในสังคมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516

ทัศนะของ ดร. ป๋วย สามารถสรุปครอบคลุมเป็นประเด็นหลักได้ดังนี้

ด้านสุขภาพ: การมีอนามัยแม่และเด็กที่ดี แม่และเด็กได้รับอาหารที่มีคุณประโยชน์ แม่และเด็กได้รับการดูแล แม่ไม่มีลูกมาก ทุกคนได้รับการป้องกันโรคฟรีและได้รับบริการรักษาพยาบาลอย่างถูกและดีมีครอบครัวอบอุ่น ได้รู้วิธีการวางแผนครอบครัว

ด้านการศึกษา: ทุกคนมีโอกาสเรียนหนังสือให้มีความรู้หากินได้

ด้านการทำงาน: การมีอาชีพที่มีความหมาย มีความพอใจว่าได้ทำงานเป็นประโยชน์แก่สังคม เกษตรกรมีที่ดินพอสมควรแก่การทำมาหากิน กรรมกรมีหุ้นส่วนในกิจการที่ทำอยู่ มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน

ด้านสังคม: การมีกฎหมายคุ้มครอง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่มีสงครามกลางเมือง มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี มีความชอบธรรมเป็นประโยชน์กับโลกภายนอก ได้เรียนรู้ความคิดและวิชาการของมนุษย์จากประเทศต่างๆ ได้อ่านหนังสือที่ไม่แพงนัก ได้ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์โดยมีโฆษณาไม่มากนัก

ด้านวัฒนธรรม: การได้มีบทบาทและชมศิลปะ วรรณคดี นาฏศิลป์ และงานประเพณีต่างๆ

ด้านสิ่งแวดล้อม: การมีสวนสาธารณะ มีอากาศบริสุทธิ์หายใจ มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม

ด้านการมีส่วนร่วม: การได้มีส่วนในการเสียภาษีตามอัตภาพ มีส่วนในการกำหนดชะตาทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมของชาติ

ด้านหลักประกันทางสังคม: การได้รับประโยชน์เมื่อแก่ชรา หรือผู้พึ่งพิงได้รับการดูแลเมื่อหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตการมีอาชีพที่มีความหมาย ได้มีส่วนร่วมในกิจการที่ทำ งานที่ทำมีส่วนทำประโยชน์ให้สังคม และได้มีส่วนร่วมในการเสียภาษี หรือจะรวมเรียกว่าการได้ทำงานที่มีคุณค่านั้นนับว่าเป็นคุณภาพแห่งชีวิตของคน

การที่แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานดีขึ้นเช่นเดียวกันงานอย่างไรจึงเรียกว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และคนทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่เข้าข่ายว่าได้ทำงานที่มีคุณค่าหรือไม่

*******************************

080-6148578

ทุนมนุษย์กับผลตอบแทนทางการศึกษา

อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุนทางการศึกษา ใช้แสดงสถานะ การลงทุนของการศึกษาในระดับต่างๆ บ่งบอกผลประโยชน์ที่ผู้เรียนและสังคมได้รับ สะท้อนแรงจูงใจของผู้เรียน และสามารถใช้ชี้แนะแนวทางการลงทุนด้านการศึกษาของสังคม ว่าควรลงทุนในระดับใดจึงเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อพิจารณาผลประโยชน์ที่ตกกับผู้เรียน พบว่า การศึกษาเป็นการลงทุนที่มีความคุ้มค่า ผู้ที่มีการศึกษาสูง มีรายได้ที่สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าอย่างชัดเจนในทุกระดับ ผลตอบแทนส่วนบุคคลต่อการศึกษาเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 11–12.4 ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยเฉลี่ย อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคล สำหรับแรงงานหญิงสูงกว่าแรงงานชายในระดับมัธยมศึกษา อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคล สำหรับแรงงานชายที่จบสายสามัญ มีแนวโน้มลดลงมาตลอด ในทางตรงข้าม อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลสำหรับแรงงานหญิง ที่จบสายสามัญ เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลสำหรับผู้จบ ปวช. สูงกว่าสายสามัญ ทั้งเพศหญิงและชาย

ในระดับอุดมศึกษา ผู้ที่จบอุดมศึกษา ทั้งหญิงและชาย ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่าผู้จบมัยธมปลายมาก ส่วนแรงงานที่จบเพียงอนุปริญญาหรือปวส. มีรายได้มากกว่าผู้จบมัธยมปลาย แต่ไม่สูงมากนักอัตราผลตอบแทนสำหรับผู้จบอุดมศึกษา ในปี 2549 มีค่าระหว่างร้อยละ 8 ถึง 12.8 ต่อปี สำหรับเพศชายส่วนเพศหญิง ได้ผลตอบแทนระหว่างร้อยละ 4.5 ถึง 7.9 ต่อปี อัตราที่ได้นี้มีค่าใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆนอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนสำหรับผู้มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อพิจารณาผลประโยชน์ที่สังคมได้รับหรืออัตราผลตอบแทนต่อสังคม พบว่า ยังไม่มีคำตอบที่

ชัดเจนสำหรับประเทศไทย หรือแม้แต่งานวิจัยของต่างประเทศ อัตราผลตอบแทนต่อสังคม ที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนของบุคคล (เนื่องจากเกิดผลกระทบภายนอก) เป็นเหตุผลที่รัฐควรเข้ามาอุดหนุนมากขึ้น ข้อค้นพบเบื้องต้นที่น่าสนใจคือ ขนาดของผลกระทบภายนอกมีค่าน้อยมาก ทำให้อัตราผลตอบแทนของสังคมและต่อบุคคลมีค่าใกล้เคียงกัน อัตราผลตอบแทนส่วนบุคคลเฉลี่ยของหลายประเทศในโลก มีค่าระหว่างร้อยละ 7 ถึง 12 เฉลี่ยรวมที่ร้อยละ 9.7 ถึงกระนั้นก็ตาม มีความเชื่อกันว่า การศึกษาระดับมัธยมปลายและอุดมศึกษา มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ผลการทบทวนได้ชี้ประเด็นสำคัญต่อการกำหนดแนวทางการลงทุนด้านการศึกษา ดังนี้

1. สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทรัพยากรทั้งหมดที่สังคมไทยใช้ไปในด้านการศึกษา จัดอยู่ในระดับที่สูง มิได้น้อยแต่อย่างใด แต่การบริหารการจัดการศึกษาของภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ ทำให้มีคุณภาพต่ำ สัดส่วนการใช้จ่ายค่อนข้างสูงในระดับก่อนประถม และค่อนข้างต่ำในระดับมัธยม และการลงทุนมนุษย์กับผลตอบแทนทางการศึกษาระดมทรัพยากรมาใช้เพื่อการศึกษาทำได้ไม่เต็มที่ ประเด็นที่ควรเร่งรัดคือปรับปรุงการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ

ส่วนจะทำได้อย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้ากันแบบจริงจัง อีกประการคือ คุณภาพของผู้จบยังมีปัญหา ไม่ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนในระดับสูง ลดผลประโยชน์และโอกาสในอนาคตจากการศึกษา

2. สำหรับการจัดอาชีวศึกษา ปัญหาสำคัญที่แก้ลำบากคือ มีคนสนใจเรียนต่อกันน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงานฝีมือระดับกลาง เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้จากการมีปริญญาสูงกว่าจบ ปวช. มาก อีกทั้งโอกาสเข้าเรียนในระดับสูงที่เปิดกว้างมากขึ้น และการอุดหนุนของรัฐที่คงอยู่ในระดับที่สูง ทำให้การเลือกเรียนสายสามัญและเรียนต่อจนจบปริญญา เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า คนจึงมีแรงจูงใจเรียนต่อสายสามัญมากกว่าอาชีพ

3. สำหรับอุดมศึกษา พบว่า การศึกษาในระดับนี้ให้อัตราผลตอบแทนแก่ผู้เรียนสูงมาก และหากเชื่อว่าให้ประโยชน์ต่อสังคมด้วย รัฐควรสร้างแรงจูงใจและอุดหนุนอย่างเหมาะสมให้มีการเรียนต่อในระดับสูงมากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลดีต่อการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ค่าจ้างและการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เนื่องจากที่เป็นอยู่รัฐอุดหนุนในระดับที่สูง จึงมีเหตุผลสมควรให้รัฐลดการอุดหนุน และให้ผู้เรียนแบกรับภาระมากขึ้น

นอกจากนี้ การที่อัตราผลตอบแทนสูงอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าตลาดยังมีความต้องการแรงงานในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มีการผลิตบัณฑิตออกมามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความไม่สอดคล้องระหว่างทักษะที่ตลาดต้องการ และสาขาที่เรียนจบ จึงต้องมีมาตรการเร่งเพิ่มบัณฑิตในสาขาที่ขาดแคลน รวมทั้งลดการผลิตในสาขาที่เกินความต้องการไปพร้อมกัน ประเด็นสุดท้ายคือ การขยายการศึกษาระดับสูง มีผลให้ช่องว่างระหว่างรายได้เพิ่มมากขึ้น และผู้ที่เข้าถึงส่วนใหญ่มักจะมากลุ่มที่ได้เปรียบในสังคม

4. นอกเหนือไปจากการพูดถึงว่า เราจะใช้เงินทุนกันอย่างไร ที่สำคัญพอๆกันคือเราจะหาเงินทุนเหล่านี้มาจากไหน แนวทางการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนของสังคม ที่เสนอไว้ในพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 (แก้ไข 2545) ยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากผลประโยชน์ที่ตกกับสังคม มีมากกว่าที่บุคคลได้รับ จึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่สังคมควรมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาผ่านมาตรการทางภาษีอากร ส่วนการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องให้ผู้เรียนแบกรับภาระบางส่วนเพราะผลประโยชน์ส่วนบุคคลมีมาก แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเรียนสูงและสังคมได้รับประโยชน์ด้วย สังคมควรมีส่วนร่วมในการรับภาระค่าใช้จ่ายด้วยการใช้เงินภาษีอากรในระดับที่เหมาะสม แนวทางนี้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเงินเพื่ออุดมศึกษาแนวใหม่ ที่เน้นการอุดหนุนผ่านผู้เรียน กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพ และสามารถให้ผู้เรียนและภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นรวมไปถึงให้โอกาสกับผู้เรียนทุกคน โดยรวมเป็นแนวทางที่น่าสนใจต่อการจัดการกับทรัพยากรที่มีค่อนข้างจำกัดในปัจจุบัน เห็นควรต้องช่วยกันพิจารณา

**********************

 เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบการบ้านเรื่อง Employee โดยหนูคิดว่า  Employee Ability สามารถที่ Development โดยการ ใช้ดังนี้ ทฤษฏี 8 K’s + 5K’s + 4L’s ของท่านศ. ดร. จีระ อาจารย์ของหนู โดยเฉพาะทฤษฏี 3 วงกลม เรื่อง Motivation ให้กับ Employee และ + กับ

กระบวนการจูงใจ( Motivation Process) ของ Employee(พนักงานในองค์การ)

Abraham Maslow ซึ่งเป็นผู้นำที่สำคัญคนหนึ่งของนักจิตวิทยาแนวมนุษยนิยม ได้จำแนกแรงจูงใจของคนเราอีกทัศนะหนึ่ง โดยมีการจัดลำดับขั้นของแรงจูงใจจากความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพ (basic biological needs) ซึ่งมีมาตั้งแต่เกิดไป จนกระทั่งถึงแรงจูงใจทางจิตใจที่ซับซ้อนมากกว่า แรงจูงใจประเภทหลังนี้ จะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อ ความต้องการพื้นฐานได้รับการตอบสนองจนเป็นที่-------->พอใจแล้ว

1. ความต้องการทางสรีรวิทยา (Physiological Needs) : ความหิว ความกระหาย เป็นต้น

2. ความต้องการทางความปลอดภัย ( Safety Needs) : การรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ปราศจากอันตราย
3. ความต้องการทางความเป็นเจ้าของและความรัก (Belongingness and love need) : การผูกพันกับคนอื่น การได้รับการยอมรับและการเป็นเจ้าของ
4. ความต้องการทางการยกย่อง (
Esteem needs) :
การบรรลุผลสำเร็จ การมีความสามารถ การได้รับการยอมรับและการรู้จักจากคนอื่น
5. ความต้องการทางการรู้ (
Cognitive needs) :
การรู้ การเข้าใจและการสำรวจ
6. ความต้องการทางสุนทรียภาพ (
Aesthetic needs) :
สมมาตร ความมีระเบียบและความงาม
7. ความต้องการทางความจริงแท้แห่งตน (
Self-actualization needs) : การพบความสำเร็จแห่งตนและการเข้าใจศักยภาพของตน มีความเห็นว่าอย่างน้อยที่สุดความต้องการในระดับต่ำจะต้องได้รับการตอบสนองจนเกิดความพอใจเสียก่อน ความต้องการในระดับที่สูงขึ้นมา จึงสามารถกลายเป็นแหล่งกำเนิดอันสำคัญของการจูงใจได้   หนู
 คิดว่าการMotivationพนักงาน ด้วยวิธีที่เรียนมาหลาย ๆๆทฤษฎีแล้ว....เรื่อง..ความไม่อิ่ม....ยังขาดปัจจัย 4 อยู่ ก็เป็นเรื่องที่ ไม่ควรมองข้ามนะคะ

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ. เพรบุรี

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบการบ้านเรื่อง Employee โดยหนูคิดว่า  Employee Ability สามารถที่ Development โดยการ ใช้ดังนี้ ทฤษฏี 8 K’s + 5K’s + 4L’s ของท่านศ. ดร. จีระ อาจารย์ของหนู โดยเฉพาะทฤษฏี 3 วงกลม เรื่อง Motivation ให้กับ Employee และ + กับทฤษฎีความต้องการจากการเรียนรู้ (Learned Needs Theory) ของ เดวิด ซี แมคเคิลแลนด์ เป็นผู้เสนอทฤษฎีความต้องการจากการเรียนรู้ขึ้น โดยสรุปว่าเคนเราเรียนรู้ความต้องการจากสังคมที่เกี่ยวข้อง ความต้องการจึงถูกก่อตัวและพัฒนามาตลอดช่วงชีวิตของแต่ละคนและเรียนรู้ว่าในทางสังคมแล้ว เรามีความต้องการที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement) เป็นความต้องการที่จะทำงานได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีมาตรฐานสูงขึ้นในชีวิต มีผู้ความต้องการความสำเร็จสูงจะมีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้

            * มีเป้าหมายในการทำงานสูงชัดเจนและท้าทายความสามารถ
            * มุ่งที่ความสำเร็จของงานมากกว่ารางวัล หรือผลตอบแทนเป็นเงินทอง
            * ต้องการข้อมูลย้อนกลับในความก้าวหน้าสู่ความสำเร็จทุกระดับ
            * รับผิดชอบงานส่วนตัวมากกว่าการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น

2. ความต้องการอำนาจ (Need for Power) เป็นความต้องการที่จะมีส่วนควบคุม สร้างอิทธิพลหรือรับผิดชอบในกิจกรรของผู้อื่น ผู้มีความต้องการอำนาจจะมีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้

            * แสวงหาโอกาสในการควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น
            * ชอบการแข่งขันในสถานการณ์ที่มีโอกาสให้ตนเองครอบงำคนอื่นได้
            * สนุกสนานในการเชิญหน้าหรือโต้แย้ง ต่อสู่กับผู้อื่น

ความต้องการอำนาจมีสองลักษณะ คือ อำนาจบุคคล และ อำนาจสถาบัน อำนาจบุคคลมุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าองค์กร แต่อำนาจสถาบัน มุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยทำงานร่วมกับคนอื่น

3. ความต้องการความผูกพัน (Need for Affiliation) เป็นความต้องการที่จะรักษามิตรภาพและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไว้อย่างใกล้ชิด ผู้มีความต้องการความผูกพันมีลักษณะ ดังนี้

            * พยายามสร้างและรักษาสัมพันธภาพและมิตรภาพให้ยั่งยืน
            * อยากให้บุคคลอื่นชื่นชอบตัวเอง
            * สนุกสนานกับงานเลี้ยง กิจกรรมทางสังคม และการพบปะสังสรรค์
            * แสงหาการมีส่วนร่วม ด้วยการร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม หรือองค์กรต่างๆ

สัดส่วนของความต้องการทั้ง 3 นี้ ในแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีความต้องการอำนาจสูงกว่าความต้องการด้านอื่น ในขณะที่อีกคนหนึ่งอาจมีความต้องการความสำเร็จสูง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่แสดงอุปนิสัยของคนคนนั้นได้

                หนูคิดว่าการพัฒนาบุคคล บุคลากร พนักนักงาน มีความสำคัญมาก เพราะว่า เขาเหล่านั้นคือ Capital ที่มีคุณค่า โดยจะ ใช้ เครื่องมืออะไร  ก็ได้นะคะ...แล้วนำมารวมกับแนวคิดและทฤษฏี 8 K’s + 5K’s + 4L’s+ทฤษฏี 3 วงกลม โดยเฉพาะเรื่อง Motivation ของท่าน ศ. ดร.จีระ  ท่านอาจารย์ ของเราชาว Ph.d3 SSRU

 

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมเขียนบทความให้อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เพื่อสนับสนุน Research ของอาจารย์ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้คือกุญแจสำคัญของการสร้างความยั่งยืน

Learning Organization is the key success of Sustainability Capital

การเขียนบทความนี้เกิดขึ้นมาเกิดมาจากการที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์ ได้เชิญอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์มาบรรยายให้นักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (Ph.D.3 Innovative Management) ในเรื่อง “Qualitative Thesis ในหัวข้อ Organization Learning” และจากการบรรยายทำให้ผู้เขียนต้องการเขียนเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในการทำธุรกิจในปัจจุบันและสอดคล้องกับการทำวิจัยของอาจารย์ศิริลักษณ์ ดังนั้นเพื่อจะสนับสนุนลักการของการ “สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้” ว่ามีประโยชน์อย่างไร และสามารถทำได้และมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่ควรจะเป็นอย่างไร ผลของการสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้จะส่งผลต่อการบริหารทางธุรกิจอย่างไร เป้าหมายของผู้เขียนคือการนำกรณีศึกษาจากเรื่องจริงมาให้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อสนับสนุนความพยายามสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้นให้เป็นรูปธรรมของท่านอาจารย์จีระ และสนับสนุนแนวทางการทำวิจัยของอาจารย์ศิริลักษณ์ ว่าเป็นเรื่องที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายต่อองค์กรนั้น ๆ และต่อสังคม

กรณีศึกษานี้เป็นเรื่องจริงของการที่ผู้เขียนได้เป็น Coaching ของสององค์กรซึ่งดำเนินธุรกิจในด้านของ IT และ Soft Ware มีองค์ประกอบคล้าย ๆ กันคือ มีบุคลากรอยู่ประมาณ 40 คนและมียอดขายประมาณ 100 ล้านบาท มีอายุของการก่อตั้งบริษัทประมาณ 10 ปี และเกิดปัญหาคล้าย ๆ กันคือเผชิญปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย, การที่ต้องเผชิญภาวะวิกฤตการเงินของโลก , เผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยเฉพาะในทางโลกของ Digital ซึ่งทั้งเร็วและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา, การเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่สูงมาก ๆ และจากปัญหาต่าง ๆ ที่มารุมเร้าก็ส่งผลให้เกิดยอดขายที่ตกต่ำลงอย่างมาก อาจจะมากที่สุดเท่าที่เคยเผชิญมาในหลาย ๆ ปี ดังนั้นถ้าท่านไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือสร้าง Innovation หรือ Innovative Management มาใช้ในการบริหารงานในปัจจุบันนี้ ท่านอาจจะต้องหายสาบสูญไปจากโลกแห่งความเป็นจริงนี้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ และองค์กรลักษณะเช่นนี้คือองค์กรที่ผู้บริหารระดับสูงพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทันที เพราะถ้าไม่มีการทำอะไรอย่างรวดเร็วผู้บริหารทุกคนเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าความหายนะกำลังมาเยือน และผู้ที่ทำหน้าที่แก้ไขวิกฤตทั้งหลาย หรือ Coaching ที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์อย่างแท้จริงจะเห็นได้ทันทีว่า อะไรคือกุญแจสำคัญของการที่จะช่วยให้เราสามารถยืนอยู่และต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ นี้ได้ คำตอบก็คือการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง (Learning Organization is the key success of Sustainability Capital)

ผู้เขียนขอยกบางตอนของหนังสือ The Necessary Revolution by Peter Senge ใน chapter 1 “A Future Awaiting Our Choices” กล่าวไว้ว่า “ You see the larger imbalances and sense that major changes are needed. You may found it hard to see how all the problems fit together and to know exactly what you –and the organization you work in—can do to help. But you know these problems are important to you, and you genuinely want to contribute to addressing them.

If that is true for you, welcome. You are the person for whom we have written The Necessary Revolution, and our highest hope is that it will help you in your work.

"A Final World" คุณจะอยู่รอดได้ต้องเป็น "มนุษย์พันธ์แท้" ที่ต้องรู้ว่าตัวเองเป็นอะไร ,องค์กรของตัวเองทำอะไร ,กำลังเผชิญกับปัญหาอะไรที่แท้จริง และต้องต้องเป็นผู้นำที่มีความพร้อมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ "The Necessary Revolution" และต้องทำอย่างรวดเร็ว ถ้าคุณเป็น "คุณจะเป็นความหวังสูงสุด ว่าคุณจะคงอยู่รอดได้"

ถ้าเราจะลองหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเองให้มากกว่านี้ก็จะยิ่งพบว่า การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคือหัวใจ ของการแก้ปัญหา, การเผชิญปัญหาให้ได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และท้ายสุดก็จะได้คำตอบที่ตรงกันว่า “การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้คือกุญแจสำคัญของการสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร” ในกรณีที่จะทำให้สามารถเข้าใจได้อย่างง่าย ๆ จะขอยืมขั้นตอนใน Research Organization Learning ของอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์มาใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ผู้เขียนได้นำมาใช้ Coaching เพื่อการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงองค์ทั้งสองแห่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และในปัจจุบันทั้งสององค์กรได้ผ่านพ้นจุดวิกฤตเรียบร้อยแล้ว และหวังผลอย่างยิ่งที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้เกิดความยั่งยืนที่แท้จริง

ขั้นตอนเหล่านั้นคือ

1. Culture

2. Leader

3. Formal and Informal Learning

4. Strategy

5. Dynamic

6. Structure

สำหรับขั้นตอนที่ 1 Culture

1.1ในสององค์กรนี้มีเรื่องที่เหมือนกันอย่างมากคือ การทำงานที่ดูจะเชื่องช้าไปหมด สิ่งแรกที่เริ่มเปลี่ยนแปลงและใช้เวลาพอสมควรที่พยายามทำให้ทุก ๆ คนเข้าใจคือ เราต้องเป็นองค์กรที่มี Speed ความรวดเร็ว

2.2 ต้องระดมความคิดจากทุก ๆ ส่วนเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ใหม่ และพยายามสอนให้ทุก ๆ คนมี Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ต้องสอนให้ทุกคนคิดและทำในสิ่งใหม่ ๆ และทำให้เกิดเป็น Learning Culture

3.3 ต้องสร้างให้องค์กรนี้เป็นองค์กรที่มีความหวังและมีเป้าหมายที่ดีกว่าเดิม เพราะคนส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ยอมรับสภาพของวิกฤตแล้ว โดยที่ต้องใช้ทฤษฎี 3 วงกลมในเรื่อง กระตุ้นสิ่งแวดล้อมขององค์กร, สร้างขีดความสามารถของบุคลากร และนำเรื่อง Motivation แรงจูงใจมาใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อผลักดันแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย และทำให้องค์กรมีความฮึกเหิมที่จะต่อสู้

สำหรับขั้นตอนที่ 2 Leader เสมือนมีการเปลี่ยนแปลงคนที่เป็นผู้นำในการ Driveองค์กร หรือการขับเคลื่อนองค์กร แน่นอนผู้นำคนใหม่ต้องมี Speed ความรวดเร็ว, Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติในด้านบวก และต้องมีทั้ง Innovation Capital and Innovative Management ที่สำคัญ Coaching คนนี้ต้องสามารถโน้มน้าวให้ผู้นำร่วมคนอื่น ๆ เห็นด้วยทั้งหมด (เพราะสถานการณ์เอื้ออำนวยให้คนอื่น ๆ ยอมรับได้มากขึ้นเพราะกำลังเกิดวิกฤตและยังไม่มีทางออกที่ดี)

ขั้นตอนที่ 3 Formal and Informal Learning ในธุรกิจ IT ทุก ๆ คนต้องเรียนรู้ตามตอนต่าง ๆ ,วิธีปฏิบัติ ,วิธีพัฒนาระบบงาน Soft Ware และอื่น ๆ อีกมากมายของบริษัทตลอดเวลา เพราะในธุรกิจนี้มีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงความรู้ของโลก Digital ซึ่งประเทศไทยและคนไทยอยู่ในธุรกิจนี้มากว่าสิบปีแล้ว ในองค์กรเหล่านี้ทุก ๆ ส่วนงานต้องผลักดันให้บุคลากรมีการเรียนรู้ทั้ง Formal and Informal อยู่แล้วถึงจะทันสมัยพอที่จะทำงานต่อไปได้

สำหรับขั้นตอนที่ 4 Strategy กลยุทธ์ ในโลกของธุรกิจ Digital ทุก ๆ อย่างต้องชัดเจนและปฏิบัติได้จริง โดยต้องนำทฤษฎี 2 R มาใช้คือ Reality รู้จริง มองความจริง และ Relevance ตรงประเด็น เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจจุดที่เป็นสาระสำคัญของอุปสรรค ปัญหา และแก้ให้ตรงประเด็นเพื่อความสำเร็จที่รวดเร็วแข่ง กับเวลา ซึ่งถ้าเรานำวิธีของทฤษฎี 4L’s ของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์มาเป็นกลยุทธ์ในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จะทำให้เราสามารถดำเนินการ หรือการนำไปปฏิบัติ ( Implement) ให้เป็นจริงได้ง่ายคือ

1. Learning Methodologies

ศึกษาและเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากแบบเดิมอย่างสม่ำเสมอ

ทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้กับสถานการณ์จริง

สร้างแรงจูงใจในการแสวงหาความรู้สู่ความเป็นเลิศ

สร้างให้รู้จักวิธีคิดและคิดอย่างเป็นระบบ

2. Learning Environment

สร้างสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะกับการเรียนรู้เช่น อุปกรณ์ต่าง ๆ ,หนังสือ หรือ Internet เป็นต้น

สร้างให้เกิดบรรยากาศของความเป็นมิตรและความเป็นกันเอง ไม่ใช่ต้องการเอาชนะ หรือการทำให้เกิดหน้าแตก เป็นต้น

ให้การยอมรับ ยกย่อง ชมเชยเมื่อเกิด Out Come จากผลการเรียนรู้

3. Learning Opportunities

ต้องพยายามพัฒนาให้มีการรับฟังกันและกันให้มากขึ้น เพราะถ้ามีแต่คนพูดไม่มีคนรับฟังจะไม่เกิดโอกาสอะไรได้เลย

ต้องพยายามให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ระหว่างกันเพื่อขยายผลและขยายโอกาสอย่างต่อเนื่อง

การนำการสอน หรือการอบรมโดยการทำ Workshop จะช่วยเพิ่มโอกาสแห่งการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

4. Learning Communities

ต้องทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นกับทุก ๆ ส่วนงานภายในองค์กรอย่างทั่วถึง

ต้องทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก (แต่ต้องไม่ใช่คู่แข่งหรือการทำผิดจริยธรรม)

สร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้จากล่างขึ้นบนและบนลงล่างในทุก ๆ ระดับชั้นมีส่วนร่วมกันเป็น Team Learning

ขั้นตอนที่ 5 Dynamic ปัจจุบันการทำงานต้องคำนึงถึง Head Count จำนวนพนักงาน เพราะพนักงานยิ่งมากค่าใช้จ่าย Fixed Cost ก็ยิ่งสูงโดยเฉพาะในวงการ IT เราต้องพยายามบริหารจัดการให้ในแต่ละคนสามารถทำงานได้หลาย ๆ Function เนื่องจากธุรกิจนี้มีการให้บริการแบบ 24x7 และ 365 วัน หมายถึงการให้บริการ 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์และทั้ง 365 วัน ดังนั้นการบริหารจัดการคนต้องเป็นระบบยืดหยุ่นในการทำงาน และการช่วยเหลือทำงานแทนกันได้เมื่อจำเป็น และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนงานเมื่อมีงานด่วนเข้ามาอยู่ตลอดเวลา สำหรับองค์กรด้าน IT มีความจำเป็นอย่างสูงที่จะต้องสร้างองค์กรให้เกิดความยืดหยุ่นตลอดเวลา Dynamic

ขั้นตอนที่ 6 Structure โครงสร้างองค์กร ในธุรกิจนี้คนเก่งก็ยังขาดแคลน และคนที่มีความรู้เฉพาะหรือพิเศษก็มีการดึงตัวกันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้ทั่วจนเป็น Culture ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาการสูญเสียบุคลากรได้ด้วย เพราะการที่มีการเรียนรู้ พัฒนาอย่างทั่งถึงทุก ๆ ส่วนจะสามารถสร้างตัวแทนรองรับงานได้อีกส่วนหนึ่ง และสิ่งที่สำคัญ Leader ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และต้องปรับให้เข้ากับลูกค้าที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ต้องปรับสภาพองค์กรให้คล่องตัวพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งทั้งภายในและภายนอกประเทศอีกด้วย

เมื่อทำการปรับเปลี่ยนและแก้ไขจากวิกฤต มาสู่ความมั่นคงได้ Coaching ก็ Lead ต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนต่อไป โดยการสร้างความร่วมมือจากทุก ๆ หน่วยงาน การสร้างให้เกิดการเรียนรู้ และมีวิสัยทัศน์ Vision ร่วมพลังกันมาระดมสองเพื่อการวางแผนทำ Strategic Plan ของปีถัดไปล่วงหน้า และเป็นแผนที่เกิดจากทุก ๆภาคส่วนจะได้เป็นที่ยอมรับ และเป็นที่เข้าใจในเป้าหมายเดียวกัน และจะต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนที่แท้จริงในอนาคต

เขียนโดย

ธนพล ก่อฐานะ

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบการบ้านเรื่อง Employee โดยหนูคิดว่า  Employee Ability สามารถที่ Development โดยการ ใช้ดังนี้ ทฤษฏี 8 K’s + 5K’s + 4L’s ของท่านศ. ดร. จีระ อาจารย์ของหนู โดยเฉพาะทฤษฏี 3 วงกลม เรื่อง Motivation ให้กับ Employee และ + กับ + ลักษณะของแรงจูงใจ

แรงจูงใจของมนุษย์มีมากมายหลายอย่าง เราถูกจูงใจให้มีการกระทำหรือพฤติกรรม หลายรูปแบบ เพื่อหาน้ำและ อาหารมาดื่มกิน สนองความต้องการทางกาย แต่ยังมีความต้องการมากกว่านั้น เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการเงิน คำชมเชย อำนาจ และในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม คนยังต้องการมีอารมณ์ผูกพันและอยู่รวมกลุ่มกับผู้อื่น แรงจูงใจ จึงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

1. แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motives)  เป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร เช่น คนงานที่เห็นคุณค่าของงาน มองว่าองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัว เขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ กระทำ การต่างๆ ให้องค์การเจริญก้าวหน้า หรือในกรณีที่บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาของเศรษฐกิจขาลง องค์การจำนวนมากอยู่ในภาวะขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทน แต่ด้วยความผูกพัน เห็นใจกันและกัน ทั้งเจ้าของกิจการและพนักงานต่างร่วมกันค้าขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ทั้งประเภทแซนวิช ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เพียงเพื่อ ให้มีรายได้ ประทังกันไปทั้งผู้บริหารและลูกน้อง และในภาวะดังกล่าวนี้จะเห็นว่า พนักงานหลายรายที่ไม่ทิ้งเจ้านาย ทั้งเต็มใจไปทำงานวันหยุดโดยไม่มีค่าตอบแทน ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นไปโดย เนื่องจากความรู้สึกหรือเจตคติที่ดีต่อเจ้าของกิจการ หรือด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งขององค์การ มิใช่เพราะเกรงจะถูกไล่ออกหรือไม่มีที่ไป ก็กล่าวได้ว่า เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน

2.แรงจูงใจภายนอก Extrinsic Motives) เป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คำชม การได้รับการยอมรับยกย่อง ฯลฯ แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวร ต่อพฤติกรรม บุคคลจะแสดงพฤติกรรม เพื่อ ตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าว เฉพาะในกรณีที่ต้องการรางวัล ต้องการเกียรติ ชื่อเสียง คำชม การยกย่อง การได้รับ การยอมรับ ฯลฯ ตัวอย่าง แรงจูงใจภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เช่น การที่คนงาน ทำงานเพียง เพื่อแลกกับ ค่าตอบแทน หรือเงินเดือน การแสดงความขยันตั้งใจทำงานเพียง เพื่อให้หัวหน้างานมองเห็นแล้ว ได้ความดีความชอบ เป็นต้น

หนูคิดว่า พัฒนา Potentials  + เสริม Competency  ของบุคคล บุคลากร พนักนักงาน มีความสำคัญมาก เพราะว่า เขาเหล่านั้นคือ Capital ที่มีคุณค่า โดยจะ ใช้ เครื่องมืออะไร  ก็ได้นะคะ...แล้วนำมารวมกับแนวคิดและทฤษฏี 8 K’s + 5K’s + 4L’s+ทฤษฏี 3 วงกลม โดยเฉพาะเรื่อง Motivation ของท่าน ศ. ดร.จีระ  ท่านอาจารย์ ของเราชาว Ph.d3 SSRU

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

เศรษฐกิจกับการจ้างงานต่างกันอย่างไร ศึกษาธุรกิจต่างๆ ในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและลดลงในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา

เศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3 และชัดเจนมากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เนื่องจากวิกฤติการณ์การเงินโลกและภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเริ่มส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทย และทวีความรุนรงยิ่งขึ้นโดยลำดับ การที่กำลังซื้อของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกลดลงอย่างมาก ซึ่งรวมถึงหลายประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าไทยหดตัวลง ประกอบกับความไม่สงบทางการเมืองที่นำไปสู่การปิดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของภาคเอกชนให้ทรุดตัวลง แม้ว่าราคาน้ำมันโลกได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลดีต่อต้นทุนการผลิตและช่วยผ่อนคลายแรงกดดันด้านมูลค่าการนำเข้า แต่ผลจากปัจจัยเชิงลบที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาลดลงอย่างมาก โดยเหลือเพียงร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เติบโตถึงร้อยละ 4.9 ในปี 2550

สำหรับในปี 2552 ผลจากภาวะธุรกิจที่ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องมาจากปลายปีที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง อันเป็นปัจจัยเชิงลบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการตัดสินใจลงทุนของผู้ประกอบการ รวมทั้งภาคการส่งออก ตลอดจนการอ่อนตัวลงอย่างมากของอุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งสะท้องจากการบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ทั้งประเทศยังชะลอตัว รวมถึงการลดลงอย่างต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชน แม้ราคาน้ำมันจะยังคงทรงตัว และไม่มีภาวะกดดันด้านเงินเฟ้อทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง โดยจะมีระดับการขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 0 – 2.0 สรุปแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจในช่วงไตรมาสที่ 1 ปีนี้ ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานอื่นๆ เกี่ยวกับการจ้างงาน คือ

การจ้างงานในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ตลาดแรงงานเริ่มมีสัญญาการอ่อนตัว โดยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ปรับตัวลดลงเวลาการทำงานและ ลดคนงานประเภท Sub- contractor สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ผลจากอุปสงค์ในตลาดต่างประเทศหดตัวมากขึ้นจะทำให้ระดับการว่างงานปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะนี้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับประมาณ 522,300 คน จากกำลังแรงงานทั้งหมดประมาณ 64 ล้านคน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าในปีนี้การว่างงานอาจจะสูงขึ้นสู่ระดับ 900,000 – 1,300,000 คน

Thaksinanan

080 -6148578

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

cc คุณเอและคุณเอ้

เมื่อคืนผมได้ดูรายการของอาจารย์ที่ช่อง TNN2 อาจารย์จัดรายการได้ดีมาก ๆ เลยครับ ให้ข้อคิดและชี้แนวทางให้กับทุก ๆ คนแม้แต่ภาครัฐในการพัฒนาการศึกษา และแนวทางการสอน Ph.D. ในประเทศไทย รวมทั้งอาจารย์ได้ให้ความกรุณา Ph.D.3 SSRU ทุก ๆ คนอย่างมาก ๆ ทั้งในห้องเรียน , นอกห้องเรียน(office ของอาจารย์),ในรายการ "คิดเป็น...ก้าวเป็นกับดร.จีระ หงส์ลดารมภ์" ,การเรียนการสอนนอกสถานที่( ร้านหนังสือ, ที่เชียงใหม่) และอื่น ๆ อีกมากมายที่ตาม

พวกเราขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างมาก ๆ ๆ ๆ ๆ และจะพยายามและตั้งใจทำตามเป้าหมายของการเรียนและช่วยกันร่วมสร้าง พัฒนาการศึกษาของประเทศไทยให้ "คิดเป็น..ก้าวเป็นกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"ให้ได้นะครับ

พวกเราขอขอบคุณผู้ช่วยของอาจารย์ทุก ๆ คน ..คุณเอ, คุณเอ้, คุณเอราวรรณ ..และคนอื่น ๆ ด้วยที่ช่วยพวกเราทุก ๆ เรื่องด้วยนะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

Ph.D.3 (Innovative Management) SSRU

เรียน เพื่อน ๆ ครับ

ลองดู Blog นี้และติดตามรายการน่าสนใจมาก ๆ ครับ(ของอาจารย์เหมือนกันครับ)

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/285682

คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ ตอน " White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว"

รายการคิดเป็น...ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ" รายการที่ส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สวัสดีครับชาว Blog

ขณะนี้รายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ได้เปิด Blog เพื่อแจ้งข้อมูลการออกอากาศและประเด็นการสนทนาในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ยังให้ชาว Blog เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองในเรื่องที่นำเสนอในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย

สัปดาห์นี้เสนอตอนที่มีชื่อว่า" White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว" ผมได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองกับ คุณวัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ ประธานกรรมการ Bathroom Design ที่มาเป็นแขกรับเชิญในรายการ ประเด็นสำคัญในการสนทนาคือ การบริหารองค์กรตามหลักพุทธศาสนาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์กับการบริหารแบบ Modern Management และการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรแห่งนี้

ติดตามรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ ตอน" White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว" ที่ TNN 2 (True Visions 08)

o ครั้งที่ 1 เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 52 เวลา 23.00 – 23.30 น.

o ครั้งที่ 2 อังคารที่ 18 สิงหาคม 52 เวลา 02.00 – 02.30 น (re-run)

o ครั้งที่ 3 พุธที่ 19 สิงหาคม เวลา 23.30 - 24.00 น. (re-run)

ออกอากาศทางเคเบิ้ลท้องถิ่น ช่อง TTV 2

o ทุกวันศุกร์

o ทุกเสาร์ และอาทิตย์ เวลา 22.10 – 23.00 น. (re-run)

ผมขอเชิญทุกท่านติดตามชมและร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านทาง Blog สัปดาห์นี้ผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่เชื่อมโยงกับประเด็นการสนทนาในรายการฯ ทีมงานจะคัดเลือกมา 2 ท่าน และจะมีของรางวัลเป็นเสื้อ T-shirt ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดมอบให้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียน เพื่อน ๆ ครับ

ลองดู Blog นี้และติดตามรายการน่าสนใจมาก ๆ ครับ(ของอาจารย์เหมือนกันครับ)

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/285682

คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ ตอน " White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว"

รายการคิดเป็น...ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ" รายการที่ส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สวัสดีครับชาว Blog

ขณะนี้รายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ได้เปิด Blog เพื่อแจ้งข้อมูลการออกอากาศและประเด็นการสนทนาในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ยังให้ชาว Blog เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองในเรื่องที่นำเสนอในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย

สัปดาห์นี้เสนอตอนที่มีชื่อว่า" White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว" ผมได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองกับ คุณวัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ ประธานกรรมการ Bathroom Design ที่มาเป็นแขกรับเชิญในรายการ ประเด็นสำคัญในการสนทนาคือ การบริหารองค์กรตามหลักพุทธศาสนาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์กับการบริหารแบบ Modern Management และการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรแห่งนี้

ติดตามรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ ตอน" White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว" ที่ TNN 2 (True Visions 08)

o ครั้งที่ 1 เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 52 เวลา 23.00 – 23.30 น.

o ครั้งที่ 2 อังคารที่ 18 สิงหาคม 52 เวลา 02.00 – 02.30 น (re-run)

o ครั้งที่ 3 พุธที่ 19 สิงหาคม เวลา 23.30 - 24.00 น. (re-run)

ออกอากาศทางเคเบิ้ลท้องถิ่น ช่อง TTV 2

o ทุกวันศุกร์

o ทุกเสาร์ และอาทิตย์ เวลา 22.10 – 23.00 น. (re-run)

ผมขอเชิญทุกท่านติดตามชมและร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านทาง Blog สัปดาห์นี้ผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่เชื่อมโยงกับประเด็นการสนทนาในรายการฯ ทีมงานจะคัดเลือกมา 2 ท่าน และจะมีของรางวัลเป็นเสื้อ T-shirt ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดมอบให้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียน เพื่อน ๆ ครับ

ลองดู Blog นี้และติดตามรายการน่าสนใจมาก ๆ ครับ(ของอาจารย์เหมือนกันครับ)

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/285682

คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ ตอน " White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว"

รายการคิดเป็น...ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ" รายการที่ส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สวัสดีครับชาว Blog

ขณะนี้รายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ได้เปิด Blog เพื่อแจ้งข้อมูลการออกอากาศและประเด็นการสนทนาในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ยังให้ชาว Blog เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองในเรื่องที่นำเสนอในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย

สัปดาห์นี้เสนอตอนที่มีชื่อว่า" White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว" ผมได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองกับ คุณวัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ ประธานกรรมการ Bathroom Design ที่มาเป็นแขกรับเชิญในรายการ ประเด็นสำคัญในการสนทนาคือ การบริหารองค์กรตามหลักพุทธศาสนาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์กับการบริหารแบบ Modern Management และการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรแห่งนี้

ติดตามรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ ตอน" White ocean การทำธุรกิจแบบน่านน้ำสีขาว" ที่ TNN 2 (True Visions 08)

o ครั้งที่ 1 เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 52 เวลา 23.00 – 23.30 น.

o ครั้งที่ 2 อังคารที่ 18 สิงหาคม 52 เวลา 02.00 – 02.30 น (re-run)

o ครั้งที่ 3 พุธที่ 19 สิงหาคม เวลา 23.30 - 24.00 น. (re-run)

ออกอากาศทางเคเบิ้ลท้องถิ่น ช่อง TTV 2

o ทุกวันศุกร์

o ทุกเสาร์ และอาทิตย์ เวลา 22.10 – 23.00 น. (re-run)

ผมขอเชิญทุกท่านติดตามชมและร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านทาง Blog สัปดาห์นี้ผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่เชื่อมโยงกับประเด็นการสนทนาในรายการฯ ทีมงานจะคัดเลือกมา 2 ท่าน และจะมีของรางวัลเป็นเสื้อ T-shirt ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดมอบให้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

Homework: August 8, 2009
Mr. Sakonechai Charoenchai, SSRU Ph.D. Student
1. Study the HR Architecture and use the model to improve the education system of police department and military department in Thailand.
The main problem with educational system of Thai police department and Thai military is a lack of understanding or implementing Ethical Capital. This means they often have their knowledge and skills to do their work. However, the focus is not to do the best for the country or society but to do the best for their own career and their own group. The police department is notorious for doing everything, good or bad, right or wrong, legal or illegal, for the sake of career advancement. Since the career advancement means power, position, authority, and money. The cause of the problem is the lack of seriously creating and supporting ethical capital. The solution should be to focus on teaching more ethical capital and set examples of persons who have good ethical capital and still be able to succeed in police department and military department.

2. What are human capital problems of Thai Air Force? Study the theory of 8K, 5K, and 3 rings theory.
The human capital problem of Thai Air Force is having a lot of Talented Capital, which are knowledge, skill, and mindset, but don't see the value of its own talented capital. This means the department has invested a lot of money to train and produce the best and talented human capital, but rarely use them in the way that will 100 percent benefit the department and the country. In other words, the cost of investing these people to be talented capital is huge and seems to be successful, but the benefit from utilizing these talented capitals is so minimal. We can produce them but don't know how to fully benefit from them.

3. Study the economy and employment. What kinds of business that increase its employment or decreases its employment?
Many economists and experts started to believe that the worst of financial crisis is over. Now, we are the process of recovery. In general, construction jobs are still in bad shape. Export, however, is gaining the momentum. However, according to Office of Industrial Economics, of the eleven industries of Thailand, four industries are considered as fast-recovering category: electronics, chemicals, pharmaceuticals, and food industries. The remaining seven industries are in slow-recovery category: automotive, auto-parts, cement, rubber goods, electronics appliances, plastics, and paper industry.

4. Compare the concept of employment and employment ability.
Employment means to have a job at least for the last six months. Employment ability can be defined as the ability to work and find the job. For example, some senior citizens in Thailand who maintain good health and still have ability to work or contribute to society in their own ways.

 

ท่าน ศ. ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอตอบการบ้านเรื่อง Employee โดยหนูคิดว่า Employee Ability สามารถที่Development โดยการใช้ดังนี้ ทฤษฏี 8 K’s + 5K’s + 4L’s ของท่าน ศ. ดร. จีระ อาจารย์ของหนู โดยเฉพาะทฤษฏี 3 วงกลม เรื่อง Motivation ให้กับ Employee และบวกกับ + การจูงใจ (Motivation)ใช้กับเรื่องของ

          @ แรงขับ

            @ ความต้องการ

            @ ความจำเป็น

            @ ความปรารถนา

@ กำลังผลักดัน

โดนผู้บริหารองค์การ ต้องจูงใจ โดยการจัดหา สภาวการณ์ ซึ่งจะทำให้สมาชิกองค์การ ในเรื่อง การทำงานหรือเป็นสิ่งที่อยู่ภายใน ซึ่งเป็นเหตุให้แต่ละบุคคลประพฤติในสิ่งที่สามารบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

 

Motivation

1.      คือ ความตั้งใจที่จะใช้ความ พยายามอย่างมาก เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ บรรลุเป้าหมาย ขององค์กร  โดยมีเงื่อนไขว่าความสามารถในการใช้ความพยายามนั้นต้องสนองตอบความต้องการ อย่างพึงพอใจ

2.      คือ ความเต็มใจ ที่จะใช้ความพยายามใน ระดับสูงเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ

 

องค์ประกอบของการจูงใจ(Motivation)

            1. ความมานะพยายาม(Effort)

2. เป้าหมายขององค์การ(Organization Goals)

3. ความต้องการ(Needs)

1. Effort = เป็นการวัดความเข้มข้นหรือความแรงกล้า เมื่อคนเราถูกจูงใจก็จะใช้ความพยายามมากขึ้นและไปในทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ (Organization Goals)

2. Needs = ภาวะภายในบางอย่างซึ่งทำให้ผลที่ได้เป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจ หากความต้องการไม่ได้รับ การตอบสนองก็จะทำให้เกิด ความเครียด(Stress) ซึ่งจะไปกระตุ้น แรงขับภายในแต่ละคน แรงขับนี้จะก่อให้เกิด พฤติกรรม(Behavior) ในการค้นหา เป้าหมาย (Goals) ถ้าบรรลุเป้าหมายก็จะตอบสนองความต้องการและนำไปสู่ การลดความเครียดลงในที่สุด

 

Motivation เป็นกระบวนการ (Process) ของความต้องการกับความพึงพอใจ(Satisfaction)  และ Motivation ก็อยู่ในทฤษฏี 3 วงกลม ท่าน ศ. ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเราชาว SSRU แล้วนะคะ

 

 

 

 

 

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tle. 084 - 9435033

 

 

เรียน ท่านอาจารย์ ที่เคารพค่ะ

Employee Ability หมายถึง ความสามารถของพนักงานทางร่างกาย จิตใจ (Mental skill or physical power) ที่ทำให้ทำงานบางอย่างได้ ดังนั้น Employee Ability เกี่ยวข้องกับ ตัวบุคคลที่เป็นลูกจ้าง

 

Employment (การจ้างงาน) หมายถึง จำนวนผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการหรือในวิสาหกิจทั้งที่ไม่ได้รับเงินเดือนซึ่งก็คือ เจ้าของหรือสมาชิกในครอบครัวและที่ได้รับเงินเดือน โดยอาจได้เป็นรายเดือน รายวันหรือรายชิ้นงานก็ได้ ทั้งนี้ผู้ที่มาฝึกงานหรือ ผู้ที่มาปฏิบัติงานที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้นับรวมเป็นจำนวนคนทำงาน ส่วนผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นที่ได้รับเฉพาะเบี้ยประชุม คนงานที่มารับงานไปทำที่บ้าน คนงานที่ลางานเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่จ้างมาทำงานชั่วคราว พนักงานขายที่ไม่มีเงินเดือนประจำไม่นับรวมเป็นคนทำงานในสถานประกอบการหรือในวิสาหกิจ กล่าวโดยสรุป การจ้างงานเกี่ยวข้องกับฝ่ายนายจ้าง

 ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา 084-8073320

ค้นคว้ามาเล่าค่ะ

การคาดการณ์เศรษฐกิจ EU ปี 2009-2010

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ศกนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เผยแพร่รายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจ EU ปี 2009-2010 สรุปได้คือ

1. ภาพรวม: - คณะกรรมาธิการฯ คาดการณ์ว่า ในปีนี้ GDP ของ EU จะหดตัวลง 4% และจะค่อนข้างทรงตัวในปี 2010 ปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะเศรษฐกิจถดถอยขณะนี้คือ สภาวะที่แย่ลงของวิกฤตการเงินโลก การหดตัวลงอย่างมากของการค้าโลก และการปรับแก้ปัญหาตลาดที่อยู่อาศัยในบางประเทศ - อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากมาตรการการเงินและการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดหวังได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะหวนกลับคืนมาบ้างในปี 2010 - ตลาดแรงงานจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยคาดว่าอัตราว่างงานใน EU จะเพิ่มเป็น 11% ในปี 2010 - การขาดดุลงบประมาณภาครัฐ (public deficit) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากเป็น 7¼% ของ GDP ในปี 2010 ซึ่งสะท้อนถึงมาตรการชะลอตัวและระมัดระวังที่ออกมาใช้สนับสนุนเศรษฐกิจ และสอดคล้องกับแผนงานฟื้นตัวของยุโรป (European Recovery Plan) ที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการฯ - ขณะนี้เศรษฐกิจยุโรปกำลังอยู่ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่แผ่ขยายและหยั่งลึกมากที่สุดในช่วงหลังสงครามโลก แต่คาดว่ามาตรการที่รัฐบาลและธนาคารกลางนำมาใช้จะสกัดกั้นภาวะตกต่ำสุดเพียงในปีนี้ และสามารถเริ่มฟื้นตัวในปีหน้า ทั้งนี้ จำเป็นต้องเร่งจัดการสะสางปัญหาทรัพย์สินเสื่อมค่า “impaired assets” ของบัญชีธนาคารและปรับฐานการลงทุนของธนาคารที่ประสบปัญหา (recapitalize banks)

2. เศรษฐกิจโลก - วิกฤตการเงินโลกได้นำไปสู่การหดตัวอย่างรุนแรงของการค้าโลกและผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงปลายปี 2008-ต้นปี 2009 รวมทั้งส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศเศรษฐกิจใหม่และประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดี ด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ คาดว่าการเติบโตของ GDP โลกจะหวนกลับมาเป็นบวกอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2009 และจะเพิ่มสูงถึง 2% ในปี 2010

3. ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน EU น่าจะถึงจุดต่ำสุดปลายปีนี้ - ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของ EU เริ่มก่อตัวขึ้นช่วงไตรมาสสองปี 2008 และยิ่งแย่ลงในช่วงปลายปี 2008 โดย GDP ทั้งของ EU และ euro area ได้หดตัวลงประมาณ 1½% ในช่วงไตรมาสสุดท้าย - ผลสำรวจและข้อมูลสถิติยังชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซายิ่งขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ (ปี 2009) ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิก EU ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเชื่อมโยงกับวิกฤตการณ์การเงิน พลวัตของตลาดที่อยู่อาศัย และระดับการเปิดเสรีทางการค้าของประเทศ - เมื่อตลาดการเงินมีเสถียรภาพ ความเชื่อมั่นนักลงทุนดีขึ้น มาตรการสนับสนุนทางการการเงินและการคลังค่อยๆ ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจแท้จริง การหดตัวของ GDP น่าจะถึงจุดต่ำสุดปลายปีนี้ และฟื้น กลับมามีอัตราเติบโตเป็นบวกในปี 2010 - ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์เกือบทั้งหมด ทำให้การลงทุนภาคเอกชนได้รับผลกระทบอย่างหนัก การใช้ประโยชน์กำลังผลิตลดลงอย่างมากและยังคงมีเงื่อนไขทางการเงินที่เข้มงวด การส่งออกหดตัวลงมากและการค้าโลกลดต่ำลง ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังทรงตัว ดีอยู่เนื่องจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง คงมีเพียงการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่จะส่งผลบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้

4. ตลาดแรงงานและดุลการเงินภาครัฐได้รับผลกระทบหนัก - คาดว่าการจ้างงานในปีนี้จะหดตัวลงประมาณ 2½% ทั้งใน EU และ euro area และจะลดลงอีก 1½% ในปี 2010 ทำให้มีจำนวนคนตกงาน 8½ ล้านคนในช่วงสองปี (ตรงกันข้ามกับการจ้างงานสุทธิที่เพิ่มขึ้น 9½ ล้านคนในช่วงปี 2006-2008 - งบดุลภาครัฐได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยมีการขาดดุลใน EUเพิ่มเป็นสองเท่า (จาก 2.3% ของ GDP ในปี 2008 เป็น 6%) และเพิ่มขึ้นอีกในปี 2010 (เป็น 7¼%) เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูงในการกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรป

5. อัตราเงินเฟ้อต่ำชั่วคราว - อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และคาดว่าจะลดลงต่อไปในช่วงไตรมาสสองและสามของปีนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอและสมมติฐานการลดลงของราคาสินค้า การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ HICP ปี 2009 ต่ำกว่า 1% เล็กน้อยใน EU (และ ½% ใน euro area) และคาดว่าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1¼% ในปีหน้า

6. ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่มาก - ในช่วงขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญภาวะถดถอยเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง การมองภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อจึงขึ้นกับความไม่แน่นอนอย่างมาก ความเสี่ยงของผลที่แย่กว่าการคาดการณ์ข้างต้นขึ้นอยู่กับผลกระทบของวิกฤตการเงินและความเข้มแข็งของ feedback loops ระหว่างสาขาต่างๆ (sectors) ของเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้าม มาตรการการเงินและการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการกลับคืนมาของเสถียรภาพและความเชื่อมั่นต่อตลาดเงินและการสนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจ ความเสี่ยงต่อการมองอัตราเงินเฟ้อปีนี้น่าจะอยู่ในสมดุลโดยดูจากพัฒนาการราคาสินค้ารวมทั้งพฤติกรรมการกำหนดค่าจ้าง

ขอขอบคุณแหล่งความรู้ค่ะ : รายละเอียดรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจของคณะกรรมาธิการยุโรปข้างต้นปรากฎทางเว็บไซต์ http://ec.europa.eu/economy_finance/thematic_articles/article14927_en.htm

ลัดดา ปินตา

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ชม ร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถึง 23 สิงหา นี้เท่านั้น

ชมเรือ MV DOULOS ร้านหนังสือลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
                 
ระหว่าง วันที่ 30 กรกฎาคม - 23 สิงหาคม 2552
               
ท่าเทียบเรือคลองเตย โกดังหมายเลข 1 กรุงเทพฯ

เรือโดยสารเดินสมุทรที่เก่าแก่ที่สุดโลก
สร้างขึ้นในปีค.ศ. 1914 หลังเรือไททานิคเพียงสองปี ตลอด 31 ปีที่ผ่านมา เรือดูลอสได้แวะจอดตามท่า
ในประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศ และได้ต้อนรับเข้าชมบนเรือกว่า 21 ล้านคน

ร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มีหนังสือภาษาอังกฤษมากกว่า 6,000 ชื่อเรื่อง ครอบคลุมในหัวข้อต่างๆ เช่น กีฬาและงานอดิเรก
การศึกษาและการทำอาหาร พจนานุกรม หนังสือเกี่ยวกับเด็กและอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้ง
หนังสือภาษาไทยที่คัดสรรมาจำหน่ายจำนวนหนึ่ง

เวลาเปิดทำการ และการเข้าชม
ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท
เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีควรมีผู้ปกครองไปด้วย และกรุณาพกบัตรประจำตัวประชาชน
วันอังคาร - วันเสาร์ : 10.00 - 21.00 น.
วันอาทิตย์ และ วันจันทร์ : 14.00 - 21.00 น.
< BR>
ลูกเรือนานาชาติ
มีอาสาสมัครคริสเตียน 330 คนซึ่งเป็นตัวแทนจากกว่า 50 เชื้อชาติ เชิญขึ้นมาเยี่ยมชมเรือและ
ผูกมิตรกับลูกเรือนานาชาตินี่เป็นโอกาสครั้งยิ่ง ใหญ่ในการฝึกสนทนาภาษาอังกฤษ มาเยี่ยมชม
และร่วมรับความสนุกสนานจากการแสดงหลากหลายที่จัดโดยลูกเรือ เพื่อแนะนำเรือดูลอส

โปรแกรมกิจกรรม
บัตรราคา 20 บาท
วันเสาร์ที ่ 1 สิงหาคม เวลา 19.00 - 20.30 น.  
                                 
รายการ "มีมากกว่านี้ไหม" Is there more?
วันอาทิตย์ที่ 2, 9 และ 16 สิงหาคม เวลา 19.00 - 20.30 น.
                                 
รายการ "คาเฟ่นานาชาติ" International Cafe‘s
วันศุกร์ที่ 31 ก.ค. และ 7, 14 ส.ค. เวลา 19.00 - 20.30 น.
                                 
รายการ "คาเฟ่อังกฤษ" English Cafe‘s
วันแม่แห่งชาติ วันที่ 12 สิงหาคม เวลา 13.00 - 19.00 น.
                                 ยินดีต้อนรับขึ้นเรื่อ เรียนรู้ชีวิตบนเรือ ราคารวมอยู่ในค่าธรรมเนียมการเข้าชม
วันเสาร์ที่ 1
, 8 และ 15 สิงหาคม เวลา 13.00-17.00
                                 ร่วมรับประสบการณ์นานาชาติจากการแสดงดนตรี มัลติมีเดีย ละคร
การเริงระบำ และการแสดงอื่นๆ อีกมากมาย เชิญชมการแสดงพิเศษของคณะลูกเรือนานาชาติดูลอส


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.doulos.org (http://www.doulos.org/)
E-mail :
[email protected] ([email protected])


หมายเหตุ : มีรถประจำทางให้บริการถึงท่าเรือคลองเตย สาย : 4, 47 ,72,102,162

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง                 

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile: 081-661-1701

ท่าน ศ. ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) คุยกับท่านอาจารย์เรื่อง กลยุทธ์ทางธุรกิจ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ . ดร. จีระ และท่าน รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้สอนเรื่อง “Red Ocean”  และ “Blue Ocean” และต่อมา White Ocean หนูอ่านแล้ว(คราว ๆ แล้ว) แต่ละ Concept แต่ละ Strategy  ดีมาก ๆค่ะ ล้วนแต่ใช้ ทุนทางปัญญา + ทุนทางมนุษย์ + ทุนทางความรู้ + ข้อมูลใหม่ ๆๆๆๆ + Idea + Information + Digital(IT system) + การคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่--------> Innovation สิ่งที่ตอบสนองลูกค้า สินค้าใหม่ ๆ แปลก ๆ ซึ่งทั้งหมดคือ ทฤษฎีของท่าน อาจารย์ ศ. ดร. จีระที่สอนในPh.D SSRU เพื่อ-------->ตอบสนอง Need  ของลูกค้า  เปลี่ยนจาก ลูกค้าคือพระเจ้าไปเป็น-------> สินค้า คือพระเจ้า แทน

       @ Red Ocean การทำ Strategy  ในการแข่งขันมี แก่งแย่งแบ่งฐานลูกค้ากันเอง องค์กรที่มีความได้เปรียบ คือองค์กรที่มีศักยภาพสูง(High Potentials ) มีทั้งความรู้(Knowledge) ความเชี่ยวชาญ(Special) และทรัพยากร(Resources)ที่มีประสิทธิภาพ + มีเงินทุนมากเท่านั้น ผู้บริหาร + ผู้ประกอบการจะทุ่มเททุก ๆอย่างเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามมาและเมื่อหมดทรัพยากร แต่เมื่อเจอ “Risk” จากความไม่แน่นอนของโลกธุรกิจยุคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ธุรกิจจะเป็นเช่น----->ทะเล สีเลือด

@ Blue Ocean น่านน้ำ สีคราม  เมื่อคิด Innovation เพื่อให้เป็นสินค้าใหม่ ๆ แปลก ๆ + บริการรูปแบบใหม่ เพื่อเป็นสิ่งที่สนองตอบลูกค้า ในเวลาไม่นาน คู่แข่งขันรายใหม่ + ผู้เล่นรายใหม่ๆ อยากเข้ามาร่วมในตลาดเดียวกันกับเรามากขึ้น ฉุดตลาดใหม่ของเราให้ไปสู่ Red Ocean  เพราะเราคิด Strategy  นี้ได้ คู่แข่งก็คิดได้เช่นกัน และสุดท้าย Blue Ocean ก็ กลายเป็น Red Ocean  ความ ไม่ ยั่งยืน(Sustainability)ก็เกิดขึ้นอีก....

@ White Ocean ธุรกิจสีขาว มองระยะไกล-----> มองเรื่อง Sustainability ของผู้บริหาร ของนักคิด Innovator  อยู่บนหลักสมการ 3 P ของ ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย คือ People (คน) Planet(ทรัพยากร)และ Profit (ผลกำไร) ธุรกิจในโลกปัจจุบันเป็นโลกของโอกาสและความอุดมสมบูรณ์ องค์กรร่ำรวยขึ้นมาได้ก็เป็นผลมาจาก สังคม และเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไร สร้างความมั่งคั่งสูงสุด ให้กับ ธุรกิจส่วนรวม+ สังคมส่วนรวม

People หมายรวมถึง

- พนักงานในองค์กร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความอยู่รอดให้องค์กร

- ผู้บริหารต้องสร้างจิตสำนึกที่ดี เพื่อสร้างความแข็งแกร่งภายในองค์กรให้ได้

- รวมถึงลูกค้าทางตรงและทางอ้อมไปจนถึงสาธารณชน

Planet คือทรัพยากรโดยรวมทั้งหมดที่ผ่านมา การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ขององค์กรได้ใช้ทรัพยากรไปมากน้อยแค่ไหนและทรัพยากรที่มีอยู่ทำให้เกิดประโยชน์กับสาธารชนได้หรือไม่? มากหรือน้อยอย่างไร? องค์กรต้องมีทรัพยากรที่เอื้อเฟื้อให้ผู้คนที่รายล้อมองค์กรได้ด้วย

Profit  องค์กรจะอยู่ได้ก็ต้องมี “Profit” ให้อยู่รอดได้ด้วย

สรุป White Ocean คือการทำงานดี ๆ ให้กับสังคม โครงการที่ดี ๆและต้องก็อยากทำด้วย มีใจที่จะทำ ทุ่มเท จึงมีงานไหลเข้ามาหาเราโดยธรรมชาติ.....สรุปคือทำธุรกิจที่ดี ๆๆ เพื่อสังคม นั้นคือ....ทำดี..เพื่อความดี.....นั้นเองนะคะ

วันนี้หนูขอจบแค่นี้ก่อนนะคะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.บ้านลาด Tel. 081-9435033

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอเรื่อง Employee Motivation : Theory and Practice  หนูคิดว่าการที่ผู้บริหารขององค์การทุกระดับได้มีการ Motivation  บุคลากร พนักงาน ลูกน้อง เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  จากการที่ได้เรียนเรื่อง “Performance”  จากท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  + อ. พจนารถ ทำให้พบว่า

 

 

Job performance = f(Ability)(Motivation)

        Ability in turn depends on education, experience and training and its improvement is a slow and long process. On the other hand motivation can be improved quickly. There are many options and an uninitiated manager may not even know where to start.  As a guideline, there are broadly seven strategies for motivation.

            * Positive reinforcement / high expectations

            * Effective discipline and punishment

            * Treating people fairly

            * Satisfying employees needs

            * Setting work related goals

            * Restructuring jobs

            * Base rewards on job performance

These are the basic strategies, though the mix in the final ‘recipe’ will vary from workplace situation to situation. Essentially, there is a gap between an individuals actual state and some desired state and the manager tries to reduce this gap.

      Motivation is, in effect, a means to reduce and manipulate this gap. It is inducing others in a specific way towards goals specifically stated by the motivator. Naturally, these goals as also the motivation system must conform to the corporate policy of the organization. The motivational system must be tailored to the situation and to the organization.

 

วันนี้หนูขอจบการคุยกับท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะค่ะ

สมศรี นวรัตน์  Tel 081-9435033

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

            วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอเรื่อง ความแตกตางของ Competency กับ ความรู้(Knowledge) ทักษะ (Skill) และ ทัศนคติ/แรงจูงใจ (Attitude/Motive) อยางไร? และ ความรู้หรือทักษะที่บุคคลมีอยู่นั้นถือเป็นCompetency หรือไม?

            จากการศึกษาของ David  C. McClelland  เขาพบว่าCompetency สามารถแบ่งออกไดเป็น 2 กลุม คือ

            1. Competency ขั้นพื้นฐาน (Threshold Competencies) ซึ่งหมายถึง ความรู้หรือทักษะพื้นฐานที่บุคคล จําเป็นต้องมีในการทํางาน เช่น ความสามารถในการอ่านหรือความรู้ในสินค้าที่ตนขายอยู่ประจําซึ่ง Competency พื้นฐานเหล่านี้ ไม่ทําให้บุคคลมีผลงานที่แตกตางจากผู้อื่น หรือ ไม่สามารถทําใหบุคคลมีผลงานที่ดีกว่าผู้อื่นได ดังนั้น Competency ในกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการมากนัก ทำให้มีกลุ่มนักวิชาการบางส่วนลงความเห็นว่า ความรู้และทักษะพื้นฐานเหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็น Competency

            2. Competency ที่ทําใหบุคคลแตกต่างจากผูอื่น (Differentiating Competencies) หมายถึง ปัจจัยที่ทําให บุคคลมีผลการทํางานสูงกว่ามาตรฐานหรือดีกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่ง Competency ในกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นที่การใช ความรู ทักษะ และคุณลักษณะอื่น ๆ (รวมถึง ค่านิยม แรงจูงใจ และทัศนคติ) เพื่อช่วยใหเกิดผลสําเร็จที่ดีเลิศในงาน อีกทั้งยังเป็น Competency ที่นักวิชาการจํานวนมากใหความสําคัญในการพัฒนาใหมีขึ้นในบุคคลมากกว่า Competency กลุ่มแรก ตัวอย่างเช่น การศึกษาของสถาบันชื่อดังในด้าน Competency ชื่อ Schoonover Associates ก็มุ่งศึกษาและใหความสําคัญเฉพาะ Differentiating Competency โดยสถาบันแห่งนี้ไดอธิบายถึงความแตกต่างของความรู ทักษะ และแรงจูงใจ/ทัศนคติกับCompetency ในเชิงเปรียบเทียบดังนี้

       Competency VS. Knowledge: Competency จะหมายถึงเฉพาะพฤติกรรมที่ก่อใหเกิดผลงานที่ดีเลิศ(Excellent Performance)เท่านั้น ดังนั้น ตัวความรู (Knowledge) โดดๆ จึงไมถือวาเป็นCompetency ว้นแตความรูในเรื่องนั้น ๆจะสามารถนํามาประยุกตหรือนํามาใชกับพฤติกรรมซึ่งทําใหเกิดความสําเร็จในงาน จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของCompetency ตัวอย่างเช่น ความรูและความเข้าใจในความไมแน่นอนของ ราคา ในตลาด ààà ถือวาเปนความรู้(Knowledge) แตความสามารถในการนําความรูและความเข้าใจใน ความไม่แน่นอน ของราคาในตลาด มาพัฒนารูปแบบการกําหน ราคาได้นั้นจึงจถือเป็น Competency

        Competency VS. Skill: Competency  ยังเกี่ยวของกับ ทักษะ (Skill) แต่จะหมายถึงเฉพาะการใชทักษะ ที่ก่อใหเกิดผลสําเร็จอย่างชัดเจน ดังนั้นทักษะเพียงอย่างเดียวยังไมถือว่าเป็น Competency ตัวอย่างเชน ความสามารถในการนําเสนอผลิตภัณฑใหมààà ถือเป็นทักษะ (Skill) แตความสามารถในการวางตําแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ (Positioning) ในตลาดให้แตกต่างจากคู่แข่งààà  ถือเป็น Competency

        Competency VS. Motive/Attitude: Competency    ไม่ใชแรงจูงใจหรือทัศนคติ (Motive/Attitude) แตเป็นแรงขับภายใน ซึ่งทําให บุคคลแสดงพฤติกรรมที่ตนมุงหวังไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมายของเขา ตัวอย่างเช่น การต้องการความสําเร็จàààเป็นแรงจูงใจที่ก่อใหเกิดแนวคิดหรือทัศนคติ ที่ตองการ สร้างผลงานที่ดี
แต่ความสามารถในการทํางานใหสําเร็จไดตรงตามเวลาที่กําหนด
àààถือเป็น “Competency”

วันนี้หนูขอจบการคุยกับท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะค่ะ...“Competency”  หนูเชื่อว่าเพื่อน ๆๆคงจำได้ว่าCompetency  อยู่ในทฤษฎี 3 วงกลม และเป็นตัว C ตัวที่ 2 ของทฤษฎีของ ท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ท่านอาจารย์ของพวกเราชาว SSRU

สมศรี นวรัตน์  Tel 081-9435033

Employment คือ การจ้างงานโดยจะรวมทั้งคนที่ทำงานได้รับค่าจ้าง และไม่ได้รับค่าจ้าง Employee Ability คือ ความสามารถในการทำงานของลูกจ้างซึ่งจะรวมทักษะทุกๆด้านที่ลูกจ้างควรจะมีในงานหรือภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตามความคิดเห็นของผม ทั้งสองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กัน การจ้างงาน จะเป็นตัวกระตุ้นให้คนหรือแรงงานเกิดการแข่งขันกันในด้านความสามารถทางทักษะ ทำให้ตนเองมีศักยภาพในการทำงานที่ดี เป็นไปตามที่นายจ้างต้องการจะได้ถูกจ้างให้ทำงาน (ใช้ทฤษฎี 8 K’s) และเมื่อถูกจ้างงานแล้ว ลูกจ้างก็จะต้องพยายามพัฒนาศักยภาพในการทำงานของตนเองให้เพิ่มขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ตลอดเวลา (เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต) เพื่อไม่ให้ถูกเลิกจ้าง และเพื่อให้สถานประกอบการนั้นสามารถอยู่รอดในภาวะที่ธุรกิจมีการแข่งขันกันสูง (เพื่อความยั่งยืนนั่นเอง) ขอบคุณครับ ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล Tel 0863517928

เศรษฐกิจ กับ การจ้างงาน

ผมมองว่าถ้าเราพูดถึงเศรษฐกิจ เราน่าจะให้น้ำหนักไปที่ การมองในระดับ Macro มากกว่า Micro เช่น เศรษฐกิจของประเทศไทย เศรษฐกิจของอเมริกา เศรษฐกิจของประเทศจีน เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป เศรษฐกิจโลก เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อกัน

แต่ถ้าเราพูดถึงการจ้างงาน เราน่าจะให้น้ำหนักไปที่ การมองในระดับ Micro มากกว่า Macro เช่น การจ้างงานขององค์กร บริษัท รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่นี้ก็จะส่งผลกระทบไปยังเศรษฐกิจของประเทศและของโลก หากเศรษฐกิจไม่ดี การจ้างงานก็จะน้อยลง เมื่อการจ้างงานน้อยลง คนก็จะไม่มีการจับจ่ายใช้สอย หรือจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ก็จะส่งผลไปยังเศรษฐกิจของประเทศและของโลกอีก

ด้านการจ้างงานกิจการในธุรกิจท่องเที่ยวกลับส่งผลต่อภาวการณ์จ้างงานมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยกิจการขนาดย่อมๆ จำนวนมาก และมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหลายแขนง เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก และสันทนาการต่างๆ ดังนั้น ภาคการท่องเที่ยวโดยรวมจึงมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคการผลิตมาก โดยมีการจ้างงานโดย SME คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80-90% เมื่อเทียบการจ้างงานโดย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกและการผลิตที่ชะลอตัว ที่มีจ้างงานรวมไม่ถึง 30% ของการจ้างงานทั้งหมด ด้วยผลของการส่งออกและการผลิตที่ลดลง จึงมีแรงงานย้ายจากภาคการผลิตไปสู่ภาคบริการซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า เมื่อประกอบกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยรวมที่ซบเซา สถานการณ์ค่าจ้างแรงงานในกลุ่มนี้ แม้ยังทรงตัวแต่อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นหากธุรกิจท่องเที่ยวซบเซาหนักขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าหดตัวลงลงไปแล้ว 15% จึงคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2552 น่าจะลดลงในอัตราที่มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้นักท่องเที่ยวลดการใช้จ่ายลงเช่นเดียวกับในช่วงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำในปี 2544

เพิ่มเติมครับ!!!

จากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า การว่างงานมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยตามสมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย การส่งออกของไทยในปี 2552 อาจจะหดตัวลงร้อยละ 7.0-12.0 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจต่ำเพียงร้อยละ 0.0-1.2 ในกรณีดังกล่าว คาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาจมีระดับประมาณร้อยละ 55.0-56.8 จากร้อยละ 69.3 ในปีก่อนหน้า ซึ่งจะนับเป็นระดับการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำกว่าในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และคาดว่าจะส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานในปี 2552 อาจมีระดับขึ้นไปใกล้หรือเกินกว่า 1.5 ล้านคน

หากพิจารณาเป็นรายประเภทธุรกิจ ธุรกิจที่มีตลาดส่งออกหดตัวลงอย่างรุนแรง รวมถึงธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการขนส่งเพื่อการส่งออก เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะลดการจ้างงานลงมากที่สุดในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า ตามทิศทางภาวะยอดขายที่คาดว่าจะยังคงหดตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงการว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 87,000-116,000 คน อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน ประมาณ 49,000-70,000 คน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ประมาณ 115,200-153,600 คน เฟอร์นิเจอร์ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ประมาณ 56,400-94,000 คน ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว ประมาณ 40,000-72,000 คน ธุรกิจขนส่ง โดยสารและคมนาคมอื่นๆ ประมาณ 65,000-100,000 คน สำหรับธุรกิจอื่นๆ เมื่อคำนึงถึงแรงงานบางส่วนที่ไหลกลับเข้าไปทำงานในภาคเกษตรกรรมแล้ว จะมีจำนวนผู้ว่างงานรวมสุทธิประมาณ 103,750-105,200 คน โดยคาดว่าการดูดซับแรงงานโดยภาคเกษตรอาจน้อยกว่าระดับเฉลี่ยของปีก่อนๆ เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง รวมทั้งความต้องการพืชผลการเกษตรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมลดน้อยลง ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่สภาพอากาศจะแห้งแล้ง

ธุรกิจที่มีแนวโน้มการว่างงานเพิ่มขึ้นในปี 2552 :

ประมาณการการขยายตัวของการผลิต/ส่งออก และจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น

ธุรกิจที่มีแนวโน้ม คาดการณ์การขยายตัว คาดการณ์ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกปี 2552

การว่างงานเพิ่มขึ้น ของธุรกิจในปี 2552 (%) * จำนวน (คน) สัดส่วนต่อกำลังแรงงานของธุรกิจ ในปี 2551 (%)

ธุรกิจส่งออก

ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ -5.0 ถึง -15.0 87,000-116,000 14.5-19.3

รถยนต์และชิ้นส่วน 19.0 ถึง -24.0 49,000-70,000 14.0-20.0

สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม

และเครื่องแต่งกาย -3.0 ถึง -8.0 115,200-153,600 9.0-12.0

เฟอร์นิเจอร์ ไม้และ

ผลิตภัณฑ์จากไม้ -3.0 ถึง -8.0 56,400-94,000 6.0-10.0

โลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ -5.0 ถึง -10.0 40,000-56,000 10.0-14.0

เครื่องจักรกล -10.0 ถึง -15.0 23,400-30,600 13.0-17.0

ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวและส่งออก

ธุรกิจบริการด้าน

การท่องเที่ยว 0.0 ถึง -4.0 40,000-72,000 5.0-9.0

ธุรกิจขนส่งและคมนาคม -4.5 ถึง -6.0 65,000-100,000 6.5-10.0

อื่นๆ 103,750-105,200 0.3

รวมผู้ว่างงานจากธุรกิจต่างๆ 579,750-797,400 1.5-2.1

ผู้ว่างงานและอัตราการว่างงาน

ประเภทของผู้ว่างงาน จำนวน (คน) อัตราการว่างงาน (%)

ผู้ว่างงานจากธุรกิจต่างๆ ในครึ่งแรกปี 2552 579,750-797,400 1.5-2.1

ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ว่างงาน ในครึ่งแรกปี 2552 158,000-184,000 0.4-0.5

ผู้ว่างงานเดิม ณ เดือนธ.ค. 51 538,500 1.4

รวมการว่างงานทั้งสิ้น 1,276,250-1,519,900 3.4-4.0

ที่มา : ประมาณการโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยการคาดการณ์จำนวนผู้ว่างงานเป็นการว่างงานสุทธิ

* เครื่องชี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกล เป็นมูลค่าการส่งออก ขณะที่เครื่องชี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน เป็นปริมาณการผลิตรถยนต์ ส่วนเครื่องชี้ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว และธุรกิจขนส่ง เป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม

นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่คาดว่าจะว่างงานมีจำนวนประมาณ 158,000-184,000 คน เมื่อรวมกับผู้ว่างงานที่มีอยู่แล้วในระบบประมาณ 540,000 คน คาดว่าจำนวนผู้ว่างงานสุทธิในช่วงครึ่งแรกปี 2552 อาจขึ้นไปที่ระดับ 1.28-1.52 ล้านคนในบางเดือน คิดเป็นอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 3.4-4.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด นับเป็นอัตราที่สูงสุดตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540โดยช่วงเวลาที่ปัญหาการว่างงานรุนแรงที่สุด อาจเป็นช่วงประมาณต้นไตรมาสที่ 2 ก่อนที่จำนวนผู้ว่างงานจะค่อยๆ ลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลด้านฤดูกาล ที่เข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้ภาคเกษตรกรรมสามารถดูดซับแรงงานว่างงานตามฤดูกาลกลับเข้าไปทำงานได้มากขึ้น และผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ทยอยได้งานทำ ขณะที่ภายใต้สมมติฐานประมาณการในกรณีพื้นฐานที่เศรษฐกิจยังมีอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกได้ อาจมีการจ้างงานกลับเข้ามาจากภาคธุรกิจและโครงการของภาครัฐ (ในกรณีนี้ คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการรองรับปัญหาการว่างงานของรัฐบาลอาจช่วยรองรับแรงงานได้บางส่วน รวมทั้งภาวะการส่งออกอาจจะผ่านพ้นช่วงถดถอยต่ำสุดไปได้) อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัวและการฟื้นตัวล่าช้าออกไป ปัญหาการว่างงานจะเป็นภาระหนักสำหรับรัฐบาลที่ต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาแก้ไขผลกระทบในขอบเขตที่กว้างขวางและกินระยะเวลายาวนานขึ้น

ขอบคุณครับ

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

Tel 0863517928

ธุรกิจไทยปี 2552 เผชิญความเสี่ยงสูงขึ้น .. ผลสะท้อนต่อภาวะการจ้างงาน

จากสภาวการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่เผชิญกับวิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เป็นผลให้อุปสงค์ต่อสินค้าและบริการต่างๆ ในตลาดทั่วโลกสูญหายไปอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน หลังจากปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐ อันเนื่องมาจากสินเชื่อซับไพรม์ ได้ลุกลามส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง สร้างความสูญเสียในระบบการเงินโลกสูงขึ้นไปถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ตามการประเมินล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) ซึ่งระบุไว้ในรายงานเมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา

ผลกระทบจากวิกฤติการเงินที่แผ่ขยายกว้างออกไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ส่งผลให้ IMF ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2552 นี้ลงมาที่ร้อยละ 0.5 (จากประมาณการเดิมอยู่ที่ร้อยละ 2.2) ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือกว่า 60 ปี สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทั่วทุกภูมิภาคของโลกส่งผลต่อภาวะการมีงานทำของแรงงานในหลายประเทศทั่วโลก และยิ่งทำให้ตลาดสินค้าโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่มีความจำเป็นน้อย เช่น ที่อยู่อาศัย รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มียอดขายลดลงเป็นประวัติการณ์ และภาวะดังกล่าวนี้กระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจส่งออกของไทย

การว่างงานในเดือนธันวาคม ... เพิ่มขึ้นกว่า 2 แสนคนจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคหลักของโลก ส่งผลกระทบให้ธุรกิจส่งออกของไทยหลากหลายสาขากำลังประสบปัญหาอย่างหนัก หลังจากอุปสงค์ทั่วโลกที่หดหายไปอย่างรวดเร็ว โดยผลกระทบเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 การส่งออกและการท่องเที่ยวหดตัวลงเป็นตัวเลข 2 หลักต่อเนื่องมาถึงเดือนธันวาคม เป็นสาเหตุให้ธุรกิจเริ่มลดกำลังการผลิต ลดเวลาทำงาน ตลอดจนลดจำนวนพนักงานลงให้สอดคล้องกับภาวะการผลิต หรือบางรายอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการลง ส่งผลให้ปัญหาการจ้างงานเริ่มเป็นที่น่าวิตกมากขึ้น

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตัวเลขการว่างงานล่าสุด ณ เดือนธันวาคม 2551 มีจำนวนผู้ว่างงาน 538,500 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้น 220,000 คนจากเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2551 ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเดือนที่อัตราการว่างงานลดลง นอกจากผู้ว่างงานจะเพิ่มจำนวนขึ้นแล้ว ในกลุ่มผู้มีงานทำยังมีผู้ทำงานไม่เต็มเวลา (ทำงานน้อยกว่า 7 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน) เพิ่มขึ้น 103,000 คน สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีผู้มีงานทำลดลง ที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลง การผลิตสิ่งทอ การผลิตขั้นมูลฐาน การฟอกหนังและตกแต่งหนัง การผลิตยานยนต์ การผลิตอุปกรณ์การขนส่งอื่นๆ การพิมพ์โฆษณา การผลิตกระดาษ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานลดลงเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคหลักๆ ของโลก

แนวโน้มการว่างงานอาจเพิ่มขึ้นแตะ 1.5 ล้านคน ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัว

สิ่งที่น่ากังวลคือ การว่างงานเพิ่มขึ้นในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2551 เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระแสการเลิกจ้างที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย โดยเป็นการเลิกจ้างในกิจการเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานในภาวะที่ยอดขายและคำสั่งซื้อหายไปถึงร้อยละ 20-30 ต่อไปได้ แต่ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่ยังเลือกใช้แนวทางรักษาพนักงานไว้ แต่มีการปรับลดวันทำงาน ลดโอทีและโบนัส ซึ่งหากออเดอร์สินค้าในรอบต่อไปยังคงไม่ฟื้นตัวดีขึ้นจากที่เป็นอยู่ ธุรกิจคงจะมีการทยอยปลดพนักงานตามมาอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2552 เป็นช่วงที่การว่างงานตามฤดูกาลจะสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูที่ทำการเกษตรกรรม ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการว่างงานในเดือนไตรมาสแรกจะสูงขึ้นมาเกิน 1 ล้านคน

จากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า การว่างงานมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยตามสมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย การส่งออกของไทยในปี 2552 อาจจะหดตัวลงร้อยละ 7.0-12.0 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจต่ำเพียงร้อยละ 0.0-1.2 ในกรณีดังกล่าว คาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาจมีระดับประมาณร้อยละ 55.0-56.8 จากร้อยละ 69.3 ในปีก่อนหน้า ซึ่งจะนับเป็นระดับการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำกว่าในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และคาดว่าจะส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานในปี 2552 อาจมีระดับขึ้นไปใกล้หรือเกินกว่า 1.5 ล้านคน

หากพิจารณาเป็นรายประเภทธุรกิจ ธุรกิจที่มีตลาดส่งออกหดตัวลงอย่างรุนแรง รวมถึงธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการขนส่งเพื่อการส่งออก เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะลดการจ้างงานลงมากที่สุดในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า ตามทิศทางภาวะยอดขายที่คาดว่าจะยังคงหดตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงการว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 87,000-116,000 คน อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน ประมาณ 49,000-70,000 คน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ประมาณ 115,200-153,600 คน เฟอร์นิเจอร์ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ประมาณ 56,400-94,000 คน ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว ประมาณ 40,000-72,000 คน ธุรกิจขนส่ง โดยสารและคมนาคมอื่นๆ ประมาณ 65,000-100,000 คน สำหรับธุรกิจอื่นๆ เมื่อคำนึงถึงแรงงานบางส่วนที่ไหลกลับเข้าไปทำงานในภาคเกษตรกรรมแล้ว จะมีจำนวนผู้ว่างงานรวมสุทธิประมาณ 103,750-105,200 คน โดยคาดว่าการดูดซับแรงงานโดยภาคเกษตรอาจน้อยกว่าระดับเฉลี่ยของปีก่อนๆ เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง รวมทั้งความต้องการพืชผลการเกษตรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมลดน้อยลง ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่สภาพอากาศจะแห้งแล้ง

ธุรกิจที่มีแนวโน้มการว่างงานเพิ่มขึ้นในปี 2552 :

ประมาณการการขยายตัวของการผลิต/ส่งออก และจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น

ธุรกิจที่มีแนวโน้ม คาดการณ์การขยายตัว คาดการณ์ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกปี 2552

การว่างงานเพิ่มขึ้น ของธุรกิจในปี 2552 (%) * จำนวน (คน) สัดส่วนต่อกำลังแรงงานของธุรกิจ ในปี 2551 (%)

ธุรกิจส่งออก

ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ -5.0 ถึง -15.0 87,000-116,000 14.5-19.3

รถยนต์และชิ้นส่วน 19.0 ถึง -24.0 49,000-70,000 14.0-20.0

สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม

และเครื่องแต่งกาย -3.0 ถึง -8.0 115,200-153,600 9.0-12.0

เฟอร์นิเจอร์ ไม้และ

ผลิตภัณฑ์จากไม้ -3.0 ถึง -8.0 56,400-94,000 6.0-10.0

โลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ -5.0 ถึง -10.0 40,000-56,000 10.0-14.0

เครื่องจักรกล -10.0 ถึง -15.0 23,400-30,600 13.0-17.0

ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวและส่งออก

ธุรกิจบริการด้าน

การท่องเที่ยว 0.0 ถึง -4.0 40,000-72,000 5.0-9.0

ธุรกิจขนส่งและคมนาคม -4.5 ถึง -6.0 65,000-100,000 6.5-10.0

อื่นๆ 103,750-105,200 0.3

รวมผู้ว่างงานจากธุรกิจต่างๆ 579,750-797,400 1.5-2.1

ผู้ว่างงานและอัตราการว่างงาน

ประเภทของผู้ว่างงาน จำนวน (คน) อัตราการว่างงาน (%)

ผู้ว่างงานจากธุรกิจต่างๆ ในครึ่งแรกปี 2552 579,750-797,400 1.5-2.1

ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ว่างงาน ในครึ่งแรกปี 2552 158,000-184,000 0.4-0.5

ผู้ว่างงานเดิม ณ เดือนธ.ค. 51 538,500 1.4

รวมการว่างงานทั้งสิ้น 1,276,250-1,519,900 3.4-4.0

ที่มา : ประมาณการโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยการคาดการณ์จำนวนผู้ว่างงานเป็นการว่างงานสุทธิ

* เครื่องชี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกล เป็นมูลค่าการส่งออก ขณะที่เครื่องชี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน เป็นปริมาณการผลิตรถยนต์ ส่วนเครื่องชี้ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว และธุรกิจขนส่ง เป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม

นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่คาดว่าจะว่างงานมีจำนวนประมาณ 158,000-184,000 คน เมื่อรวมกับผู้ว่างงานที่มีอยู่แล้วในระบบประมาณ 540,000 คน คาดว่าจำนวนผู้ว่างงานสุทธิในช่วงครึ่งแรกปี 2552 อาจขึ้นไปที่ระดับ 1.28-1.52 ล้านคนในบางเดือน คิดเป็นอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 3.4-4.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด นับเป็นอัตราที่สูงสุดตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540โดยช่วงเวลาที่ปัญหาการว่างงานรุนแรงที่สุด อาจเป็นช่วงประมาณต้นไตรมาสที่ 2 ก่อนที่จำนวนผู้ว่างงานจะค่อยๆ ลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลด้านฤดูกาล ที่เข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้ภาคเกษตรกรรมสามารถดูดซับแรงงานว่างงานตามฤดูกาลกลับเข้าไปทำงานได้มากขึ้น และผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ทยอยได้งานทำ ขณะที่ภายใต้สมมติฐานประมาณการในกรณีพื้นฐานที่เศรษฐกิจยังมีอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกได้ อาจมีการจ้างงานกลับเข้ามาจากภาคธุรกิจและโครงการของภาครัฐ (ในกรณีนี้ คาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการรองรับปัญหาการว่างงานของรัฐบาลอาจช่วยรองรับแรงงานได้บางส่วน รวมทั้งภาวะการส่งออกอาจจะผ่านพ้นช่วงถดถอยต่ำสุดไปได้) อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัวและการฟื้นตัวล่าช้าออกไป ปัญหาการว่างงานจะเป็นภาระหนักสำหรับรัฐบาลที่ต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาแก้ไขผลกระทบในขอบเขตที่กว้างขวางและกินระยะเวลายาวนานขึ้น

โดยสรุป จากสัญญาณการว่างงานที่เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2551 ประกอบกับภาคธุรกิจส่งออกจะยังคงมีแนวโน้มถูกกระทบหนักจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสถดถอยรุนแรงมากขึ้นกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการเลิกจ้างในภาคธุรกิจแผ่ขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรก ปี 2552 เป็นช่วงที่การว่างงานตามฤดูกาลจะสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูที่ทำการเกษตรกรรม ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการว่างงานในไตรมาสแรกจะสูงขึ้นมาเกิน 1 ล้านคน จาก 538,500 คนในเดือนธันวาคม 2551 และเมื่อรวมกับการทยอยเลิกจ้างในภาคธุรกิจในเดือนต่อๆ มา ตลอดจนผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่คาดว่าจะว่างงานประมาณ 158,000-184,000 คน ก็คาดว่าในช่วงที่ปัญหาการว่างงานรุนแรงที่สุด จำนวนผู้ว่างงานทั้งหมดอาจจะเพิ่มขึ้นไปถึง 1.28-1.52 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานประมาณร้อยละ 3.4-4.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด นับเป็นอัตราที่สูงสุดตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 โดยการคาดการณ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2552 อาจจะหดตัวลงร้อยละ 7.0-12.0 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจต่ำเพียงร้อยละ 0.0-1.2 อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะลดการจ้างงานในระยะเดือนถัดๆ ไป ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง อุตสาหกรรมโลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การขนส่งและคมนาคม เป็นต้น ปัญหาการว่างงานอาจจะเข้าขั้นรุนแรงที่สุดประมาณช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ก่อนที่จำนวนผู้ว่างงานจะค่อยๆ ลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลด้านฤดูกาล ที่เข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้ภาคเกษตรกรรมสามารถดูดซับแรงงานว่างงานตามฤดูกาลกลับเข้าไปทำงานได้มากขึ้น และผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ทยอยได้งานทำ ขณะที่ในกรณีที่มาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาลบังเกิดผล และการ

ส่งออกผ่านพ้นช่วงถดถอยต่ำสุดไปได้ อาจมีการจ้างงานกลับเข้ามาจากภาคธุรกิจและโครงการของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัวและการฟื้นตัวล่าช้าออกไป ปัญหาการว่างงานจะเป็นภาระหนักสำหรับรัฐบาลที่ต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาแก้ไขผลกระทบในขอบเขตที่กว้างขวางและกินระยะเวลายาวนานขึ้น

ปัญหาการว่างงานถือเป็นวาระสำคัญเร่งด่วนอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่ภาครัฐต้องเร่งหาแนวทางป้องกัน รวมทั้งเตรียมมาตรการรองรับกับจำนวนผู้ถูกเลิกจ้างโดยธุรกิจภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมา รัฐบาลได้บรรจุมาตรการแก้ไขปัญหาผู้ว่างงานไว้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายแนวทาง

อย่างไรก็ตาม มาตรการส่วนใหญ่มุ่งช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนระยะสั้น เช่น การลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค การให้เงินช่วยเหลือค่าครองชีพซึ่งมุ่งไปที่ผู้รายได้น้อย การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่มาตรการช่วยเหลือไปที่หัวใจหลักของปัญหาคือการทำให้คนมีงานทำนั้น ส่วนหนึ่งรัฐบาลได้มีแผนดำเนินการไว้ เช่น โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน วงเงิน 6,900 ล้านบาท โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและงานก่อสร้างในท้องถิ่น และการก่อสร้าง (เช่น การจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร แหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการจัดการน้ำ การก่อสร้างทางในหมู่บ้าน การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน การปรับปรุงสถานีอนามัย) วงเงินรวมประมาณ 7,200 ล้านบาท รัฐบาลควรเร่งดำเนินการมาตรการที่มีแผนการอยู่แล้วให้เกิดผลโดยเร็ว แต่ต้องยอมรับว่ามาตรการที่ออกมาอาจยังไม่เพียงพอที่จะรับมือปัญหา โดยในกรณีเลวร้าย ถ้าการว่างงานสูงถึงไปถึง 1.5 ล้านคน หมายความว่าในระบบเศรษฐกิจจะมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ล้านคนจากปีก่อน ในระยะจากนี้จนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ปัญหาการว่างงานคงจะเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องเตรียมแผนมาตรการเพิ่มเติมเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะรุนแรงกว่าที่คาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าหากรัฐบาลจะมีมาตรการชุดใหม่ออกมา ควรให้เป็นมาตรการมุ่งไปที่การสร้างงานโดยตรงเพื่อรองรับผู้ว่างงาน ซึ่งน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีผลต่อเนื่องและยั่งยืนมากขึ้น

ขณะเดียวกัน รัฐบาลอาจต้องมีการแผนการจัดหางบประมาณเพิ่มเติมสำหรับโครงการดังกล่าว เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้ว่างงาน (ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งรัฐบาลจ้างโดยตรง หรือการให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่มีจ้างงานตามแนวนโยบายของรัฐบาล) ทั้งนี้ ในกรณีของผู้ว่างงานที่มีทักษะความรู้ อาจหาช่องทางให้มีการสร้างงานที่สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงแรงงานเหล่านั้นเข้ากับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนของรัฐบาล ให้เกิดการพัฒนาชุมชนหรือต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์สำหรับชุมชนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ก็มีโครงการพัฒนาทักษะเสริมอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ว่างงานเพื่อออกไปประกอบอาชีพต่อไป ซึ่งถ้าโครงการภายใต้งบประมาณของรัฐบาลต่างๆ ได้ถูกออกแบบให้มีการสร้างตำแหน่งงาน การพัฒนาทักษะความรู้ในการทำงาน และการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศควบคู่กันไปด้วย จะทำให้การใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดก่อเกิดผลทวีคูณทางเศรษฐกิจได้มาก ขณะเดียวกัน มาตรการต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ก่อเกิดผลในการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่กำลังเดือดร้อนอย่างแท้จริง

-------------------------------------------------------

ที่มา:บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

รัชศักดิ์ สารนอก

0813824884

มารู้จักแรงงานนอกระบบ กันเถอะครับ พี่น้อง

      คำว่า “ แรงงานนอกระบบ ” นั้นมีการให้ความหมายโดยหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องไว้อย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น กระทรวงแรงงาน ได้ให้ความหมายของแรงงานนอกระบบไว้ ครั้งล่าสุดเมื่อ ตุลาคม 2549 ว่า คือ ผู้มีงานทำ มีค่าตอบแทนหรือรายได้จากการทำงาน ไม่มีสภาพเป็นลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ให้ความหมายไว้เมื่อปี 2546 ว่า แรงงานนอกระบบหมายถึง ผู้มีงานทำที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 10 คน ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ผู้ที่ช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่มีค่าจ้าง ทั้งนี้ไม่รวมลูกจ้างและข้าราชการในภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้กำหนดความหมายของแรงงานนอกระบบ โดยหมายถึง ผู้ที่มีงานทำ มีรายได้ และไม่อยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับปัจจุบัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มที่มีการทำงาน หรือ รับจ้าง และมีรายได้ เช่น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับจ้างทำของ ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว หรือเป็นฤดูกาล ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน อันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย 2. ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีลูกจ้าง เช่น คนขับรถรับจ้างทั่วไปทั้งที่เป็นรถของตนเองหรือรถเช่า หาบเร่แผงลอย ช่างเสริมสวย ช่างตัดผม ช่างซ่อมรองเท้า เจ้าของร้านชำ หรือร้ายขายยา ทนายความ แพทย์ เป็นบุคคลที่ไม่ได้รับราชการ และไม่มีเงินเดือนประจำ ในขณะที่ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ให้คำนิยามของ เศรษฐกิจนอกระบบว่า “กิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง และควบคุมโดยกฎหมาย หรือธรรมเนียมปฏิบัติ หรือไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอ จึงดำเนินกิจกรรมนอกกรอบกฎหมาย โดยไม่มีการออกมาตรการใดๆคุ้มครอง หรือเป็นกิจกรรมที่มีกฎหมายรองรับ แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถบังคับใช้ได้ และเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ เพราะ กฎระเบียบไม่เหมาะสม สร้างภาระให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง” ILO ได้จำแนกผู้ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. นายจ้าง (Employers) ของกิจการขนาดเล็ก หรือกิจการนอกระบบที่มีลูกจ้างจำนวนน้อย 2. ผู้ประกอบกิจการของตนเอง (Self-employer / Own account workers) และผู้ใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (Unpaid employees) 3. ลูกจ้าง (Workers) ในกิจการขนาดเล็ก หรือกิจการนอกระบบ หรือลูกจ้างที่ไม่มีนายจ้างแน่นอน หรือไม่มีสัญญาจ้าง เช่น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และผู้รับจ้างทำของ จากที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่า ยังมีการให้คำอธิบายและความหมายที่แตกต่างกัน แต่อาจจะสรุปได้ว่า แรงงานนอกระบบ คือ ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานที่เป็นทางการ หรือไม่มีนายจ้างตามความหมายของกฎหมายแรงงาน ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของนายจ้าง ไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ที่ทำงานชั่วคราว แรงงานนอกระบบจึงเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความคุ้มครองของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทั้งหมด ยกเว้นผู้รับงานไปทำที่บ้านซึ่งมีกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 ที่ได้บังคับใช้แล้ว แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่เอื้อให้กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านเข้าถึงสิทธิได้ จึงทำให้แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ยังไม่มีหลักประกันในเรื่องสิทธิแรงงานและความมั่นคงในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานที่มั่นคง ค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน โดยจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงความมั่นคงของชีวิตเมื่อไม่สามารถทำงานได้และในวัยชรา สำหรับการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet) ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญกับแรงงานนอกระบบ 2 กลุ่ม คือ 1) แรงงานนอกระบบกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน เกิดจากการจ้างงานที่นายจ้างพยายามลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ด้วยการอาศัยช่องว่างของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จ้างแรงงานให้ทำการผลิตในบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน อยู่ภายนอกสถานประกอบการด้วยค่าจ้างแรงงานราคาถูก 2) แรงงานนอกระบบกลุ่มผู้ผลิตเพื่อขาย คือ ครัวเรือนหรือกลุ่ม ที่ผลิตสินค้าขึ้นจากภูมิปัญญาทักษะความสามารถของตนเอง นำไปจำหน่าย หรืออาจจะรับคำสั่งซื้อ (order) มาจากผู้ประกอบธุรกิจการขาย หรือธุรกิจการผลิตที่มีขนาดใหญ่กว่า เหตุผลสำคัญที่มูลนิธิ Homenet เน้นการทำงานในกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มดังกล่าว คือ เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตรวมของประเทศ และเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในระบบการจ้างงาน และยังไม่ได้รับความคุ้มครองทางสังคมอย่างเพียงพอ ข้อมูลแรงงานนอกระบบในประเทศไทย นั้น ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนแน่นอน ซึ่งจะเห็นได้จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งในปี 2548 พบว่ามีแรงงานนอกระบบประมาณ 22.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 62 ของกำลังแรงงานของประเทศ 36.3 ล้านคน เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านประมาณ 5.9 แสนคน ซึ่งร้อยละ 98 เป็นผู้หญิง ในขณะที่ตัวเลขบ่งชี้จากกระทรวงแรงงานประมาณการว่าแท้จริงมีผู้รับงานไปทำที่บ้านอยู่ถึงประมาณ 9.5 แสนคน ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากการใช้คำจำกัดความ และหน่วยนับที่ยังมีความแตกต่างกันของแต่ละหน่วยงาน

*** หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อทุกๆท่านนะครับ***

ขอบคุณครับ

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

0863517928

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

    วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอคุยกับท่านอาจารย์เรื่อง Positive Reinforcement = การเสริมแรงเชิงบวก หนูคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะสามารถใช้กับ " พฤติกรรมพนักงาน / บุคลากร" นหน่วยงาน/องค์กร  เป็นพฤติกรรมที่สามารถพัฒนาได้------>ให้เป็น "พฤติกรรมที่พึงประสงค์" เพียงแต่ผู้นำต้องเลือกใช้วิธี / ตัวเสริมแรง / การเสริมแรงที่เหมาะสม โดยมีวิธีดังนี้

1.      เสริมแรงทางบวก(+) จะต้องให้หลังจากเกิดพฤติกรรมตามเป้าหมายนั้น

2.      การเสริมแรงจะต้องทำทันทีที่เกิดพฤติกรรมตามเป้าหมายนั้น

3.      การเสริมแรงต้องทำ สม่ำเสมอ

4.      ควรมีการบอกเงื่อนไขการให้การเสริมแรงนั้น

5.   ตัวเสริมแรงนั้นควรมีปริมาณ พอเหมาะที่จะเสริมแรง พฤติกรรม โดยไม่ก่อให้เกิดการหมดสภาพการเป็นตัว ตัวเสริมแรง

6.      ตัวเสริมแรงต้อง เลือก ให้เหมาะกับบุคคล

7.      ถ้าเป็นไปได้ ควร ใช้ตัวเสริมแรงใน สภาพแวดล้อม นั้น

8.      ควรใช้ “Model” หรือ การชี้แนะ ควบคู่ไปกับ การเสริมแรง ด้วย

9.      ควรมีการวางแผน (Planning) การใช้ ตารางการเสริมแรงหรือยืดเวลาการเสริมแรง

วันนี้หนูขอจบการคุยกับท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะค่ะ

 

 

สมศรี นวรัตน์   รพ.บ้านลาด เพชรบุรี Tel 081-9435033

 

ปัญหาทุนมนุษย์ในกองทัพอากาศ

1. ทุนแห่งความสุข Happiness capital ในระดับทหารชั้นประทวน มีรายได้จากการประกอบอาชีพ(เงินเดือนน้อย) น้อย อาจทำให้รายได้น้อยกว่ารายจ่าย ทางกองทัพจึงจำเป็นที่จะต้องหาทางช่วยเหลือ (ซึ่งผมคิดว่าน่าจะนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นะครับ จากการค้นคว้าหาข้อมูลได้มีการนำไปใช้แล้วนะครับ)

2. ทุนทางจริยธรรม Ethical capital ในระบบของทหารผู้น้อยจะต้องเคารพผู้บังคับบัญชา รับและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้ผู้บังคับบัญชาจะมีอำนาจมาก หากการควบคุมอารมณ์ของตนเองทำได้ไม่ดี ก็อาจจะทำให้ใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ที่ไม่เหมาะ เกิดการกดขี่ลูกน้อง เกิดการคอรัปชั่น ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม

3. ทุนแห่งความสร้างสรรค์ Creativity capital ทหารส่วนมากจะมีลักษณะของการปฏิบัติตามคำสั่ง ทำตามที่สั่งเพียงอย่างเดียว นานๆเข้าก็ไม่ได้ใช้สมองในการคิด การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์งานต่างๆก็ไม่เกิดขึ้น

ขอบคุณครับ

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

Tel 0863517928

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แบบสอบถามเปิดดูไม่ได้นะครับ

จาก Power Point เกี่ยวกับเรื่อง LO (Learning Organization)ของทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ในด้านที่ดี ผมคิดว่าความพยายามและความตั้งใจเรื่องการสร้าง LO มีสูงมาก ๆ  ๆ ๆ ครับ

ในด้านผลลัพธ์ของจัดการสัมมนา หรือการจัดการอบรม และการทำ Workshop ผมคิว่าคงจะต้องลงทุน และหากลยุทธ์เพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับความร่วมมือทั้งระดับสูงและทุกส่วนงานมากขึ้น

สาเหตุที่จะต้องลงทุนมากขึ้นเพราะว่า ในการไฟฟ้าภูมิภาคมีบุคลากรจำนวนมาก ๆ (ประมาณ 27,000 คน)และหลาย ๆ ระดับ เป็นอุปสรรคที่สำคัญและทำให้ต้องใช้เวลาและต้องลงทุนอีกมาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย  และอีกประการหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือวัฒนธรรมองค์กร ต้องการเปลี่ยนแปลงและจะทำได้ก็จะต้องมีผู้นำที่กล้าคิด กล้าทำและกล้าลงทุนนะครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

 

 

 

HR Architecture ประยุกต์ใช้กับการปฏิรูปการศึกษาของตำรวจ ทหารได้อย่างไร

ผมคิดว่าเราจะต้องนำเอาการคิดแบบ Creativity Innovation สร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรของตนเพราะในโลกยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนการทำสงครามที่ใช้อาวุธมาเป็นสงครามแห่งปัญญา ตำรวจและทหารจะเป็นอีกขุมกำลังที่จะสามารถช่วยประเทศติดอาวุธทางปัญญา จนสามารถที่จะเอาชนะคู้ต่อสู้ได้และสามารถสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น นอกจากนี้เรายังจะต้องสร้างจิตสาธารณะให้เกิดกับนักเรียนตำรวจทหารระดับต่างๆตั้งชั้นประทวนจนถึงสัญญาบัตร เพราะทหารยามศึกต้องรบ ยามสงบจะต้องพัฒนาประเทศแต่จะพัฒนาได้อย่างไรหากไม่จิตที่เป็นสาธารณะ

ขอบคุณครับ

ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

Tel 0863517928

ปัญหาทุนมนุษย์ในฐานทัพอากาศ

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ กองทัพอากาศใช้ระบบการบริหารจัดการแบบราชการเดิม คือ ผู้บังคับบัญชาระดับล่างยังไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ ระบบการทำงานของทหารนั้น จะมุ่งเน้นในเรื่องของการเคารพความอาวุโสมาก ฟัง รับ คำสั่งแล้วปฏิบัติตาม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ทหารมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องอธิไตยของประเทศ เสียสละชีพเพื่อชาติสำหรับทหารอากาศมีหน้าที่ที่จะต้องขับเครื่องบินรบ เครื่องบินลำเลียง เครื่องบินลาดตระเวน ชีวิตมีความเสี่ยงต่อความตายสูงเมื่อปฏิบัติหน้าที่ยิ่งถ้าทหารมีครอบครัวแล้ก็จะมีความกังวล ส่งผลให้ความสุขในชีวิตน้อยลง

รัชศักดิ์ สารนอก

0813824884

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 15 เมษายน 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 3575 (2775) ว่าด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา โดย ภาวิน ศิริประภานุกูล ทุนมนุษย์ (human capital) ได้ถูกนิยามอย่างแตกต่างหลากหลาย ในหมู่นักวิชาการ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ของโลก แต่โดยทั่วไป ทุนมนุษย์มักจะมีความหมายเกี่ยวพัน ถึงทักษะและความรู้ความคิดในการทำงานของแรงงาน โดยแรงงานที่มีทุนมนุษย์สูง จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงกว่าแรงงานที่มีทุนมนุษย์ต่ำ ภายใต้ระยะเวลาในการทำงานที่เท่าเทียมกัน แวดวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ของโลกในปัจจุบัน ได้หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ มากขึ้นเป็นลำดับ โดยทุนมนุษย์ได้ถูกยกให้มีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทุนมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญอันหนึ่งในกระบวนการผลิต เฉกเช่นเดียวกับจำนวนแรงงาน ที่ดิน เงินทุน และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ แต่ทุนมนุษย์มีข้อได้เปรียบปัจจัยการผลิตชนิดอื่นตรงที่มันสามารถถูกสะสมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด นอกจากนั้นการสะสมทุนมนุษย์ไม่มีค่าเสื่อม แต่กลับจะยิ่งเอื้อต่อการสะสมทุนมนุษย์ให้มีมากขึ้นไปอีกในอนาคต การเพิ่มทุนมนุษย์ยังถือเป็นการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน โดยการพัฒนาทักษะฝีมือของแรงงานจะเป็นการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างถาวรให้กับแรงงานเหล่านั้น นอกจากนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์ยังถูกยกให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางด้านรายได้ เนื่องจากการพัฒนาทุนมนุษย์ในผู้คนกลุ่มหนึ่งจะทำให้อุปทานของแรงงานมีทักษะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จะลดอุปทานแรงงานด้อยทักษะลง ซึ่งจะส่งผลให้ค่าจ้างของแรงงานมีทักษะในสังคมปรับตัวลดลง ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานด้อยทักษะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น นั่นก็คือการที่ค่าจ้างแรงงานของผู้คนในสังคมปรับตัวเข้าใกล้กันมากขึ้นนั่นเองด้วยความสำคัญทางเศรษฐกิจในหลากหลายประการ จึงไม่น่าแปลกใจที่แวดวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ของโลกจะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก ก็ถือเป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับหัวข้อของการพัฒนาทุนมนุษย์นี้ โดยบทบรรยายชิ้นหนึ่งของเขาได้กล่าววิจารณ์นโยบายการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนจะขอนำเอาข้อคิดส่วนหนึ่งของบทบรรยายดังกล่าวมาถ่ายทอดให้สังคมไทยได้รับทราบในบทความนี้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าการพัฒนาทุนมนุษย์มักจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบการศึกษาของประเทศ โดยการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ล้มเหลวของประเทศหนึ่งมักจะถูกใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาในประเทศนั้นๆ ดังนั้นนโยบายปฏิรูปการศึกษา การปรับเปลี่ยนรูปแบบหลักสูตร การลดจำนวนนักเรียนต่อครูหนึ่งคน หรือการเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวของเด็กนักเรียน จึงมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงเมื่อเกิดปัญหาคุณภาพของแรงงานในสังคมต่างๆนอกจากนั้นปัจจัยที่กีดกันการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กก็มักจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกให้ความสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยดังกล่าวจะรวมไปถึงการขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการศึกษา การขาดแคลนแรงงานภายในครัวเรือน หรือความบกพร่องในการรับรู้ถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการศึกษา เป็นต้น นโยบายให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ทุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจน หรือนโยบายเรียนฟรีภายใต้โรงเรียนสังกัดภาครัฐภายในท้องถิ่น จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ในระดับหนึ่งนโยบายเหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ แต่การวิเคราะห์ถึงปัญหาเหล่านี้มักจะยังมองข้ามประเด็นสำคัญหลายประการ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ก็อาจจะทำให้รูปแบบของนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ในระดับประเทศเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ใน ประการแรก นั้น กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นกระบวนการที่ดำรงอยู่ตลอดชีวิต มันมิได้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเข้าศึกษาภายในโรงเรียน แต่มันตั้งต้นมาตั้งแต่เด็กเริ่มลืมตาดูโลก โดยสิ่งแวดล้อมภายในบ้านจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของเด็กในช่วงนี้ นอกจากนั้นกระบวนการเรียนรู้ก็มิได้มีจุดจบภายหลังจากสำเร็จการศึกษา การพัฒนาทุนมนุษย์ยังเกี่ยวพันกับการพัฒนาทักษะฝีมือในที่ทำงาน ไปจนถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมากมายภายหลังจากจบการศึกษา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความล้มเหลวในการพัฒนาทุนมนุษย์อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ มิใช่แต่เพียงปัญหาในระบบการศึกษา โดยความล้มเหลวดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งสิ่งแวดล้อมในครอบครัวอาจจะทำให้เด็กไม่มีแรงจูงใจในการใฝ่หาความรู้หรือพัฒนาความคิด หรืออาจจะเกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำงาน ซึ่งการขาดกระบวนการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง หรือการคุ้มครองการจ้างงานที่สูงเกินไปก็อาจจะทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์ขาดช่วงไปดังนั้นนโยบายในการพัฒนาทุนมนุษย์จึงควรจะมุ่งส่งเสริมกระบวนการภายนอกระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงเด็กก่อนวัยเรียน เนื่องจากการศึกษาเปรียบเทียบรายงานวิจัยหลายงานให้ข้อสรุปว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากนโยบายพัฒนาทุนมนุษย์ของเด็กในช่วงนี้จะอยู่ในระดับสูงที่สุด และอาจจะสูงกว่าการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงชีวิตอื่นรวมทั้งการพัฒนาในช่วงวัยเรียนหลายเท่าตัวโดยผลตอบแทนที่สูงขึ้นนี้เกิดจากการที่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากนโยบายดังกล่าวที่ยาวนานที่สุด และนอกจากนั้นการพัฒนาทักษะ แรงจูงใจในการศึกษา ความรู้ ความคิด ก็ยิ่งก่อให้เกิดพัฒนาการต่างๆ ในด้านเหล่านี้เพิ่มเติมขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งส่งเสริมให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงนี้สูงมากขึ้นเป็นลำดับนอกจากการมองการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องมีอยู่ตลอดชีวิตแล้ว ในประการที่สอง การวิเคราะห์ถึงผลตอบแทนจากการพัฒนาทุนมนุษย์ก็มิควรเจาะจงอยู่แต่เพียงผลลัพธ์ทางการพัฒนาในระดับสติปัญญาแต่เพียงเท่านั้น มีส่วนประกอบอีกหลากหลายที่จะช่วยส่งเสริมให้การทำงานของแรงงานมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น นอกเหนือไปจากสติปัญญาของพวกเขาสิ่งเหล่านี้ประกอบด้วยจริยธรรมในการทำงาน ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะทางสังคม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถสร้างเสริมได้ง่ายภายใต้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเสริมสติปัญญา แต่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาสติปัญญาดังกล่าวถ้าหากผลตอบแทนในด้านต่างๆ เหล่านี้ถูกคิดรวมเข้าไปในนโยบายการพัฒนาทุนมนุษย์ กระบวนการพัฒนานอกเหนือจากระบบการศึกษาจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นไปอีก และจะยิ่งตอกย้ำความสำคัญของกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ในช่วงเด็กก่อนวัยเรียน รวมไปถึงบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองและสภาพแวดล้อมภายในและรอบๆ บ้าน มากยิ่งขึ้น และใน ประการสุดท้าย เราก็ควรจะมีความเชื่อถือในความฉลาดของพ่อแม่ผู้ปกครองในการเลือกสถานศึกษาที่เหมาะสมที่สุดให้กับเด็ก นั่นคือสถานศึกษาต่างๆ ควรจะมีอิสระจากการควบคุมดูแลจากรัฐบาลมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการให้ความเคารพต่อการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ เช่น การเรียนกับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือการศึกษานอกโรงเรียนมากยิ่งขึ้น มีหลักฐานงานศึกษาที่ชี้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะสามารถแยกแยะสถานศึกษา (หรือวิธีการศึกษา) ที่ดีออกจากส่วนที่ไม่มีคุณภาพได้ ถ้าพวกเขามีประสบการณ์จากการเลือกอย่างอิสระมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนอีกประการหนึ่งที่ชี้ว่าการแข่งขันก่อให้เกิดการพัฒนาในคุณภาพของสถานศึกษา ซึ่งหลักฐานนี้จะยิ่งชัดเจนขึ้นอีกถ้าหากนำไปเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมมากมาย แต่กลับไม่มีการพัฒนาคุณภาพมากนัก และนอกจากนั้นยังมีหลักสูตรการศึกษาห่างไกลจากสังคมและความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นไปทุกทีด้วย มุมมองที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากบทบรรยายดังกล่าวนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับสังคมไทย โดยมุมมองเหล่านี้อาจจะดูขัดกับระบบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ระบบการรับเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมของประเทศไทย มุมมองต่อการแก้ไขปัญหาค่านิยมและจริยธรรมของเยาวชนในปัจจุบัน การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหรือสวัสดิการสังคมต่อคนยากจน สภาพแวดล้อมในการทำงานในหลายสถานที่ รวมไปถึงสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มครอบครัวด้อยโอกาสด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้มีผลกระทบต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์รวม และจะส่งผลต่อความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศในท้ายที่สุด นอกจากนั้นผู้เขียนยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสังคมไทยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในสังคมยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย หมายเหตุ : บทบรรยายที่ถูกอ้างอิงในบทความ คือ Heckman, J. J. (2000). Policies to foster human capital. Research in Economics, 54,

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆท่านนะครับ

ขอบคุณครับ

ฐิติรัตน์  ถาวรสุจริตกุล

0863517928

เรียน ท่าน อ.จ.จีระ ที่เคารพ การบ้านที่จะส่งท่านเหมือนทำหลายอย่างพร้อมกัน เช่น กำลังศึกษางาน ในอินเตอร์เน็ตแต่ใจก็อยากทราบคำว่า Cross Functional Team คือ อะไร? (จึงหาดู)

ตัวอย่างของระบบ Cross Functional Team ที่ดีดูได้จาก วงออเคสตร้า ซึ่งนักดนตรีทุกคนต่างมีทักษะทางดนตรีที่แตกต่างกัน บทเพลงต่างๆ ที่ถูกบรรเลงออกมาอย่างไพเราะนั้นเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจ ซึ่งได้ผ่านการทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว ว่าจะบรรเลงเพลงอะไร จังหวะ ทำนองอย่างไร โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างความสุนทรีย์ให้แก่ผู้ฟัง ซึ่งนั่นเป็นความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ทักษะของนักดนตรีนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น แต่ใช่ว่านั่นเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ บทเพลงทื่ถูกบรรเลงออกมา การเข้าใจในภาษาดนตรีที่มีร่วมกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พูดง่ายๆ ก็คือ วงออเคสตร้าที่ดี เป็นตัวอย่างของการทำงานเป็นทีมที่ชัดเจนที่สุด

แต่สำหรับ Cross Functional แล้ว หากสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย หรือ บุคลากร หากอยู่ในกระบวนการทำงานใด จำเป็นต้องความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกในทีม ดังนั้น สมาชิกจะต้องให้ความสำคัญต่อเป้าหมายของทีมเป็นหลัก จะต้องพัฒนาความร่วมมือ, หาแนวทางการทำงานใหม่ๆ ร่วมถึงการตัดสินใจในการแก้ปัญหาร่วมกันนั้นเป็นความรับผิดชอบหลักของสมาชิกทุกคน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตกลงร่วมกัน Cross Functional Team ก็คือ การที่บุคลากรที่มีบทบาทหน้าที่ ที่มีทักษะที่แตกต่างกันที่มาทำงานร่วมกัน และมีส่วนร่วมในการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ วางแผน, กระบวนการทำงาน, แก้ไข และพัฒนา ร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าที่มีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในองค์กร, ลูกค้า, ซัพพลายเออร์ ร่วมถึงผู้ลงทุน

หากจะให้คำนิยามของคำว่า Cross Functional Team แล้ว “Cross Functional Team หมายถึง ทีมที่ประกอบด้วยสมาชิกมากกว่าหนึ่งฝ่ายขึ้นไป ซึ่งมีทักษะการทำงานที่แตกต่างกัน มาทำงานร่วมกัน และวัตถุประสงค์ในอันที่จะบรรลุป้าหมายเดียวกัน ซึ่งสมาชิกทั้งหมดนั้นถูกเชื่อมโยงด้วยข้อมูล"

ในการร่วมพัฒนา HR ด้วยกัน ดิฉันก็เพิ่งจะเข้าใจว่า

-ถ้าให้เป็น Cross Functional กัน และถ้าพวกเราใน ssru Ph.D จะร่วมกันพัฒนางานอะไร เพื่อก้าวไปสู่การมี Public Seminar ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สาธารณสุข พัฒนาชุมชน (มหาดไทย) อุตสาหกรรม การบริการ และด้านเศรษฐกิจ

-พัฒนาแบบไหนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องพัฒนาผู้นำให้ร่วมกันคิดร่วมกันทำและมีการทำงานเป็นเครือข่ายจริงๆ ทุกระดับและทุกระบบทั้งการเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ การศึกษา ฯลฯ รัฐบาลและการจ้างงานก็จะไปสู้กับนานาอารยประเทศได้

-พัฒนาแบบไหนที่ล้มเหลว ของที่ล้มเหลวเพราะเราต่างคนต่างทำแล้วแต่นโยบายและแนวคิดของต้นสังกัด (ตอนนี้เราจะไม่ทำอย่างนั้นแล้ว)

เข้าสูตร Copy ---- Understand ---- Value  add

การบ้าน 8 สิงหาคม 52 ศึกษา

ข้อ 1.HR Architectuce สามารถนำไปประยุกต์ ในการปฏิรูปการศึกษาของคนในเครื่องแบบได้ โดยการให้การศึกษาอย่าง รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุข พัฒนาชุมชน อุตสาหกรรมการแข่งขันทางการค้า ด้านเศรษฐกิจและ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย เพราะการเข้าศึกษาในโรงเรียนทหาร ตำรวจน่าจะเป็นการหล่อหลอมให้ทุกคนชื่อฟังในสายบังคับบัญชา ( Hieraqrchy)

กระบวนการดังกล่าว เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ไปอย่างไม่รู้ตัว แต่คาดว่า อาจเกิดหน่วยงานย่อย ๆ ในกรมทหารที่มีการรองรับงาน ที่สร้างสรรค์ และมีนวตกรรมใหม่ได้เพราะไม่เช่นนั้น คงไม่กล้าเชิญท่าน ( ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์) ไม่ร่วมบรรยาย และอาจมีการ Comment และ การพูดเชิงกระตุ้นให้องค์ ทหารตำรวจมีการปรับเปลี่ยน เช่น การสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ เป็น Lo และ ในกระบวนการเลื่อนตำแหน่ง เช่นจากนายร้อย(เอก) เป็น นายพัน ก็ต้องเข้าโรงเรียนเสฯ หรือ จากนายพันเป็นนายพล ก็ต้องเข้า วิทยาลัย..... ขั้นตอนการเรียนรู้ต่อเนื่อง (ดีกว่าของดิฉัน แต่ผู้บริหารทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการทุกคน ต้อง มีปริญญาทางการบริหารการศึกษา หรือก็ต้องไปเรียน ป.บัณฑิต ด้านการบริหารการศึกษา อย่างน้อย 1 ปี แล้วได้ Dipoma ด้วย)

 การปฏิรูปของทหาร น่าจะให้นักเรียนนายร้อย (ซึ่งก็คัดแต่หัวกะทิเข้าไปเรียน) มีการเรียนแบบ 4 L บ้าง ข้อ 2 ต่อเนื่องกัน ตอนนี้การรบไม่ได้ต่อสู้กับศัตรูเหมือน สมัยโรมันกรีก หรือสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช โดยรบแบบซึ่งๆ หน้ากันแต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ประจันหน้ากับ ฝ่ายตรงข้าม โลกสงครามปัจจุบันรบกันใต้ดิน ไม่เห็นหน้า เห็นตัวศัตรู ทำอย่างไรจึงจะเกิด Idea ในการสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ เพื่อปฏิรูปวงการนี้ ดิฉันไม่กล้าเขียนเอง ต้องขอยืมคำจากอาจารย์ว่า เรายังผู้นำทางการทหารที่มองเห็นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และขาดผู้นำในการผ่าตัด เพื่อปฏิรูปทหาร การขาดคุณสมบัติดังกล่าว ก็เท่ากับ เขาขาดสิ่งต่อไปนี้

ใน 8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท

1. Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ คือ ในระบบการบริหารจัดการของกองทัพอากาศนั้นใช้ระบบการบริหารจัดการในระบบที่เป็นทางการ ทำให้ผู้ทีทำงานในองค์กร ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์

2. Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม คือ การบริหารจัดการยังเป็นระบบอุปภัมภ์ ดังนั้นก็ยังอิงกับการใช้ระบบพวกพ้องในการเลื่อนตำแหน่ง

3. Happiness Capital ทุนแห่งความสุข คือ ในภาพของทหารเป็นหน้าด่านของการพยายามขจัดความขัดแย้ง หรือ การทำสงคราม ดังนั้นทุนแห่งความสุขอาจจะมีน้อย

 4. Social Capital ทุนทางสังคม เพราะตอนที่เป็นทหารเท่าที่ฟังข่าว คนในเครื่องแบบก็จะรับฟังแต่ผู้บังคับบัญชา ไม่เห็นฟังเสียงประชาชนในสังคม ใน5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ ด้านที่เป็นปัญหา

 - Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์ - ยังใช้ระบบการบริหารจัดการแบบเดิม คือ มีลำดับชั้น (Hierarchy)

 - Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม - เพราะการทำงานต้องฟังเบื้องบนจึงขาดทุนทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ก็มีผลทำให้ไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เนื่องจาก นวัตกรรม เกิดจากความคิดสร้างสรรค์

-Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ - ทางด้านการทำงานอย่างมีความสุข อาศัยการมีส่วนร่วมและได้แสดงความคิดด้วย มิใช่ มีส่วนร่วมโดยการถูกสั่งให้ปฏิบัติตาม

ทฤษฎี 3 วงกลม

1. Context - สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน มีระบบ และมีการทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ

2. Competencies – คนที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งหลักๆมักหาความรู้น้อยลงด้วย ตรงไม่เหมือนรัฐวิสาหกิจ อย่าง กฟภ. หากจะตามแบบกฟภ. ก็ดูยังห่างไกล

3. Motivation - กองทัพอากาศ มีการเลื่อนยศโดยไม่มีกติกาที่ชัดเจน ดังนั้นผู้น้อยก็ไม่มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง ยกเว้น คนที่เป็นเด็กนายก็จะได้รับการส่งเสริม เท่าเห็นก็เป็นรูปแบบนี้

ส่วน ข้อ 3-4

แนวโน้มการเลิกจ้างงานจะเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้(2008) หากวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจยังไม่คลี่คลายจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในปีหน้าเด่นชัดขึ้น โดยภาคการผลิตสินค้าและบริการที่อิงตลาดในประเทศจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชะลอตัว "แนวโน้มการเลิกจ้างงานจะเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ หากวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจยังไม่คลี่คลายจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในปีหน้าเด่นชัดขึ้น โดยภาคการผลิตสินค้าและบริการที่อิงตลาดในประเทศจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชะลอตัว จากข่าวสารดังกล่าว  คนว่างงานหรือการถูกเลิกจ้างงานมีแนวโน้มลงลดแล้ว สำหรับ คำถามน่าจะให้คาดการณ์  ครึ่งหลัง  ของปี ค.ศ. 2009

แต่สำหรับการบรรจุครูผู้จบการศึกษาของสนง.เขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ เท่าที่ทราบ  คือ จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานีและสุพรรณบุรีได้บรรจุไปแล้วจังหวัดละเกือบ 100 คน

คงต้องหาบริษัทต่างๆ นั้น   มีตำแหน่งงานในสายการพาณิชย์และธุรการทั่วไป  เช่น  พนักงานธุรการ หน่วยงานบริหารบุคคล  พนักงานต้อนรับ ฝ่ายบริการลูกค้า 

กลุ่มงานขายและการตลาด  กลุ่มงานสายบัญชีและการเงิน สายงานด้านโลจิสติกส์และหน่วยบริการลูกค้า

ยังมีความต้องการในตลาดแรงงานอยู่บ้าง   แต่ในระดับผู้บริหารระดับสูง   เงินเดือนตั้งแต่  70,000  บาท ค่อนข้างชะลอตัว   ส่วนตำแหน่งงานสำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่นที่จะเข้าทำงานในบริษัทญี่ปุ่น  เช่น  ผู้ประสานงาน  ล่าม พนักงานแปล เลขานุการ ยังมีความต้องการ

"แนวโน้มการเลิกจ้างงานอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปี (2009)นี้  หากวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจยังไม่คลี่คลายจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในปีหน้าเด่นชัดขึ้น  โดยภาคการผลิตสินค้าและบริการที่อิงตลาดในประเทศจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชะลอตัว  แต่ดิฉันก็อยากคิดในทางตรงข้ามว่า หากเศรษฐกิจฟื้นตัว การจ้างงานก็จะดีขึ้นจากการวิเคราะห์ในภาพที่แยกส่วนก็ถือว่า  การจ้างงานในบางสาขาอาชีพก็มีแนวโน้มดีขึ้น เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์

 

แต่ในส่วนที่เป็นอุตสาหกรรมโรงงาน  กับสิ่งก่อสร้างก็ยังชะลอต้วอยู่  

   ด้วยความนับถืออย่างสูง

สมศรี เต็มอนุภาพกุล โทร. 081  7556338

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมดูเพื่อน ๆ ส่งคำตอบและข้อมูลต่าง ๆ มาให้อาจารย์แล้ว อดที่จะภูมิใจแทนอาจารย์ไม่ได้ว่า เพื่อน ๆ ที่เรียน Ph.D.3 SSRU ทั้งตั้งใจ ขยัน และมีพัฒนาการเขียนข้อมูล และการหาข้อมูลดีขึ้นเรื่อย ๆ หวังว่าพวกเราคงจะก้าวหน้ามากขึ้นกันทุก ๆ คนนะครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

เปรียบเทียบความหมายระหว่าง Employment กับ Employability

 

Employment  คือ การจ้างงาน ตำแหน่งงาน

 

Employability คือ ความสามารถในการที่บุคคลจะได้รับการจ้างงานอยู่ตลอดเวลา

          "ในการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันมีการ มุ่งให้ความสำคัญที่พนักงานขององค์กร พนักงานที่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อองค์กร หรือที่เรียกว่า Employability อันเป็นคำที่หมายถึง "คุณค่าของตัวบุคคลในองค์กรซึ่งสิ่งนี้รวมถึงความรู้ความสามารถในเรื่องงาน ทักษะ ทัศนคติ ที่เด่นชัดและแตกต่างจากผู้อื่นอันทำให้เขาเหล่านั้นเป็นที่ต้องการในการจ้างงานและธำรงรักษาไว้ขององค์กรของเขาเอง และตลอดจนกระทั่งเป็นที่ต้องการขององค์กรอื่นๆ อีกด้วย

การที่จะมี Employability ที่ดีนั้นจะต้องสามารถก้าวขึ้นบันไดแห่งความสำเร็จ 3 ขั้น ได้แก่

ขั้นแรก จะต้องรู้จักตัวเอง โดยรู้จุดเด่นและจุดด้อยในขีดความสามารถของตน และสิ่งสำคัญคือ ต้องรักในสิ่งที่ทำอยู่ ถ้าต้องฝืนหรือบังคับตัวเองทำในสิ่งใดก็ตามผลงานที่ออกมาในระยะยาว ควรทำงานด้วยใจ และถ้ารู้ว่างานนั้นๆ เหมาะกับตัวเอง  จงยึดมั่นกับงานให้ดี ไม่ควรฝืนทนทำงานที่ไม่ชอบ

ขั้นที่สอง เมื่อมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานที่สนใจและชอบแล้วนั้น ต้องสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ที่มีอยู่เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดเป็น "ผลงาน"  แก่องค์กรแบบเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรมให้มากเท่าที่ทำได้ และนอกจากเก่งเรื่องงานแล้ว  ควรจะต้องเก่งเรื่องคนควบคู่กันไปด้วย การเอาใจใส่กับงานและคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

ขั้นสุดท้าย เพื่อให้ความสมบูรณ์กับ  Employability นั้น ควรมีคุณสมบัติส่วนตัวที่มากกว่าความสามารถในการทำงาน  การมี "เสน่ห์" ในการเป็นตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญเพิ่มเติมจากความสามารถและทักษะต่างๆ  สิ่งที่เห็นได้ชัดของการมีเสน่ห์ในการเป็นพนักงานที่ดี ก็คือ การทำงานให้ออกมามีผล เหนือความคาดหมายและความหวัง ของเจ้านายและลูกค้า (ภายในและภายนอก) 

จากวัชรินทร์  แสงมา P.h.D 4 SSRU

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ศึกษาHR Architecture นำมาประยุกต์ใช้เพื่อปฏิรูปการศึกษาของตำรวจและทหารในเมืองไทยได้อย่างไร

 การที่จะปฏิรูปการศึกษาของตำรวจและทหารโดยการเพิ่มเติมในส่วนที่มีการปลูกฝังให้มีคุณธรรมเรื่องการเสียสละรักประเทศชาติในส่วนที่เป็นสถาบันครอบครัว(สีเขียว)ของอาจารย์และเพิ่มเติม(ในส่วนสีเหลือง)คือส่วนที่เป็นความมั่นคงของประเทศชาติ

เนื่องจากสถาบันที่เกี่ยวกับชาติและความมั่นคงเป็นเรื่องที่ไม่มีคนเข้าไปรู้เรื่องมากนักดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรในส่วนนี้จึงมีการอนุรักษ์เป็นแบบเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลงถ้าจะนำการปฏิรูปการศึกษาเข้าไปน่าจะต้องเน้นเรื่อง

ทุนทางจริยธรรมให้มากเพราะอาชีพทหารและตำรวจต้องมีความรักประเทศชาติและเห็นแก่ประโยชน์ของคนหมู่มากมากกว่าประโยชน์ส่วนตนและอีกอย่างคนกลุ่มนี้มีอำนาจอยู่ในมือถ้าเป็นคนที่หลงในอำนาจแล้วอาจสร้างปัญหาให้คนอื่นได้ทั้งประเทศ

จากวัชรินทร์  แสงมาP.h.D.3 SSRU

                 

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

   

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอคุยกับท่านอาจารย์เรื่อง ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ ซึ่งคำนิยามของคำว่า ผู้นำ ไว้ดังนี้

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จาก คอลัมน์ "สู่ศตวรรษใหม่" หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ได้วิเคราะห์บทบาทเรื่องภาวะผู้นำไว้ว่า

-   มีรูปแบบหลายๆ อย่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียว

-   สามารถศึกษาดูได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป

-   ภาวะผู้นำ จำเป็นทุกๆ ระดับ ไม่ใช่เน้นเฉพาะหัวหน้าเท่านั้น ลูกน้องก็จะต้องถูกสร้างให้มีภาวะผู้นำด้วย

 

รศ. ดร.เสน่ห์ จุ้ยโต

     ในปัจจุบันคำว่าผู้นำอาจหมายถึงผู้ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชากับเพื่อนร่วมงานไปจนถึงลูกค้าและผู้รับบริการ

    ในขณะเดียวกันผู้บริหารมักจะมองที่ตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่จะได้ยินคำว่าคนบางคนเป็นผู้บริหารแต่ไม่ได้เป็นผู้นำ คนบางคนเป็นผู้นำแต่ไม่ได้เป็นผู้บริหารหรือคนบางคนเป็นทั้งผู้บริหารและเป็นทั้งผู้นำ หมายความว่า ผู้บริหารบางคนก้าวขึ้นไปสู่ตำแหน่งทางด้านบริหารโดยไม่มีการยอมรับ ลูกน้องมีปัญหาก็ไม่ได้ถาม เพราะคิดว่าผู้บริหารท่านนี้ไม่ค่อยรู้จริงและเมื่อไปถามเพื่อนร่วมงานด้วยกัน เพื่อนร่วมงานก็กลายเป็นผู้นำ ซึ่งไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร แต่เป็นการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ความแตกต่างของผู้บริหารกับผู้นำคือด้านของการยอมรับผู้บริหารอาจจะได้การยอมรับในเชิงของตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่ แต่ถ้ามองทางด้านผู้นำบ้างจะมีเรื่องของการยอมรับหรือในทางหลักการจะใช้คำว่ามี Power หรือมีอำนาจบารมี

 

Professor McShane เขียนไว้ว่า การเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ดี จะต้องเน้น 7 เรื่อง

  • Drive มีเป้าหมายแล้วไปให้ถึง
  • Leadership Motivation มีความอยากเป็นผู้นำ และเห็นว่าจำเป็นจะต้องมีเพื่อ บรรลุเป้าหมายให้ได้
  • Integrity มีความยุติธรรม ถูกคือถูก ผิดคือผิด ไม่โอนเอียง ตามอำนาจโดยไม่ไปสู่เป้าหมาย
  • Self Confidence มั่นใจในตัวเองทุกๆ ด้าน ทั้งบุคลิก การแต่งกาย การพูด ความกล้าหาญ
  • Intelligence มีความเฉลียวฉลาด
  • Knowledge of Business รู้ธุรกิจจริงๆ
  • Emotional Intelligence มีการควบคุมอารมณ์ได้ดี

แนวคิดและบทบาทของหน้าที่ผู้นำ ได้พัฒนาด้านทักษะการสื่อสารกับ คน ในเรื่องของ

ทัศนคติเชิงบวก (Positive attitude)

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chang Management)

- การจูงใจ (Motivation)

การบริหารทีม (Team Management)

- การจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management)

- การสอนงาน(Coaching)

การมอบหมายงาน (Delegation)

การรับรู้ถึงผลย้อนกลับ (Feedback)

   จากที่ได้พูดถึงภาวะผู้นำ จะสามารถเชื่ยมโยงกับทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ทั้งหมดนะคะ คิดว่าจะเป็นประโชนย์กับเพื่อน ๆ SSRU นะคะ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด เพชรบุรี

Tle. 081-9435033

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอเรื่อง Employee  Motivation: Theory and  Practice  หนูคิดว่าการที่ผู้บริหารขององค์การทุกระดับได้มีการ  Motivation  บุคลากร พนักงาน ลูกน้อง เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  จากการที่ได้เรียนเรื่อง “Performance”  จากท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ + อ. พจนารถ ทำให้พบว่า

 

 Job performance = f (Ability) (Motivation)

 

        Ability in turn depends on education, experience and training and its improvement is a slow and long process. On the other hand motivation can be improved quickly. There are many options and an uninitiated manager may not even know where to start.  As a guideline, there are broadly seven strategies for motivation.

           

* Positive reinforcement / high expectations

            * Effective discipline and punishment

            * Treating people fairly

            * Satisfying employees needs

            * Setting work related goals

            * Restructuring jobs

            * Base rewards on job performance

 

These are the basic strategies, though the mix in the final ‘recipe’ will vary from workplace situation to situation. Essentially, there is a gap between an individual’s actual state and some desired state and the manager tries to reduce this gap.

      Motivation is, in effect, a means to reduce and manipulate this gap. It is inducing others in a specific way towards goals specifically stated by the motivator. Naturally, these goals as also the motivation system must conform to the corporate policy of the organization. The motivational system must be tailored to the situation and to the organization.

 

วันนี้หนูขอจบการคุยกับท่านอาจารย์แค่นี้ก่อนนะค่ะ

 

 

สมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด เพชรบุรี Tel. 081-9435033

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอเรื่อง OL ต่างกับ LO อย่างไร? หนูได้ค้นคว้าและนำมาเล่าให้กับเพื่อน ๆ และนำมา Integration กับ ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ดังนี้นะคะ

            Dilworth (1998)  กล่าวว่า การเรียนรู้ของคนจะเกิดขึ้นโดยมีสมการ

สมการ L = P+Q+R  คือ การเรียน (Learning) เกิดจากความสัมพันธ์ของความรู้ที่เคยรับรู้ หรือ เกิดขึ้นมาแล้ว (Programmed Instruction) รวมกับการสอบถาม (Questioning) และ การคิดไตร่ตรองสิ่งใหม่ ๆ (Reflection)
            Organization Learning (OL) เป็นกระบวนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน  แนวคิด OL เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จาก การฝึกปฏิบัติงานจริง (Action Learning /AL) ซึ่งเป็นกระบวนการของการรวมกลุ่มที่มี ทักษะ(Skills) และ ประสบการณ์(Experience) ที่หลากหลายแตกต่างกัน  สมาชิกในกลุ่มจะร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและ วางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ทั้งนี้สมาชิกในกลุ่มต้องประชุมร่วมกันอีกครั้งเพื่อติดตามผลการนำแผนดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหาจึงเป็น การเรียนรู้จากการทำจริง (Learning by Doing) ในที่ทำงาน

            การนำแนวคิด AL มาใช้ในที่ทำงาน : การนำหลักการ AL มาใช้ก็ต่อเมื่อ
            1. องค์กรเกิดปัญหาในการทำงาน ซึ่งประเด็นที่ยุ่งยากและมีผลกระทบต่อลูกค้าและเป้าหมาย หลักขององค์กร
            2. เพื่อค้นหาคำตอบหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยพิจารณาถึงสิ่งที่จะเป็นสาเหตุ หรือต้นตอของปัญหาที่แท้จริง
            3. เพื่อกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง และแนวทางใหม่ ๆเพื่อใช้ค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ เพิ่มขึ้นจากเดิม

            กระบวนการ AL ที่มีประสิทธิภาพในองค์กร : แนวคิด AL ใช้ได้กับทุกหน่วยงานในองค์กรมี กระบวนการหลักที่สำคัญดังนี้
            Problem Analysis กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของ AL ที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่ม สรรหาสมาชิก กลุ่มที่มีความแตกต่างกันในเรื่องทักษะและประสบการณ์เพื่อนำไปสู่ความคิดที่แตกต่างกัน
            Acton Planning & Implementation วิเคราะห์ปัญหากำหนดทิศทางและวางแผนแนวในการปฏิบัติ ร่วมกันในช่วงการประชุมกลุ่มแต่ละครั้ง รวมทั้งการนำแผนไปปฏิบัติและติดตามผลการทำงานของสมาชิกในกลุ่มว่าปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการหรือไม่
            Refection and Evaluation การนัดประชุมกับสมาชิกกลุ่มอีกครั้งเพื่อสอบถามความคืบหน้าและ บทเรียนที่ได้รับ
            Decisions on next steps ร่วมกันกำหนดแผนงานที่จะต้องทำในช่วงถัดไป บันทึกกระบวนการที่ เกิดขึ้นจากการประชุมแต่ละครั้ง รวมถึงข้อผิดพลาดและบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับเพื่อนำไปใช้อ้างอิงหรือศึกษาต่อได้ในอนาคต
            จะเห็นว่ากระบวนการของ AL จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กร การผลักดันจากผู้บริหารของกลุ่มงาน ..... เพราะ.....แนวคิด(Concept) นี้ต้องใช้เวลาในช่วงระหว่างวันทำงานมาพูดคุยตกลงร่วมกัน ซึ่งแนวคิดของ AL ถือว่าเป็นกระบวนการที่ช่วยทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้นในองค์การ (Organization Learning) เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้น(Focus)ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share) การแสดงความคิดเห็น (Show) และ การเรียนรู้ร่วมกัน (Learn) ของสมาชิกในทีม 
    
แล้ว OL ต่างกับ LO อย่างไร ?

            Learning Organization (LO)แตกต่างจากOrganization Learning (OL)อย่างไร?  เป็นแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กัน เนื่องจาก LO หมายถึงวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์การ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ( Learning System) เชื่อมโยงการเรียนรู้กับผลประกอบการ ( Performance ) ทั้งระดับตัวบุคคล ระดับหน่วยงาน และระดับองค์การ โดยมีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มผลผลิต(Productivity) และการนำไปสู่การสร้างสรรค์(Creativity) นวัตกรรม(Innovation)ในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ(New Service) และช่วยให้องค์การปรับตัว(Adaptation)ได้กับสภาพแวดล้อมภายนอก(Environment)ที่เปลี่ยนแปลง(Change)อย่างรวดเร็ว
            หัวใจของ LO คือ การมุ่งมั่น(Commitment) และตกลงร่วมกันที่จะแสวงหาและให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) ระหว่างสมาชิกในทีม ซึ่งการฝึกอบรม (Training) เป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิด Learning Organization: LO
            จากที่ได้พูดถึง Organization: LO จะสามารถเชื่อมโยงกับทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ทั้งหมดเลยนะคะ ...... คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน  ๆ SSRU


สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด  Tel. 081 - 9435033

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

                วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอพูดเรื่อง “ Learning Organization” (ต่ออีกนิดหนึ่งนะคะ) ของ Peter Senge  ศาสตราจารย์ ของสถาบัน MIT ของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ MIT Center for Organizational Development และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ "The fifth Discipline"  หนูได้ค้นคว้าและนำมาเล่าให้กับเพื่อน ๆ และนำมา Integration กับ ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ดังนี้นะคะ

องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

 1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action) 
  2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program 
3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น Case Study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
 4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ
 5. มีการถ่ายทอดความรู้ โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

การพัฒนา องค์การเพื่อ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

การเปลี่ยนแปลงด้วย ความเร่งรีบมักจะนำมาซึ่งปัญหาข้อขัดแย้ง และความล้มเหลว การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม ควรจะประกอบด้วย ขั้นตอนดังนี้ คือ
         1. Unfreeze คือ ขั้นเตรียมความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่จำเป็นในขั้นตอนนี้คือสร้างกระแสของความต้องการการเปลี่ยนแปลง ระดมความคิดว่าต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?  องค์การต้องการอะไร? โดยอาจจะใช้การทำ FSC (Future  Search Conference) ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงว่าผู้ใดที่มีอำนาจที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย
          2. Change คือ ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงซึ่งการที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร? นั้นควรจะศึกษาถึงองค์การของเรา ให้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงเพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุดซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงองค์การ

ความต้านทานต่อความเปลี่ยนแปลง (Change)

  1. ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ (Fear of unknown)
  2. ไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน (Lack of information)
  3. ต้องการรักษาสถานภาพของตัวเองภายในองค์การไว้ (Treat to status)
  4. กลัวความล้มเหลว (Fear of failure)
  5. กลัวสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยได้รับ (Lack of perceive benefit)
  6. กลัวเสียหน้า (Loss of face)
  7. กลัวว่าจะเพิ่มภาระงานของตน (Increase in work: I'm too busy already)
  8. ยึดติดอยู่กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมขององค์การ (History - Culture)
  9. กระแสความกดดันภายในองค์การ (Stress)
 10. กลัวความไม่แน่นอน (Uncertainly)

    จากที่หนูได้เสนอ Organization: LO จะสามารถเชื่อมโยงกับ ทฤษฎี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ SSRU

 

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel.081-9435033

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                ปัญหาทุนมนุษย์ในกองทัพอากาศคืออะไรศึกษาข้อมูลจากทฤษฎี 8k 5k 3วงกลม

กองทัพอากาศมีการสนันสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรในกองทัพได้เรียนรู้ตลอด คือ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ  วิทยาลัยการทัพอากาศโรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูงในแต่ละหลักสูตรของหน่วยงานและให้การศึกษาและอบรมจะเน้นทางด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางการทหารเป็นส่วนใหญ่แต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนสงครามที่รบกันแบบซึ่งหน้ามาเป็นการรบกันที่ต้องใช้สมองและมีการวางยุทธวิธีที่ลึกซึ้งกว่าแต่ก่อนดังนั้น ปัญหาทุนมนุษย์ในกองทัพอากาศที่มีจุดที่ต้องปรับปรุงคือควรเพิ่ม
ทุนทางจริยธรรม ทหารไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองทุนแห่งความสุข ทหารก็เป็นมนุษย์ แต่ต้องอยู่ในระเบียบวินัยและสายบังคับบัญชาที่เข้มงวดบางครั้งเป็นการฝืนธรรมชาติและไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงถ้าการต้องฝืนนานๆ อาจทำให้ไม่มีความสุขหรือเกิดการเครียดในการทำงานได้ทุนทางเทคโนโลยีหรือDigital  Capital  เนื่องโลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี  เป็นโลกาภิวัตน์  ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรทางทหารให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและเปลี่ยนการสู้รบที่ไม่เห็นศัตรู จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มาก

และนอกจากนี้ยังควรเพิ่มอีก 2 ทุนจากทฤษฎี5kคือ

ทุนแห่งการสร้างสรรค์ Creativity Capital        เพราะงานในหน้าที่ทหารปัจจุบันได้เปลี่ยนไปไม่ใช่การรบด้วยอาวุธอีกต่อไป เป็นการรบด้วยปัญญา หรืออาจจะเป็นอาวุธชีวภาพที่ทำลายด้วยเชื้อโรคนั้นจึงต้องหาทางสร้างสรรค์แนวการป้องกันที่ฉลาดกว่าศัตรู

ทุนทางนวัตกรรมInnovation Capital    เพราะ นวัตกรรมใหม่ๆจะเป็นเกราะป้องกันภัยให้กองทหารใช้ในการป้องกันประเทศได้

ผู้นำกองทัพควรมีจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องก่อนเพราะ ภารกิจของทหารในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จึงจะนำทฤษฎี 3 วงกลมมาปรับ โดยวงกลมที่1  จะต้องพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายในการรบใน ปัจจุบันรูปแบบการรบเปลี่ยนไป ถ้าเราจะรบกับด้วย อาวุธที่ทันสมัยประเทศไทยไม่สามารถผลิตเองได้ ซื้อมาประเทศอื่นก็ซื้อด้วยดังนั้นมีอาวุธเหมือนกันแต่การใช้ใครจะใช้ได้ดีกว่ากัน  ควรมีการนำระบบ IT มาใช้ และเรียนรู้ในการค้นหาข้อมูลที่ก้าวหน้าและมีให้พร้อมเพราะต้องรู้เขารู้เราวงกลมที่ 2   เน้นการพิจารณาทักษะ และศักยภาพด้านการฝึกความที่จำเป็นสำหรับทหารเพื่อพัฒนาให้ทหารมีความรู้   ความสามารถ และทักษะ ที่สามารถทำงานอย่างอื่นด้วยนอกจากการรบวงกลมที่ 3   เรื่องการสร้างแรงจูงใจ สำหรับทหารในภาวะที่เกิดภัยสงคราม(ป้องกันชายแดนภาคใต้) คือทหารจะต้องมีกำลังใจ  มีความพึงพอใจ  มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการป้องกันประเทศชาติ  สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

จาก วัชรินทร์  แสงมา Ph.d 3  ssru

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

เศรษฐกิจกับการจ้างงานเกี่ยวข้องกันอย่างไร

เกี่ยวข้องกันคือถ้าเศรษฐกิจไม่ดีจะไม่มีการขยายกิจการ การค้าขายไม่ดีผลิตสินค้าแล้วขายไม่ออกก็ไม่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ก็ไม่มีการจ้างงานหรือบางกิจการอาจล้มเลิกกิจการปลดคนงานออก

การจ้างงาน  มีการบรรจุงาน 11,676  อัตรา  ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 14.3 โดยมีตำแหน่งงานว่าง 13,504 อัตรา  ลดลงร้อยละ 16.7  และ มีผู้สมัครงาน 20,796 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ  20.1    โดยล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็เผยตัวเลขคนตกงานสะสมตั้งแต่ต้นปีเมษายนนี้ว่ามีสูงประมาณ 1-2 ล้านคน

โดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า ยอดผู้ว่างงานที่ทยอยเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2552) มีผู้ว่างงาน 680,000 คน แบ่งเป็นยอดสะสมผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม 230,000 คน ผู้จบการศึกษาใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จบปริญญาตรี 200,000 คน และคนว่างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อีกประมาณ 250,000 คน รวมตัวเลขผู้ว่างงานคาดว่าจะอยู่ที่ 1-2 ล้านคนใกล้เคียงกับข้อมูลจากประธานคณะทำงานการกระจายรายได้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่คาดการณ์ว่า ในปี 2552 จะมีผู้ว่างงานมากถึง 2 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานที่ว่างงานสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 ประมาณ 1 ล้านคน ที่เหลือเป็นนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ พ่อค้า แม่ค้า และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(sme)

ขณะที่ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่า ผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมือง จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจติดลบ 5-6 % ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน โดยคาดว่าจะมีการเลิกจ้างงานอีก 700,000 คน ใน 8 เดือนข้างหน้า เมื่อรวมกับคนที่ว่างงานในปัจจุบัน 800,000 คน เมื่อถึงปลายปีอาจจะมีคนว่างงานสูงถึง 1.5 ล้านคนส่วนข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์เลิกจ้าง ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ก็พบว่า ในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา (1 มกราคม2551- 24 เมษายน 2552) มีผู้ถูกเลิกจ้างและมีแนวโน้มอาจจะถูกเลิกจ้าง รวม 274,605 คน
ทั้งนี้มีสถานประกอบการที่เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว 944 แห่ง มีลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างแล้ว 84,401 คน และสถานประกอบการที่มีแนวโน้มจะเลิกจ้างในระยะต่อไป 737 แห่ง จากลูกจ้างทั้งหมด 378,482 คน ซึ่งมีแนวโน้มจะถูกเลิกจ้างอีกราว 103,827 คน นอกจากนี้ยังพบว่า มีลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบอีก 274,605 คน ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างในจังหวัด สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร
ส่วนประเภทกิจการที่เลิกจ้าง 5 อันดับแรก ในช่วง2-3 เดือนที่ผ่านมาได้แก่

1.ผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์

 2.ผลิตสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ฟอกหนังสัตว์และรองเท้า

 3.ผลิตยานยนต์ และอุปกรณ์ขนส่ง

4.ผลิตเครื่องจักร

5.ผลิตเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ

ส่วนที่ยังมีการจ้างงานในช่วง2-3 เดือนที่ผ่านมาได้แก่

บริษัทลงโฆษณาทางด้านเว็บไซด์

 

จากวัชรินทร์  แสงมา Ph.D3  ssru

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

                วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอพูดคุยเรื่อง “ Learning Organization” (ต่ออีกนิดหนึ่งนะคะ) ของ Peter Senge  ศาสตราจารย์ ของสถาบัน MIT ของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ MIT Center for Organizational Development และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ "The fifth Discipline"  หนูได้ค้นคว้าและนำมาเล่าให้กับเพื่อน ๆ และนำมา Integration กับ ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ดังนี้นะคะ

องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ     1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming ( PDCA : Plan,  Do, Check,  Action หรือ  Design  - Action – Learning – Improvement
  2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ใน สิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program 
3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น Case Study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
 4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ
 5. มีการถ่ายทอดความรู้ โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

การพัฒนา องค์การเพื่อ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

การเปลี่ยนแปลงด้วย ความเร่งรีบมักจะนำมาซึ่งปัญหาข้อขัดแย้ง และความล้มเหลว การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม ควรจะประกอบด้วย ขั้นตอนดังนี้ คือ
         1. Unfreeze คือ ขั้นเตรียมความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่จำเป็นในขั้นตอนนี้คือสร้างกระแสของความต้องการการเปลี่ยนแปลง ระดมความคิดว่าต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?  องค์การต้องการอะไร? โดยอาจจะใช้การทำ FSC (Future  Search Conference) ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงว่าผู้ใดที่มีอำนาจที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย
          2. Change คือ ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงซึ่งการที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร? นั้นควรจะศึกษาถึงองค์การของเรา ให้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงเพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุดซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงองค์การ

ความต้านทานต่อความเปลี่ยนแปลง (Change)

  1. ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ (Fear of unknown)
  2. ไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน (Lack of information)
  3. ต้องการรักษาสถานภาพของตัวเองภายในองค์การไว้ (Treat to status)
  4. กลัวความล้มเหลว (Fear of failure)
  5. กลัวสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยได้รับ (Lack of perceive benefit)
  6. กลัวเสียหน้า (Loss of face)
  7. กลัวว่าจะเพิ่มภาระงานของตน (Increase in work: I'm too busy already)
  8. ยึดติดอยู่กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมขององค์การ (History - Culture)
  9. กระแสความกดดันภายในองค์การ (Stress)
 10. กลัวความไม่แน่นอน (Uncertainly)

    จากที่หนูได้เสนอ Organization: LO จะสามารถเชื่อมโยงกับ ทฤษฎี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ SSRU

 

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel.081-9435033

ท่าน ศ. ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) คุยกับท่านอาจารย์เรื่อง กลยุทธ์ทางธุรกิจ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ และท่าน รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้สอนเรื่อง “Red Ocean”  และ “Blue Ocean” และต่อมา White Ocean หนูอ่านแล้ว(คราว ๆ แล้ว) แต่ละ Concept แต่ละ Strategy  ดีมาก ๆค่ะ ล้วนแต่ใช้ ทุนทางปัญญา + ทุนทางมนุษย์ + ทุนทางความรู้ + ข้อมูลใหม่ ๆๆๆๆ + Idea + Information + Digital(IT system) + การคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่--------> Innovation สิ่งที่ตอบสนองลูกค้า สินค้าใหม่ ๆ แปลก ๆ ซึ่งทั้งหมดคือ ทฤษฎีของท่าน อาจารย์ ศ. ดร. จีระที่สอนในPh.D SSRU เพื่อ-------->ตอบสนอง Need  ของลูกค้า  เปลี่ยนจาก ลูกค้าคือพระเจ้าไปเป็น-------> สินค้า คือพระเจ้า แทน

การทำ Strategy  ในการแข่งขันมี แก่งแย่งแบ่งฐานลูกค้ากันเอง องค์กรที่มีความได้เปรียบ คือองค์กรที่มีศักยภาพสูง(High Potentials ) มีทั้งความรู้(Knowledge) ความเชี่ยวชาญ(Special) และทรัพยากร(Resources)ที่มีประสิทธิภาพ + มีเงินทุนมากเท่านั้น ผู้บริหาร + ผู้ประกอบการจะทุ่มเททุก ๆอย่างเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามมาและเมื่อหมดทรัพยากร แต่เมื่อเจอ “Risk” จากความไม่แน่นอนของโลกธุรกิจยุคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ธุรกิจจะเป็นเช่น----->ทะเล สีเลือด

@ Blue Ocean น่านน้ำ สีคราม  เมื่อคิด Innovation เพื่อให้เป็นสินค้าใหม่ ๆ แปลก ๆ + บริการรูปแบบใหม่ เพื่อเป็นสิ่งที่สนองตอบลูกค้า ในเวลาไม่นาน คู่แข่งขันรายใหม่ + ผู้เล่นรายใหม่ๆ อยากเข้ามาร่วมในตลาดเดียวกันกับเรามากขึ้น ฉุดตลาดใหม่ของเราให้ไปสู่ Red Ocean  เพราะเราคิด Strategy  นี้ได้ คู่แข่งก็คิดได้เช่นกัน และสุดท้าย Blue Ocean ก็ กลายเป็น Red Ocean  ความ ไม่ ยั่งยืน(Sustainability)ก็เกิดขึ้นอีก...มองระยะไกล-----> มองเรื่อง Sustainability ของผู้บริหาร ของนักคิด Innovator  อยู่บนหลักสมการ 3 P ของคือ People (คน) Planet(ทรัพยากร)และ Profit (ผลกำไร) ธุรกิจในโลกปัจจุบันเป็นโลกของโอกาสและความอุดมสมบูรณ์ องค์กรร่ำรวยขึ้นมาได้ก็เป็นผลมาจาก สังคม และเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไร สร้างความมั่งคั่งสูงสุด ให้กับ หมายรวมถึง

1.  พนักงานในองค์กร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความอยู่รอดให้องค์กร

2.  ผู้บริหารต้องสร้างจิตสำนึกที่ดี เพื่อสร้างความแข็งแกร่งภายในองค์กรให้ได้

3. รวมถึงลูกค้าทางตรงและทางอ้อมไปจนถึงสาธารณชน

Planet คือทรัพยากรโดยรวมทั้งหมดที่ผ่านมา การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ขององค์กรได้ใช้ทรัพยากรไปมากน้อยแค่ไหนและทรัพยากรที่มีอยู่ทำให้เกิดประโยชน์กับสาธารชนได้หรือไม่? มากหรือน้อยอย่างไร? องค์กรต้องมีทรัพยากรที่เอื้อเฟื้อให้ผู้คนที่รายล้อมองค์กรได้ด้วย

องค์กรจะอยู่ได้ก็ต้องมี “Profit” ให้อยู่รอดได้ด้วย

สรุป White Ocean คือการทำงานดี ๆ ให้กับสังคม โครงการที่ดี ๆและต้องก็อยากทำด้วย มีใจที่จะทำ ทุ่มเท จึงมีงานไหลเข้ามาหาเราโดยธรรมชาติ.....สรุปคือทำธุรกิจที่ดี ๆๆ เพื่อสังคม นั้นคือ....ทำดี..เพื่อความดี.....นั้นเองนะคะ

วันนี้หนูขอจบแค่นี้ก่อนนะคะ

มศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.บ้านลาด            Tel. 081-9435033

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อคืนผมได้ดูรายการ "คิดเป็น...ก้าวเป็นกับ ดรงจีระ หงส์ลดารมภ์"ที่ช่อง TNN2 น่าสนใจมากครับและผมจะติดตามต่อตอนที่สอง เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นถึงการนำหลักทางพุทธศาสนามาใช้ร่วมกับ Ethical Capital (ทุนด้านจริยธรรม)หนึ่งใน 8K'sของอาจารย์นะครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์และนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาขอถวายพระพร "ขอให้องค์สมเด็จพระราชินี ทรงมีพระเกษมสำราญ ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ "

 

ภาพถ่ายที่ Empolium 16/8/52 ขณะที่อาจารย์จีระ พานักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ไปเรียนรู้เรื่องทฤษฎี4L's ได้ถ่ายภาพร่วมกันเพื่อถวายพระพร

 

Image006

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     พวกเราต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ เป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาพาพวกเราไปเยี่ยมชม "ธารศิลป์...รักษ์จิตรกร" ที่ Empolium และพวกเราได้รับความรู้ ข้อคิดและการต้อนรับเป็นอย่างดีเยี่ยมจากคุณลลิสา จงบารมี และอาจารย์แนบ โสตถิพันธุ์

     พวกเราต้องขอขอบพระคุณทุก ๆ ท่านเป็นอย่างสูง

นักศึกษาปริญญาเอก (Innovative Management)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Image011

Image014

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พวกเราต้องขอขอบพระคุณ

ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ

คณะทำงานของท่านอาจารย์ทุก ๆ คน(คุณเอ,คุณเอ้และคุณเอราวรรณ)

คุณอิ๋ว ตัวแทนของ SSRU

และเพื่อน ๆ ของอาจารย์ (อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์)ด้วยนะครับ

Ph.D.3 Innovative Management SSRU.

 

Image033

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดรงจีระ หงส์ลดรมภ์

คำถาม "ทำไมคนสนใจในเรื่อง Leadership มาก?"

     ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาและก่อให้เกิดวิกฤต หรือปัจจัยลบอย่างมากมาย หรือปัญหาที่เกิดแต่ละครั้งเป็นปัยหาที่ใหญ่มาก ๆ สามารถทำให้ล้มเหลวได้ทันที และล้มได้ทั้งองค์กรไม่ว่าจะใหญ่ขนาดไหนหรือเล็กก็ตาม ดังนั้นปัจจะที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะแก้ปัยหาและนำพาให้องค์กรฝ่าวิกฤตต่าง ๆ ได้คือ Leadership ผู้นำสูงสุดขององค์กรจึงเป็นหัวใจหลักและทำให้ทุก ๆ คน หรือทุก ๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครับหรือเอกชนก็ต้องมาสนใจ "Leadership"

ผู้นำที่ผมให้ความนับถือและดูเป็นตัวอย่าง

ในธุรกิจตอนนี้ ผมนับถือ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และอาจารย์ ศ.ดรงจีระ หงส์ลดารมภ์ และ บิลเกรด ของ Microsoft เพราะเมื่อทุกคนประสบความสำเร็จแล้วมีการทำต่อเนื่องเพื่อคืนสู่สังคม

นอกธุรกิจ ผมมองคุณอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ประธาณาธิบดีบารัค โอบามา และ Sun Tzu (The art of war) เพราะเขาเหล่านนั้นเป็นนักสู้และต้องฝ่าฟันขึ้นมาด้วยตัวเอง

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อบานะ

081-840-6444

 

 

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือที่มีอิทธิพลต่อตัวผม ต้องสารภาพจริง ๆ ว่าในอดีตข้อเสียของผมคือการอ่านหนังสือน้อยมาก(ไม่ใช่หนังสือเรียน) และผมเริ่มอ่านจริง ๆ ก็ตอนมาเรียนหนังสือปริญญาเอกกับท่านอาจารย์ ดังนั้นหนังสือที่ผมชอบคือ

1. ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและคุณจีระ หงส์ลดารมภ์

2. The Necessary Revolution ที่ท่านอาจารย์แนะนำ

3. Chaotics (Philip Kotler) ที่อาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์แนะนำ

ผมเริ่มได้ในสิ่งที่คิดว่าคุ้ม สามารถทำความเข้าใจและสามารถนำมาใช้ได้ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือที่มีอิทธิพลต่อตัวผม ต้องสารภาพจริง ๆ ว่าในอดีตข้อเสียของผมคือการอ่านหนังสือน้อยมาก(ไม่ใช่หนังสือเรียน) และผมเริ่มอ่านจริง ๆ ก็ตอนมาเรียนหนังสือปริญญาเอกกับท่านอาจารย์ ดังนั้นหนังสือที่ผมชอบคือ

1. ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและคุณจีระ หงส์ลดารมภ์

2. The Necessary Revolution ที่ท่านอาจารย์แนะนำ

3. Chaotics (Philip Kotler) ที่อาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์แนะนำ

ผมเริ่มได้ในสิ่งที่คิดว่าคุ้ม สามารถทำความเข้าใจและสามารถนำมาใช้ได้ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียน  ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) พูดคุยและ ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่อง---------> LO + Leadership + ทฤษฎี 3 วงกลม ( Context + Competency  + Motivation )  + ทฤษฎี 4 E  (Exampling +Exericnce + Environment + Evaluation) เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ ” Learning Organization  เป็นองค์กรที่มี  การสร้างช่องทาง(Charnel) ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้  ซึ่งกันและกันภายในระหว่าง  บุคลากร ควบคู่ไปกับการรับ ความรู้จากภายนอก  เป้าประสงค์ สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่  การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core Competence) ขององค์กร” โดยเฉพาะ  โรงพยาบาลบ้านลาด   ทีมงานทุก ๆ หน่วยงาน  กำลังติดเครื่องร้อน ....ๆๆๆ + โดยการนำของ ผู้นำ (ผอ.นพ. สมพนธ์) ของพวกเราทุก ๆ คนบุคลากรทุกระดับ.....ตั้งแต่ผอ. รพ.+ ทีมองค์กรแพทย์ + ทันตแพทย์ + เภสัชกร + OPD + IPD + ทีมกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน+ งานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม + ศูนย์สุขภาพชุมชนในรพ. + งานเยี่ยมเยี่ยมบ้าน + งานกายภาพและแพทย์แผนไทย + งานบริหารทั่วไป +รวมทั้ง  Front Office + Back Office ฯลฯ  เพื่อเป็นให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมประเทศไทย + สังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (อยู่บ้านนอก....แต่หัวใจพวกเราชาวรพ.บ้านลาด-----> ไม่ขาด Knowledge &  KM = การจัดการความรู้ อย่างต่อเนื่อง(Continuous) ทำมา 6 ปีแล้วคะ และ -------> ยังทำต่อไป แบบนี้...ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  เรียกว่า “Sustainability Capitalทุนแห่งความยังยืน ” โดยเรามี Innovation หลายระดับ ทั้ง

-         ระดับองค์กร(รพ.บ้านลาด)

-         ระดับหน่วยงาน

-         ระดับบุคคล------> ผอ.----> คนงานเข็นเปล(อย่ามีคุณภาพ)

ก่อนจบต้องตามมาด้วย วิชาการที่ได้ค้นหานำมาเป็นตัวเสริม + อ้างอิงว่าเป็นจริง.....(ไม่ได้โม้นะคะ)

 

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ มี 5  องค์ประกอบ ดังนี้

1. การเรียนรู้ (Learning) หรือ พลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1)   ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ

2)   ประเภทของการเรียนรู้  ได้แก่  การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

3)     ทักษะการเรียนรู้  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ

1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) 

2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model) 

3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)

4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)

6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)

2. องค์การ (Organization) หรือ การปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  ได้แก่

1)วิสัยทัศน์  เป็นรพ.ชุมชนชั้นนำของประเทศ

2) วัฒนธรรมองค์การ  สร้างวัฒนธรรม...คุณภาพ (Quality) + ความปลอด (Safety) + สร้างเสริมสุขภาพ (Healthy Promotion)

3) กลยุทธ์ (Strategic) มีทั้ง 4 มิติ คือ  ส่งเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรคและควบคุม + รักษาพยาบาล + ฟื้นฟูสภาพ+แพทย์แผนไทย

4)   โครงสร้าง สายการบังคับบัญชาไม่มาก (Hierarchic) + แบนลาบมากที่สุด (Flat Organization)

3.สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่          1)บุคลากร(เจ้าหน้าที่ทุกระดับแพทย์ + พยาบาล + ทันตแพทย์ + นักวิชาการ +ฯลฯ)

2) ผู้บริหาร +  ผู้นำ+ คณะกรรมการบริหารรพ.

3) ผู้ป่วย + ผู้มาเยี่ยมเยือน +ผู้รับบริการ + ลูกค้า

4) บริษัทยา + องค์การเภสัชกรรม + คู่ค้าฯลฯ

5) พันธมิตร อบต.ท่าช้าง + อบต.ไร้สะท้อน+อบต.หนองกระปุ+สำนักงานสาธาณสุขอำเภอบ้านลาด + พันธมิตร+โรงเรียนวัดโพธิ์ +ผู้นำชุมชน +  หุ้นส่วน(ร้านเทิดไทยรวมช่าง + ร้านชนะยนต์+ สถานีอนามัยเครือข่าย 18 แห่ง)

6) ชุมชน  บ้านไร่มาบ + บ้านไร่โพธิ์ + บ้านท่าช้าง+ ชมรม อสม. ต.ท่าช้าง + ชมรมผู้สูงอายุ รพ.บ้านลาด

4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย

1) การแสวงหาความรู้ + ภูมิปัญญาพื้นบาน + รำแคนของคน ไทยทรงดำบ้านห้วยลึก + ห้วยช้อง

2)     การสร้างความรู้จาก ประสบการณ์การทำงาน + การขึ้นต้นตาล + ทำน้ำตาลจาก ตาลโตน

3)     การจัดเก็บความรู้ + จัดเก็บโดยใช้ระบบMIS (ทุน....IT) ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ

4)   การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์ + โดยนำในเสนอ เวทีคุณภาพของ รพ.บ้านลาด ทำทุกเดือนเลยนะคะ

5.เทคโนโลยี (Technology) + IT หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย

1)     เทคโนโลยีสารสนเทศ

       2) เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้

3)     ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน

 

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

                  - บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ

                  - แบบแผนทางความคิด (Mental Model)  หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

                  - การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

                  - การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ

                  - การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็น ระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน

 

ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้

           องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

1.      มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของดร. Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)

2.      มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program

3.      มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น Case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ "ศึกษา" ถึง ความสำเร็จและความผิดพลาด  ที่เกิดขึ้น เพื่อนำมา "ประยุกต์ใช้" ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก

4.   มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) ฯลฯ

5.   มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

 

วันนี้หนูเขียน ยาว.....ม๊าก..มาก ๆๆ……หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้าง(นิดหน่อย ...เพียงน้อย ๆๆ นะคะ) ตามทฤษฎีของ ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ และท่าน Peter M. Senge

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์  รพ. บ้านลาด เพชรบุรี  Tle. 081- 9435033

เรียน  ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) พูดคุยและ ขอ แลกเปลี่ยน + เรียนรู้ และเชื่อมโยง...เรื่อง---------> LO + Leadership + ทฤษฎี 3 วงกลม ( Context + Competency  + Motivation )  + ทฤษฎี 4 E  (Exampling +Exericnce + Environment + Evaluation) เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ ” Learning Organization  เป็นองค์กรที่มี  การสร้างช่องทาง(Charnel) ให้เกิดการถ่ายทอดความรู้  ซึ่งกันและกันภายในระหว่าง  บุคลากร ควบคู่ไปกับ การรับความรู้จากภายนอก  เป้าประสงค์สำคัญ(Goal) คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหา แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่  การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core Competence) ขององค์กร โดยเฉพาะ   โรงพยาบาล "บ้านลาด"  ทีมงานทุก ๆ หน่วยงาน  เครื่องติดร้อน ....ๆๆๆ + โดยการนำของ ผู้นำ (ผอ.นพ. สมพนธ์) ของพวกเราทุก ๆ คนบุคลากรทุกระดับ(มีความสำคัญพอ.... ๆ ๆกัน เหมือนมือต้องครบ 5 นิ้ว ถึงจะเป็น มือที่สมบูรณ์ทำงานเกิด Value Added ได้ดี).....ตั้งแต่ ผอ. รพ.บ้านลาด + ทีมองค์กรแพทย์ + ทันตแพทย์ + เภสัชกร + OPD + IPD + ทีมกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน+ งานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม + ศูนย์สุขภาพชุมชนในรพ. + งานเยี่ยมเยี่ยมบ้าน + งานกายภาพและแพทย์แผนไทย + งานบริหารทั่วไป  +รวมทั้ง  Front Office + Back Office ฯลฯ  เพื่อเป็นให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลง (Change) ของสังคมประเทศไทย + สังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (อยู่บ้านนอก....แต่หัวใจพวกเราชาวรพ.บ้านลาด-----> ไม่ขาด Knowledge &  KM = การจัดการความรู้ อย่างต่อเนื่อง(Continuous) ทำมา 6 ปีแล้วคะ และ -------> ยังทำต่อไป แบบนี้...ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  เรียกว่า “Sustainability Capital = ทุนแห่งความยังยืน โดยเรามี Innovation หลายระดับ ทั้ง

ระดับองค์กร (รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี)

-   ระดับหน่วยงาน (OPD + IPD+ ทัตกรรม + Laboratory+ Health Promotion + เภสัชกร + ห้องคลอด + วิชาการ + กายภาพบำบัด+ ซ่อมบำรุง + ยานยนต์ + สุขาภิบาล + สิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย + ฯลฯ )

  ระดับบุคคล------> ผอ.  ---->จนถึง----> พนักงานเข็นเปล (อย่ามีคุณภาพ = Qality)

ก่อนจบ ต้องตาม ด้วย วิชาการที่ได้ค้นหามาเพิ่ม....เติมต็มและนำมาเป็นตัวเสริม + อ้างอิงว่าเป็นจริง????.....(ไม่ได้โม้นะคะ) ดังนี้

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ มี 5  องค์ประกอบ ด้วย

1. การเรียนรู้ (Learning) หรือ พลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1)  ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ

2)  ประเภทของการเรียนรู้  ได้แก่  การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

3)  ทักษะการเรียนรู้  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ

1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) 

2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model) 

3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)

4)การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

5)การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)

6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)

2. องค์การ (Organization) หรือ การปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1)วิสัยทัศน์  เป็นรพ.ชุมชนชั้นนำของประเทศ

2) วัฒนธรรมองค์การ  สร้างวัฒนธรรม...คุณภาพ (Quality) + ความปลอด (Safety) + สร้างเสริมสุขภาพ (Healthy Promotion)

3) กลยุทธ์ (Strategic) มีทั้ง 4 มิติ คือ  ส่งเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรคและควบคุม + รักษาพยาบาล + ฟื้นฟูสภาพ+แพทย์แผนไทย

4)   โครงสร้าง สายการบังคับบัญชาไม่มาก (Hierarchic) + แบนลาบ มากที่สุด (Flat Organization)

 

3.สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่         

1)บุคลากร(เจ้าหน้าที่ทุกระดับแพทย์ + พยาบาล + ทันตแพทย์ + นักวิชาการ +ฯลฯ)

2) ผู้บริหาร +  ผู้นำ+ คณะกรรมการบริหารรพ.

3) ผู้ป่วย + ผู้มาเยี่ยมเยือน +ผู้รับบริการ + ลูกค้า

4) บริษัทยา + องค์การเภสัชกรรม + คู่ค้าฯลฯ

5) พันธมิตร+ เครือข่าย (Network) ของเรา ชาวบ้านลาด...แต่  ขอปฎิเสธ การไม่เป็น บ้านนอก  อบต.ท่าช้าง + อบต.ไร้สะท้อน + อบต.หนองกระปุ + สำนักงาน สาธารณสุข อ. บ้านลาด + โรงเรียนวัดโพธิ์ +ผู้นำชุมชน(กำนัน + ผู้ใหญ่บ้าน + ปราชญ์พื้นบ้าน) +  หุ้นส่วน (ร้านเทิดไทยรวมช่าง + ร้านชนะยนต์+ สถานีอนามัยเครือข่าย 18 แห่ง)

6) ชุมชน  บ้านไร่มาบ + บ้านไร่โพธิ์ + บ้านท่าช้าง+ ชมรม อสม. ต.ท่าช้าง + ชมรมผู้สูงอายุ รพ.บ้านลาด + ชมรม อสม. บ้านลาด

4. ความรู้ (Knowledge) หรือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย

1) การแสวงหาความรู้ + ภูมิปัญญาพื้นบาน + รำแคนของคน ไทยทรงดำ บ้านห้วยลึก + ห้วยช้อง + บ้านหนองโสน ฯลฯ

2)     การสร้างความรู้จาก ประสบการณ์การทำงาน + การขึ้นต้นตาล + ทำน้ำตาลจาก ตาลโตน

3)     การจัดเก็บความรู้ + จัดเก็บโดยใช้ระบบMIS (ทุน....IT) ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ

4)   การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์ + โดยนำในเสนอ เวทีคุณภาพของ รพ.บ้านลาด ทำทุกเดือนเลยนะคะ

 

5.เทคโนโลยี (Technology) +  IT System  หรือ การนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย

1)  เทคโนโลยีสารสนเทศ

       2) เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้

3)  ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน

 

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

                  - บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ

                  - แบบแผนทางความคิด (Mental Model)  หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient: EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

                  - การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

                  - การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ

                  - การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็น ระบบโดยรวม (Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน

 

ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้

           องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

1.      มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของดร. Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)

2.      มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program

3.      มีการเรียนรู้จากบทเรียน

เรียน  ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

  วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) พูดคุยและขอ แลกเปลี่ยน + เรียนรู้ และเชื่อมโยง...เรื่อง---------> LO + Leadership + ทฤษฎี 3 วงกลม ( Context + Competency  + Motivation )  + ทฤษฎี 4 E  (Exampling + Expericnce + Environment + Evaluation) เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ ” Learning Organization (ต่อBlog ก่อน นะคะ)

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

                  - บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น  คนในองค์กร จะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้  ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพ  (Potential) ของตนเองอยู่เสมอ

                  - แบบแผนทางความคิด (Mental Model)  หมายถึง แบบแผนทางความคิด(Thinking) ความเชื่อ (Believe)  ทัศนคติ(Attitude) สดงถึงวุฒิภาวะ (Emotional Quotient: EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิด (Mindset) ที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ(Understands) วินิจฉัย(Diagnosis) ตัดสินใจ (Decision Making)  ในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

                  - การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

                  - การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงาน เป็น เป้าหมาย (Goal) สำคัญ ที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้(Knowledge) และประสบการณ์ (Experience)  กันอย่างสม่ำเสมอ

                  - การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็น ระบบโดยรวม (Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถ มองเห็นระบบย่อย (Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน

 

ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้

           องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ

1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของดร. Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)

2.  มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project  หรือ เป็น Ongoing program

3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น Case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ "ศึกษา" ถึง ความสำเร็จและความผิดพลาด  ที่เกิดขึ้น เพื่อนำมา "ประยุกต์ใช้" ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก

4.   มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation)

5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำReport, Demonstration, Training & Education,  Job Rotation

            วันนี้หนูเขียน ยาว.....ม๊าก..มาก ๆๆ……หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน & เพื่อน ๆๆๆแห่ง SSRU บ้างนะคะ(นิดหน่อย ...เพียงเล็กน้อยยังดีนะคะ) ตามทฤษฎีของ ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ และ  ท่าน  Peter M. Senge

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์  รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี  Tle. 081- 9435033

เรียนท่านอาจารย์ หนูขอส่งการบ้านข้อ บุคคลนอกวงธุรกิจ 3 คน ที่คิดว่าเป็น ผู้นำ (นอกเหนือจากท่านอาจารย์จีระ ที่หนูถือว่าเป็นผู้นำด้านการศึกษา เพราะท่านไม่ได้มุ่งเน้นที่จะให้การศึกษาแก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยดังๆ ทั้งๆที่ท่านมีโอกาสทำได้อย่างมาก แต่ท่านกลับเปิดโอกาสให้นักศึกษาในสถานศึกษาในหลากหลายรูปแบบได้มีโอกาสได้เรียนรู้กับท่าน แม้กระทั่งเด็กชั้นมัธยม ชั้นประถม ก็ได้รับโอกาสนั้น และท่่านมุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะสร้างระบบการศึกษาไทยในรูปแบบที่ควรจะเป็น และถูกต้องด้วย ) คือ

1. ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานโครงการในพระราชดำริ ซึ่งครั้งหนึ่งท่านมีทรัพย์สิน ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดี แต่ท่านสละทุกอย่าง เพื่อเป็นตัวอย่างของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เห็นว่าปฏิบัติได้ในโลกความจริง ทำให้เป็นแบบอย่าง เรียกว่า เริ่มต้นชีวิตจาก ศูนย์ ทำให้ชีวิตสามารถพัฒนา และมีความสุขได้ สมดังที่ ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า ความขาดแคลนไม่เป็นปัญหา ถ้ามีปัญญาและความอดทน และ หากคนเรารู้จักพอก็จะเป็นเศรษฐีในเรือนยาจก ถ้าไม่รู้จักพอเมื่อไหร่ก็จะเป็นยาจกในเรือนเศรษฐี

2. ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านเป็นถึงนักวิทยาศาสตร์คนไทยคนแรกที่ได้ทำงานใน NASA ท่านสามารถชีวิตที่สุขสบายได้ แต่ท่านกลับพยายามสร้างเด็กไทยให้มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี เพื่ออนาคตของชาติ โดยท่านสร้างโรงเรียน “สัตยาไส” บนพื้นที่ 300 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ธรรมชาติเป็นส่วนมาก อยู่บริเวณอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นโรงเรียนประจำ มีเฉพาะอนุบาลเท่านั้นที่ไปกลับ เป็นโรงเรียนที่ได้รับเลือกว่า เป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่องด้านคุณธรรมอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

การเรียนการสอนของโรงเรียนจะใช้หลัก 3H คือ (Head-สมอง) ฮาร์ท (Heart-หัวใจ) และ แฮนด์ (Hand-การกระทำ) ซึ่งหมายถึง การกระทำสอดคล้องกันระหว่างการกระทำ สมอง และหัวใจ โดยในการสอนแต่ละวิชาก็จะนำคุณธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้วย ซึ่งจะช่วยให้เด็กทั้งเป็นคนดีและเป็นคนเก่ง

นอกจากนี้ในตอนเช้า โรงเรียนก็จะฝึกให้นักเรียนนั่งสมาธิ ซึ่งเป็นแก่นสำคัญของการเรียนรู้ใด ๆ ทั้งมวล เพราะถ้าเด็กมีสมาธิแล้ว ก็สามารถที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว นับว่าโรงเรียนสัตยาไส เป็นโรงเรียนที่ช่วยให้เด็กเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีโรงเรียนหนึ่ง (การที่ประเทศไทย มีนโยบายพัฒนาประเทศแบบ Creative Economy ได้ จะต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่เด็ก จึงจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง หากมิเช่นนั้นแล้ว การดำเนินการจะไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มรูปแบบ และ ไม่สมบูรณ์แบบ)

3. ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นผู้นำที่กล้าแสดงออก เพื่อต่อต้านสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นยุคที่ปลอดจากการเมืองมากสุด เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ไกล ขยายงานในหลายๆด้าน เช่น ขยายสาขาของธนาคารแห่งประเทศไทย วางแนวทางในขยายมหาวิทยาธรรมศาสตร์ไปยังศูนย์รังสิต ท่านเป็นผู้ที่รู้จักความพอเพียง คิดทุกอย่างที่เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ดังที่ท่านกล่าวว่า “ ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป" จากข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดา ถึง เชิงตะกอน”

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียนท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้าน ตอบโจทย์ข้อ บุคคลในวงธุรกิจ 3 คนที่คิดว่า เป็นผู้นำ โดยความคิดของหนูที่เลือกบุคคลทั้ง 3 คนที่จะกล่าวนี้ เป็นผู้นำ ด้วยเหตุผล คือ การสร้างธุรกิจด้วยตนเอง โดยไม่ได้อาศัยฐานของธุรกิจบรรพบุรุษ เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นสูง มีการให้โอกาสบุคคลในองค์กรได้เรียนรู้สิ่งใหม่ โดยเลือกทั้ง คนไทย ผู้หญิง และคนต่างชาติ ค่ะ

1. นายเทียม โชควัฒนา ผู้สร้างอาณาจักรสหพัฒนาพิบูลอันยิ่งใหญ่ ด้วยตนเอง จนปัจจุบันเป็นบรัษัทที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิด เรียกว่า ในชีวิตประจำวันของคนไทยต้องใช้สินค้าในเครือ สหพัฒนพิบูล

2. พญ.นลินี ไพบูลย์ (ข้อนี้ขอเป็นผู้หญิงบ้าง) ได้รับรางวัลนักธุรกิจหญิงดีเด่นของโลกปี 2007 สร้างธุรกิจด้วยตนเอง เป็นผู้หญิงที่สามารถสร้างธุรกิจขายตรงแข่งกับธุรกิจจากต่างชาติได้สำเร็จ

3. Warren Buffett - The Investment Leader เป็นนักธุรกิจ นักลงทุน แต่ชีวิตส่วนตัวเท่าที่ทราบ สมรรถะมากเมื่อเทียบกับฐานะ ถือว่า เป็นนักธุรกิจที่มีความสามารถมาก แม้ว่าจะเคยประสบปัญหามาแล้วก็ไม่ยอมแพ้ แสดงถึงความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆ เป็นบุคคลที่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา การลงทุนต้องพร้อมด้วยข้อมูลทุกด้าน รวมทั้งความกล้าตัดสินใจด้วย

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

            วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2552 เรียน Human Capital Management  ครั้งที่ 8 ซึ่งในครั้งนี้ ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงษ์ลดารมภ์ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้พวกเรา Ph.D SSR 3nd ได้เข้าถึงแก่น (กระพี้) ของทฤษฎี 4 L’S ในหัวข้อ Learning Environment และ Team Learning ของ Peter Sange พาพวกเราเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพื่อไปที่ร้านหนังสือ Kinokuniya ที่ The Emporium Shopping Complex ระหว่างการเดินทางได้สัมผัสกับบรรยากาศที่พวกเราส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่นเหลือน้อย ไม่ได้สัมผัสมานาน สร้างความประทับใจให้กับพวกเราเป็นอย่างมากระหว่างช่วงการเดินทาง พอถึง The Emporium  ได้สัมผัสกับนิทรรศการ “ธารศิลป์....รักษ์จิตรกร” ซึ่งทางผู้จัดได้นำทั้งต้นและดอกของปทุมมาหรือกระเจียว หรือ ทิวลิปสยาม (Siam Tulip) มาตกแต่งในห้างได้อย่างเหมาะสมและเข้ากับรรยากาศของการจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ของผมที่คุณจีระวัฒน์ ตั้งบวรพิเชษฐ์......ได้บอกว่าประเทศของเราได้ส่งออก กระเจียวหรือทิวลิปสยามเพื่อนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้  เป็นเรื่องที่ประทับใจมากจึงอยากนำข้อมูลเกี่ยวกับกระเจียวหรือสยามทิวลิป มา Share กับชาว Blog พอสังเขป

                                                   ท้องทุ่งแห่งพรรณพฤกษ์

                                                                                         กระเจียว

ชื่อ กระเจียว ต่างชาติเข้าใจในชื่อ Siam Tulip
ชื่ออื่น กระเจียวแดง ดอกกระเจียว ดอกอีเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruqinosa Roxb.
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าในดิน ใบคล้ายใบพาย ออกดอกพร้อมกับใบโคน ช่อมีกาบซ้อนอยู่มาก ออกดอกสี เหลืองปนขาว กาบดอกตอนบนสีม่วงแดง ออกดอกปีละครั้งช่วงเดือนเมษายน - เดือนกรกฎาคม ฤดูแล้งต้น จะโทรม พอฤดูฝนหน่อจะแทงออกมา
แหล่งที่พบ พบทั่วไปในป่าโปร่งตามโคกหรือใต้ร่มไม้ใหญ่ บริเวณหัวไร่ปลายนา ในภาคเหนือและภาคอีสาน
ความสัมพันธ์กับชุมชน ชาวบ้านรับประทานกระเจียวเป็นผัก ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ หน่ออ่อน ดอกอ่อนและดอกแก่ กระเจียว สามารถบริโภคได้ทั้งสดและดอกรับประทานกับลาบ ก้อย ส้มตำ ดอกอ่อนลวกมักรับประทานกับน้ำพริก หรือ นำมาแกงได้ ถือว่าเป็นพืชสมุนไพร บางบ้านเก็บกระเจียวจากป่าธรรมชาติมาเพื่อจำหน่ายและรับประทานเอง ดอกอ่อนหัวอ่อนของ กระเจียวแดงรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ต้มกับน้ำมีสรรพคุณขับลม
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกกระเจียวมาจำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนทำให้มีรายได้เสริม

                

                   ภาพที่ปรากฏให้เห็นนี้นั้น มีเพียงปีละครั้ง เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อันเป็นช่วงที่หัวไม้ต่างๆ ในสกุล Curcuma วงศ์ ZINGIBERACEAE พากันผุด ผลิดดอกงดงาม ไม้พวกนี้มักเรียกกัน ในภาษาพื้นบ้านว่า "กระเจียว หรือขมิ้นต่างๆ" ซึ่งดอกอ่อนบางชนิด รับประทานได้ ส่วนดอกกระเจียวสีชมพู หรือที่เรียกว่า ปทุมมา หรือ บัวสวรรค์ ที่ขึ้นเป็นดงตามทุ่ง ก้านดอกเล็กเรียวยาวและแข็ง รับประทานไม่ได้ โดยมากกระเจียว หรือ Cucuma ต่างๆ นี้ มักพักตัวอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว และฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝน จึงเริ่มผลิใบและออกดอก บางพันธุ์มีดอกผุดขึ้นก่อนใบ บางพันธุ์ขึ้นพร้อมกันทั้งดอกและใบ โดยมากประเภทแรกนี้ รับประทานดอกได้ เพราะก้านค่อนข้างสั้น อวบน้ำ ใช้ลวกรับประทานกับน้ำพริก ปทุมาหรือบัวสวรรค์ในภาพนั้นมีก้านแข็ง ไม่ใช้ประกอบอาหาร แต่มีความสวยงามในแง่ของไม้ประดับ ไม้เหล่านี้ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว ไม่ใช่ชนิดพันธุ์ป่าดั้งเดิมที่พบแถบปราจีนบุรี ชัยภูมิ เลย ฯลฯ ชนิดป่านั้นกลีบสีชมพู ซึ่งคล้ายกับกลีบบัวหลวง มีลายสีไล่เรียงกัน ตั้งแต่ชมพูเข้ม ชมพูอ่อนจนถึงสีขาวกลีบรูปร่างแคบและลีบ มีน้อยจึงห่อซ้อนกันไม่มาก ปลายกลีบมักมีสีเขียวอมน้ำตาลแต้มอยู่ เป็นรอยขนาดใหญ่ ซึ่งต่างจากพันธุ์ที่คัดเลือกใว้เพื่อปลูกขาย กลีบจะมีสีชมพูสวย แผ่นกลีบกว้างคุ้มได้รูปอย่างกลีบบัวจริง ห่อหุ้มซ้อนกันหลายชั้น พันธุ์นี้ถือว่าสวยที่สุดต้องไม่มีรอย แต้มสีเขียวที่ปลายกลีบ หรือมีน้อยที่สุด กลีบดอกสีสวยนี้ความจริงคือกลีบรองดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็ก รูปร่างกล้ายดอกกล้วยไม้ โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบปากมีสีม่วงสดใส แต้มลายเหลือง กลีบอื่นๆ สีขาว ดอกจะเกิดในกลีบรองดอกสีขาว ช่วงล่างซึ่งเป็นรูปโค้งเป็นช่อง   ดอกบายช่วงเช้า และสลดเฉาในช่วงเย็น ภายในกลีบรองดอกนี้มีดอกตูมเล็กๆ อีกมากมาย จะผลิดบานไล่กันไปเรื่อยๆ แต่ละช่องมีดอกบานวันละดอก ในหนึ่งวันอาจมีดอกบานพร้อมกัน 1 ช่อ 3-4 ดอก
 

                  ปทุมมาหรือบัวสววค์นี้มี 2 ชนิด ชนิดแรก คือ C. alismatifolia ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยเรียกว่า "ขมิ้นโคก" อีกชนิด คือ C. sparganifolia ภาคกลางเรียกว่า "กระเจียวบัว" ทั้ง 2 ชนิดนี้ เหมือนกันจนเราแทบจะแยกไม่ออก เนื่องจากความแตกต่างนั้นอยู่ที่ดอกจริง ซึ่งมีขนาดเล็ก ตรงกลางกลีบปากสีม่วงของขมิ้นโคก จะมีสีนูนเล็กๆ หรือครีบ เกิดเป็นคู่ขนานตามความยาวของกลีบปาก ส่วนกลีบปากของกระเจียวบัว เกลี้ยงเรียบ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็สังเกตุว่า ใบของกระเจียวบังแคบและยาว กว่าใบขมิ้นโคก ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่อาจทำได้ง่าย เฉพาะผู้ชำนาญเท่านั้น ช่อดอกปทุมมามีความยาวราว 15-18 เซนติเมตร วัดจากปลายกลีบ สีชมพูจดโคนดอกสีเขียวด้านล่าง กลีบดอกสีชมพูราว 6-8 เซนติเมตร กว้าง 4-5 เซนติเมตร ดอกจริงเส้นผ่านศูนย์กลางดอกราว 2.20-3 เซนติเมตร กลีบปากกว้างราว 2 เซนติเมตร ยาว 2.50 เซนติเมตร (ความยาววัดถึงโคนดอก) ส่วนกลีบรองดอกสีเขียวมีความยาวของโค้งกาบ 5.50 ประมาณ 44-50 เซนติเมตร ใบกว้าง 7-9 เซนติเมตร ยาว 19-22 เซนติเมตร สีใบเขียวเข้มคล้ายมีนวลที่ผิวใบ จึงดูไม่เป็นมัน เนื้อใบ และส่วนอื่นๆ อาจมีความแตกต่างจากที่กล่าวไว้ ตามความแข็งแรงของหัวพันธุ์และวิธีเลี้ยงดู ปัจจุบัน ปทุมมาเป็นไม้ตัดดอกและไม้กระถาง ที่ชาวต่างประเทศนิยมมาก หัวปทุมมาเป็นสินค้าส่งออกจากเมืองไทยไปยังญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ โดยหัวปทุมมามักผลิตในเชียงใหม่ อาจเป็นเพราะอากาศและสภาพแวดล้อมเหมาะสม หัวปทุมมามีสีน้ำตาล ผิวเปลือกเป็นร่องชั้น ขนาดไม่ใหญ่นัก เส้นผ่าศูนย์กลางราวๆ 1.50-3 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร บางหัวขนาดประมาณหัวนิ้วมือ รากปทุมมาบางรากดูคล้ายรากกระชาย ปลายรากป่องเป็นรูปบังตูม ผิวเต่งสีน้ำตาลอ่อน ขนาดพอๆ กับหัว เป็นที่สะสมอาหารไว้เลี้ยงลำต้นและดอก

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

                   วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2552 เรียน Human Capital Management  ครั้งที่ 8 ซึ่งในครั้งนี้ ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงษ์ลดารมภ์ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้พวกเรา Ph.D SSR 3nd ได้เข้าถึงแก่น (กระพี้) ของทฤษฎี 4 L’S ในหัวข้อ Learning Environment และ Team Learning ของ Peter Sange พาพวกเราเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพื่อไปที่ร้านหนังสือ Kinokuniya ที่ The Emporium Shopping Complex ระหว่างการเดินทางได้สัมผัสกับบรรยากาศที่พวกเราส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่นเหลือน้อย ไม่ได้สัมผัสมานาน สร้างความประทับใจให้กับพวกเราเป็นอย่างมากระหว่างช่วงการเดินทาง พอถึง The Emporium  ได้สัมผัสกับนิทรรศการ “ธารศิลป์....รักษ์จิตรกร” ซึ่งทางผู้จัดได้นำทั้งต้นและดอกของปทุมมาหรือกระเจียว หรือ ทิวลิปสยาม (Siam Tulip) มาตกแต่งในห้างได้อย่างเหมาะสมและเข้ากับรรยากาศของการจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ของผมที่คุณจีระวัฒน์ ตั้งบวรพิเชษฐ์......ได้บอกว่าประเทศของเราได้ส่งออก กระเจียวหรือทิวลิปสยามเพื่อนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้  เป็นเรื่องที่ประทับใจมากจึงอยากนำข้อมูลเกี่ยวกับกระเจียวหรือสยามทิวลิป มา Share กับชาว Blog พอสังเขป

                                                     ท้องทุ่งแห่งพรรณพฤกษ์

                                                                                            กระเจียว

ชื่อ กระเจียว ต่างชาติเข้าใจในชื่อ Siam Tulip
ชื่ออื่น กระเจียวแดง ดอกกระเจียว ดอกอีเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruqinosa Roxb.
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าในดิน ใบคล้ายใบพาย ออกดอกพร้อมกับใบโคน ช่อมีกาบซ้อนอยู่มาก ออกดอกสี เหลืองปนขาว กาบดอกตอนบนสีม่วงแดง ออกดอกปีละครั้งช่วงเดือนเมษายน - เดือนกรกฎาคม ฤดูแล้งต้น จะโทรม พอฤดูฝนหน่อจะแทงออกมา
แหล่งที่พบ พบทั่วไปในป่าโปร่งตามโคกหรือใต้ร่มไม้ใหญ่ บริเวณหัวไร่ปลายนา ในภาคเหนือและภาคอีสาน
ความสัมพันธ์กับชุมชน ชาวบ้านรับประทานกระเจียวเป็นผัก ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ หน่ออ่อน ดอกอ่อนและดอกแก่ กระเจียว สามารถบริโภคได้ทั้งสดและดอกรับประทานกับลาบ ก้อย ส้มตำ ดอกอ่อนลวกมักรับประทานกับน้ำพริก หรือ นำมาแกงได้ ถือว่าเป็นพืชสมุนไพร บางบ้านเก็บกระเจียวจากป่าธรรมชาติมาเพื่อจำหน่ายและรับประทานเอง ดอกอ่อนหัวอ่อนของ กระเจียวแดงรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ต้มกับน้ำมีสรรพคุณขับลม
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกกระเจียวมาจำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนทำให้มีรายได้เสริม

                    ภาพที่ปรากฏให้เห็นนี้นั้น มีเพียงปีละครั้ง เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อันเป็นช่วงที่หัวไม้ต่างๆ ในสกุล Curcuma วงศ์ ZINGIBERACEAE พากันผุด ผลิดดอกงดงาม ไม้พวกนี้มักเรียกกัน ในภาษาพื้นบ้านว่า "กระเจียว หรือขมิ้นต่างๆ" ซึ่งดอกอ่อนบางชนิด รับประทานได้ ส่วนดอกกระเจียวสีชมพู หรือที่เรียกว่า ปทุมมา หรือ บัวสวรรค์ ที่ขึ้นเป็นดงตามทุ่ง ก้านดอกเล็กเรียวยาวและแข็ง รับประทานไม่ได้ โดยมากกระเจียว หรือ Cucuma ต่างๆ นี้ มักพักตัวอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว และฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝน จึงเริ่มผลิใบและออกดอก บางพันธุ์มีดอกผุดขึ้นก่อนใบ บางพันธุ์ขึ้นพร้อมกันทั้งดอกและใบ โดยมากประเภทแรกนี้ รับประทานดอกได้ เพราะก้านค่อนข้างสั้น อวบน้ำ ใช้ลวกรับประทานกับน้ำพริก ปทุมาหรือบัวสวรรค์ในภาพนั้นมีก้านแข็ง ไม่ใช้ประกอบอาหาร แต่มีความสวยงามในแง่ของไม้ประดับ ไม้เหล่านี้ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว ไม่ใช่ชนิดพันธุ์ป่าดั้งเดิมที่พบแถบปราจีนบุรี ชัยภูมิ เลย ฯลฯ ชนิดป่านั้นกลีบสีชมพู ซึ่งคล้ายกับกลีบบัวหลวง มีลายสีไล่เรียงกัน ตั้งแต่ชมพูเข้ม ชมพูอ่อนจนถึงสีขาวกลีบรูปร่างแคบและลีบ มีน้อย จึงห่อซ้อนกันไม่มาก ปลายกลีบมักมีสีเขียวอมน้ำตาลแต้มอยู่ เป็นรอยขนาดใหญ่ ซึ่งต่างจากพันธุ์ที่คัดเลือกใว้เพื่อปลูกขาย กลีบจะมีสีชมพูสวย แผ่นกลีบกว้างคุ้มได้รูปอย่างกลีบบัวจริง ห่อหุ้มซ้อนกันหลายชั้น พันธุ์นี้ถือว่าสวยที่สุดต้องไม่มีรอย แต้มสีเขียวที่ปลายกลีบ หรือมีน้อยที่สุด กลีบดอกสีสวยนี้ความจริงคือกลีบรองดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็ก รูปร่างกล้ายดอกกล้วยไม้ โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบปากมีสีม่วงสดใส แต้มลายเหลือง กลีบอื่นๆ สีขาว ดอกจะเกิดในกลีบรองดอกสีขาว ช่วงล่างซึ่งเป็นรูปโค้งเป็นช่อง   ดอกบายช่วงเช้า และสลดเฉาในช่วงเย็น ภายในกลีบรองดอกนี้มีดอกตูมเล็กๆ อีกมากมาย จะผลิดบานไล่กันไปเรื่อยๆ แต่ละช่องมีดอกบานวันละดอก ในหนึ่งวันอาจมีดอกบานพร้อมกัน 1 ช่อ 3-4 ดอก

                     ปทุมมาหรือบัวสววค์นี้มี 2 ชนิด ชนิดแรก คือ C. alismatifolia ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยเรียกว่า "ขมิ้นโคก" อีกชนิด คือ C. sparganifolia ภาคกลางเรียกว่า "กระเจียวบัว" ทั้ง 2 ชนิดนี้ เหมือนกันจนเราแทบจะแยกไม่ออก เนื่องจากความแตกต่างนั้นอยู่ที่ดอกจริง ซึ่งมีขนาดเล็ก ตรงกลางกลีบปากสีม่วงของขมิ้นโคก จะมีสีนูนเล็กๆ หรือครีบ เกิดเป็นคู่ขนานตามความยาวของกลีบปาก ส่วนกลีบปากของกระเจียวบัว เกลี้ยงเรียบ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็สังเกตุว่า ใบของกระเจียวบังแคบและยาว กว่าใบขมิ้นโคก ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่อาจทำได้ง่าย เฉพาะผู้ชำนาญเท่านั้น ช่อดอกปทุมมามีความยาวราว 15-18 เซนติเมตร วัดจากปลายกลีบ สีชมพูจดโคนดอกสีเขียวด้านล่าง กลีบดอกสีชมพูราว 6-8 เซนติเมตร กว้าง 4-5 เซนติเมตร ดอกจริงเส้นผ่านศูนย์กลางดอกราว 2.20-3 เซนติเมตร กลีบปากกว้างราว 2 เซนติเมตร ยาว 2.50 เซนติเมตร (ความยาววัดถึงโคนดอก) ส่วนกลีบรองดอกสีเขียวมีความยาวของโค้งกาบ 5.50 ประมาณ 44-50 เซนติเมตร ใบกว้าง 7-9 เซนติเมตร ยาว 19-22 เซนติเมตร สีใบเขียวเข้มคล้ายมีนวลที่ผิวใบ จึงดูไม่เป็นมัน เนื้อใบ และส่วนอื่นๆ อาจมีความแตกต่างจากที่กล่าวไว้ ตามความแข็งแรงของหัวพันธุ์และวิธีเลี้ยงดู ปัจจุบัน ปทุมมาเป็นไม้ตัดดอกและไม้กระถาง ที่ชาวต่างประเทศนิยมมาก หัวปทุมมาเป็นสินค้าส่งออกจากเมืองไทยไปยังญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ โดยหัวปทุมมามักผลิตในเชียงใหม่ อาจเป็นเพราะอากาศและสภาพแวดล้อมเหมาะสม หัวปทุมมามีสีน้ำตาล ผิวเปลือกเป็นร่องชั้น ขนาดไม่ใหญ่นัก เส้นผ่าศูนย์กลางราวๆ 1.50-3 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร บางหัวขนาดประมาณหัวนิ้วมือ รากปทุมมาบางรากดูคล้ายรากกระชาย ปลายรากป่องเป็นรูปบังตูม ผิวเต่งสีน้ำตาลอ่อน ขนาดพอๆ กับหัว เป็นที่สะสมอาหารไว้เลี้ยงลำต้นและดอก ปทุมมาขยายพันธุ์ได้โดยวิธีแตกหน่อหรือหัวใหม่ โดยลำต้นใต้ดินหรือไหล

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

                   วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2552 เรียน Human Capital Management  ครั้งที่ 8 ซึ่งในครั้งนี้ ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงษ์ลดารมภ์ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้พวกเรา Ph.D SSR 3nd ได้เข้าถึงแก่น (กระพี้) ของทฤษฎี 4 L’S ในหัวข้อ Learning Environment และ Team Learning ของ Peter Sange พาพวกเราเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพื่อไปที่ร้านหนังสือ Kinokuniya ที่ The Emporium Shopping Complex ระหว่างการเดินทางได้สัมผัสกับบรรยากาศที่พวกเราส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่นเหลือน้อย ไม่ได้สัมผัสมานาน สร้างความประทับใจให้กับพวกเราเป็นอย่างมากระหว่างช่วงการเดินทาง พอถึง The Emporium  ได้สัมผัสกับนิทรรศการ “ธารศิลป์....รักษ์จิตรกร” ซึ่งทางผู้จัดได้นำทั้งต้นและดอกของปทุมมาหรือกระเจียว หรือ ทิวลิปสยาม (Siam Tulip) มาตกแต่งในห้างได้อย่างเหมาะสมและเข้ากับรรยากาศของการจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ของผมที่คุณจีระวัฒน์ ตั้งบวรพิเชษฐ์......ได้บอกว่าประเทศของเราได้ส่งออก กระเจียวหรือทิวลิปสยามเพื่อนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้  เป็นเรื่องที่ประทับใจมากจึงอยากนำข้อมูลเกี่ยวกับกระเจียวหรือสยามทิวลิป มา Share กับชาว Blog พอสังเขป

                                                                  ท้องทุ่งแห่งพรรณพฤกษ์

                                                                              กระเจียว

ชื่อ กระเจียว ต่างชาติเข้าใจในชื่อ Siam Tulip
ชื่ออื่น กระเจียวแดง ดอกกระเจียว ดอกอีเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruqinosa Roxb.
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าในดิน ใบคล้ายใบพาย ออกดอกพร้อมกับใบโคน ช่อมีกาบซ้อนอยู่มาก ออกดอกสี เหลืองปนขาว กาบดอกตอนบนสีม่วงแดง ออกดอกปีละครั้งช่วงเดือนเมษายน - เดือนกรกฎาคม ฤดูแล้งต้น จะโทรม พอฤดูฝนหน่อจะแทงออกมา
แหล่งที่พบ พบทั่วไปในป่าโปร่งตามโคกหรือใต้ร่มไม้ใหญ่ บริเวณหัวไร่ปลายนา ในภาคเหนือและภาคอีสาน
ความสัมพันธ์กับชุมชน ชาวบ้านรับประทานกระเจียวเป็นผัก ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ หน่ออ่อน ดอกอ่อนและดอกแก่ กระเจียว สามารถบริโภคได้ทั้งสดและดอกรับประทานกับลาบ ก้อย ส้มตำ ดอกอ่อนลวกมักรับประทานกับน้ำพริก หรือ นำมาแกงได้ ถือว่าเป็นพืชสมุนไพร บางบ้านเก็บกระเจียวจากป่าธรรมชาติมาเพื่อจำหน่ายและรับประทานเอง ดอกอ่อนหัวอ่อนของ กระเจียวแดงรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ต้มกับน้ำมีสรรพคุณขับลม
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกกระเจียวมาจำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนทำให้มีรายได้เสริม

                     ภาพที่ปรากฏให้เห็นนี้นั้น มีเพียงปีละครั้ง เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อันเป็นช่วงที่หัวไม้ต่างๆ ในสกุล Curcuma วงศ์ ZINGIBERACEAE พากันผุด ผลิดดอกงดงาม ไม้พวกนี้มักเรียกกัน ในภาษาพื้นบ้านว่า "กระเจียว หรือขมิ้นต่างๆ" ซึ่งดอกอ่อนบางชนิด รับประทานได้ ส่วนดอกกระเจียวสีชมพู หรือที่เรียกว่า ปทุมมา หรือ บัวสวรรค์ ที่ขึ้นเป็นดงตามทุ่ง ก้านดอกเล็กเรียวยาวและแข็ง รับประทานไม่ได้ โดยมากกระเจียว หรือ Cucuma ต่างๆ นี้ มักพักตัวอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว และฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝน จึงเริ่มผลิใบและออกดอก บางพันธุ์มีดอกผุดขึ้นก่อนใบ บางพันธุ์ขึ้นพร้อมกันทั้งดอกและใบ โดยมากประเภทแรกนี้ รับประทานดอกได้ เพราะก้านค่อนข้างสั้น อวบน้ำ ใช้ลวกรับประทานกับน้ำพริก ปทุมาหรือบัวสวรรค์ในภาพนั้นมีก้านแข็ง ไม่ใช้ประกอบอาหาร แต่มีความสวยงามในแง่ของไม้ประดับ ไม้เหล่านี้ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว ไม่ใช่ชนิดพันธุ์ป่าดั้งเดิมที่พบแถบปราจีนบุรี ชัยภูมิ เลย ฯลฯ ชนิดป่านั้นกลีบสีชมพู ซึ่งคล้ายกับกลีบบัวหลวง มีลายสีไล่เรียงกัน ตั้งแต่ชมพูเข้ม ชมพูอ่อนจนถึงสีขาวกลีบรูปร่างแคบและลีบ มีน้อย จึงห่อซ้อนกันไม่มาก ปลายกลีบมักมีสีเขียวอมน้ำตาลแต้มอยู่ เป็นรอยขนาดใหญ่ ซึ่งต่างจากพันธุ์ที่คัดเลือกใว้เพื่อปลูกขาย กลีบจะมีสีชมพูสวย แผ่นกลีบกว้างคุ้มได้รูปอย่างกลีบบัวจริง ห่อหุ้มซ้อนกันหลายชั้น พันธุ์นี้ถือว่าสวยที่สุดต้องไม่มีรอย แต้มสีเขียวที่ปลายกลีบ หรือมีน้อยที่สุด กลีบดอกสีสวยนี้ความจริงคือกลีบรองดอก ส่วนดอกจริงมีขนาดเล็ก รูปร่างกล้ายดอกกล้วยไม้ โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบปากมีสีม่วงสดใส แต้มลายเหลือง กลีบอื่นๆ สีขาว ดอกจะเกิดในกลีบรองดอกสีขาว ช่วงล่างซึ่งเป็นรูปโค้งเป็นช่อง   ดอกบายช่วงเช้า และสลดเฉาในช่วงเย็น ภายในกลีบรองดอกนี้มีดอกตูมเล็กๆ อีกมากมาย จะผลิดบานไล่กันไปเรื่อยๆ แต่ละช่องมีดอกบานวันละดอก ในหนึ่งวันอาจมีดอกบานพร้อมกัน 1 ช่อ 3-4 ดอก

                 ปทุมมาหรือบัวสววค์นี้มี 2 ชนิด ชนิดแรก คือ C. alismatifolia ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยเรียกว่า "ขมิ้นโคก" อีกชนิด คือ C. sparganifolia ภาคกลางเรียกว่า "กระเจียวบัว" ทั้ง 2 ชนิดนี้ เหมือนกันจนเราแทบจะแยกไม่ออก เนื่องจากความแตกต่างนั้นอยู่ที่ดอกจริง ซึ่งมีขนาดเล็ก ตรงกลางกลีบปากสีม่วงของขมิ้นโคก จะมีสีนูนเล็กๆ หรือครีบ เกิดเป็นคู่ขนานตามความยาวของกลีบปาก ส่วนกลีบปากของกระเจียวบัว เกลี้ยงเรียบ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็สังเกตุว่า ใบของกระเจียวบังแคบและยาว กว่าใบขมิ้นโคก ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่อาจทำได้ง่าย เฉพาะผู้ชำนาญเท่านั้น ช่อดอกปทุมมามีความยาวราว 15-18 เซนติเมตร วัดจากปลายกลีบ สีชมพูจดโคนดอกสีเขียวด้านล่าง กลีบดอกสีชมพูราว 6-8 เซนติเมตร กว้าง 4-5 เซนติเมตร ดอกจริงเส้นผ่านศูนย์กลางดอกราว 2.20-3 เซนติเมตร กลีบปากกว้างราว 2 เซนติเมตร ยาว 2.50 เซนติเมตร (ความยาววัดถึงโคนดอก) ส่วนกลีบรองดอกสีเขียวมีความยาวของโค้งกาบ 5.50 ประมาณ 44-50 เซนติเมตร ใบกว้าง 7-9 เซนติเมตร ยาว 19-22 เซนติเมตร สีใบเขียวเข้มคล้ายมีนวลที่ผิวใบ จึงดูไม่เป็นมัน เนื้อใบ และส่วนอื่นๆ อาจมีความแตกต่างจากที่กล่าวไว้ ตามความแข็งแรงของหัวพันธุ์และวิธีเลี้ยงดู ปัจจุบัน ปทุมมาเป็นไม้ตัดดอกและไม้กระถาง ที่ชาวต่างประเทศนิยมมาก หัวปทุมมาเป็นสินค้าส่งออกจากเมืองไทยไปยังญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ โดยหัวปทุมมามักผลิตในเชียงใหม่ อาจเป็นเพราะอากาศและสภาพแวดล้อมเหมาะสม หัวปทุมมามีสีน้ำตาล ผิวเปลือกเป็นร่องชั้น ขนาดไม่ใหญ่นัก เส้นผ่าศูนย์กลางราวๆ 1.50-3 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร บางหัวขนาดประมาณหัวนิ้วมือ รากปทุมมาบางรากดูคล้ายรากกระชาย ปลายรากป่องเป็นรูปบังตูม ผิวเต่งสีน้ำตาลอ่อน ขนาดพอๆ กับหัว เป็นที่สะสมอาหารไว้เลี้ยงลำต้นและดอก ปทุมมาขยายพันธุ์ได้โดยวิธีแตกหน่อหรือหัวใหม่ โดยลำต้นใต้ดินหรือไหล ปลายไหลจะเป็นที่สร้างหัวใหม่ ดอกปทุมมาเมื่ออยู่ในสภาพธรรมชาติ หรือปลูกไว้ในกระถาง จะบานทนทานเป็นเดือน แต่ถ้าตัดมาปักแจกกันจะใช้ได้ราว 7 วัน หลังดอกโรยยังต้องปลูกไว้ในดินจนกว่าใบจะฟุบเหียวเฉาหมดแล้ว โดยรดน้ำทิ้งช่วงห่างออกมาเรื่อยๆ การที่ต้องปล่อยให้ใบติดอยู่กับต้นนั้น ก็เพื่อให้ใบได้สังเคราะห์แสงสะสมอาหารไว้ในหัวใต้ดินเสียก่อน

                   อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเล่าคือได้มีโอกาส พูดคุยกับคุณลลิสา จงบารมีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน “ธานศิลป์...รักษ์จิตรกร” คุณลลิสา ท่านศึกษามาทางด้านบริหารธุรกิจ จากสหรัฐอเมริกา และต่อมาท่านได้มาสนใจงานทางด้านศิลปะ จึงจ้างครูทางด้านศิลปะมาสอน ซึ่งถือว่าเป็นการ Life Long Learning ข้ามศาสตร์จากทางด้านบริหารธุรกิจมาสู่ศิลปกรรม และสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในจิตส่วนลึกของท่านที่ท่านสามารถทำตรงนี้ได้เพราะมีธรรมะอยู่ในจิตร ซึ่งก็คือทุนทางด้านจริยธรรมและวัฒนธรรมที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านมาสร้างงานศิลปะอันงดงาม เพื่อดำรงรักษาศิลปะวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของจิตรกรรม ควบคู่ไปกับงานทางด้านบริหารธุรกิจ เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะให้คงอยู่และเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แบบสอบถามสำหรับบุคลากรระดับกลางของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ตามความคิดเห็นของผม(ประสบการณ์น้อย) ผมคิดว่าละเอียดมาก ๆ ครับคือ

1. มีหลายระดับ

2. รายละเอียดของคำถามมีความลึกมาก

3. มีแบบสอบถามให้แสดงความคิดเห็นอย่างละเอียดมาก ๆ ดังนั้น ถ้ามีการให้ความร่วมมือจริง ๆ ในการกรอกแบบสอบถาม และถ้าเราอ่านและเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด ก็ย่อมจะได้ข้อมูลมาก ๆ

4. จำนวนที่เก็บข้อมูลระดับกลางมีถึง 4,000 คน มากทีเดียวครับเมื่อเทียบกับทุก ๆ ระดับรวมกัน 27,000 คน

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียนท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอพูดคุยเรื่อง บุคคลนอกวงธุรกิจที่มีความเป็น Leadershipคนที่ 1 คือ

ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ (จีน: 黄培谦)

- นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย

- เคยเป็นผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย

- สมาชิกขบวนการเสรีไทย

- อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508

- เป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิตปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน

ศ. ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกิดที่ตรอกโรงสูบน้ำ ตลาดน้อย เป็นบุตรของนายซา แซ่อึ้ง และ นางเซาะเซ็ง แซ่เตียว สกุลเป็น "อึ๊ง" และชื่อตัวเป็น "ป๋วย"- ป๋วย แปลตรงตัวได้ว่า "พูนดินที่โคนต้นไม้"

การศึกษา

·         พ.ศ. 2476 - สำเร็จมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ

·         พ.ศ. 2480 - ธรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

·         พ.ศ. 2484 - ปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง London School of Economics มหาวิทยาลัยลอนดอน

·         พ.ศ. 2492 - ปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ London School of Economics มหาวิทยาลัยลอนดอน ปริญญาเอก โดยใช้เวลา 3 ปีทำวิทยานิพนธ์ "เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการควบคุมดีบุก"

ผลงาน

1.งานด้านการเมือง = ร่วมกันก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ เสรีไทยจำนวน 36 คน สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษ เสรีไทยกลุ่มนี้มีฉายาว่า "ช้างเผือก" (White Elephants)

2.งานด้านการเงิน การคลัง = ดำรงผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย

3.งานด้านการศึกษา = ตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4.ดร. ป๋วย ได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ สิงหาคม พ.ศ. 2508

            นายธนาคารระหว่างประเทศ ยกย่องว่าเป็น ผู้ว่าการธนาคารกลางที่มีความสามารถดีเด่นคนหนึ่งของโลก ... การกระทำเป็น แรงบันดาลใจ สำหรับข้าราชการผู้ขยันขันแข็ง ถือได้ว่า ความเรียบง่าย คือความงาม และความชื่อสัตย์สุจริต คือคุณความดีสูงสุดของชีวิตข้าราชการ เป็นหลักประจำใจ ได้เผยแพร่กับเพื่อนร่วมงาน ด้วยว่า ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ผู้แสวงหาความจริงและผู้ใช้วิชาชีพ จะต้องไม่เป็นเพียงผู้ที่คอยเรียนรู้อยู่เสมอ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากยังต้อง มีความชื่อสัตย์สุจริตและต้อง แสดงให้ปรากฏออกมาถึง ความชื่อสัตย์สุจริตนั้นอย่างเพียงพอที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความชื่อสัตย์สุจริตด้วย

  หนูขอจบด้วยความมีภาวะผู้นำ (Leadership) ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ดังนี้นะคะว่าตามทฤษฎีของแหล่งของอำนาจ (The Source of Power) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.      อำนาจโดยตำแหน่ง (position power) ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทได้แก่

-              อำนาจโดยชอบธรรม (Legitimate power) คืออำนาจที่มาจากตำแหน่งที่เป็นทางการที่ทำความดีงาม

-              อำนาจในการให้รางวัล (Reward power) คืออำนาจในการให้คุณค่าบุคคลในองค์กร

2.      อำนาจส่วนบุคคล (personal power) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

-              อำนาจทางความเชี่ยวชาญ (Expert power) คืออำนาจที่ได้จากความรู้ความสามารถพิเศษ

-              อำนาจอ้างอิง (Referent power)คืออำนาจที่ได้มาจากคุณลักษณะทางบุคลิกภาพ

หนูขอจบการบ้านเรื่องLeadershipแค่นี้ก่อนนะคะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

Tel. 081- 9435033

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ ค่ะ

ค้นคว้ามาเล่าค่ะ : ไทยมีผู้บริหารหญิงมากเป็นอันดับสามของโลก ผลการสำรวจจากแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่าประเทศไทยมีผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากเป็นอันดับที่3 ของโลกหรือ 38% เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานโลกที่ 24% โดยประเทศที่มีจำนวนของผู้หญิงที่ได้รับตำแหน่งระดับอาวุโสมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือฟิลิปปินส์ หรือ 47% ตามด้วยรัสเซีย (42%) ไทย (38%) และโปแลนด์ (32%) อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีจำนวนของผู้หญิงที่ได้รับตำแหน่งระดับอาวุโสน้อยที่สุดยังคงเป็นญี่ปุ่นหรือ 7% ส่วนประเทศอื่นที่มีจำนวนผู้หญิงที่ได้รับตำแหน่งระดับอาวุโสอยู่ในระดับต่ำเช่นกันได้แก่ เดนมาร์ก (13%) และเบลเยียม (12%) ผลการสำรวจจากทั่วโลกยังระบุว่าผู้หญิงที่ได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับอาวุโสในบริษัทเอกชนมีสัดส่วนที่น้อยกว่า1ใน 4 หรือ 24% ซึ่งเท่ากับผลการสำรวจเมื่อปี 2007 และเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก 19% เมื่อปี 2004 นอกจากนี้ 34% ของบริษัทเอกชนทั่วโลกไม่มีผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับอาวุโส

ปิ่นประดับ โชติประสิทธิ์ กรรมการ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า "วัฒนธรรมไทยค่อนข้าง จะเปิดกว้างให้ผู้หญิงทำงานในตำแหน่งผู้นำ เราเห็นผู้บริหารหญิงระดับอาวุโสในองค์กรในภาคธุรกิจต่างๆ อาทิ การค้าปลีก หน่วยงานรัฐบาล บริการทางการเงิน และไม่เว้นแต่อุตสาหกรรมการผลิต ด้วยผู้บริหารผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะใส่ใจในรายละเอียด พร้อมกับแสดงความจริงจังและมีความมุ่งมั่นในการทำให้งานประสบความสำเร็จ จึงส่งผลให้ผู้บริหารผู้หญิงสามารถรับมือกับประเด็นปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ ทั้งการเป็นผู้ฟัง ที่ดีประกอบกับความสามารถในการแก้ไขข้อพิพาทในรูปแบบที่สุภาพอ่อนโยนยังช่วยให้ผู้บริหารผู้หญิงได้รับการสนับสนุนจากพนักงานหลากหลายกลุ่มในองค์กร"

ทั้งนี้ ประเทศที่ผู้บริหารผู้หญิงเพิ่มจำนวนขึ้นมากที่สุดคือตุรกี (จาก 17% เมื่อปี 2007 เป็น 29% ในปี 2009) และเม็กซิโก (จาก 20% เมื่อปี 2007 เป็น 31% ในปี 2009) โดยสามารถดูได้จากแผนภาพที่ 2 อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีผู้บริหารผู้หญิงลดจำนวนลงมากที่สุดคือบราซิล ซึ่งลดจาก 42% เมื่อปี 2007 เป็น 29% ในปี 2009 และฮ่องกง (จาก 35% เมื่อปี 2007 เป็น 28% ในปี 2009)

สำหรับในประเทศไทย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (จาก 39% เมื่อปี 2007 เป็น 38% ในปี 2009) มีปัจจัยหลายประการที่สนับสนุนการที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้บริหารผู้หญิงอยู่ในระดับอาวุโส หนึ่งในปัจจัยดังกล่าวคือการที่วัฒนธรรมไทยมีโครงสร้างครอบครัวขยาย ปู่ย่าตายายจึงช่วยดูแลบุตรหลานในเวลาที่แม่ออกไปทำงานนอกบ้าน นอกจากนี้ ยังสามารถรับบริการจากภายนอก เช่น พี่เลี้ยงเด็ก เนอร์สเซอรี และสถานเลี้ยงดูเด็กอื่นๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่แพงจนเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

ที่มา : จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2409 15 มี.ค. - 18 มี.ค. 2552

ลัดดา ปินตา ssru 3 084-8073320

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

ผู้นำที่ชื่นชอบ

1.Donald J. Trump มหาเศรษฐีด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของสหรัฐฯ เจ้าของอาณาจักรทรัมป์ที่ยิ่งใหญ่รวมถึง อาคารสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ โรงแรม กาสิโน สนามกลอ์ฟและคลับหรู และผู้จัดการประกวดนางงาม รวมทั้งเจ้าของรายการเกมโชว์ยอดฮิตทางทีวีอย่าง The Apprentice หรือ "มือใหม่" แล้ว เขายังเป็นนักเขียนหนังสือขายดี Trump บอกว่าเขาเป็น "ไอ้โง่" แต่เป็นไอ้โง่ ที่โชคดี และได้เจอกับนายธนาคารดีๆ ที่เข้าใจและทำข้อตกลงทางธุรกิจที่ยุติธรรม นั่นคือคำอธิบายอย่างง่าย ๆ ของ Trump ถึงการที่เขาสามารถปลดหนี้ 9.2 พันล้านนั้นได้

และต่อไปนี้ คือคำแนะนำของมหาเศรษฐีผู้มีชีวิตที่มีสีสันมากที่สุดคนหนึ่ง

- จงแน่วแน่อย่าไขว้เขว

- เงินเริ่มต้นที่คน Trump บอกว่า "อย่าข่มขู่คุกคามคนอื่น เพราะคุณจะไม่มีวันได้คำตอบที่ตรงไปตรงมาจากเขา และจะไม่ได้ในสิ่งที่คุณต้องการ"

- หากคุณสามารถอยู่เบี้ยบน คนอื่นๆ จะต้องตามคุณ Trump กล่าวว่า "การเจรจาต่อรองส่วนใหญ่ ควรใช้ท่าทีที่สงบมากกว่าเป็นปรปักษ์ แต่บางครั้งคุณอาจจะต่อรองได้ดีที่สุด หลังจากมีการตะโกนใส่หน้าหรือทุบโต๊ะกันบ้างเล็กน้อย"

- บางครั้งคุณต้องรู้จักเจ็บแล้วจำ

- ลูกจ้างใหม่ทุกคนคือการเสี่ยงโชค Trump บอก "ถ้าพนักงานยังมีเวลาไปทำเรื่องเล็กๆ แสดงว่าเขายังไม่ยุ่งกับงานมากพอ" อดทนอดกลั้น

- บริหารที่ตัวคนไม่ใช่ที่งาน คำแนะนำของ Trump คือ "คุณควรใช้อำนาจในฐานะผู้นำของคุณในทางบวก โดยใช้ความอดทนอดกลั้น"

- คิดใหญ่และอยู่อย่างใหญ่ Trump บอกว่า ถ้าจะคิดต้องคิดให้ใหญ่ และถ้าจะอยู่ ก็ต้องอยู่อย่างใหญ่ สิ่งที่ทำให้เขาฝ่าฟันปัญหามาได้ คือ การคิดในเชิงบวก แรงผลักดัน ความอดทนอย่างมหาศาล ความทุ่มเท การทำงานหนัก ทำงานด้วยความฉลาด และความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เขายังมองว่า ความสำเร็จไม่ได้วัดด้วยรายได้เพียงอย่างเดียว แต่ ต้องวัดด้วยความสุขด้วย เขาเชื่อว่า ความสำเร็จหรือการจะไปถึงเป้าหมายในอนาคตต้องเรียนรู้จากอดีต เน้นที่ปัจจุบัน และฝันถึงอนาคตโดย ไม่ลืมว่ายังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของเรา….

 เหตุผลที่เป็นผู้นำทรงอิทธิพล : เนื่องจาก เป็นผู้ที่ต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ อย่างไม่ยอมแพ้ และยังนำเอาพลังที่อยู่ในตัวเองมาใช้ โดยไม่ได้สนใจแต่รายได้อย่างเดียว ยังสนใจความสุขในการทำด้วย

2. คอนโดลีซซา ไรส์ : ปี 2548 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแทนนายโคลิน พาวเวล เป็นผู้หญิงผิวสีคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ ด็อกเตอร์ คอนโดลิซ่า ไรซ์ เคยเป็นอาจารย์สาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยระหว่างปี 2536– 2542 จากนั้นเธอก็เข้าสู่วงการเมื่อได้ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติรับมือกับปัญหาหนักๆ อย่างตะวันออกกลางตลอดสมัยแรกของบุช และเมื่อบุชชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เธอก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศย่อมเป็นที่ถูกจับตามองทั้งโลก เป็นมือขวาทางการเมืองคนหนึ่งของบุช ที่ได้รับการยอมรับด้านฉลาดหลักแหลมและเก่งรอบด้าน

เหตุผลที่เป็นผู้นำทรงอิทธิพล : เนื่องจาก เป็นผู้หญิงที่กล้าหาญ และสามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ปัญหาของโลกได้ โดยไม่ยอมแพ้ อีกทั้งยังกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้ตัดสินใจไป

 3. สตีฟ จ็อบส์ และ สตีฟ วอซเนียก ทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย ในชื่อ Apple I ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ ในจำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำยอดจำหน่ายสูงสุดให้กับบริษัท ณ ขณะนั้นคือ Apple II ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด  ต่อมาในยุค 80 Apple Inc. ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลถึงยอดจำหน่ายที่สูงขึ้นตามลำดับ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ Macintosh ซึ่งยังส่งผลให้ Apple ยังคงมีชื่อเสียงในด้านผลิตภัณฑ์มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยมาตรฐานและเอกลักษณ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับปณิธานองค์กรที่ว่า “คิดอย่างแตกต่าง (Think Different)” ผลิตภัณฑ์ที่มักได้รับการกล่าวถึงและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (MacBook, MacBook Pro) และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (iMac, PowerMac) ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Mac OSX (แมคโอเอสเท็น) อุปกรณ์ฟังเพลงขนาดพกพา ได้แก่ สายผลิตภัณฑ์ iPod และ iPhone อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น iSight, AirPort ฯลฯ โปรแกรมและบริการเสริมต่างๆ อาทิ iTunes เป็นต้น เกร็ดอื่นๆ ในภาพยนตร์เรื่อง อัจฉริยะปัญญานิ่ม (Forrest Gump) ฟอร์เรสต์ กัมป์ ถูกชักชวนโดยผู้หมวดแดน ให้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทแอปเปิล แต่ตัวฟอร์เรสต์เองนึกว่าหมายถึงแอปเปิลที่เป็นผลไม้

เหตุผลที่เป็นผู้นำทรงอิทธิพล : เนื่องจาก สตีฟ จ๊อบส์ เป็นผู้นำที่ กล้าเปลี่ยนแปลงและผู้นำที่ นำด้วย Innovation ด้วยการคิดที่แตกต่าง

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา ssru 3 084-8073320

  ศึกษาดูงานค่ะ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ


จากข้อคำถาม เกี่ยวกับบุคคลในธุรกิจ 3 คน ที่มีความโดดเด่นด้านผู้นำ
คนแรกคือ ทอม ปีเตอร์ส จบการศึกษาระดับปริญญาโท และ เอก จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในปี 1966 ถึง 1970 เขาได้ร่วมงานกับกองทัพเรือสหรัฐ (US Navy) โดยปฏิบัติงานในเวียดนามและวอชิงตัน ปี 1973 ถึ ง 1974 เขาได้เป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาเสพย์ติดในทางที่ผิดที่ทำเนียบขาว และในปี 1974 ถึง 1981 เขาได้ทำงานในบริษัท McKinsey & Co. และได้เข้าเป็นหุ้นส่วนในปี 1977
ทอมเป็นนักคิดและเป็นผู้จุดประกายความคิดด้านการจัดการชั้นยอด เขายังเป็นผู้แต่งหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์มากที่สุดในวงการธุรกิจนั่นก็คือ In Search of Excellence ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ได้รับการขนานนามว่าเป็น 1 ใน 3 หนังสือด้านธุรกิจแห่งศตวรรษ เลยทีเดียว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานี้ ทอมมีส่วนสำคัญอย่างมากในการจุดประกายและสร้างแนวคิดใหม่ๆ ทางด้านการจัดการให้แก่วงการนักธุรกิจและนักการจัดการเป็นจำนวนมาก เพราะทอมเป็นนักคิด นักพูด นักเขียน ที่มีความโดดเด่นมากเท่าที่แวดวงธุรกิจเท่าที่เคยมีมา ไม่ผิดเลยที่จะกล่าวว่า ทอม ปีเตอร์ส ไม่กลัวที่จะพูดในสิ่งที่เขาคิด และการบรรยายของเขาก็มักทำให้ผู้ฟัง เซอร์ไพร์ส และ พอใจมาก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Business Week เรียกเขาว่า "Business" best friend and worst nightmare หรือ เพื่อนคู่คิดที่ดีที่สุด และ ฝันร้ายที่สุดทางธุรกิจเช่นกันในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังก้าวสู่จุดพลิกผันในการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมโลกที่สามไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา ทอม ปีเตอร์ส ผู้ซึ่งได้รับฉายาจากนิตยสาร The Economist ว่าเป็น 'Guru of management thinking' หรือ ปรมาจารย์ด้านการบริการ-จัดการ ได้ให้ข้อคิดที่หนักแน่นและเหมาะเจาะกับสถานการณ์ในขณะนี้แก่นักธุรกิจชั้นนำของไทยที่เข้าร่วมการบรรยายว่า "change or die" - ไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด
จากการบรรยาย ให้กับนักธุรกิจชั้นหัวกะทิของไทย ณ ห้อง นภาลัย บอลรูม โรงแรมดุสิตธานี ทอม ปีเตอร์ส ได้นำเสนอความคิดริเริ่มด้านการบริหารจัดการธุรกิจที่แหวกแนว และเสนอมุมมองทางธุรกิจด้านใหม่ๆ ซึ่งทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก และจากแนวคิดที่ล้ำสมัยของเขา ทำให้เขากลายเป็นนักเขียนหนังสือด้านธุรกิจที่ขายดีระดับ เบสท์ เซลเลอร์ มากมาย รวมถึงเป็น นักพูดด้านการบริหารจัดการที่ถูกถามถึงมากที่สุดคนหนึ่งของโลกอีกด้วย
ทอม ปีเตอร์ส์ ได้บรรยายในหัวข้อ 'LESSONS OF A LIFTTIME" ซึ่งแบ่งเป็น 5 หัวข้อ (modules) และการมากรุงเทพฯของทอม ปีเตอร์ส ในครั้งนี้ ก็พอดีกับช่วงเวลาที่ เอเชีย บุ๊คส์ วางแผงหนังสือที่ผู้คนรอคอยมากที่สุดของเขา "Re-imagine! Business Excellence in a Disruptive Age" อีกด้วย การที่ธุรกิจหลายอย่างของไทยกำลังอยู่ในภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อ บวกกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยรวม ซึ่งอยู่จุดกึ่งกลางระหว่างสองด้าน ด้านหนึ่งคือ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างมากมายจากแนวคิด ทักษิโณมิกส์ อีกด้านหนึ่งคือวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นอีกระลอก ทอม ปีเตอร์ส กล่าวว่า ผู้นำในอนาคตจะต้องผสมผสาน ต้นทุนทางสติปัญญา (intellectual capital) ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) นวัตกรรมใหม่ (innovation) และ ศักยภาพของมนุษย์ (human potential) ให้ลงตัว เพื่อที่จะนำมาสร้างคุณค่าของแบรนด์ (brand value) และความจงรักภักดีของลูกค้า (customer loyalty) ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำทางธุรกิจมีทางเลือกและโอกาสมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าลักษณะผู้นำที่ดีที่ทอม ปีเตอร์สกล่าวถึง ตรงกับการสร้างทุนมนุษย์ 8 k's , 5k's ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และให้นำทุนดังกล่าวมาเพิ่มเป็นคุณค่าของแบรนด์ (brand value)


คนที่สองคือ ดร.ปราณี เผอิญโชค ได้รับรางวัล " นักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก " "The Leading Women Entrepreneurs of the World"
ดร.ปราณี เผอิญโชค ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด(มหาชน) ผู้ออกแบบ พัฒนาและผลิตรถอเนกประสงค์ของคนไทยภายไต้แบรนด์ "ทีอาร์" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยอดรถอเนกประสงค์ไทย "ทีอาร์ แอดเวนเจอร์"และในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ผลิตแม่พิมพ์ชิ้นส่วนรถยนต์ ของคนไทย โดยเป็นนักธุรกิจสตรีของประเทศไทย ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ด้วยการได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล "นักธุรกิจสตรี ดีเด่นโลก" หรือ " The Leading Women Entrepreneurs of the World " ซึ่งเป็นรางวัลแห่ง ความภาคภูมิใจสูงสุดของสตรีนักธุรกิจทั่วโลก จัดโดยคณะกรรมการ The Star Group จาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คัดเลือกสตรีนักธุรกิจที่มีคุณสมบัติความรู้ความสามารถหลายร้อยคน จากหลากหลายประเทศทั่วโลก เพื่อคัดสรรให้เป็นสุดยอดของสตรีนักธุรกิจดีเด่นของโลก หรือ The Leading Women Entrepreneurs of the World 2005 และเตรียมเข้ารับรางวัลอันทรงเกียรติ ท่ามกลางการจัดงานที่สมศักดิ์ศรีนักธุรกิจชั้นนำของโลก ณ เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา รางวัลนักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก หรือ The Leading Women Entrepreneurs of the World เป็นรางวัลสำหรับนักธุรกิจสตรีที่มีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจได้อย่างโดดเด่นและประสพความสำเร็จเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายโดย องค์กร The Star Group ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกมอบรางวัล โดยพิจารณาจากนักธุรกิจสตรีที่มีความรู้ความสามารถจากหลายประเทศเป็นประจำทุกปี โดยใน 8 ปีที่ผ่านมามีสตรีนักธุรกิจจากบริษัทชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก ได้รับรางวัลประมาณ 300 คนจาก มากกว่า 50 ประเทศ ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจกว่า 161 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ ในการพิจารณาคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นกฎที่นักธุรกิจสตรีจากบริษัทชั้นนำของประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากจะต้องเป็นนักธุรกิจสตรีชั้นแนวหน้าในประเทศ ต้องเป็นผู้นำในองค์กรที่ดี ต้องมีหุ้นส่วนอยู่ในบริษัท 50% เป็นอย่างต่ำ และบริษัทต้องมีรายได้จากการขายไม่น้อยกว่า 25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และ ยังต้องเป็นที่เคารพนับถือพร้อมทั้งเป็นที่รู้จักและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประโยชน์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมและประเทศชาติด้วย ดร.ปราณี เผอิญโชค ได้กล่าวถึงแนวคิดในการบริหารงานของท่านเพื่อให้ธุรกิจและสิ่งที่ มุ่งหวังสำเร็จผลได้ตามที่ตั้งใจไว้ดังนี้
ต้องพยายามศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
มีความเพียรและมานะอดทน
ยึดมั่นในคุณธรรม โดยยึดหลัก คิดดี ทำดี พูดดี
มีความซื่อสัตย์สุจริต
ต้องมีความยุติธรรม และยึดหลักเมตตา
ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
สำหรับรางวัลที่ได้รับ ดร.ปราณีได้ถือว่าเป็นรางวัลที่นำความภาคภูมิใจมาสู่ผู้หญิงไทยทั่วประเทศเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้หญิงที่จะมุ่งมั่นในการทำงาน ที่จะนำไปสู่ภาพลักษณ์ของผู้หญิงไทยในแง่มุมที่ดี เป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ ดร.ปราณีได้กล่าวต่อว่า "สิ่งที่ได้พากเพียรทำมาทั้งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการงานหรือการ ทำประโยชน์ให้กับสังคมก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะปฎิบัติต่อไปอย่างต่อเนื่องตราบที่ยังมีเรี่ยวแรง และจะพยายามทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกจนเต็มความสามารถ เพื่อนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติและบริษัทฯ โดยจะบริหารบริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด(มหาชน) ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้" คือ "เป็นยอดยนตกรรมไทยที่มีตราสินค้า (Brand) เป็นของตนเอง สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ทั้งคุณภาพและบริการในระดับมาตรฐานสากล" อีกทั้งจะมุ่งมั่นบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติที่รักยิ่งสุดความสามารถ

ด้านของ ดร.ปราณี เผอิญโชค เราจะเห็นได้ว่ามีทุนมนุษย์ ( Human Capital ) และทุนทางจริยธรรม
( Ethical Capital ) ที่เหมือนกับ ทฤษฎี 8 k's


คนที่สามคือ พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า48 ปี ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากนักธุรกิจเครือข่ายขายตรงให้เป็น "นายกสมาคมการขายตรงไทย" (TDSA) เมื่อปี 2549 เธอได้รับการเสนอชื่อ 1 ใน 10 นักธุรกิจสตรีไทย เพื่อคัดเลือกรับรางวัล "นักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก" จนกระทั่งในปี 2550 พญ.นลินีก็ได้รับรางวัล "นักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก ประจำปี 2007"เมื่อเธอกลายเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัล "นักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก" ประจำปี 2007 จาก 3 "นักธุรกิจสตรีดีเด่นไทย" และจาก 15 นักธุรกิจสตรีดีเด่นทั่วโลก ซึ่งถูกคัดเลือกจากคณะกรรมการกลางนานาชาติ 57 ประเทศ อย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่าน และกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมตัวเพื่อเดินทางไปรับรางวัล ที่จัดงานพิธีมอบรางวัลขึ้นระหว่างวันที่ 8-13 กันยายน 2550 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ รางวัล Leading Women Enterpreneurs of the world"Leading Women Enter preneurs of the world" หรือ รางวัลนักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก เป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนนักธุรกิจสตรีที่มีผลงานด้านธุรกิจโดดเด่นและประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ เป็นจุดศูนย์กลายของนักธุรกิจสตรีที่ได้รับรางวัลในการแลกเปลี่ยนประสบ การณ์ด้านธุรกิจ และด้านต่างๆ เพื่อสามารถสร้างให้สังคมตระหนักถึงความสามารถของนักธุรกิจสตรี ที่สามารถเป็นเจ้าของกิจการเองได้อย่างประสบผลสำเร็จ จึงมีการจัดโครงการเฟ้นหาและคัดเลือกนักธุรกิจสตรีเหล่านั้น และมีการมอบรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติ โดยองค์กรอิสระ Leading Women Enter preneurs of the world นายกฯหญิง ธุรกิจขายตรงไทยจวบจนวันนี้ นับเป็นเวลากว่า 11 ปี ที่ผลิตภัณฑ์ GIFFARINE ได้เติบโตเคียงคู่สังคมไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับของประชาชนทั่วประเทศ ด้วยการทำตลาดระบบธุรกิจขายตรง MLM (MULTI-LEVEL MARKETING) มีศูนย์บริการทั้งหมด 94 แห่งทั่วประเทศ และมีผลประกอบการที่สามารถอธิบายถึงการเติบโตในอนาคตได้อย่างเห็นภาพชัดเจน โดยเฉพาะ ปี 2549 ที่ผ่านมา กิฟฟารีน มียอดจำหน่ายสูงถึง 3,400 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 18% จากปีก่อน และให้ผลตอบแทนคืนกลับแก่นักธุรกิจสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมียอดจำหน่ายถึงปัจจุบันกว่า 23,000 ล้านบาท และมอบรายได้แก่นักธุรกิจกิฟฟารีนกว่า 9,000 ล้านบาท
จากความเติบโตของธุรกิจขายตรงกิฟฟารีนเป็นเครื่องการันตีถึง
"คุณภาพ" หรือฝีมือบริหารธุรกิจของ "หมอต้อย" ได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่นักธุรกิจสตรีผู้ประสบความสำเร็จอย่างเธอจะถูกเสนอชื่อให้เป็นผู้ถูกคัดเลือกเป็นนักธุรกิจสตรีไทยดีเด่นเพื่อไต่ระดับเข้าสู่การคัดเลือกให้เป็นอีกหนึ่งนักธุรกิจสตรีดีเด่นโลกตรงนี้ถือเป็นรางวัลให้กับชีวิตการทำงานของเธอโดยแท้ เพราะไม่เพียงความทุ่มเทมุ่งมั่นในการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนคนไทยผ่านระบบขายตรง
กิฟฟารีน ที่เธอเป็นเจ้าของและตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาขาอีกข้างหนึ่งของเธอก็ก้าวไปยืนอยู่บนเวทีงานการกุศลหรือร่วมทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อเป็นอีกพลังหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติ กระทั่งเธอได้รับเลือกให้เป็น"นายกสมาคมการขายตรงไทย" ( TDSA ) เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยบทบาทนี้ทำให้ภาพ ลักษณ์ของธุรกิจขายตรงไทยดีขึ้นแพทย์หญิงหัวใจนักธุรกิจพญ.นลินี มีแนวคิดว่าการเป็น ผู้บริหารยุคใหม่ จะต้องปรับตัวเพื่อก้าวทันต่อโลกแห่งเทคโนโลยีข่าวสาร หมั่นศึกษาหาความรู้รอบด้านอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการทำตลาดยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม เป็นการทำสงครามข้ามเซกเม้นต์ ไม่ใช่เป็นระหว่างเซกเม้นต์เหมือนที่ผ่านมาดังนั้น ผู้บริหารยุคใหม่ จะต้องมีวิสัยทัศน์ และมีวิธีการบริหารจัดการที่ก้าวไกล โดยมองถึงภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และนอกประเทศ


คุณหมอต้อย เป็นบุคคลที่ดิฉันรู้จักมาตั้งแต่ก่อนตั้งบริษัทกิฟฟารีน เนื่องจากท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อโรงเรียนแสงประทีปรัฐบำรุง ครู นักเรียนและพี่น้องชาวแสงประทีปฯทุกคน และเป็นผู้สร้างประโยชน์ให้กับคนไทยทั้งชาติได้เป็นเจ้าของธุรกิจด้วยตนเองร่วมกันในบริษัทกิฟฟารีน นอกจากนั้นยังเป็นผู้มีทุน 8k's , และ 5k's ครบถ้วน การบริหารธุรกิจเหมือน ทฤษฎี 3 วงกลม ท่านมีการแก้ปัญหาเหมือนทฤษฎี 2R's ทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทกีฟฟารีน เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าเพราะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา บริษัทกีฟฟารีนจึงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งสวนกระแสโลกจนถึงทุกวันนี้


ด้วยความเคารพ


นางจิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

 

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

            วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) พูดคุยและขอ ส่งการบ้าน+ การแลกเปลี่ยน + เรียนรู้ และเชื่อมโยง...เรื่อง----> LO + Leadership + ทฤษฎี 3 วงกลม ( Context + Competency  + Motivation )  + ทฤษฎี 4 E  (Exampling + Expericnce + Environment + Evaluation) เรื่องบุคคลที่มีภาวะผู้นำ คนที่ 2  คือ ศ. น.พ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ถ่ายทอดมุมมอง สะท้อนความเข้าใจของคำว่า ปรัชญาความพอเพียง ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ และการนำไปใช้ในพัฒนาประเทศ โดยได้ตอบคำถาม กับนิตยสาร “POSITIONING” ในประเด็นที่น่าสนใจ ในช่วงปาฐกถาพิเศษใน งานสัมมนาสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ เศรษฐกิจพอเพียง สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข
- การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นอย่างไร?
            ถ้าเป็นตนเองแล้ว เราต้องมีศรัทธาความเชื่อก่อน เริ่มต้นต้องคิดให้เป็นก่อน เมื่อเข้าใจแก่นแท้ของความพอเพียง แต่ละคนจะสามารถนำไปปรับใช้ได้เอง อยู่ที่ว่าแต่ละคนนำไปใช้อย่างไร?  ปรัชญาพอเพียง สอนให้เรา พึ่งตนเองให้ได้ก่อน ไม่รอความช่วยเหลือ มีเหตุมีผลในการมีสติว่าเราทำอะไรอยู่ เช่น เรามีเงินเดือน 20,000 บาท แต่ไปซื้อรถราคา 8-9 แสนบาท ถือว่า เราไม่พอเพียง ทำเกินกำลัง แต่เราซื้อคันละ 5 แสน ไม่เป็นหนี้มาก ก็พอไหว แสดงว่า เรามีสติ แค่นี้เราก็ใช้ความพอเพียงในการดำเนินชีวิตแล้ว

- ในองค์กรเองเริ่มนำไปปรับใช้ได้ เช่น การจัดกิจกรรมปรับพื้นฐานจิตใจของคนในองค์กรอย่างต่อเนื่อ หรือแม้แต่ในโรงเรียนก็ใช้เป็นแบบเรียน ฝึกให้เด็กพอเพียงด้วยการจดบันทึกว่า แต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ใช้ความพอเพียงอย่างไรบ้าง? เพื่อปลูกฝังเขาตั้งแต่เด็ก
 - เศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องปฏิเสธกระแสโลกาภิวัตน์ภายนอกด้วยใช่หรือไม่
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งชัดเจน ให้เราติดตามกระแสความเปลี่ยนแปลงจากโลกภานอกอย่างใกล้ชิด ท่านไม่ได้บอกว่า ให้เราต่อต้านโลกภายนอก ทุนนิยมภายนอกประเทศ แต่เป้าประสงค์ของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เพื่อให้การดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศเป็นไป อย่างพอเพียง และก้าวทันโลกาภิวัตน์ม่ใช่การวิ่งหนี ปฏิเสธโลกภายนอก ต้องนำเอากระแสภายนอกมาปรับใช้อย่างมีสติ มีเหตุมีผล เหมาะกับวิถีชีวิต และสังคมไทย เมื่อทำได้ ความพอเพียงจะทำให้เกิดความสมดุลชีวิต สมดุลองค์กร จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
- เศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการธุรกิจ ที่เน้นการหากำไรหรือไม่
            ไม่ขัดต่อการแสวงหากำไรขององค์กรธุรกิจเลยแม่แต่น้อย การใช้ปรัชญานี้ไม่ได้บอกว่าไม่ให้รวย แต่ให้รวยได้แต่อย่าขี้โกง รวยได้โดยใช้หลักธรรมะ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เช่น ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ สินค้าที่ผลิตออกมา ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค เพราะบางบริษัทผลิตสินค้าโดยลดต้นทุนแต่เพิ่มราคาสินค้า เพราะต้องการกำไรเพิ่มขึ้น อย่างนี้ถือว่าไม่มีคุณธรรม
แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร?
 - เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เป็นเรื่องของทุนนิยมเสรี เชื่อว่า

@  คน  ต้องพัฒนาสูงสุดตั้งแต่การเลี้ยงดูที่ดี

@  ระบบการศึกษาที่สร้างรากฐานให้คนก้าวหน้า

@ ระบบสาธารณสุขที่สมบูรณ์ เป็นเศรษศาสตร์ที่ เชื่อในศักยภาพของคน การขับเคลื่อนด้วยกระแสทุนนิยมที่ผ่านมาหลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทย

@ ทำให้มีโมเดล(Model) เหมือนกัน คือ เป็นรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ

ในกรณีของประเทศไทย  

- คนรวยที่มีอยู่ 20% ของประชากรทั้งหมด ครอบครองทรัพย์สินถึง 58%

- ชนชั้นกลางที่มีจำนวน 60% ของประชากรทั้งหมด ครอบครองทรัพย์สิน 38%

- คนจนที่มีจำนวน 20% ของประชากร ครอบครองทรัพย์สินเพียง 3.9% เท่านั้น

    ดังนั้นทุนนิยมเสรีที่ดีนั้น ต้องถูกกำกับด้วย ธรรมมาภิบาลหมายถึง คนที่จะนำพาประเทศไปให้ดีนั้นต้องมีหลักคุณธรรม เช่น ความมีเหตุมีผล ความรู้จักพอประมาณ ไม่โลภ ไม่สุดโต่ง อยู่ในกลไกการทำงานด้วย จึงจะทำให้เศรษฐศาสตร์กระแสหลักขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปสามเหลี่ยมหัวกลับที่เกิดขึ้น วันหนึ่งอาจจะกลายเป็น รูปสี่เหลี่ยมคางหมู คนจนจะมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง
 - ปรัชญาของความพอเพียงจะเกิดผลอย่างไร? หากนโยบายนี้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง โมเดล(Model)ที่จะเกิดขึ้น คือ บุคคลพอเพียง ครอบครัวพอเพียง หมู่บ้านพอเพียง ตำบลพอเพียง อำเภอพอเพียง จังหวัดพอเพียง ประเทศพอเพียง ซึ่งเราคาดหวังว่าในอนาคตจะเกิดขึ้น ซึ่งจะนำมาสู่ความเข้มแข็ง โดยต้องเริ่มจากคนในประเทศก่อน เมื่อคนรู้จักแก่นแท้ของความพอเพียง คนในประเทศจะมีภูมิคุ้มกัน หรือ วัคซีนป้องกันกับปัญหาต่างๆ เช่น วัคซีนป้องกันวัตถุนิยม บริโภคนิยม และเมื่อคนเข้มแข็ง จะเป็นจุดเริ่มต้นให้สังคมแข็งแรง และขยายสู่รากฐานอันแข็งแรงของประเทศต่อไป

            หนูคิดว่าที่ท่าน องคมนตรี ศ. น.พ. เกษม วัฒนชัย เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง มีอยู่แล้วทฤษฏี 8 K’s + 5K’s + 4L’s + ทฤษฏี 3 วงกลม + ทฤษฏี 2 R +ทฤษฏี 4 E ของท่านศ. ดร. จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเราชาวPh.D SSRU แล้วนะคะเพียงแต่ว่านำจะ มาประยุกต์ใช้มากน้อยแค่ไหน? อย่างไร? ใครบ้าง? ---->ต้องมี สติ  นะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

เรียนท่าน ศ. ดร.จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

 

            วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) พูดคุยและขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้ และเชื่อมโยง...เรื่อง LO + Leadership + ทฤษฎี 3 วงกลม (Context + Competency + Motivation) + ทฤษฎี 4 E (Exampling + Experience + Environment + Evaluation) เรื่องบุคคลที่มีภาวะผู้นำสูงมาก (ในความคิดของหนู) คนที่ 3  คือ ศ. นพ.ประเวศ วะสี ท่านมีบทความดี ๆหลาย ๆเรื่องไม่แตกต่างกับท่าน ศ. ดร.จีระ ของพวกเราPh.D SSRU ได้แก่เรื่อง

-      กระบวนทรรศน์ ในการพัฒนาประเทศไทยท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรมากพอที่จะสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้าให้คนไทยแต่คนไทยกลับตกอยู่ในความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าทั้งนี้เพราะมิจฉาทิฐิเกี่ยวการพัฒนา

-          การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยองค์การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยและของโลกก็คือ เราอยู่ในประเทศเดียวกันและโลกเดียวกันแต่รู้ไม่เท่ากันการรู้ไม่เท่ากันนำไปสู่ปัญหานานาประการ ซึ่งต่อไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง การทำให้คนรู้ทั่วถึงทัดเทียมเท่าทันจึงเป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย และจุดเปลี่ยนโลก

-          ความเป็นธรรมเรื่องใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเรื่องใหญ่ที่สุด  ถ้าเราทำแต่เรื่องปลีกย่อยเป็นชิ้นๆ ส่วนๆ โดยไม่เห็นเรื่องใหญ่ที่สุด ก็จะไม่สำเร็จหรือขัดแย้งกันมากขึ้น สังคมที่ขาดความเป็นธรรมจะมีความขัดแย้งและความรุนแรง ผู้คนจะไม่รักกัน และไม่รักชาติ แล้วก็จะวิกฤตมากขึ้นเรื่อยๆ จนล่มสลาย ความเป็นธรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดสำหรับมนุษย์หรือแม้แต่สัตว์ ถ้าสุนัขตัวไหนมันได้กินมากกว่าตัวอื่นก็จะกัดกันยกใหญ่ ถ้ามันได้กินทั่วถ้วนกันทุกตัวก็จะเกิดความสงบ ถ้ามีความเป็นธรรมแล้วมนุษย์ยอมได้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะยากลำบากอย่างไร? หรือแม้กระทั่งยอมตาย ถ้าขาดความเป็นธรรมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ถ้าขาดความเป็นธรรมประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไม่ได้ หรือแม้ล่มสลาย

-          เมื่อเอาใจนำ ทุกข์ก็เปลี่ยนเป็นสุข เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๒ ขออวยพรให้ท่านผู้อ่าน จิตวิวัฒน์ ทุกคนและเพื่อนมนุษย์ทั้งหมดประสบความสุขสวัสดี ความทุกข์ใดๆ ในปีที่ผ่านมา ก็ขอให้ผ่านไปพร้อมกับปีเก่า เคล็ดลับของความสุขนั้นไม่ยากเลย เหมือนเส้นผมบังภูเขา เราทำอะไรๆ โดยเอาความรู้นำบ้าง เอาเศรษฐกิจนำบ้าง เอาการเมืองนำบ้าง แล้วก็นำเราเข้าไปสู่ความเครียด ความขัดแย้งและวิกฤต จริงอยู่ ความรู้ก็ดี เศรษฐกิจก็ดี การเมืองก็ดี มีความจำเป็นแต่ไม่ใช่ตัวนำ

-          สร้างสรรค์สังคมไทยขึ้นใหม่ สังคมไทยนั้นมีความดี และพลังที่ซ่อนเร้นอยู่มาก แต่ที่ต้องทรุดซวนเวไปเพราะความสะดุ้งหวาดผวาเมื่อกระทบเข้ากับอารยธรรมวัตถุนิยมอย่างจัง ถ้าตั้งตัวได้ ได้คิด เข้าใจเหตุผล ใช้สามัคคีธรรมที่รวมกันอยู่ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับสถาบันทางพระศาสนา สละความเห็นแก่ตัว ช่วยกันแก้ปัญหา สร้างสรรค์ชีวิตใหม่ ให้ประเทศไทยเป็นดินแดนที่ประชาชนมีความสุขโดยทั่ว

-          GDH สำคัญกว่า GDP วิธีการพัฒนาไทย ต้องก้าวล้ำนำโลก โดยตั้งอยู่บนสัมมาทิฐิ เอาความดีเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงของ เศรษฐกิจ จิตใจ ครอบครัว ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมพร้อมกันไป อันเป็นรากฐานของความสุขแบบไทย ที่สามารถสร้างดัชนีชี้วัดได้

-          กระทรวงศึกษาธิการ กับการกู้ชาติบ้านเมืองให้พ้นวิกฤติ กระทรวงศึกษาเป็นกระทรวงวัฒนธรรมทั้งเนื้อทั้งตัวและวัฒนธรรมคือเครื่องมือต่อสู้ให้พ้นวิกฤติทางเศรษฐกิจ เพราะใครได้วัฒนธรรมคนนั้นได้เศรษฐกิจ สภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจสังคมอย่างร้ายแรงขณะนี้ เป็นโอกาสของกระทรวงศึกษาธิการที่จะปรับภารกิจเอาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริงของสังคมไทย การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จะเป็นพลังในการนำสังคมไทยให้พ้นวิกฤติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หนูคิดว่าท่าน ศ. นพ.ประเวศ วะสี และ ท่าน ศ. ดร.จีระ ของพวกเรา Ph.D SSRU มี Leadership  มากสุด ๆๆ นะคะ

ด้วยความเครารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด  จ. เพชรบุรี Tel. 081-9435033

ตัวอย่างข้อสอบ 7 ข้อ เลือกทำ 5 ข้อ ใช้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง 15 นาที

(สอบวันที่ 5 กันยายน 2552)

1.      อ่านหนังสือ The Purpose linked organization แล้ว

§       เชื่อมโยงกับทุนแห่งความสุขของ ดร.จีระ ว่าเกี่ยวกันอย่างไร?

§       ถ้าเราจะ Develop 3 แนวคิดด้วยกัน

Passion, Leadership และ Profitability ลองสร้างทฤษฎีใหม่ที่เชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องให้ดู

2.      Passion กับ Happiness น่าจะสำคัญและเกี่ยวข้องกัน โปรดอธิบาย แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ Passion กับ Sustainability ในประเทศไทยลองยกตัวอย่างความสัมพันธ์กันระหว่าง Passion ที่ไปสู่ Sustainability อธิบายโดยวิเคราะห์บุคคลหรือองค์กรหรือประเทศ

3.      การมีหน้าที่เป็นผู้ตรวจการ การเรียนรู้ หรือ “Inspector General of Learning Culture” วิเคราะห์เทคนิคของผมและลองปรับปรุงวิธีการใช้แบบสอบถามติดตามวัฒนธรรมการเรียนรู้ว่าจะต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างไรให้ได้ผลสูงสุด

4.      ยกตัวอย่างวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในไทย 1 เรื่อง และในต่างประเทศ 1 เรื่องที่ได้วิจัยเน้นภาวะผู้นำ และสรุปว่าจุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร?

5.      อ่านหนังสือ “Good to Great” แล้วมีประเด็นอะไรที่เกี่ยวกับผู้นำ และมีอะไรที่สอดคล้องกับทฤษฎีของดร.จีระ

6.      ในหนังสือ ”Judgment” ของ Noel Tichy เขาเน้นอะไร 3 เรื่อง และ 3 เรื่องนั้นมีอะไรเกี่ยวพันกับทฤษฎีภาวะผู้นำของ ดร.จีระ และ Peter Drucker อธิบาย

7.   ลองวิเคราะห์ภาวะผู้นำทั้งดีและไม่ดีของประธานาธิบดีของอิหร่าน ประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด ถ้าผู้นำไม่ดีจะแก้อย่างไรทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ

ถึงเพื่อน ๆ Ph.D. SSRU 3rd  และชาว Blog ทุกคน

ศึกชิงเพลง

MICHAEL JACKSON

ทันทีที่ปัญหาทางกฎหมายได้รับการสะสาง บทเพลงที่ยังไม่เคยเผยแพร่อาจถูกนำออกประมูลและน่าจะมีมูลค่ามหาศาล

                 โดย Ronald Grover และ Christopher Palmeri อาจมีเรื่องน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับ Michael Jackson อีกเรื่องหนึ่งในอุตสาหกรรมกล่าวว่าผู้ดูแลทรัพย์สินของนักร้องดังที่เพิ่งเสียชีวิตไปกำลังเตรียมจะเปิดประมูลสิทธิ์จัดจำหน่ายเพลงกว่า 150 เพลงที่ราชาเพลงป๊อบวัย 50 ปี แต่งและเก็บไว้หลายปีก่อนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ด้วยยอดขายทะลุ 2 ล้านแผ่นของอัลบั้มเพลงชุดเก่าจาก Jackson ในช่วงสองสัปดาห์หลังการเสียชีวิตจึงมีโอกาสที่เพลงใหม่อาจส่งผลให้เกิดการประมูลอย่างคึกคักจากกลุ่มบริษัทเพลงรายใหญ่

                คนสำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวครั้งนี้คือ John Branca ทนายความเก่าแก่ของ Jackson ซึ่งเป็นหนึ่งในสอง “ผู้ดูแลทรัพย์สินพิเศษ” ของนักร้องคนดัง Branca นักเจรจามืออาชีพได้รับเงิน 1.2 ล้านเหรียญจาก MTV และ Showtime เพื่อสร้างวิดีโอ Thriller ในปี 1983 ของ Jackson ซึ่งสิ่งนี้ไม่เคยปรากฎมาก่อน ทนายความผู้นี้ยังได้ดำเนินการเพื่อซื้อ ATV เจ้าของลิขสิทธิ์เพลงมูลค่ามหาศาลซึ่งรวมถึงเพลงของ Beatles ด้วย

                สิ่งล้ำค่าในครั้งนี้คือเพลงที่ Jackson เก็บไว้ซึ่งได้รับการบันทึกตั้งแต่ปี 2001 เมื่อเขาหมดสัญญากับ Epic Records ของ Sony หลังออกงานเพลงชุด Invincible หลายปีหลังจากนั้นเข้าได้ทำเพลงกับ will.i.am นักร้องเพลงแร๊พ Akon จากวงการเพลงป๊อบและนักร้องรายอื่น ๆ โดย John McClain ผู้ดูแลทรัพย์สินอีกรายหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของครอบครัวและอดีตผู้บริหารบริษัทเพลงกำลังรวบรวมเพลงซึ่งผู้บริหารรายหนึ่งประเมินว่ามีมูลค่า “มากกว่า 500 ล้านเหรียญ”

                ปัญหาที่สำคัญก็คือ Sony ซึ่งได้ผลิตและจำหน่าย 6 อัลบั้มล่าสุดของ Jackson รวมถึงงานเรียบเรียงอีกสองชุด จะสงวนสิทธิ์เพลงที่ยังไม่ได้วางจำหน่ายหรือไม่ อดีตผู้บริหารระดับสูงของ Sony กล่าวว่าภายใต้รายละเอียดสัญญากับ Epic ของ Jackson ว่าเขาจะได้รับสิทธิ์ในตัวเพลงของเขาในปี 2011 ทำให้ Sony อาจอ้างว่าเพลงเหล่านี้คือเพลงตามสัญญาที่ผลิตขึ้นก่อนหน้านั้น “Sony อยู่ในจุดที่ได้เปรียบ ณ ขณะนี้ที่จะจำหน่ายเพลง ชุดสะสม (และ) เพลงที่ยังไม่ได้วางตลาดจำนวนมากของ Michael Jackson  Tommy Mottola อดีตประธานกรรมการของ Sony Music Entertainment กล่าวเห็นด้วย

                คนจากอุตสาหกรรมอื่นเชื่อว่า Branca อาจแย้งข้อสัญญาซึ่งอาจดำเนินไปถึงชั้นศาล เพื่อกระตุ้นศึกแห่งการประมูล สำหรับตอนนี้ทรัพย์สินต่าง ๆ ของ Jackson ยังคงไม่ได้รับการจัดการ

                ในหมู่ผู้ที่คาดว่าจะเข้าร่วมประมูลได้แก่ Universal Music Group ซึ่งเป็นเจ้าของอัลบั้ม Motown งานเพลงชุดเก่าของ Jackson หลังจากนักร้องดังเสียชีวิต Universal ได้เริ่มทำการตลาดแว่นกันแดด เสื้อแจ็คเก็ตและสินค้าอื่นในสไตล์ของ Jackson และ Warner Music Group ของจะเข้าร่วมประมูลด้วยเช่นกัน โดยบริษัทแห่งนี้ได้เข้าไปดูแลงานเพลงของ Michael Jackson ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธ์งานเพลงของเขา

                คาดกันว่า Branca และ McClain จะรอเวลาการประมูลจากภายนอกจนกว่าพวกเขาจะเข้าถือสิทธิ์ในทรัพย์สินและหนี้สินที่มากมายของ Jackson ในขณะเดียวกันมีการพูดกันว่า Sony ซึ่งดูแลงานเพลง Sony/ATV ที่บริษัทเป็นเจ้าของรวมถึงทรัพย์สินของ Jackson กำลังเตรียมเข้าประมูลเพื่อเข้าซื้อลิขสิทธิ์เพลงทั้งหมด ทั้งนี้ Sony ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ

                ภายใต้ข้อตกลงปี 2007 Sony ชนะสิทธิ์ในการซื้อสิทธิ์ 25% ในงานเพลงของ Jackson แลกกับการช่วยเหลือเขาปรับโครงสร้างภาระหนี้สินบริษัทยังได้ต่อรองเพื่อขอสิทธิ์ในการเป็นผู้เสนอซื้อคนแรกหาก Jackson ตัดสินใจที่จะขายงานเพลงของเขาให้กับ Sony อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งงานเพลงดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 2 พันล้านเหรียญถึงแม้ว่างานเพลงส่วนนี้จะถูกนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ก็ตาม

                ใครก็ตามที่ชนะสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายเพลงที่ยังไม่เคยวางตลาดมาก่อนของ Jackson จะต้องควักเงินจ่ายอย่างมหาศาลราชาเพลงป๊อบได้รับสัญญาที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในอุตสาหกรรมจาก Sony โดยเขาจะได้รับค่าลิขสิทธิ์ 25% ซึ่งอยู่ในอัตรามากกว่าปรกติถึงสองเท่า “ซูเปอร์สตาร์รายนี้ได้รับสัญญาที่คนอื่นไม่มีทางจะได้ Lance Grode ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายจาก USC อดีตรองประธานอาวุโสของ MCA Music กล่าว

                แล้วสัญญาเหล่านี้จะยังคงดำเนินต่อหลังจากเขาเสียชีวิตหรือไม่? และนี่คือสาเหตุที่ตำนานราชาเพลงป๊อปตลอดกาลว่าจ้าง John Branca

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU Mobile: 081-661-1701

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

คุณสมบัติหลัก 5 ประการของผู้นำแห่งอนาคต 

             1.ต้องคิดถึงภาพรวมโลก (Thinking Globally) การทำธุรกิจในอดีตต่างจากปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งในโลกเชื่อมถึงกันหมดจากการพัฒนาการสื่อสาร ถ้าจำกันได้ ภาวะการเงินต้มยำกุ้งในบ้านเราส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั่วโลกจะมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในประเทศ ดังนั้น ผู้นำแห่งอนาคตต้องคิดถึงภาพรวมโลก ต้องศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาค ต้องรู้ทันกฎหมายและการเมืองประเทศอื่นๆด้วย

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

คุณสมบัติหลัก 5 ประการของผู้นำแห่งอนาคต 

              1.ต้องคิดถึงภาพรวมโลก (Thinking Globally) การทำธุรกิจในอดีตต่างจากปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งในโลกเชื่อมถึงกันหมดจากการพัฒนาการสื่อสาร ถ้าจำกันได้ ภาวะการเงินต้มยำกุ้งในบ้านเราส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั่วโลกจะมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในประเทศ ดังนั้น ผู้นำแห่งอนาคตต้องคิดถึงภาพรวมโลก ต้องศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาค ต้องรู้ทันกฎหมายและการเมืองประเทศอื่นๆด้วย

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

คุณสมบัติหลัก 5 ประการของผู้นำแห่งอนาคต

 

                1. ต้องคิดถึงภาพรวมโลก (Thinking Globally) การทำธุรกิจในอดีตต่างจากปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งในโลกเชื่อมถึงกันหมดจากการพัฒนาการสื่อสาร ถ้าจำกันได้ ภาวะการเงินต้นยำกุ้งในบ้านเราส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาคและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของตลาดทั่วโลกจะมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในประเทศ ดังนั้น ผู้นำแห่งอนาคตต้องคิดถึงภาพรวมโลก ต้องศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาค ต้องรู้ทันกฎหมายและการเมืองประเทศอื่น ๆ ด้วย

                มีสองปัจจัยที่ผู้นำยุคหน้าต้องคิดถึง คือ การเพิ่มขึ้นของการค้าระหว่างประเทศ และการบูรณาการด้านเทคโนโลยี ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ สินค้าสมัยนี้ไม่ได้ผลิตจากประเทศเดียวอีกต่อไปวัตถุดิบและชิ้นส่วนถูกส่งมาจากประเทศต่าง ๆ เพื่อประกอบเป็นสินค้าชิ้นเดียว แต่ก็ยังคงมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่า (จากความได้เปรียบทางการแข่งขัน Competitive Advantage ของแต่ละประเทศนั่นเอง) เพราะฉะนั้นสิ่งเดียวที่ผู้ผลิตต้องเรียนรู้ ก็คือเรื่องราวบริหารจัดการการผลิตระดับโลก การบริหารการตลาด และการบริหารทีมขาย

                นอกจากนี้ผู้นำแห่งอนาคตยังต้องคิดถึงการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งภายในสำนักงานไปจนถึงการส่งออก อย่าลืมว่า สินค้าบางอย่างอาจผลิตในประเทศไทยแต่ส่งไปขายต่างประเทศ (เช่น กล้องถ่ายรูป รถยนต์) ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีนั้นสามารถจะทะลายกำแพงไปสู่การทำธุรกิจระดับโลกได้ ดังนั้น ผู้นำที่ยังคิดแต่จะค้าขายในประเทศเท่านั้น อาจถูกกดดันจากตลาดระดับโลกได้ (เช่น ปัญหาเรื่องการขาดแคลนข้าวของตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อชาวนาไทยโดยตรง รวมทั้งรัฐบาลก็ยังถูกกดดันจากตลาดต่างประเทศอีกด้วย ทั้ง ๆ ที่ไทยก็ผลิตข้าวเท่าเดิม)

                2. ต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Appreciating Cultural Diversity) จากการเปิดตลาดเสรี วัตถุดิบมาจากหลายแห่ง ธุรกิจอาจตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศ หรือส่งสินค้าไปขายยังตลาดนอกบ้าน ดังนั้น ผู้นำแห่งอนาคตจึงต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของทีมงานและประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ต้องเข้าใจทั้งระบบเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย และต้องเคารพความแตกต่างด้านนี้ของปัจเจกชน เพราะในมุมมองหนึ่ง คือการเปิดโอกาสทางการค้า

                ผู้นำธุรกิจจากอเมริการหรือยุโรปที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย อาจต้องอ่านหลักพุทธศาสนา เพราะศาสนาคือปัจจัยสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของคน อาจจะต้องศึกษาเรื่องธรรมเนียมการให้ของขวัญ หรือการให้ความสำคัญกับเวลา (ชาวอเมริการและยุโรปบางชาติจะตรงเวลาและถือว่าเวลาเป็นสิ่งมีค่า แต่ชาวไทยจะไม่ค่อยตรงเวลา ชอบมาสาย และไม่ให้ความสำคัญกับเวลา) ด้วยเหตุนี้ การมีความสามารถที่จะชักจูงใจคนจากหลายเชื้อชาติได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะวิธีการจูงใจคนในวัฒนธรรมหนึ่งที่ได้ผลดีมาก อาจใช้ไม่ได้เลยกับคนในอีกวัฒนธรรมหนึ่งหรือการยกย่องชมเชยพนักงานอาจต้องใช้วิธีที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของแต่ละคน ดังนั้นผู้นำที่มีจุดเด่นข้อนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าอย่างยิ่งขององค์กรในอนาคต

 

                3. ต้องสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยี (Demonstrating Technology Savvy) ผู้นำยุคหน้าต้องสามารถบริหารจัดการ เข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับองค์กร โดยอาศัยกลยุทธ์เพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ

            1) ต้องรู้ว่าการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างชาญฉลาดนั้น สามารถช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง

                2) ต้องรู้จักคัดเลือก พัฒนา และจูงใจทีมงานที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ

                3) ต้องรู้วิธีการบริหารและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ

                4) ต้องเป็นผู้นำตัวอย่างในแง่การกล้าใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

               

                ปัจจุบันนี้ หลายองค์กรเชื่อว่าเทคโนโลยีจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในอนาคตที่สามารถเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจได้ (ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็เช่น ธุรกิจออนไลน์ต่าง ๆ –ที่ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็ได้ ธุรกิจดาวน์โหลดเพลงหรือการโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น)

                4. ต้องสร้างหุ้นส่วนธุรกิจ (Building Partnerships) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้และได้เปรียบคู่แข่งธุรกิจ ผู้นำแห่งอนาคตต้องทำใจให้ได้ว่าการปรับขนาดองค์กร ผ่าโครงสร้างลดจำนวนพนักงาน และจ้างธุรกิจอื่นทำงานที่ตนไม่ถนัด (outsourcing) นั้น ต่อไปจะถือเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ ผู้นำยุคหน้าต้องรู้จักสร้างหุ้นส่วนธุรกิจยิ่งมากยิ่งดี ในอนาคตคำว่าศัตรูคู่แข่งหรือคู่หูจะไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก ยิ่งในธุรกิจสำคัญ ๆ เช่น พลังงาน การสื่อสาร และยา องค์กรเดียวกันอาจเป็นทั้งลูกค้า เป็นผู้จัดส่ง เป็นหุ้นส่วน หรือคู่แข่งในเวลาเดียวกันก็ได้ (เพราะองค์กรเดียวอาจทำธุรกิจหลายอย่าง เช่น CP มีหุ้นในบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น บริษัท 7-11) ดังนั้น ผู้นำยุคหน้าจึงควรสร้างแนวคิดบวก สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและแบบ “ชนะ –ชนะ” (win-win) กับองค์กรอื่น ๆ ไว้จึงน่าจะเหมาะสมกว่า

                5. ต้องแบ่งปันประสบการณ์ผู้นำ (Sharing Leadership) ผู้นำในยุคหน้าไม่ได้เป็นแบบที่อยู่บนจุดยอดสุดของแผนผังโครงสร้างองค์กรที่ยึดติดขัยบอะไรไม่ได้อีกต่อไปแล้ว  ในอนาคตหุ้นส่วนธุรกิจจะหันมาร่วมมือกันทำงานมากขึ้น  พนักงานและทีมงานจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความรู้มากขึ้น (Knowledge workers) เพราะเดี๋ยวนี้สามารถหาข้อมูลในเรื่องต่างๆ ได้ทั้งง่ายและเร็ว  การบริหารทีมงานที่มีความรู้ความสามารถจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น  เพราะคนเก่งเหล่านี้จะอยู่กับองค์กรไม่นาน  นอกจากจะมีผู้นำที่เก่งกว่า  ท้าทายกว่า และเปิดโอกาสให้มากกว่า ฉะนั้น  การที่ผู้นะแห่งอนาคตเข้าใจศิลปะการยริหารทีมงานที่เก่งเลิศ (Talent Management) ให้มีประสิทธิผลสูงสุดต่อตัวผู้นำเอง และองค์กร  การแบ่งปันถ่ายทอดความรู้  ความสามารถ  และประสบการณ์  ความสำเร็จของผู้นำเองต่อทีมงานเก่งๆเหล่านั้น  จะช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้ผู้นำแห่งอนาคตโดดเด่นกว่าผู้นำอื่นๆอย่างชัดเจน

 

 อ้างอิง

บทความเรื่อง The Global Leader of  the Future : New Competencies for  a New Era โดย Marshall Goldsmith  มิถุนายน 2551 จาก http://www.leader-values.com/Content/details.asp? ContentDetailID=937

 

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตัวอย่างข้อสอบ 7 ข้อ เลือกทำ 3 ข้อ ใช้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง 15 นาที

(สอบวันที่ 5 กันยายน 2552)

1.      อ่านหนังสือ The Purpose linked organization แล้ว

§       เชื่อมโยงกับทุนแห่งความสุขของ ดร.จีระ ว่าเกี่ยวกันอย่างไร?

§       ถ้าเราจะ Develop 3 แนวคิดด้วยกัน

Passion, Leadership และ Profitability ลองสร้างทฤษฎีใหม่ที่เชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องให้ดู

2.      Passion กับ Happiness น่าจะสำคัญและเกี่ยวข้องกัน โปรดอธิบาย แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ Passion กับ Sustainability ในประเทศไทยลองยกตัวอย่างความสัมพันธ์กันระหว่าง Passion ที่ไปสู่ Sustainability อธิบายโดยวิเคราะห์บุคคลหรือองค์กรหรือประเทศ

3.      การมีหน้าที่เป็นผู้ตรวจการ การเรียนรู้ หรือ “Inspector General of Learning Culture” วิเคราะห์เทคนิคของผมและลองปรับปรุงวิธีการใช้แบบสอบถามติดตามวัฒนธรรมการเรียนรู้ว่าจะต้องดำเนินการปรับปรุงอย่างไรให้ได้ผลสูงสุด

4.      ยกตัวอย่างวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในไทย 1 เรื่อง และในต่างประเทศ 1 เรื่องที่ได้วิจัยเน้นภาวะผู้นำ และสรุปว่าจุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร?

5.      อ่านหนังสือ “Good to Great” แล้วมีประเด็นอะไรที่เกี่ยวกับผู้นำ และมีอะไรที่สอดคล้องกับทฤษฎีของดร.จีระ

6.      ในหนังสือ ”Judgment” ของ Noel Tichy เขาเน้นอะไร 3 เรื่อง และ 3 เรื่องนั้นมีอะไรเกี่ยวพันกับทฤษฎีภาวะผู้นำของ ดร.จีระ และ Peter Drucker อธิบาย

7.   ลองวิเคราะห์ภาวะผู้นำทั้งดีและไม่ดีของประธานาธิบดีของอิหร่าน ประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด ถ้าผู้นำไม่ดีจะแก้อย่างไรทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

โดย   : ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ www.chiraacademy.com  

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์ บทเรียนจากความจริง วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม 2551 ปีที่ 2 ฉบับที่ 29

           หวังว่าแนวทางการเขียนบทความของผมในหนังสือพิมพ์แนวหน้ายุคใหม่ จะทำให้ท่านผู้อ่านได้รับประโยชน์มากขึ้น ย้ำอีกทีว่า ผมได้เสนอแนวคิดเมื่อ 2 อาทิตย์ ที่แล้ว 2 เรื่อง คือ

- Coaching
- Creativity

           ทั้งสองประเด็นเป็นเรื่องสำคัญ Coaching คือ ทักษะที่ผู้นำทุกคนต้องมี คือจะต้อง รู้ปัญหาต่าง ๆ ของลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานในงานที่ทำ และหาทางแก้ไข ปรับปรุง ผู้นำไม่ใช่นั่งและสั่งการ ผู้นำต้องฝึกฝนให้ลูกน้อง หรือ ผู้ร่วมงานไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น

            ส่วนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ Creativity เป็นเรื่องที่จำเป็นมากเพราะองค์กรไหน ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ และเสนอวิธีการที่จะทำให้องค์กรโดดเด่น และนำไปปฏิบัติ องค์กรเหล่านั้น ก็จะทำงานแบบตัว R เป็นหลัก คือ งาน Routine ประจำวัน เคยทำอย่างไร ก็ทำแบบเดิม Creativity ทำให้คนในองค์กรมีพลัง มี Energy และถ้ามี Energy คนในองค์กรทั้งหมดก็ถูก Energize ขึ้นมา

                   อาทิตย์นี้มีวันหยุดยาว ผู้อ่านคงจะสบายๆ อยู่บ้าน หรืออยู่กับครอบครัว หรือไปวัดเพื่อแสวงหาคุณธรรม และธรรมะ
ผมจึงขอเสนอแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นของอดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ Mr. Nelson Mandela ซึ่งโลกชื่นชมมาก ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Mandela อายุครบ 90 ปี หนังสือ Time เล่มใหม่สุด ได้ลงหน้าปกยกย่อง ฉลอง 90 ปี ของ Mandela ซึ่งได้ให้ Wisdom (ความลึกซึ้ง) อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ท่านได้สะสมมาจวบจนทุกวันนี้ 8 เรื่อง

           ในฐานะที่ผมพัฒนาผู้นำอยู่ทุกวัน ได้อ่านแล้ว บอกตัวเองว่า ลึกซึ้งมาก และมาจากประสบการณ์ที่สะสมมานาน เพราะ Mandela มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 เรื่อง

           - ช่วงทำงานเริ่มแรกในฐานะนักกฎหมาย มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยคนผิวดำแอฟริกาใต้ให้หลุดพ้นจากการเหยียดผิวของรัฐบาลผิวขาว
           -
สู้จนต้องเข้าคุก 27 ปี ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่าในช่วง 27 ปี คุณ Mandela มีความมุ่งมั่นที่จะแสวงหา สติและปัญญา อย่างไร
           -
การเรียนรู้ในช่วงอยู่ในคุก 27 ปี และดำรงชีวิตให้อยู่รอดช่วง 27 ปี แทนการคิดล้างแค้นคนผิวขาว แต่ได้สร้างความปรองดองระหว่างผิวขาวกับผิวดำและเกิดสันติภาพขึ้นอย่างถาวรในประเทศของเขา

           ผมว่าแค่ 3 ประเด็นนี้ ก็พอเพียงที่จะให้คนไทยทุกคนได้เข้าใจ และนำไปคิด โดยเฉพาะคนที่บ้าคลั่งอำนาจเงิน และอำนาจการเมือง และคิดว่าผู้นำจะต้องเป็นแบบนั้น

           ใน 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela มีดังต่อไปนี้

            1. ความกล้าหาญ ไม่ใช่ ไม่มีความกลัว แต่เป็นความสามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้ ตัวอย่างของ Mandela ก็คือเห็นความเจ็บปวด ความอดทน ที่อยู่ในคุก 27 ปี ทำให้คนอีกเป็นจำนวนมาก มีความหวัง ผมชอบมุมมองแบบนี้ เพราะแปลว่า ความกล้าหาญ ไม่ใช่แค่ เป็นทหารกล้าตาย แต่กล้าที่จุดประกายและเป็น Role Model ให้คนอื่น ๆ เป็นเลิศ
           2.
การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้ ก็จำเป็น แต่อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ ซึ่งจุดนี้ดีมาก คือ ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับ และไม่ประมาท
           3.
การนำอยู่ข้างหลัง จะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี อย่างเช่น การเมืองไทยยุคปัจจุบัน คุณทักษิณ คุณเนวิน อยู่เบื้องหลัง คนที่อยู่ข้างหน้าแทนทั้งสองท่าน ต้องสร้างความรู้สึกว่าเขานำจริง ไม่ใช่ทำแบบ "นอมินี"
           4.
ข้อนี้ ผมชอบ ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักเขาดีว่า เขาชอบอะไร คุณ Mandela  เน้นว่า จะศึกษาศัตรูให้ดี ต้องรู้ว่าเขาบ้าคลั่งกีฬาอะไร ผมกำลังเริ่มเขียนบทความ "เรียนรู้กีฬา กับ ดร.จีระ" ในหนังสือพิมพ์สยามกีฬาทุกวันพุธ ประจวบเหมาะเลยว่า ต้องศึกษาคู่ต่อสู้ว่า "เขาชอบกีฬาอะไร" อย่างใครที่อยากรู้จักผมลึก ๆ ต้องรู้ว่าผมบ้าทีมสเปอร์ส ใครจะพูดเรื่องแมนยูฯ หรือ ลิเวอร์พูล ผมก็เฉย ๆ
           5.
การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อนแน่นอน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ชีวิตคนเราจะคบแต่คนสนิท และคนที่ชอบพอ และไม่สนใจคู่แข่งหรือศัตรูไม่ได้ แนวทางแบบนี้ น่าจะใช้ในวงการธุรกิจ วงการบันเทิง วงการกีฬา และวงการการเมืองได้ดี
           6.
ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ เวลาพบผู้คน ต้องยิ้ม และมีความเป็นกันเอง ซึ่งปัจจุบันคนให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ บางองค์กร มีหลักสูตร พัฒนาบุคลิกภาพ หรือ การสอนให้เข้าสังคม หรือ มารยาทในการรับประทานอาหารหรือการแต่งตัวที่เหมาะสม ผมเรียกผู้นำแบบนี้ว่า "Charismatic Leadership" ตัวอย่างที่ดีก็คือ ประธานาธิบดี John F. Kennedy
           7.
การเป็นผู้นำแนว Mandela อย่าไปเน้น ถูกหรือผิด แบบ 100% หรืออย่าไปเน้น ขาวหรือดำ 100% บางครั้ง เราต้องมีทางออกที่พบกันครึ่งทาง มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win - Win
           8.
การเป็นผู้นำที่ดี ต้องรู้ว่าจังหวะไหน จะ "พอ" หรือ จะ "ถอย" ตัวอย่างก็คือ คุณจำลอง กับคุณทักษิณ ดูว่า ผู้นำทั้งคู่ว่า จุดใดที่ชนะแล้ว ควรถอย การถอย ไม่ได้แปลว่า แพ้ อย่างในประวัติศาสตร์การเมืองจะเห็นว่า จอมพล ป. อ

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่อง Passion 10 ชนิด หรือเขาเรียกว่าArchetype profilesประกอบด้วย

1.      The Builder: ผู้สร้าง ผู้วางรากฐาน

2.      The Conceiver: ผู้คิดค้น

3.      The Connector: ผู้ประสาน

4.      The Creator: ผู้ประดิษฐ์

5.      The Discoverer: ผู้ค้นพบ

6.      The Processor: ผู้ดำเนินการ

7.      The Transformer: ผู้เปลี่ยนแปลง

8.      The Altruist: ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง

9.      The Healer: ผู้รักษา

10. The Teacher: ผู้สอน/ถ่ายทอด

เชื่อมโยงกับ.....Linking..... Linking... Linking..หนูวิเคราะห์ดังนี้นะคะ...ถ้าไม่ตรง...ไม่ถูก...ท่านอาจารย์...อธิบายศิษย์ด้วยนะคะ

1.     Passion

2.    Leadership

3.    Profitability

 

หนูคิดว่าควรเริ่มที่ Leadership  = ผู้นำต้องมี...ภาวะผู้นำที่ดีก่อนและมีอยู่ในระดับสูง (ภาวะ + การนำ) ภาวะผู้นำต้องมาก่อน ààààจึงจะตามมาด้วยการ มี Passion àààà ที่ผู้นำทุกระดับต้องมี ไม่ใช่มีเฉพาะแต่ที่เป็นTop CEO ในองค์กรเท่านั้น และมีพฤติกรรมที่ดี คือ...ความจริงใจไม่ใช่ปากหวาน หลอกใช่เพื่อให้ได้แต่ผลงานที่ดี...ที่ตนเอง(CEO)ต้องการจากพนักงาน + มีคุณธรรม + จริยธรรม(Ethic) + ศีลธรรม + ความงาม(ของหัวใจ)ที่มีต่อพนักงาน / บุคลากร / เจ้าหน้าที่ / ลูกน้อง (รักลูกน้องเป็นเสมือนลูก + น้อง) ดูแล..ทั้งทุกข์ + สุข + กาย +ใจ + ให้กำลังใจ + Motivationโดยเฉพาะ ยามมีความทุกข์ + Empowerment ขณะที่เมื่อยล้า + หมดแรงหมดกำลังใจ + มองเห็นความเป็นคน ในความเป็นคน (ในร่างกายของคนมี จิตใจ เป็นส่วนผสม)+ สิทธิความเป็นคน (Human Right) ถ้าพนักงานมีความสุข ใน ที่ทำงาน มีความสุขกับงานที่ทำ มีความสุขขณะทำงาน  (ความสุข...เกิดขึ้น.....จริงๆๆ...Happiness  ๆๆๆๆๆ)....ไม่ใช่มีพฤติกรมในที่ในลักษณะที่...ทำงานไป..ดูนาฬิกาไป..หรือทำงานไป...เดียวลาป่วย...ต่อด้วยการลากิจ ...ตื่นขึ้นมาก็ไม่อยากออกจากบ้าน....บอกกับคนที่บ้านว่า...ไม่ยากให้ถึงวันจันทร์เล้ย..เบื่อ....ๆๆงาน...ไม่ยากไปทำงานเลย..หรือตั้งชมรม  คนรักวันศุกร์....คนเกลียดวันจันทร์.......แบบนี้อย่าว่าแต่  Profitability เลย...หนูคิดว่า...Performance (ผลประกอบการ) ก็เกิดได้ไม่ดีนัก (อาจะเกิด.....แต่น้อยกว่าค่าที่ Expectantly)......หรอกนะคะ...

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel.081- 9435033

ชวิน สมบูรณ์ศักดิกุล

เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

คุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ

คุณธนชัย

คณะทำงานของท่านอาจารย์ทุก ๆ คน(คุณเอ,คุณเอ้และคุณเอราวรรณ)

คุณอิ๋ว ตัวแทนของ SSRU

และ นักศึกษาปริญญาเอก (Ph.D.3 Innovative Management)มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เคารพทุกท่าน

ผมดีใจมากที่ได้ติดตามทุกท่านไปเรียนรู้ดูงานที่ Emporium วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2552 ผมรู้สึกประทับใจอย่างมากเพราะผมได้รับความรู้หลากหลายแบบเจาะลึกและได้รับเกียรติที่มีโอกาสพบปะทุกท่านที่มีความรู้ความสามารถสูง โดยเฉพาะท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านให้ความรู้ที่มีค่าอย่างตั้งใจตลอดเวลา

ขอขอบคุณครับ

ชวิน สมบูรณ์ศักดิกุล

ปล. กระทู้ฉบับนี้มีความรู้เยอะมาก ผมขออ่านและทำความเข้าใจอย่างตั้งใจ

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือที่ผมเลือกซื้อคือ "The Necesssary Revolution"

ผมดูหนังสือแล้วจะขอสรุปส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้ทำการบ้านคือ

1.Seeing System สำหรับในหนังสือยกตัวอย่างหลาย ๆ บริษัท และหลาย ๆ ความคิดเห็น แต่ถ้าจะสรุปก็คือ ให้เรามองหาระบบของตัวเรา ที่ตรงกับเราและเป็นของเราครับ

2. Collaborating across boundaries ก็ตรงกับหนังสือ "Leadership Without Borders" ผู้นำไร้พรมแดน และในหนังสือก็ยกอีกหลาย ๆ ตัวอย่างของหลาย ๆ คนและสรุปได้ว่า ในอนาคตกลยุทธ์จะสามารถเกิดได้จากความร่วมมือของพันธมิตร และยังสามารถร่วมมือข้ามขอบเขต หรือก็คือการร่วมมือกับศัตรู หรือคู่แข่งเพื่อผลประโยชน์ร่วมได้นั่นเองเช่น การร่วมมือของนักการเมือง เป็นต้น

3. Creating and Desire The Future ก็คือ Leadreship ของแต่ละองค์กรต้องมี Creativity Capital ,Innovation Capital ของอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ในทฤษฎี 8K's and 5K'sและสามารถสร้างเป็น Direction หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ หรือ แนวทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่น E-commerce เป็นต้น

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

เรียนเพื่อน ๆ ครับ

     ข้อสอบ 7 ข้อสำหรับผมจะเลือกตอบข้อ 1-3 โดยผมจะเตรียมอ่านหนังสือและเตรียมทำข้อสอบ  เสร็จแล้วจะรีบแชร์เพื่อน ๆ นะครับ(เตรียมข้อมูลและคำตอบเสร็จหมดแล้ว จะหาเวลารีบ ๆ เขียนครับ)

     สำหรับข้ออื่น ๆ โดยเฉพาะชื่อหนังสือต่าง ๆ สามารถหาได้ใน Google นะครับ(เป็นภาษาอังกฤษครับ)

Image002

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่อง ประธานาธิบดี มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำอิหร่าน ที่ได้เข้ารับตำแหน่งสมัยที่ 2 ในวาระ 4 ปี  ประธานาธิบดี อาห์มาดิเนจาด ยืนยัน(พฤติกรรมทาง ..กาย + จิตใจ)ว่า

-   พูดว่าจะต่อต้านอำนาจกดขี่

การเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาถือเป็น การเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ในอิหร่าน (ไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลง) ในมุมมองของใคร?......ประชาชน..ต้องการหรือไม่.....หรือผู้นำต้องการเสียเอง

-   บรรดาแกนนำฝ่ายค้านสำคัญๆ ไม่ได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

-   บริเวณด้านนอกรัฐสภา กลุ่มผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน ได้ชุมนุมประท้วง เพื่อแสดงการต่อต้านประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด กลุ่มผู้ประท้วงอ้างว่า ชัยชนะในการเลือกตั้ง อย่างถล่มทลายของประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด มาจาก การโกงการเลือกตั้ง

-   ตำรวจปราบจลาจลและกองกำลังติดอาวุธ อาสาสมัคร +  ใช้แก๊สพริกไทย ในการ สลายการชุมนุมของฝูงชน

ที่กล่าวมาข้างต้น.....ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าLeadership ไม่มีเลย...เป็นได้แต่ Leader (โดยการโกงการเลือกตั้ง) ไม่มีคำว่า... shift = เส้นที่ขยับขึ้น....ทำให้สูงขึ้น.....การเปลี่ยน...การย้ายที่ให้สูงขึ้น

การวิเคราะห์ ทางที่ไม่ดี”...แต่ มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด ควร ทำดี ดังนี้

มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด

1.จิตใจที่ชอบใช้อำนาจ (Need for power)

2. เป็นผู้ที่สร้างเกมรุก (Proactive) เพื่อให้คนอื่นที่ร่วมงานต้องทำตาม (Reactive)

3. คิดว่าเป็นโอกาสของตนที่จะได้ใช้อำนาจที่ติดมากับตำแหน่งที่ได้รับจากการเลือกตั้ง(โกงหรือไม่....ไม่อาจวิเคราะห์ได้)

4. เป็นการตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยาส่วนบุคคล = มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด

5. ผลต่อพฤติกรรม(Behavior) และการใช้ แบบ การเป็นผู้นำ (Leadership Style) ของมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด ในลักษณะการ ใช้อำนาจกดขี่ + การโกงการเลือกตั้ง + ใช้แก๊สพริกไทย +  ตำรวจปราบจลาจล + กำลังติดอาวุธ + ใช้อำนาจ + อำนาจรุนแรง + ความรุนแรงต่อประชาชนที่ต่อต้าน +โหดร้ายม๊าก..มาก + บ้าอำนาจ + ความกระหายอำนาจ + โลภ + ไม่อิ่มอำนาจ + อำนาจมีพลังมากนำมารวมกับความบ้าคลั่ง+ ไม่รู้จักพอ...ไม่คิดจะหยุด + เห็นแก่ตัวเอง

6. ส่งผลกระทบซึ่งมักจะเป็นทางลบต่อ ภาพลักษณ์ ของประเทศชาติ + ประชาชน + สังคมประเทศอิหร่าน

7. มีพฤติกรรมของผู้นำ แบบอัตตนิยม (Autocratic) สร้างความทุกข์ใจให้คนส่วนใหญ่ + อำนาจที่อยู่เหนือคนทั้งประเทศ (No One)

8. ใช้ ตัณหา (ความยากเป็นใหญ่มีอำนาจ) มากกว่า ปัญญา

9. ใช้ความทุกข์ของคนส่วนใหญ่---> มาสร้างความสุขให้ ตนเอง + พรรคพวก + ทำได้ทุกสิ่งที่ตนปรารถนา (กระหาย...อยากได้อำนาจ) + ความไม่พอ

การแก้ไข ผู้นำที่ไม่ดี

1. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต (Fairness and Honesty) ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือ(Tools)ในการวินิจฉัยสั่งการหรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

2. มีความตื่นตัว(Alertness) หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาดขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูมเป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่าง ๆได้อย่างถูกต้อง  ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control) และต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันโลกยุกค์สมัยใน ระบบ IT & Digital

3. มีความอดทน (Patience) ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง

4.การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations)    ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้

5.ความรู้ (Knowledge) การเป็นผู้นำความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ +การใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้อง เป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผู้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้น

6. ความริเริ่ม (Initiative)ความริเริ่ม คือความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้นหรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเองความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ ต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จ

7. มีความภักดี (Loyalty)การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีจำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีจะทำให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตราย

8. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness) ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญจะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ความเด็ดขาดเป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น ลักษณะของการ กล้าได้กล้าเสีย (ในสิ่งดีงาน+สิ่งถูกต้องทั้งหลักกฎธรรมะ+กฎหมาย

9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้นำที่ดีจะต้องๆ ไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล ความสงบเสงี่ยมจะทำให้ลูกน้องมีความนับถือและให้ความร่วมมือเสมอ

สรุปต้องเป็น Leadership + Empowerment +Motivator = The Builder: ผู้สร้าง ผู้วางรากฐาน +The Conceiver: ผู้คิดค้น+The Connector: ผู้ประสาน+The Creator: ผู้ประดิษฐ์ +The Discoverer: ผูค้นพบ+The Processor: ผู้ดำเนินการ+The Transformer: ผู้เปลี่ยนแปลง+The Altruist: ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง+The Healer: ผู้รักษา+The Teacher: ผู้สอน/ถ่ายทอด

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel.081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่อง ประธานาธิบดี มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำอิหร่าน ที่ได้เข้ารับตำแหน่งสมัยที่ 2 ในวาระ 4 ปี 

การวิเคราะห์ ทางที่ไม่ดี”...แต่ มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด ควร ทำดี ดังนี้

มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด

1.จิตใจที่ชอบใช้อำนาจ (Need for power)

2. เป็นผู้ที่สร้างเกมรุก (Proactive) เพื่อให้คนอื่นที่ร่วมงานต้องทำตาม (Reactive)

3. คิดว่าเป็นโอกาสของตนที่จะได้ใช้อำนาจที่ติดมากับตำแหน่งที่ได้รับจากการเลือกตั้ง(โกงหรือไม่....ไม่อาจวิเคราะห์ได้)

4. เป็นการตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยาส่วนบุคคล = มาห์มูด อาห์มาดิเนจัด

5. ผลต่อพฤติกรรม(Behavior) และการใช้ แบบ การเป็นผู้นำ (Leadership Style) ของมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด ในลักษณะการ ใช้อำนาจกดขี่ + การโกงการเลือกตั้ง + ใช้แก๊สพริกไทย +  ตำรวจปราบจลาจล + กำลังติดอาวุธ + ใช้อำนาจ + อำนาจรุนแรง + ความรุนแรงต่อประชาชนที่ต่อต้าน +โหดร้ายม๊าก..มาก + บ้าอำนาจ + ความกระหายอำนาจ + โลภ + ไม่อิ่มอำนาจ + อำนาจมีพลังมากนำมารวมกับความบ้าคลั่ง+ ไม่รู้จักพอ...ไม่คิดจะหยุด + เห็นแก่ตัวเอง

6. ส่งผลกระทบซึ่งมักจะเป็นทางลบต่อ ภาพลักษณ์ ของประเทศชาติ + ประชาชน + สังคมประเทศอิหร่าน

7. มีพฤติกรรมของผู้นำ แบบอัตตนิยม (Autocratic) สร้างความทุกข์ใจให้คนส่วนใหญ่ + อำนาจที่อยู่เหนือคนทั้งประเทศ (No One)

8. ใช้ ตัณหา (ความยากเป็นใหญ่มีอำนาจ) มากกว่า ปัญญา

9. ใช้ความทุกข์ของคนส่วนใหญ่---> มาสร้างความสุขให้ ตนเอง + พรรคพวก + ทำได้ทุกสิ่งที่ตนปรารถนา (กระหาย...อยากได้อำนาจ) + ความไม่พอ

 

การแก้ไข ผู้นำที่ไม่ดี

1. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต (Fairness and Honesty) ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือ(Tools)ในการวินิจฉัยสั่งการหรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

2. มีความตื่นตัว(Alertness) หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาดขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูมเป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่าง ๆได้อย่างถูกต้อง  ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control) และต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันโลกยุกค์สมัยใน ระบบ IT & Digital

3. มีความอดทน (Patience) ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง

4.การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations)    ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้

5.ความรู้ (Knowledge) การเป็นผู้นำความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ +การใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้อง เป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผู้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้น

6. ความริเริ่ม (Initiative)ความริเริ่ม คือความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้นหรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเองความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ ต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จ

7. มีความภักดี (Loyalty)การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีจำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีจะทำให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตราย

8. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness) ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญจะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ความเด็ดขาดเป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น ลักษณะของการ กล้าได้กล้าเสีย (ในสิ่งดีงาน+สิ่งถูกต้องทั้งหลักกฎธรรมะ+กฎหมาย

9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้นำที่ดีจะต้องๆ ไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล ความสงบเสงี่ยมจะทำให้ลูกน้องมีความนับถือและให้ความร่วมมือเสมอ

สรุปต้องเป็น Leadership + Empowerment +Motivator = The Builder: ผู้สร้าง ผู้วางรากฐาน +The Conceiver: ผู้คิดค้น+The Connector: ผู้ประสาน+The Creator: ผู้ประดิษฐ์ +The Discoverer: ผูค้นพบ+The Processor: ผู้ดำเนินการ+The Transformer: ผู้เปลี่ยนแปลง+The Altruist: ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง+The Healer: ผู้รักษา+The Teacher: ผู้สอน/ถ่ายทอด หนูคิดว่าผู้นำที่เขียนคุณสมบัติมาเช่นนี้....น่าจะมีบ้าง....แต่หนูคิดว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราชาวไทย"ป็นผู้นำที่โลกทั้งโลกก็ หาใคร(ผู้ระดับโลก)เสมอเท่าเทียม "เป็นบุญ"ของหนู ครอบครัว ได้เกิดเป็น "ข้าราชการ" ได้ทำงานช่วยเหลือ "ประชาชน"ด้าน "สุขภาพ" ได้ทำความดี ความงาม เท่าที่วิชาชีพจะทำได้ "จะทำให้ดีที่สุด"ค่ะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี

Tel. 081-9435033

บรรยากาศการไปเรียน "นอกสถานที่" Environmen Capital

 

สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดความสนุกในการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

Environment------>ทำให้เกิด "การตื่นตัว + ตื่นเต้น + มีชีวิตชีวา + แปลกใหม่....ที่สำคัญที่สุดคือ มีความสุข ..มากม๊ากคะ" เข้าใจแล้วคะว่า...ทำไม่ถึงเป็น "ทุน" "ที่ท่าน ศ. ดร. จีระ" ถึงให้ความสำคัญอีก 1 ทุนที่มีในทฤษฎี8K+5K+4L+2R+4E 

    หนูและเพื่อน ๆ+น้อง ๆในทีมงานของ SSRU  "ไม่มีวันลืม" ภาพเหล่านี้ใน "ใจ" ของทุก ๆๆคน เพราะสิ่งเหล่านี้คือ ร้อยยิ้ม + ความสุขกาย + สุขใจ + สนุกมาก = การเรียนรู้เป็นทีม...เกิดพลังจริง ๆๆ(Synergy)นะคะ 

หนูขอ "กราบขอบพระคุณ" ท่านอาจารย์มากที่ท่าน กรุณาคิด สิ่งดีงานเช่นนี้ นี้คือ Creativity Idea สุดยอดจริง ๆๆ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

การเดินทางที่เกิด "Team Builling +Teamwork"

บรรยากาศการไปเรียน "นอกสถานที่" Environmen Capital ทฤษฏี 4 L + Competency + Attitudeทางบวก+ Knowledge + Management Skill +Technical skill+ attibute + Conceptual Thining + Ability to Learn + Analytical Thinking + Human Relation + Human Resource Deveiopment Knowledge + Information System Knowledge + Research Knowledge

 

สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดความสนุกในการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

Environment------>ทำให้เกิด "การตื่นตัว + ตื่นเต้น + มีชีวิตชีวา + แปลกใหม่....ที่สำคัญที่สุด คือ มีความสุข ..มากม๊ากคะ" เข้าใจแล้วคะว่า...ทำไม่ถึงเป็น "ทุน" "ที่ท่าน ศ. ดร. จีระ" ถึงให้ความสำคัญอีก 1 ทุนที่มีในทฤษฎี ทั้งหลายเช่น8K+5K+4L+2R+4E 

    หนูและเพื่อน ๆ + น้อง ๆในทีมงานของ SSRU  "ไม่มีวันลืม" ภาพเหล่านี้ "ในใจ" ของทุก ๆ ๆ คน เพราะสิ่งเหล่านี้คือ รอยยิ้ม + ความสุขกาย + สุขใจ + สนุกมาก = การเรียนรู้เป็นทีม...เกิดพลังจริง ๆๆ  (Synergy)นะคะ 

หนูสมศรี นวรัตน์ "ขอกราบขอบพระคุณ" ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ  ม็ากมากที่ ท่านกรุณา คิด  Projcet ที่เป็น สิ่งดีงานที่จะอยู่ใน "หัว +ใจ" ของพวกชาว SSRU ตลอดไป เช่นนี้ นี้คือ Creativity Idea สุดยอดจริง ๆๆ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel.081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) วันนี้หนูขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์ในเรื่องอุปสรรคต่อ “องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO)

1. สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ   (I’m my position)

2. สมาชิก รู้ว่าปัญหา ขององค์การอยู่ที่ใด แต่ไม่ รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร?   (The enemy is out there)

3. ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้ แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง  (The Illustration of taking change)

4.  ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์ มากเกินไป  (A fixation on events)

5.   ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์ เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความ แตกต่าง ของอดีตกับปัจจุบัน  (The delusion of  learning  from  Experience)

6.  มีผู้บริหารที่ดี แต่ไม่ได้สืบทอด  ความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป (The myth of management team)

7. ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลง ที่ค่อยเป็นค่อยไป  (The boiled frog syndrome

            ดังนั้นหนูคิดว่า สิ่งเหล่านี้ ผู้บริหาร จำเป็นต้องรู้  ในโลกที่ เปลี่ยนแปลงเร็วม๊าก...มาก (Change) หรือ โลกาภิวัตน์  (Globalization )

 

สมศรี  นวรัตน์  รพ. บ้านลาด  จ. เพชรบุรี Tel. 081- 9435033

กราบขอบพระคุณ "ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์" อย่างสูงสุด+มากที่สุดที่ทำให้ "มีวันดี ๆๆเช่นนี้เกิดขึ้น" +  ประสบการณ์ (Expiries) เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ แต่ต้องมี “ผู้สร้างคน/นักสร้างคน = Innovator

งส์ลเรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

    วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์)   คิดว่าบรรยากาศการไปเรียน "นอกสถานที่"  Environment Capital   ทฤษฏี 4 L + Competency + Attitude  ทางบวก+ Knowledge  + Management Skill + Technical skill +  Attribute + Conceptual Thinking + Ability to Learn + Analytical Thinking + Human Relation +  Human Resource Development Knowledge + Information System Knowledge +  Research Knowledge  สิ่งเหล่านี้สร้างได้ “Team Learning”

       เกิดจาก การเรียนตลอดชีวิต ของทุนมนุษย์" LO  + Leadership  + ทฤษฎี 3 วงกลม ( Context + Competency  + Motivation )  + ทฤษฎี 4 E  (Exampling  + Experience  + Environment + Evaluation)  เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization

 

    ขอบพระคุณที่ เกิด "สิ่งดี ๆๆ" สถานที่ดี ๆๆ ทำให้ "การเรียนรู้ที่ ดี ๆๆ" มีวามสุข ขอบพระคุณท่านอาจารย์คะ ที่  "เกิดสิ่งดี ๆๆ" สถานที่ดี ๆๆ ทำให้ "การเรียนรู้ที่ ดี ๆๆ" มีความสุข Happiness & Happiness ทุก ๆ คนนะคะ

 

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี Tel. 081- 9435033

 

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

    วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) คิดว่า "บรรยากาศการไปเรียนรู้" "นอกสถานที่"  Environment Capital   + ทฤษฏี 4 L + Competency  + Attitude  ทางบวก + Knowledge  + Management Skill  + Technical skill +  Attribute + Conceptual Thinking + Ability to Learn + Analytical Thinking + Human Relation +  Human Resource Development Knowledge + Information System Knowledge +  Research Knowledge  สิ่งเหล่านี้สร้างได้ “Team Learning”

       เกิดจาก การเรียนตลอดชีวิต ของทุนมนุษย์" LO  + Leadership  +  ทฤษฎี 3 วงกลม ( Context + Competency  + Motivation )  + ทฤษฎี 4 E  (Exampling  + Experience  + Environment + Evaluation)  เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์นะคะ ที่ทำให้  "เกิดสิ่งดี ๆๆ"  สถานที่ดี ๆๆ ทำให้ "การเรียนรู้ที่ ดี ๆๆ" มีความสุข Happiness & Happiness ทุก ๆ คนเลย นะคะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี Tel. 081- 9435033

 

 

 

9 ผู้นำโลกที่ผมชื่นชอบ

รียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ประวัติและผลงาน

 

                โมฮันดาส์ คานธี เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียสมัยใหม่ เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ช่วยให้อินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ เขายังเป็นผู้นำทางวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ เขาพูดต่อต้านสภาพความไม่ยุติธรรมทางสังคมหลายอย่าง เขาต่อต้านการใช้ความรุนแรง เขาเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ผิดในการทำร้ายสิ่งมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงจะต้องได้มาด้วยแนวทางสันติ เขาถูกขนานนามว่า มหาตมะ ซึ่งแปลว่า “สัญญาณที่ยิ่งใหญ่” คานธี เกิดในประเทศอินเดียเมื่อปี 1869 บิดาของเขาเป็นรัฐมนตรีของหลายรัฐในอินเดีย เมื่ออายุได้ 18 ปี คานธีได้เดินทางไปอังกฤษเพื่อศึกษาวิชากฎหมาย เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้กลับไปยังอินเดียและได้เริ่มรณรงค์เพื่ออิสรภาพของอินเดียในปี 1918 คานธี นำการประท้วงด้วยสันติวิธี ด้วยการอดอาหารหรือปฏิเสธอาหาร โดยถือเป็นแนวทางหนึ่งในการต่อสู้ในที่สุด อินเดียก็ได้รับอิสรภาพในปี 1947 ประเทศได้ถูกแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดีย และปากีสถาน ในปี 1948 คานธีถูกฆ่าโดยเด็กหนุ่มชาวอินเดียคนหนึ่ง

 

 

 

 

ประวัติและผลงาน

                จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ (John F. Kennedy) เกิดเมื่อปี 1917 ในบรุกคลิน แมสซาจูเซทส์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1940 และได้แสดงความเป็นวีรบุรุษโดยเป็นผู้บังคับการเรือตอร์ปิโดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากสงครามเคนเนดี้ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจากมลรัฐแมสซาจูเซทส์ เขาได้รับชัยชนะเหนือริชาร์ด นิกสัน เล็กน้อยในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1960 และเป็นชาวแคธอลิคคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

 

                วิกฤติการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดของรัฐบาลเคนเนดี้ เกิดขึ้นในเดือนตุลาคมปี 1962 เคนเนดี้ยืนยันให้สหภาพโซเวียตถอนอาวุธนิวเคลียร์ออกจากประเทศคิวบา ในที่สุดสหภาพโซเวียตก็ได้ปฏิบัติตาม การถูกฆาตรกรรมของเขาทำให้ชาวอเมริกันและชาวโลกตะลึงและเศร้าโศกเสียใจ เขาถูกยิงถึงแก่ชีวิตในเมืองดัลลาส โดย ลี ฮาร์เวย์ ออสวอลด์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปี 1963

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

ประวัติและผลงาน

 

                เจงกิส ข่าน เกิดในปี ค.ศ. 1155 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1227 เป็นนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขาเป็นผู้นำของเผ่ามองโกลเล็ก ๆ ในเอเชียและได้เป็นผู้ปกครองอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ อาณาจักรดังกล่าวประกอบด้วยอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ของรัสเซีย จีน และตะวันออกไกล มองโกลเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนที่ราบของเอเชียกลาง เจงกิส ข่าน เป็นผู้นำของชนเผ่านี้ เมื่ออายุ 13 ปี เขาได้เริ่มปราบเผ่ามองโกลอื่น ๆ จากจีน แล้วรวบรวมชาวมองโกลทั้งหมดเป็นกองทัพที่ทรงพลัง ชื่อจริง ๆ ของเขาคือ เตมูจิน แต่ในปี 1206 เขาได้รับการขนานนามว่า เจงกิส ข่าน ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ปกครองนิรันดร” เจงกีส ข่าน เป็นผู้นำทางทหารที่ยิ่งใหญ่ เขาวางแผนที่จะปกครองโลกทั้งโลก และได้รวบรวมชาวมองโกลสู่ศึกแบบทหารจริง ๆ กองทัพมองโกลของเข้าใช้ธนูเป็นอาวุธ ซึ่งสามารถยิงได้ไกลถึง 183 เมตร หลังจากเขาสิ้นชีวิต ลูกชายของเขาทั้งสี่ก็ได้ปกครองอาณาจักรของเขาสืบต่อมา

9 ผู้นำโลกที่ผมชื่นชอบ

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ประวัติและผลงาน

 

                เจงกิส ข่าน เกิดในปี ค.ศ. 1155 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1227 เป็นนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขาเป็นผู้นำของเผ่ามองโกลเล็ก ๆ ในเอเชียและได้เป็นผู้ปกครองอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ อาณาจักรดังกล่าวประกอบด้วยอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ของรัสเซีย จีน และตะวันออกไกล มองโกลเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนที่ราบของเอเชียกลาง เจงกิส ข่าน เป็นผู้นำของชนเผ่านี้ เมื่ออายุ 13 ปี เขาได้เริ่มปราบเผ่ามองโกลอื่น ๆ จากจีน แล้วรวบรวมชาวมองโกลทั้งหมดเป็นกองทัพที่ทรงพลัง ชื่อจริง ๆ ของเขาคือ เตมูจิน แต่ในปี 1206 เขาได้รับการขนานนามว่า เจงกิส ข่าน ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ปกครองนิรันดร” เจงกีส ข่าน เป็นผู้นำทางทหารที่ยิ่งใหญ่ เขาวางแผนที่จะปกครองโลกทั้งโลก และได้รวบรวมชาวมองโกลสู่ศึกแบบทหารจริง ๆ กองทัพมองโกลของเข้าใช้ธนูเป็นอาวุธ ซึ่งสามารถยิงได้ไกลถึง 183 เมตร หลังจากเขาสิ้นชีวิต ลูกชายของเขาทั้งสี่ก็ได้ปกครองอาณาจักรของเขาสืบต่อมา

ประวัติและผลงาน 

                 โมฮันดาส์ คานธี เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียสมัยใหม่ เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ช่วยให้อินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ เขายังเป็นผู้นำทางวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ เขาพูดต่อต้านสภาพความไม่ยุติธรรมทางสังคมหลายอย่าง เขาต่อต้านการใช้ความรุนแรง เขาเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ผิดในการทำร้ายสิ่งมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงจะต้องได้มาด้วยแนวทางสันติ เขาถูกขนานนามว่า มหาตมะ ซึ่งแปลว่า “สัญญาณที่ยิ่งใหญ่” คานธี เกิดในประเทศอินเดียเมื่อปี 1869 บิดาของเขาเป็นรัฐมนตรีของหลายรัฐในอินเดีย เมื่ออายุได้ 18 ปี คานธีได้เดินทางไปอังกฤษเพื่อศึกษาวิชากฎหมาย เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้กลับไปยังอินเดียและได้เริ่มรณรงค์เพื่ออิสรภาพของอินเดียในปี 1918 คานธี นำการประท้วงด้วยสันติวิธี ด้วยการอดอาหารหรือปฏิเสธอาหาร โดยถือเป็นแนวทางหนึ่งในการต่อสู้ในที่สุด อินเดียก็ได้รับอิสรภาพในปี 1947 ประเทศได้ถูกแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดีย และปากีสถาน ในปี 1948 คานธีถูกฆ่าโดยเด็กหนุ่มชาวอินเดียคนหนึ่ง

ประวัติและผลงาน

                จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ (John F. Kennedy) เกิดเมื่อปี 1917 ในบรุกคลิน แมสซาจูเซทส์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1940 และได้แสดงความเป็นวีรบุรุษโดยเป็นผู้บังคับการเรือตอร์ปิโดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากสงครามเคนเนดี้ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจากมลรัฐแมสซาจูเซทส์ เขาได้รับชัยชนะเหนือริชาร์ด นิกสัน เล็กน้อยในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1960 และเป็นชาวแคธอลิคคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

 

                วิกฤติการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดของรัฐบาลเคนเนดี้ เกิดขึ้นในเดือนตุลาคมปี 1962 เคนเนดี้ยืนยันให้สหภาพโซเวียตถอนอาวุธนิวเคลียร์ออกจากประเทศคิวบา ในที่สุดสหภาพโซเวียตก็ได้ปฏิบัติตาม การถูกฆาตรกรรมของเขาทำให้ชาวอเมริกันและชาวโลกตะลึงและเศร้าโศกเสียใจ เขาถูกยิงถึงแก่ชีวิตในเมืองดัลลาส โดย ลี ฮาร์เวย์ ออสวอลด์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปี 1963

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

 

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ประวัติและผลงาน

                เหมาเจ๋อตุง เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2436 ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2519 ที่เมือง Shaoshancong, in Xiangtan, Hunan Province ท่านประธานเหมาเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้อย่างทรหด จนสามารถขยายตัวออกไปได้อย่างกว้างขวาง ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน พัฒนาขยายตัว สร้างความแข็งแกร่งมั่นคงให้กับการต่อสู้ของชนชั้นและก้าวไปตามเส้นทางที่ทุกข์ทรมาณ จนบรรลุสู่ความเป็นพรรคเนื้อแท้ของลัทธิมาค์ค-เลนิน ที่ยิ่งใหญ่และอลังการ ดังนั้นจึงได้รับการเรียกขานว่า “สถาปนิกระดับปรมาจารย์ในการสร้างประเทศให้ทันสมัย”

                นอกจากนั้นท่านประธานเหมาะเจ๋อตุงยังเป็นกวีนิพนธ์ผู้ยิ่งใหญ่ ผลงานที่ท่านรจนาขึ้น ได้รับความนิยมจากผู้ที่รู้หนังสือโดยถ้วนทั่วทุกตัวคน

                ท่านประธานเหมาเป็นบุตรชายของชาวนายากไร้ เมื่ออายุ 8 ขวบได้รับการศึกษาจากโรงเรียนประถมในหมูบ้าน และได้รับการสอนตามหลักของลัทธิขงจื้อยุคโบราณ

                ต่อมาได้รับการศึกษาตามระบบที่โรงเรียนตามรูปแบบที่ฉางชา อันเป็นโรงเรียนสมัยใหม่แห่งแรกในมณฑลหูหนาน และจบการศึกษาที่โรงเรียนนี้เมื่อปี พ.ศ. 2461

                จากนั้นก็เข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง อันเป็นสถานศึกษาชั้นนำของจีน ระหว่างนั้นก็ทำงานในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยไปด้วย ในหน้าที่ผู้ช่วยบรรณารักษ์

                ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นผู้นำศึกษารณรงค์ต่อต้านพวกขุนศึกของมณฑลหูหนาน ในฐานะที่เป็นตัวแทนจากมณฑลหูหนาน เหมาเจ๋อตุง ได้รับสิทธิร่วมกับตัวแทนอื่น ๆ อีก 13 คนให้เข้าร่วมประชุมในสภาแห่งชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ 2464 ซึ่งจัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ้

                การประชุมครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงการทำสงครามปฎิวัติครั้งแรกระหว่างปี 2467-2470

                ระหว่างเวลานั้นนอกจากทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “โพลิติคคอล วีคลี่” ที่กวางเจาให้แก่พรรคก๊กมินตั๋งหรือพรรคชาตินิยมแล้ว เหมาเจ๋อตุงยังทำงานให้กับสถาบันอบรมขบวนการชาวนาอีกด้วย โดยทำหน้าที่ประธานหลักสูตรการฝึกอบรมระดับ 6 ด้วย

                และในปี พ.ศ. 2467 เหมาเจ๋อตุงเป็นแกนนำในการหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน               

               เหมาเจ๋อตุงค่อย ๆ เพาะเชื้อการปฏิวัติให้แพร่กระจายออกไปเรื่อย ๆ ด้วยการเขียนหนังสือเรื่อง “พลังปฎิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืน”

                จากนั้นก็นำประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาล

                ในปี พ.ศ. 2471 มีการก่อตั้งกองทัพแดงกรรมกรและชาวนาขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการก่อตั้งฐานงานปฏิวัติเขตขึ้นเป็นจุดแรกที เทือกเขา จิ้งกังชาน และเริ่มนำวิธีการทำสงครามปฏิวัติแนวใหม่มาใช้ ที่เรียกว่า “ป่าล้อมเมือง” ด้วยกลยุทธดังกล่าวทำให้เหมาเจ๋อตุงสามารถเอาชนะเจียงไคเช็คได้สำเร็จ และสามารถกุมอำนวจรัฐได้โดยเด็ดขาด

                เหมาเจ๋อตุงและสหายจูเต๋อ ได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่งในการพัฒนากลยุทธสงครามกองโจรจากฐานการปฎิบัติงานเขตที่เทือกเขาจิ้งกังชาน

                ในเดือนพฤศจิกายน 2474 เหมาเจ๋อตุงประกาศตั้งสาธารณรัฐจีนโซเวียดขึ้นบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลชานสีติดต่อกับตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลฟูเจี๊ยน โดยมีเหมาเจ๋อตุงเป็นประธาน

                เหมาเจ๋อตุงนำทัพ เข้าทำลายการปิดล้อมเพื่อกวาดล้างของฝ่ายรัฐบาล 4 ครั้ง เพื่อถอนตัวออกจากวงล้อม

                ในช่วงที่อพยพทางไกลที่เรียกว่า “ลองมาร์ช” ที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2477 นั้นเหมาเจ๋อตุงได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพแดงคืน และสามารถนำกองทัพแดงรอดหนีรอดจากการกวาดล้างไปได้ และสามารถนำพลมาถึงภาคเหนือของมณฑลชานสีได้สำเร็จในฤดูหนาวปี 2478

                ในช่วงปี พ.ศ. 2479 ถึง 2483 เหมาเจ๋อตุงทุ่มเทเวลาให้กับการทบทวนเกตุการณ์ในอดีต และเขียนหนังสือนอกจากนั้นยังศึกษา ตำรับตำราทางวิชาการ และด้านปรัชญาของโซเวียตฉบับแปลเป็นภาษาจีน แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาดัดแปลง เขียนขึ้นใหม่ตามแนวทางของตนเอง นอกจากนั้นยังเขียนหนังสือขึ้นเอง โดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของตนเองเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล

                งานนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงได้แก่เรื่อง “ปัญหาในการทำสงครามปฏิวัติของจีน” ที่เขียนขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2479 เป็นการรวบรวมบทเรียนที่ได้รับจากการสู้รบของกองทัพแดงบรรยายถึงวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

            อีกเล่มหนึ่งได้แก่เรื่องการขยายสงครามออกเป็นวงกว้างซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ซึ่งบรรยายถึงกลยุทธในการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น

                ในช่วงสงครามโลกเหมาเจ๋อตุง เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ และเป็นผู้บัญชาทหารที่มีความสามารถ สามารถเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นได้ และสามารถกวาดล้างกองทัพกำลังพล 8 ล้านคนจนหมดสิ้นไปจากแผ่นดินจีนได้แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางอาวุธอัฃนทันสมัยจากสหรัฐก็ตาม

                และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุงก็สามารถก้าวขึ้นสู่ยกพื้นสูงที่จตุรัสเทียนอันเหมินกลางกรุงปักกิ่ง ในฐานะประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในฐานะ ประธานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และในฐานะประธานของตำแหน่งสูงสุดทุกตำแหน่งที่มีในประเทศจีนได้สำเร็จ และประกาศให้โลกรู้ถึงการก่อนตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น

           ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2492 เหมาเจ๋อตุง ก็เดินทางไปยังมอสโคว์ เพื่อพบสตาลินผู้นำโซเวียดรัสเซีย มีการลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน รวมทั้งความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากโซเวียตในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 เหมาเจ๋อตุง ได้แสดงสุนทรพจน์ครั้งสำคัญ เร่งรัดให้มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้น

            และในช่วงฤดูหนาวปี พ.ศ. 2498 คาบเกี่ยวกับปี พ.ศ. 2499 ได้เขียนหนังสือขึ้นสามเล่มรวบรวมเรื่องราวของการกระเพื่อมขึ้นของลัทธิสังคมนิยม ใช้ชนบทจีนหนังสือดังกล่าวจะฉายภาพให้เห็นคุณประโยชน์ของการจัดตั้งสังคมร่วมพลังอย่างรวดเร็ว

                ในฤดูใบไม้ผลิปี 2499 เหมาเจ๋อตุงประกาศนโยบาย

                ซึ่งหมายถึงการให้อิสระภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง และแสดงความชื่นชมต่อปัญญาชนและผู้ชำนัญพิเศษว่าเป็นกลุ่มคนที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ

                เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้แสดงสุนทรพจน์เรื่อง “วิธีการที่ถูกต้องในการโต้แย้งในความเห็นของประชาชน” และในฤดูร้อนปี พ.ศ.2501 เหมาเจ๋อตุงก็สามารถตั้งคอมมูนขึ้นทั่วดินแดนอันกว้างใหญ่ของจีนได้สำเร็จ

                เหมาเจ๋อตุงรับตำแหน่งประธานสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจนถึงปี พ.ศ. 2512 ก็สละตำแหน่งให้แก่ หลิวส้าว ฉี ในปี พ.ศ. 2505 เหมาเจ๋อตุง แสดงสุนพรพจน์ต่อประชาชนจีนเตือนไม่ให้ลืมเรื่องราวการต่อสู้ระหว่างชนชั้น

                ต่อมาในปีฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2506 เหมาเจ๋อตุงได้เริ่มการรณรงค์ เรื่องการศึกษาระบอบสังคมนิยม เพื่อให้ชาวจีนยึดมั่นในหลักการไม่ให้มี “การเปลี่ยนสี” หรือกลายเป็น “นักลัทธิแก้” (Revisionist) เหมือนกับสหภาพโซเวียต

                การปฎิวัติวัฒธรรมที่เกิดขึ้นในจีนในช่วงนี้

                การปฏิวัติวัฒนธรรมนั้นแม้ว่าต้องการทำตามเจตนารมณ์ของเหมาเจ๋อตุงแต่ก็มีการตีความผิดในทางปฏิบัติซึ่งเจตนารมณ์ที่แท้จริงนั้นเพียงต้องการที่กำจัดกลุ่มนายทุนและกลุ่มลัทธิแก้ภายในพรรคเท่านั้น แต่ก็บานปลายกลายเป็นเหตุจลาจลทั่วประเทศและสร้างความหายนะทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางมีการต่อสู้แย่งชิงอำนวจกันในกลุ่ม “เร็ดการ์ด” และกลุ่มหัวรุนแรงด้วยกัน ทำให้เกิดความไม่สงบขึ้น

                ต่อมาเหมาเจ๋อตุงได้มีบัญชาให้กองทัพปลดแอกประชาชนเข้ารักษาความสงบภายในชาติและในปี พ.ศ. 2514 ประธานเหมาได้ระแคระคายว่าหลิน เปียวกับพวก เตรียมก่อการปฏิวัติซ้อน ด้วยการลอมสังหารตนจึงทำการกวาดล้าง และหลินเปียว หลบหนีไปโซเวียตทางเครื่องบิน จนเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตระหว่างทาง

                ในบั้นปลายชีวิตท่านประธานเหมาได้เปิดประตูรับการสถาปนาความสัมพันธ์ฉันทปกติกับสหรัฐ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2515 ก็ได้พบกับประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันที่เดินทางมาเยือนจีน ที่

              ปักกิ่ง นับจากนั้นเหมาเจ๋อตุงก็ได้ต้อนรับผู้นำชาติต่าง ๆ ทั่วโลกที่เดินทางมาเยือนไม่ขาดสาย ที่สำคัญได้แก่

                นายทานากะ         คาคูเออิ  นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

                ประธานาธิบดี ปอมปิดูแห่งฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีอังกฤษ

                ประธานาธิบดีสเตราส์แห่งเยอรมันนี

                ประธานาธิบดีมูบารักแห่งอียิปต์เมื่อ ครั้งที่ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี

                นายอาลีบุตโตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน เป็นต้น

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ประวัติและผลงาน

                เจียง ไค เชค หรือ อีกชื่อหนึ่ง เจียง ชุง เช็ง เกิด ปี พ.ศ. 2430  เสียชีวิต พ.ศ 2538 สำเร็จวิชาทหารในกองทัพญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐไต้หวัน 

 

                ต่อมาปี 2460 ได้มีส่วนร่วม ดร.ซุน ยัดเซ็น จัดตั้งรัฐบาลที่กวางโจพอปี 2467 ได้รับการแต่ตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาโรงเรียนทหารแวมเปาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ และมีบทบาทโดดเด่นในพรรคก๊กมินตั๋น หลังจากที่ ดร.ซุนยัดเซ็นเสียชีวิตในปี 2468

                ปี 2469 เจียงจัดตั้งกองทหารอาสาภาคเหนือ จนสามารถนำกองทัพพิชิตชัยชนะ ตามเมืองต่างๆไม่ว่าจะเป็นหางโจ เซี่ยงไฮ้และนานจิงทั้งนี้เจียงสานต่อแนวทางของ ดร.ซุน ยัดเซ็นโดนร่วมมือกับพรรคจีนคอมมิวนิสต์และยอมรับความช่วยเหลือของรัสเซีย

                จนถึง 2470 จึงเกิดจุดแตกหักเมื่อเจียงประกาศสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋น และพรรคจีนคอมมิวนิสต์ กล่าวคือก่อนสื้นสุดปี 2470 เจียงได้เป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋น

                และพอถึง 2471 เจียงก้อก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลชาตินิยมที่มณฑลนานจิงและสภาปนาตนเองเป็นจอมทัพของกองกำลังชาตินิยมทั่วประเทศ แต่ในปี 2479 เจียงถูกนายพลจัง เสียเหลียงจับกุมทีเมืองซีอาน ข้อหาต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น

                หลังจากกองทัพญี่ปุ่นยึดนานจิงและฮันโจได้สำเร็จ เจียงต้องย้ายกองทัพ ไปตั้งมั่นที่เมืองจุงจิงและเมื่อสงครามจีน-ญี่ปุ่นปะทุขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เจียงมีชื่อเสียงต่อประชาคมโลก โดยเจียงและภรรยามาดามซ่ง เหมย ซิง คือสัญลักษณ์ของชาวจีนในด้านสงคราม

                หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเจียงได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของจีน ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2491 แค่ต่อมาก็สละตำแหน่ง

                ต่อมาปี 2493 เจียงได้นำบริวารอพยพไปตั้งรัฐบาลใหม่ที่เกาะไต้หวันพร้อมกับการสิ้นสุดการช่วยเหลือของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เจียงพยายามที่จะกลับคืนสู่อำนาจในจีนแผ่นนดินใหญ่โดยร่วมมือกับกองโจรชาตินิยมอย่างสม่ำเสมอ เจียงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเกาะไต้หวันจนถึง 2538 ก็ถึงแก่อสัญกรรม

                ปี พ.ศ. 2454 มีบทบาทเข้าร่วมปฏิวัติราชวงศืแมนจู และเจียงมีชื่อเสียงในเหตุการณ์พยายามโค่นล้มรัฐบาลหยวนซื่อข่ายในช่วงปี 2456-2459

ประวัติและผลงาน

                เนลสัน  แมนเดลา เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ในหมู่บ้านแคว้นทรานสไค กำพร้าพ่อตั้งแต่วัยเยาว์ จบการศึกษาจากฟอร์ด แฮร์ คอลลีจ ได้รับปริญญาทางอักษรศาสตร์

                แมนเดลาอุทิศชีวิตการต่อสู้เพื่อสิทธิของคนผิวดำตั้งแต่วัยหนุ่ม ขณะอายุได้ 25 ปี พ.ศ. 2186 ได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การแห่งชาติอัฟริกันหรือเอเอ็นซี ซึ่งก่อตั้ง พ.ศ. 2455 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพชีวิตทั้งทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของคนผิวดำในอัฟริกาใต้ เมื่อ พ.ศ. 2491 พรรคชาติของคนผิวดำมีชัยการเลือกตั้งได้ออกกฎหมายแบ่งแยกผิว คนผิวดำถูกจำกัดอาชีพ ได้ค่าแรงต่ำกว่าคนผิวขาว แมนเดลามีบทบาทในการต่อสู้ในฐานะทนายความเขาถูกจับครั้งแรกในข้อหากระทำความผิดตามกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2499 เขาและเพื่อนๆถูกขังไม่นานได้รับการปลดปล่อย เพราะไม่ปรากฎหลักฐานการกระทำ แต่ถูกจับครั้งสอง พ.ศ.2505 ข้อหายุยงให้มีการสไตรก์และเดินทางออกนอกประเทศไม่มีพาสปอร์ต เป็นเวลาสองปี ต่อมาเจ้าหน้าที่รัฐบาลพบหลักฐานเอกสารที่ผู้นำองค์การแห่งชาติอัฟริกันเตรียมต่อสู้กับรัฐบาลด้วยกำลังอาวุธ ศาลพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2507 ระหว่างอยู่ในคุกเขาได้แอบเขียนอัตชีวประวัติ

                วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 แมนเดลาได้รับอิสรภาพ และประธานาธิบดีเฟรเดอริค เดอ เคลิร์ก ประกาศยกเลิกกฎหมายแบ่งแยกผิวในปี พ.ศ.2536 และเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ ผลการเลือกระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน พ.ศ.2537 แมนเดลาได้รับเสียงข้างมากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งอัฟริกาใต้หลังการเดินทางอันยาวนานเด็กเลี้ยงทุ่สัตว์ทุ่งหญ้าทรานสไค

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

ประวัติและผลงาน

                มากาเรต   แท็ตเชอร์ เกิดวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ.1925 ตำบลนอร์ท พาเรด (North Parade) เมืองแกรมแธม (Grantham) แคว้นลิงคอล์นเชียร์ ห่างกรุงลอนดอนไปทางเหนือประมาณ 100

                เรียนจบระดับมัธยมเมื่ออายุ 18 ปี จึงเข้าเรียนต่อในระดับวิทยาลัยที่ซอมเมอร์วิลล์ คอลเลจ (Somerville colledge) มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ซึ่งถือว่าเป็นผู้หญิงคนแรกของเมืองแกรนด์แธมที่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นสูงของประเทศ

                เมื่อหลาปีก่อน ผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่งได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งเครือจักรภพ 1 ในมหาชาติอำนาจอันดันต้นๆของโลกอย่างสง่างามผ่าเผย และเต็มความภาคภูมิ ชื่อเสียงของเธอกึกก้องกระจายไปทั่วโลก ในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษและยุโรป ผู้ครองตำแหน่งอยุ่เป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่านายกรัฐมนตรีทุกคนในรอบ 100 ปี และหากเธอไม่ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมืองที่เธอสังกัดอยู่ จนทำให้เธอต้องลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีไปด้วย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1990 ก็ไม่แน่นักว่า ผู้นำประเทศเครือจักรภพอังกฤษในวันนี้อาจจะยังคงเป็นผู้หญิงที่ชื่อว่า มากาเรต แท็ตเชอร์

                เล่ากันว่ามากาเรต แท็ตเชอร์บริหารงานด้วยความเฉียบขาดมาก การตัดสินใจของเธอค่อนข้างแข็งกร้าวจริงจังและไม่เกรงกลัวผู้ใด คณะรัฐบาลที่ร่วมงานกับมากาเรตต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เธอเป็นเผด็จการ หรือใช้การปกครองแบบอัตตาธิปไตยอย่างแท้จริง ในระหว่างที่มากาเรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีเสียงซุบซิบกันในหมู่นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ว่า เธอเจ้ายศเข้าอย่างยิ่งเสียกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธเสียอีกไม่ว่าจะมีเสียงบ่น ค่อนขอด นินทามากมายเพียงใดก็ตาม มากาเรตก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำงานในความคิดของเธอต่อไปอย่างไม่ไหวั่นไหว จนเป็นที่ยอมรับกันว่าเธอเป็นหญิงเหล็กที่บ้างานมากที่สุดคนหนึ่ง ความเฉลียวฉลาด แหลมคมในการแก้ปัญหาและบริหารประเทศทำให้มากาเรตได้รับสมญานามอีกอย่างหนึ่งว่า “นางสิงห์”

 

ประวัติและผลงาน

                ดร.มหาเธร์  โมฮัมหมัด เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2468 ที่อะลาสตาร์ รัฐเกดาห์ บิดาเป็นครู อพยพมาจากทางใต้ของอินเดีย สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งมลายู ซึ่งเมื่อก่อนตั้งอยู่สิงคโปร์ มหาเธร์ ร่วมก่อตั้งพรรคอัมโน หรือองค์การเอกภาพ มลายา แห่งชาติ พ.ศ. 2489 ขณะอายุ 19 ปี มลายาได้รับเอกราช พ.ศ. 2500 และกีดกันสิงคโปร์ไม่ให้ข้าร่วมด้วยเมื่อปี พ.ศ.2508 เหตุผลนักการเมืองมลายาหวาดระแวงความเข้มแข็งด้นเศรษฐกิจของชาวจีน

                อย่างไรก็ตาม แม้บริติชจะให้เอกราชแก่มลายาแต่นักการเมืองมาเลย์ยังต้องขอความร่วมมือจากพรรคการเมืองชาวจีนและอินเดียการเลือกตั้ง พ.ศ.2512 พรรคชาวจีนมีชัย เกิดการจลาจลนองเลือดมีผู้เสียชีวิตกว่า 300 คน

                กับเส้นทางอาชีพหลังจบแพทย์ พ.ศ. 2500 มหาเธร์เปิดคลีนิค พออายุ 39 ปี ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2507 สังกัดพรรคอัมโนแต่ต่อมาถูกขับออกจากพรรคเพราะโจมตีหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีคนแรกคือ ตวนอูอับดุลราห์มันว่า “โปร-จีน” และมหาเธร์ถูกตราหน้าเป็นคน “คลั่งชาติ”

                ถึงพ.ศ.2533 พรรคของเขาได้รับชัยชนะอีกครั้งเพราะผลงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจนั่นเอง มหาเธร์ได้รับมรดกที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแนวใหม่” ซึ่งเป็นนโยบายหลังการจลาจล พ.ศ.2512

            มหาเธร์แผนพัฒนาชาติขึ้นเรียกว่า “วิสัยทัศน์ 2020” นั่นคือในปี 2020 มาเลเซียต้องสมบูรณ์ไปด้วยวิทยาศาสตร์ไฮเทคที่ทันสมัย โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนไม่ว่า เชื้อชาติใดมีความเสมอภาคกันและมีความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เต็มที่

                พอถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2537 ได้เปิดทางหลวงยาว 848 กิโลเมตร และพ.ศ.2540 มีการสร้างอาคารบริษัทน้ำมันของรัฐคู่แฝดคือ แปร์โดนาสทาวเวอร์ซึ่งสูงที่สุดในโลกนอกจากนี้ยังสร้างอาคารที่ยาวที่สุดในโลกชื่อ “ไลเนียร์ซิตี้” และสร้างเมืองใหม่คือ “ปุตระชัย” อยู่ตอนใต้กัวลาลัมเปอร์เพื่อให้เป็นเมืองหลวงในอนาคต

                มีข้อสังเกตว่า เมื่อมหาธีร์กุมอำนาจแรกเริ่มมีคนมองเขาเป็นเสรีนิยม พฤติการณ์ชัดเจนคือได้ให้อิสรภาพแก่ผู้คนส่วนใหญ่ที่ถูกคุมขังด้วยกฎหมายที่ว่า ด้วยความมั่นคงภายในประเทศและให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน

                พ.ศ.2530 เขาสั่งจับกุมคนคุมขังศัตรูทางการเมืองถึง 104 คนตามกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายในมีทั้งนักวิชาการ นักการเมืองและนักกฎหมาย จากการตั้งต้นเป็นอิสระกระบวนการยุติธรรมอยู่ภายใต้สภาผู้แทนราษฎรผู้ถูกคุมขังรายหนึ่งกล่าวว่า “มาเลเซียไม่มีวันรื้อฟื้นคืนกลับไปเป็นอย่างเดิม นับแต่นั้นเป็นต้นมา”

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

ประวัติและผลงาน

                องค์ดาไล ลามะ ประสูติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม “ทุกวันนี้ธิเบต ดินแดนที่มืดมนภายใต้ม่านไม้ไผ่ ตกอยู่ในภาวะอันตราย ทั้งในด้าน วัฒนธรรมและความเป็นหนึ่งของชาติธิเบต ซึ่งกำลังถูกทำงายอย่างเป็นระบบ และถูกแทนที่โดยความเป็นจีน”

                คำกล่าวข้างต้นนี้ คือความเป็นจริงในปัจจุบัน ที่มีมา ตั้งแต่ปีค.ศ. 1949 ชาวทิเบตมากกว่า 1.2 ล้านคนหรือประมาณ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมดเสียชีวิต เนื่องจากการฆ่าด้วยเหตุหลทางการเมืองการถูกจองจำ การถูกทรมานและความอดอยาก ศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมของธิเบตมากกว่า 6,000 แห่ง ได้ถูกทำลายเอง

                องค์ดาไล ลามะ ถือเป็นผู้นำทั้งทางการเมือง ทางปัญญาและจิตใจของชาวธิเบตกว่า 6 ล้านคนถูกบังคับให้ลี้ภัยจากธิเบตในปี ค.ศ.1959 สู่ประเทศอินเดีย ชาวธิเบตประมาณ 85,000 คน ได้อพยพติดตามองค์ดาไล ลามะ ไปในขณะนั้นเข้าสู่อินเดีย เนปาลและภูฐาน

                43 ปี แห่งความดิ้นรน เพื่อประกาศอิสระภาพให้ธิเบต ขององค์ดาไล ลามะ ธิเบตถือเป็น ประเทศเอกราชไม่ขึ้นกับชาติใดๆ เป็นเวลายาวนานกว่า 2,000 ปี ก่อนที่จะมีการบุกรุกของจีนในปี ค.ศ.1959

                หลังจากการเข้าบุกรุกอาญาเขตของ ชาวธิเบต จีนได้เข้าต่อต้านและทำการยึดครอง ธิเบต เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1959 และนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ องค์ดาไล ลามะแลคณะบุคคลในรัฐบาลธิเบตได้หลบหนีออกไปจากประเทศ ติดตามไปด้วยประชาชนชาวธิเบตอีกราวๆ 85,000 คน

                องค์ดาไล ลามะและคณะผู้ติดตามได้เข้าแสวงหาที่หลบภัยในอินเดีย และในประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียง ในช่วงที่ผู้นำธิเบต รวมถึงประชาชนร่วมแสนคน อาศัยอยู่ต่างแดนนั้น รัฐบาลธิเบตเป็นที่รู้จักในการใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิไตยสมัยใหม่ กฏหมายใหม่ของชาวธิเบตพลัดถิ่นนี้ ได้ถูกปรับใช้เพื่อดูแลและปกครอง โดยองค์การบริหารของชาวธิเบตส่วนกลาง (ซึ่งเรียกว่ารัฐบาลพลัดถิ่น)

                รัฐบาลพลัดถิ่นที่นำโดย องค์ดาไล ลามะบริหารงานทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับชาวธิเบต และทำหน้าที่บูรณะความเป็นเอกราช และอิสระของชาวธิเบตทั้งมวล

                ฝ่ายบริหารส่วนกลางนี้นำโดย องค์ดาไล ลามะ ผู้ศักดิ์สิทธิ์และมีผู้ช่วยได้แก่ คณะรัฐมนตรี ซึ่งถูกเลือกจาก “ผู้แทนของกลุ่มสัมชชาประชาชนชาวธิเบตหรือ ATPD” กลุ่มนี้ได้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลของชาวธิเบตพลัดถิ่นและสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มนี้ได้ถูกเลือกโดยประชาชน

                ฝ่ายบริหารส่วนกลางประกอบด้วยกรม/กองต่างๆ คือ ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านสาธารณสุข ด้านการเงินและข้อมูลข่าวสาร และท้ายสุดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนอกเหนือไปจากกรม/กอง เหล่านี้แล้วยังมีฝ่ายตุลาการ ฝ่ายการตรวจเงินแผ่นดิน ฝ่ายบริหารสาธารณะ และฝ่ายจัดการเลือกตั้ง

                ทั้งหมดนี้ถุกจัดตั้งขึ้นเพื่อดุแลข้อกำหนดในวาระพิเศษต่างๆของกฎหมายฉบับนี้ สำหรับชาวธิเบตที่ต้องอาศัยอยู่นอกประเทศเหล่านี้ ถือว่ารัฐบาลพลัดถิ่นที่นำโดยองค์ดาไล ลามะ เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียวของชาวธิเบต

องค์ดาไล ลามะ  กับการสนับสนุนจากนานาประเทศ

                ณ ปัจจุบัน นานาประเทศต่างเริ่มให้ความสนใจในสถานการณ์ของธิเบตที่กำลังประสบอยู่ ทุกวันนี้มีกลุ่มสนับสนุนธิเบตประมาณ 300 กลุ่ม มากกว่า 30 ประเทศและยังมีกลุ่มพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนธิเบตมากกว่า 12 ประเทศ รวมทั้งกลุ่มที่ถุกจัดตั้งขึ้นในประเทสอินเดียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา มีการลงมติร่างกฎหมาย มีการเคลื่อนไหว มีการพิจารณาคดี และมีการอภิปราย โดยรวมมากว่า 50 ครั้ง

                เกี่ยวกับความเห็นของรัฐบาลทั่วโลก คระผู้แทนรัฐบาล เพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับธิเบต จากประเทศออสเตรเลียจากสภาของกลุ่มประเทศในยุโรปจากสหรัฐอเมริกา จากออสเตรเลีย และจากกลุ่มอื่นๆ ที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนธิเบตอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งหมดนี้ได้เพ่งเล็งไปที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับธิเบตอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1985

                ประเด็นของชาวธิเบตนี้ ได้ถูกหยิบยกโดยกลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN) ในการประชุมครั้งต่างๆที่ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีและยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นทั้งจากประเทศที่พัฒนาแล้วและจากประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นกัน

หนึ่งในคำกล่าวทางพระพุทธศาสนา บางส่วนขององค์ดาไล ลามะ

                “ทุกๆอย่าง จากแหล่งความจริงทั้งหลายนั้น แสดงชัดเจนว่า เราทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน และนี่คือความจริงที่มนุษยชาติต่างเพิกเฉยอย่างไม่ใยดี การลืมความจริงข้อนี้เป็นสาเหตุเพียงอันเดียวที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง และสงคราม วิธีที่จะกำจัดความจริงข้อนี้ทำได้ง่ายๆ คือ ความรัก ทั้งในขณะนี้และทุกๆขณะ ถ้าเราสามารถรักแม้แต่คนที่โจมตีและทำร้ายเรา และแสวงหาเพื่อทำความเข้าใจว่าเพราะเหตุใดเขาจึงทำเช่นนั้นและเมื่อรู้แล้วเราจะมีวิธีการตอบโต้อย่างไร ” องค์ดาไล ลามะ

                ตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี ที่องค์ดาไล ลามะ ผู้นำทางการเมืองของธิเบต ได้พยายามต่อสู้,ประท้วง, เรียกร้องถึงสิทธิมนุษยชนของชาวธิเบต ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจีนนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1959 จวบจนถึงปัจจุบัน ที่ยังคงไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้นเลย

                ซ้ำร้ายไปกว่านั้น รัฐบาลจีนยังเพิ่มการปราบปราม และข่มเหงทางการเมืองหนักยิ่งขึ้นจนถึงจุดสูงสุดแล้วโดยมุ่งเล่นงานชาวธิเบต ที่ต้องการสงวนรักษาความเป็นชาวธิเบตและการละเมิดสิทิมนุษยชนในธิเบตนั้นมักเกิดจากการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ

                ดาไล ลามะ พยายามเข้าเจรจากับผู้นำในชาติต่างๆ เพื่อให้ช่วยผลักดัน ปัญหาในธิเบตที่ยังคงเป็นประเด็นทางการเมืองอยู่ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและความไม่สงบในสังคม ชาวธิเบตจะต้องต่อสู้เพื่อเสรีภาพโดยสันติวิธีต่อไป โดยไม่มีแนวโน้มว่า ปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายไปด้วยสันติ

                ณ ปัจจุบัน การเคลื่อนไหวเพื่อธิเบต ก็ได้กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก จากชนหลายชาติหลายภาษา การหยอดเมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง ได้เริ่มต้นขึ้นสำหรับธิเบตแต่อาจต้องอาศัยเวลาอีกยาวนาน เพื่อรอแสงแดดทีจะส่องผ่านเข้ามาสลายให้หมอกนั้นจางไป

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

 

 

ลองอ่านดูนะครับพี่ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับพวกเราครับ

การปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาสังคมและการพัฒนาคน 

 โดย ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน 19 สิงหาคม 2552 15:17 น.

                คำว่า ปฏิรูปการศึกษา เป็นคำที่ได้ยินบ่อยที่สุด โดยเฉพาะประโยคที่ว่า ความรู้คู่คุณธรรมขณะเดียวกันก็อาจจะมีการกล่าวถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student center) แต่ที่ดูเหมือนว่าที่มีการเน้นมากคือ การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนและระบบการบริหารการศึกษา

               ในภาพรวม ประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษามักมุ่งไปที่การปฏิรูปการบริหารการศึกษา เช่น การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการกันเอง ให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล การแบ่งให้เป็นเขตการศึกษาต่างๆ ฯลฯ ในขณะที่ประเด็นสำคัญที่สุดยังไม่มีการตกลงกันในสังคมในขณะนี้ก็คือ เราจะพัฒนาสังคมแบบไหน และจะพัฒนาคนชนิดใด

               ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และกระแสของการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมใดก็ตามที่พูดถึงการปฏิรูปการศึกษาจะตอบคำถามก่อนว่า ระบบสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ จะไปในทิศทางใดในอนาคต จากนั้นจึงสามารถจะพูดถึงหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อที่จะผลิตสมาชิกของสังคมที่มีความสอดคล้องกัน ในกรณีของประเทศไทยนั้นคำถามที่สำคัญที่สุดคือ จะพัฒนาสังคมไปในรูปใด จะมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืนได้อย่างไร และจะเป็นประชาธิปไตยแบบใด ซึ่งในขณะนี้เป็นการผสมผสานระหว่างระบบรัฐสภาแบบอังกฤษและบางส่วนของระบบประธานาธิบดีแบบสหรัฐอเมริกา ในแง่เศรษฐกิจก็มีแนวโน้มที่จะเดินตามทุนนิยมแต่ก็ยังขาดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นอย่างมาก

               ในแง่สังคมนั้นผสมผสานระหว่างสังคมจารีตนิยมและสังคมสมัยใหม่ เกิดองค์กรและสถาบันทางสังคมมากมายที่เป็นของสมัยใหม่ ขณะเดียวกันองค์กรและสถาบันแบบจารีตนิยมก็ยังอยู่ตามปกติ ที่สำคัญคือค่านิยมแบบจารีตนิยมคือระบบอุปถัมภ์ก็ยังอยู่ในระบบราชการและระบบการเมือง ซึ่งโดยนัยน่าจะเดินตามแนวทางสมัยใหม่ นอกจากนี้ในขณะที่มีการนำความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ระบบความคิดอย่างตรรก มีเหตุมีผล มาพัฒนาประเทศ ก็ยังผสมผสานกับความเชื่อที่งมงาย ชอบผูกดวงชะตาชีวิต ประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ต่างๆ และบ่อยครั้งการผสมผสานดังกล่าวก็ไม่สามารถจะสอดคล้องได้อย่างแนบเนียน

               เมื่อวิสัยทัศน์เกี่ยวกับลักษณะสังคมไทยในอนาคตยังไม่แจ่มกระจ่าง จะจัดระบบการศึกษาเพื่อสร้างคนที่จะเป็นสมาชิกในสังคมขึ้นมาได้อย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในเมื่อเป้าหมายใหญ่ไม่ชัดก็ยากที่จะทำให้แนวทางของการปฏิรูปการศึกษาเกิดความแจ่มกระจ่างได้

               เมื่อมนุษย์เกิดมาครบถ้วนจากครรภ์มารดา มนุษย์ผู้นั้นก็จะกลายเป็นชีวภาพที่สมบูรณ์ซึ่งจำเป็นต้องมีการเลี้ยงดูด้วยอาหารจนเติบโตพอที่จะรับการกล่อมเกลาเรียนรู้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม โดยการกล่อมเกลานั้นจะเริ่มตั้งแต่ครอบครัวจนถึงจุดที่มีความสามารถจะสื่อสารด้วยภาษาของพ่อแม่อันเป็นภาษาที่ใช้ในสังคม พูดคุยเข้าใจความหมายกับผู้อื่น มีระเบียบวินัยเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติในระดับหนึ่ง จากนั้นก็เข้าไปรับการกล่อมเกลาเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาสืบต่อจากพ่อแม่

               ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง เพราะถ้าพ่อแม่มีแนวในการอบรมสั่งสอนหรือกล่อมเกลาเรียนรู้ในรูปหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นแบบดั้งเดิม แต่การกล่อมเกลาเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นอีกรูปหนึ่ง เนื่องจากหลักสูตรการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการนั้น อาจจะเดินตามนักการศึกษาที่ศึกษามาจากทฤษฎีของประเทศตะวันตก และจัดระบบการศึกษาตามแนวที่ได้ศึกษามา ก็อาจนำไปสู่การขัดกันของทั้งสองส่วน อย่างไรก็ตามคำถามที่สำคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วก็คือ ในภาพรวมเราจะพัฒนาสังคมไปในทิศทางใด ถ้าตอบคำถามดังกล่าวไม่ได้ก็จะเกิดคำถามว่าแล้วรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่จะกล่อมเกลาเรียนรู้ให้แก่ผู้มาเรียนนั้นควรจะมีลักษณะใด

               ทางออกของกระทรวงศึกษาและโรงเรียนขณะนี้ก็คือการให้ความรู้ทางวิชาการ เช่น ความรู้ทางภาษา คำนวณ เลข เลขาคณิต และทางสังคมศาสตร์ ฯลฯ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับความรู้ทางเทคนิค แต่การศึกษาที่จะทำให้ คนให้เป็นคน มีส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ การสร้างบุคลิกภาพของความเป็นมนุษย์ (character education) สิ่งซึ่งสถาบันการศึกษาจะทำได้ขณะนี้ก็คือการสอนเรื่องศีลธรรม แต่ความจริงถ้าจะให้สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและโลกยุคโลกาภิวัตน์ เนื้อหาการศึกษาและการกล่อมเกลาเรียนรู้จะต้องก้าวไกลกว่าที่กล่าวมาเบื้องต้น ซึ่งในขณะนี้ต้องยอมรับว่ายังไม่มีความกระจ่างเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

               ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับระบบการศึกษาที่จะสร้างคน ผลิตสมาชิกให้กับสังคมที่พึงประสงค์มีดังต่อไปนี้ คือ

               1. เบื้องต้นประเทศต้องมีวิสัยทัศน์ว่าสังคมจะเดินทางไปในทิศทางใด ในทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ และการปรับตัวกับกระแสโลกาภิวัตน์

               2. ในแง่ความเป็นมนุษย์ สมาชิกผู้นั้นจะต้องถูกการอบรมกล่อมเกลาจนกลายเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม แต่คำถามที่สำคัญก็คือ บุคคลผู้นั้นควรมีสิทธิที่จะมีอาตมันปัจเจกภาพ (self-hood) และบุคลิกภาพ (person-hood) ของตนเอง เพราะนี่คือสิทธิโดยธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ การอบรมในครอบครัวและสถาบันการศึกษามีการเปิดช่องว่างให้มีการพัฒนาสิ่งนี้หรือไม่สำหรับสมาชิกในสังคม

               3. ระบบการศึกษานั้นมีส่วนหรือไม่ต่อการสร้างความเป็นพลเมือง (citizenship) นั่นคือ การสร้างอาตมันทางการเมือง (political self) ค่านิยมทางประชาธิปไตย หน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม (civic obligation) ถ้าหลักสูตรการเรียนการสอนมองข้ามสิ่งเหล่านี้เนื่องจากเห็นว่าไม่สำคัญ ก็จะขัดกับจุดประสงค์หรือรูปแบบสังคมที่ต้องการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

               4. ศีลธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ได้มีการจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจริยธรรมในปัจจุบันซึ่งถูกวัตถุนิยม เงินตรานิยมและบริโภคนิยมทำให้ผิดเพี้ยนไปมาก

               5. การพัฒนาจิตวิญญาณ (spiritual value) และค่านิยมทางสุนทรีย์ (aesthetic value) มีการให้น้ำหนักมากน้อยเพียงใด หรือจุดมุ่งเน้นอยู่ที่การอบรมความรู้ทางเทคนิคแต่เพียงอย่างเดียว

               6. ความรู้ทางเทคนิค (technical knowledge) เพื่อนำไปประกอบอาชีพ เช่น นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์

               กล่าวโดยทั่วไปในส่วนของข้อ 6 สังคมไทยมีความสามารถในระดับที่น่าเชื่อถือได้ แต่ในส่วนอื่นๆ นั้นมีคำถามที่สำคัญคือมีการตระหนักและเข้าใจถึงการสร้างคนให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะดังกล่าวมากน้อยเพียงใด หรือพูดง่ายๆ คือ อะไรคือปรัชญาการศึกษานอกเหนือจากการที่กล่าวว่า ความรู้คู่คุณธรรมแต่ถ้าหากยังไม่สามารถมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับระบบสังคมที่พึงประสงค์ ก็ไม่มีทางที่จะจินตนาการถึงประเภทของมนุษย์ที่ระบบการศึกษาจะช่วยกล่อมเกลาให้ได้มา การพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะไร้ผลถ้าระบบการศึกษาไม่สามารถสร้างอาตมันปัจเจกภาพและสร้างความเป็นพลเมืองขึ้นมาได้ และการพัฒนาสังคมก็จะล้มเหลวถ้าประเด็นเรื่องศีลธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบบกพร่อง

               ใครก็ตามที่จะพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาต้องตอบคำถามสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นก่อน

 

ที่มา http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000094414 ผู้จัดการออนไลน์ บทความ

 

 

 

 

เรียนท่าน  ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

          หนู สมศรี นวรัตน์ ขอตอบการบ้านท่านอาจารย์ การไปเรียนนอกสถานที่ไปที่ห้าง Emporium และไปดูหนังสือที่ร้าน Kinokuniya  นั้นมีหนังสือมากมายโดยหนูได้หนังสือดี ๆ ไว้อ่าน จำนวน 6 เล่ม ได้แก่

1. Highly Effective Net WORKING (Meet The Right People And Get A Great Job)  เขียนโดย  orville pierson director of program design ,lee hecht harrison the world’s leading career services companyประกอบด้วย  10  Chapte

1. Everybody Knows You Need to Network

2. Systematic Job-Search Networking

3. Networking Myths, Misunderstandings, and Dumb Ideas

4. Real Networking and How It Works

5. Your Total Network Is Bigger Than You Think

6. Plan Your Job Search—and Your Net

7. Your Personal Networks and How to Use Them

8. Build Your Professional Networks

9. Networking Tools and Advanced Strategies

10. Moving From Networking to Interviews and Job Offers

2.  Thinking in Systems  เขียนโดย  A  Primer Donella H. Meadows Edited by Diana Wright, Sustainability Institute ประกอบด้วย 3 Part

Part One :  System Structure and Behavior มี 2 เรื่อง  1.The Basics                                                                    2. A Brief Visit to the Systems Zo

                 Part Two:  Systems and Us มี 3 เรื่อง                                           

3. Why Systems Work So Well

4.  Why Systems Surprise Us

5.  System Traps…and Opportunities

                  Port Three: Creating Change-in Systems and in Our Philosophy

                  6. Leverage Points- Places to Intervene in a System

                7. Living in a World of Systems

3.  NEGOTIATION GENIUS  เขียนโดย DEEPAK NALHOTRA, MAX H. BAZERMAN ประกอบด้วย 3 Part.  คือ

1.  THE NEGOTIATOR’S TOOLKIT

                   Chapter 1:  Claming Value in Negotiation

                    Chapter 2:  Creating Value in Negotiation

                   Chapter 3:  Investigative Negotiation  2.  THE PSYCHOLOGY OF NEGOTIATION

                         Chapter 4:  When Rationality Fails: Biases of the Mind 

                    Chapter 5:  When Rationality fails : Biases of the Heart

                    Chapter 6:  Negotiating Rationally in an Irrational World

3.  NEGOTIATING IN THE REAL WORLD

Chapter 7:  Strategies of Influence

Chapter 8:  Blind Spots in Negotiation

Chapter 9:  Confronting Lies and Deception

Chapter 10:  Recognizing Lies and Deception

Chapter 11:  Negotiating from a Position of Weakness

Chapter 12:  When Negotiations Get Ugly: Dealing with Irrationality, Distrust, Anger, Threats, and Ego

Chapter 13: When Not to Negotiate

Chapter 14: The Path to Genius

4.  Getting Things Done  เขียนโดย David Allen ประกอบด้วย 3  Chapter

1.  The Art of Getting Things Done ประกอบด้วย 3 

Chapter 1 A New Practice for a New Reality

Chapter 2 Getting Control of Your Life: The Five Stages of Mastering   Workflow

Chapter 3 Getting Projects Creative Way: The Five Phases of Project Planning   

2.      Practicing Stress-Free Productivity ประกอบด้วย  Chapter

Chapter 4 = Getting Started: Setting Up the Time, Space, and Tools

Chapter 5 = Collection: Corralling “Stuff”

Chapter 6 = Processing: Getting “In” to Empty

Chapter 7 = Organizing: Setting Up the Right Buckets

Chapter 8 = Reviewing : Keeping Your System Functional

Chapter 9 = Doing : Making the Best  Action Choices

Chapter10 = Getting Projects Under Control

3.  The Power of the Key Principles           Chapter 11 = The Power of the Collection Habi

Chapter 12 = The Power of the Next-Action Decision

Chapter 13 = The Power of Outcome Focusing Conclusion

5.  CREATIVITY  เขียนโดย  MIHALY CSIKSZENTMIHALYI  ประกอบด้วย 3 Part คือAcknowledgments vii

 One:  Setting the Stage

1.       THE CREATIVE PROCESS

Two: Where Is Creativity

Three: The Creative Personality

Four: The Work of Creativity

Five: The Flow of Creativity

Six: Creative Surroundings

2.      THE LIVES

Seven: The Early Years

Eight: The Later Years

Nine: Creative Aging                           

3.  DOMAINS OF CREATIVITY

            Ten: The Domain of the Word

             Eleven: The Domain of Life

             Twelve: The Domain of the Future

             Thirteen: The Making of Culture

             Fourteen: Enhancing Personal Creativity

 

           6.  THE RETURN OF DEPRESSON ECONOMCS เขียนโดย PAUL KRUGMAN   ประกอบด้วย 10 Part

1.       THE CENTRAL PROBLEM HAS BEEN SOLVED

2.       WARNING IGNORES : LATIN AMERICA’S CRISES

3.       JAPAN’S TRAP

4.       ASIA’S CRASH

5.       POLICY PERVERSITY

6.       MASTERS OF THE UNIVERSE

7.       GREENSPAN’S BUBBLES

8.       BANKING IN THE SHADOWS

9.       THE SUM OF ALL FEARS

10 THE RETURN OR\F DEPRESSION ECONOMICS

หนูคิดว่า "หนังสือทุก ๆเล่ม" "มีคุณค่าสำหรับการอ่านนะคะ" อยู่ที่ว่า ทำอย่างไร? ...จะทำให้ "คนรักการอ่าน" เหมือน "คนญี่ปุ่น" อย่างที่หนูเคยเล่ามาให้ท่านอาจารย์ ครั้งก่อน...นานมาแล้ว.....หนูขอจบการพูดคุยเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี  TEL. 081- 9435033

เรียน ท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านที่อาจารย์ให้หนูบอกรายชื่อหนังสือ 3 เล่ม ที่มีอิทธิพลต่อหนู หนูขอเรียนว่า ที่ผ่านมา หนูจะอ่านแต่หนังสือเกี่ยวกับการเงิน การบริหารจัดการด้านการเงิน เพราะหนูทำงานที่สถาบันการเงินมากว่า 20 ปี ส่วนหนังสืออื่นนั้นจะอ่านน้อยมาก หรือเรียกว่า แทบจะไม่ได้อ่านเลย และเท่าที่หนูอ่านและคิดว่า มีบทบาทมาก ได้แก่ Chaotics , Long Tail และหนังสือที่หนูได้มีโอกาสซื้อหนังสือที่ Kinokuniya เมื่อไปที่ Imporium เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 – 8-52 คือ The Experience Leadership Book เขียนโดย Eric Yaverbaum & Erik Sherman เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้และเทคนิคของการเป็นผู้นำ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

วันนี้หนูจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง.."Good to Great" ทำไมบริษัทจึงก้าวขึ้นสู่ความยอดเยี่ยมได้.....แต่บริษัทอื่นๆ ทำไม่ได้

Good to Great"  ได้กล่าวถึงผู้นำระดับ 5” เป็นผู้นำที่สามารถผสมผสาน คุณสมบัติ 2 ประการ ที่ดูเหมือน จะขัดแย้งกันไว้ในตัวกล่าวคือ

1. ความอ่อน น้อมถ่อมตน

2. ความเด็ดขาด

1. ความอ่อน น้อมถ่อมตน ผู้นำระดับ 5 มี

             - นิสัยอ่อน + น้อมถ่อมตน

- ไม่ค่อยพูด ถึงตัวเองเท่าไรนัก

- ชอบยกความดีให้แก่บุคคลอื่นหรือพูดถึงบริษัทโดยรวม

- ไม่ได้ต้องการเป็นวีรบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่หรือถูกนำขึ้นหิ้งบูชา

- พอใจเป็นคนธรรมดาๆ ที่สร้างผลงานที่ไม่ธรรมดา  

- ไม่ชอบประกาศให้ใครรู้

- เมื่อถึงเวลาตัดสินใจ พวกเขาจะตัดสินใจได้อย่าง เด็ดขาด แน่วแน่ มั่นคง ที่จะทำ ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้บริษัท ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่

- การ ไม่ยอมอดทน ต่อความ ไร้ประสิทธิภาพ

- จัดการ กำจัดรากเหง้า ของความ ไร้ประสิทธิภาพ

- ระบบ เส้นสาย และ อาวุโส

- แต่งตั้ง คนที่ดีที่สุด เท่าที่มีอยู่เข้า แทนที่คนเก่าที่ ได้ตำแหน่งเพราะ เครือญาติ

- การจะ ค้นหา ว่าในบรรดาผู้จัด คุณสมบัติ ผู้นำระดับ 5

- มองหา สถานการณ์ที่มีผลลัพธ์ อันยอดเยี่ยม ปรากฏขึ้น

1. การตอบคำถาม "ใคร" แทนที่จะเป็นทำ "อะไร" คุณจะปรับตัว เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น

2 . ถ้าคุณมีคนที่ "ใช่" อยู่แล้ว ปัญหาเรื่องการสร้างแรงจูงใจพนักงาน และปัญหาการควบคุมคนแทบจะไม่มี

 3. ถ้าคุณมีแต่คนที่ "ไม่ใช่" แม้คุณจะ ค้นพบทิศทางที่ถูกต้อง ก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เพราะคุณยังคงไม่สามารถสร้างบริษัทที่ดีเยี่ยมได้อยู่ดี เพราะการ มี วิสัยทัศน์ที่ดีเยี่ยมแต่ปราศจากคน ที่ยอดเยี่ยม ไม่ก่อให้เกิดผลอะไร?

 

ผู้นำที่สามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทดีให้กลายเป็นบริษัทดีเยี่ยมได้นั้น เป็นผู้ที่เข้าใจ ความจริงง่าย ๆ 3 ประการคือ

4. ให้พนักงาน ที่ดีที่สุด ได้ รับโอกาส  "ที่ดีสุด" ไม่ใช่ ให้ แก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด

จากการได้อ่าน "Good to Great "  เขาได้ทำที่ผู้นำ ได้ทำGood .....Good.......Good.......to Great  จริง...... ๆๆๆ ค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด  จ.เพชรบุรี

tel. 081-9435033

Collin  กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้บริษัทที่ ดีเยี่ยม เป็น บริษัทที่ดีเยี่ยม และอะไร?ที่ทำให้บริษัทเหล่านั้น สามารถรักษา ความยอดเยี่ยมไว้ได้?..........ในขณะที่บริษัทที่ "ดี" ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ก็ยังคงทำได้ แค่ดี อยู่อย่างนั้น แต่......ไม่เคยถึง ขั้นดีเยี่ยม โดยใช้งานวิจัย นี้คือ ประเภทของผู้นำ ที่สามารถ เปลี่ยนแปลงบริษัทที่ดี  ให้กลายเป็น บริษัทที่ดีเยี่ยม

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

วันนี้หนูจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง..Good to Great ทำไมบริษัทจึงก้าวขึ้นสู่ความยอดเยี่ยมได้แต่บริษัทอื่นๆ ทำไม่ได้  Collins กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้บริษัทที่ ดีเยี่ยม เป็น บริษัทที่ดีเยี่ยม และอะไรที่ทำให้บริษัทเหล่านั้น สามารถรักษา ความยอดเยี่ยมไว้ได้?....ในขณะที่บริษัทที่ "ดี" ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ก็ยังคงทำได้ แค่ดี อยู่อย่างนั้น แต่ไม่เคยถึงขั้นดีเยี่ยม โดยใช้งานวิจัยนี้คือ ประเภทของผู้นำ ที่สามารถ เปลี่ยนแปลงบริษัทที่ดี  ให้กลายเป็น บริษัทที่ดีเยี่ยม

Good to Great  ได้กล่าวถึง ผู้นำระดับ 5” เป็นผู้นำที่สามารถผสมผสานคุณสมบัติ 2 ประการ ที่ดูเหมือน จะขัดแย้งกันไว้ในตัวกล่าวคือ

1. ความอ่อน น้อมถ่อมตน

2. ความเด็ดขาด

 1. ความอ่อน น้อมถ่อมตน ผู้นำระดับ 5 มี

- นิสัยอ่อน + น้อมถ่อมตน

- ไม่ค่อยพูดถึงตัวเองเท่าไรนัก

- ชอบยกความดีให้แก่บุคคลอื่นหรือพูดถึงบริษัทโดยรวม

- ไม่ได้ต้องการเป็นวีรบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่หรือถูกนำขึ้นหิ้งบูชา

- พอใจเป็นคนธรรมดาๆ ที่สร้างผลงานที่ไม่ธรรมดา 

- ไม่ชอบประกาศให้ใครรู้

- เมื่อถึงเวลาตัดสินใจ พวกเขาจะตัดสินใจได้อย่าง เด็ดขาด แน่วแน่ มั่นคง ที่จะทำ ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้บริษัทก้าวสู่ความยิ่งใหญ่

- การ ไม่ยอมอดทน ต่อ ความไร้ประสิทธิภาพ

- จัดการ กำจัดรากเหง้า ของความ ไร้ประสิทธิภาพ

- ระบบ เส้นสาย และ อาวุโส ไม่ยอมทำ

- แต่งตั้ง คนที่ดีที่สุด เท่าที่มีอยู่เข้า แทนที่คนเก่าที่ ได้ตำแหน่งเพราะ เครือญาติ

- การจะ ค้นหา ว่าในบรรดาผู้จัด คุณสมบัติผู้นำระดับ 5

- มองหา สถานการณ์ที่มีผลลัพธ์ อันยอดเยี่ยม ปรากฏขึ้น

ผู้นำที่สามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทดีให้กลายเป็นบริษัทดีเยี่ยมได้นั้น เป็นผู้ที่เข้าใจ ความจริงง่ายๆ 3 ประการคือ

1.      การตอบคำถาม "ใคร" แทนที่จะเป็นทำ "อะไร" คุณจะปรับตัว เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น

2.  ถ้าคุณมีคนที่ "ใช่" อยู่แล้ว ปัญหาเรื่องการสร้างแรงจูงใจพนักงาน และปัญหาการควบคุมคนแทบจะไม่มี

  3. ถ้าคุณมีแต่คนที่ "ไม่ใช่" แม้คุณจะ ค้นพบทิศทางที่ถูกต้อง ก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เพราะคุณยังคงไม่สามารถสร้างบริษัทที่ดีเยี่ยมได้อยู่ดี เพราะการมี วิสัยทัศน์ ที่ดีเยี่ยมแต่ ปราศจากคน ที่ยอดเยี่ยม ไม่ก่อให้เกิดผลอะไร?

4. ให้พนักงาน ที่ดีที่สุด ของคุณได้ รับโอกาสที่ดีสุด ไม่ใช่ ให้ แก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด

 

จากการได้อ่าน "Good to Great "  เขาได้ทำที่ผู้นำ ได้ทำGood .....Good.......Good.......to Great  จริง...... ๆๆๆ ค่ะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด เพชรบุรี

081-9435033

เรียนท่าน  ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

            หนู สมศรี นวรัตน์ ขอคุยกับท่านอาจารย์ หลักปรัชญาทางด้านคุณภาพ (Quality) ที่ Dr. W. Edwards Deming ท่านว่าไว้นั้น เป็น หลักการและแนวทางที่ท่านอธิบายให้แก่ผู้บริหารองค์กร(Lairdship ) ทั้งหลายที่ในโรงพยาบาล

1. ผู้บริหารองค์กร จะต้องสร้างความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าและแน่วแน่ ต่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร ทั้งโดยการมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือบริการแบบใหม่ๆ และการมุ่ง ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่าง ไม่หยุดยั้ง

2. รับปรัชญาใหม่ในการทำงาน ปรัชญาใหม่คือคุณภาพ คุณภาพคือการมุ่งมั่นสร้างผลผลิต/บริการที่ลูกค้าพอใจ

3. ลดการตรวจสอบ การตรวจสอบเป็นวิธีที่สายเกินไป แพงเกินไป ไม่ได้ผล อย่างไรก็ตามการตรวจสอบยังมีความจำเป็นสำหรับงานบางประเภท
4.ยุดการพิจารณาตัดสินโดยใช้ราคาเพียงอย่างเดียว การพิจารณาจัดซื้อไม่ควรใช้ราคาซื้อที่ต่ำที่สุดเท่านั้น ควรนำเอาเรื่องคุณภาพมาพิจารณาด้วย
5. ปรับปรุงระบบ การผลิต/บริการอย่างสม่ำเสมอและตลอดไป งานวันนี้ดีกว่าเมื่อวานหรือไม่เป็นความรับผิดชอบของทุกคนในโรงพยาบาล

6. การฝึกอบรม ผู้ปฏิบัติงาน ทุกคนต้องรับผิดชอบในงานของตนเอง ผู้บริหารและผู้มีประสบการณ์ ทุกคนต้องมีหน้าที่ให้การฝึกอบรม โดยเน้นเชิงปฏิบัติการ ให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ ปัญหาและความต้องการ ของผู้ปฏิบัติงาน

7.การสร้างภาวะผู้นำ จะต้องมีการเปลี่ยนแปล จากการบริหารมาสู่การนำ การนำคือการบอกผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ไม่ลงมาตัดสินใจในทุกขั้นตอน นี่ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก ผู้นำจะต้องไม่คาดหวังความสมบูรณ์แบบ แต่ต้องสร้างความมั่นใจวางใจ อิสรภาพและนวัตกรรม เหนือสิ่งอื่นใด ผู้นำไม่ใช่ผู้พิพากษา แต่เป็นโค้ชและที่ปรึกษา
8. ขจัดความหวาดกลัว คนจะทำงานได้ดีต้องมีความรู้สึกมั่นคง ไม่กลัวที่จะแสดงความคิดเห็น ไม่กลัวที่จะถาม ความกลัวเป็นอุปสรรค กลัวต่อการเปลี่ยนแปล พัฒนา กลัวว่ามันจะนำไปสู่การทำงานมากขึ้น ตกงาน ขาดรายได้ กลัวความรู้ กลัวว่าความรู้ใหม่ ๆ จะเปิดเผยความล้มเหลวที่ผ่านมา

9. ขจัดกำแพงระหว่างหน่วยงาน ผลผลิตหรือบริการหนึ่ง ๆเกิดจากการทำงานที่ต่อเนื่องเป็นสาย หากต่างคนต่างทำก็ไม่รู้ว่าคนอื่นมีปัญหาอะไร ไม่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ความร่วมมือกันทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้เต็มที่ สามารถเสริมจุดอ่อนซึ่งกันและกัน การซักถามปัญหาจะทำให้ความคิดของแต่ละคนเฉียบคมขึ้น เป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะดึงเอาภูมิปัญญาของผู้ปฏิบัติงานมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์กร ผู้นำต้องทำให้ทุกหน่วยเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน มีความร่วมมือกัน มีการสื่อสารกันดีขึ้น

10. ขจัดคำขวัญ/คำปลุกใจสำหรับผู้ปฏิบัติงาน คำขวัญเพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานเพิ่มขึ้นไม่สามารถทำให้คนทำงานดีขึ้นได้ กลับทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกอึดอัด ตัวอุปสรรคที่แท้จริง อยู่ที่ระบบงานซึ่งเป็นความรับผิดขอบของผู้บริหาร การใช้คำขวัญหรือเป้าอาจทำให้ผลงานดีขึ้นชั่วขณะ  แต่ผลเสียที่เกิดตามมาคือไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เกิดความอึดอัด ไม่ยอมรับต่อผู้บริหาร 85% ของปัญหาเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหาร  คำขวัญหรือคำปลุกใจโง่ ๆ เช่น "เราทุกคนจะทำงานให้หนักขึ้น "ไม่ได้มีความหมายอะไร โปสเตอร์ที่ดีกว่าคือการอธิบายว่าผู้บริหารกำลังทำอะไร เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ทำให้ผู้ปฎิบัติเปลี่ยนแปลง ทราบว่าผู้บริหารเข้ามาร่วมรับผิดชอบอย่างไร การที่คนอื่นมาตั้งเป็นให้โดยปราศจากแนวทางในการทำงานอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า

11. ขจัดเป้าตัวเลขสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร เป้าตัวเลขที่ได้จากระดับเฉลี่ยของการปฏิบัติงานทำให้ครึ่งหนึ่งที่ปฏิบัติงานได้ดีกว่าเป้าต้องลดการทำงานของตนลงมาสู่ระดับเฉลี่ย ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งไม่สามารถทำได้ตามเป้า เป้าที่ตั้งไว้สูงเกินไปทำให้ทุกคนเห็นว่าเป็นไปไม่ได้และไม่พยายามที่จะทำให้บรรลุ การเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาผลงานที่กลุ่มปฏิบัติอย่างถูกต้องจะทำให้ทราบว่าควรมีการปรับปรุงอย่างไร?

12. ขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความภาคภูมิใจในผลงานของผู้ปฏิบัติงาน การจัดให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพครบถ้วน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจน ไม่ต้องทำงานซึ่งไม่ก่อเกิดผลผลิต การสื่อสารที่ชัดเจน การทำให้ผู้ทำงานรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่องาน ล้วนแล้วแต่ช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดกับผู้ปฏิบัติงาน ควรเน้นการประเมินผลงานที่วิธีการทำงานมากกว่าเป้าหมาย

13. กระตุ้นให้ทุกคนศึกษาและปรับปรุงตนเอง สิ่งที่องค์กรต้องการมิใช่เพียงคนดี แต่ต้องการคนที่ปรับปรุงตนเองตลอดเวลา ด้วยการศึกษาทุกรูปแบบ

14. นำทุกคนมาร่วมกันลงมือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลเพื่อให้เกิดคุณภาพ (Quality Transform) เป็นหน้าที่ของทุกคน ผู้บริหารระดับสูงต้องสร้างความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพและผลผลิต ซึ่งจะนำไปสู่โครงสร้างองค์กรที่จะสนับสนุนปรัชญาใหม่ CQI เป็นการเดินทางที่ไม่วันสิ้นสุด ไม่ใช่เป้าหมายไม่ใช่จุดหมาย

เรื่อง Quality ที่ Dr. W. Edwards Deming ซึ่งเกี่ยวกับภาวะผู้ (Lairdship) นำนะคะ ขณะเดียวกัน รพ.บ้านล ของหนูใช้หลักการนี้อยู่นะคะ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tle. 081-9435033

 

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                การไปดูงานนอกสถานที่ได้รับความรู้ดังนี้

  1. การไปดูงานครั้งนี้ก็เหมือนการทำบริษัทคือต้องการผู้นำที่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม การวางแผนเดินทาง ทิศทางการเดินชมให้ครบถ้วน ถ้าผู้นำนำไม่ดี ก็จะเกิดความล่าช้าและรอคอยทำให้เสียโอกาสเนื่องจากเวลามีจำกัด  พวกเราเหมือนพนักงานของบริษัท สิ่งที่ได้จากการดูงานนอกสถานที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆอย่างอิสระ และความรู้ก็สามารถนำมาพัฒนาตนเองและองค์กร
  2. การใช้สมองซีกขวาเพิ่มประสิทธิภาพให้เป็นคนที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความสมดุลด้านคุณภาพชีวิต เติมเต็มทางด้านสุนทรียภาพด้านอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดอย่างเสรีตามความถนัดของแต่ละบุคคลโดยผ่านการเรียนรู้และฝึกฝนงานด้านศิลปะที่ชื่นชอบ
  3. แหล่งค้นคว้าที่สมบูรณ์ คือ ร้านหนังสือ เปรียบเสมือนคลังของสมองเติมเต็มอย่างไม่หมดสิ้น
  4. สร้างเครือข่ายสังคมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้กันและกันทำให้เกิดความรู้ข้ามศาสตร์

 

ขอบคุณค่ะ จาก  วัชรินทร์  แสงมา Ph.D -3  SSRU

ขอให้ทุกท่านติดตามต่อที่ Blog ที่ 3 กำลังจะเปิดเพิ่มเพื่อความสะดวกในการ Post Blog ครับ

จีระ

ถึง เพื่อน Ph.D. SSRU และชาว Blog ทุกคนครับ

 

รายการคิดเป็นก้าวเป็น...ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของผู้นำองค์กรในสภาวะวิกฤษยุคการเปลี่ยนแปลง

 

            วันพุธที่ 19 สิงหาคม 2552 ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ผู้ซึ่งพวกเรานับถือท่านว่าเป็นกูรู ทางด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในและต่างประเทศ และเป็นผู้คิดทฤษฎี 2R, 4L, 8K, 5K ได้เข้ามาเสวนาและแลกเปลี่ยนมุมมอง กับผู้หญิงเก่งของประเทศคนหนึ่ง คือ ท่าน ดร.สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด และ TS.Group เกี่ยวกับประเด็นบทบาทของผู้นำองค์กรในสภาวะวิกฤษยุคการเปลี่ยนแปลง เพื่อเชื่อมโยงทฤษฎี 2R, 4L, 8K  ในเรื่อง Learning Organization และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อบันทึกเทปโทรทัศน์ในรายการคิดเป็นก้าวเป็น ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มีการออกอากาศในวันเสาร์ ช่วงเวลา 23.00-23.30 น.  และ Rerun ในวันอังคาร, พุธ ช่อง TNN2 (True Vision 08) และออกอากาศทางเคเบิ้ลท้องถิ่นวันศุกร์, เวลา 22.10-23.00 น. ช่อง TTV2 และ Rerun ในวันเสาร์, วันอาทิตย์

            บทบาทผู้นำองค์กรยุคการเปลี่ยนแปลง ในรายการคิดเป็นก้าวเป็น จะออกอากาศเป็น 2 ตอน กำหนดการออกอากาศไว้ เสาร์ที่ 12,19  กันยายน 2552 หรือเสาร์ที่ 19,26  กันยายน 2552 เวลา 23.00-23.30 ช่อง TNN2 ก่อนออกอากาศ 1 สัปดาห์จะ Confirm ชาว Blog อีกครั้ง

 

                มีภาพก่อนการบันทึกเทปโทรทัศน์ และช่วงขณะบันทึกเทปให้ชมเป็นตัวอย่าง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่องGood to Great=จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  ต่อจากเมื่อวานนะคะ ผู้แต่งหนังสื่อเล่มนี้คือ  Jim Collins (จิมส์  คอลลิลส์ ) สำนักพิมพ์ : Harper Business  จำนวนหน้า : 300 ราคา : 27.50 ดอลลาร์สหรัฐ Collinsและทีมวิจัย  โดยมีหลักเกณฑ์คัดสรร ที่เข้มงวดจาก 11 บริษัท ที่ก้าวจาก บริษัทที่ดี สู่ àบริษัทที่ ดีเยี่ยมผู้นำระดับ 5 à เริ่มต้นด้วยà à คน (Humane )à àต่อด้วยààการกระทำ(Action) à à เผชิญความจริง(Reality) อันโหดร้าย à àคิดอย่างเม่น (Hedgehog Concept) à à สร้างวัฒนธรรม(Culture ) à à ความมีวินัย (Principle) à à เทคโนโลยี (Technology & IT) คือ ตัวเร่งà àล้อมู่เล่กับวงจรหายนะ (Doom Loop)

          “Good to Great =  จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ หนังสือ  “GOOD  TO  GREAT ”  เป็นหนังสือที่เขียนโดย  จิมส์  คอลลิลส์  ซึ่งได้รวบรวมทีมวิจัย 21 คนแบ่งเป็น 4 ทีม ๆละ 4 ถึง 6 คนใช้เวลา 5 ปี ในการ วิจัยและเขียนหนังสือ เล่มนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ และคุณค่าจากเนื้อหาของหนังสือและนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้กับงานของผู้อ่าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคมหรือใช้กับชีวิตเรื่อง“Good to Great =  จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  มีรายละเอียดจำนวน 8 บทดังนี้

 

บทที่ 1 ความดีเป็นศัตรูของความยิ่งใหญ่  จิมส์  คอลลินส์ใช้เวลา 5 ปี  ในการวิจัย  วิเคราะห์  บริษัทที่ดีจะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้ไหม ?  ถ้าได้จะเป็นอย่างไร ? หรือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้? ผลก็คือ  การเปลี่ยนจากบริษัทที่ดีเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  (Good  to  Great)  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้  จากการวิเคราะห์ค้นหาคำตอบ  จากบริษัทที่มีรูปแบบการก้าวจากบริษัทที่ดีไปเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  โดยเลือกศึกษาจาก 28 บริษัท เป็นบริษัท  GOOD  TO  GREAT  จำนวน 11  บริษัท  เปรียบเทียบโดยตรง  11  บริษัท  และบริษัท เปรียบเทียบที่ไม่ยั่งยืน 6 บริษัท 

การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการต่อเนื่องจนพัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 

1.      หาคนที่มี คุณสมบัติเหมาะสม  มีวินัย  มีภาวะผู้นำ อยู่ในระดับ  5

2.  สร้างความคิด ที่เป็น ระบบถูกต้อง

3.      กระทำอย่างมีวินัย  ตามความคิดที่ถูกต้อง

 

บทที่ 2 ผู้นำระดับ 5  ผู้นำระดับ 5 ของบริษัท GOOD TO GREAT  เป็นคน อ่อนน้อม ถ่อมตน แต่มุ่งมั่นในความสำเร็จของการทำงานแบบมืออาชีพ เป็นคนแบบ  อับราฮัม  ลินคอล์น หรือ โสคราดีส  มากกว่า คนแบบ นายพลแพตตัน หรือ จักรพรรดิซีซาร์

คุณลักษณะผู้นำระดับ 5”

- ละอัตตา ของคุณ เพื่อ มุ่งไปสู่เป้าหมาย ที่ใหญ่กว่า มีความทะเยอทะยาน เพื่อสถาบัน ไม่ใช่ เพื่อตนเอง มีความถ่อมตน และมีเจตจำนงแน่วแน่

- ความเป็น คนธรรมดา ของผู้นำระดับ5 ไม่พูด ถึงความยอดเยี่ยม

- ผลงานเป็นของสถาบันไม่ทำตนยิ่งใหญ่กว่าชีวิตจริง

            - มีความมุ่งมั่นโดยไม่หวั่นไหวที่จะทำในสิ่งที่ ต้องทำสร้างทีมผู้บริหาร และคณะกรรมการอย่างมีระบบ  ความสัมพันธ์ทางครอบครัวหรืออายุงาน ไม่มีความหมายในการเลือกคนมาอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญ

            CEOของบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  10 ใน11 เป็นคนในบริษัทเอง  และในจำนวนนี้  3 คน เป็นคนมาจากครอบครัวเจ้าของบริษัทในขณะที่บริษัทเปรียบเทียบจะพึ่งซีอีโอเป็นคนนอก  แต่ก็ยังล้มเหลวในการสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืน

ผู้นำระดับ5 วางตัวสืบทอดตำแหน่ง เพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าในรุ่นถัดไป

ผู้นำระดับ5 ต้องการที่จะสร้างผลงานที่ยั่งยืน มุ่งมั่น ที่จะทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่ 

ผู้นำระดับ5 มีความพากเพียรในการทำงาน

แนวโน้มที่เป็นอันตรายที่สุดคือ  คณะกรรมการบริษัทชอบเลือกผู้นำที่มีชื่อเสียง แทนที่จะ เลือกผู้นำที่มีศักยภาพของผู้นำระดับ 5

วันนี้หนูขอจบไว้เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ------->เพื่อน ๆๆอยากทราบเรื่อง GOOD TO GREAT  ต้องคอยติดตามตอนต่อไปนะคะ ......แต่ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ ท่านทราบหมดแล้วàà หนู สมศรี นวรัตน์ เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนแล้วละคะ ????

สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

  หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านใน เรื่อง Good to Great = จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ วันนี้หนูขออนุญาติพูดคุย + แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อจากบทที่แล้วนะคะ

 

บทที่  3 “ใครทำมาก่อน ทำอะไร?

            @ ผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้น การเปลี่ยนแปลง บริษัทด้วยการหาคนที่ เหมาะสม มาทำงาน การหาคนที่ เหมาะสมมาอยู่ในทีม ต้อง ใครทำมาก่อนทำอะไร”----> มาก่อน  วิสัยทัศน์(Vision)---->มาก่อนกลยุทธ์(Strategic)  มาก่อน---->โครงสร้างองค์กร(Structure) ---->มาก่อนกลยุทธ์วิธี(Tactic)

            @ บริษัทเปรียบเทียบ ชอบใช้รูปแบบการจัดการแบบ อัจฉริยะที่มีผู้ช่วยนับพัน 

            @ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ มีความ เข้มงวด เฉียบขาด ในการตัดสินใจเรื่อง "คน" แต่ ไม่ใช่คน อย่างโหดไร้ความปราณี

 

หลักปฏิบัติใน การตัดสินใจเลือกคน ได้อย่าง เฉียบขาด

1.      ถ้ายังไม่แน่ใจ  อย่าเพิ่งตัดสินใจ  ให้รอดูก่อน

2.      ถ้าจำเป็นต้องตัดสินใจ  อย่ารีรอ

3.      ใช้คนที่เก่งที่สุด--àไป---àทำงาน

ค่าตอบแทน เพื่อ จูงใจ ให้ได้ คนเหมาะสม มาอยู่กับบริษัทในตอนแรก  และ รักษาคน เหล่านี้ไว้  คนที่เหมาะสม คือ "ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดคน ๆหนึ่งจะเป็น คนที่เหมาะสมหรือไม่?  ขึ้นอยู่กับ นิสัย ใจคอ และ ความสามารถ  ซึ่งเป็น สิ่งที่ติดตัวมา 

บทที่  4 เผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้ายแต่ศรัทธาไม่เคยคลอนแคลน

            บริษัทที่ดีก้าวไปเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ ทุกบริษัท เริ่มต้นเส้นทางความยิ่งใหญ่  โดยการ เผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้าย เมื่อเริ่มต้นด้วยการพิจารณา สถานการณ์ที่เป็นจริง โดย ไม่หลอกตัวเอง มีการ ตัดสินใจ ที่ ถูกต้อง จะเป็น ข้อพิสูจน์ ในตัวเอง  เป็นไปได้ที่จะทำการตัดสินใจอย่างถูกต้องโดยไม่ยอมรับความเป็นจริงที่โหดร้ายอย่างตรงไปตรงมา

            งานสำคัญ ในการ สร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่ คือ การ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ "ยอมรับฟัง" เรื่อง ของคนในองค์กร  ซึ่งในที่สุดจะ ทำให้ความจริงได้รับการรับฟัง

 "การสร้างบรรยากาศ" ที่จะทำให้ "ความจริงได้รับการรับฟัง" มีหลักปฏิบัติ 4 ข้อคือ

1.      ชี้นำด้วยคำถาม ไม่ใช่ให้คำตอบ

2.      ใช้การมีส่วนร่วมในการพูดคุย  หารือ ไม่ใช่การบังคับ

3.      วิเคราะห์ความผิดพลาด  โดยไม่โยนความผิดให้ใครคนใดคนหนึ่ง

4.      สร้างกลไก "ธงแดง"  เป็นเครื่อง "ส่งสัญญาณ"  เพื่อทำ  "ให้ข้อมูลข่าวสาร" ที่เกิดขึ้น เป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกมองข้ามไป

 

ปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่สำคัญในการทำบริษัทที่ดีก้าวไปเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  คือ  Stockdale Paradox ซึ่งหมายถึง การมีศรัทธา และ ความเชื่อมั่น อยู่เสมอว่าคุณ จะชนะในที่สุด ไม่ว่าจะยากลำบากอย่างไร? และในขณะเดียวกันก็ กล้ายอมรับความจริง อันโหดร้ายที่สุดที่กำลังเกิดขึ้น  ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตามความ สามารถของผู้นำเป็นทรัพย์สิน(Assets)ของบริษัท  ได้พอ ๆกับที่เป็น อุปสรรคเพราะบุคลิกที่เข้มแข็ง ของผู้นำจะ ปิดกั้นไม่ให้คนพูดความจริงออกมา ความเป็นผู้นำไม่ได้เริ่มด้วยวิสัยทัศน์ แต่เริ่มด้วย การทำให้คนกล้าเผชิญกับความจริงอันโหดร้าย และ พร้อมที่จะรับมือกับผลที่เกิดขึ้น คนที่เหมาะสมกับ งานมีแรงจูงใจของตัวเอง อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ บั่นทอนแรงจูงใจของคน  คือการที่ ผู้นำไม่สนใจความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น

            หนูขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ...หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับ..เพื่อนๆๆนะคะ เพื่ออนาคตเพื่อนๆๆที่เป็นCEOอยู่แล้วจะเป็น------>Good to Great และเป็น Great---> to---> Good  ด้วยนะคะ ...สวัสดีคะ

 

          

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี  Tel. 081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆๆใน เรื่องGood to Great = จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ วันนี้หนูจะขอพูดคุยและแลกเปลี่ยน + เรียนรู้บทต่อไปคือบทที่ 5 - 6 นะคะ

บทที่  5 ความคิดแบบตัวเม่น

Isaiah  Berlin  เขียนนิทานกรีกโบราณ  หมาจิ้งจอกรอบรู้หลายเรื่อง...แต่เม่นรู้เพียงเรื่องเดียว......แต่เป็นเรื่องใหญ่ๆ  เปรียบเหมือนคน  2  กลุ่ม

กลุ่มหมาจิ้งจอก  เป็นพวกที่มี เป้าหมายหลาย ๆอย่างในเวลาเดียวกัน  และมองโลกอย่างซับซ้อน แต่ไม่เคย บูรณาการ(Integration)ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน  และไม่มี  วิสัยทัศน์(Vision)ที่เป็นเอกภาพ

กลุ่มตัวเม่น  ทำ โลกซับซ้อน ให้เป็นเรื่อง ง่าย ๆ ด้วยความคิดที่เป็นระบบ   เช่น  ฟรอยด์ ผู้คิดค้นทฤษฎีจิตใต้สำนึก  ไอน์สไตน์ กับทฤษฎีสัมพันธภาพ  อาดัม  สมิธ กับหลักการแบ่งงานกันทำ

คนที่สร้างบริษัทที่ดี เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great ) เป็นพวกตัวเม่น  มีแนวความคิดแบบตัวเม่น เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ของบริษัท  แต่บริษัทเปรียบเทียบมีความคิด กระจัดกระจาย และ เป็นความคิดที่ ไม่สอดประสานกัน

            แนวคิดแบบตัวเม่น คือ แนวความคิดที่ เรียบง่าย ชัดเจน ซึ่งเกิดจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งใน 3 เรื่อง  ที่เกี่ยวเนื่องกันเหมือนวงกลม 3 ข้อ(วงกลม ที่ตัดกัน)  ได้แก่

1.อะไร?คือสิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุด

2.อะไร?คือพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรเศรษฐกิจของคุณ

3.สิ่งที่คุณทำกำลังทำอยู่มีอะไร?ที่ทำให้ "คุณรักและปรารถนา"

แนวความคิด (Concept) แบบ ตัวเม่น  ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย (Goal) ที่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช่กลยุทธ์(Strategic)ที่เป็นที่หนึ่ง  ไม่ใช่แผนเพื่อความเป็นสุดยอด แต่คือการทำความเข้าใจว่าอะไร  คือ สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุด

การที่จะเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ด้วย  บริษัท  Good  to  Great  แต่ละแห่งการสร้างเครื่องจักรเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยมของตน  โดยไม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สังกัดอยู่เลย  พวกเขา ทำได้เพราะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในสภาพธุรกิจขององค์กรเอง(Context) ความรักในสิ่งที่ทำบริษัท Good  to  Great จะทำในสิ่งที่เขา รักและปรารถนา ที่จะทำ โดย ค้นหา ให้เจอว่าอะไรคือ สิ่งที่จุดประกายความรัก ของคุณและคนรอบๆ  ตัวบริษัทที่ยิ่งใหญ่ กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ของตนบนพื้นฐานของความเข้าใจ ขณะที่บริษัทเปรียบเทียบ  กำหนดเป้าหมาย(Goal) กลยุทธ์(Strategic)จากความ ฮึกเหิม  ทะนงตน

 

บทที่  6 วัฒนธรรมแห่งวินัย

 

                การสร้างผลงาน ที่ยิ่งใหญ่ให้มี ความยั่งยืน นั้น ต้องอาศัย การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ คน ในองค์กรต้อง มีวินัยในตัวเอง  มีการทำที่มีวินัย  และ  ยึดมั่นวัฒนธรรมองค์กร แบบราชการ  เกิดขึ้นเพื่อ ชดเชยความไร้ประสิทธิภาพและการขาดวินัย  ซึ่งเกิดขึ้นเพราะว่า ได้คนที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมมาร่วมงานตั้งแต่แรก  ถ้าได้คนที่ถูกและขจัดคนที่ไม่เหมาะสมออกไป  ก็ไม่ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการ

                วัฒนธรรมของความมีวินัย  มีลักษณะสำคัญ 2 อย่างควบคู่กันไป  คือเรียกร้องให้คนต้องยึดมั่นอยู่ในระบบ แต่ขณะเดียวกันก็  ให้คนมีเสรีภาพและความรับผิดชอบภายใต้กรอบของระบบ

                วัฒนธรรมไม่ได้ เป็นเรื่องของการทำงานเท่านั้น  แต่เกี่ยวข้องกับการสรรหาคนที่มีวินัยซึ่งสามารถสร้างความคิดที่มีวินัย  เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีวินัยได้

                บริษัท  Good to Great   เต็มไปด้วย คน ที่มี มานะพากเพียรเอาจริงเอาจัง  เข้มงวดกับตัวเอง  อย่าเอา วัฒนธรรมของความมีวินัย ไปปน กับความมีวินัยที่เกิดจาก ลักษณะเผด็จการ ของผู้นำทั้ง 2 อย่าง  เป็นแนวความคิดที่ต่างกันมาก   CEO  ซึ่งได้ อำนาจสร้างความมีวินัย ขึ้นมา  มักจะ ไม่สามารถสร้างผลงานที่มีความยั่งยืนได้

                ความมีวินัยที่สำคัญที่สุดใน การสร้างผลงานที่ยั่งยืน คือ  การยึดมั่นกับแนวความคิด  แบบตัวเม่น  และพร้อมที่จะ ปฏิเสธโอกาส อื่น ๆที่อยู่นอกขอบเขตทั้ง 3 ข้อ

หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี คิดว่าเพื่อน ๆๆอ่านแล้ว Good to Great   หนูขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ...หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับ..เพื่อนๆๆนะคะ ในอนาคตเพื่อนที่เป็นCEO อยู่แล้วààจะเป็น  àà Good to Great และเป็น Great---> to---> Good  ด้วยในเร็ววันนี้นะคะ ...สวัสดีคะ

สรุปได้ว่าทุกอย่างมีอยู่ใน "ทฤษฎีท่าน ศ. ดร. จีระ ทั้ง 8K +5K+ 4L + 3 วงกลม + 2R + 4E + 3H" มีทั้งหมด จริง ๆๆ หนูยืนยันได้คะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี 

Tel. 081-9435033

ขอบคุณทุก ๆๆคนนะคะ

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี พูดคุยแลกเปลี่ยน + เรียนรู้ ในเรื่อง Good  to  Great ต่ออีก 3 บท (บทที่7- 9) ดังนี้

บทที่ 7 เทคโนโลยีในฐานตังเร่งแรงเฉื่อย

                บริษัท Good to  Great มีความคิดในเรื่องเทคโนโลยี(Technology) และการเปลี่ยนแปลง (Change) ที่เกิดจากเทคโนโลยี แตกต่างจากบริษัทธรรมดา ๆ 

                บริษัทGood to Great ไม่สนใจเทคโนโลยีที่เป็นกระแสที่เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ Good to Great คือ  ผู้บุกเบิก การใช้เทคโลโลยีที่คัดเลือกมาแล้วอย่างรอบคอบ

                คำถามสำคัญ ที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใด ๆเทคโนโลยีนั้นเข้ากันกับแนวความคิดแบบตัวเม่นหรือไม่?  ถ้าเข้ากันคุณ ต้องเป็นผู้บุกเบิก เทคโนโลยีนั้นแต่ ถ้าไม่เข้ากันก็ไม่ต้อง ให้ความสำคัญมากหรือไม่ต้องสนใจเลยก็ได้

                บริษัทGood to Great ใช้เทคโนโลยีเป็นแรงเฉื่อย  ไม่ใช่ตัวสร้างแรงเฉื่อย  ไม่มีบริษัทGood to Great รายใดเริ่มต้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีแต่ทุก บริษัทกลายเป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีทันทีพบว่า เทคโนโลยีนั้นอยู่ในขอบเขตของ 3 ข้อ(บทที่5)

                ปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดจากเทคโนโลยี เป็นเครื่องชี้วัดแรงขับเคลื่อน ในที่ต่างกัน บริษัทGood to Great ตอบโต้โดย การใช้ความคิดและความสร้างสรรค์ (Thinking & Creative)  รวบทั้ง แรงผลักดัน ที่ต้องการ แปรศักยภาพ (Potential) ที่ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่(Fulfills) ให้เป็นผลงาน ส่วนบริษัททั่วๆไปถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัวว่าจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง

 

บทที่  8  ทฤษฎี ล้อเฟืองและห่วงหายนะ

 

                การเปลี่ยนแปลงจากบริษัทที่ Good ไปสู่ -----> to Great (บริษัทที่ยิ่งใหญ่ ) เมื่อมองจากภายนอกแล้วเป็น การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันเหมือนการปฏิวัติ  แต่สำหรับคนที่อยู่ภายในแล้ว  การเปลี่ยนแปลงนี้ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ มีการสั่งสมเหมือนกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

                การเปลี่ยนแปลง(Change)ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่อย่างยั่งยืน(Sustainability)  เกิดจาก กระบวนการสั่งสม  ผ่านจุดก้าวกระโดด เหมือนกับการผลักล้อเฟืองขนาดใหญ่ให้หมุนไปข้างหน้า  ตอนแรก ออกแรงมาก ต่อไปล้อเฟืองก็จะสร้างแรงเฉื่อยในตัวเอง  และหมุนผ่านจุดก้าวกระโดดไปด้วยตัวเอง

                บริษัทเปรียบเทียบมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตัวองที่ต่างออกไป เรียกว่า บ่อหายนะคือ แทนที่จะค่อย ๆสะสมแรงเฉื่อยโดยหมุนล้อเฟืองต่อไปรอบแล้วรอบเล่า  บริษัทเปรียบเทียบจะพยายามกระโดดข้ามขั้นตอนสั่งสม ลัดเข้าสู่จุดกระโดดทันที   พอไม่สำเร็จก็วิ่งกลับมาใหม่ จึง ไม่สามารถรักษาแนวทาง การเปลี่ยนแปลงให้มีความแน่นอนสม่ำเสมอได้

                บริษัทเปรียบเทียบชอบใช้ กลยุทธ์การเทคโอเวอร์ไปในทางที่ผิด เพื่อข้ามก้าวจุดกระโดด  ตรงข้ามกับบริษัทที่Good to Great ใช้กลยุทธ์เทคโอเวอร์ หลังจาก ผ่านจุดก้าวกระโดดมาแล้ว เพื่อ เร่งแรงเฉื่อยของล้อเฟืองที่กำลังหมุนไปด้วยความเร็วจัด

                คน ใน บริษัทGood to Great ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่  ไม่ค่อยรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาสร้างขึ้น มีความยิ่งใหญ่เพียงใด  จะรู้ก็ ต่อเมื่อความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นแล้วไปพักใหญ่W

            ผู้นำ(Leadership)ของบริษัท Good to Great  ไม่เสียเวลาไปกับการสร้างแรงจูงใจ(Motivation)คน ให้เข้ามามี ส่วนร่วม(Participation) ในการเปลี่ยนแปลง ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ปัญหาการมีข้อผูกพัน การมีส่วนร่วม  แรงจูงใจ  และการเปลี่ยนแปลงจะคลี่คลาย ไปด้วยตัวของมันเอง

 

บทที่ 9 จาก Good  to  Great  ถึงองค์กร อมตะ

 

บริษัทที่ปึกแผ่นแล้วหรือกิจการใหม่ +แนวความคิด Good to Great + ผลงานที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืน + แนวความคิดองค์กรอมตะ + Good to Great ที่เป็นอมตะ

 

อุดมการณ์หลัก : มิติพิเศษของ บริษัท Good to Great ที่เป็นอมตะ

                บริษัท Good to Great และเป็นอมตะไม่ได้ดำรงอยู่เพียงเพื่อ สร้างผลตอบแทน การลงทุนให้ผู้ถือหุ้นเท่านั้น  บริษัท Good to Greatอย่างแท้จริงแล้วกำไรและเงิน เป็นเหมือนเลือดและน้ำในร่างกายที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิต แต่ไม่ใช่ จุดมุ่งหมายของชีวิต

                บริษัทGood to Great และเป็นอมตะสามารถ รักษาค่านิยมหลัก (CoreValuce) และเป้าหมายหลัก(Goal)ขององค์กรเอาไว้ได้ ในขณะที่ดำเนินนี่คือการประสานกันอย่างมหัศจรรย์ระหว่าง  การรักษาค่านิยมหลักกับการสร้างความก้าวหน้า

          จบการแลกเปลี่ยนรู้เรื่อง Good to Great แล้ วคะ  Good  ... Good จริง ๆๆนะคะ ส่งผลให้เรื่องที่ Jim Collins  แต่งออกมาเกิด GreatàààGreatàààGreat ยิ่งใหญ่จริง ๆๆๆ (เขาว่ากันอย่างนั้น)....แต่หนู....ขอบอกààà อ่านไปààà  อ่านมา..มีในทฤษฎีของ ศ. ดร. จีระ ทั้งทฤษฎี..8K’s + 5K’s + 4L’s + 2R’s + 2H’s + 4E + 3 วงกรม...  ใครว่าไม่ใช่ ให้กับไปทบทวนดูนะอาจจะเป็น โรคขี้หลงลืม ได้นะคะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี Tel.081-9421866

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

            วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์และเพื่อนๆในเรื่อง ศิลปะแห่งความสุข (The Art of Happiness) แต่งโดย ดาไลลามะที่ ๑๔ และโฮเวิร์ด ซี.คัทเลอร์ ในหนังสือเล่มนี้พูดถึง ศิลปะแห่งความสุข ซึ่งหนูอ่านแล้วตรงกับ  ทฤษฏี 8 K’s” ที่เป็นแนวคิดที่   จำเป็นและต้องมี ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งหนูคิดว่า ความสุขเป็นสิ่งสำคัญอันดับสูงสุด สำหรับการดำรงชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าเรามีความสุข พฤติกรรมทางกาย จะแสดงออกให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ทันที่....เช่น หัวเราะ ร้องเพลง ยิ้ม  มองเห็นอะไรก็เป็นสิ่งที่สวยงาม เพราะ เกิดความสุขในใจ หนูขอเรารายละเอียดเนื้อหารายละเอียดเรื่อง ศิลปะแห่งความสุข มีเนื้อหาประกอบไปด้วยทั้งหมด ๕ ภาคดังนี้

ภาคที่ ๑ จุดมุ่งหมายของชีวิต มีทั้งหมด ๔ บท

ได้แก่    ๑. มีสิทธิมีสุข

   ๒.บ่อเกิดของความสุข

   ๓. ฝึกจิตให้เป็นสุข

   ๔. ฟื้นความสุขภายใน

ภาคที่ ๒ ความอบอุ่นและอาทรของมนุษย์ มีทั้งหมด ๓ บท

ได้แก่   ๑. แบบอย่างใหม่ของความใกล้ชิดสนิทสนม

           ๒. สานสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง

           ๓. คุณค่าและประโยชน์ของความกรุณา

ภาคที่ ๓ ปรับเปลี่ยนความทุกข์ มีทั้งหมด ๔ บท

ได้แก่   ๑. เผชิญความทุกข์ 

           ๒. ความทุกข์ที่เราก่อเอง

           ๓. เปลี่ยนมุมมอง

       ๔. ค้นหาความหมายในความเจ็บปวดและความทุกข์

 

ภาคที่ ๔ แสวงชัยเหนืออุปสรรค มีทั้งหมด ๓. บท

ได้แก่   ๑. สร้างความเปลี่ยนแปลง

           ๒. จัดการความโกรธและความเกลียด

           ๓. จัดการความหวาดวิตกและสร้างความนับถือตน

ภาคที่ ๕ พิจารณาการใช้ชีวิตทางจิตวิญญาณ มีทั้งหมด ๑. บท

ได้แก่   ๑. คุณค่าพื้นฐานทางจิตวิญญาณ

 

ในปัจจุบันนี้ คนในสังคม กำลังมองหา ความสุข หรือแนวทางพัฒนาตนเอง (How-to)หนูคิดว่าเรื่อง ศิลปะแห่งความสุข (The Art of Happiness ) หนังสือเล่มนี้ จะพิชิตปัญหาและดำเนินชีวิตอยู่บนโลกปัจจุบัน อย่าง มีความสุข คำสอนในหนังสือ เป็นสิ่งที่ มีคุณค่า ล้ำค่า และทันสมัย และที่สำคัญสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้  อย่างเห็นผล ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข นะคะ  และ.....องค์ดาไลลามะตรัสไว้ว่า เราทุกคนมีสิทธิมีความสุข ซึ่งก็ตรงกับทฤษฎีของท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 8K’s + 5K’s + 4L’s + 2R’s + 4E + 3 วงกลม + 2H’s และ  8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี คือ Heritage (รากเหง้า) + Head (สมอง) + Heart (หัวใจ) + Happiness (ความสุข) + Hand (มืออาชีพ) + Home (ครอบครัว) + Harmony (สมานฉันท์) + Health(สุขภาพ) วันนี้หนูขอจบการแลกเปลี่ยน + เรียนรู้แค่นี้ก่อนนะคะ คิดว่า น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อน....ๆ..ๆบ้างนะคะ ขอให้ทุกคน Happiness & Happiness

สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel. 081- 9435033

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท