PhD สวนสุนันทา (Blog 3)...Update!!


ผมภูมิใจที่เห็นทุกคนสนใจเรียนแบบมี Passion

ถึงลูกศิษย์ปริญญาเอก 13 คน

            ผมภูมิใจที่เห็นความสนใจเรียนแบบมี Passion ขอย้ำว่า

1.      ทุกคนต้องทำ Paper คนละ 1 เรื่อง เลือกคนละ 1 ทุนโดยเขียนไม่เกิน 15 หน้า

·       มีทฤษฎีอะไรอยู่เบื้องหลังบ้าง

·       มีประโยชน์อย่างไร คนไทยควรมีไหม

·       รายละเอียดคืออะไร

·       บุคคล องค์กร หรือประเทศที่โดดเด่นในทุนหรือ K ต่าง ๆ มีหรือไม่ (ยกตัวอย่าง)

·       ถ้าไม่มีแล้วจะสร้างได้อย่างไร

2.      หลังจากเชียงใหม่..เราจะไปที่หัวหิน บ้านลาด ท่ายาง

·       เช้าวันเสาร์ไปที่ Stamford เข้าพบอธิการ ผู้บริหาร และนักศึกษา

·       บ่ายวันเสาร์ไปดูงาน  

·       ค่ำหาเวลาที่เหมาะสมทานอาหารร่วมกันกับนักเรียน Stamford + ชาวบ้าน

3.      ส่วนข้อสอบให้เวลาที่จะพบกันที่ Safe house ก่อนวันที่ 5

 

                                                                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

 

คำสำคัญ (Tags): #phd3
หมายเลขบันทึก: 289347เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (277)

ถึง เพื่อน Ph.D. SSRU และชาว Blog ทุกคนครับ

 

                รายการคิดเป็นก้าวเป็น...ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของผู้นำองค์กรในสภาวะวิกฤษยุคการเปลี่ยนแปลง

 

            วันพุธที่ 19 สิงหาคม 2552 ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ผู้ซึ่งพวกเรานับถือท่านว่าเป็นกูรู ทางด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในและต่างประเทศ และเป็นผู้คิดทฤษฎี 2R, 4L, 8K, 5K ได้เข้ามาเสวนาและแลกเปลี่ยนมุมมอง กับผู้หญิงเก่งของประเทศคนหนึ่ง คือ ท่าน ดร.สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด และ TS.Group เกี่ยวกับประเด็นบทบาทของผู้นำองค์กรในสภาวะวิกฤษยุคการเปลี่ยนแปลง เพื่อเชื่อมโยงทฤษฎี 2R, 4L, 8K  ในเรื่อง Learning Organization และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อบันทึกเทปโทรทัศน์ในรายการคิดเป็นก้าวเป็น ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มีการออกอากาศในวันเสาร์ ช่วงเวลา 23.00-23.30 น.  และ Rerun ในวันอังคาร, พุธ ช่อง TNN2 (True Vision 08) และออกอากาศทางเคเบิ้ลท้องถิ่นวันศุกร์, เวลา 22.10-23.00 น. ช่อง TTV2 และ Rerun ในวันเสาร์, วันอาทิตย์

            บทบาทผู้นำองค์กรยุคการเปลี่ยนแปลง ในรายการคิดเป็นก้าวเป็น จะออกอากาศเป็น 2 ตอน กำหนดการออกอากาศไว้ เสาร์ที่ 12,19  กันยายน 2552 หรือเสาร์ที่ 19,26  กันยายน 2552 เวลา 23.00-23.30 ช่อง TNN2 ก่อนออกอากาศ 1 สัปดาห์จะ Confirm ชาว Blog อีกครั้ง

 

                มีภาพก่อนการบันทึกเทปโทรทัศน์ และช่วงขณะบันทึกเทปให้ชมเป็นตัวอย่าง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     ผมจะเตรียมตัวเขียนเรื่อง Digital Capital ทุนทางด้าน IT เพราะตรงกับการทำงานของผม  และผมเชื่อมั่นว่าจะสามารถเขียนเพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆและผู้ประกอบการ SMEs

     “นอกเหนือจากการแข่งขันที่สูง ผู้ประกอบการธุรกิจในทุกๆภาคส่วน ยังต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน และ IT คือคำตอบที่ดีที่สุดเหมาะอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบันและนี่คือการเพิ่มความรู้หรือเราเรียกว่า การเพิ่มทุนด้าน“Digital Capital (ทุนทาง IT)” นั่นเอง

     สำหรับทุนทางด้าน IT นี้ในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทั้งคนที่ทำงานเป็นลูกจ้าง และคนที่ทำธุรกิจ เพราะ IT มีบทบาทสำคัญมาก ๆ ในทุก ๆ ด้าน โดยผู้เขียนได้ทำการบรรยายหัวข้อ “ติดปีกธุรกิจด้วย IT” ในงานสัมมนาหลาย ๆ ที่ จึงได้นำตัวอย่างเนื้อหาและตัวอย่าง Power Point (http://gotoknow.org/file/tanapolk/IT.pdf) ที่ได้ใช้นำเสนอมาลงให้ดูเป็นข้อมูลครับ

     ผมจะวางแผนเขียนเรื่องนี้ใหครอบคลุมจุดที่สำคัญและตามที่อาจารย์แนะนำครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

 

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

 

                หนังสือ 6 เล่ม ที่ผมชื่นชอบและคิดว่ามีอิทธิพลต่อคนจำนวนมากเหมือนกัน และเป็นหนังสือ Best Seller Book ด้วยเช่นกัน

 

·      The World is Flat:

 

                หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ การเมือง ได้เปลี่ยนโลกให้เล็กลง จากการพังลงของกำแพงเบอลิน และ การขยายตัวของอินเตอนเนต รวมถึงการย้ายการบริการทาง IT ไปที่จีนและอินเดีย โดยประบวนการทั้งหมดก่อให้เกิดโลกาภิวัฒน์โดยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของสังคม และ ความเชื่อขององค์กร ดังนั้นทุกองค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้ไปสู่จุดสูงสุดได้ตลอด

 

 

·      The Toyota Ways:

 

                หนังสือเล่มนี้เป็นผลจากการศึกษาเกี่ยวกับ Toyota มาเป็นเวลา  20 ปี โดยการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องในหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีในประเทศญี่ปุ่น  ที่มหาวิทยาลัย  Michigan โดยที่ดูว่าความสามารถในการแข่งขัน เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนของธุรกิจอุตสาหกรรมไทยพัฒนาปรับตัวอย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการแข่งขัน และเป็นที่ยอมรับกันในทุกวงการว่า ระบบบริหารการผลิต การบริหารองค์กรและธุรกิจแบบโตโยต้า เป็นแบบอย่างที่บริษัทชั้นนำทั่วโลกนำไป ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการศีกษา การวิจัยอย่างกว้างขวางในแวดวงวิชาการ หนังสือ วิธีแห่งโตโยต้า ได้อธิบายอย่างลึกซึ้งในวิสัยทัศน์  ปรัชญา แนวทางและวิธีการดำเนินงาน พร้อมกับกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งส่งผลให้โตโยต้า ก้าวขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำของโลก

 

·      Good to Great: Why Some Companies Make the Leap... and Others Don't :

 

                เป็นการศึกษา 5 ปีถึงบริษัทต่าง ๆ ว่าทำไมบางบริษัทที่พบว่ายากที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น จากความสำเร็จที่ทำอยู่ในปัจจุบัน แต่ทำไมบางบริษัทถึงก้าวข้ามอุปสรรคที่มองว่าตัวเองดีอยู่แล้วไปสู่บริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องยอดเยี่ยม โดยยกตัวอย่างถึงเรื่องของ การใช้จ่ายในส่วนของผู้บริหารกับความสามารถบริษัท และ รวมไม่ถึงการจัดการความเปลี่ยนแปลง และ การกระตุ้นคนในองค์กร โดยที่คนในองค์กรต้องมีสำนึกของมืออาชีพและ ผู้บริหารต้องวางคนให้ถูกกับงานที่ทำ

 

·      Built to Last: Successful Habits of Visionary Companies:

                เป็นหนังสือเล่นต่อจาก Good to great โดยที่ผู้เขียนพบว่ามีบางประเด็นที่ขาดหายไปจากเล่มแรก ในการที่จะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน โดยที่ในหนังสือจะพูดถึง ความคิดหลัก ๆ ในการเริ่มธุรกิจ, องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ต้องมีผู้นำที่สง่างาม, การทำกำไรให้สูงสุดคือเป้าหมายขององค์กรที่มีวิสัยทัศน์ โดยที่จะต้องหาทางเอาชนะคู่แข่ง และท้ายสุดพบว่าหากองค์กรพบปัญหาว่าไม่สามารถก้าวข้ามผ่านสถานภาพปัจจุบัน หรือเติบโตได้ช้า ให้ทำการจ้าง CEO จากภายนอกมาจุดประกายองค์กรใหม่ โดยยังเสริมประเด็นอื่น ๆ เช้นเรื่องของเป้าหมายบริษัทที่ชัดเจน การมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ทดลองสิ่งใหม่และหานวตกรรมตลอดเวลา

·      The 7 Habits of Highly Effective People:

                เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นว่าคนที่มีประสิทธิภาพ ควรมีอุปนิสัยอย่างไร โดยผู้เขียนได้อ้างอิงถึง อุปนิสัย 7 อย่าง โดยก่อนที่จะเข้าใจ 7 อุปนิสัยนั้น จำเป็นต้อง เปลี่ยนวิธีคิดของโลกใหม่ก่อนว่าโลกดำเนินไปอย่างไร จากนั้นจะเป็นเรื่องของ 7 อุปนิสัยคือ Be Proactive, Begin with the end in mind, Put first things first, Think win-win, Seek first to understand- then be understood, Synergize, & Sharpen the saw

 

·      Getting to Yes, 2nd Edition: Negotiating Agreement without Giving In:

 

                เป็นหนังสือที่สะท้อนถึงเรื่องของการเจรจาต่อรอง โดยเน้นกลยุทธ์ที่จะสามารถได้ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และกระตุ้นให้ทั้งสองฝ่ายต้องการให้การเจรจาจบลงเร็ว โดยที่ท้ายที่สุดแล้วจะยินดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยไม่ได้ใช้กลยุทธ์ในการเล่นเกมกัน

 

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง

Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ และสวัสดีพี่ ๆ เพื่อน ๆ ทุกท่าน

หนังสือน่าที่อ่าน

1.  The Effective Executive  by Peater F. Drucker

ผู้บริหารที่ทรงประสิทธิผล ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำที่เป็นทางการเท่านั้น ตัวอย่างผู้นำทรงประสิทธิผลแต่ละคนมีบุคลิก ลักษณะ ทัศนคติ ค่านิยม จุดแข็ง มีความหลากหลาย สิ่งที่ทำให้เรียกว่า ทรงประสิทธิผลคือ ต้องรู้ ทั้ง 8 ประการ

1.1 เขาถามว่า ต้องการบรรลุอะไร คือ ต้องรู้ว่าอะไรที่สำคัญและอะไรที่ไม่สำคัญ และเลือกทำในสิ่งที่สำคัญก่อน

1.2 เขาถามว่า อะไรเหมาะกับองค์การ คือ ต้องรู้สถานการณ์ของตัวเอง วิเคราะห์ตัวเองให้ถูก

1.3 เขาสามารถพัฒนาแผนปฏิบัติการ คือ ต้องวางแผน และลงมือทำจริง ๆ

1.4 เขารับผิดชอบในการตัดสินใจ คือ ควรที่จะทบทวนการตัดสินใจเป็นระยะ ๆ และตัดสินใจเป็นระบบ

1.5 เขารับผิดชอบในการติดต่อสื่อสาร คือ ต้องสามารถประสานงานกับผู้อื่นได้ ให้เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

1.6 เขามุ่งเน้นเป้าหมายไปที่โอกาส ไม่ใช่ปัญหา คือ ต้องรู้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไร ดังนั้นจึงต้อง รู้เวลาและโอกาส

1.7 เขาดำเนินการประชุมที่สร้างผลิตผล คือ ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า

1.8 เขาคิดและพูดว่า เรา แทนที่จะพูดว่า ฉัน เนื่องจากเป็นการสร้างความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

          การกระทำ 2 ประการแรก ทำให้เขามีความรู้ที่เขาต้องการ ส่วนอีก 4 ประการ จะนำไปสู่การปฏิบัติ และ 2 ประการ จะนำไปสู่ความรับผิดชอบและการพึ่งพาได้ 

2.  The Return of Depression Economic and Crisis of 2008  By Paul krugman

โดยสรุป จากเศรษฐกิจโลกที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี ค.ศ 1997 เรียกว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ปี ค.ศ 2008-2009 นั้น เกิดจากความโลภ ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่เอาแต่ตักตวงประโยชน์แก่ตัวเอง และขององค์กร โดยไม่ได้นึกถึง ประโยชน์โดยรวมของประเทศ หรือระดับโลก จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งหากมองเทียบกับทฤษฎี 8K's ของ ศ.ดร.จีระ แล้วพบว่า มนุษย์ขาดทุนทางจริยธรรม คือ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ดังนั้นเกิดการไม่รู้จักพอ จึงทำให้เกิดเศรษฐกิจวิบัติ ขึ้น

3.   Rethinking the Future By Rovan Gibson

 ได้ให้ผู้อ่านคิดใหม่ 6 ประการ คือ

1. คิดใหม่ต่อหลักการ

2. คิดใหม่ต่อการแข่งขัน

3. คิดใหม่ต่อการควบคุมและความซับซ้อน

4. คิดใหม่ต่อความเป็นผู้นำ

5. คิดใหม่ต่อตลาด

6. คิดใหม่ต่อโลก

ซึ่งกระบวนการคิดใหม่ เหล่านี้ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนำไปสู่ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่หลีกหนีการแข่งขัน จาก Red Ocean เป็น Blue Ocean

 ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา  ปินตา 084-8073320

                

 

 

 

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ ค่ะ

สิ่งที่ได้จากการ ไปศึกษานอกสถานที่ คือ การเปิด

1. เปิดหู คือการได้ฟัง ได้ยินในสิ่งที่เราไม่เคยสนใจมาก่อน แต่มันคือความรู้อีกแขนงหนึ่ง (ต้องฟังคนอื่น)

2. เปิดตา  ได้เห็นอะไรใหม่ ๆ ได้เรียนรู้ (ต้องดู)

3. เปิดสมอง ไม่ยึดติดกับวิธีการเรีนรู้เดิม ๆ (ต้องรู้จักเรียนรู้)

4. เปิดใจ ต้องยอมรับคนอื่น ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไรก็ตาม(ต้องยอมรับ)

5. เปิดตัว ให้สังคมข้างนอกได้รู้จัก ว่าเราคือใคร มาจากไหน และมีวิธีการเรียนรู้ และบรรยากาศ ในการเรียนรู้ในสถานที่ต่าง ๆ (ต้องรู้จักภูมิใจ)

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา

กราบเรียน ศ.ดร. จีระที่เคารพ

จากการไปห้าง ดิอิมโพเรียม พวกเราได้อะไรกันบ้าง

1. ดีใจแทนทีมงานอย่าง คุณอิ๋ว การที่น้องคอยดูแลเรา ขณะที่เราก็ไม่ได้ละเลย แต่ Take care เขาเหมือนเขาเป็นส่วนหนึ่งของเราดูเขาจะประทับใจ อจ.จีระและพวกเราด้วย

2. การไปครั้งนี้พอเห็นทุ่งดอกกระเจียวจำลอง ที่ทางห้างจัดทำให้ดูสดชื่นและมีความสุขเหมือนนักเรียนที่ได้ออกไปแหล่งเรียนรู้ นอกสถานศึกษาดูทุกคนมีความสุขมาก แม้จะเหนื่อยกายบ้าง

3. ดังนั้นการจะรับประสบการณ์อะไร สมองเราก็เปิดรับมากกว่าปกติ ดิฉันถือว่า การออกไปนอกสถานครั้งนี้ อจ. จีระท่านได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้(เกินร้อยค่ะ)

สรุปภาพรวม อจ.ยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัว ๆ ที่1. คือ การได้ไปเปิดโลกทัศน์ ที่ ร้านหนังสือคิโนฯ สำหรับตัวที่ 2 ได้ร่วมถวายพระพรและแสดงความจงรักภักดี ต่อ พระแม่ของชาติในทุ่งดอกกระเจียวจำลอง สำหรับตัวที่ 3 ได้พบท่านประธาน กองทุนฯ เพื่อศิลปินคุณลลิสา จงบารมี และท่านอื่นๆ ส่วนควันหลง คือ การบ้านจดไม่ทันค่ะ

ตอบการบ้านข้อแรกที่ทำได้ก่อน (ไม่ใช่จำได้ก่อน) คือ ให้บอกผู้ที่เราชื่นชอบในความเป็น Leadership ในวงการธุรกิจ 3 ท่าน นอกวงการ 3 ท่าน

1. คุณบุญชัย โชควัฒนา กรรมการอำนวยการ บ.สหพัฒนพิบูล จำกัด กล่าวว่า “ การสร้างธุรกิจให้มั่นคงนั้นต้องไม่ละเลย เรื่อง คน เพราะพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่า คนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาทุกระดับเกิดความยั่งยืน และ ดร.เทียมผู้ก่อตั้งบริษัทนี้ท่านก็ยึดหลักความพอเหมาะพอดี รอบคอบ มีคุณธรรมและทำมาค้าขายต้องเดินสายกลาง”

2. ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ประธานกิตติมาศักดิ์ เครือดุสิตธานี “ โดยบริษัทได้ปรับนโยบายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจตามยุคสมัย แผนกฝึกอบรมได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจและใช้ในชีวิตประจำวัน เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่”

3. คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ บ.ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด “ ขณะนี้ เข้าสู่ยุคกาภิวัตน์ บริษัทเรามุ่งสร้าง วัฒนธรรมภายในองค์กรนอกจากการเป็น คนดี คนเก่งแล้ว ก็สร้างจิตสำนึก เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน ถ้ามีส่วนเกินไม่ว่าเวลา สติปัญญา หรือทรัพย์สินก็ต้อง เอากลับคืนให้สังคมเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยให้สังคมเป็นสังคมที่ดีและเติบโตไปพร้อมๆ กับเรา”

นอกวงการ ! 1. เลขาธิการสหประชาชาติ คุณโคฟี อันนัน กล่าวสดุดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ ฯ การพัฒนาคนโยแก่นแท้แล้วเป็นแนวทางเรียบง่าย การพัฒนา(ทรัพยากร)มนุษย์ เป็นเรื่องการเสริมสร้างขีดความสามารถแก่ประชาชน มิใช่เพื่อคนเพียงไม่กี่คน แต่เพื่อคนทั้งปวงโดยถ้วนทั่ว การเสริมสร้างโดยผ่านทางการศึกษา การขยายโอกาสและทางเลือก สุขภาพและโภชนาการ การพัฒนาคนเป็นเรื่องของการสร้างเสริมขีดความสามารถในการขยายโอกาสแก่ปัจเจกชนที่จะเลือกให้มีชีวิตยืนยาว ด้วยการมีความสุข มีพลานามัยที่แข็งแรง เป็นบุคคลที่มีความรู้ และมีความคิดสร้างสรรค์ ฯ......”

2. ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา “ การเกิดวิกฤตในประเทศไทย เป็นเพราะ การเจริญเติบโตของไทยอยู่บนรากฐานที่ยังไม่มีความพร้อม กล่าวคือ ประเทศไทยได้ย่างก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยไม่คำนึงถึงรากฐานภาคการเกษตร แต่กลับมุ่งไปสู่การเป็นประเทศ อุตสาหกรรมที่การดำเนินกิจกรรม ทั้งเรื่องเงินลงทุน เทคโนโลยี หรือคนที่ชำนาญการยังคงต้องพึ่งพาประเทศอื่น”

3. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี พ.ต.ต.ธงชัย เย็นประเสริฐ ผู้เขียน ชื่นชมท่านที่เป็นคนกล้าคิดกล้าทำ งบประมาณของอบจ. หลายร้อยล้านมาลงให้การศึกษาในจ.นนทบุรี เช่น

3.1 การให้ครูอัตราจ้างช่วยเสริมครูที่ขาดแคลน เนื่องจากมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจากผู้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัย บ้านจัดสรรในจังหวัดนี้มากขึ้นทุกปี ทุกระดับ(ตั้งผู้มีอันจะกิน จนถึงผู้ใช้แรงงาน รับจ้าง) รวมทั้งให้ครูชาวต่างชาติที่สอนภาษาอังกฤษ

3.2 การให้อาคารสิ่งก่อสร้าง ที่ไม่ให้เน้นสะพาน ถนนหนทาง แต่เป็นอาคารเรียนแม้ทาง มหาดได้บัญญัติว่าด้านอื่นจัดสรรให้ได้ยกเว้นอาคารเรียน ตอนนี้การสร้างอาคารเรียนเพิ่มจึงหยุดชะงัก เพราะอยู่ในช่วงฟ้องศาลปกครอง

3.3 การจัดสรรอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1 ห้อง มี 40 เครื่อง นักเรียนได้เรียน 1คน:1เครื่องในจ.นนทบุรี และอื่นๆ ดนตรีไทย ดนตรีสากล หรือวงโยฯ แล้วแต่โรงเรียนขอไป ได้ครบตามความต้องการของทุกโรงเรียน

3.4 สุดท้ายท่านบอกไว้ว่า ท่านมีนโยบายพัฒนาการศึกษาก่อนพัฒนาวัตถุ (การศึกษาที่ดี เราจะมีเยาวชนที่มีทั้ง 8 K 5Kและ 2 I 4 E ) ตอนนี้ เฉพาะการศึกษา และการประเมินตาม KPI จาก กพร.กรม จ.นนทบุรี เป็นที่ 1 ใน 3 คะแนนสูงสูดของทั่วทุกเขตการศึกษา(ทั้ง 185 เขตทั่วประเทศ)

ด้วยความเคารพจาก

ผอ.สมศรี  เต็มอนุภาพกุล (081-755 6338)

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

บุคคลนอกธุรกิจ  ที่ถือเป็นตัวอย่างในการสร้างประโยชน์

ท่านที่  1  พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ณ ตลาดศรีประจันต์

อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ที่วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ และอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์(นาคหลวง) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๔ ก.ค. ๒๕๐๔ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก ป.ธ.๙ (ขณะเป็นสามเณร) และพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑)
ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม  ผลงานอันเลื่องชื่อที่ท่านมอบไว้เป็นมรดกแก่ชาวโลกคือ หนังสือ "พุทธธรรม" และงานนิพนธ์อันทรงคุณค่าอีกไม่ต่ำกว่า ๓๕๐ เล่ม พ.ศ. ๒๕๓๗ องค์การยูเนสโกได้น้อมถวายรางวัล การศึกษาเพื่อสันติภาพ แก่พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ซึ่งท่านเป็นคนไทยคนแรกและคนเอเชียคนที่ ๑๔ ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติยิ่งนี้

 

ท่านที่  2  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ซึ่งเป็นผู้ที่ทุ่มเทเวลา  ความรู้  ความสามารถเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  โดยเฉพาะเว็บไซต์Chira Academy.com เป็นเสมือนอาณาจักรของความรู้และขุมทรัพย์ทางปัญญา พบกับกิจกรรม และบทความที่สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติ  ท่านได้ทำงานอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี และเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนในวงกว้างจึงได้ถ่ายทอดคุณค่าทางความคิดและประสบการณ์ผ่าน www.ChiraAcademy.com  เพื่อศักยภาพและความสามารถทางการแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัตน์..

 

ท่านที่ 3 ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา  ท่านไม่ได้เป็นแค่วิศวกรธรรมดาๆ  แต่ท่านได้เผยแพร่ทัศนคติที่ดีในการดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นไปอย่างแตกฉานอย่างผู้รู้ลึก   บางคนอาจวัดความสำเร็จของหน้าที่การงานด้วยชื่อเสียง เงินทอง และลาภยศ แต่สำหรับบุคคลท่านนี้ การใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนสิ่งที่ได้มาคือของแถม  "ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา" บุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกจากการเป็นผู้คิดค้นระบบควบคุมการลงจอดบนดาวอังคารของยานอวกาศไวกิ้ง 2 ลำ เมื่อปีค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เป็นวิศวกรนักเทคโนโลยี เป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บริหารระดับสูงหลายบริษัท เป็นนักการเมืองน้ำดี และเป็นนักการศึกษาที่ได้รับการเชิญไปบรรยายมาแล้วทั่วโลก
      
 ด้วยความเคารพ

นางจิราพร  สวัสดิรักษ์  087-066-2359           

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

การไป  Emporium  สิ่งที่ได้มีดังนี้

  • 1. ได้เรียนรู้การไปศึกษานอกสถานที่ ว่าเป็นการเรียนที่น่าตื่นเต้น น่าจดจำ ไม่เบื่อหน่าย ประทับใจ สนุก เหมาะสำหรับผู้ที่เป็น facilitator ควรที่จะได้ศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมเช่นนี้ให้กับศิษย์ ในการส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ นอกจากนั้น เป็นการบูรณาการ การเรียนรู้จากภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่าหลายท่าน
  • 2. ได้เห็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มีหลากหลายอาชีพ อายุ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่กว้างขวาง ข้ามศาสตร์ รู้รอบและรู้ลึก ซึ่งเป็นภาพตัวอย่างให้กับคนที่รักความก้าวหน้าได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
  • 3. ได้สัมผัสหนังสือดีมีคุณค่าระดับโลกที่ทุกคนไม่ควรพลาด
  • 4. ได้เห็นทุ่งกระเจียวในเมืองหลวง ที่สามารถส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ของสินค้าอื่น
  • 5. ได้ซือหนังสือ มา  3  เล่ม  คือThe FIFTH Discipline ของ Peter M. Senge ซึ่งจะมีเรื่องน่าสนใจ ดังนี้
  • - The Laws of the Fifth Discipline
  • - A Shift of Mind
  • - Person Mastery
  • - Mental Models
  • - Shared Vision
  • - Team Learning
  • - The Leader's New Work

INVESTING  IN  A  SUSTAINABLE  WORLD  ของ  MATTHEW  J.  KIERNAN , Ph.D

            ซึ่งมีเรื่องน่าสนใจคือ

  • - Sustainable Investment Revolution
  • - Sustainability and Competitive Advantage
  • - Perverse Outcomes and Lost Opportunities

CHAOTICS  THE  BUSINESS  OF  MANAGING  AND  MARKETING  IN  THE  AGE  OF  TURBULENCE  ของ  PHILIP  KOTLER  และ JOHN  A  CASLIONE

ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจคือ 

  • - THE WORLD HAS ENTERED A NEW ECONOMIC STAGE : FROM NORMALITY TO TURBULENCE
  • - MANAGEMENT"S WRONG RESPONSES TO TURBULENCE NOW BECOME DANGEROUS
  • - THE CHAOTIC MODEL : MANAGING VULNERABILITY AND OPPORTUNITY

ด้วยความเคารพ

นางจิราพร  สวัสดิรักษ์  087-066-2359

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

หนังสือน่าอ่าน  5  เล่ม  ที่มีอิทธิพลต่อความเป็นผู้นำ  หรือผู้ที่กำลังจะเป็นผู้นำ  มีดังนี้

  • 1. THE NECESSARY REVOLUTION ของ PETER SENGE เป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดในการนำพาองค์กรทั้งโลกสู่ความยั่งยืน โดยความร่วมมือของผู้นำและสมาชิกในองค์กร
  • 2. THE 21 IRREFUTABLE LOWS OF LEADERSHIP โดย JOHN C. MAXWELL ซึ่งมีความเป็นจริงที่ผู้นำต้องยอมรับ และไม่สามารถแย้งได้ ยังจะทำให้ผู้นำมีความสำเร็จในการนำพาองค์กรสู่เป้าหมาย
  • 3. HOW DID THAT HAPPEN ของ ROGER CONERS & TOM SMITH เป็นหนังสือดีที่ส่งเสริมแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้นำในการบริหารองค์กรในหลากหลายเหตุการณ์
  • 4. LEADERSHIP 101 โดย JOHN C. MAXWELL เป็นหนังสือที่สร้างให้ผู้นำมีวิธีการในการที่จะยกระดับความสามารถของตนเองจากวิธีการที่แนะนำในหนังสืออย่างเข้าใจง่าย และสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ในเวลาอันสั้น เช่นการส่งเสริมวิสัยทัศน์ ความซื่อสัตย์และจงรักภักดี และการใช้หลักการในการเพิ่มความสามารถในการเป็นผู้นำ
  • 5. LEADERSHIP AND SELF DECEPTION โดย STEPHEN R. COVEY เป็นหนังสือที่บอกสิ่งซ่อนเร้นที่หลอกลวงตนเองของคนที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ หรือเป็นการทำลายประสิทธิภาพของงาน ทั้งส่วนบุคคลและองค์กร ทำให้ผู้อ่านได้ทราบวิธีการแก้ไขปัญหาที่หลอกลวงตนเองและไปสู่ความสำเร็จในการเป็นผู้นำได้ไม่ยาก

ด้วยความเคารพ

นางจิราพร  สวัสดิรักษ์  087-066-2359

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

หนังสือ 6 เล่ม ที่ชื่นชอบและคิดว่ามีอิทธิพลต่อคนจำนวนมาก และเป็นหนังสือ Best Seller Book

1. The World is Flat: เป็นหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีผลกระทบต่อการสื่อสาร การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งในเนื้อหาสาระได้บอกถึงกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน และจะกล่าวถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละด้าน ที่สำคัญผู้เขียนได้สอดแทรกวิธีการปรับเปลี่ยนองค์กร วิถีชีวิตให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ หากใครคิดว่าตัวเองไม่มีความรู้เกี่ยวกับสารสนเทศที่กำลังก้าวไกลทิ้งห่างออกไปจากเราเรื่อยๆ นั้นท่านสามารถหาความรู้ได้จากหนังสือเล่มนี้ได้แบบง่ายๆ เลยทีเดียว

2.Strategic Management เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์ การวางกลยุทธ์ในการแข่งขัน และการวิเคราะห์กลยุทธ์ด้วยเครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำองค์กร ผู้ประกอบการ นักวิเคราะห์ต่างๆ ผู้เขียนจะอธิบายวิธีการจัดทำ และการวางกลยุทธ์ในการจัดการองค์กร มีการยกตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรม มีรูปแบบโมเดลใหม่ให้ผู้อ่านได้เลือกนำไปปรับใช้กับองค์กรของตนเองได้หลายรูปแบบ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้พูดถึง พลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย หนังสือเล่มนี้จะเป็นที่สนใจมากสำหรับนักยุทธ์ศาสตร์เพราะถือว่าเป็นคัมภีร์ของนักยุทธศาสตร์ในการวางกลยุทธ์เป็นอย่างดี

3.STREGTHS BASED LEADERSHIP : เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับภาวะผู้นำในองค์กรต่างๆ ที่สำคัญระดับโลก ผู้เขียนได้กล่าวถึงหลักการสำคัญที่ผู้นำควรจะมีในการบริหารจัดการองค์กร มีการเปรียบเทียบยกตัวอย่างผู้นำในแต่ละองค์กรว่ามีการบริหารจัดการองค์กรตนเองโดยเลือกใช้กลยุทธ์แบบไหนที่เหมาะสม ซึ่งท่านผู้อ่านเมื่ออ่านจบแล้วจะสามารถสรุปได้ว่าแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันทั้งด้านผลิต บริการ รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้นกลยุทธ์การขับเคลื่อนงาน ลักษณะผู้นำก็จะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์องค์กรนั้น แต่ท่านสามารถนำวิธีการที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างไว้ในหนังสือไปปรับใช้ได้

4.BLUE OCEAN STRATEGY เป็นหนังสือที่ผู้เขียนตั้งใจสื่อถึงวิธีการสร้างตลาดลูกค้าใหม่ในแวดวงธุรกิจโดยไม่กระต่อพันธมิตรธุรกิจเดิม นอกจากจะไม่กระทบต่อพันธมิตแล้วยังสามารถนำจุดแข็งของพันธมิตรมาเสริมธุรกิจตนเองได้ด้วย เป็นหนังสือที่นักธุรกิจไม่ว่าจะรุ่นเก่าหรือใหม่สมควรอ่านอย่างยิ่ง

5. THE LONG TAIL เป็นหนังสือเกี่ยวกับการวิธีการสร้างธุรกิจใหม่ภายใต้สินค้าเก่าๆ หรือสินค้าที่ไม่ได้รับความสนใจเช่นในอดีตแล้ว โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารเทศเป็นตัวสร้างสรรค์

thaksinanan

080 -6148578

ถึง  ปริญญาเอกทุกคน

 

              วันเสาร์นี้ผมจะไป  Morning Coffee เวลา 8.30 – 9.30 น. จะได้ต้อนรับ อ.ธัญญาด้วย จะให้ทุกคนแนะนำว่า แผนที่จะเขียน Pocket book ร่วมกับอาจารย์ ควรเน้นอะไร?

          อาจารย์ธัญญา เป็นคนดีและมีจิตสาธารณะมาก Ph.D Student ทุกคนต้องยกย่องท่าน หาความรู้จากท่าน เน้นถามประสบการณ์การวิจัยของท่าน

          ผมจะบินไป อินเดีย รัฐที่ผมไปน่าสนใจทางด้านภูมิศาสตร์ คืออยู่ใกล้ไทยมาก และคนแถวนี้ก็คล้ายๆ คนพม่า คือ Mizuram จะเล่าให้ฟัง ตอนกลับมาแล้วครับ

 

 

                                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

ผมจะจัดเตรียมโต๊ะและ "ปาท่องโก๋" ไว้ด้วยครับ

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด  อ.บ้านลาด  จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอพูดคุยการบ้านในเรื่องGood to Great  =  จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  ต่อจากเมื่อวานนะคะ ผู้แต่งหนังสื่อเล่มนี้คือ Jim Collins  (จิมส์  คอลลิลส์ ) สำนักพิมพ์ : Harper Business  จำนวนหน้า : 300 ราคา : 27.50 ดอลลาร์สหรัฐ Collins และทีมวิจัย  โดยมีหลักเกณฑ์คัดสรร ที่เข้มงวดจาก 11 บริษัท ที่ก้าวจาก บริษัทที่ดี สู่ àบริษัทที่ ดีเยี่ยมผู้นำระดับ 5 à เริ่มต้นด้วยà à คน (Human )à àต่อด้วยààการกระทำ(Action ) à à เผชิญ ความจริง(Reality) อันโหดร้าย à à คิดอย่างเม่น (Hedgehog Concept) à à สร้างวัฒนธรรม(Culture ) à à ความมีวินัย (Principle) à à เทคโนโลยี (Technology & IT ) คือ ตัวเร่งà à ล้อมู่เล่ กับวงจรหายนะ (Doom Loop)

            “Good to Great =  จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ หนังสือ  “GOOD  TO  GREAT ”  ป็นหนังสือที่เขียนโดย  จิมส์  คอลลิลส์  ซึ่งได้รวบรวมทีมวิจัย 21 คนแบ่งเป็น 4 ทีม ๆละ 4 ถึง 6 คนใช้เวลา 5 ปี ในการ วิจัยและเขียนหนังสือ เล่มนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ และคุณค่าจากเนื้อหาของหนังสือและนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้กับงานของผู้อ่าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคมหรือใช้กับชีวิตเรื่อง “Good to Great =  จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  มีรายละเอียดจำนวน 8 บทดังนี้

 

บทที่ 1 ความดีเป็นศัตรูของความยิ่งใหญ่  จิมส์  คอลลินส์  ใช้เวลา 5 ปี  ในการวิจัย  วิเคราะห์  บริษัทที่ดีจะกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้ไหม?  ถ้าได้จะเป็นอย่างไร ? หรือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้? ผลก็คือ  การเปลี่ยนจากบริษัทที่ดีเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  (Good  to  Great)  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้  จาก การวิเคราะห์ค้นหาคำตอบ  จากบริษัทที่มีรูปแบบการก้าวจากบริษัทที่ดี ไปเป็น บริษัทที่ยิ่งใหญ่  โดยเลือกศึกษาจาก 28 บริษัท เป็นบริษัท  GOOD  TO  GREAT  จำนวน  11  บริษัท  เปรียบเทียบโดยตรง  11  บริษัท  และบริษัท เปรียบเทียบที่ไม่ยั่งยืน 6 บริษัท  

การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการต่อเนื่องจนพัฒนามาอีกขั้นหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 

1.    หาคนที่มี คุณสมบัติเหมาะสม  มีวินัย  มีภาวะผู้นำ อยู่ในระดับ 5

2.  สร้างความคิด ที่เป็น ระบบถูกต้อง

3.    กระทำอย่างมีวินัย  ตามความคิดที่ถูกต้อง

 

บทที่ 2 ผู้นำระดับ 5 ผู้นำระดับ 5 ของบริษัท GOOD TO  GREAT  เป็นคน อ่อนน้อม ถ่อมตน แต่มุ่งมั่น ในความสำเร็จของการทำงาน แบบมืออาชีพ เป็นคนแบบ  อับราฮัม  ลินคอล์น หรือ โสคราดีส  มากกว่าคนแบบ นายพลแพตตัน หรือ จักรพรรดิซีซาร์

 

คุณลักษณะผู้นำระดับ 5”

- ละอัตตา ของคุณ เพื่อ มุ่งไปสู่เป้าหมาย ที่ใหญ่กว่า มีความทะเยอทะยาน เพื่อสถาบัน ไม่ใช่ เพื่อตนเอง มีความถ่อมตน และ มีเจตจำนงแน่วแน่

- ความเป็น คนธรรมดา ของผู้นำระดับ5 ไม่พูด ถึงความยอดเยี่ยม

- ผลงานเป็นของสถาบัน ไม่ทำตนยิ่งใหญ่กว่าชีวิตจริง

            - มีความมุ่งมั่นโดย ไม่หวั่นไหวที่จะทำในสิ่งที่ ต้องทำสร้างทีมผู้บริหาร และ คณะกรรมการ อย่างมี ระบบ ความสัมพันธ์ทางครอบครัว หรืออายุงาน  ไม่มีความหมายในการเลือกคนมาอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญ

            CEO ของบริษัทที่ดี สู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  10 ใน11 เป็นคนในบริษัทเอง  และในจำนวนนี้  3 คน เป็นคนมาจากครอบครัวเจ้าของบริษัทในขณะที่บริษัทเปรียบเทียบจะพึ่ง ซีอีโอ(CEO) เป็นคนนอก  แต่ก็ยัง ล้มเหลว ในการสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืน

ผู้นำระดับ 5 วางตัวสืบทอดตำแหน่ง เพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าในรุ่นถัดไป

ผู้นำระดับ5 ต้องการที่จะสร้างผลงานที่ยั่งยืน มุ่งมั่น ที่จะทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่ 

ผู้นำระดับ5 มีความพากเพียรในการทำงานแนวโน้มที่เป็นอันตรายที่สุด คือ  คณะกรรมการบริษัทชอบเลือกผู้นำที่มีชื่อเสียง แทนที่จะ เลือกผู้นำที่มีศักยภาพของผู้นำระดับ 5

วันนี้หนูขอจบไว้เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ------->เพื่อน  ๆ ๆ อยากทราบเรื่อง GOOD TO GREAT  ต้องคอยติดตามตอนต่อไปนะคะ ......แต่ ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ ท่านทราบหมดแล้วàà หนู สมศรี นวรัตน์ เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนแล้วละคะ ????

สมศรี  นวรัตน์ Tel. 081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ. บ้านลาด วันนี้หนูขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้รวมถึงการบ้านใน เรื่อง Good to Great  = จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  ต่อจากบทที่แล้วนะคะ

 

บทที่  3 “ใครทำมาก่อน ทำอะไร?

            @ ผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้น การเปลี่ยนแปลง บริษัทด้วยการหาคนที่ เหมาะสม มาทำงาน การหาคนที่ เหมาะสมมาอยู่ในทีม ต้อง ใครทำมาก่อนทำอะไร”----> มาก่อน  วิสัยทัศน์(Vision)---->มาก่อนกลยุทธ์(Strategic)  มาก่อน---->โครงสร้างองค์กร(Structure) ---->มาก่อนกลยุทธ์วิธี(Tactic)

            @ บริษัทเปรียบเทียบ ชอบใช้รูปแบบการจัดการแบบ อัจฉริยะที่มีผู้ช่วยนับพัน 

            @ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ มีความ เข้มงวด เฉียบขาด ในการ ตัดสินใจเรื่อง "คน" แต่ ไม่ใช่คน อย่างโหดไร้ความปราณี  

 

หลักปฏิบัติใน การตัดสินใจเลือกคน  ได้อย่าง เฉียบขาด

1.      ถ้ายังไม่แน่ใจ  อย่าเพิ่ง ตัดสินใจ  ให้รอดูก่อน

2.      ถ้าจำเป็นต้องตัดสินใจ  อย่ารีรอ

3.      ใช้คนที่เก่งที่สุด--àไป---àทำงาน

ค่าตอบแทน เพื่อ จูงใจ ให้ได้ คนเหมาะสม มาอยู่กับบริษัทในตอนแรก  และ รักษาคน เหล่านี้ไว้  คนที่เหมาะสม คือ "ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดคน ๆหนึ่งจะเป็น คนที่เหมาะสมหรือไม่?  ขึ้นอยู่กับ นิสัย ใจคอ และ ความสามารถ  ซึ่งเป็น  สิ่งที่ติดตัวมา 

บทที่  4 เผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้ายแต่ศรัทธาไม่เคยคลอนแคลน

            บริษัทที่ดีก้าวไปเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ ทุกบริษัท เริ่มต้นเส้นทางความยิ่งใหญ่  โดยการ เผชิญหน้ากับความจริงที่โหดร้าย เมื่อเริ่มต้นด้วยการพิจารณา สถานการณ์ที่เป็นจริง โดย ไม่หลอกตัวเอง มีการ ตัดสินใจ ที่ ถูกต้อง จะเป็น ข้อพิสูจน์ ในตัวเอง  เป็นไปได้ที่จะทำการตัดสินใจอย่างถูกต้องโดยไม่ยอมรับความเป็นจริงที่โหดร้ายอย่างตรงไปตรงมา

            งานสำคัญ ในการ สร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่ คือ การ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ "ยอมรับฟัง" เรื่อง ของคนในองค์กร  ซึ่งในที่สุดจะ ทำให้ความจริงได้รับการรับฟัง

 "การสร้างบรรยากาศ" ที่จะทำให้ "ความจริงได้รับการรับฟัง" มีหลักปฏิบัติ 4 ข้อคือ

1.      ชี้นำด้วยคำถาม ไม่ใช่ให้คำตอบ

2.      ใช้การมีส่วนร่วมในการพูดคุย  หารือ ไม่ใช่การบังคับ

3.      วิเคราะห์ความผิดพลาด  โดยไม่โยนความผิดให้ใครคนใดคนหนึ่ง

4.      สร้างกลไก "ธงแดง"  เป็นเครื่อง "ส่งสัญญาณ"  เพื่อทำ  "ให้ข้อมูลข่าวสาร" ที่เกิดขึ้น เป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกมองข้ามไป

 

 

ปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่สำคัญในการทำบริษัทที่ดีก้าวไปเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่  คือ  Stockdale Paradox ซึ่งหมายถึง การมีศรัทธา และ ความเชื่อมั่น อยู่เสมอว่าคุณ จะชนะในที่สุด ไม่ว่าจะยากลำบากอย่างไร? และในขณะเดียวกันก็ กล้ายอมรับความจริง อันโหดร้ายที่สุดที่กำลังเกิดขึ้น  ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตามความ สามารถของ ผู้นำ เป็นทรัพย์สิน (Assets) ของบริษัท  ได้พอ ๆกับที่เป็น อุปสรรคเพราะบุคลิกที่เข้มแข็ง ของผู้นำจะ ปิดกั้นไม่ให้คนพูดความจริงออกมา ความเป็นผู้นำไม่ได้เริ่มด้วยวิสัยทัศน์ แต่เริ่มด้วย การทำให้คนกล้าเผชิญกับความจริงอันโหดร้าย และ พร้อมที่จะรับมือกับผลที่เกิดขึ้น คนที่เหมาะสมกับ งานมีแรงจูงใจของตัวเอง อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ บั่นทอนแรงจูงใจของคน  คือการที่ ผู้นำไม่สนใจความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น

            หนูขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ...หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับ..เพื่อน....ๆๆนะคะ เพื่ออนาคตเพื่อน.....ๆ....ๆที่เป็นCEOอยู่แล้วขณะนี้จะเป็น------>Good  to Great  และเป็น Great---> to---> Good  ด้วยนะคะ ...สวัสดีคะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี  Tel. 081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆๆใน เรื่อง Good to Great = จากบริษัทดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ วันนี้หนูจะขอพูดคุยและแลกเปลี่ยน + เรียนรู้บทต่อไปคือบทที่ 5 - 6 นะคะ

 

 

บทที่  5 ความคิดแบบตัวเม่น

 

Isaiah  Berlin  เขียนนิทานกรีกโบราณ  หมาจิ้งจอก = รอบรู้ หลายเรื่อง .....แต่  เม่น”=  รู้เพียงเรื่องเดียว......แต่.....เป็นเรื่องใหญ่ ๆ เปรียบเหมือนคน  2  กลุ่ม

 @กลุ่มหมาจิ้งจอก เป็นพวกที่มี เป้าหมาย(Goal)หลาย  ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน  และ  มองโลกอย่างซับซ้อน แต่ไม่เคย บูรณการ(Integration) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน  และ ไม่มี  วิสัยทัศน์(Vision ) ที่เป็น เอกภาพ

@ กลุ่มตัวเม่น  ทำ โลกซับซ้อน ให้เป็นเรื่อง ง่าย ๆ ด้วยความคิดที่เป็นระบบ เช่น  ฟรอยด์ ผู้คิดค้น ทฤษฎีจิตใต้สำนึก  ไอน์สไตน์ กับ ทฤษฎีสัมพันธภาพ   อาดัม  สมิธ กับ หลักการแบ่งงานกันทำ

คน ที่สร้างบริษัทที่ดี-----àเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ (Good to Great  ) เป็นพวก     ตัวเม่น  มีแนวความคิดแบบ ตัวเม่น เพื่อ สร้างความยิ่งใหญ่ของบริษัท  แต่บริษัทเปรียบเทียบมีความคิด กระจัดกระจาย และ เป็นความคิดที่ ไม่สอดประสานกัน

            แนวคิดแบบตัวเม่น คือ แนวความคิดที่ เรียบง่าย ชัดเจน ซึ่งเกิดจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งใน 3 เรื่อง  ที่เกี่ยวเนื่องกันเหมือน วงกลม 3 วง(3ข้อ)(วงกลม ที่ตัดกัน)  ได้แก่

1.อะไร?คือ  สิ่งที่คุณทำ  ได้ดีที่สุด

2.อะไร?คือ  พลังขับเคลื่อน เครื่องจักรเศรษฐกิจของคุณ

3.สิ่งที่คุณทำกำลังทำอยู่มีอะไร?ที่ทำให้ "คุณรักและปรารถนา"

แนวความคิด (Concept ) แบบ ตัวเม่น  ไม่ใช่  เรื่องที่เกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย (Goal  ) ที่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช่กลยุทธ์(Strategic )ที่เป็นที่หนึ่ง  ไม่ใช่ แผน( Plan )เพื่อความเป็นสุดยอด แต่คือ การทำความเข้าใจว่าอะไร?  คือ สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุด

การที่จะเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้ ไม่จำเป็น ต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ด้วย  บริษัท  Good  to  Great  แต่ละแห่งการสร้างเครื่องจักรเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยมของตน  โดยไม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สังกัดอยู่เลย  พวกเขา ทำได้เพราะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในสภาพธุรกิจขององค์กรเอง(Context )  ความรัก ในสิ่งที่ทำบริษัท Good  to  Great  จะทำในสิ่งที่เขา รักและปรารถนา ที่จะทำ โดย ค้นหา ให้เจอว่าอะไรคือ สิ่งที่จุดประกายความรัก ของคุณและคนรอบๆ  ตัวบริษัทที่ยิ่งใหญ่ กำหนดเป้าหมาย และ   กลยุทธ์ ของตนบนพื้นฐานของ ความเข้าใจ ขณะที่บริษัทเปรียบเทียบ  กำหนดเป้าหมาย ( Goal ) กลยุทธ์ (Strategic)จากความ ฮึกเหิมทะนงตน

 

บทที่  6 วัฒนธรรมแห่งวินัย

 

                การสร้างผลงาน ที่ยิ่งใหญ่ให้มี ความยั่งยืน นั้น ต้องอาศัย การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ คน ในองค์กรต้อง มีวินัยในตัวเอง  มีการทำที่มีวินัย  และ  ยึดมั่นวัฒนธรรมองค์กร แบบราชการ  เกิดขึ้นเพื่อ ชดเชยความไร้ประสิทธิภาพและการขาดวินัย  ซึ่งเกิดขึ้นเพราะว่า ได้คนที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมมาร่วมงานตั้งแต่แรก  ถ้าได้คนที่ถูกและขจัดคนที่ไม่เหมาะสมออกไป  ก็ไม่ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการ

                วัฒนธรรมของความมีวินัย   มีลักษณะสำคัญ  2 อย่างควบคู่กันไป  คือเรียกร้องให้คนต้องยึดมั่นอยู่ในระบบ แต่ขณะเดียวกันก็  ให้คนมีเสรีภาพและความรับผิดชอบภายใต้กรอบของระบบ

                วัฒนธรรม ไม่ได้ เป็นเรื่องของการทำงานเท่านั้น  แต่เกี่ยวข้องกับ การสรรหาคนที่มีวินัยซึ่งสามารถสร้างความคิดที่มีวินัย  เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีวินัยได้

                บริษัท  Good to Great   เต็มไปด้วย คน ที่มี มานะพากเพียรเอาจริงเอาจัง  เข้มงวดกับตัวเอง  อย่าเอา วัฒนธรรมของความมีวินัย ไปปน กับความมีวินัยที่เกิดจาก ลักษณะเผด็จการ ของผู้นำทั้ง 2 อย่าง  เป็นแนวความคิดที่ต่างกันมาก   CEO  ซึ่งได้ อำนาจสร้างความมีวินัย ขึ้นมา  มักจะ ไม่สามารถสร้างผลงานที่มีความยั่งยืนได้

                ความมีวินัยที่สำคัญที่สุดใน การสร้างผลงานที่ยั่งยืน คือ  การยึดมั่นกับแนวความคิด  แบบตัวเม่น

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี พูดคุยแลกเปลี่ยน + เรียนรู้ ในเรื่อง Good to Great ต่ออีก 3 บท (บทที่7- 9) ดังนี้

บทที่ 7 เทคโนโลยีในฐานตังเร่งแรงเฉื่อย

                บริษัท Good to Great  มีความคิดในเรื่องเทคโนโลยี (Technology) และการเปลี่ยนแปลง (Change) ที่เกิดจากเทคโนโลยี แตกต่างจากบริษัทธรรมดา ๆ 

                บริษัทGood to Great ไม่สนใจเทคโนโลยีที่เป็นกระแสที่เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ Good to Great คือ  ผู้บุกเบิก การใช้เทคโลโลยีที่คัดเลือกมาแล้วอย่างรอบคอบ

                คำถามสำคัญ ที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใด ๆเทคโนโลยีนั้นเข้ากันกับแนวความคิดแบบตัวเม่นหรือไม่?  ถ้าเข้ากันคุณ ต้องเป็นผู้บุกเบิก เทคโนโลยีนั้นแต่ ถ้าไม่เข้ากันก็ไม่ต้อง ให้ความสำคัญมากหรือไม่ต้องสนใจเลยก็ได้

                บริษัทGood to Great ใช้เทคโนโลยีเป็นแรงเฉื่อย  ไม่ใช่ตัวสร้างแรงเฉื่อย  ไม่มีบริษัทGood to Great รายใดเริ่มต้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีแต่ทุก บริษัทกลายเป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีทันทีพบว่า เทคโนโลยีนั้นอยู่ในขอบเขตของ 3 ข้อ(บทที่5)

                ปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดจากเทคโนโลยี เป็นเครื่องชี้วัดแรงขับเคลื่อน ในที่ต่างกัน บริษัทGood to Great ตอบโต้โดย การใช้ความคิดและความสร้างสรรค์ (Thinking & Creative)  รวบทั้ง แรงผลักดัน ที่ต้องการ แปรศักยภาพ (Potential) ที่ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่(Fulfills) ให้เป็นผลงาน ส่วนบริษัททั่วๆไปถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัวว่าจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง

บทที่  8  ทฤษฎี ล้อเฟืองและห่วงหายนะ

                 การเปลี่ยนแปลงจากบริษัทที่ Good ไปสู่ -----> to Great (บริษัทที่ยิ่งใหญ่ ) เมื่อมองจากภายนอกแล้วเป็น การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันเหมือนการปฏิวัติ  แต่สำหรับคนที่อยู่ภายในแล้ว  การเปลี่ยนแปลงนี้ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ มีการสั่งสมเหมือนกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

                การเปลี่ยนแปลง(Change)ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่อย่างยั่งยืน(Sustainability)  เกิดจาก กระบวนการสั่งสม  ผ่านจุดก้าวกระโดด เหมือนกับการผลักล้อเฟืองขนาดใหญ่ให้หมุนไปข้างหน้า  ตอนแรก ออกแรงมาก ต่อไปล้อเฟืองก็จะสร้างแรงเฉื่อยในตัวเอง  และหมุนผ่านจุดก้าวกระโดดไปด้วยตัวเอง

                บริษัทเปรียบเทียบมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตัวองที่ต่างออกไป เรียกว่า บ่อหายนะคือ แทนที่จะค่อย ๆสะสมแรงเฉื่อยโดยหมุนล้อเฟืองต่อไปรอบแล้วรอบเล่า  บริษัทเปรียบเทียบจะพยายามกระโดดข้ามขั้นตอนสั่งสม ลัดเข้าสู่จุดกระโดดทันที   พอไม่สำเร็จก็วิ่งกลับมาใหม่ จึง ไม่สามารถรักษาแนวทาง การเปลี่ยนแปลงให้มีความแน่นอนสม่ำเสมอได้

                บริษัทเปรียบเทียบชอบใช้ กลยุทธ์การเทคโอเวอร์ไปในทางที่ผิด เพื่อข้ามก้าวจุดกระโดด  ตรงข้ามกับบริษัทที่Good to Great ใช้กลยุทธ์เทคโอเวอร์ หลังจาก ผ่านจุดก้าวกระโดดมาแล้ว เพื่อ เร่งแรงเฉื่อยของล้อเฟืองที่กำลังหมุนไปด้วยความเร็วจัด

                คน ใน บริษัทGood to Great ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่  ไม่ค่อยรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาสร้างขึ้น มีความยิ่งใหญ่เพียงใด  จะรู้ก็ ต่อเมื่อความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นแล้วไปพักใหญ่)

            ผู้นำ(Leadership)ของบริษัท Good to Great  ไม่เสียเวลาไปกับการสร้างแรงจูงใจ(Motivation)คน ให้เข้ามามี ส่วนร่วม (Participation) ในการเปลี่ยนแปลง ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ปัญหาการมีข้อผูกพัน การมีส่วนร่วม  แรงจูงใจ  และการเปลี่ยนแปลงจะคลี่คลาย ไปด้วยตัวของมันเอง

บทที่ 9 จาก Good  to  Great  ถึงองค์กร อมตะ

 

บริษัทที่ปึกแผ่นแล้วหรือกิจการใหม่ +แนวความคิด Good to Great + ผลงานที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืน + แนวความคิดองค์กรอมตะ + Good to Great ที่เป็นอมตะ

 

อุดมการณ์หลัก : มิติพิเศษของ บริษัท Good to Great ที่เป็นอมตะ

                บริษัท Good to Great และเป็นอมตะไม่ได้ดำรงอยู่เพียงเพื่อ สร้างผลตอบแทน การลงทุนให้ผู้ถือหุ้นเท่านั้น  บริษัท Good to Greatอย่างแท้จริงแล้วกำไรและเงิน เป็นเหมือนเลือดและน้ำในร่างกายที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิต แต่ไม่ใช่ จุดมุ่งหมายของชีวิต

                บริษัทGood to Great และเป็นอมตะสามารถ รักษาค่านิยมหลัก (Core Valuce) และเป้าหมายหลัก(Goal) ขององค์กรเอาไว้ได้ในขณะที่ดำเนินนี่คือการประสานกันอย่างมหัศจรรย์ระหว่าง  การรักษาค่านิยมหลักกับการสร้างความก้าวหน้า

            จบการแลกเปลี่ยนรู้เรื่อง Good to Great แล้ วคะ  Good  ... Good จริง ๆๆนะคะ ส่งผลให้เรื่องที่ Jim Collins  แต่งออกมาเกิด GreatàààGreatàààGreat ยิ่งใหญ่จริง ๆๆๆ (เขาว่ากันอย่างนั้น)....แต่หนู....ขอบอกààà อ่านไปààà  อ่านมา..มีในทฤษฎีของ ศ. ดร. จีระ ทั้งทฤษฎี..8K’s + 5K’s + 4L’s + 2R’s + 2H’s + 4E + 3 วงกรม...  ใครว่าไม่ใช่ ให้กับไปทบทวนดูนะ อาจจะเป็น โรคขี้หลงขี้ลืม ได้นะคะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี Tel. 081-9421866

รียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

 

            วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์และเพื่อนๆในเรื่อง ศิลปะแห่งความสุข (The Art of Happiness) แต่งโดย ดาไลลามะที่ ๑๔ และโฮเวิร์ด ซี.คัทเลอร์ ในหนังสือเล่มนี้พูดถึง ศิลปะแห่งความสุข ซึ่งหนูอ่านแล้วตรงกับทฤษฏี 8 K’s” ที่เป็นแนวคิดที่   จำเป็นและต้องมี ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งหนูคิดว่า ความสุขเป็นสิ่งสำคัญอันดับสูงสุด สำหรับการดำรงชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าเรามีความสุข พฤติกรรมทางกาย จะแสดงออกให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ทันที่....เช่น หัวเราะ ร้องเพลง ยิ้ม  มองเห็นอะไรก็เป็นสิ่งที่สวยงาม เพราะ เกิดความสุขในใจ หนูขอเรารายละเอียดเนื้อหารายละเอียดเรื่อง ศิลปะแห่งความสุข มีเนื้อหาประกอบไปด้วยทั้งหมด ๕ ภาคดังนี้

ภาคที่ จุดมุ่งหมายของชีวิต มีทั้งหมด ๔ บท

ได้แก่    ๑. มีสิทธิมีสุข

๒. บ่อเกิดของความสุข

  ๓. ฝึกจิตให้เป็นสุข

  ๔. ฟื้นความสุขภายใน

ภาคที่ ๒ ความอบอุ่นและอาทรของมนุษย์ มีทั้งหมด ๓ บท

ได้แก่   ๑. แบบอย่างใหม่ของความใกล้ชิดสนิทสนม

           ๒. สานสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง

           ๓. คุณค่าและประโยชน์ของความกรุณา

ภาคที่ ๓ ปรับเปลี่ยนความทุกข์ มีทั้งหมด ๔ บท

ได้แก่   ๑. เผชิญความทุกข์ 

           ๒. ความทุกข์ที่เราก่อเอง

           ๓. เปลี่ยนมุมมอง

           ๔. ค้นหาความหมายในความเจ็บปวดและความทุกข์

 

ภาคที่ ๔ แสวงชัยเหนืออุปสรรค มีทั้งหมด ๓. บท

ได้แก่    ๑. สร้างความเปลี่ยนแปลง

            ๒. จัดการความโกรธและความเกลียด

            ๓. จัดการความหวาดวิตกและสร้างความนับถือตน

ภาคที่ ๕ พิจารณาการใช้ชีวิตทางจิตวิญญาณ มีทั้งหมด ๑. บท ได้แก่   ๑. คุณค่าพื้นฐานทางจิตวิญญาณ 

ในปัจจุบันนี้ คนในสังคม กำลังมองหา ความสุข หรือแนวทางพัฒนาตนเอง (How-to)หนูคิดว่าเรื่อง ศิลปะแห่งความสุข (The Art of Happiness ) หนังสือเล่มนี้ จะพิชิตปัญหาและดำเนินชีวิตอยู่บนโลกปัจจุบัน อย่าง มีความสุข คำสอนในหนังสือ เป็นสิ่งที่ มีคุณค่า ล้ำค่า และทันสมัย และที่สำคัญสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้  อย่างเห็นผล ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข นะคะ  และ.....องค์ดาไลลามะตรัสไว้ว่า เราทุกคนมีสิทธิมีความสุข ซึ่งก็ตรงกับทฤษฎีของท่านศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 8K’s + 5K’s + 4L’s + 2R’s + 4E + 3 วงกลม + 2H’s  และ  8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี คือ Heritage (รากเหง้า) + Head (สมอง) + Heart (หัวใจ) + Happiness (ความสุข) + Hand (มืออาชีพ) + Home (ครอบครัว) + Harmony (สมานฉันท์) + Health(สุขภาพ) วันนี้หนูขอจบการแลกเปลี่ยน + เรียนรู้แค่นี้ก่อนนะคะ คิดว่า น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อน....ๆ..ๆบ้างนะคะ ขอให้ทุกคน Happiness & Happiness

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี Tel. 081-9421866

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

                        วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์และเพื่อนๆในเรื่องThe Heart of Change  เปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก) แต่งโดย จอนห์  พี. คอตเตอร์ แดน  เอส. โคเฮน หนังสือเล่มนี้พูดถึง   8  ขั้นตอนเพื่อการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่หลาย ๆ องค์กรใช้แล้วประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ  และพูดถึงปัญหาหลัก ๆที่เกิดขึ้นและจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร?  การวางโครงเรื่องของหนังสือเล่มนี้จะอธิบายรายละเอียดของกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนโดยลำดับไว้ 8 ขั้นตอน พร้อมยกตัวอย่างเพิ่มความชัดเจนเป็นกรณีศึกษาแต่ละขั้นตอนไว้ด้วย  การเปลี่ยนแปลง 8  ขั้นตอน  ประกอบด้วย

                        1.   การสร้างความรู้สึกว่าต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วน  เพื่อให้คนในองค์เริ่มบอกต่อกันและกันว่า  ลงมือเถอะเราจะต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว 

                        2.   สร้างทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้มีอำนาจมากพอ  ที่จะนำคนอื่นๆ ในองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

                        3.   กำหนดวิสัยทัศน์ที่ง่าย ชัดเจนและน่าศรัทธา รวมทั้ง กำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้วิสัยทัศน์นั้นกลายเป็นจริงด้วย

                        4.   สื่อวิสัยทัศน์นั้นแก่คนในองค์กรด้วยการใช้ภาษาที่ง่ายและจริงใจ..... หลาย ๆช่องทาง จน คน เริ่มยอมรับวิสัยทัศน์นั้น และเริ่มเปลี่ยนแปลง

                        5.   ให้อำนาจที่เปลี่ยนแปลงด้วยการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางทำให้วิสัยทัศน์กลายเป็นจริง

                        6.   สร้างชัยชนะระยะสั้นๆ  เพื่อสร้างแรงเหวี่ยงให้เกิดขึ้น

                        7.   สร้างแรงเหวี่ยงนั้นเอาไว้   เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระลอกแล้วระลอกเล่า  อย่างไม่ขาดสาย

                        8. รักษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมใหม่

หัวใจของการเปลี่ยนแปลง คือ  เปลี่ยนหัวใจ + สมอง

                        คน เราจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ ก็ต่อเมื่อได้รับข้อเท็จจริงที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของตน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง  ความรู้สึก  ของคนในองค์กร  ดังนั้น  มนุษย์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตนเองทำอยู่เพราะได้รับทราบการวิเคราะห์ที่เปลี่ยนความคิดของตนได้  จงหาว่าอะไร? เป็นสิ่งจูงใจ ให้เขาปฏิบัติ  การได้รับรู้ถึงสภาวะความเป็นจริง ที่ทำให้รู้สึกสำนึกได้ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวจริง ๆ  ความคิดหรือความรู้สึกนั้นต่างก็สำคัญ   แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการมีอารมณ์ร่วม ขั้นตอนทั้ง 8 นี้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับองค์กรได้ตามความเหมาะสม

วันนี้หนูขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ   ในขั้นตอนทั้ง 8 จะนำมาเล่าตอนต่อไปคะ

ขั้นที่  1 กระตุ้นเพื่อความเร่งรีบ

ขั้นที่  2 สร้างทีมนำร่อง

ขั้นที่  3 การสร้างวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม

ขั้นที่  4 การสื่อสารเพื่อซื้อใจ

ขั้นที่ 5  การให้อำนาจ

ขั้นที่  6 การสร้างชัยชนะในช่วงสั้น ๆ

ขั้นที่  7 อย่ายอมแพ้

ขั้นที่  8 ทำให้พฤติกรรมใหม่เป็นที่ยึดถือ

 

                   หนูขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะและสิ่งที่จะเล่าก็มีในทฤษฎีของท่านศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ 8K’s + 5K’s + 4L’s + 2R’s + 4E + 3 วงกลม + 2H’s   ขอเก็บไว้เล่าครั้งต่อไปนะคะ

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี Tel. 081- 9495033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่อง Passion  มี 10 ชนิด หรือเขาเรียกว่าArchetype profiles ประกอบด้วย

1.      The Builder :        ผู้สร้าง ผู้วางรากฐาน

2.      The Conceiver :             ผู้คิดค้น

3.      The Connector :            ผู้ประสาน

4.      The Creator :       ผู้ประดิษฐ์

5.      The Discoverer :          ผู้ค้นพบ

6.      The Processor : ผู้ดำเนินการ

7.      The Transformer : ผู้เปลี่ยนแปลง

8.      The Altruist :     ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง

9.      The Healer :                     ผู้รักษา

10.    The Teacher :          ผู้สอน/ถ่ายทอด

เชื่อมโยงกับ.....Linking..... Linking... Linking..หนูวิเคราะห์ดังนี้นะคะ...ถ้าไม่ตรง...ไม่ถูก...ท่านอาจารย์...อธิบายศิษย์ด้วยนะคะ

1.     Passion

2.    Leadership

3.    Profitability

หนูคิดว่าควรเริ่มที่  Leadership  = ผู้นำต้องมี...ภาวะผู้นำที่ดีก่อนและมีอยู่ในระดับสูง (ภาวะ + การนำ) ภาวะผู้นำต้องมาก่อน àààà   จึงจะตามมาด้วยการ มี Passion àààà ที่ผู้นำทุกระดับต้องมี ไม่ใช่มีเฉพาะแต่ที่เป็นTop CEO ในองค์กรเท่านั้น และมีพฤติกรรมที่ดี คือ...ความจริงใจไม่ใช่ปากหวาน หลอกใช่เพื่อให้ได้แต่ผลงานที่ดี...ที่ตนเอง(CEO ) ต้องการจากพนักงาน + มีคุณธรรม + จริยธรรม(Ethic ) + ศีลธรรม + ความงาม(ของหัวใจ)ที่มีต่อพนักงาน / บุคลากร / เจ้าหน้าที่ / ลูกน้อง (รักลูกน้องเป็นเสมือนลูก + น้อง) ดูแล..ทั้งทุกข์ + สุข + กาย +ใจ + ให้กำลังใจ + Motivation  โดยเฉพาะ ยามมีความทุกข์ + Empowerment  ขณะที่เมื่อยล้า + หมดแรงหมดกำลังใจ + มองเห็นความเป็นคน ในความเป็นคน (ในร่างกายของคนมี        จิตใจ เป็นส่วนผสม) + สิทธิความเป็นคน (Human Right ) ถ้าพนักงานมีความสุข ใน ที่ทำงาน มีความสุขกับงานที่ทำ มีความสุขขณะทำงาน  (ความสุข...เกิดขึ้น.....จริงๆๆ...Happiness  ๆๆๆๆๆ)....ไม่ใช่มีพฤติกรมในที่ในลักษณะที่...ทำงานไป..ดูนาฬิกาไป..หรือทำงานไป...เดียวลาป่วย...ต่อด้วยการลากิจ ...ตื่นขึ้นมาก็ไม่อยากออกจากบ้าน....บอกกับคนที่บ้านว่า...ไม่ยากให้ถึงวันจันทร์เล้ย..เบื่อ....ๆๆงาน...ไม่ยากไปทำงานเลย..หรือตั้งชมรม  คนรักวันศุกร์....คนเกลียดวันจันทร์.......แบบนี้อย่าว่าแต่  Profitability เลย...หนูคิดว่า...Performance (ผลประกอบการ) ก็เกิดได้ไม่ดีนัก (อาจะเกิด.....แต่น้อยกว่าค่าที่ Expectantly ......หรอกนะคะ...

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี  Tel.081-9435033

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

            หนู (สมศรี  นวรัตน์) วันนี้หนูขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์ในเรื่อง อุปสรรคต่อ องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO)

1. สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ   (I’m my position)

2. สมาชิก รู้ว่าปัญหา ขององค์การอยู่ที่ใด แต่ไม่ รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร?   (The enemy is out there)

3. ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้ แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง  (The Illustration of taking change)

4.  ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์ มากเกินไป  (A fixation on events)

5.   ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์ เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความ แตกต่าง ของอดีตกับปัจจุบัน  (The delusion of  learning  from  Experience)

กราบขอบพระคุณ "ท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์" อย่างสูงสุด+มากที่สุดที่ทำให้ "มีวันดี ๆๆเช่นนี้เกิดขึ้น" +  ประสบการณ์ (Expiries) เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ แต่ต้องมี “ผู้สร้างคน/นักสร้างคน = Innovator

สมศรี  นวรัตน์  รพ. บ้านลาด  จ. เพชรบุรี

Tel. 081- 9435033

จากการไปศึกษานอกสถานที่ (ห้างดิเอมโพเดียม) พวกเราได้อะไรบ้าง

สิ่งที่ได้จากการไปศึกษานอกสถานที่ (ห้างดิเอมโพเดียม)

1.ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนไทย (กรุงเทพฯ) ในช่วงวันหยุดนิยมออกมาผ่อนคลายนอกบ้านโดยเฉพาะตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ อาจจะเป็นเพราะประเทศไทยอากาศร้อนผู้คนส่วนมากจึงนิยมมาเดินห้างสรรพสินค้ากัน แต่ที่น่าสังเกตว่านิสัยของคนไทยไม่ค่อยนิยมเข้าร้านหนังสือสักเท่าไร เพราะสังเกตจากร้านหนังสือ ส่วนใหญ่จะมาทานอาหารมากกว่า

2.การจราจรในเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) ของประเทศไทยในช่วงวันหยุดส่วนใหญ่แล้วจราจรช่วงวันหยุดจะไม่หนาแน่นมากนัก แต่ถ้าบริเวณใจกลางเมือง เช่น อนุสาวรีย์ชัยฯ ประตูน้ำ มาบุญครอง ห้างสยามเช็นเตอร์ จราจรก็จะหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ และถ้าไม่จำเป็นประชาชน (คนกรุงเทพฯ) ที่จะเดินทางเข้ามาทานอาหาร หรือว่าซื้อเสื้อผ้า ดูหนัง ฟังเพลงส่วนมากก็จะเดินทางโดยรถไฟฟ้า สะดวกประหยัด สังเกตจากผู้โดยสารบนรถไฟฟ้าส่วนมากแล้วจะเป็นวัยรุ่นที่ชอบใช้บริการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัยทีน (วัยรุ่น) ในเมืองนิยมออกมาผ่อนคลายนอกบ้านในวันหยุดมากกว่าวัยผู้ใหญ่ จะมีชาวต่างชาติบ้างเล็กน้อย

3.ได้เรียนรู้โดยใช้หลักทฤษฎี 4 L

4.ได้เรียนรู้หลักการบริหารจัดการของร้านหนังสือ และห้างสรรพสินค้าอิเอ็มโพเดียม การจัดนิทรรศการ กิจกรรมโปรโมชั่นต่างๆของห้างสรรพสินค้าที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้า การต้อนรับและบริการลูกค้า การประชาสัมพันธ์

5.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาทในการทานอาหารร่วมกับผู้ใหญ่ ผู้บริหารและสังคมต่างๆ

6.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการประสานงาน การทำงานเป็นทีม การอยู่ในที่สาธารณะ

สรุป

การเรียนรู้นอกสถานที่ครั้งนี้ได้องค์ความรู้ไม่จำกัดเฉพาะชุดวิชาที่เรียนตามหลักสูตร แต่ยังได้เรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ ควบคู่ไปด้วยซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดคุ้มค่า และได้สัมผัสกับสถานการณ์จริง ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง

080-6148578

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     พวกเราต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ได้กรุณาจัด Morning Talk ในหัวข้อเรื่อง Mind Map โดยเชิญอาจารญ์ธัญญา ผลอนันต์มาเป็นวิทยากร

     พวกเราต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์อย่างมาก ๆ ที่สละเวลามาให้ความรู้และสอนพวกเราในการเขียน Mind Map มีประโยชน์มากครับ

Image015

Image017

Image0018

Image0016

Image019

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

    ตามที่ท่านอาจารย์ได้อธิบายพวกเราเรื่อง "๑ เหรียญ ๑ คำอธิษฐานเพื่อในหลวง"

    พวกเราทุก ๆ คนพร้อมที่จะร่วมมือพร้อมร่วมกล่าวคำอธิษฐานตามโครงการนี้ และจะร่วมช่วยเผยแพร่โครงการนี้ด้วยนะครับ

ด้วยความเคารพ

Ph.D.3 SSRU (Innovative Manage Ment)

 

Image0018

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

บทความจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post

     ในเนื้อหาตอนแรกกล่าวถึงการยกเลิกงาน ICT Expo 2009 ซึ่งกระทรวง ICT เป็นคนยกเลิกอย่างกระทันหัน

     ตอนที่สองกล่าวถึง นายกสมาคม ATCI (The Association of Thai ICT Industry) คุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ได้ให้ข้อมูลว่า "งาน ICT Expo 2009 นี้มีหลายส่วนงานนอกจากงานแสดงสินค้าด้าน ICT ของหลายประเทศในแถบอาเชียน รวมถึงประเทศบังคลาเทศ ในกลุ่มความร่วมมือของ ASOCIO (กลุ่มความร่วมมือของสมาคม ICT ต่าง ๆ ทั่วโลก) ยังมีงานพบปะระหว่างนักธุรกิจ ICT ของไทยกับประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเพื่อส่งเสริมและสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน ซึ่งหลาย ๆ ประเทศได้เตรียมพร้อมและยากมากที่จะสามารถจัดการนัดหมายได้แบบนี้  ดังนั้นถ้ายกเลิกทุก ๆ อย่างจะทำใกดความเสียหายและเสียชื่อเสียงอย่างมาก  ดังนั้นในฐานะที่ ATCI ของประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วม จึงได้ระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน และภาครัฐส่วนที่เหลือเช่น SIPA มาวมมือกันจัดงานสัมมนาและการทำข้อตกลงร่วมกัน  และก็ได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ประเทศส่งตัวแทนเข้ามาร่วมกันและเซ็น MOU ร่วมกันหลายหน่วยงาน เช่น SIPA (ของไทย) เซ็น MOU ความร่วมมือกับหลายประเทศเช่น เวียตนาม ,มาเลเซีย,บังคลาเทศ เป็นต้น

     ในงานสัมมนายังมีการบรรยายแนวโน้มด้าน ICT ของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเซ็น MOU ของภาคเอกชนหลายรายของประเทศไทยและต่างประเทศ  ซึ่งจะสามารถสานต่อเป็นโอกาสของนักธุรกิจต่อไปอย่างแน่นอน  และทางสมาคม ATCI ของประเทศไทย  โดยนายกสมาคมคุณบุญรักษ์ ก็รู้สึกขอบคุณทุก ๆ ฝ่ายที่ช่วยกันสานต่อจนประสบความสำเร็จด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะต่อเนื่องเป็นผลสำเร็จตามมาในหลาย ๆ ด้าน

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

(ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นรูปของผมอยู่ทางซ้ายของรูปภาพ เพราะว่าผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วยครับ)

 

http://www.bangkokpost.com/tech/technews/21901/ict-nations-work-together

ICT nations work together

The ICT Expo snafu hurt Thailand, but some face - and business - has been saved

Writer: Sasiwimon Boonruang
Published: 12/08/2009 at 12:00 AM
Newspaper section: Database

The outcome of the Bangkok Business Visit programme, hosted by the Association of Thai ICT Industry (ATCI) last week, could go some way to healing the association's losses from the cancellation of ICT Expo 2009.

 Image010

Representatives of five countries have built collaborations in dealing business with Thai IT firms, supported by Sipa.

The association had previously planned to stage the Bangkok International ICT & Broadcasting Summit 2009 as a co-located show at the ICT Expo, organised by the ICT Ministry. More than 200 foreign exhibitors were supposed to have joined the summit, about 100 of which had already made hotel and flight bookings.

ATCI had been informed of the abandonment of ICT Expo by the ICT Ministry, with no reason given, just a fortnight before the exhibition was scheduled to take place.

Coincidently, it was supposed to take place when concerns about the swine flu outbreak were at their peak, so visitors and exhibitors were advised that the cancellation of the summit was due to this.

In the meantime, ATCI has been held responsible for the expense of the show deposit and the cost of hotel and flight bookings of foreign delegates, with overall expenses coming to around 2 million baht.

"Thailand's reputation is at stake and thus we have to take responsibility so that the delegates from overseas can trust us for the events to be held in the future," ATCI president Bunrak Saraggananda told Database.

For some cases, such as the already-reserved accommodations, ATCI has helped negotiate with the hotels. But in some cases no refunds or compromises could be reached, leaving the association to pay for them.

Bunrak admitted that it's an opportunity loss for Thailand, as the business sector had expected to promote the ICT and broadcasting industries as both can generate demand for ICT business in the country.

ATCI president Bunrak Saraggananda.

This does hinder the promotion of ICT industry of Thailand, and consequently Vietnam is likely to benefit because the World IT Forum is scheduled to be staged in Hanoi over the next two weeks, and all foreign delegates are now flocking there instead.

However, the scaled-down version of the Thai event, the Bangkok Business Visit program on August 4-6, has brought success to Thailand. albeit to a lesser extent, as delegates from Bangladesh, Vietnam, Burma and Malaysia have recognised the potential of Thai IT companies.

Several bilateral and multilateral agreements have been signed. Five Thai firms have signed agreements with public and private sectors of those countries.

Bunrak noted that the last day of the program is a "company visit", in which those foreign executives have witnessed solutions developed by Thai companies such as the e-logistics system of NetBay, the virtual university by Digicraft, the tax payment application system of the Revenue Department by Summit Computer, as well as stock trading system, commodity banking system and Internet mobile payment applications.

Vietnam is very interested in the e-logistics system. FPT of Vietnam has signed an agreement with NetBay, which hosts the e-logistics gateway service for many stakeholders such as Customs Department, airline cargo, freight forwarders, banks and several organisations in Singapore and Philippines.

The e-payment system of MST has fascinated Bangladesh, said Bunrak, citing that Bangladesh has over 40,000 post offices which are considering offering e-payment services.

Global Web (Thailand) whose expertise in banking and professional software, has signed an agreement with MCC, the largest education and data centre in Burma.

The company's chief marketing officer Tanapol Kortana said the company has outsourced projects to MCC and both have worked closely for a couple years.

"MCC is a private company supported by the government and it has the largest number of students who can learn and fill real jobs in the company," he said, noting if the country become more open, there will be more joint ventures between the both parties.

This program focuses on five countries because all are members of the Asian-Oceanian Computing Industry Organisation (Asocio) with a long understanding of each other.

Significantly, Bunrak said all have the stated goal of promoting ICT industry collaboration in the region. The partnership can bring to resource sharing in terms of technology, knowhow, marketing and human resources.

"The MoU signing is beneficial to Thailand as we can play a proactive role in ICT industry, and expand business channels into the regional horizon encompassing populations in the hundreds of millions," said Bunrak.

"This will rapidly boost the ICT industry of Thailand. The MoU signing between ICT association members will extend the collaboration to reach up to millions of US dollars in business value."

Five major Asocio members at the meeting, comprised of more than 10,000 companies altogether, are Bangladesh Computer Samity (BCS), Association of the Computer and Multimedia Industry of Malaysia (Pikom), Vietnam Software Association (Vinasa), Myanmar Computer Federation (MCF) and ATCI of Thailand.

According to Asocio vice president Abdullah H Kafi , a few excellent achievements have come out of the Bangkok Business Visit Program.

Signing agreements among several Asocio members at a single occasion was a first in the region, with a view to developing and exploring ICT.

The most critical issue for Asocio members who attended and signed agreements is to set five common issues, including ICT knowledge, research and market studies, to share and implement through the Asocio platform. Kafi noted that the next two years will be critical for Asocio. "We are expecting that there will be new leadership in its board from the developing countries," he said.

As representatives of developing countries and small and less advanced countries in ICT, compared to the few giant economies in the region, the new leadership will look forward to initiating and implementing challenging jobs.

Certainly this requires support from predecessors and as well as all Asocio economies. The groundwork has been set up in the meantime during the Bangkok Business Visit Program.

The members have proposed to have one more Asocio secretariat office in Bangkok. The present office in Japan is close to Korea, Mongolia and Taiwan, but for members in the South Asia including Bangladesh, Nepal, Pakistan, India, Laos, Burma, Cambodia, Malaysia, Singapore, Indonesia and Brunei, Thailand is the most appropriate location.

The Bangkok office will be an extended wing of the Asocio headquarters in Tokyo. As the regional secretariat office, the Thai capital embeds advantages such as easy access and a very good communication infrastructure for all Asocio members, which will expedite work procedure and implementation.

"The only problem that I see is communication, although the younger generation is growing up with better spoken English," noted Kafi.

In addition, Asocio has been conducting the 2020 ICT report, which has encompassed the ICT outlook of all 21 member countries.

Lucas Lim, Asocio secretary general, said the report is supposed to be a reference for the governments to serve as a tool for policy conducting.

There are comparisons among the countries, what they have done in the past, are doing at present and what they may do in future, Lim said, adding it will report on each nation's achievements and barriers. The key areas of the report cover convergence, ITES-BPO (business process outsourcing), green IT, e-governance, and workforce skills.

"We are now coming to the middle of the journey and will finish by the end of this year. The report will be official launched at the general assembly in Melbourne in December," said the secretary general.

Relate Search: ICT Expo 2009, Association of Thai ICT Industry

เรียนท่าน ศ. ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

        วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอตอบการบ้านที่ยังค้างไว้ท่านอาจารย์ในเรื่อง ผู้นำต่างประเทศ (Lairdships) ที่หนูชื่นชอบ นับถือใน ความมีภาวะผู้นำ ในครั้งก่อนหนูได้นำเสนอ ในประเทศไทย จำนวน 3 ท่านคือ ศ. ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ (จีน: 黄培 , ศ.นพ.ประเวศ วะสี , ศ. น.พ.เกษม วัฒนชัย  วันนี้ตอบการบ้าน ผู้นำต่างประเทศ(Lairdships) ขอยกตัวอย่าง 3 ท่าน ดังนี้นะคะ

 

1.มหาตมะ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi มักเรียกกันว่า Mahatma Gandhi) (2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 - 30 มกราคม ค.ศ. 1948) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดีย มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำคนสำคัญกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพของอินเดีย จากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร โดยใช้วิธีอหิงสา ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นต้นแบบของการประท้วงแบบสันติที่ได้รับการยกย่อง โมหันทาส กรรมจันทร์ คานธี เกิดเมื่อปี 1869 ในครอบครัวชาวฮินดู รัฐคุชราต อินเดียตะวันตก เขาเข้าพิธีแต่งงานกับกัสตูร์ (กะปะเธีย สกุลเดิม) คานธี เมื่ออายุ 13 ปีต่อมา เขาได้ไปเรียนต่อด้านกฎหมายที่ลอนดอน และในปี 1891 เขาเข้าร่วมกลุ่ม Inner Temple เขาทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงเรื่องสิทธิ ของผู้อพยพชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ และเขาได้ พัฒนาลัทธิต่อต้าน ความอยุติธรรม ขึ้นที่นั่น เขามักถูกจับขังคุกบ่อยๆเพราะการประท้วงที่เขาเป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เขาจะเดินทางกลับอินเดียพร้อมครอบครัวในปี 1915 เขาก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินเดียในแอฟริกาได้อย่างมาก ในเวลาไม่นานหลังกลับมาอินเดีย เขาก็กลายเป็นผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ เขาไม่เคยลังเลในความเชื่อที่มั่นคงเกี่ยวกับการประท้วงโดยไม่ใช้ความรุนแรงและความอดทนตามหลักศาสนา ไม่ว่าเมื่อประชาชนชาวมุสลิมและชาวฮินดูก่อเหตุรุนแรงต่อชาวอังกฤษผู้ปกครองอินเดีย หรือเมื่อทั้งสองกลุ่มสู้รบกันเอง เขาจะอดอาหารประท้วงจนความรุนแรงยุติลง การที่อินเดียได้รับเสรีภาพจากอังกฤษในปี 1947 ไม่ได้เกิดจากชัยชนะทางการทหาร แต่เป็นชัยชนะแห่งความพยายามของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม คานธี รู้สึกหมดหวังที่ประเทศต้องถูกแบ่งแยก เป็นฝ่ายฮินดูในอินเดียและมุสลิมในปากีสถาน ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของชีวิต เขาพยายามจะยุติความรุนแรงที่น่าหวาดกลัวซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกประเทศ ทำให้คานธีต้องอดอาหารประท้วงจนเกือบเสียชีวิต เหตุจลาจลจึงสงบลงได้ ในเดือนมกราคม ปี 1948 คานธีมีอายุ 79 ปี เขาถูกลอบสังหารขณะกำลังเดินผ่านฝูงชนที่แออัดในสวนแห่งหนึ่งในกรุงนิวเดลี เพื่อไปสวดมนต์ตอนเย็น

2.อับราฮัม ลิงคอล์น (Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ผลงานที่สำคัญของเขาได้แก่การเลิกทาสในปี ค.ศ. 1863 ลิงคอล์นถูกยิงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1865 อับราฮัม ลิงคอล์น เป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏอยู่บนธนบัตรราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญราคา 1 เซนต์ ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ และเรือบรรทุกเครื่องบิน

3.จอร์จ วอชิงตัน (George Washington, 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 227514 ธันวาคม พ.ศ. 2342) เป็นประธานาธิบดีคนแรของสหรัฐอเมริกา เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2332 และสิ้นสุดวาระเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2340และเป็นนายพลของกองทัพอเมริกันในช่วงประกาศเอกราช จอร์จ วอชิงตันเป็น1ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐที่รูปใบหน้าได้รับ การสลัก ไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์บหน้าของเขาปรากฏบน ธนบัตรราคา 1 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญควอเตอร์ (25 เซนต์) 

บัญญัติ 10 ประการ ของ จอร์จ วอชิงตัน

1.      ไม่พูดถึงเรื่องโศกเศร้า ในเวลาที่กำลังรื่นเริง

2. เมื่อเห็นคนผิดถูกลงโทษ จงแสดงความสงสารเห็นอกเห็นใจเขา

3. ไม่พูดถึงสิ่งโง่เขลาใดๆ ในระหว่างผู้รู้

4. ไม่พยายามโต้เถียงกับผู้สูงอายุกว่า

5. เวลาผู้อื่นพูด อย่าหลับ อย่านั่งเวลาที่คนอื่นเขายืน อย่าพูดถ้าเราต้องการความสงบ

6. จงประพฤติตน อย่างคนสมคน อย่าประพฤติตนอย่างคนบาป

7. เวลาไปเยี่ยมคนป่วย อย่าทำตัวเป็นหมอ

8. เวลาใครเขาทำอะไร อย่าคิดว่า เขาจะทำอะไรไม่สำเร็จ และอย่าทำให้คนอื่นเขาเสียกำลังใจ

9. อย่าทำเล่นๆหรือส่งเดช ในเรื่องสำคัญ อย่าแสดงความขบขันต่อผู้ทำอะไรพลาด ถ้าเกิดหัวเราะขึ้นมา จงรีบระงับอาการนั้นเสีย

10.จงทำงานหนัก ตราบเท่าที่ยัง มีลมหายใจอยู่ อย่างผู้รู้ผิดรู้ชอบ

หนูคิดว่าข้อมูลที่นำมาเสนอ สามารถเชื่อมโยงกับทฤษฎี 8 K’s+ทฤษฎี 5 K’s+ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ทั้งหมดแล้วนะคะ และรวมกับอุปนิสัย 7 อย่างเช่น Be proactive , การตั้ง จุดหมายของเรา(Begin with the end in mind),การรู้จักความสำคัญ(put first things first) ,การทำงานที่เน้น win/win, การเข้าใจผู้อื่นก่อน(Seek first to understand and then to be understood ), การทำงานโดยร่วมมือแบบ Synergy , และการเป็นสังคมการเรียนรู้(Sharpen the saw)  คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ Ph.D SSRU บ้างนะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวร้ตน์ รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

Tel. 081-9435033

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ได้กลับมาทบทวน โดยนำวิชา Mind Mapping มาใช้ในการสกัดองค์ความรู้ (Knowledge) และแยกเปรียบเทียบบุคคลสำคัญ 3 ท่าน ได้แก่ 1. ศ.ดร.จีระ  ในเรื่องทุนทางมนุษย์+ 8K’s 
2. ท่าน
Cohen ในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง  3. ท่าน Peter Drucker ในเรื่อง Leadership โดยหนูขอนำเสนอ Mind Mapping ดังนี้

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

สมศรี นวรัตน์  รพ. บ้านลาด เพชรบุรี

Tel. 081-943-5033

การดูแลรักษา Notebook

1. อย่าใช้งานนานเกินไป เนื่องจากโน้ตบุ๊คมีพื้นที่ในการระบายความร้อนค่อนข้างจำกัด แม้ในปัจจุบันผู้ผลิตโน้ตบุ๊คจะติดตั้งระบบพัดลมระบาย ความร้อนที่มีประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความร้อนบางส่วนสะสมอยู่ในภายในเครื่องได้ ซึ่งความร้อนเหล่านี้อาจส่งผลให้การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องมีอายุการใช้งานสั้นลงได้ หากใช้โน้ตบุ๊คไประยะหนึ่ง ประมาณ 5-6 ชั่วโมง หรือรู้สึกว่าตัวเครื่องมีความร้อนสูงพอสมควรแล้ว เราก็ควรปิดเครื่องเพื่อเป็นการพักเครื่องสักระยะหนึ่งก่อนแล้วจึงเปิด ใช้งานใหม่อีกครั้ง น่าจะเป็นการใช้งานที่เหมาะสมกว่า

2. การกระทบกระเทือนเป็นศัตรูตัวฉกาจของโน้ตบุ๊ค เมื่อมีความจำเป็นต้องพกพาโน้ตบุ๊คไปไหนด้วย การใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันโน้ตบุ๊คจากการ กระทบกระเทือน การกดทับก็เช่นกัน มีผู้ใช้บางรายใส่โน้ตบุ๊คไว้ในกระเป๋าเดินทาง ซี่งอาจทำให้กระเป๋าของเราถูกวางซ้อนจาก กระเป๋าใบอื่นได้ หรืออาจถูกจับโยนจนทำให้จอภาพแตกได้ หากนำไปเข้าศูนย์ แม้จะอยู่ในระยะเวลารับประกันก็ไม่สามารถเคลม ประกันได้ เพราะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของตัวสินค้า ดังนั้นเวลาเดินทางควรเก็บโน้ตบุ๊คในกระเป๋าถือที่อยู่กับตัวตลอด เวลาดีกว่า

3.บำรุงรักษาจอ LCD หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วหรือของแข็งสัมผัสหน้าจอ เนื่องจากโครงสร้างภายในของจอ LCD ประกอบด้วยชั้นแก้วบางๆ ผลึกคริสตัลเหลว และชั้นโพลาไลซ์กรองแสง ทำให้จอ LCD เป็นจอภาพที่ค่อนข้างบอบบางต่อการกระทบกระเทือน และแรงกด จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือหรือของแข็ง

ทำความสะอาดจอภาพอย่างถูกวิธี โดยหาซื้อน้ำยาและผ้าที่ใช้สำหรับทำความสะอาดหน้าจอโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่อยาก เสียเงิน จะใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ (เอาแค่ชื้น ๆ อย่าให้น้ำหยดเด็ดขาด) มาเช็ดทำความสะอาดหน้าจอก็ได้ โดยการเช็ด ทำความสะอาด ควรเช็ดอย่างเบามือที่สุด และเช็ดไปในทางเดียวกัน ห้ามเช็ดแบบหมุนวนเด็ดขาด เพราะอาจสร้างรอย ขีดข่วนให้กับจอภาพได้

***ห้ามฉีดน้ำหรือน้ำยาลงบนจอภาพโดยเด็ดขาด ควรฉีดน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดลงบนผ้าก่อนแล้วจึงนำไปเช็ด เพราะหยดหรือละอองน้ำอาจหลุดเข้าไปในช่องลำโพง คีย์บอร์ด และข้อต่อต่างๆ อันอาจส่งผลให้เครื่องเสียหายได้***

4. แบ็คอัพข้อมูลไว้ก่อน เนื่องจากอาจมีความบกพร่องทางฮาร์ดแวร์ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และไวรัสที่อาจเข้าทำลายข้อมูล ดังนั้นการแบ็คอัพข้อมูล หรือทำการสำรองข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง

5. ไม่ควรเสียบชาร์จแบตเตอรี่ตลอดเวลา เราควรใช้แบตเตอรี่ให้หมดก่อนจึงจะชาร์จใหม่ เพื่อเป็นการยืดอายุดการใช้งานของแบตเตอรี่ หรือบางรุ่นก็แนะนำว่าทุก 2-3 เดือน ให้ใช้แบตเตอรี่จนหมดหรือเกือบหมดสักครั้งก่อนจะชาร์จใหม่

6. ทำความสะอาจโน้ตบุ๊คอยู่เสมอ เนื่องจากโน้ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์ที่มีซอกมีมุมที่ฝุ่นผงมีโอกาสเข้าไปสะสมได้อยู่เสมอ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแป้นคีย์บอร์ด ช่องลำโพง หรือข้อต่อต่าง ๆ เป็นต้น อุปกรณ์เสริมที่คุณควรมีก็คือ น้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แปรงเล็กๆ หรือหาเครื่อง ดูดฝุ่นขนาดเล็กสักเครื่องไว้ใช้ก็ดี

7. หลีกเลี่ยงสิ่งสกปรก ขณะใช้โน้ตบุ๊ค เราไม่ควรนำอาหาร น้ำดื่ม เข้ามารับประทานหรือวางใกล้โน้ตบุ๊ค ทั้งนี้เพราะความชื้นรวมถึงเศษอาหาร อาจหลุดเข้าไปทำความเสียหายให้โน้ตบุ๊คได้

8. ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด คู่มือการใช้งานเป็นแหล่งข้อมูลอันมีค่าสำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊ค เพราะโน้ตบุ๊คแต่ละรุ่นอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราควรศึกษาคู่มือการใช้งานที่มาพร้อมกับโน้ตบุ๊คอย่างละเอียด

9. หลีกเลี่ยงแผ่นดิสก์ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะอาจทำให้ไม่สามารถนำแผ่นดิสก์ออกจากไดรว์ไม่ได้

10. อย่าซน ไม่ควรถอดหรือแคะแกะชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโน้ตบุ๊คโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เครื่องเสียหายและหมดประกันได้ ถ้าหากโน้ตบุ๊คมีปัญหาควรส่งศูนย์ซ่อมทันที ไม่ควรพยายามแก้ไขเครื่องด้วยตนเอง

11. หากมีอาการผิดปกติ ควรเข้าศูนย์ทันที หากใช้งานโน้ตบุ๊คอยู่ดี ๆ เกิดอาการผิดปกติทางด้านฮาร์ดดิสก์ เช่น ไดรว์อ่านไม่ค่อยได้ หรืออ่านไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ได้ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านซอฟร์แวร์ หรือ ฮาร์ดแวร์ ก็ควรรีบนำเครื่องเข้าศูนย์เพื่อปรึกษาปัญหาทันที

12. ต่ออายุการรับประกัน เมื่อหมดอายุการรับประกัน ถ้าผู้ขายโน้ตบุ๊คบางรายอาจจะให้ต่ออายุการรับประกันเพิ่มขึ้นอีก 1-3 ปี โดยต้องเสียเงินเพิ่ม อีกก้อนหนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับเครื่องเสียเมื่อหมดระยะเวลาการรับประกัน

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ได้กลับมาทบทวน โดยนำวิชา Mind Mapping มาใช้ในการสกัดองค์ความรู้ (Knowledge) และแยกเปรียบเทียบบุคคลสำคัญ 3 ท่าน ได้แก่

1. ศ.ดร.จีระ  ในเรื่องทุนทางมนุษย์+ 8 K’s 

 2. ท่าน Cohen ในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง

 3. ท่าน Peter Drucker ในเรื่อง Leadership โดยหนูขอนำเสนอ Mind Mapping ดังนี้

การจะเปลี่ยนแปลง(Change) อะไรก็ตาม ถ้า....ผู้นำองค์กรไม่เห็นหรือไม่สนับสนุนทุกอย่างก็เป็นอันจบ เหมือนกับการจัดการความรู้ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในองค์กรโดยส่วนมาก ณ.ขณะนี้เป็นเช่นปัจจัย 4 ที่เป็นเหมือนความจำเป็นพื้นฐานของการจัดการความรู้ ซึ่งถ้าไม่มีก็ไม่น่าจะสำเร็จได้ก็คือ

ผู้นำและภาวะผู้นำ (Leadership) ผู้บริหารต้องทำหน้าที่

@ เป็นผู้สร้างและใช้กลยุทธ์

@ การสนับสนุนส่งเสริมด้านวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่สร้างไว้เป็นแนวทาง

@ ผู้บริหารต้องมองเห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้

@ ผู้บริหารต้องเห็นถึงการใช้ความรู้ที่องค์กรมีอยู่

@ มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เรียกได้ว่า พร้อมใช้ ถ้ามีระบบดีแล้ว แต่ไม่รู้จักใช้ก็จบเหมือนกันค่ะ

 องค์กร (Organization)

@ การดำเนินงานขององค์กร

@ ระบบบริหารจัดการต้องมีประสิทธิภาพ

@ ยืดหยุ่นเพียงพอไปสู่การปรับเปลี่ยน(Change)ได้ค่ะ

เทคโนโลยี (Technology) มีความรู้อยู่เยอะมีมากมายมหาศาลในองค์กร แต่ไม่มีเทคโนโลยีเป็นตัวผลักดัน ให้เกิดเป็นคลังความรู้ เป็นเครื่องมือ(Tools)ในการจัดการ การสื่อสาร(Communication) การจัดการความรู้(Knowledge Managements)ในองค์กรนั้น ๆก็ออกจะเป็นเรื่องยากซักหน่อย

การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้เป็นกระบวนที่มีประสิทธิภาพ(Efficiently)และประสิทธิผล(Effectively)มีคลังความรู้อันมีค่า ไม่มีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน การเก็บความรู้เข้าคลังก็ดูจะ ไร้ประโยชน์ไปเหมือนกันค่ะ มีแล้วใช้ไม่เป็น เพราะ คน ในองค์กรไม่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ซึ่งก็ต้องสร้างพยายามสร้างขึ้นมาค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel.081- 9435033

 

เรียนคุณสมศรี (เปิ้ล)

น่าอ่านครับ

ธนพล

Homework
Mr. Sakonechai Charoenchai, SSRU Ph.D. student

Today, homework is about reading the article from the Nation and writing a summary of the article. I have read an interesting piece of article, Topic: Hi! Managers by Thanwa Laohasiriwong. The Nation Friday, August 21, 2009.

In the article, he talked about the enterprise of the future. What is the enterprise of the future? It is the one that capable of changing quickly and successfully. Instead of merely responding to the changes and trends, it changes and leads others in the market.

What kinds of important changes do we need to know? 1) Changes in the world markets. The economies of developing countries are growing rapidly. It increases worldwide competitors as well as worldwide customers. 2) Changes in information technology. We have a huge amount of data and information. We need to know to use and benefit from them. 3) Changes in the client needs. These are the need to integrate advance technology, the need to be innovative, and the need to reduce cost and be competitive.

 

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยิ่ง

หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆในเรื่องที่ ท่าน William S. Cohen พลวัตรการเปลี่ยนแปลง(Change)ในเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์โลก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อทุก ๆคนบนโลกนี้นะคะ  “Technology” ทำให้โลก ทำให้โลกเล็กลง การเดินทางข้ามมหาสมุทรเกิดขึ้นอย่างง่ายดายและรวดเร็วนะคะ ขณะที่ท่าน William S. Cohenได้ให้ Concept การเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจว่าปัจจัยที่จะทำให้การลงทุนหรือเงินทุนไหลเข้าสู่ประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นมาจาก 3 องค์ประกอบหลักได้แก่

1.ความมีเสถียรภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน(Stability and Security) ผู้ลงทุนทุกคนต่างมุ่งหวังว่า การลงทุนหรือเงินลงทุนของเขาจะอยู่ในสถานะที่ปลอดภัย ไม่สูญหายไปเนื่องจากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองหรือเศรษฐกิจและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2.ความมีอิสระและกลไกตลาดเสรี (Free Mind and Free Market) นักลงทุนเชื่อว่าการแข่งขันเสรีภายใต้กรอบการแข่งขันที่เป็นธรรม เป็นสภาวะการณ์ที่เอื้อให้เกิดการลงทุนมากที่สุดและกลไกตลาดเสรียังทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดออกมาขายอีกด้วย

3.หลักกฎหมายที่เอื้อให้เกิดการแข่งขัน(Rules of Law) หลักกฎหมายเอื้อให้เกิดความโปร่งใส(Transparency) ความซื่อสัตย์ (Honesty)และสามารถตรวจสอบได้ (Accountability)จะเป็นกลไกสำคัญที่ดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ ในขณะที่การคอรัปชั่น(Corruption)จะเป็นตัวทำให้การลงทุนไหลออกนอกประเทศ

ท่าน William S. Cohen ยังได้การวิเคราะห์โดยใช้ภูมิรัฐศาสตร์โลกนั้น 3 ปัจจัยที่สำคัญซึ่งทำให้เกิดแรงขับดันเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกมีดังต่อไปนี้

1.Shapingหรือการปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดการลงทุน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

2.Responseหรือการตอบโต้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหา ความขัดแย้งต่างๆ เกิดขึ้นในโลก โดยประเทศจะมีการตอบโต้กลับอย่างไรนั้น ขึ้นกับบริบทของคู่กรณีที่เกิดปัญหา โดยส่วนใหญ่แล้วเราอาจกล่าวได้ว่าการตอบโต้จะมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา(Flexible)

3.Prepareหรือการเตรียมพร้อม สำหรับเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(Predict)ในอนาคต โดยแต่ละประเทศควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อรับมือกับปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

หนูขอจบการวิเคราะห์เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ หนูคิดว่าConcept ท่าน William S. Cohen ก็คือทฤษฎี 8 K’s+ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 4 L’s +ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2 R ของ ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ ทั้งหมดแล้วนะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081- 9435033

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ

วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ประเทศไทย ค่ะ

จุดแข็ง

 

1. ประเทศไทยยังนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งสอนให้คนทำความดี และจะทำอะไร ยังต้องกลัวบาปหรือกลัวตกนรก

2. ไทยมีศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

3. ประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีเอกลักษณ์ ศิลปะของชาติ อย่างสวยงาม

จุดอ่อน

1.  ระบบการศึกษาของไทยมุ่งเน้นปริญญา ไม่ได้มุ่งเน้นปัญญา

2.  นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ยังมองประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม มีการคอรัปชั่นสูง สถิติในปี 2008 พบว่า อยู่ในอันดับ 80 ของโลก จาก 180 ประเทศ

3.  การบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการไทย ยังติดอยู่กับกรอบความคิดเดิม ๆ และไม่กล้าคิดนอกกรอบทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์

4.  ผู้บริหารระดับกลางและล่าง ยังติดพฤติกรรมเดิม ๆ คือ รับคำสั่ง และนำไปปฏิบัติ ยังไม่กล้าคิดเอง วิเคราะห์เอง

5.  พฤติกรรมของคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ

6.  เด็กไทยหันไปสนใจและรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา จนลืมวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย

7. พฤติกรรมคนไทย ชอบทำแต่เรื่องที่สนุก

8.  คนไทยมีความอ่อนแอทางด้านวัฒนธรรม ชอบเลียนแบบ เช่น เลียนแบบดารา เป็นต้น

9.  สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำกันสูงมากระหว่างคนรวยและคนจน

10.  คนไทยไม่มีวินัย

11. คนไทยมีพฤติกรรมชอบมาสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการประชุมของข้าราชการไทย นัด 9.00 น มา 9.30 น เป็นต้น

12. เด็กไทยอ่อนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เมื่อเทียบกับประเทศในแถบอาเซียน ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ

ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา 084-8073320

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆ โดยเปรียบเทียบกูรู 3 ท่าน ได้แก่ 1. ศ.ดร.จีระ 2. William S. Cohen 3. Peter Drucker โดยหนูได้พยายามค้นคว้าหาข้อมูลสามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้นะค่ะ

 

ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์

1. ทุนมนุษย์ (Human Capital)

2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

4. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)

5. ทุนทางสังคม (Social Capital)

6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)

7. ทุนทาง IT (Digital Capital)

8. ทุนทาง Knowledge, Skill & Mindset (Talented Capital)

 

Peter  Drucker

1. อะไรคือสิ่งที่ต้องทำ

2. ใช้คำว่า พวกเรามากกว่า ผม

3. อะไรคือสิ่งถูกต้อง เหมาะสมกับองค์กร

4. พัฒนาแผนงาน

5. รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัดสินใจ

6. รับผิดชอบต่อการสื่อสารแผนงาน

7. ให้ความสำคัญต่อโอกาสมากกว่าปัญหา

8. นำการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

William S. Cohen

1. การสร้างความรู้สึกเร่งด่วน

2. การสร้างทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3. การสร้าง Vision ที่ถูกต้อง

4. การสื่อสารและการถ่ายทอด Vision

5. การกำจัดอุปสรรคที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง

6. การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จระยะสั้น

7. อย่ายินดีกับความสำเร็จในเบื้องต้น

8. ทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคงอยู่กับองค์กร

 

หนู (สมศรี  นวรัตน์) สรุปได้ดังกล่าวข้างต้น คิดว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับตนเองที่ได้ อ่านสือ ทบทวนการบ้าน ทบทวนโจทก์และ Concept ที่ท่าน ศ. ดร. จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเราชาว SSRU และขอให้เพื่อน ๆ ช่วยกันค้นหาและนำมา Sharing ให้เพื่อน ๆ ได้เพิ่ม Body of Knowledge และเรามาเรียนร่วมกันเป็นทีม “Team Learning” นะค่ะ   

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel. 081 - 9435033

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆ โดยเปรียบเทียบกูรู 3 ท่าน ได้แก่ 1. ศ.ดร.จีระ 2. William S. Cohen 3. Peter Drucker โดยหนูได้พยายามค้นคว้าหาข้อมูลสามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้นะค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์

หนูขอส่งการบ้านข้อที่ว่า การไปศึกษานอกสถานที่ ที่ ดิ เอ็มโพเรียมแล้วได้อะไร

1. ได้เรียนรู้เส้นทางการเดินทางไปที่เอ็มโพเรียม ก่อนไปขึ้นรถไฟฟ้า ทำให้ช่วยในการประหยัดเวลา ซึ่งผู้นำ หรือ ผู้บริหารที่ดี จะต้องเรียนรู้ว่า เวลาเป็นสิ่งสำคัญ หากปล่อยผ่านไป จะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้เลยตลอดชีวิต

2. ได้เห็นบรรยากาศร้านหนังสือที่เป็นร้านระดับโลกที่มีสาขามากกว่า 60 สาขาทั่วโลก และได้รับข้อมูลใหม่ว่า หนังสือขายดีภายในร้าน คือ หนังสือที่เกี่ยวกับเด็ก ทำให้เริ่มเกิดความหวังว่า ในอนาคตเด็กไทยจะมีการใฝ่หาความรู้ในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น หรือ อย่างน้อยน่าจะมีการอ่านหนังสือต่อวันมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

3. ได้มีโอกาสซื้อหนังสือเพิ่มขึ้น ที่เป็นหนังสือนอกเหนือจากด้านบัญชีและการเงิน (เดิมอ่านหนังสือด้านอื่นน้อยมาก) ทำให้ได้มีโอกาสเติมความรู้ในด้านอื่นเพิ่มขึ้น เพราะเป็นร้านที่รวมหนังสือที่น่าอ่านมากมายหลายสาขา

4. ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับศิลปะ เพราะได้มีโอกาสได้พบท่านอาจารย์แนบ โสตถิพันธุ์ และ ท่านลลิสา จงบารมี ทำให้หนูเกิดแรงบันดาลใจว่า น่าจะเรียนรู้ด้านศิลปะเพิ่มขึ้น เพราะได้เห็นท่านลลิสา เป็นแม่แบบ เนื่องจาก ท่านไม่เคยวาดภาพมาก่อน แต่เมื่อเรียนรู้แล้ว ปรากฏว่า ภาพที่ท่านวาด สวยงามมาก ดังนั้น ศิลปะไม่ได้จำกัด เฉพาะผู้ที่มีพรสวรรค์ด้านนี้เท่านั้น แต่ศิลปะสามารถมีและสร้างได้ในทุกคน ถ้าทุกคนให้โอกาสที่จะเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างมีความสุข ซึ่งจะนำมาสู่คำว่า Passion ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนรู้ตลอดชีวิต นั่นเอง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สุนันทา 081-309-5959

เรียน ท่าน ศ.  ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์  ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ได้กลับมาทบทวน โดยนำวิชา Mind Mapping  มาใช้ในการสกัดองค์ความรู้ (Knowledge) และแยกเปรียบเทียบบุคคลสำคัญ 3 ท่าน ได้แก่

1. ศ. ดร.จีระ  ในเรื่อง......ทุนทางมนุษย์ + 8 K’s 

 2. ท่าน Cohen ในเรื่อง.......การบริหารการเปลี่ยนแปลง

 3. ท่าน Peter Drucker ในเรื่อง.......... Leadership โดยหนูขอนำเสนอ .......Mind Mapping  ดังนี้

    การจะเปลี่ยนแปลง(Change)อะไรก็ตาม ถ้า....ผู้นำองค์กรไม่เห็นหรือไม่สนับสนุนทุกอย่างก็เป็นอันจบ เหมือนกับการจัดการความรู้ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในองค์กรโดยส่วนมาก ณ.ขณะนี้เป็นเช่น......ปัจจัย 4 ที่เป็นเหมือน ความจำเป็นพื้นฐานของการจัดการความรู้ ซึ่งถ้าไม่มีก็ไม่น่าจะสำเร็จได้ก็คือ

ผู้นำและภาวะผู้นำ (Leadership) ผู้บริหารต้องทำหน้าที่

@ เป็นผู้สร้างและใช้กลยุทธ์

@ การสนับสนุนส่งเสริมด้านวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่สร้างไว้เป็นแนวทาง

@ ผู้บริหารต้องมองเห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้

@ ผู้บริหารต้องเห็นถึงการใช้ความรู้ที่องค์กรมีอยู่

@ มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เรียกได้ว่า พร้อมใช้ ถ้ามีระบบดีแล้ว แต่ไม่รู้จักใช้ก็จบเหมือนกันค่ะ

 องค์กร (Organization)

@ การดำเนินงานขององค์กร

@ ระบบบริหารจัดการต้องมีประสิทธิภาพ

@ ยืดหยุ่นเพียงพอไปสู่การปรับเปลี่ยน (Change) ได้ค่ะ

เทคโนโลยี (Technology) มีความรู้อยู่เยอะมีมากมายมหาศาลในองค์กร แต่ไม่มีเทคโนโลยีเป็นตัวผลักดัน ให้เกิดเป็นคลังความรู้ เป็นเครื่องมือ (Tools) ในการจัดการ การสื่อสาร(Communication) การจัดการความรู้(Knowledge Managements)ในองค์กรนั้น ๆก็ออกจะเป็นเรื่องยากซักหน่อย

การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้เป็นกระบวนที่ มีประสิทธิภาพ( Efficiently ) และประสิทธิผล ( Effectively ) มีคลังความรู้อันมีค่า ไม่มีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน การเก็บความรู้เข้าคลังก็ดูจะ ไร้ประโยชน์ไปเหมือนกันค่ะ มีแล้วใช้ไม่เป็น เพราะ คน ในองค์กรไม่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ซึ่งก็ต้อง.....สร้างพยายามสร้างขึ้นมานะคะ

ด้วยความเคารพท่านอาจารย์ยิ่ง

สมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel.081- 9435033

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆ โดยเปรียบเทียบกูรู 3 ท่าน ได้แก่ 1. ศ.ดร.จีระ 2. William S. Cohen 3. Peter Drucker โดยหนูได้พยายามค้นคว้าหาข้อมูลสามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้นะค่ะ

 

ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์

1. ทุนมนุษย์ (Human Capital)

2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

4. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)

5. ทุนทางสังคม (Social Capital)

6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)

7. ทุนทาง IT (Digital Capital)

8. ทุนทาง Knowledge, Skill & Mindset (Talented Capital)

 

Peter  Drucker

1. อะไรคือสิ่งที่ต้องทำ

2. ใช้คำว่า พวกเรามากกว่า ผม

3. อะไรคือสิ่งถูกต้อง เหมาะสมกับองค์กร

4. พัฒนาแผนงาน

5. รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัดสินใจ

6. รับผิดชอบต่อการสื่อสารแผนงาน

7. ให้ความสำคัญต่อโอกาสมากกว่าปัญหา

8. นำการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

William S. Cohen

1. การสร้างความรู้สึกเร่งด่วน

2. การสร้างทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3. การสร้าง Vision ที่ถูกต้อง

4. การสื่อสารและการถ่ายทอด Vision

5. การกำจัดอุปสรรคที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง

6. การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จระยะสั้น

7. อย่ายินดีกับความสำเร็จในเบื้องต้น

8. ทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคงอยู่กับองค์กร

     หนู (สมศรี  นวรัตน์) สรุปได้ดังกล่าวข้างต้น คิดว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับตนเองที่ได้ อ่านสือ ทบทวน ทำการบ้าน ทบทวนโจทก์และConcept ที่ท่าน ศ. ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเราชาว SSRU และขอให้เพื่อน ๆช่วยกันค้นหาและนำมาSharingให้เพื่อน ๆได้เพิ่มBody of Knowledge และเรามาเรียนร่วมกันเป็นทีม “Team Learning” นะค่ะ 

  

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี Tel. 081- 9435033

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

หนูขอเปรียบเทียบ ทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ และ ทฤษฎี mind mapping ดังนี้ค่ะ

1. Human Capital

2. Intellectual Capital

3. Ethical Capital

4. Happiness Capital

5. Social Capital

6. Sustainability Capital

7. Digital Capital

8. Talented Capital

และทฤษฎีของ Mind mapping Tony Buzan ดังนี้ค่ะ

1. Creativity capital-การเขียน mind mapping ต้องใช้สมองซีกขวา ดังนั้นต้องใช้การจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

2. Intellectual Capital & Talented Capital เป้าหมายหลักของ Tony คือ ต้องการทุกคนทั่วโลก รู้เกี่ยวกับสมอง รู้เกี่ยวกับความสามารถ และรู้วิธีการใช้ Mind map รวมทั้งรู้วิธีการจำ และรู้วิธีการสร้างสรรค์

3. Happiness Capital การเขียน mind mapping ต้องใช้สีในการเขียนอย่างน้อย 3 สี ดังนั้น สีจะไปกระตุ้นสมองได้มีจินตนาการ และสร้างความสุขในการคิดงาน

ขอตอบแค่นี้ก่อนนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

ลัดดา ปินตา 084-8073320

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์   ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆ โดยเปรียบเทียบกูรู 3 ท่าน ได้แก่ 1. ศ.ดร.จีระ + 2. William S. Cohen + 3. Peter Drucker   โดยหนูได้ พยายาม ค้นคว้า หาข้อมูล สามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้นะค่ะ

 

ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์

1. ทุนมนุษย์ (Human Capital)

2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

4. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)

5. ทุนทางสังคม (Social Capital)

6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)

7. ทุนทาง IT (Digital Capital)

8. ทุนทาง Knowledge, Skill & Mindset (Talented Capital)

 

Peter Drucker

1. อะไรคือสิ่งที่ต้องทำ

2. ใช้คำว่า พวกเรามากกว่า ผม

3. อะไรคือสิ่งถูกต้อง เหมาะสมกับองค์กร

4. พัฒนาแผนงาน

5. รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัดสินใจ

6. รับผิดชอบต่อการสื่อสารแผนงาน

7. ให้ความสำคัญต่อโอกาสมากกว่าปัญหา

8. นำการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

William S. Cohen

1. การสร้างความรู้สึกเร่งด่วน

2. การสร้างทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลง

3. การสร้าง Vision ที่ถูกต้อง

4. การสื่อสารและการถ่ายทอด Vision

5. การกำจัดอุปสรรคที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง

6. การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จระยะสั้น

7. อย่ายินดีกับความสำเร็จในเบื้องต้น

8. ทำให้ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคงอยู่กับองค์กร

 

หนู (สมศรี  นวรัตน์) สรุปได้ดังกล่าวข้างต้น คิดว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับตนเองที่ได้ อ่านหนังสือ ตำรา ทบทวน ทำการบ้าน ทบทวนโจทก์และConcept ที่ท่าน ศ. ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเราชาว  SSRU และขอให้เพื่อน ๆช่วยกันค้นหาและนำมาSharingให้เพื่อน ๆได้เพิ่มBody of Knowledge และเรามาเรียนร่วมกันเป็นทีม “Team Learning” นะค่ะ 

หนูทดลองใช้   Mind Mapping โดยใช้ เปรียบเทียบ GURU ทั้ง 3 ท่านดังนี้คะ

 

ด้วยความเครารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี  Tel. 081 - 9435033 

 

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์   ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆ โดยเปรียบเทียบกูรู 3 ท่าน ได้แก่ 1. ศ.ดร.จีระ + 2. William S. Cohen + 3. Peter Drucker   โดยหนูได้ พยายาม ค้นคว้า หาข้อมูล สามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้นะค่ะ โดยขอนำเสนอรูปแบบตารางGURUทั้ง 3 ท่าน ดังนี้นะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี

Tel. 018-9435033

มีแต่ "รอยยิ้ม" ทุก ๆคนมี "ความสุข " 1 ใน 8 ทุน(ท่าน ศ. ดร. จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเราSSRU) ที่ "ใคร ๆ ก็ปารถนา " จริง ๆแล้ว  "ความสุข "อยู่ไม่ไกลตัวเรานัก" แต่....เรามักจะ...ลืม..หยิบมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับ ตัวเรา + ครอบครัว + เพื่อน + คนรอบข้าง + สังคมของเรานะคะ  

เวลาเรายิ้มจะมีสาร  ß- endorphin”  หลั่งออกมาซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า สารสร้างความสุข  หลั่งออกมามากสุขภาพจะดีทั้งกายและใจ ชะลอความชรา นะคะ เป็น Capital  ที่ไม่ต้องลงทุนคะ 

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด  จ.เพชรบุรี

Tel. 081 - 9435033

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ที่เคารพยิ่ง

           หนู (สมศรี นวรัตน์) ได้กลับมาทบทวน ผลงานของท่าน Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้างLearning Organization  อยู่ที่การ สร้างวินัย 5 ประการ ในรูปของการ นำไปปฏิบัติของบุคคล + ทีม + องค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้
1. Personal  Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศและรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน(Personal Vision) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรค์จึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี(Creative Tension) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth ) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Unconsciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ
      2.Mental  Model มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง
ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ
     3. Shared Vision การสร้างและสานวิสัยทัศน์  วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดีคือกลุ่มผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มเน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภาพบวกต่อองค์การ
      4.Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ
      5. System thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

     หลักการที่ท่าน Peter Senge ได้รวบรวมจากแนวคิดของ Chris Argyris และ Donald Schon รวมถึงนักวิชาการท่านอื่น มาเขียนหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับ Learning  Organization  ซึ่งมีชื่อว่า "The Fifth Discipline”  และการที่มีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้ จะทำให้ องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative)  และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขันได้ท่ามกลางโลกที่ปลี่ยนแปลงรวดเร็วม๊ากมากนะคะ

 

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี tel. 081 - 9435033

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์   ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี นวรัตน์) ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับเพื่อน ๆ โดยเปรียบเทียบกูรู 3 ท่าน ได้แก่ 1. ศ.ดร.จีระ + 2. William S. Cohen + 3. Peter Drucker   โดยหนูได้ พยายาม ค้นคว้า หาข้อมูล สามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้นะค่ะ

หนูทดลองใช้   Mind Mapping โดยใช้ เปรียบเทียบ GURU ทั้ง 3 ท่านดังนี้คะ

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จเพชรบุรี

Tel. 081-9435033

 

 

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของประเทศไทยเทียบกับฟิลิปปินส์

             ประเทศไทย                                 ประเทศฟิลิปปินส์

              จุดแข็ง                                           จุดอ่อน

1. มีพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเปี่ยมด้วย                1. ไม่มีพระเจ้าอยู่หัว 

 ความรู้ความสามารถ และความดี

2. มีภาษาไทยของตัวเอง                          2.ไม่มีภาษาของตัว

                                                            เองมีแต่ภาษาพูด

3.รายได้ของคนไทยสูงกว่า                        3.รายได้ตำกว่า

4.ภูมิประเทศมีแผ่นดินใหญ่                        4.มีแต่เป็นเกาะทำให้

                                                            เกิดอุทกภัยมากมาย

5.มีศาสนาพุทธเป็นหลัก                            5.มีหลายศาสนา

6.ค่าครองชีพต่ำกว่า                                  6.ค่าครองชีพสูงกว่า

            จุดอ่อน                                             จดแข็ง

1.พูดและอ่านภาษาอังกฤษได้น้อยกว่า         1.พูดและอ่านภาษา

                                                             อังกฤษได้ดีกว่า

2.มีพื้นที่ออกทะเลได้น้อยกว่า                     2.มีพื้นที่ออกทะเลได้

                                                             มากกว่า

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

081-840-6444

 

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

      หนู (สมศรี  นวรัตน์) วันนี้หนูทำการบ้านเรื่อง “The Inspirational Leader = ผู้นำที่เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจ มีคนบอกว่า มีช่องว่าง=Gap ” ที่รอ.....???การเติม...เต็ม (หัวใจ...) จากใคร...สักคนที่สามารถ.... การณ์ไกล และนำ...ประชาชน...ให้ทุมเท พลัง ในสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด ซึ่งใคร คนนั้น??? ” ก็คือ ผู้นำที่เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดานใจ...สามารถพัฒนา (หนูสมศรี + เราเราSSRU)เป็นคนที่เรา...สามารถผู้นำเป็นได้ + พัฒนาได้

 

คุณสมบัติของผู้นำที่เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจ...ไว้ได้มี 2 ประการ(หนังสือบอกไว้...แต่งโดย John Adair)คือ

1. การเข้าใจถึงกลไกลใน การเข้าใจ ถึง กลไก ในตัวมนุษย์ (คน)อย่างถ่องแท้

2. มีจิตที่แผ่รัศมีแห่ การตื่นตัวและพลัง ในตัวมนุษย์ (คน).....ออกไปถึงผู้อื่น

 

ผู้แต่งบอกหนู(จากการอ่านนะคะ) ถ้าเรานำหลักการ(Principle) ทั้ง 2 ข้อมาใช้กับคนอื่น และใช้ในชีวิตประจำวัน แน่นอน + แน่ใจได้(ตัวคุณ) à ààจะรุดหน้าเกินคาด ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คนรอบข้างจะซึ่งใจในตัวคุณ... เพราะหนู(สมศรี  นวรัตน์)....ยอมรับอย่าง สุดหัวใจ ต่อคำกล่าวที่ว่า

            @ คนที่สูญเสีย...ความมั่งคั่ง.....สูญเสียมาก

            @ คนที่สูญเสียเพื่อน.....สูญเสียมาก

@ คนที่สูญเสียจิตใจที่มั่นคงและแรงบันดาลใจ.....สูญเสีย.....หมดทุกอย่าง

 

   John Adair เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา ความเป็นผู้นำ เขาได้แต่งหนังสือได้แก่

            1. How to find you Vocation

            2. The Leadership of Jesus, Effective Strategic & Not Bosses but Leaders.

 

ในเล่มนี้มี 9 ภาคคือ

            1. 3 วิธีพื้นฐานในการพิชิตความเป็น ผู้นำ

2. อำนาจจากการเป็นผู้ รอบรู้

3. ระดับชั้นของผู้นำ

4. การให้และการรับ

5. ภาระรับผิดชอบที่มากกว่าคำว่า หน้าที่

6. การทำงาน ร่วมกัน กัน

7. ดึงแนวคิด ต่าง ๆ เข้าด้วย

8. คำถามที่เกี่ยวกับ ทำไม?”

9. บททดสอบของ ความเป็นผู้นำ

   ในเรื่องของรายละเอียดในแต่ละภาค นั้น  หนูจะนำมาลงในครั้งต่อไปหรือว่าเพื่อน ๆ จะไปหาหนังสือเล่มนี้  “The Inspirational Leader =  ผู้นำที่เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจ ก็จะดีมากนะคะ....แล้วนำมาเล่าให้ชาวBlog ได้อ่านแล้วเรา....จะเป็น สังคมแห่งการรักการอ่าน & สังคมแห่งการเรียนรู้ (Social Organization) ตามทฤษฎี 8 K+ 5K+2R + LO + Leadership + ทฤษฎี 3 วงกลม (Context + Competency  + Motivation ) + ทฤษฎี 4 E  (Exampling +Experience + Environment + Evaluation) ของท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเรา(ที่เรารักมาก) SSRU

   วันนี้หนูเขียน ยาว.....ม๊าก..มาก ๆๆ……หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้าง (นิดหน่อย ...เพียงน้อย ๆๆ)

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tle. 081- 9435033

 

ล่นบทบาทการเป็นผู้สนับสนุนลูกน้องหากพวกเขา   เหล่านี้มีความคิดใหม่ๆที่น่าสนใจในการดำเนินธุรกิจ เช่น มีแนวคิดใหม่ๆเกี่ยวกับสินค้า/บริการที่มีศักยภาพในการทำตลาดใหม่ได้หรือมีแนวคิดในการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ๆให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปหรือมีโครงการในการลงทุนใหม่ๆเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายธุรกิจเช่นการขยายตลาด การขยายโรงงานใหม่ๆ ซึ่งหากผู้บริหารไม่เข้าไปส่งเสริมให้พนักงานเกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ก็มีความเสี่ยงที่กิจการจะหยุดนิ่ง เนื่องจากผู้บริหารเองก็คงไม่สามารถคิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้อยู่ตลอดเวลา นวัตกรรม(Innovation)ที่เกิดขึ้น     ส่วนใหญ่ในโลกนี้ก็ล้วนแล้วแต่มาจากบุคลากรในกิจการทั้งสิ้น จึงต้องมีการกระตุ้นและสนับสนุน
ท้ายสุดคือ บทบาทการเป็นผู้จัดการโครงการ (Project Manager) บ่อยผู้บริหารอาจต้องเข้ามาเป็นผู้จัดการโครงการใหม่ๆที่ตนเองหรือพนักงานริเริ่มขึ้น เนื่องจากจะต้องเป็นคนวางแผนประสานงาน ควบคุมการดำเนินงานของโครงการตามแนวทางกลยุทธ์ที่วางไว้เช่นหากกิจการมีกลยุทธ์ที่เน้นการเติบโตไปยังธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ก็อาจต้องมีการจัดตั้งโครงการการพิจารณาศักยภาพและโอกาสในการลงทุนขยายธุรกิจซึ่งผู้บริหารอาจต้องลงมาเป็นผู้จัดการโครงการนี้เอง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตาม

เป้าหมายที่วางไว้

     ดังนั้นหนูคิดว่า สิ่งเหล่านี้ ผู้บริหาร จำเป็นต้องรู้  ในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วม๊าก...มากหรือโลกาภิวัตน์  (Globalization)

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 081-9435033

 

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

หนู (สมศรี  นวรัตน์) ขอแสดงความคิดเชิงวิพากษ์(Critical )ภาวะผู้นำ (Leadership) ควรมีพฤติกรรม (Behavior) ที่พึงประสงค์สมกับการเป็น Leader

๑. ต้องเป็นคนฟังมาก ๆ

๒. คิดใคร่ครวญ

๓. ปากช้า

๔. กล้าอย่างสมเหตุสมผล

๕. หาคนร่วมงานที่ดี

๖. มีที่ปรึกษารอบด้าน

๗. มีแม่บ้านใจกว้างขวาง

๘. รู้จักปล่อยวางในบางกรณี

๙. ระวังผู้ใกล้ชิดจะเป็นปัจจามิตรใกล้ตัว

๑๐.ระวังที่ปรึกษาและองครักษ์จะเป็นสุนัขเลียเท้า

๑๑.ระวังคนข้างเคียงจะเป็นหอกข้างแคร่

บทบาทของผู้นำที่ควรมี ในการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

ประการแรกคือ บทบาทการเป็นผู้ริเริ่ม (Champions)ในกรณีนี้จะ  มุ่งเน้นการพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจและกลยุทธ์ใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)ที่แตกต่างจากสิ่งเดิมที่กำลังดำเนินงานอยู่ สิ่งซึ่งต่างๆเหล่านี้ยากที่จะเกิดขึ้นมาในกิจการได้ ถ้ามิได้มีความคิดริเริ่มมาจากผู้บริหารระดับสูง เพราะลูกน้องย่อมมีความกล้าเสี่ยงน้อยกว่าที่จะนำเสนอไอเดีย(Idea)หรือกลยุทธ์ใหม่ๆ(New Strategic)ที่แตกต่างจากของเดิมที่ดำเนินงานอยู่ โดยเฉพาะกับกิจการที่ดำเนินงานมานานและประสบความสำเร็จมาช้านานแล้ว พนักงานในกิจการย่อมไม่กล้าที่จะนำเสนอกลยุทธ์ใหม่ที่ต่างจากเดิมมากๆ เนื่องจากกลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนในอดีตที่เคยเป็น ทำให้กิจการเหล่านี้หยุดอยู่กับที่ และขาดการพัฒนาใหม่  
ประการที่สอง
คือบทบาทการเป็นผู้ประสาน (Liaison) เนื่องจากแม้ว่าบุคลากรในองค์การเดียวกัน ก็ยังมีความแตกต่างกันในแง่ของภูมิหลัง(Context)ตามแต่ละแผนก โดยจะมีเป้าหมายในการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกัน เช่นฝ่ายผลิตต้องการลดต้นทุน จึงต้องการที่จะทำให้กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ฝ่ายการตลาด ต้องการที่จะได้สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์มีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน แต่การทำดังกล่าวก็ทำให้การผลิตซับซ้อนและต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้น สร้างความยุ่งยากต่อฝ่ายการผลิตอีก อีกทั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาก็มุ่งเน้นที่จะสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ไม่เคยมีในตลาด เพื่อเป็นผลงานที่โดดเด่นของตน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความยุ่งยากต่อระบบการผลิตซึ่งอาจต้องมีการพัฒนาสายการผลิตใหม่ เพื่อรองรับกับแนวคิดใหม่เป็นต้น
ประการที่สาม คือบทบาทการเป็นผู้สนับสนุน (Sponsors) นอกจากผู้นำจะมีความสำคัญในการริเริ่มนำเสนอกลยุทธ์ใหม่ๆสู่กิจการแล้ว ยังควรเล่นบทบาทการเป็นผู้สนับสนุนลูกน้องหากพวกเขา   เหล่านี้มีความคิดใหม่ๆที่น่าสนใจในการดำเนินธุรกิจ เช่น มีแนวคิดใหม่ๆเกี่ยวกับสินค้า/บริการที่มีศักยภาพในการทำตลาดใหม่ได้หรือมีแนวคิดในการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ๆให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปหรือมีโครงการในการลงทุนใหม่ๆเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายธุรกิจเช่นการขยายตลาด การขยายโรงงานใหม่ๆ ซึ่งหากผู้บริหารไม่เข้าไปส่งเสริมให้พนักงานเกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ก็มีความเสี่ยงที่กิจการจะหยุดนิ่ง เนื่องจากผู้บริหารเองก็คงไม่สามารถคิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้อยู่ตลอดเวลา นวัตกรรม(Innovation)ที่เกิดขึ้น     ส่วนใหญ่ในโลกนี้ก็ล้วนแล้วแต่มาจากบุคลากรในกิจการทั้งสิ้น จึงต้องมีการกระตุ้นและสนับสนุนดังกล่าวอย่างจริงจัง
ท้ายสุดคือ บทบาทการเป็นผู้จัดการโครงการ (Project Manager) บ่อยผู้บริหารอาจต้องเข้ามาเป็นผู้จัดการโครงการใหม่ๆที่ตนเองหรือพนักงานริเริ่มขึ้น เนื่องจากจะต้องเป็นคนวางแผนประสานงาน ควบคุมการดำเนินงานของโครงการตามแนวทางกลยุทธ์ที่วางไว้เช่นหากกิจการมีกลยุทธ์ที่เน้นการเติบโตไปยังธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ก็อาจต้องมีการจัดตั้งโครงการการพิจารณาศักยภาพและโอกาสในการลงทุนขยายธุรกิจซึ่งผู้บริหารอาจต้องลงมาเป็นผู้จัดการโครงการนี้เอง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

   ดังนั้นหนูคิดว่า สิ่งเหล่านี้ ผู้บริหาร จำเป็นต้องรู้  ในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วม๊าก.มาก หรือ โลกาภิวัตน์ (Globalization )

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

081-9435033

 

 

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

                วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2552 เรียน Human Capital Management  ครั้งที่ 9 ซึ่งในครั้งนี้ ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงษ์ลดารมภ์ ได้มอบหมายให้อ่านบทความใน Bangkokpost  หรือ The nation ก็ได้  ผมได้อ่านและสรุปบทความ  2 บทความเพื่อนำมา Sharing ให้เพื่อน ๆ และ ชาว Blog ทุกคนทราบ

Manpower sees rebound in job market

Writer: PORNNALAT PRACHYAKORN

Published : 24/08/2009, Newspaper section: Business

แมนพาวเวอร์เล็งเห็นถึงการกลับมาของตลาดแรงงาน

                การจ้างงานในเมืองไทยและประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิคสามารถที่เห็นสัญญาณถึงการฟื้นตัวอย่างเร็วในลักษณะกราฟตัว V ในอีกมากี่เดือนข้างหน้า จากการกล่าวของนาย Jeffrey Joerres ผู้บริหารด้าน Global Staffing Services แห่งบริษัท แมนพาวเวอร์

                                         

Joerres: Applicants must be flexible

                  มันจะเป็นการฟื้นตัวแบบช้าๆที่เราไม่เห็นจาก สหรัฐฯ, อังกฤษ หรือเยอรมันนี ประเทศในแถบเอเซีย-แปซิฟิคนั้นมีโอกาศฟื้นตัวที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐฯและยุโรปตะวันตกซึ่งได้แต่หวังว่าจะค่อยๆฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะกราฟตัว U อย่างไรก็ตอนนี้ก็ยังเร็วไปที่จะบอกได้เพราะมันอาจจะกลายเป็นกราฟตัว W ก็ได้ถ้าเศรษฐกิจกลับไปตกลงอีก

                  มุมมองด้านการจ้างงานทางสายการผลิตทั้งภาคอิเล็คทรอนิคและภาคอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังอยู่ในช่วงที่จะฟื้นตัว นายไซมอน แมทธิวผู้จัดการบริษัทแมนพาวเวอร์ (ประเทศไทย)         ตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤต ทางบริษัทก็ต้องหันไปมุ่งเน้นในสาขาด้านอื่นที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเช่นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

                ประเทศไทยนั้นยังเป็นฐานการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ที่ซึ่งนักลงทุนสามารถหาโอกาสที่จะลงทุนเพิ่มหรือเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงขาลงเช่นนี้

                จากการสำรวจของแมนพาวเวอร์ประเทศไทย ได้แสดงให้เห็นว่า 84.3% จากบริษัทที่ทำสำรวจ 673 บริษัท นั้นมีอัตราพนักงานที่ลดลงหรือคงที่ในช่วงเวลาตั้งแต่ มกราคม กรกฏาคม 2009 โดยที่ 33%คาดว่าจะเพิ่มพนักงานในช่วงครึ่งหลังของปี, 59% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 8%จะลดพนักงานลงอีก

                นาย Joerres คาดว่าจำนวนคนที่แมนพาวเวอร์หางานให้ในปีนี้จะลดลง 25% จาก 4.1 ล้านคนเมื่อปีที่แล้ว แต่จำนวนคนหางานที่มาสัมภาษณ์ จะเพิ่มขึ้น 25% จาก 10 ล้านคน โดยมีเพียงประเทศไทยและเม็กซิโกเพียง2ประเทศจากทั้งหมด 82 ประเทศที่ แมนพาวเวอร์มีสำนักงานอยู่ ได้คากหวังว่าจะพัฒนาผลงานขึ้นจากปีที่แล้ว

                เทคโนโลยีนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนโฉมตลาดแรงงานในปัจจุบันโดยที่ฝ่ายนายจ้างและผู้หางานต่างสามารถค้นหาและรับรู้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้มากขึ้น

                ในด้านการแข่งขันนั้นประเทศไทยนั้นมีแรงงานที่มีฝีมือมากกว่าคู่แข่งในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์, อิเล็คทรอนิค, และยา ถึงในอีก 5 ปีข้างหน้าประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศที่มีโอกาศที่ดีกว่าก่อนที่คู่แข่งอื่นจะตามทัน

                ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ผู้หางานต้องมีความอดทนต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองนั้นปรับตัวง่ายและต้องมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

The last marathon

Writer: PORNNALAT PRACHYAKORN

Published: 24/08/2009, Newspaper section: Outlook

 การเดินทางของชีวิตนั้นเป็นหนทางอันยาวไกลที่ไม่ราบเรียบ ที่ซึ่งความยากลำบากไล่ตามเรามาโดยไม่ทันรู้ตัว

คุณกรุณา กุศลาสัย อ้างถึงคำกล่าวของ Rabindranath Tagore ในบทสุดท้ายของอัตชีวะประวัติของเขา ชีวิตที่ไม่มีทางเลือก                     

Karuna while trekking through the jungle of Burma on his way to India while a novice (second from right with a blanket)

                    ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับชีวิตของความยากลำบากที่เกิดขึ้นเหนือการควบคุมหรือการคาดการณ์ แต่มันก็ยังบ่งบอกถึงความกล้าหาญของมนุษย์ ความเพียรพยายาม ที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับจุดผลิกผันอย่างเต็มใจ อาจารย์กรุณานั้นเป็นคนสุภาพนุ่มนวล แต่ก็มี หัวใจสิงห์ ที่สามารถกลบรูปร่างอันเล็กและบอบบางของเขาได้

                ดิฉันได้มีโอกาสพบอาจารย์กรุณาครั้งแรกเมื่อ 12 ปีที่แล้วโดยบังเอิญเมื่อตามเพื่อนไปสัมภาษณ์ท่านที่บ้านของท่าน บ้านซึ่งเต็มไปด้วยชั้นหนังสือ ภาพถ่ายและคำคมจากชาวอินเดียผู้ชื่อเสียงเช่น Rabindranath Tagore, Mahatma Gandhi และ Jawaharal Nehru ต้องขอบคุณอาจารย์กรุณาและภรรยาของท่านคุณรุ่งอุไร ที่ได้นำผลงานจากปราชญ์ชาวอินเดียมาแปล และเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วของไทยสู่สาธารณะชนชาวไทย และได้เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมาตลอดครึ่งศตวรรษหลัง

Buddhadasa Bhikkhu who called Karuna his ‘dharma brother’

              ในช่วงที่อายุปลายเจ็ดสิบ ท่านได้กลายมาเป็นผู้รู้เกี่ยวกับทุกอย่างที่เป็นอินเดีย จากเด็กกำพร้าที่พ่อถูกจำคุกจากการกล่าวหาและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และแม่ก็ตายจากไปก่อนหน้านั้น ต้องเอาเลี้ยงชีวิตด้วยความเหนื่อยากด้วยการแบกถังน้ำ ถูกทุบตีจากเจ้านาย จนตัดสินใจเข้าร่วมเดินทางอันยากลำบากกับพระชาวอิตาลีจากประเทศไทยไปอินเดียที่ที่เขาใช้อยู่ไปอีก 13 ปี โดยที่ 4 ปีสุดท้ายถูกจำคุกในฐานะน้องโทษสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อกลับมายังแผ่นดินเกิดก็ต้องถูกจำคุกอีก 8 ปีด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้การช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์ (เนื่องจากเขาได้ไปเข้าร่วมกับภารกิจลับในการเดินทางไปสร้างสัมพันธ์กับประเทศจีน)

Samples of his translations of works by Indian greats

              นับจากการสัมภาษณ์ ครั้งแรกดิฉันได้กลับไปที่บ้านหลังนั้นอีกหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งทำให้ดิฉันรู้สึกสดชื่นและมีศัทธาในมนุษย์กลับคืนมา เพราะท่านทั้งสองแม้จะผ่านเรื่องต่างๆมามากแต่ก็ยังคงมุมมองแง่ดีในชีวิตไว้เสมอ และพยายามทำให้มันมีความหมายมากที่สุดโดยที่แทบไม่เคยผู้ไม่ดีกับใครเลย แม้ว่าเมื่อถูกจับกุมเมื่อปี 2501 ท่านก็ยังระทึงว่าเป็ฯช่วงที่อยู่ในมหาวิทยาลัยเรือนจำนักโทษการเมืองลาดยาว ที่ทำให้ท่านได้มีสมาธิกับการแปลหนังสือต่างๆเช่น Gitanjali ของ Tagore, การค้นพบอินเดียของ Nehru, อัตชีวะประวัติของ Gandhi และอื่นๆ

 

               "ลูกๆที่รัก ที่ช่วงเวลาแสงสว่างสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอีกไม่นานก็คงมืดมิดลงตามกฏของธรรมชาติ พวกลูกๆคงจะอยากถามว่า พ่อคิดอย่างไรกับชีวิตที่ผ่านไปของพ่อ เพื่อจะตอบถามนั้น พ่อพอใจในทุกๆสิ่งและไม่รู้สึกเสียดายเลย ถ้าจะเปรียบเทียบมันก็เหมือนกับแข่งเดินมาราธอน ถึงแม้ว่าจะมีแต่ความทุกข์ทรมานมาตั้งแต่ต้น แต่ในที่สุดพ่อก็ประสบชัยชนะได้เหมือนผู้อื่น ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม พ่อก็ไม่มีอะไรจะบ่นเกี่ยวกับชีวิต เพราะว่าชีวิตนั้นต้องดิ้นรนและเราก็เลือกเกิดไม่ได้

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง   Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

 

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

                วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2552 เรียน Human Capital Management  ครั้งที่ 9 ซึ่งในครั้งนี้ ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงษ์ลดารมภ์ ได้มอบหมายให้อ่านบทความใน Bangkokpost  หรือ The nation ก็ได้  ผมได้อ่านและสรุปบทความ  2 บทความเพื่อนำมา Sharing ให้เพื่อน ๆ และ ชาว Blog ทุกคนทราบ

Manpower sees rebound in job market

Writer: PORNNALAT PRACHYAKORN

Published : 24/08/2009, Newspaper section: Business

แมนพาวเวอร์เล็งเห็นถึงการกลับมาของตลาดแรงงาน

                การจ้างงานในเมืองไทยและประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิคสามารถที่เห็นสัญญาณถึงการฟื้นตัวอย่างเร็วในลักษณะกราฟตัว V ในอีกมากี่เดือนข้างหน้า จากการกล่าวของนาย Jeffrey Joerres ผู้บริหารด้าน Global Staffing Services แห่งบริษัท แมนพาวเวอร์

Joerres: Applicants must be flexible

                มันจะเป็นการฟื้นตัวแบบช้าๆที่เราไม่เห็นจาก สหรัฐฯ, อังกฤษ หรือเยอรมันนี ประเทศในแถบเอเซีย-แปซิฟิคนั้นมีโอกาศฟื้นตัวที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐฯและยุโรปตะวันตกซึ่งได้แต่หวังว่าจะค่อยๆฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะกราฟตัว U อย่างไรก็ตอนนี้ก็ยังเร็วไปที่จะบอกได้เพราะมันอาจจะกลายเป็นกราฟตัว W ก็ได้ถ้าเศรษฐกิจกลับไปตกลงอีก

                มุมมองด้านการจ้างงานทางสายการผลิตทั้งภาคอิเล็คทรอนิคและภาคอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังอยู่ในช่วงที่จะฟื้นตัว นายไซมอน แมทธิวผู้จัดการบริษัทแมนพาวเวอร์ (ประเทศไทย)         ตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤต ทางบริษัทก็ต้องหันไปมุ่งเน้นในสาขาด้านอื่นที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเช่นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

                ประเทศไทยนั้นยังเป็นฐานการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ที่ซึ่งนักลงทุนสามารถหาโอกาสที่จะลงทุนเพิ่มหรือเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงขาลงเช่นนี้

                จากการสำรวจของแมนพาวเวอร์ประเทศไทย ได้แสดงให้เห็นว่า 84.3% จากบริษัทที่ทำสำรวจ 673 บริษัท นั้นมีอัตราพนักงานที่ลดลงหรือคงที่ในช่วงเวลาตั้งแต่ มกราคม กรกฏาคม 2009 โดยที่ 33%คาดว่าจะเพิ่มพนักงานในช่วงครึ่งหลังของปี, 59% ไม่เปลี่ยนแปลง และ 8%จะลดพนักงานลงอีก

                นาย Joerres คาดว่าจำนวนคนที่แมนพาวเวอร์หางานให้ในปีนี้จะลดลง 25% จาก 4.1 ล้านคนเมื่อปีที่แล้ว แต่จำนวนคนหางานที่มาสัมภาษณ์ จะเพิ่มขึ้น 25% จาก 10 ล้านคน โดยมีเพียงประเทศไทยและเม็กซิโกเพียง2ประเทศจากทั้งหมด 82 ประเทศที่ แมนพาวเวอร์มีสำนักงานอยู่ ได้คากหวังว่าจะพัฒนาผลงานขึ้นจากปีที่แล้ว

                เทคโนโลยีนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนโฉมตลาดแรงงานในปัจจุบันโดยที่ฝ่ายนายจ้างและผู้หางานต่างสามารถค้นหาและรับรู้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้มากขึ้น

                ในด้านการแข่งขันนั้นประเทศไทยนั้นมีแรงงานที่มีฝีมือมากกว่าคู่แข่งในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์, อิเล็คทรอนิค, และยา ถึงในอีก 5 ปีข้างหน้าประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศที่มีโอกาศที่ดีกว่าก่อนที่คู่แข่งอื่นจะตามทัน

                ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ผู้หางานต้องมีความอดทนต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองนั้นปรับตัวง่ายและต้องมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

The last marathon

Writer: PORNNALAT PRACHYAKORN

Published: 24/08/2009, Newspaper section: Outlook

 การเดินทางของชีวิตนั้นเป็นหนทางอันยาวไกลที่ไม่ราบเรียบ ที่ซึ่งความยากลำบากไล่ตามเรามาโดยไม่ทันรู้ตัว

คุณกรุณา กุศลาสัย อ้างถึงคำกล่าวของ Rabindranath Tagore ในบทสุดท้ายของอัตชีวะประวัติของเขา ชีวิตที่ไม่มีทางเลือก

Karuna while trekking through the jungle of Burma on his way to India while a novice (second from right with a blanket)

                ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับชีวิตของความยากลำบากที่เกิดขึ้นเหนือการควบคุมหรือการคาดการณ์ แต่มันก็ยังบ่งบอกถึงความกล้าหาญของมนุษย์ ความเพียรพยายาม ที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับจุดผลิกผันอย่างเต็มใจ อาจารย์กรุณานั้นเป็นคนสุภาพนุ่มนวล แต่ก็มี หัวใจสิงห์ ที่สามารถกลบรูปร่างอันเล็กและบอบบางของเขาได้

                  ดิฉันได้มีโอกาสพบอาจารย์กรุณาครั้งแรกเมื่อ 12 ปีที่แล้วโดยบังเอิญเมื่อตามเพื่อนไปสัมภาษณ์ท่านที่บ้านของท่าน บ้านซึ่งเต็มไปด้วยชั้นหนังสือ ภาพถ่ายและคำคมจากชาวอินเดียผู้ชื่อเสียงเช่น Rabindranath Tagore, Mahatma Gandhi และ Jawaharal Nehru ต้องขอบคุณอาจารย์กรุณาและภรรยาของท่านคุณรุ่งอุไร ที่ได้นำผลงานจากปราชญ์ชาวอินเดียมาแปล และเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วของไทยสู่สาธารณะชนชาวไทย และได้เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมาตลอดครึ่งศตวรรษหลัง

Buddhadasa Bhikkhu who called Karuna his ‘dharma brother’

                ในช่วงที่อายุปลายเจ็ดสิบ ท่านได้กลายมาเป็นผู้รู้เกี่ยวกับทุกอย่างที่เป็นอินเดีย จากเด็กกำพร้าที่พ่อถูกจำคุกจากการกล่าวหาและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และแม่ก็ตายจากไปก่อนหน้านั้น ต้องเอาเลี้ยงชีวิตด้วยความเหนื่อยากด้วยการแบกถังน้ำ ถูกทุบตีจากเจ้านาย จนตัดสินใจเข้าร่วมเดินทางอันยากลำบากกับพระชาวอิตาลีจากประเทศไทยไปอินเดียที่ที่เขาใช้อยู่ไปอีก 13 ปี โดยที่ 4 ปีสุดท้ายถูกจำคุกในฐานะน้องโทษสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อกลับมายังแผ่นดินเกิดก็ต้องถูกจำคุกอีก 8 ปีด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้การช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์ (เนื่องจากเขาได้ไปเข้าร่วมกับภารกิจลับในการเดินทางไปสร้างสัมพันธ์กับประเทศจีน)

During his dangerous mission to mainland China (fourth from right)

                ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของผู้ชายคนนี้ก็คือความอ่อนน้อมในบันทึกของเขา อาจารย์กรุณาจะแสดงความขอบคุณถึงบุคคลอื่นอยู่เสมอ ที่ช่วยทำในเขาได้เป็นตนเองดังทุกวันนี้ เช่นพระชาวอิตาลี Lokanatha, ครูชาวฮินดูของเขา Ananda Kausalyayana และคนอื่นๆ

Posing with Sang Pathanothai at the Lardyao Political Jail

                แต่ถ้าเป็นผลจากการกระทำของตนเองล้วนั้น อาจารย์กรุณาแถบไม่ให้ในความผิดพลาดของตนเองเลย เขาได้กล่าวไว้ในบทหนึ่งของหนังสือ ชีวิตที่ไม่มีทางเลือก ว่าเพราะความกระตือรือร้นเกินเหตุที่จะทำข่าว ต้องทำให้ภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ต้องตกอยู่อันตรายทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องนี้ ผมทำได้แต่เพียงแค่ละอายต่อตนเอง

Posing with one of Karuna’s many benefactors, Pandit Raghunath Sharma, director of the Thai-Bharat Cultural Lodge.

                คนๆหนึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อหาของเรื่องเยอะ เพราะในตอนท้ายของอัตชีวะประวัติ อาจารย์กรุณาก็ได้เปรียบเทียบของเขาว่าเป็นเพียงการเดินมาราธอนระยะยาว

                  "ลูกๆที่รัก ที่ช่วงเวลาแสงสว่างสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอีกไม่นานก็คงมืดมิดลงตามกฏของธรรมชาติ พวกลูกๆคงจะอยากถามว่า พ่อคิดอย่างไรกับชีวิตที่ผ่านไปของพ่อ เพื่อจะตอบถามนั้น พ่อพอใจในทุกๆสิ่งและไม่รู้สึกเสียดายเลย ถ้าจะเปรียบเทียบมันก็เหมือนกับแข่งเดินมาราธอน ถึงแม้ว่าจะมีแต่ความทุกข์ทรมานมาตั้งแต่ต้น แต่ในที่สุดพ่อก็ประสบชัยชนะได้เหมือนผู้อื่น ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม พ่อก็ไม่มีอะไรจะบ่นเกี่ยวกับชีวิต เพราะว่าชีวิตนั้นต้องดิ้นรนและเราก็เลือกเกิดไม่ได้

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวังPh.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

Samples of his translations of works by Indian greats

                นับจากการสัมภาษณ์ ครั้งแรกดิฉันได้กลับไปที่บ้านหลังนั้นอีกหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งทำให้ดิฉันรู้สึกสดชื่นและมีศัทธาในมนุษย์กลับคืนมา เพราะท่านทั้งสองแม้จะผ่านเรื่องต่างๆมามากแต่ก็ยังคงมุมมองแง่ดีในชีวิตไว้เสมอ และพยายามทำให้มันมีความหมายมากที่สุดโดยที่แทบไม่เคยผู้ไม่ดีกับใครเลย แม้ว่าเมื่อถูกจับกุมเมื่อปี 2501 ท่านก็ยังระทึงว่าเป็ฯช่วงที่อยู่ในมหาวิทยาลัยเรือนจำนักโทษการเมืองลาดยาว ที่ทำให้ท่านได้มีสมาธิกับการแปลหนังสือต่างๆเช่น Gitanjali ของ Tagore, การค้นพบอินเดียของ Nehru, อัตชีวะประวัติของ Gandhi และอื่นๆ

เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

 

            วันนี้หนู (สมศรี นวรัตน์) ได้ค้นคว้าและอ่านหนังสือเรื่อง “The Starfish and the Spider” หรือ องค์กรไร้หัว แต่งโดย Ori  Brafman and Rod A. เนื้อเรื่องโดยประมาณ หากเราตัดขาแมงมุมแมงมุมตัวนั้นก็จะพิการ หากเราตัดหัวแมงมุม แมงมุมตัวนั้นก็จะตาย ในทางตรงข้ามหากเราตัดขาปลาดาว ปลาดาวตัวนั้นก็จะมีขางอกออกมาใหม่ และขาของปลาดาวที่ถูกตัดไปสามารถพัฒนา (Development) เติบโตขึ้น(Growth) เป็นปลาดาวตัวใหม่

            การเรียนรู้ (Leaning) การเปลี่ยนแปลง (Change) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในโลกโลกาภิวัตน์ พลวัติแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ (Organize) จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับตัว (Adaptation) เพื่อจะดำรงอยู่ในเวทีแห่งการแข่งขันที่รุนแรงในโลกปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ “The Starfish and the Spider” = The Unstoppable Power of Leaderless Organizations เป็นเส้นทางหนึ่งของการ เรียนลัด ในการทำความเข้าใจการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เขียนได้เสนอแนวคิด (Concept) และประสบการณ์ต่าง ๆ (experience) ในการบริหารจัดการองค์กรชั้นนำของโลกเช่น บริษัท MGM, GM, TOYOTA, WIKIPEDIA, EBAY, AMAZON และอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าเราใจถึงสภาพองค์กรแบบเก่าที่ใช้ระบบศูนย์รวมอำนาจ (Centralization) กับ องค์กรสมัยใหม่ที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ              (Decentralization)และสามารถเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

            ผู้เขียนได้อุปมาว่า องค์กรแบบเก่าเป็นแมงมุม และ องค์กรแบบใหม่เป็นปลาดาว องค์กรที่เป็นดั่งแมงมุมจะทำงานที่มีอำนาจอยู่ศูนย์กลาง ยึดสายบังคับบัญชา มีขั้นตอนการทำงานที่สลับซับซ้อน หากขาดหัวหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง องค์กรก็สั่นคลอน ในทางตรงข้าม องค์กรที่เป็นดั่งปลาดาวจะมีการกระจายอำนาจ สายบังคับบัญชาสั้น ขั้นตอนไม่สลับซับซ้อนทุกส่วนมีศักยภาพในการพัฒนา แม้ขาดส่วนใดส่วนหนึ่ง องค์กรก็ยังเติบโตต่อไปได้

            หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย ได้เนื้อหาสาระที่ดี มีวิชาการ ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ จากประสบการณ์ในองค์กรต่าง ๆที่เป็นชั้นนำของโลก ถ้าเพื่อน ๆชาวSSRU มีโอกาสและสนใจก็อยากจะเชิญชวนให้อ่านนะค่ะ...... คำถาม???? สำหรับเพื่อน ๆที่เป็น CEO ขององค์กร เพื่อนๆ อยากให้องค์กรของท่านเป็นองค์กรดั่งแมงมุม หรือ องค์กรปลาดาว แม้ว่าจะถูกตัดขาออกไปแล้วก็ยังมีขางอกออกมาใหม่ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ขณะเดียวกันองค์กรแบบปลาดาวยังเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีศักยภาพได้เป็นอย่างดี ก่อนจบขอฝาก กฎแห่งเกมแบบใหม่ ดังต่อไปนี้ค่ะ

            กฎข้อที่ 1  การไม่ประหยัดจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น(Diseconomies of scale)

            กฎข้อที่ 2  ผลกระทบของเครือข่าย(Network Effect)

กฎข้อที่ 3 ข้อดีของความยุ่งเหยิงวุ่นวาย   (Coach / disorganization)

กฎข้อที่ 4 ความรู้ของผู้ที่อยู่สูงสุดของเครือข่าย/CEO = ความรู้ในองค์กรต้องกระจายตัวให้ทั่วทั้งองค์กร ผู้นำต้องกระตุ้นให้บุคคลากรคิดนวัตกรรม

กฎข้อที่ 5 ใครๆก็อยากมีส่วนช่วยเหลือ คนในองค์กรต้องมีความรู้ดี และต้องมีแรงปรารถนาที่จะแบ่งปัน และทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

กฎข้อที่ 6  พึงระวังการตอบโต้ของ Hydra = ในองค์กรที่กระจายอำนาจเป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับคนที่อยากช่วยเหลือ ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความรู้สึก สนิทชิดเชื้อและเปิดเผย แต่เมื่อปฏิบัติงานจริงอาจจะประหลาดใจหรือต้องหาวิธีต่อสู้กับการกระจายอำนาจ

กฎข้อที่ 7 พวกCatalyst (เล่นบทบาทตัวเร่งปฏิกิริยา)เล่นบทนำ = ซึ่ง Catalyst จะคอยแนะนำว่าควรจะดำเนินการอย่างไร หลังจากนั้นจึงปล่อยให้สมาชิกจัดการกันต่อไป แม้จะไม่ใช่ CEO แต่พวก Catalyst ก็มีความสำคัญต่อองค์กรที่กระจายอำนาจ

กฎข้อที่ 8  คุณค่าหลักอยู่ที่ตัวองค์กร = ถ้าเปลี่ยนองค์กรกระจายอำนาจจริง ๆ กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือ ให้เปลี่ยนอุดมการณ์ของสมาชิก

กฎข้อที่ 9  วัดผล ประเมินผล ติดตามผล และจัดการในองค์กรต้องมีคนเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้าหากันและใช้อุดมการณ์เป็นแรงกระตุ้นพนักงานอย่างสม่ำเสมอ และสุดความสามารถ

กฎข้อที่ 10  ใช้โครงสร้างแบบแบนราบ = ในโลก Digital การกระจายอำนาจจะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าขององค์กรไม่หยุดยั้ง ดังตัวอย่างเว็ปไซด์ eBay

วันนี้หนูขอจบการคุยกับท่านอาจารย์และเพื่อน ๆเพียงแค่นี้ก่อนนะค่ะ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

เรียนคุณสมศรี (เปิ้ล)

     เรื่องปลาดาวและแมงมุม น่าสนใจมากเลยครับ และเปรียบเทียบได้ดีมาก

     สำหรับเรื่อง กฎแห่งเกมแบบใหม่” ช่วยอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละกฏได้ไหม  เพราะเนื้อหามีประโยชน์แต่คำอธิบายสั้นเกินไป  อาจทำให้ไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้  อย่างไรช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้หน่อยนะครับ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียนท่าน  ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

            หนู สมศรี นวรัตน์ ขอคุยกับท่านอาจารย์ ขอคุยรายละเอียด หลักการ 8 ประการจากPeter Drucker เปรียบเทียบกับ 8K’ของศ.ดร.จีระ และ coHEN (William a. CohEn) ดังนี้

โดยที่ท่าน Drucker หลักการ 8 ข้อของผู้นำที่ดีจะต้องทำตาม Concept ของ Peter  Drucker

- ใน 2 ข้อแรก เป็นเป็นคำถาม/สิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้ที่ผู้นำ(Leader) ต้องการคือ

@ พวกเขาจะถามว่าอะไร? คือ สิ่งที่จะต้องทำ
@ พวกเขาจะถามว่า
อะไร? คือ สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับองค์กร

- ใน 4 ประเด็นต่อมาเป็นเรื่อง...การเปลี่ยน....ความรู้ที่ได้เป็นการปฏิบัติที่เห็นผล

@ พวกเขาจะ>>>>พัฒนาแผนงาน

@ พวกเขาจะ>>>>>รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้ตัดสินใจลงไป

@ พวกเขาจะ>>>รับผิดชอบต่อการสื่อสาร ถ่ายทอดแผนงานให้เป็นที่รับรู้และเข้าใจ

@ พวกเขาจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อโอกาสมากกว่าปัญหา

- หลัก 2 ข้อสุดท้ายเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งองค์กรมีส่วนร่วมและรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน

@ พวกเขาเป็นผู้นำการประชุมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

@ พวกเขาคิดและจะใช้คำว่า"พวกเรา"มากกว่า "ผมหรือดิฉัน"

1.  อะไรคือสิ่งที่จะต้องทำ>>>>เป็นวิธีการที่ผู้นำใช้ในการแสวงหาประเด็นหรือความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้นำจะต้องรีบลงมือดำเนินการหรือแก้ไข Drucker บอกไว้ว่า>>>>ผู้นำที่ดีก็จะถามคำถามนี้กับตัวเองอีกครั้ง เพื่อจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะต้องทำใหม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่างานที่ไม่สำคัญจะไม่ถูกจัดลำดับ เพียงแต่จะต้องมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำแทน 

2.อะไร? คือ สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับองค์กร ไม่ได้มุ่งที่เฉพาะตัวผู้ถือหุ้น/เจ้าของ/พนักงาน/หรือผู้บริหารแต่จะให้ความสำคัญกับตัวองค์กรเป็นหลัก

3.ต้องเขียนแผนงานที่จะปฏิบัติ>>>>ผู้นำที่ดีจะต้องสามารถนำความรู้หรือสิ่งที่รู้ไปสู่การปฏิบัติ การเขียนแผนงาน>>>>เป็นเหมือนกับสิ่งที่บอกว่าผู้บริหารจะทำอะไรในอนาคต  และแผนงานจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ให้เข้ากับโอกาสใหม่ ๆ แผนงานมีระบบในการกำกับและตรวจสอบ บอกถึงความสำเร็จของการดำเนินงานตามแ

4. การตัดสินใจที่ดีต้องชัดเจนทั้งชื่อบุคคลที่รับผิดชอบที่จะนำการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ ระยะเวลาที่ต้องทำให้การปฏิบัตินั้นเห็นผล บุคคลที่จะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจต้องรับทราบไม่ต่อต้านต่อการตัดสินใจนั้นและต้องทราบว่าใครควรที่จะได้รับทราบเกี่ยวกับการตัดสินใจนั้น ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจ

5.สื่อสารแผนงานและข้อมูลที่สำคัญให้เป็นที่รับรู้และเข้าใจ โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้  ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อแผนงานของผู้นำ

6.ให้ความสำคัญกับโอกาสมากกว่าปัญหา โอกาสจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์สำหรับองค์กรมากกว่าปัญหา ขณะที่ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการแก้ไข ปัญหาป็นเพียงการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
7.นำการประชุมได้อย่างทั้งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเวลาของผู้บริหารส่วนใหญ่จะหมดไปกับการประชุม

แนวทางในการนำการประชุมให้ได้ผลดีคือ

- ต้องรู้ว่าล่วงหน้า เป็นการประชุมในลักษณะใด

- เตรียมการและแนวทางในการนำการประชุม

- วัตถุประสงค์การประชุมจะแตกต่างกัน

- ผู้นำจะต้องมีการเตรียมตัวและวางตัว

- การติดตามงานหลังการประชุมก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

8.ผู้นำจะคิดและพูดในด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่งว่า พวกเรามากกว่าเป็นเพียงแค่ผมหรือดิฉัน ถึงแม้ผู้นำจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจในขององค์กรก็ตาม แต่การที่งานจะสำเร็จได้จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน เพราะฉะนั้นผู้นำที่ดีควรจะต้องคิดถึงและพยายามตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรมากกว่าแต่ของตนเอง

หนูคิดว่า ผู้นำที่ดีจะต้องทำตาม Concept ของ Peter Drucker ที่ได้สรุปมา>>>อาจจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน...ๆSSRUบ้างเล็ก...ๆ น้อย....ๆ ครั้งต่อไปจะคุย 8 ข้อของ William a. CohEn ครั้งต่อไปนะคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศรี นวรัตน์ รพพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel.081-9435033

เรียน ท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่างสูง

     หนูสมศรี นวรัตน์ ขอตอบคำถาม ประธานรุ่น คุณธนพล เรื่องกฎแห่งเกมแบบใหม่

กฎข้อที่ 1 : การไม่ประหยัดจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น เดิมที ขนาดที่ใหญ่ขึ้นของบริษัทหรือสถาบัน หมายถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นไปด้วย ในอดีต ผู้เล่นรายเล็กอาจได้เปรียบในแง่ของความยืดหยุ่น แต่ความมั่นคง/ปลอดภัยดูจะอยู่ที่บริษัทใหญ่มากกว่า

            การกระจายอำนาจเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างเช่น AT&T เป็นบริษัทใหญ่มีโครงสร้างแข็งแกร่ง และพนักงานหลายพันคน แต่ Skype มีพนักงานและพีซีเพียงไม่กี่เครื่อง การที่ Skype ไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเดือนงบการตลาด หรือสาธารณูปโภคก้อนใหญ่ จึงเจริญรุ่งเรืองได้แม้มีรายได้น้อยกว่า แนวทางการบริหารจัดการแบบคล่องตัวบวกกับเครือข่ายยูสเซอร์แบบกระจายอำนาจ ทำให้มันสามารถก่อความปั่นป่วนในอุตสาหกรรมโทรศัพท์

            แนวทางนี้อาจฟังดูขัดกับความเป็นจริง แต่การมีขนาดเล็กกว่ามันดีจริง ๆ เป็นเพราะไม่มีบริษัท (กายภาพ) ให้ต้องดูแล EMule จึงไม่เดือดร้อนที่ยูสเซอร์หลายล้านคนโหลดเพลงฟรี หรือการที่Craig Newmark สามารถปฏิบัติการจากออฟฟิศเล็ก ๆ ในซานฟรานซิสโกได้อย่างสบาย เว็บไซต์ craigslist จึงสามารถรวบรวมรายชื่อสินค้าหลายล้านรายการโดยไม่เสียเงิน เมื่อเอาขนาดที่เล็กมาผนวกกับเครือข่ายยูสเซอร์ขนาดใหญ่ บริษัทเหล่านี้จึงมีทั้งความยืดหยุ่นและอำนาจในตัว

            เราได้ก้าวสู่โลกใหม่ที่ที่ขนาดเล็ก เล็กคือ ความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อหลักการ diseconomies of scaleหรือการไม่ประหยัดจากขนาด เริ่มแพร่หลาย ต้นทุนของการเข้าสู่ตลาดใหม่จึงลดลงอย่างมาก ถ้าจะเริ่มต้นเว็บไซต์คลาสซิฟายด์แอดทางออนไลน์ล่ะยากแค่ไหน?ก็ไม่มากนักเพราะขนาดเป็นสิ่งสำคัญแต่ต้องเป็นขนาดที่เล็กนะ

กฎข้อที่ 2 : ผลกระทบของเครือข่าย

            ผลกระทบของบเครือข่าย (Network effect) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของคุณค่าหลักของเครือข่ายทุกครั้งที่มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งคน2 ดังนั้น การมีเครื่องโทรสาร หรือโทรศัพท์เพิ่มขึ้น จึงทำให้เครื่องโทรสาร หรือโทรศัพท์เครื่องอื่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

            ที่ผ่านมา การสร้างผลกระทบของเครือข่ายเป็นเรื่องที่ยากมากทีเดียว เช่น เครือข่ายเครื่องโทรสารต้องสร้างเครื่องโทรสารที่มีราคาแพงทีละเครื่องแต่องค์กรปลาดาวอยู่ในบานะที่ค่อนข้างได้เปรียบในเรื่องของผลกระทบของเครือข่าย สำหรับองค์กรปลาดาวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอย่าง Skypeและ Craiglist การที่มีลูกค้าเพิ่มเข้ามาหนึ่งรายบริษัทไม่ต้องเสียอะไรเลยก่อนนี้การจะสร้างผลกระทบของเครือข่ายขึ้นมาสักครั้งหนึ่งต้องใช้เงินเป็นล้านๆ หรือพันล้านเลยทีเดียว แต่สำหรับองค์กรปลาดาวบางแห่งต้นทุนตรงนี้เหลือเพียงศูนย์เท่านั้น

            องค์กรปลาดาวสามารถสร้างชุมชนที่การมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งคนเท่ากับเพิ่มคุณค่าหลักแก่เครือข่ายโดยที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เช่นทุกครั้งที่มียูสเซอร์ใหม่เข้ามาใช้บริการ EMule ก็หมายความว่า มีเพลงให้แลกเปลี่ยนกันเพิ่มขึ้น หรือทุกครั้งที่มีเว็บไซต์ใหม่เกิดขึ้นใน World Wide Web เท่ากับทำให้เครือข่ายทั้งหมดมีข้อมูลมากขึ้น

            บริษัทอย่าง e-Bay ไม่ได้ใช้ผลกระทบของเครือข่ายเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองด้วย กล่าวคือ การที่ผู้ซื้อและผู้ขายต่างก็มีความภักดีต่อเว็บไซต์แห่งนี้ เพราะเครือข่ายแห่งนี้มันมีคุณค่านั่นเอง

กฎข้อที่ 3 : ข้อดีของความยุ่งเหยิงวุ่นวาย

            ขณะที่คุณกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้ พ่อแม่ทั่วโลกกำลังบ่นว่า ให้ลูกๆของตนช่วยจัดห้องให้สะอาดเอี่ยม ห้องรกเลอะเทอะยังงี้อยู่เข้าไปได้ยังไง?” พวกเขาตั้งคำถาม ฉันใดก็ฉันนั้น แนวคิดเดิมๆ คือ ในการบริหารองค์กรหนึ่งนั้น คุณควรจัดระบบและวางโครงสร้างให้ชัดเจนดีกว่า

            แต่ในโลกของการกระจายอำนาจ เด็ก ๆ ค่อนข้างยินดีปรีดากับความยุ่งเหยิงวุ่นวายทีเดียว ยุ่งไว้แหละดี เพราะภายใต้ความยุ่งเหยิงนี้ ใครๆ (ยูสเซอร์) สามารถทำอะไรได้โดยเสรี อยากโหลดเพลงรึ? ทำไมจะไม่ได้ล่ะอยากสร้างซอฟต์แวร์ใหม่เหรอ? เอาเลย  อยากเขียนบทความลงใน Wikipedia งั้นหรือ? เชิญเลย  อยากสร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับแมวของคุณ? ตามสบาย อยากขับรถยนต์ตกแต่งหน้าตาเป็นยีราฟสูง 20  ฟุต? เยี่ยมเลย!

            ระบบปลาดาวเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความสร้างสรรค์ การทำลายสร้างนวัตกรรม หรือไอเดียบ้าบอที่ดีเยี่ยม ใครๆ ก็เข้าหา เพราะไอเดียดี ๆช่วยดึงดูดคนมากกว่า ถ้าเป็นเครือข่ายหนึ่งไอเดียเหล่านี้แหละที่ช่วยทำให้แผนที่วางไว้เป็นจริงขึ้นมา แต่ถ้าวางระบบและโครงสร้างที่ตายตัวขึ้น ตอนแรกคูณอาจทำให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างมีมาตรฐานแบบเดียวกัน แต่มันก็ทำลายความสร้างสรรค์ได้ในคราวเดียวกัน ถ้าคิดว่า ความสร้างสรรค์เป็นสิ่งดีมีค่า จงเรียนรู้ที่จะยอมรับว่า ความยุ่งเหยิงวุ่นวายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี

กฎข้อที่ 4 : ความรู้ของผู้ที่อยู่สุดขอบของเครือข่าย

            ในองค์กรปลาดาว ความรู้จะกระจายตัวอยู่ทั่วองค์กร ยังจำ Ed Sherman และพายุเฮอริเคนวันแรงงาน ปี 1935 ได้ไหม? การที่เขาอยู่ในเหตุการณ์ จึงมีความรู้ความเข้าใจดีกว่าผู้บังคับบัญชาที่สำนักงานใหญ่จะเห็นได้ว่า ความรู้ที่ดีที่สุดมักจะอยู่ตรงปลายขอบขององค์กรเสมอ

            Toyota เองก็ดูเหมือนเข้าใจบทเรียนนี้และกระตุ้นให้คนงานประจำสายพานการผลิตคิดเรื่องนวัตกรรมและรู้จักให้คำแนะนำอยู่เสมอ เพราะพวกเขารู้เรื่องสายการผลิตดีกว่าคนอื่น เช่นเดียวกับ Sun และ IBM mนำบทเรียนนี้ไปใช้เช่นกัน กล่าวคือ บริษัทยอมเปิดให้คนใช้ซอฟต์แวร์ของตนละอนุญาตให้วิศวกรทั่วโลกช่วยปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Jimmy Wales ก็เช่นกัน เขารู้ดีว่า ณ มุมหนึ่งของโลกที่ห่างไกลออกไป มีคนที่มีความรู้เกี่ยวกับสุนัขพันธุ์เกรย์ฮาวด์เป็นพิเศษ ยังมีใครบางคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติสาสตร์อเมริกาใต้ หรือการทำขนมเค้กสอดไส้อย่างลึกซึ่ง Wikipedia เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

กฎข้อที่ 5 : ใคร ๆ ก็อยากมีส่วนช่วยเหลือ

            คนที่อยู่ในองค์กรปลาดาวไม่เพียงแต่มีความรู้ดีเท่านั้น แต่ยังปรารถนาที่จะแบ่งปันและทำประโยชน์ต่อชุมชนด้วย

            การที่คนมาร่วมงานเทศกาล Burning Man ก็เพราะมันตั้งอยู่บนหลักเศรษฐกิจของการให้ พวกเขาช่วยกันสร้างรถยนต์ที่ใช้พลังงานมนุษย์รถโรงเรียนที่ถูกแปลงโฉมเป็นเรือโจรสลัด งานศิลปะและการตกแต่งต่างๆเพียงปีละครั้ง เพื่อให้ชุมชนได้ชื่นชมและมีความสุขร่วมกัน หรือการที่ยูสเซอร์ยอมเสียเวลาเป็นชั่วโมงเพื่อแก้ไขบทความใน Wikipedia เพราะอยากปรับปรุงให้เว็บไซต์ดีขึ้น เหมือนที่นักบัญชีต้องการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญของตนในเว็บไซต์ Tax-Almanaac.org ของ Intuit เช่นเดียวกับยูสเซอร์ที่ใช้ชื่อว่า “jpgm” ที่ช่วยรีวิวหนังสือบนเว็บไซต์ Amazon และวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ยอมอดหลับอดนอนช่วยกันปรับปรุงโปรแกรม Apache code ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องสปิริตของการแบ่งปันและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

กฎข้อที่ 6 : พึงระวังการตอบโต้ของ Hydra

            ถูกแล้ว องค์กรกระจายอำนาจเป็นที่ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากช่วยเหลือดังนั้น จึงก่อให้เกิดความรู้สึกสนิทชิดเชื้อและเปิดเผย แต่พอลองทำตัวเป็นองค์กรปลาดาวเข้าจริงๆ อาจมีอะไรให้คุณประหลาดใจได้เหมือนกัน

            ลองจู่โจมองค์กรกระจายอำนาจดูสิ แล้วคุณจะนึกถึงไฮดรา สัตว์ร้ายในเทพปกรณัมกรีกมีหลายหัว ถ้าคุณตัดหัวมันสักหัวหรือสองหัว ไม่ช้ามันก็จะงอกขึ้นใหม่ กว่าที่กองทัพสเปนจะเข้าใจบทเรียนนี้ตอนที่โจมตีพวก Apache ก็ต้องสูญเสียอย่างหนัก เมื่อบริษัทแผ่นเสียงบดขยี้ Napster ได้สำเร็จ ก็มี Kazaa และ EMule เข้ามาแทน หรือแม้แต่การไล่ล่าผู้นำกลุ่ม al Queda ล่าเท่าไรองค์กรนี้ก็มีแต่จะกระจายแผ่วงกว้างไปเรื่อยๆ การตัดแขนขาปลาดาวก็เหมือนกัน ตัดได้มันก็งอกใหม่ขึ้นเป็นตัวใหม่ได้ ที่จริงยังพอมีวิธีต่อสู้กับองค์กรกระจายอำนาจอยู่เหมือนกัน แต่ขอร้องล่ะ อย่าคิดตัดหัวมันเลย

กฎข้อที่ 7 : พวก Catalyst เล่นบทนำ

            ไม่ใช้เรื่องแปลกที่ Cortes อยากเจรจากับ Montezuma ผู้นำของเผ่า Aztec เพราะใครๆ ก็อยากรู้ว่า ใครเป็นผู้บังคับบัญชา ใครคือ คนที่ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น

            แต่เมื่อกองทัพสเปนเผชิญหน้ากับเผ่า Apache กลับกลายเป็นหนังคนละม้วน เพราะที่นี่ไม่มี Montezuma มีแต่ Nant’ans ที่เล่นบทบาทตัวเร่งปฏิกิริยาหรือCatalyst พวกนี้จะคอยแนะนำว่า ควรดำเนินการอย่างไรหลังจากนั้นจึงปล่อยให้สมาชิกจัดการกันต่อไป แม้จะไม่ใช่ซีอีโอ แต่พวก Catalyst ก็มีความสำคัญต่อองค์กรกระจายอำนาจอย่างมาก ทว่าไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็นคนอำนวยการแสดง แต่เป็นเพราะพวกเขาสามารถจุดประกายคนให้ลงมือทำสิ่งต่างๆ เช่น คนอย่าง Josh Sage เป็นต้น พวกเขาเป็นคนวาดแผนที่เครือข่าย เช่น Auren Hoffman และรู้ว่าควรวางมือเมื่อไร เช่น David Martin (หรือ Mary Poppins หลังจากที่ปล่อยให้ครอบครัวดูแลกันเองเมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแล้ว) พวก catalyst กำลังจู่โจมโลกใบนี้อย่างรวดเร็วและรุนแรง แต่ระวังด้วยนะ ถ้าคุณเปลี่ยน Catalyst ให้เป็นซีอีโอเมื่อไรละก็เครือข่ายทั้งหมดเดือดร้อนแน่ ไม่เชื่อไปถามเผ่า Apache ดูก็ได้

กฎข้อที่ 8 : คุณค่าหลักอยู่ที่ตัวองค์กร

            อุดมการณ์ คือ เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนองค์กรกระจายอำนาจ กลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น Animal Liberation Front หรือ ALF ไม่ได้จ่ายเงินจ้างสตาฟฟ์ หรือมีโครงสร้างเป็นเรื่องเป็นราว แต่สิ่งที่เป็นแก่นของ ALF คืออุดมการณ์ ถ้าคุณดึงอุดมการณ์ออกไป รับรององค์กรปลาดาวล้มครืนแน่

            องค์กรปลาดาวที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยสิ่งที่ตอนแรก (ตอนเริ่มต้น) เป็นอุดมการณ์หัวรุนแรง เช่น Granville Sharp มีความเชื่อว่า ทาสเป็นสิ่งที่ควรยกเลิกได้แล้ว หรือ Pierre Omidyar เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนสามารถไว้ใจได้ Bill W. เชื่อว่า ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูแต่ช่วยเหลือกันเองได้

            ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนองค์กรกระจายอำนาจจริงๆ กลยุทธ์ที่ดีที่สุด คือ ให้เปลี่ยนอุดมการณ์ของสมาชิก นี่คือวิธีที่ Jamli Bora ใช้ต่อสู้ลัทธิก่อการร้ายในสลัมของแอฟริกา และ Future Generation สร้างชุมชนขึ้นในอัฟกานิสถาน

กฎข้อที่ 9 : วัดประเมิน ติดตาม และจัดการ

            การที่องค์กรปลาดาวมักมีโครงสร้างที่ไม่ชัดเจนและยุ่งเหยิง ไม่ได้หมายความว่า จะไม่สามารถวัดประเมินมัน แต่ในการวัดประเมินผลเครือข่ายกระจายอำนาจไม่จำเป็นต้องวัดได้ถูกต้องเป๊ะเสมอไป ถึงจะทำได้ มันก็คงไม่สำคัญหรอกว่า เราสามารถนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในเครือข่ายทั้งหมดหรือไม่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ การพิจารณาว่า เครือข่ายนั้นๆ มีความกระตือรือร้นแค่ไหน? การกระจายตัวของเครือข่ายเป็นอย่างไร? เครือข่ายที่ว่านี้เป็นอิสระไหม? แล้วความสัมพันธ์ข้างในเป็นอย่างไร?

            เวลาติดตามดูองค์กรปลาดาวก็เหมือนกัน เราควรตั้งคำถามว่า สุขภาพหรือความสมบูรณ์ของเครือข่ายนี้เป็นอย่างไร? สมาชิกยังคงมีส่วนร่วมดีไหม? เครือข่ายนี้เติบโตขึ้นไหม? มีการกระจายตัวไหม? มีการเปลี่ยนสภาพไหม? มันกระจายอำนาจมากขึ้นหรือน้อยลง?

            พวก Catalyst ส่วนใหญ่มีความเข้าใจคำถามเหล่านี้ดีอยู่แล้ว แม้พวกเขาจะให้ความสำคัญต่อสมาชิก แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่า ต้องมีการรายงานหรือการควบคุมอะไรกัน การจัดการเครือข่ายกระจายอำนาจต้องอาศัยคนที่สามารถเป็นตัวกลางประสานระหว่างสถาปนิก เชียร์ลีดเดอร์ และนักสังเกตการณ์ที่น่าเกรงขามได้เป็นอย่างดี เพราะในองค์กรปลาดาวนั้น คนจะทำสิ่งที่พวกเขาอยากทำ โดยมี catalyst เป็นคนคอยเชื่อมโยงคนเข้าหากัน และใช้อุดมการณ์เป็นแรงกระตุ้นพวกเขาอย่างสม่ำเสมอและสุดความสามารถ

กฎข้อที่ 10 : ใช้โครงสร้างแบบแบนราบ

            ที่จริง มันก็พอมีวิธีจัดการเก็บองค์กรกระจายอำนาจอยู่เหมือนกันนะวิธีการ คือ ทำการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของสมาชิก หรือทำให้องค์กรมีลักษณะรวบอำนาจมากขึ้น แต่ถ้าหวังความอยู่รอด โดยเฉพาะทำอย่างไรก็ไม่สามารถตีแตกเสียที ก็ให้เป็นพวกเดียวกับพวกเขาเสียเลย

            อย่างไรก็ดี เพื่อความอยู่รอดนั้น บริษัทและสถาบันต่างต้องใช้แนวทางแบบลูกผสม เช่น การที่ GM มอบอำนาจแก่คนงานประจำสายพานการผลิต Jack Welch ให้อิสระในการดำเนินงานแก่ส่วนธุรกิจของ GE หรือการที่ Sun  ยอมรับความจริงว่า บริษัทต้องยอมเปิดให้คนใช้ชอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ของตนโดยเสรี (เพื่อแลกกับรายรายได้จากบริการเสริมส่วนอื่นแทน)

            ในโลกดิจิตอล การกระจายอำนาจจะยังคงเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมและสังคมอย่างไม่หยุดยั้ง การต้านทานพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้จึงไร้ประโยชน์ แต่พลังเดียวกันนี้แหล่ะที่สามารถเข้าไปควบคุมเพื่อผันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่กว่า ไม่เชื่อก็ลองถามนักสว็อปเพลง ผู้ใช้บริการ Skype พ่อค้าบนเว็บไซต์ EBay และผู้เข้าร่วมแก้ไขบทความของ Wikipedia สมาชิกชุมชน craigslist พวกขี้เหล้าที่กำลังอยู่ระหว่างการบำบัด หรือใครก็ได้ที่เคยใช้อินเทอร์เน็ต

            จริงอยู่ องค์กรกระจายอำนาจอาจดูวุ่นวายไร้ระเบียบในแวบแรก แต่หลังจากได้เห็นศักยภาพของมันแล้ว สิ่งที่ดูสับสนวุ่นวายกลับกลายเป็นสิ่งที่มีพลานุภาพที่สุดเท่าที่เคยประสบมาในโลกนี้

        ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆโดยเฉพาะ ประธานรุ่น คุณ ธนพล นะคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี Tel. 081-9421866

เรียน ท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่างสูง

     หนูสมศรี นวรัตน์ ขอตอบคำถาม ประธานรุ่น คุณธนพล เรื่องกฎแห่งเกมแบบใหม่

กฎข้อที่ 1 : การไม่ประหยัดจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น เดิมที ขนาดที่ใหญ่ขึ้นของบริษัทหรือสถาบัน หมายถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นไปด้วย ในอดีต ผู้เล่นรายเล็กอาจได้เปรียบในแง่ของความยืดหยุ่น แต่ความมั่นคง/ปลอดภัยดูจะอยู่ที่บริษัทใหญ่มากกว่า

            การกระจายอำนาจเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างเช่น AT&T เป็นบริษัทใหญ่มีโครงสร้างแข็งแกร่ง และพนักงานหลายพันคน แต่ Skype มีพนักงานและพีซีเพียงไม่กี่เครื่อง การที่ Skype ไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเดือนงบการตลาด หรือสาธารณูปโภคก้อนใหญ่ จึงเจริญรุ่งเรืองได้แม้มีรายได้น้อยกว่า แนวทางการบริหารจัดการแบบคล่องตัวบวกกับเครือข่ายยูสเซอร์แบบกระจายอำนาจ ทำให้มันสามารถก่อความปั่นป่วนในอุตสาหกรรมโทรศัพท์

            แนวทางนี้อาจฟังดูขัดกับความเป็นจริง แต่การมีขนาดเล็กกว่ามันดีจริง ๆ เป็นเพราะไม่มีบริษัท (กายภาพ) ให้ต้องดูแล EMule จึงไม่เดือดร้อนที่ยูสเซอร์หลายล้านคนโหลดเพลงฟรี หรือการที่Craig Newmark สามารถปฏิบัติการจากออฟฟิศเล็ก ๆ ในซานฟรานซิสโกได้อย่างสบาย เว็บไซต์ craigslist จึงสามารถรวบรวมรายชื่อสินค้าหลายล้านรายการโดยไม่เสียเงิน เมื่อเอาขนาดที่เล็กมาผนวกกับเครือข่ายยูสเซอร์ขนาดใหญ่ บริษัทเหล่านี้จึงมีทั้งความยืดหยุ่นและอำนาจในตัว

            เราได้ก้าวสู่โลกใหม่ที่ที่ขนาดเล็ก เล็กคือ ความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อหลักการ diseconomies of scaleหรือการไม่ประหยัดจากขนาด เริ่มแพร่หลาย ต้นทุนของการเข้าสู่ตลาดใหม่จึงลดลงอย่างมาก ถ้าจะเริ่มต้นเว็บไซต์คลาสซิฟายด์แอดทางออนไลน์ล่ะยากแค่ไหน?ก็ไม่มากนักเพราะขนาดเป็นสิ่งสำคัญแต่ต้องเป็นขนาดที่เล็กนะ

กฎข้อที่ 2 : ผลกระทบของเครือข่าย

            ผลกระทบของบเครือข่าย (Network effect) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของคุณค่าหลักของเครือข่ายทุกครั้งที่มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งคน2 ดังนั้น การมีเครื่องโทรสาร หรือโทรศัพท์เพิ่มขึ้น จึงทำให้เครื่องโทรสาร หรือโทรศัพท์เครื่องอื่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

            ที่ผ่านมา การสร้างผลกระทบของเครือข่ายเป็นเรื่องที่ยากมากทีเดียว เช่น เครือข่ายเครื่องโทรสารต้องสร้างเครื่องโทรสารที่มีราคาแพงทีละเครื่องแต่องค์กรปลาดาวอยู่ในบานะที่ค่อนข้างได้เปรียบในเรื่องของผลกระทบของเครือข่าย สำหรับองค์กรปลาดาวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอย่าง Skypeและ Craiglist การที่มีลูกค้าเพิ่มเข้ามาหนึ่งรายบริษัทไม่ต้องเสียอะไรเลยก่อนนี้การจะสร้างผลกระทบของเครือข่ายขึ้นมาสักครั้งหนึ่งต้องใช้เงินเป็นล้านๆ หรือพันล้านเลยทีเดียว แต่สำหรับองค์กรปลาดาวบางแห่งต้นทุนตรงนี้เหลือเพียงศูนย์เท่านั้น

            องค์กรปลาดาวสามารถสร้างชุมชนที่การมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งคนเท่ากับเพิ่มคุณค่าหลักแก่เครือข่ายโดยที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เช่นทุกครั้งที่มียูสเซอร์ใหม่เข้ามาใช้บริการ EMule ก็หมายความว่า มีเพลงให้แลกเปลี่ยนกันเพิ่มขึ้น หรือทุกครั้งที่มีเว็บไซต์ใหม่เกิดขึ้นใน World Wide Web เท่ากับทำให้เครือข่ายทั้งหมดมีข้อมูลมากขึ้น

            บริษัทอย่าง e-Bay ไม่ได้ใช้ผลกระทบของเครือข่ายเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น แต่เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองด้วย กล่าวคือ การที่ผู้ซื้อและผู้ขายต่างก็มีความภักดีต่อเว็บไซต์แห่งนี้ เพราะเครือข่ายแห่งนี้มันมีคุณค่านั่นเอง

กฎข้อที่ 3 : ข้อดีของความยุ่งเหยิงวุ่นวาย

            ขณะที่คุณกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้ พ่อแม่ทั่วโลกกำลังบ่นว่า ให้ลูกๆของตนช่วยจัดห้องให้สะอาดเอี่ยม ห้องรกเลอะเทอะยังงี้อยู่เข้าไปได้ยังไง?” พวกเขาตั้งคำถาม ฉันใดก็ฉันนั้น แนวคิดเดิมๆ คือ ในการบริหารองค์กรหนึ่งนั้น คุณควรจัดระบบและวางโครงสร้างให้ชัดเจนดีกว่า

            แต่ในโลกของการกระจายอำนาจ เด็ก ๆ ค่อนข้างยินดีปรีดากับความยุ่งเหยิงวุ่นวายทีเดียว ยุ่งไว้แหละดี เพราะภายใต้ความยุ่งเหยิงนี้ ใครๆ (ยูสเซอร์) สามารถทำอะไรได้โดยเสรี อยากโหลดเพลงรึ? ทำไมจะไม่ได้ล่ะอยากสร้างซอฟต์แวร์ใหม่เหรอ? เอาเลย  อยากเขียนบทความลงใน Wikipedia งั้นหรือ? เชิญเลย  อยากสร้างเว็บไซต์เกี่ยวกับแมวของคุณ? ตามสบาย อยากขับรถยนต์ตกแต่งหน้าตาเป็นยีราฟสูง 20  ฟุต? เยี่ยมเลย!

            ระบบปลาดาวเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความสร้างสรรค์ การทำลายสร้างนวัตกรรม หรือไอเดียบ้าบอที่ดีเยี่ยม ใครๆ ก็เข้าหา เพราะไอเดียดี ๆช่วยดึงดูดคนมากกว่า ถ้าเป็นเครือข่ายหนึ่งไอเดียเหล่านี้แหละที่ช่วยทำให้แผนที่วางไว้เป็นจริงขึ้นมา แต่ถ้าวางระบบและโครงสร้างที่ตายตัวขึ้น ตอนแรกคูณอาจทำให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างมีมาตรฐานแบบเดียวกัน แต่มันก็ทำลายความสร้างสรรค์ได้ในคราวเดียวกัน ถ้าคิดว่า ความสร้างสรรค์เป็นสิ่งดีมีค่า จงเรียนรู้ที่จะยอมรับว่า ความยุ่งเหยิงวุ่นวายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี

กฎข้อที่ 4 : ความรู้ของผู้ที่อยู่สุดขอบของเครือข่าย

            ในองค์กรปลาดาว ความรู้จะกระจายตัวอยู่ทั่วองค์กร ยังจำ Ed Sherman และพายุเฮอริเคนวันแรงงาน ปี 1935 ได้ไหม? การที่เขาอยู่ในเหตุการณ์ จึงมีความรู้ความเข้าใจดีกว่าผู้บังคับบัญชาที่สำนักงานใหญ่จะเห็นได้ว่า ความรู้ที่ดีที่สุดมักจะอยู่ตรงปลายขอบขององค์กรเสมอ

            Toyota เองก็ดูเหมือนเข้าใจบทเรียนนี้และกระตุ้นให้คนงานประจำสายพานการผลิตคิดเรื่องนวัตกรรมและรู้จักให้คำแนะนำอยู่เสมอ เพราะพวกเขารู้เรื่องสายการผลิตดีกว่าคนอื่น เช่นเดียวกับ Sun และ IBM mนำบทเรียนนี้ไปใช้เช่นกัน กล่าวคือ บริษัทยอมเปิดให้คนใช้ซอฟต์แวร์ของตนละอนุญาตให้วิศวกรทั่วโลกช่วยปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Jimmy Wales ก็เช่นกัน เขารู้ดีว่า ณ มุมหนึ่งของโลกที่ห่างไกลออกไป มีคนที่มีความรู้เกี่ยวกับสุนัขพันธุ์เกรย์ฮาวด์เป็นพิเศษ ยังมีใครบางคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติสาสตร์อเมริกาใต้ หรือการทำขนมเค้กสอดไส้อย่างลึกซึ่ง Wikipedia เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

กฎข้อที่ 5 : ใคร ๆ ก็อยากมีส่วนช่วยเหลือ

            คนที่อยู่ในองค์กรปลาดาวไม่เพียงแต่มีความรู้ดีเท่านั้น แต่ยังปรารถนาที่จะแบ่งปันและทำประโยชน์ต่อชุมชนด้วย

            การที่คนมาร่วมงานเทศกาล Burning Man ก็เพราะมันตั้งอยู่บนหลักเศรษฐกิจของการให้ พวกเขาช่วยกันสร้างรถยนต์ที่ใช้พลังงานมนุษย์รถโรงเรียนที่ถูกแปลงโฉมเป็นเรือโจรสลัด งานศิลปะและการตกแต่งต่างๆเพียงปีละครั้ง เพื่อให้ชุมชนได้ชื่นชมและมีความสุขร่วมกัน หรือการที่ยูสเซอร์ยอมเสียเวลาเป็นชั่วโมงเพื่อแก้ไขบทความใน Wikipedia เพราะอยากปรับปรุงให้เว็บไซต์ดีขึ้น เหมือนที่นักบัญชีต้องการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญของตนในเว็บไซต์ Tax-Almanaac.org ของ Intuit เช่นเดียวกับยูสเซอร์ที่ใช้ชื่อว่า “jpgm” ที่ช่วยรีวิวหนังสือบนเว็บไซต์ Amazon และวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ยอมอดหลับอดนอนช่วยกันปรับปรุงโปรแกรม Apache code ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องสปิริตของการแบ่งปันและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

กฎข้อที่ 6 : พึงระวังการตอบโต้ของ Hydra

            ถูกแล้ว องค์กรกระจายอำนาจเป็นที่ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากช่วยเหลือดังนั้น จึงก่อให้เกิดความรู้สึกสนิทชิดเชื้อและเปิดเผย แต่พอลองทำตัวเป็นองค์กรปลาดาวเข้าจริงๆ อาจมีอะไรให้คุณประหลาดใจได้เหมือนกัน

            ลองจู่โจมองค์กรกระจายอำนาจดูสิ แล้วคุณจะนึกถึงไฮดรา สัตว์ร้ายในเทพปกรณัมกรีกมีหลายหัว ถ้าคุณตัดหัวมันสักหัวหรือสองหัว ไม่ช้ามันก็จะงอกขึ้นใหม่ กว่าที่กองทัพสเปนจะเข้าใจบทเรียนนี้ตอนที่โจมตีพวก Apache ก็ต้องสูญเสียอย่างหนัก เมื่อบริษัทแผ่นเสียงบดขยี้ Napster ได้สำเร็จ ก็มี Kazaa และ EMule เข้ามาแทน หรือแม้แต่การไล่ล่าผู้นำกลุ่ม al Queda ล่าเท่าไรองค์กรนี้ก็มีแต่จะกระจายแผ่วงกว้างไปเรื่อยๆ การตัดแขนขาปลาดาวก็เหมือนกัน ตัดได้มันก็งอกใหม่ขึ้นเป็นตัวใหม่ได้ ที่จริงยังพอมีวิธีต่อสู้กับองค์กรกระจายอำนาจอยู่เหมือนกัน แต่ขอร้องล่ะ อย่าคิดตัดหัวมันเลย

กฎข้อที่ 7 : พวก Catalyst เล่นบทนำ

            ไม่ใช้เรื่องแปลกที่ Cortes อยากเจรจากับ Montezuma ผู้นำของเผ่า Aztec เพราะใครๆ ก็อยากรู้ว่า ใครเป็นผู้บังคับบัญชา ใครคือ คนที่ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น

            แต่เมื่อกองทัพสเปนเผชิญหน้ากับเผ่า Apache กลับกลายเป็นหนังคนละม้วน เพราะที่นี่ไม่มี Montezuma มีแต่ Nant’ans ที่เล่นบทบาทตัวเร่งปฏิกิริยาหรือCatalyst พวกนี้จะคอยแนะนำว่า ควรดำเนินการอย่างไรหลังจากนั้นจึงปล่อยให้สมาชิกจัดการกันต่อไป แม้จะไม่ใช่ซีอีโอ แต่พวก Catalyst ก็มีความสำคัญต่อองค์กรกระจายอำนาจอย่างมาก ทว่าไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็นคนอำนวยการแสดง แต่เป็นเพราะพวกเขาสามารถจุดประกายคนให้ลงมือทำสิ่งต่างๆ เช่น คนอย่าง Josh Sage เป็นต้น พวกเขาเป็นคนวาดแผนที่เครือข่าย เช่น Auren Hoffman และรู้ว่าควรวางมือเมื่อไร เช่น David Martin (หรือ Mary Poppins หลังจากที่ปล่อยให้ครอบครัวดูแลกันเองเมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแล้ว) พวก catalyst กำลังจู่โจมโลกใบนี้อย่างรวดเร็วและรุนแรง แต่ระวังด้วยนะ ถ้าคุณเปลี่ยน Catalyst ให้เป็นซีอีโอเมื่อไรละก็เครือข่ายทั้งหมดเดือดร้อนแน่ ไม่เชื่อไปถามเผ่า Apache ดูก็ได้

กฎข้อที่ 8 : คุณค่าหลักอยู่ที่ตัวองค์กร

            อุดมการณ์ คือ เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนองค์กรกระจายอำนาจ กลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น Animal Liberation Front หรือ ALF ไม่ได้จ่ายเงินจ้างสตาฟฟ์ หรือมีโครงสร้างเป็นเรื่องเป็นราว แต่สิ่งที่เป็นแก่นของ ALF คืออุดมการณ์ ถ้าคุณดึงอุดมการณ์ออกไป รับรององค์กรปลาดาวล้มครืนแน่

            องค์กรปลาดาวที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยสิ่งที่ตอนแรก (ตอนเริ่มต้น) เป็นอุดมการณ์หัวรุนแรง เช่น Granville Sharp มีความเชื่อว่า ทาสเป็นสิ่งที่ควรยกเลิกได้แล้ว หรือ Pierre Omidyar เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนสามารถไว้ใจได้ Bill W. เชื่อว่า ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูแต่ช่วยเหลือกันเองได้

            ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนองค์กรกระจายอำนาจจริงๆ กลยุทธ์ที่ดีที่สุด คือ ให้เปลี่ยนอุดมการณ์ของสมาชิก นี่คือวิธีที่ Jamli Bora ใช้ต่อสู้ลัทธิก่อการร้ายในสลัมของแอฟริกา และ Future Generation สร้างชุมชนขึ้นในอัฟกานิสถาน

กฎข้อที่ 9 : วัดประเมิน ติดตาม และจัดการ

            การที่องค์กรปลาดาวมักมีโครงสร้างที่ไม่ชัดเจนและยุ่งเหยิง ไม่ได้หมายความว่า จะไม่สามารถวัดประเมินมัน แต่ในการวัดประเมินผลเครือข่ายกระจายอำนาจไม่จำเป็นต้องวัดได้ถูกต้องเป๊ะเสมอไป ถึงจะทำได้ มันก็คงไม่สำคัญหรอกว่า เราสามารถนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในเครือข่ายทั้งหมดหรือไม่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ การพิจารณาว่า เครือข่ายนั้นๆ มีความกระตือรือร้นแค่ไหน? การกระจายตัวของเครือข่ายเป็นอย่างไร? เครือข่ายที่ว่านี้เป็นอิสระไหม? แล้วความสัมพันธ์ข้างในเป็นอย่างไร?

            เวลาติดตามดูองค์กรปลาดาวก็เหมือนกัน เราควรตั้งคำถามว่า สุขภาพหรือความสมบูรณ์ของเครือข่ายนี้เป็นอย่างไร? สมาชิกยังคงมีส่วนร่วมดีไหม? เครือข่ายนี้เติบโตขึ้นไหม? มีการกระจายตัวไหม? มีการเปลี่ยนสภาพไหม? มันกระจายอำนาจมากขึ้นหรือน้อยลง?

            พวก Catalyst ส่วนใหญ่มีความเข้าใจคำถามเหล่านี้ดีอยู่แล้ว แม้พวกเขาจะให้ความสำคัญต่อสมาชิก แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่า ต้องมีการรายงานหรือการควบคุมอะไรกัน การจัดการเครือข่ายกระจายอำนาจต้องอาศัยคนที่สามารถเป็นตัวกลางประสานระหว่างสถาปนิก เชียร์ลีดเดอร์ และนักสังเกตการณ์ที่น่าเกรงขามได้เป็นอย่างดี เพราะในองค์กรปลาดาวนั้น คนจะทำสิ่งที่พวกเขาอยากทำ โดยมี catalyst เป็นคนคอยเชื่อมโยงคนเข้าหากัน และใช้อุดมการณ์เป็นแรงกระตุ้นพวกเขาอย่างสม่ำเสมอและสุดความสามารถ

กฎข้อที่ 10 : ใช้โครงสร้างแบบแบนราบ

            ที่จริง มันก็พอมีวิธีจัดการเก็บองค์กรกระจายอำนาจอยู่เหมือนกันนะวิธีการ คือ ทำการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของสมาชิก หรือทำให้องค์กรมีลักษณะรวบอำนาจมากขึ้น แต่ถ้าหวังความอยู่รอด โดยเฉพาะทำอย่างไรก็ไม่สามารถตีแตกเสียที ก็ให้เป็นพวกเดียวกับพวกเขาเสียเลย

            อย่างไรก็ดี เพื่อความอยู่รอดนั้น บริษัทและสถาบันต่างต้องใช้แนวทางแบบลูกผสม เช่น การที่ GM มอบอำนาจแก่คนงานประจำสายพานการผลิต Jack Welch ให้อิสระในการดำเนินงานแก่ส่วนธุรกิจของ GE หรือการที่ Sun  ยอมรับความจริงว่า บริษัทต้องยอมเปิดให้คนใช้ชอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ของตนโดยเสรี (เพื่อแลกกับรายรายได้จากบริการเสริมส่วนอื่นแทน)

            ในโลกดิจิตอล การกระจายอำนาจจะยังคงเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมและสังคมอย่างไม่หยุดยั้ง การต้านทานพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้จึงไร้ประโยชน์ แต่พลังเดียวกันนี้แหล่ะที่สามารถเข้าไปควบคุมเพื่อผันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่กว่า ไม่เชื่อก็ลองถามนักสว็อปเพลง ผู้ใช้บริการ Skype พ่อค้าบนเว็บไซต์ EBay และผู้เข้าร่วมแก้ไขบทความของ Wikipedia สมาชิกชุมชน craigslist พวกขี้เหล้าที่กำลังอยู่ระหว่างการบำบัด หรือใครก็ได้ที่เคยใช้อินเทอร์เน็ต

            จริงอยู่ องค์กรกระจายอำนาจอาจดูวุ่นวายไร้ระเบียบในแวบแรก แต่หลังจากได้เห็นศักยภาพของมันแล้ว สิ่งที่ดูสับสนวุ่นวายกลับกลายเป็นสิ่งที่มีพลานุภาพที่สุดเท่าที่เคยประสบมาในโลกนี้

        ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆโดยเฉพาะ ประธานรุ่น คุณ ธนพลนะคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

Tel. 081 - 9435033

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     ผมขอนำคำกล่าวของนักปราชญ์(A man of learning) มาแบ่งปันให้เห็นมุมมองที่น่าสนใจ น่าคิดและน่าทำตาม เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้พิจารณาเผื่อว่าจะมีประโยชน์ครับ

 

"โสเครติส" 

"เป็นนักปรัชญาเอกของโลก ที่สอนลูกศิษย์

ด้วยการสนทนา ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ 

สร้างองค์ความรู้ จาก "คำถาม" 

กลยุทธ์ของ "โสเครติส" ในการสอน คือ 

ไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน และ 

ทำลายความมั่นใจของ นักเรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้

"โสเครติส" เชื่อว่าเมื่อเด็กตระหนักใน "ความไม่รู้" 

ของตนเอง เขาจะเริ่มต้น แสวงหา "ความรู้ " 

แต่ถ้า เด็กยังเชื่อมั่นว่าตนเองมี "ความรู้" 

เขาก็จะไม่แสวงหา "ความรู้ " 

การตั้งคำถามของโสเครติส จึงมีเป้าหมายโจมตี

และทำลายความเชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนัก

เรียน 

เป็นกลยุทธ์เท "น้ำ" ให้หมดจากแก้ว 

เมื่อแก้วไม่มีน้ำ เขาจึงเริ่มเท "น้ำ" ใหม่ใส่แก้ว

ด้วยมือของเขาเอง 

"น้ำ" ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเอง

มาจาก "คำตอบ" ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง 

"คำตอบ" จาก "คำถาม" ของ "โสเครติส" 

"โสเครติส" นิยามศัพท์คำว่า "คนฉลาด" 

และ "คนโง่" ได้อย่างน่าสนใจ 

"คนฉลาด" ในมุมมองของ "โสเครติส" นั้น

ไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง 

แต่ "คนฉลาด" คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ 

ส่วน "คนโง่" นั้น คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้

แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้

 

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

ผมขอส่งบทความที่จะลง Ph.P ครับ

นักปราชญ์   "โสเครติส" 

 

     ผมขอนำคำกล่าวของนักปราชญ์(A man of learning) มาแบ่งปันให้เห็นมุมมองที่น่าสนใจ น่าคิดและน่าทำตาม เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้พิจารณาเผื่อว่าจะมีประโยชน์ครับ

 

"โสเครติส" 

"เป็นนักปรัชญาเอกของโลก ที่สอนลูกศิษย์

ด้วยการสนทนา ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ 

สร้างองค์ความรู้ จาก "คำถาม" 

กลยุทธ์ของ "โสเครติส" ในการสอน คือ 

ไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน และ 

ทำลายความมั่นใจของ นักเรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้

"โสเครติส" เชื่อว่าเมื่อเด็กตระหนักใน "ความไม่รู้" 

ของตนเอง เขาจะเริ่มต้น แสวงหา "ความรู้ " 

แต่ถ้า เด็กยังเชื่อมั่นว่าตนเองมี "ความรู้" 

เขาก็จะไม่แสวงหา "ความรู้ " 

การตั้งคำถามของโสเครติส จึงมีเป้าหมายโจมตี

และทำลายความเชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนัก

เรียน 

เป็นกลยุทธ์เท "น้ำ" ให้หมดจากแก้ว 

เมื่อแก้วไม่มีน้ำ เขาจึงเริ่มเท "น้ำ" ใหม่ใส่แก้ว

ด้วยมือของเขาเอง 

"น้ำ" ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเอง

มาจาก "คำตอบ" ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง 

"คำตอบ" จาก "คำถาม" ของ "โสเครติส" 

"โสเครติส" นิยามศัพท์คำว่า "คนฉลาด" 

และ "คนโง่" ได้อย่างน่าสนใจ 

"คนฉลาด" ในมุมมองของ "โสเครติส" นั้น

ไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง 

แต่ "คนฉลาด" คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ 

ส่วน "คนโง่" นั้น คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้

แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้

     ในมุมมองของผมคิดว่าถ้าเราทำได้อย่างคำอธิบายของ โสเครติสถึงความหมายของคนฉลาด จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ “Life Long Learning " และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ “Learning Organization" ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

                หนูสมศรี นวรัตน์ หนูขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่อง “The Heart of Change” ผู้แต่เรื่องนี้ คือ จอนห์  พี. คอตเตอร์ และ แดน เอส. โคเฮน ในหนังสือ เรื่องนี้ได้กล่าวถึง คน เราจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ก็ต่อเมื่อได้รับข้อเท็จจริงที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของตน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก ของคนในองค์กร  ดังนั้นมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตนเองทำอยู่เพราะได้รับทราบการวิเคราะห์ที่เปลี่ยนความคิดของตนได้  จงหาว่าอะไรเป็นสิ่งจูงใจให้เขาปฏิบัติ  การได้รับรู้ถึงสภาวะความเป็นจริงที่ทำให้รู้สึกสำนึกได้ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวจริงๆ  ความคิดหรือความรู้สึกนั้นต่างก็สำคัญ   แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการมีอารมณ์ร่วมขั้นตอนทั้ง 8 นี้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับองค์กรตามความเหมาะสม

การเปลี่ยนแปลงโดยการสร้างอารมณ์ร่วม 8 ขั้นตอน

 ขั้นที่ 1 กระตุ้นเพื่อความเร่งรีบ = ขั้นตอนแรกที่จะ ก้าวเข้าสู่ การเปลี่ยนแปลงคือการมีพฤติกรรมที่เตรียมพร้อม  สำหรับการสอดส่องหาโอกาสและปัญหาเพื่อกระตุ้นให้เพื่อนร่วมงานมีส่วนร่วม  โดยกระตุ้นให้เห็นถึงความเร่งด่วนในการแก้ไข  จุดประกายความคิดให้เกิดความต้องการเปลี่ยนแปลง

วิธีกระตุ้นเปลี่ยนแปลงที่ได้ผลคือ

·         แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่เขาสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้จริงๆ

·         แสดงหลักฐานจากลูกค้าที่บ่งบอกถึงความจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

·         แสวงหาวิถีทางในการลดปริมาณความพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยวิธีที่ง่ายและไม่สิ้นเปลือง

·         อย่าประมาทหลงคิดไปว่าองค์กรของคุณนั้นดีอยู่แล้ว  ไม่มีความรู้สึกหวาดกลัว  ความพอใจ  หรือความไม่พอใจกับสภาวะที่เป็นอยู่มากมายอะไรนัก

ขั้นที่  2 สร้างทีมนำร่อง = ความท้าทายของขั้นนี้อยู่ตรงที่การจัดหาคนที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ มีทักษะ มีเส้นสายกว้างขวาง  มีชื่อเสียง  และมีอำนาจพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้  คนกลุ่มนี้จะต้องพร้อมที่จะอุทิศตนให้กับงานที่ได้รับมอบหมายและสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ดี  ทุ่มเทและรู้จักทำงานเป็นทีม  การสร้างทีมนำร่องวิธีที่ได้ผลสรุปได้ดังนี้

·         แสดงให้เพื่อนร่วมงานเห็นถึงความกระตือรือร้นและความทุ่มเท ช่วยแสวงหาคนที่เหมาะสมเข้าร่วมทีม

·         สร้างแบบอย่างของความเชื่อถือและการทำงานร่วมกันกำหนดวิธีการประชุมเพื่อลดความตึงเครียด  และเพิ่มความไว้วางใจ

 

ขั้นที่ 3 การสร้างวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม = วิธีที่ดีที่สุดคือการนำทีมนำร่อง นำเสนอข้อมูลที่อ่านเข้าใจง่าย  เห็นภาพ  รวมถึงการนำเสนอกลยุทธ์ใหม่เข้าไปด้วย  ที่ลืมไม่ได้คือยุทธวิธีในการทำงานที่รวดเร็ว  การมีตัวเลขรองรับเป็นเรื่องสำคัญ  แต่ภาพต่างๆ  จะช่วยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น  มันเป็นภาพของอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจริง การสร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่ถูกต้องเพื่อเป็นแนวทางในทุกขั้นตอนต่อไปของการเปลี่ยนแปลง  วิธีที่ได้ผลคือ

·         พยายามจินตนาการ  อนาคตที่เป็นไปได้

·         กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน  เมื่อพูดถึงแล้วสามารถบรรยายให้เห็นภาพ ในทันทีหรือบรรยายได้ในหนึ่งหน้ากระดาษ

·         สร้างวิสัยทัศน์ที่สามารถให้วิสัยทัศน์ที่กำหนดเป็นความจริงขึ้นมาได้

·         ให้ความสนใจในคำถามที่เกี่ยวกับระยะเวลาที่จะใช้ในการเริ่มต้น  การเปลี่ยนแปลง

ขั้นที่ 4 การสื่อสารเพื่อซื้อใจ = การสื่อสารเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจกลยุทธ์ในการทำงาน  ข้อความที่เข้าใจง่ายโดนใจคนฟัง หรือคนอื่นก็สามารถทำให้เข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากคำพูดแล้ว การกระทำก็สำคัญเพราะเป็นการสื่อสารที่ชัดเจนกว่าคำพูด  เพราะการสื่อสารข้อมูลมิใช่เพียงการส่งต่อข้อมูล

การสื่อสารเพื่อซื้อใจเป็นการสื่อสารถึงกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงและวิสัยทัศน์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดทั้งความเข้าใจและเห็นด้วยอย่างลึกซึ้งมากขึ้น  วิธีที่ได้ผล

·         ใช้คำพูดที่ โดนใจ  เรียบง่าย  ไม่ซับซ้อน

·         ทำการบ้านอย่างดีก่อนที่จะสื่อสารให้ผู้อื่นฟัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้อื่น

·         กล่าวถึง ความวิตก  สับสน  โกรธ  และไม่ไว้ใจ

·         กำจัดช่องทางที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งไป  เพื่อเปิดทางให้กับข้อความที่สำคัญ

·         ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  เพื่อให้คนเห็นภาพ

ขั้นที่ 5 การให้อำนาจ หมายถึง การกำจัดอุปสรรคให้หมดไป โดยเฉพาะอุปสรรคนั้นคือตัวเจ้านายใหญ่  กำจัดสิ่งที่กีดขวางที่คิดว่าจะทำให้การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชะงักล่าช้า  ส่วนมากจะเป็นพวกหัวหน้าที่หลงตนเอง  บ้าอำนาจ  สื่อสารไม่เป็นแต่ก็ต้องไม่มอบอำนาจให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งง่ายมากจนเกินไป  เพราะอาจจะเกิดการต่อต้านจากคนรอบข้างได้ การจัดการกับอุปสรรคทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะกับเจ้านายที่ชอบลดทอนอำนาจ การขาดข้อมูล  การประเมินผลที่ไม่ได้คุณภาพ  ระบบการให้รางวัลที่ไม่ยุติธรรม  และการขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง  วิธีที่ได้ผล  คือ

·         จัดหาบุคคลที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลง  เพื่อมาสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดความมั่นใจในตัวเอง  โดยใช้การเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา

·         การเห็นคุณค่าและให้รางวัล  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

·         การตอบรับที่จะช่วยให้พวกเขาได้เห็นภาพและสามารถตัดสินใจได้

·         การจัดหาวิธีการทำงานแบบใหม่ให้กับเจ้านายที่คอยลดทอนอำนาจ  โดยจัดหาเจ้าหน้าที่ใหม่เพื่อที่จะแสดงให้พวกเขาได้เห็นความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง

 ขั้นที่ 6การสร้างชัยชนะในช่วงสั้นๆ = ต้องพยายามสร้างชัยชนะระยะสั้น  เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่คนทำงาน ให้เขาได้รับรู้ถึงความสำเร็จในงานแต่ละขั้นตอนจะได้มีกำลังใจก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่งอย่างมีหวัง  และต้องแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนที่นำเสนอนั้นไม่ใช่เรื่องยาก  ถ้าปล่อยให้มันเป็นไปตามครรลองอาจจะช้าเกินไปที่จะเห็นผลสำเร็จ ซึ่งอาจจะบั่นทอนกำลังใจในการทำงานได้  สำหรับคนที่ทำงานด้วยความอุตสาหะ

ลักษณะและหน้าที่ของชัยชนะช่วงสั้นๆประกอบด้วย 4 ประเด็นดังนี้

1)      ชัยชนะจะทำให้เกิดการตอบรับ  เพื่อที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะได้รู้ถึงขีดความสมบูรณ์ของกลยุทธ์และวิสัยทัศน์

2)      ชัยชนะเป็นสิ่งชโลมจิตใจให้กับผู้ทำงานมาอย่างอุตสาหะ

3)      ช่วยสร้างความศรัทธาให้เพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่ยังไม่ได้มีส่วนร่วม

4)      ช่วยลดการวิจารณ์เสียดสีจากคนที่ไม่เห็นด้วย

จุดเน้นเป็นสิ่งสำคัญคืออย่าเดินหน้าทำในสิ่งที่คิดว่าต้องทำ ในการที่ต้องทำหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน  ชัยชนะก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที การสร้างชัยชนะระยะสั้นนั้นต้องทำให้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว มีจำนวนครั้งที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ความช่วยเหลือจากพนักงาน กลุ่มมองแง่ลบได้ตาสว่าง  การวิพากษ์วิจารณ์ลดน้อยลง สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดความพยายามเปลี่ยนแปลงขึ้นด้วยวิธีที่ได้ผลคือ

·         ชัยชนะที่ได้มาอย่างรวดเร็ว

·         ชัยชนะที่คนหลายๆ  คนเห็นได้อย่างชัดเจน

·         ชัยชนะที่สามารถลบล้างความรู้สึกต่อต้านได้

·         ชัยชนะเบื้องต้นที่จะสามารถทำให้บุคคลมีอำนาจหันมาให้ความช่วยเหลือ

·         ชัยชนะที่ได้มาอย่างง่ายและไม่สิ้นเปลือง

 

ขั้นที่  7 อย่ายอมแพ้ = เมื่อประสบความสำเร็จในแต่ละขั้นแล้วไม่ควรหยุดให้เสียจังหวะ  ควรดำเนินขั้นตอนต่อไปทันทีจนกว่าโครงการจะเสร็จสิ้นลง โดยพยายามทำให้เกิดความรู้สึกตื่นตัวตลอด เวลา และลดความรู้สึกทิฐิให้น้อยลง  ตัดงานที่ไม่จำเป็น  เหนื่อยยากและบั่นทอนจิตใจออก  แต่อย่าถือเอาแค่นี้เป็นชัยชนะและประกาศความสำเร็จเร็วเกินไป  อย่ายอมแพ้  จงอย่าหยุดจนกว่าวิสัยทัศน์เป็นจริง  ถึงแม้ว่าจะต้องพบกับปัญหายากเย็นเพียงใดก็ตามวิธีที่ได้ผลคือ

·       มอบหมายงานให้ลูกน้อง

·       หาวิธีสร้างความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา

·       ใช้สถานการณ์ใหม่แล้วแต่โอกาสอำนวย  เพื่อสร้างกระแสคลื่นของการเปลี่ยนแปลง

·       แสดงให้เขาเห็นเป็นตัวอย่าง

ขั้นที่  8 ทำให้พฤติกรรมใหม่เป็นที่ยึดถือ = คือการหาวิธีให้สิ่งที่ถือปฏิบัติกันมานั้นคงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ  และยึดเป็นมาตรฐานใหม่ในการทำงาน  ควรสนับสนุนเมื่อพนักงานทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ  พึงระวังว่าการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอะไรสักอย่างนั้นเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก  วัฒนธรรมอันเปราะบางที่มิได้ฝังลึกอยู่ในรากฐาน  จึงไม่ยากแก่การเปลี่ยนแปลงเมื่อโลกเปลี่ยนไป โครงการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ในเรื่องนี้มี ลักษณะเด่นอยู่  4  ประการคือ

1.      แนะนำวิธีการทำงานใหม่ของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา

2.      ใช้วีดีโอเป็นหลัก  พนักงานทราบและเห็นเรื่องการทำงานจริงๆ

3.      ใช้ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวช่วยได้ดี

4.      วีดีโอแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมใหม่โดยใช้ข้อความที่กินใจจากลูกค้าเป็นตัวช่วย

แนวทางใหม่ในการปฏิบัตินั้นติดแน่นไม่หลุดหายไปง่าย ๆวิธีที่ได้ผลคือ

·         อย่าหยุดขั้นตอนที่ 7 จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงนั้นฝังรากลงในวัฒนธรรม

·         ใช้การปฐมนิเทศพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ  แสดงให้เห็นความเอาใจใส่อย่างแท้จริง

·        ใช้วิธีการเลื่อนขั้นบุคค

เรียน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

                หนูสมศรี นวรัตน์ หนูขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่อง “The Heart of Change” ผู้แต่เรื่องนี้ คือ จอนห์  พี. คอตเตอร์ และ แดน เอส. โคเฮน ในหนังสือ เรื่องนี้ได้กล่าวถึง คน เราจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ก็ต่อเมื่อได้รับข้อเท็จจริงที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของตน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก ของคนในองค์กร  ดังนั้นมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตนเองทำอยู่เพราะได้รับทราบการวิเคราะห์ที่เปลี่ยนความคิดของตนได้  จงหาว่าอะไรเป็นสิ่งจูงใจให้เขาปฏิบัติ  การได้รับรู้ถึงสภาวะความเป็นจริงที่ทำให้รู้สึกสำนึกได้ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวจริงๆ  ความคิดหรือความรู้สึกนั้นต่างก็สำคัญ   แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการมีอารมณ์ร่วมขั้นตอนทั้ง 8 นี้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับองค์กรตามความเหมาะสม

เรื่อง “The Heart of Change” เรื่องการเปลี่ยนแปลงโดยการสร้างอารมณ์ร่วม 8 ขั้นตอน (ขั้นตอนที่ 7 & 8  ต่อจาก Blog ก่อนนะคะ)

ขั้นที่  7 อย่ายอมแพ้ = เมื่อประสบความสำเร็จในแต่ละขั้นแล้วไม่ควรหยุดให้เสียจังหวะ  ควรดำเนินขั้นตอนต่อไปทันทีจนกว่าโครงการจะเสร็จสิ้นลง โดยพยายามทำให้เกิดความรู้สึกตื่นตัวตลอด เวลา และลดความรู้สึกทิฐิให้น้อยลง  ตัดงานที่ไม่จำเป็น  เหนื่อยยากและบั่นทอนจิตใจออก  แต่อย่าถือเอาแค่นี้เป็นชัยชนะและประกาศความสำเร็จเร็วเกินไป  อย่ายอมแพ้  จงอย่าหยุดจนกว่าวิสัยทัศน์เป็นจริง  ถึงแม้ว่าจะต้องพบกับปัญหายากเย็นเพียงใดก็ตามวิธีที่ได้ผลคือ

·       มอบหมายงานให้ลูกน้อง

·       หาวิธีสร้างความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา

·       ใช้สถานการณ์ใหม่แล้วแต่โอกาสอำนวย  เพื่อสร้างกระแสคลื่นของการเปลี่ยนแปลง

·       แสดงให้เขาเห็นเป็นตัวอย่าง

 

ขั้นที่  8 ทำให้พฤติกรรมใหม่เป็นที่ยึดถือ คือการหาวิธีให้สิ่งที่ถือปฏิบัติกันมานั้นคงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ  และยึดเป็นมาตรฐานใหม่ในการทำงาน  ควรสนับสนุนเมื่อพนักงานทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ  พึงระวังว่าการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอะไรสักอย่างนั้นเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก  วัฒนธรรมอันเปราะบางที่มิได้ฝังลึกอยู่ในรากฐาน  จึงไม่ยากแก่การเปลี่ยนแปลง เมื่อโลกเปลี่ยนไป ยกตัวอย่าง โครงการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ในเรื่องนี้มี ลักษณะเด่นอยู่ 4 ประการคือ

1.      แนะนำวิธีการทำงานใหม่ของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา

2.      ใช้วีดีโอเป็นหลัก  พนักงานทราบและเห็นเรื่องการทำงานจริงๆ

3.      ใช้ภาพการ์ตูน เคลื่อนไหวช่วยได้ดี

4.      วีดีโอแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมใหม่โดยใช้ข้อความที่กินใจจากลูกค้าเป็นตัวช่วย

แนวทางใหม่ในการปฏิบัตินั้น ติดแน่นไม่หลุดหายไปง่าย ๆ วิธีที่ได้ผลคือ

·         อย่าหยุดขั้นตอนที่ 7 จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงนั้นฝังรากลงในวัฒนธรรม

·         ใช้การปฐมนิเทศพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ  แสดงให้เห็นความเอาใจใส่อย่างแท้จริง

·        ใช้วิธีการเลื่อนขั้นบุคคลที่ทำงานสอดคล้องกับมาตรฐานใหม่

·         บอกเล่าถึงประสบการณ์ใหม่ ๆ 

·         มั่นใจว่าพฤติกรรมใหม่ที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอและผลที่ได้จากการกระทำ  เพื่อช่วยให้วัฒนธรรมใหม่ได้เติบโตต่อไป

    หนูคิดว่า เรื่อง “The Heart of Change” เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นไปตาม ทฤษฎี 8 K+ 5K+2R + LO + Leadership + ทฤษฎี 3 วงกลม (Context + Competency + Motivation) + ทฤษฎี 4 E (Exampling +Experience + Environment + Evaluation) ของท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ ท่านอาจารย์ของพวกเรา (ที่เราชาว SSRU รักมาก)

             วันนี้หนูเขียนยาวมากๆ  หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้าง>>>>>นิดหน่อยนะคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

Tel.081 - 9435033

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

Judgment by Noel Tichy เน้น 3 เรื่องคือ

1. การตัดสินใจคือคุณสมบัติของผู้นำ

 

2. การตัดสินใจไม่ใช่ขึ้นกับ โชคชะตา หรือความฉลาด แต่ต้องมีการตัดสินใจดดยมีขบวนการ A process for making consistently good calls.

 

3.ในยามที่เกิดวิกฤต ผู้นำควรอยู่และพร้อมที่จะทำการตัดสินใจ

ด้วยความเคารพ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

 

                หนูสมศรี นวรัตน์ หนูได้อ่านงานวิจัย  จึงขอเสนองานวิจัย (research)  ด้าน Ethics and Social Responsibility  จากต่างประเทศ คือ University of Western Australia, Crawley, WA, Australia ลงใน Journal of Business Ethics  เรื่อง A Survey of Managers’ Perceptions of Corporate Ethics and Social Responsibility and Actions that may Affect Companies’ Success Subject Collection: Humanities, Social Sciences and Law.  SpringerLink. Date: Thursday, October 11, 2007

 

Abstract : This exploratory study examines how managers and professionals regard the ethical and social responsibility reputations of 60 well-known Australian and International companies, and how this in turn influences their attitudes and behaviors towards these organizations. More than 350 MBA, other postgraduate business students, and participants in Australian Institute of Management (Western Australia) management education programmers were surveyed to evaluate how ethical and socially responsible they believed the 60 Organizations to be. The survey sought to determine what these participants considered ‘ethical’ and ‘socially responsible’ behaviors in organizations to be. The survey also examined how the participants’ beliefs influenced their attitudes and intended behaviors towards these organizations. The results of this survey indicate that many managers and professionals have clear views about the ethical and social responsibility reputations of companies. This affects their attitudes towards these organizations which in turn has an impact on their intended behaviors towards them. These findings support the view in other research studies that well-educated managers and professionals are, to some extent, taking into account the ethical and social responsibility reputations of companies when deciding whether to work for them, use their services or buy shares in their companies.

            หนูคิดว่าน่าจะเป็น>>>>>ประโยชน์>>>>เป็นข้อคิด >>>>>สะกิดให้กับเพื่อน ๆชาวSSRU บ้างนะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel. 081-9435033

เรียน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

           หนูสมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Participative  Leadership ซึ่งหนูคิดว่าพอจะมีประโยชน์กับเพื่อน ๆและมีต่อ ตนเองในการฝึกอ่านภาษา Eng.บ้าง จะพยายามให้มากขึ้นนะคะ เพราะหนูเป็นโรค ภาษาEng.อย่างมาก ๆคะ

Assumptions

Involvement in decision-making improves the understanding of the issues involved by those who must carry out the decisions. People are more committed to actions where they have involved in the relevant decision-making. People are less competitive and more collaborative when they are working on joint goals. When people make decisions together, the social commitment to one another is greater and thus increases their commitment to the decision. Several people deciding together make better decisions than one person alone.

Style

A Participative Leader, rather than taking autocratic decisions, seeks to involve other people in the process, possibly including subordinates, peers, superiors and other stakeholders. Often, however, as it is within the managers' whim to give or deny control to his or her subordinates, most participative activity is within the immediate team. The question of how much influence others are given thus may vary on the manager's preferences and beliefs, and a whole spectrum of participation is possible, as in the table below.

Not participative---------------->>>> Highly participative

 

(เริ่มต้น)Autocratic decision by leader (การมีส่วนร่วมระดับต่ำ) >>>>> Leader proposes decision, listens to feedback, then decides>>>>> Team proposes decision, leader has final decision >>>>> Joint decision with team as equals>>>>> Full delegation of decision to team.(ระดับสูงสุดของการมีส่วนร่วม)

 

There are many varieties on this spectrum, including stages where the leader sells the idea to the team. Another variant is for the leader to describe the 'what' of objectives or goals and let the team or individuals decide the 'how' of the process by which the 'how' will be achieved (this is often called 'Management by Objectives').

The level of participation may also depend on the type of decision being made. Decisions on how to implement goals may be highly participative, whilst decisions during subordinate performance evaluations are more likely to be taken by the manager.

Discussion

There are many potential benefits of participative leadership, as indicated in the assumptions, above. This approach is also known as consultation, empowerment, joint decision-making, democratic leadership, Management By Objective (MBO) and power-sharing. Participative Leadership can be a sham when managers ask for opinions and then ignore them. This is likely to lead to cynicism and feelings of betrayal.

         หนูสมศรี นวรัตน์ ขอยุติการพูดคุยเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ คิดว่าเรื่อง Participative  Leadership จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อคิด สำหรับเพื่อน ๆบ้างนะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

Somsri Nawarat    Batlat hospital.

Tel. 081-9435033

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

จุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศไทย

                Institute for Management Development: IMD ได้วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของประเทศไทยและจัดอันดับไว้เป็นดังนี้

จุดแข็ง

                ประเด็นหลักที่เป็นลักษณะเด่นมี 2 ประการ ประการแรกได้แก่ ลักษณะพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทย ซึ่งช่วยเสริมทั้งในด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวคือ แม้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) จะเป็นอุตสาหกรรมและบริการแต่สำหรับการจ้างงานแล้ว เกือบครึ่งของการจ้างงานทั้งหมด (ร้อยละ 48) ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรม

                ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรม  จึงเป็นภาคเศรษฐกิจที่ช่วยผ่อนคลายปัญหาเกี่ยวกับการว่างงานของประเทศไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทย

จึงมีการว่างงานในอัตราที่น้อยกว่าประเทศต่างๆ ถึง 45 ประเทศ ใน 49 ประเทศ

                นอกจากนี้ พื้นฐานของสังคมไทย ซึ่งไม่มีการแบ่งแยกในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนไม่มีความเหลื่อมล้ำทางเพศ ยังเป็นข้อได้เปรียบในแง่ของความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อีกทั้งลักษณะนิสัยของคนไทยโดยรวม ยังมีลักษณะประนีประนอม จึงทำให้มีปัญหาข้อพิพาทในภาคอุตสาหกรรม หรือการประท้วงนัดหยุดงานน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ที่ประสบปัญหาวิกฤตเช่นเดียวกับไทย

                ประเด็นหลักประการที่สอง เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายนโยบาย และกฎข้อบังคับ ที่รัฐได้กำหนดและบังคับใช้ เช่น อัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคล อัตราเงินประกันสังคมที่เรียกเก็บจากนายจ้างและลูกจ้างซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆ กฎข้อบังคับของแรงงานที่มีความยืดหยุ่น เป็นต้น ฉะนั้น หากมองเพียงเรื่องของนโยบาย และกฎหมายที่กำหนดไว้ ประเทศไทยจะได้เปรียบประเทศอื่นๆ หลายประเทศ

            ผลการวิเคราะห์จุดแข็งดังกล่าวข้างต้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีข้อได้เปรียบประเทศอื่นอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ช่วยเสริมขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ ในขณะเดียวกันสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องและพลังผลักดันจากประชาชนให้ออกกฎหมายที่มีควาเหมาะสมและทันกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ได้ส่งผลให้กฎหมายต่างๆ ที่ออกมาในระยะหลังกลายเป็นจุดแข็งของภาครัฐ

จุดอ่อน

                ผลการศึกษาของ IMD ได้ชี้ให้เห็นว่า เกณฑ์สำคัญที่เป็นปัญหาบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย คือเกณฑ์ที่มีผลเชื่อมโยงกับศักยภาพของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันยังด้อยกว่าประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยมีศักยภาพด้อยกว่าคนในประเทศอื่นๆ นั้น สืบเนื่องจากระดับการศึกษาของคนไทยโดยรวมยังต่ำอยู่ อีกทั้งคุณภาพการศึกษาของไทยยังด้อยกว่าประเทศอื่นๆ หลายประเทศ

                สภาพปัญหาดังกล่าว จะเห็นได้จากอัตราการเข้าเรียนของประชากรกลุ่มอายุวัยเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ถึง 46 ประเทศ รวมไปถึงระบบการศึกษาทั้งในภาพรวม และ

ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ตอบสนองความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ จึงเป็นจุดอ่อนที่ส่งผลกระทบทางลบต่อปัจจัยด้านอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้จาก

เกณฑ์ต่างๆ ที่มีผลมาจากศักยภาพของคนโดยตรง เช่น ผลิตภาพแรงงานที่ต่ำกว่าหลายประเทศ ระดับความสามารถของผู้จัดการของไทยที่ด้อยกว่าผู้จัดการของทุกประเทศ รวมไปถึงความอ่อนด้อย

ในด้านคุณธรรมและจริยธรรม

                กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่เป็นจุดอ่อนที่สุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของปัญหาทั้งปวงและต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยด่วน คือ ปัญหาด้านศักยภาพของคนไทยที่ด้อยกว่าคนในประเทศอื่นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความรู้ ความสามารถของคนไทยที่ด้อยกว่าคนในประเทศอื่นๆ จึงส่งผลกระทบในทางลบต่อผลิตภาพของประเทศไทย รวมไปถึงระบบการบริหารจัดการในภาคธุรกิจ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ตารางสรุป จุดแข็งจุดแข็ง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจากเกณฑ์การจัดอันดับของ IMD

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

ตารางสรุป (ต่อ) จุดแข็งจุดแข็ง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจากเกณฑ์การจัดอันดับของ IMD

              วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของประเทศไทยกับประเทศฟิลิปปินส์

เรียน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

           หนูสมศรี นวรัตน์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Situational Leadership

ซึ่งหนูคิดว่าพอจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆและมีต่อ ตนเอง ในการฝึกอ่านภาษา Eng.บ้าง จะพยายามให้มากขึ้นนะคะ เพราะหนูเป็นโรค ภาษาEng.อย่างมาก ๆคะ

Assumptions

The best action of the leader depends on a range of situational factors.

Style

When a decision is needed, an effective leader does not just fall into a single preferred style, such as using transactional or transformational methods. In practice, as they say, things are not that simple.

Factors that affect situational decisions include motivation and capability of followers. This, in turn, is affected by factors within the particular situation. The relationship between followers and the leader may be another factor that affects leader behavior as much as it does follower behavior.

The leaders' perception of the follower and the situation will affect what they do rather than the truth of the situation. The leader's perception of themselves and other factors such as stress and mood will also modify the leaders' behavior. Yukl(1989) seeks to combine other approaches and identifies six variables:

·        Subordinate effort: the motivation and actual effort expended.

·        Subordinate ability and role clarity: followers knowing what to do and how to do it.

·        Organization of the work: the structure of the work and utilization of resources.

·        Cooperation and cohesiveness: of the group in working together.

·        Resources and support: the availability of tools, materials, people, etc.

·        External coordination : the need to collaborate with other groups.

Leaders here work on such factors as external relationships, acquisition of resources, managing demands on the group and managing the structures and culture of the group.

Discussion

Tannenbaum and Schmidt (1958) identified three forces that led to the leader's action: the forces in the situation, the forces in then follower and also forces in the leader. This recognizes that the leader's style is highly variable, and even such distant events as a family argument can lead to the displacement activity of a more aggressive stance in an argument than usual. Maier(1963)noted that leaders not only consider the likelihood of a follower accepting a suggestion, but also the overall importance of getting things done. Thus in critical situations, a leader is more likely to be directive in style simply because of the implications of failure.

หนูสมศรี นวรัตน์ ขอจบเรื่อง Situational Leadership เพียงแต่นี้นะคะ

พรุ่งนี้จะได้ไป>>>>แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการที่เชียงใหม่ ดีใจจังเลยคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

Somsri Nawarat  Tel. 081-9435033

Band Lat Hospital

เรียน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

               หนูสมศรี นวรัตน์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Situational Leadership

ซึ่งหนูคิดว่าพอจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆและมีต่อ ตนเอง ในการฝึกอ่านภาษา Eng.บ้าง จะพยายามให้มากขึ้นนะคะ เพราะหนูเป็นโรค ภาษาEng.อย่างมาก ๆคะ

 

Assumptions

The best action of the leader depends on a range of situational factors.

 

Style

When a decision is needed, an effective leader does not just fall into a single preferred style, such as using transactional or transformational methods. In practice, as they say, things are not that simple.

Factors that affect situational decisions include motivation and capability of followers. This, in turn, is affected by factors within the particular situation. The relationship between followers and the leader may be another factor that affects leader behavior as much as it does follower behavior.

The leaders' perception of the follower and the situation will affect what they do rather than the truth of the situation. The leader's perception of themselves and other factors such as stress and mood will also modify the leaders' behavior. Yukl(1989) seeks to combine other approaches and identifies six variables:

·        Subordinate effort : the motivation and actual effort expended.

·        Subordinate ability and role clarity : followers knowing what to do and how to do it.

·        Organization of the work: the structure of the work and Utilization of resources.

·        Cooperation and Cohesiveness : of the group in working together.

·        Resources and support: the availability of tools, materials, people, etc.

·        External coordination : the need to collaborate with other groups.

Leaders here work on such factors as external relationships, acquisition of resources, managing demands on the group and managing the structures and culture of the group.

Discussion

Tannenbaum and Schmidt (1958) identified three forces that led to the leader's action: the forces in the situation, the forces in then follower and also forces in the leader. This recognizes that the leader's style is highly variable, and even such distant events as a family argument can lead to the displacement activity of a more aggressive stance in an argument than usual. Maier(1963)noted that leaders not only consider the likelihood of a follower accepting a suggestion, but also the overall importance of getting things done. Thus in critical situations, a leader is more likely to be directive in style simply because of the implications of failure.

หนูสมศรี นวรัตน์ ขอจบเรื่อง Situational Leadership เพียงแต่นี้นะคะพรุ่งนี้จะได้ไป>>>>แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการที่เชียงใหม่ ดีใจจังเลยคะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel. 081-9421866

เรียนคุณสมศรี(เปิ้ล)

ขอบคุณมากนะครับ สำหรับคำตอบเรื่อง "กฏแห่งเกมส์แบบใหม่"มีประโยชน์มากและขอนำไปเผยแพร่ต่อนะครับ

ขอบคุณมากครับ

ธนพล ก่อฐานะ

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

จุดอ่อน-จุดแข็งของประเทศไทยเทียบกับประเทศฟิลิปินส์

จุดอ่อนของประเทศไทย

  1. ประเทศไทยมีจุดอ่อนที่การเมืองไม่นิ่งมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยมากไม่สามารถทำงานหรือวางแผนระยะยาวได้
  2. รัฐบาลผสมที่มีหลายพรรคการเมืองทำให้ต้องแบ่งผลประโยชน์ของพรรคพวกก่อนประเทศชาติ
  3. ค่านิยมของคนไทยเปลี่ยนไปตามกระแสไม่มีความมั่นคงนิยมรักชาติเห่อต่างชาติมาก ใช้ของฟุ่มเฟือยบางครั้งเกินฐานะ
  4. นิสัยคนไทยชอบความสบายไม่ชอบสิ่งที่ทำได้ยากไม่มีความอดทนต่อความลำบากจึงนิยมการกู้เงินมาใช้ทำให้เป็นหนี้สินมาก

จุดอ่อนของประเทศฟิลิปินส์

  1. ภูมิประเทศเป็นเกาะ มีการเกิดภัยธรรมชาติบ่อย ทำให้ต่างชาติไม่นิยมมาลงทุนสร้างฐานการผลิตภาวะการจ้างงานจึงน้อย
  2. ประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจนมาก
  3. โจรผู้ร้ายชุกชุม
  4. มีหลายชนชาติ มีหลายศาสนามีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและชนชั้น

 จุดแข็งของประเทศไทย

  1. มีศูนย์รวมทางจิตใจเป็นหนึ่งเดียวคือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  2. ภูมิประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่เหมาะสมไม่ค่อยมีภัยทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อย
  3. ธรรมชาติของคนไทยส่วนใหญ่มีน้ำใจ เข้ากันได้ทุกชาติและทุกศาสนา
  4. ต่างชาติยังนิยมมาตั้งฐานการผลิตและมาลงทุนในประเทศไทยอยู่

 จุดแข็งของประเทศฟิลิปินส์

  1. การสื่อสารใช้ภาษาอังกฤษทำให้ส่งคนไปทำงานต่างประเทศนำเงินเข้าประเทศเป็นรายได้ดี
  2. ไม่ค่อยเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยอยู่ในวาระได้ครบเทอมสามารถสร้างรากฐานได้มั่นคง 

       จากการวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งเปรียบเทียบกับกันแล้ว  ถ้าประเทศไทยไม่มีการปรับปรุงก็อาจจะเป็นอย่างประเทศฟิลิปินส์ในอีกไม่ช้าเพราะมีการแบ่งแยกภายในประเทศไม่มีความสงบร่มเย็น น้ำใจแบบไทยหรือลักษณะที่ดีค่อยๆหายไป เด็กๆรุ่นใหม่นิยมที่จะรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติไปประพฤติปฏิบัติตามกระแสแฟชั่นเนื่องจากสื่อที่สร้างและปลุกเล้าให้กลายเป็นสิ่งดี ไม่ค่อยคิดถึงอนาคตรักสนุกอยู่ไปวันๆ ไม่มีภูมิคุ้มกันจากครอบครัวที่เข้มแข็งช่วยกันปลูกฝังค่านิยมที่ดี เนื่องจากสภาพแวดล้อมสังคมแบบไทยที่อยู่กันอย่างเครือญาติกลายเป็นสังคมที่ไม่รู้จักกันเด็กไม่เครารพผู้ใหญ่ เราทุกคนที่ยังมีจิตสำนึกควรที่จะได้ตระหนักและช่วยกันกระตุ้นเตือนเด้กๆไทยและคนไทยทุกคนให้ย้อนกลับไปดูว่าในขณะที่มีความเจริญทางวัตถุแต่เราได้มีความเสื่อมทางด้านจิตใจลงไปทุกๆวันอย่างที่เป็นอยู่นี้ นับถือศาสนาพุทธเพียงแต่ในนามแต่ทำตัวเป็นตนไม่มีศาสนา ไม่รักแม้กระทั่งตัวเองแล้วจะรักผู้อื่นได้อย่างไร ขอให้รักกันเหมือนเดิมเพื่อประเทศชาติของเราจะได้ไม่เป็นเหมือนประเทศฟิลิปินส์

จากวัชรินทร์  แสงมา  Ph.D-3 SSRU

 

เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

      หนูสมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอคุยการบ้านในเรื่อง  “ransactional Leadership” เพื่อนๆSSRU มีเวลา

 

Assumptions

People are motivated by reward and punishment.Social systems work best with a clear chain of command.

When people have agreed to do a job, a part of the deal is that they cede all authority to their manager.

The prime purpose of a subordinate is to do what their manager tells them to do.

 

Style

The transactional leader works through creating clear structures whereby it is clear what is required of their subordinates, and the rewards that they get for following orders. Punishments are not always mentioned, but they are also well-understood and formal systems of discipline are usually in place.

The early stage of Transactional Leadership is in negotiating the contract whereby the subordinate is given a salary and other benefits, and the company (and by implication the subordinate's manager) gets authority over the subordinate.

When the Transactional Leader allocates work to a subordinate, they are considered to be fully responsible for it, whether or not they have the resources or capability to carry it out. When things go wrong, then the subordinate is considered to be personally at fault, and is punished for their failure (just as they are rewarded for succeeding).

The transactional leader often uses management by exception, working on the principle that if something is operating to defined (and hence expected) performance then it does not need attention. Exceptions to expectation require praise and reward for exceeding expectation, whilst some kind of corrective action is applied for performance below expectation.

Whereas Transformational Leadership has more of a 'selling' style, Transactional Leadership, once the contract is in place, takes a 'telling' style.

Discussion

Transactional leadership is based in contingency, in that reward or punishment is contingent upon performance.

Despite much research that highlights its limitations, Transactional Leadership is still a popular approach with many managers. Indeed, in the Leadership vs. Management spectrum, it is very much towards the management end of the scale.

The main limitation is the assumption of 'rational man', a person who is largely motivated by money and simple reward, and hence whose behavior is predictable. The underlying psychology is Behaviorism, including the Classical Conditioning of Pavlov and Skinner's Operant Conditioning. These theories are largely based on controlled laboratory experiments (often with animals) and ignore complex emotional factors and social values.

In practice, there is sufficient truth in Behaviorism to sustain Transactional approaches. This is reinforced by the supply-and-demand situation of much employment, coupled with the effects of deeper needs, as in Maslow's Hierarchy. When the demand for a skill outstrips the supply, then Transactional Leadership often is insufficient, and other approaches are more effective.

สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด    จ.เพชรบุรี

Tel. 081-435033

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 เปรียบเทียบ ทฤษฎี 4L กับ mind map

ทฤษฎี 4L's

mind map

จัดสมดุลทางด้านสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อเสริมสร้างภายในให้เกิดการอยากเรียนรู้

เป็นการจัดสมดุลภายในให้เกิดการเรียนรู้ การจดจำด้วยการพัฒนาสมองด้านขวา

เป็นรูปแบบของการเรียนรู้

เป็นรูปแบบของการจำ

ไม่มีขอบเขตจำกัด

จำกัดอยู่บนกระดาษ

พัฒนาทุกคนไปพร้อมกัน

เป็นการพัฒนาระดับบุคคล

เติบโตเป็นเครือข่าย-สังคมได้

ไม่สามารถเติบโตเป็นเครือข่ายได้

มีการแบ่งปันกัน

เป็นของเฉพาะตัวไม่มีการแบ่งปันกัน

มีแนวความคิดร่วมกัน

ต่างคนต่างคิด

สร้างเครือข่ายภายนอก

สร้างเครือข่ายภายในตนเอง

จาก  วัชรินทร์  แสงมา  Ph.D-3  SSRU

เรียน ท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยิ่ง ชอบบทความนี้มาก

 

Microsoft, Amazon and Yahoo! join fight against Google

Andrew Fairbairn   on 22 August 2009 - 17:02 · 66 comments & 3546 views

The three technology giants of Microsoft, Amazon and Yahoo! are to join the Open Book Alliance in their opposition of Google's Book Search service. The coalition is trying to stop Google's plans to create what could potentially be the biggest virtual library in the world.

The Open Book Alliance is currently made up of various charities and libraries and is headed by the non-profit group
Internet Archive, which is also the provider of web archive service Wayback Machine. They are opposing a deal agreed last year giving Google the rights to digitize and commercialize millions of books, Reuters report.

The coalition argues that Google is "trying to monopolise the library system,"
according to the Internet Archive's founder Brewster Kahle. Internet Archive themselves have digitized over half a million books so far, all of which are available for free. Google's book scanning project would make them the main online source for many works which, it is claimed, would allow them to exploit books and the cost of access to them.

The agreement was reached between Google and various publishers and authors last October as part of a settlement following a class action lawsuit filed by the Authors Guild and the Association of American Publishers. The lawsuit had accused Google of copyright infringement for scanning and sharing books without permission.

In the deal Google agreed to pay $125 million to set up a Book Rights Registry to let authors and publishers register and be compensated for the use of their works. The company plan to take 30% from the sale of these books. They would also be able to digitize orphan works - books where the copyright holders are unknown - which are estimated to make up between 50 and 70% of books published since 1923.

Any comments about this settlement have to be made by September 4th so it is no surprise to see opposing major technology companies getting on board with the Open Book Alliance. Whilst Microsoft and Yahoo! have confirmed their involvement, Amazon has yet to formally comment. The US Department of Justice is also conducting an antitrust investigation into the implications of the deal.

  พอสุปได้ว่า  Google พบศึกหนัก คือ จะลงทุนถึง 125 ล้านดอลนในการให้บริการ Book Alliance service แต่ 3 รุม 1 ค่ะ

Microsoft, Amazon and Yahoo จับมือกันร้องเรียนว่า  Google ฝ่าฝืน โดยไม่อนุญาตให้ลอกเลียนแบบการบริการซึ่ง ทางฝ่ายตรงข้ามได้ดำเนินการก่อน  ตามจริงหากการดำเนินการอะไรที่เป็นประโยชน์แก่สังคมระดับโลก  เช่นนี้ไม่น่าจะขัดแย้งกันเลยหรือผลประโยชน์จะมหาศาลจนไปบดบังสิ่งเป็นประโยนช์แก่มวลชนทั่วโลก!

และค้นอีกบทความหนึ่งมาเทียบเคียงกันค่ะ

Google book project faces new hurdle

Writer: AFP

Published: 21/08/2009 at 11:51 PM

Google's ambitious book scanning project, already facing anti-trust scrutiny, a court review and privacy concerns, has run into another hurdle.

Amazon, Microsoft and Yahoo! are reportedly planning to join several library associations and non-profit groups in opposing Google's settlement with authors and publishers which would allow it to digitize and sell millions of books.The New York Times and Wall Street Journal said the technology heavyweights have agreed to form what is tentatively being called the "Open Book Alliance'' to challenge the Google Book Search project.Google reached a class action settlement in October of last year with the Authors Guild and the Association of American Publishers (AAP) to a copyright infringement lawsuit they filed in 2005.Under the settlement, Google agreed to pay 125 million dollars to resolve outstanding claims and establish an independent "Book Rights Registry,'' which will provide revenue from sales and advertising to authors and publishers who agree to digitize their books.Book prices will be set by the author with revenue from advertising to be divided 63-37 between the rightsholder and Google.The settlement is currently being examined by the Justice Department and still needs the approval of a US District Court judge in New York.The New York Times said members of the Open Book Alliance were likely to independently file objections with the court, which is set to hold a "fairness hearing'' on the settlement on October 7.Gary Reback, an anti-trust lawyer in Silicon Valley who is acting as counsel to the Alliance, told the Times the book deal "has enormous, far-reaching anticompetitive consequences that people are just beginning to wake up to.''

Reback, who ironically helped persuade the Justice Department to file its anti-trust case against Microsoft in the 1990s, said the Alliance includes the Internet Archive.

The Internet Archive is a San Francisco non-profit which maintains a digital library of websites and also has its own book scanning project.

Microsoft and Yahoo! confirmed to the Times they were participants in the Alliance but Amazon refused to comment.Microsoft, which entered into a 10-year Web search partnership with Yahoo! last month that set the stage for a joint offensive against Google, also had a project to create a vast digital library but shut it down in May of last year.

Online retail giant Amazon is a major player in the electronic book sector through its popular e-reader, the Kindle. Peter Brantley, a director of the Internet Archive, said the Special Libraries Association, the New York Library Association and the American Society of Journalists and Authors were planning to join the Alliance. He told The Wall Street Journal its membership would be formally disclosed in the next couple of weeks.

Brantley said members of the coalition all see problems with the settlement and are pushing for revisions, but not all necessarily want to see it blocked.

The Google Book Search project has also come under fire from groups worried about privacy.

The American Civil Liberties Union, the Electronic Frontier Foundation and the Samuelson Law, Technology and Public Policy Clinic of the University of California at Berkeley recently wrote to Google chief executive Eric Schmidt expressing concerns about privacy aspects of the deal.

"Given the long and troubling history of government and third party efforts to compel libraries and booksellers to turn over records about readers, it is essential that Google Books incorporate strong privacy protections in both the architecture and policies of Google Book Search,'' they said.

Google has defended the settlement by saying it will make millions of books, including many out-of-print books, available to readers around the world.

"The real victors are all the readers,'' Google co-founder Sergey Brin said when the settlement was announced. "The tremendous wealth of knowledge that lies within the books of the world will now be at their fingertip

     ด้วยความเคารพ

สมศรี เต็มอนุภาพกุล  (ผอ.081-7556338)

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    พวกเราต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างมากที่ให้ทั้งโอกาส ความรู้ ความเมตตาและให้ใจพวกเราอย่างมากมาย พวกเราจะพยายาม ตั้งใจ และทำตามวัตถุประสงค์ที่จะช่วยกันพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยต่อไปนะครับ

ด้วยความเคารพ

Ph.D.3 SSRU

Image024

Image026

Image021

Image025

Image022

 

 

เรียนเพื่อน ๆ ทุกท่าน

     ผมต้องขอขอบพระคุณเพื่อน ๆ Ph.D.3 SSRU ทุก ๆ ท่านนะครับ ที่ให้กำลังใจและส่งตัวแทนมาร่วมงานศพของคุณแม่ของผมที่ได้เสียชีวิตวันที่ 29/8/52 และภาพในงานวันที่ 30/8/52

ขอบคุณมากครับ

ธนพล ก่อฐานะ

Image034

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

หนูขอวิเคราะห์ ประเทศไทย เปรียบเทียบ ประเทศฟิลิปปินส์ (ต่อจากความคิดเห็นที่ 34 ค่ะ)

วิเคราะห์ประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์

1. Political

- การเมืองประเทศไทยยังไม่สงบ มีการประท้วงและแบ่งเป็น 2-3 กลุ่ม

- นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ยังมองประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม มีการคอรัปชั่นสูง สถิติในปี 2008 พบว่า อยู่ในอันดับ 80 ของโลก จาก 180 ประเทศ

2. Economic

- ระบบเศรษฐกิจของไทยยังพึ่งพิงตลาดส่งออกและต่างประเทศ เป็นเพียงประเทศผู้รับจ้างทำของเท่านั้น

3. Social

- ประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีเอกลักษณ์ ศิลปะของชาติ อย่างสวยงาม

- คนไทยมีความอ่อนแอทางด้านวัฒนธรรม ชอบเลียนแบบ เช่น เลียนแบบดารา เป็นต้น

- สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำกันสูงมากระหว่างคนรวยและคนจน

- เด็กไทยอ่อนวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เมื่อเทียบกับประเทศในแถบอาเซียน ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ

4. Technology

- กลยุทธ์การพัฒนาของ IT 2010 นั้นได้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e- Government)
มีเป้าหมายในการนำ ICT มาพัฒนาและปรับปรุงระบบงานบริหารที่สำคัญทุกประเภทของส่วนงานของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใน พ.ศ. 2547 และพัมนาบริการที่ให้แก่สาธารณชนให้ได้ครบทุกขั้นตอนใน พ.ศ. 2553
ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาเป็นการปฎิรูปงานวางแผนและงบประมาณ การจัดองค์กรพัฒนาบุคคลากรของรัฐ การพัฒนาการบริหารและการให้บริการโดยรวม โดยมุ่งให้เกิดความกระทัดรัด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้ ICT ควบคู่กับการปรับขั้นตอนและกระบวนการทำงาน

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e- Commerce)
มีเป้าหมายมุ่งสร้างประโยชน์โดยรวมในกิจการพาณิชย์ของประเทศ ทั้งในความสามารถในการแข่งขันของคนไทย และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจส่งออก การค้าและบริการตลอดจนการบริโภคของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นการปฎิรูปการพาณิชย์ของประเทศให้มีโอกาสในตลาดต่างประเทศดีขึ้น มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และงานเกี่ยวเนื่อง รวมถึงการจัดให้มีการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความปลอดภัยสูง มีการสร้างระบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมให้เป็นกำลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจใหม่ ทั้งนี้รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทุกประเภทและระดับ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เจริญเติบโตเป็นธุรกิจเสรีรองรับการพัฒนาการพาณิชย์ให้เจริญมั่นคงต่อไป

3.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e- Industry)
มีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาการใช้และการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศของภาคเอกชน เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ความรู้เป็นทรัพยากรสำคัญ ในพ.ศ. 2553
ยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นการนำ ICT โดยเฉพาะรวมอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาข้อมูลของศูนย์การตลาด และตลาดกลางสินค้าอุตสาหกรรม และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วไปให้ใช้ ICT รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT เองโดยเฉพาะซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์ นำ ICT มาสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรให้เป็นกำลังสำคัญที่เข็มแข็งของเศรษฐกิจไทยในยุคใหม่ นอกจากนั้น ให้มีการสร้างเสริมการประสานความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อใช้ ICT ให้เป็นประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการสร้างสรรค์ให้บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมมีทักษะด้าน ICT เพิ่มขึ้นด้วย

4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e- Education)
มีเป้าหมายในการสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมดของประเทศ เพื่อช่วยกันพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นการเน้นหนักในการจัดหา จัดสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและการเรียนรู้ รวมถึงวิชาการ ความรู้ สามารถสนเทศต่าง ๆ และผู้สอน อันจะมีส่วนในการจัดการ และการบริหารการศึกษาและการฝึกอบรมทั้งวิชาการและทักษะ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพความรู้ของทัรพยากรมนุษย์ของไทยให้เป็นประชากร กำลังคน และกำลังแรงงานที่มีคุณภาพและสมบูรณ์ด้วยภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศที่พัฒนาไปแล้วได้โดยเร็ว
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น จะต้องลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเรียนรู้ของประชากรไทย อันสืบเนื่องมาจากสถานภาพของสถาบันการศึกษา หลักสูตรวิชาการ ภูมิประเทศ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความรู้ความและสารสนเทศลงให้มากที่สุด ผลลัพธ์คือการยกระดับภูมิปัญญาและคุณภาพกับปริมาณของความรู้ของประชากรไทยโดยทั่วไปให้สูงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้เป็นขุมพลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืนและยาวนานสืบไปในอนาคต

5. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e - Society)
มีเป้าหมายที่จะลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอันเป็นผลเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ซึ่งหมายถึงการพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปดีขึ้นและใกล้เคียงกันให้มากที่สุดโดยลำดับ เพื่อก่อให้เกิดเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ใช้เป็นการพัฒนาองค์ประกอบที่สำคัญ และจำเป็นที่จะสร้างให้สังคมไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่ดีงาม มีความสมบูรณ์และเพียงพอ มีคุณธรรมอันดีงามของศาสนาแทรกซึมอยู่ในใจของประชากรทุกหมู่คณะแม้จะใช้ ICT และเทคโนโลยีเชิงวัตถุเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก็ตาม ในการนี้จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาระสนเทศที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะตามความหมายของรัฐธรรมนูญแต่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 78 เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สถาบันความรู้มีความสามารถในการสนับสนุนการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ทำให้เกิดการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สามารถการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า และรู้เท่าทันถึงประโยชน์และโทษ หรือภัยจากการใช้ ICT

วิเคราะห์ประเทศ ฟิลิปปินส์

1. Political

- ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง & ภัยก่อการร้าย -รัฐบาลประธานาธิบดี กลอเรีย อาร์โรโย เผชิญกับปัญหาความชอบธรรมทางกฎหมายและธรรมาภิบาลที่ดี เป็นปัจจัยภายในกดดันต่อความมั่นคงของรัฐบาลและความสงบทางการเมือง ความไม่มั่นคงทางการเมืองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนในฟิลิปปินส์ที่อาจส่งผลต่อเนื่องมาถึงปี 2550 ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดีกลอเรีย อาโรโย จะต้องเผชิญกับศึกการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม 2550 นอกจากนี้ เสถียรภาพของรัฐบาลถูกบั่นทอนจากภัยก่อการร้าย ซึ่งฟิลิปปินส์ประสบปัญหาความไม่สงบจากกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนตั้งแต่ปี 2511 และปัญหานี้ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นหลังสหรัฐฯ ใช้กำลังทางทหารกับอิรัก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญกดดันให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่

- ประเทศฟิลิปปินส์กำลังเผชิญกับปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเมืองเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่มีการเมืองประชาธิปไตยในระบบตัวแทน (Representative Democracy) ที่เมื่อฝ่ายได้รับการเลือกตั้งแล้ว ไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ ไม่สามารถประนีประนอม แต่มีปัญหาด้านการสร้างและแสวงโอกาสทางธุรกิจให้กับพวกพ้อง

2. Economic

- ความล่าช้าของการดำเนินงานภาครัฐในฟิลิปปินส์ เช่น ขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจที่ต้องใช้เวลา 48 วัน และการทำสัญญาทางธุรกิจที่ใช้เวลาถึง 600 วัน ส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจในฟิลิปปินส์สูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนในฟิลิปปินส์ รวมทั้ง บั่นทอนบรรยากาศทางการลงทุนและขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ

- ปัญหาความยากจน -ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) รายงานว่า ประชากรฟิลิปปินส์ราว 44% ของจำนวนประชากรฟิลิปปินส์ทั้งหมดมีเงินใช้น้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน ทางการฟิลิปปินส์จึงควรยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มบริการทางการศึกษา สาธารณสุข และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเร่งพัฒนาชนบทและภาคเกษตร เนื่องจากคนยากจนส่วนใหญ่เป็นคนชนบทที่ไม่มีความรู้/การศึกษา การพัฒนาภาคเกษตรจึงเป็นการสนับสนุนการสร้างงานและรายได้ให้แก่แรงงานในชนบท
หากเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ รายได้ต่อหัวของคนฟิลิปปินส์อยู่ในลำดับท้ายสุด โดยประเทศอาเซียนที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุด ได้แก่ สิงคโปร์ โดยชาวสิงคโปร์มีรายได้ต่อหัว 26,836 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี รองลงมา ได้แก่ บรูไนฯ (25,754 ดอลลาร์สหรัฐฯ) มาเลเซีย (5,042 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ไทย (2,659 ดอลลาร์สหรัฐฯ) อินโดนีเซีย (1,283 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และฟิลิปปินส์ (1,168 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามลำดับ ทั้งนี้ รายได้ต่อหัวของคนฟิลิปปินส์อยู่ในลำดับที่ 120 ของโลก จากทั้งหมด 182 ประเทศ

3. Social

- ความแตกต่างทางด้านการศึกษาและสังคม ซึ่งประชากรจะมีความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยีและความสามารถในการหาได้เกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาและเทคโนโลยี เช่นเดียวกับปัญหาความยากจน และการขาดแคลนเงินทุน ความรู้และระดับการศึกษาต่ำ

4. Technology

ข้อมูลจาก UNDP, Human Development Report 2007/08 พบว่า ในปี พ.ศ.2548 (2005) มีผู้ใช้สื่อ ICT โดยจำแนกเป็น 

 - โทรศัพท์                                 41 คน ต่อ 1000 คน

- โทรศัพท์เคลื่อนที่                419 คน ต่อ 1000 คน

- อินเทอร์เน็ต                           54 คน ต่อ 1000 คน   

รัฐบาลของประเทศฟิลิปปินส์วางแผนประเทศเพื่อที่จะเป็น "E-service Hub of Asia" โดยการดึงดูดบริษัทขนาดใหญ่เพื่อลงทุนในประเทศขณะที่มีโครงการมากมายในขอบเขตของ แอนิเมชัน  การดำเนินการแบบ call center และ การพัฒนาซอฟแวร์  และจัดตั้งกองทุนสำหรับการสร้างวิศวกรทาง ICT การสร้างแรงงานที่มีทักษะทาง ICT และ การอบรมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของทรัพยากรบุคคล 

โดยสรุป การวิเคราะห์ ประเทศไทยและประเทศฟลิปปินส์ มีปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่เป็นปัญหาคล้าย ๆ กัน เช่น ปัญหาทางด้านสังคมและการศึกษา ปัญหาทางด้านการเมืองที่ไม่เป็นเอกภาพ ปัญหาความมั่นคงภายใน ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ปัญหาทางด้านความยากจน เป็นต้น ซึ่ง สิ่งที่เป็นจุดแข็งของไทย คือ เรามีผู้นำที่ทุกคนให้ความเคารพ และเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ประชาชนมีจุดรวมใจที่ดี ซึ่งจะทำให้เราฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ ได้แน่นอน ถึงแม้จะใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา

ขอบพระคุณค่ะ

ladda pinta 

 

เรียน ท่านอาจารย์ค่ะ

นักศึกษาที่ได้รับการสัมมนาฯ ได้แสดงร่วมความคิดเห็นดังนี้ค่ะ

นางสาวทัศนีย์ เมืองคำ

จากการที่ท่าน ศ.ดร. จีระ ได้มาพูดในวันนี้นั้น ได้ประโยชน์ทั้งในเรื่องของความรู้ของท่าน ที่ท่านได้ถ่ายทอดให้นักศึกษาอย่างเราฟัง ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีต่าง ๆ กระบวนการในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ โอกาสของคนเราในการที่จะพัฒนาตัวเอง เพื่อที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคนหนึ่งในการทำงาน ของเรา ทำให้ได้เห็นถึงความคิดของแต่ละคนในการที่จะทำอะไร หรือพัฒนาศักยภาพที่เรามีอยู่ให้นำไปปฏิบัติในการทำงานได้จริง ทำให้ดิฉันรู้สึกเกิดแรงจูงใจในการที่เราจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่กลัว กล้าที่จะลุกขึ้นมาปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นทักษะความสามารถของเราที่มีอยู่ หรือการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถสร้างและทำให้เรามีโอกาสเทียบเท่า กับคนอื่น หรือมากกว่าคนอื่น และในการรับฟังครั้งนี้ยังได้เห็นถึงพลังในการทำงานของท่าน ในการที่จะทำให้นักศึกษานั้นมีการเพิ่มพูนความรู้ ทั้งในด้านทฤษฎี และปฏิบัติ

นางสาวเพ็ญประดับ สุวรรณ

จากการได้เข้าร่วมสัมมนา โดย ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารมถ์ ท่านได้เป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์ให้แก่นักศึกษา ซึ่งวิธีการสอนของท่านไม่เหมือนใคร มีแนวคิดที่เป็นของตัวเองและเป็นวิธีคิดที่ถูกต้อง สามารถสอนให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองใด้ดีขึ้น ท่านช่วยกระตุ้นให้เรามีกำลังใจที่จะเปลี่ยนตัวเอง มองโลกให้กว้างขึ้น ทำให้เรามีแรงบันดาลใจทำให้สิ่งที่ฝันไว้ ทำให้เรากลับมาค้นหาและมองตัวเองว่าเราอยากทำอะไร อยากที่จะเป็นอะไร แล้วทำอย่างไรถึงจะไปสู่จุดมุ่งหมาย โดยที่เริ่มจากการเปลี่ยนตัวเองก่อน เตรียมใจที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลง ...ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตใน โลกกว้าง โลกของการทำงาน โลกของยุคโลกาภิวัฒน์

น.ส.อรพรรณ บุญศรี [IP: 112.142.236.217]

จากการที่ได้เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อเรื่อง "การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์" โดยท่าน ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารมภ์ ในวันนี้ ดินฉันได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมตัวออกไปสู่ตลาดแรง งาน ในยุคโลกาพิวัฒน์

โดยท่าน ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารภ์ ได้พูดถึงการปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาพิวัฒน์โดยเริ่มจากตัวเราโดยการมองตัว เองให้ออกว่าเรากำลังทำอะไรทำสิ่งใหนอยู่และให้รู้ว่าเราควรทำอะไร จะทำงานในด้านใหน เราจะเป็นนายคนหรือว่า เราจะไปเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของคนอื่น เราต้องสำรวจตัวเองว่าเรามีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้าง โดยการใช้เครื่องมือทุน 8K's คือ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทางความรู้และทักษาและทัศนะคิต เครื่องมือในการสำรวจตัวเองอีกตัวก็คือ 5K's ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนแห่งความรู้ ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม หากเราปฏิบัตได้ตามนี้เราเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่า และท่านยังปลุกจิตสำนึกของเราให้เรา จากการที่เป็นคนรอโอกาส รอ อย่างเดียว แต่ตอนนี้เราต้องเดินเข้าไปหาโอกาส ท่านทำให้เราลุกขึ้นมาต่อสู้ในโลกแห่งความเป็นจริง ทำให้เรากล้าแสดงออก กล้าปรับปรุงในสิ่งที่ตัวเราเป็น กล้าทำในสิ่งที่ไม่มีใครทำ กล้าคิดในสิ่งที่ใครเขายังคิดไม่ออก กล้าแสดงออกในสิ่งที่ตัวเองรู้ เพราะว่าคนเรามีข้อเสียก็คือการไม่กล้าแสดงออก กลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิด ท่านทำให้เราทะลุออกจากกรอบ และท่านยังชี้ให้เห็นว่า การศึกษาไม่ใด้จำเป็นต้องอยู่ห้องเรียนเท่านั้น เรายังสามารถศึกษาสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา จากการใช้ชีวิตประจำวันและโลกภายนอก

ขอบพระคุณค่ะ

ladda pinta

ความคิดเห็นของนักศึกษาค่ะ

นางสาวสุภาพร แก้วดวง

บทความของท่านดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ในครั้งนี้เป็นการกล่าวถึงเรืองทุนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม อันดับแรกท่านได้กล่าวถึงบุคคล สองท่านที่ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งคู่ ส่วนประเด็นหลักที่ท่านได้กล่าวถึงเรื่องแรกคือ การวิเคราะห์ข่าวของสื่อไทย ว่าอย่าได้ฟันธงตั้งตนตัดสินเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่น การประเมินศักยภาพของท่านนายกฯไม่ควรตำ่เกินไป เพราะประสบการณ์จะทำให้คนแกร่งขึ้นมาได้และเมื่อถึงเวลานั้น บุคคลนั้นจะสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ฉะนั้นสื่อไม่ควรประโคมข่าวอีกอย่างคือ กระเล่นเนื้อข่าวเรื่องเสื้อแดงดิฉันเห็นด้วยว่าหากสื่อหยุด บ้านเมืองจะสงบสุขได้บ้างไม่มากก้น้อย ประเด็นที่สองคือ การที่ท่านดร.จีระ ได้เดินทางไปปฎิบัติงาน ณ ประเทศอินเดียเพื่อดำเนินงานและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พบว่าปรเทศอินเดียที่กว้างใหญ่ไพรศาลแต่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทยเรา ท่านได้รับเกียติ์จากนายกรัฐมนตรีของMizaram ได้มีการตกลงทำโครงการร่วมกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย โดยท่านได้เปรียบว่า คือความสำเร็จของการทำการทูตภาคประชาชน ที่จับต้องได้ ท่านดร.จีระคือผู้ที่รู้และเข้าใจในความจริง ทำได้จริง ไท่านไม่ใช่นักวิชาการที่การสร้างทฤษฏีเหนือเมฆแต่นำมาประยุกต์ใช้ไม่ได้เลย ขอบคุณสำหรับโอกาสดีที่อาจารย์ลัดดามอบให้พวกเราค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ladda pinta

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

งาน วันที่ 28-29 สิงหาคม 2552

Constructionism เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ประสบการณ์ใหม่ / ความรู้ใหม่
+

ประสบการณ์เดิม / ความรู้เดิม
=
องค์ความรู้ใหม่บุคคล

ชีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) ได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน

สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ

สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น

การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง  ได้มีส่วนร่วมในการสร้างที่มีความหมายกับตนเอง ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงผสมผสานความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้ที่มีอยู่เดิมและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา การลงมือทำด้วยตนเองโดยการได้ทำสิ่งที่ตนเองชอบหรือสนใจ ซึ่งในขณะที่ทำสิ่งที่ตนเองสนใจหรือชอบก็จะได้ความรู้จากกระบวนการที่ทำไปพร้อมๆกัน

ตามความคิดของหนูโดยสรุป แนวคิด Constructionism  เป็นทฤษฎี ที่เกิดจากการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยการลงมือทำด้วยตนเอง (Learning by doing)  ซึ่งไม่ได้จากการสะสมประสบการณ์ของครูเพียงอย่างเดียว และครูต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการสอนแต่ละครั้ง เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ  การนำเอาแนวคิด Constructionism มาใช้นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ Technology เป็นเครื่องมืออย่างเดียว สามารถนำเอากระบวนการ เช่น เกมส์ หรือ เครื่องมืออื่นมาใช้ได้

ขอบพระคุณค่ะ

ladda pinta ssru 3

 

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ
การบ้าน เชียงใหม่


Constructionism หรือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานเป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการพัฒนาทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget ) เช่นเดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ ( Constructionvism ) ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท ( Seymour Papert ) แห่งสถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตส์ ( Massachusetts Institute of Technology ) เพเพอร์ทได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในวงการศึกษา
แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างสรรค์พลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผุ้เรียนมีโอกาสในการสร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสรรค์สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลกก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่ายและจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
Constructionism จะมีเอกลักษณ์ทางด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างผลงานด้วยตนเอง ลักษณะโปรแกรม เป็นการสร้างรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี เกม ฯลฯ และได้พัฒนา LEGO TC Logo ซึ่งเชื่อมโยงภาษาโลโก้กับเลโก้ ซึ่งเป็นของเล่นที่มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนที่สามารถนำมาต่อกันเป็นรูปต่างๆ ได้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนสามารถควบคุมเลโก้ของเล่นในคอมพิวเตอร์ให้เคลื่อนไหว เดิน ฉายแสง หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆได้ตามความต้องการ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยตนเองไปพร้อมๆ กับการฝึกคิด การฝึกแก้ปัญหาและฝึกความอดทน นอกจากนั้นผู้เรียนยังเรียนรู้การบูรณาการความรู้ในหลายๆด้าน ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากนั้นเพเพอร์ทและคณะยังได้พัฒนาโปรแกรม micro - world , robot design รวมทั้งสถานการณ์จำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ขึ้นใช้ในการสอนอีกมากมาย เขากล่าวว่า ผู้เรียนที่ยังไม่มีสื่อดังกล่าวใช้ ก็สามารถใช้สื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะก็สามารถสร้างความรู้ได้ดีเช่นกัน วัสดุศิลปะคือ กระดาษ การดาษแข็ง ดินเหนียว ไม้ โลหะพลาสติก สบู่และของเหลือใช้อื่น ๆ
ปัจจัยอีกประการหนึ่งคือบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ซึ่งเพเพอร์ที่ให้ความสำคัญมาก มีส่วนประกอบ 3 ประการ และสอดคล้องกับ 4 L's ของศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ
1. เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย
2. เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้
3. เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร ความเป็นกันเอง
บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่นำแนวคิดนี้มาใช้คือ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวาณิช ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยท่านให้ชื่อทฤษฎีนี้ไว้หลายชื่อ เช่น คิดเอง - ทำเอง , คิดเอง - สร้างเอง และทำไป-เรียนไป หลังจากนั้นก็ยังมีสถานศึกษาและนักวิชาการหลายท่านนำมาใช้ ปรากฎว่าได้ผลเป็นที่น่าสนใจมาก


ด้วยความเคารพ
จิราพร สวัสดิรักษ์ 087-066-2359

 

 

เรียน ท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

       วันนี้คุยความสัมพันธ์ + ความเชื่อมโยง ของ 3 เรื่อง Happiness + Passion + Leadship พร้อมกับขอยกตัวอย่างของ แม่ชีเทเรซา(Teresa ) + มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi ) ดังนี้

       1. Happiness  ในที่นี้ ขอพูดถึง  Happiness Capital ของ ศ. ดร. จีระ ท่านได้พูดไว้หลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ ที่ คนที่เป็น ลูกศิษย์ จะทราบเป็นอย่างดีว่าเมื่อมนุษย์มี >>>> ทุนทางความรู้(Knowledge Capital)+ มีทุนทางปัญญา(Intellectual Capital) + ทุนทางจริยธรรม(Ethical Capital) ààแล้ว >>>> ย่อมมีความสุข( Happiness )กับทกสถานการณ์  มนุษย์ทุกคนล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้ว มีความสุข >>>> ทั้งสุขกายและสุขใจ  และการจะทำงานอย่างมีความสุขได้นั้น ท่าน ศ.ดร. จีระได้เขียนไว้ 12 ข้อไปหาอ่านได้นะคะ

2. Passion เป็นมากกว่ารัก & เป็นความรัก ความชอบ ในสิ่งที่ลงมือทำ & ทัศนคติ (Attitude )  เป็นสิ่งจูงใจ(M0tivation ) ให้ลูกน้อง + ตนเอง  >>>> ยากทำ ทำออกมาจาก ข้างใน มีความพึงพอใจที่ยากจะทำ  >>>> ทำแล้วมี >>>> ความสุข (Happiness )   >>>> เป็นสิ่งที่ ผู้นำที่ดีต้องทำ จากการวิจัย ของผู้เขียนหนังสือ พบว่าผู้นำในองค์กรที่ดี สามารค้นหาหรือระบุออกมาได้  >>>>ตามหนังสือ The Purpose Linking และรายละเอียดแต่ละข้อนะคะ

3. ดังนั้น ผู้นำ(Leadship) ต้องคำนึกถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วย จึงจะทำให้เกิอประโยชน์สูงสุดทั้ง ตนเองและลูกน้องรวมถึงผู้อื่น นอกจากนั้นผู้นำที่ดียังมีคุณสมบัติอีกมากมาย มีหน้าที่ เป็นทั้งผู้นำและผู้จัดการที่ดี  เป็นผู้นำการเปลี่ยน(Change) ในโลกยุค Globalization 

ขอยกตัวอย่างของมาเธอร์  เทเรซา  (Mother  Teresa) แม่พระของผู้ยากไร้ เป็นผู้นำสตรีทางศาสนาที่ยึดมั่นอุทิศตนเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และสีผิว ภายใต้ศรัทธาที่มั่นคงต่อการรับใช้พระเจ้า  เป็นชาวอัลบาเนีย เติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะดี และสุขสบาย  แต่เธอได้ตัดสินใจที่จะเป็นซิสเตอร์ และเดินทางไปประเทศไอร์แลนด์ เพื่อเข้าอารามซิสเตอร์แห่ง Loreto หลังจากนั้น อักแนสได้รับชื่อใหม่ว่าเทเรซาตามชื่อของนักบุญเทเรซาแห่งลีซิเออ ซิสเตอร์ชาวสเปน  แม่ชีเทเรซา ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี พ.ศ.2522 ซึ่งแม่ซีเทเรซาเองได้รับรางวัล ในนามของคนยากจนทั้งหลาย และได้ใช้เงินทุกบาทที่ได้มาเพื่อกิจการในศูนย์ของเธอ  เธอได้อุทิศตัวเองเพื่อช่วยเหลือคนยากจน คนป่วย และคนที่กำลังจะตาย ทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินเดีย แม่ชี เทเรซา มีเป้าหมายชีวิตที่มุ่งรับใช้พระเจ้าด้วยการช่วยเหลือสงเคราะห์ ประชาชนชาวอินเดียผู้ยากไร้ขาดแคลน เกือบทุกสิ่งในชีวิต เป้าหมายชีวิตของท่าน ได้เริ่มรับการสนองตอบจากการเป็นครูมัธยมในโรงเรียนและพัฒนาไปสู่มิชชันนารีที่ช่วยเหลือผู้คนในแหล่งสลัม  ความเป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด อย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้ แม่ชี เทเรซาสามารถวางเป้าหมายชีวิตที่เป็นอุดมคติ และสามารถค้นคิดวิธีการที่จะนำพาเส้นชีวิต    แม้กับบุคคลที่ใกล้จะสิ้นใจอยู่ข้างถนนของนครกัลกัตตาแม่ชี เทเรซาก็ยังประสงค์จะช่วยให้ผู้คนเหล่านี้ได้รับน้ำใจไออุ่นจากการดูแลเอาใจใส่ของกลุ่มมิชชันนารี แม้จะเป็นชั่วโมงสุดท้ายของชีวิตก่อนสิ้นใจก็ตาม น้ำใจ ความเป็นผู้ให้ ที่ไร้พรหมแดน ของแม่ชี  เทเรซาทำให้ชาวโลกยกย่องท่านเป็นนักบุญผู้อุทิศตนเพื่อมวลมนุษยชาติ

            เป็นตัวอย่างของผู้ที่มี Happiness + Passion + Leadship  นำมาเล่าให้เพื่อน ๆSSRU หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างนะคะ

บรรยากาศที่ เชียงใหม่

ทุกคน มีความสุขม๊ากมาก นะคะ ขอขอบคุณ ท่าน ศ.ดร. จีระ ที่เสียสละเวลา ความสุขส่วนตัว  ด้านเวลาที่จะต้องไปทำหน้าที่ แต่ท่านกับทำให้พวกเราชาว SSRU ท่านคือ ผู้นำที่แท้จริง   

หนูสมศรี  นวรัตน์  ขอกราบขอบพระคุณท่านยิ่ง

ขอขอบคุณ อจ. หลาน อย่างสูงสุด ที่เกิดภาพความสุข ถาพ ความสำเร็จ ภาพความทรงจำที่ดี ๆๆ

สิ่งแวดล้อมใหม่------>สร้างความสุข------>เกิดการเรียนรู้ +ความสุข------->สร้างความรู้ใหม่ + สถานที่ใหม่ + เพื่อนใหม่(Conetion)นำไปสู่------->Inovation

ขอให้ อจ.นก จบ Ph.D ด้วยความภาคถูมิใจ เพราะท่านคือ ลูกศิษย์ ท่าน ศ.ดร.จีระ

ขอมอบ  Innovative + Creative ให้---->มวลประชา ให้สบสิ่งหวัง ให้สมตั้งใจ ---->เหมือนดอกไม้ที่กำลังผลิด  ออกดอก สดสวย --->มีกำลังกาย + กำลังใจ --->เพื่อพัฒนาประเทศ องค์กร + สังคม + ชุมชน + ครอบครัว +  ตัวเรา +  พบแต่สิ่งที่ดี เพราะ ความดี ความงาม มีคุณธรรม จริยธรรม เท่านั้นที่จะทำให้---->เกิดความยังยืน(Sustainablility)

สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด เพชรบุรี Tel.081-9435033

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่ได้สละเวลาไปร่วมงานศพของคุณแม่ของผม และครอบครัวของผมรู้ศึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านอาจารย์ได้ไปร่วมงาน

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ธนพล ก่อฐานะและครอบครัว

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

                หนูสมศรี วันนี้หนูจะพูดคุยกับเพื่อน ๆ เรื่องขาก หนังสือ The Purpose Linked Organization  ผู้เขียน 2 ท่าน Alaina Love และ Marc Cugnon ในหนังสือ เล่มนี้ได้อธิบายว่า ผู้นำที่มี Passionate  และมี Inspire Teams จะสามารถทำให้เกิด Great Result ซึ่ง Ph.D ควรได้อ่าน เพราะผู้นำในองค์กร >>>>> ทุกระดับ >>> ต้องสื่อสาร Purpose ให้คนในองค์กร ได้รับรู้ รับทราบ  และผู้นำต้อง มี Passion in to a Practical Process เพื่อให้องค์กรเติบโต และพนักงาน ทุก ๆ คน มี Passion ต่องานมาก ๆ โดยผู้นำต้อง เข้าใจเรื่อง Passion อย่างแท้จริงก่อน >>>>> จึงจะทำให้ เกิด Great Result ได้จริง ๆ นั้นก็คือ บุคลกร/พนักงาน ทุกคนในองค์กรต้อง เข้าใจ Purpose ของ Organization ก่อน ผ่าน Leader และผู้นำต้องทำให้ บุคลากร/พนักงาน สร้าง Creative / Idea จึงจะเกิด >>>>> Human Capital หนูคิดว่า ทั้งหมด มีใน ทฤษฎี 8 K’s + 5K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม โดยเฉพาะ motivation & Competency  ทฤษฎีของศ.ดร.จีระ (สำคัญจริง ๆ ต่อ คนเพราะเมื่อคนที่ไร >>>> เกิดความยุ่งเหยิงทุกทีไปนะคะ เพราะเขาขาดEthical Capital)

            ในหนังสือเล่มนี้ เขาเขียน 3 Part

Part 1 เขาได้พูดถึงความสำคัญของ Purpose และ Passion (Matter) และ Passion Profile ซึ่งสำคัญ ทำให้เราเห็นภาพ Macro และ Linking มองภาพใหญ่ออก

Part 2 พูดถึง Passion Profile ซึ่งสำคัญมากกว่า Part 1 มาก จะมีรายละเอียดลึกซึ่งมาก มี 10 เรื่องที่สำคัญที่ผู้นำที่มีภาวะผู้นำต้องเอาไปนำ(Leadership)ให้ได้ >>>>> แล้ว องค์กร จะเกิด Great Result เนื่องจาก Leadership ได้ Linking สิ่งสำคัญ คือ Purpose ของ Organize ให้ ทุก ๆคนเกิด >>>>> Passion ที่เป็นจริง (Reality) เกิดตามทฤษฎี 2’R คือ Reality คือมองคนและมอง องค์กรความเป็นจริง ขององค์กรของเรา และ Relevance มอง คนและมอง องค์กร ให้ตรงประเด็น / ปัญหา และแก้ไขให้ ตรง&เข้ากับสถานการณ์ ใน10 เรื่องนี้ Ph.D ต้องอ่านให้เข้าใจ และ ยกตัวอย่างให้เป็น รูปธรรมจึงขอยกตัวอย่าง เรื่องที่ 1 Builder(ผู้สร้าง)Leadershipที่ดีจะมีงานสำคัญ ๆที่เป็นที่รู้ ๆอยู่แล้วว่า ต้องสร้าง Skill & Talents & Knowledge ให้เกิดกับบุคลากรในองค์กร ขณะเดียวกันผู้นำต้อง มองหาให้เห็นโอกาส สร้าง Vision ให้เป็นจริง(Real) นำภาพฝันมาสร้างเป็น Mission และให้เป็น Action Plan ให้ได้ และต่อมาต้อง Evaluation เพื่อหาข้อขัดข้อง เพื่อนำไปปรับปรุง Action ต่อไป (เช่น โครงการไปเชียงใหม่ มีปัญหา&อุปสรรค อะไรบ้าง  >>>>> เพื่อ ไม่ให้ โครงการไป Stamford + หัวหิน + ท่ายาง +บ้านลาด) เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก

นอกจากนั้น Leadership ต้องรู้ว่า

-          จะนำเอา Passion มาทำให้เกิดได้อย่างไร?

-          สร้าง Goal Mission Project

-          การวางแผนเป็นเครื่องมือ ที่มีคุณค่า(Value) มากมาย >>> ต้องมี Planning

-          Leadership ต้องไม่กล่าว / ไม่คิดว่า ทำไม่ได้

-          ต้องมีความมุ่งมั่น(Commitment) ความปรารถนาอย่างแรงกล้า = Passionate

-          ร่วมกับมี Conceiver (ผู้คิดค้น) + Connector(ผู้สร้างการประสานงาน) + Processor (ผู้ดำเนินการ) + Teacher (ผู้สอน= งาน+เงิน+ของ( 4M+2 T)

หนูสมศรี นวรัตน์ ขอ Share Knowledge แค่นี้ก่อนนะคะ ผิด/ถูกอย่างไร? ท่าน อาจารย์ ศ. ดร. จีระ ช่วยตอบ/ อธิบาย >>>>> ช่วยTeacher และช่วย Healing = ภาษาแพทย์เรียกว่า เยียวยา”  ให้หนูสมศรี นวรัตน์ ด้วยนะคะ  แต่ในหนังสือเล่มนี้ใช้ในบริบทว่า ผู้พิทักษ์รักษา แต่ที่ในหนังเล่มนี้ในความคิดของหนู มีในทฤษฎี 8 K’s + 5K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม โดยเฉพาะ motivation & Competency  + 4 E + 2 R ของ ศ. ดร. จีระ หมดแล้วจริง ๆๆคะหนูสมศรี นวรัตน์ ขอฟันธงคะ

นัก HRD ตัวจริง คือ ศ. ดร. จีระ

ประธานรุ่น ท่าน ธนพล นักวิเคาะห์ 2 R ตัวจริง

สมศรี นวรัตน์ เป็นUserตัวไม่จริง ไม่คอยจะอ่าหนังสือ (ไม่ขยัน = ขี้เกลียดตัวจริงรักและคิดถึงทุกๆท่านนะคะโดยเฉพาะ ศ.ดร.จีระ

Tel. 0819435033

นักเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่เข้าอบรมหลักสูตร Mind Mapping Workshop ในวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552

เรียน ผู้เข้ารับการอบรม Mind Mapping Workshop # 1875

ขณะนี้ท่านได้รับการอบรม Mind Mapping Workshop ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์แล้ว หากท่านไม่ทบทวน ความทรงจำของท่านจะหายไปกว่า 80% อย่าลืมพลิกกลับไปดูแบบฝึกหัดคิด พิชิต Mind Map และนึกถึงประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมา

สัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้าท่านได้เขียนเพียงวันละสามใบ ท่านก็จะมีทักษะในการเขียน Mind Map กว่า 20 ใบไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ท่านเขียนได้คล่องมือขึ้นและพร้อมที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคง

*** หากท่านไม่ได้เขียน Mind Map เลยสักใบในช่วงนี้ ทักษะในการเขียนของท่านก็จะคงที่ ไม่เพิ่มพูนตามวันเวลาที่ผ่านไป ลองเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัวก่อน เช่น รายการซื้อของ สิ่งที่ต้องทำในสัปดาห์ต่อไป ข่าวสารบ้านเมืองหรือในองค์กรของท่าน บันทึกงานที่ผ่านไปในวันนี้ เพื่อ Kai Zen ในวันพรุ่งนี้ ***

Buzan Centre (Thailand) ได้คัดเลือก Mind Map ที่น่าสนใจและนำมาประกาศเป็น Mind Map of the Month และได้นำลงตีพิมพ์ในวารสาร Go Training ตั้งแต่ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา

ขอเชิญส่ง Mind Map ที่ดีที่สุดของคุณ หรือที่คุณประสงค์จะแบ่งปันกับผู้อื่น มาตามที่อยู่ข้างล่างนี้ Buzan Centre มีรางวัลสมนาคุณเป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ขวัญข้าว '๙๔ มูลค่า 1,000 บาท

หจก.บูซานเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย)

176/381 หมู่บ้านรัตนาวลัยหลักสี่

แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210

หรือ scan ส่งมาที่ [email protected]

อย่าลืม "คู่หูเรียนรู้ Mind Map" ของคุณ

อย่าลืม สอน Mind Map ให้คนรอบข้างอย่างน้อย 1 คน ภายใน 1 สัปดาห์

เพื่อเตือนความทรงจำและความเข้าใจในการใช้มากขึ้น

สนใจอ่านเพิ่มเติมและดูตัวอย่างได้ที่ :

www.mindmap.in.th, www.tanyaph.com

http://www.oknation.net/blog/MindMap

http://mindmapthai.blogspot.com/

http://kwanrudeeph.blogspot.com/

หากมีคำถามและข้อสงสัย กรุณาส่งมาที่ :

อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ [email protected]

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

[email protected]

ด้วยมิตรภาพ

ขวัญฤดี-ธัญญา ผลอนันต์

ฝ่ายบริการหลังการอบรม รัญชนา กิจมโน (ผึ้ง)

ฝ่ายฝึกอบรม ลัดดาวัลย์ ชูช่วย (ใหม่), กิ่งผกา จันที (กิ่ง)

ฝ่ายสำนักพิมพ์ โรสรินทร์ อินใหญ่ (อ้อ), ฐิติมา ใจกระจ่าง (พู่)

หจก.บูซานเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย)

โทร. 02-981-0247, 02-981-1242

โทรสาร 02-981-0248

www.mindmap.in.th, www.tanyaph.com

http://www.oknation.net/blog/MindMap

http://mindmapthai.blogspot.com/

http://kwanrudeeph.blogspot.com/

-----------------------------------

งาน HRD Infinity

http://www.youtube.com/watch?v=wJvXfuUNYX0

http://www.youtube.com/watch?v=wgfmaEIb9j4&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=9E5KtT86VzM&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=V8Q5ArmkfLU&feature=related

ดูแล้วฝากแวะไป vote ที่ http://www.traininginfomedia.com/

-----------------------------------

ข่าวสำคัญปี 2552 : งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 14 (BookExpo Thailand 2009)

วันที่ 15-25 ตุลาคม 2552 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

-----------------------------------

ข่าวสำคัญปี 2552 : Thailand Open Memory Championships & Mind Map Festival

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2552 สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-981-0247, 02-981-1242

-----------------------------------

เรียน Ph.D ต้องมีปัญญา ไม่มีแต่ปริญญา ไม่เกิดประโยชน์กับ ตัวเรา ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศไทย

ท่าน Ph.D ฉัตรแก้ว ขอพรอะไร?นะ...???? (สมศรี/รณศรี อยากแอบรู้จังเลย????)

 

Ph.D นก(รัชศักดิ์/นก) แห่ง SSRU ทำโครง/ทำงานเก่งมากๆๆ นะคะ >>>> คราวหน้า อย่าลืมเขียน โครงการ ที่จะไป หัวหินนะคะ

Ph.Dท่าน ธนพล เข้มแข็งมาก ๆๆๆ ท่านเป็นห่วงท่าน ศ.ดร.จีระ มาก(เรื่อง น้ำมะพร้าว) กำซับ สมศรี/รณศรี>>>>.รับอย่างเข้มแข็งว่า "ครับผม"

ขอขอบคุณ Ph.D ลัดดา  นักๆๆนะ เจ้า (มาก ๆๆนะคะ) ที่ทำให้ บรรยากาศเกิด Learnning  Environment จริง ๆๆ มี Happiness จริง ๆ หญิงเก่ง+หญิงแกร่ง ของรุ่นเราจริง ๆๆๆๆ

ขอบพระคุณมากนะคะ

สมศรี นวรัตน์ Tel. 081-9435033

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

               

                วันนี้ขอ Share เรื่อง หลักการ 90/10 ของ Stephen Covey เพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้ากับพวกเรา (อาจจะปรับใช้กับเรื่องที่ท่านอาจารย์ได้แนะนำพวกเราบนรถขณะที่อยู่ที่เชียงใหม่ว่า ถ้ามีอยู่ 10 ของก็ขอให้ใช้ 3 หมายความว่า 70% ควบคุมและเก็บไว้ อีก 30% เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น)

 

                                            

โดย: สตีเฟน โควีย์ (Stephen Covey)

 

การค้นพบหลักการ 90/10

มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณให้ดีขึ้น
(
หรืออย่างน้อยที่สุด จะเปลี่ยนวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์บางอย่าง)

 

หลักการนี้คืออะไร ?

เป็นเรื่องง่ายๆคือ 10% ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ

ส่วนอีก 90% ที่เหลือนั้นคือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของคุณในการตอบสนองกริยานั้น

 

ประเด็นของเรื่องนี้คือ?

มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและอยู่เหนือความคาดหมายของเราเพียง 10% เท่านั้น

เช่น เราไม่สามารถห้ามรถยนต์ไม่ให้เสีย. เราไม่สามารถรู้ได้ว่า เครื่องบินจะมาช้ากว่ากำหนดจนทำให้กำหนดการเราคลาดเคลื่อนไป. เราไม่สามารถรู้ได้ว่าขณะที่เราขับรถถูกช่องจราจร จะมีรถคันอื่นขับปาดหน้า.

                เราไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ 10 % นี้ที่เกิดกับเราแต่อีก 90 % ที่เหลือนั้นเราสามารถกำหนดได้ทำอย่างไร? โดยการตอบสนองของคุณ

                คุณไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ.แต่คุณสามารถควบคุมปฏิกิริยาของคุณต่อเหตุการณ์เหล่านั้น.คุณสามารถเลือกวิธีการตอบสนองได้.ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้

                สมมติว่า ขณะที่กำลังกินข้าวเช้ากับครอบครัว. ลูกสาวของคุณทำกาแฟหกรดเสื้อของคุณ

                                 

 

   

เหตุการณ์นี้เป็นอุบัติเหตุที่ควบคุมไม่ได้. แต่สิ่งต่อไปที่จะเกิดขึ้นอยู่กับการกระทำต่อไปของคุณคุณอาจจะโกรธ. หลังจากนั้นก็ดุด่าว่ากล่าวลูกสาวคุณอย่างรุนแรง. จนกระทั่งลูกสาวคุณ ร้องไห้. หลังจากที่ดุลูกสาวเสร็จคุณก็หันไปต่อว่าภรรยาที่วางถ้วยกาแฟใกล้ขอบโต๊ะมากไปเหตุการณ์ต่อมาที่เกิด คือ มีการโต้เถียงกันระหว่างคุณกับภรรยาคุณเดินปึงปังขึ้นไปข้างบนห้องเพื่อเปลี่ยนเสื้อข้างบนเมื่อกลับลงมาข้างล่างลูกสาวคุณยังร้องไห้ไม่หยุดและยังไม่ได้กินอาหารเช้า จึงทำให้ไปรถโรงเรียนไม่ทัน

                ภรรยาก็ต้องรีบไปทำงานทันทีคุณจึงต้องรีบขับรถไปส่งลูกสาวที่โรงเรียนเนื่องจากคุณสาย คุณต้องขับรถเร็วกว่าที่กฏหมายกำหนด

                สิ่งที่ตามมาคือ คุณโดนตำรวจเรียก เพื่อจ่ายค่าปรับเมื่อรถถึงโรงเรียน ลูกสาวคุณก็ต้องรีบไปโรงเรียนโดยไม่ได้ร่ำลาส่วนตัวคุณเองก็ไปถึงที่ทำงานสาย 20 นาทีและยิ่งไปกว่านั้น คุณดันลืมเอากระเป๋าทำงานไว้ที่บ้านเป็นยังไงบ้าง

                วันนี้ทั้งวันดูเป็นวันที่เลวร้าย สถานการณ์มันแย่ลงเรื่อยๆ จนทำให้รู้สึกอยากกลับบ้านแต่เมื่อคุณกลับมาถึงบ้าน คุณรู้สึกได้ถึงความหมางเมินจากลูกสาวและภรรยาของคุณ

                                                 

ทำไม ? สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะการตอบสนองของคุณตอนเช้า. อะไรเป็นสาเหตุของวันที่เลวร้ายวันนี้?

) เป็นเพราะกาแฟหก

) เป็นเพราะลูกสาวคุณทำกาแฟหก?

) เป็นเพราะคุณโดนตำรวจจับ?

) เป็นเพราะตัวเองนั่นแหละ ที่เป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ทั้งหมด?

คำตอบคือข้อ  

                การที่กาแฟหก คุณไม่สามารถควบคุมได้.แต่ปฏิกิริยาภายใน 5 วินาที ที่คุณทำหลังจากกาแฟหกใส่คุณสามารถควบคุมได้

เหตุการณ์นี้ คือสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น

                กาแฟหกรดตัวคุณลูกสาวคุณร้องไห้คุณเข้าไปปลอบลูกสาวคุณไม่เป็นไรลูก ต่อไประวังมากกว่านี้แล้วกัน

                หลังจากนั้น คุณหยิบผ้าเช็ดตัว และเปลี่ยนเสื้อของคุณคุณหยิบกระเป๋าทำงาน และเมื่อคุณลงมาก็พบว่า ลูกสาวคุณกำลังขึ้นรถโรงเรียนเธอหันมาโบกมือให้ ตัวคุณเองถึงเวลาก่อนที่ทำงาน

5 นาที มีเวลาคุยเล่นกับเพื่อนร่วมงานอะไรที่แตกต่าง?

                ทั้ง 2 สถานการณ์.  เริ่มต้นเหมือนกันแต่จบไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิงเพราะอะไร?                                             เพราะการตอบสนองของคุณเองถึงแม้ว่าคุณควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 10% ของชีวิตคุณไม่ได้

แต่ 90 % ที่เหลือคุณควบคุมได้

                และนี่คือวิธีการประยุกต์ใช้ หลักการ 90/10 นี้. ถ้ามีใครกล่าวร้ายต่อคุณอย่าไปสนใจมัน

ให้ทำตัวเหมือนน้ำบนแผ่นแก้วอย่าให้คำว่าร้ายต่างๆมาทำร้ายคุณได้การตอบสนองที่เหมาะสมจะไม่ย้อนกลับมาทำร้ายคุณการตอบสนองที่ผิดพลาด เป็นสาเหตุให้คุณเสียเพื่อนถูกไล่ออก หรือเกิดความเครียดได้

                คุณทำตัวยังไงเมื่อโดนรถคันอื่นปาดหน้า?คุณอาจจะอารมณ์เสียจนกระทั่งทุบพวงมาลัย (เพื่อน เคยทุบจนพวงมาลัยหลุด) คุณอาจจะอารมณ์เสียจนกระทั่งความดันขึ้น บางคนอาจจะขับรถไปจี้ คันที่ทำให้คุณเกิดปัญหาจนคุณคิดไปว่า ไม่มีใครสนใจ หรอกว่า คุณจะไปสาย ประมาณ 10 นาที

   

 

                  นึกถึงหลักการ 90/10 อย่าไปสนใจรถคันนั้นคุณอาจถูกให้ออกจากงานเหตุการณ์นี้ทำให้ต้องเครียด และคิดมากมันไม่ควรเป็นเช่นนั้นเพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นจะดีกว่าไหมถ้าเอาเวลานั้นมาคิดหางานใหม่

                เครื่องบินมาช้ากว่าที่กำหนด ซึ่งส่งผลกระทบกับตารางงานของคุณทำไมคุณต้องไปหงุดหงิดกับพนักงานต้อนรับเค้าไม่สามารถ ควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้ใช้เวลานี้ ทำความรู้จักกับผู้โดยสารคนอื่นแทนที่จะมัวเคร่งเครียดซึ่งมีแต่ทำให้เหตุการณ์ต่างๆมันแย่ลง

ตอนนี้คุณรู้จัก หลักการ 90/10ปรับหลักการนี้ เอาไปใช้ และคุณจะพบผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์

คุณไม่เสียหายอะไรที่จะลองมันหลักการ 90/10 นี้ เป็นประโยชน์น้อยคนนักที่จะรู้จักและนำเอาหลักการนี้มาใช้ผลลัพธ์ที่ได้? คุณจะเห็นผลลัพธ์ด้วยตัวคุณเอง

ผู้คนเป็นล้านคนรู้สึกเจ็บปวดจากปัญหาต่างๆ ความทุกข์, ความเครียดรุนแรง และปัญหาต่างๆ เพียงแค่เราเข้าใจและนำเอาหลักการ 90/10 นี้มาใช้มันสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณได้แน่!

แน่นอนว่า ทุกสิ่งที่คุณพูด, ให้, ทำ หรือแม้แต่คิด เหมือน บูมเมอแรงมันจะย้อนกลับมาหาคุณ

ถ้าคุณต้องการที่จะรับ คุณต้องเริ่มต้นด้วยการให้บางที เราอาจจะไม่ได้อะไรเลยแต่อย่างน้อย หัวใจเราก็เต็มไปด้วยความสุข

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

                หนู สมศรี นวรัตน์  วันนี้หนูจะพูดคุยกับเพื่อน ๆ ในเรื่องของเขา ในหนังสือ The Purpose Linked Organization  ผู้เขียน 2 ท่าน Alaina Love และ Marc Cugnon ในหนังสือ เล่มนี้ได้อธิบายว่า ผู้นำที่มี Passionate  และมี Inspire Teams จะสามารถทำให้ เกิด Great Result ซึ่ง Ph.D ควรได้อ่าน เพราะผู้นำในองค์กร >>>>> ทุกระดับ >>> ต้องสื่อสาร Purpose ให้คนในองค์กร ได้รับรู้ รับทราบ  และผู้นำต้อง มี Passion in to a Practical Process เพื่อให้องค์กรเติบโต และพนักงาน ทุก ๆ คน มี Passion ต่องานมาก ๆ โดยผู้นำต้อง เข้าใจเรื่อง Passion อย่างแท้จริงก่อน >>>>> จึงจะทำให้ เกิด Great Result ได้จริง ๆ นั้นก็คือ บุคลกร/พนักงาน ทุกคนในองค์กรต้อง เข้าใจ Purpose ของ Organization ก่อน ผ่าน Leader และผู้นำต้องทำให้ บุคลากร/พนักงาน สร้าง Creative / Idea จึงจะเกิด >>>>> Human Capital หนูคิดว่า ทั้งหมด มีใน ทฤษฎี 8 K’s + 5K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม โดยเฉพาะ motivation & Competency  ทฤษฎีของศ.ดร.จีระ (สำคัญจริง ๆต่อ คนเพราะเมื่อคนที่ไร >>>> เกิดความยุ่งเหยิงทุกทีไปนะคะ เพราะเขาขาดEthical Capital)

            ในหนังสือเล่มนี้ เขาเขียน 3 Part

Part 1 เขาได้พูดถึงความสำคัญของ Purpose และ Passion (Matter) และ Passion Profile ซึ่งสำคัญ ทำให้เราเห็นภาพ Macro และ Linking มองภาพใหญ่ออก

Part 2 พูดถึง Passion Profile ซึ่งสำคัญมากกว่า Part 1 มาก จะมีรายละเอียดลึกซึ่งมาก มี 10 เรื่องที่สำคัญที่ผู้นำที่มีภาวะผู้นำต้องเอาไปนำ(Leadership)ให้ได้ >>>>> แล้ว องค์กร จะเกิด Great Result เนื่องจาก Leadership ได้ Linking สิ่งสำคัญ คือ Purpose ของ Organize ให้ ทุก ๆคนเกิด >>>>> Passion ที่เป็นจริง (Reality) เกิดตามทฤษฎี 2’R คือ Reality คือมองคนและมอง องค์กรความเป็นจริง ขององค์กรของเรา และ Relevance มอง คนและมอง องค์กร ให้ตรงประเด็น/ปัญหา และแก้ไขให้ ตรง&เข้ากับสถานการณ์ ใน10 เรื่องนี้ Ph.D ต้องอ่านให้เข้าใจ และ ยกตัวอย่างให้เป็น รูปธรรมจึงขอยกตัวอย่าง เรื่องที่ 1 Builder(ผู้สร้าง)Leadershipที่ดีจะมีงานสำคัญ ๆที่เป็นที่รู้ ๆอยู่แล้วว่า ต้องสร้าง Skill & Talents & Knowledge ให้เกิดกับบุคลากรในองค์กร ขณะเดียวกันผู้นำต้อง มองหาให้เห็นโอกาส สร้าง Vision ให้เป็นจริง(Real) นำภาพฝันมาสร้างเป็น Mission และให้เป็น Action Plan ให้ได้ และต่อมาต้อง Evaluation เพื่อหาข้อขัดข้อง เพื่อนำไปปรับปรุง Action ต่อไป (เช่น โครงการไปเชียงใหม่ มีปัญหา & อุปสรรค อะไรบ้าง  >>>>> เพื่อ ไม่ให้ โครงการไป Stamford + หัวหิน + ท่ายาง + บ้านลาด) เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก

นอกจากนั้น Leadership ต้องรู้ว่า

-  จะนำเอา Passion มาทำให้ เกิดได้อย่างไร ?

-   สร้าง Goal Mission Project

-    การวางแผน (Planning) เป็นเครื่องมือ (Tools) ที่มี คุณค่า (Value) มากมาย >>> ต้องมี Planning

-     Leadership ต้องไม่กล่าว / ไม่คิดว่า ทำไม่ได้

-    ต้องมีความมุ่งมั่น (Commitment) ความปรารถนาอย่างแรงกล้า = Passionate

-    ร่วมกับมี Conceiver (ผู้คิดค้น) + Connector (ผู้สร้างการประสานงาน) + Processor (ผู้ดำเนินการ) + Teacher (ผู้สอน = งาน + เงิน + คน + ของ (คือ4M + 2 T)

หนูสมศรี นวรัตน์ ขอ Share Knowledge แค่นี้ก่อนนะคะ ผิด/ถูกอย่างไร? ท่าน อาจารย์ ศ. ดร. จีระ ช่วยตอบ/ อธิบาย >>>>> ช่วยTeacher และช่วย Healing = ภาษาแพทย์เรียกว่า เยียวยา”  ให้หนูสมศรี นวรัตน์ ด้วยนะคะ  แต่ในหนังสือเล่มนี้ใช้ในบริบทว่า ผู้พิทักษ์รักษา แต่ที่ในหนังเล่มนี้ในความคิดของหนู มีในทฤษฎี 8 K’s + 5K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม โดยเฉพาะ motivation & Competency  + 4 E + 2 R ของ ศ. ดร. จีระ หมดแล้วจริง ๆๆคะหนูสมศรี นวรัตน์ ขอฟันธงคะ

 

 

สมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด  จ.เพชรบุรี Tel. 081-9435033

 

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยิ่ง

                หนู สมศรี นวรัตน์  วันนี้หนูจะพูดคุยกับเพื่อน ๆ ในเรื่องของหนังสือ The Purpose Linked Organization ต่อจาก Blog ที่แล้ว ใน Part 3 ในเรื่อง

1. Purpose และ Passion

2. Great Leaders Leverage Passion

1. Purpose และ Passion ได้พูดถึง

- ระดับ บุคคล (Individual)

- การเตรียมทางเลือก(Preparing For Journey)

- การ Defining an Approach for Accessing Purpose และ Passion  ซึ่งมีวิธีเข้า(Approach) 4 Step เรียกว่า “PREP” คือ

            P = Present and Open

            R = Reflect and Partner

            E = Examine

            P = Persist

ทั้ง 4  Approach ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในหน้า 156 - 157  นอกจากนั้นได้อธิบายอย่างหน้าอ่านเรื่อง Creating the Right Mix for Purpose และ Passion ว่าเป็นศิลปะที่สะท้อนถึง Passion กับ Partner

            มีการแสดงให้เห็น Impact ของ Passion ในองค์กรหรือที่มีวัฒนธรรมในองค์กร(Organization Culture ) โดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นทั้ง สิ่งที่เรียกว่า  Expectations และ Fulfillment

 -------->Individual Development Driven by Marker Norms-------->

---------------------------------------------------------------------------------------

Formal Education --> On-the-Job Training --> Skills -------------> ----->Expectations

Internal Purpose --->Self  Actualization & Awareness-------------- --- >Fulfillment

---------------------------------------------------------------------------------------

----------> Individual Development Driven by Social Norms -------->

           

ใน Part นี้ยังได้พูดถึง Passion ทั้งระดับบุคคล (Individual) และระดับทีม (Team) ซึ่งจะเป็น Positive Performa Triad คือ

1.      Unique Skills ซึ่งประกอบด้วย

- Good performance

- Jab Satisfaction

- Dedication

- Applies Skills

- Retention Risk

            2. Primary Passion ซึ่งประกอบด้วย

                        - Grow the Job

- Fulfillment

- Excitement

- Learns new Skills

- Commitment

            3. Core Values ประกอบด้วย

                        - Self Worth

                        - Relevance

จากการอ่านหนังสือเล่มนี้จะพบได้ว่าเรื่อง  The Purpose Linked Organization จะเกี่ยวข้องกับ ภาวะผู้นำ (Lairdship) ที่มีความสามารถโดยมี >>>>> Purpose (วัตถุประสงค์/ความมุ่งหมาย/ผลประโยชน์) >>>>> เพื่อพัฒนาบุคลากร/พนักงานในองค์กร >>>>> ให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่จะพัฒนา Skills ทั้งระดับ บุคคล กลุ่ม/ทีม จนเกิดเป็นวงกลม (Triad) คือ Unique Skills , Primary Passion และ Core Values โดยผู้นำ(ที่มีภาวะผู้นำ= Leadership) ได้ใช้ Passion ในการ Linking ให้คนในองค์กรสามารถทำงาน จนเกิด Great Results เมื่อผลลัพธ์ในองค์กรได้ Great Results ดี คนในองค์กรได้รับ Reward บุคลากร / กลุ่มงาน ก็จะเกิด >>>>> Passion นำไปสู่ >>>>> Happiness

            หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอ Share Knowledge เพียงนี้ก่อนนะคะ  หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้างนะคะ  คิดถึงท่าน ศ.ดร.จีระ มาก ๆๆคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel. 081- 9435033

ความสุขที่เชียงใหม่ + การเรียนรู้ + สถานที่ใหม่ +เพื่อนใหม่

ขอขอบคุณ Ph.d ลัดดา อย่างมาก ที่ช่วยให้ การดำเนินในโครงการ ที่ได้เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข  เกิดความรู้  ทักษะ ที่ประเมินค่ามิได้  ท่าน ศ.ดร.จีระมีความสุขมาก  เช่นกัน...กับลูกศิษย์ทุกคนคะ + ขอขอบคุณ....น้อง ๆ เอ้ + อื๋ว + แบ๊งต์ + คนขับรถของSSRU ...>ให้ด้วยความปลอดภัย

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel. 081-9435033

เรียนท่าน ศ.ดร. จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

หนู สมศรี นวรัตน์ คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่อง Leadership Articles โดยขอเสนอบทความที่เขาเขียนไว้ดังนี้

Something you'd like Wally to write about, just use the article suggestion form at the end of this link.

  1. Serenity(สง่างาม) for supervisors
  2. Coaching in Business:  What you need to know
  3. In praise of praise(ยกย่องชมเชย)
  4. Being a boss is not for everyone
  5. Leadership: Can anyone learn to be a great leader?
  6. Every day in every way
  7. Rip van Winkle Promotions
  8. Developing leaders the natural way
  9. The Apprentice Leader: Training for New Leaders
  10. The Natural Laws of Parties for Leaders
  11. The Apprentice Leader: Making the transition to leadership
  12. The Apprentice Leader: Who should we promote?
  13. The Apprentice Leader: Making the Most of Learning on the Job
  14. Management by the Letters
  15. Put your trust in systems, not in genius
  16. Magical Thinking and Management
  17. Career Development: 20 Tips for the Young
  18. Evidence-Based Management has Issues
  19. Career Development: Things You Should Know about Yourself
  20. Engagement: Seven Ways to Increase It
  21. Sales Managers:  Invest in the Best
  22. Supervision: What you must learn to do
  23. How the Great Supervisors Do It
  24. Letter to a New Manager
  25. What You Should Learn from GE
  26. Getting Ideas is the Easy Part: Here's what you need for innovation
  27. Addicted to Praise
  28. The Many Lessons of the Hawthorne Experiments
  29. People is people and parts is parts
  30. Motivation Magic
  31. Nine Questions about Baby Boomer Retirement that your Company Must Answer
  32. Caution: A War for Talent mindset may be hazardous to your results
  33. Help! My Boomers are retiring!
  34. Do you really want to be a manager?
  35. Who's more important the CEO or your boss?
  36. New Leader: Figuring Out What to Do
  37. You're the new boss. What now?
  38. You can't manage knowledge
  39. How can I pick the right leadership training program?
  40. How to Learn More about the People Who Work for You
  41. How do I delegate better?
  42. A Secret No One Tells New Managers
  43. Achieving Work / Life Balance
  44. Why do managers find it difficult to fire poor performers?
  45. So now you're the boss.
  46. Why most leadership training is a waste of money and what you can do about it
  47. Cargo Cults and Management Practice
  48. Are Leaders Born or Made?
  49. What do workers really want anyway?
  50. So You Want to Get Promoted?
  51. What Great Supervisors DO Differently
  52. Performance Evaluation Made Simple
  53. 10 Tips for Becoming a Great Boss
  54. Learning to be a Boss
  55. Leadership Lessons from the US Marines
  56. Why don't they do what they're supposed to do?
  57. How to Give Better Instructions
  58. Don't Try to Make Your Workers Happy
  59. 10 Tips on Learning to Lead
  60. Motivation Made Simple
  61. Three Ways to Improve the Way You Talk to People Who Work for You about their Performance
  62. Getting the Most from Good to Great
  63. The Real Costs of Not Doing Leadership Training
  64. Simple Leadership Basics
  65. Is mentoring for you?
  66. One Easy Thing You can do Right Away to Improve Your Results
  67. The Four Biggest Mistakes Companies Make About Supervision
  68. The Five Ps of Leadership
  69. Leadership is an Apprentice Trade
  70. Trust in the Boss
  71. Celebrity CEOs
  72. 7 Keys to Working Successfully with Your Direct Reports
  73. Fair and Final Firing: How to Make it Happen
  74. In Memoriam: Peter Drucker
  75. Generals Win Battles, But Sergeants Win Wars
  76. Rudy Giuliani: The Long View of Leadership
  77. What Makes a Great Working Environment?
  78. In Charge of Something? Then You're a Leader
  79. Leadership Nonsense
  80. Leadership is Overrated
  81. They May Be Soft Skills, But They're Real Important
  82. The Strategist
  83. Leader, Manager, Supervisor: Three Roles Everyone Responsible for a Group Must Fill

การเป็นผู้นำนั้นไม่ยากแต่การมีภาวะผู้นำที่แท้จริงยากกว่า  >>>> หวังว่าจะเป็นข้อคิด >>>>> เป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ Ph.D ทั้ง SSRU & Ph.D มช. & ph.D Northนะคะที่จริงแล้วทุก ๆข้อมีอยู่ในทฤษฎีของท่าน ศ. ดร.จีระ หมดแล้วละคะ

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tel. 081-9435033

เรียนท่าน ศ.ดร. จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

 

หนู สมศรี นวรัตน์ คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่อง Change: พลังการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ----->เกิดคุณภาพ ที่ ค้นพบได้ ในตัวเราทุกคน  -----> เป็น Leadership  เฉพาะ ความรู้และคุณธรรม คงไม่เพียงพอสำหรับการแก้ไขปัญหาวิกฤต(Crisis) หลายอย่างที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่ผู้นำและคนทั่วไปในสังคมขาดแคลนอย่างยิ่งและขาดแคลนมาตลอดคือ

1. ความกล้าหาญ รวมถึง

1.      กล้าตัดสินใจในสถานการณ์วิกฤต

2.      กล้าคิดนอกกรอบ

3.      กล้าชี้นำความคิดใหม่ให้สังคม

4.      กล้าเผชิญความขัดแย้งกับฝ่ายอธรรม

5.      กล้าเปิดเผยความจริง

6.      กล้าพิทักษ์ คนดีมีคุณธรรม

7.      กล้าที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์

8.      กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่าและระบบเก่าที่เสื่อมถอย

2. การเสียสละประเทศของเราไม่เคยขาดแคลนทั้งผู้รู้และผู้ทรงคุณธรรมหากแต่ท่านเหล่านั้นมักไม่กล้าหรือเสียสละพอที่จะออกมานำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงไปสู่ความถูกต้องชอบธรรม จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แม้ในขณะที่ตัวเองมีอำนาจและมีรับความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ แต่ขลาดที่จะทำคุณธรรม(Intellectual) ให้ปรากฏ และไม่เสียสละ(Virtual)พอที่จะเข้าแก้ไขวิกฤตต่าง ๆ  ด้วยกลัวในผลกระทบ(Impact)ย้อนหลังมิหน่ำซ้ำยังเฝ้าบิดเบือนให้สมานฉันท์กับอธรรม ผู้ทำลายธรรมะและความสงบสุข

หนูขอเสนอการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Leader Change)ควรมีระบบการคิดอย่างน้อย 10 แบบค่ะ

            1. คิดอย่างสรรค์ (Creative Thinking)

2. คิดเชิงกลยุทธ์( Strategic Thinking)

3. คิดเชิงบูรณาการ (Integration Thinking)

4.      คิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)

5.      คิดเชิงวิเคราะห์ (Analysis Thinking)

6.      คิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis Thinking)

7.      คิดในอนาคต(Futuristic Thinking)

8.      คิดเชิงวิพากษ์(Critical Thinking)

9.      คิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)

10.  คิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)

            ขอจบการคุยแค่นี้ก่อนนะคะ ผู้นำที่ดี ต้อง >>>>> กล้าคิด กล้านำ กล้าทำ(ตัวนี้หนูคิดว่าสำคัญที่สุด) ด้วยท่าน ศ. ดร. จีระ เห็นด้วยกับหนูสมศรีไหมคะ???? >>>>>>>>ท่านตอบแล้วว่า OK >>>>>OK แน่นอน

กราบบังคมทูล นวัตกรรมเรื่องการใช้ไม้พลองของผู้สูงอายุ "สำหรับผู้สูงอายุ" เพื่อใช้ในการออกกำลังกาย และ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเหน็บชา โรค เบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง เนื่องจาก ปลายประสาทเสื่อม หลอดเลือดแข็งและเริ่มตีบและตันเป็นบางส่วน ทำให้มีอาการชาปลายประสาทมือ ชาปลายนิ้วเท้า จะให้ความรู้เรื่องการออกกำลังที่ เหมาะสมกับ "โรค และวัย"

กราบบังคมทูล  นวัตกรรม เรื่อง "ถุงยาพาสุขภาพดี" สำหรับผู้สูงอายุ ที่ต้องจัดยารับประทานด้วย "ตนเอง" ทำให้ลืมกินยา หลงลืม จำไม่ได้ ไม่มีลูกหลานคอยจัดยาให้ ทีมงานจึงคิดนวัตกรรมง่าย ๆ ทำเหมือนปฎิทินยา มี 4 รูปแบบ มีทั้งสำหรับ มื้อเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน สามารถความเสี่ยง (Risk) สำหรับผูสูงอายุเรืองการกินยาไม่ตรงขนาด ไม่ตรงเวลา จำนวน(ขนาดของยา) ได้42.6 % จากฐานเดิม( Base)

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

นาง สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

กราบบังคมทูลถวายงาน เรื่องลูกบอลบริหารนิ้วมือ สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคเหน็บชา ชาปรายมือ ปรายประสาท นิ้วล็อกจากเอ็นข้อนิ้วอักเสบ กำมือไม่ได้ ไม่มีแรง เนื่องจากการใช้มือมากเกินไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

นาง สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

กลยุทธ์สู่ความเป็น “ผู้นำ” (Leadership)ที่มา :www.businessthai.co.th การเป็น “ผู้นำ” หรือ Leadership ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้ ขอเพียงคนคนนั้นมีความตั้งใจจริง กล้าหาญ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และช่วยเหลือผู้อื่นในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นสะพานข้ามช่องโหว่ สู่ความเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพและสง่างามยิ่ง ! กระแสความเป็นผู้นำในช่วงนี้มีการกล่าวถึงกันมากในเมืองไทย อาจจะด้วยเพราะตอนนี้ใกล้ถึงช่วงเวลาของการเลือกตั้งผู้นำประเทศคนไทย ซึ่งมีกำหนดชัดเจนแล้วว่าเป็นวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งทุกคนต่างให้ความสนใจและหาข้อมูลแวดล้อมทุกๆด้านของคนที่กำลังจะก้าวมาเป็น “ผู้นำประเทศไทย” ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2550 หลักสูตรในการเป็นผู้นำองค์กรหรือประเทศ ไม่มีสูตรตายตัวแน่ชัด ถึงแม้จะมีการเข้าคอร์สในระยะสั้นๆอย่างแพร่หลายก็ตาม แต่ทุกย่างก้าวของการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำ ล้วนแต่ต้องนำประสบการณ์และจิตวิญญามาผนวกรวมกันเป็น สูตรลับเฉพาะตัว เพราะต่างคนต่างมีที่มาประสบการณ์แตกต่างกันไป แต่สุดท้ายเป้าหมายสูงสุดของการเป็นผู้นำนั้นเหมือนกันก็คือ “ทำให้ประชาชน หรือพนักงานในองค์กรของตนเองมีความสุข และพัฒนาองค์กร และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า” ที่ผ่านมาผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ อาจไม่ใช่ผู้นำที่ดีในสายตาของพนักงานในองค์กร ดังนั้นการผนวกคุณสมบัติทั้งสองอย่างให้อยู่ในคนคนเดียวจึงไม่ใช่เรื่องง่าย (แต่ก็ไม่ยากหากจะทำ) นับเป็นโอกาสที่ดีของการจุดประกายแนวคิดเรื่องการเป็นผู้นำที่ดี เมื่อสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนาพิเศษ เรื่อง กลยุทธ์เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้จัดการระดับโลก หรือ “On Becoming A Global Manager” งานเสวนาในครั้งนี้ได้เชิญผู้นำที่เป็นผู้บริหารชั้นนำของประเทศ มาบรรยายพิเศษ หลายท่านๆ อาทิ มร.ราล์ฟ แอล.บอยซ์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย , มร.ซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และนายโชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจฟาร์มโชคชัย ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ร่วมกันเผยกลยุทธ์การเป็นผู้จัดการระดับโลก เพื่อสะท้อนถึงความเป็นผู้นำที่ดีและการก้าวสู่ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นคู่มือหรือแนวทางให้ผู้จัดการทั้งหลายนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและองค์กรต่อไป ในการก้าวสู่ “ผู้นำที่ดี อย่างแท้จริง” ผู้นำเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ในทัศนะคติของ มร.ราล์ฟ แอล.บอยซ์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย ได้กล่าวบรรยายเกี่ยวกับหลักในการเป็นผู้นำว่า การบริหารกับการเป็นผู้นำ ต้องแยกคำออกเป็น 2 คำ เพราะ 2 คำนี้คนละประเด็น เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน คนบางคนอาจจะเก่งในด้านการบริหารแต่ไม่เก่งด้านการเป็นผู้นำ บางคนเป็นผู้บริหารที่ดีแต่เป็นผู้นำไม่เก่ง และในความเห็นส่วนตัวมองว่าถ้าจะเป็นผู้นำที่ดีต้องเก่งทั้งสองด้านซึ่งไม่ยากเลยกับการจะเป็นผู้นำที่มีความเพียบพร้อม หลักความคิดของการเป็นผู้นำระดับโลกในมุมมองของ ราล์ฟ แอล.บอยซ์ ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นมุมมองของนักบริหารต่างชาติที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักการทูตอาชีพ นั้นสะท้อนถึงการเข้าถึงวัฒนธรรม และภาษาของประเทศนั้นๆ ซึ่งผู้นำจำเป็นต้องเรียนรู้อย่างถ่องแท้ การเป็นนักการทูตต้องคิดและทำเหมือนผู้นำระดับโลกเหมือนกัน เราทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีภารกิจที่หลากหลาย ด้วยภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน สำหรับวัฒนธรรมในเอเชีย บอกให้รู้ว่า การทำธุรกิจในเอเชียนั้น ต้องมองเรื่องสัมพันธภาพก่อน เพราะการสร้างเครือข่ายย่อมทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยส่วนตัว เอกอัครราชทูตอเมริกา มักให้ข้อมูลกับบรรดานักธุรกิจร่วมชาติเสมอว่า การที่จะมาทำธุรกิจในเมืองไทยหรือเอเชียนั้น นักธุรกิจสหรัฐต้องเดินทางมาบ่อยๆ เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้นำระดับโลก ต้องเรียนรู้ ทั้งในเรื่องภาษาและวัฒนธรรม มร. ราล์ฟ แอล.บอยซ์ บอกอีกว่า ตัวเขาเองมักจะพูดภาษาไทยทุกครั้งที่มีโอกาส เพราะการแสดงความคิดเห็นของเจ้าของภาษาซึ่งมักจะมาด้วยภาษาแม่นั้น จะทำให้คนต่างชาติอย่างเรามีความเข้าใจมากขึ้นและมีความลึกซึ้งกว่า นำมาในด้านการได้เปรียบในการแข่งขัน เปิดขีดความสามารถสู่โลกกว้าง ด้านแม่ทัพจากค่ายดีแทค มร.ซิคเว่ เบรคเก้ ในฐานะที่ 'ต่างถิ่น' เช่นเดียวกับนักการทูตมืออาชีพ ก็เริ่มต้นบรรยายบทบาทผู้นำในแบบฉบับของตัวเองว่า "ถ้าจะปรับตัวเองให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันก็จงนำตัวเองออกสู่โลกกว้าง" ซึ่ง มร.ซิคเว่ กล่าวด้วยความหนักแน่น การเข้ามาคลุกคลีอยู่กับคนไทยและสังคมไทยมาเป็นเวลานานนั้น มองว่า วัฒนธรรมไทยหลายๆ อย่างยังมีความแตกต่างในตัวเองมาก สิ่งที่อยากเน้นให้ความสำคัญของการเป็นผู้จัดการระดับโลก คือความเป็นลีดเดอร์ หรือ ผู้นำ มากกว่า แมเนเจอร์ หรือ ผู้จัดการ ซึ่งเคล็ดลับการบริหารง่ายๆ ของมร.ซิคเว่ มีหลักด้วยกัน 4อย่างคืออย่าอ่านหนังสือแต่ให้เรียนรู้จากการเข้าไปสัมผัสจริงอย่าอยู่กับคนคุ้นเคยดูตัวเองเหมือนเป็นโค้ชตัวเองและต้องปรับตัวง่ายๆแค่นี้ถ้าทำได้ครบก็เข้าสู่การเป็นผู้นำที่ดีแล้ว แปลงการสื่อสารเป็นรูปธรรม ส่วนการเป็นผู้นำในมุมมอง นายโชค บูลกุล แห่งโชคชัยฟาร์ม ที่ใช้วิธีถ่ายทอด ประสบการณ์จริงจากการบริหารจัดการธุรกิจที่เคยขาดทุนและล้มลุกคลุกคลานมาแล้ว จนผงาดขึ้นมาเป็นองค์กรที่สำเร็จ หลักการบริหารงานของโชค คือ เน้นนัยสำคัญของการสื่อสารและการแปลงการสื่อสารนั้นให้ออกมาในเชิงปฏิบัติ การบริหารที่สำคัญในแบบฉบับของเจ้าของฟาร์มโชคชัย คือ "ยิ่งยืนอยู่บนตำแหน่งที่สูง ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เพราะนั่นจะเป็นการสะท้อนถึงบุคลิกภาพของผู้นำนั้นๆ สำหรับบทสรุปของผู้นำรายนี้ได้ฝากไว้ว่า "ตนเองมองว่าผู้บริหารที่ดีต้องมีมีดหลายๆ เล่ม ทั้งมีดสับของหนัก และมีดสำหรับแกะสลัก รวมถึงการเปิดโอกาสให้คนที่จบจากสาขาที่ต่างขั้วกับธุรกิจ เพื่อให้เข้ามารับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน"

(ลองอ่านดูนะครับ ผมคิดว่าเป็นประโยชน์กับทุกๆท่าน)

                                                      ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

                                                          0863517928

5 หลักสู่ความเป็นผู้นำ

                และอย่างที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าตอนนี้สังคมกำลังตื่นตัวในเรื่องกระแสของการหาผู้นำ ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ ก็ได้มีการเปิดตัวหนังสือ "หลัก 5 ประการสู่การเป็นผู้นำ" หนังสือเสริมสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ของสำนักพิมพ์ดีเอ็มจี  ที่แต่งโดย พอล.เจ.เมเยอร์ และแรนดี้ สเล็กธา ที่เนื้อหาหลักเป็นเรื่องของหลักการเป็นผู้นำที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ซึ่งผลชิ้นนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยนายจุมพจน์ เชื้อสาย ผู้อำนวยการสถาบันแอลเอ็มไอประจำประเทศไทย

                โดยเนื้อหาหนังสือหลัก 5 ประการสู่การเป็นผู้นำ  นั้นได้บอกถึงเส้นทางของความสำเร็จของผู้นำจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมี ดังนี้คือ 1.กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการให้แน่นอนและชัดเจน 2.สร้างแผนงานที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมาย 3. สร้างแรงจูงใจในการลงมือทำ 4.สร้างความมั่นใจแก่ตนเองและทีม เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานให้ดีที่สุด และ 5. สร้างความมุ่งมั่นไม่ท้อถอยเมื่อต้องเจอกับอุปสรรค  ในฐานะผู้แปลหนังสือเล่มนี้ นายจุมพจน์ กล่าวให้แง่คิดของการเป็นผู้นำที่ดีในยุคนี้ว่า การส่งเสริมภาวะผู้นำในองค์กรนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้ส่งมอบความรู้และความชำนาญต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้พนักงาน ในแต่ละระดับชั้นมีอิสระในการตัดสินใจและเป็นผู้นำตนเองมากขึ้น  เท่ากับว่าองค์กรได้เสริมสร้างความเป็นผู้นำให้เกิดขึ้นในทุกระดับชั้นการบริหาร ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานเองและองค์กรโดยรวมนั่นเอง

สุดยอด 12 แนวคิดสู่ความเป็นเลิศ

           1.มีความชัดเจนในความคิด กลยุทธ์ การสื่อสาร ก่อนนำไปปฏิบัติ

           2.เรียนรู้อย่างต่อเนื่องกับบุคลากรทุกระดับ

           3.ลงทุนวิจัยและพัฒนา -การจัดการองค์ความรู้ และสังคม

           4.ทำงานเป็นทีม

           5.สร้างสรรค์นวัตกรรม

           6.สร้างความไว้วางใจ

           7.การมี Corporate Social Responsibility (CSR)

           8.ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล

           9.มีวิสัยทัศน์ของผู้นำ

           10.ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

           11.เรียนรู้จากวิกฤตในแต่ละครั้ง

           12.ไม่หลงระเริงภาคภูมิใจกับความสำเร็จในอดีต

ฐิติรัตน์  ถาวรสุจริตกุล

0863517928

ทุนมนุษย์ ไทยวิกฤติ เร่งสร้างด่วน !! คนเก่ง+ดี+มีทักษะ

สังคมไทยในยุคปัจจุบันนั้น เป็นสังคมที่เกิดความสับสน เหลื่อมล้ำ แตกแยก และนำไปสู่ความถดถอย !!” ...เป็นคำกล่าวของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ด้านการจัดการทุนมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และนี่ก็มิใช่คำกล่าวที่เกินเลย เพราะใครต่อใครอีกมากมายในสังคมไทยยาม นี้ ก็กล่าว ก็มีมุมมองทำนองเดียวกันนี้

                ปัญหานี้...ด้านหนึ่งเกิดขึ้นเพราะ วิกฤติทุนมนุษย์

                และล่าสุดทางสำนักงาน ก.พ. รับหน้าเสื่อ กู้วิกฤติ

                ทั้งนี้ ดร.สุวิทย์ระบุว่า... ความจำเป็นของการ พัฒนาทุนมนุษย์ นั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ตระหนักกันนานแล้ว ซึ่งทั่วโลกนั้น เทรนด์การพัฒนามนุษย์ พัฒนาคนในชาติ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันหมด คือหันกลับมาสู่การ พัฒนาในเรื่องจิตใจ โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นส่วนช่วยมากขึ้น

                ในโลกปัจจุบัน ในยุคสังคมหลังฐานความรู้ มนุษย์เราจะอยู่ในโลก อย่างสมดุลได้จำเป็นต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกันก็มีอิสระด้วย ซึ่งค่านิยมของทุนมนุษย์ในยุคใหม่จะต้องมีความ ใส่ใจและแบ่ง ปัน ปัจจัยของความสำเร็จในโลกยุคสังคมหลังฐานความรู้จะต้องประกอบไป ด้วย ความเชื่อมั่น, ใส่ใจ, แบ่งปัน และทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งที่อยู่ข้างในตัวบุคคลทั้งหมด

แต่เดิมคนไทยเป็นผู้บริโภคความรู้ ต่อไปนี้เราต้องนำเอาความรู้ นั้นออกมาแบ่งปันกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำความรู้ใหม่ที่ได้ ไปต่อยอดความรู้เดิม เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดนี้เราสามารถนำ เอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นปรัชญาสากล มาปรับใช้กับคนได้ทุก ระดับ เพราะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสอดคล้องกับทิศทางของโลกใน อนาคต ...ดร.สุวิทย์กล่าว

                เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญามหามงคลของปวงไทย

                พัฒนาทุนมนุษย์ ของประเทศไทย...ก็นำมาปรับใช้ได้ !!

                การดำเนินการพัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศไทย ก็เป็นเรื่องสำคัญที่สอดคล้องกับทฤษฎีบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคใหม่ ที่มองว่า คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ของไทย ก็ได้เน้นที่การเตรียมความพร้อมของคนไทยเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ขณะที่สำนักงาน ก.พ. ก็ขานรับความจำเป็นเร่งด่วนนี้ เนื่องเพราะทั้งระดับองค์กร สังคม และประเทศชาติ จะสามารถอยู่รอด เติบโต และประสบความสำเร็จ ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้นั้น มนุษย์ หรือคนในประเทศจะต้องมี ทุน ที่เหมาะสม

 

ในที่นี้หมายถึงมี ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ ค่านิยม ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการทำงานให้บรรลุผล เรียกสั้น ๆ ว่า ทุน มนุษย์ หรือ “Human Capital”

                โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะ ด้านการจัดการทุนมนุษย์ คือเครื่องมือที่สำนักงาน ก.พ. นำมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบุคลากรของชาติ เพื่อสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ และเอกชน ร่วมกัน พัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารทุนมนุษย์ ให้แต่ละหน่วยงานนำกลับไปพัฒนาบุคลากรของตน

                กับเรื่องนี้ เลขาธิการ ก.พ. ปรีชา วัชราภัย บอกว่า... สำนักงาน ก.พ. จะรับทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรวบรวม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ออกไปให้แพร่หลาย เช่นจะมีการผลิตรายการ คนดลใจ นำเสนอแนวคิดการบริหารจัดการทุนมนุษย์ผ่านคนดี-คนเก่งที่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย ออกอากาศทางช่อง 11 ทุกวันเสาร์เวลา 10.00 น. นำเสนอเรื่องนี้ผ่านรายการวิทยุ FM 105 ทุกวันเสาร์เวลา 10.00 น. และ AM ทุกวันอาทิตย์เวลา 18.00 น. รวมถึงจัดสัมมนาทั่วประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะ

                นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแกนหลักสูงสุดแล้ว ในการดำเนินการก็จะมีการนำกรอบแนวคิด จิตสาธารณะ จากงานเขียนที่มีชื่อว่า “Five Minds for the Future” หรือเรียกสั้น ๆ แต่จำได้ง่าย ๆ ว่า “5 จิต...คิดเพื่ออนาคต ที่ได้รับการยอมรับจากนักบริหารทั่วโลก มาประยุกต์ใช้ในไทยด้วย  ประกอบไปด้วย... 1.จิตแห่งวินัย มุ่งมั่นขัดเกลาในทักษะวิชาชีพ ของตนอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง, 2.จิตแห่งการสังเคราะห์ มีความสามารถ รอบตัวและใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและเหมาะสมกับสถานการณ์, 3.จิตแห่งการสร้างสรรค์ มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นสิ่งใหม่ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ, 4.จิตแห่งความเคารพ เคารพคุณค่าของบุคคลอื่นในสังคม, 5.จิตแห่งคุณธรรม มีบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม เสริมสร้างให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและความสงบสุข ของสังคม

                ประเทศชาติเรากำลังต้องการคนเก่งและดี แต่นี่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะนำพาองค์กร สังคม ประเทศชาติ ให้ก้าวไปยืนหยัดได้อย่างมั่นคง ในโลกยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูง คนที่เก่งและดียังจะต้องมีทักษะที่หลากหลายและมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นทุนที่องค์กร สังคม ประเทศชาติ จะต้องสั่งสม ต้องสร้างให้กับคนในชาติ เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปสู่ความ สำเร็จต่อไป ...เลขาธิการ ก.พ. กล่าวสรุป

                หลายปัญหาสำคัญของชาติล้วนเกี่ยวพันกับ วิกฤติทุนมนุษย์

                พัฒนาทุนมนุษย์ จึงเป็นอีกภารกิจเร่งด่วนของเมืองไทย ที่คนไทยทุกฝ่าย-ทุกคน...จำเป็นต้องใส่ใจ-ร่วมมือกัน

ที่มา :www.dailynews.co.th

 

ฐิติรัตน์  ถาวรสุจริตกุล

  0863517928

การตั้งเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจ

                สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตคนเรามีความก้าวหน้าคือ "การตั้งเป้าหมาย" เพราะเป้าหมายเปรียบเสมือนแสงเลเซอร์ที่จะนำทางเราไปสู่สิ่งที่เรา "ต้องการจะเป็น" หรือ "ต้องการจะมีได้" ถ้าใครคิดว่าเป้าหมายไม่สำคัญ ลองนึกดูนะครับว่าถ้ากีฬาฟุตบอลไม่มีเสาประตูแล้ว เกมส์การแข่งขันจะเป็นอย่างไร พฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นในแต่ละทีมจะเป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าผู้เล่นแต่ละคนคงจะต้องเลี้ยงลูกไปมาหาที่ยิงประตูไม่ได้อย่างแน่นอน ใครก็ตามที่ยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตคงไม่แตกต่างอะไรไปจากการเล่นฟุตบอลที่ไม่มีเสาประตู ชีวิตจะลอยไปลอยมาหาเป้าไม่เจอ ชีวิตการทำงานแต่ละวันจะบอกไม่ได้ว่าทำไปทำไม งานที่ทำวันนี้มีประโยชน์อะไรต่อชีวิตในวันข้างหน้า โอกาสที่จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆอาจจะมีน้อยลงกว่าคนที่มีเป้าหมายในชีวิต เพราะคนที่มีเป้าหมายในชีวิต เขาจะทราบได้ทันทีว่าการทำงานในแต่ละวันนั้น จะต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์อะไรใส่กระเป๋าบ้าง แน่นอนว่าประสบการณ์ที่จะเก็บใส่กระเป๋าคือประสบการณ์ที่สอดคล้องหรือสนับสนุนเป้าหมายชีวิตนั่นเอง

ถึงแม้เราจะมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าขาดแรงขับเคลื่อนหรือที่เราเรียกกันว่า "แรงจูงใจ" แล้วละก้อ ผมคิดว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ก็ไม่มีความหมายอะไรมากมายนัก คนหลายคนมีเป้าหมายจะเก็บเงิน คนบางคนมีเป้าหมายจะเติบก้าวหน้าในอาชีพ คนบางคนมีเป้าหมายจะมีชื่อเสียงทางสังคม คนบางคนมีเป้าหมายในการศึกษาต่อ ฯลฯ แต่ยังตอบตัวเองไม่ได้ว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น ถ้าไปถึงจุดนั้นแล้วจะได้อะไร ไม่มีอะไรมีผูกมัดหรือไม่ว่าทำไมจะต้องไปให้ถึง ถ้าไปไม่ถึงเป้าหมายจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ถ้ามีใครมาบอกเราว่าขอให้เรากระโดดข้ามหน้าผาที่สูงชันซึ่งหน้าผานี้มีความกว้าง 2 เมตร สูงหลายสิบเมตร ถ้าตกลงไปรับรองไม่ต้องนำไปโรงพยาบาล สามารถนำไปวัดได้เลย เขาบอกให้เรากระโดดโดยที่ไม่มีสินจ้างรางวัลใดๆทั้งสิ้น ลองคิดดูซิครับว่าเราจะกล้ากระโดดหรือไม่ ผมคิดว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่คิดในใจว่า "กระโดดไปทำไม" ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมา ถ้าเขาบอกเราต่อไปอีกว่า ถ้าใครกล้ากระโดด เขาจะให้รางวัลเป็นเงินสดจำนวน 1 ล้านบาท ผมเชื่อว่าอาจจะมีคนบางคนกล้าที่จะกระโดด เพราะแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน 1 ล้านบาทอาจจะมีน้ำหนักเพียงพอสำหรับการกระโดดของคนบางคน โดยเฉพาะคนที่เป็นหนี้สินรุงรัง เจ้าหนี้มาทวงทุกวัน แต่คนส่วนใหญ่อาจจะยังคงไม่กล้ากระโดดอยู่ดีเพราะคิดแล้วมันไม่คุ้มค่าถ้าโชคไม่ดีอาจจะตกลงไปเสียชีวิต

ถ้าเขาบอกเราต่อว่า สมมติว่าคนที่เรารักมากที่สุดในชีวิตนี้ อาจจะเป็น พ่อแม่ คนรัก หรือลูกของเรายืนอยู่อีกฟากหนึ่งของหน้าผา และกำลังตกอยู่ในอันตราย ถ้าเราไม่กระโดดข้ามไปช่วยภายใน 1 นาที คนที่เรารักมากที่สุดคนนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิต และถามเราต่อว่าเรากล้ากระโดดข้ามช่องว่างของหน้าผานี้หรือไม่ ผมเชื่อเหลือเกินว่าคนส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดจะตอบว่า "กล้า" กระโดดข้ามหน้าผานี้

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เหตุผลสำคัญก็คือ แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของชีวิตคนต้องประกอบไปด้วยเป้าหมายบวกกับแรงจูงใจ ถ้ามีเป้าหมายเพียงอย่างเดียว คนจะไม่กระตือรือร้นที่จะไปให้ถึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแรงจูงใจ เพราะแรงจูงใจคือเชื้อเพลิงที่จะขับเคลื่อนชีวิต ในขณะที่เป้าหมายคือทิศทางที่เราจะขับเคลื่อนชีวิตของเราไปในทิศทางที่ต้องการ ถ้าต้องการให้ชีวิตมีความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จดีกว่า เร็วกว่าคนอื่นๆ ผมแนะนำให้ลองกำหนดเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจในชีวิตดังนี้

การกำหนดเป้าหมาย

เราควรจะกำหนดเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจนว่าอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้า เราต้องการจะ "เป็นอะไร" "มีอะไร" มากน้อยเพียงใด และควรจะมีการทบทวนเป้าหมายเป็นระยะๆ เช่น ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี เพราะเป้าหมายคือจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์และสิ่งที่เราจะต้องทำการกำหนดเป้าหมายจะต้องมีความท้าทาย ไม่ใช่ง่ายหรือยากจนเกินไป เพราะเป้าหมายที่ท้าทายนอกจากจะมีความหมายต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งความภูมิใจในอนาคตด้วยหลังจากที่เราบรรลุหรือถึงแม้จะไม่บรรลุเป้าหมายก็ตาม ถ้าเป้าหมายของเราง่ายจนเกินไป เมื่อเราบรรลุเป้าหมายแล้ว เราจะไม่มีความภูมิใจอะไรหลงเหลืออยู่เลย เช่น ถ้ามีใครมาบอกเราว่าถ้ามีเวลาให้เรา 1 ปีในการฝึกซ้อมเพื่อไปวิ่งแข่ง 100 เมตร โดยให้เราเลือกว่าเราจะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกหรือแชมป์นักเรียนอนุบาล เราคิดว่าเราจะเลือกไปวิ่งแข่งกับใคร แน่นอนทุกคนคงจะเลือกที่จะวิ่งแข่งกับแชมป์โอลิมปิกอย่างแน่นอน เพราะถึงแม้จะแพ้ก็ยังมีความภาคภูมิใจกว่าชนะเด็กอนุบาล

สร้างแรงจูงใจ

ในระยะสั้นเราอาจจะสร้างแรงจูงใจโดยใช้ปัจจัยภายนอกก่อนก็ได้ เช่น ขยันทำงานเพราะต้องการเงิน เพราะต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน แรงจูงใจภายนอกจะเป็นแรงจูงใจในระยะสั้นได้ค่อนข้างดี แต่แรงจูงใจนี้จะไม่จีรังยั่งยืน มันจะลดระดับความรุนแรงลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ต้องดูอื่นไกลให้ดูว่าเวลามีการปรับเงินเดือนประจำปี คนจะมีไฟในการทำงานเพียงเดือนสองเดือนที่ได้เงินเดือนใหม่ พอเวลาผ่านไปหลายๆเดือนเงินเดือนใหม่ที่ได้ไม่ถือเป็นแรงจูงใจอีกต่อไป แรงจูงใจที่จะอยู่กับเรานานและพลังงานไม่มีวันหมดคือแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเองภายใน เช่น แรงจูงใจที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตที่เกิดจากแรงบันดาลใจบางสิ่งบางอย่าง คนบางคนแรงจูงใจอยู่ที่ได้ทำงานที่ตัวเองชอบ คนบางคนมีแรงจูงใจที่เกิดจากความยากลำบากในชีวิต

สรุป การที่เราจะนำพาชีวิตไปขึ้นแท่นแห่งความสำเร็จนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่เราได้กำหนดเป้าหมายชีวิตได้ถูกต้องและชัดเจนมากน้อยเพียงใด เป้าหมายมีความท้าทายหรือไม่ นอกจากนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างพลังงานขับเคลื่อนชีวิตไปสู่เป้าหมายโดยการสร้างแรงจูงใจทั้งแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน ถ้าต้องการเพิ่มระดับความแรงของแรงจูงใจขึ้นไปอีก อาจจะต้องสร้างพันธสัญญาโดยการบอกับคนรอบข้างว่าเป้าหมายในชีวิตเราคืออะไร เพราะพันธสัญญานี้คือแรงจูงใจ(เชิงบังคับ) ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เราลด ละ หรือเลิกล้มความตั้งใจที่จะไปสู่เป้าหมายที่ได้ให้สัญญาไว้ได้นะครับ

" สูตรความสำเร็จของชีวิต = ความท้าทายของเป้าหมาย x ระดับแรงจูงใจ"

 ที่มา :โดยณรงค์วิทย์ แสนทอง

 

ฐิติรัตน์  ถาวรสุจริตกุล

0863517928

ฯพณฯ ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส พร้อมทั้งประธานโครงการร่วมใน โครงการ 1 เหรียญ 1 คำอธิษฐานเพื่อในหลวง ได้แก่ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ บมจ.ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ และนายพงษ์พันธ์ สัมภวคุปต์ กรรมการผู้อำนวยการโครงการได้ร่วมกันแถลงข่าว โครงการ 1 เหรียญ 1 คำอธิษฐานเพื่อในหลวง ณ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ สุขุมวิท ในวันที่ 3 กันยายน 2552

โครงการ 1 เหรียญ 1 คำอธิษฐานเพื่อในหลวง จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรวมใจคนไทยเพื่อความสมัครสมานสามัคคี ส่งเสริมความรักใคร่ปรองดองของชาวไทย รวมทั้งนำรายได้สมทบเป็นทุนช่วยเหลือผู้ยากจนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพในโครงการมูลนิธิพระดาบส โดยได้เชิญผู้แทนจากสาขาอาชีพต่างๆ อีก 36 คนร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการ

ทางคณะกรรมการโครงการ ได้จัดทำซองใส่เหรียญพร้อมคำอธิษฐาน ซึ่งประชาชนสามารถนำเหรียญที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ ได้แก่ เหรียญ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ เหรียญ 10บาท ใส่ไปกับซองคำอธิษฐานดังกล่าว และใส่ลงในกล่องที่ได้ติดตั้ง ณ สาขาของธนาคาร สถานที่ราชการ มหาวิทยาลัย และศูนย์การค้าต่างๆ ทั่วประเทศ ในระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 ซึ่งจะประกาศรายชื่อสถานที่ให้ทราบในโอกาสต่อไป ทั้งนี้คณะกรรมการจะนำเหรียญพร้อมซองอธิษฐานทั้งหมด น้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2552 โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิพระดาบส

อนึ่ง มูลนิธิพระดาบส เป็นมูลนิธิเพื่อพัฒนาสังคมที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิกิตติมศักดิ์ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการมูลนิธิกิตติมศักดิ์ มีจุดประสงค์เพื่อฝึกอบรมความรู้วิชาชีพต่างๆแก่ผู้ใฝ่รู้ที่ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนทรัพย์โดยไม่จำกัดเพศและวัยของผู้เรียน พร้อมทั้งบ่มเพาะคุณธรรมและศีลธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ศึกษาจบออกไปแล้วประกอบอาชีพสุจริต สามารถช่วยเหลือครอบครัวของตนและประเทศชาติต่อไป

 

ข่าวเรื่องโค้ชทีมชาติไทย ปีเตอร์ รีด น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะสัญญา 4 ปี แต่ไม่ถึงปีก็มีข่าวว่า อาจจะไม่อยู่แล้ว เพราะอยากกลับไปอังกฤษเป็นผู้ช่วยโค้ชทีมช่างปั้นหม้อ

 

 

 ถ้าท่านผู้อ่านจำได้ ผมเคยเขียนถึงเขาหลายครั้งใน ''สยามกีฬา''  2 ประเด็น :

 

 

  •    * เงินที่จ่ายปีละ ล้านปอนด์ คุ้มหรือเปล่า? เพราะต้องเปรียบเทียบกับรายได้ของคนไทยหรือนักฟุตบอลไทยทั่วไปปีละกว่า 55 ล้านบาท ซึ่งสูงมาก

     

     

  •   * แต่ก็รู้ว่าได้ตกลงกันที่ประมาณ 700,000 ปอนด์ต่อปี
     

     

     

  •  * ต่อมาผมเข้าใจมากขึ้นเรื่องเงินเดือนของปีเตอร์ รีดว่ามีเงินจากผู้สนับสนุน (Sponsors) จ่ายหรืออาจจะมาจาก FIFA บางส่วน ผมก็ไม่ติดใจอะไรอีก
     

     

     

  •    * ผมยังได้สัมภาษณ์ TV รายการของผมได้เห็นบุคลิกที่เปิดกว้าง รับฟังและเรียนรู้ตลอดเวลา ผมถามว่าจะปรับตัวกับสภาพจริงในเมืองไทยหรือไม่? เขาบอกว่าพร้อมจะเรียนรู้ และเห็นเขาไปดูนักฟุตบอลใหม่ๆ ของสโมสรต่างจังหวัด เพื่อให้โอกาสถึงทีมชาติ ซึ่งคุณปีเตอร์ รีดทำงานได้ดี
     

     

     

  •   * ในระดับพรีเมียร์ลีกอาชีพของไทยเข้มแข็งขึ้น ดูว่าคุณปีเตอร์ รีด มีความสุขและเป็นที่ยอมรับของคนไทยพอสมควร มีข่าวออกมาจึงแปลกใจเล็กน้อย เขาอาจจะอยากทำงานในอังกฤษมากกว่าในเอเชีย (ไทย) น่าจะเซ็นสัญญาแค่ 2 ปี แต่เซ็นไป 4 ปี ผมอยากให้คุณปีเตอร์ ตัดสินใจว่าจะทำทีมชาติหรือไม่ทำ ขอฝากสมาคมฟุตบอลฯโดยเฉพาะคุณองอาจ ก่อสินค้าและคุณวรวีร์ มะกูดี ว่า

     

     

  •   * ระบบที่คุณปีเตอร์วางไว้เป็นเรื่องวินัย การฝึกซ้อม ใช้จิตวิทยา ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา ถ้าจะพูดเก๋ๆ ก็คือมีระบบ KM ของคุณปีเตอร์เก็บข้อมูล ความรู้ไว้ดีๆ
     

     

     

  •  * KM  (knowledge Management) ก็คือความรู้ต่างๆ ที่คุณปีเตอร์และทีมงานสะสม ควรเก็บรักษาไว้ และต่อยอด อะไรไม่ดีก็เปลี่ยนแปลงได้ ถ้านำเอาคนอื่นๆ มาเป็นโค้ชแทน เช่น คุณสตีฟ ดาร์บี้ ก็ขอให้ใช้แนวทางที่ดีของคุณปีเตอร์ รีด อาจจะปรับปรุงบางส่วน

     

     

  •   ใครมีดีก็สานต่อ ขอให้ใช้ทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และ ต่อเนื่อง ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลงหมดทุกอย่างหรือเริ่มต้นใหม่ถ้าคุณปีเตอร์ รีดไปจริงๆ ต้องขอบคุณเขาที่ได้เสียสละมาทำงานที่ประเทศไทยระยะหนึ่ง หวังว่าคงไม่มาทำงานให้ทีมชาติแบบสนุกๆ ผมถือว่า ทีมชาติไทยของเราก็มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี โดยเฉพาะช่วงหลังๆ การทำงานของสมาคมฟุตบอลฯ มีแนวทางเป็นมืออาชีพมากขึ้น ล่าสุด ดีใจที่คุณปีเตอร์ยังอยู่กับทีมชาติอีกระยะหนึ่ง

     

     

     ถ้าคุณปีเตอร์กลับอังกฤษ สิ่งแรกต้องเน้นคำว่า Passion หรือความชื่นชอบที่มาข้างใน คุณปีเตอร์เป็นคนอังกฤษ เคยเป็นนักเตะชั้นนำ ทีมชาติอังกฤษ จึงมีความสุข ชื่นชอบการทำงานที่อังกฤษ ก็ไม่ว่ากันเพราะมนุษย์เราไม่ได้ทำเพื่อเงินเท่านั้น ไม่ได้ทำเพราะเป็นแค่งาน แต่ทำเพราะมีความสุข ชื่นชอบในสิ่งนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความสุขลึกๆ ข้างใน คุณปีเตอร์ รีดมีโอกาสได้แสดงออกว่า Passion ของเขาคือฟุตบอลอังกฤษ

     

     

     บทเรียนนี้สำคัญ ไม่ว่ากีฬาหรือการทำงาน ถ้าเขาชอบอะไร ก็ทำสิ่งนั้น คุณระวิ โหลทอง ชอบเป็นเจ้าของทีมฟุตบอลเมืองทองฯ ก็ทำทุ่มเท เมืองทองฯ อาจจะเป็นแชมป์ปีนี้ก็ได้ เพราะเจ้าของมี Passion ที่จะทำ ทำให้ดีที่สุดมี Passion และมีความสุข มีเป้าหมายของชีวิต ในที่สุดก็ไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืนได้

     

     

      ผมคิดว่าฟุตบอลไทยยุคต่อไป จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรกีฬานานาชาติ คุณวรวีร์เริ่มทำไว้แล้ว โดยเป็นกรรมการ FIFA เพียงแต่แบ่งปันความรู้ของ FIFA ถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนรุ่นหลังๆ ด้วย

     

     

     กีฬา ก็คือส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ เรามี ดร.ณัฐ อินทรปาณ เป็นตัวแทนของโอลิมปิคสากลโลก ประเทศไทยมีหน้ามีตาในสังคมโลก ได้ข้อมูลลึกๆ เกี่ยวกับความเป็นไปของโอลิมปิคสากล บุคคลเหล่านี้ต้องยกย่องเขา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้เขาทำตำแหน่งสำคัญระดับโลกให้

     

     

  •  * ประเทศไทยและคนไทยได้อะไร?

     

     

  •  * ไม่ใช่ฉันได้อะไร?

     

     

  •   แบ่งปันข้อมูลประสบการณ์ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ ชี้ให้เห็นว่าจะอยู่ในเวทีโลก ต้องเน้นทักษะในการสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ

     

     

  •  * พูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

     

     

  •  * มีการเจรจาต่อรองที่ดี

     

     

  •  * เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม

     

     

  •   ผมคิดว่ากีฬา เช่น บาสฯซึ่งผมมีโอกาสได้สัมผัสกับสมาคมบาสฯ น่าจะมีบทบาทมากขึ้นในระดับเอเชียและระดับโลกได้ เพราะเป็นกีฬาท็อปฮิตของโลก แต่น่าเสียดาย เรายังมีบทบาทในเรื่องนี้น้อยเกินไป

     

     

     ช่วงนั้น ผมมีโอกาสได้พบผู้นำของ FIBA หลายๆ คน บุคคลอย่าง คุณนิพนธ์ ชวลิตมณเฑียร หรือคุณพิพัฒน์ ลาภปรารถนา อุปนายกสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย น่าจะทำงานเรื่องระหว่างประเทศมากขึ้น
    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล
     0863517928

    การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อความสำเร็จขององค์กร ทุนมนุษย์หมายถึง “ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะหรือความชำนาญ รวมถึงประสบการณ์ของแต่ละคนที่สั่งสมอยู่ในตัวเอง และสามารถจะนำสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นศักยภาพขององค์กร หรือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่า ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นมีความสามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน” ดังนั้นการที่องค์กรจะจัดการหรือหาวิธีการที่จะทำให้คนแต่ละคนในองค์กรใช้ศักยภาพ หรือความรู้ความสามารถที่มีมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้นจึงต้องมีความเข้าใจในคุณสมบัติของทรัพยากรบุคคลที่มีความแตกต่างจากทรัพยากรอื่น ๆ คือ คนเป็น “สินทรัพย์” ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ไม่มีค่าเสื่อมเหมือนทรัพย์สินอื่น คนคือ “ทุน” (Human Capital) ที่สามารถสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ได้เสมอ คนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้องค์กรไปถึงเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ว่าคนในองค์กรของคุณสักกี่คนที่จะเป็นนักคิด หรือมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า เพราะหลายองค์กรมักจะจำกัดคนที่จะเป็นนักคิดสร้างสรรค์ หรือมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ไว้เพียงบางฝ่าย โดยยึดติดรูปแบบการทำงานตามหน้าที่ (Functions) ของงานที่แบ่งเป็นฝ่าย ส่วน แผนกเป็นหลัก ทราบหรือไม่ว่าพลาสเตอร์ยา Band-aid เกิดจากความคิดพนักงานบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่ชื่อ เอิร์ล ดิกสัน ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่เป็นนักวิจัยอะไรเลย เพียงแต่ว่าภรรยาของเขาถูกมีดบาด ก็เลยทำแผลให้ภรรยาด้วยการใส่ยา แล้วนำผ้าก็อซมาวางและปิดเทปกาวจนเกิดไอเดียนี้ขึ้นมา หากในวันนั้นผู้บริหารมองว่า เขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่วิจัยผลิตภัณฑ์ ไม่ได้มีหน้าที่เสนอไอเดียอะไรสำหรับสินค้าขององค์กร วันนี้อาจจะไม่มีพลาสเตอร์ยาในโลกนี้ก็ได้ หรือถ้ามีอาจไม่ใช่จอห์นสันแอนด์จอห์นสันเป็นผู้ผลิตรายแรกก็ได้ ย้อนกลับมาที่องค์กรของคุณ วันนี้องค์กรของคุณส่งเสริมคนในองค์กรให้มีความพร้อมในการแข่งขันกับคู่แข่งมากน้อยแค่ไหนแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความพร้อมและความสามารถให้กับทุกคนในหน่วยงาน ไม่ใช่ไปสร้างไว้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ และต้องมีวิธีคิดใหม่ในเรื่องของการค้นหาศักยภาพหรือความสามารถในองค์กรของคุณให้พบ โดยไม่ไปใช้ข้อจำกัดตามลักษณะงานหรือตามหน้าที่ง่าย หรือตามตำแหน่งที่เขาทำอยู่ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ในองค์กรของคุณให้มีความพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้ตลอดเวลา และในทุกสถานการณ์ พูดง่าย ๆ ว่าองค์กรต้องหาความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานทุกคนโดยไม่เลือกหมู่เหล่า ใครมีไอเดียหรือวิธีการจะคิดหรือเสนอแนะอะไรที่น่าสนใจ ก็จะต้องรับมาพิจารณาเพื่อต่อยอดความคิดนั้น ซึ่งจะทำให้องค์กรของคุณอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงนี้ได้ในที่สุด จากกรณีของเอิร์ล ดิกสัน กับพลาสเตอร์ยานั้น เขาสามารถคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้ด้วยประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งกว่าจะค้นพบได้คงไม่ง่ายนัก แต่น่าจะดีกว่าหากว่าองค์กรของคุณมีส่วนช่วยในด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น ให้การฝึกอบรม สร้างการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ก็น่าจะทำให้องค์กรมีบุคลากรนักคิดคล้าย ๆ คุณเอิร์ลได้มากขึ้น หรือเร็วขึ้นกว่ารอให้เขาคิดได้เอง องค์กรกับคนในองค์กรก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ถ้าเราหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เอาใจใส่ ก็จะทำให้ต้นไม้ออกดอกผลได้ดีกว่า มีรากที่แข็งแรงกว่าการปล่อยไปตามเรื่องตามราวอย่างแน่นอน...วันนี้องค์กรของคุณมีการวางแผนในการสร้างสมรรถนะหรือความสามารถ (Competency) ในทุนมนุษย์เพื่อให้มีความพร้อมในการแข่งขัน หรือเป็นต้นไม่ที่มี “ราก” แข็งแรงเพื่อช่วยค้ำยันองค์กรแล้วหรือยัง ที่มา : หนังสือ Training Roadmap ตาม Competency เขาทำกันอย่างไร โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์

    วิธีคิด ที่มีความหมายไม่เหมือนกัน เหมือนพนักงานขายรองเท้าที่ถูกส่งไปทำตลาดที่ประเทศหนึ่งซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่นิยมสวมรองเท้า     พนักงานขายคนแรกที่ถูกส่งไปกลับมารายงานว่าไปดูแล้วคิดว่าคงไม่สามารถทำตลาดรองเท้าที่ประเทศนี้ได้เพราะคนส่วนใหญ่ไม่สวมรองเท้า      ทางบริษัทจึงส่งพนักงานขายคนที่สองไป ปรากฏว่าพนักงานคนที่สองกลับมารายงานอย่างตื่นเต้นดีใจว่า มีโอกาสทำตลาดรองเท้าได้ดีมากๆ เพราะยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สวมรองเท้า สุดท้ายเขาก็สามารถทำยอดขายได้อย่างมหาศาลเป็นท็อปเซลของบริษัทประสบความสำเร็จได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ต่างกันตรงไหน ต่างกันตรงวิธีคิด

    รู้ไหมคนที่ประสบความสำเร็จคิดอย่างไร หรืออะไรเป็นแรงผลักดันพวกเขา ดังนั้น เพื่อที่จะได้คำตอบเหล่านี้ หนุ่มเจฟฟรีย์ จึงดิ้นรนไปสอบถามความคิดเห็น จากตัวอย่างของผู้ประสบความสำเร็จในหลายสาขาอาชีพ แล้วนำมารวมกันกลายเป็นแรงจูงใจ 7 ประการดังนี้

    1.บอกกับตัวเองว่า อนาคตขึ้นอยู่กับความคิด และการกระทำของคุณเอง

    2.วางเป้าหมายให้ชีวิต เช่น จะทำงานอะไร หรือมีชีวิตอย่างไร ใช้สติกำหนดไว้แต่เนิ่นๆ

    3.เมื่อมีเป้าหมายก็ต้องมีการวางแผน ทำอย่างไรถึงจะได้ดังใจ

    4.อย่าจับเสือมือเปล่า หมายถึง ต้องยอมลงทุนบ้าง เพื่อให้ได้ความสำเร็จนั้นมา ถ้าไม่พยายามอะไรเลย ไม่ยอมเขียนจดหมายไปสมัครงาน แล้วบริษัทห้างร้านต่างๆ จะรู้ได้อย่างไรว่า มีคุณอยู่ในโลก หรือจะติดต่อคุณอย่างไร

    5.ทำสิ่งใดก็ควรรู้จริงในสิ่งนั้น อย่ารู้แบบเป็ด เพราะคนที่คู่ควรกับความสำเร็จ ต้องฝึกฝนจนมีทักษะสุดยอด ในงานที่ทำถึงจะถูก

    6.อย่าท้อถอยง่ายๆ แต่ต้องเผื่อใจไว้ด้วย

    7.อย่าชักช้า ลงมือทำในสิ่งที่ตั้งใจตั้งแต่บัดนี้

    เพื่อเพิ่มศักยภาพภายใน

    - หัดคิดแต่ด้านบวก แล้วเราจะรู้ว่ามีแต่สิ่งที่เป็นไปได้

    - หัดฝัน แล้วเราจะรู้ว่าโลกนี้น่าอยู่

    - หัดพูดแต่ด้านบวก แล้วเราจะรู้ว่ามีคนอีกมากมายที่รักเรา

    - หัดทนดู แล้วเราจะรู้ว่า เรามีความอดทนยิ่งกว่าใครๆ

    - หัดฟาดฟันกับอุปสรรค แล้วเราจะรู้ว่าเราคือคนที่เข้มแข็ง

    - หัดออกกำลังกายทุกวัน แล้วเราจะรู้ว่าเราคือมนุษย์เจ้าพลังคนหนึ่ง

    - หัดยิ้ม แล้วเราจะรู้ว่าเราคือคนที่น่ารัก

    อย่าลืมคิดถึงสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันเหล่านี้

    -เครื่องประดับที่สวยที่สุดบนเรือนร่าง คือ รอยยิ้ม

    -งานที่ทำแล้วพอใจที่สุด คือการช่วยเหลือผู้อื่น

    -ความสุขที่สุด คือการให้

    -อาวุธร้ายแรงที่ต้องระมัดระวัง และเก็บรักษาให้ดีที่สุด คือ คำพูดทำร้ายคนอื่น

    -พลังยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทำให้ทุกอย่างสำเร็จ คือความรัก

    -ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การทำร้ายตนเอง

    -ปัญหาใหญ่ที่สุดที่จะต้องเอาชนะให้ได้ คือความกลัว

    -ยานอนหลับที่มีผลดีที่สุด คือ ความสงบภายในใจ

    ผลของการยึดมั่นถือมั่น

    -การยึดมั่นถือมั่น เป็นเหตุให้เกิด การแบ่งแยก

    -การแบ่งแยก เป็นเหตุให้เกิด การแข่งขัน

    -การแข่งขัน เป็นเหตุให้เกิด ความไม่ไว้ใจกัน

    -ความไม่ไว้ใจกัน เป็นเหตุให้เกิด การทำลายกัน

    เรียนท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยิ่ง

                หนู สมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง สุขภาพดีสร้างได้ด้วยตัวเรา โดยจะเน้นไปที่ผู้สูงวัย แต่>>>>>>>>ก็สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของทุก ๆๆคนได้นะคะเพราะ >>>>>> สุขภาพดี ใคร ๆก็ "ปรารถนาอยากได้ " เพราะถ้าคิดว่าHappiness + Passion +Life+ Love  (ซึ่งในที่นี้หนูขอให้มีความหมายนัยยะเดียวกันนะคะ) และโดยเฉพาะของหนูสมศรี (My Life + My Love + My Passion )  หนูคิดว่าชีวิตนี้ เรามีระยะเวลาของชีวิตนั้นสั้นนัก >>>>> แม้เรามีทรัพย์สมบัติมากมาย + มีเงิน + มีธุรกิจที่มีมูลค่ามหาสาน >>>>>> แล้วในวันใดเราเจ็บป่วย (แม้มีทุก ๆ อย่างล้นฟ้า) ก็มิอาจ >>>>> ขอชื้อ ความเจ็บ + ความป่วยได้นะคะ  ดังนั้นสิ่งที่หนูเปิ้น (สมศรี นวรัตน์) ขอมอบบทความนี้ให้ผู้อ่าน อยากให้เป็นของขวัญนะคะ  ขณะเดียวกันทุก ๆท่านสามารถอ่านแล้วนำไป Applied ใช้กับคุณพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ได้นะคะ ซึ่งถ้าเราสกัดออกมาได้(Concentration) สิ่งเหล่านี้ก็คือทฤษฎี 4 L+ ทฤษฎี 3วงกลม + Life Long Learning + HRD ( 8 K’s + 5 K’s)ท่าน ศ. ดร. จีระได้นะคะ  

     

    สิ่งที่ชะลอความเสื่อมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี
    1.  กินอาหารที่ถูกต้อง                                        
    2.  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
                                   
    3. การมีสุขภาพจิตที่ดี

    1. รับประทานอาหารที่ถูกต้องควรเลือกกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
         
    อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ
          อาหารหมู่ที่
    2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
          อาหารหมู่ที่
    3 ผักต่างๆ
          อาหารหมู่ที่
    4 ผลไม้ต่างๆ
          อาหารหมู่ที่
    5 ไขมันจากสัตว์และพืช

    2.การออกกำลังกาย การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับทุกคนเพราะทำให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่าง ๆได้ดีอีกด้วย

    ดร.โรเบิร์ต บัตเลอร์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันว่า ด้วยผู้สูงอายุแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ถ้าการออกกำลังกายสามารถรวบรวมบรรจุลงเป็นเม็ดได้ มันจะเป็นยาชนิดเดี่ยวที่เป็นประโยชน์และใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ

    การออกกำลัง กายสม่ำเสมอการเริ่มต้นออกกำลังกาย ควรเริ่มแบบช้า ๆ และใช้กำลังน้อย ๆ ก่อน เมื่อร่างกายได้ปรับตัวแล้ จึงค่อย ๆออกกำลังกายให้เร็วขึ้น แต่อย่าเบ่งหรือกลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย   การเริ่มต้นออกกำลังกาย ควรเริ่มแบบช้า ๆ และใช้กำลังน้อย ๆก่อน เมื่อร่างกายได้ปรับตัวแล้ว จึงค่อยๆ ออกกำลังกายให้เร็วขึ้น แต่อย่าเบ่งหรือกลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย 

     

    การมีสุขภาพจิตที่ดี
          ศาสตราจารย์ E.Kinnin แห่งคณะจิตวิทยาการศึกษาของมหาวิทยาลัย Windsor ในแคนาดา ตั้งข้อสังเกตว่าสุขภาพจิตดี คือ ความชื่นชมยินดีในสัมพันธภาพกับผู้อื่นและกับตนเอง

     

    ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ได้แก่

    ความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน

    ทัศนคติของสังคมต่อผู้สูงอายุ

     

    วิธีปฏิบัติตนเมื่อมีปัญหาสุขภาพจิต
    1. ยอมรับความจริง
    2. พึ่งพาตนเอง
    3. ศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมะ

     

    แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย
    1. ดื่มน้ำวันละ6 - 8 แก้ว

    2. พักผ่อนการนอนหลับให้เพียงพอวันล 6 - 8 ชั่วโมง
    3. พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
    4. ฝึกการขับถ่าย
    อย่าให้ท้องผูก
    5. ดูแลสุขภาพช่องปาก
    ฟัน และเหงือกอยู่เสมอ
    6. ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ
    ปีละ 2 ครั้ง
    7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ให้เหมาะกับสภาพของร่างกาย
    8. งดสิ่งเสพย์ติดที่บั่นทอนสุขภาพ เช่น บุหรี่  เหล้า
    9. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อ่านหนังสือที่ชอบ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้

    10. มองโลกในแง่ดี จะทำให้จิตใจสดใส อารมณ์ดี
    11. ควรหาโอกาสพบปะสังสรรค์เพื่อนบ้าน เพื่อนที่เข้าใจ ชอบในสิ่งเดียวกัน

    12.หาโอกาสไปเที่ยวสถานที่ ที่ตนชอบ เช่นทะเล ศูนย์การค้า ภูเขา

     

    สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ
    ขนมหวาน
    อาหารรสจัด
    อาหารหมักดอง
    อาหารที่มีกะทิ
    อาหารที่ทอด
    เครื่องดื่มต่างๆ
    เช่น เหล้า, เบียร์, กาแฟ

    สุขภาพดีไม่มีขาย >>>>ถ้าอยากได้ >>>>ต้องสร้างด้วยตนเอง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

    เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

    ผู้ตรวจการ “การเรียนรู้” หรือ Inspector General of Learning Culture” คือผู้สร้างผลประกอบการที่ดีให้องค์กร นำไปใช้ปฏิบัติ และต้องวัดผลได้

    องค์กรที่มุ่งไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการเรียนรู้ต่อเนื่องและตลอดเวลา ถ้าจะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต้องมีผู้ตรวจการ “การเรียนรู้” ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้สร้างรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ การนำไปสู่ปฏิบัติจริง และมีการวัดประเมินผลอย่างครบวงจร

    การตรวจการ “การเรียนรู้” สามารถสรุปออกมาเป็นขั้นตอน ดังนี้

    1.สร้างรูปแบบ/วิธีการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ทฤษฎี 4 L, S (ดร.จีระ) เป็นแนวคิดหนึ่งที่สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมในยุคนี้ องค์การที่มุ่งไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

    2.พัฒนาคนให้มีศักยภาพสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา โดยพัฒนาบุคลากรให้เกิดมีทุน 8 K, S (ดร.จีระ) ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญที่มนุษย์ควรมี ได้แก่ Human Capital ,Intellectual Capital, Ethical Capital ,Happiness Capital ,Social Capital Sustainability Capital ,Digital Capital, Talented capital ในยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกได้อย่างยั่งยืนควรเพิ่มทุน อีก 5 ทุน ได้แก่ Creativity Capital, Innovation Capital Knowledge Capital, Cultural Capital ,Emotional Capital

    3.บริหารความเป็นเลิศของคน องค์กรที่มีการลงทุนมนุษย์ให้มีทุนทั้ง 8 ทุน และ 5 ทุนและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลานั้นยังไม่เพียงพอ องค์การแห่งความเป็นเลิศนั้นต้องมีการบริหารความเป็นเลิศของคนในองค์การ ไม่ใช่แค่ปลูกข้าว แต่ต้องดูว่าเก็บเกี่ยวได้ผลหรือไม่ หมายความว่าเมื่อเราลงทุนสร้างคนไปแล้ว ซึ่งเปรียบเสมือนการปลูกข้าว ถ้าเราไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด ฉันใดก็ฉันนั้นหากเราไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือใช้ความเป็นเลิศของคนในองค์กรก็ไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ดังนั้นทฤษฎี 3 วงกลม เป็นแนวคิดที่จะช่วยทำให้การบริหารคน และการเก็บเกี่ยวความเป็นเลิศของคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักสำคัญอยู่ 3 ประเด็น คือ

    ๑) Context การบริหารองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นจำเป็นต้องมองบริบทั้งภายในและภายนอก มีการปรับปรุงไขอย่างสมดุล เพราะการบริหารงานจะมองแต่ทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้ จะต้องมององค์กรด้วย

    ๒) Competencies หรือ ความสามารถของคน ต้องมีการพัฒนาศักยภาพ ทักษะและความสามารถ ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง

    ๓) Motivation หรือแรงจูงใจในระบบการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ

    4.วัดประเมินผล เพื่อติดตามผลการเรียนรู้...ว่าผู้เรียนทุกท่านเมื่อได้เรียนรู้แล้ว...มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นผู้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่? เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เทคนิค เครื่องมือที่นำมาใช้ในการประเมินผลมีหลายเทคนิคด้วยกัน องค์การสามารถเลือกมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การตัวเองได้

    เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้

    1.แบบทดสอบ ซึ่งสามารถทดสอบผู้ได้ทั้งก่อนและหลังการเริ่มเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบอัตนัย และ แบบปรนัย

    2.แบบสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 แบบ เช่นกัน 1) แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และ 2) แบบไม่มีโครงสร้าง

    3.แบบสังเกต มี 2 แบบ คือ 1) สังเกตแบบมีส่วนร่วม และ2) สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

    4.แบบสอบถาม มี 2 แบบ คือ 1) แบบปลายเปิด และ 2) แบบปลายปิด

    หากทุกคนในชาติเป็นคนใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นสังคมฐานความรู้ รู้จักหาข้อมูลข่าสารตลอดเวลา การทำงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น การพัฒนาคนให้เป็นคนมีความรู้ มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานให้เกิดผลผลิต

    ทักษิณานันท์

    080 -6148578

    เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    Passion ความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ

    Happiness มีความสุขในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกายหรือสุขใจ ซึ่ง ๒ คำนี้มีความสำคัญและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ถ้าคนเราประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตคอบครัว อาชีพอย่างมีความสุขคนๆนั้นก็จะมี Happiness Capital และจะนำไปสู่ Sustainability

    Sustainability ความยั่งยืน เป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมากหากเราไม่พัฒนาตนเองอย่งต่อเนื่องแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความยั่งยืน มี 6 ประการ ( Chira ,s 6 factors ) ประกอบด้วย

    ๑.การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลในระยะยาว อย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว

    ๒.การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย และต้องไปด้วยกันกับการพัฒนา

    ๓.การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือ มีศีลธรรม คุณธรรมคู่กันไปกับการพัฒนา

    ๔.ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้

    ๕.ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ

    ๖.ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตนเอง self – reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว

    บุคคลตัวอย่างที่มี Passion และนำไปสู่ Sustainability คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดเวลาหกทศวรรษที่ผ่านมาของการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจและเชื่อมความรักสามัคคีของปวงชนทั้งชาติให้สมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียว โดยมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรงเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทย สมดังที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นพระราชสัตยาธิษฐานว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่มีเป็นบุคคลที่มีลักษณะแบบ Passion กล่าวคือ เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกันแล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรและพระอัจฉริยภาพในด้านการพัฒนาต่างๆ ปรากฎแก่สายตาประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ภาพพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติ นับตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติในปี ๒๔๘๙ แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระกรุณาธิคุณในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด หรืออยู่ห่างไกลสักเพียงใดก็มิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร ทรงคิดค้นแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบยล

    การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องวิถีชีวิตสังคมไทย และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยทรงเน้น “การพัฒนาคน” เป็นตัวตั้ง และยึดหลักผลประโยชน์ของปวงชน และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชน ตลอดจนภูมิสังคม ที่คำนึงถึงความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และการพึ่งตนเอง โดยดำเนินกิจการอย่างบูรณาการที่อาสัยความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการรู้รัก สามัคคีของทุกฝ่าย

    Passion ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    1.นักประชาธิปไตย

    2.ยึดประโยชน์สุขของปวงชน

    3.ทุ่มเทพระวรกายตรากตรำมุ่งมั่นแก้ปัญหาให้ปวงชน

    4.วิเคราะห์เป็นระบบ

    5.คิดค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างแยบยล

    6.ซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม

    หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่นำไปสู่ Sustainability

    ๑.ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ

    ๒.ระเบิดจากข้างใน เรื่องการ “พัฒนาคน” ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” หมายความว่าต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว

    ๓.แก้ปัญหาที่จุดเล็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหาทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม

    ๔.ทำตามลำดับขั้น เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆต่อไปได้

    ๕.ภูมิสังคม การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน

    ๖.องค์รวม ทรงวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจร ในการที่จะทรงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้นจะทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

    ๗.ไม่ติดตำรา ไม่ผูกติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

    ๘.ประหยัดเรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด การพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากมากนัก

    ๙.ทำให้ง่าย (Simplicity) ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้กฎแห่งธรรมชาติเป็นแนวทางนั่นเอง

    ๑๐.การมีส่วนร่วม ทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงนำ “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน

    ๑๑.ประโยชน์ส่วนรวม การปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และการพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

    ๑๒.ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาธรรมชาติ หากเราต้องแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ

    ๑๓.ใช้อธรรมปราบอธรรม ทรงนำความจริง ในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎของธรรมชาติมาเป็นหลักการ

    ๑๔.ปลูกป่าในใจคน เป็นการปลูกป่าลงแผ่นดินด้วยความต้องการอยู่รอดของมนุษย์ ทำให้ต้องมีการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์ของตนเองและสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม ปัญหาความไม่สมดุลบังเกิดขึ้น ดังนั้น ในการที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้องปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน

    ๑๕.ขาดทุนคือกำไร “...ขาดทุน คือ กำไร Our Loss is Our gain... การเสียคือ การได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนดีมีสุขนั้นเป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...”

    ๑๖.การพึ่งตนเอง “...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด เพราะผู้มีอาชีพ และฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญในระดับสูงขั้นต่อไป.....”

    ๑๗.ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน “...ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้ มากกว่าผู้มีความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ...”

    ๑๘.ทำงานอย่างมีความสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญและทรงมีความสุขทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยมีพระราชดำรัส ครั้งหนึ่งว่า

    “...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น...”

    การสร้างองค์กรแห่งความสุข

    ผู้นำมีความมุ่งมั่นในการทำงาน(Leadership + Passion ) + ทำให้องค์กรที่บรรลุวัตถุประสงค์(Profitability) +พนักงานทุกคนทำงานอย่างมีความสุข (Happiness) + มีการเรียนรู้ตลอดเวลา (Life Long Learning) = องค์กรแห่งความสุข (Happiness workplace )= องค์กรมีความยั่งยืน (Sustainability)

    Leadership + Passion = Profitability

    Profitability + Happiness + Life Long Learning = Happiness workplace = Sustainability

    การบริหารองค์การตามวัตถุประสงค์ เป็นกุศลโลบายในการจัดการที่มุ่งผลสำเร็จของงานเป็นหลักโดยอาศัยการกำหนดวัตถุประสงค์การทำงาน และมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินความก้าวหน้า หรือความสำเร็จร่วมกันระหว่างผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์การดังกล่าว ผู้นำต้องที่มี ความมุ่งมั่น ตั้งใจ (Passion ) 10 ประการ หรือเรียกว่า “Archetype profiles” ) เพื่อนำพาองค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย

    1. The Builder: ผู้สร้าง ผู้วางรากฐาน

    2. The Conceiver: ผู้คิดค้น

    3. The Connector: ผู้ประสาน

    4. The Creator: ผู้ประดิษฐ์

    5. The Discoverer: ผู้ค้นพบ

    6. The Processor: ผู้ดำเนินการ

    7. The Transformer: ผู้เปลี่ยนแปลง

    8. The Altruist: ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง

    9. The Healer: ผู้รักษา

    10. The Teacher: ผู้สอน/ถ่ายทอด

    ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวถึงทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ไว้ว่าเมื่อมนุษย์มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางจริยธรรม ย่อมเป็นผู้มีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์ มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความสุขปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกายหรือสุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใด ก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

    การที่เราจะทำงานอย่างมีความสุขได้จะต้อง

    1) รู้จุดมุ่งหมายของงาน และรู้ว่าผู้รับบริการต้องการอะไร

    2) รู้ว่าเรามีความสามารถในการนำเสนอ พอเพียงหรือไม่

    3) ต้องเตรียมตัวดี มีเวลาเพียงพอ

    4) พักผ่อนเพียงพอ

    5) มีทีมงานดี

    6) สุขภาพกายสุขใจต้องดี

    7) ต้องสนุกกับการท้ายทาย

    8) ทำงานด้วยความกระตือรือร้น

    9) ต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้

    10) ต้องมีความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน

    11) ต้องไม่เครียด (no stress)

    12) เพิ่มคุณค่าให้ตัวเองในการทำงาน (enrich ตัวเอง)

    จากทั้ง ๒ แนวคิดข้างต้นมีความสัมพันธ์กันระหว่างความสุขกับความสำเร็จหรือการบรรลุเป้าหมายขององค์กร เพราะองค์กรหรือสถานที่ทำงานเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง ซึ่งคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกว่าครึ่งคนในที่ทำงาน องค์กรจึงเป็นสถานที่สร้างทั้งความสุข โอกาส ความสำเร็จ รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับทุกคน หากองค์กรเห็นความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อม และการบริหารจัดการองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานผ่านกิจกรรมต่างๆ จนช่วยให้พนักงานดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และเกิดเป็นองค์กรแห่งความสุขย่อมส่งผลให้แก่พนักงานองค์กรร่วมมือกันผลิตผลงานอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขัน ทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

    องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) เป็นองค์กรที่มีกระบวนการพัฒนาคนในองค์กรอย่างมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร มุ่งเน้นให้พนักงานอยู่ร่วมกันและทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข สามารถผลิตสินค้าและบริการตามที่ลูกค้าต้องการด้วยความคิดสร้างสรรค์จนเกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning Organization) พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถนำพาองค์กรไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

    การเป็นองค์กรแห่งความสุขได้อย่างยั่งยืน ต้องมีนโยบายและกิจกรรมในการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต (สมดุลชีวิต ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว) เช่น กิจกรรมพัฒนาสมอง พัฒนาครอบครัว พัฒนาคุณค่าในตัวพนักงาน ผู้บริหารทุกระดับต้องเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรม และให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม

    ทักษิณานันท์

    080 -6148578

    ปล.อย่าพึ่งเบื่อนะค่ะ ยังมีอีก ตอนต่อไปจะพูดถึงคุณสมบัติของผู้นำที่เป็นที่ต้องการขององค์การ และของประเทศในอนาคต ซึ่งสรุปได้จากแนวคำตอบข้อสอบข้อที่ 6 ของพวกเราไง

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ภาพตอนเช้าที่ท่านได้จัด Morning Talk ให้นักศึกษาปริญญาเอกและได้จัดการเรียนการสอนโดยมี Workshop เล็ก ๆ สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ซึ่งทุกคนตื่นตัว ได้ความรู้ การเรียนรู้เป็น Team และสนุกสนานมากครับ

    ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงครับ

    ธนพล ก่อฐานะ

     

    Image555

    เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                หนูสมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง สุขภาพสร้างสรรค์คือหัวใจสำคัญของคุณภาพชีวิต เนื้อหาดังนี้นะคะคนเราทุกคนที่เกิดมามีสุขภาพทางกายครบ 32 ประการถือว่าเป็นทุน(Capital) ที่สำคัญมาก เป็นทุนที่ติดมาตั้งแต่เกิด แต่ก็ต้องย้อนไปตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาว่าคุณภาพชีวิตของมารดาขณะอุ้มท้องและมีน้องอยู่ในครรภ์นั้น ผู้เป็นมารดาต้องตระหนัก (Awareness) และให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพของตนเองกับลูกน้อยในครรภ์อย่างมากโดยนำแนวคิด/บทความของท่าน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์คือ คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน มาเป็นหลักคิดและนำมากำหนดทิศทาง(Dimension) ในการสร้างเสริมสุขภาพ(Health Promotion)ให้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุ กลุ่มอาชีพ โดยมีการบูรณาการ(Integration) ทุก ๆภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่น(อบจ./อบต.) ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาคประชาชนโดยเฉพาะผู้นำทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ ที่มีอยู่ในแต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และบุคคลที่มีจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวน การเรียนรู้สู่วิถีชุมชน เป็นสุขภาพที่สร้างสรรค์(Creativity Health) เพราะมีการดึงเอาพลัง(Energy)จากบุคคลทุกภาคส่วนเริ่มตั้งแต่บุคคลในครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล และภาคอำเภอ เข้าร่วมดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้กระบวนการเรียนรู้(ตามทฤษฏี 4 L’s ของ ศ.ดร.จีระ) ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเอกภาพ (Unity) โดยมีแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพแบบสร้างสรรค์โดยการนำเอานโยบาย 6 อ. มาสร้างเสริมสุขภาพ(Health Pramation) ควบคุม(Control Disease)และป้องกันโรค(Health Prevention)โดยแนวคิดนั้นควรสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต (Life Style) และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งนโยบาย 6 อ. ประกอบด้วย

    อ.ที่ 1 ออกกำลังกาย ของประชากรทุกกลุ่มอายุ ทุกเพศ ทุกวัย มีการออกกำลังกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อย 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ทั้งการออกกำลังกายเต็มรูปแบบ เช่น การรำไทเก๊กของผู้สูงอายุ เต้นแอโรบิคของวัยหนุ่มสาววัยรุ่น กิจกรรมไม่เต็มรูปแบบเช่นการเดินขึ้นบันไดแทนขึ้นลิฟต์  การทำงานบ้านเป็นต้น

    อ.ที่ 2 อาหาร ของประชาชน โดยวิธีการเลือกซื้ออาหารและบริโภคอาหารที่เหมาะสม อาหารปลอดสารปนเปื้อน โดยโรงพยาบาลร่วมกับสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพ การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย อาหารที่ไม่มีสารปนเปื้อน ไม่มีสารเคมีและเป็นอาหารที่เหมาะสมกับกลุ่มอายุ วัย กลุ่มป่วยเป็นโรค

    อ.ที่ 3 อารมณ์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องความเครียดและภาวะซึมเศร้า เมื่อมีภาวะความเครียดสูง ทางโรงพยาบาลจัดกิจกรรมแนะนำผู้สูงอายุให้สมัครเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่จัดตั้งอยู่ในรพ.หรือในสถานีอนามัย จะช่วยลดภาวะความเครียดและภาวะซึมเศร้า ขณะเดียวกันก็มีการส่งเสริมให้เล่นกีฬา ตามกลุ่มอายุ กลุ่มอาชีพ ตามที่ได้สมัครป็นสมาชิกกลุ่มเช่นวัยรุ่นแนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก ของ To be Number One  ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุทั้งของโรงพยาบาลหรือสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุของสถานีอนามัยระดับตำบล 

    อ.ที่ 4 อโรคยา หมายถึงการลดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายตามบริเวณบ้าน ในบริเวณโรงเรียน และในบริเวณวัด กิจกรรมคัดกรองตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และวัดความดันโลหิตกิจกรรมคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น 

    อ.ที่ 5 อนามัยสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Environment) ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ทั้งด้านการจัดสถานที่ (Physical) และด้านสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพจิตใจ เช่นในโรงพยาบาลจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่สัมผัสได้ด้วยใจ  มีต้นไม้ใหญ่ที่ร่มรื่น มีดอกไม้ที่สวยงาม ทำให้สถานที่มีความสดชื่น รื่นรมย์ มีห้องน้ำที่สะอาดปราศจากกลิ่นรบกวน โรงพยาบาลที่สะอาดตามหลัก 5ส. ขณะเดียวกันจะทำงานเชื่อมโยงไปสู่โรงเรียนเป็นโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ(Healthy Promoting School) มีการกำจัดขยะมูลฝอยและในครัวเรือนมีการแยกขยะ ไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะตามถนนหนทาง โดยเฉพาะพลาสติก โดยเริ่มจากในโรงพยาบาลขยายสู่ภายนอกและสร้างเครือข่าย (Network) ไปสู่โรงเรียน ให้เด็กนักเรียน คณะครูจัดแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำคูคลอง คณะครูและนักเรียน มีทักษะ(Skill) การแยกขยะที่ดี โรงเรียนมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายทั้งในบริเวณโรงเรียน และที่ในบ้าน คนในครอบครัวจะปลอดภัยจากยุงลาย ลดการเกิดโรคไข้เลือดออก ไม่มีเด็กตายด้วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นผลมาจาก อนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี

                อ.ที่ 6 อบายมุข จะลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและสารเสพติด การเล่นการพนันของประชาชนในหมู่บ้าน การแนะนำ การสร้างเสริมความรู้ (ทฤษฏี 4 L’s) ในเรื่องของอันตรายจากการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสารเสพติด การเล่นการพนัน ของประชาชน ทุกกลุ่มอายุ กลุ่มอาชีพและถ้าต้องการบำบัดรักษาจะให้คำแนะนำ  ให้เข้าร่วมกิจกรรมEmpowermentการเลิกบุหรี่ในคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลบ้านลาด ด้วย กิจกรรม 5A = ได้แก่ Ask, Advise, Assess, Assist, Arrange follow-up  กิจกรรม5R = ได้แก่ Relevance, Risks, Rewards, Road blocks, Repetition และกิจกรรม 5D = ได้แก่ Delay, Deep Breath, Drink Water, Do Something else, Destination

                สรุป สุขภาพจะดีได้ด้วยการสร้างคุณภาพชีวิต(Quality of Life) ด้วยแนวคิด สุขภาพสร้างสรรค์(Creativity Health) คือหัวใจสำคัญของคุณภาพชีวิตของทุก ๆคน นะค่ะ

    ใช้พื้นที่เป็นฐาน

               บูรณาการทุกภาคส่วน

                       สร้างกระบวนการเรียนรู้

                               สู่วิถีชุมชน

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์   รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

    เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                หนูสมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง กิจกรรม ในการลดและเลิกบุหรี่ด้วย  กิจกรรม 5A, กิจกรรม 5R ,กิจกรรม 5D ดังนี้

     

    วิธีการส่งเสริมเพื่อให้กลุ่มเสี่ยง(Risk)ในการเลิกบุหรี่ ด้วยกิจกรรม 5A  ได้แก่

     1. Ask = การถาม ผู้ที่สูบบุหรี่ถึงพฤติกรรมในการสูบบุหรี่

    2. Advise = การให้คำแนะนำถึงอันตรายการสูบบุหรี่ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนะนำการลด การเลิกการสูบบุหรี่ การเข้าถึงบริการในคลินิก อดบุหรี่

     3. Assess = การประเมินว่าบุคคลนั้นติดบุหรี่เพราะความเคยชินหรือการติดบุหรี่จริงๆ ควรบำบัดด้วยการEmpowerment / การจูงใจ(Motivation) หรือควรรักษาด้วยยาในคลินิก อดบุหรี่

    4. Assist = การช่วยเหลือด้วยการบำบัด (Therapy) หรือการรักษาด้วยการใช้ยา

     5. Arrange follow-up = การจัดการติดตามผลในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมและภายหลังการสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ เลิกบุหรี่เป็นคนดีศรีสังคม

     

    การให้คำปรึกษา (Counseling) และจูงใจ(Motivation)ให้เลิกบุหรี่

    กิจกรรม 5R  ได้แก่

    1. Relevance = การทำกิจกรรมให้ตรงประเด็นและสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นจุดสนใจของผู้สูบบุหรี่ (ทฤษฎี 2 R’s ของ ศ.ดร. จีระ)

    2. Risks = ให้ข้อมูลกับผู้สูบบุหรี่ ผู้ใกล้ชิด ญาติ ผู้เกี่ยวข้อง ถึงความเสี่ยง ข้อเสีย ภัยอันตราย โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่

    3. Rewards = ข้อดีที่จะได้รับจากการหยุดใช้บุหรี่ เป็นรางวัลสำหรับตนเอง บุคคลใกล้ชิดอันเป็นที่รัก ห่วงใย (ทฤษฎี 3 วงกลมของท่าน ศ. ดร. จีระ  = CMC :  Competency + Motivation + Context)

     4. Road blocks = อุปสรรค ปัญหา สิ่งที่เป็นข้อขัดขวาง รวมถึงการให้คำแนะนำ/วิธีการแก้ไข

    5. Repetition = การกระทำซ้ำ ๆในทุก ๆครั้งของการมาติดต่อ / การบำบัดรักษากับโรงพยาบาลบ้านลาด

     

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Behavior Change)  เพื่อเลิกบุหรี่อย่างยั่งยืน(Sustainability) ตาม ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ. ดร.จีระ ด้วย กิจกรรม 5D ได้แก่

    1. Delay = อย่าสูบบุหรี่ทันทีที่อยากสูบ

    2. Deep Breath = การหายใจเข้า  ออกลึก ๆจำนวน 5 10 ตรั้ง

    3. Drink Water = การดื่มน้ำช้า ๆหรือ การจิบน้ำหรืออมน้ำ

    4. Do something else = การหาสิ่งอื่นทำแทนการสูบบุหรี่

    5. Destination = การให้คิดถึงผลดีของการเลิกสูบุหรี่

     

    ขับขี่สวมหมวก.....(กันน๊อก)

                ชวนพวกออกกำลังกาย

                            อันตรายไข้เลือดออก

                                        บอกเพื่อนอย่ากินหวาน...(มากนัก)

                                                    ลดปริมาณของเค็ม....(เกลือแกง)

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์

    รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ


    หากท่านอาจารย์จะเขียนหนังสือร่วมกับอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ น่าจะมีเรื่องที่คนไทยและผู้อ่านทั่วไปจะได้รับ ดังนี้


    1. จิตสำนึกในความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ความเป็นจริงแล้ว การรัก
    ทั้ง 3 สถาบันหลัก ไม่ใช่เรื่องที่คนไทยไม่รู้ แต่ยังขาดจิตสำนึกและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีต่างหาก และหากข้อที่ 1 ไม่เกิดในใจคนไทยแล้ว การจะพัฒนาประเทศในทุกด้านก็ยากที่จะสำเร็จ


    2. การมีจิตสาธารณะ ข้อนี้ก็สำคัญมาก มนุษย์ทุกคนหากเกิดมาเพื่อทำทุกอย่างโดย
    หวังผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ส่วนตน คำว่าจิตสาธารณะก็ไม่เกิด เช่นการศึกษาของไทย ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน - ระดับอุดมศึกษา มีการกวดวิชา ทั้งในและนอกสถานศึกษา ที่สำคัญ รับเงินด้วย ไม่ได้สอนให้ฟรี แสดงว่าทุกอย่างก็เป็นธุรกิจหมด คิดเป็นเงินทุกอย่าง เงินเอาไปไหน เอาไปใช้จ่าย เสพ บริโภค แข่งขัน แก่งแย่ง ยกตัวเองให้สูงขึ้นกว่าผู้อื่น โดยลืมว่ายังเป็นมนุษย์อยู่ มีการเกิด แก่ เจ็บและตายเหมือนกัน หากคนไทยยังมีวงจรการคิดที่หวังผลตอบแทนให้เกิดประโยชน์ส่วนตนเช่นนี้แล้ว การณรงค์ให้คนมีจิตใจที่
    ดีงาม หรือ Ethical ก็เป็นได้แค่นโยบายสวยหรูเท่านั้น

     

    3. รักการเรียนรู้ ใฝ่รู้ จะเห็นได้โดยทั่วไปว่าคนไทยไม่รักการเรียนรู้ ไม่อ่านหนังสือ ไม่สนใจพัฒนาตนเอง ถามว่ามนุษย์ถ้านำปัญญา คุณภาพชีวิต การศึกษา มาจัดระดับ  คนในระดับใดที่สนใจใฝ่รู้ มีจำนวนเท่าใด ประเทศไทยมีคนเพียงจำนวนน้อยในระดับกลางและสูง ที่รักการเรียนรู้ ส่วนคนในระดับล่างและกลางส่วนหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนมาก ไม่มีเวลา  ไม่สนใจในการหาความรู้ มีแต่เวลาในการหากิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ยากจน มีทัศนคติที่ผิดเพี้ยนเช่น คดโกง ทำอะไรก็ได้ที่ได้เงินมาก ๆ ถูกหรือผิดกฎหมายไม่เกี่ยว แล้วคนเหล่านี้ วันดี คืนดี ก็ร่ำรวยขึ้นมา เล่นการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทัศนคติยังเหมือนเดิม คือโกง คด หาวิธีในการทำกฎหมายถูกให้ผิด ผิดให้ถูก บวกกับการขาด ทั้ง 2 ข้อข้างต้น ผลคือประเทศไทยป่วยหนัก
    การเรียนรู้ หากเรียนรู้เพื่อสนองตัญหาของตนเองในการเข้าไปสู่อำนาจ เพื่อจะได้ทำความผิดให้ถูกจากปัญญา ที่มีตัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้ที่ทุกคนกำลังรณรงค์ก็ไร้ประโยชน์ คนไทยยังหวังว่า คนในระดับสูงซึ่งมีจำนวนน้อยแต่มากด้วยคุณภาพ จะเป็นหมอช่วยรักษาประเทศไทยให้หายจากอาการป่วยได้อย่างยั่งยืน


    ด้วยความเคารพ ในโอกาสต่อไป ขออนุญาตนำเสนออีกค่ะ


    จิราพร สวัสดิรักษ์

     

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    การเขียนหนังสือร่วมกับอาจารยธัญญา ผลอนันต์ ในความคิดเห็นของผมอยากที่จะแสดงออกในมุมของกลุ่มเป้าหมายคือ

    ความรู้ หรือเนื้อหาที่ท่านอาจารย์จีระ จะสื่อออกไปเป็นหนังสือสามารถตอบสนองได้ทุก ๆ กลุ่มโดยเน้นเนื้อหาที่แตกต่างกันเพราะท่านอาจารย์มีความรู้และประสบการณ์มากมาย แต่ในส่วนตัวของผมคิดว่าการที่จะสื่อถึงทุก ๆ กลุ่มด้วยเนื้อหามวลรวมก็จะได้กลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก แต่อาจจะขาดความดึงดูด หรือความเข้มข้นของเนื้อหายาก ๆ เฉพาะจุดสำหรับกลุ่มเล็ก ๆ บางกลุ่ม ดังนั้นถ้าเน้นกลุ่มใหญ่ก็น่าจะประสบความสำเร็จในภาพใหญ่และจำนวนมากครับ

    ด้วยความเคารพ

    ธนพล ก่อฐานะ

    เรียนท่าน  ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพอย่างสูง

                หนู สมศรี นวรัตน์ ขอคุยแลกเปลี่ยน + การเรียนรู้ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ของท่าน John Kotter ซึ่งท่านมีผลงานจากการเขียนหนังสือในแนว Leadership เช่น

    1.      The General Managers เป็นผลงานเขียนด้านภาวะผู้นำชิ้นแรกของเขา เป็นการเก็บข้อมูลการศึกษาจาก กลุ่มผู้จัดการทั่วไป

    2.      Power and Influence เป็นการพูดถึงผู้จัดการทั่วไปกับผู้จัดการระดับกลาง พูดถึงความสามารถ และพูดถึงการจัดการต้องอาศัยภาวะผู้นำมากขึ้น

    3.       The Leadership Factor กล่าวไวว่า มีองค์กรจำนวนมากมาย ขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณสมบัติ อันจำเป็นสำหรับองค์ ต่อมา John Kotter ได้เสนอหนังสือเรื่องที่ 4

    4.      Leading Chang ที่ในปัจจุบัน ท่าน รศ. ดร. สมชาย ท่านได้นำมาให้เราชาว SSRU ได้ศึกษา + อ่านทำความเข้า (หนูกำลังพัฒนาตนเองในการอ่านภาษาEng อยู่นะคะ >>>>> แต่ปัญญาก็ยังมีน้อยอยู่)

    5.      What Leaders Really ที่ได้ตีพิมพ์ ปี 1998 นั้นประกอบด้วยบทความที่เขาเขียนไว้ในวารสาร Harvard Business Review

     

    ขอสรุปว่า Leadership ที่มีประสิทธิผลในองค์กรที่ ซับซ้อน ควรจะต้องมีส่วนประกอบดังนี้

    1.      การสร้างวาระแห่งการเปลี่ยนแปลง

    -         Vision ควรเป็นอย่างไร?

    -         Vision ที่ควร คำนึงถึงผลประโยชน์ ระยะทางอันชอบธรรมของฝ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง

    -         กลยุทธ์สำหรับใช้กับวิสัยทัศน์นั้น

    -         กลยุทธ์ที่คำนึงถึงแรงผลักดัน(Push)ทุกอย่างจากองค์กรและจากสภาพแวดล้อม

    2.      การสร้างเครือข่ายการปฏิบัติการที่เข้มแข็ง

    -         ความสัมพันธ์เชิงเกื้อหนุนกับแหล่งอำนาจที่สำคัญ จึงจำเป็นต่อการปฏิบัติการตามกลยุทธ์

    -         ความสัมพันธ์อันมั่นคงเข้มแข็งที่จะนำมาซึ่งความร่วมมือ การยอม และการทำงานเป็นทีม

    -         กลุ่มคนที่เป็นแกนสำคัญที่มีแรงจูงใจ(Motivation)

    -         กลุ่มคนที่เป็นแกนสำคัญที่จะมุ่งมั่น (Passion & Commitment) จะทำ Vision นั้นให้เป็นจริง

    John Kotter ได้กล่าวย้ำว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) และ วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นสิ่งที่ เกิดจากความไม่พอใจ ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ >>>>>> ผู้นำจำเป็นต้องมีความสามารถในการกระตุ้น (Motivation& Stimulant) ให้กำลังใจและจูงใจคน การที่ผู้นำทำสิ่งดังกล่าวมาข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)นั้น เป็นเรื่องการปรับปรุงรูปแบบการกระทำให้เข้ากับ สถานการณ์ที่ผู้นำกำลังเผชิญอยู่แต่ ทั้งหมดทั้งมวลล้วนแล้วมีอยู่ในทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี  4K’s ของท่าน ศ. ดร. จีระ ทั้งหมดแล้วละคะ  วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์(เปิ้น)ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ

    คำสรรเสริญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด >>>>> ที่นวัตกรรมหนึ่งสามารถจะได้รับ >>>>> นั้นก็คือ.....การที่ผู้คนจะพูดว่า>>>>>>         "ต้องอย่างนี้สิ"                                                                             

            ด้วยความเคารพท่านอาจารย์ยิ่ง

                   สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

                         Tel. 081-9435033

    เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

     

    ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์?

                                      Businessweek (Thailand Creative & Design Center)

                           

                การแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกนั้นค่อนข้างรวดเร็ว ส่งผลทำให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจรอบ ๆ ตัวเราไม่ค่อยมีเสถียรภาพประกอบกับประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและอินเดีย รวมทั้งประเทศเกิดใหม่อื่น ๆ สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ในราคาต่ำและมีคุณภาพที่ดีกว่าของเรา หากผู้ประกอบการไทยยังคิดเหมือนเดิม คือรับจ้างผลิตแล้วกินส่วนต่างค่าแรง คำถามก็คือ เราจะทำอย่างนี้ไปได้นานแค่ไหน เราจะแข่งด้วยการลดต้นทุนอย่างเดียวหรือ?

                แต่ด้วยสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่หลากหลายผสานกับทักษะฝืมือแรงงานของคนไทยที่สร้างคุณลักษณะพิเศษของสินค้าและบริการของไทย จะเป็นทางออกที่จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันได้ในยุคเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ แต่ทั้งหมดนี้ ยังต้องมีการพัฒนาเพื่อยกระดับสินค้าและบริการ
    (Productivity Change)
    ในส่วนของภาคการผลิต โดยรัฐมีหน้าที่สร้างและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อเร่งอัตราการยกระดับคุณภาพของการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการสรรหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปสู่การปรับกระบวนการผลิตให้ตรงความต้องการของลูกค้า การสร้างเครื่องมือในการรับรองคุณภาพสินค้าตามมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและอเมริกา อาทิ ห้องแล็บสำหรับตรวจมาตรฐานสินค้าอาหารและเครื่องสำอาง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้สินค้าไทยพร้อมกับการหาช่องทางในการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการด้วยมาตรการทางภาษีและการเงิน

                    ด้วยสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมความเชื่อทางสังคม ทำให้ประเทศไทยรวมไปถึงกลุ่มประเทศเอเขีย จึงมิใช่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าราคาถูกเท่านั้น แต่มีศักยภาพแข่งขันสหรัฐฯ ได้เล็งเห็นข้อได้เปรียบของประเทศในกลุ่มเอเชีย จากรายงานการศึกษาของกระทรวงศึกษาสหรัฐฯ เรื่อง USA Tough Choices ซึ่งมีสาระสำคัญกล่างถึงสถานการณ์ข้างหน้าของโลกว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น

                    เมื่อรัฐบาลอังกฤษเล็งเห็นศักยภาพของความสามารถในการแข่งขั้นด้วยอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ รัฐบาลจึงเร่งผลักดันนโยบาย Creative Economy โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการผลิตยิ่งขึ้น

                    สิ่งที่เป็นข้อสรุปถึงความสามารถในการแข่งขันของคนอเมริกัน คือ ทักษะฝืมือของคนอเมริกันมีความสามารถต่ำลงและราคาแรงงานแพงขึ้น มาตรฐานการใช้ชีวิตและการศึกษาลดลง ในขณะที่ความสามารถของคนเอเชียมีสูงขึ้น ทั้งในเรื่องทักษะการคำนวณ อันเป็นพื้นฐานของการสร้างเทคโนโลยี แต่คนเอเชียมีข้อได้เปรียบคือแรงงานราคาถูกกว่า จึงน่าสนใจและน่าระวังความสามารถของเอเชีย นอกจากนี้คนอเมริกันบริโภคอุปโภคสินค้าจากเอเชียจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากจีน พบว่า 54% นำเข้าจากจีนและหากหยุดการนำเข้าจากจีน ชนชั้นล่างของสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบทันที จากข้อมูลทั้งหมดนี้ จึงบอกว่าสหรัฐฯ ต้องทำอะไรในศตวรรษหน้า เพื่อแข่งขันได้ในอนาคตเช่นเดียวกับสถานการณ์ในอังกฤษ เมื่อรัฐบาลอังกฤษเล็งเห็นศักยภาพของความสามารถในการแข่งขันด้วยอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ รัฐบาลจึงเร่งผลักดันนโยบาย Creative Economy โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่มีอยู่ให้เอื้อต่อการผลิตยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลอังกฤษได้เริ่มวางนโยบายดังกล่าวในปี 2001 และได้เริ่มผลักดันนโยบายดังกล่าวให้จับต้องได้ ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ของอังกฤษสามารถทำเงินในอังกฤาเป็นที่สองรองจาก Financial ดังจะเห็นได้จากในปี 2004 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีมูลค่าถึง 1.17 หมื่นล้านเหรียญต่อปี คิดเป็น 7.3% ต่อ GDP ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมบริการการเงิน ซึ่งอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 1 ล้าน คน หรือคิดเป็น2.7% ของการจ้างงานทั้งหมด และในปี 2005 มีการส่งออกสินค้าและบริการสร้างสรรค์ 5.73 หมื่นล้านเหรียญ โดยเป็นการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ 1.9 หมื่นล้านเหรียญ ส่งออกบริการสร้างสรรค์ 3.8 พันล้านเหรียญและส่งออกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์อีก 3.46 หมื่นล้านเหรียญ

                    เมื่อเราหันกลับมาดูประเทศไทย เราพบโอกาสจากความสามารถของคนไทยอย่างมหาศาล และอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ของไทยมิได้เริ่มต้นจากศูนย์ แต่จากข้อมูลของรายงาน Creative Economy Report 2007 โดย UUCTAD ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นมูลค่า 289,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10.83% ต่อ GDP ซึ่งประกอบด้วย 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่งานฝืมือและหัตถกรรมงานออกแบบ แฟชั่น ภาพยนต์และวีดีทัศน์ การกระจายเสียงศิลปะการแสดง โฆษณา ธุรกิจการพิมพ์และสถาปัตยกรรมทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังไม่นับรวมกลุ่มอุตสาหกรรมงานศิลปะและวัตถุโบราณ ดนตรี ซอฟต์แวร์และวีดีโอ-เกมคอมพิวเตอร์

                    ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งของประเทสไทยในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะทางศิลปะรวมทั้งมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นสิ่งที่เรียกว่า Aesthetic Tradition ซึ่งสามารถนำมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้

                    ท่ามกลางสถานการณ์ซึ่งเกิดความไม่นิ่งของสังคมประเทศไทยยังคงมีทางออกและหากเราสามารถที่จะปรับตัวในสถานการณ์เพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบและอยู่รอดได้ปรากฎการณ์ในการเดินไปสู่แสงสว่างของไทย อาจจะเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ และบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการเอาชนะความไม่นิ่งของสังคม

     

     ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

     

    เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

     BUSINESSWEEK สัมภาษณ์พิเศษ OBAMA   

    BusinessWeek (Sep’09)

     

                ระหว่างการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมใน Oval Office ประธานาธิบดี Barack Obama เผยถึงการทำงานในระยะหกเดือนที่ผ่านมาพร้อมพูดถึงความสัมพันธ์กับผู้นำธุรกิจที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดว่าประธานาธิบดี Obama มีหลายอย่างที่อยากบอกกับกลุ่มธุรกิจหลังจากที่ความสัมพันธ์ในช่วงแรกไม่ราบรื่นนัก Obama กล่าวถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ของซีอีโอบางรายที่บอกว่านโยบายของเขาต่อต้านธุรกิจ และกล่าวปกป้องนโยบายการเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีจากคนรวย รวมถึงกล่าวถึงบทเรียนด้านการบริหารจากประสบการณ์ในตำแหน่งจนถึงขณะนี้

                    ระหว่างบทสนทนาในหลากหลายหัวข้อกับ Stephen J. Adler บรรณาธิการใหญ่และ Jane Sasseen หัวหน้าสำนักข่าวจาก Washington ประธานาธิบดีหยุดคิดเป็นครั้งคราวแต่ตอบได้อย่างเฉียบขาด Obama มองถึงอนาคตที่จะเติบโตในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจด้วยระบบดูแลสุขภาพที่ได้ผลยิ่งขึ้น นวัตกรรมด้านพลังงาน การพัฒนาการศึกษาที่ดีขึ้นและรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเสริมว่าขาวอเมริกันจำนวนมากคิดต่อธุรกิจในแง่ลบเช่นเดียวกับที่ผู้นำทางธุรกิจมองรัฐบาล และเป้าหมายของเขาคือการนำความคิดเช่นนี้ไปใช้ในแนวทางที่สร้างสรรค์

                    ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ สำหรับรายงานสัมภาษณ์ทั้งหมดติดตามได้ที่ www.businessweek.com/go/09/interview

                    Businessweek ท่านได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการจัดการและภาวะผู้นำในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาและอะไรที่ท่านคิดว่าทำได้ดีขึ้น?

     

    ประธานาธิบดี Obama

                    ผมมารับงานด้วยความเข้าใจว่าเพื่อรับมือกับปัญหาขนาดใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ผมต้องสร้างทีมงานที่จะสามารถมอบหมายหน้าที่ต่าง ๆ และทำงานร่วมกันได้อย่างดีตลอดหกเดือนที่ผ่านมานี้ผมได้เรียนรู้อีกครั้งว่างานที่สำคัญที่สุดของผมคือการส่งคนที่เหมาะสมไปทำงานที่สอดคล้องกับความสามารถ ให้อิสระที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และวิเคราะห์ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รับผิดชอบกับผลลัพธ์ที่ตามมา รวมทั้งทำให้แน่ใจว่าพวกเขาให้ความร่วมมือและสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และในเรื่องนี้ผมคิดว่าเราค่อนข้างประสบความสำเร็จโดยจะเห็นว่ายังไม่มีการขัดแย้ง การไม่ลงรอยหรือการโยกย้ายหรือลาออกจากตำแหน่ง

                    ผมมุ่งมั่นมาโดยตลอดที่จะทำให้แน่ใจว่าเรามีหลักฐานที่ดีที่สุด ข้อมูลที่ดีที่สุด ข่าวสารที่ดีที่สุด ทันต่อเหตุการณ์และไม่มองข้ามข้อมูลใด ๆ แค่เพียงเพราะข้อมูลเหล่านั้นหายากหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่เรากำลังดำเนินการอยู่ เราพยายามทำให้แน่ใจอยู่เสมอว่าเราเปิดรับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในเรื่องต่าง ๆ ขั้นตอนอันรอบคอบที่เกิดขึ้นช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดใหญ่ ๆ และปรับปรุงแก้ไขเมื่อสิ่งที่เราทำอยู่นั้นไม่ได้ผล

                    สิ่งที่ผมได้เรียนรู้อย่างที่สองหลังเข้ารับตำแหน่งคือการทำงานกับความเป็นไปได้ เรื่องที่คุณต้องตัดสินใจจำนวนมากไม่ฝว่าจะเกี่ยวข้องกับอัฟกานิสถาน หรือระบบการธนาคาร คือการพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ซึ่งผลลัพธ์อาจไม่แน่นอน และลงมือตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด แม้จะรู้ว่ามีข้อมูลไม่เพียงพอแต่เดินหน้าที่จะตัดสินใจแม้จะมีความเสี่ยงด้วยก็ตาม

                ช่วยพูดถึงสิ่งที่นักธุรกิจชั้นนำพูดกับท่าน และสิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างไรและท่านได้เรียนรู้อะไรจากพวกเขา?

                พูดได้ว่าสำหรับช่วงก่อนเข้ารับตำแหน่งและระยะเวลาสามเดือนแรกของการบริหารเราตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ บทสนทนาโดยมากเกี่ยวข้องกับความเปราะบางและไม่มั่นคงของระบบการเงิน แนวทางที่จะทำให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้นและจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าเมื่อประคองเสถียรภาพในระบบการเงินแล้วเราจะไม่ก่อปัญหาใหม่ขึ้น ทั้งในด้านความเสี่ยงต่อศิลธรรมและจริยธรรมหรือผลลบที่จะมีต่อการสร้างนวัตกรรม มีบรรยากาศของการสนทนาที่ให้แก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้า ถ้าผมโทรหา Warren Buffett (ซีอีโอของ Berkshire Hathaway) จะไม่ใช่เพื่อโทรไปคุยเรื่องทั่วไปแต่เพื่อถามว่าเขามองตลาดเป็นอย่างไรในขณะนี้ แต่หากคุยกับ Jeff Immelt (ซีอีโอของ General Electric) ก็เพื่อจะถามว่าต้องทำอย่างไรที่จะกระตุ้นการกู้ยืมในภาคธุรกิจ ณ ขณะนี้ที่เราสามารถรอดพ้นวิกฤติมาได้และปัญหาคือเราจะสามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้อย่างไร ผมคิดว่าการถกเถียงจะขยายวงกว้างขึ้นและจะเกี่ยวข้องกับวิการด้านกลยุทธ์มากขึ้น

                    ผมจะพยายามพูดอย่างละเอียด ระหว่างมื้อกลางวันล่าสุดกับผู้บริหารจาก Xerox, AT&T, Honeywell และ Coke เราพูดคุยถึงความจริงที่ว่าในช่วงยุคปี 1980 เมื่อทุกคนกลัวญี่ปุ่นเข้ามาแย่งงานจากเรา บริษัทส่วนใหญ่ได้ดำเนินการปรับตนเองจากหน้ามือเป็นหลังมือทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพและการเพิ่มกำลังการผลิต ขณะนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพขององค์กรอย่างมหาศาลและนำไปสู่ภาวะเฟื่องฟูในยุค 1990 และสิ่งที่พวกเขาสนใจก็คือมีบางภาคธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบ นั่นคือภาคการดูแลสุขภาพ การศึกษา พลังงานและภาครัฐ

                    แล้วรูปแบบเศรษฐกิจหลังภาวะวิกฤติควรเป็นเช่นไร? สิ่งที่เราพยายามจะบอกคือมีพื้นฐานและโครงสร้างที่พร้อมเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจครั้งต่อไป นี่ไม่ใช่การเลือกผู้ชนะหรือผู้แพ้หรือจะสามารถคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าบริษัทใดหรือธุรกิจใดจะประสบความสำเร็จ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีบริษัทหรือภาคธุรกิจที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อย ๆ เมื่อกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของรัฐในระบบเศรษฐกิจ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะเน้นถึง

                    (สิ่งที่เราพูดถึง) สอดคล้องกับสิ่งที่ซีอีโอเหล่านั้นกล่าวถึง นั่นคือเราจะเพิ่มประสิทธิภาพอย่างเดียวกันนี้ในภาคการดูแลสุขภาพได้หรือไม่ ดังที่อุตสาหกรรมนี้กำลังเติบโตเนื่องมาจากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เราจะสามารถใช้ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจพลังงานมาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ เราจะสามารถปรับปรุงระบบการศึกษาให้สามารถผลิตแรงงานที่เราต้องการได้หรือไม่ และเราจะสามารถดำเนินการให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเสนอบริการที่ดีต่อผู้เสียภาษีในขณะที่กอบกู้ความน่าเชื่อถือกลับมาอีกครั้งได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลที่มีขนาดเล็กและคล่องตัวจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเศรษฐกิจยุคศตวรรษที่ 21 และเราต้องก้าวข้ามความคิดที่รัฐบาลเป็นตัวปัญหาให้ได้

                    นักธุรกิจชั้นนำจำนวนมากมองว่าท่านเป็นพวกต่อต้านธุรกิจ ผมประหลาดใจมากเมื่อผมไปเข้าร่วมงาน Aspen  Institute Ideas Festival ซึ่ง Austan Goolsbee สมาชิกสภา Council of Economic Advisers ขึ้นกล่าวคำปราศรัยและกล่าวในทางไม่เป็นมิตรต่อผู้ฟัง ซึ่งผู้ฟังเหล่านั้นเป็นคนฐานะดี ค่อนข้างมีอายุและให้การสนับสนุนท่าน แต่พวกเขาดูมีท่าทีไม่ค่อยพอใจกับการจัดเก็บภาษีองค์กร ภาษีรายได้ส่วนบุคคลและเรื่องอื่น ๆ ที่พวกเขามองว่าไม่เอื้อประโยชน์ต่อพวกเขา ท่านอยากจะบอกอะไรกับคนเหล่านี้บ้าง

                    ผมอยากยกตัวอย่างถึงในอดีตที่ผ่านมา ผมเข้ารับตำแหน่งมานานหกเดือนแล้ว  และจนถึงปัจจุบันนโยบายภาษีของผมมีเพียงแค่การลดอัตราภาษีสำหรับผู้ทำงานจำนวน 95% จากทั้งหมด ผมยังไม่ได้ผ่านกฎหมายการเพิ่มอัตราภาษี โดยนโยบายทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือธุรกิจต่าง ๆ คนจำนวนมากที่มองว่าเราต่อต้านธุรกิจดูเหมือนจะลืมไปว่าเราเพิ่งช่วยดึงพวกเขาออกจากปัญหาเมื่อสามหรือสี่เดือนที่ผ่านมาด้วยต้นทุนทางการเมืองมหาศาล และอย่างน้อยคนที่มาจากภาคธุรกิจการเงินก็ยังได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาลอีกจำนวนมากที่ทำให้พวกเขาสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่ผมจะไม่เกิดความกังขาบ้างเมื่อได้ยินว่าเราเป็นพวกต่อต้านธุรกิจ

     แต่ท่านรับรู้ถึงความคิดเหล่านี้

                    ผมสามารถอธิบายรายละเอียดถึงเรื่องนี้ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของการล่มสลายของ AIG ผมใช้คำพูดที่ค่อนข้างรุนแรงเพราะว่าพวกเขาจ่ายเงินโบนัสให้ตนเองขณะที่เราให้การช่วยเหลือทางการเงินอย่างมหาศาล ผมยังคงเชื่อว่าหากคุณจัดการกับวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงซึ่งส่งผลให้สูญเงนิไปมหาศาลกว่า 10 ล้านล้านเหรียญ คุณจะหันมาประเมินตนเองและอาจดำเนินการเปลี่ยนเป้าหมายธุรกิจของคุณ ซึ่งนี่ไม่ใช่การต่อต้านธุรกิจแต่เป็นสามัญสำนึก และเมื่อผมเห็นว่าภาคธุรกิจการเงินไม่ได้ลงมือทำเช่นนั้นมันไม่ได้บอกแค่ว่าพวกเขาลืมวิกฤษติไปแล้ว แต่ยังบอกด้วยว่าพวกเขากำลังทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะเสี่ยงยิ่งขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ผมกังวลก็คือ ด้วยการที่เราก้าวสู่แนวทางที่แหวกแนวไปจากปรกติอย่างมาก ทำให้เรามีความเสี่ยงต่อปัญหาศีลธรรมและจริยธรรมมากขึ้น โดยสถาบันการเงินต่าง ๆ อาจคิดในใจว่า “เรายังสามารถดำเนินการเสี่ยงอย่างสุดโต่งและจ่ายเงินเดือนหรือโบนัสให้ตนเองในระดับสูงอย่างมหาศาลเพราะเรารู้ว่าเราใหญ่เกินไปที่จะล้ม” ผมคิดว่าสิ่งนี้อันตรายต่อเศรษฐกิจและธุรกิจอย่างรุนแรง

                    ตัวอย่างที่สองนั้นเกี่ยวข้องกับ GM และ Chrysler ซึ่งความเข้าใจที่มีกันก็คือเราไม่เป็นมิตรต่อผู้ถือตราสารหนี้มากเพียงพอในสถานการณ์เช่นนั้น ผมอยากจะชี้ให้เห็นอีกครั้งว่าผู้ถือตราสารหนี้เหล่านี้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นเฮดจ์ฟันด์จะสูญสิ้นทุกอย่างหากไม่มีการแทรกแซงอย่างหนักในระบบการเงินจากรับบาล พวกเขาไม่มีปัยหากับรัฐบาลตราบใดที่เป็นการช่วยเหลือพวกเขา แต่ในทางกลับกัน เมื่อเราบอกว่าเพื่อให้ GM และ Chrysler อยู่รอดการแทรกแวงหมายถึงทุกฝ่ายจะต้องยอมรับผลกระทบและรวมถึงการตัดสินใจว่าจะกระจายความสูญเสียนั้นให้เป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน (แต่พวกเขากล่าวว่า) “อย่างไรก็ดี สัญญาก็คือสัญญา คุณไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงเช่นนี้ นี่เป็นการก้าวก่ายเกินไปของรัฐบาล” ซึ่งแล้วแต่ว่าธุรกิจต่าง ๆ จะเลือกมองการดำเนินการที่เราจำเป็นต้องทำอย่างไร

                    ข้อสุดท้ายคือเรื่องการจัดเก็บภาษี สิ่งที่ผมจะพูดไม่แตกต่างกับที่ผมเคยพูดก่อนหน้านี้นั่นคือ ผมคิดว่าเราเดินมาถูกทางแล้วกับระบบจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้าในยุคปี 1990 ภายใต้รัฐบาลบริหารของ Clinton เราพบกับภาวะขาดดุลจากโครงสร้างนโยบายที่เราจำเป็นต้องจัดการ เรามีเรื่องที่ต้องให้ความช่วยเหลืออีกมาก กลุ่มผู้เสียภาษี 1% แรกได้รับประโยชน์ในสัดส่วนที่มากขึ้น การที่จะทำให้ประเทศกลับสู่ระดับที่สมดุลค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แต่ถ้ามีหนทางใดที่เป็นไปได้ผมก็พร้อมที่จะรับฟัง ความรู้สึกของผมบอกว่าสิ่งนี้เป็นเพราะคนส่วนมากมีทัศนคติแบบเหมารวมหรือตั้งการคาดหลังต่อประธานาธิบดีที่มาจากพรรคเดโมแครต มากกว่าจะมองไปยังแผนริเริ่มที่ได้ดำเนินการ

                    สถานการณ์หนึ่งที่ (แนวคิดที่ว่าท่านต่อต้านธุรกิจ) ปะทุขึ้นมาจากการถกเถียงในเรื่องการจัดเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติและข้อเสนอจำนวนมากเกี่ยวกับการเก็บภาษีจากรายได้ในต่างประเทส หนึ่งในเรื่องที่คนให้ความสนใจอย่างกว้างขวางก็คือขณะที่ท่านคิดว่าท่านได้จ้างเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีความสามารถและหลายคนมาจากภาควิชาการหรือเป็นทนายความดังที่ท่านกล่าวก่อนหน้านี้ แต่พวกเขา.....

     ไม่รู้เรื่องธุรกิจ ไม่เคยเป็นพนักงานบริษัท

                     ใช่เลย และคนพูดกันว่าสิ่งนี้เป็นหนึ่งสในสาเหตุที่ทำให้มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับประเด็นเรื่องภาษี เพราะจะมีเพียงคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะเข้าใจอย่างแท้จริงว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างภาษีกับการทำให้เรามีความสามารถในการแข่งขันท่านจะแก้ปัยหานี้อย่างไร?

                    นี่เป็นขั้นตอนที่กำลังดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประเด็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีบริษัทข้ามชาตินั้นยุ่งยากซับซ้อน แทบจะไม่มีแบบแผนใดเลยที่จะยุติธรรมอย่างสมบูรณ์ หากพิจารณาดูจะพบว่ามีบริษัทที่ต้องจ่ายเงินอย่างมหาศาลกว่ามากเพื่อสร้างงานในสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับบริษัทที่สร้างงานในต่างประเทศ สิ่งนี้ก่อนให้เกิดความรู้สึกไม่ยุติธรรมและยังไม่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของเราด้วย และถ้าหากคุณเปลี่ยนโครงสร้างจัดเก็บภาษี บริษัทก็จะบอกว่า “หากคุณปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเราจะหันไปมุ่งงานในต่างประเทศและจะไม่สร้างงานในประเทศ” ผมคิดว่ามันไม่มีหนทางที่สมบูรณ์แบบที่จะวางนโยบายภาษีระหว่างประเทศ ดังนั้นสิ่งที่เราพยายามทำก็คือจัดเก็บภาษีในระดับที่ยังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศโดยไม่ได้มุ่งไปที่การค้าขายหรือกีดกันทางการค้า โดยประเทศอื่น ๆ กำลังดำเนินการอย่างเดียวกัน

                    ปัยหาส่วนหนึ่งของเราก็คือ ย้อนกลับไปเมื่อยุคปี 1960 และ 1970 สหรัฐฯ นั้นมีอิทธิพลอย่างมากและทิ้งคู่แข่งอย่างไม่เห็นฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นในด้านนโยบายการค้าหรือนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเราไม่เคยต้องคิดว่าเรากำลังแข่งขันกับทั่วโลกแต่สิ่งเหล่านั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว ขณะนี้เรากำลังอยูในเศรษฐกิจยุคศตวรรษที่ 21 และเราจำเป็นต้องปรับปรุงกฎระเบียงทั้งหมดใหม่และนโยบายภาษีก็เป็นเรื่องหนึ่งในนั้น ผมอยากให้ช่องโหว่ของกฎหมายลดน้อยลงเพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่สูญเสียรายได้ไปตามขั้นตอนต่าง ๆ และผมยังต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดเล็กอีกด้วย ดังนั้นผู้เข้าร่วมงาน Aspen Institute อาจตื่นเต้นกับความเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบริษัทข้ามชาติ แต่ในทางตรงกันข้ามยังมีบริษัทในประเทศจำนวนมาที่ต้องจ่ายภาษีในอัตรา 35% ขณะที่บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 100 จ่ายภาษีในอัตราต่ำกว่าที่เพียง 12%

                    สิ่งที่ผมหวังว่าจะพัฒนาขึ้นคือการถกเถียงอันมีประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเรากำลังพยายามเฟ้นหานโยบายอันมั่นคงและยั่งยืนที่จะสร้างการแข่งขันที่เสมอภาคและคาดการณ์ได้ในระดับที่เพียงพอสำหรับบริษัทต่าง ๆ ที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ ซึ่งรวมถึงนโยบายควบคุมทางกฎหมาย นโยบายภาณีและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งที่คุณยังไม่ได้เห็นจากรัฐบาลของเราก็คือการเสนอใช้ข้อกำหนดกฎหมายแบบออกคำสั่งควบคุมจากระดับบนลงล่างและเข้มงวดอันที่จะกีดขวางธุรกิจ นี่ไม่ใช่รูปแบบการดำเนินงานของเรา นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้และนี่จะไม่ใช่วิธีการของเรา

                ท่านจะบอกกับคนที่แย้งว่าท่านเอาความสำเร็จของแผนดำเนินการมาเสี่ยงด้วยการใช้เวลานานเกินไปว่าอย่างไร?

                แม้ว่าทฤษฎีบริหารที่ดีบอกไว้ว่าต้องค้นหาว่าธุรกิจหลักของเราคืออะไร มุ่งไปที่สิ่งนั้นและอย่าไขว้เขว แต่เรามักจะไม่มีโอกาสที่จะเลือกแผนกำหนดการเอง บางครั้งสิ่งที่ต้องทำเป็นเรื่องที่ถูกมอบหมายมา ผมต้องการให้มีสิ่งที่ต้องดำเนิการน้อยกว่านี้หรือไม่? คำตอบคือแน่นอน แล้วผมต้องการให้สามารถเริ่มแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพในเรื่องหนึ่งและก้าวต่อไปเพื่อจัดการกับปัญหาเรื่องต่อไปหรือไม่? คำตอบก็คือแน่นอน ลักษณะโดยทั่วไปของวิกฤติที่เราเผชิญและปัญหาที่เรากำลังต่อกรในแง่ของการฟื้นตัวหมายถึงผมต้องให้ความสนใจกับหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน สิ่งนี้กลายเป็นเรื่องจำเป็นและไม่ได้เป็นเพียงอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะทำงานจนไม่หลับไม่นอนและให้ทีมงานทำงานอย่างหนัก     

                    ดูเหมือนทุกอย่างในรับบาลมักอยู่ระหว่างดำเนินการโดยไม่มีอะไรที่จะสำเร็จลุล่วง เคยมีสิ่งไหนที่ท่านประสบความสำเร็จและพบกับช่วงแห่งความยินดีที่ท่านคิดว่า “ผมต้องการทำสิ่งนี้ ผมได้ทำแล้ว มันสำเร็จแล้ว และตัดมันออกจากรายการที่ต้องทำ” และถ้ามีเรื่องนั้นคืออะไร?

                ถ้าผมพูดว่ามันเสร็จแล้วนั้นจะทำให้ผมกังวลเพราะสิ่งนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไหร่ก็ได้ ขอให้เป็นอย่างที่หวังก็แล้วกัน

                    เดินหน้าและขอให้ได้อย่างที่หวัง แล้วสิ่งที่ท่านหวังคืออะไร

    ดูเหมือนทุกอย่างในรับบาลมักอยู่ระหว่างดำเนินการโดยไม่มีอะไรที่จะสำเร็จลุล่วง เคยมีสิ่งไหนที่ท่านประสบความสำเร็จและพบกับช่วงแห่งความยินดีที่ท่านคิดว่า “ผมต้องการทำสิ่งนี้ ผมได้ทำแล้ว มันสำเร็จแล้ว และตัดมันออกจากรายการที่ต้องทำ” และถ้ามีเรื่องนั้นคืออะไร?

                ถ้าผมพูดว่ามันเสร็จแล้วนั้นจะทำให้ผมกังวลเพราะสิ่งนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไหร่ก็ได้ ขอให้เป็นอย่างที่หวังก็แล้วกัน

                    เดินหน้าและขอให้ได้อย่างที่หวัง แล้วสิ่งที่ท่านหวังคืออะไร?

                ผมคิดว่าเราทำได้ดีกับการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน ผมไม่คิดว่าผู้คนจะเข้าใจว่าเราเข้าใกล้ความล้มเหลวแค่ไหน และความล้มเหลวนั้นขนาดใหญ่แค่ไหน เราอาจตกอยู่ในสถานการณ์แล้วร้ายกว่าในปัจจุบัน ขณะนี้แม้จะไม่มีสิ่งปลอบประโลมสำหรับผู้ที่ต้องตกงานหรือธุรกิจเล็ก ๆ ที่ต้องปิดตัวลง แต่ด้วยการดำเนินการที่เราต้องทำอย่างรวดเร็ว อีกทั้งความไม่แน่นอนและความกลัวที่มีอยู่ทำให้เมื่อหันไปมองแล้วมันคือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อย่างมาก

     

                สิ่งที่สำคัญที่ท่านประธานาธิบดี OBAMA ได้พูดถึงและเน้นย้ำในบทสัมภาษณ์พิเศษคือ เรื่องของ Leadership ที่หลังจากเข้ารับตำแหน่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำคือเรื่องการตัดสินใจ (Decision Making) แต่จำเป็นจะต้องตัดสินใจในทางเลือกที่ดีที่สุด แม้จะรู้ว่ามีข้อมูลไม่เพียงพอ แต่เดินหน้าที่จะตัดสินใจ แม้จะมีความเสี่ยงก็ตาม และอีกประเด็นที่สองคือ เรื่องของคุณธรรมจริยธรรมที่จะมีผลต่อการสร้างนวัตกรรมนั่นก็คือผู้นำมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทุนทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital)

     

     

    ด้วยความเคารพอย่างสูง                                                                                                           

    ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง   Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

    เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

     

    Mind Map in Architecture

     

                แผนภูมิความคิดหรือ Mind Map ถือเป็นเครื่องมือช่วยจัดระเบียบข้อมูลที่ยุ่งเหยิงอยู่ในสมองของเราให้เป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการนำไปใช้ และถือเป็นเครื่องมือสากลที่แพร่หลายและได้รับความนิยมไปทั่วโลกมาเป็นเวลานาน แผนภูมินี้เลียนแบบการทำงานของสมองด้วยการใช้รูปภาพสัญญลักษณ์แทนคำหรือเนื้อหาในเรื่องราวที่เราสนใจหรือคิดให้มีความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งานในลักษณะอื่น ๆต่อไป เช่น แก้ปัญหา เขียนบทความ เขียนหนังสือ และอื่น ๆ

     

    แนวทางการใช้งาน Mind Map กับงานต่าง ๆ

                    1. การใช้ Mind map ในการแก้ไขปัญหา: เมื่อเราต้องการคิดวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ในการทำงาน การเรียนและอื่น ๆ Mind Map จะช่วยเริ่มต้นช่วยเราคิดและค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น เช่น    

                    - ใช้สร้างแผนที่ความคิด (Mind map) โดยเฉพาะเด็กในวัยแห่งการเรียนรู้ที่มีจินตนาการ

                    - ใช้วิเคราะห์กลยุทธ์บริษัท (Strategic thinking, SWOT Analysis)

                - ใช้ระดมความคิดเห็น (Brain storming)

                - ใช้กำหนดกลยุทธ์การตลาด (Marketing Plans)

                - ใช้ในการอบรมและบรรยายที่ต่าง ๆ (Training)

                - ใช้วางแนวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development)

     

                2. การใช้ Mind Map ในการจดบันทึกประชุม: การบันทึกรายงานการประชุมที่เคยประพฤติปฏิบัติจะเป็นการเขียนบันทึกเนื้อหาเรียงกันไปตามระเบียบวาระเหมือนการเขียนเรียงความ แต่การบันทึกด้วย Mind Map จะช่วยทำให้ผู้บันทึกสามารถเขียนสรุปประเด็นและใจความวาระการประชุมแต่ละวาระได้ง่ายขึ้น

                    3. การใช้ Mind Map ในการทำโปรแกรมการออกแบบ / วิทยานิพนธ์: โดยเริ่มต้นจากประเด็นหลักคือ Requirement, Criteria และ Preferences แล้วแตกแขนงต่อยอดข้อมูลที่เราต้องการศึกษาหรือต้องการดำเนินการ (ออกแบบ) จากประเด็นเหล่านั้นจนครบถ้วน

                    4. การใช้ Mind Map ในการบันทึกข้อมูลการบรรยาย /อบรม/สัมมนา: การบันทึกข้อมูลที่ได้รับจากการบรรยายอบรม สัมมนาที่เข้าร่วมด้วย Mind Map จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาของการบรรยายได้ง่ายและชัดเจนกว่าการเขียนบันทึกแบบ Short note

                5. การใช้ Mind Map ในการเขียนวิทยานิพนธ์/บทความและหนังสือ

     

    เราจะพัฒนาอะไรก่อนดีระหว่าง IT กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

     

                    โร เจอร์ บี. สมิท (Roger B. Smith) ผู้บริหารระดับสูงสุดของ จีเอ็ม (General Motors) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก กล่าวว่า

                    “เงินและเทคโนโลยีโดยลำพังแล้วไม่สามารถแก้ปัยหาของเราได้ – เราทราบดี เราจำเป็นต้องมีส่วนผสมที่สำคัญยิ่ง-คือคน การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในอุตสาหกรรมหนึ่งอุตสาหกรรมใดก็เป็นแต่เพียงเครื่องมือที่สลับซับซ้อนอีกชิ้นหนึ่งเท่านั้น ถ้าปราศจากคนที่ถูกต้องซึ่งได้รับการฝึกอบรมที่ถูกต้องเพื่อใช้ระบบอย่างถูกต้องและทำการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว เทคโนโลยีก็เพียงแต่เปิดโอกาสให้เราได้ทำของเสียได้เร็วึ้นเท่านั้นเอง เรายังต้องจัดการเทคโนโลยีและเราก็ต้องการคนที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีเยี่ยมในทุกระดับเพื่อมาช่วยเราดำเนินการ”

                    เขากล่าวเมื่อค้นพบว่าการที่จีเอ็มประสบปัญหาการขาดทุนอย่างมหาศาล ทั้ง ๆ ที่มีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีอย่างมากมายเพื่อสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจแต่เขาลืมที่จะพัฒนาคนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

                    ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ทันต่อความเจริญทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้

                    1. ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษาและการฝึกอบรม เนื่องจากการศึกษาเป็นการพัฒนาคนในระยะยาว แต่การฝึกอบรมเป็นการพัฒนาคนในระยะสั้น ที่เห็นผลได้ชัดเจนทั้งสองอย่างจึงต้องดำเนินการควบคู่กันไป

                    2. ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับองค์กรมักจะเป็นสิ่งที่ถูกมองข้าม ดังกรณีตัวอย่างของบริษัท จีเอ็ม (General Motors) ที่ไม่สามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง GM ได้ลงทุนไปในการสร้างหุ่นยนต์และเทคโนโลยีการผลิตเพียงอย่างเดียว นับเป็นการโชคร้ายที่ จีเอ็ม ไม่ได้ลงทุนในด้านพัฒนาคนเหมือนบริษัทญี่ปุ่น จากเหตุการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า จีเอ็ม เรียนรู้ช้าไป แต่ในปัจจุบันนี้ จีเอ็ม ได้บทเรียนที่แพงมากจึงได้ทุ่มเทให้แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร ระบบแบ่งปันความรู้รวมทั้งเป็นผู้ใช้ กรุ๊ปแวร์เทคโนโลยี (Group Ware Technology) รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก

                    3. ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับบุคคล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับบุคคลนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ประเทศนั้นมีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และมีความยั่งยืน                            

    ผมเห็นว่าเมื่อเทคโนโลยีต่างเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ในฐานะที่พวกเราได้เรียนรู้ในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันกระตุ้นและพูดให้กับองค์กรเหน่วยงานและภาครัฐได้รับทราบถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความจำเป็นเพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั่นหมายถึงว่าเราจะเป็นผู้นำที่มีการวางแผนที่ดีด้วยเช่นกัน

     

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

    เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

                หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรีวันนี้หนูขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง......อยากมีความสุข... จงทำตัวเหมือนน้ำ(My Life + My Love + My Passion +My Happiness) มีผู้กว่าบทความอย่างน่าฟังว่า บางครั้งการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข(Happiness) ต้องรู้จักปรับตัว(Agility) ให้สอดคล้อง/เชื่อมโยง(Conform & Linking )กับสภาพแวดล้อม(Environment) ทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจ(Economic)สังคม(Social) ผู้คน(Man)วัฒนธรรม(Culture) ค่านิยม(Value)หรือสภาพแวดล้อมภายในซึ่งได้แก่  ฐานานุรูปหรือสถานะทางสังคมของตัวเอง(Norm) และครอบครัว(Family) ความรู้(Knowledge)ฯลฯ  หลายคนเป็นทุกข์(Suffering/Distress) หาความสุขไม่เจอเพราะไม่สามารถ 'ปรับตัว'(Adaptation) ให้เข้ากับปัจจัยทั้ง 2 ประการได้   น้ำเป็นตัวอย่างที่ดีของการปรับตัวเหล่านี้
        1.รู้จักประมาณตัว

           
    Water Being : น้ำ >>>>> ไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะรูปแบบไหน ๆหรือแหล่งน้ำธรรมชาติลักษณะใด ๆก็สามารถทำตัวกลมกลืน(Consistent/Harmonious)มีรูปร่างไปตามนั้นเช่นอยู่ในแอ่งเล็ก ๆอยู่ในสระขนาดกลางอยู่ในบึงกว้าง ๆอยู่ในทะเลสาบขนาดใหญ่หรือแม้แต่อยู่ในมหาสมุทร น้ำก็อยู่ได้
            Being Water : คนเองก็ต้องรู้จักปรับตัว(Agility)ให้เข้ากับที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมที่ห่อหุ้มชีวิตอยู่บ้านใหญ่ก็อยู่ได้อยู่บ้านเล็กก็ปรับตัวให้เหมาะสม  เศรษฐกิจดีก็ใช้เยอะ เศรษฐกิจแย่ก็ตัดรายจ่ายได้ ไม่ทุกข์ร้อนใจ มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย ตามภาษิต นกน้อยทำรังแต่พอตัวเบื้องต้น คนต้องรู้ตัวเองเสียก่อนว่าเป็นน้ำในอะไร บางคนเป็นแค่น้ำขังในกะลา ทว่าใช้ชีวิตเหมือน้ำในทะเลสาบ แน่นอนล่ะ ในที่สุดก็ต้องอัตคัดขัดสน หามาได้ก็ใช้หนี้ หมุนวนอยู่อย่างนั้น เพราะดำเนินชีวิตแบบ 'เกินกำลัง' ของตัวเอง  
            เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็ต้องรู้สถานการณ์ มีแล้วค่อยใช้ ไม่มีให้เก็บออม คนสมัยนี้ชอบเอา 'เงินอนาคต' มาใช้ เงินอนาคตหมายถึงอะไรหรือก็หมายถึงเงินหรือรายได้ที่คาดว่าจะได้ในวันข้างหน้า แต่ก็เลือกที่จะใช้เสียในวันนี้ เช่น ซื้อของเงินผ่อน กู้ หรือรูดบัตรเครดิตไปก่อน แล้วค่อยจ่ายทีหลัง มีจ่ายก็ดีไป ถึงเวลารายได้ไม่มาอย่างที่คิด ลำบากเอามากๆ
    2. รู้จักถ่อมตน-เคารพคนอื่น (Polite/Modest/Humble
           
    Water Being : น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ น้ำตกเกิดเพราะบนที่สูง บนยอดเขามีน้ำอยู่มาก ไม่ว่าอยู่บนผิวดินหรือใต้ดิน ถึงที่สุดก็ต้องไหลลงสู่ที่ต่ำ
           
    Being Water : เปรียบดั่งคนที่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ติดยึดกับหัวโขนที่สวมอยู่ว่า

    - ฉันเป็นรัฐมนตรี

    - ฉันเป็นอธิการบดี

    - ฉันเป็นมหาเศรษฐี

    - ฉันเป็นกรรมการผู้จัดการ

    - ฉันเป็นนายพล ฯลฯ

    แต่สามารถปรับตัวได้ตามกาลเทศะ พบผู้อาวุโสก็ รู้จักนอบน้อม พบผู้อ่อนอาวุโสหรือด้อยฐานะกว่าก็ เคารพ ให้เกียรติ และมีเมตตา ไม่ดูถูก ไม่รังเกียจ

    3. รู้จักยืดหยุ่น (Agility)  
           
    Water Being : น้ำนั้นอ่อนนุ่ม แต่มีแรงปะทะมหาศาล ยามที่อยู่เฉย ๆน้ำไม่ทำร้ายใคร แต่ยามที่น้ำไหลบ่าก็สามารถทำลายแม้กระทั่งขุนเขาขนาดมหึมา
            Being Water : คนจึงต้องรู้จักอดทน อดกลั้น และข้ามผ่านช่วงเวลาที่ไม่น่าพอใจไปให้ได้  ด้วยการรู้จัก ยืดหยุ่น รู้เขารู้เรา รู้จักถอยเพื่อก้าว เมื่อได้ชัยชนะให้เกียรติคู่ต่อสู้ แข็งมาอ่อนกลับ ชนะจากภายในสู่ภายนอก  จะชนะผู้อื่นได้จึงต้อง ทำตัวเหมือนน้ำทั้งกายภาพและจิตใจ ใช้ความอ่อนนุ่มสยบความแข็งกร้าว ว่าไปแล้วประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาหลายร้อยหลายพันปีก็มีตัวอย่างมายืนยันความคิดนี้  ผู้ชายที่มีอำนาจอันแข็งแกร่งล้วนแต่พ่ายแพ้ต่อสตรีที่อ่อนโยนและเลอโฉมมาแล้วทั้งสิ้น

                หนูเปิ้น(สมศรี นวรัตน์) คิดว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านบ้าง >>>>> นะคะ ขอขอบคุณมากนะคะที่ให้เกียรติอ่านบทความนี้นะคะ และเปิ้นคิดว่า สิ่งที่เล่ามาแลกเปลี่ยน + เรียนรู้ เหล่านี้มีอยู่ในทฤษฎีของท่าน ศ.ดร. จีระโดยเฉพาะ ทฤษฎี 3 วงกลม (CMC =  Competency + Motivation + Context)

     

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

    สุนันทา เสถียรมาศ

    เรียนท่านอาจารย์

    หนูขอส่งการบ้านขอที่ว่า ดร.จีระ กับ อ.ธัญญา เขียนหนังสือแล้วจะได้อะไร หนูขอตอบว่า ได้ 4L’s คือ

    1. Learning Methodology ได้วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ โดยการใช้ Mind Map ในการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเห็นภาพแบบองค์รวม คือ Macro แล้วแตกกิ่งก้านสาขา เป็น Micro ต่อไปได้ และทำให้เป็นการคิดแบบเป็นระบบ ซึ่งหนูถือว่า สำคัญมาก เพราะถ้าคนเราคิดอะไรแบบไม่เป็นระบบ ไม่เป็นขั้นเป็นตอน แล้วจะทำให้คนนั้นไม่สามารถรู้ถึงแก่นของแต่ละเรื่องได้อย่างแท้จริง

    2. Learning Environment ได้สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ใหม่ เพราะทำให้ผู้เรียนมีความสะดวกในระบบความคิดโดยการได้ต่อกิ่งก้านของ Mind Map ออกไป

    3. Learning Opportunity ได้สร้างโอกาสในการเรียนรู้ คือ ผู้เรียนแต่ละอาจารย์ได้โอกาสเรียนรู้จากอาจารย์อีกท่านหนึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เรียนจาก 1 ท่าน

    4. Learning Community ได้สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใหญ่กว่าเดิมที่แต่ละท่านมีอยู่

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สุนันทา 081-309-5959

    นิตยสารรายปักษ์ ดวงเศรษฐี

    ฉบับที่  ๑๐๔ ปักษ์แรก ๑-๑๕  มกราคม ๒๕๓๒

    หน้า ๗

    ----------------------------------------------------------

    ธัญญา   ผลอนันต์

    - ๗ ค่ำ  ปีจอ

                                                               ๑๔

    ๒๘  มิถุนายน  ๒๔๘๙

    เวลา  ๐๘.๐๐ น.

     

                    ดวงชะตาของ  คุณธัญญา   ผลอนันต์  จบเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกษตร  แล้วไปต่อ  ญี่ปุ่น  อเมริกา สวีเดนและอังกฤษพ่อเป็นพลอากาศเอก ชอบทำหนังสือ เขียนกลอน เรื่องสั้น  สารคดี  และแปลหนังสือต่าง ๆ รวมทั้งบทพากษ์หนังทีวี  แต่งงานแล้ว

                    ลัคนาอยู่ราศีกรกฎ  มีดาวพุธ ()  ร่วมกับดาวศุกร์ ()  ได้ตำแหน่งเป็นราชาดชคและเป็นดาวคู่อสีติธาตุในราศีธาตุน้ำ  ก็ต้องเป็นนักพูดหรือนักเขียนที่มีลีลาหรือศีลปะในการเขียนดีมาก  ไม่ว่าจะทำอะไรมักเป็นที่นิยมชอบของคนทั่วไป  มีดาวล้อมหน้าล้อมหลังลัคนา  โดยที่มีดาวพฤหัส ()  นำหน้าดวงดาวทั้งหลาย  ถือว่าดีมาก  เป็นคนมีศีลธรรม  ชีวิตมีความไพบูลย์รุ่งเรืองดี  รักความสงบ  สติปัญญาแตกฉานมองเห็นการณ์ไกล  สำหรับดาวอังคาร () เป็นศูนย์พาหะอยู่ในราศีสิงห์เป็นพระเคราะห์จำพวกจำเพาะราศีเพียงคนเดียวโดด ๆ  ท่านยกย่องว่าให้ดีมากจะต้องเป็นอภิชาตบัตร  โดยเฉพาะดาวอังคาร () เป็น  ศรี  ตามทักษาคู่ธาตุอีกก็ต้องเป็นพิเศษกล้าพูดกล้ากระทำหรือกล้าเขียนในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้อง และดาวอังคาร  ()  หนุนดาวพฤหัส () จึงทำให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถดีมีสติปัญญาแตกฉานและมีดาวราหู ()  ทำมุมโยคหลังและทำมุมตรีโกณกับดาวพฤหัส ()  ทีราศีกันย์  จึงเป็นผู้ที่มีความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม  โดยที่มีดาวฤตยู () ร่วมอยู่ด้ายในมุมโยคหลัง  ลาภผลมักจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับผลงานทางด้านต่างประเทศ  เพราะดาวมฤตยู () มีความหมายถึงด้านต่างประเทศ  จึงชอบงานทางด้านการแปล

    ----------------------------------------------

    เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

              อาจารย์คะตอบคำถามที่ว่าอาจารย์ 2 ท่านเขียนหนังสือร่วมกันแล้วคนไทยจะได้อะไร  จากดวงของอาจารย์ธัญญา (ที่ต้องใช้ดวงเนื่องจากไม่อาจรู้จักท่านพอเพียงจึงต้องพึ่งดวง)  แต่สำหรับอาจารย์ จีระ ท่านเป็นอย่างที่เขียนจริงๆ เพราะเข้าใจท่าน รู้ว่าท่านคิดและต้องการอะไร (มาจากผลงานและการกระทำของท่าน) อาจารย์ทั้ง 2 มีอุดมการณ์เหมือนกัน คือ ต้องการให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เกิดปัญญามีความเป็นมนุษย์ที่มีทุน(8K 5K)ครบถ้วนต้องการเพิ่มมูลค่าในมนุษย์เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญไม่ว่าจะเกิดภาวะวิกฤต อะไรสู้ได้หมด

    อาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์

    อาจารย์ธัญญา  ผลอนันต์

    มีคารมเป็นยอดพูดแล้วคนฟังต้องสะเทือน(เกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน)

    กล้าพูด(ตามดวงบอกไว้)

    ปัญญายอดมองไม่ใช่ไกลอย่างเดียวมองทะลุสมอง(ความคิด)และจิตใจคนทุกคน

    สติปัญญาแตกฉานมองเห็นการณ์ไกล 

    รับงานต่างประเทศ(อินเดีย)

    ด้านต่างประเทศ

    พูดออกรายการทั้งทางวิทยุ และTV

    ต้องเป็นนักพูด หรือ

    เป็นเจ้าของแนวคิด ทฤษฎี 8K 5K 2R 3วงกลม

    นักเขียนที่มีลีลาหรือศีลปะในการเขียนดีมาก

    สมถะยิ่งกว่าพระสงฆ์(สมภารไม่กินไก่วัด)

    เป็นผู้ที่มีความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม

    เขียนในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องตรงความจริงและประเด็น(บทเรียนจากความจริง)

    กล้ากระทำหรือกล้าเขียนในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้อง

    อาจารย์เป็นที่ชื่นชอบ(ไม่ใช่ชอบธรรมๆถึงขนาดคลั่งไคล้)

    ทำอะไรมักเป็นที่นิยมชอบของคนทั่วไป

    จบเศรษฐศาสตร์ (ตรี โท เอก)

    จบเศรษฐศาสตร์

    ทำทุกวิถีทางที่จะสร้างคนพัฒนาคน เพิ่มมูลค่าแบบยั่งยืน

    งานที่ทำให้ความรู้ทางปัญญาแก่สังคม

    อาจารย์เน้นสังคม ประเทศชาติ

    เน้นส่วนบุคคลเป็นส่วนใหญ่

    ผลงานของอาจารย์ทำให้เกิดความรู้ ที่ทำให้คนเปลี่ยนแบบ transform 

    ผลงานทำให้เกิดความจำ ทำให้คนใช้สมองที่มีอยู่เต็มที่

    ต้องการเห็นคนไทยแข่งขันสู้ได้ในเวทีโลก

    ต้องการให้คนไทยใช้ปัญญาให้เต็มที่ทั้ง2 ข้าง

    ให้แนวคิดแบบใช้ความจริงสอนให้เห็นสัจธรรมทันเหตุการณ์ เรียนรู้ตลอดชีวิต

    ให้แนวคิดแบบเป็นระบบ

     

    อาจารย์คะเหมือนกันออกอย่างนี้มีหรือที่เขียนอะไรร่วมกันแล้วคนไทยจะไม่เกิดประโยชน์  เรียกว่า  เกิดประโยชน์  มากกว่า  รีบออกมาเร็วๆนะคะ

     

    จากวัชรินทร์  แสงมา Ph.D SSRU

    เรียน ท่าน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

                หนู (สมศรี  นวรัตน์) รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้หนูขอแลกเปลี่ยนและเรียนรู้....เรื่อง >>>>>>> ผู้นำในอนาคต(The Future) จะต้อง

    1.      พิจารณาที่ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ไม่ใช่ที่กระบวนการและสิ่งของ

    คนส่วนใหญ่จะถูกกำหนดให้มุ่งความสนใจไปที่สิ่งต่าง ๆ และไม่เห็นความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตนเอง ซึ่งมันได้นำไปสู่การอธิบายสิ่งต่าง ๆ แยกเป็นเรื่อง ๆ ไป แทนที่จะพูดถึงมันในฐานะที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของกระบวนการ

    2.      ไม่กล่าวโทษ

    คนมักจะกล่าวโทษกันเองหรือไม่ก็โทษสถานการณ์เมื่อเกิดปัญหา แม้ว่าปัญหาขององค์การส่วนใหญ่จะเกิดจากระบบที่ออกแบบมาไม่ดี แต่ผู้นำที่แท้จริงก็ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจว่าปัญหาไม่ได้เกิดจาก สิ่งภายนอกเพราะคนและสาเหตุของปัญหาต่างก็เป็นส่วนประกอบของระบบเดียวกัน

    3.      แยกความซับซ้อนที่เป็นส่วนปลีกย่อยออกจากความซับซ้อนที่มีพลวัต

    ความซับซ้อนที่เป็นส่วนปลีกย่อย จะปรากฏขึ้นสถานการณ์นั้นมีตัวแปรหลายอย่าง ในขณะที่ความซับซ้อนที่มีพลวัตจะปรากฏขึ้นเมื่อเหตุและผลไม่ได้เกิดในเวลาและสถานการณ์ที่เดียวกัน ดังนั้นผลที่ตามมาจึงไม่ชัดเจน ยากที่จะมองออก แต่ผู้นำที่มีประสิทธิผลจะต้องทำเข้าใจ ในความซับซ้อนที่มีพลวัตนั้นให้ดีเสียก่อน จึงจะพิจารณาความซับซ้อนที่เป็นส่วนปลีกย่อย

    4.      มุ่งความสนใจไปยังเรื่องที่มีผลกระทบสูง

    การคิดอย่างเป็นระบบจะทำให้เรามองออกว่าการกระทำที่ไม่ยิ่งใหญ่ แต่มีเป้าหมายชัดเจนนั้นสามารถก่อให้เกิดการปรับปรุงครั้งสำคัญได้ ถ้ามันถูกกาลเทศะ สิ่งนี้เป็นหลักการของคาน กล่าวคือ การจัดการปัญหายาก ๆ ต้องอาศัยทักษะในการตรวจหาว่าเรื่องใดที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมาก โดยใช้ความพยายามในการดำเนินการน้อยที่สุด และจะทำให้เกิดการพัฒนาครั้งสำคัญ

                5.   หลีกเลี่ยงวิธีแก้ปัญหาหาตามอาการของปัญหา

                        เมื่อมีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นในองค์การ เราก็มันจะเน้นไปที่การแก้ไขลักษณะของความผิดพลาดมากกว่าจะไปแก้ที่สาเหตุของมัน การทำแบบนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาไปได้ชั่วคราว แต่มันมักจะก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงกว่าในภายหลัง ดังนั้นผู้นำที่มีประสิทธิผลจึงต้องเลิกเข้าไปจัดการกับปัญหาด้วยวิธีแก้ปัญหาหาแบบถาวรโดยอาศัยการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและหลักการขั้นมูลฐาน

    Senge ได้สรุปว่า

    -         ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ(System)

    -         ความรอบรู้แห่งตน

    -         แบบแผน ความคิดอ่าน

    -         การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม

    -         การเรียนรู้ของทีม

    มีความ สำคัญอย่างยิ่ง ต่ออนาคตขององค์การ วินัยเหล่านี้อาจเรียกได้ว่าเป็นวินัยในการเป็นผู้นำ เนื่องจากผู้ที่รักษาวินัยเหล่านี้ได้อย่างดีเยี่ยมจะเป็นผู้นำองค์การเรียนรู้ไปโดยธรรมชาติและการควบคุมสิ่งต่างๆที่อาจเกิดจากวินัยในการเรียนรู้ ทั้ง 5 นี้ เพื่อสร้างรากฐานสำหรับอนาคตก็อาจถือเป็นวินัยข้อที่ 6 ได้เช่นกัน     

    วันนี้หนูขอจบการแลกเปลี่ยน + เรียนรู้เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ >>>> แต่ก่อนจะยุติขอฝากคำคมว่า “…การเปลี่ยนแปลง ในความรับรู้  ไม่ได้เปลี่ยน ข้อเท็จจริง=======>> แต่กระนั้น มันก็เปลี่ยนความหมายของความจริง ...และเป็นไปอย่าง รวดเร็ว ===>> เสียด้วย =========>> ตาม " ทฤษฎี 2 R" ของท่าน ศ. ด. จีระ  =====>> แล้วหมอดู (ที่ชื่อหมอเปิ้น แห่งรพ.บ้านลาด) =====>>  ก็ขอ " ฟันธง" ว่าใช่เลย เช่น เดียวกับPh.D..วัชรินทร์   แสงมา......นะคะ                                    

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด  จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

    เรียน  ท่านอาจารย์  ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพยิ่ง

     

    วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) พูดขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้  โดยการนำเอา Mind   Mapping   มาใช้ประโยชน์ได้มากมายโดยเฉาะเมื่อเตรียมย่อจากการอ่านบทความ + สรุปการอ่านหนังสือต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างที่ได้ทำดังนี้นะคะ

         

         

     

    การนำมาใช้ให้เป็นประจำ====>จนเกิดความคล่องตัว เหมือนที่=====>ท่าน  อจ.ธัญญา ได้แนะนำและได้สอนไว้  หนูสมศรี =====>คิดว่าหนูได้นำมาใช้ประโยชน์ได้มากเลยคะ  ทั้งในเรื่องส่วนตัว =====> เรื่องงาน  ====> การแนะนำน้อง ๆในที่ทำงาน ได้หัดใช้  Mind   Mapping   จะทำให้เกิดทักษะ(Skill) อย่างแนะนอน =====> เกิดการเรียนรู้(Learnning) เกิดความรู้(Knowledge) และเป็นการนำเสนอสิ่งดี ๆ ออกไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้(Social Learning) เป็นนำเสนอสิ่งดี ๆ เพื่อการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ ======>เป็นไปตาม ทฤษฎีของท่าน ศ.ดร.จีระ 8 K's +  5 K's +          ทฤษฎี 3 วงกลม +  4L's + 2  R's +  5 E's  และหนูก็เห็นด้วยกับที่ท่าน อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน จะรวมกันเขียนหนังสือร่วมกัน หนูขอเรียกว่าเป็น Creativity Book นะคะ                              

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

    เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยิ่ง 

                หนูสมศรี นวรัตน์ ขอพูดคุยแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับท่านอาจารย์ เรื่อง “สุขภาพจิต” โดยท่านพระธรรมปิฎกได้กล่าวถึงความสุขว่ามี 2 แบบ คือเป็นความสุขจากภายในหมายถึง มีความสงบในใจตนเองหรือมีความสุขจากการรู้เท่าทันเข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลายเป็นความสุขทางปัญญา เนื่องจากเห็นแจ้งความจริงเป็นความโปร่งโล่ง ไม่มีความติดขัดบีบคั้นใจเป็นความสุขภายในของบุคคล สำหรับความสุขอีกแบบเป็นความสุขที่ได้จากภายนอก นอกจากนี้ท่านพระธรรมปิฎก ยังได้แบ่งประโยชน์สุขออกเป็น 3 ระดับดังนี้

                ประโยชน์สุขระดับที่ 1 ด้านรูปธรรม ที่ตามองเห็นหรือเห็นได้กับตา คือ การมีสุขภาพดี การมีทรัพย์สินเงินทอง การมีอาชีพการงานเป็นหลักเป็นฐาน การมียศ ฐานะ ตำแหน่ง การเป็นที่ยอมรับในสังคม การมีมิตรสหายบริวารและการมีชีวิตครอบครัวที่ดี 

                ประโยชน์สุขระดับที่ 2 ด้านนามธรรมที่ลึกล้ำ เลยจากตามองเห็นคือเรื่องของคุณธรรมความดีงามการมีความสุขที่เกิดจากความมั่นใจในคุณค่าของชีวิต การได้บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ ความมีศรัทธาในสิ่งที่ดีงามที่เป็นหลักของจิตใจ และการมีปัญญาที่ทำให้รู้จักการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ชีวิตเป็นอยู่ด้วยดี

                ประโยชน์สุขระดับที่ 3 ด้านนามธรรมขั้นโลกุตตระ  ที่อยู่เหนือกระแสความไหลเวียนของโลกธรรม คือ ความเป็นผู้มีจิตใจเป็นอิสระ ด้วยความรู้เท่าทันต่อสิ่งทั้งหลาย รู้โลกและชีวิตตามความเป็นจริง จนกระทั่งว่าโลกธรรมเกิดขึ้นมากระทบกระทั่งก็ไม่หวั่นไหว วางใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามเหตุปัจจัย ปล่อยให้กฎธรรมชาติทั้งหลายก็เป็นกฎธรรมชาติอยู่ตามธรรมชาติ ความทุกข์ที่มีอยู่ในธรรมชาติก็คงเป็นทุกข์ของธรรมชาติไป ไม่เข้ามากระทบกระทั่งบีบคั้นจิตใจของเราได้ เป็นผู้มีสุขอยู่กับตนเองตลอดเวลา ชีวิตก็สมบูรณ์แล้ว

    ท่านพุทธทาสภิกขุ  ได้กล่าวถึงความสุขมี 3 ระดับ คือ

                1.  สุข เพราะ ไม่เบียดเบียน เป็นความสุข ค่อนข้างจะเป็นเรื่องสังคมหรือของหมู่คณะ ถ้าไม่เบียดเบียนกันก็จะเป็นสุข หรือไม่เห็นแก่ตัว

                2.  สุข เพราะ อยู่เหนืออำนาจกามหรือเป็นความสุข เพราะอยู่เหนือกิเลสที่จะมากระทบตัวเราเป็นความรัก หลงใหลในสิ่งต่าง ๆ หรือการกำหนัดยินดี อารมณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นกามอย่างหนึ่ง การที่หลงใหลทั้งบุคคล วัตถุก่อให้เกิดความทุกข์ได้ทั้งสิ้น

                3.  สุข เพราะละตัวตนเสียได้เพราะถ้าละเรื่องนี้ได้ก็จะไม่ยึดมั่นว่าตัวกูของกู อยากจะเหนือผู้อื่น สิ่งที่สำคัญที่สุดใน 3 ข้อนี้ คือ ไม่มีตัวกู ของกู ถ้าคิดได้เสียแต่แรกก็จะไม่เบียดเบียนใคร และก็จะไม่เห็นแก่ตัว

      คุณ อภิชัย มงคลและคณะได้ความหมายของสุขภาพจิต  และองค์ประกอบของสุขภาพจิตดังนี้ สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข อันเป็นผลจากการมีความสามารถในการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิต    มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยครอบคลุมถึงความดีงามภายในจิตใจ  ภายใต้สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

    องค์ประกอบของสุขภาพจิต ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ

                1.  สภาพจิตใจ (Mental State) หมายถึง สภาพจิตใจที่เป็นสุขหรือทุกข์ การรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง ความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อทางด้านจิตใจและความเจ็บป่วยทางจิต

                2.  สมรรถภาพของจิตใจ (Mental Capacity) หมายถึงความสามารถของจิตใจในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข

                3.  คุณภาพของจิตใจ (Mental Quality) หมายถึง คุณลักษณะที่ดีงามของจิตใจ ในการดำเนินชีวิตอย่างเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

                4.ปัจจัยสนับสนุน (Supporting Factors) หมายถึงปัจจัยที่สนับสนุนให้บุคคลมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว ชุมชน ความปลอดภัยทางร่างกาย และความมั่นคงในชีวิต การเข้าถึงบริการสาธารณสุข ตลอดจนการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และมีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจเมื่อทำการศึกษาความหมายของความสุขในมุมมองของพุทธศาสนา

                หนูสมศรี นวรัตร์ ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ หนูคิดว่าเรื่องสุภาพจิตนี้อยู่ใน ทฤษฎี 8 K’s ในเรื่อง Happiness Capital และ Intellectual Capital + ทฤษฎี 3 วงกลม ในเรื่อง Emotion Capital”

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

    เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยิ่ง 

                หนูสมศรี นวรัตน์ ขอพูดคุยแลกเปลี่ยน + เรียนรู้กับท่านอาจารย์ เรื่อง “สุขภาพจิต” โดยท่านพระธรรมปิฎกได้กล่าวถึงความสุขว่ามี 2 แบบ คือเป็นความสุขจากภายในหมายถึง มีความสงบในใจตนเองหรือมีความสุขจากการรู้เท่าทันเข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลายเป็นความสุขทางปัญญา เนื่องจากเห็นแจ้งความจริงเป็นความโปร่งโล่ง ไม่มีความติดขัดบีบคั้นใจเป็นความสุขภายในของบุคคล สำหรับความสุขอีกแบบเป็นความสุขที่ได้จากภายนอก นอกจากนี้ท่านพระธรรมปิฎก ยังได้แบ่งประโยชน์สุขออกเป็น 3 ระดับดังนี้

                ประโยชน์สุขระดับที่ 1 ด้านรูปธรรม ที่ตามองเห็นหรือเห็นได้กับตา คือ การมีสุขภาพดี การมีทรัพย์สินเงินทอง การมีอาชีพการงานเป็นหลักเป็นฐาน การมียศ ฐานะ ตำแหน่ง การเป็นที่ยอมรับในสังคม การมีมิตรสหายบริวารและการมีชีวิตครอบครัวที่ดี 

                ประโยชน์สุขระดับที่ 2 ด้านนามธรรมที่ลึกล้ำ เลยจากตามองเห็นคือเรื่องของคุณธรรมความดีงามการมีความสุขที่เกิดจากความมั่นใจในคุณค่าของชีวิต การได้บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ ความมีศรัทธาในสิ่งที่ดีงามที่เป็นหลักของจิตใจ และการมีปัญญาที่ทำให้รู้จักการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ชีวิตเป็นอยู่ด้วยดี

                ประโยชน์สุขระดับที่ 3 ด้านนามธรรมขั้นโลกุตตระ  ที่อยู่เหนือกระแสความไหลเวียนของโลกธรรม คือ ความเป็นผู้มีจิตใจเป็นอิสระ ด้วยความรู้เท่าทันต่อสิ่งทั้งหลาย รู้โลกและชีวิตตามความเป็นจริง จนกระทั่งว่าโลกธรรมเกิดขึ้นมากระทบกระทั่งก็ไม่หวั่นไหว วางใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามเหตุปัจจัย ปล่อยให้กฎธรรมชาติทั้งหลายก็เป็นกฎธรรมชาติอยู่ตามธรรมชาติ ความทุกข์ที่มีอยู่ในธรรมชาติก็คงเป็นทุกข์ของธรรมชาติไป ไม่เข้ามากระทบกระทั่งบีบคั้นจิตใจของเราได้ เป็นผู้มีสุขอยู่กับตนเองตลอดเวลา ชีวิตก็สมบูรณ์แล้ว

    ท่านพุทธทาสภิกขุ  ได้กล่าวถึงความสุขมี 3 ระดับ คือ

                1.  สุข เพราะ ไม่เบียดเบียน เป็นความสุข ค่อนข้างจะเป็นเรื่องสังคมหรือของหมู่คณะ ถ้าไม่เบียดเบียนกันก็จะเป็นสุข หรือไม่เห็นแก่ตัว

                2.  สุข เพราะ อยู่เหนืออำนาจกามหรือเป็นความสุขเพราะอยู่เหนือกิเลสที่จะมากระทบตัวเราเป็นความรัก หลงใหลในสิ่งต่าง ๆ หรือการกำหนัดยินดี อารมณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นกามอย่างหนึ่ง การที่หลงใหลทั้งบุคคล วัตถุก่อให้เกิดความทุกข์ได้ทั้งสิ้น

                3.  สุข เพราะละตัวตนเสียได้เพราะถ้าละเรื่องนี้ได้ก็จะไม่ยึดมั่นว่าตัวกูของกู อยากจะเหนือผู้อื่น สิ่งที่สำคัญที่สุดใน 3 ข้อนี้ คือ ไม่มีตัวกู ของกู ถ้าคิดได้เสียแต่แรกก็จะไม่เบียดเบียนใคร และก็จะไม่เห็นแก่ตัว

    คุณ อภิชัย มงคลและคณะได้ความหมายของสุขภาพจิต  และองค์ประกอบของสุขภาพจิตดังนี้ สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข อันเป็นผลจากการมีความสามารถในการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิต    มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยครอบคลุมถึงความดีงามภายในจิตใจ  ภายใต้สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

    องค์ประกอบของสุขภาพจิต ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ

                1.  สภาพจิตใจ (Mental State) หมายถึง สภาพจิตใจที่เป็นสุขหรือทุกข์ การรับรู้สภาวะสุขภาพของตนเอง ความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อทางด้านจิตใจและความเจ็บป่วยทางจิต

                2.  สมรรถภาพของจิตใจ (Mental Capacity) หมายถึงความสามารถของจิตใจในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข

                3.  คุณภาพของจิตใจ (Mental Quality) หมายถึง คุณลักษณะที่ดีงามของจิตใจ ในการดำเนินชีวิตอย่างเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

                4.ปัจจัยสนับสนุน (Supporting Factors) หมายถึงปัจจัยที่สนับสนุนให้บุคคลมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว ชุมชน ความปลอดภัยทางร่างกาย และความมั่นคงในชีวิต การเข้าถึงบริการสาธารณสุข ตลอดจนการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และมีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจเมื่อทำการศึกษาความหมายของความสุขในมุมมองของพุทธศาสนา

                หนูขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ หนูคิดว่าเรื่องสุภาพจิตนี้อยู่ใน ทฤษฎี 8 K’s ในเรื่องHappiness Capital และ Intellectual Capital + ทฤษฎี 3 วงกลม ในเรื่อง Emotion Capital”

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ขณะนี้มีบทความเกี่ยวกับ Creative Economy (เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์) มากมายและถ้าพวกเราที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์จีระ ได้ลองอ่านดู จะรู้ว่าไม่รู้ทำไมถึงเหมือน เหมือน และเหมือนที่ท่านอาจารย์ของเราพยายามสอน สอน และสอน นะครับ? (ลองดูตัวอย่างข้างล่างนะครับ)

    Page0218

    Page0219

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ ที่เคารพอย่างยิ่ง

                       หนู สมศรี นวรัตน์ ขอคุยแลกเปลี่ยน ร่วมเรียนรู้กับเพื่อน ๆ และ ชาว Blog + ผู้ที่มีหัวใจ + มีPassion เสมอๆสำหรับเรื่องการเรียนเพื่อรู้ให้เกิดองค์ความรู้(Knowledge) + เกิด Skill + เกิด Mindset ==> จนเกิดเป็น Life Long learning เพราะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ การที่มี Human Capacity ซึ่งหนูคิดว่าเป็นทุนที่มีความสำคัญ + มีค่า + เพิ่มคุณค่า(Value Added) =====> มีคุณค่าอย่างมากสำหรับสังคมไทย (ทั้งสังคมภาพรวม) ซึ่งหนูคิดว่ากำลังขาดแคลน วันนี้หนูขอคุยในเรื่อง“เปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก” (The Heart of Change) โดยขอเริ่มที่เรื่อง “กระตุ้นเพื่อความเร่งรีบ” ในขั้นตอนแรกที่จะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงคือ การมีพฤติกรรม(Behavior/Habited) ที่เตรียมพร้อมสำหรับการสอดส่องหาโอกาส และปัญหา เพื่อกระตุ้นให้เพื่อนร่วมงานมีส่วนร่วม โดย กระตุ้นให้เห็นถึงความเร่งด่วนในการแก้ไข  จุดประกายความคิดให้เกิดความต้องการเปลี่ยนแปลง 

                       ดังตัวอย่างในเรื่องการขออนุมัติจากเจ้านาย เป็นการเริ่มต้นแบบไม่เหมาะสมจึงไม่เกิดพฤติกรรมและความรู้สึกที่ต้องการเปลี่ยนแปลง  เนื่องจากมีพฤติกรรม  4  อย่าง   

                       - แรกคือ  พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่หรือความมั่นใจในตนเองเกินไป  

                       - สองคือ  การหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว  คอยปกป้องตนเอง  ไม่กล้าเผชิญกับความจริง 

                       - สามคือ  ความโกรธ 

                       - สุดท้าย คือการมองโลกในแง่ร้าย 

        คำสั่งของผู้บริหารไม่สามารถกระตุ้นความรู้สึกกระตือรือร้น ของคนได้เพียงคำสั่งให้ทำ การได้เห็นและรับรู้ถึงข้อมูลที่แท้จริงก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมและเกิดการลงมือกระทำที่รวดเร็ว

                       ดังตัวอย่างเรื่อง  VDO ความไม่พอใจของลูกค้า  เป็นตัวอย่างของการเริ่มต้นที่ดี  สำหรับวิกฤตการณ์ไฟลนก้น(Crisis)  และความกลัว  ความเร่งด่วนจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  การทำให้เขาเกิดความหวาดกลัวก็ดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ดีบางสถานการณ์  สำหรับตัวอย่าง  ถุงมือบนโต๊ะประชุม การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากความรู้สึกที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหา เกิดความรู้สึกร่วม  ปราศจากการต่อต้านหรือโกรธ สำหรบแกลเลอรี่รูปเหมือนของกลุ่มผู้บริหาร การนำรูปของบริษัทลูกค้าไปติดแทนที่รูปผู้บริหารเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยแต่ก็มีผลทำให้พนักงานเริ่มสนใจลูกค้าและความต้องการของลูกค้า  อันจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร

                       การกระทำที่เรียบง่ายและถูกต้องนั้นไม่ต้องอาศัยเงินทองอะไรมากมาย การจัดทำวีดีโอเทปหรือการย้ายรูปถ่ายบุคคลสำคัญหรือวิธีอื่นก็สามารถนำเอาไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องหาทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือแม้กระทั่งในระดับผู้จัดการไปเยี่ยมชมบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง  ผู้นำจะต้องจัดการประชุมประจำปีเพื่อจะหาทางหยุดพักผ่อนสมองระหว่างการทำงาน  ผู้นำทีมพาลูกค้าคนสำคัญมาร่วมประชุมพร้อมกับเสนอข้อมูลที่น่าสนใจให้กับผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากปฏิบัติได้ ความกระตือรือร้นก็จะมากขึ้นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดี  วิธีที่ได้ผลคือ

    • แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่เขาสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้จริงๆ
    • แสดงหลักฐานจากลูกค้าที่บ่งบอกถึงความจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
    • แสดงหาวิถีทางในการลดปริมาณความพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยวิธีที่ง่ายและไม่สิ้นเปลือง
    • อย่าประมาทหลงคิดไปว่าองค์กรของคุณนั้นดีอยู่แล้ว  ไม่มีความรู้สึกหวาดกลัว  ความพอใจ  หรือความไม่พอใจกับสภาวะที่เป็นอยู่มากมายอะไรนัก

    หนูสมศรี นวรัตน์ คิดว่า  การเปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก” (The Heart of Change) ====>> คงไม่อยากเกินไปนักเพราะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership = Leader Change) คือ ผู้มีภาวะผู้นำทิศทาง/กำหนดทิศทางอยู่แล้ว (Dimension) การเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว และทั้งหมดทั้งมวนล้วนแล้วแต่อยู่ในทฤษฎี ท่าน ศ. ดร. จีระทั้ง ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม (CMC) + ทฤษฎี 4 L’s + ทฤษฎี 2 R’s + ทฤษฎี 5 E’s + ทฤษฎีเพิ่มมูลค่า Value Added (เริ่มที่ ==>Data ==> Information ==> Knowledge ==> Value Added ==> Wisdom) ถ้าไม่เชื่อหนูเปิ้น ก็อยากให้ทุก ๆท่านกลับไป Reviews  เอกสารของท่านอาจารย์ดูได้เลยนะคะ

     ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาดอ.บ้านลาด จ.เพขรบุรี

    Tel.081-9435033

     

     

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ขณะนี้มีบทความเกี่ยวกับ Creative Economy (เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์) มากมายและถ้าพวกเราที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์จีระ ได้ลองอ่านดู จะรู้ว่าไม่รู้ทำไมถึงเหมือน เหมือน และเหมือนที่ท่านอาจารย์ของเราพยายามสอน สอน และสอน นะครับ? (ลองดูตัวอย่างข้างล่างนะครับ)

    Page0218

    Page0219

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ขณะนี้มีบทความเกี่ยวกับ Creative Economy (เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์) มากมายและถ้าพวกเราที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์จีระ ได้ลองอ่านดู จะรู้ว่าไม่รู้ทำไมถึงเหมือน เหมือน และเหมือนที่ท่านอาจารย์ของเราพยายามสอน สอน และสอน นะครับ? (ลองดูตัวอย่างข้างล่างนะครับ)

    Page0218

    Page0219

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่งที่เคารพอย่างยิ่ง              

                หนู สมศรี นวรัตน์ ขอคุยแลกเปลี่ยน ร่วมเรียนรู้กับเพื่อน ๆ และ ชาBlog+ ผู้ที่มีหัวใจ + มีPassion เสมอ ๆสำหรับ เรื่องการเรียนเพื่อรู้ให้เกิดองค์ความรู้ (Knowledge) + เกิด Skill + เกิด Mindset ==> จนเกิดเป็น Life Long learning วันนี้ขอคุยเรื่อง การสื่อสารเพื่อซื้อใจ ความสำเร็จในการพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมีการสื่อสารถึงวิสัยทัศน์(Vision)และกลยุทธ์(Strategic)  เพื่อให้เกิดความเข้าใจภายในองค์กรเป้าหมาย(Goal) เพื่อให้คนจำนวนมากที่สุดที่จะเป็นไปได้มาร่วมกันทำให้เป็นจริง(Real)  การสื่อสาร(Communication)เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจกลยุทธ์ในการทำงาน  ข้อความที่เข้าใจง่ายโดนใจ คนฟังหรือคนอื่นก็สามารถทำให้เข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ(Effective) นอกจากคำพูดแล้ว การกระทำก็สำคัญเพราะเป็นการสื่อสารที่ชัดเจนกว่าคำพูด  เพราะการสื่อสารข้อมูล(Data) มิใช่เพียงการส่งต่อข้อมูล  ตัวอย่างเรื่องการเตรียมตัวตอบคำถามต้องกระทำอย่างรวดเร็ว(Speed)  กระทำด้วยความมั่นใจ(Confidence) เชื่อ(Believe) ในสิ่งที่ทำอยู่  ตอบคำถามยาก ๆโดยไม่ให้คนฟังรู้สึกเหมือนเขากำลังป้องกันตนเองแต่เขาต้องทำ  เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร  ตัวอย่างเรื่องของพนักงาน  เป็นการช่วยพนักงานได้อ่านเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของเขาในเว็บไซต์  ซึ่งเป็นการไม่เพียงพอสำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าช่วย สำหรับตัวอย่างเรื่องถึงเวลาลดชั้นผู้บริหาร  สิ่งที่ได้คือ ผู้บริหารได้ทำตรงกับนโยบายที่วางไว้คือ การลดต้นทุน  ปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ  สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการสื่อสารได้อย่างสร้างสรรค์มาก  ดังตัวอย่างเรื่องโปรแกรมรักษาหน้าจอภาพที่ได้เห็นมีส่วนสำคัญมาก  เพราะเมื่อได้อ่านก็เท่ากับได้เห็น

            ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนถ้าขาดความกระตือรือร้น  ก็จะไม่มีทางได้ผล  ต้องเริ่มต้นการซื้อใจคนด้วย  การใช้วิธีสร้างใยเหมือนกับแมงมุม  ดังนั้น  การสื่อสารเพื่อซื้อใจเป็นการสื่อสารถึงกลยุทธ์(Strategic) ในการเปลี่ยนแปลงและวิสัยทัศน์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ  จะทำให้เกิดทั้งความเข้าใจและเห็นด้วยอย่างลึกซึ้งมากขึ้น  วิธีที่ได้ผล

    • ใช้คำพูดที่โดนใจ  เรียบง่าย  ไม่ซับซ้อน
    • ทำการบ้าน  อย่างดีก่อนที่จะสื่อสารให้ผู้อื่นฟัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้อื่น
    • กล่าวถึงความวิตก  สับสน  โกรธ  และไม่ไว้ใจ
    • กำจัดช่องทาง ที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งไป  เพื่อเปิดทางให้กับข้อความที่สำคัญ
    • ใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่  เพื่อให้คนเห็นภาพ

            หนูสมศรี นวรัตน์ คิดว่า  “การเปลี่ยนแปลงสำเร็จได้ต้องใจรัก” (The Heart of Change) ====>> คงไม่อยากเกินไปนักเพราะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership = Leader Change) คือ ผู้มีภาวะผู้นำทิศทาง/กำหนดทิศทางอยู่แล้ว (Dimension) การเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว และทั้งหมดทั้งมวนล้วนแล้วแต่อยู่ในทฤษฎี ท่าน ศ. ดร. จีระทั้ง ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม (CMC) + ทฤษฎี 4 L’s + ทฤษฎี 2 R’s + ทฤษฎี 5 E’s + ทฤษฎีเพิ่มมูลค่า Value Added (เริ่มที่ ==>Data ==> Information ==> Knowledge ==> Value Added ==> Wisdom) ถ้าไม่เชื่อหนูเปิ้น ก็อยากให้ทุก ๆท่านกลับไป Reviews  เอกสารของท่านอาจารย์ดูได้เลยนะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel 081-9435033

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ขณะนี้มีบทความเกี่ยวกับ Creative Economy (เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์) มากมายและถ้าพวกเราที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์จีระ ได้ลองอ่านดู จะรู้ว่าไม่รู้ทำไมถึงเหมือน เหมือน และเหมือนที่ท่านอาจารย์ของเราพยายามสอน สอน และสอน นะครับ? (ลองดูตัวอย่างข้างล่างนะครับ)

    Page0218

    Page0219

    ขอบเขตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

    องค์ประกอบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับการจัดกลุ่ม และแยกประเภทบนพื้นฐานของแนวคิดหลัก 2แนวคิดกว้างๆ คือ กลุ่มที่แยกประเภทตามชนิดสินค้า/บริการ และกลุ่มที่แยกประเภทตามกิจกรรมการผลิตและห่วงโซ่การผลิต โดยมีตัวอย่างรูปแบบการแบ่งประเภทที่เป็นที่รู้จัก ในปัจจุบันทั้งหมด 6 รูปแบบ ดังนี้

    (1) การจัดประเภทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศสหราชอาณาจักร (Department for Culture media and Sport, United Kingdom :UK DCMS Model) แบ่งออกเป็น 13 กลุ่มแยกตามสินค้าและบริการ คือ โฆษณา สถาปัตยกรรม งานศิลปะและวัตถุโบราณ งานฝีมือ แฟชั่น งานออกแบบ ภาพยนตร์และวีดีโอ ดนตรี ศิลปะการแสดง สื่อสิ่งพิมพ์ ซอฟต์แวร์ โทรทัศน์และวิทยุ และ วีดีโอและคอมพิวเตอร์เกมส์

    (2) การจัดประเภทเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้วัฒนธรรมเป็นหลัก (Symbolic Texts Model) แบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม ได้แก่ โฆษณา ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต ดนตรี สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และวีดีโอ ศิลปะสร้างสรรค์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แฟชั่น ซอฟต์แวร์ และกีฬา

    (3) การจัดประเภทเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้ศิลปะเป็นหลัก (Concentric Circle Model) แบ่งออกเป็น 14 กลุ่ม ได้แก่ วรรณกรรม ดนตรี ศิลปะการแสดง งานศิลปะ ภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ และห้องสมุด การดูแลศิลปวัตถุ /โบราณสถาน สื่อสิ่งพิมพ์ การบันทึกเสียง วีดีโอและคอมพิวเตอร์เกมส์ โฆษณา สถาปัตยกรรม งานออกแบบ และแฟชั่น

    (4) การจัดประเภทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(WIPO Copyright Model) ใช้ประเด็นด้านลิขสิทธิ์เป็นตัวกำหนด แบ่งเป็น 20 กลุ่ม ได้แก่ โฆษณา งานสะสม ภาพยนตร์และวีดีโอ ดนตรี ศิลปะการแสดง สื่อสิ่งพิมพ์ ซอฟต์แวร์ โทรทัศน์และวิทยุ งานศิลปะและกราฟฟิค สื่อบันทึก เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดนตรี กระดาษ เครื่องถ่ายเอกสารและอุปกรณ์ถ่ายภาพ สถาปัตยกรรม เครื่องนุ่งห่มและ รองเท้า งานออกแบบ แฟชั่น สินค้าตกแต่งบ้าน และของเล่น

    (5) การจัดประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดย UNCTAD ได้แบ่งประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรม (Heritage or Cultural Heritage) ศิลปะ(Arts) สื่อ (Media) งานสร้างสรรรค์ตามลักษณะงาน (Functional Creation)

    (6) การจัดประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดย UNESCO ได้แบ่งประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เน้นเฉพาะด้านวัฒนธรรมออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ (Cultural and Natural Heritage) การแสดง (Performance and Celebration) ทัศนศิลป์ งานฝีมือ และการออกแบบ (Visual arts, Crafts and Design) หนังสือและสิ่งพิมพ์ (Books and Press) และโสตทัศน์ และสื่อดิจิทัล (Audio Visual and Digital Media) นอกจากนั้นยังได้เพิ่มกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้อง (Related Domains) เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดประเภทให้เหมาะสมกับลักษณะวัฒนธรรมของแต่ละประเภท (ที่มา เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2552 ของ สศช.)

    เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ 

                     เศรษฐกิจพอเพียงคู่กับธรรมะและการเรียนรู้ทุนมนุษย์สู่ความยั่งยืน

                     วันนี้อยากจะเขียนและเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์จากทฤษฎีการเรียนรู้และหลักธรรมะเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาและมองหาหนทางแห่งความผาสุกและความยั่งยืน

     เศรษฐกิจพอเพียง

                    เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกกระดับ ไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ชุมชน หรือรัฐ ในการปฏิบัติงานหรือบริหารพัฒนาประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท มีเหตุผล และสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นจากภายนอกและภายในอย่างรอบคอบ ในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีความสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และความรอบรู้ที่เหมาะสม การดำเนินชีวิตควรใช้ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การดำรงชีวิตและปฏิบัติมุ่งเน้นการอยู่รอดปลอดภัยและวิกฤต สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

    ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

                    - ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคอยู่ในระดับพอประมาณ

                    - ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

                    - การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

                    การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องมีความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ

                    - ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นให้มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

                    - คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริตและมีความอดทน มีความเพียง ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

    หนทางไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักพุทธธรรม

                    การที่ “คน” จะดำเนินชีวิตไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนจะต้องพัฒนาจิตใจให้ละเลิกลดจากกิเลสตัณหา โดยใช้หลักพุทธธรรม ซึ่งมุ่งเน้นให้เข้าใจธรรมชาติของโลก และชีวิตให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้สังคมนำสู่ความสุข โดยนำหลักพุทธธรรม 3 ประการ คือ ไตรสิกขา ได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา

    การพัฒนาศีลสิกขา

                    เป็นการฝึกฝนในด้านพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมเคยชิน เครื่องมือในการฝึกศีล คือ วินัย วินัยเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการศึกษาและพัฒนามนุษย์ ให้มีความประพฤติดีทั้งกายและวาจาเป็นข้อปฏิบัติสำหรับความคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม เว้นจากความชั่ว และพัฒนามนุษย์ให้เป็นผู้ที่มีวาจาชอบ คือ มีสัมมาวาจา พูดจารู้จักกาลเทศะ สามารถใช้วิถีชิวิตที่ถูกต้องดีงาม มีการงานชอบคือ มีสัมมากัมมันตะ และมีอาชีพชอบ คือ สัมมาอาชีวะ สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้อย่างดีมีสุข

    การพัฒนาจิตสิกขา

                    เป็นการฝึกฝนในด้านจิต หรือระดับจิตใจให้มีความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน จิตต้องกำหนดแน่วแน่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นการพัฒนาคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิตทั้งในด้านคุณธรรม เช่น ความมีเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในด้านความสามารถของจิต เพิ่มพูนความสามารถทางจิต มีความเพียรพยายามชอบ คือ มีสัมมาจายามะ ฝึกฝนตนเองให้มีสติระลึกชอบ หมายถึง สัมมาสติ รู้ตนเองตลอดเวลา และมีความตั้งใจชอบ คือ มีสัมมาสมาธิ มีจิตใจมั่นคง ตั้งใจ และมุ่งมั่นทำสิ่งใดให้สำเร็จได้

    การพัฒนาปัญญาสิกขา

                    เป็นการฝึกหรือพัฒนาในด้านความรู้ และความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อ ความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ตรวจสอบ คิดการต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์มีความเห็นชอบ คือ มีสัมมาทิฎฐิ บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิจะเป็นผู้ที่คิดถูก ทำถูก พูดถูก การเป็นบุคคลที่มีความดำริชอบ คือ สัมมาสังกัปปะ

    การพัฒนาที่ยั่งยืน

               การพัฒนาที่ยั่งยืน หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนในที่นี้จะขออธิบายความหมาย กรอบแนวทางการพัฒนา เป้าหมายของการพัฒนา และหนทางนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี “คน” เป็นคนย์กลางการพัฒนา ดังนี้

                เป็นการพัฒนาที่บูรณาให้เกิดองค์รวม คือ องค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะมาประสานกันครบองค์ และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือ มีดุลยภาพ กล่าวคือธรรมชาติแวดล้อมกับเศรษฐกิจจะต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่าเป็นภาวะยั่งยืนทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางสภาพแวดล้อม การคุ้มครอบสภาพแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้มนุษย์เป็นแกนกลางการพัฒนาเพื่อสร้างให้เกิดความสมดุล ระหว่างคนธรรมชาติและสรรพสิ่ง เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อกูลกัน ไม่ทำลายล้างกันทุกสิ่งในโลกก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

     

    คนเราเมื่อเข้าใจแก่นสารของคำว่าพอเพียงและพอประมาณที่แท้จริง และใช้หลักพุทธศาสนาเข้ามาช่วยเป็นหลักธรรมในการยึดเหนี่ยวหล่อหล่อมจิตใจ ให้มีความมั่งคงและเชื่อมั่นแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อไปก็คือจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้การพัฒนาทุน ในทฤษฎี 4L’s, 8K’s, 5K’s เพื่อความผาสุกอันจะนำมาซึ่งความยั่งยืน ทันต่อโลกและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์

    แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย คงยากที่จะไปถึงจุดหมาย ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะส่งผลให้การพัฒนาสรรสร้างสิ่งใดนั้นล้วนแต่เกิดจากมนุษย์นั่นเอง แต่เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะระบบการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ที่ยังขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ โดยยังมีลักษณะของการดำเนินการแบบแยกส่วนกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานเฉพาะและมีความเป็นอิสระค่อนข้างมากในการดำเนินงาน เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ทำหน้าที่เป็น แหล่งให้ความรู้ด้านการออกแบบ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทำหน้าที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเชิงประจักษ์ มูลนิธิศิลปาชีพพิเศษฯ ทำหน้าที่อบรมและถ่ายทอดภูมิปัญญาและศิลปะงานฝีมือไทย เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะต่างคนต่างทำ และไม่สามารถพัฒนาคนตรงตามความต้องการของระบบเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

    ดังนั้น หากประเทศยังต้องการก้าวไปสู่ระบบเศรฐกิจสร้างสรรค จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบพัฒนาคนเพื่อให้มีทุนมนุษย์ที่มีความคิดสร้างสรรค การสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและศักยภาพในการแข่งขัน

    รัชศักดิ์ สารนอก

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างยิ่ง 

          หนู สมศรี นวรัตน์ คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่องที่กำลัง Hot คือ เรื่อง Economy Creativity หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งหนู สมศรี ได้อ่านจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ (ฉบับร่าง) ขอนำข้อความตรงนี้มา Linkingกับ ทฤษฎี 5K’s (Creativity Capital) ท่าน ศ.ดร. จีระ (ท่านอาจารย์ของพวกเราชาว SSRUโดยเฉพาะPh.D3) ดังนี้นะคะ

    เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : ทางเลือกเศรษฐกิจไทย

              คำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ในความเข้าใจของคนทั่วไป จะมีลักษณะของความเป็นนามธรรมมากกว่าความเป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกที่มักจะพูดถึง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ใช้ทุนทางวัฒนธรรมหลัก  ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคำว่า  อุตสาหรรมเชิงวัฒนธรรม (Cultural Industry) และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อยู่ไม่น้อยซึ่งความสับสนและความไม่เข้าใจดังกล่าวทำให้การแบ่งประเภทและขอบเขตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในปัจจุบันยังมีความไม่ชัดเจนและยังไม่เป็นสากล

    นิยามและขอบเขตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

                นิยามเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยภาพรวม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาแนวคิดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความหมาย ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงมีความหลากหลายและยังไม่มีคำจำกัดความที่สร้างความเข้าใจและการยอมรับอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม มีความหมายอย่างง่ายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” คือ “การสร้างมูลคำที่เกิดจากความคิดของมนุษย์” โดย John Howkins ทั้งนี้ มีคำจำกัดความที่มักใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวาง ดังนี้

                สหราชอาณาจักร  เป็นประเทศต้นแบบที่ได้รับการยอมรับให้เป็น ศูนย์กลางความสร้างสรรค์ของโลก (World Creative Hub) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ดังนี้ “เศรษฐกิจที่ประกอบด้วย อุตสาหกรรมซึ่งมีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ทักษะความชำนาญ(Special Skill) และความสามารถพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างงานให้เกิดขึ้นได้ โดยที่สามารถสั่งสมและส่งผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

                องค์การความร่วมมือ เพื่อการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ได้ให้ความหมายในบริบท(Context)ของการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจไว้ว่า “เป็นแนวความคิดในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้สินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์

                องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) เน้นบริบทของทรัพย์สินทางปัญญาว่า “ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม” และศิลปะทั้งหมด ทั้งในรูปสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างสรรค์งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำขึ้นมาโดยทันทีในขณะนั้นหรือผ่านกระบวนการการผลิตมาก่อน

                องค์การยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ได้ยึดนิยามที่นำเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม สื่อและกีฬาของสหราชอาณาจักร คือ “อุตสาหกรรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความชำนาญ และความสามารถที่มีศักยภาพในการสร้างงานและความมั่งคั่งโดยการผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา

                โดยสรุป ความหมายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีองค์ประกอบร่วมของแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา(Educate) การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่

                หนูสมศรี นวรัตน์ ขอวิเคราะห์ (Analysis) ว่าทุก ๆ Keyword ที่หนูนำมาเขียน + นำมาสื่อสารนี้ มีอยู่ในทฤษฎีของท่านอาจารย์ของหนู ท่านศ. ดร.จีระทั้งหมดแล้วเช่น..

    1.   คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีอยู่ในทฤษฎี 5K’s คือทฤษฎีทุน 5 K’s คือ ทุนที่จำเป็นต้องมีเพิ่มเติมในยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) หลังจากที่ได้พัฒนาทุน 8 ประการไปแล้ว เพื่อที่สามารถแข่งขันในโลกได้อย่างยั่งยืน ทุนตัวที่1 คือทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)

    2. องค์ความรู้ (Knowledge) มีอยู่ในทฤษฎี 5K’s ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)  ทุนตัวที่3

    3. การศึกษา(Educate) อยู่ในภาพ Macro  ในส่วน Supplied Side ใน HR Architecture ซึ่ง ท่านศ. ดร.จีระ เน้นย้ำมาก ๆ โดยท่านได้นำ ทฤษฎี 2 R’s มาใช้เชื่อมโยง 

    4. ทรัพย์สินทางปัญญา มีอยู่ในทฤษฎี 8 K’s เป็นแนวคิดที่จำเป็นต้องมีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เป็นทุนตัวที่ 2 คือ Intellectual Capital = ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

    5. ทางวัฒนธรรมมีอยู่ในทฤษฎี 5 K’s เป็นทุนตัวที่ 4 = Cultural Capital หรือ ทุนทางวัฒนธรรม หมายถึง คุณค่าค่านิยมของสังคมที่แสดงออกทางจารีตประเพณี วิถีชุมชนที่มีรากฐานจากความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงความรู้และภูมิหลังของบุคคล

    6. เทคโนโลยี = มีอยู่ในทฤษฎี 8 K’s เป็นทุนตัวที่ 6  Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง โลกยุคปัจจุบัน  เป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความสามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    7. นวัตกรรมสมัยใหม่ = มีอยู่ในทฤษฎี 5 K’s เป็นทุนตัวที่ 2  Innovation Capitalหรือทุนทางนวัตกรรม จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า นวัตกรรม คือ

    1) การมี Idea ใหม่ๆ

    2) นำ Idea ที่ได้ไปสร้าง action หรือทำเป็น project ได้อย่างไร?

    3) เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้โครงการเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคเกษตร จะแข่งขันกับโลกได้ จะต้องสร้างสิ่งใหม่ ที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา เช่น ข้ามหอมเมล็ดสีต่างๆ กวาวเครือ  

       หนูขอจบแค่นี้ก่อนนะคะ คิดถึง ท่าน ศ. ดร. จีระ และเพื่อน ๆSSRU ทุก ๆคนนะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างยิ่ง 

            หนู สมศรี นวรัตน์ คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่องที่กำลัง Hot คือ เรื่อง Economy Creativity หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งหนู สมศรี ได้อ่านจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ (ฉบับร่าง) ขอนำตรงนี้มา Linking กับ ทฤษฎี 8K’s + ทฤษฎี 5K’s ท่าน ศ.ดร. จีระ (ท่านอาจารย์ของพวกเราชาว SSRUโดยเฉพาะPh.D3) ดังนี้นะคะ

    เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : ทางเลือกเศรษฐกิจไทย

              คำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ในความเข้าใจของคนทั่วไป จะมีลักษณะของความเป็นนามธรรมมากกว่าความเป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกที่มักจะพูดถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ใช้ทุนทางวัฒนธรรมหลัก  ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคำว่า  อุตสาหรรมเชิงวัฒนธรรม (Cultural Industry) และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อยู่ไม่น้อยซึ่งความสับสนและความไม่เข้าใจดังกล่าวทำให้การแบ่งประเภทและขอบเขตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในปัจจุบันยังมีความไม่ชัดเจนและยังไม่เป็นสากล

    นิยามและขอบเขตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 

                นิยามเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยภาพรวม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาแนวคิดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความหมาย ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงมีความหลากหลายและยังไม่มีคำจำกัดความที่สร้างความเข้าใจและการยอมรับอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม มีความหมายอย่างง่ายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” คือ “การสร้างมูลคำที่เกิดจากความคิดของมนุษย์” โดย John Howkins ทั้งนี้ มีคำจำกัดความที่มักใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวาง ดังนี้

                สหราชอาณาจักร  เป็นประเทศต้นแบบที่ได้รับการยอมรับให้เป็น “ ศูนย์กลางความสร้างสรรค์ของโลก (World Creative Hub) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ดังนี้ “เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมซึ่งมีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ทักษะความชำนาญ(Special Skill) และความสามารถพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างงานให้เกิดขึ้นได้ โดยที่สามารถสั่งสมและส่งผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา”

                องค์การความร่วมมือ เพื่อการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ได้ให้ความหมายในบริบท (Context)ของการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจไว้ว่า “เป็นแนวความคิดในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้สินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์”

                องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) เน้นบริบทของทรัพย์สินทางปัญญาว่า “ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม” และศิลปะทั้งหมด ทั้งในรูปสินค้าและบริการที่ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างสรรค์งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำขึ้นมาโดยทันทีในขณะนั้นหรือผ่านกระบวนการการผลิตมาก่อน

                องค์การยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ได้ยึดนิยามที่นำเสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม สื่อและกีฬาของสหราชอาณาจักร คือ “อุตสาหกรรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความชำนาญ และความสามารถที่มีศักยภาพในการสร้างงานและความมั่งคั่งโดยการผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา”

                โดยสรุป ความหมายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีองค์ประกอบร่วมของแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา(Educate) การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่

                หนูสมศรี นวรัตน์ ขอวิเคราะห์ (Analysis) ว่าทุกๆKeywordที่หนูนำมาเขียน + นำมาสื่อสารนี้ มีอยู่ในทฤษฎีของท่านอาจารย์ของหนู ท่านศ. ดร.จีระทั้งหมดแล้วเช่น..

    1.คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีอยู่ในทฤษฎี 5K’s คือทฤษฎีทุน 5 K’s คือ ทุนที่จำเป็นต้องมีเพิ่มเติมในยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) หลังจากที่ได้พัฒนาทุน 8 ประการไปแล้ว เพื่อที่สามารถแข่งขันในโลกได้อย่างยั่งยืน ทุนตัวที่1 คือทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)

    2.องค์ความรู้ (Knowledge) มีอยู่ในทฤษฎี 5K’s ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)  ทุนตัวที่3

    3.การศึกษา(Educate) อยู่ในภาพ Macro  ในเรื่อง Supplied ใน HR Architecture ซึ่งท่านศ. ดร.จีระ เน้นย้ำมาก ๆ โดยท่านได้นำ ทฤษฎี 2 R’s มาใช้

    4.ทรัพย์สินทางปัญญา มีอยู่ในทฤษฎี 8 K’s เป็นแนวคิดที่จำเป็นต้องมีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เป็นทุนตัวที่ 2 คือ Intellectual Capital = ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

    5.ทางวัฒนธรรมมีอยู่ในทฤษฎี 5 K’s เป็นทุนตัวที่ 4 = Cultural Capital หรือ ทุนทางวัฒนธรรม หมายถึง คุณค่าค่านิยมของสังคมที่แสดงออกทางจารีตประเพณี วิถีชุมชนที่มีรากฐานจากความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงความรู้และภูมิหลังของบุคคล

    6.เทคโนโลยี = มีอยู่ในทฤษฎี 8 K’s เป็นทุนตัวที่ 6 คือ Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง โลกยุคปัจจุบัน  เป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความสามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    7. นวัตกรรมสมัยใหม่ = มีอยู่ในทฤษฎี 5 K’s เป็นทุนตัวที่ 2  Innovation Capital หรือ ทุนทางนวัตกรรม จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า นวัตกรรม คือ

    1) การมี Idea ใหม่ๆ

    2) นำIdea ที่ได้ไปสร้าง Action หรือทำเป็นProjectได้อย่างไร?

    3) เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้โครงการเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคเกษตร จะแข่งขันกับโลกได้ จะต้องสร้างสิ่งใหม่ ที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา เช่น ข้ามหอมเมล็ดสีต่างๆ กวาวเครือ เป็นต้น  หนูขอจบแค่นี้ก่อนนะคะ คิดถึง ท่าน ศ. ดร.จีระและเพื่อน ๆ SSRU ทุก ๆคนนะคะ

     

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี

    Tel. 081-942-35033

     

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างยิ่ง

            หนู สมศรี นวรัตน์ คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่องที่กำลัง Hot คือ เรื่อง Economy Creativityหรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ในตอนนี้หนูขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน เรื่อง “ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

           การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะต้องมีการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนและสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ ความสามารถในการแข่งขันอย่างพอเพียงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

    ปัจจัยสนับสนุนหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในไทยมีสถานภาพปัจจุบันคือ

    (1) โครงสร้างพื้นฐาน ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบ่งได้สองส่วน คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม (Communication Infrastructure) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมของไทย ยังอยู่ในระดับที่ด้อยกว่าประเทศอื่น เช่น จำนวนคู่สายโทรศัพท์พื้นฐาน (11 คู่สายต่อประชากร 100 คน จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต) (21 คนต่อประชากร 100 คน) และการใช้อินเทอร์เน็ตระบบ Broadband (0.94 คน ต่อประชากร 100 คน) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนต่ำกว่าประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อื่น ๆ และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของไทยยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่ภาครัฐได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ห้องปฏิบัติการทดสอบและวิจัย อุทยานวิทยาศาสตร์ และนิคมอุตสาหกรรมซอฟแวร์ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมในทุกกลุ่มของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

    (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ แต่ยังขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ โดยยังมีลักษณะของการดำเนินการแบบแยกส่วนกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานเฉพาะและมีความเป็นอิสระค่อนข้างมากในการดำเนินงาน เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ทำหน้าที่เป็นแหล่งให้ความรู้ด้านการออกแบบ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทำหน้าที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประจักษ์ มูลนิธิศิลปาชีพพิเศษฯ ทำหน้าที่อบรมและถ่ายทอดภูมิปัญญาและศิลปะงานฝีมือไทย เป็นต้น

    (3) การสนับสนุนทางการเงินและการลงทุน ปัจจุบันสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนได้ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ แต่มักมีปัญหาในเรื่องของสินทรัพย์ค้ำประกัน และหลักเกณฑ์ค่อนข้างจะเข้มงวด โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ และผู้ประกอบการขนาดเล็ก ดังนั้น รัฐบาลที่ผ่านมาโดยความร่วมมือจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน จึงได้สร้างทางเลือกและให้โอกาสผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นใน 3 แนวทางคือ

             (1)ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น ในการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการลงทุนได้

             (2) กองทุนหมู่บ้าน สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กในระดับท้องถิ่น ซึ่งมีวงเงินค่อนข้างจำกัด

            (3) กองทุนร่วม (Venture Capital Fund) โดยสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นลักษณะของการร่วมลุงทุนโดยผู้ให้สินเชื่อร่วมกัน

    (4) การตลาด เป็นปัจจัยและกลไกสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สำหรับประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐเป็นกลไกหลักในเรื่องของการตลาด โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร รมการพัฒนาชุมชน และสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดในประเทศ และกรมส่งเสริมการส่งออก และศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ดำเนินการพัฒนาการตลาดต่างประเทศ เป็นต้น โดยการตลาดต่างประเทศนั้นนอกจากจะคำนึงถึงส่วนแบ่งการตลาดแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความหลากหลายของการตลาดด้วย ย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการตลาดที่ดำเนินการโดยภาครัฐ คือขาดการประสานงานและการดำเนินการที่เป็นระบบและเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะมีลักษณะแยกส่วนกันทำงานตามโครงสร้างของส่วนราชการ และเน้นกิจกรรมระยะสั้นมากกว่าการสร้างเครือข่ายการตลาดและสินค้าระยะยาว

    (5) การสร้างเครือข่าย มีการรวมตัวกันอย่างกระจัดกระจายและส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างพลังต่อรองและกำหนดนโยบายร่วมกันมากกว่าการรวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายห่วงโซ่การผลิต หรือเครือข่ายวิสาหกิจที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตัวอย่างของกลุ่มเหล่านี้คือ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย และสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีความพยายามของภาครัฐในการสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในระดับภาค และท้องถิ่นในรูปแบบของเครือข่ายวิสาหกิจ

    (6) การวิจัยและพัฒนา ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเข้าใจและตระหนักบทบาทความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาที่มีผลต่อธุรกิจในระดับองค์กรหรือต่อเศรษฐกิจในระดับภาครวม อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การวิจัยและพัฒนาของไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมีด้วยกันหลัก ๆ 3 ด้านคือ

                    (1) ขาดการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอจากภาครัฐ โดยการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของรัฐคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.24 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

                   (2) คุณภาพและจำนวนนักวิจัยของไทยยังต่ำมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร โดยจำนวนนักวิจัยของไทยปัจจุบันมีประมาณ 0.57 คนต่อประชากร 1 พันคน ตามลำดับ

                  (3) การดำเนินงานที่ผ่านมายังเป็นไปในลักษณะแยกส่วนมิได้ดำเนินการอย่างเป็นองค์รวมเพื่อวิจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นระบบและครบวงจร สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รับผิดชอบการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย รับผิดชอบด้านการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รับผิดชอบการวิจัยพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นต้น

    (7) กฎหมายและกฎระเบียบ แม้ว่าโดยหลักการแล้ว การสนับสนุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ต้องเน้นที่การจูงใจและการกระตุ้น มากกว่าการควบคุมโดยภาครัฐ แต่การจูงใจให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เชิงการค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจที่ได้ผลนั้น ทั้งเจ้าของงานสร้างสรรค์และผู้บริโภคจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และผู้ละเมิดต้องได้รับการลงโทษที่เหมาะสม ดังนั้นกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จึงเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนใหญ่ เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการกรกะทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าปัญหาของข้อกฎหมายเอง นอกจากนั้นยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 (มาตรา 16 วรรค 2) ว่าด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในประเทศที่ 7 ซึ่งโดยภาพรวมนับว่าค่อนข้างครอบคลุม และเพียงพอในแง่ของข้อกฎหมายและระเบียบ ขาดเพียงแต่การบังคับใช้ให้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพขึ้น

    (8) ระบบฐานข้อมูล ในปัจจุบัน ยังมิได้มีการจัดเก็บและจำแนกกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลของอุตสาหกรรมประเภทนี้คือ

                (1) สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำการสำรวจการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม (Cultural Participation Survey) ซึ่งดำเนินการทุก ๆ 3 ปี

               (2) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจำแนกตามกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมบางกลุ่มของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น ดนตรี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธุรกิจอาหารไทย ธุรกิจแพทย์แผนไทย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เป็นต้น

             (3) กรมศุลกากรจัดทำตัวเลขส่งออกและนำเข้าของสินค้าที่ผ่านกระบวนการศุลกากรเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศผ่านช่องทางอื่น เช่น On – Line Trading เป็นต้น

            (4) สมาคมอาชีพและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สมคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมสิ่งทอ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ และสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว

               สิ่งเหล่านี้คือ “ปัจจัย (Factor) สนับสนุน (Support) การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ที่หนู สมศรี นวรัตน์ ค้นคว้ามาคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์กับชาว Blog นะคะ  

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างยิ่ง 

               หนู สมศรี นวรัตน์ คุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ เรื่องที่กำลัง Hot คือ เรื่อง Economy Creativityหรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่อง “ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

                การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะต้องมีการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนและสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ความสามารถในการแข่งขันอย่างพอเพียงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดย ปัจจัยสนับสนุนหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในไทย มีสถานภาพปัจจุบัน ดังนี้ 

    (1)โครงสร้างพื้นฐาน ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบ่งได้สองส่วน คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม (Communication Infrastructure) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมของไทย ยังอยู่ในระดับที่ด้อยกว่าประเทศอื่น เช่น จำนวนคู่สายโทรศัพท์พื้นฐาน (11 คู่สายต่อประชากร 100 คน จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต) (21 คนต่อประชากร 100 คน) และการใช้อินเทอร์เน็ตระบบ Broadband (0.94 คน ต่อประชากร 100 คน) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนต่ำกว่าประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อื่น ๆ และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของไทยยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่ภาครัฐได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ห้องปฏิบัติการทดสอบและวิจัย อุทยานวิทยาศาสตร์ และนิคมอุตสาหกรรมซอฟแวร์ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมในทุกกลุ่มของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

    (2)การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ แต่ยังขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ โดยยังมีลักษณะของการดำเนินการแบบแยกส่วนกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานเฉพาะและมีความเป็นอิสระค่อนข้างมากในการดำเนินงาน เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ทำหน้าที่เป็นแหล่งให้ความรู้ด้านการออกแบบ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทำหน้าที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประจักษ์ มูลนิธิศิลปาชีพพิเศษฯ ทำหน้าที่อบรมและถ่ายทอดภูมิปัญญาและศิลปะงานฝีมือไทย เป็นต้น

    (3)การสนับสนุนทางการเงินและการลงทุน ปัจจุบันสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนได้ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ แต่มักมีปัญหาในเรื่องของสินทรัพย์ค้ำประกัน และหลักเกณฑ์ค่อนข้างจะเข้มงวด โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ และผู้ประกอบการขนาดเล็ก ดังนั้น รัฐบาลที่ผ่านมาโดยความร่วมมือจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน จึงได้สร้างทางเลือกและให้โอกาสผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นใน 3 แนวทางคือ

                   (1)ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น ในการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการลงทุนได้

                   (2)กองทุนหมู่บ้าน สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กในระดับท้องถิ่น ซึ่งมีวงเงินค่อนข้างจำกัด

                   (3)กองทุนร่วม (Venture Capital Fund)  โดยสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นลักษณะของการร่วมลุงทุนโดยผู้ให้สินเชื่อร่วมกัน

           (4)การตลาด  เป็นปัจจัยและกลไกสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สำหรับประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐเป็นกลไกหลักในเรื่องของการตลาด โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร รมการพัฒนาชุมชน และสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดในประเทศ และกรมส่งเสริมการส่งออก และศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ดำเนินการพัฒนาการตลาดต่างประเทศ เป็นต้น โดยการตลาดต่างประเทศนั้นนอกจากจะคำนึงถึงส่วนแบ่งการตลาดแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความหลากหลายของการตลาดด้วย ย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการตลาดที่ดำเนินการโดยภาครัฐ คือขาดการประสานงานและการดำเนินการที่เป็นระบบและเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะมีลักษณะแยกส่วนกันทำงานตามโครงสร้างของส่วนราชการ และเน้นกิจกรรมระยะสั้นมากกว่าการสร้างเครือข่ายการตลาดและสินค้าระยะยาว

              (5)การสร้างเครือข่าย มีการรวมตัวกันอย่างกระจัดกระจายและส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างพลังต่อรองและกำหนดนโยบายร่วมกันมากกว่าการรวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายห่วงโซ่การผลิต หรือเครือข่ายวิสาหกิจที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตัวอย่างของกลุ่มเหล่านี้คือ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย และสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีความพยายามของภาครัฐในการสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในระดับภาค และท้องถิ่นในรูปแบบของเครือข่ายวิสาหกิจ

           (6)การวิจัยและพัฒนา  ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเข้าใจและตระหนักบทบาทความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาที่มีผลต่อธุรกิจในระดับองค์กรหรือต่อเศรษฐกิจในระดับภาครวม อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การวิจัยและพัฒนาของไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมีด้วยกันหลัก ๆ 3 ด้านคือ (1)  ขาดการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอจากภาครัฐ โดยการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของรัฐคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.24 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น (2)  คุณภาพและจำนวนนักวิจัยของไทยยังต่ำมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร โดยจำนวนนักวิจัยของไทยปัจจุบันมีประมาณ 0.57 คนต่อประชากร 1 พันคน ตามลำดับ (3)  การดำเนินงานที่ผ่านมายังเป็นไปในลักษณะแยกส่วนมิได้ดำเนินการอย่างเป็นองค์รวมเพื่อวิจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นระบบและครบวงจร

    สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รับผิดชอบการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย รับผิดชอบด้านการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รับผิดชอบการวิจัยพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นต้น

             (7)กฎหมายและกฎระเบียบ  แม้ว่าโดยหลักการแล้ว การสนับสนุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ต้องเน้นที่การจูงใจและการกระตุ้น มากกว่าการควบคุมโดยภาครัฐ แต่การจูงใจให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เชิงการค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจที่ได้ผลนั้น ทั้งเจ้าของงานสร้างสรรค์และผู้บริโภคจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และผู้ละเมิดต้องได้รับการลงโทษที่เหมาะสม ดังนั้นกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จึงเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนใหญ่ เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการกรกะทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าปัญหาของข้อกฎหมายเอง นอกจากนั้นยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 (มาตรา 16 วรรค 2) ว่าด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในประเทศที่ 7 ซึ่งโดยภาพรวมนับว่าค่อนข้างครอบคลุม และเพียงพอในแง่ของข้อกฎหมายและระเบียบ ขาดเพียงแต่การบังคับใช้ให้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพขึ้น

             (8)ระบบฐานข้อมูล  ในปัจจุบัน ยังมิได้มีการจัดเก็บและจำแนกกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลของอุตสาหกรรมประเภทนี้คือ

                     (1)สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำการสำรวจการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม (Cultural Participation Survey) ซึ่งดำเนินการทุก ๆ 3 ปี

                     (2)สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจำแนกตามกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมบางกลุ่มของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น ดนตรี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธุรกิจอาหารไทย ธุรกิจแพทย์แผนไทย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

                     (3)กรมศุลกากรจัดทำตัวเลขส่งออกและนำเข้าของสินค้าที่ผ่านกระบวนการศุลกากรเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศผ่านช่องทางอื่น เช่น On – Line Trading เป็นต้น

                     (4)สมาคมอาชีพและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สมคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมสิ่งทอ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ และสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว

       สิ่งเหล่านี้คือ “ปัจจัย (Factor) สนับสนุน (Support) การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์”  ที่หนู สมศรี นวรัตน์ ค้นคว้ามาจะเป็นประโยชน์กับชาว Blog นะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ผมได้นำบทความไป Post ที่ Blog และมีคนมาอ่านและสอบถามทันที ผมก็ได้ตอบไปมา และได้นำมาให้อาจารย์และเพื่อน ๆ ได้ดูครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ 

    Creative Thailand Commitments

    Creative Economy (เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์)

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ขณะนี้มีบทความเกี่ยวกับ Creative Economy (เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์) มากมายและถ้าพวกเราที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์จีระ ได้ลองอ่านดู จะรู้ว่าไม่รู้ทำไมถึงเหมือน เหมือน และเหมือนที่ท่านอาจารย์ของเราพยายามสอน สอน และสอน นะครับ? (ลองดูตัวอย่างข้างล่างนะครับ)

    Page0218

    Page0219

    หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
    สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
    สร้าง: พฤ. 10 ก.ย. 2552 @ 13:38 แก้ไข: พฤ. 10 ก.ย. 2552 @ 13:38
    ความคิดเห็น
    1.
    tanapol kortana
    เมื่อ พฤ. 10 ก.ย. 2552 @ 13:39
    #1540841 [ ลบ ]

    เรียนทุก ๆ ท่านครับ

    นี่คือสิ่งที่กำลังจะเกิด และถ้าเราตามทัน เราก็จะสามารถอยู่รอด มั่นคง และยั่งยืนนะครับ

    2.
    หนานเกียรติ
    เมื่อ พฤ. 10 ก.ย. 2552 @ 13:44
    #1540858 [ ลบ ]

    ผมเคยได้ยิน ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี คุยเรื่องนี้

    และพยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้ภายใต้องค์กร สบร. หรือ OKMD

    แต่เท่าที่ติดตามเป็นเรื่องกายคุยโก้ ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่

    สบร. ไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ขณะที่ใช้เงินงบประมาณของประเทศไปอย่างหมดเปลือง

    ผมว่าจะเขียนถึงองค์กรนี่สักคราวครับ

    3.
    tanapolk [IP: 124.121.11.176]
    เมื่อ พฤ. 10 ก.ย. 2552 @ 13:50
    #1540879 [ ลบ ]

    เรียนคุณหนานเกียรติ

    เท่าที่ผมเห็นข่าวของรัฐบาล ดูแล้วคราวนี้น่าจะเอาจริงนะครับ เพราะมีการขานรับจากหลาย ๆ ฝ่ายรวมทั้งภาคการศึกษาจะมีการวางแผนพัฒนาหลักสูตรเพื่อสนับสนุนการสร้างบุคลากรอีกด้วย

    และสำหรับตัวมอยู่ในภาคอุตสาหกรรม S/W ซึ่งตรงกับเรื่องนี้พอดี และก็พยายามช่วยตัวเองขับเคลื่อนองค์กรให้ยืนอยู่ในทิสทางนี้ และก็ดูว่าจะมีผลดีครับ

    4.
    หนานเกียรติ
    เมื่อ พฤ. 10 ก.ย. 2552 @ 23:03
    #1541996 [ ลบ ]

    สวัสดีครับ

    ขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ

    ผมเพียงเห็นว่ามีการพูดคุยเรื่องนี้มาต้ังแต่รัฐบาลนี้เริ่มทำงาน จนป่านนี้แล้วยังไม่เห็นมีอะไรเป็นรูปธรรม นอกจากการคุยแล้วคุยอีก แต่หากจะดำเนินการจริง ๆ ก็ยินดีด้วยครับ

    มีประสบการณ์เรื่องทำนองนี้ขอแบ่งปันเป็นความรู้หน่อยนะครับ

    5.
    tanapol kortana
    เมื่อ ศ. 11 ก.ย. 2552 @ 18:34
    #1543541 [ ลบ ]

    เรียนคุณหนานเกียรติ

         ผมกำลังจะจัดงานสัมมนาของ Ph.D.3 SSRU ซึ่งผมกำลังเรียนอยู่เรื่อง "Creative Economy" และเป็นข้อสอบที่ผมตอบได้ดีพอสมควรตาม Blog ก่อนหน้านี้(ลองอ่านดู) และรุ่นผมเรียนเชิญท่านนายก มาเป็นประธานและมีผู้ร่วมอีกมายมายเช่น อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ คุณสุรินทร์ ผิศสุวรรณ(เลขาอาเชี่ยน) อธิการบดีของม.สวนสุนันทา อธิการบดีของแสตมฟอร์ด รับมนตรีกระทรวงศึกษา เป็นต้น(ผมจะแจ้งให้ทราบถ้าสำเร็จ)  และขณะที่ผมเตรียมการนั้น ผมต้องไปนำเสนอโครงการและทราบว่าทางมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีแผนพัฒนาบุคลากร(นักศึกษา)อีกด้วย

         นอกจากนี้ผมยังอยู่ในธุรกิจ IT ซึ่งนายกสมาคม IT นำเอกสารข้างต้นเรื่อง "Creative Thailand Commitments" มาให้ผมและบอกว่าผมดำเนินการเรื่องที่ In Trend จริง ๆ เพราะเขาทราบจากผมมาก่อนจะไปประชุม(เขาบอกว่าคึกคักมาก ๆ) และที่ประชุม(กระทรวงพาณิชย์)ก็มีงบประมาณส่งเสริมมากอีกด้วย  ซึ่งทั้งนี้ก็เพราะงบประมาณกำลังจะผ่านวุฒิสภาเร็ว ๆ นี้

         สรุปตามความคิดเห็นของผมก็คือ "ถ้ามาช้าก็ยังดีกว่าไม่มา(ดีกว่าที่เราต้องต่อสู้เองทุก ๆ เรื่อง)"นะครับ

     

     

     

         สุขภาพสร้างสรรค์   คือ สวรรค์ของทุนมนุษย์(Human Capital) นะคะ

       ออกกำลังกาย=====> ละลายไขมัน =====> คือการให้รางวัลชีวิต

     สุขภาพดี =====> สร้างได้ =====> ด้วยตัวเรา  นะคะ

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         พวกเราต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านอาจารย์ได้เมตตาและจัดงาน Morning Talk โดยเชิยท่านอาจารย์ไวฑูรย์ โภคาชัยพัฒน์มาให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินธุรกิจและภาครัฐ

         พวกเราต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านอาจารย์ไวฑูรย์ โภคายพัฒน์ที่ได้สละเวลามาบรรยายและให้ความรู้อย่างมากมายกับพวกเรานะครับ

         พวกเราขอต้อนรับและขอบคุณแขกผู้มีเกียรติจาก"รถไฟ" คุณปานตา เขมังกรณ์และคุณถิรเดช มงคลศุภวาร หวังว่าโอกาสหน้าเราคงจะมีความร่วมมือกันมากกว่านี้นะครับ

    ภาพงาน Morning Talk ที่จารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จัดขึ้นโดยเชิญอาจารย์ไวฑูรย์ โภคาชัยพัฒน์ มาให้ความรู้เรื่องการประเมิณธุรกิจเอกชนและภาครัฐ ซึ่งทำให้นักศึกษาได้รับความรู้มากมาย นอกจากนี้ยังมีแขกรับเชิญมาร่วมฟังจากหน่วยงาน"รถไฟ"คือคุณปานตา เขมังกรณ์และคุณถิรเดช มงคลศุภวาร พวกเราต้องขอขอบพระคุรท่านอาจารย์และแขกผู้มีเกียรติทุก ๆ ท่านด้วยนะครับ

    Image91220092

    Image91220091

    Image91220093

    Image9122009

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอคุยกับ เพื่อนๆชาว Blog โดยนำเรื่องที่อยู่ในทฤษฎีของท่านศ.ดร.จีระคือทฤษฎี 5K’s  ในเรื่อง นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก Innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ซึ่งการพัฒนาแนวคิดนี้ได้เกิดขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสำคัญ โดยความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 
               

                     อันเนื่องมาจากความหมายของนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์สิ่งใหม่จึงทำให้นวัตกรรมมีความสัมพันธ์กับการประดิษฐ์คิดค้น(Invention) อย่างใกล้ชิด  ในประเด็นที่ว่าการประดิษฐ์คิดค้น เป็นการค้นพบสิ่งใหม่, ความรู้ใหม่ ที่ยังไม่มีผู้ใดคิดค้นหรือค้นพบมาก่อน 

                  ส่วนนวัตกรรมจะหมายถึง การนำความรู้ใหม่ หรือสิ่งค้นพบใหม่นั้นไปประยุกต์ใช้ทั้งในรูปแบบของเทคโนโลยี   หรือรูปแบบอื่นที่ไม่ใช้เทคโนโลยีก็ได้

    สรุปความหมายของนวัตกรรม         
               หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม

    ลักษณะของนวัตกรรม  

    1.นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง(Radical Innovation) หมายถึงขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริง สู่สังคม โดยการ

                 - เปลี่ยนแปลงค่านิยม (value)

                 - ความเชื่อ(belief )เดิม

                 - ระบบคุณค่า(Value system)ของสังคม อย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น อินเตอร์-เน็ท (Internet) จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร 

                 - การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลาและ สถานที่นั้น เปลี่ยนไป

                 - อินเตอร์เน็ท เปิดโอกาส ให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไร้ขีดจำกัด ทั้งในด้านของเวลา และระยะทาง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสาร เปลี่ยนแปลงไป บางคนเชื่อว่า อินเตอร์เน็ทจะเข้ามาแทนที่ระบบการส่งข้อมูลข่าวสารในระบบเดิม อย่างสิ้นเชิงในไม่ช้า อาทิเช่น ระบบไปรษณีย์

        2. นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป : เป็นขบวนการ

             - การค้นพบ (discover)หรือคิดค้นสิ่งใหม่(invent)โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ (new idea)

            - ความรู้ใหม่ (new knowledge) ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด โดยการประยุกต์ใช้ แนวคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ ของมนุษย์ และการค้นค้น เทคนิค (technique)หรือเทคโนโลยีใหม่ (technology)

         นวัตกรรมที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จึงมีลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ (cumulative learning) อยู่ในบริบท(Context) ของสังคมหนึ่ง

         ในปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะผลของขบวนการโลกาภิวัตน์ ทำให้สังคมมีลักษณะไร้ขอบเขต (borderless) เป็นสังคมของชาวโลกที่มีความหลากหลายทางด้านสังคมวัฒนธรรมและการเมือง ส่งผลให้นวัตกรรม มีแนวโน้มที่จะเป็น ขบวนการค้นพบใหม่อย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ มากกว่า ที่จะเป็นนวัตกรรมใหม่โดยสิ้นเชิง สำหรับสังคมหนึ่ง ๆ

    ประเภทของนวัตกรรม

    1.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด

           นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่

                    - ต่อโลก

                    - ต่อประเทศ

                    - ต่อองค์กร

    นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ยังสามารถถูกแบ่งออก

              - เป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้(tangible product) หรือสินค้าทั่วไปเช่นรถยนต์รุ่นใหม่, ทีวีที่ใช้เทคโนโลยีสูงหรือ‘High Definition TV(HDTV)’,  ดีวีดีหรือ‘Digital Video Disc(DVD)’

               - ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (intangible product) อาทิ เช่น การบริการ (services) เช่น เพกเก็จทัวร์อนุรักษ์ธรรมชาติ, ธุรกรรมการเงิน-ธนาคารโดยผ่านทางโทรศัพท์ (telephone finance banking)เป็นต้น

    2.นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) :

           - เป็นการเปลี่ยนแนวทาง

           - วิธีการผลิตสินค้า

           - บริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น  การผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือJust In Time (JIT) การบริหารงานคุณภาพองค์กรรวมหรือ Total Quality Management (TQM) และ การผลิตแบบกะทัดรัดหรือLean Production เป็นต้น

               นวัตกรรมเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ  ผู้บริหาร พนักงาน หรือแม้แต่คนทุกคนในสังคมในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความปรารถนาใหม่ หรือต้องการค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน 

              ในวงการบริหารยุคปัจจุบันก็เช่นกัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมการบริหารเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นในปัจจุบัน ได้แก่ Balanced Scorecard KPI Competency   Six sigma เป็นต้น

               ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในในปัจจุบัน อาจเป็นสิ่งที่ล่าหลังในอนาคต ก็เป็นได้ ซึ่งนักบริหาร คงต้องสร้างความเข้าใจในปรากฎการณ์ธรรมชาตินี้ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า มีเกิดขึ้น ===> ตั้งอยู่ และ ====>ดับ   ไปนั่นเอง  

              

          วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอคุยกับท่านอาจารย์ เพื่อน ๆ ชาวBlog เรื่องนวัตกรรมเพียงแค่นี้นะคะ แต่ขอเสริมอีกนิดหนึ่งว่า การจะเกิด Innovation ได้นั้น ต้อง มี Innovator ก่อนะคะ  แต่จะเป็น Innovatorได้ =====> คน(Human) บุคลากร พนักงาน ต้องมี Crativitive Thinkingก่อน ====> และการที่คนจะมี...จะเป็น Crativitor ได้นั้นคน บุคลากร พนักงานต้องมี ====>Intelligent หรือ Intellectual Capital จึงจะเกิด Impact (ผลกระทบ) ต่อการคิดอย่างสร้างสรรค์ต่อสังคมในเชิงสร้างสรรค์ และเป็นการสะท้อนถึง(Feed Back) ===>ทุนทางมนุษย์ (Human Capital)

      สรุปแล้ว มนุษย์ก็คือ ====> ผู้สร้างสรรค์   ขณะเดียวกัน มนุษย์ก็คือ===> ผู้ทำลาย ขอฝากข้อคิดไว้แค่นี้ก่อนนะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
    สมศรี  นวรัตน์   รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    TEl. 081-9435033

     

     

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

         วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ขอคุยกับ เพื่อนๆชาว Blog โดยนำเรื่องที่อยู่ในทฤษฎีของท่านศ.ดร.จีระคือทฤษฎี 5K’s  ในเรื่อง นวัตกรรม” (Innovation)

    ขณะเดียวกันนวัตกรรม (Innovation) เป็นการเรียนรู้ได้แก่

    1. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือProblem Based Learning (PBL)

    2. เป็นวิธีการเรียนรู้(Leaning Method) ที่เป็นผลจากการแก้ปัญหา

    3. เป็นใช้ความรู้ที่ผู้เรียนทำการสืบค้นเอง การเรียนในลักษณะนี้ จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน

    4. เป็นทักษะ(Skill) ในการสืบค้นข้อมูล(Data)

    จากนิยามข้างบนดังกล่าว

        รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี  ได้ร่วมกัน คิดนวัตกรรมเพื่อแก่ปัญหาให้กับผู้ป่วย แล้วได้รับคัดเลือกในงานวิชาการสุขภาพ ระดับชาติ(Natural Forum) เมื่อวันที่11-14 มีนาคม 2552 ณ.อาคาร อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี มีInnovative 2 แบบ

          1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) ได้แก่

          - ถุงยาพาสุขภาพดี

          - ปฏิทินยาพาสุขภาพดี

          - ลูกบอลหลากสีบริหารมือดี ชีวีสดใส

          - ไม้พลองออกกำลังกาย คลายเมื่อยล้า

          - เต้านมปลอม

          - ปีบดักยุง

          - ดัมเบล...เพิ่มเซลของกล้ามเนื้อ

    2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)ได้แก่

        - นวัตกรรมสร้างสรรค์หญิงตั้งครรภ์ได้รับคุณค่า(Value Added)

        -  อาสาสมัครน้อย(อสม.น้อย) คอยสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนและในชุมชน

        - ก่อนสู่โลกกว้าง…เส้นทางของน้องหนู

        - ขวดน้ำมหัศจรรย์สร้างสรรค์สุขภาพผู้ป่วยโรคถุงลมโป่รงพอง: โรคCOPD

        - เยี่ยมเยียน...เยียวยา..พัฒนาสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคน “พิการ” ด้วยทีมภาคีเครือข่ายมิตรภาพบำบัด

       - ภาคีเครือข่ายร่วมใจ “ตำบลท่าช้างปลอดภัย” ด้วยโรคไข้เลือดออก

       - Humanizeในเรือนจำ

       - ธนาคารเลือด....ธนาคารชีวิต

      - High and Low โชว์ที่ข้อมือ

     จากการทำงานด้านสุขภาพ อยากฝากข้อคิดการสร้างเสริมสุขภาพ(Health Promotion) หมายถึงการสร้างเสริมสุขภาพทั้งกลุ่ม 4 กลุ่ม

         1. กลุ่มแข็งแรง/กลุ้มปกติ(Namal) ===>ให้สร้างเสริมสุขภาพโดยเล่นกีฬาชนิดที่ชอบเช่น บาสเกตบอล ฟิตเนส ปิงปอง

         2. กลุ่มเสี่ยง(Risk) ===>ให้สร้างเสริมสุขภาพโดยเล่นกีฬาชนิดที่ชอบและลดปัจจัยเสี่ยงเช่น ลดรอบเอว ลด/เลิกบุหรี

         3. กลุ่มป่วย (Patient) ===> ต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกวิธี และได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกัน (Prevention) ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต้องได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ตรวจตา เพื่อป้องกันต้อกระจกปีละ 1 ครั้ง ตรวจภาวะทางไต เพื่อป้องกันโรคไตวาย ปีละ 1 ครั้ง ตรวจผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า ซึ่งจะรักษายาก นำไปสู่โอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันบริเวณปลายประสาทเท้า ส่งผลให้เกิดเนื้อตายบริเวณนั้น ทำให้ต้องตัดนเท้าหรือตัดนิ้วเท้าทิ้ง   

       4. กลุ่มผู้พิการ ===> ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถนะร่างกาย ซึ่งผู้พิการมีทั้งหมด 5 ประเภท และผู้พิการดังกล่าวควรได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานสาธารณสุขอันจะนำไปสุ่การได้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือเยียวยา 

        5. กลุ่มด้อยโอกาส/กลุ่มผู้สูงอายุ ===> ควรได้รับการช่วยเหลือด้านสังคม เช่น การได้รับเงินเป็นเบี้ยยังชีพ การช่วยเหลือด้านอื่นๆ ตามความจำเป็น

         วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอจบการคุยเรื่อง Innovation ที่โรงพยาบาลบ้านลาด ได้รับการนำเสนอ ได้เสนอผลงานทางวิชาการและได้ถวายงานพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรชายาธินัดดามาตุ นำมาซึ่งความปลื้มปิติยินดีสำหรับทีมงานและองค์กร (โรงพยาบาลบ้านลาด) เป็นอย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณสถาบันรับรองและพัฒนาโรงพยาบาลซึ่งปัจจุบันได้เป็นองค์กรมหาชนไว้ ณ ที่นี้

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.08-1943-5033

     

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอคุยกับเพื่อนๆชาว Blog โดยนำเรื่อง “ วิธีชะลอความชรา เรื่อง สุขภาพ เรื่องในระบบ Macro ในโครงสร้าง HR Arehitectureที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตจริ(ทฤษฎี 2 R’s) ===> เมื่อเข้าสู่วัยทอง ผิวพรรณที่เคยสดใสเต่งตึง จะเริ่มเสื่อมสภาพไป โดยเฉพาะผู้หญิง เนื่องจากขาด ฮอร์โมนเอสโตรเจน การดูแลผิวพรรณอย่างถูกวิธีจะช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของผิว และทำให้ผิวพรรณคงความงามต่อไป แม้ว่าอายุจะมากขึ้นก็ตาม
           ทั้งหญิงและชายควรเริ่มใส่ใจดูแลผิวพรรณตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เพื่อให้เซลล์ผิวแข็งแรงมาแต่เดิม จะดีกว่าเพิ่งมาดูแลเมื่อโครงสร้างของผิวหนัง
           ชั้นหนังกำพร้า เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ และป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย        
           เมื่อเข้าสู่วัยทอง ชั้นหนังกำพร้าจะเริ่มบางลง ผิวหนังถลอก ติดเชื้ออักเสบ เกิดอาการแพ้เป็นผื่นได้ง่าย ในบางราย เซลล์เนื้อเยื่ออาจเกิดการแบ่งตัวผิดปกติ กลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนังได้      
           ชั้นหนังแท้ ประกอบไปด้วยเส้นใยที่ประสานกัน เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ มีต่อมเหงื่อทำหน้าที่สร้างและขับน้ำออกจากร่างกายเพื่อปรับอุณหภูมิ และต่อมไขมันทำหน้าที่ขับไขมันออกมาปกป้องผิว นอกจากนี้ยังมีปลายเส้นประสาทและปลายของหลอดเลือดแดงและท่อน้ำเหลืองอยู่ภายในชั้นหนังแท้ ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเซลล์ผิวหนัง
           เมื่อเข้าสู่วัยทอง ชั้นหนังแท้จะบางลงเช่นกัน โดยเฉพาะในหญิงวัยทอง เส้นใยที่ประสานกันอยู่จะขาดความยืดหยุ่น ทำให้ผิวหนังเกิดรอยเหี่ยวย่น ต่อมเหงื่อจะมี จำนวนลดลงและเสื่อมประสิทธิภาพ จึงขับเหงื่อออกจากร่างกายได้น้อย ทำให้ทนต่ออากาศร้อนได้น้อยลง ต่อมไขมันก็ทำงานน้อยลง ผิวหนังจึงแห้งและเป็นขุยได้ง่าย ส่วนปลายประสาทรับความรู้สึกก็จะทำงานลดลงเช่นกัน 
           ชั้นไขมัน ทำหน้าที่ช่วยลดการกระแทกและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เมื่อเข้าสู่วัยทอง ผิวหนังชั้นไขมันในตำแหน่งต่างๆ จะหนาบางไม่เท่ากัน ไขมันบริเวณเอว สะโพก ช่วงขา และใต้คาง จะหนาขึ้น ในขณะที่ไขมันบริเวณวงแขนและส้นเท้าจะบางลง      
           นอกจากสภาพผิวพรรณที่เปลี่ยนแปลงไปในวัยทองแล้ว เส้นผมและขนก็จะลดจำนวนลงและมีขนาดบางลง ทำให้ผมบาง ยิ่งกว่านั้นยังเกิดผมหงอกเนื่องจากเซลล์เม็ดสีเสื่อมสภาพไป นอกจากนี้ เล็บก็ยังเปราะบางและหักได้ง่าย       
           อย่างไรก็ตาม การเสื่อมสภาพตามวัยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ผิวพรรณเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ถึงประมาณ 70% เกิดจากสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแสงแดด รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดจะค่อยๆ ทำลายผิวพรรณทีละเล็กทีละน้อย ทำให้ผิวหนังขาดความยืดหยุ่นและเกิดรอยเหี่ยวย่น เมื่อถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ๆจะทำให้ผิวหนังหนาและหยาบกระด้าง มีจุดด่างดำตามบริเวณที่ถูกแสงแดด หรืออาจทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้
           นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่างๆ มลภาวะสารเคมี ความร้อน ความอ้วน การสูบบุหรี่ การขยับกล้ามเนื้อบนใบหน้าในท่าซ้ำๆ แม้แต่การนอนในท่าเดิมซ้ำๆ เช่น นอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ ก็ทำให้เกิดริ้วรอยจากการนอนทับขึ้นได้ 

    วิธีชะลอความชราและป้องกันริ้วรอย ทำได้โดย
           1.หลีกเลี่ยงแสงแดด
           - หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ๆในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. เพราะเป็นช่วงที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตสูงสุด หากจำเป็นต้องออกแดดช่วงนั้น ก็ควรกางร่ม
           - ใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไป โดยทาครีมก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที ควรเลือกชนิดกันน้ำและไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม อาจจำเป็นต้องทาซ้ำหากต้องทำกิจกรรมที่ทำให้ครีมลบเลือนได้ง่าย
           2.หลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น
           - ควรเปลี่ยนท่านอนบ่อย ๆและใช้หมอนทรงเตี้ย เพื่อป้องกันริ้วรอยที่จะเกิดขึ้น
           - หลีกเลี่ยงการบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าซ้ำ ๆเพราะจะทำให้รอยย่นเด่นชัดขึ้น
           - สวมแว่นกันแดด สวมหมวก หรือกางร่มขณะออกแดด เพื่อลดการหยีตา ซึ่งจะเพิ่มรอยตีนกาให้มากขึ้น
           3.หมั่นดูแลผิวให้ชุ่มชื้น
           - ทาครีมหรือโลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว
           - สำหรับบางคนที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทน ฮอร์โมนทดแทนจะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นและชุ่มชื้นขึ้นได้
           4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
           - รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ที่กำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิวหนัง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบตัน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและหลอดเลือดในสมองตีบ นอกจากนี้ยังช่วยให้สายตามองเห็นในที่มืดได้ดี และช่วยป้องกันโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้
           แหล่งอาหารที่มีสารแอนตี้อ็อกซิแดนท์มากที่สุด คือผักและผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง หรือสีแดง เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ และแตงโม เป็นต้น
           5.พักผ่อน ออกกำลังกาย ไม่เครียด
           - พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ผิวพรรณจะสดใส
           - ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับวัย เพื่อช่วยให้การหมุนเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น ทำให้ผิวหนังได้สารอาหารและออกซิเจนเพิ่มขึ้น
           - ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ผิวหนังจะได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้น
           หากดูแลตัวเองได้ตามนี้ รับรองว่าแม้ผิวพรรณจะไม่เต่งตึงเหมือนหนุ่มๆ สาวๆ แต่ก็เรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า งามตามวัย ค่ะ

              ขอยุติไว้แค่นี้ก่อนนะคะ ขอขอบคุณเพื่อน ๆชาวBlog ที่ให้เกียรติอ่านผลงานชิ้นนี้นะคะ

                         มหัศจรรย์????? ====> การออกกำลังกาย 

                  ออกกำลังกาย ===> ละลายไขมัน คือ ===> การให้รางวัลชีวิต 

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    การเรียนรู้ตลอดชีวิต

    (Lifelong Learning)

    แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์การศึกษา เกิดขึ้นเมื่อประมาณกว่า 30 ปีมาแล้ว ภายใต้ความพยายามของ OECD UNESCO และสภายุโรป (Council of Europe) เป็นการสนองต่อความบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีต ในขณะที่บุคคลเรียนรู้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ โอกาสทางการศึกษามีขีดจำกัดในช่วงเริ่มแรกของชีวิต ที่ครอบงำโครงการศึกษาที่เป็นทางการ (Formal Education) จึงมีความจำเป็นที่จะให้โอกาสที่สองแก่คนที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น

    การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่เพียงหมายถึงการศึกษาผู้ใหญ่ (Adult Education) เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมการเรียนรู้ทุกรูปแบบตลอดช่วงชีวิตอีกด้วย บทความชิ้นนี้นำเสนอความหมายเชิงนโยบายที่ตรงประเด็นของแนวคิด “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

    อะไรคือคุณลักษณะพิเศษของแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องมีมุมมองแบบองค์รวม (Comprehensive View) ที่ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ทุกด้าน โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความรู้และความสามารถในการแข่งขันของบุคคล ที่ปรารถนาเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะ 4 ประการของแนวคิดการเรียนรู้ ได้แก่

    1. มีมุมมองอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้คือคุณลักษณะที่พิเศษที่สุดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต กรอบแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของโอกาสการเรียนรู้ ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งครอบคลุมวงจรชีวิตทั้งหมด และประกอบด้วยรูปแบบ ต่าง ๆ ของการเรียนรู้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

    2. มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการเปลี่ยนจากมุ่งเน้นด้านอุปทาน (Supply) เป็นศูนย์กลาง ในรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงสถาบันที่เป็นทางการ ไปสู่ด้านอุปสงค์ (Demand) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก

    3. มีแรงจูงใจที่จะเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่มีความต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งนี้ต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ที่ตนเองเป็น ผู้ชี้นำ

    4. มีวัตถุประสงค์ของนโยบายการศึกษาที่หลากหลาย มุมมองวงจรชีวิตที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการศึกษาที่หลากหลาย อาทิ การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนาความรู้ วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการจัดลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์เหล่านี้ อาจเปลี่ยนไปใน แต่ละช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง

     

    ทำไมการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีความสำคัญ

                       พลังผลักดันที่สำคัญทางสังคม เศรษฐกิจจำนวนมากสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของการทำงานและตลาดแรงงานและโครงสร้างอายุประชากร เป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความจำเป็นที่จะต้องมีการยกระดับทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ความต้องการก็เพื่อ Treshold ที่ยกระดับของทักษะเช่นเดียงกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในธรรมชาติของทักษะ แรงกระตุ้นของกิจการเพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นส่งผลต่อสภาพการทำงาน มีแนวโน้มที่จะมีการจ้างงานระยะสั้นในตลาดสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของตลาดได้ง่าย และวัฎจักรสินค้าที่สั้นลง งานอาชีพลดลงและบุคคลประสบกับความเปลี่ยนแปลงในเรื่องงานดีขึ้นในช่วงชีวิตทำงาน

                       การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างกว่างขวางกำลังคุกคามขั้วใหม่ระหว่างสิ่งที่ความรู้มีและสิ่งที่ความรู้ไม่มี ในทางกลับกันสิ่งนี้อาจคุกคามรากฐานของประชาธิปไตยด้วยโอกาสในการฝึกอบรมในภายหลังนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละบุคคลที่ข้ามาสู่การจ้างงาน และโอกาสการเรียนรู้เปิดกว้างแก่ ผู้ว่างงาน ลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดเล็ก และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมกลับยิ่งน้อยกว่าลูกจ้างในสถานประกอบการขนาดใหญ่มาก ความไม่เท่าเทียมกันนี้ (Disparities) สะท้อนช่องว่างรายได้ระหว่างผู้มีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และผู้ที่ไม่มีวุฒิดังกล่าว และช่องว่างนั้นยิ่งกว้างขึ้นเรื่อย ๆ

                       การลงทุนในการศึกษาแะการฝึกอบรมที่จะสนองต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตก็เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมและเศรษฐกิจโดยก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนบุคคลผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว สำหรับบุคคลแล้วการเรียนรู้ตลอดชีวิตมุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์ การริเริ่ม และความรับผิดชอบ ซึ่งส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่อตนเอง งานที่ดีขึ้นรายได้ที่เพิ่มขึ้น นวัตกรรมใหม่ ๆ และเพิ่มความสามารถในการผลิตมากขึ้นด้วย ทักษะและศักยภาพของแรงงานเป็นปัจจัยหลักในผลงานและความสำเร็จของสถานประกอบการ สำหรับเศรษฐกิจ  แล้วมีความสัมพันธ์ที่สนับสนุนกันระหว่างการได้รับการศึกษาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอะไรคือผลเชิงนโยบายของแนวคิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่และผลลัพธ์ของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากสิ่งที่เป็นทางการ ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ของวัยรุ่นและผู้ใหญ่จึงอยู่นอกเหนือขอบเขตที่มีการบันทึกไว้ นอกจากการวัดเชิงปริมาณแล้วประเด็นเชิงคุณภาพและความก้าวหน้าของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบโครงสร้างเชิงสถาบัน เชิงกฎหมาย และเชิงนโยบาย เอื้อต่อการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ดีอย่างไร

     

    ครม.เห็นชอบปฏิรูปการศึกษารอบสอง เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

     

     

     

    นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยถึง การสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ให้กับคนไทย ว่า เพื่อเป็นการต่อยอดการปฏิรูปการศึกษารอบสอง ที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.)อยากให้ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ ศธ. ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 3 ส่วน ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นส่วนที่นอกเหนือจากการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ โดยการศึกษาตามอัธยาศัยนั้น จะหาความรู้ได้ทางอินเตอร์เนต พิพิธภัณฑ์ อุทยานวิทยาศาสตร์ อุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ต่างๆที่หลากหลาย โดยทุกส่วน จะมีความสำคัญเท่าๆกันหากขาดส่วนใดส่วนหนึ่ง การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษารอบสอง จะเน้นการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษานอกระบบ ควบคู่กันไป

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดรงจีระ หงส์ลดารมภ์

    และเพื่อน ๆ ผมได้ส่งประวัติ Standford มาให้ดูครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    อย่าวัดคนแค่ภายนอก

    สุภาพสตรีในชุดกระโปรงผ้าฝ้ายเรียบๆกับสามีของเธอในชุดสูทเนื้อผ้าธรรมดาๆ ก้าวลงจากรถไฟในชานชาลาสถานีเมืองบอสตัน

    ทั้งคู่ยืนรออย่างสงบอยู่หน้าสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

    เลขานุการสาวดูออกในแว่บเดียวว่าสามีภรรยาซอมซ่อคู่นี้มาจากบ้านนอก และไม่น่ามีธุระอะไรในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแห่งนี้ได้

    "เราต้องการพบท่านอธิการบดี" สามีกล่าวนุ่มนวล

    "ท่านติดนัดตลอดทั้งวัน" เลขาฯสะบัดเสียงเล็กน้อย

    "งั้นเราจะรอ" ภรรยาตอบ

    เป็นเวลาหลายชั่วโมงที่เลขานุการทำเป็นไม่สนใจ

    โดยประมาณว่าทั้งคู่คงทนไม่ได้และกลับไปเอง

    แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่

    เลขาฯสาวเริ่มไม่แน่ใจจึงต้องรบกวนเวลาท่านอธิการบดี

    "พวกเขาคงแค่อยากพบท่านครู่เดียวก็กลับ" หล่อนอธิบาย

    ท่านอธิการบดีถอนใจด้วยความเบื่อหน่ายแล้วก็พยักหน้าเสียไม่ได้

    จริงๆแล้วคนสำคัญระดับท่านอธิการจะมีเวลาพบคนระดับนี้ได้อย่างไร?แต่นั่น เถอะนะ ท่านคิด ดีกว่าปล่อยให้คู่สามีภรรยาบ้านนอกป้วนเปี้ยนอยู่แถวนี้ให้ใครต่อใครมาเห็น

    ท่านเขิดหน้าอย่างทรงเกียรติใส่ทั้งคู่

    ภรรยากล่าวขึ้น "ลูกชายของเราเคยเรียนในฮาร์วาร์ด 1 ปี เขารักฮาร์วาร์ดมากและเขาก็มีความสุขที่นี่อย่างยิ่ง แต่เมื่อปีที่แล้วเขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต สามีและดิฉันก็เลยอยากทำอะไรสักอย่างไว้เป็นที่ระลึกถึงเขาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ท่านอธิการไม่รู้สึกร่วมแต่อย่างใด เพียงแต่ช็อคเล็กน้อย"

    "คุณผู้หญิง เราไม่สามารถสร้างรูปปั้นให้กับทุกคนที่เคยเรียนฮาร์วาร์ดแล้วก็ตายหรอกนะ ถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ที่นี่คงดูไม่ต่างไปจากสุสานแน่"

    "โอ...ไม่ใช่อย่างนั้นค่ะ ท่านอธิการบดี" ภรรยารีบอธิบาย

    เราไม่ได้ต้องการจะสร้างรูปปั้น เราคิดว่าเราจะสร้างตึกให้ฮาร์วาร์ดต่างหาก"

    ท่านอธิการกลอกตาไปมา เขามองไปที่ชุดผ้าฝ้ายกับสูทบ้านนอก

    "สร้างตึก! พวกคุณรู้ไหมว่าใช้เงินเท่าไรในการสร้างตึกสักหลังหนึ่ง

    เราใช้เงินไปมากกว่า 7.5 ล้านดอลลาร์แค่ตอนเริ่มก่อตั้งฮาร์วาร์ดนี่"

    เป็นครู่ที่สุภาพสตรีเงียบกริบ

    ท่านอธิการรู้สึกโล่งอก

    ในที่สุดสามีภรรยาคู่นี้ก็ถูกกำจัดไปได้เสียที แล้วภรรยาก็หันมาพูดกับสามีเบาๆว่า

    "ใช้เงินแค่นั้นเองน่ะหรือในการสร้างมหาวิทยาลัย? แล้วทำไมเราไม่สร้างของเราเองสักแห่งหนึ่งล่ะ?" สามีผงกศีรษะ

    สีหน้าท่านอธิการเต็มไปด้วยความงงงวยสุดขีด

    แล้วนายและนาง ลีแลนด์ สแตนฟอร์ด ก็เดินทางไปยังพาโลอัลโตในแคลิฟอร์เนีย

    ที่ๆ พวกเขาก่อตั้งมหาวิทยาลัยภายใต้นามสกุลของครอบครัว

    เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ลูกชายที่ฮาร์วาร์ดไม่เคยเห็นคุณค่า

    .......................................................................................

    มันเป็นเรื่องประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย Standford ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังคู่แข่งกับมหาวิทยาลัย Harvard แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของคนที่ชอบตัดสินคนอื่นจากเปลือกนอก และอเมริกาประเทศที่เราอยากจะเอาตามอย่างเขาเหลือเกิน!!

    With Windows Live, you can organize, edit, and share your photos. Click here.

      เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอคุยกับเพื่อนๆชาว Blog โดยนำเรื่อง ทฤษฎีที่ได้เรียนกับ ท่าน ศ.ดร.จีระ หนูตั้งใจทำสุดฝีมือของหนูเลยนะคะ เพื่อตอบแทนที่ท่านอาจารย์ได้ประสิทธิประศาสน์วิชาให้Ph.D SSRUอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย และหนูขอ ขยายทฤษฎีของท่านอาจารย์ ให้บุคคลทั่วไป ที่แป็นผู้สนใจ==> ใฝ่รู้===> ใฝ่เรียน ดังนี้

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทฤษฎีท่าน ศ.ดร.จีระ เพื่อนๆชาว Blog โดยนำเรื่องทฤษฎี  8 K’s ได้ให้แนวคิดไว้ว่า "ทรัพยากรมนุษย์" นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของทุนทั้งสิ้น 8 ประการ ได้แก่

    (1) Human Capital หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี

    (2) Intellectual Capital  หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม     บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ   Intellectual  Capital  เสมอไป  คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

    (3) Ethical  Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม  ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี  ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง

    (4) Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือสุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

    (5)Social Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social  Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม

    (6)Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน

    (7)Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี  เป็นโลกาภิวัตน์  ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    (8)Talented Capital หรือทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน  บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างประสิทธิภาพ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel 081-9435033

     

    เรียนท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทฤษฎีท่าน ศ.ดร.จีระ เพื่อนๆชาว Blog โดยนำเรื่องทฤษฎี 3 วงกลม เป็นทฤษฎีที่ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์(Strategic)ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำ(Leardership)จะต้องมีวิสัยทัศน์(Vision)ที่ถูกต้อง และสามารถระบุภารกิจที่ชัดเจนได้ก่อน จึงจะนำ ทฤษฎี 3 วงกลม มาปรับใช้(Apply)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    วงกลมที่ 1 พิจารณา Context หรือบริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน

              - ภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ฯลฯ

              - ภายใน ได้แก่ การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ ฯลฯ

    วงกลมที่ 2 พิจารณา Skills และ Competencies เน้นการพิจารณาทักษะ(Skill) และศักยภาพ(Potentiality)ที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้(Knowlege) ความสามารถ(Ability) และทักษะ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ(Efficiency)

     วงกลมที่ 3 พิจารณา เรื่องการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) นอกจากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ดี ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่น้อยกว่า ก็คือบุคลากรจะต้องมีกำลังใจ มีความพึงพอใจ มีความตั้งใจและทัศนคติที่ดีในการทำงาน ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนู สมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ===> ผู้ใฝ่รู้ ===> ใฝ่เรียน เรื่องทฤษฎีของท่าน ศ. ดร. จีระ โดยนำเรื่อง ทฤษฎี 4L’S สื่อสารดังนี้นะคะ

     

             L ที่ 1 คือ Learning Methodology  วิธีการเรียนรู้แบบใหม่เน้นการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น workshop การทำ assignment โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ Multimedia

             L ที่ 2 คือ Learning  Environment    การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ คือการสร้างให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการแสวงหาความรู้ร่วมกัน โดยจะจัดห้องเรียนแบบ U-Shape เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา สนุก  สนใจ  และมีส่วนร่วม    บรรยากาศในการเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติ ผ่อนคลายจากความเครียด  มีมุมกาแฟและหนังสือดี ๆ มีมุมอินเตอร์เน็ตในการรับ – ส่ง e-mail และการ Search หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่จะเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ Coaching, Facilitator, และ Mentoring บรรยากาศของการหาความรู้ที่ดีนั้นจะทำไปสู่ Creativity ทั้งนี้บรรยากาศการเรียนรู้จะต้องเน้นมาตรฐานในระดับสากล (International Benchmark)

             L ที่ 3 คือ Learning Opportunity  การสร้างโอกาสในการเรียนรู้  เพื่อพบปะแลกเปลี่ยน  ความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งโอกาสในการได้เรียนรู้และร่วมหารือกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กันและกัน

              L ที่ 4 คือ Learning  Communities การสร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยใช้ห้องเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และขยายผลต่อไปในวงกว้าง    ชุมชนโดยทั่วไปเป็นชุมชนแบบ Physical Community  เมื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นจะเกิดชุมชนแบบ Digital สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลาทางอินเทอร์เน็ต อีเมล์ การโทรศัพท์สื่อสารกัน  วิธีการเรียน เน้นการเรียนเป็นทีม การทำ Workshop การทำการบ้าน (Assignment)  และการร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยน + เรียนรู้ เรื่องทฤษฎีท่าน ศ.ดร.จีระ สำหรับ ผู้ใฝ่รู้ + ใฝ่เรียน โดยขอนำ ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม (Value added) มีเนื้อหาดังนี้นะคะ

     โดยท่าน ศ.ดร.จีระ จะเน้น+อธิบาย ให้ทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยน ==> ข้อมูล(Data) ===== > ให้เป็นข่าวสาร(Information) ===== >  ให้เป็นความรู้(Knowledge)  และสามารถนำไป ==== > สร้างมูลค่าเพิ่ม(Value added) และก่อให้เกิดความฉลาดเฉลียว(Wisdom)ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านBlog นะคะ

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอคุยกับเพื่อนๆชาว Blog ผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ โดยนำ ทฤษฎี Innovation Capital (ทฤษฎี 5 K’s) ที่ได้เรียนรู้กับท่าน ศ.ดร.จีระ โดยหนูขอเสนอดังนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี Innovative  Thinking  โดยมีผู้ให้ความหมาย 

    Innovation ความหมายก็คือ การคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ นำไปสู่การปฏิบัติ ที่สัมฤทธิ์ผล เพื่อแก้ปัญหา เพื่อพัฒนา เพื่อสร้างโอกาส เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันคำว่า"นวัตกรรม" จึงหมายถึง"ใหม่" "มีคุณค่า"และ“มีมูลค่าเพิ่ม” จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ 

    องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม 

     1. Structure  โครงสร้างขององค์กรจะมีความเกี่ยวข้องกับการทำนวัตกรรม  เนื่องจากในการจัดการจะต้องอาศัยความร่วมมือกันในองค์กร  ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนกระทั่งถึงพนักงานระดับล่าง  ต้องมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างแผนกต่างๆ  มีการแบ่งอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบกัน  ซึ่งถ้าโครงสร้างขององค์กรที่มีอยู่นั้น  มีความสอดคล้องและเหมาะสมก็เป็นส่วนที่จะเสริมให้นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ถ้าหากโครงสร้างขององค์กรไม่มีความเหมาะสมแล้ว  ก็จะทำให้การทำงานเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก  อาจเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ ทำให้ไม่สามารถสนองต่อโอกาสที่มีอยู่ได้

    2. People จากคำจำกัดความของนวัตกรรมที่กล่าวว่า Innovation is the use of new knowledge to offer a new product or service that customer want ” จะเห็นว่า การจัดนวัตกรรมต้องอาศัยองค์ความรู้ (knoeledge) ใหม่ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ  ซึ่งองค์ความรู้นี้จะมาจากความรู้ ความคิดของคน  ซึ่งองค์กรใดมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอยู่มากแล้ว  ก็จะได้เปรียบองค์กรอื่นๆ  โดยบุคลากรแต่ละคนจะมีความรู้  ความสามารถในเรื่องที่แตกต่างกัน  ถ้าองค์กรใดนำความรู้ของบุคลากรแต่ละคนมาประกอบกัน  ก็ยิ่งจะทำให้ เกิดกรอบแนวความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ได้รวดเร็ว  สามารถนำไปแข่งขันได้

    3. Process ในเรื่อง ของกระบวนการ (Process)หรือขั้นตอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขั้นตอนใน การผลิต  การตลาดหรือการเงิน นั้น  จะมีการเกี่ยวข้องกับการทำนวัตกรรม  เพราะถ้าขั้นตอนมีความยุ่งยากซับซ้อนเกินไปก็อาจจะทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันกับที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา  ดัง Process ต่าง ๆ  ความมีระบบการจัดการที่แตกต่างกัน  สภาพการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม

    4. Strategy  การจัดการนวัตกรรมจำเป็นต้องมีกลยุทธ์และยุทธวิธีในการจัดการ  ความได้เปรียบทางการแข่งขันเกิดขึ้นได้เสมอ  เมือมีกลยุทธการจัดการอย่างต่อเนื่อง

    5. Tool/Information Technology  การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีส่วนในการจัดการนวัตกรรม  ช่วยในการบูรณา การโครงสร้าง (Structure)  กำลังคน(People)  กระบวนการ(Process)  และเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง  อันเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จทางธุรกิจ

                    องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม         

     

    องค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์และผลกระทบสภาพแวดล้อมขององค์กรต่อความคิดสร้างสรรค์

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี

    Tel.081- 9435033

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพยิ่ง

            วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ เพื่อน ๆชาวBlog และสำหรับผู้ใฝ่รู้ + ใฝ่เรียน และศิษย์ของ ท่าน ศ.ดร.จีระ  โดยขอนำงาน วิจัยเกี่ยวกับ Humanities, Social Sciences and Law  จาก University of Western Australia, Crawley, WA, Australia

    Abstract  This exploratory study examines how managers and professionals regard the ethical and social responsibility reputations of 60 well-known Australian and International companies, and how this in turn influences their attitudes and Behavior towards these Organizations. More than 350 MBA, other postgraduate business students, and participants in Australian Institute of Management (Western Australia) management Education Programmers were surveyed to evaluate how ethical and socially responsible they believed the 60 Organizations to be. The survey sought to determine what these participants considered ‘ethical’ and ‘socially responsible’ Behavior in Organizations to be. The survey also examined how the participants’ beliefs influenced their attitudes and intended Behaviors towards these Organizations. The results of this survey indicate that many managers and professionals have clear views about the ethical and social responsibility reputations of companies. This affects their attitudes towards these Organizations which in turn has an impact on their intended Behavior towards them. These findings support the view in other research studies that well-educated managers and professionals are, to some extent, taking into account the ethical and social responsibility reputations of companies when deciding whether to work for them, use their services or buy shares in their companies.

    Keywords  

    - Corporate ethics 

     - ethical consumers 

    - perceptions 

    - social responsibility

     

     

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    ถึงปริญญาเอก

             การทำงานอย่าเครียดให้เขาคิดอย่างไรอย่าเถียง มั่นใจตัวเองว่าเรามีของดีอยู่แล้วตราบใดก็ตามเรา Aim ไปที่ส่วนรวม และสิ่งที่พวกเรา 13 คนจะได้คือประสบการณ์คือ

    • การแก้วิกฤติ
    • การเอาชนะอุปสรรค
    • การทำงานเพื่อเป้าหมาย
    • การทำงานเป็นทีม
    • การปรับตัวให้พอดีกับสถานการณ์ และเน้นความจริงงานของเราก็จะดีเอง

           ทุกคนต้องมั่นใจในตัวเองอย่าคิดว่า ดร.จีระ เก่งและสำคัญ ผมต้องการเป็นแค่อาจารย์ที่ดีของพวกคุณเท่านั้นเป้าหมายที่สำคัญของพวกคุณคือ Strategy for Sustainability เป็นแนวคิดที่อาจารย์ชอบมานาน มีอยู่ 2 เรื่องคือก็คือความสำเร็จและความยั่งยืน ความจริงทำเพื่อความสำเร็จนิดเดียว แต่ต้องมองว่ายระยะยาวต้องรอดด้วย เศรษฐศาสตร์เน้น Maximization แต่อาจจะไม่เน้นความยั่งยืนก็ได้ เก่งได้แต่รอดหรือเปล่า

                                                                               จีระ หงส์ลดารมภ์

     

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    พวกเราต้องขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาและกรุณาของท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง และพวกเราจะพยายามทำไห้ได้นะครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ผมได้ส่งประสบการณ์ที่ดี และแนวคิดที่น่าจะนับได้ว่าเป็นผู้หญิงแกร่งคนหนึ่ง ที่มีความใจกว้างและน่ายกย่องมาแบ่งปันความรู้ให้กันครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    Kim Phuc กับ การให้อภัย

    ภาพที่เด็กหญิงคนหนึ่ง ไม่มีแม้แต่เสื้อผ้า ตื่นตระหนกตกใจ ยืนร้องไห้อยู่กลางถนนคนเดียว

    ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของชาวบ้านที่แตกฉานซ่านเซ็นหนีตาย

    ท่ามกลางควันโขมงจากไฟระเบิดนาปาล์มของสหรัฐ

    คิมฟุค วันนี้ คือเด็กหญิงเหยื่อสงครามผู้ "บ้านแตก-สาแหรกขาด"

    ครั้งนั้น สิ่งเดียวที่ "คืนชีวิต" แท้จริงให้กับเธอ ณ วันนี้ คำเดียวสั้น ๆ คือ

    "คิมฟุค" คือเด็กหญิงชาวเวียดนามใต้คนนั้น ซึ่งช่างภาพอเมริกันได้ถ่ายไว้ ขณะที่เธอและเพื่อนบ้านกำลัง

    แตกตื่นหนีภัย แม้เธอจะรอดตายจากระเบิดนาปาล์มที่ทิ้งลงหมู่บ้านของเธอ แต่ไฟก็ได้เผาลวกผิวหนัง

    ของเธอถึง ๖๕%

    เธอต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง ๑๔ เดือน และผ่านการผ่าตัดถึง ๑๗ ครั้ง กว่าจะหายเป็นปกติ

    เธอยังโชคดี เมื่อเทียบกับลูกพี่ลูกน้องอีก ๒ คน ซึ่งตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว

    นั่นคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๕ เมื่อเวียดนามกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ๓ ปีต่อมา

    ก็ไม่มีข่าวคราวของเธอปรากฏสู่โลกภายนอกอีกเลย

    แต่แล้ววันหนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๓๙ คิมฟุคก็ได้มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าชาวอเมริกัน

    ซึ่งเคยผ่านสมรภูมิเวียดนาม เธอได้รับเชิญให้มาพูดเนื่องในโอกาสวันทหารผ่านศึก

    ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

    การได้มาเผชิญหน้ากับบุคคล ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยมาทำลายบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ

    ทำให้ญาติพี่น้องของเธอต้องตาย และเกือบฆ่าเธอให้ตายไปด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำใจได้ง่ายนัก

    แต่เธอมาก็เพื่อจะบอกให้พวกเรารู้ว่า... สงครามนั้นได้ก่อความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนอย่างไรบ้าง

    หลังจากที่เล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดของเธอแล้ว เธอก็ได้เผยความในใจว่า...

    มีเรื่องหนึ่งที่เธออยากจะบอกต่อหน้านักบินที่ทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้านของเธอ

    พูดมาถึงตรงนี้ก็มีคนส่งข้อความมาบอกว่า...

    คนที่เธอต้องการพบกำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้

    เธอจึงเผยความในใจออกมาว่า...

    " ฉันอยากบอกเขาว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้

    แต่เราควรพยายามทำสิ่งดีๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพทั้งในปัจุบัน และอนาคต "

    เมื่อเธอบรรยายเสร็จ ลงมาจากเวที

    อดีตนักบินที่เกือบฆ่าเธอก็มายืนอยู่เบื้องหน้าเธอ

    เขามิใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์แห่งหนึ่ง

    เขาพูดด้วยสีหน้าเจ็บปวดว่า..." ผมขอโทษ ผมขอโทษจริง ๆ "

    คิมเข้าไปโอบกอดเขา แล้วตอบว่า...

    " ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย ฉันให้อภัย "

    ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะให้อภัย โดยเฉพาะกับคนที่ทำร้ายเราปางตาย

    คิมฟุคเล่าว่า...

    เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความทุกข์ทรมานแก่เธอทั้งกายและทั้งใจ

    จนเธอเองก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร

    แต่แล้วเธอก็พบว่า สิ่งที่ทำร้ายเธอจริงๆ มิใช่ใครที่ไหน

    หากได้แก่ความเกลียดชังที่ฝังแน่นในใจเธอนั่นเอง

    'ฉันพบว่า...การบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้ สามารถฆ่าฉันได้'

    เธอพยายามสวดมนต์ และแผ่เมตตาให้ศัตรู และแก่คนที่ก่อความทุกข์ให้เธอ

    แล้วเธอก็พบว่า...

    'หัวใจฉันมีความอ่อนโยนมากขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ฉันสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเกลียด'

    เราไม่อาจควบคุม กำกับ ผู้คนให้ทำดี หรือไม่ทำชั่วกับเราได้

    แต่เราสามารถควบคุมกำกับจิตใจของเราได้

    เราไม่อาจเลือกได้ว่า รอบตัวเราต้องมีแต่คนน่ารัก พูดจาอ่อนหวาน

    แต่เราสามารถเลือกได้ว่า...

    จะทำใจอย่างไร เมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา

    คิมฟุค ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่า...

    'ฉันน่าจะโกรธ แต่ฉันเลือกอีกทางหนึ่ง

    แล้วชีวิตฉันก็ดีขึ้น'

    Homework for September 12, 2009.

    By Sakonechai Charoenchai

    Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.

    1. Dr. Chira often uses scientific as the basic method of analysis. He thinks of education and analyzes the ideas systematically.

    Swami looks at education in terms of religious and spiritual study.

    2. Dr. Chira believes that ethics is important but does not say that teachers have to be sinless.

    Swami believes that ethics is extremely important to the point that teachers must be sinless.

    3. Dr. Chira believes that learning must be continuous and students must continue to update their knowledge every day or even every hour.

    Swami believes that the goal of education is man-making or makes a man grow in an appropriate way.

    4. Dr. Chira explains the important of having learning culture first in order to have a learning organization.

    Swami explains about the important of having faith in learning. Faith is the key to success.

    5. Dr. Chira has the famous theory of 4 Ls which are learning methodology, learning environment, learning opportunity, and learning community.

    Swami says that the only method of education is a concentration of mind.

    6. Dr. Chira explains that learning methodologies is to learn things systematically, not just copy from the teacher, but be able to apply the knowledge into real-life situation.

    Swami said that learning is not about the amount of facts you know, but it is about personality development.

    7. Dr. Chira explains that learning environment is to create a positive and enjoyable learning environment.

    Swami explains that the motive of learning is not money, fame, or name, but love.

    8. Dr. Chira explains the learning opportunity as the way to create many possible learning opportunities such as workshops.

    Swami believes students should spend more time learn the true scripture.

    9. Dr. Chira explains the learning community as group learning and expands to others groups by using blog.

    Swami explains that the important role of teacher is to make sure that student is awakening and ready to learn.

    10. Dr. Chira thinks macro and focuses micro.

    Swami thinks spiritually first, earthly later.

    Homework for September 12, 2009.

    By Sakonechai Charoenchai

    Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.

    1. Dr. Chira often uses scientific as the basic method of analysis. He thinks of education and analyzes the ideas systematically.

    Swami looks at education in terms of religious and spiritual study.

    2. Dr. Chira believes that ethics is important but does not say that teachers have to be sinless.

    Swami believes that ethics is extremely important to the point that teachers must be sinless.

    3. Dr. Chira believes that learning must be continuous and students must continue to update their knowledge every day or even every hour.

    Swami believes that the goal of education is man-making or makes a man grow in an appropriate way.

    4. Dr. Chira explains the important of having learning culture first in order to have a learning organization.

    Swami explains about the important of having faith in learning. Faith is the key to success.

    5. Dr. Chira has the famous theory of 4 Ls which are learning methodology, learning environment, learning opportunity, and learning community.

    Swami says that the only method of education is a concentration of mind.

    6. Dr. Chira explains that learning methodologies is to learn things systematically, not just copy from the teacher, but be able to apply the knowledge into real-life situation.

    Swami said that learning is not about the amount of facts you know, but it is about personality development.

    7. Dr. Chira explains that learning environment is to create a positive and enjoyable learning environment.

    Swami explains that the motive of learning is not money, fame, or name, but love.

    8. Dr. Chira explains the learning opportunity as the way to create many possible learning opportunities such as workshops.

    Swami believes students should spend more time learn the true scripture.

    9. Dr. Chira explains the learning community as group learning and expands to others groups by using blog.

    Swami explains that the important role of teacher is to make sure that student is awakening and ready to learn.

    10. Dr. Chira thinks macro and focuses micro.

    Swami thinks spiritually first, earthly later.

    Homework for September 12, 2009.

    By Sakonechai Charoenchai

    Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.

    1. Dr. Chira often uses scientific as the basic method of analysis. He thinks of education and analyzes the ideas systematically.

    Swami looks at education in terms of religious and spiritual study.

    2. Dr. Chira believes that ethics is important but does not say that teachers have to be sinless.

    Swami believes that ethics is extremely important to the point that teachers must be sinless.

    3. Dr. Chira believes that learning must be continuous and students must continue to update their knowledge every day or even every hour.

    Swami believes that the goal of education is man-making or makes a man grow in an appropriate way.

    4. Dr. Chira explains the important of having learning culture first in order to have a learning organization.

    Swami explains about the important of having faith in learning. Faith is the key to success.

    5. Dr. Chira has the famous theory of 4 Ls which are learning methodology, learning environment, learning opportunity, and learning community.

    Swami says that the only method of education is a concentration of mind.

    6. Dr. Chira explains that learning methodologies is to learn things systematically, not just copy from the teacher, but be able to apply the knowledge into real-life situation.

    Swami said that learning is not about the amount of facts you know, but it is about personality development.

    7. Dr. Chira explains that learning environment is to create a positive and enjoyable learning environment.

    Swami explains that the motive of learning is not money, fame, or name, but love.

    8. Dr. Chira explains the learning opportunity as the way to create many possible learning opportunities such as workshops.

    Swami believes students should spend more time learn the true scripture.

    9. Dr. Chira explains the learning community as group learning and expands to others groups by using blog.

    Swami explains that the important role of teacher is to make sure that student is awakening and ready to learn.

    10. Dr. Chira thinks macro and focuses micro.

    Swami thinks spiritually first, earthly later.

    Homework for September 12, 2009.

    By Sakonechai Charoenchai

    Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.

    1. Dr. Chira often uses scientific as the basic method of analysis. He thinks of education and analyzes the ideas systematically.

    Swami looks at education in terms of religious and spiritual study.

    2. Dr. Chira believes that ethics is important but does not say that teachers have to be sinless.

    Swami believes that ethics is extremely important to the point that teachers must be sinless.

    3. Dr. Chira believes that learning must be continuous and students must continue to update their knowledge every day or even every hour.

    Swami believes that the goal of education is man-making or makes a man grow in an appropriate way.

    4. Dr. Chira explains the important of having learning culture first in order to have a learning organization.

    Swami explains about the important of having faith in learning. Faith is the key to success.

    5. Dr. Chira has the famous theory of 4 Ls which are learning methodology, learning environment, learning opportunity, and learning community.

    Swami says that the only method of education is a concentration of mind.

    6. Dr. Chira explains that learning methodologies is to learn things systematically, not just copy from the teacher, but be able to apply the knowledge into real-life situation.

    Swami said that learning is not about the amount of facts you know, but it is about personality development.

    7. Dr. Chira explains that learning environment is to create a positive and enjoyable learning environment.

    Swami explains that the motive of learning is not money, fame, or name, but love.

    8. Dr. Chira explains the learning opportunity as the way to create many possible learning opportunities such as workshops.

    Swami believes students should spend more time learn the true scripture.

    9. Dr. Chira explains the learning community as group learning and expands to others groups by using blog.

    Swami explains that the important role of teacher is to make sure that student is awakening and ready to learn.

    10. Dr. Chira thinks macro and focuses micro.

    Swami thinks spiritually first, earthly later.

    Homework for September 12, 2009.

    By Sakonechai Charoenchai

    Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.

    1. Dr. Chira often uses scientific as the basic method of analysis. He thinks of education and analyzes the ideas systematically.

    Swami looks at education in terms of religious and spiritual study.

    2. Dr. Chira believes that ethics is important but does not say that teachers have to be sinless.

    Swami believes that ethics is extremely important to the point that teachers must be sinless.

    3. Dr. Chira believes that learning must be continuous and students must continue to update their knowledge every day or even every hour.

    Swami believes that the goal of education is man-making or makes a man grow in an appropriate way.

    4. Dr. Chira explains the important of having learning culture first in order to have a learning organization.

    Swami explains about the important of having faith in learning. Faith is the key to success.

    5. Dr. Chira has the famous theory of 4 Ls which are learning methodology, learning environment, learning opportunity, and learning community.

    Swami says that the only method of education is a concentration of mind.

    6. Dr. Chira explains that learning methodologies is to learn things systematically, not just copy from the teacher, but be able to apply the knowledge into real-life situation.

    Swami said that learning is not about the amount of facts you know, but it is about personality development.

    7. Dr. Chira explains that learning environment is to create a positive and enjoyable learning environment.

    Swami explains that the motive of learning is not money, fame, or name, but love.

    8. Dr. Chira explains the learning opportunity as the way to create many possible learning opportunities such as workshops.

    Swami believes students should spend more time learn the true scripture.

    9. Dr. Chira explains the learning community as group learning and expands to others groups by using blog.

    Swami explains that the important role of teacher is to make sure that student is awakening and ready to learn.

    10. Dr. Chira thinks macro and focuses micro.

    Swami thinks spiritually first, earthly later.

    Homework for September 12, 2009.

    By Sakonechai Charoenchai

    Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.

    1. Dr. Chira often uses scientific as the basic method of analysis. He thinks of education and analyzes the ideas systematically.

    Swami looks at education in terms of religious and spiritual study.

    2. Dr. Chira believes that ethics is important but does not say that teachers have to be sinless.

    Swami believes that ethics is extremely important to the point that teachers must be sinless.

    3. Dr. Chira believes that learning must be continuous and students must continue to update their knowledge every day or even every hour.

    Swami believes that the goal of education is man-making or makes a man grow in an appropriate way.

    4. Dr. Chira explains the important of having learning culture first in order to have a learning organization.

    Swami explains about the important of having faith in learning. Faith is the key to success.

    5. Dr. Chira has the famous theory of 4 Ls which are learning methodology, learning environment, learning opportunity, and learning community.

    Swami says that the only method of education is a concentration of mind.

    6. Dr. Chira explains that learning methodologies is to learn things systematically, not just copy from the teacher, but be able to apply the knowledge into real-life situation.

    Swami said that learning is not about the amount of facts you know, but it is about personality development.

    7. Dr. Chira explains that learning environment is to create a positive and enjoyable learning environment.

    Swami explains that the motive of learning is not money, fame, or name, but love.

    8. Dr. Chira explains the learning opportunity as the way to create many possible learning opportunities such as workshops.

    Swami believes students should spend more time learn the true scripture.

    9. Dr. Chira explains the learning community as group learning and expands to others groups by using blog.

    Swami explains that the important role of teacher is to make sure that student is awakening and ready to learn.

    10. Dr. Chira thinks macro and focuses micro.

    Swami thinks spiritually first, earthly later.

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ผมส่งการบ้านเรื่องการเปรียบเทียบ

    ความแตกต่างและความเหมือนระหว่าง

     

    T.S.AVINASHILINGAM และ  Prof. Dr. Chira  Hongladarom

    Follow from the book “EDUCATON” by T.S.AVINASHILINGAM

     

    Chapter 1: Philosophy of Education

    T.S.             own soul (จิตวิญญาณ)

    Dr.Chira     Human Capital (ทุนมนุษย์)

     

    Chapter 2: The Only Method of Education

    T.S.             Concentration of mind

    Dr.Chira     4L’s สามารถสร้างได้

     

    Chapter 3 : Education for Character

    T.S.             soul, man or women , religious and discrimination

    Dr.Chira     all, every university, chide until “Life Long Learning”

     

    Chapter 4 : Development of Personality

    T.S.             Education is development of personality

    Dr.Chira      Learning Culture

     

    Chapter 5 : The Teacher and the Taught

    T.S.             Free ,God , Religious and It is duty of teacher.

    Dr.Chira      4L’s, Human Capital , Learning Culture and love to taught.

     

    Chapter 6 : Religious Education

    T.S.             In India, there is  the religious education factor.

    Dr.Chira      There is not the religious education factor.

     

    Chapter 7 : The End and the Means

    T.S.             If you understand the Means ,you will have the End.

    Dr.Chira      Look and Think Macro and become to Micro.

     

    Chapter 8 : Education of Women

    T.S.             Differentiate

    Dr.Chira      Even

     

     

    Chapter 9 : Education of the Masses

    T.S.             He try to build “Education of the Masses”

    Dr.Chira      He think ,do and build “Learning Community”

     

    Chapter10 : What is Duty

    T.S.             He said that it is the duty and must all work incessantly.

    Dr.Chira      He love to do incessantly.

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

                             วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2552 เรียน Human Capital Management ครั้งที่ 12  ซึ่งในครั้งนี้ ท่าน ศ.ดร. จีระ หงษ์ลดารมภ์ ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องปรัชญาการศึกษาของปราชญ์จากอินเดีย และให้เปรียบเทียบกับการศึกษาไทยที่อาจารย์ได้เคยพูดถึงและกล่าวไว้  ซึ่งรวบรวมและสรุปประเด็นมาให้เห็นอย่างละ 10 ข้อ

                                                   ปรัชญาการศึกษา

    (รวมรวมจากการพูดและเขียนของ Swami Vivekananda โดย T.S.A Vinashilingam)

                     1.  ความรู้มีอยู่ในตัวมนุษย์แล้วโดยธรรมชาติ มันไม่ได้มาจากภายนอก แต่มันอยู่ในจิตวิญญาณของเรา เพียงแต่เราจะใช้ปัญญาหรือวิจารณญาณใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ซึ่งในตัวมนุษย์เป็นแหล่งความรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

                    2.  การศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้แต่เฉพาะภายในห้องเรียน แต่เราสามารถเรียนรู้ได้จากธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา เช่น การตกของผลแอปเปิ้ลจากต้นไม้ ทำให้ Newton ค้นพบเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเกิดจากการสังเกตุและเชื่อมโยงประสบการณ์

                    3.  ความรู้ทั้งหมดมาจากจิตวิญญาณของมนุษย์ ไม่ต้องมีคนสอนแต่เราต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและคอยกระตุ้นให้เราเข้าใจ และเกิดการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ

                    4.  ในการเรียนรู้และศึกษาสิ่งเหล่านี้จะทำให้เข้าใจง่ายและกระจ่างขึ้น เราจำเป็นจะต้องมาเรียบเรียงและเขียนเรียบเรียงเรื่องใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจและเรียนรู้เป็นพลังแหล่งการเรียนรู้และรับรู้ของเราเอง

                    5.  ในการสอนเด็กหรือลูก เราไม่สามารถที่จะสอนเขาได้ทุกเรื่อง แต่เราจะต้องปล่อยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการไปตามแนวความคิดและเป้าหมายของเขาเอง เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ซึ่งเราคอยเพียงแค่รดน้ำพรวนดิน ส่วนการเจริญเติบโตต้องปล่อยให้เป็นธรรมชาติและพัฒนาการไปตามธรรมชาติของเขาเอง

                    6.  เด็กสามารถสอบและเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง ครูอาจจะไปทำลายกรอบความคิดและทุกสิ่งของเขา หากไม่ปล่อยให้เขากล้าคิดกล้าแสดงออก ฉะนั้นครูควรที่จะเป็นผู้สนับสนุนให้คำแนะนำให้เขาไปทิศทางหรือความต้องการของเขาเอง

                    7.  การชี้แนะแนวทาง การคอยกระตุ้น การที่จะให้เขาเข้าใจในคุณธรรมจริยธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญที่ครูควรจะชี้แนะ เพราะมันเหมือนกันกับการที่เราจะทำให้เมล็ดพันธุ์พืชเจริญงอกงามจะต้องมีการรดน้ำ พรวนดิน หารั่วมากั้นและล้อมกรอบเพื่อไม่ให้เกิดอันคราย

                     8.  ในตัวมนุษย์สามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาได้ เพียงแต่เราจะต้องปลูกและสร้างสรรค์มันอย่างไรนี้คืองานของครู เพราะทุกคนมีศักยภาพอยู่ในตัวเอง เช่น ถ้าเขาไปได้ถูกทางก็อาจเป็นได้ถึงราชสีห์ แต่ถ้าผิดก็อาจเป็นได้แค่สุนัขจิ้งจอกเท่านั้น

                    9.  อิสระภาพทางความคิดของผู้เรียน  เป็นเงื่อนไขแรก ๆ ที่สนับสนุนการเจริญเติบโต ซึ่งถ้าผิดพลาดจากตรงนี้ไปมันจะเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ ถ้าผู้เรียนไม่มีอิสระภาพทางความคิด

                    10.  การศึกษาไม่ใช่การป้อนข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปในสมอง และก็ปล่อยให้มันยุ่งเหยิง และทำร้ายชีวิตเรา แต่มันจะต้องเป็นการสร้างชีวิต การสร้างคน การสร้างอุปนิสัยซึมซับความคิดความอ่าน เพื่อทำให้คนสามารถยืนได้ด้วยขาของตนเอง

      

    การศึกษาไทยและการเรียนรู้ ที่ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้พูดถึงและกล่าวไว้

     

    1.  ต้องสร้างการบริหารการจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง ซึ่งสามารถอธิบายด้วยทฤษฎี 3 วงกลม

         และ 8K’s  

    2.  ต้องปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ให้เด็กล้าคิดกล้าแสดงออก โดยนำทฤษฎีทุนมนุษย์มาควบคู่กับการเรียนรู้

         (5K’s, 8K’s)

    3.  ต้องสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้บริหารในสถาบันการศึกษาและผู้บริหารหรือผู้นำ โดยทฤษฎีผู้นำ 9 ข้อ

    4.  ต้องยกเลิกโรงเรียนกวดวิชา ที่มุ่งเน้นให้เด็กท่องจำและสอบผ่านเพื่อมุ่งหวังปริญญา โดยไม่ได้

         ปลูกฝังในเรื่องของความรู้ ความเข้าใจและใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา

    5.  ต้องเข้าใจเรื่องความเป็นจริงและธรรมชาติของมนุษย์ในการเรียนรู้และศึกษาโดยมุมมองทฤษฎี 2R’s

         (Reality, Relevance)

    6.  ให้มุ่งเน้นในเรื่อง Knowledge ไปสู่การสร้างมูลคาเพิ่ม (Value added) และ Creativity สู่ Innovation

    7.  เน้นผลลัพธ์มากกว่าปริมาณ (ซึ่งปัจจุบันมีหลาย ๆ สถาบันที่ทำการเรียนการสอนโดยไม่คำนึงถึง

         ความรู้และเกิดปัญญาแก่ผู้เรียนแต่มุ่งเน้นผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อได้ปริญญาเพียงอย่างเดียว

    8.  เน้นเรื่องความรู้ และการสร้าง Network ในการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายใน

         การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้และเรียนรู้ร่วมกันเป็นเครือข่าย

    9.  การเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิด Passion ในการศึกษาและเรียนรู้ควบคู่ไปกับ Happiness เพื่อมุ่ง

         ไปสู่ความยั่งยืน (เหมือนนักศึกษา ABAC ที่เรียนภาษาอังกฤษอย่างมี Passion และ Happiness เมื่อ

         สำเร็จการศึกษามีโอกาสในการเลือกงานและหางานได้ดีกว่าเด็กที่จบจากจุฬาฯ และธรรมศาสตร์)

    10. การเรียนรู้และการศึกษาสามารถเรียนรู้โดยยึดหลักทฤษฎี 4L’s และนำทางไปสู่ Lifelong learning

      

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

    เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

    สวามี เป็นคำมาจากภาษาบาลี แปลว่า ครู อาจารย์ หมายถึงความพยามที่ต้องต่อสู้เพื่อเป็นนายของตนเอง

    เดิมท่านวิเวกานันท์ชื่อนเรนทรนาถ ทัตตะ เกิดในปีค.ศ. 1863 ที่เมืองกัลกัตตา ท่านผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจาก Metropolitan Institute และ F.A. และปริญญาตรี (B.A.) ด้วยลำดับและผลการเรียนที่ดีที่สุด ท่านเป็นลูกศิษย์ของรามกฤษณะ และเปลี่ยนชื่อเป็น สวามี วิเวกานันท์ ท่านจาริกไปยังเมืองต่างๆ ทั่วอินเดีย บางครั้งเดินเท้า ท่านตกใจเมื่อเห็นสภาพของชาวชนบทของอินเดียที่ถูกละเลยเพิกเฉย งมงาย มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง และเป็นเหยื่อของชนชั้นปกครอง สิ่งนี้ทำให้ท่านตกใจ ความไร้เมตตาของชนชั้นที่มีการศึกษาสูงกว่านั้นยิ่งทำให้ท่านตกใจมากกว่า ในช่วงเวลาที่ท่านได้เดินทางท่านเรียกร้องให้เจ้าชายทั้งหลายทำอะไรบางอย่างเพื่อมวลชนบ้าง มีผู้ปกครองของไมซอร์ (Mysore) เป็นบุคคลแรก ที่ได้สร้างการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้เรียนฟรีในโรงเรียนภายในรัฐ อย่างไรก็ตามในมุมมองของสวามี ท่านเห็นว่าสิ่งนี้ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถจะหารายได้ส่งบุตรไปโรงเรียน ท่านจึงต้องการให้มีความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ท่านต้องการที่จะให้การศึกษาไปถึงยังประตูบ้านของเกษตรกร เพื่อที่บรรดาบุตรของเหล่าเกษตรกรจะสามารถทำงานและเรียนได้ในขณะเดียวกัน นี่คือการศึกษาแบบไม่เป็นทางการชนิดหนึ่ง

    โดยทั่วไป ชาวอินเดียที่เดินรอยตามชาวตะวันตก และตระหนักสิ่งต่างๆ ตามแบบตะวันตกสิ่งนี้นับได้ว่าเป็นทาสทางจิตใจ แต่นั่นเป็นสิ่งที่แสดงถึงทัศนคติของผู้มีการศึกษาของชาวอินเดียทั้งหมด สิ่งนี้ทำให้สวามีรู้สึกเจ็บปวดที่ได้เห็นชาวอินเดียเดินวางท่าภายใต้เสื้อผ้าของชาวตะวันตก เลียนแบบชาวตะวันตกในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ราวกับว่าพวกเขาเป็นชาวตะวันตกจริงๆ ต่อมาท่านได้เรียกร้องต่อคนทั้งชาติว่า “จงรู้สึกภูมิใจว่าคุณเป็นชาวอินเดีย แม้ว่าคุณนุ่งผ้าขาวม้า” ท่านไม่ต่อต้านการเรียนรู้จากตะวันตก ท่านทราบดีว่าชาวตะวันตกมีคุณสมบัติอันยิ่งใหญ่หลายประการและคุณสมบัติเหล่านั้น พวกเขาได้กลายมาเป็นคนร่ำรวยและทรงอำนาจ ท่านต้องการให้ชาวอินเดียเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากตะวันตกและพลังของมันในการจัดการและการปฏิบัติ ในขณะเดียวกัน ควรเก็บรักษาจริยธรรมอันสูงส่งและแนวความคิดเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณไว้ แต่ความเห็นแก่ตัวของผู้ที่ได้รับการศึกษาได้ทำให้ท่านเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น พวกเขามีความสุขที่สนใจแต่ตัวเอง แต่ประณามคนอื่น ท่านชักจูงพวกเขาให้เห็นสภาพความทุกข์ยากของผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา ที่มักอยู่ใกล้ปากเหวของความอดอยาก ความเชื่อในเรื่องโชคลาง ไสยศาสตร์ และเป็นเหยื่อของการถูกกดขี่โดยวรรณะที่สูงกว่า และเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวยกว่า

    ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้ประสานความคิด และช่วยให้ความคิดต่าง ๆ นั้น มีรูปแบบและทิศทางที่มียุทธศาสตร์ เน้นให้สังคมมีศรัทธาที่มีต่อทรัพยากรมนุษย์ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เป็นผู้สร้างให้คนหลาย ๆ คนในวงการ ทรัพยากรมนุษย์ได้มีบทบาทช่วยสังคมและธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้เน้นให้คนไทยมีสองอย่างควบคู่กันไป คือ เก่งและดี เน้นว่า เก่งสร้างได้ ดีสร้างลำบาก ดีต้องมาก่อนเก่ง ท่านเน้นว่าการทำความดี ต้องทำอย่างบูรณาการควบคู่กับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น นักเรียนก่อนเรียนต้องมีสมาธิและสติ ในด้านการดูแลการศึกษา เน้นวิธีการเรียนของเด็ก โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เรียนแล้วต้องนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่ท่อง และได้กระดาษอีกแผ่น

    จากแนวคิดทั้งสองท่านข้างต้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เห็นตรงกันคือการสร้างคนเก่งและดี และนำไปสู่ความยั่งยืน และการที่ชาติจะพัฒนาเจริญก้าวหน้าได้นั้นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพก่อน

    ทักษิณานันท์

    080 -6148578

    เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ที่เคารพ

    Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.

    1. Dr. Chira’s ideas of education :

    การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้  หากใช้ทฤษฎี  4L’s  และการมี  Passion 

    Swami Vivekananda :

    ความรู้เกิดขึ้นจากข้างใน  ตัวมนุษย์และจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคน  ครูเป็นผู้ให้การแนะนำเท่านั้น  ความรู้ไม่ได้มาจากสิ่งภายนอก  การอบรมทำให้คนไปสู่เป้าหมายในการศึกษาเพื่อทำให้คนสมบูรณ์พร้อมมากขึ้น

     

    2. Dr. Chira’s ideas of education :

    ทุนมนุษย์ (human capital) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎี  8 K’s ของศาตราจารย์  ดร.  จีระ  หงส์ลดารมภ์  ทุนมนุษย์มักจะมีความหมายเกี่ยวพันถึงทักษะ  ความรู้ความคิดในการทำงานของแรงงาน และสมรรถนะซึ่งติดตัวคนในองค์การ  ที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานเช่น  ทักษะเชิงเทคนิค  นวัตกรรม  ความคิดสร้างสรรค์  และสมรรถนะในการเป็นผู้นำซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับทุนทางปัญญา  (Intellectual  Capital)  โดยแรงงานที่มีทุนมนุษย์สูงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    Swami Vivekananda :

    ความตั้งใจ  มุ่งมั่น  เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาหากเรามีความมุ่งมั่นมากเราก็จะได้ตามที่เราต้องการ  ความรู้ยิ่งมากยิ่งสามารถให้เราทำอะไรได้มากตามที่เราต้องการ  มันเป็นกุญแจดอกเดียวที่จะทำให้คนมีความรู้ตามที่ต้องการได้

    3. Dr. Chira’s ideas of education :

    การให้ทุนทางอารมณ์  ทุนทางจริยธรรม  ทุนทางสังคมจะทำให้ทุนมนุษย์มีค่ามากขึ้น

    Swami Vivekananda :

     

    บุคลิกลักษณะ  จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวตนของคนคนนั้น  จะแสดงถึงสิ่งที่อยู่ภายในตัวคนออกมาในแต่ละคนก็จะต่างกัน  บางคนแข็งแรง  บางคนอ่อนแอ  แต่ละคนจะให้ความประทับใจต่างกันบางคนดี  บางคนเลว  การศึกษาจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้

    4.  Dr. Chira’s ideas of education :

    การพัฒนาทุนมนุษย์  ทั้ง  8k’s  5K’s  ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จ

    Swami Vivekananda :

    การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นเรื่องสำคัญ  และมีอิทธิพลในการทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

    5.  Dr. Chira’s ideas of education :

    ท่านได้ปฏิบัติให้เห็นในเรื่องการมีความรัก  ความปรารถนาดีต่อศิษย์อย่างจริงใจ  เราชาว  Ph.D. ssru  3  ตระหนักดี

    Swami Vivekananda :

    การสอนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้  ถ้าไม่มีครูก็ไม่มีความรู้  ครูมีบุคลิกลักษณะในการสอนมากมาย  ครูต้องมีความบริสุทธิ์ในใจ  มีจิตวิญญาณในการถ่ายทอดความรู้  ครูต้องมีเป้าหมาย  แรงดลใจที่ดี  ไม่ใช่สอนเพราะเงินอย่างเดียว  ต้องสอนด้วยความรัก  และความรู้สึกที่ดี หากครูไม่มีสิ่งเหล่านี้  ก็จะทำให้เด็ก ๆ ผิดหวังและไม่ศรัทธา

    6.  Dr. Chira’s ideas of education :

    Ehtical  Capital  เป็น 1  ในทุน  ที่มนุษย์ควรมี  เพราะนั่นหมายถึงสัญญาณการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ

    Swami Vivekananda :

    ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต  และการดำรงชีวิตของคน  บางคนไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า  คนที่มีความเชื่อในพระเจ้าก็จะมีความศรัทธาในคำสอนที่ผู้นำบอก  ชีวิตเขาก็จะเจริญและประสบความสำเร็จ

     

    7.  Dr. Chira’s ideas of education :

    ทฤษฎี  2R’s จะทำให้ทุกคนทำได้ตามความเป็นจริงและตรงประเด็น

    Swami Vivekananda :

    ทุกคนควรให้ความสนใจและเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต  ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดและไม่กล่าวโทษผู้อื่น  สามารถทำตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์  และสามารถทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ได้

    8.  Dr. Chira’s ideas of education :

    การศึกษาสร้างให้คนเป็นผู้นำ  โดยไม่เลือกเพศ  และการเป็นผู้นำที่ดีต้องมองจาก  Macro  สู่ Micro  การมีทุนมนุษย์  ทำให้ผู้นำแก้ Crisis  ได้  มีการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม  และ

    มีกลยุทธ์ในการจัดการ  ให้องค์กรสำเร็จด้วยทฤษฎี  3  วงกลม

    Swami Vivekananda :

    บางประเทศมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในเรื่องของความสามารถ  ผู้หญิงบางคนมีความกล้ามากกว่าผู้ชายในการแก้ปัญหา  การศึกษาทำให้ผู้หญิงแกร่งขึ้นมาได้  เป็นผู้นำได้มีความรู้ความสามารถในการนำพาประเทศชาติได้

    9.  Dr. Chira’s ideas of education :

    การมีความรู้ทำให้เราทำหน้าที่ในภาวะการแข่งขันได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น

    Swami Vivekananda :

    การศึกษาควรจะต้องกว้างและเผยแพร่ออกไป  ให้คนทุกระดับได้สัมผัส  แม้กระทั่งคนยากจน  เพราะนั่นจะเป็นการพัฒนาเขาให้อยู่รอด  การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญของคนทุกคน

    10. Dr. Chira’s ideas of education :

    ทุนแห่งความยั่งยืน  ที่จะนำพาให้ทุกคนประสบความสำเร็จ

    Swami Vivekananda :

    เราต้องมีความรู้ในงานของเรา  หากเราทำงานเหมือนทาส  เราก็จะเป็นคนเห็นแก่ตัว  คนทุกคนเกิดมาย่อมทำผิดบ้างและถูกบ้าง  ถ้าเรารู้จักพอในการใช้ชีวิต  ไม่ลังเลที่จะแบ่งปันให้กับคนจนสิ่งที่ได้กลับมาจะมากมายมหาศาล

           โดยสรุป  Compare and contrast between Dr. Chira’s ideas of education and Swami Vivekananda.  มีความเหมือน  มากกว่าความแตกต่าง  และที่สำคัญ  Dr. Chira’s ideas of education  เน้นความยั่งยืน

     

    ด้วยความเคารพ

    จิราพร  สวัสดิรักษ์

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

    สรรหามาเล่า เผื่อผู้อ่านจะได้นำไปใช้ประโยชน์ค่ะ

     9 เทคนิค ฝึกสมองไบรท์  

    เทคนิคง่ายๆ ช่วย exercise สมองของคุณให้มีสุขภาพดีโดย วนิษา  เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก ม.ฮาร์วาร์ด เป็นเจ้าของโรงเรียนและสถาบันอัจฉริยะสร้างได้  http://www.geniuscreator.com/GFam.htm

    ผู้หญิงสมัยนี้ อยากสวย ฉลาด และสุขภาพดี ทุกคนจึงพากันดูแลรูปร่าง ด้วยการออกกำลังกาย เคร่งครัดเรื่องอาหารการกิน แต่ไม่เคยมีใครสนใจว่าจะดูแลสมองอย่างไรให้มีสุขภาพดี ทั้งที่สมองเป็น อวัยวะที่ตัดสินใจทุกเรื่องของชีวิตเราจึงควรเอกเซอร์ไซส์สมองให้ไบรท์ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ต่อไปนี้

     1.  จิบน้ำบ่อย ๆ
     สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยวถ้าไม่อยากให้เชลล์สมอง  เหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ

     2.  กินไขมันดี
     คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวันจำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดีที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น

     3.  นั่งสมาธิวันละ 12 นาที
     หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน

     4.  ใส่ความตั้งใจ
     การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวันสมองจะปรับ พฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆเพราะสมองไม่แยกระหว่าง สิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน


     5.  หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ
    ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ

     6.  เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
     สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ
     รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้นเพราะการเรียนรู้ สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

     7.  ให้อภัยตัวเองทุกวัน

    ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมองการให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง

     8.  เขียนบันทึก Graceful Journal
     ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่นขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้นเพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดีตื่นมาทำสมาธิได้ง่ายมีความคิดสร้างสรรค์

     9.  ฝึกหายใจลึก ๆ

    สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกายการฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมองควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %   การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

    ตอนต่อไป จะเป็น นิสัยแย่ ๆ ที่ทำลายสมอง

    ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา ปินตา 084-8073320

    เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

    ทุนทางวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

    ปัจจุบันนี้มีคนกล่าวถึง คำว่า ทุนทางวัฒนธรรม  เราต้องเข้าใจในความหมายก่อน วัฒนธรรม คือ วิถีการดำเนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธีแสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องของการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีเพียงอย่างเดียว และไม่ใช่เป็นเรื่องของการจัดงานประเพณีตามเทศกาลเท่านั้น  มิติทางด้านวัฒนธรรม กระแสของโลกาภิวัตน์ทำให้ทุกคนต้องทาน McDonald หรือ Starbucks อย่างอเมริกา ถ้าเรามีจุดยืนทางวัฒนธรรมที่แข็งแรง เราก็สามารถทำอย่าง McDonald  หรือ Starbucks ได้ ทุกคนมาเมืองไทยต้องมาดื่มด่ำกับวัฒนธรรมไทย ถ้าเราเข้มแข็งพอ กระแสโลกาภิวัตน์ก็คือโอกาส

    ประเทศไทยนั้น  นับได้ว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่สูงยิ่งประเทศหนึ่ง  เพราะนอกจากเราจะเป็นประเทศเก่าแก่ มีขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองแล้ว เรายังมีธรรมชาติ รวมทั้งแหล่งโบราณสถาน  โบราณวัตถุอันเป็นร่องรอยแห่งความเจริญในอดีตสืบทอดต่อเนื่องกันมา  จนกลายเป็น “มรดกวัฒนธรรม” หรือ “ทุนทางวัฒนธรรม” ให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์  โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละไม่น้อย  จากโอกาสดังกล่าว  ระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกกิจกรรมในชีวิตของเรา ไม่เว้นแม้กระทั่งการเกษตรกรรม ในแง่ของขนาดก็เช่นเดียวกันความสร้างสรรค์ในโลกปัจจุบันเจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก

    กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับสากลตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม โดยรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาตั้งแต่ในส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น จนถึงระดับหมู่บ้าน และชุมชน ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมอันมีคุณค่ายิ่งของประเทศ ที่คนไทยจะต้องร่วมกันรักษา สืบทอด และส่งเสริมวัฒนธรรมในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านส่งเสริมความรู้ และพัฒนาเศรษฐกิจหากเราสามารถนำเอา ทุนทางวัฒนธรรม มาใช้ประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ได้

    ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา  ปินตา

    เรียนท่านอาจารย์

    หนูของส่งการบ้านของวันที่ 12-9-52 ค่ะ

    การเปรียบเทียบทฤษฎีของ ดร.จีระ กับ Education of SWAMI VIVEKANANDA

    ดร.จีระ SWAMI

    1. มองจาก Macro ไปสู่ Micro 1. เรียนจาก Micro ส่วน Macro (สภาพแวดล้อม)เป็นเพียงโอกาสในการเรียนรู้

    2. Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ 2. มุ่งเน้น Mental Concentrate คือ your idea made your life

    ได้หลายแบบ made learning methodology

    3. เรียนรู้จากความจริงและตรงประเด็น(2R’s) 3. การเรียนรู้จากธรรมชาติ คือ มี pain & Gain , Good & Bad การกระทำจะ

    เกิดจากสิ่งที่ได้รับ คือ hear bad think bad thought do bad action &

    mind will be full of bad impression ดังนั้นการพิจารณาอะไร ให้พิจารณา

    จากแก่นของสิ่งนั้น เพื่อการแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น

    4. Learning Environment & Learning 4. ความสนใจ ความตั้งใจ นำไปสู่ การเรียนรู้

    Opportunity คือ การเรียนรู้สามารถสร้างขึ้นได้

    เช่น สร้างความสนใจ

    5. สร้างวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน 5. การสอน คือ การรับรู้จากคนที่เล็กกว่า โดยรู้ว่าต้องการอะไร ก็ให้ในสิ่งนั้น

    6. Emotional Capital ต้องรู้จักการฝึกฝนและควบคุม 6. เชื่อในศาสนา โดยไม่ต้องมีข้อสงสัยใดๆ และให้ปฏิเสธ

    อารมณ์ เพราถือว่า เป็นทุนชนิดหนึ่ง สิ่งที่ทำให้ปัญญาอ่อนแอ อารมณ์อ่อนแอ

    7. ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 7. The perfectly unselfish man is the most successful

    8. การเรียนรู้ จะประสบผลสำเร็จต้องมี Passion , 8. การเรียนรู้ เริ่มที่ ใจ และนำไปสู่ความสำเร็จ

    Motivation โดยการสร้างการเรียนรู้ด้วย 4 L’s

    9. สร้าง Learning Culture & Learning Community 9. Education to reach every home . Mass education is the

    only solution and to be culture

    10. สังคม หรือ องค์กรสำเร็จได้ โดยใช้ 10. การดำรงอยู่ที่แท้จริง คือ การรู้จริง และ มีความรักที่แท้จริง

    ทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainability Capital) +

    ทฤษฎี 3 วงกลม และบุคคลในสังคม จะต้องเป็น ผู้ที่มีจิตสาธารณะ

    ดังนั้น สรุปได้ว่า ทฤษฎีของ ดร.จีระ ครอบคลุม และ ลึกซึ้ง (ทั้งกว้างและลึก) กว่า หนังสือ Education ของ SWAMI

    VIVEKANADA มาก

    เรียนท่านอาจารย์

    หนูขอส่งการบ้านของวันที่ 12-9-52 ค่ะ (หนูต้องขอประทานโทษอย่างมากที่ส่ง 2 ครั้ง เพราะครั้งแรก จะอ่านยากค่ะ)

    การเปรียบเทียบทฤษฎีของ ดร.จีระ กับ Education of SWAMI VIVEKANANDA

    ดร.จีระ 1. มองจาก Macro ไปสู่ Micro

    SWAMI 1. เรียนจาก Micro ส่วน Macro (สภาพแวดล้อม ) เป็นเพียงโอกาสในการเรียนรู้

    ดร.จีระ 2. Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ได้หลายแบบ

    SWAMI 2. มุ่งเน้น Mental Concentrate คือ your idea made your life made learning methodology

    ดร.จีระ 3. เรียนรู้จากความจริงและตรงประเด็น(2R’s)

    SWAMI 3. การเรียนรู้จากธรรมชาติ คือ มี pain & Gain , Good & Bad การกระทำจะเกิดจากสิ่งที่ได้รับ คือ hear bad

    think bad thought do bad action & mind will be full of bad impression ดังนั้นการพิจารณาอะไร ให้

    พิจารณาจากแก่นของสิ่งนั้น เพื่อการแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น

    ดร.จีระ 4. Learning Environment & Learning Opportunity คือ การเรียนรู้สามารถสร้างขึ้นมาได้ เช่น สร้าง

    ความสนใจ

    SWAMI 4. ความสนใจ ความตั้งใจ นำไปสู่ การเรียนรู้

    ดร.จีระ 5. สร้างวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน

    SWAMI 5. การสอน คือ การรับรู้จากคนที่เล็กกว่า โดยรู้ว่าต้องการอะไร ก็ให้ในสิ่งนั้น

    ดร.จีระ 6. Emotional Capital ต้องรู้จักการฝึกฝนและควบคุมอารมณ์ เพราะถือว่า เป็นทุนชนิดหนึ่ง

    SWAMI 6. เชื่อในศาสนา โดยไม่ต้องมีข้อสงสัยใดๆ และให้ปฏิเสธสิ่งที่ทำให้ปัญญาอ่อนแอ อารมณ์อ่อนแอ

    ดร.จีระ 7. ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    SWAMI 7. The perfectly unselfish man is the most successful

    ดร.จีระ 8. การเรียนรู้ จะประสบผลสำเร็จต้องมี Passion , Motivation โดยการสร้างการเรียนรู้ด้วย 4 L’s

    SWAMI 8. การเรียนรู้ เริ่มที่ ใจ และนำไปสู่ความสำเร็จ

    ดร.จีระ 9. สร้าง Learning Culture & Learning Community

    SWAMI 9. Education to reach every home . Mass education is the only solution and to be culture

    ดร.จีระ 10. สังคม หรือ องค์กรสำเร็จได้ โดยใช้ ทุนแห่งความยั่งยืน ( Sustainability Capital) + ทฤษฎี 3 วงกลม และบุคคล

    ในสังคม จะต้องเป็น ผู้ที่มีจิตสาธารณะ ตาม HR Architecture

    SWAMI 10. การดำรงอยู่ที่แท้จริง คือ การรู้จริง และ มีความรักที่แท้จริง

    ดังนั้น สรุปได้ว่า ทฤษฎีของ ดร.จีระ ครอบคลุม และ ลึกซึ้ง (ทั้งกว้างและลึก) กว่า หนังสือ Education ของ SWAMI

    VIVEKANADA มาก

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สุนันทา Ph.D. 3 SSRU

    081-309-5959

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพยิ่ง

       หนูสมศรี  นวรัตน์ขอแลกเปลียนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ชาวBlog ในการวิเคราะห์ กูรู 2 ท่าน ได้แก่  ศ. ดร.จีระ และ ท่าน Swami Vivekananda ซึ่งผู้คนเรียกท่านว่า นักปรัชญาอินเดีย

          ก่อนจะวิเคราะห์ หนูขอนำ อัตตะชีวิต ของ Swami  Vivekananda (สวามี  วิเวกานันทะ) มาเล่าให้ชาว Blog ทราบก่อนะคะ  ท่าน Swami Vivekananda เป็นนักปรัชญาอินเดียคนที่ 6  เดิมท่านชื่อ นายนเรนทรนาถ ทัตตะ เกิดวันที่ 12 มกราคม 2406 ที่เมืองกัลกัตตา  เป็นเมืองศูนย์กลางของกองเรือสินค้าของชาวยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม  ในวัยหนุ่ม ท่านสนใจ วิชาศาสนาและปรัชญา และได้ยึดถือแนวทางของ ท่าน สวามี  รามกฤษณะ เป็นแนวทางสร้างชีวิตตลอดมา พร้อมได้นามใหม่ ที่ปรมาจารย์ท่านนี้ ตั้งให้จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในนาม สวามี  วิเวกานันทะ (Swami  Vivekananda) ท่านออกบวชตามแบบ ศาสนาฮินดู ใช้ชีวิต แบบเรียบง่าย อยู่ตามป่าเขาหิมาลัยเป็นเวลา 6 ปี เพื่อ ฝึกสมาธิ ฝึกภาวนา ก่อนท่องไปในโลกกว้าง ในปี พ.ศ. 2436  ท่านสวามี วิเวกานันทะ ได้รับเลือกให้เป็น ผู้แทนศาสนาฮินดูไปร่วมประชุมสภาศาสนา ณ เมืองชิคาโก  สหรัฐอเมริกา  ในวันที่  11  กันยายน ปีนั้นเองละการเดินทางไป  คราวนี้เอง สร้างความฮือฮาในมุมคิดทางปรัชญาอินเดีย และท่านอยู่บรรยายแนวคิดในแถบยุโรปถึง 4 ปี มีลูกศิษย์มากบ้างก็ติดตามกลับมายังอินเดียจำนวนหนึ่ง

           หนูสมศรี นวรัตน์ขอสรุป ความเหมือน และความแตกต่างของ กูรู(ศ. ดร. จีระ และท่านSwami  Vivekananda )

    1. เรื่องการศึกษา (Education)

            ท่าน ศ.ดร.จีระ - เรื่องการศึกษา เป็นวิทยาศาสตร์ (scientific) จะพิสูจน์จาก ทฤษฎี 4 L's โดยเฉพาะ Leaning Methodology โดยเน้น การเก็บข้อมูล Data ===>เปลี่ยนข้อมูลเป็น Inflammation(ข่าวสาร) ===> Knowledge(ความรู้) ===>Value Added(มูลค่า) ===> Wisdom(ความเฉลียวฉลาด)  ดังนั้น หลักวิธีคิด(Concept) จะเป็น “System Thinking ” ประกอบด้วย  Input === > Process === > Output / Outcome and Feed Back

              ท่าน Swami - เรื่องการศึกษา ใช้หลัก ความเชื่อ(Believes) ในเรื่อง ศาสนา(Religious) แบบศาสนาฮินดู ฝึกสมาธิ ภาวนา การท่องไปในโลกกว้างค้นหาปรัชญา แล้วสรุปไปที่เรื่องจาก จิตใจ (Spiritual) โดยใช้ศาสนาเป็น “ตัวหนักในการนำ”

    2. เรื่องความเชื่อ (Believes) 

            ท่าน ศ.ดร.จีระ - ท่านเน้นเรื่อง Ethics โดยที่วิเคราะห์จาก ทฤษฎี 8 K's โดยเน้น เรื่อง คน(Human) ในสังคม ที่มีความรู้ดี (Knowledge) มีสติปัญญาดี (Intellectual) ต้อง มี คุณธรรม(virtue)จึงจะสามารถ พัฒนาตนเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม และประเทศไทย อยู่ได้อย่าง Sustainability & Happiness มองระบบ Macro + Micro  และมองว่าถ้าสังคม(ไทย) ในลักษณะระบบ(System) = ถ้าคนในสังคมมีความรู้ดี มีการศึกษาสูงมาก ๆ แต่ระบบคิด(System Thinking)ของคนทั้งระดับ Individual(บุคคล) + Node(กลุ่มคน) + Network(เครือข่ายของกลุ่มคน) ไม่มี Ethics แล้วปัญหาต่าง ๆ จะตามมามาก ดังนั้นท่านจึงเน้นการปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม(Ethics Capital) ไว้เป็นเบื้องต้น และแทรกทุนนี้เข้าไปเนื้อหาของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

            ท่าน Swami - เรื่องความเชื่อ (Believes) ใน ศาสนา ภาวนา สมาธิ มองระบบ Micro ในระบบความเชื่อของบุคคล เรื่อง การไม่ทำบาป ไม่มีบาป, ไร้มลทิน, ไร้ราคี, บริสุทธิ์ โดยการฝึกฝึกสมาธิ ภาวนา

    3 . เรื่องการเรียนรู้ (Learning)

            ท่าน ศ.ดร.จีระ เน้นเรื่อง การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เรียนรู้ทั้งที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (Formal & Informal) เรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) เรียนรู้ทั่วถึงกันทั้งองค์กร/องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) แล้วจะทำให้เกิด การเรียนรู้แบบยังยืน (Sustainability) ทฤษฎี 4 L's และท่านยังเน้นเรื่องของการนำการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง(Practice/Example)ในทฤษฎี 5 E's  ที่เกิดขึ้นจากภาคปฏิบัติ มา สร้างเป็นความรู้ (Knowledge) ความรู้ใหม่(New Idea) เป็นความรู้ในการสร้างสรรค์(Create) และเป็น นวัตกรรม(Innovation) เน้นย้ำเรื่องของ update knowledge ทุก ๆวัน ทุก ๆชั่วโมง ของผู้ใฝ่เรียนรู้ เพราะทุก ๆคนอยู่ในยุค IT & Globalization และ เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า “ โลกแบน(The World is Flat)”

            ท่าน Swami – เน้นเรื่องการเรียน ตามแนวคิด(Concept) และ แนวความเชื่อ (believes) ของท่าน วิชาศาสนาและปรัชญา ทางปรัชญาอินเดีย

       หนูขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ ข้อที่เหลือ หนูสมศรี นวรัตน์ จะ Gap Analysis ต่อวันพรุงนี้นะคะ

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

    เปรียบเทียบ แนวคิดของทางการศึกษา .ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์ และ Swami Vivekananda

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

    Swami Vivekananda

    -       พยายามกระตุ้นชาวอินเดียมีความภาคภูมิใจในความเป็นอินเดีย

    -       ให้ชาวอินเดียเก็บรักษาจริยธรรม ที่ดีงามของอินเดียเอาไว้

    -       มุ่งเน้นชาวอินเดียศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    -       พยายามให้คนด้อยโอกาสได้เรียนหนังสือ

    -       การศึกษาไม่ได้อยู่เฉพาะในห้องเรียน

     

     

     

    -       มนุษย์ สามารถพัฒนาได้ อยู่ที่ว่าจะสามารถปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้ได้

    -          Inspiration

     

     

    -          Ethical Capital & Cultural Capital

     

     

    -          เน้นความรู้ ทั้งภาค Micro และ Macro ให้สามารถเป็นความรู้แบบตัว T

    -          เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    -          ให้ความสำคัญกับการศึกษาในทุกระดับและต้องการจะให้มีการพัฒนาระบบการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าไปเรียนรู้และมุ่งในอาชีพ เรียนรู้เพื่อปฏิบัติจริง 

    -          ทรัพยากรมนุษย์ และทุนมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด

     

     

    ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา  ปินตา

     

     

     

     

     

    เรียนท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างยิ่ง 

              หนู สมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ + และวิเคราะห์ กูรู 2 ท่าน คือท่าน ศ.ดร.จีระ (อาจารย์ของหนู+และของเพื่อน ๆ SSRU) กับ ท่าน Swami Vivekananda  โดยกูรูทั้ง 2 ท่าน เป็นนักพัฒนา “ทรัยากรมนุษย์ (HRD)” ในข้อที่ 4 – 6 (ต่อจากครั้งก่อน) ดังนี้นะคะ

              ข้อที่ 4 เรื่องความเชื่อความศรัทธา ความศรัทธา ความเลื่อมใส (Faith)

              ท่าน ศ.ดร.จีระ - มีความเชื่อและศรัทธา ว่ามนุษย์ (Human) สามารถพัฒนาได้ (Development) ได้ด้วย ทฤษฏี 8 K’s และ ทฤษฏี 5 K’s ทฤษฏี 4 L’s อยู่บนพื้นฐานของทฤษฏี 2 R’s ของท่าน ทฤษฏี 3 วงกลมและเชื่อในแนวคิดของท่าน Peter Senga และทฤษฏีของ ท่าน พารณ ณ. อยุธยา ในการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์และเชื่อเรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้ (Social learning) และ life long Learning เพราะมนุษย์ทุก ๆ คนในโลกไม่ว่าจะอยู่ในมุมไหน ๆ ของโลกจะได้ส่ง ผลกระทบจาก Globalization จากระบบ IT โดยเฉพาะคนไทย (มนุษย์) จะได้รับผลกระทบจาก Information ด้านเทคโนโลยี (Technology)  ด้านเศรษฐกิจ (Economic)และการค้า(Trade) หรือ WTO, GATT, FTA, CEP, APEC เพราะระบบ Economic มีผล ต่อ GDP,GNP ของประชาชน (คนในชาติ) ด้านสังคมในเรื่องประชาธิปไตย (Democracy) สิทธิมนุษยชน (Human Right) เรื่องการก่อการร้าย การทำสงคราม ด้านสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะ เรื่องโลกร้อน (global Worming) เรื่องพลังงาน เรื่องน้ำมันกำลังจะหมดจากโลกดังนั้นท่าน ศ.ดร.จีระ จึงนำทฤษฏี 5 K’s โดนเฉพาะเรื่อง Innovation เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ทดแทนน้ำมันและนำแนวคิดการเรียนรู้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับประชาชน “คนไทย” อย่างเข้าใจจริงและเป็นไปตามบริบทของแต่ละคน ครอบครัว สังคม องค์กร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในชีวิต ไม่มีความเครียด  (no stress)

       ท่าน Swami - มีความเชื่อและการเรียนรู้ในเรื่องศาสนาฮินดูเรื่องการทำสมาธิ เรื่องศรัทธา เลื่อมใสในศาสนาฮินดู เกี่ยวกับจิตใจให้มีศาสนาฮินดูเป็นตัวตั้งเรื่องจิตใจ,ศรัทธา (ทางด้านจิตใจ)

    ข้อที่ 5 เรื่องการเรียนรู้หรือการสร้างสังคมฐานความรู้ 

              ท่าน ศ. ดร.จีระ -  ในเรื่องสังคมฐานความรู้ตาม ทฤษฏี 4L’s ท่านศ.ดร.จีระ ที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ โดยที่

     L ตัวที่1 = Learning Methodology ท่านเน้นการเรียนรู้ที่ทันสมัยเป็นการวิเคราะห์ (Acidosis) เน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเป็นการทำ Workshop, Care Study, การทำ Assign ment โดยนำ IT มาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ นำ Mutimedid มาช่วยและเป็นการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค Coaching Facilita For และเป็น Mentoring เพื่อให้ผู้เรียนรู้มีความรู้ที่ทันสมัย

              L ตัวที่ 2 = Learning Environment ท่าน ศ.ดร.จีระ - เน้นสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ในห้องเรียนให้สดชื่น (ใช้ดอกไม้สดมากกว่าดอกไม้ที่ทำจากพลาสติก) เน้นเรื่องธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้สดเป็นการแสวงหาโอกาสเรียนรู้ “ร่วมกัน” กระตุ้นให้ทุกคนสนุกสนานสนใจเรื่องเรียน “ทุก ๆคน” มีส่วนร่วม (Participation) เน้นให้คนสนใจการอ่านหนังสือ เช่นจะพาไปร้านหนังสือ อ่านหนังสื่อที่เป็นภาษา Eng และเป็นภาษาสากล ให้คนสนใจการอ่าน และนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเอง ครอบครัว การทำงาน เน้นให้นำ Internet มาใช้เรื่องงาน การเรียนหนังสือ การรับ-การส่ง e-mail และ Searchหาข้อมูลต่าง ๆ ท่าน ศ.ดร.จีระเชื่อว่า บรรยากาศของการเรียนรู้ที่ดี น่าจะนำไปสู่ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 

        L ตัวที่ 3 = Learning Opportunity  คือการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ โดยเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (เกิดการปะทะทางปัญญา) ทั้งการเรียนรู้ การร่วมกันหารือ ร่วมหารือกับวิทยากรที่มีความรู้ มีชื่อเสียงระดับองค์กรใหญ่ ๆ และระดับประเทศ

        L ตัวที่ 4 = Learning Community ท่านเน้นให้สร้างสังคม/ชุมชนในการเรียนรู้ในห้องเรียน (การปะทะทางปัญญา) แล้วขยายความรู้, การเรียนรู้ออกไปวงกว้าง เป็น Learning Community ==> เป็น Digital Community โดยสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่าน Internet, e-mail

       ท่าน Swami - ชี้แนะในเรื่องการเรียนด้านจิตใจ (mind) และด้านจิตวิญญาณ (spiritual) มองโลกเป็นเรื่อง “โลกมายา” โลกเป็นสิ่งที่ไม่จริงแท้ เป็นสิ่งปลอม “มายา” จากการอ่านจากหนังสือปรัชญาอินเดียร่วมสมัย

    ข้อที่ 6 เรื่อง Explain (การบรรยาย) ในเรื่อง HRD

              ท่าน ศ.ดร.จีระ - จะเป็นเรื่อง Happiness, Respect, Dignity, Sustainability

                       -  Happiness โดยท่านได้นำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเน้น คำว่า “ประโยชน์สุข” คนไทยต้องมีความสุขจึงจะประสบผลสำเร็จ ไม่ใช้ มองเรื่อง “เงิน” เป็นเครื่องวัดความสุข(ดัชนีชี้วัดความสุข) ท่านเน้นว่า ไม่ว่าจะทำงานหรืออยู่กับครอบครัวจะต้องเน้นความสุข “ก่อนเงิน” และเน้นว่านักการเมือง นักธุรกิจควร/ต้องเสียสละความสุขเพื่อคนอื่นที่ด้อยโอกาสในสังคม เน้นคำพูดที่ว่า “ทำอะไรจงทำเพื่อความสุข ไม่ใช่เรื่องเงิน”

                       - Respect (ความนับถือ, ความเคารพ) ท่านนำแนวคิดมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยท่าน ศ.ดร.จีระสอนให้มองความเป็น “คน” หรือ ความเป็นมนุษย์มีความเท่าเทียมกัน การให้เกียรติกัน และ ยกย่องชมเชย ซึ่งกันและกัน ซึ่งมุมมองตรงนี้ ยังมีปัญหาในสังคมไทย โดยเฉพาะนายจ้างและลูกจ้าง โดยใช้เงินเป็นตัวแบ่งแยกคนเป็น “คน” ทำให้สิทธิความเป็นคน มีหลายระดับ (Level)

                       -Dignity = Human Right เป็นเรื่อง ของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี การยกย่องผู้น้อย (ของผู้ใหญ่/ผู้มีอำนาจ) ท่าน ศ.ดร.จีระ ท่านได้ให้คำแนะนำ ได้ทำตัวเป็น Model เป็นแบบอย่างให้นักศึกษาในการพูด ในการยกย่องชมเชย โดยท่านได้ เสนอทฤษฏี 3 วงกลม โดยเฉพาะเรื่อง Motivation ในเรื่องแรงจูงใจ จะทำให้คน, เพื่อน, พนักงาน, ลูกน้อง ทำงานได้อย่าง เต็มศักยภาพ (Potential) การจูงใจที่ดีจะทำให้เกิด High Effective Performer โดยใช้การ Empowerment และ สร้าง Corporate Culture (วัฒนธรรมองค์กร) ซึ่งต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับคน , กับงาน , ตำแหน่ง,หน้าที่,ความสามารถ,ผลงานรวมถึงพิจารณาสิ่งแวดล้อมด้วยที่เอื้อให้ส่งเสริมต่อการทำงาน (Health Work place) การ Motivation โดยการให้ Reward อาจจะเป็นสิ่งของ , เงิน , หรือไม่ใช้สิ่งของแต่เป็น “คำพูดยกย่องชมเชย” ในที่สาธารณะเช่นห้องประชุมในที่ที่เป็นชุมชนการให้มี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Marking) การมอบหมายงานที่ท้าทายให้ทำ มอบงานใหม่ ๆ ให้ได้ทำ ได้กล้าคิด กล้าทดลอง

                       - Sustainability (ความยั่งยืน) ท่าน ศ.ดร.จีระ จุดเน้นท่านที่ “คน” เป็นผู้สร้างความยั่งยืน มองการกระทำ, การสร้างงาน, การกระทำที่มีความต่อเนื่อง(Continuous) จะมองระยะสั้น ให้สอดคล้อง ระยะยาวมองว่าการทำงาน, การทำการพัฒนางาน, พัฒนาการเรียน (โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศไทย) ท่านเน้นนโยบาย(Policy)ที่ยั่งยืนให้สอดคล้องแผนงาน(Plan) ที่ระยะสั้นและสอดคล้องแผนระยะยาวและ ท่านศ.ดร.จีระยังเป็นถึงเรื่อง คุณธรรม + จริยธรรม (Morality) เรื่อง ธรรมาภิบาล (Good Governance)  เพื่อจะทำให้เกิดความยั่งยืนของคนในสังคมไทย

               ท่าน Swami = ท่านจะสอนให้ คนเชื่อในศาสนา เชื่อในแนวคิดที่ท่านค้นพบ แต่ท่านไม่ได้สอนให้ “คน/มนุษย์คิดด้วยตัวเอง” เป็นผู้หัดคิด เพื่อให้เป็น Creator, หรือ เป็นผู้ค้นหาวิธีทำงาน ที่เป็นแนวคิดใหม่, ที่เรียกว่า Innovation ด้วยตนเองหรือด้วย กลุ่ม หรือทีม (Team Working) แต่ท่านสอนให้คน “เชื่อในวิธีการของท่าน” ทำให้คนไม่มีโอกาส  ไม่ได้คิดฝึกคิด ไม่ได้หัดทดลอง ไม่ได้ทำวิธีการทดลอง ส่งผลให้คนขาดฝึกการหัดคิดด้วยตนเอง, ด้วยกระบวนการกลุ่ม ขาดการมีส่วนร่วมของผู้คน (ขาดการปะทะทางปัญญา, ขาดการสร้างสรรค์ทางปัญญา)

              หนู สมศรี นวรัตน์ เขียนยาวมากนะคะ ขอจบแค่นี้ก่อนนะคะอีก 4 ข้อขอเก็บไว้วันต่อไปนะคะ

    ขอบคุณนะคะที่อ่านข้อความใน Biog ของหนู

    ด้วยเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

    เปรียบเทียบ แนวคิดของทางการศึกษา .ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์ และ Swami Vivekananda

    Swami Vivekananda

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

    -       พยายามกระตุ้นชาวอินเดียมีความภาคภูมิใจในความเป็นอินเดีย

    -       ให้ชาวอินเดียเก็บรักษาจริยธรรม ที่ดีงามของอินเดียเอาไว้

    -       มุ่งเน้นชาวอินเดียศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    -       พยายามให้คนด้อยโอกาสได้เรียนหนังสือ

    -       การศึกษาไม่ได้อยู่เฉพาะในห้องเรียน

     

     -       มนุษย์ สามารถพัฒนาได้ อยู่ที่ว่าจะสามารถปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้ได้

    -          Inspiration

     -          Ethical Capital & Cultural Capital

      -          เน้นความรู้ ทั้งภาค Micro และ Macro ให้สามารถเป็นความรู้แบบตัว T

    -          เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    -          ให้ความสำคัญกับการศึกษาในทุกระดับและต้องการจะให้มีการพัฒนาระบบการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าไปเรียนรู้และมุ่งในอาชีพ เรียนรู้เพื่อปฏิบัติจริง 

    -          ทรัพยากรมนุษย์ และทุนมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด

     

     ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา  ปินตา

    เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพค่ะ

    หนูนำเอาข้อคิดดี ๆ มาฝากค่ะ

    คิดแบบอินเดียเรื่องหนึ่งที่ อ่านจากหนังสือของ Raghunathan 

     
    ดช.ปัญญาเป็นเด็กที่เกิดในเมืองแต่ย้ายไปอยู่ในชนบท
    วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1000 บาทซึ่งชาวนายินดีที่จะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น
    พอวันรุ่งขึ้น ชาวนาก็ไปหา ดช.ปัญญาแล้วบอกว่า
    "ข่าวร้ายหนูเพราะแพะเพิ่งตายไปเมื่อคืนที่แล้วเอง"
    ดช.ปัญญา ก็บอกว่า "ไม่เป็นไร ถ้าเช่นนั้นคืนเงินให้ผมก็แล้วกัน"
    "โอ เสียใจด้วยจริงๆ แต่ฉันใช้เงินนั่นหมดไปแล้ว" ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้าๆ
    "ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉัน"
    "หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร" ชาวนาถามด้วยความฉงน
    "ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย"
    "จะไปจับฉลากแพะที่ตายได้อย่างไร ใครจะไปซื้อ"
    "ได้ซิ คอยดูละกัน"
     
    จากนั้นชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ ดช.ปัญญาไป
    หนึ่งเดือนผ่านไป......ชาวนาพบกับ ดช.ปัญญาจึงถามว่าตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร
    "ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 บาท แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว"
    "ฉันได้เงินมา 5000 บาท ได้กำไรหลังจากหักที่จ่ายให้ลุงชาวนาไปแล้ว 3990 บาท"
    "แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ(เพราะแพะตายแล้ว)" ชาวนาถามด้วยความสงสัย
     
    "ก็มี มีคนเดียวคือคนที่จับฉลากได้ และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน 10 บาทให้คนๆ นั้นไป"
    ในเรื่องบอกว่า ดช.ปัญญาต่อมาเติบโตและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก......
     
     
    บทเรียนจากเรื่องนี้ค่ะ

    เรื่องราวแบบนี้เป็นสิ่งที่คนอินเดียสอนกัน ที่สำคัญก็คือการแก้ไขปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ที่เผชิญหน้าหรือคิดคำตอบโจทย์ที่ยากๆ ซึ่งคนอินเดียจะเก่งในเรื่องแบบนี้มาก


    ทางอินเดียได้มีการถ่ายทอดความรู้แบบนี้ผ่านทางการ์ตูนพื้นบ้านซึ่งขายในราคาถูกมาก ทำให้เด็กไม่ว่าจะอยู่ในรัฐที่ห่างไกลหรือยากจนก็สามารถเรียนรู้วิธีคิดผ่านสื่อเหล่านี้ได้ 

     
    สมอง ถ้าไม่ได้ใช้ ไม่นานก็ฝ่อ คนอินเดียจึงเป็นนักคิดนักแก้ปัญหาที่เก่งมาตั้งแต่โบราณกาลและยังสามารถสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ ด้วยองค์ประกอบทางด้านการศึกษาและภาษา

    ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา  ปินตา

    สมศรี เต็มอนุภาพกุล

    การเปรียบเทียบ  Education : ระหว่าง Swami Vivekananda กับ Dr. Chira

    Item

    Swami Vivekananda

    Dr. Chira

    1.

    ความสามารถในการเรียนรู้มีติดอยู่ในตัวมนุษย์แล้วตั้งแต่เกิด

    มนุษย์มีต้นทุน  มีคุณค่าอยู่ในตัว เป็นเหมือนทรัพย์สิน ( ทุนมนุษย์ )

    2.

    ความรู้มาจากจิตวิญญาณของมนุษย์ เราเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และมีครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและคอยกระตุ้นให้เราเข้าใจ

    อ.จ.จีระ  มีแนวความคิดเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคล้ายกันกับท่าน Swami

    3.

    การศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้แต่เฉพาะภายในห้องเรียนแต่เรียนรู้ได้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวเรา

    หลักการเหมือน Study Tour 

    4.

    การสอนเด็กหรือลูก เราไม่สามารถที่จะสอนเขาได้ทุกเรื่องแต่ปล่อยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการไปตามแนวความคิดและเป้าหมายของเขาเอง เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ที่ต้องคอยตกแต่ง

    อ.จ.เคยให้หลักการหนึ่งว่า  การเรียนของคนเราเหมือนการปลูกต้นสัก (ไม้สัก)ต้องใช้เวลากว่าจะตัดไม้สักมาเพื่อใช้ปลูกบ้านได้

    5.

    การศึกษา หรือเรียนรู้  ต้องมีกระบวนการข้างในของคนๆ นั้นเพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นกระบวนการและรับรู้ของเราเอง

    อันนี้น่าจะตรงกับ 4 L’s

    6.

    ในตัวมนุษย์สามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาได้ เพียงแต่เราจะต้องปลูกและสร้างสรรค์อย่างถูกทาง

    ใกล้เคียง กับการให้นักศึกษาปริญญาเอกของอาจารย์คิดนอกกรอบไม่ต้องติดยึดกับทฤษฎีของอ.จ.จีระ

    7.

    การชี้แนะแนวทาง การคอยกระตุ้น การที่จะให้เขาเข้าใจเหมือนเราเพาะเมล็ดพืชจะเจริญงอกงามจะต้องมีการรดน้ำ พรวนดิน

    (คล้ายข้อ 4.)อ.จ.เคยให้หลักการหนึ่งว่า  การเรียนของคนเราเหมือนการปลูกต้นสัก (ไม้สัก)ต้องใช้เวลากว่าจะตัดไม้สักมาเพื่อใช้ปลูกบ้านได้

    8.

    มนุษย์สามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาได้งานของครู  ก็คือ การปลูกและสร้างสรรค์การศึกษาในตัวเด็ก

    พอมีทุนมนุษย์  ที่อ.จ. ก็อยากให้นักศึกษามี  ทุนของความคิดสร้างสรรค์

    9.

    อิสระภาพทางความคิดของผู้เรียน  ผู้สอนหรือครูไม่ควรไปเข้มงวดหรือstrict และมีจิตวิญญาณในการถ่ายทอดความรู้ 

    ใกล้เคียง (ข้อ 6)ที่ให้นักศึกษาปริญญาเอกของอาจารย์คิดนอกกรอบไม่ต้องติดยึดกับทฤษฎีของอ.จ.จีระ

    10.

    การศึกษาไม่ใช่การป้อนข้อมูลเข้าไปมากๆ  ในสมอง และก็ปล่อยให้มันยุ่งเหยิงแต่การสร้างชีวิต การสร้างอุปนิสัยซึมซับความคิดความอ่าน เพื่อทำให้คนสามารถยืนได้ด้วยตนเอง

    อ.จ.ให้พวกเราทุกคนฝึกวิธีการตกปลา  วิธีการใช้เบ็ดใช้เครื่องมือในการจับปลา หมายถึงการสามารถไปหาความรู้ได้เอง  ผู้เรียนอย่างเราหลายคน ก็เกิดทักษะในการหาความรู้ได้เองและมีความยั่งยืน

    ข้อต่าง

    Swami มีบางช่วง ที่เห็นว่าเน้นข้างในของคน ทางนักจิตวิทยาเขาเป็น  นักมนุษยนิยมมาก  เพราะเห็นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้  และมีกระบวนการในตัวเองที่สร้างกระบวนเรียนรู้ได้ตั้งแต่เกิด

    ของอ.จ.ต่างกันตรงไม่ได้เน้นสิ่งที่เป็นนามธรรมเท่าไร  นอกจาก Passion &  Happiesness ที่มีผลสืบเนื่องจากความยั่งยืน

     

     

     

    ประวัติของ Swami  Vivekananda (สวามี  วิเวกานันทะ) มาเล่าให้ชาว Blog ทราบก่อนะคะ  ท่าน Swami Vivekananda เป็นนักปรัชญาอินเดีย คนที่ 6  เป็นชาวเบงกอล  เดิมท่านชื่อ นาย นเรนทรนาถ ทัตตะ เกิดวันที่ 12 มกราคม 2406 ที่เมืองกัลกัตตา ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของกองเรือสินค้าของชาวยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม บิดาชื่อ วิศวนาถ ทัตตะ ในวัยหนุ่ม ท่านสนใจศึกษา ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรมมเป็นอย่างดี วิชาทางโลกท่านสนใจวิชาพลศึกษา วรรณคดีและดลตรี วิชาทางธรรมท่านสนใจ วิชาศาสนาและปรัชญาทั้งทางของตะวันออกและตะวันตกอย่างจริงจังที่สำคัญมีทรรศนะโน้มไปทางเหตุผลนิยม(Rationlism) และวิมตินิยม(Scepticism)ผสมกันทั้ง 2 ศาสตร์ เมื่อพ.ศ. 2424ได้พบกับ ท่าน สวามี  รามกฤษณะ ปรมหังสะ ได้ยึดถือแนวทางของ ท่าน สวามี  รามกฤษณะ แล้วท่าน นเรนทรนาถ ทัตตะ  ก็เปลี่ยนแนวคิดและเปลี่ยนชีวิตของท่านโดยสิ้นเชิง(แบบหน้ามือ ==>เป็นหลังมือ) ถึงขนาด "ไม่ได้แต่งงาน" เพื่อใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ต่อศาสนา + สังคม โดยยึดแนวของ ท่าน สวามี  รามกฤษณะ ปรมหังสะ เป็นปรมาจารย์ "นำชีวิตตลอดมา"  เป็นแนวทางสร้างชีวิตตลอดมา พร้อม ได้นามใหม่ ที่ปรมาจารย์ท่านนี้ ตั้งให้จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในนาม สวามี  วิเวกานันทะ (Swami  Vivekananda) ชื่อนี้ชาวโลกรู้จักดี ===>ในปีพ.ศ. 2379 - 2429  ท่านออกบวชตามแบบ ศาสนาฮินดู ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่ตามป่า เรียกว่าใช้ชีวิตแบบ "วนปรัสถ์" ตามเขาหิมาลัย  เป็นเวลา 6 ปี เพื่อ ฝึกสมาธิ ฝึกภาวนา ก่อนท่องไปในโลกกว้าง ในปี พ.ศ. 2436  ท่านสวามี วิเวกานันทะ ได้รับเลือกให้เป็น ผู้แทนศาสนาฮินดูไปร่วมประชุมสภาศาสนา ณ เมืองชิคาโก  สหรัฐอเมริกา  ในวันที่  11  กันยายน ปีนั้นเองละการเดินทางไป  คราวนี้เอง สร้างความฮือฮาในมุมคิดทางปรัชญาอินเดีย และท่านอยู่บรรยายแนวคิดในแถบยุโรปถึง 4 ปี มีลูกศิษย์มากบ้างก็ติดตามกลับมายังอินเดียจำนวนหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2429  ท่าน สวามี รามกฤษณะ ปรมหังสะ ได้ ถึงแก่มรณภาพ  ท่าน Swami  Vivekananda จึงบวชเป็น "สันตยาสี" ตั้งแต่นั้นมา ออกจาริก ไปทั่ว ===>ได้เห็นสภาพเศรฐกิจ + สังคมของอินเดีย ที่ทรุดโทรม ===> เกิดสังเวช สลดใจ ในชะตากรรมของเพื่อนร่วมชาติ ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อทำหน้าที่พัฒนา "ศาสนาแนวใหม่" เป็นผู้แทนศาสนาฮินดู ท่านเข้าร่วมประชุมที่ USA ท่านออกเดินทางจากท่าเรือ บอมเบย์ ===> โคลัมโบ ===>สิงคโปร์ ===>ฮ่องกง ===>กวางตุ้ง ===> นางาซากิ ===>โตเกียว ===> ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ===> แวนคูเวอร์ ===> ซิคาโก   การประชุมสภาศาสนา ท่านแสดง สุนทรพจน์ + บรรยายว่าท่าน " An Orator by divine right and Undoubtedly the Greatest figure in the Parliament of Religions" ท่านกลับมาอินเดีย อย่าง วีระบุรุษแห่งชาติ ก่อตั้ง "อาศรม" ที่เมืองกัลกัตตา เรียกว่า "รามกฤษณอาศรม" (Ramakrishna Mission) มีฐานะเป็น สมาคม กิจการของสมาคมมีทั้งวัตถุประสงค์ หน้าที่ วิธีการ การดำเนินงาน แบ่งกิจกรรม 2 สาขาทั้งในอิเดียและต่างประเทศ สมาคมนี้ตั้งอยู่กว่า 100 ประเทศ

             ท่าน Swami  Vivekananda  มรณภาพ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 รวม อายุ 39 ปี 5 เดือน 24 วัน

     

     

     

    ดึกแล้วขอยุติแค่นี้ก่อน นะคะ

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

     

    เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                    จากการอ่านหนังสือ”EDUCATION” ที่ผู้แต่งได้เรียบเรียงจากสุนทรพจน์และงานเขียนของท่าน

    SWAMI VIVEKANANDAทำให้ได้ทราบว่าแนวความคิดของSWAMI VIVEKANANDA

    กับของอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ ในด้านการศึกษามีประเด็นความคิดที่มีความเหมือนกันอยู่มาก

    โดยจะขอแสดงในตารางดังนี้

    อาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์

    SWAMI VIVEKANANDA

    เป็นนักพัฒนามนุษย์ที่ มีแนวคิดว่าควรให้ทุกคนได้รับการศึกษา แบบสร้างเป็นวัฒนธรรมในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อทำให้คิดเป็นทำเป็น และอยู่รอดอย่างยั่งยืน

    SWAMI was a great and forceful personality and  his saying on EDUCATION are as inspiring as the rest.

    ควรเรียนรู้จากความเป็นจริง

    Learns is really.

    ต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดชีวิต

    The  infinite library of the universe is in your own mind.

    ทุนมนุษย์ต้องมีการพัฒนาจึงจะมีมูลค่าเพิ่ม โดยตัวเองต้องเป็นผู้ลงทุน

    You cannot teach a child any more than you can grow a plant. The child teaches itself, like the plant develop its own nature.

    สร้างวิธีการเรียนรู้ด้วยทฤษฎี 4L’sเพื่อเป็นการจัดเตรียมบรรยากาศให้เหมาะสมที่จะเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเด็กเอง

    You can supply the growing of education with the materials for the making up of its body.

    ครูควรเป็นเพียงผู้กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ควรยัดเยียดความรู้แก่เด็ก

    So with the education of the child. A child educates itself. The teacher spoils everything by thinking that he is teaching.

    อาจารย์จะไม่พูดในสิ่งที่บั่นทอนจิตใจใครหรือตำหนิใครในด้านลบ มีแต่กระตุ้นด้วยการสร้างแรงเสริมให้กำลังใจอยู่เสมอ

    He never destroyed a single man’s special inclinations. He gave words of hope and encouragement even to the most degraded of persons and lifted them up.

    ควรเรียนเพื่อให้เกิดปัญญา ไม่ใช่บ้าปริญญา

    Education is not the amount of information that is put into your  brain and runs riot there, undigested all your life.

    ควรเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง และต้องมีจิตสาธารณะความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยโดยสร้างเครือข่ายให้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

     

    We want that education by which character is formed, strength of mind is increased, the intellect is expanded and by which one can stand on one’s own feet.

    ต้องมีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์จึงจะเกิดความสำเร็จและเรียนรู้

    The power of concentration is the only key to the treasure-house of knowledge.

    ต้องรู้จักตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง

    First have faith in yourselves.

    No pain  no gain

    As pleasure and pain pass before his soul, they leave upon it different pictures, and the result of these combined impression is what is call a man’s character.

    การศึกษาไม่ควรเป็นเหมือนโรงเรียนกวดวิชา

    Knowledge should be given freely and without any price.

    อาจารย์เข้าใจลูกศิษย์ทุกคนอย่างทะลุถึงจิตใจ คือรู้ว่าควรจะกระตุ้นลูกศิษย์แต่ละคนอย่างไรที่จะสามารถทำให้ลูกศิษย์ได้เกิดการเรียนรู้แบบเปลี่ยนภายในให้เป็นคนใหม่ได้

    The true teacher is he who can immediately come down to the level of the student, and transfer his soul to the student’s soul and see though and understand through his mind.

     จากวัชรินทร์  แสงมา Ph.D 3 SSRU

    เปรียบเทียบความคิดระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับ Swami Vivekananda.

    1 ความรู้ ติดตัวมากับมนุษย์ตั้งแต่เกิดขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำไปใช้อย่างไร ใช้ให้เกิดประโยชน์มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคน ความรู้จะเพิ่มมากขึ้นถ้าคนๆนั้นนำไปใช้ ซึ่งเหมือนกับแนวความคิดท่านอาจารย์ดร.จีระได้แก่ทุนมนุษย์ ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดและสามารถที่จะเพิ่มพูนได้ตลอดเวลาหากคนๆนั้นเรียนรู้ตลอดชีวิต

    2 การศึกษาสามารถเรียนรู้จากสิ่งรอบๆตัวของเราได้ คนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเองได้ เรียนรู้จากบุคลิกลักษณะส่วนตัว เช่น เป็นคนช่างสังเกต เป็นคนขี้สงสัย ยกตัวอย่างเช่น เช่น การตกของผลแอปเปิ้ลจากต้นไม้ ทำให้ Newton ค้นพบเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ตรงกับแนวคิดของอาจารย์ที่พูดเสมอถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้จากความจริงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมายไปที่ความรู้ และต้องเรียนรู้ไปจนกว่าจะตาย

    3 คนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ครูอาจารย์จะมีหรือไม่มีก็ได้ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางที่เรียนรู้  ครูจะมีหน้าที่เป็นผู้คอยให้คำแนะนำและคอยกระตุ้นให้เราเกิดการเรียนรู้  ตรงกับแนวความคิดของอาจารย์ การเรียนรู้สามารถเรียนจากที่ไหนก็ได้สิ่งที่สำคัญจะต้องเรียนอย่างมีความสุขโดยครูจะมีหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นและให้คำแนะนำเหมือนกับที่อาจารย์ได้ปฏิบัติทุกครั้งเมื่อเข้าสอนนักศึกษาปริญญาเอกอย่างพวกผม

    4 การเรียนรู้จะต้องรู้จักนำความรู้ที่ได้ มาเรียบเรียงจัดกระบวนการทางความคิดให้ตกผลึกเพื่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้ ตรงกับที่ท่านอาจารย์ได้เคยพูดถึงการนำความรู้ที่ได้มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง ให้กับสังคม ให้กับประเทศ

    5 การที่เราจะสอนเด็กหรือลูกบางครั้งเราอาจจะต้องปล่อยให้เขาเกิดการเรียนรู้เองจากความสนใจของเขา ตรงกับที่ท่านอาจารย์ได้พูดถึงการสอนหรือวิธีการเรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดกระบวนการคิดขึ้นของตัวเด็กเอง เช่นที่โรงเรียนบ้านสันกำแพงก็เป็นตัวอย่างที่ดี 

                    6 ครูอาจจะเป็นผู้ทำลายความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ของเด็กโดยยึดเอาความคิดของตนเองเป็นหลักทำให้เด็กไม่กล้าที่จะคิด ไม่กล้าที่จะแสดงออก ดังนั้นครูควรจะสนับสนุนการคิดของเด็กตรงกับแนวคิดของท่านอาจารย์จีระที่พยายามสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เด็กสามารถเกิดกระบวนการคิดในการเรียนรู้มากกว่าที่จะเรียนแบบจำ ครูจำกัดความคิดของเด็กเพราะตัวครูเองยังยึดติดกับกระบวนการเรียนการสอนแบบเดิมๆ

                    7 ครูมีหน้าที่ที่จะต้องให้ปุ๋ยที่ชื่อว่า คุณธรรม จริยธรรมให้กับเด็กเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กๆเติบโตขึ้นเป็นคนดีและคนเก่ง ตรงกับแนวคิดของท่านอาจารย์จีระในเรื่องของทุนทางจริยธรรมที่มนุษย์ทุกคนจะต้องมีและจะต้องสร้างให้คนเป็นคนดีและเป็นคนเก่งด้วย

                    8 มนุษย์ทุกคนมีความสามารถและมีศักยภาพขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถที่จะดึงมันออกมาใช้ได้หรือไม่ เหมือนที่ท่านอาจารย์จีระเคยพูดไว้ว่าท่านมีหน้าที่ที่จะกระตุ้นและดึงเอาความสามารถที่พวกเรามีออกมาใช้ ครูก็เช่นเดียวกันมีหน้าที่ที่จะทำให้เด็กนั้นสามารถที่จะดึงเอาศักยภาพที่พวกเขามีออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

                    9 ต้องให้อิสระทางความคิดกับเด็ก ให้เขาได้ใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่ จะทำให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น อย่างเดียวกับที่ท่านอาจารย์จีระได้ทำก็คือให้นักศึกษาทุกคนมีอิสระทางความคิด ทุกคนสามารถที่จะเสนอความคิด ให้ทุกคนได้เรียนรู้จากการทำงานสัมมนา โดยจะต้องคิดให้ตรงประเด็น และมองจากความเป็นจริง ไม่ปิดกั้นความคิดของตนเองและความคิดของผู้อื่น

    10 การป้อนข้อมูลเข้าไปมากๆไม่ได้เกิดผลดีกับการเรียนรู้เลยถ้าไม่รู้จักการจัดระบบการคิดและเรียบเรียงองค์ความรู้นั้นเพื่อนำไปใช้ ตรงกันข้ามมันกลับมาทำลายระบบการเรียนรู้อย่างที่ท่านอาจารยฺจีระได้เคยพูดไว้ว่า ต้องใช้ทฤษฎี 2R’s ต้องรู้ให้เป็นรูปตัว ที

                                                                                 ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

                                                                                       0863517928

    เรียนท่านอาจารย์  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

         วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์) ขอส่งการบ้าน เรื่อง กูรู 2 ท่านต่อเมื่อคืนนะคะซึ่งมีหัวข้อที่ 7 -10 ขอจบการบ้านแต่การบ้านที่ตอบมีผลเป็นเช่นไรท่านอาจารย์Comment ได้ทุก ๆ เรื่องนะคะ

    7. เรื่อง Environment

                - ท่าน ศ.ดร.จีระ = ท่านชี้แนะ อธิบายให้ “คน” มนุษย์เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและเรียนอย่างสร้างสรรค์ (creativity) ให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ ๆ โดยใช้หลักของทฤษฏี Value Added มาใช้โดย คิดเป็นวิทยาศาสตร์มีการเก็บ Date วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ (New Knowledge) ที่จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Product) ซึ่งจะแสดงถึงความเฉลียวฉลาด (Wisdom) ของคณะในการทำงาน คนในองค์กรโดยเน้นให้ทำ Environment มาช่วยสร้างส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ให้เกิด Happiness ขณะทำงาน โดยเน้นทุนความสุขว่าการที่คนจะมีความสุขจากการที่จะอาจได้นั้นจะต้องมี

       1. จะต้องรู้จุดหมายของงาน (รู้เรา) และรู้เป้าหมายคนที่/ผู้ที่รับบริการ หรือ ลูกค้า (รู้เขา) 

       2. จะต้องรู้ความสามารถในการนำเสนองาน มีความสามารถเพียงพอที่จะทำ 

       3. ต้องมีการเตรียมความพร้อมเรื่องเวลา (Time) เตรียมตัวเองให้ดี

       4. ต้องได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอ (เรื่องสุขภาพ)

       5. มี Team Work ที่ดี

       6. มีสุขภาพ (Health) ทั้งทางกาย และจิตใจ

       7. มองเห็นว่างานนั้นท่าท้าย (Challenge) และสนุกกับงาน

       8. ทำงานด้วยความกระตือรือร้น (Alerts)

       9. มีความเข้ามาในการเรียนรู้ (Capability)

       10. ต้องพยายามให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน (My life + My love + My Passion ==> My Happiness )

       11.ทำงานต้องไม่เครียด (ไม่ Stress) เพราะถ้ามีความเครียดงานจะไม่มีผลผลิตที่ดีไม่เกิดผลประกอบการที่ดี (High Effective Performance)

       12. ต้อง Enserch ให้ตัวเองคือ พยายามเพิ่มคุณค่าให้ตัวเองในเรื่อง

       13. มีการเข้าสังคม มีเพื่อน และเป็นเครือข่ายสังคม (Social Network) ได้รับการยอมรับในสังคม มีการช่วยเหลือเกื้อกูลต่อคนในสังคม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในสังคม (Interaction) ส่งผลให้เกิดความสุข

            ท่าน Swain = ท่านชี้แนะในเรื่องศาสนาฮินดูด้วยวาทะของท่านและเป็นตัวแทนคณะสงฆ์ โดยเน้นเรื่องความจริง (Real) ในคำสอนของศาสนาฮินดู ว่าคำสอนของศาสนานั้น ถูกต้องเป็นความจริงในการประชุมสร้างศาสนาของโลก และชี้แนะเกี่ยวกับปรัชญา “เวทานตะ” และได้มีการเผยแพร่หลักสัจธรรมของท่าน Swami มั่นท่านมีวัตถุประสงค์ชี้นำให้ปฏิบัติตามอย่างจริงจังในชีวิตประจำวัน พัฒนาจิตใจให้ก้าวหน้าสอนเรื่องศาสนาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ท่านสอนให้คนเป็นนักเสียสละและทำหน้าที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ เน้นขยายแนวคิดเวทานตะ โดยเน้นให้สมาชิกใช้แนวการดำเนินชีวิตของสวามี (Swami) เป็นแบบอย่างชีวิต

    8. เรื่อง Create & Motive Learning

                ท่าน ศ.ดร.จีระ =  โดยเฉพาะทฤษฏี 5 k’s และ 4 L’s และทฤษฏี 3 วงกลม ท่านเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการบริหารความเป็นเลิศของ “คน” ในองค์กร = Cultivation is Necessary but harvesting is more important การลงทุนในมนุษย์ต้องสามารถเก็บเกี่ยวหรือใช้ความเป็นเลิศของคนในองค์กร ให้สามารถก้าวไป “ข้างหน้าได้” จึงจะเป็นการลงทุนที่ “ไม่สูญเปล่า” ทฤษฏี 3 วงกลมจะเป็นแนวคิดที่ช่วยให้บริหารให้บริหารคนและเก็บเกี่ยวความเป็นเลิศของคนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะตัว Competence ความสามารถของบุคลากร ผู้นำ (Leader) ต้องสร้างบุคลากรให้ความสามารถโดยพยายามสร้างทุนตามทฤษฏี 8K’s และ 5 k’s โดยวิเคราะห์จาก Gap Analysis ว่าทักษะ (Skill) และCompetence ความสามารถของบุคลากร ผู้นำ (leader) ต้องสร้างบุคลากรให้ความสามารถโดยพยายามสร้างทุนตามทฤษฏี 8K’s และทฤษฏี 5 k’s โดยวิเคราะห์จาก Gap  Analysis ว่าทักษะ (Skill) และ Competencies ของพนักงาน, บุคลากร ในองค์กรขาดอะไร ต้องพยายามเติมเต็มช่องว่างโดยพัฒนาศักยภาพ (Potentiality) ทักษะ (Skill) ความสามารถ(Ability)ในการทำงานในการตัดสินใจในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

                ท่าน Swami = ชี้แนะเรื่อง สมาชิกของศาสนาต้องทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (คน, สมาชิก, ของศาสนา) สมาชิกต้องเข้าใจศาสนาอย่างแจ่มแจ้ง ท่านเน้นอบรมสมาชิกของศาสนาเป็นนักเสียสละเพื่อทำหน้าที่สังคมสังเคราะห์ และทำให้นำคำสอนของศาสนานำไปเผยแพร่ในหมู่ประชาชนทั่วไป ให้คนทำตามวัตถุประสงค์ของท่าน

    ข้อ 9. เรื่องการเรียนรู้ของชุมชนสังคม (Community)

                ท่าน ศ.ดร.จีระ = เป็นสังคมฐานความรู้และเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Base society: KBS และKnowledge Base Economy: KBE) โดยท่าน ศ.ดร. จีระ เป็นการเรียนรู้และใช้พลังสมองของคนในชุมชน องค์กร สังคม นั้น ๆ เพื่อขับเคลื่อนความรู้ ระบบเศรษฐกิจการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอยู่บนพื้นฐานความรู้ที่ทั่วถึงกัน และให้ทุกคนเข้าถึงความรู้อย่าง “เท่าเทียมกัน” เช่น ผ่าน Internet e-mail มีการใช้ข้อมูล (Information) มาใช้ในการ “ตัดสินใจ” ในชีวิตประจำวันตัดสินใจด้วย “ความมีเหตุผล” ใช้วิทยาศาสตร์มากกว่า “ความเชื่อ” หรือ การโฆษณาชวนเชื่อ ท่านเน้นเรื่องความรู้ของชุมชนที่ “มีความรู้เพิ่มขึ้น” มีการสร้างความรู้ใหม่ๆ ของชุมชน เพื่อนำมาแก้ปัญหาของชุมชน เช่น ปัญหาน้ำเสีย มีการช่วยกัน “ระดมสมอง” โดยการแยกขยะไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำคูคลอง โดยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตาม KBE & KBS และเน้นส่งเสริมให้คนในองค์กร,หน่วยงาน , ชุมชน อ่านหนังสือ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ส่งเสริมการศึกษา การกระจายข้อมูล ข่าวสาร ผ่านสื่อ electronic เช่น e-Book, e-Library เน้นการเปลี่ยนข้อมูล ให้กลายเป็นข่าวสาร ให้กลายเป็นความรู้ให้เกิดประโยชน์เน้นแก้ปัญหาที่ถูกต้อง (ด้วยปัญญา = Intelligence หรือ Wisdom)

                ท่าน Swami  = ชี้แนะและเป็นความเชื้อของศาสนา เป็นปรัชญาเวทานตะ เน้นชีวิตนักบวช ให้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตามจิตที่ท่านได้ “สอน” มวลสมาชิก ตามที่ท่าน “อบรม” ตามศาสนาของท่านโดยที่ท่าน “เห็นว่า” สิ่งที่ศาสนาฮินดูสอนนั้น เป็นประโยชน์ต่อมวลชน

    ข้อที่ 10 ระบบคิดเชิงระบบ (System thinking)

                ท่าน ศ.ดร.จีระ  = ท่านชี้แนะ, สอนให้คิดเรื่องมนุษย์ในเชิงระบบ (System) ท่านเรียกว่า สถาปัตยกรรมของทรัพยากรมนุษย์ (HR. Architecture) ให้เห็นภาพรวม (Over All) ของทรัพยากรของมนุษย์ตั้งแต่ “เกิดจนกระทั้งตาย” โดยภาพ Macro เป็นเรื่อง Supply side (อุปทาน) มองในเรื่องใหญ่ๆเช่น การศึกษา, เรื่องสุขภาพ, เรื่องครอบครัว, เรื่องสื่อต่าง ๆ เป็นเรื่องของประชากรโดยภาพรวมทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันจะชี้แนะเรื่องระบบ Micro ได้แก่เรื่องในองค์กรทั้งภาครัฐ,เอกชน ในลักษณะDemand side เป็นการชี้แนะในลักษณะ Competency ของคน การพัฒนาสมรรถนะในการแข่งขัน พัฒนาฝีมือ, พัฒนาอาชีพของบุคลากร,พนักงาน ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อให้เผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม Technology ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ (Economy) การเมือง (Political) เทคโนโลยีสารสนเทศ วัฒนธรรม ซึ่งเชื่อมโยง “โลก” เข้าเป็นหนึ่งเดียวเชื่อมโยง บุคคล ชุมชน ธุรกิจ รัฐบาล ประชาชน ทั้งโลก ติดต่อกันได้รวดเร็วมาก ส่งผลการเคลื่อนทุน (Capital) ที่สำคัญ ๆ คือมนุษย์ ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากร (น้ำมัน,พลังงาน,แร่ธาตุ) และทุน อำนาจ (อาวุธนิวเคลียร์ กำลังอาวุธ) ส่งผลให้เกิดกระบวนการเศรษฐกิจโลก “ไร้พรมแดน” ทำให้ทุนดังกล่าวทะลุทะลวง ข้ามพรมแดนได้อย่างเสรี ผ่าน ระบบ WTO,FTA ดังนั้น ท่าน ศ.ดร.จีระ ให้คนมีระบบคิดที่เป็นระบบ “System” คือ 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ Macro และ Micro

          ท่าน Swami = ชี้แนะ เน้นแนวคิดให้ชี้ชีวิตเพื่อศาสนาและสังคมเป็นนักปฏิรูปศาสนา นักปฏิวัติสังคมของอินเดีย โดยใช้ศาสนาฮินดู เป็นหลักในการขับเคลื่อนของคนในสังคม พัฒนาศาสนา “แนวใหม่เพื่อสังคม” ใช้ปรัชญา “เวทานตะ” ในการแสดงปาฐกถา และเผยแพร่หลักสัจธรรมของท่านโดย “พัฒนาจิตใจของคนในศาสนา”

      

      

      

    เพื่อนใหม่จากภูฎาน ในวันประชุม UN Thailand ==> S-S ICPD Experience - Sharing Forum วันที่14 - 15 กย 2552 ===> ประเทศที่ใช้ GNH (Gross Nation Appiness) เป็นดัชนีชีวัดความสุขของประชาชนในประเทศ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081- 9435033

     

    เรียนผู้อ่าน Blog ทุก ๆท่าน

    หนูสมศรี นวรัตน์ ขอนำเสนอต่อ Blogก่อ นะคะ

     

     

     

            วันนี้หนู(สมศรี นวรัตน์)ขอส่งการบ้านเรื่องกูรู 2 ท่าน คือ ท่าน ศ. ดร.จีระ และท่าน Swain  ต่อBlogที่แล้วนะคะ ซึ่งมีหัวข้อที่ 7 - 10  ตอบการบ้านที่ท่านอาจารย์ให้ทำ ==> แต่==>การบ้านที่ตอบมีผลเป็นเช่นไร? ขอท่านอาจารย์ช่วยCommentหนูเรื่องที่ทำด้วยนะคะ 

    7. เรื่อง Environment 

                - ท่าน ศ.ดร.จีระ = ท่านชี้แนะ อธิบายให้คน มนุษย์เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและเรียนอย่างสร้างสรรค์ (creativity) ให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ ๆ โดยใช้หลักของทฤษฏี Value Added มาใช้โดย คิดเป็นวิทยาศาสตร์มี การเก็บDate วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ (New Knowledge) ที่จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ของสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ (Product) ซึ่งจะแสดงถึงความเฉลียวฉลาด (Wisdom) ของคณะในการทำงาน คนในองค์กรโดย ==> เน้นให้ทำ Environment มาช่วยสร้างส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ให้เกิด ==> Happiness ขณะทำงาน โดยเน้นทุนความสุข ว่า ===> การที่ "คนจะมีความสุข"  ได้นั้นจะต้องมี

       1. จะต้องรู้จุดหมายของงาน (รู้เรา) และรู้เป้าหมายคนที่/ผู้รับบริการ หรือลูกค้า (รู้เขา) 

       2. จะต้องรู้ความสามารถในการนำเสนองาน มีความสามารถเพียงพอที่จะทำ 

       3. ต้องมีการเตรียมความพร้อม เรื่องเวลา (Time) เตรียมตัวเองให้ดี

       4. ต้องได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอ (เรื่องสุขภาพ)

       5. มี Team Work ที่ดี

       6. มี สุขภาพ(Health) ทั้งทางกาย (Physical)และ จิตใจ(Moral)

       7. มองเห็นว่างานนั้นท้าทาย (Challenge) และสนุกกับงาน

       8. ทำงานด้วยความกระตือรือร้น (Alerts)

       9. มีความสามารถ (Capability)ในการเรียนรู้

       10. ต้องพยายามให้เกิดความ สมดุล(Balance) ระหว่าง ชีวิตและงาน (My life + My love + My Passion ==> My Happiness )

       11.ทำงานต้องไม่เครียด (No Stress) เพราะถ้ามีความเครียด  ==> งานจะไม่มีผลผลิตที่ดี ===>ไม่เกิดผลประกอบการที่ดี (High Effective Performance)

       12. ต้อง Enrich ให้ตัวเองคือ พยายามเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง

       13. มีการเข้าสังคม มีเพื่อน และเป็นเครือข่ายสังคม (Social Network) ได้รับการยอมรับในสังคม มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลต่อคนในสังคม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในสังคม (Inter-action) ส่งผลให้เกิดความสุข ===> My Passion ==> My Happiness

            ท่าน Swain = ท่านชี้แนะ ในเรื่องศาสนาฮินดู ด้วยวาทะของท่านและเป็นตัวแทนคณะสงฆ์ โดยเน้นเรื่องความจริง (Real) ในคำสอนของศาสนาฮินดู ว่าคำสอนของศาสนานั้น ถูกต้องเป็นความจริงในการประชุมสร้างศาสนาของโลก และชี้แนะเกี่ยวกับปรัชญา เวทานตะ และได้มีการเผยแพร่หลักสัจธรรมของ ท่าน Swami ท่านมีวัตถุประสงค์ชี้นำให้ปฏิบัติตามอย่างจริงจังในชีวิตประจำวัน พัฒนาจิตใจให้ก้าวหน้าสอนเรื่องศาสนาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ท่านสอนให้คนเป็นนักเสียสละและทำหน้าที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ เน้นขยายแนวคิด เวทานตะ โดยเน้นให้สมาชิกใช้แนวการดำเนินชีวิตของสวามี (Swami) เป็นแบบอย่างชีวิต

    8. เรื่อง Create & Motive Learning

                ท่าน ศ.ดร.จีระ = โดยเฉพาะ ทฤษฏี 5 k’s และทฤษฏี 4 L’s และทฤษฏี 3วงกลม ท่านเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการบริหารความเป็นเลิศของ คน ในองค์กร = Cultivation is Necessary but harvesting is more important การลงทุนในมนุษย์ต้องสามารถเก็บเกี่ยวหรือใช้ความเป็นเลิศของคนในองค์กร ให้สามารถ ก้าวไปข้างหน้าได้ จึงจะเป็นการ “ลงทุนที่ไม่สูญเปล่า ทฤษฏี 3 วงกลมจะเป็นแนวคิดที่ช่วยให้ บริหารคนและเก็บเกี่ยวความเป็นเลิศของคน ให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ(Effective) โดยเฉพาะ เรื่องCompetence ความสามารถของบุคลากร ของผู้นำ (Leader) ต้องสร้างบุคลากรให้ความสามารถ โดยพยายามสร้างทุนตามทฤษฏี 8K’s และ 5 k’s โดยวิเคราะห์จาก Gap Analysis ว่าทักษะ (Skill) และCompetence ความสามารถของบุคลากร ผู้นำ (leader) ต้องสร้างบุคลากรให้ความสามารถโดยพยายามสร้างทุนตามทฤษฏี 8K’s และทฤษฏี 5 k’s โดยวิเคราะห์จาก Gap  Analysis ว่าทักษะ (Skill) และ Competencies ของพนักงาน, บุคลากรในองค์กรขาดอะไร?  ต้องพยายามเติมเต็ม (Fulfill) ช่องว่าง(Gap) โดยพัฒนาศักยภาพ(Potentiality) ทักษะ(Skill) ความสามารถ(Ability)ในการทำงานในการตัดสินใจในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข(Passion + Happiness)

                ท่าน Swami = ชี้แนะเรื่อง สมาชิกของศาสนาต้องทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (คน, สมาชิก, ของศาสนา) สมาชิกต้องเข้าใจศาสนาอย่างแจ่มแจ้ง ท่านเน้น "อบรมสมาชิก" ของศาสนาเป็น "นักเสียสละ"  เพื่อทำหน้าที่สังคมสังเคราะห์ และทำให้นำคำสอนของศาสนานำไปเผยแพร่ในหมู่ประชาชนทั่วไป ให้คนทำตามวัตถุประสงค์ของท่าน

    ข้อ 9. เรื่องการเรียนรู้ของชุมชนสังคม (Community)

                ท่าน ศ.ดร.จีระ = ชี้แนะเรื่องการเป็นสังคมฐานความรู้และเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Base society: KBS) และKnowledge Base Economy: KBE) โดยท่าน ศ.ดร. จีระ เป็น การเรียนรู้และใช้พลังสมอง ของคนในชุมชน องค์กร สังคม นั้น ๆ เพื่อ ขับเคลื่อนความรู้ ระบบเศรษฐกิจการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอยู่บนพื้นฐานความรู้ที่ทั่วถึงกัน และให้ทุกคนเข้าถึงความรู้อย่าง เท่าเทียมกัน เช่น ผ่าน Internet e-mail มีการใช้ข้อมูล (Information) มาใช้ในการ ตัดสินใจ ในชีวิตประจำวันตัดสินใจด้วย ความมีเหตุผล ใช้วิทยาศาสตร์มากกว่า ความเชื่อ หรือ การโฆษณาชวนเชื่อ ท่านเน้นเรื่องความรู้ของชุมชนที่ มีความรู้เพิ่มขึ้น มีการสร้างความรู้ใหม่ ๆ ของชุมชน เพื่อนำมาแก้ปัญหาของชุมชน เช่น ปัญหาน้ำเสีย มีการช่วยกัน ระดมสมอง โดยการแยกขยะไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำคูคลอง โดยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆเป็นไปตาม KBE & KBS และเน้นส่งเสริมให้คนในองค์กร,หน่วยงาน , ชุมชน อ่านหนังสือ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ส่งเสริมการศึกษา การกระจายข้อมูล ข่าวสาร ผ่านสื่อ electronic เช่น  e-Book, e-Library เน้นการเปลี่ยนข้อมูล===> ให้กลายเป็นข่าวสาร ===> ให้กลายเป็นความรู้  ให้เกิดประโยชน์เน้นแก้ปัญหาที่ถูกต้อง (ด้วยปัญญา = Intelligence หรือ Wisdom)

                ท่าน Swami  = ชี้แนะและเน้น ความเชื่อของศาสนา เป็นปรัชญาเวทานตะ เน้นชีวิตนักบวช ให้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ตามวิธีที่ท่านได้ สอนมวลสมาชิก  ตามที่ท่าน อบรม ตามศาสนาของท่านโดยที่ท่าน เห็นว่า สิ่งที่ศาสนาฮินดูสอนนั้น เป็นประโยชน์ต่อมวลชน

    ข้อที่ 10 ระบบคิดเชิงระบบ (System thinking)

                ท่าน ศ.ดร.จีระ  = ท่านชี้แนะ, สอนให้คิดเรื่องมนุษย์ คิดในเชิงระบบ (System) ท่านเรียกว่า สถาปัตยกรรมของทรัพยากรมนุษย์ (HR. Architecture) ให้เห็นภาพรวม (Over All) ของทรัพยากรของมนุษย์ตั้งแต่ เกิดจนกระทั้งตาย โดยภาพ Macro เป็นเรื่อง Supply side (อุปทาน) มองในเรื่องใหญ่ๆเช่น การศึกษา, เรื่องสุขภาพ, เรื่องครอบครัว, เรื่องสื่อต่าง ๆ เป็นเรื่องของประชากรโดยภาพรวมทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันจะชี้แนะเรื่องระบบ Micro ได้แก่เรื่องในองค์กรทั้งภาครัฐ,เอกชน ในลักษณะDemand side เป็นการชี้แนะใน ลักษณะCompetency ของคน การพัฒนาสมรรถนะในการแข่งขัน พัฒนาฝีมือ, พัฒนาอาชีพของบุคลากร,พนักงาน ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อให้เผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงของ โลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม Technology ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ (Economy) การเมือง (Political) เทคโนโลยีสารสนเทศ วัฒนธรรม ซึ่ง “เชื่อมโยงโลกเข้าเป็นหนึ่งเดียว” เชื่อมโยง บุคคล ชุมชน ธุรกิจ รัฐบาล ประชาชน ทั้งโลก ติดต่อกันได้รวดเร็วมาก ส่งผลการเคลื่อนทุน (Capital) ที่สำคัญ ๆ คือมนุษย์ ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากร (น้ำมัน,พลังงาน,แร่ธาตุ) และทุน อำนาจ (อาวุธนิวเคลียร์ กำลังอาวุธ) ส่งผลให้เกิดกระบวนการเศรษฐกิจ “โลกไร้พรมแดน ทำให้ทุนดังกล่าวทะลุทะลวง ข้ามพรมแดนได้อย่างเสรี ผ่าน ระบบ WTO,FTA ดังนั้น ท่าน ศ.ดร.จีระ ให้คนมีระบบคิดที่เป็นระบบ “System” คือ 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ Macro และ Micro

          ท่าน Swami = ชี้แนะ เน้นแนวคิดห้ชี้ชีวิตเพื่อศาสนาและสังคมเป็นนักปฏิรูปศาสนา นักปฏิวัติสังคม ของอินเดีย โดยใช้ศาสนาฮินดู เป็นหลักในการขับเคลื่อนของคนในสังคม พัฒนาศาสนา แนวใหม่เพื่อสังคม ใช้ปรัชญา เวทานตะ ในการแสดงปาฐกถา และเผยแพร่หลักสัจธรรมของท่านโดย พัฒนาจิตใจของคนในศาสนา

         พบเพื่อนใหม่จากภูฎาน ในวันประชุม UN - Thailand ==> S-S-       ICPD  Experience - Sharing Forum วันที่14 - 15 กันยายน                 2552 ===> ประเทศที่ใช้ GNH (Gross Nation Happiness) เป็นดัชนีชี วัดความสุข(Happiness)ของประชาชนในประเทศ                                

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081- 9435033

    ปัญหาทรัพยากรมนุษย์ที่คนไทยไม่ควรเพิกเฉย

          ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังเผชิญสภาพของสังคมแห่งการ เปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลกระทบต่อสังคมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเยาวชนไทย ทั้ง ในสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา และสถาบันสื่อ เนื่องจากสาเหตุโครงสร้างทาง เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป เกิดปัญหาในการสร้างความไม่เป็นธรรม และความเสมอภาคทางสังคม การกระจายรายได้ที่แตกต่างกัน เกิดการขยายตัวตามเมืองใหญ่ ประชาชนละทิ้งถิ่นฐานอพยพเข้าสู่ตัว เมืองในสภาพที่ไม่พร้อม ขาดจิตสำนึกรักท้องถิ่น ซึ่งส่งผลต่อเยาวชนอย่างมาก กล่าวคือ สถาบัน ครอบครัว เกิดสภาพเศรษฐกิจและสังคมกดดันให้พ่อแม่ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูกหรือเลี้ยงดู ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก และการปรับตัวเข้ากับสังคมหรือ สิ่งแวดล้อม ดังที่ พศิน แตงจวง (2548) ได้ฉายภาพของศักยภาพที่แท้จริงของคนไทยและเยาวชนไทยไว้ อย่างน่าสนใจว่า เยาวชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารอย่างชาญ ฉลาดเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ ส่วนผู้ที่หลงใหลบริโภคแต่ไม่รู้จักเลือกใช้ก็จะตกเป็นทาสตลอดไป Google.com กำลังทำการเปิดห้องสมุดในโลกกว้างโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่มีจำนวน หนังสือนับล้าน ๆ เล่มในสหรัฐอเมริกาและจีนเพื่อ Scan หนังสือดังกล่าวลงใน Internet จะทำให้ผู้ใฝ่รู้ สามารถอ่านหนังสือเหล่านั้นได้ทาง Internet ซึ่งหมายความว่าหากคนไทยไม่ได้รับการปลูกฝังให้ชอบ อ่านหนังสือ ไม่ใฝ่หาความรู้ตลอดชีวิตหรือไม่มีศักยภาพในการค้นคว้า อ่านหนังสือภาษาอังกฤษหรือ ภาษาอื่น ๆ คนไทยก็จะล้าหลังจากคนทั่วโลกไปอีก และนี่คืออิทธิพลของ Digital divide ที่เราต้อง ตระหนักให้มาก ผลจากการสำรวจการใช้ Computer, Internet และโทรศัพท์มือถือของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาพบว่า น้อยกว่าร้อยละ 10 ค้นคว้าหาความรู้เนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษจาก Internet โดย ใช้เหตุผลว่า มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษต่ำ แต่ใช้ Internet ในการส่ง E-mail ให้เพื่อนมาก ถึงร้อยละ 70 ส่ง SMS ให้เพื่อน แฟนและเล่นเกมโชว์มากถึงร้อยละ 60 ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่า Computer และ Internet ไม่ได้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เพิ่มเติมแต่ประการใดหากก่อให้เกิด พฤติกรรมฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นอีก (พศิน แตงจวง 2548) ในประเทศไทย ขณะนี้มีเด็กและเยาวชน (อายุต่ำกว่า 25 ปี) ประมาณ 24.3 ล้านคน หรือ ประมาณร้อยละ 28.5 ของประชากรทั้งประเทศ (สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กและเยาวชน ฯ (2548) ได้สรุปสถานการณ์และสภาพปัญหาของเยาวชนไว้ 8 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านสุขภาพกายและจิต ของเยาวชน เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพกายและจิต คือเรื่องเพศสัมพันธ์ในกลุ่มอายุ 15-17 ปี ซึ่ง เป็นไปโดยสมัครใจทั้งชายและหญิง วัยรุ่นหญิงกลุ่มอายุ 13-19 ปี มีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น วัยรุ่นกลุ่มอายุ 15-17 ปี มีการดื่มสุราเพิ่มขึ้น ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้เยาวชนตายด้วยอุบัติเหตุ (2) ด้านการจัดการศึกษา เยาวชนวัย 18-21 ปี มีโอกาสในการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพียง 1 ใน 10 สำหรับ คุณภาพการศึกษา พบว่าระดับเชาว์ปัญญาเฉลี่ยของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ และมี แนวโน้มลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น (3) ด้านครอบครัว ขนาดของครอบครัว พบว่า มีแนวโน้มเล็กลง การจดทะเบียนสมรสลดลง สภาพสังคมปัจจุบันทำให้คาดว่าคนไทยจะแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้น ขณะเดียวกันมี อัตราการหย่าร้างเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาครอบครัวส่วนมากเกิดจากการประพฤตินอกใจ การติดในอบายมุข การใช้ความรุนแรง เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจและอนาคตของเยาวชนทั้งสิ้น (4) ด้านค่านิยม วัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม พบว่า เด็กและเยาวชนไทยถูกเลี้ยงดูภายใต้สภาพแวดล้อมที่ สะดวกสบาย เกิดค่านิยมบริโภคทางวัตถุ ฟุ้งเฟื้อใช้จ่ายเกินตัว วัยรุ่นหญิงจำนวนไม่น้อยไม่มีการรักนวล สงวนตัว (5) ด้านเศรษฐกิจและการมีงานทำของเยาวชน พบว่า เยาวชนอายุ 15-24 ปี ทั้งที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ต้องการทำงานเพื่อให้มีรายได้ (6) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า เด็กและ เยาวชนส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากการจมน้ำ รองลงมาคือสาเหตุจากการดื่มสุรา และปัญหา ความไม่ปลอดภัยที่สำคัญอีกประการคือ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเป็นสาเหตุจากยาเสพติด และการดื่มสุรา การทะเลาะวิวาทและการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา (7) ด้านการมีส่วนร่วมของ เยาวชน พบว่าเยาวชนมีส่วนร่วมในตั้งแต่ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ แต่อย่างไรก็ตาม เยาวชนยังมีปัญหาในด้านโอกาสของการมีส่วนร่วมที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน กระบวนการส่งเสริมการมี ส่วนร่วมยังไม่ต่อเนื่องและไม่เป็นระบบ มีการแสวงหาประโยชน์ทางการเมืองจากการมีส่วนร่วมของเด็ก และเยาวชน ผู้ใหญ่ขาดความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงต่อบทบาทและการมีส่วนร่วมของเด็กและ เยาวชนในการพัฒนาสังคม และ (8) ด้านนันทนาการ พบว่าเด็กในเมืองมีโอกาสและมีอิสระในด้าน นันทนาการน้อยกว่าเด็กในชนบท โดยเด็กในเมืองมีการวิ่งเล่นตามวัยน้อยกว่าเด็กในชนบท คนที่มีอายุ มากกว่า 6 ปีขึ้นไป สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจพบว่า มีสุขนิสัยในการออกกำลังกายเฉลี่ยต่อวัน มากกว่า 30 นาที และมีแนวโน้มสูงขึ้น การใช้เวลาของวัยรุ่นส่วนมากใช้ไปกับการเล่นเกมอินเตอร์เน็ต และฟังเพลง ชอบอยู่กับเพื่อนฝูงมากกว่าครอบครัว ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ และสถานบันเทิง

    นอกจากนั้น จากงานศึกษาวิจัย เรื่อง ความไม่ลงตัวของวัยรุ่น: อนาคตที่ล่อแหลมต่ออันตราย ของวัยรุ่นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ (Youth at Odds: Thai Youth Precarious Futures in a Globalize World, Soonthorndhada, A. et.al,2005) ได้ทำการศึกษาประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านช่วงชีวิตจากวัยเด็ก ไปสู่วัยผู้ใหญ่ในด้านการศึกษา สุขภาพ การทำงาน และการพักผ่อน รวมทั้งผู้ที่มีอิทธิพลในการหล่อ หลอมวัยรุ่นไทย  ข้อค้นพบที่น่าสนใจ 4 ประการคือ (1) วัยรุ่นไทยมีวัฒนธรรมความเสี่ยงอย่างมากมายทั้งด้านเพศ (เช่น การใช้บริการของหญิงขายบริการทางเพศที่มีอยู่มากมายตั้งแต่ร้านคาราโอเกะ ภัตตาคาร ไปจนถึง โรงแรม และการมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนโดยไม่ใช้ถุงยาง) และความเสี่ยงรูปแบบอื่น ๆ (เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ใช้ยาเสพติด หรือเข้าร่วมแก๊งความรุนแรงต่าง ๆ) (2) วัยรุ่นไทยกำลังวิ่งตามกระแสโลกาภิวัตน์ ที่เน้นวัฒนธรรมบริโภคนิยมโดยการใช้เสื้อผ้าของยี่ห้อดัง โทรศัพท์มือถือราคาแพง และรถมอเตอร์ไซด์ โดยได้รับอิทธิพลจากสื่อและเพื่อน ทำให้มีการใช้เงินอย่างไม่รู้ค่า และถูกชักชวนให้ทดลองสิ่งต่าง ๆ หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เสี่ยงต่าง ๆ (เช่น การแข่งรถโดยมีเพื่อนผู้หญิงเป็นเดิมพัน) (3) วัยรุ่น ไทยยังขาดทักษะชีวิต มีการศึกษาต่ำ และขาดโอกาสในการทำงาน ทำให้ยากต่อการประสบความสำเร็จ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์ (เช่น ขาดการรับรู้เรื่องแหล่งทุนการศึกษา ขาดแหล่งงานใน ชนบท ทำให้ต้องย้ายถิ่นเข้ามาหางานทำในเมือง โดยปราศจากเครือข่าย/การสนับสนุนทางสังคม ทำให้ เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ) (4) พ่อแม่ / ครอบครัวและชุมชนยากที่จะสนองตอบความต้องการของวัยรุ่น เนื่องจากขาดทรัพยากร องค์ความรู้ที่จะช่วยให้วัยรุ่นก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ชุมชนไม่มี กิจกรรมที่ให้ทางเลือกแก่เยาวชน เช่น กีฬา ดนตรี ชมรม ทำให้เด็กถูกชักจูงโดยกลุ่มเพื่อนไปตาม กระแสบริโภคนิยมและขาดความใกล้ชิดกับพ่อแม่ ทั้งนี้ ผลการศึกษาจากรายงานการวิจัยครั้งนี้ยังได้ให้ ข้อเสนอแนะดังนี้ (1) การสร้างทุนมนุษย์สามารถทำได้ผ่านการศึกษาทั้งในและนอกระบบ การ เสริมสร้างให้เยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างโอกาสทางสังคมและ เศรษฐกิจให้แก่เยาวชน โดยมีผู้ใหญ่คอยให้การสนับสนุนช่วยเหลือเพื่อสร้างทักษะทางสังคมไปพร้อม ๆ กับการดูแลเอาใจใส่ และการสนับสนุนจากครอบครัวซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภัยอันตรายที่จะมาถึง เยาวชน (2) นโยบายที่จะตอบต่อความต้องการของเยาวชนได้ดีควรมีลักษณะผสมผสานในหลาย ๆ เรื่อง เช่น สุขภาพ กีฬา บันเทิง ข้อมูลโอกาสในการศึกษาและการมีงานทำ รวมทั้งการพัฒนาชุมชน และ (3) นโยบายกิจกรรมที่จะทำควรมุ่งเป้าไปยังคนกลุ่มต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่วัยรุ่นเท่านั้น ควรให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนเยาวชนเพื่อเป็นทุนทางสังคมให้แก่เยาวชนด้วย

     ปัญหาเหล่านี้รอผู้มีปัญญาทั้งหลายผนึกกำลังกันในการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ  ประเทศไทยก็จะมีทรัยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า  ที่สำคัญ  หากใช้ทฤษฎี  8K's  ,  5K's  ,  2R's  ในการแก้ปัญหา  ประเทศก็จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้ 

    ด้วยความเคารพ

    จิราพร  สวัสดิรักษ์

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         พวกเรานักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สาขา Innovative Management และเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์(รวมทั้งคุณเอ้ ผู้ช่วยของอาจารย์จีระ) ได้ร่วมประชุมวางแผนจัดงานสัมมนาหัวข้อเรื่อง "Creative Economy" และการเตรียมพร้อมทั้งภาคการศึกษา เอกชนและภาครัฐ โดยเราวางแผนจะจัดในวันที่ 9/10/2509 นี้และได้แบ่งหน้าที่ต่าง ๆ ให้แต่ละคนร่วมช่วยกันรับผิดชอบ โดยมีทางอาจารย์และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

         และที่ลืมกล่าวถึงไม่ได้เลยก็คือ การสนับสนุน แนะนำ ริเริ่ม ให้กำลังใจจากท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม พวกเราทุกคนจะช่วยกันและพยายามจัดงานให้ได้ถึงแม้จะมีอุปสรรคต่าง ๆ มากมายทุก ๆ ด้าน  และคนที่เป็นตัวเชื่อมและยังยืนยันอย่างมั่นใจที่จะเรียนเชิญท่านนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานในงานนี้ คือน้องทักษิณานันท์(หนูนา) สาวมาดมั่นมหาดไทยของเรา ต้องปรบมือให้จริง ๆ กับความนิ่งและแรงกดดัน ของความคาดหวังจากทุก ๆ ฝ่าย นอกจากนี้พวกเราทั้ง 13 คนก็ได้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และต้องขอบขอบคุณอย่างมากกับความร่วมมือและประสานงานจากคุณเอ้ด้วยนะครับ(พวกเราจะรีบรายงานความคืบหน้าตามมานะครับ)

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    Ph.D.3 SSRU (Innovative Management)

    Image91720092

    Image91720091

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างสูง

              วันนี้ หนูสมศรี นวรัตน์ ขอนำเรียน + ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆชาวBlog ในเนื้อหาในหนังสือชื่อ Getting Things Done :GTD = The Art of Stress-Free Productivity ผู้แต่งคือ David Allen   ซึ่งคุณ  Allen has also written a companion book called Ready for Anything: 52 Productivity Principles for Work and Life

    In Ready for Anything, Allen says that when he has to describe his approach in under a minute, he usually says something like this:

    Get everything out of your head. Make decisions about actions required on stuff when it shows up—not when it blows up. Organize reminders of your projects and the next actions on them in appropriate categories. Keep your system current, complete, and reviewed sufficiently to trust your intuitive choices about what you're doing (and not doing) at any time. (p.16)

    It's that simple! And that difficult! Below are the major components to the GTD system

    Collect Capture everything that you need to concern yourself with in what Allen calls "buckets": a physical in-box, an email in-box, a notebook you take with you, a little tape recorder, etc. Don't try and remember everything!

    When you first start: get a big in-box.

        You can put the thing you need to act on itself in your in-box (a bill, an assignment) or write a note on a single sheet of paper ("change oil in the car"). When you first start, or when you feel like there are lots of things on your mind, sit down and do a "mind sweep" of everything you are concerned about.

    Process Now it's time to empty all those "buckets." Start at the top of the in-box, pick up each item and ask yourself "is there an action I need to take about this item?"If there is no action you need to take, either throw the thing away, file it for reference, or make a note on your "Someday/Maybe" list.If there is an action you need to take, can you do it in two minutes or less? If so, do it now! If not, decide what that next action is, and enter it on your "Next Action" list. If one action won't finish this off, enter the overall goal on your "Project" list.

    Organize Obviously, the cornerstone of this system is lists. Like with your collection buckets, you want to have enough lists to keep everything straight, but not so many that you are never sure what list to use. Here are the basics:

    • Next Action: what is the very next thing you need to do to get your thing done? (E.g., "read chapter 4 and take notes," or "email a copy of my report to Anne for review"
    • Projects : chances are, many of your things will need more than one action to accomplish. Keep track of those multi-action things here. (E.g., "class presentation on Dante," or "write year-end report for boss")
    • Waiting: often we depend on others to help get things done. If you are waiting on something, write it down here, so you don't forget. (E.g. "get back revised version of report from Anne")
    • Someday/Maybe : for when you have a great idea or long-term goal that you just can't make time to work on now. You don't want to forget about it, but you don't want it to clutter up your Projects list.
    • Context-sensitive lists : e.g., "Phone calls," "Errands," etc.
    • Calendar: try and use your calendar just for appointments and other things that have to happen on a particular day/time.
    • Filing: keep a simple, easy to update filing system. Don't let files pile up in a slush pile. Get comfortable with putting a single piece of paper in a folder, labeling it, and filing it away.

    Review  If you don't look at those lists, they won't do you much good now, will they? You'll have to review your Next Action list and your calendar every day (and probably several times a day). Set up an appointment with yourself to do a weekly review, where you process all your in-boxes down to empty, and review all lists to be sure you are on top of things.

    Do!  GTD tends to leave it up to you as to how to decide what needs to be done right now - Allen seems to believe if you have everything laid out in front of you, it will be obvious what needs to be done at any given moment based. on your circumstances (deadlines, how much time you have available, what tools are nearby, how much energy you have, etc.)

    หนูขอยุติแค่นี้ก่อนะคะ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับชาว Blog นะคะ

     สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033.

     

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพอย่างสูง

              วันนี้ หนูสมศรี นวรัตน์ ขอนำเรียน + ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆชาวBlog ประเภทการวิจัย

    การแบ่งประเภทของการวิจัยขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการแบ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ

     1. แบ่งตามการนำผลการวิจัยไปใช้ ซึ่งมี 2 ประเภท คือการวิจัยเชิงทฤษฏีหรือการวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยประยุกต์

    2. แบ่งตามวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล จะมี 4 ประเภทคือ

              - การวิจัยเอกสารหรือการวิจัยห้องสมุด

              - การวิจัยเชิงสำรวจ

              - การวิจัยเชิงทดลอง

              - การวิจัยเชิงสังเกต

    3. แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย จะมี 3 ประเภท

              คือ การวิจัยเชิงบุกเบิก

              การวิจัยเชิงพรรณนา

              และการวิจัยเชิงวิเคราะห์

    ถ้าแบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัย จะมี 2 ประเภท คือ

    การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ

    โดยทั่วๆ ไปมักนิยมแบ่งประเภทของการวิจัยออกตามลักษณะของข้อมูลที่นำมาใช้ เนื่องจากเครื่องมือเชิงสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการวิจัยแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ

     วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

    อาจจะกล่าวได้ว่าเครื่องมือเชิงสถิติส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นวิธีวิเคราะห์สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ” แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพต่างก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียในการนำไปใช้

         ดังนั้น หากงานวิจัยสามารถใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพก็จะทำให้ผลงานวิจัยมีความถูกต้องเชื่อถือได้มากขึ้น กล่าวคือสัดส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรมากกว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ แต่สัดส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพในงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ควรมากกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ยกเว้นงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ค่อนไปทางวิทยาศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นดังนี้

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับ ผู้อ่าน Blog บ้างนะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel 081- 9435033

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างสูง

              วันนี้ หนูสมศรี นวรัตน์ ขอนำเรียน + ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆชาวBlog ในเนื้อหาในหนังสือชื่อ Getting Things Done :GTD = The Art of Stress-Free Productivity ผู้แต่งคือ David Allen   ซึ่งคุณ  Allen has also written a companion book called Ready for Anything: 52 Productivity Principles for Work and Life

    In Ready for Anything, Allen says that when he has to describe his approach in under a minute, he usually says something like this:

    Get everything out of your head. Make decisions about actions required on stuff when it shows up—not when it blows up. Organize reminders of your projects and the next actions on them in appropriate categories. Keep your system current, complete, and reviewed sufficiently to trust your intuitive choices about what you're doing (and not doing) at any time. (p.16)

    It's that simple! And that difficult! Below are the major components to the GTD system

    Collect Capture everything that you need to concern yourself with in what Allen calls "buckets": a physical in-box, an email in-box, a notebook you take with you, a little tape recorder, etc. Don't try and remember everything!

    When you first start: get a big in-box.

        You can put the thing you need to act on itself in your in-box (a bill, an assignment) or write a note on a single sheet of paper ("change oil in the car"). When you first start, or when you feel like there are lots of things on your mind, sit down and do a "mind sweep" of everything you are concerned about.

    Process Now it's time to empty all those "buckets." Start at the top of the in-box, pick up each item and ask yourself "is there an action I need to take about this item?"If there is no action you need to take, either throw the thing away, file it for reference, or make a note on your "Someday/Maybe" list.If there is an action you need to take, can you do it in two minutes or less? If so, do it now! If not, decide what that next action is, and enter it on your "Next Action" list. If one action won't finish this off, enter the overall goal on your "Project" list.

    Organize Obviously, the cornerstone of this system is lists. Like with your collection buckets, you want to have enough lists to keep everything straight, but not so many that you are never sure what list to use. Here are the basics:

    • Next Action: what is the very next thing you need to do to get your thing done? (E.g., "read chapter 4 and take notes," or "email a copy of my report to Anne for review"
    • Projects : chances are, many of your things will need more than one action to accomplish. Keep track of those multi-action things here. (E.g., "class presentation on Dante," or "write year-end report for boss")
    • Waiting: often we depend on others to help get things done. If you are waiting on something, write it down here, so you don't forget. (E.g. "get back revised version of report from Anne")
    • Someday/Maybe : for when you have a great idea or long-term goal that you just can't make time to work on now. You don't want to forget about it, but you don't want it to clutter up your Projects list.
    • Context-sensitive lists : e.g., "Phone calls," "Errands," etc.
    • Calendar: try and use your calendar just for appointments and other things that have to happen on a particular day/time.
    • Filing: keep a simple, easy to update filing system. Don't let files pile up in a slush pile. Get comfortable with putting a single piece of paper in a folder, labeling it, and filing it away.

    Review  If you don't look at those lists, they won't do you much good now, will they? You'll have to review your Next Action list and your calendar every day (and probably several times a day). Set up an appointment with yourself to do a weekly review, where you process all your in-boxes down to empty, and review all lists to be sure you are on top of things.

    Do!  GTD tends to leave it up to you as to how to decide what needs to be done right now - Allen seems to believe if you have everything laid out in front of you, it will be obvious what needs to be done at any given moment based. on your circumstances (deadlines, how much time you have available, what tools are nearby, how much energy you have, etc.)

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

     

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างสูง

              วันนี้ หนูสมศรี นวรัตน์ ขอนำเรียน + ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆชาว Blog ในเนื้อหาในหนังสือชื่อ Getting Things Done: GTD = The Art of Stress-Free Productivity ผู้แต่งคือ David Allen (DA)  ต่อจากBlog ที่แล้วนะคะ โดยวันนี้หนูขอพูด ถึงโครงสร้างของ Getting Things Done (GTD) หนูคิดว่าเนื้อหาในบทนี้ จะเป็น กุญแจนำไปสู่ความสำเร็จของการทำ GTD คือ ทำให้ต้องมั่นใจว่าทุก Input ที่ผ่าน 5 ขั้นตอนนี้เป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จประกอบด้วย

    1. รวบรวมทุก Input ไว้ในที่เดียวกันทั้งหมด

    2. คิดว่า Input นี้คืออะไร?  ต้องทำอะไร == > งานถึงจะสำเร็จได้

    3. จัดการ(Management) == > ทำเลย

    4.ทบทวน(Revive)ว่าต้องทำอะไรก่อน

    5. ทำสิ่งนั้นทันที(Do)

              David Allen ชี้ให้เห็นว่า ==> คนส่วนใหญ่มักเกิดความผิดพลาด ในการเอา GTD ไปใช้ โดยพวกเขาพยายามที่จะทำ ทั้ง 5 ขั้นตอนภายในเวลาเดียวกัน ทำให้เสียความเป็นระบบไป (System)

              ขั้นตอนแรกคือ การรวบรวม สิ่งที่จะทำในชีวิตของเรา ซึ่งก็มีสิ่งที่ต้องทำมากมายซึ่ง ==> David Allen ได้แนะนำให้ลด Input ให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ อย่างเช่นระบบของ David Allen จะแบ่งออกเป็น 2 Inboxes ได้แก่

    1. Physical (กระดาษโน้ต)

    2. e-mail ซึ่งทั้ง 2 อันนี้ เขาจะใช้ในขั้นตอนรวบรวม(Collect)

    ขั้นตอนรวบรวมมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่าง คือ

    1) ทุกInputต้องถูกรวบรวมและเอาออกจากสมองตนเอง ซึ่งจุดนี้สำคัญกับคนที่จำอะไรมาก ๆไม่ค่อยได้ (หนูสมศรี  นวรัตน์..ก็เป็นคะ) ยิ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลา มากเท่าไหร่ ขั้นตอนที่เหลือก็ต้องใช้เวลามากไปด้วย  

    2) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลด Inbox ให้เหลือน้อยที่สุด

     3) โดยที่เราจะต้องCleanสิ่งที่มีใน Inbox ของเราให้ว่างทุกวัน

              หลังจากรวบรวม Input หมดแล้ว เราสามารถเริ่มขั้นตอนการคิด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดได้เลย โดยคำถามแรก ที่เราจะถามทุก Input คือ “มันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือไม่” ถ้าคำตอบคือไม่.... เรามีทางเลือกได้ 3 ทางคือ

    1. สิ่งนั้นคือขยะ ให้ทิ้งไป

    2. เรายังไม่ทำตอนนี้แต่อาจจะทำในอนาคต เก็บสิ่งนั้นไว้ใน Someday/ Maybe List

    3. สิ่งนั้นคือข้อมูล ที่เราอาจจะต้องใช้สิ่งนั้น เก็บไว้เป็นReference

    แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เราจะต้องตัดสินใจว่า

    1. สิ่งนั้นคือ Project ที่เรากำลังทำอยู่

    2. Next Action (NA) ที่เราต้องทำ

      David Allen ให้ความหมายของ “Projects”  ไว้ว่างานอะไรก็ตามทีต้องมีการกระทำมากกว่า 1 อย่าง เพื่อให้งานนั้นสำเร็จ (อย่าเอาไปปนกับความหมายของ Project ที่เราใช้กัน) อย่างเช่น เราจะซื้อคอมเครื่องใหม่ ขั้นแรก เราก็ต้องคิดก่อนว่าจะซื้อมาทำอะไร?  แล้วจึงกำหนด Spec (Specification) ออกมา  หลังจากนั้นจึงกำหนดงบประมาณ เดินดูราคาของแต่ละร้าน เปรียบเทียบว่าร้านไหนคุ้มค่าที่สุด จึงซื้อ จะเห็นว่ามันมีถึง 5 ขั้นตอน (Step) เราจึงให้มันเป็น Project

           Next Action คือ Step ของสิ่งที่จะต้องทำเพื่อที่จะสำเร็จงาน คล้ายกับการเล่นดนตรีที่ค่อย ๆเล่นผ่านจากห้องหนึ่ง ไปยังอีกห้องหนึ่ง เพื่อให้เพลงเล่นและจบได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าเรากระโดดข้ามห้องไป จะทำให้เพลงเสียไป ถ้าเรากระโดดข้ามActionไป งานก็อาจจะไม่สำเร็จได้เช่นเดียวกัน เราจึงจำเป็นต้อง

       1. ทำสิ่งนั้นเลย ถ้างานนั้นทำให้เสร็จได้ภายใน 2 นาที

       2. วานให้คนอื่นทำ ถ้างานนั้นไม่ใช่งานที่เราสามารถทำเองได้

       3. เก็บไว้ก่อนถ้างานนั้นเป็นงานที่เราสามารถทำเองได้ แต่ต้องใช้เวลามากกว่า 2 นาที เก็บมันไว้ใน Next Action Lists หลังจากผ่านขั้นตอนการคิดงานหรือAction ทุกอันจะต้องถูกจัดให้อยู่ที่ใดที่ 1 ใน 8 ที่ดังนี้

              1. Trash หรือถังขยะ สำหรับสิ่งที่เป็นขยะ

              2. Someday/Maybe List สำหรับงานที่เรายังไม่ทำตอนนี้แต่อาจจะทำในอนาคต

              3. Reference File สำหรับเก็บข้อมูล ที่อาจจำเป็นต่อการทำงานของเรา เช่น รายชื่อลูกค้า สลิปบัตรเครดิต เราอาจใช้ระบบอะไรก็ได้ มาจัดเก็บข้อมูลตรงนี้ แต่ที่สำคัญเราต้องเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ ได้เร็วที่สุด เวลาต้องการ

              4. Projects List สำหรับเก็บรายละเอียดงานที่มีAction มากกว่า 1 อย่างซึ่งส่วนนี้ เราควรจะ Review อย่างสม่ำเสมอและบางงาน อาจจะต้องมีข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการทำงานนั้น เราจึงอาจเก็บข้อมูลเหล่านั้น ไว้ในนี้เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายกว่า Reference File

              5. Next Action List สำหรับเก็บงานที่เราจะทำทันที เมื่อทำได้ แบ่งย่อยออกเป็น Context

              6. Waiting for List สำหรับเก็บงานที่เรา วานให้คนอื่นทำให้ ซึ่งเราควรติดต่อกับคนเหล่านั้นเป็นระยะ ๆเพื่อUp- Dateสถานะของงาน

              7. Do It งานที่ใช้เวลาในการทำน้อยกว่า 2 นาทีให้ทำตอนนั้นเลย

              8. Calendarสำหรับเก็บงานที่มีวันหรือเวลาแน่นอนในการทำ ส่วนงานที่ไม่มีวัน / เวลาแน่นอนในการทำควรเก็บไว้ Next Action List

              เมื่อเราจัดการเรียบร้อยแล้ว งานต่อไปคือ การทำมันให้เสร็จ หลังจากทำงานเสร็จ เราควรReview ที่ทำ แล้วปรับปรุงมันห้เหมาะสมกับชีวิตของเรา  David Allen แนะนำว่า เราควรReview ทุกงานที่ทำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากที่สุด ในการนำGTDไปใช้ เพราะการ Review เราต้องไล่ดูทุกงานใน 8 ขั้นตอน ที่ดูว่ามันอยู่ถูกที่หรือไม่ ถ้าไม่ก็ย้ายไปยังที่ ๆเหมาะสมหรืองานไหนที่ทำเสร็จแล้ว ก็เอาออกไปจากระบบ 5 ขั้นตอนนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้ GTD ให้ประสบความสำเร็จ การข้ามบางขั้นตอนไป อาจไม่ทำให้ระบบเสียแต่การละเลยหรือพยายามทำทั้ง 5 ขั้นตอนให้เสร็จพร้อมกัน ภายในทีเดียว อาจทำให้ระบบและชีวิตของเราพังลงได้นะคะ

              หนูสมศรี นวรัตน์  เขียนบทความยาวหน่อยนะคะ หวังว่าเรื่อง Getting Things Done จะเป็นไปตามที่เขาว่าคือ = => The Art of Stress-Free Productivity และเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน Blog นะคะ

     

     

     

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081- 9435033

     

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

    เก็บมาฝากค่ะ นิสัยที่ทำร้ายสมองค่ะ

    1. ไม่กินอาหารเช้า - จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งทำให้สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมในที่สุด

    2. กินมากเกินไป - เส้นเลือดในสมองจะแข็งตัว ทำให้พลังงานในสมองลดลง

    3. สูบบุหรี่ - ทำให้สมองหดตัว และอาจนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์[/color]

    4. กินน้ำตาลมาก - ไม่ได้ทำให้ดุอย่างที่เข้าใจกัน แต่จะทำให้น้ำตาลไปขัดขวางการดูดซับโปรตีนและสารอาหาร ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง

    5. มลภาวะในอากาศ - สมองเป็นอวัยวะที่ต้องการออกซิเจนไปใช้งานมากที่สุดในร่างกาย อากาศที่มีมลภาวะสูงจะลดประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

    6. นอนไม่พอ - การนอนไม่พอนานๆ เร่งให้เซลล์สมองตายเร็วขึ้น

    7. นอนเอาหมอนปิดหน้า - ทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ความเข้มข้นของ CO2 จะมากขึ้น ส่วน O2 ลงลง ทำให้สมองถูกทำลาย

    8. ใช้สมองมากๆ ตอนป่วย - นอกจากประสิทธิภาพของสมองจะลดลงทำให้คิดอะไรไม่ค่อยออกแล้ว การฝืนใช้จะทำให้สมองถูกทำลายไปด้วย

    9. ขาดการกระตุ้นความคิด - การคิดคือการบริหาร (ออกกำลังกาย) สมองที่ดีที่สุด การไม่ค่อยคิดอะไรทำให้สมองหดตัว (ฝ่อ)

    10. ไม่พูดไม่จา - การพูดอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ปะติดปะต่อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง ใครที่ไม่ค่อยพูดคิดว่าเก๊กขรึมแล้วจะเท่ห์ ท่านอาจโง่ลงได้ทุกขณะ

    ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา ปินตา

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

    วันนีคุณนา(สาวมหาดไทย)ของเรากำลังเข้าไปตามเรื่องที่หน้าห้องท่านนายกครับ

    ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนช่วยกันให้กำลังใจเธอนะครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ และพี่ ๆ ทุกท่าน ค่ะ

    สรรหามาฝาก

    "ความสามารถในการแข่งขันของไทย"

    By wiwan

    ในสัปดาห์ก่อน World Economic Forum (WEF) ได้ออกมาแถลงถึงรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ในโลก ซึ่งประเทศไทยได้ตกลงมาจากอันดับที่ 34 ในปีที่แล้วมาเป็นอันดับที่ 36 ในปีนี้

    การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ World Economic Forum ในปีนี้ จัดอันดับรวม 133 ประเทศ โดยดูในปัจจัยต่างๆ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมด้านสถาบัน (หมายถึง โครงสร้างกฎหมายและการบริหารจัดการ) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาค ด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐาน

    กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน ระดับการพัฒนาของตลาดการเงิน ความพร้อมของเทคโนโลยี ขนาดของตลาด (ตลาดใหญ่ทำให้ธุรกิจมีโอกาสขยายได้) และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มนวัตกรรมและระดับการพัฒนา ประกอบด้วย ระดับการพัฒนาของธุรกิจ และด้านนวัตกรรม

    อย่างไรก็ดี เนื่องจากแต่ละด้านก็มีความเกี่ยวโยงกัน ทาง WEF จึงจัดกลุ่มประเทศเป็นสามกลุ่ม และให้น้ำหนักกับปัจจัยไม่เท่ากันในแต่ละกลุ่ม โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ก็จะให้น้ำหนักกลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 60% กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ 35% และกลุ่มนวัตกรรม 5% กลุ่มประเทศที่กำลังเสริมสร้างประสิทธิภาพก็จะให้น้ำหนักกลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 40% กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ 50% และกลุ่มนวัตกรรม 10% ในขณะที่กลุ่มประเทศนวัตกรรม จะให้น้ำหนักคะแนนในกลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 20% กลุ่มเสริมสร้างประสิทธิภาพ 50% และกลุ่มนวัตกรรม 30% เพื่อมิให้เกิดความแตกต่างกันจนเกินไป

    การกำหนดกลุ่มนี้ แยกตามรายได้ต่อหัวของประชากรค่ะ โดยประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์ต่อปี ถือเป็นประเทศในกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มกำลังพัฒนา ไทยเราอยู่กลุ่มที่ 2 ร่วมกันกับมาเลเซีย และจีน คือ มีรายได้ต่อหัวระหว่าง 3,000 ถึง 9,000 ดอลลาร์ต่อปี ส่วนญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ อยู่กลุ่มที่ 3 คือ มีรายได้ต่อหัวมากกว่า 17,000 ดอลลาร์ต่อปี

    จะเห็นว่าการแบ่งกลุ่มจะมีช่องว่างของรายได้ ทั้งนี้ ในระหว่างแต่ละกลุ่ม เขาจัดให้มีกลุ่มที่อยู่ตรงกลาง เรียกว่าอยู่ระหว่างกลุ่มที่ 1 กับ 2 เช่นอินโดนีเซียจะอยู่ในกลุ่มนี้ และกลุ่มที่อยู่ระหว่างกลุ่มที่ 2 กับ 3 เช่นประเทศเม็กซิโก และรัสเซีย

    ในการจัดอันดับรวม ไทยเราได้อันดับที่ 36 โดยมีคะแนนรวม 4.56 เมื่อแยกคะแนนของด้านต่างๆ แล้วพบว่า กลุ่มข้อกำหนดพื้นฐานเราได้ 4.86 คะแนน คิดเป็นอันดับที่ 43 ส่วนกลุ่มเสริมประสิทธิภาพ ไทยเราได้ 4.46 คะแนน คิดเป็นอันดับที่ 40 และกลุ่มนวัตกรรม เราได้ 3.83 คะแนน มาเป็นอันดับที่ 47 รายละเอียดตามตารางด้านล่างค่ะ

    ปัจจัย คะแนน อันดับ

    กลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 4.38 43

    - สภาพแวดล้อมด้านสถาบัน 3.98 60

    - ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4.57 40

    - ด้านนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาค 5.37 22

    - ด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐาน 5.52 61

    กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ 4.46 40

    - การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม 4.27 54

    - ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า 4.46 44

    - ประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน 4.83 25

    - ระดับการพัฒนาของตลาดการเงิน 4.49 49

    - ความพร้อมของเทคโนโลยี 3.71 63

    - ขนาดของตลาด (ตลาดใหญ่ทำให้ธุรกิจมีโอกาสขยายได้) 5.01 21

    กลุ่มนวัตกรรมและระดับการพัฒนา 3.83 47

    - ระดับการพัฒนาของธุรกิจ 4.37 43

    - นวัตกรรม 3.29 57

    ถ้านำคะแนนมาวิเคราะห์ก็จะเห็นว่า สิ่งที่เราได้อันดับดี มีเพียงขนาดของตลาด (ใหญ่) นโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาค และประสิทธิภาพของตลาดแรงงานเท่านั้น นอกนั้นยังถือว่าไม่ดีเท่าที่ควร

    ขอแยกสิ่งที่เราต้องรีบปรับปรุง เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกใช้เงิน ก็จะสามารถทำให้ดีขึ้น คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังที่มีผู้วิจารณ์ในการสัมมนาของยูโรมันนี่ ว่า ไทยแทบจะไม่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นมากนักในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศอื่นๆ จะแซงไทยแล้ว หวังว่าเงินที่จะพัฒนาประเทศจากโครงการไทยเข้มแข็งระยะที่สองจะช่วยลบคำปรามาสนี้นะคะ

    กลุ่มที่สอง ต้องใช้ทั้งเงินทั้งเวลา เพราะการจะทำให้เกิดผลจะต้องใช้เวลา คือ ด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม ความพร้อมของเทคโนโลยี และนวัตกรรม

    และ กลุ่มสุดท้าย ต้องอาศัยเงินและการจัดการ คือ สภาพแวดล้อมด้านสถาบัน (โครงสร้างกฎหมายและการบริหารจัดการ) ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ระดับการพัฒนาของตลาดการเงิน และระดับการพัฒนาของธุรกิจ

    ในฐานะคนไทยที่อยากเห็นประเทศของเรากลับมาเป็นที่กล่าวขวัญของประชาคมโลกในทางที่ดี เป็นแบบอย่างที่ประเทศอื่นอยากดำเนินรอยตาม ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 20 ปีที่แล้ว ขอเรียกร้องให้รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ และคนไทยทุกคน มาช่วยกัน ร่วมมือกัน เพื่อให้เราเป็นประเทศที่สามารถเจริญและเติบโตได้ตามศักยภาพที่แท้จริงของเราเอง ไม่ใช่ต้องมาสะดุดขาตัวเองเพราะการเมืองหรือค่านิยมที่ผิดๆ

    "หากไทยไม่ช่วยไทย ก็แล้วใครจะมาช่วยเรา"

    ที่มา : จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ วันที่ 20 กันยายน 2552

    ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา ปินตา

    ‘ทุนมนุษย์’ ไทยวิกฤติ เร่งสร้างด่วน !! คน‘เก่ง+ดี+มีทักษะ’

    “สังคมไทยในยุคปัจจุบันนั้น เป็นสังคมที่เกิดความสับสน เหลื่อมล้ำ แตกแยก และนำไปสู่ความถดถอย !!” ...เป็นคำกล่าวของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ด้านการจัดการทุนมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และนี่ก็มิใช่คำกล่าวที่เกินเลย เพราะใครต่อใครอีกมากมายในสังคมไทยยาม นี้ ก็กล่าว ก็มีมุมมองทำนองเดียวกันนี้ ปัญหานี้...ด้านหนึ่งเกิดขึ้นเพราะ “วิกฤติทุนมนุษย์” และล่าสุดทางสำนักงาน ก.พ. รับหน้าเสื่อ “กู้วิกฤติ” ทั้งนี้ ดร.สุวิทย์ระบุว่า... ความจำเป็นของการ “พัฒนาทุนมนุษย์” นั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ตระหนักกันนานแล้ว ซึ่งทั่วโลกนั้น “เทรนด์การพัฒนามนุษย์” พัฒนาคนในชาติ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันหมด คือหันกลับมาสู่การ “พัฒนาในเรื่องจิตใจ” โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นส่วนช่วยมากขึ้น ในโลกปัจจุบัน ในยุคสังคมหลังฐานความรู้ มนุษย์เราจะอยู่ในโลก อย่างสมดุลได้จำเป็นต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันขณะเดียวกันก็มีอิสระด้วย ซึ่งค่านิยมของทุนมนุษย์ในยุคใหม่จะต้องมีความ “ใส่ใจและแบ่งปัน”  ปัจจัยของความสำเร็จในโลกยุคสังคมหลักฐานความรู้จะต้องประกอบไป ด้วย ความเชื่อมั่น, ใส่ใจ, แบ่งปัน และทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งที่อยู่ข้างในตัวบุคคลทั้งหมด“แต่เดิมคนไทยเป็นผู้บริโภคความรู้ ต่อไปนี้เราต้องนำเอาความรู้ นั้นออกมาแบ่งปันกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำความรู้ใหม่ที่ได้ ไปต่อยอดความรู้เดิม เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดนี้เราสามารถนำ เอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นปรัชญาสากล มาปรับใช้กับคนได้ทุกระดับเพราะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสอดคล้องกับทิศทางของโลกใน อนาคต” ...ดร.สุวิทย์กล่าว“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญามหามงคลของปวงไทย “พัฒนาทุนมนุษย์” ของประเทศไทย...ก็นำมาปรับใช้ได้ !! การดำเนินการพัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศไทย ก็เป็นเรื่องสำคัญที่สอดคล้องกับทฤษฎีบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคใหม่ ที่มองว่า “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ของไทย ก็ได้เน้นที่การเตรียมความพร้อมของคนไทยเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ขณะที่สำนักงาน ก.พ. ก็ขานรับความจำเป็นเร่งด่วนนี้ เนื่องเพราะทั้งระดับองค์กร สังคม และประเทศชาติ จะสามารถอยู่รอด เติบโต และประสบความสำเร็จ ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้นั้น “มนุษย์” หรือคนในประเทศจะต้องมี “ทุน” ที่เหมาะสม  ในที่นี้หมายถึงมี “ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ ค่านิยม” ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการทำงานให้บรรลุผล เรียกสั้น ๆ ว่า “ทุน มนุษย์” หรือ “Human Capital”

     จิราพร  สวัสดิรักษ์

    จิตสาธารณะ  จากงานเขียนที่มีชื่อว่า “Five Minds for the Future” หรือเรียกสั้น ๆ แต่จำได้ง่าย ๆ ว่า “5 จิต...คิดเพื่ออนาคต” ที่ได้รับการยอมรับจากนักบริหารทั่วโลก มาประยุกต์ใช้ในไทยด้วย   ประกอบไปด้วย...

    1. จิตแห่งวินัย มุ่งมั่นขัดเกลาในทักษะวิชาชีพ ของตนอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง

    2. จิตแห่งการสังเคราะห์ มีความสามารถ รอบตัวและใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและเหมาะสมกับสถานการณ์

    3. จิตแห่งการสร้างสรรค์ มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นสิ่งใหม่ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคมของประเทศ

    4. จิตแห่งความเคารพ เคารพคุณค่าของบุคคลอื่นในสังคม

    5. จิตแห่งคุณธรรม มีบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม เสริมสร้างให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและความสงบสุข ของสังคม “ประเทศชาติเรากำลังต้องการคนเก่งและดี แต่นี่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะนำพาองค์กร สังคม ประเทศชาติ ให้ก้าวไปยืนหยัดได้อย่างมั่นคง ในโลกยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูง คนที่เก่งและดียังจะต้องมีทักษะที่หลากหลายและมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นทุนที่องค์กร สังคม ประเทศชาติ จะต้องสั่งสม ต้องสร้างให้กับคนในชาติ เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปสู่ความ สำเร็จต่อไป”  หลายปัญหาสำคัญของชาติล้วนเกี่ยวพันกับ “วิกฤติทุนมนุษย์”  “พัฒนาทุนมนุษย์”  จึงเป็นอีกภารกิจเร่งด่วนของเมืองไทยที่คนไทยทุกฝ่าย-ทุกคน...จำเป็นต้องใส่ใจ-ร่วมมือกัน

     จิราพร  สวัสดิรักษ์

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    และเพื่อน ๆ ครับ

    การแลกเปลี่ยนความรู้ เมื่อเริ่มต้นก็มีเข้ามาเรื่อย ๆ ผมเลยถือโอกาสส่งบทความดี ๆ มาแบ่งปันกันนะครับ

    ด้วยความเคารพ

    ธนพล ก่อฐานะ

    อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

    (1917-2008)

    นักเขียนชาวอังกฤษผู้มีผลงานนิยายวิทยาศาสตร์และข้อเขียนด้านวิทยาศาสตร์มากมาย เขาพยากรณ์ไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ว่าจะมีการใช้ดาวเทียมในอวกาศรอบโลกเพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร นิยายส่วนใหญ่เผยให้เห็นความสนใจของคลาร์กต่อจักรวาล และเรื่องของเทคโนโลยีกับมนุษย์ นิยายวิทยาศาสตร์ของเขาหลายเรื่องถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ที่รู้จักดี เช่น 2001 : A Space Odyssey และ 2010 : Odyssey II

    It seems only reasonable that

    Our enormous cosmos must be

    Populated with other creatures,

    Some of them more advanced than

    We are.

    Arthur C. Clarke

    มันดูสมเหตุสมผลอย่างยิ่งว่า

    จักรวาลอันกว้างใหญ่ของเรา จะต้อง

    มีสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นอาศัยอยู่ด้วย

    ซึ่งบางอย่าง จะต้องก้าวหน้ากว่า

    มนุษย์เราเสียอีก

     

    อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

    Clarke's first law:

    When a distinguished but elderly scientist

    States that something is possible,

    He is almost certainly right.

    When he states that something is impossible,

    He is every probably wrong.

    Clarke's second law:

    The only way of discovering

    The limits of the possible is

    To try to step beyond them

    Into the impossible.

    Clarke's third law:

    Any sufficiently advanced

    Technology is indistinguishable

    From magic.

     

    Arthur C. Clarke, Three Clarke Law.

    กฎข้อที่หนึ่งของคลาร์ก:

    ถ้านักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่สำคัญคนหนึ่ง

    กล่าวว่า อะไรสักอย่างอาจเป็นไปได้

    ก็จงแน่ใจได้เลยว่า เขาพูดถูก

    แต่ถ้าเขากล่าวว่า มันเป็นไปไม่ได้

    ก็เกือบจะเชื่อได้เลยว่า เขาพูดผิด

    กฎข้อที่สองของคลาร์ก:

    วิธีเดียวที่จะทราบขีดจำกัด

    ของความเป็นไปได้ ก็คือ

    พยายามก้าวไปให้ไกลเกินขีดจำกัดนั้น

    ไปสู่ความเป็นไปไม่ได้

    กฎข้อที่สามของคลาร์ก:

    เทคโนโลยีใดๆ ที่ล้ำยุคเพียงพอ

    ก็จะไม่แตกต่างไปจากความประหลาด

    มหัศจรรย์ ที่เนรมิตรขึ้นมาด้วย

    เวทมนต์คาถา

     

    อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก, กฎสามข้อของคลาร์ก

    It may be that

    The old astrologers had the truth

    Exactly reversed

    When they believed that

    The stars controlled the destinies of men.

    The time may come

    When men control the destinies of the star.

     

    Arthur C. Clarke

    อาจเป็นได้ว่า

    นักโหราศาสตร์โบราณเชื่อ

    ในสิ่งตรงข้ามกับความจริง

    ความเชื่อว่า

    ดวงดาวควบคุมวิถีมนุษย์

    เวลาอาจมาถึง

    เมื่อมนุษย์ควบคุมวิถีชีวิตดวงดาว

     

    อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

    If you've never seen a UFO,

    You're not very observant.

    And if you've seen as many as I have.

    You won't believe in them.

    Arthur C. Clarke

    ถ้าคุณไม่เคยเห็น ยูเอฟโอ

    คุณไม่ใช่คนช่างสังเกต

    และถ้าคุณได้เห็นมากเท่าที่ผมเห็น

    คุณก็จะไม่เชื่อ

     

    อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

    แบ่งปันทางแห่งความสุข  แด่ผู้รักการเรียนรู้

    อาจารย์ให้เบ็ดไว้หลายอัน  ทำให้ศิษย์ตกปลาได้หลายชนิด 

    เส้นทางสู่ความสุขในชีวิต 9 ประการ

    1. จงเป็นตัวของคุณเอง
    อย่าเลียนแบบใคร นั่นแปลว่าเขาก็เป็นเขา คุณก็เป็น คุณ อย่าไปอยากเป็นอย่างคนนั้นคนนี้ เพราะว่ามันเป็นไปไม่ได้ คุณก็ต้องผิดหวังไม่ใช่หรือ

    2. ค้นหาตัวเองให้พบ
    คุณรู้ไหมว่าคุณมีจุดเด่นอะไรในตัวหรือมีจุดบกพร่องอะไรอยู่บ้างจะได้นำจุดเด่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์และแก้ ไขจุดบกพร่องเสียให้ดี แค่นี้คุณก็สบายใจมีความสุข

    3. สร้างนิสัยที่ดีในการทำงาน
    เอาใจใส่งานแสวงหาความรู้เกี่ยวกับงาน ขยันหมั่น เพียรในการทำงาน คุณก็จะเก่งงานทำงานสำเร็จได้ผลดี คุณก็จะมีความสุขความภาคภูมิใจในตัวเอง

    4. พักผ่อนให้เพียงพอ
    เพราะจะทำไห้คุณสุขภาพดี ถ้าร่างกายคุณอ่อนเพลีย มีโรคภัยไข้เจ็บ คุณก็จะไม่มีความสุข ทำงานทำการไม่เต็มที่ อารมณ์ไม่ดีเพราะต้องทนกับความเจ็บป่วย นอกจากการพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว คุณยังต้องหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เลือดลมหมุนเวียนได้ดีอีกต่างหาก

    5. ขจัดความเบื่อหน่าย เครียด วิตกกังวลและความหงุดหงิด
    เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นผลดีกับร่างกายและจิตใจแต่อย่างใด เมื่อจิตใจไม่ปกติก็พาลให้ร่างกายของคุณมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนอีกต่างหาก ถ้าคุณมีความเบื่อหน่ายวิตกกังวลและเครียดอยู่เป็นประจำ คุณอาจจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ โรคหัวใจ และอาจไปถึงโรคมะเร็งก็ได้คนเราเมื่อรู้ว่าอะไรไม่เป็นผลดีกับร่างกายและจิตใจ ก็ควรขจัดไปเสียให้สิ้น ถ้าจะคิด จงคิดแต่ในเรื่องดีงามสร้างสรรค์  ถ้ามองโลกและมองคน ก็จงมองในแง่ดีเพราะจะเป็นประโยชน์กับตัวของคุณเอง และคุณจะสดใสมีผู้คนเป็นมิตรและมีความสัมพันธ์อันดีกับคุณ

    6. จงพอใจงานที่คุณทำและมีความสุขสนุกกับงาน
    ถ้าคนเราเบื่อหน่าย ไม่ชอบ หรือไม่พอใจในงาน ก็จะทำงานนั้นแบบเสียไม่ได้หรือสักแต่ว่าทำพอให้เสร็จๆ ไป ผลงานจะออกมาดีได้อย่างไร แถมในระหว่างที่ทำผู้ทำก็เป็นทุกข์และไม่สนุกกับการทำงานนั้น  แต่งานก็คือชีวิต คนเราจะอยู่ได้อย่างไรถ้าไม่ทำมาหากิน เราจะชอบหรือไม่ชอบงานนั้นก็ตาม แต่มันก็เป็นหนทางเลี้ยงชีพให้มีกินมีใช้มิใช่หรือความชอบหรือไม่ชอบมันอยู่ที่ใจคุณเองต่างหากเล่า

    7.จงสร้างคุณค่ากับชีวิตของคุณเอง
    คุณทำงานเหน็ดเหนื่อย คุณต้องอดทนกับผู้คนรอบข้างและปัญหาทั้งในงานและชีวิตไม่ได้หยุดได้หย่อนคุณ จึงต้องหาทางผ่อนคลายด้วยการทำสิ่งที่คุณชอบเพื่อคุณจะได้มีความสุข อย่างเช่น ชอบปลูกต้นไม้ ชอบอ่านหนังสือ ชอบดูภาพยนต์ ชอบฟังเพลง ฯลฯ อะไรก็ได้ที่ทำให้คุณพอใจและมีความสุข ข้อสำคัญคุณต้องพอใจชีวิตของคุณ ไม่ว่ามันจะอยู่ในสภาพใดก็ตาม

    8. จงคิดแต่ในสิ่งที่ดีงาม
    เพราะจิตใจคุณจะมีความสุขและทำให้คุณปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ง่ายด้วย

    9. รู้จักวิธีจัดการกับการใส่ร้ายป้ายสี
    โลกนี้มีคนที่ชอบนินทาว่าร้ายและวิพากษ์วิจารณ์อย่างป่าเถื่อน จงอย่าใส่ใจ ไม่ต้องแคร์ โดยถือว่าบุคคล  ประเภทนั้นเป็นคนน่าสงสาร ขี้อิจฉา และไร้คุณค่า จึงไม่อยากเห็นใครได้ดี

    ทั้งหมดนี้จะเป็นเส้นทางที่นำคุณสู่ความสุขในชีวิตอย่างสมบูรณ์และตลอดไป

    ด้วยความเคารพ

    จิราพร  สวัสดิรักษ์

    กราบเรียนท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

              วันนี้หนู(สมศรี  นวรัตน์)ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) กับเพื่อน ๆชาว Blogในเรื่อง ทุนทางจริยธรรม (Ethics Capital) หรือจริยธรรมทางการบริหารจัดการในองค์การ (Ethics and Corporate Responsibility) ความหมายความสำคัญของจริยธรรมทางธุรกิจ: ความเกี่ยวข้องของธุรกิจและจริยธรรมกล่าวถึงการประกอบธุรกิจมีวงจรที่ตอบสนองความต้องการของกันและกันระหว่างเจ้าของกิจการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานลูกจ้าง ลูกค้าผู้บริโภคและสังคมสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันทางธุรกิจ เช่น การผลิตสินค้า การขายสินค้า รายได้ ผลกำไร ค่าตอบแทนให้แก่พนักงานลูกจ้าง และความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป หากวงจรนี้เกิดปัญหาขาดความรับผิดชอบจะทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ราบรื่น หยุดชะงัก เสื่อมเสียชื่อเสียงและทำให้ธุรกิจนั้นล้มเหลว ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรปฏิบัติตามแนวทางของธุรกิจที่ดีมีจริยธรรม

              ธุรกิจไม่เพียงแต่ทำตามกฎหมายเท่านั้น ธุรกิจควรจะคำนึงถึงจริยธรรม(Ethics)ในการประกอบการด้วย จริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารธุรกิจ สังคมกำหนดให้ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบทางจริยธรรม หากปราศจากจริยธรรมแล้ว ธุรกิจจะดำเนินไปไม่ได้และทำให้ขาดความเชื่อถือไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป จริยธรรมไม่ใช่กฎหมาย แต่หากธุรกิจดำเนินกิจการอย่างไร้จริยธรรมก็จะมีการกำหนดตัวบทกฎหมายเพื่อใช้ในการควบคุมกำกับดูแลและลงโทษตามความผิด

              ขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม (Area of Corporate Social Responsibility) ประกอบด้วยความรับผิดชอบต่อไปนี้

              1.  ความรับผิดชอบต่อชุมนุมชน (Community) หมายถึง องค์การควรผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นที่ต้องการของชุมนุมชนเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชน และผลิตสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ทำให้ชุมนุมชนเสื่อมโทรมหรือมอมเมาประชาชน

              2.  ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิการของประชาชน (Health and Welfare) หมายถึงองค์การไม่ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การผลิตสุรา หรือบุหรี่ ควรมีคำเตือนผู้บริโภค เช่น บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ในประเทศไต้หวัน ใช้คำเตือนข้างซองบุหรี่ว่า (Please don’ t smoke too  much)หรือบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

              3.  ความรับผิดชอบด้านการศึกษา (Education) เช่น ให้ทุนบุตรพนักงาน หมายถึงการให้การศึกษาหรือการให้ความรู้แก่ประชาชนในการใช้สินค้า หรือใช้บริการนั้น

              4.  ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง ความรับผิดชอบบุคคลที่ต้องการแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนต่อสินค้าหรือบริการให้สามารถทำได้

              5.  ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ความรับผิดชอบในการมาทำให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ปล่อยมลพิษจากโรงงาน ไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือไม่ปล่อยสารเคมีเป็นพาออกมาจากกระบวนการผลิต

              6.  ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค (Consumer) หมายถึง รับผิดชอบต่อการอุปโภคบริโภคของลูกค้า การรับคืนสินค้าที่ด้อยคุณภาพ การรับประกันคุณภาพตามที่กล่าวอ้าง

              7.  ความรับผิดชอบต่อวัฒนธรรม (Culture) หมายถึง การผลิตสินค้าที่คำนึงถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้น หรือคำนึงถึงข้อกำหนดทางศาสนา

              หนูสมศรี นวรัตน์ เขียนมายาวพอสมควร หนูขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ

           โรงพยาบาลบ้านลาดได้รับโอกาส ทูลเกล้าถวายงานเรื่อง "ถุงยาพาสุขภาพดี" สำหรับผู้ป่วยสูงอายุและเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ถุงยาพาสุขภาพดี ทำจากผ้าดิบ ช่วยลดภาวะโลกร้อน ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ป่วย "จำ" ถุงยาของตนเองได้ โอกาสเกิดความเสี่ยง(Risk)ในการหยิบถุงยาคนอื่น ๆมาผิดๆ ก็มีโอกาสเกิดน้อยลง ความเสี่ยงต่อการกินยาผิด หยิบยาผิด ก็มีน้อยลงนะคะ

          คิดว่าสิ่งเล็ก ๆน้อย ๆเหล่านี้คือการรับผิดชอบต่อผู้ป่วย/สังคมด้วยนะคะ

    ทฤษฎี 8 K (Capital) ทุนที่สำคัญ 8 ทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมร์

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

    อิรักจะเป็นมหาอำนาจด้านน้ำมันได้อีกหรือไม่?

    โดย Stanley Reed

    ข้อตกลงกับ BP ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของอิรัก ซึ่งอาจทำให้ประเทศนี้เทียบชั้นได้กับประเทศซาอุดิอาระเบีย

               

                การประมูลสิทธิ์ในการพัฒนาบ่อน้ำมันและก๊าซในอิรักที่จัดขึ้นในกรุง Baghdad ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาได้ผลน่าผิดหวัง โดยจาก 8 บ่อมีเพียงบ่อเดียวเท่านั้นที่มีผู้ชนะประมูลไป

                    แต่บ่อเดียวนั้น คือ Rumaila นั้นมหาศาลอย่างยิ่ง โดยตอนนี้สามารถผลิตน้ำมันได้ 960,000 บาร์เรลต่อวัน จากคำบอกเล่าของ Tony Hayward ซีอีโอของ BP ว่าเป็นบ่อน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกและยังมีน้ำมันอีก 6.5 หมื่นล้านบาร์เรล ที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ โดย BP ได้ร่วมกับบริษัท CNPC ของประเทศจีนในการชนะประมูลครั้งนี้และหวังว่าจะเพิ่มการผลิตของบ่อ Rumaila ขึ้น 3 เท่าภายใน 6 ปี

                    ขณะที่ยังไม่มีอะไรชัดเจน แต่การกระตุ้นการผลิตเช่นนั้นอาจทำให้อิรักหลุดจากกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายเล็ก และเริ่มกำลังการผลิตมหาศาล โดยอิรักมีเป้าหมายระยะยาวคือ การผลิตน้ำมันให้ได้ 6 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งจะทำให้อิรักเป็นรองเพียงแค่ประเทศซาอุดิอาระเบียในกลุ่ม OPEC

                    อิรักได้รับการจับตามองอย่างกว้างขวางว่าเป็นประเทศเดียวที่สามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านอย่างซาอุดิอาระเบียได้ Alex Munton นักวิเคราะห์จากบริษัทที่ปรึกษา Wood Mackenzie ใน Edinburgh คาดการณ์ว่ามีน้ำมันมากถึง 3 แสนล้านบาร์เรลอยู่ในอิรัก “พิจารณาจากที่ขาดการสำรวจ...ผมคิดว่ามันเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ในแง่กำลังการผลิตสูงสุด ซึ่งที่สุดแล้วอิรักอาจจะมี” เขากล่าวโดยปัจจุบันปริมาณน้ำมันสำรองของอิรักอยู่ที่ 1.15 แสนล้าน บาร์เรล ขณะที่ซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ 2.64 แสนล้านบาร์เรล

                    การที่อิรักจะผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้นแม้ว่าจะในอีกหลายปีข้างหน้าก็ตาม อาจทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันของโลกเปลี่ยนแปลงไป อาจเป็นการเปิดประตูรับบริษัทน้ำมันรายใหญ่ให้เข้ามาสู่ดินแดนรอบอ่าว ที่ปัจจุบันส่วนใหญ่ถูกห้ามเข้าซาอุดิอาระเบีย อิหร่านและคูเวต หากอิรักบรรลุข้อตกลงมากขึ้นและทำได้ดีเสียด้วย อิรักก็อาจบรรเทาทัศนคติที่มีการลงทุนจากต่างประเทศในกลุ่ม OPEC ได้ และภาวะขาดแคลนน้ำมันที่นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่าจะมาถึงในอีก 20 ปีข้างหน้า ก็อาจตกไป

                    แน่นอนว่ามีอุปสรรคสำคัญอยู่ ปริมาณการผลิตของอิรักนับตั้งแต่ประธานาธิบดี Saddam Hussein ถูกโค่นจากตำแหน่งในปี 2003 นั้นน้อยลงอย่างเป็นที่เข้าใจได้ ปริมาณการผลิตปัจจุบันที่ 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นตัวเลขที่ลดลงเล็กน้อยจากช่วงดังกล่าวและรัฐบาลก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับต่างชาติ ซึ่งจำเป็นต่อการพลิกฟื้นอุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศ

                    การประมูลครั้งล่าสุดก็ไม่ได้ช่วยสยบข้อสงสัยทั้งหลายได้เลย ด้วยความระมัดระวังไม่ให้ถูกมองว่ากระตือรือร้นจนเกินไป หรือมีการทุจริต Hussein Al-Shahristani รัฐมนตรีน้ำมันของอิรัก จึงวางตัวแบบไม่ยอมลดราวาศอกแต่โปร่งใส ซึ่งก็บรรลุเป้าหมาย แต่ทำให้เกิดคำถามว่าอิรักจะหาการลงทุนและเทคโนโลยีได้จากที่ไหน “เราตั้งเงื่อนไขที่ยากกับบริษัทน้ำมันต่างชาติ แต่ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับชาวอิรักทั้งหลายว่าเราได้ปกป้องรายได้จากน้ำมันของอิรัก” Al-Shahristani กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังการประมูล

                    เงื่อนไขสุดหินดังกล่าวจึงเป็นการอธิบายว่าเป็นเพราะเหตุใดบ่อน้ำมันอีก 7 แห่งถึงหาผู้ประมูลไปไม่ได้ เพราะการที่อิรักยอมจ่ายค่าธรรมเนียมต่อบาร์เรลสำหรับน้ำมันที่ผลิตได้เกินปริมาณที่กำหนดเอาไว้ในอัตราต่ำจนทำให้บริษัทน้ำมันไม่คิดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนในระดับที่ยอมรับได้ และ Al-Shahristani ก็ไม่ยอมประนีประนอมบริษัทอื่นๆ  นอกเหนือจากกลุ่มของ BP จึงถอนตัว ในการประมูล ณ กรุง Baghdad นั้น Rumaila เป็นบ่อน้ำมันแรกที่นำออกประมูล และ BP ก็ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว โดยอิรักแสดงอย่างชัดเจนว่าพวกเขาไม่มีทางจ่ายมากไปกว่า 2 เหรียญต่อบาร์เรลสำหรับการผลิตเพิ่มเติมที่ BP ทำได้ ในขณะที่ BP เรียกราคา 3.99 เหรียญ การต่อรองราคาแบบนี้ “โดยปกติแล้วจะทำกันแบบไม่เปิดเผย” Hayward ซีอีโอของ BP กล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม จากนั้น ผู้บริหารของ BP จึงตระหนักว่าพวกเขาเป็นผู้เดียวที่ทำข้อตกลง (ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป)

                    หลังใช้เวลาสุดสัปดาห์เช็คตัวเลขดูแล้ว BP ก็พอใจ บ่อนี้จะทำให้บริษัท “มีการปฏิบัติงานในตะวันออกกลางด้วยการทำงานในบ่อน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของอิรัก” Andy Inglis หัวหน้าฝ่ายสำรวจและการผลิตของ BP กล่าวในการสัมภาษณ์ และผู้บริหารของ BP ก็หวังเช่นเดียวกันว่า Rumaila จะทำให้ BP ได้รับประโยชน์ในฐานะผู้บุกเบิกรายแรก ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีบทบาทมากขึ้นในอิรัก

                    ผู้เชี่ยวชาญของ BP คิดว่าพวกเขารู้จักบ่อ Rumaila เป็นอย่างดี โดย BP พัฒนาบ่อนี้ในปี 1950 และทำงานร่วมกับอิรักในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การร่วมมือกับ CNPC ก็ทำให้บริษัทได้แท่นขุดเจาะน้ำมันและอุปกรณ์ที่ผลิตในจีนราคาถูกเป็นพิเศษ โดยการลงทุนในครั้งนี้รัฐวิสาหกิจของอิรักจะถือหุ้น 25% ที่เหลือจะแบ่งกันระหว่าง BP และ CNPC ในสัดส่วน 75 % และ 25% ตามลำดับ

    ผลตอบแทนปานกลาง

                    แต่การทำงานในอิรักก็มีความเสี่ยงอย่างมากรวมถึงความปลอดภัยและความไม่แน่นอนทางการเมืองด้วย โดยชาวอิรักจำนวนมากซึ่งในกลุ่มนั้นมีคนงานขุดเจาะน้ำมันและเจ้าหน้าที่รัฐบาลส่วนไม่ต้องการให้บริษัทน้ำมันต่างชาติมาทำงานในบ่อน้ำมันของพวกเขา BP และ CNPC จึงต้องผ่อนคลายความไม่พอใจเพื่อทำเป้าหมายของตนให้สำเร็จ รวมถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่จะจัดขึ้นในเดือนมกราคม ก็อาจจะทำให้โครงการน้ำมันในอิรักล่าช้ามากขึ้น และมีความไม่แน่นอน

                    ด้วยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ผลตอบแทนสำหรับ BP และ CNPC อาจไม่มากอย่างที่คิด โดยข้อตกลงของ BP เป็นสัญญาให้บริการ และเงิน 2 เหรียญที่ได้ทุกๆ บาร์เรลที่ผลิตได้ระดับการผลิตในปัจจุบันก็ไม่ได้มากมายนัก โดยกลุ่ม ExxonMobil และ Petronas ของ Malaysia เสนอเป้าการผลิตที่ 3.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ BP เสนอ 2.85 ล้านบาร์เรล แต่กลุ่มดังกล่าวก็ถอนตัวเพราะเงื่อนไขที่เข้มงวดของอิรัก

                    ความเข้มงวดของเงื่อนไขนั้น Wood Mackenzie ประเมินว่าค่าธรรมเนียมของกลุ่ม BP มีมูลค่าเพียง 1% ของรายได้ทั้งหมดของโครงการนี้ ที่คาดว่าจะเป็น 1.2 ล้านล้านเหรียญ และ Wood Mackenzie คาดว่ามูลค่าของข้อตกลงของกลุ่ม Bp อยุ่ที่ 3 พันล้านเหรียญ “นั่นเป็นเงินที่ค่อนข้างน้อยสำหรับบ่อน้ำมันซึ่งคาดว่าน่าจะผลิตได้อย่างน้อย 1.6 หมื่นล้านบาร์เรล” แต่ BP ชี้ว่าข้อตกลงที่ทำกับ Rumaila ไม่ต่างไปจากที่พวกเขาได้ในที่อื่นๆ ในตะวันออกกลางยกตัวอย่างเช่น Abu Dhabi ซึ่ง BP ได้เงินเพียง 1 เหรียญต่อบาร์เรล

                    การประมูลที่ Baghdad ซึ่งจะมีอีกครั้งในเดือนธันวาคม จะมีบ่อน้ำมันที่มีปริมาณน้ำมันสำรองราว 3.5 หมื่นล้านบาร์เรลออกประมูล แต่อิรักต้องคิดให้ดีว่าต้องการเดินหน้าโครงการน้ำมันและก๊าซหรือไม่ แต่ Al-Shahristani มีปัจจัยที่หลักสนับสนุนเขานั่นคือ บริษัทน้ำมันต่างชาติ ซึ่งอยากได้บ่อน้ำมันแม้เพียงเสี้ยวเดียวที่อิรักนำออกประมูล ก็ยังคงสนใจกันอยู่

     

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU  Mobile: 081-661-1701

    กราบเรียนท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

              วันนี้หนู(สมศรี  นวรัตน์)ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) กับเพื่อน ๆชาวBlog ในเรื่อง ทุนทางจริยธรรม (Ethics Capital) หรือจริยธรรมทางการบริหารจัดการในองค์การ (Ethics and Corporate Responsibility) เนื้อหาต่อจากเมื่อวานนะคะ

            องค์การบางแห่งได้ให้การสนับสนุนต่อจริยธรรมของธุรกิจในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดังนี้ 

            1.  ธุรกิจไม่ควรหลีกเลี่ยงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม Business is unavoidably involved in social issues เพราะองค์การต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากองค์การปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่สนใจปัญหาสังคม เช่น การเลิกจ้าง อัตราเงินเฟ้อ หรือมลภาวะ ฯลฯ

            2.  ธุรกิจควรรักษาทรัพยากรทางการบริหารไว้ในสภาพความสลับซับซ้อนของปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้น เช่น ทางด้านการเงิน ด้านทรัพยากรทางการบริหารต่าง ๆ องค์กรมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาสังคม

            3.  การมีสังคมที่ดีช่วยให้สภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจดีไปด้วย จะทำให้องค์การได้รับผลกำไรในระยะยาวจากการลงทุนเพราะได้มีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อสังคมในวันนี้ ทำให้ได้รับผลสะท้อนกลับในอนาคตข้างหน้า

            4.  การมีส่วนร่วมในสังคมเป็นเครื่องช่วยป้องกันข้อจำกัดต่าง ๆ จากทางหน่วยงานของรัฐทำให้องค์การไม่ถูกกดดันหรือบังคับจากหน่วยงานของรัฐเพราะองค์การสมัครรักษาจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

    บทบาทของนักธุรกิจเกี่ยวข้องกับจริยธรรมต่อบุคคลต่อไปนี้

    1.  จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อลูกค้า ประกอบด้วย

            1) พึงขายสินค้าและบริการในราคายุติธรรม กำไรตามสัดส่วนที่เหมาะสมไม่ค้ากำไรเกินควร

            2)พึงขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกันไว้

            3)พึงดูแลลุกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจข้อร้องเรียนของลูกค้า

            4)พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามข้อต่อรอง

            5)พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีดีงาม

    2.  จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อคู่แข่งขัน ประกอบด้วย

            1)พึงละเว้นการกลั่นแกล้งให้ร้ายป้ายสี ขายตัดราคา แย่งลูกค้า

            2)  พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน ให้ข้อมูลสินค้าในทางที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์

            3)  พึงต่อสู้ด้วยวิถีทางสันติ วิถีทางธุรกิจที่ไม่มุ่งทำลายซึ่งกันและกัน

    3.  จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย

            1)  ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมไม่หลีกเลี่ยงการกระทำที่กำหนดไว้

            2)  ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย จัดทำบัญชี และเสียภาษีอย่างถูกต้อง

            3)  ละเว้นการติดสินบนเจ้าพนักงานเพื่ออำนวยความสะดวก หรือหลีกเลี่ยง

            4)  ละเว้นการให้ความร่วมมือสนับสนุนข้าราชการที่มีเจตนาทุจริต

            5)  ละเว้นการให้ของขวัญของกำนัลแก่เจ้าพนักงานของรัฐ

            6)  พึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของราชการ

            7)  พึงมีทัศนะคติที่ดีต่อหน่วยงานราชการและสร้างศรัทธาต่อประชาชน

    4.  จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อพนักงาน ประกอบด้วย

            1)พึงให้ค่าจ้างค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น ธุรกิจดีขึ้น

            2)พึงเอาใจใส่ในสวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย

            3)พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ

            4)ยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

            5)พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน

            6)พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน

            7)พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย

            8) พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ

            9) พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี

    ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อพนักงานลูกจ้างจะต้องมีจริยธรรมต่อพนักงานในด้านต่าง ๆ สำคัญ 3 ด้าน ดังนี้

    1.  ความรับผิดชอบด้านการจ้างงาน (Employment) ทำได้โดยการที่นายจ้างกำหนดค่าตอบแทนในการทำงานให้เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด เหมาะสมกับความรู้ความสามารถที่ใช้ในการทำงาน การคุ้มครองการจ้างงานที่สร้างความมั่นคงในการทำงาน ไม่เลิกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันควร หากมีการเลิกจ้างจะต้องจ่ายค่าทดแทนการเลิกจ้าง รวมทั้งการพัฒนาความสามารถของพนักงาน เช่น การฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการทำงาน

    2.  ความรับผิดชอบด้านสภาพการทำงาน (Work Condition) หมายถึง การเอาใจใส่ต่อสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ อันอาจเกิดขึ้นกับพนักงานได้ รวมทั้งการจัดหาเครื่องป้องกันอันตราย เช่น หมวกนิรภัย ถุงมือ เครื่องป้องกันเสียง เครื่องป้องกันดวงตา การจัดอุปกรณ์ดับเพลิง มาตรการป้องกันอัคคีภัย และจัดหาเครื่องมือป้องกัน การจัดให้มีห้องปฐมพยาบาลในการรักษาเบื้องต้น การจัดหาห้องพักให้ การจัดให้มีประกันสังคม การประกันอุบัติเหตุ การตรวจสุขภาพ

    3.  ความรับผิดชอบด้านสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน (Human Right) ในการแสดงความคิดเห็น ในการดำเนินชีวิต การรวมกลุ่มกันของพนักงาน เป็นสหภาพแรงงานในการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งการเคารพและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะของพนักงาน

    5.  จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

       จริยธรรมของผู้ประกอบการต่อสังคมมีดังต่อไปนี้

            1.  ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อม นำความเดือดร้อนมาสู่สังคม ทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม เช่น การเปิดสถานอบายมุขแหล่งมั่วสุม ค้าประเวณี การพนัน รับซื้อของโจร

            2.  พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดระบบบำบัดน้ำเสีย สารเคมีไอระเหย กลิ่นเหม็น วัตถุมีพิษอันตราย อัคคีภัย

            3.  พึงเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ไม่ลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับอนุญาต

            4.  พึงให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม

    แนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าที่ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบ ดังนี้

    1.  หน้าที่ในการยินยอม (The Duty to Comply) หมายถึงองค์การธุรกิจจะต้องยินยอมให้มีการแสดงออกอย่างชัดแจ้งในเรื่องผลิตภัณฑ์ให้รายละเอียด คุณสมบัติที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ เพราะผู้ซื้อจะได้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องหน้าที่ในการยินยอมประกอบด้วย

            1.1  ความเชื่อถือได้ (Reliability) หมายถึง การแสดงให้ความรู้ว่าสินค้ามีคุณสมบัติอย่างนั้นจริง ๆ มีความปลอดภัย มีคุณภาพที่น่าเชื่อถือได้จริง

            1.2  อายุของบริการ (Service Life) หมายถึง อายุการใช้งานของสินค้า อายุการรับประกัน

            1.3  การดูแลรักษา (Maintainability) หมายถึง การบำรุงรักษาขณะใช้งาน ภายหลังการใช้งาน วิธีการซ่อมแซม

            1.4  ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์(Product Safety) หมายถึง การนำไปใช้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย อาการแพ้ ไม่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อหรืออาการบาดเจ็บ

    2.  หน้าที่ในการเปิดเผย (The Duty of Disclosure) หมายถึงการบอกความจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โดยไม่ปิดบังอำพราง บอกให้ทราบถึงความเสี่ยง

    3. หน้าที่ในการไม่ปิดเบียน (The Duty Not to Misrepresent) หมายถึง การไม่หลอกลวงถึงสรรพคุณของสินค้านั้นโดยเป็นการกล่าวไม่จริงถึงคุณภาพ ชื่อเสียง ตราสินค้า ที่ทำให้ผู้บริโภคสับสน

    4.หน้าที่ในการไม่บังคับ (The Duty Not to Coerce) หมายถึง การให้อิสระแก่ลูกค้าในการติดสินใจซื้อด้วยตนเอง ไม่บีบบังคับหรือใช้ความกดดันทางอารมณ์ทำให้ผู้ซื้อเกิดความกลัวหรือจำเป็นต้องซื้อสินค้านั้นเพราะถูกบังคับหรือชี้นำ

    วันนี้ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับชาวBlogนะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    พวกเราเริ่มประชาสัมพันธ์ และรายละเอียดข้างล่างนี้จัดทำโดยอาจารย์รัชศักดิ์ สารนอกและเพื่อน ๆ ช่วยกันทำครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    Ph.D.3 SSRU (Innovative Management)

    กำหนดการสัมมนาวิชาการ

    เรื่อง “ยุทธศาสตร์ประเทศไทย: เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy”

    วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552 เวลา 09.00-12.00 น.

    ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    *********************************

    ด้วยนักศึกษาโครงการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต รุ่นที่ 3 สาขาวิชานวัตกรรมและการจัดการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มีจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการที่ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น ทางหน่วยงานจึงจะจัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ยุทธศาสตร์ประเทศไทย: เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy” ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

     

    กำหนดการ

    วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552

    08.30-09.00 น.                    - ลงทะเบียน

                    09.00-12.00 น.                    - พิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ

                                                                            ประธานในพิธีและกล่าวปาฏกฐา

                                                                                    นายอลงกรณ์ พลบุตร

    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

                                                                             กล่าวรายงานการสัมมนา

                                                                                    รองศาสตราจารย์ ดร. ช่วงโชติ พันธุเวช

    อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

                                                                    - การดำเนินการสัมมนา โดย            

    ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                

                                                                                    ดร.สุเมธ แย้มนุ่น

    ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

    ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ   

     

    สถานที่

    ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    *****************************

    แบบตอบรับการเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ

    เรื่อง “ยุทธศาสตร์ประเทศไทย: เพื่อก้าวสู่ Creative Economy”

    วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552

    ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

     

     

     

    1.  ชื่อ-นามสกุล                                                                                                   ตำแหน่ง                                               

         ชื่อ-ที่อยู่ สถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน                                                                                                              

                                                                                                                                                                                                   

          หมายเลขโทรศัพท์                                                        โทรสาร                                                                                

          E-mail address                                                                                                                                                              

    2.  ชื่อ-นามสกุล                                                                                                   ตำแหน่ง                                               

         ชื่อ-ที่อยู่ สถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน                                                                                                              

                                                                                                                                                                                                   

          หมายเลขโทรศัพท์                                                        โทรสาร                                                                                

          E-mail address                                                                                                                                                              

     

    หมายเหตุ             กรุณาส่งแบบตอบรับเพื่อสำรองที่นั่ง ภายในวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2552

    ทางหมายเลขโทรสาร 0-2244-8907, 0-2160-1440

    หรือ E-Mail : [email protected]

    โทรศัพท์  0-2241-8527 ติดต่อ คุณจารึก, คุณจิราภรณ์

     

    กำหนดการสัมมนาวิชาการ

    เรื่อง “ยุทธศาสตร์ประเทศไทย: เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy”

    วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552 เวลา 09.00-12.00 น.

    ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    *********************************

    ด้วยนักศึกษาโครงการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต รุ่นที่ 3 สาขาวิชานวัตกรรมและการจัดการ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มีจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการที่ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น ทางหน่วยงานจึงจะจัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ยุทธศาสตร์ประเทศไทย: เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy” ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

     

    กำหนดการ

    วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552 

    08.30-09.00 น.                    - ลงทะเบียน

    09.00-12.00 น.                    - พิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ

                                              ประธานในพิธีและกล่าวปาฏกฐา

                                               นายอลงกรณ์ พลบุตร

                                               รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

                                              กล่าวรายงานการสัมมนา

                                              รองศาสตราจารย์ ดร. ช่วงโชติ พันธุเวช

                                              อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

                                             - การดำเนินการสัมมนา โดย            

                                              ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                

                                              ดร.สุเมธ แย้มนุ่น

                                               ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

                                                ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ   

     

                                               สถานที่

    ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    *****************************

    แบบตอบรับการเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ

    เรื่อง “ยุทธศาสตร์ประเทศไทย: เพื่อก้าวสู่ Creative Economy”

    วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552

    ณ ห้องประชุมช่อแก้ว ชั้น 5 อาคาร 31 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

     

     

     

    1.  ชื่อ-นามสกุล                                                                                                   ตำแหน่ง                                               

         ชื่อ-ที่อยู่ สถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน                                                                                                              

                                                                                                                                                                                                   

          หมายเลขโทรศัพท์                                                        โทรสาร                                                                                

          E-mail address                                                                                                                                                              

    2.  ชื่อ-นามสกุล                                                                                                   ตำแหน่ง                                               

         ชื่อ-ที่อยู่ สถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน                                                                                                              

                                                                                                                                                                                                   

          หมายเลขโทรศัพท์                                                        โทรสาร                                                                                

          E-mail address                                                                                                                                                              

     

    หมายเหตุ             กรุณาส่งแบบตอบรับเพื่อสำรองที่นั่ง ภายในวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2552

    ทางหมายเลขโทรสาร 0-2244-8907, 0-2160-1440

    หรือ E-Mail : [email protected]

    โทรศัพท์  0-2241-8527 ติดต่อ คุณจารึก, คุณจิราภรณ์

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    พวกเราทุก ๆ คนมีการพัฒนาขึ้นอย่างมากมาย ถ้าเปรียบเทียบกับวันแรกที่เราได้พบกับท่านอาจารย์ และพวกเราก็พร้อมที่จะมีส่วนร่วมที่จะช่วยกันพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีการพัมนาการที่ดีขึ้น และก็ต้องขอขอบพระคุรท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ให้โอกาส ให้เวลา ให้การเอาใจใส่ ให้ความรู้ และให้พวกเราได้มีส่วนร่วมในการทำงาน พวกเราจะช่วยกันพยายามทำให้ดีที่สุดให้สมกับความไว้วางใจที่ท่านอาจารย์มอบให้ครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    Ph.D.3 SSRU

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ขอให้ท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ และมีความสุขครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

     

                    จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผ่านมา 15 สัปดาห์ มันเร็วมากได้อะไรเป็นคำถามที่ต้องตอบ สิ่งที่ได้คงเขียนตอบไม่หมดเพราะบางอย่างมันเป็นอะไรที่เราเองก็ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือได้ ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่าคุณค่าทางจิตใจที่ไม่สามารถวัดหรือประมาณค่าได้ แต่ที่สามารถตอบเป็นตัวหนังสือได้คงจะมีดังนี้

    เคยสงสัยว่าทำไมอาจารย์ต้อง

    ได้คำตอบว่า

    รู้จัก HR Architecture

    รู้ตั้งแต่ระดับ micro ถึง macro

    ส่งงานทาง blog

    Digital capital

    ติดตามดูว่าอาจารย์ทำอะไรตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา

     

    Example experience education environment evaluation(5E’s)

    มาคุยกันตอนเช้าก่อนเรียนจริง

    Share idea

    ให้เปรียบเทียบทฤษฎี และศาสตร์ต่างๆ

    synthesis

    ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันรอบโลก

    Reality  relevant

    ไปเรียนในที่ต่างๆ นอกห้องเรียน

    4L’s

    เวลาไปต้องมีธงแสดงตนว่าเรียน Ph.D

    มีความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง

    ให้อ่านหนังสือใหม่ๆเกือบทุกอาทิตย์

    Learning Culture

    ชอบให้อ่านบทความแล้ววิเคราะห์และapplied

    analysis

    มีการบ้านทุกครั้งถึงแม้ว่าไม่ได้มาสอนเอง

    Continuous

    ต้องคิดเป็นแบบ hypothesis

    thesis Culture

    ไปสมัมนากับมหาวิทยาลัยอื่นๆ

    Networking

    เขียนบทความ

    Systematic thinking

    จัดงานสมัมนา

    Team learning

    มาพบกันอีกเดือนละครั้งตลอดไป

    ความมุ่งมั่นทำจริงต้องการให้จบหมดทุกคน

    ทุนแห่งความยั่งยืน

    และสุดท้ายได้คำตอบว่าทั้งหมดที่อาจารย์สอน  อาจารย์ได้สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในใจพวกเราทุกคน ซึ่งลูกศิษย์จะนำไปใช้จนตลอดชีวิต และจะส่งต่อไปยังบุคคลอื่นๆสร้างให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป   ขอบกราบขอบพระคุณ อาจารย์ด้วยความเครารพเป็นอย่างสูง

    จากวัชรินทร์  แสงมา Ph.D 3 SSRU

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    และคุณวัชรินทร์

    ที่พี่กว้างเปรียบเทียบข้างต้นเยี่ยมจริง ๆ ครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    อ่าน: 1
    ความเห็น: 1

    จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผ่านมา 15 สัปดาห์ สิ่งที่ได้คงเขียนตอบไม่หมด

    จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผ่านมา 15 สัปดาห์ มันเร็วมากได้อะไรเป็นคำถามที่ต้องตอบ สิ่งที่ได้คงเขียนตอบไม่หมดเพราะบางอย่างมันเป็นอะไรที่เราเองก็ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือได้ ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่าคุณค่าทางจิตใจที่ไม่สามารถวัดหรือประมาณค่าได้

    เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

     

                    จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผ่านมา 15 สัปดาห์ มันเร็วมากได้อะไรเป็นคำถามที่ต้องตอบ สิ่งที่ได้คงเขียนตอบไม่หมดเพราะบางอย่างมันเป็นอะไรที่เราเองก็ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือได้ ซึ่งก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่าคุณค่าทางจิตใจที่ไม่สามารถวัดหรือประมาณค่าได้ แต่ที่สามารถตอบเป็นตัวหนังสือได้คงจะมีดังนี้

    เคยสงสัยว่าทำไมอาจารย์ต้อง

    ได้คำตอบว่า

    รู้จัก HR Architecture

    รู้ตั้งแต่ระดับ micro ถึง macro

    ส่งงานทาง blog

    Digital capital

    ติดตามดูว่าอาจารย์ทำอะไรตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา

     

    Example experience education environment evaluation(5E’s)

    มาคุยกันตอนเช้าก่อนเรียนจริง

    Share idea

    ให้เปรียบเทียบทฤษฎี และศาสตร์ต่างๆ

    synthesis

    ให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันรอบโลก

    Reality  relevant

    ไปเรียนในที่ต่างๆ นอกห้องเรียน

    4L’s

    เวลาไปต้องมีธงแสดงตนว่าเรียน Ph.D

    มีความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง

    ให้อ่านหนังสือใหม่ๆเกือบทุกอาทิตย์

    Learning Culture

    ชอบให้อ่านบทความแล้ววิเคราะห์และapplied

    analysis

    มีการบ้านทุกครั้งถึงแม้ว่าไม่ได้มาสอนเอง

    Continuous

    ต้องคิดเป็นแบบ hypothesis

    thesis Culture

    ไปสมัมนากับมหาวิทยาลัยอื่นๆ

    Networking

    เขียนบทความ

    Systematic thinking

    จัดงานสมัมนา

    Team learning

    มาพบกันอีกเดือนละครั้งตลอดไป

    ความมุ่งมั่นทำจริงต้องการให้จบหมดทุกคน

    ทุนแห่งความยั่งยืน

    และสุดท้ายได้คำตอบว่าทั้งหมดที่อาจารย์สอน  อาจารย์ได้สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในใจพวกเราทุกคน ซึ่งลูกศิษย์จะนำไปใช้จนตลอดชีวิต และจะส่งต่อไปยังบุคคลอื่นๆสร้างให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป   ขอบกราบขอบพระคุณ อาจารย์ด้วยความเครารพเป็นอย่างสูง

    จากวัชรินทร์  แสงมา Ph.D 3 SSRU

    หมวดหมู่: เรื่องทั่วไป
    สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
    สร้าง: จ. 28 ก.ย. 2552 @ 06:54 แก้ไข: จ. 28 ก.ย. 2552 @ 06:54

    ความเห็น

    1.
    P
    tanapol kortana
    เมื่อ จ. 28 ก.ย. 2552 @ 06:56
    #1577833 [ ลบ ]

    เรียนคุณวัชรินทร์ แสงมา

    ที่คุณเขียนข้างต้นเยี่ยมมาก อธิบายได้ชัดและลึกซึ้งจริง ๆ ครับ

    เรียน ท่านอาจารย์

    หนูขอสรุประยะเวลาการเรียน 15 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหนูเห็นด้วยกับคุณวัชรินทร์ ที่สรุปมาแล้วอย่างมากค่ะ และหนูขอสรุปของหนูบ้างนะคะว่า ตลอดวลา 15 สัปดาห์ได้อะไรจากการเรียน

    1. ได้แบบอย่างที่ดีของความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อเป้าหมาย โดยยึดหลักที่ว่า ปัญหามีแก้ เพื่อให้เกิดปัญญา

    2. ได้แบบอย่างการให้คุณค่าแห่งคำว่า มิตรภาพ หรือ Network เพื่อให้เกิดการสร้างคุณค่าที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

    3. ได้แบบอย่างผู้มีองค์ความรู้ คือ ต้องมีปัญญา มิใช่มีแต่ปริญญา

    4. ได้แบบอย่างผู้ใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และต้องเป็นการเรียนรู้แบบกว้างและลึก จาก Macro สู่ Micro

    5. ได้แบบอย่างการเป็นผู้มีจิตสาธารณะ คือ การให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม โดยหวังผลประโยชน์เพียงผู้ที่ได้รับโอกาส จะสามารถสร้างคุณค่าให้เกิดต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป (อาจารย์ยังให้โอกาสพวกหนูได้เรียนรู้จากอาจารย์เพิ่มขึ้นหลังจากจบภาคการศึกษาด้วยการนัดพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ อีกเดือนละครั้งด้วย ซึ่งหนูถือว่า เป็นโอกาสที่มีคุณค่าอย่างมากค่ะ)

    หนูกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูง ที่ให้โอกาสพวกหนูทั้ง 13 คนได้มีโอกาสเรียนรู้แบบอย่างทั้ง 5 ข้อ (ความจริงยังมีมากมายกว่านี้ แต่อยากจะให้พื้นที่กับพี่ๆเพื่อนๆน้องๆเขียนเพิ่มเติมอีก) ซึ่งหนูเชื่อมั่นว่า พวกเราทั้ง 13 คน จะได้ยึดถือแบบอย่างดังกล่าว เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไปค่ะ

    กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงค่ะ

    สุนันทา 081-309-5959

    Ph.D.3 SSRU

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ความคิดเห็นที่คนอ่าน Article ของคุณวัชรินทร์ครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    2.

    P
    มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)
    เมื่อ จ. 28 ก.ย. 2552 @ 07:38
    #1577871 [ ลบ ]

    เป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม

    เพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

    ขอบคุณค่ะ

    เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

    การบ้าน  26  กันยายน  2552

    จากสัปดาห์แรก – สัปดาห์สุดท้าย  มีคุณค่าอะไรที่เกิดกับผู้เรียนบ้าง

    สิ่งที่ได้มีดังนี้

    1. วิธีคิด
    2. วิธีเรียน
    3. วิธีสร้างเครือข่าย
    4. วิธีสร้างมูลค่าเพิ่ม  ให้กับตนเอง  สังคม  ประเทศชาติและโลก
    5. ประโยชน์จากการมองภาพ  Macro   และ   Micro
    6. วิธีเรียนโดยใช้ทฤษฎี  4L’s
    7. วิธีทำงานและแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎี  2R’s
    8. วิธีบริหารงานองค์กรโดยใช้ทฤษฎี  3  วงกลม
    9. การสร้างทุนมนุษย์โดยใช้ทฤษฎี  8K’s , 5K’s

    10. รู้จักการนำทฤษฎี  2I’s  ,  5E’s  ไปใช้ให้เหมาะสม

     

    ที่สำคัญกว่านั้น  ยังได้รับความเมตตา  ความหวังดี  การทุ่มเท  ซึ่งจะเป็น

    ความภูมิใจอย่างหาที่เปรียบมิได้แก่ศิษย์ทั้ง  13  คน  ในการที่จะเป็น  Ph.D.  ตัวจริงในอนาคต

    รักและเคารพอย่างสูง

    จิราพร  สวัสดิรักษ์  087-066-2359

     

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ

    สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา Human Capital Management ตลอดทั้ง 15 สัปดาห์

    1. เรียนรู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีทุนมนุษย์ ของท่านอาจารย์จีระ เช่น ทฤษฎี 8K 5K 2R และ 4L's ของท่านอาจารย์และ ทฤษฎีของกูรู ท่านอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

    2. ได้นำเอาทฤษฎีของท่านอาจารย์ นำไปใช้และปฏิบัติ

    3. เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้แบบเดิม ๆ มีการเรียนแบบนอกกรอบ เช่น การไปดูงาน เรียนนอกสถานที่ และส่งงานทาง Blog เน้นการปฏิบัติ และการนำไปใช้ได้งานจริง ๆ

    4. วัฒนธรรมการอ่านหนังสือ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    5. ได้รับความรู้ และมี Research Culture

    6. คำสอนของท่านอาจารย์

    - ทำระยะสั้น ให้เห็นผลในระยะยาว

    - Add Value to People

    - มองภาพทั้ง micro& macro

    - เรียน Ph.D ต้องรู้ทั้งลึก และกว้าง เหมือนรูปตัว T

    - รู้อะไรให้รู้จริง และให้มองตามความเป็นจริง

    - ทำอะไรต้อง ส่ง Impact ต่อผู้อื่นด้วย

    - ทำอะไรให้มี Research Culture

    ฯลฯ

    สุดท้ายที่ได้จากการเรียน ความรู้ ความกล้า และไม่กลัวที่จะเดินหน้าต่อไปค่ะ ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากเลยค่ะ ที่เป็นห่วงและท่านรักพวกเรา

    ขอบพระคุณค่ะ

    ลัดดา ปินตา

    084-8073320

    เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

     

                วันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2009 นับเป็นสัปดาห์ที่ 15 ที่เรียน Human Capital Management กับท่านอาจารย์ ตลอดระยะเวลา 15 สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ได้มุ่งเน้นและพูดถึงทฤษฎีการเรียนรู้ทุนมนุษย์ว่าในทฤษฎีต่าง ๆ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ถ้ามนุษย์เราฝึกวิธีการเรียนรู้ การวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและดำเนินและดำเนินการพัฒนาไปตามทฤษฎีการเรียนรู้แล้วจะเกิดผลขึ้นจริงหรือไม่ ตลอดระยะเวลา 15 สัปดาห์ที่พวกเราอยู่กับอาจารย์ คงพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั้น เกิดขึ้นได้จริงและเป็นจริง สิ่งต่อมาก็คือว่าพวกเราทั้ง 13 คน จะนำไปฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ประสบการณ์และความลึกซึ้งอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร ซึ่งคำตอบทุกคนคงจะเข้าใจดี

                    ผมขอ Remind ตัวเองว่าตลอดระยะเวลา 15 สัปดาห์ที่ได้เรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ที่ท่านอาจารย์ให้ทำและฝึกแล้วได้ข้อคิดและมุมมองเป็นอย่างไรบ้างพอสังเขปเพื่อเตือนใจดังต่อไปนี้

                  องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเราไม่เข้าใจ Human Capital (8K’s, 5K’s, 3 วงกลม) ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเราไม่พัฒนาการเรียนรู้ (4L’s) การสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์จะต้องทำอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมและตรงประเด็น (2R’s) การสร้างและปลูกฝังทุนมนุษย์พันธุ์แท้ จะต้องเริ่มตั้งแต่ปฐมวัยดัง HR Architecture

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ฉัตรแก้ว  ฮาตระวัง  Ph.D.รุ่น 3 SSRU    Mobile: 081- 661-1701

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ความคืบหน้าของการจัดงานมีมากมายและพวกเราได้ส่งรูปประชาสัมพันธ์มาให้ดูครับ

    Image21020091

    Image21020092

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         มีข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ซึ่งในเนื้อข่าวข้างล่างนี้ตอนท้ายพูดถึงการจัดตั้ง 4 องค์กรและมีหนึ่งในสี่คือ "การตั้งสำนักงานศึกษาตลอดชีวิต" มีหน้าที่เพื่อเน้นย้ำการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อสอดรับกับเป้าหมายของการปฏิรูป

         ผมเลยนำมาให้อาอจารย์และเพื่อน ๆ ดู ว่าเราเรียนก่อนที่รัฐบาลจะออกมาเป็นนโยบายครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    นายกฯสั่งรื้อระบบเข้าอุดมฯ

    29 กันยายน 2552 - 00:00

      นายกฯ  ย้ำอีกครั้ง  เข้าเรียนมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสอบเข้า  สั่ง  ศธ.ไปหารือ  ทปอ.รื้อระบบครั้งใหญ่  ชี้ถ้าไม่ทำจะเกิดภาวะคอขวดการศึกษาไปเรื่อยๆ

         เมื่อเวลา  11.00  น.  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี  กล่าวในการสัมมนาของคณะกรรมาธิการการศึกษาเรื่อง  "ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา:ปัญหาและทางออก"  ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษาว่า  การจัดเรียนฟรี  15  ปีอย่างมีคุณภาพ  ยังไม่สามารถทำได้  100%  ซึ่งพบความเป็นจริงว่าค่าใช้จ่ายที่มีการเก็บเพิ่มเติม  เช่น  การจัดการสอนภาษาต่างประเทศโดยดึงช่าวต่างชาติมาสอน  การจัดการศึกษาคอมพิวเตอร์  ซึ่งตรงนี้เป็นโจทย์ท้าทายต่อไป

         นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงปัญหาการสอบเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยว่า  เราเปลี่ยนระบบใหญ่ไม่ได้  เพราะสังคมยังติดยึดในเรื่องของการสอบเข้าระดับอุดมศึกษาที่ให้ทุกคนแย่งกันเรียนปริญญา  โดยไม่ดูว่าสอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมหรือไม่  ซึ่งตนได้ให้นโยบายกับ  ศธ.ร่วมกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ  ว่าควรเปลี่ยนแปลงนโยบาย  และอย่าเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย  แม้อาจไม่มีผลทันที  แต่ให้รื้อใหญ่และวางระบบระยะยาว  ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องทำเรื่องนี้  ไม่เช่นนั้นจะเหมือนคอขวดของการศึกษา  ส่วนที่สองคือครูยุคใหม่คงต้องมีความหลากหลายในกระบวนการผลิตครู  ส่วนที่สามเรื่องของสถานศึกษายุคใหม่เป็นสิ่งที่เร่งทำคือการเพิ่มพื้นที่เยาวชน

         นายชัยวุฒิ  บรรณวัฒน์  รมช.ศธ.กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า  ตนรับทราบเบื้องต้นนายกฯ   ปรับแอดมิชชั่นครั้งใหญ่  ต้องหารือผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย  (ทปอ.)  ระดับกระทรวงมหาวิทยาลัย  เช่น  คะแนนสะสมตลอดหลักสูตร  (จีแพ็ก)  และโอเน็ต  ยังจำเป็นต้องใช้หรือไม่  ก็จะต้องไปดูกัน  อย่างไรก็ตามการปรับครั้งนี้จะปรับใหญ่ในปีการศึกษา  2556

         นายกฯ  ยืนยันต้องตั้ง  4  องค์กรที่มีเสียงคัดค้านว่า  เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  และอุดช่องว่างในช่วง  10  ปีแรก  คือ  1.สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ  2.สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ  3.สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและกองทุนเพื่อการศึกษาแห่งชาติ  ทำหน้าที่สนับสนุนเทคโนโลยีทางการศึกษา  และ  4.การตั้งสำนักงานศึกษาตลอดชีวิต  มีหน้าที่เพื่อเน้นย้ำการศึกษาตลอดชีวิต  เพื่อสอดรับกับเป้าหมายของการปฏิรูป.

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ผมส่งรูปภาพงานสัมมนา "Creative Economy " มาให้ดูเท่าที่ผมมีก่อนนะครับ

    Image81020091

    Image81020092

    Image81020093

    Image81020094

    เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

     หนูสมศรี นวรัตน์ ขอเรียนเพื่อน ๆชาว Blog เรื่อง "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" คือ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของ

    -       การใช้องค์ความรู้ (Knowledge)

    -       การศึกษา การสร้างสรรค์งาน (Creativity)

    -       การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property)

    ที่เชื่อมโยงกับ===>รากฐานทางวัฒนธรรม

    - การสั่งสมความรู้ของสังคม +เทคโนโลยี+ นวัตกรรมสมัยใหม่

    สำหรับขอบเขต “การวัดขนาด” ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย

    ยึดตามรูปแบบของ UNCTAD เป็นกรอบ โดยแบ่งประเภทอุตสาหกรรม “สร้างสรรค์”  ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

    -  มรดกทางวัฒนธรรม (Heritage of Cultural Heritage)

    - ศิลปะ (Arts)

    - สื่อ (Media)

    - งานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน (Functional Creation) ซึ่งเป็นการกำหนดกรอบโดยกว้าง เพื่อประโยชน์ในการวัดขนาดทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย และสะท้อนถึงความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย

         การที่ระบบเศรษฐกิจจะเป็นรูปแบบใดนั้น สำหรับตัวหนูคิดว่า "เศรษบกิจพอเพียง" 

     (Sufficiency Economy) เป็นรูปที่เหมาะสมกับ ประชาชน "คน อำเภอบ้านลาด" ที่หนูอยู่ มากที่สุดนะคะ เพราะชาวบ้านมีข้าวในนา มีปลาในน้ำ(คลอง) มีผักบุ้งในนา มีตำลึงริมรั้ว มีชะอม ดอกแคสำหรับแกงส้ม กินกับนำพริกมะขาม + ไข่เจียว(มีไข่ในเล้าไก่) ทำกับข้าวมากหน่อย แบ่งปันเพื่อนบ้าน เป็นเศรษฐกิจ "แบบไทยชนบทดั้งเดิม" ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องชื้อ ไม่ต้องจ่ายเงิน แต่ละวัน ====>แทบจะไม่มีหนี้สิน เพราะไม่ต้องลงทุนมากมาย "พอมี พออยู่ พอกินกับฐานะคนชนบท" ไม่เหมือนคนกรุงเทพ ====> ออกจากบ้าน ===>ก็ต้องมีค่าใช้แต่===> เงิน ๆๆๆๆ น่าเป็นห่วงจังเลยนะคะ

    หนูสมศรี  นวรัตน์ ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ

    รูปถ่ายกับเพื่อน  พยาบาลภูฎานคะ ประเทศของเขาบอกว่าเขาใช้GNH เป็นดัชนีชีวัด

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    081-9435033

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เครารพอย่างสูง

           หนูสมศรี นวรัตน์ ขอเรียนท่าน อาจารย์เรื่อง กาจัดงานสัมมนาในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 “Creativity Economy” หรือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ + การศึกษาสร้างสรรค์”  ซึ่งหนู สมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนรู้กับชาว Blog ในลักษณะของ การจัดการ + การบริหารงาน + บริหารการทำงานเป็น Teamwork ของทั้งท่าน ศ.ดร. จีระ + SSRU Team + ทีมคณาจารย์ + Ph.D Team รุ่น 3 ว่าทุก ๆ ฝ่าย ทุก ๆท่านได้ สร้างผลงาน(Output) + ผลประกอบการ (Performance) ซึ่งให้ผลกระทบ(Impact)ต่อสังคมอย่างมากทีเดียว หนูคิดว่าเกิดจาก

    1. แหล่งรวมของทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึงทุก ๆท่าน ตั้งแต่ ท่าน อรงกรณ์ พลบุตร + ผู้บรรยาย ทั้ง 5 ท่านคือ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ  ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  ดร. นิรชราภา ทองธรรมชาติ  ท่านอธิการบดี รศ. ดร. ช่วงโชติ และทีมคณาจารย์จาก SSRU ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน 

    2. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ Impact ต่อสังคม มากพอสมควร เกิดการ "ปะทะทางปัญญา" เกิด “ทุนทางปัญญา” (Intellectual Capital) การได้เสวนากับผู้รู้ ผู้ที่มีประสบการณ์ (Experience) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ทำให้ผู้ฟัง/นักศึกษาหาความรู้ในระดับต่าง ๆ สามารถ ฟัง คิด วิเคราะห์ นำไปสู่ ====>การคิดวิเคราะห์ได้ เกิดปัญญา  

    3. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ ====>การพัฒนาสังคม (Social Development)/พัฒนาชุมชนได้ระดับหนึ่ง พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ Update (ทำให้ทันสมัย) ในเรื่อง Creativity Economy ซึ่งมีในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่11ที่จะนำมาใช้ใน ปี2553 และเป็นสิ่งที่ประเทศไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ต้องเรียนรู้ให้เท่าทันโลก/ประเทศต่าง ๆ

    4. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ ====>Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ) ทุก ๆคนที่เข้าร่วมสัมมนา นำความรู้นี้ไปใช้ต่อยอดและสร้าง/Creativity เพราะเป็นCreator ที่ดี  แล้วนำไปทำได้ด้วยจะถือว่า มีปัญญาจริง ๆ

    5. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ ====> Knowledge Capital (ทุนทางความรู้)
    ที่จะนำไปใช้ในบทบาทหน้าที่(Function)ของแต่ละบุคคล(Individual) แต่กลุ่มอาชีพ(Node) เป็นเครือข่ายการเรียนรู้(Network)ซึ่งกันและกัน ย่อว่า INN

    6. การจัดงานครั้งนี้มีการนำเอาระบบ ITหรือมี Digital Capital (ทุนทาง IT) มาใช้ให้เอื้อต่อการทำงานให้ สะดวก + รวดเร็ว + เอื้อต่อการเรียนรู้

    7. การจัดงาน/การเรียนรู้ ครั้งนี้ได้นำเอาทฤษฎี 4 L’s มาใช้อย่างเต็มรูปแบบคือ ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้เรียนให้ผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบและให้มีการเตรียม “หัวข้อ” ไว้ ====>ให้ร่วมวิเคราะห์ วิพากษ์ หรือ สกัดสิ่งที่ได้ ปะทะทางปัญญา ออกมา ให้แสดงหรือปะทะทางปัญญาได้ถึง 5-8 ท่าน

    8. การจัดงานครั้งนี้====>เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Cultural Culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของผู้ที่มีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ====> มักนิยมที่จะ ใฝ่รู้ + ใฝ่เรียน + ชอบเรียน (ถึงแม้จะต้องเสียสละเวลางานก็ยอมมารับฟังการสัมนา) ไม่มีใครบังคับให้มาฟัง + มาเพราะเห็นคุณค่าของKnowledge   ทีมPh.D3 SSRU ขอกราบขอบพระคุณทุก ๆท่านที่มาในงาน โดยเพราะท่าน รมต.ช่วย ท่านอลงกรณ์ ท่าน ศ. ดร.จีระ ท่าน ดร.สรจักร ดร.ชัยพฤกษ์ ดร.นิรชราภา เป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านให้ความกรุณา เป็นที่สุด และที่สุดอีกครั้งคือ ท่านอธิการบดีท่าน รศ.ดร. ช่วงโชติ ที่ให้โอกาสทำงานและได้อนุมัติโครงการให้นักศึกษาและแห่งทุนคือ SIPA ที่สนับสนุนการจัดงาน

    9. การจัดงานครั้งนี้====>เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) วิธีการทำงานร่วมกัน จนประสบความสำเร็จระดับหนึ่งร่วมกับคณาจารย์SSRU เกิดความสนิทสนม รู้จักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมสัมพันธไมตรี มิตรไมตรี เกิดการทำงานในลักษณะ “พลังภายในประสานพลังภายนอก” ====> เกิดผลิตผล (Productivity/Output) สำเร็จต่อสาธารณชนได้ด้วยดี(พอสมควรตามความสามารถ/สมรรถนะของPh.D3)

    10.การจัดงานครั้งนี้====>เกิดการเรียนรู้ถึง “พลังกลุ่ม” (Synergy) ว่าให้พลังได้ดีจริง ๆๆ การเรียนรู้นี้ เกิดบทเรียน เกิดข้อคิด ที่บ้างครั้งต้อง Motivation & Empowerment เพื่อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) กำลังใจ จากหลายท่าน โดยเฉพาะ ท่าน ศ. ดร.จีระ มีวิธีการนำเอาทฤษฎี 4 L’s ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็น “รูปธรรม” ได้จริง ๆๆ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ SSRU

    Tel.081- 9435033

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เครารพอย่างสูง

    หนูสมศรี นวรัตน์ ขอเรียนท่าน อาจารย์เรื่อง กาจัดงานสัมมนาในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 “Creativity Economy” หรือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ + การศึกษาสร้างสรรค์”  ซึ่งหนู สมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนรู้กับชาว Blog ในลักษณะของ การจัดการ + การบริหารงาน + บริหารการทำงานเป็น Teamwork ของทั้งท่าน ศ.ดร. จีระ + SSRU Team + ทีมคณาจารย์ + Ph.D Team รุ่น 3 ว่าทุก ๆฝ่าย ทุก ๆท่านได้ สร้างผลงาน (Output) + ผลประกอบการ (Performance) ซึ่งให้ผลกระทบต่อสังคมอย่างมากทีเดียว หนูคิดว่าเกิดจาก

    1. แหล่งรวมของทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึงทุก ๆท่าน ตั้งแต่ ท่าน อรงกรณ์ พลบุตร + ผู้บรรยาย ทั้ง 5 ท่านคือ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ  ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  ดร. นิรชราภา ทองธรรมชาติ  ท่านอธิการบดี รศ. ดร. ช่วงโชติ และทีมคณาจารย์จาก SSRU ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน 

    2. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ Impact ต่อสังคม มากพอสมควร เกิดการปะทะทางปัญญา เกิด “ทุนทางปัญญา” (Intellectual Capital) การได้เสวนากับผู้รู้ ผู้ที่มีประสบการณ์ (Experience) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ทำให้ผู้ฟัง/นักศึกษาระดับต่าง ๆสามารถ ฟัง คิด วิเคราะห์ นำไปสู่ ====>การคิดวิเคราะห์ได้ เกิดปัญญา   

    3. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ ====>การพัฒนาสังคม (Social Development)/ พัฒนาชุมชนได้ระดับหนึ่ง พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ Update (ทำให้ทันสมัย) ในเรื่อง Creativity Economy ซึ่งมีในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่11ที่จะนำมาใช้ใน ปี2553 และเป็นสิ่งที่ประเทศไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ต้องเรียนรู้ให้เท่าทันโลก/ประเทศต่าง ๆ

    4. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ ====>Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ) ทุก ๆคนที่เข้าร่วมสัมมนา นำความรู้นี้ไปใช้ต่อยอดและสร้าง/Creativity เพราะเป็นCreator ที่ดีแล้วนำไปทำได้ด้วยจะถือว่า มีปัญญาจริง ๆ

    5. การจัดงานครั้งนี้นำไปสู่ ====> Knowledge Capital (ทุนทางความรู้)
    ที่จะนำไปใช้ในบทบาทหน้าที่(Function)ของแต่ละบุคคล(Individual) แต่กลุ่มอาชีพ(Node) เป็นเครือข่าย(Network)ซึ่งกันและกัน ย่อว่า INN

    6. การจัดงานครั้งนี้มีการนำเอาระบบ ITหรือมี Digital Capital (ทุนทาง IT) มาใช้ให้เอื้อต่อการทำงานให้ สะดวก+รวดเร็ว+เอื้อต่อการเรียนรู้

    7. การจัดงาน/การเรียนรู้ ครั้งนี้ได้นำเอาทฤษฎี 4 L’s มาใช้อย่างเต็มรูปแบบคือ ท่าน ศ.ดร.จีระ ได้เรียนให้ผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาให้มีการเตรียม “หัวข้อ” ไว้ให้ ====>วิเคราะห์ วิพากษ์ หรือสกัดสิ่งที่ได้ปะทะทางปัญญาออกมา ให้แสดงปัญญาได้ถึง 5-8 ท่าน

    8. การจัดงานครั้งนี้====>เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Cultural Culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของผู้ที่มีทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ====> มักนิยมที่จะ ใฝ่รู้ + ใฝ่เรียน + ชอบเรียน (ถึงแม้จะต้องเสียสละเวลางานก็ยอมมาฟัง) ไม่มีใครบังคับให้มาฟัง + มาเพราะเห็นคุณค่าของKnowledge ทีมPh.D3 SSRU ขอกราบขอบพระคุณทุก ๆท่านที่มา โดยเพราะท่าน รมต.ช่วย ท่านอลงกรณ์ ท่าน ศ. ดร.จีระ ท่าน ดร.สรจักร ดร.ชัยพฤกษ์ ดร.นิรชราภา เป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านให้ความกรุณา เป็นที่สุด และที่สุดอีกครั้งคือ ท่านอธิการบดีท่าน รศ.ดร. ช่วงโชติ ที่ให้โอกาสทำงานและได้อนุมัติโครงการให้นักศึกษาและแห่งทุนคือ SIPA ที่สนับสนุนการจัดงาน

    9. การจัดงานครั้งนี้====>เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) วิธีการทำงานร่วมกัน จนประสบความสำเร็จระดับหนึ่งร่วมกับคณาจารย์SSRU เกิดความสนิทสนม รู้จักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมสัมพันธไมตรี มิตรไมตรี เกิดการทำงานในลักษณะ “พลังภายในประสานพลังภายนอก” ====> เกิดผลิตผล (Productivity/Output) สำเร็จต่อสาธารณะชนได้ด้วยดี(พอสมควรตามความสามารถ/สมรรถนะของPh.D3)

    10.การจัดงานครั้งนี้====>เกิดการเรียนรู้ถึง “พลังกลุ่ม” (Synergy) ว่าให้พลังได้ดีจริง ๆๆ การเรียนรู้นี้ เกิดบทเรียน เกิดข้อคิด ที่บ้างครั้งต้อง Motivation & Empowerment เพื่อให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) กำลังใจ จากหลายท่าน โดยเฉพาะ ท่าน ศ. ดร.จีระ มีวิธีการนำเอาทฤษฎี 4 L’s ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็น “รูปธรรม” ได้จริง ๆๆ

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ SSRU 

    Tel.081-9435033

     

    3 มุมมอง : เพื่อความสำเร็จของ Creative Economy (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)

     

     

     

    สัปดาห์นี้ ผมภูมิใจมากที่นักศึกษาปริญญาเอกนวัตกรรมศาสตร์ซึ่งเรียนเรื่องทุนมนุษย์กับผมที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ได้จัด Pubic Seminar เพื่อกระจายความรู้ไปสู่ประชาชน

    ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือกับภาครัฐบาล นายกฯอภิสิทธิ์ส่งคุณอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์มาบรรยาย

    * นักศึกษาปริญญาเอกเป็นผู้เตรียมข้อมูลเบื้องต้นร่วมกับรศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมาร่วมในพิธีเปิดงาน

    * มีแขกผู้มีเกียรติจากหลายวงการมาช่วยแสดงความคิดเห็นให้ผู้ฟังกว่า 200 คน

    * ผมจะนำมาออกในรายการโทรทัศน์คิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทางสถานีโทรทัศน์ TNN ในวันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2552 เวลา 23.00-23.30 น. และในรายการวิทยุ Human Talk วันอาทิตย์นี้ทาง FM.96.5 MHz. เวลา 6.00 – 7.00 น.ด้วย

    เรื่องแรก คือ Idea ต่างๆ เกิดขึ้นเพราะ UNCTAD ได้ออกรายงานขอให้รัฐบาลไทยนำไปปฏิบัติ มี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้อำนวยการของ UNCTAD

    กระทรวงพาณิชย์โดยคุณอลงกรณ์และกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็นำมาสานต่อ โดยนายกฯอภิสิทธิ์สนับสนุนด้วย จึงเกิดพลัง มีสำนักงานเลขาธิการถาวรขึ้นมารองรับ

     

    บรรยากาศ งานสัมมนาวิชาการเรื่อง ยุทธศาสตร์ประเทศไทย : เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy จัดนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาร่วมกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ผู้สอน โดยมีคุณอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวเปิดงานและกล่าวปาฐกถา รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ กล่าวรายงาน ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ, ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์, ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ วิทยากรการสัมมนาและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดำเนินรายการ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

    สิ่งแรกที่จะขอก็คือ

    * ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ต่อประชาชนทุกๆกลุ่มว่า Creative Economy คืออะไร? และทำอย่างยั่งยืน อย่าเป็นไฟไหม้ฟาง พอรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ไม่อยู่ก็หายไป

    * นักศึกษาปริญญาเอกกับผมสนใจมากที่จะแบ่งปันความรู้ก็คือ UNCTAD เน้น 4 เรื่อง

    * ศิลปะ วัฒนธรรม ธุรกิจ เทคโนโลยี แต่ผมขอเพิ่มอีกเรื่องหนึ่งคือ ทุนมนุษย์

    ความจริงเรื่องทุนมนุษย์น่าจะมาก่อน เพราะถ้าคนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น สร้างสรรค์ คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อความยั่งยืน คิดเพื่อส่วนรวม Creative Economy ก็เกิดได้เอง

    จึงอยากฝากให้ทุกคนเอาจริงกับการสร้างทุนมนุษย์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

    ปัญหาของทุนมนุษย์ของเราก็คือ เข้ากับดักความไม่มีประสิทธิภาพ High Volume แต่ Low value Creative Economy ไม่ชนะถ้าคนไทยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง ไม่คิดเป็นวิทยาศาสตร์ชอบลอก Copy แต่ไม่มี C --> U --> V

    C = Copy การลอก

    U = Understanding ความเข้าใจ

    V = Value Added มูลค่าเพิ่ม

    ปัญหาอีกเรื่องคือ บรรยากาศในการสร้างทุนมนุษย์ในองค์กรไม่เอื้ออำนวยเพราะผู้ใหญ่บางคนไม่กระตุ้นให้ผู้น้อยเกิดปัญญา สกัดกั้นความคิดใหม่ๆที่จะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

    แรงจูงใจทั้ง Inspiration และ Motivation ยังไม่เกิดบางครั้งเกิดแรงจูงใจทางลบ เช่นองค์กรชอบสนับสนุนคนเสียเงิน เพื่อซื้อตำแหน่งหรือชอบคนประเภท yes ลูกเดียว ผมจึงฝากคุณอลงกรณ์เรื่องนี้ด้วย เพราะถ้าไม่มีทุนมนุษย์ Creative Economy ของรัฐบาลก็มีโอกาสล้มเหลวแน่นอน

     



    ผมคิดว่ามีอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ คนที่สนใจความคิดสร้างสรรค์จะชอบบรรยากาศการทำงานที่ทำให้เขามีความสุขและมี Passion เช่น ในต่างประเทศ ความมั่งคั่งที่เกิดในทางเศรษฐกิจมาเพราะคนที่มีคนที่มีคุณภาพไปรวมตัวที่เมืองเหล่านี้ เช่น ในอเมริกามี

    * Boston

    * Seattle

    * San Francisco - Silicon Valley

    * Software - Bangalore

    * หนัง Bollywood - Bombay

    * ฝรั่งเศส – Cannes

    * อังกฤษ - Cambridge

    ผมจึงขอเสนอให้ผู้สนใจอ่านหนังสือที่น่าสนใจชื่อว่า Who’s your City? โดย Richard Florida เน้นสิ่งที่ผมพูดไว้ ขอขอบคุณคุณเสกสัณห์ เสาวภาคย์พงศ์ ทางร้านคิโนะคุนิยะที่มีหนังสือดีมาให้อ่าน

    ถ้าจะมีความสำเร็จในเรื่อง Creative Economy ในประเทศไทย ต้องมีวางแผนร่วมกับรัฐบาล เอกชนและนักวิจัย ช่วยสร้าง Cluster ที่อยู่อาศัยให้คนไทยที่สนใจบรรยากาศสร้างสรรค์รวมตัวกัน ใช้ชีวิตแบ่งปันความรู้กัน

    มาดูเมืองไทย ควรจะกำหนดโซนหรือ Cluster เพื่อรองรับคนไทยที่สนใจ Creative Economy ที่กำหนดเมืองที่จะอยู่ในความเห็นอาจเป็นดังต่อไปนี้

    เช่น โซนแรก กรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง อาจจะรวมไปถึงอยุธยา โซนนี้น่าจะมอบให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ดูแลเป็นพิเศษ เขต 50 เขตในกรุงเทพฯ ต้องแข่งกันกันว่าเขตไหนมีบรรยากาศสร้าง Creative Economy ได้ดีที่สุด ต้องแยกแยะมา เช่น แถว ๆ จุฬาฯ,ธรรมศาสตร์,เกษตรศาสตร์หรือมหิดล น่าจะมีบรรยากาศดีกว่าแถวๆหนองจอก เป็นต้น

    ความเห็นของผม Creative Economy กับภูมิศาสตร์ต้องไปด้วยกัน จึงอยากขอร้องให้คุณอลงกรณ์ช่วยสนับสนุนให้กลุ่มนักวิจัยที่ดูแลเรื่อง Creative Economy กับเมืองที่น่าอยู่ เพื่อสร้างมนุษย์พันธ์ใหม่ๆโดยมีกลุ่มนักวิจัยประกอบไปด้วย

    * เศรษฐศาสตร์+ผังเมือง+ภูมิศาสตร์+ประชากรศาสตร์+การจัดการและทุนมนุษย์

    * เชียงใหม่ เชียงราย,ลำพูน เพราะมีมหาวิทยาลัยและการท่องเที่ยว อาหาร ศิลปวัฒนธรรม

    * หัวหิน,ชะอำ,ปราจีนบุรี,เพชรบุรี สงบ มีมหาวิทยาลัยนานาชาติ มีการท่องเที่ยว

    * ภูเก็ต สมุย สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช มีท่องเที่ยว มีวัฒนธรรม มีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    * ชลบุรี ระยอง สัตหีบ การขนส่งสะดวก มีท่าเรือ มีการท่องเที่ยว

    * หาดใหญ่ สงขลา ตรัง สตูล มีมหาวิทยาลัย การท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมและเชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซีย

    * สุโขทัย กำแพงเพชร มรดกโลก

    * ขอนแก่น โคราช มีมหาวิทยาลัย

    จึงขอฝากแนวคิดไว้ จะได้มอง Creative Economy ให้สมบูรณ์มากขึ้น

    Who’s your City? โดย Richard Florida จีระ หงส์ลดารมภ์
    [email protected]

     

    เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ

    สัมมนาวิชาการเรื่อง  ยุทธศาสตร์ประเทศไทยก้าวไปสู่  Creative   Economy  ที่ผ่านมา  มีมุมมองจากวิทยากรที่เป็นประโยชน์  ในการนำไปสู่การปฏิบัติทุกภาคส่วน  โดยเฉพาะด้านการศึกษาและด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ 

                ในงานนี้  ดิฉันได้เชิญผู้บริหารและคณะครูจากโรงเรียนไทรน้อย  มาเข้าร่วมสัมมนา  22  คน  แต่ละคน  ตั้งใจมาเพื่อหาคำตอบว่าจะนำเรื่อง  Creative   Economy  ไปใช้ในการจัดการศึกษาระดับมัธยมเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล  ได้อย่างไร  คำตอบและภาพรวมในงานสัมมนาที่ได้  กว้างกว่าที่เขาตั้งใจมาฟัง  นับว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับองค์กรเป็นอย่างดี  ทุกคนประทับใจงานครั้งนี้มาก  และเมื่อเขากลับไป  ก็จะไปขยายผลให้กับเพื่อครูที่เหลือได้รับทราบและนำไปเข้าสู่แผนในฝ่ายวิชาการต่อไป

                สำหรับมุมมองส่วนตัว  คิดว่าหากทุกฝ่ายตระหนักที่จะสร้าง  Creative   Economy  ก็จะต้องร่วมมือกันทำหน้าที่ในส่วนของตนเอง  ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาทุกระดับ  ด้านองค์กรรัฐและเอกชน  ด้านธุรกิจ  ด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  วัฒนธรรม  ให้มี  goal  ซึ่งเหมือน  ธง  ในการที่จะไปสู่เป้าหมายร่วมกัน  แต่ละส่วนก็ต้องศึกษาบทบาทของตนเอง  ประสาน  โดยใช้เครือข่ายที่มีอยู่ให้มากที่สุด  ประเทศไทยก็จะมีทุนมนุษย์ที่เข้มแข็ง  ผู้ใหญ่ในองค์กรทุกองค์กรก็เปลี่ยนทัศนคติใหม่ในการเปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีอิสระทางความคิดให้มากขึ้น  ผู้จัดการศึกษาก็เปิดโอกาส  หาเวที  ให้ผู้เรียนได้นำเสนอความคิดใหม่  ๆและที่สำคัญ  ต้องสนับสนุนคนเก่ง  ที่มีความคิดดี ๆ  ให้พัฒนาต่อยอด และต้องทำอย่างยั่งยืนจะสังเกตได้ว่า  คนเก่งคิดได้ดี  ก็เพราะ  การใฝ่รู้  ประสบการณ์  การแสวงหา  ดังนั้น  ทฤษฎี  4L’s  มีประโยชน์มาก  ในการที่จะนำมาเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้  นอกจากนั้นความสุข  ความปราถนาก็เป็นแรงจูงใจส่วนหนึ่งในการสนับสนุน  Creative  Thinking    ทั้งทางด้านศิลปะ   วัฒนธรรม  ธุรกิจ   และเทคโนโลยี   ให้ก้าวไปสู่  Creative   Economy 

                ปัญหาต่อไปคือ  ทำอย่างไรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  เข้ามามีบทบาท  และเป็นพลังขับเคลื่อนร่วมกัน  เพราะหากลืมข้อนี้ไป  เป้าหมายความสำเร็จก็ดูจะเลือนลาง

    จิราพร  สวัสดิรักษ์          

    เรียนท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

        หนูสมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี มีความคิดว่า  การที่คนจะมี Creative Economy ได้เขาควรมี Human Capital ต้องมาก่อน ===>ตามมาด้วยทุนทางปัญญา(Intellectual Capital)  เพื่อจะสร้างความคิดที่จะสร้างสรรค์ (Creativity)สินค้า/บริการ ===> แล้วสร้างสิ่งใหม่ ๆ เกิดเป็น Innovations ที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบ(No Copy)ใครๆ ก็ไม่เกิด C==>U==>V ที่สำคัญที่สุดคือภาครัฐจะสนับสนุน เงินลงทุนให้จริงจังและต่อเนื่อง  ที่สำคัญที่สุดอีกคือตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การโฆษณา+การประชาสัมพันธ์  หนูเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็น “เรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน” ไม่เช่นนั้น ประเทศไทย “กู้ยืมเงินเขามาใช้จ่ายก็จะละลายไป   ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ” เป็นไฟไหม้ฟางจริง ๆๆคะ

            ขอแลกเปลี่ยน ในเรื่องของ MDGs (Millennium Development Goals) กับเพื่อน ๆชาวBlog คือ ใน พ.ศ. 2543 เกือบทุกประเทศทั่วโลก ได้มารวมตัวกันในการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำรัฐได้ตกลงตั้งเป้าหมายในการพัฒนาที่ทุกประเทศจะต้องบรรลุให้ได้ภายใน พ.ศ. 2558 (เหลือเวลา 5 ปี) ประเทศไทยจะบรรลุหรือเปล่า กี่% ที่ไม่ผ่าน ไทยจะอยู่อันดับที่เท่าไหร่? น่าจับตาดูนะคะ

    เป้าหมายดังกล่าว เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals:MDGs) ได้แก่

     Goals ที่หนึ่ง:  ขจัดความยากจนและความหิวโหย

    • Goals ที่สอง:   ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา

    Goals ที่สามส่งเสริมบทบาทสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ

    • Goals ที่สี่:      ลดอัตราการตายของเด็ก

    • Goals ที่ห้า:    พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์

    • Goals ที่หก:    ต่อสู้โรคเอดส์ มาเลเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ

    • Goals ที่เจ็ด:   รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    • Goals ที่แปดส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

    ซึ่งเรื่องปัญหาต่าง ๆดังกล่าวรัฐบาล กระทรวงต่าง ๆต้องเขามาช่วยเหลืออย่างจริงจัง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์  กระทรวงสิ่งแวดล้อม  กระทรวงศึกษา กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงการคลัง  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

            หนูคิดว่าประเทศที่ด้อยพัฒนา/กำลังพัฒนา(พูดแล้วประเทศไทยดูดีขึ้นนิดหนึ่ง) สิ่งที่เราต้องหันกลับมามองนั้นที่สำคัญที่สุดคือทฤษฎี 8 K’s ของท่านอาจารย์ สำคัญทุกๆ ทุน ไม่เช่นนั้นเราไม่พ้นวังวน ===> ความไม่รู้ ===> ความยากจน ===> เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ เช่น โรคเอดส์ มาเลเรีย  ลดอัตราการตายของเด็กแรกเกิด  เช่น ความยากจนและความหิวโหย==>สามารถบั่นทอนสุขภาพและการศึกษาของเด็ก นี้เป็น KPI ประเทศด้วยพัฒนา ซึ่งตรงนี้ รัฐบาล กระทรวง กรมต่าง ๆ ต้องเอา ทฤษฎี 2 R's ของท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ มาสู่การปฏิบัติที่เป็น “เป็นรูปธรรมให้ได้”  จึงจะช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติได้โดยแท้จริง หนูคิดเช่นนี้นะคะ

     

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด  เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

    เรียนท่าน ศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพยิ่ง

        หนูสมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี มีความคิดว่า  การที่คนจะมี Creative Economy กับ UNCTAD (United Nations Conference on Trade and Development) หรือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เป็นองค์การชำนัญพิเศษของ UN ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน และการพัฒนาให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา และส่งเสริมให้ประเทศเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกอย่างเท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

    การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 1 ถูกจัดขึ้นในปี 1964 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และได้มีการจัดการประชุมดังกล่าวทุกๆ 4 ปี ซึ่งเป็นการพบปะเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาลของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ต่อมาการประชุม UNCTAD ได้พัฒนาเป็นองค์การที่ช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการวางแผนนโยบายด้านการพัฒนา ปัจจุบัน UNCTAD มีสมาชิกทั้งหมด 192 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย

    โครงสร้างหลักของ UNCTAD ประกอบด้วย

    1.   การประชุม (UNCTAD Conference) ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี เป็นการประชุมที่ให้ผู้แทนของประเทศสมาชิกประเมินสถานภาพการค้าและการพัฒนา และเสนอแนะแนวทางการจัดทำนโยบาย นับว่าเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวกับนโยบายการค้าและการพัฒนา

    2.   สภาการค้าและการพัฒนา (The Trade and Development Board) ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐบาลของประเทศสมาชิก ทำหน้าที่เสนอแนวทางการทำงานให้กับ UNCTAD โดยจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญปีละ 1 ครั้งที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อพิจารณาทบทวนการดำเนินกิจกรรมของสำนักงานเลขาธิการ รวมถึงการบริหารจัดการขององค์กร

    3.   คณะกรรมาธิการ (The Commissions) ทำหน้าที่เสนอนโยบายเฉพาะด้าน โดยมีคณะกรรมาธิการย่อย 3 คณะได้แก่ คณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าสินค้า บริการ และผลิตภัณฑ์ คณะกรรมาธิการว่าด้วยการลงทุน เทคโนโลยี และการเงิน คณะกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจและธุรกิจ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะจะจัดการประชุมสมัยสามัญปีละ 1 ครั้ง แต่อาจจะเรียกประชุมในประเด็นปัญหาเฉพาะหน้าได้ถึง 10 ครั้งต่อปี

    ภารกิจที่สำคัญของ UNCTAD ประกอบด้วย

    1.   ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเวทีอภิปรายระหว่างผู้แทนรัฐบาลของประเทศสมาชิก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ และเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดการเจรจาและการมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีหน้าที่ในการกำหนดข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายด้านการค้าและการพัฒนาในที่ประชุม

    2.   ดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ระบบและนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาคของโลก และรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนของประเทศสมาชิก

    3.   ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดย UNCTAD จะร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ และประเทศผู้บริจาคในการให้ความช่วยเหลือในด้านการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถและศักยภาพในการเจรจาการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

     จากการได้ค้นคว้าเรื่องของ UNCTAD ซึ่ง ดร.สรจักร เกษตรสุวรรณ ได้กล่าวถึงความเชื่อมโยงกับ Creative Economy & Creative Education และเกี่ยวกับ MDGs ดังที่กล่าวเมื่อBlogที่แล้ว ทุกเรื่องไม่พ้นกับ ทฤษฎี 8K’s + ทฤษฎี 5K’s + ทฤษฎี 3 วงกลม + ทฤษฎี 2R’s เพราะประเทศไทยจะพัฒนาพ้นจากตัวชี้วัดของ MDGs ได้ด้วยคนในประเทศต้องมีทุนทางมนุษย์(Human Capital)ก่อน <=== ทุนทางปัญญา(Intellectual Capital)<=== ทุนทางจริยธรรม <=== ทุนทางความคิดสร้างสรรค์(Creativity Capital)<=== ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ===> จะนำไปสู่ผลงาน + สินค้า + รายได้ที่ยั่งยืน(Sustainability Capital)===> คนจะมีความสุข(Happiness /Passion) ไม่มีหนี้สินหรือมีได้แต่มีทางออกได้ ไม่ใช่ไม่มีโอกาสที่จะหมดหนี้สินนำไปสู่ ===> ความทุกข์ + เครียด จากมีโรคภัยไข้เจ็บ + บางโรครักษาไม่หาย เสียค่ารักษาพยาบาลมาก รัฐบาล+กระทรวงสาธารณสุขก็มัวแต่ "ซ่อมร่างกายคนป่วย" เงินก็ไหลออกนอกประเทศ เพราะยาบางตัวเรา “ผลิตเองไม่ได้”  จริง ๆแล้วคนไทยคิดสูตรยาบางตัวได้นะคะ แต่ “ไม่มีทุน” เหมืนต่างประเทศ  ดังนั้นการจะทำอะไร ไม่ว่าจะผลิตสินค้าจากความคิดของเราเอง พอจะทำจริงเข้ากับไม่มีทุน ต้องหาแหล่งกู้จากต่างประเทศ ===> แล้วเมื่อไหร่เราคนไทย “จะเลิกจากการกู้เงินจากต่างประเทศ” เสียทีนะคะ

     ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

    หนูขอแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เก็บมาฝาก ตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่อง Creative Economy กันทุกภาคส่วน ดังนั้น ขอเก็บ ภาพ  หนังสือของผู้ที่พูดถึงเรื่องนี้ คนแรก ๆ นะคะ

    John Howkins

    John Howkins first published his ideas on creativity and innovation in ‘The Creative Economy’ in 2001. His new book, 'Creative Ecologies: Where Thinking is a Proper Job' will be published in Spring 2009.

    He is Chairman of BOP Consultants and has advised global corporations, international organisations, governments, and individuals. He has worked in over 30 countries including Australia, Canada, China, France, Greece, India, Italy, Japan, Poland, Singapore, UK and USA.

    One of his major interests is the use of intellectual property laws to support the creative economy. He is the Director of the Adelphi Charter on Creativity, Innovation and Intellectual Property. He devised the London Intellectual Property Advisory Service now called Own It.

    His business career has been spent in TV, film, digital media and publishing.  He is a Director of HandMade plc, a films and rights owner listed on London’s AIM market, and Hotbed Media Ltd.  He was associated with HBO and Time Warner from 1982 to 1996 with responsibilities for TV and broadcast businesses in Europe.

    He is Deputy Chairman of the British Screen Advisory Council (BSAC). He is a Member of the United Nations UNDP Advisory Committee on the Creative Economy.  He is a former Chairman of the London Film School and is a former Executive Director of the International Institute of Communications (IIC).

    He is Visiting Professor, Lincoln University, England, and Vice Dean and Visiting Professor, the Shanghai School of Creativity, Shanghai Theatre Academy, China.

    His books include
    ‘Understanding Television’
    ‘Communications in China’
    ‘New Technologies, New Policies’
    ‘Four Global Scenarios for Information’
    CODE
    ‘The Creative Economy’

     

    ที่มา : http://www.creativeeconomy.com/john.htm

    ขอบพระคุณค่ะ

    ladda pinta

    เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพยยิ่ง

            หนูสมศรี นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี เห็นท่านอาจารย์ท่านถือหนังสือในมือ(8ตค.2552)ชื่อหนังสือ Who’s Your City?: How the Creative Economy Is Making Where to Live the Most Important Decision of Your Life ชื่อผู้แต่ง Richard Florida ผู้แต่ง  ได้มีผู้วิจารณ์ หนังสือ เล่มนี้ว่าจะเน้นหนักใน เรื่อง “ทางจิตวิทยาและกระบวนการทางจิตใจ” ทฤษฏีนี้เชื่อว่า “ผู้คนที่อาศัยในแต่ละเขตนั้นจะมีค่านิยมและบุคลิกภาพแตกต่างกัน” “คำถามสำคัญคืออะไรที่เป็นคุณค่าสำคัญในชีวิตเรากันแน่ (ค่านิยมนั่นเอง) ซึ่งเมื่อเราตอบตัวเองได้ เมื่อนั้นเราก็จะ “หาที่ทางที่เหมาะสมสำหรับตัวเองได้ด้วยเผลอๆการเลือกที่อยู่อาศัยนี้จะสำคัญยิ่งกว่าการเลือกอาชีพหรือเลือกคู่ครองเสียด้วยซ้ำ” ฟังดูเป็น ทฤษฎีที่น่าท้าพิสูจน์ อยู่ไม่น้อยเพื่อน ๆ Ph.D3 SSRU น่าทำ วิจัยเรื่องนี้ดูนะคะ เช่น การเลือกที่อยู่อาศัยที่ถูกกับค่านิยมส่งผลให้ครอบครัวเกิดความสุขจริงหรือไหม?  Richard Florida ได้ขยายเนื้อหาออกไปว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างไร? และเสนอกลยุทธ์ว่าอเมริกาจะต้องทำอย่างไร เพื่อเป็น “ผู้นำทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของโลก” หนังสือเล่มนี้บอกว่า “อนาคตของธุรกิจทั่วโลกอยู่ในกำมือของสมองซีกขวา!”  โดยได้อธิบายถึงการเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจจากยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม ยุคข้อมูลข่าวสาร และยุคของความคิด โดยได้อ้างอิงถึงแนวโน้มสามอย่างที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจของอนาคต นั่นคือ

    1) Abundance – การที่ผู้บริโภคในปัจจุบันมีทางเลือกมากมายและไม่มีอะไร ‘จำกัด’ อีกต่อไป

    2) Asia – พลังของการ Outsource

     3) Automation – การทดแทนแรงงานคนด้วยคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยี แนวโน้มดังกล่าว ทำให้ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ

            ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำว่า “การสร้างสรรค์” ได้กลายเป็นคำติดปากและเป็นประเด็นสำคัญในการถกเถียงเกี่ยวกับ นโยบายทางวัฒนธรรม การพัฒนามนุษย์และอุตสาหกรรมสื่อและวัฒนธรรม และมันก็เป็นคำที่มักถูกใช้ผิดๆ ในการอธิบายทุกอย่างตั้งแต่ อัจฉริยะทางดนตรีและศิลปินไปจนถึงระบบบัญชีการเงิน การสอนหนังสือหรือการจัดการบุคลากร แต่จริงๆ แล้วมันคืออะไร…Negus และ Pickering ได้นำเสนอวิธีการที่ชัดเจนและมีตรรกะสำหรับการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “การสร้างสรรค์” และการที่มันได้กลายเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมคุณค่าทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ศึกษาด้านสื่อและวัฒนธรรมซึ่งต้องมีความเข้าใจ เรื่อง การผลิตเชิงวัฒนธรรม (Cultural Production) การสื่อสาร วัฒนธรรมป๊อบปูล่าร์ และทฤษฎีทางวัฒนธรรมด้วย และเป็นไปตาม  ทฤษฎี 8 K’s + ทฤษฎี 5 K’s  ท่าน ศ.ดร.จีระ  อย่างแน่นอนนะคะ และท่านคือท่านอาจารย์ที่พวกเราชาว SSRU เคารพรักยิ่ง

     

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    ยุทธศาสตร์ประเทศไทย : เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy

    สวัสดี ลูกศิษย์และชาว blog ทุกท่าน

                 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา นักศึกษาปริญญาเอก

    มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาร่วมกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ผู้สอน ได้จัด Pubic Seminar เพื่อกระจายความรู้ไปสู่ประชาชน เรื่อง ยุทธศาสตร์ประเทศไทย : เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy

                โดยมีคุณอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติมากล่าวเปิดงานและกล่าวปาฐกถา และรศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ กล่าวรายงาน

                และช่วงเสวนาได้รับเกียรติจาก ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ, ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์, ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ เป็นวิทยากรการสัมมนาและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดำเนินรายการ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

                รายละเอียดต่างๆ ผมได้นำมาลงคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า หน้า 5 วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2552 ซึ่งผมนำมาฝากให้ลูกศิษย์และผู้สนใจได้อ่านครับ

                                                              จีระ  หงส์ดลารมภ์

     

     

    ข่าววันที่ 8 ตุลาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

     

     

     

     

             นายอลงกรณ์ พลบุตร  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์  กล่าวในงานสัมมนา “ยุทธศาสตร์ประเทศไทย  เพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy”  โดยย้ำว่าการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจ สร้างสรรค์เมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับหลังจากมีกระแสข่าวว่าเกิดการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข  ไม่อยากให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกระทรวงพาณิชย์  จึงได้มอบหมายให้ตนไปดูแลอย่างใกล้ชิด

             นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งต่อไป จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล  โดยจะดึงมือปราบที่ดูแลด้านทุจริตเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต  เพราะทุกโครงการจะต้องโปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ  สำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องใหม่  หลายประเทศกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้  ซึ่งรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญ  เพื่อต้องการพัฒนาประเทศและดึงโครงการนี้เป็นวาระแห่งชาติ  โดยคาดหวังจะขับเคลื่อนสร้างมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากร้อยละ 10-12  ของจีดีพีเป็นร้อยละ 20  ของจีดีพีในปี  2555  พร้อมทั้งจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในอาเซียน

             รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า  ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่  13  ตุลาคมนี้ คณะกรรมการเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเสนอของบประมาณ  เพื่อดำเนินงานและโครงการต่าง ๆ  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้วงเงิน 22,000  ล้านบาท  แต่หากบางโครงการไม่ได้รับอนุมัติเงินจากโครงการไทยเข้มแข็ง จะเสนอขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป และเร็ว ๆ นี้  จะหารือกับกระทรวงศึกษาธิการที่จะนำกรอบแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์บรรจุไว้ในตำราเรียนไม่ว่านอกเวลาหรือในเวลา  เพื่อปูพื้นฐานให้เยาวชนของชาติสามารถเรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ในหลายด้านทั้งทางตรงและทางอ้อม และยังมั่นใจ หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง เศรษฐกิจสร้างสรรค์จะมีความเข้มแข็งในอนาคต 

     

     

    สศช.กันเงิน 1,000 ล้าน ใส่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

    หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ สรุปข่าวเศรษฐกิจ -- พฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2009 05:41:35 น.

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือครีเอทีฟ อีโคโนมี ไทยแลนด์ เห็นชอบให้นำเงินจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง วงเงิน 1,000 ล้านบาท โดยให้กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ ไปจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของโครงการที่มีความจำเป็นในลำดับแรกเพื่อรับเงินก้อนนี้ก่อน โดยให้เสนอเข้าที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง

     

     

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

         ผมได้ฟังรายการวิทยุเช้าที่ 11/10/2552 นี้ท่านอาจารย์กล่าวยกตัวอย่างคนไทยที่ทำงานบริษัทข้ามชาติ IBM ฌะอเป็นคนไทยที่เก่งมาก ๆ ๆ ๆ ได้รับการยอมรับถึงระดับ Inter แล้วครับ

         รายการของอาจารย์มีความหลากหลายทั้งความรู้ ข่าวสารทั้งในและต่างประเทศ กีฬา เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ดีมาก ๆ ๆ เลยครับ

    วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 17:47:07 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



    เปิดหัวใจแกร่ง "ศุภจี สุธรรมพันธุ์"คนไทยคนแรกนั่งเก้าอี้ผู้ช่วยCEOใหญ่ IBMที่นิวยอร์ค

    สัมภาษณ์พิเศษหญิงแกร่ง"ศุภจี สุธรรมพันธุ์" คนไทยคนแรกที่ก้าวขึ้นนั่งในตำแหน่งผู้ช่วยCEOใหญ่ ของยักษ์สีฟ้าIBMที่นิวยอร์ค กับหลักในการทำงาน work life integration อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้

    16 มกราคม 2552 ถือเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตการทำงานครั้งสำคัญของ "ศุภจี สุธรรมพันธุ์" รองประธานกลุ่มธุรกิจทั่วไป ไอบีเอ็มอาเซียน ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของยักษ์สีฟ้าไอบีเอ็ม "Sam Palmisano" ที่ไอบีเอ็มสำนักงานใหญ่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

     

    โดยที่มีชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า "Client Advocacy Executive, Supporting IBM Chairman, President and CEO Sam Palmisano" "ศุภจี" ไม่เพียงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญดังกล่าว แต่ยังถือว่าเป็นคนอาเซียนคนแรกที่ได้ก้าวไปถึงตำแหน่งดังกล่าว นับว่าเป็นผู้บริหารหญิงที่มีความสามารถและประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง

     

    นับตั้งแต่เป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่ง "กรรมการผู้จัดการ" บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ด้วยอายุเพียง 38 ปี และยังเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งรองประธานของไอบีเอ็มอาเซียน  

    เรียนท่านศ.ดร.จีระ

    เมื่อวันที่ 8 ตค 52 ที่ผ่านเป็นวันที่ผมและพี่ๆปริญญาเอกสวนสุนันทารุ่นที่3ได้จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่องยุทธศาสตร์ประเทศไทยเพื่อก้าวไปสู่ Creative Economy สิ่งแรกที่ผมอยากจะบอก คือ ผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ช่วยทำให้โลกทรรศน์ของผมเปิดกว้างมากขึ้น คงมีโอกาสไม่บ่อยที่ผมจะได้เป็นส่วนหนึ่งการการจัดเสวนาวิชาการลักษณะนี้ ผมรู้สึกภูมิใจ และดีใจที่เลือกเรียนปริญญาเอกที่สวนสุนันทา อาจารย์สอนให้ผมรู้จักการแสวงหาความรู้ กล้าที่จะคิดนอกกรอบ ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา และการรู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน โอกาสแบบนี้มีไม่บ่อยจริงๆครับ อาจจะเป็นเพียงครั้งเดียวในชีวิตก็ได้ สิ่งที่สอง ผมต้องขอบคุณท่านอธิการบดี คณะวิทยากร ผู้ร่วมงานเสวนาทุกท่านที่สนับสนุน แบ่งปัน และต่อยอดความคิดในเรื่องของCreative Economy เพื่อให้โครงการนี้ของรัฐบาลสามารถดำเนินต่อไปได้ อย่างน้อยก็มีคนรู้จัก Creative Economy มากขึ้นอีก 200-300 คน สุดท้ายคงจะต้องขอบคุณพี่ๆนักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่3ทุกคน ครับที่ช่วยกันทำงาน ช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมาก ตอนเตรียมงานและทั้งหน้างาน ให้คำแนะนำดีๆที่พี่มีให้ผมตลอด ขอบคุณป๋าธนพล (พ่องานของเรา) พี่ฉัตรแก้ว(ผู้เคลียร์ปัญหาหน้างาน) พี่เล็ก สุนันทา(ที่คอยประสานงานกับสสว.และวิทยากร แม้งานขายประกันจะยุ่ง) พี่กว้าง พี่จิราพร พี่ผอ.สมศรี(ที่คอยสนับสนุนเรื่องทำสูจิบัตร เอกสารประเมินเป็นต้น) พี่เปิ้ล สมศรี (ที่คอยดูแลรัฐมนตรี อลงกรณ์ พลบุตร) พี่ทักษิณานันท์ (ที่คอยประสานงานในการเชิญรัฐมนตรี และเป็นพิธีกรในงาน) พี่สกลชัย(ที่นำนักศึกษามาช่วยงานและเป็นพิธีกรชาย) พี่หลาน (ที่คอยดูแลขกหน้างาน และสนับสนุนข้อมูลในการทำคอลัมส์ ท่องเที่ยวไทยตามสไตล์ PHP.(สาวข้าวนึ่ง))ขอบคุณพี่นกสำหรับสถานที่ นำนักศึกษามาช่วยและความเอื้อเฟื้อในเรื่องสนับสนุนต่างๆ ท่านรองฯชัย ที่ให้กำลังใจที่ดี ขอบคุณ คุณเอ้ ที่คอยประสานงานกับพวกเราและคอยช่วยเหลือพวกเราตลอด ขอบคุณน้องแบงค์และน้องอิ๋ว เจ้าหน้าที่โครงการที่สนับสนุน ช่วยเหลืองานต่างๆของพวกเราจนงานเสร็จ ขอบคุณทุกท่านมากครับสำหรับประสบการณ์ครั้งนี้ คุ้มค่าจริงๆครับ (จริงๆแล้วทุกคนช่วยกันมากกว่านี้นะครับ)

    ขอบคุณครับ

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    0863517928

    เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ที่เคารพค่ะ

    บทความพิเศษ คลัสเตอร์ ( Cluster ) กู้ชาติ โดย ดร.วิลเลี่ยม วู

    Thursday, 9 August 2007 08:28 -- ธุรกิจ/สินค้า

    คำว่า “ รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย ” เป็นคำพังเพยโบราณ ที่ยังใช้ได้ดีอยู่ในยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการทำ คลัสเตอร์ แนวทางสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์ โอท็อป การออกกฎหมายต้านโมเดิร์นเทรด เพื่อช่วยรักษาโชว์ห่วย หรือ แม้กระทั่งนโยบายการกระตุ้นส่งออกสู้ค่าเงินบาท ล้วนเป็นนโยบายที่ดี ซึ่งยังไม่สามารถทำให้ประสพผลสำเร็จให้เป็นรูปธรรมได้...เนื่องจากผู้ที่คิดนโยบายไม่ใช่ผู้รู้ และ ผู้ปฏิบัติจริงในอุตสาหกรรมนั้นๆ จึงขาดประสบการณ์เชิงลึกในการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติได้

    ผู้ที่จะทำให้แนวคิดต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้นั้น ควรเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการอุตสาหกรรมนั้นๆ และ รู้จริง อย่างเช่น การทำ คลัสเตอร์ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า เหมือนกับ กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก็คือ คลัสเตอร์ โดยที่จริงแล้ว คลัสเตอร์ หมายถึง การรวบรวมเอาผู้ผลิต เส้นด้าย โรงย้อม สีย้อม โรงทอ ผู้ออกแบบ และ โรงเย็บ มารวมกัน เป็นกลุ่ม ถ้าจะให้ดีต้องมีผู้ซื้อ อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ พ่อค้าส่ง หรือ ผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาร่วมด้วย ยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น จนทำให้เกิด ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ( Value Chain ) เกิดขึ้น เราอาจเรียก คลัสเตอร์ นี้ว่า Garment Cluster หรือ คลัสเตอร์เสื้อผ้าสำเร็จรูป หรือ อีกนัยหนึ่ง การทำ คลัสเตอร์ อาจจะรวมเอา ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ขายสินค้า และ ผู้ซ้อสินค้า ยกตัวอย่างเช่น การนำเอา ฟาร์มโค กระบือ โรงฆ่าสัตว์ โรงฟอกหนัง โรงงานผลิตเครื่องหนัง รองเท้า หมวก กระเป๋า และ เสื้อหนังมารวมกัน รวมทั้งผู้ออกแบบ ผู้ซื้อ ผู้ขายส่ง และ ห้างค้าปลีก รวมกันเป็น Leather Cluster หรือ คลัสเตอร์ เครื่องหนัง ขอบข่ายอาจจะแคบลงไปหากรวมกันยาก หรือ วัตถุดิบบางอย่างอยู่ต่างประเทศ ก็ทำ กลุ่มเล็กๆ ที่มีต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ ที่อยู่ในจังหวัด หรือ ในประเทศก่อน เป็น ห่วงโซ่อุปทานสั้นๆ ก็ได้ การทำ Fashion Cluster เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งไม่ใช่แค่เอาเครื่องหนังสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป และ จิวเวอร์รี่มารวมกันก็เป็นคลัสเตอร์ ได้ เพราะนั่นเรียกว่า เป็น Category Cluster คือคล้ายๆร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง เท่านั้นเอง ซึ่งไม่แน่เสมอไปที่ผู้ซื้อ จะต้องเป็นคนๆเดียว หรือ กลุ่มเดียวกัน จึงทำให้การรวมตัวนั้นดูดี แต่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ยกเว้น งานเดินแฟชั่นโชว์ หรือ การเปิดร้านค้าปลีกเท่านั้น เพราะไม่เกิดการรวมตัวในด้านวัตถุดิบ หรือ แม้กระทั่งการพูดคุยก็พูดกันคนละเรื่อง เพราะ เสื้อผ้ามีวัตถุดิบหลากหลายประเภท กระเป๋า และ จิวเวอรี่ก็เช่นกัน ทำให้ดู คลัสเตอร์ กว้างเกินไปจนจับต้นชนปลาย หรือ เริ่มต้นไม่ถูก

    โอท็อป ก็เช่นกัน คือ ไม่ได้ผลิตตามข้อมูลตลาด แต่ผลิตตาม การสนับสนุนของรัฐฯ จังหวัด หรือ อำเภอหนึ่ง อาจมีความถนัด หรือ วัตถุดิบ ทำไวน์องุ่นได้ แต่ จังหวัดอื่นๆ อาจทำไม่ได้ ไม่ใช่ ให้ทุกจังหวัด ทำไวน์เหมือนๆกันหมด ทุกๆ อำเภอ หรือ สถานที่ย่อมต้องมี Product Champion หรือ พระเอก เพียงตัวเดียว ไม่ใช่ผลิตได้ทุกอย่าง เหมือนจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อก่อนเป็น เมืองที่มีวัฒนธรรมล้านนา ปัจจุบัน ไม่รู้ว่า กลายเป็นอะไรแล้ว ทั้งศูนย์ประชุมนานาชาติ ศูนย์ดอกไม้นานาชนิด ศูนย์ท่องเที่ยวไนท์ซาฟารี แล้วยังเป็น ฮับของสายการบินอีก เป็นต้น จนไม่รู้ว่า จะให้คำนิยามเชียงใหม่ว่าอะไร เพราะไม่มีจุดยืน หรือ Positioning ที่เด่นชัด การออกกฎหมายสกัดกั้นการขยายตัวของโมเดิร์น เทรด ก็ทำได้ช้ามาก จนเกือบจะสายเกินแก้ เพราะ ทุกที่ ทุกจังหวัด ทุกซอย มี โมเดิร์นเทรด ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก Express, kiosk เต็มไปหมด เหมือน Sme , Otop และ โชว์ห่วย เป็น แซนด์วิช ถูกบีบทั้งบน และ ล่าง จนไส้กรอกแบนเป็นแฮมแล้ว

    โรงงานที่ผลิตส่งออกก็ยังเล่นเพลงเดิมๆ คือ รับจ้างผลิต OEM กินค่าแรงเป็นหลัก พอค่าแรงเพิ่ม วัตถุดิบแพงขึ้น หรือ แม้กระทั่ง ค่าเงินบาทแข็งตัว โดยไม่ได้คาดคิด เหมือน คลื่น ซึนามิ ก็ไม่มีกำแพงป้องกัน จนต้องปิดกิจการทำให้เกิดปัญหาว่างงาน สร้างปัญหาสังคมเพิ่มอีก หลายพันครอบครัว เหตุเพราะพึ่งแต่ตลาดส่งออก 100% หรือ ขายโมเดิร์นเทรด 100% พอเขาเลิกซื้อ หรือ ปันใจให้ที่ๆถูกกว่า ก็หายใจไม่ออก ตายทันที เพราะยืมจมูกเขาหายใจมาตลอด ไม่มีก๊อก 2 เหมือนมอร์เตอร์ไซด์ มีก๊อกเดียว หมดแล้ว....หมดเลย หมดทั้งเงิน หมดทั้งธุรกิจ เผลอๆยิงตัวตาย หมดทั้งชีวิต ทั้งตระกูลก็มี แล้วนโยบายรัฐบาล ก็มักเป็นนโยบายวัวหายแล้วล้อมคอก คือ มาออกกฎให้ฝากเงินดอลล่าร์ได้นานขึ้น แนะให้ทำการซื้อเงินดอลล่าร์ หรือ ผูกค่าเงินไว้ล่วงหน้า จะผูกทำไมในเมื่อ ค่าเงินมันแข็งจนใกล้ติดเพดานแล้ว มีแต่จะอ่อนลง ไม่แข็งมากกว่านี้แล้ว

    เมื่อรู้ปัญหาอย่างนี้แล้ว ประกอบกับธุรกิจร้านอาหารในไทยกำลังรุ่งเรือง เหตุเพราะว่า ร้านอาหารในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น อาหารไทย จีน เกาหลี ญี่ป่น ฝรั่ง หรือ แม้กระทั่ง อินเดีย เมื่อมาดัดแปลงโดยกุ๊กไทย ให้เหมาะกับรสชาติที่คนไทยชอบแล้ว อาหารทุกชนิดมีรสจัดจ้าน กว่าเดิม และ เป็นที่ถูกปากของคนทั้งโลก อีกทั้ง กุ๊ก หรือ เชฟไทยก็เป็นที่ต้องการของร้านอาหารทั่วโลกอีกด้วย ประเทศไทยก็มีวัตถุดิบในการประกอบอาหารอยู่มากมายกว่า ทุกๆประเทศ ทั้งเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ เครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น จึงเป็นแนวร่วมที่ดี ที่จะทำ คลัสเตอร์ ที่ไทยมีทั้ง วัตถุดิบที่ดี บวกกับ คนทำอาหารที่เก่ง และ เป็นประเทศที่น่าท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมที่สวยงาม มีทะเลสวยงาม ที่ว่ายน้ำอาบแดดได้ ไม่เหมือนเมืองนอก ที่น้ำเย็นเจี๊ยบ และอากาศเย็น ไม่สามารถถอดเสื้อ อาบแดดได้ จึงทำให้ประเทศไทย โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว และ เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ พัทยา หัวหิน ภูเก็ต เกาะสมุย และ เชียงใหม่ คราคร่ำไป ด้วยนักท่องเที่ยว บางคนติดใจ มาตั้งรกราก เปิดร้านอาหาร โรงแรม ร้านเหล้า และ แต่งงานกับสาวไทย ก็มากมาย

    ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทั้ง ปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ของ ประเทศไทย ประกอบกับประสบการณ์ในวงการ ผัก ผลไม้สด อาหารกระป๋อง แช่เข็ง อาหารแห้ง ของใช้บนโต๊ะอาหาร และ เครื่องครัว ของ ดร.วิลเลี่ยม วู คนไทย 100% บ้านเกิดแถวหัวลำโพง ตลาดน้อย จึงทำให้แนวคิดหาทางออกโดยจัดทำ คลัสเตอร์ ของใช้ต่างๆในร้านอาหาร และ โรงแรม ขึ้น เนื่องจาก ร้านอาหาร และ โรงแรมไทย มีมาก แต่เชื่อไหมครับว่า ร้านอาหารเหล่านี้หาซื้อ อุปกรณ์ในการทำอาหารได้ยากมาก เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร การจะจัดซื้อ จัดหาสินค้าให้ครบตามที่ กุ๊ก เชฟ ฝ่ายจัดเลี้ยง หรือ ตามที่ลูกค้าร้านอาหารแต่ละประเภทต้องการ บางอย่างจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อทำให้ บรรยากาศในการรับประทานอาหารนั้น สมบูรณ์แบบที่สุด การใช้ทฤษฏีรวมกันเราอยู่ โดยนำเอา วัตถุดิบต่างๆในการปรุงอาหาร ของใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัวในการทำอาหาร ของตกแต่งร้านอาหาร หรือ แม้กระทั่งระบบการจัดการ และ ซอฟแวร์ในการบริหารร้านอาหาร มารวมกันนั้นในที่ๆเดียว เป็นเรื่องที่ฝ่ายจัดซื้อ ทุกคนกำลังรอคอย เพื่อลดภาระความยุ่งยาก และ งานด้านการสั่งซื้อ ให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น

    ดร.วิลเลี่ยม วู ผู้ริเริ่มโครงการ คลัสเตอร์ นี้ จึงนำ บริษัท สยาม โฮรีก้า จำกัด มาเป็นตัวกลางในการยกกองทัพ อุปกรณ์ของใช้ เพื่อร้านอาหาร และโรงแรม มารวมกัน ที่ชั้น 5 ของ ห้างเซียร์ รังสิต เพื่อให้เป็น แหล่งรวม ของใช้เพื่อร้านอาหาร และ โรงแรม จากไทย และอาเซียน โดยทำให้งานแสดงสินค้านานาชาติแห่งนี้ เป็นงานถาวร ที่เปิดทุกวัน ไม่มีวันหยุด และ เป็นจุดนัดพบ ซื้อ – ขาย แห่งใหม่ ของคนไทย และคนต่างชาติ ไม่ว่าคุณจะเป็น ผู้ซื้อ – ผู้ขาย หรือผู้อยากเปิดร้านอาหารของตนเอง เพียงแวะมาท่านก็จะเห็นสินค้ามากกว่า 100,000 รายการจากทั่วภูมิภาค

    ตัวอย่างการทำ คลัสเตอร์ ในลักษณะนี้ จึงเป็นการทำที่ไม่ยุ่งยาก มีจุดยืนที่ชัดเจน โดดเด่นไม่ซ้ำใคร และสอดคล้องกับ สภาวะเศรษฐกิจมหภาค สามารถทำเป็นศูนย์ส่งออกไปต่างประเทศได้ อีกทั้งยังเป็น ศูนย์ค้าส่งนานาชาติ ที่คนต่างจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้านสามารถแวะเวียนมาซื้อของได้ และรวมเอา อุตสาหกรรมหลัก หลากหลายอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของไทยมารวมกัน เช่น อุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร รวมทั้ง เกษตรกรที่ปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ อุตสาหกรรมเครื่องครัว อุตสาหกรรมของใช้บนโต๊ะอาหาร อุตสาหกรรมการออกแบบ และตกแต่งร้าน อุตสาหกรรม คหกรรม และ พ่อครัว และที่สำคัญเป็น คลัสเตอร์ ที่สนับสนุน อุตสาหกรรมร้านอาหาร โรงแรม และการท่องเที่ยว จนทำให้ คลัสเตอร์ อุปกรณ์ของใช้ในร้านอาหาร และ โรงแรม ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ โฮเร็กซ์ ” นี้ จึงจะเป็นตัวอย่างการทำ คลัสเตอร์ ที่ถูกที่ ถูกทาง และถูกเวลาในสถานการณ์ขณะนี้

    ที่มา : http://www.newswit.com/news/2007-08-09/0828-36c44869226116b6a28ef9c5aaaf78a4/

    ลัดดา ปินตา

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพค่ะ

    จากทฤษฎี"ไมเคิล อี. พอร์เตอร์" สู่"คลัสเตอร์" การรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อความอยู่รอด อุตสาหกรรมไทย

    มติชนรายวัน วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546

    มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการที่มีอิทธิพลต่อเศรษกิจโลก ได้แก่

    กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)

    การเปิดเสรีทางการค้า (Trade Liberalization)

    และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านไอทีและเทคโนโลยีชีวภาพ

    ประเด็นท้าทายของประเทศไทยต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ ปัจจุบัน ภาคการผลิตและบริการของบ้านเราต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรง ในขณะที่ยังคงมีความอ่อนแอทางโครงสร้างการผลิตหลายประการ ทั้งเรื่องของผลิตภาพต่ำ การสร้างนวัตกรรมมีน้อย

    ซึ่งผลลัพธ์ไม่เพียงแต่ทำให้ไทยต้องสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้แก่ประเทศคู่แข่งในตลาดโลก แต่ยังรวมถึงผลกระทบที่ไม่อาจขยายสัดส่วนของการส่งออกให้มากขึ้นอีกด้วย

    นำไปสู่แนวคิดที่ประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่จะนำเอาคลัสเตอร์ หรือการพัฒนา เครือข่ายวิสาห กิจ (Clustering) มาใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระดับจุลภาค เพื่อมาเสริมนโยบายและมาตรการด้านมหภาค ซึ่งครอบคลุมในเรื่องภาษี การเงิน และการส่งเสริมการลงทุนอยู่แล้ว

    คลัสเตอร์ได้รับการพัฒนาให้เป็นทฤษฎีในฐานะที่เป็นเครื่องมือการพัฒนาในระดับจุลภาค มีจุดกำเนิดมาจากทฤษฎีว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันของชาติ ของศาสตรา จารย์ไมเคิล อี.พอร์เตอร์ ใน ค.ศ.1990 โดยเสนอในบทความวิชาการ "The Competitive Advantage of Nations" ว่าแนวคิดที่มีความหมายอย่างแท้จริง ของความสามารถในการแข่งขันของประเทศคือ การเพิ่มผลิตภาพ (productivity)

    พอร์เตอร์ได้ตั้งคำถามว่า เหตุใดความเก่งเฉพาะสินค้า หรือบริการต่างๆ จึงเกิดขึ้นในเฉพาะถิ่นฐานต่างๆ นั้น ได้เช่น ไวน์ น้ำหอม ที่ฝรั่งเศส ไม้ตัดดอกที่เนเธอร์แลนด์ หรืออุตสาห กรรมการบินที่วอชิงตัน ฯลฯ

    ซึ่งคำตอบที่ได้จากงานวิจัยของพอร์เตอร์พบว่า เบื้องหลังความเก่งของประเทศต่างๆ นั้นจะต้องมีการตั้งถิ่นฐานของคลัสเตอร์ในรายสินค้าอยู่ในประเทศด้วยเสมอ

    ดังนั้น คลัสเตอร์ในความหมายของพอร์เตอร์ จึงหมายถึงเครือข่ายที่ประกอบด้วยคุณ ลักษณะ 4 ประการมารวมกัน ประกอบด้วย

    1) การเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน คุณลักษณะนี้ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว

    2) ความร่วมมือซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญประ การหนึ่ง

    3) การแข่งขัน ข้อแตกต่างของคลัสเตอร์คือเป็นความร่วมมือที่อยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน

    ทำให้แตกต่างจากคำว่า cartel ที่มุ่งกำหนดกลไกราคาหรือปริมาณเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในบรรดาหมู่สมาชิก และประสิทธิภาพโดยรวม

    การประยุกต์ใช้กับภาคการผลิตของไทย

    นโยบายอุตสาหกรรมที่ยึดถือกันโดยทั่วไป จะมุ่งเน้นการเลือกส่งเสริมอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน ที่มีพื้นฐานแนวคิดว่าอุตสาหกรรมบางประเภทจะสร้างความมั่งคั่งได้มากกว่าประเภทอื่น

    ในขณะที่แนวคิดคลัสเตอร์กลับมุ่งเน้นถึงการเชื่อมโยงผลผลิต ความสามารถในการแข่งขันและกลไกตลาด โดยไม่มุ่งส่งเสริมคลัส เตอร์ใดโดยเฉพาะ

    แม้ว่าหลายประเทศได้นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้เป็นเวลามากกว่า 10 ปี และได้มีนักวิชาการหลายสำนักในเมืองไทย ได้ศึกษาค้น คว้า วิจารณ์และเปรียบเทียบกับทฤษฎีอื่นๆ ในการพัฒนาประเทศ แต่ยังไม่มีการประยุกต์ เพื่อใช้กับการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบและแพร่หลาย

    ทำให้คลัสเตอร์ยังคงเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย

    สังคมเศรษฐกิจไทยโดยรวม ยังยึดติดกับแนวคิดภายใต้กรอบความได้เปรียบทางธรรมชาติ (Comparative Advantage) มากกว่าความเก่งหรือความสามารถในการแข่งขัน (Competive Advantage) ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางภาวะวิสัยที่แปลกแยกจากกระบวนการพัฒนาคลัสเตอร์อยู่มาก

    เริ่มจากทัศนคติทั่วไปในหมู่ผู้ประกอบการที่ยังหวังพึ่งพารัฐ แทนที่จะเห็นรัฐเป็นเช่นผู้ร่วมงานหรือแบบอย่างในการประกอบการที่ยึดถือกันอยู่ก็เน้นไปที่ยอดขาย และราคามากกว่าการพัฒนาธุรกิจด้วยนวัตกรรมต่างๆ

    อย่างไรก็ตาม หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใน สังคมเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนได้ในระดับหนึ่ง โดยที่แนวคิดคลัสเตอร์ได้ฟูม ฟักตัวขึ้นในหมู่นักวิชาการไทย หลายสถาบัน เช่น กลุ่ม C&C (Cluster for Competitiveness) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักธุรกิจ นักคิดและอาจารย์มหาวิทยาลัยของประเทศ และได้เริ่มแพร่หลายไปยังกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม คลัสเตอร์ในฐานะเครื่องมือทางยุทธศาสตร์และนโยบาย

    ในส่วนของภาครัฐได้มีการบรรจุแนวคิดคลัสเตอร์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 (2545-2549) ในลักษณะของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ระหว่างสถาบัน การเชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างสมดุล สะท้อนออกมาในยุทธศาสตร์สำคัญๆ ดังนี้

    ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งได้มุ่งการสร้างเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจและสังคมระหว่างเมืองและชนบทให้มีบทบาทสนับสนุนซึ่งกันและกัน

    ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้กำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนาของไทย ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ที่มีสมรรถนะ (Modern/ High Pertiormance Economy) ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 5 ประการได้แก่

    1) การเพิ่มความเร็วในการดำเนินงาน

    2) การสร้างธรรมาภิบาลทั้งภาครัฐและเอกชน

    3) โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ

    4) การบริหารด้านเศรษฐกิจที่รอบคอบและ

    5) ทุนทางสังคมที่มีคุณภาพ

    โดยกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดส่งออกของโลกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.1 ในปี 2549 และการกำหนดตำแหน่งของประเทศ ในสาขาเศรษฐกิจ ที่มีศักยภาพเพื่อสร้างความเป็นเลิศ (Global Niches) เช่น การท่องเที่ยว ศูนย์กลางแฟชั่น ครัวของโลก เทคโน โลยีชีวภาพ เป็นต้น

    ทั้งนี้ ได้มีการนำแนวคิดคลัสเตอร์เข้ามาเป็นแนวทาง ในการปรับโครงสร้างภาคการผลิต และบริการบนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ความสามารถในการแข่งขัน จะต้องเกิดจากประสิทธิ ภาพโดยรวม อันเป็นผลมาจากการรวมตัวของกลุ่มภาคการผลิต

    จากเดิมที่มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาระดับผู้ประกอบการ การส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ซึ่งให้ผลในวงจำกัด

    ประโยชน์และข้อได้เปรียบ

    กระบวนการคลัสเตอร์ (clustering process) ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขัน โดยจะช่วยเพิ่มผลผลิตของบริษัทผู้ประกอบการ พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรม และช่วยกระตุ้นให้เกิดธุรกิจใหม่ขึ้นมา โดยอาจสรุปข้อได้เปรียบของคลัสเตอร์ ดังนี้

    1) การจัดหาองค์ประกอบพิเศษในการผลิตได้ง่ายรวมทั้งจุดเด่นเรื่องต้นทุนของการจัดหาจะต่ำกว่ารูปแบบอื่นๆ ด้วย

    2) การจัดแบ่งหน้าที่การผลิต ตามความชำนาญของผู้ประกอบการแต่ละรายการในคลัสเตอร์ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัท และขนาดของการผลิตมีแนวโน้มที่จะขยายใหญ่ขึ้น

    3) การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะด้าน

    4) การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ เนื่องจากคลัสเตอร์ประกอบด้วยบริษัทผู้จัดวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนพิเศษ ให้สถาบันสนับสนุน ทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยข้อมูล/สารสนเทศ

    5) การเสริมซึ่งกันและกัน ข้อได้เปรียบ ประการนี้มาจากโครงสร้างของคลัสเตอร์ที่เป็นระบบที่ครอบคลุมทุกด้าน และทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตตลอดห่วงลูกโซ่ของการเพิ่มมูลค่า

    6) ระดับคุณภาพและผลการดำเนินการ ซึ่งการแข่งขันภายในคลัสเตอร์เป็นแรงกดดันให้มีการเปรียบเทียบคุณภาพของผลิต ภัณฑ์/บริการ ระหว่างผู้ประกอบการ

    7) การพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรม เพราะความใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการตลอดสายการผลิตกับลูกค้า ทำให้สามารถทราบถึงความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มของความต้องการได้เป็นอย่างดี ประการสำคัญที่ต้องเน้นก็คือความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตได้ช่วยทำให้กระบวนการสร้างนวัตกรรมมีประสิทธิ ภาพสูงขึ้น และการสร้างธุรกิจใหม่ภายในคลัสเตอร์

    พลวัตของคลัสเตอร์จะส่งสัญญาณถึงโอกาสช่องว่าง หรืออุปสงค์ที่ยังไม่มีการตอบสนอง โดยเปิดโอกาสให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ขึ้น มิติของการสร้างธุรกิจใหม่ในกลุ่มที่รวมตัวกันนี้ ยังรวมถึงโอกาส ที่จะช่วยขยายคลัสเตอร์ทั้งในแนวกว้าง และแนวลึก เป็นการเพิ่มความได้เปรียบของคลัสเตอร์มากยิ่งขึ้น

    ผู้ประกอบการไทยจึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมามุ่งมั่นอย่างไม่มีเงื่อนไขเพื่อนำไปสู่การรวมตัวในรูปแบบของคลัสเตอร์

    เพราะเป็นการรวมตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจตนเองอย่างแท้จริงภายใต้ความต้องการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน

    ที่มา : มติชนรายวัน วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546, ออนไลน์

    ลัดดา ปินตา

    เรียนเพื่อน ๆ ทุกท่านครับ

    ท่านอาจารย์นัดประชุม 19/10/52 ที่เดิมเวลา 17.00 น.ช่วยกันเตรียมอาหารด้วยนะครับ

    ธนพล ก่อฐานะ

    เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่างสูง 

                วันนี้หนูขอเรียนท่านอาจารย์และคุยกับ เพื่อนชาว Blog ในเรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  >>>> สืบเนื่องมาจากเดือนที่แล้วเป็นเดือนที่ข้าราชการมีการเกษียนหรือมีการลาออกจากราชการก่อนกำหนด (Early Retime)ซึ่งในกระทรวงสาธารณสุขก็มีการสูญเสียผู้มีประสบการณ์(Experience) + ผู้มีความรู้ + ความสามารถไปหลาย ๆท่านดังนั้นหนูคิดว่าสิ่งที่ออกไปกับผู้ที่เกษียนราชการก็ออกตามไปด้วนนะคะ ====>หนูเสียดาย ===> รู้สึกสูญเสียอะไรบางอย่างไป ===> เหงา ๆๆ  ข้าราชการ/บุคคลที่ออกไปคงมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน(อาจจะคิดผิดก็ได้นะคะ) แล้วเอ้ะ ???  >>>>  เกี่ยวอะไร? กับองค์กรแห่งการเรียนรู้ >>>เกี่ยวข้องกันอย่างมากคะ ทั้งเรื่อง “คน” ขาดแคลน  +  ความรู้ + ความสามารถติดตัวคนออกไปด้วยนะคะ  ทีนี้ขอคุยเรื่อง Learning Organization

          องค์กรแห่งการเรียนรู้หมายถึง การที่มีบุคคลากรในองค์กรที่ตั้งใจที่จะพัฒนา “ความสามารถของตน”  โดยการพยายาม “เรียนจากคนอื่นและพยายามหาทางเรียนรู้จากกันและกัน”  >>>>>>  แต่ถ้าหากบุคลากรที่มีความสามารถ + คือTalented Capital ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือมีคนที่ มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset)แต่ต้องสูญเสียเขาไปในลักษณะเกษียณหรือลาออกไปแล้ว หรือแม้แต่ไม่ได้ลาออก แต่ “องค์ความรู้” ในองค์กรไม่ได้เกิดการ “สะสม” กันขึ้นไปเรื่อย ๆตลอดเวลาที่องค์กรนั้นได้ทำงานปฏิบัติงานอยู่ก็ถือได้ว่าเป็นองค์กรที่  ไม่ได้เกิดการเรียนรู้และจะต้องพบกับความเสื่อมถอยไปในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกวันนี้ ที่การดำเนินธุรกิจเป็นมากกว่าความซับซ้อน และการแข่งขันระหว่างกันได้ขยายออกไปสู่ระดับโลก (Global Competition)

        ปีเตอร์ เซ็งเก้ (Peter Senge) องค์กรที่มีลักษณะที่จะ "เรียนรู้" ได้นั้น บุคคลากรในองค์กรจะต้องมีวินัยหรือ Disciplines เบื้องต้น 5 ประการคือ:
    1) คิดในระบบรวม (Systems Thinking - ไม่ใช่ Systematic Thinking)
    หลักของแนวคิดนี้อยู่ที่ การมองระบบ เข้าใจระบบ ถึงความสัมพันธ์ที่อย่างหนึ่งมีต่ออีกอย่างหนึ่ง และสามารถมองเห็นถึงกระบวนการการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ คือ เห็นการ "ป้อนกลับ" (Feedback) เมื่อมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งกับระบบมากกว่าที่จะเห็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง
    2) ความเชี่ยวชาญของบุคคล (personal mastery)คือมีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญในการงาน พัฒนาให้เกิดวิสัยทัศน์ สามารถมองเห็น กำลังความคิดกำลังงาน เพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จได้จริง
    3) มโนคติ (Mental Models) คือ แนวคิด วิธีการมองเห็นความเป็นไปของโลก ความเข้าใจในโลกและสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวที่ ฝังลึกเข้าในจิตใจ ของคนเราซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมารูปแบบของการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งยั่วยุต่าง ๆ
    4) แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ (Shared Vision) ของวินัยที่ 1 ของกลุ่มบุคคลากร
    คือการที่คนในกลุ่มหรือในองค์กรมีการแลกเปลี่ยน "ภาพแห่งอนาคต" ต่อกัน คือการพยายามที่จะทำงานเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ร่วมกัน โดยเปิดใจยอมรับฟังและพยายามทำความเข้าใจความคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง และแลกเปลี่ยนความเห็นกันมากกว่าที่จะยินยอมทำตามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งมาทำตามเราเสียเลยทีเดียว
    5) การเรียนรู้เป็นกลุ่ม (Team Learning) ของวินัยที่ 2 ของกลุ่มบุคคลากร
    คือการพยายามเรียนรู้ด้วยกัน
    คือเราก็เรียนรู้และเพื่อนร่วมงานก็เรียนรู้  เรียนรู้ด้วยการพยายามทำความเข้าใจ ทำให้เกิดการ "ร่วมด้วยช่วยกันคิด" ไม่ใช่เอาแต่ยอมรับในสิ่งที่มีที่เป็นหรือพยายามป้องกันตัว(Defensive)ในการทำงานซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดลึก ๆอยู่ว่ากลุ่มองค์กรนั้นจะทำงานในรูปแบบไหนซึ่งเป็นการบั่นทอนการเรียนรู้ร่วมกัน

                ลักษณะทั้งห้าประการข้างบนนั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวินัยหรือลักษณะของการเป็นผู้นำในการเรียนรู้ และบุคคลที่มีลักษณะอย่างนั้นก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้นำขององค์กร แต่ว่า วินัยแรกหรือการคิดแบบระบบรวม มีความเป็นพิเศษกว่าอย่างอื่น เนื่องจากทำให้ผลของวินัยข้ออื่น ๆมารวมกันให้เกิดผลดีต่อธุรกิจธุรกรรมขององค์กรได้ เนื่องด้วยความรู้ความเข้าใจในความเป็นไปและการตอบสนองของระบบโดยรวมนั่นเองและวินัยข้อแรกหรือ Systems Thinking นั้นเอง ที่ถูกเรียกว่าเป็น The Fifth Discipline

          หนูคิดว่าเป็น Concept ที่คล้าย กับทฤษฎี 4L’sของท่านอาจารย์นะคะ เป็นการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรผ่าน “ทุนทางมนุษย์” “หรือ ทรัพยากรมนุษย์” (Human Resource Architecture)ที่มีค่าที่สุด “ทุนหนึ่ง” ในทฤษฎี 8K’s นะคะ

     

        ทูลเกล้าถวายงาน "กระเป๋ายาพาสุขภาพดี" มีนาคม 2553

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081 - 9435033

     

    เรียนเพื่อน ๆ ครับ
    ผมได้อ่นบทความการคิดร่วมกันของ ดร.บวร ปภัสราทร แล้วมีประโยชน์ ผมเลยนำมาให้อ่านกัน เพราะเราจะร่วมกันคิดและร่วมกันทำอีกมากมายครับ

    คอลัมภ์นิสต์ ก้าวไกลวิสัยทัศน์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

    "คิดร่วมกัน"
    By borvorn

    บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ที่คนรู้จักกันเป็นอย่างดี นอกจากจะเก่งในเรื่องซอฟต์แวร์แล้ว ยังเป็นที่รู้กันอีกด้วยว่าเก่งในเรื่องการจัดการไม่แพ้ที่ใดในโลก บริษัทนี้ได้กำหนดไว้ว่าใครก็ตามที่จะมาเป็นผู้บริหาร ไม่ว่าระดับเล็ก หรือระดับใหญ่ ต้องสามารถคิดร่วมกับคนอื่นเป็น และต้องตัดสินใจร่วมกับคนอื่นได้ ซึ่งถ้าดูกันแค่ผิวเผินอาจคิดไปว่าไม่เห็นจะยากเย็นอะไร โดยเฉพาะเมื่อคิดว่าเป็นการคิดร่วมกันในระหว่างผู้คนที่มาจากพื้นฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่ถ้าลองนึกถึงสภาพการทำงานขององค์กรที่มีความหลากหลายสูง มีความเป็นนานาชาติให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว การที่จะสามารถคิดร่วมกันในระหว่างผู้คนที่มีพื้นฐานต่างกัน ซึ่งหมายรวมไปถึงการคิดร่วมกันในระหว่างคนทำงานที่เป็นคนต่างชาติ ต่างภาษาด้วยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างแน่นอน แม้แต่คนที่มีพื้นฐานเหมือนๆ กัน พอต้องมาคิดบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน ความเห็นก็กระจัดกระจายจนแทบจะหาความคิดที่เป็นข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ การคิดร่วมกันได้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
     

    ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งขององค์การหนึ่งของสหประชาชาติได้ให้คำแนะนำวิธีที่จะทำให้คนต่างชาติต่างภาษาสามารถคิดและตัดสินใจร่วมกันได้ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งน่าจะพอนำมาประยุกต์กับการคิดร่วมกันในระหว่างผู้คนที่ทำงานอยู่ด้วยกัน แต่มาจากหลากหลายพื้นฐานได้ ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นเสนอหลักการพื้นฐานไว้ว่า การที่จะคิดร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายได้นั้น ทุกคนที่จะมาช่วยกันคิดต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อที่ว่าต้องมีคนแพ้พร้อมๆ กับที่มีคนชนะ การคิดร่วมกันไม่ใช่การแข่งขันกีฬาที่มีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะพร้อมๆ กันไป การคิดร่วมกันที่มีประสิทธิผลนั้น ทุกคนต่างเป็นผู้ชนะทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายถึงว่าทุกคนได้ตามที่ต้องการทั้งหมด แต่หมายถึงว่าได้บางส่วน ไม่ได้บางส่วน ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ต้องทำให้ต่างคนต่างมีความสำเร็จกลับไปบอกพรรคพวกของตนได้บ้างไม่มากก็น้อย ดังนั้น ถ้าอยากจะคิดร่วมกันได้ ต้องเชื่อว่าความคิดที่จะเกิดขึ้นมาจากกลุ่มนั้น ต้องทำให้ทุกคนที่มาช่วยกันคิดสามารถกลับไปหน่วยงานของตนอย่างเป็นผู้ชนะเสมอ ชนะมากชนะน้อยไม่สำคัญ
     

    การที่มาช่วยกันคิดนั้นต้องไม่มีความพยายามที่จะนำความคิดของคนใดคนหนึ่งมากดดันให้ทุกคนเชื่อ แต่ต้องช่วยกันทำให้เกิดความเห็นร่วมกันในเรื่องที่มาช่วยกันคิดนั้น ซึ่งแนวทางหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การมีข้อสรุปที่เป็นความเห็นร่วมกันได้นั้น คือ การแสวงหาความคิดเห็นที่ไม่มีผู้คัดค้าน หรือถ้ามีการคัดค้านก็ขอให้มีน้อยกว่าความคิดอื่นๆ อย่าพยายามหาความคิดเห็นที่ตรงกับความต้องการของทุกคน เป้าหมายคือได้ข้อสรุปที่ไม่มีการคัดค้าน หรือมีน้อยที่สุด ไม่ใช่หาข้อสรุปที่ตรงกับความต้องการของทุกคน เพราะข้อสรุปที่ตรงกับความต้องการของทุกคนนั้นอาจจะไม่มีอยู่จริงก็ได้ หรือถ้ามีจริงก็ต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่จะได้ข้อสรุปตามที่ทุกคนต้องการได้ เวลาที่ยาวนานกว่าจะได้ข้อสรุปจะทำให้คุณค่าของความคิดเห็นร่วมกันนั้นลดน้อยลงไปอย่างมาก ได้ข้อสรุปที่มีคนคัดค้านน้อย หรือไม่มี โดยใช้เวลาไม่กี่วันย่อมดีกว่าที่จะรอเป็นปี เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ตรงกับความต้องการของทุกคน
     

    ผู้คนที่เข้ามาช่วยกันคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันนั้น ต้องรู้ตัวว่าความคิดใดเป็นสิ่งที่ตนเองต้องการมากที่สุด เราอาจเสนอความคิดออกไปหลายเรื่อง แต่ต้องรู้ตัวว่าความคิดใดที่สำคัญกับเรามากที่สุด ถ้าได้ข้อสรุปจากที่มาช่วยกันคิดสอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด แล้วคนอื่นจะได้อะไรที่ไม่ขัดแย้งกับที่เราต้องการ ก็ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญสำหรับเรา ตราบเท่าที่เราได้ข้อสรุปในสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดไว้แล้ว คิดไว้เช่นนี้แล้วจะช่วยลดการคัดค้านที่ไม่จำเป็นลงไปได้มาก ถ้าไม่มีการคัดค้านกันอย่างพร่ำเพรื่อย่อมได้ข้อสรุปเร็วขึ้น และหากไม่มีการคัดค้านที่เกินความจำเป็น โอกาสที่จะขัดแย้งกันเป็นส่วนตัวในหมู่คนที่มาช่วยกันคิดก็มีน้อยลง โอกาสที่จะเกิดความเชื่อถือระหว่างกันก็มีมากขึ้น เรื่องที่จะคิดร่วมกันในโอกาสต่อไปย่อมง่ายต่อการที่จะได้ข้อสรุปกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
     

    การที่จะคิดร่วมกันให้ได้ผลดีนั้น ต่างคนต้องต่างยอมรับความแตกต่างที่เกิดขึ้น เพราะต่างคนต่างมาจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน จะให้ทำสิ่งต่างๆ เหมือนๆ กันคงเป็นไปไม่ได้ เคล็ดลับสำคัญที่สุดในการที่จะร่วมกันคิดได้ในหมู่ผู้คนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน นั่นคือ ต้องอยู่กับความแตกต่างได้ เห็นความแตกต่างเป็นเรื่องปกติ ไม่วินิจฉัยว่าอะไรดีอะไรเลวจากความแตกต่างนั้น ทำงานไม่เหมือนกันไม่ได้หมายความว่าวิธีทำงานของคนหนึ่งดี วิธีการทำงานของอีกคนหนึ่งเลว มีเพียงแค่การทำงานที่แตกต่างกันเท่านั้น ถ้าเคารพและยอมรับความแตกต่างได้ ก็สามารถช่วยกันคิดเป็นกลุ่มได้ โดยสามารถได้ข้อสรุปที่มีการคัดค้านน้อยที่สุดในเวลาไม่ยาวนานมากนัก
     

    ถ้ามาคิดร่วมกันแล้วเกิดความขัดแย้งขึ้นจนดูเหมือนว่าอาจไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน ต้องแยกแยะให้ได้ว่าความขัดแย้งนั้นเป็นความขัดแย้งในลักษณะพหุภาคี มีหลายคนที่ขัดแย้งกันในเรื่องนี้ หรือเป็นเพียงความขัดแย้งในลักษณะทวิภาคี คนอื่นไม่ใส่ใจว่าข้อสรุปจะเป็นอย่างไร ฉันพอใจทั้งสิ้น เหลือเพียงมวยคู่เอกสองรายที่โต้กันไปมาเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ ซึ่งถ้าเป็นความขัดแย้งในลักษณะทวิภาคี ก็ต้องมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของสองฝ่ายนั้นที่จะตกลงกันให้ได้ว่าข้อสรุปควรจะเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้ต้องเสียเวลาของผู้อื่นที่ไม่ใส่ใจว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่สนใจว่าเมื่อใดจะเปลี่ยนไปหารือความคิดอื่นๆ ต่อไป ถ้าเป็นความขัดแย้งในลักษณะพหุภาคี ก็ให้ยึดหลักการว่าใครก็ตามที่แสดงความเห็นคัดค้าน ต้องคัดค้านพร้อมๆ กับมีข้อเสนอที่ดีกว่าควบคู่กันไปด้วย และใครก็ตามที่เป็นส่วนหนึ่งของการขัดแย้ง ต้องเป็นผู้ที่ช่วยหาทางให้ได้ข้อสรุปจากการขัดแย้งนั้นด้วย ขัดแย้งกันไม่ว่าแต่ต้องช่วยหาข้อสรุปให้ได้
     

    การคิดร่วมกันให้ได้ผลนั้นต้องอาศัยความตั้งใจจริงของทุกคนที่มาช่วยกันคิด ต้องอาศัยความพยายามอย่างจริงจังของทุกคน ถ้าทำท่าทางเหมือนกับอยากช่วยกันคิด แต่ในใจริษยาซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นเช่นนี้ แยกกันคิดอาจจะได้ผลดีกว่ารวมกันคิดเสียอีก ตราบเท่าที่ยังมีความริษยาระหว่างกันอยู่ ขออย่าได้คิดถึงการที่จะมาช่วยกันคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเด็ดขาด คิดไปก็เหนื่อยเปล่า เพราะสุดท้าย จะไม่ใช่การคิดร่วมกัน แต่จะเป็นการรวมหัวริษยาซึ่งกันและกันเท่านั้น

     

    เรียน ท่าน อาจารย์จีระ  หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างสูง  

           หนู สมศรี นวรัตน์ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆชาวBlogที่กำลังจะจัดที่จังหวัดเพชรบุรี ชะอำ-หัวหินบ้านหนู ในวันที่ 23- 25ตค.2552 ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง ประวัติความเป็นมาของ อาเซียน (ASEAN) ประชาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association   for   South   East   Asian Nations: ASEAN)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาค   ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) โดยมี 5 ประเทศผู้ก่อตั้งร่วมลงนามในปฏิญญาคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 หลังจากนั้น มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 5 ประเทศ ตามลำดับคือ

    1. บรูไนดารุสซาลาม เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2527

    2. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ.2538

    3. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสหภาพพม่า เข้าร่วมในปี พ.ศ.2540

    4. ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าร่วมในปี พ.ศ.2542

    วัตถุประสงค์ของอาเซียน  แถลงการณ์อาเซียนระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์กรไว้ดังนี้

    1. เพื่อกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ    ความก้าวหน้าทางสังคม    และพัฒนาการทางวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้

    3. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือ   ในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคนิค วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร จัดการ

    เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA)

                เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความเจริญเติบโตและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้   เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA จึงถูกก่อตั้งขึ้นในการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ในปี พ.ศ.2535 โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดเขตการค้าเสรีขึ้นภายในระยะเวลา 15 ปี
    วัตถุประสงค์ของ AFTA

    การก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน มีวัตถุประสงค์ดังนี้

                1.เพิ่มปริมาณการค้าภายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

                2.สร้างแรงดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคนี้ให้มากขึ้น

                3.ทำให้ภูมิภาคนี้เป็นฐานการผลิตที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก
    การดำเนินการภายใต้ AFTA

                วัตถุประสงค์ของเขตการค้าเสรีอาเซียนนำไปสู่การอำนวยความสะดวกต่อการค้าภายในภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการดังต่อไปนี้ 

    การปรับปรุงกระบวนการด้านการตรวจคนเข้าเมืองและภาษีของประเทศ สมาชิกให้สอดคล้องกัน เช่น

     1.ปรับขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกัน ( Harmonization of Custom Procedures )

    2.ปรับ Tariff Nomenclature ให้สอดคล้องกัน

    3.ให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม GATT Valuation Agreement

    4.อำนวยความสะดวกพิธีการตรวจคนเข้าเมืองด้วย Green Lane

    ลดอุปสรรคอันเกิดจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น

    1. ยกเลิกค่าธรรมเนียมการตรวจคนเข้าเมือง (Custom Surcharge)

    2. ปรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการตรวจประเมินเพื่อการรับรองของประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกัน (Harmonization of Product Standards and Conformity Assessments)

     3. จัดทำความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement-MRA) ต่างๆ

        หนู(สมศรี) คิดว่าการมีเพื่อนจำนวนมาก(มีเพื่อนเยอะ)และมีเพื่อนที่ดีของอาเซียนก็เปรียบเสมือนกับการที่เรามีกัลยาณมิตรหรือการที่เราได้เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เราไม่ทางตรงก็ทางอ้อมนั่นเองนะคะ ขอขอบคุณที่อ่านขอความนะคะ

     

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

     

    กราบเรียนอ. จีระและสวัสดีเพื่อนๆ พี่น้อง

    วันนี้ได้เปิด เน็ตและค้นคว้างานเพิ่มเติมจึงได้ส่งข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

    ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบ Constructionism ที่สรุปได้มีดังนี้

        เป็นการเรียนรู้ในลักษณะของการทำโครงการ หรือ Project-Based Learning นั่นคือ ผู้เรียนจะต้อง คิดสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาด้วยตนเอง จะเป็นอะไรก็ได้ อาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ รายงาน หนังสือ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ได้ ข้อสำคัญก็คือ ผู้เรียนจะต้องริเริ่มขึ้นมาเอง เพื่อให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องของตนเองอย่างแท้จริง ไม่ได้ถูกยัดเยียดโดยครูหรือหลักสูตร จะได้เกิดความภาคภูมิใจในผลงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ จะต้องเป็น ผลงานที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ (เข้าใจว่าเป็นที่มาของชื่อ Constructionism ที่แปลว่าการสร้าง) เพราะการเรียนรู้ในแนวทางนี้จะเน้นการเรียนรู้จากการลงมือทำจริง ๆ
                โครงการที่ผู้เรียนได้ลงมือศึกษาและกระทำนั้นจะต้องบรรลุผลสำเร็จ หรือหากจะหยุด ก็ต้องแน่ใจว่าได้ทุ่มเทจนถึงที่สุดแล้ว
    มีการประเมินผลความก้าวหน้าของงานเป็นระยะ การเรียนแบบทำโครงการที่แต่ละคนคิดขึ้นมาเองนั้น อาจจะทำให้การจัดสอบในแบบที่เราคุ้นเคยนั้นทำได้ไม่สะดวกและไม่เหมาะสมนัก การประเมินผลการเรียนก็คงจะต้องออกมาในรูปแบบอื่น โดยวิธีการประเมินที่ใช้กันก็คือ การประเมินจากผลงานที่บันทึกลงใน สมุดบันทึกผลงาน หรือที่เก็บรวบรวมไว้ใน แฟ้มสะสมผลงาน การประเมินจากการนำเสนอความก้าวหน้าของงาน การประเมินจากชิ้นผลงานเมื่อทำสำเร็จแล้ว ฯลฯ แต่ที่เน้นมากที่สุดก็คงจะเป็นการประเมินจากบันทึกผลงาน มีการนำเสนอความก้าวหน้าของงานให้ผู้อื่นทราบอย่างเป็นทางการอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าความก้าวหน้านั้นจะเป็นไปในทางบวกคือประสบความสำเร็จ หรือในทางลบคือพบกับอุปสรรคปัญหาก็ตาม แนวคิดก็คือว่า การที่ได้พยายามเล่าหรืออธิบายงานของตนเองให้คนอื่นรู้เรื่อง จะทำให้เราเข้าใจงานของเราได้ชัดเจนขึ้นตามไปด้วย เรียกว่า ความรู้จะตกตะกอนหรือเรียงเม็ดดีขึ้น เราจะได้เห็นลำดับขั้นตอน ที่มาที่ไป และความเป็นเหตุเป็นผลของงานที่เราทำมากขึ้น ดีไม่ดีเราอาจจะเห็นหนทางแก้ปัญหาในระหว่างที่กำลังนำเสนออยู่ก็เป็นได้ รวมทั้ง ผู้เรียนคนอื่นก็อาจจะมีแนวคิดดีๆ หรือมุมมองอื่นๆ ที่ช่วยให้เราแก้ปัญหาได้อีกด้วย ถือเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันไปในตัว มีการพบปะสังสรรค์กันในระหว่างผู้เรียนเป็นประจำ เช่น อาจจะมีสักบ่ายหนึ่งในสัปดาห์ที่ผู้เรียนและครูจะมาเจอกัน มานั่งคุยกันสบายๆ จิบน้ำชากาแฟกันไป เล่นเกมหรือเล่นไพ่กันบ้าง เล่นกีฬาเบาๆ กันบ้าง หรือจะนั่งคุยกันเฉยๆ ก็ได้ แนวคิดเบื้องหลังก็คล้ายๆ กับการขึ้นนำเสนอผลงานอย่างเป็นทางการ คือ ได้มีโอกาสเล่าให้ฟังถึงงานของตนเองว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้มองเห็นความคิดของตนเองได้ชัดเจนขึ้น เพียงแต่คราวนี้เป็นบรรยากาศแบบไม่เป็นทางการเท่านั้นเอง สิ่งที่คาดหวังอีกประการหนึ่งก็คือ การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

    (ในส่วนนี้ช่างเหมือน 4 L's ที่เรากำลังจะไปพบกันในวันที่ 21 ต.ค.52เลย)ทั้งระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง และระหว่างผู้เรียนกับครู จะได้ไม่ท้อเวลาต้องเจอกับปัญหาในการทำงานหรือการใช้ชีวิตในอนาคต มีการใช้คอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล หรือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในการเรียนรู้ ซึ่งในกลุ่มผู้วิจัยด้าน Constructionism ของ MIT ก็ได้ประดิษฐ์โปรแกรมง่ายๆ ขึ้นมาหลายโปรแกรม เช่น LEGO-Logo, MicroWorlds Logo ฯลฯ เพื่อให้เด็กเล็กๆ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ได้ง่ายๆ และไม่เป็นการบั่นทอนกำลังใจกัน สาเหตุที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมด้วยนั้น Professor Papert บอกว่า เพื่อให้มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้ก้าวทันโลกประการหนึ่ง ส่วนที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ คอมพิวเตอร์จะช่วยเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น การเขียนโปรแกรมให้ตัวการ์ตูนในโปรแกรม (โปรแกรมตระกูล Logo จะใช้เต่าเป็นพระเอก) ทำงานตามที่เราออกแบบได้ ทำได้เร็วกว่าการที่เราต้องมานั่งต่อวงจรให้หุ่นยนต์ (เต่า) ทำงานได้จริงๆ
    ครูมีหน้าที่แนะนำเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ในทิศทางเดียวเหมือนวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ ครูจะเป็นผู้ช่วยแนะนำผู้เรียนในการเลือกหัวข้อโครงการที่จะทำ แหล่งข้อมูลที่จะใช้ค้นหา แนวทางการแก้ปัญหา ตลอดจนหาโอกาสที่จะผสมผสานความรู้หลายๆ สาขาเข้าไปในโครงการในลักษณะของ สหวิทยาการ หรือ Multi-Disciplinary Education ด้วย หรือจะใช้คำว่า การเรียนรู้แบบบูรณาการ ก็น่าจะได้เหมือนกัน เช่น ผู้เรียนอาจจะอยากทดลองปลูกพืชด้วยเทคนิคใหม่ๆ ครูก็อาจจะหาโอกาสสอดแทรกความรู้เรื่องภาษาอังกฤษ เลขคณิต เคมี ภูมิศาสตร์ ชีววิทยา ฯลฯ เข้าไปด้วย สิ่งที่ constructionism เน้นก็คือ ครูก็เป็นผู้เรียนรู้คนหนึ่งด้วย ในการดูแลผู้เรียน ครูควรจะแสดงให้เห็นว่า ครูเองก็กำลังเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียนอยู่ ครูเองก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง แต่ครูสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการเรียนรู้ได้ ครูจะต้องไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่มี ตรงกันข้าม ครูจะพยายามหาข้อมูลหรือคิดแก้ปัญหาอย่างเต็มความสามารถ แนวคิด Constructionism เองยังแนะนำไปถึงว่า ให้ครูมีโครงการเป็นของตัวเอง แล้วก็ทำไปพร้อมๆ กับผู้เรียนด้วยเสียเลย
    จากลักษณะเด่นที่กล่าวมาข้างต้น ผมคิดว่า Constructionism น่าจะเป็นระบบการเรียนรู้ที่ดีที่สุดแบบหนึ่งเลยทีเดียว และอาจจะเป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า การเรียนรู้แบบยั่งยืน หรือ การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ได้ เพราะเราสามารถมองทุกๆ เรื่อง ทุกๆ งานในชีวิต ให้เป็นโครงการย่อยๆ ได้ ระบบการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้เราสามารถมองงานออกว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร วางแผนอย่างไร หาข้อมูลจากที่ไหนอย่างไร สามารถขบปัญหาให้แตกได้ถ้าเกิดขึ้น การที่ได้มีสังคมของผู้ที่สนใจในเรื่องที่คล้ายกัน ได้พบปะพูดคุยถึงงานของตนเองและของผู้อื่น ก็จะยิ่งทำให้เราเข้าใจและมองเห็นงานของตนเองได้ชัดเจนขึ้น ไม่ย่อท้อต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะจะได้กำลังใจจากกลุ่มผู้สนใจด้วยกัน และอาจจะได้แนวทางการแก้ปัญหาจากการพูดคุยกันก็ได้
    ข้อสังเกตประการหนึ่งก็คือ การเรียนรู้ในแนวทางของ Constructionism นั้น จะไม่ยึดลำดับหัวข้อตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรอย่างตายตัว แต่จะเน้นให้ผู้เรียนเลือกเรื่องที่สนใจจะศึกษาด้วยตนเองอย่างค่อนข้าง ศาสตรจารย์กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ได้เขียนเอาไว้ในคำนิยมของหนังสือเล่มนี้ว่า มนุษย์นั้นเป็นเจ้าของสิ่งพิเศษที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ได้แก่ ความคิด เหตุผล และ จินตนาการ แนวทางการเรียนรู้แบบ Constructionism จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้ใช้ศักยภาพพิเศษของสมองมนุษย์ทั้งสามด้านนั้นอย่างเต็มที่

    ไม่ถูกตีกรอบโดยหลักสูตรหรือสิ่งที่ครูเป็นผู้ถ่ายทอดเพียงฝ่ายเดียว ประสิทธิภาพของการเรียนรู้จึงสูงขึ้น เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เข้ากับลักษณะการทำงานตามธรรมชาติของสมองนั่นเอง

    ในประเทศไทยเองก็มีการนำระบบ Constructionism มาใช้เป็นเวลานานเกือบสิบปีแล้ว ทั้งในระบบการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาในโรงเรียน ในวงการอุตสาหกรรม รวมทั้งชุมชนในต่างจังหวัด ซึ่งจากตัวอย่างที่ยกมาในรายงาน ก็จะเห็นได้ว่า แนวคิด Constructionism สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกวงการ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในวงการการศึกษาเท่านั้น ตัวอย่างหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในสถานพินิจ ซึ่งมีปัญหาทั้งด้านความประพฤติและผลการเรียนในโรงเรียนที่แย่ แต่พอนำแนวคิดนี้เข้าไปใช้ นักเรียนเหล่านี้ก็กลับเรียนรู้ได้ดี มั่นใจในความสามารถของตนเอง มั่นใจว่าสามารถจะใช้ชีวิตในสังคมได้ ทำงานได้เหมือนคนอื่น สามารถเป็นที่ยอมรับของคนอื่นได้ ไม่คิดว่าตนเองเป็นตัวปัญหาของสังคมอีกต่อไป
            ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นประการหนึ่งว่า แนวทาง Contructionism นั้นสามารถใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสังคม หลังจากที่อ่านรายงานฉบับนี้จบ

    สิ่งที่คิดว่าเป็น อุปสรรคสำคัญต่อการนำ Constructionism มาใช้ในระบบการศึกษาในโรงเรียน ก็คือ
    ตัวหลักสูตรและระบบการศึกษาในปัจจุบัน ที่ทุกอย่างวางเอาไว้เป็นระบบหมดแล้วว่า ในแต่ละปี แต่ละวิชา จะต้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง ทำให้การเรียนแบบกึ่งอิสระนั้นทำได้ยาก
    วิธีการประเมินผล ซึ่งยังค่อนข้างยากที่จะวัดให้เห็นชัดเจนหรือเป็นมาตรฐานว่า ผู้เรียนมีความรู้เพียงพอที่จะผ่านขึ้นไปเรียนในชั้นสูงขึ้น หรือพร้อมที่จะออกไปทำงานได้หรือยัง
    ครูจะต้องเก่งและรู้รอบ รวมทั้ง ต้องทุ่มเทในงาน สามารถดูแลผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ รักการเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องการเรียนรู้เป็นอย่างดี สามารถรู้ได้ว่าจะต้องกระตุ้นผู้เรียนอย่างไร จะต้องเสริมอะไรตอนไหน ซึ่งจะมีครูสักกี่มากน้อยที่เป็นได้อย่างนี้ และสถานศึกษาจะกล้าทดลองหรือเปลี่ยนแปลงระบบหรือไม่ จะมีเงินทุนเพียงพอหรือไม่ที่จะจ้างครูให้มีจำนวนมากในระดับที่ครูหนึ่งคนจะดูแลนักเรียนไม่เกิน 10 ถึง 20 คนได้
    การสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับประเทศเรื่อยลงมาจนถึงในระดับท้องถิ่น สถาบันการศึกษาเอง ผู้สนับสนุนทางด้านงบประมาณทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครอบครัวของผู้เรียน ที่ยังอาจจะยังคุ้นเคยกับระบบการเรียนรู้แบบปัจจุบันที่ตนเองเคยเรียนมา และยังคงไม่ไว้วางใจในของใหม่ว่าจะดีจริงหรือไม่
    รายงานได้กล่าวถึงหลายจังหวัดในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ ลำปาง ซึ่งค่อนข้างจะประสบความสำเร็จในการนำแนวทาง Constructionism มาใช้ ศึกษานิเทศก์และสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปางได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คอยหาช่องทางจัดสรรงบประมาณหรือทรัพยากรที่จำเป็น และช่วยทำให้ขั้นตอนการเดินเรื่องต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกขึ้น โรงเรียนประถมศึกษาบางโรงเรียนก็เปิดโอกาสให้ทดลองนำระบบการเรียนรู้ระบบนี้มาใช้ และสถาบันราชภัฏลำปางก็มีแนวคิดที่จะสร้างครูรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดตามระบบนี้ เพราะน่าจะง่ายกว่าการที่จะไปเปลี่ยนแนวความคิดของครูรุ่นเก่าๆ ส่วนเงินทุนบางส่วนก็ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศึกษาพัฒน์ มูลนิธิไทยคม และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่จะถือว่าเป็นหัวหอกในด้าน Constructionism ก็ว่า เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วก็ค่อนข้างตื่นเต้น อ่านไป ก็รู้สึกไปว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตนั้นทำได้อย่างแน่นอน และ ทำได้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ และทุกสังคม หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร การเรียนรู้ในแนวทางของ Constructionism นี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางได้ อย่างวิเศษเลยทีเดียว ไม่แน่ว่า Constructionism อาจจะเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ ที่เราอยากจะให้เกิดขึ้นก็เป็นได้

         ท้ายที่สุด  ดิฉันก็อดภูมิใจ  และดีใจแทนโรงเรียนบ้านสันกำแพงและดรุณสิกขาลัยที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ก่อเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในแก่เยาวชนคนยรุ่นใหม่  และเป้นแบบอย่างให้โรงเรียนสพฐ.อย่างดิฉันนำไปเป็นแบบอย่างต่อไป

    ปล. แรงบันดาลใจและแรงจูงใจเกิดได้ทั้งจาก  สิ่งภายนอกและมาจากตัวเราเอง

    สมศรี (ผอ.เบอร์โทร. 081 755 6338)

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         พวกเราต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างมาก ที่ให้โอกาสพวกเราทั้ง 13 คนได้มีส่วนร่วมในการทำโครงการต่าง ๆ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

         สำหรับโครงการจัดทำหนังสือของเราเริ่มแล้ว และขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนช่วยกัน Update กับคนที่ติดธุระด้วยนะครับ

     

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ผมส่งรูป Partner ของเราที่ประเทศลาวมาให้ดูครับ

    Cimg0707

    Lao

    เรียนทุก ๆ ท่านครับ

    ขอมูลน่าสนใจมากครับ

    การเมือง : สถานการณ์โลก

    วันที่ 22 ตุลาคม 2552 08:01

    ผลศึกษาดื่มกาแฟหลายแก้วต่อวันสยบโรคตับ

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    ผลศึกษาดื่มกาแฟสยบโรคตับ ซึ่งจัดทำโดย นีล ฟรีดแมน แห่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NCI โดยสำรวจกับผู้ป่วย 766 คน

    ผลศึกษาที่จัดทำโดยนีล ฟรีดแมน แห่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NCI และนำออกเผยแพร่เมื่อวานนี้ (21 ต.ค.)และกำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร"เฮปาโตโลจี้"ฉบับเดือนพฤศจิกายน รายงานว่า การดื่มกาแฟสามถ้วยต่อวันหรือมากกว่าขึ้นไป สามารถช่วยยับยั้งการลุกลามของโรคตับอักเสบเรื้อรังชนิดซี และโรครุนแรงอื่นๆเกี่ยวกับตับได้ร้อยละ 53 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม

    ผลการศึกษานี้ทำกับผู้ป่วย 766 คนที่เข้าร่วมโครงการบำบัดระยะยาวต่อต้านไวรัสตับอักเสบชนิดซี และโรคตับแข็ง โดยทุกคนติดเชื้อไวรัสชนิดนี้แต่ไม่ตอบสนองต่อการบำบัดด้วยยาต้านไวรัส และพวกเขาได้รับแจ้งให้รายงานทุกวันด้วยว่าดื่มกาแฟวันละกี่แก้ว

    ตลอด 3ปี 8 เดือนที่ศึกษาเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่จะพบผู้ป่วยทุกเดือน และมีการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจในช่วง 1 ปีครึ่งกับ 3 ปีครึ่งเพื่อตรวจดูพัฒนาการของโรค และพบว่ามีความเกี่ยวข้องระหว่างการดื่มกาแฟกับโรคตับ โดยผู้ดื่มกาแฟสามแก้วต่อวันขึ้นไป มีอาการป่วยโรคตับทรุดลงน้อยกว่าผู้ไม่ดื่ม

    ผู้วิจัยระบุหลายๆวิธีที่การดื่มกาแฟอาจช่วยปกป้องตับ ซึ่งรวมทั้งการลดความเสี่ยงจากเบาหวานชนิดไทป์ทู( type two diabetes) ที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ หรือโดยลดการอักเสบ ซึ่งเชื่อกันว่าทำให้เกิดอาการตับแข็ง หรือ มีผังพืดในตับ

    เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์ ที่เคารพอย่างสูง 

           วันนี้หนูสมศรี นวรัตน์รพ.บ้านลาดเพชรบุรี ขอพูดคุยกับเพื่อน ๆชาว Blog ในเรื่อง ของดีเมืองเพชรบุรี(Good to Great) ที่สามารถขึ้นนำเสนอเป็น >>>> ขนม + ของฝากจากชาวเพชรบุรี โดยเพราะ คนใน “อำเภอบ้านลาด” โดยได้นำเสนอในเวทีอาเซียน (ASEAN) โดยท่านผู้ว่าจังหวัดเพชรบุรีคือ ขนมตาล (ดูในรูป)น่ารับประทานนะคะ วันนี้ขอแลกเปลี่ยนถึง “ประโยชน์ของต้นตาลมีประโยชน์มากมาย”ดังนี้

    1. ทำ “น้ำตาลสด” จากต้นตาล

    2. ทำ “น้ำตาลปึก” จากต้นตาล

    3. ใบตาลอ่อนนำมาทำจักรสานเช่น Mobileปลาตะเพียร, ตัวตั๊กกระแตน, กระเซ้าฯลฯ

    4. ใบตาลทั้งใบนำมาทำมุงจาก + หลังคาบ้าน

    5. ลูกตาลอ่อน ๆนำมารับประทานสด ๆอร่อยมาก ๆนะคะ(ไม่เชื่อมาเที่ยว อำเภอบ้านลาด คุณสมศรี จะพามารับประทานนะคะ )

    6. ลูกตาลแก่>>>>>นำมาปลอกเปือกออกแล้วนำเยื่อในลูกตาลมาขยี้ >>>>> นำน้ำจากเยื่อในลูกตาลซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนมาทำขนมตาล มีกลิ่นหอมหวานตามธรรมชาติ(ในรูป) โดยไม่ใส่สีจากสารเคมี “แต่เป็นสีธรรมชาติจากเนื้อตาล”

    7. เมล็ดจากลูกตาล(ข้างในสุดมีเปลือกหุ้มข้างนอกอีกหนึ่งชั้นหนึ่ง) นำมาทำ >>>>> ตาลโตนดชุบแป้งทอดคล้าย ๆกับกล้วยทอด แต่นี้เป็นการนำเนื้อเมล็ดของลูกตาลทอดแทนกล้วย

    8. เปลือกแข็งของเมล็ดตาลชั้นใน(จากข้อ 7) นำไปตากแดดให้แห้งแล้วสามารถนำเป็นฟืนแทนไม้(ฟืน)หรือเผาเป็นก้อนถ่านใช้ได้ดีม๊ากๆ เลยละคะ

    9.ลำต้นตาลมีประโยชน์มากเช่นกันสามารถนำมาทำ เสาบ้าน ทำไม้ขื่อบ้าน, ฝาผนังบ้าน, ทำรั่ว(ใช้แทนไม้สัก/ไม้มะค่า) ทำครก ทำด้ามช้อนซ้อม, นาฬิกาแขวนผนัง พวงกุลแจ เนื่องจากไม้ตาลจะ “ไม้ตาลที่แก่จะมีลวดลายที่สวนงามม๊าก ๆคะ ”

    10. รากต้นตาลนำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆหมักและผสมมูลวัว มูลควาย >>>>> เป็นปุ๋ยหมักใช้สำหรับปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ เช่น ชะอม กระถิน ต้นบวบ ตำลึงฯลฯ ไม่ต้องชื้อปุ๋ยเคมี ไม่ต้องเสียเงินชื้อ ไม่ต้องจ่ายเงินออกไป ก็มีเงินเหลือเก็บ(มีเงินออม)

              จะเห็นว่า “คนชนบทบ้านลาด” สามารถนำปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” มาใช้โดยง่ายดายมากนะคะ และยังมีไข่ในเล้า มีข้าวในนา มีปลาคลอง มีข้าวของมากก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน ญาติ พี่น้อง ส่งผลต่อ ความมีน้ำใจ   มีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน  ความรัก ความเอื้ออาทร ความมีเมตตา ความใส่ใจต่อกัน ในสังคมชนบทไทยดั้งเดิมที่เคยมีมายาวนาน ซึ่งชนบทไทยบางแห่งอาจจะไม่มีหรือมีแต่ก็เหลือน้อยเต็มที ท้ามกลางการเปลี่ยนแปลง(Change)ของกระแสทุนนิยม/วัตถุนิยมยุคโลกาภิวัตน์ และทุกๆอย่างอยู่บนพื้นของ “เงิน” ใช้เงินแทนน้ำใจ แทนความเอื้ออาทร แต่ความจริงแล้ว “เงินไม่สามารถชื้อทุกอย่างได้ทั้งหมด” หนูสมศรี ขอยืนยัน(Confirm)นะคะ  เงิน(Many)ไม่สามารถชื้อความจริงใจ  ไม่สามารถชื้อความว้าเหว่ ความเหงา+โศกเศร้าทางจิตใจได้อย่างแน่นอน >>>>  แต่ “ใจเท่านั้น” ถึงจะเยียวยาจิตใจที่กำลังจะท้อแท้หมดหวังได้ นะคะ จะสามารถพิสูจน์ได้โดยเราพบว่า คนในอำเภอบ้านลาดอายุยืนมากพบว่าผู้สูงอายุมีอายุช่วง 70 - 90 ปีมีถึง 67 %จากประชากรทั้งหมดและมีมากกว่าอำเภออื่น ๆด้วยนะ และเขาเหล่านั้นมีความสุขทางใจอย่างมากคะเพราะทุกๆวันพฤหัสบดีเขาจะมาพบกันที่ชมรมผู้สูงอายุ รพ.บ้านลาด มาสวดมนต์ ไหว้พระ เล่นกีฬาเช่น เปตอง พบปะพูดคุยความหลัง ร้องเพลงรำวง รำแคน รำไม้พลองฯลฯ เขามีความสุขกว่าคนในเมืองมาค่ะ

         คุยยาวมากขอจบด้วยข้อความที่ว่า ทุนความสุข(Happiness Capital)สามารถสร้างได้จากสิ่งแวดทางธรรมชาติ(Environments Nation) + ทุนทางปัญญา(Intellectual  Capital) + ทุนทางสังคม(Social Capital ) + ต้องมีทุนทางจริยธรรม(Ethical Capital)ด้วยจึงจะเกิดความยังยืน(Sustainability)ในเรื่องนั้น ๆอย่าแน่นอนนะคะ

              หนูสมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด  คิดว่าเป็นไปตามทฤษฎี 8K’s+ทฤษฎี 5K’s ของท่าน ศ. ดร.จีระ >>>>>ใช่เลยละคะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด

    Tel. 081- 9435033

    ASIA:"โกลด์แมน"เพิ่มอันดับหุ้นกลุ่มเหล็กในเอเชีย หลังชี้อุปสงค์พุ่งเกินคาด

    วอชิงตัน--13 ต.ค.--รอยเตอร์

    โกลด์แมน แซคส์ ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าลงทุนในหุ้นกลุ่มเหล็กกล้า

    ในเอเชีย สู่ระดับ "น่าดึงดูดใจ" จาก "เป็นกลาง" จากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งเกินคาด

    ของอุปสงค์ภายในประเทศและราคาภายในประเทศที่สูงขึ้น โดยอุปสงค์สำหรับเหล็กกล้า

    ยังคงแสดงถึงแนวโน้มการขยายตัวที่แข็งแกร่ง และโกลด์แมน แซคส์คาดว่าแผนการ

    ลงทุนจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสาธารณูปโภค

    โกลด์แมน แซคส์ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของอุปสงค์เหล็กกล้า

    สู่ 7 % และ 10 % สำหรับปีงบการเงิน 2010 และ 2011 จากประมาณการ

    ก่อนหน้านี้ที่ 6 % และ 8 % ตามลำดับ

    "เราเชื่อว่านักลงทุนมุ่งความสนใจมากเกินไปในด้านกำลังการผลิต

    และอุปทานที่เพิ่มขึ้น โดยละเลยต่อด้านอุปสงค์ ซึ่งเราคาดว่าอุปสงค์เหล็กกล้า

    ในเอเชียจะสูงเกินคาดในปีหน้า" นายราจีฟ ดาส นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน

    แซคส์ ระบุ

    บทวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์สอดรับกับรายงานของสมาคม

    เหล็กกล้าโลกที่ระบุวานนี้ว่า ปริมาณการใช้เหล็กกล้าสำเร็จรูปทั่วโลก

    จะลดลง 8.6% ในปีนี้ สู่ 1.104 พันล้านตัน แต่จะเพิ่มขึ้น 9.2% สู่

    1.206 พันล้านตันในปีหน้า

    "เป็นตัวเลขที่ดีขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่เปิดเผย

    ในเดือนเม.ย. ซึ่งในขณะนั้นคาดกันว่าการใช้เหล็กกล้าจะลดลง 14.1%"

    สมาคมระบุ

    สมาคมเปิดเผยว่า ตัวเลขการคาดการณ์ที่ดีขึ้นในปีนี้เป็นผลจากอุปสงค์

    ที่แข็งแกร่งจากจีนซึ่งการใช้เหล็กกล้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 18.8% สู่ 526 ล้านตัน

    ในปีนี้--จบ--

    (รอยเตอร์ โดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

    thitirat thawornsujaritkul

    เทศกาลกินเจ

    17-26 ตุลาคม 2553

    "กินเจ" เป็นคำที่คุ้นหูกันมากสำหรับบรรดาสาธุชนผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย แต่สำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ยังคงคิดกันไปว่า การกินเจเป็นเรื่องของคนที่เชื่อบาปเชื่อบุญมากกว่า จะเห็นว่าแท้จริงแล้วการกินเจเป็นเรื่องของเหตุและผลที่ถูกต้องดีงาม มีคำกล่าวว่า "คนเราจะยืนได้ ขาทั้งสองต้องแข็งแรงเสียก่อน" ความหมายก็คือ ก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัติการงานใดๆ ก็ตาม จำเป็นต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงเสียก่อน สิ่งสำคัญสองประการที่จะช่วยเหลือค้ำจุนให้เรามีรากฐานที่มั่นคง ได้แก่

    ประการที่ 1 คือ "ความรู้" เราต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะปฏิบัติให้ดีเสียก่อน โดยอาศัยการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน มามากพอสมควร

    ประการที่ 2 คือ "สติปัญญา" เราต้องรู้จักใช้สติปัญญาเข้าไปพิจารณาความรู้เหล่านั้นอย่างรอบคอบ จนบังเกิดความเข้าใจกระจ่างชัดถึงเหตุและผล โดยถูกต้องถ่องแท้ หากจะลงมือปฏิบัติการใดๆ โดยขาดทั้งความรู้และสติปัญญาพิจารณา ก็ยากที่จะสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อไม่ศึกษาก็ไม่รู้ รู้แล้วไม่พิจารณาก็ไม่เข้าใจ แต่ผู้ที่ศึกษาจนเข้าใจดีแล้ว ยังไม่ลงมือปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์ โอสถทิพย์แม้จะวิเศษล้ำเลิศสักปานใด หากคนไม่ยอมกิน ผลดีนั้นก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้นแก่เขาได้เลย การกินเจเป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตน ผู้ที่ได้ปฏิบัติแล้วเท่านั้นจึงจะประจักษ์แจ้งถึงคุณวิเศษ อันล้ำเลิศได้ด้วยตนเอง

    บทความเรื่อง "การกินเจ" นี้ จึงมุ่งหวังให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาในอีกแง่มุมหนึ่งของการกินเจ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน และเรียนรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไปภายหน้า ฉะนั้นขอให้ผู้ที่มีรากบุญกุศล อันสร้างสมมาแล้วในอดีต และตั้งใจจะปฏิบัติบำเพ็ญต่อไปในชาตินี้ควรศึกษา "การกินเจ" ให้เข้าใจกระจ่างแจ้ง เมื่อใดที่ศรัทธามั่นคงดีแล้ว จิตย่อมบังเกิดมีพลังแกร่งกล้า สามารถฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลาย บนเส้นทางของการบำเพ็ญธรรม และแล้วเมื่อนั้นเราก็จะสามารถบรรลุสู่เป้าหมายอันสูงสุดไปได้โดยไม่ยากเลย

    ความหมายของคำว่า "เจ"

    คำว่า "เจ" ในภาษาจีนมีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่า "อุโบสถ" คำว่า "กินเจ" ตามความหมายที่แท้จริงคือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ดังเช่นที่ชาวพุทธในประเทศไทยถือ "อุโบสถศีล" หรือ "รักษาศีล 8" จะไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีล ของชาวพุทธฝ่ายมหายานไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมเรียก "การไม่กินเนื้อสัตว์" ไปรวมกันคำว่า "กินเจ" ซึ่งเป็นการถือศีลไปด้วย ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ฉะนั้นความหมายก็คือ "คนกินเจ" มิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่คนที่กินเจ ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์สะอาด งดงามทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการถือศีลบำเพ็ญธรรมไปด้วยพร้อมกัน เช่นนี้แล้วจึงจะเรียกว่า "กินเจที่แท้จริง" ดังนั้น คำคล้องจองที่เราได้ยินอยู่เสมอ คือ "ถือศีลกินเจ" จึงนับว่ามีความหมายสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่ในตัวเองแล้ว

    ตามร้านขาย "อาหารเจ" เราจะพบเห็นตัวอักษร คำนี้อ่าน "ไจ" (เจ) แปลว่า "ไม่มีของคาว" เขียนด้วยสีแดงบนพื้นสีเหลืองเสมอ ในช่วงเทศกาลกินเจเดือน 9 จะเห็นตัวอักษรนี้เขียนบนธงสีเหลือง ปักอยู่ตามแผงขายอาหารเจมองเห็นเป็นที่สะดุดตาแก่คนทั่วไป ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลแก่ชีวิต สีเหลืองเป็นสีของผู้ทรงศีล ดังนั้นผู้ตั้งใจถือศีลบำเพ็ญตนให้บริสุทธิ์ ตัวอักษรนี้ย่อมเป็นเครื่องหมายเตือนสติให้ระลึกไว้เสอมว่า "การกินเจงดเว้นเนื้อสัตว์ของคาวคือ การปฏิบัติธรรม รักษาศีลของความเป็นมนุษย์ เป็นการเจริญมหาเมตตากรุณาธรรมโดยแท้ อันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และก่อให้เกิดสันติสุขแก่ทุกชีวิตบนโลก

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    ปีที่ 10 ฉบับที่ 115 ตุลาคม 2552

    Sharing Space

    การกำหนดองค์ความรู้เพื่อการจัดการความรู้(KM)

    พอฤทัย ปราดเปรียว [email protected]

    การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ด้วยเพราะช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่เฉพาะเพียงภาคเอกชนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาคส่วนต่าง ๆ ของรัฐด้วยเช่นกัน Sharing Space ฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์กันยา รุจิรานนทพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน KM ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาถ่ายทอดประสบการณ์การทำ KM แก่สมาชิกจดหมายข่าวค่ะ หลายองค์กรโดยเฉพาะภาคราชการจัดทำการจัดการความรู้ โดยกำหนดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์น้อยเกินไป หรือไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร เราจึงควรตั้งคำถามดังนี้

    1. สิ่งที่องค์กรต้องทำ หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องทำ เพื่อให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต

    2. สิ่งที่องค์กรสามารถทำ หมายถึง สิ่งที่องค์กรได้ทำแล้ว และทำได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

    หลังจากตอบคำถามข้อ 1 และ ข้อ 2 องค์กรจะได้ Strategy Gap ที่องค์กรต้องหากลยุทธ์หรือวิธีการพัฒนาต่อไป

    3. สิ่งที่องค์กรต้องรู้ หมายถึงสิ่งที่องค์กรต้องรู้ เพื่อให้สามารถดำเนินการสิ่งที่องค์ต้องทำได้ในอนาคต

    4. สิ่งที่องค์กรรู้ หมายถึงสิ่งที่องค์กรมีองค์ความรู้อยู่แล้ว

    เมื่อเปรียบเทียบองค์ความรู้ข้อ 3 และ ข้อ 4 เราจะได้ Knowledge Gap ซึ่งเป็นองค์ความรู้เพื่อการจัดการความรู้ต่อไปนั่นเอง

    เมื่อเราได้ Knowledge Gap ที่เป็นองค์ความรู้ที่เราต้องบริหารจัดการให้เกิดขึ้นในองค์กร หลังจากนั้นเรามาสร้างวิสัยทัศน์ความรู้

    1. วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ (KM Vision) เปรียบเสมือนเป้าหมายที่ยอดเขา เป็นการตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราจะต้องการจัดการความรู้อย่างไรในอีก 5-10 ปี เนื่องจากการจัดการความรู้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการนาน

    2. เป้าหมายการจัดการความรู้ (KM Objective) เปรียบเสมือนเป้าหมายที่เชิงเขา เป็นการตั้งเป้าหมายในระยะเวลาที่สั้นกว่า เพื่อสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายในระยะ 1-2 ปี แล้วค่อยขยับใหม่ เพื่อให้ได้ตามวิสัยทัศน์การจัดการความรู้

    3. กลยุทธ์การจัดการความรู้ (KM Strategy) เปรียบเสมือนวิธีการหรือแนวทางที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้ตาม เป้าหมายการจัดการความรู้ และวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ ซึ่งอาจมีหลากหลายวิธีการที่ให้เลือก ไม่ว่าจะเดินทางตรง หรืออ้อม

    นอกจากเนื้อหาความรู้ดังกล่าวแล้ว ยังมีตัวอย่างการกำหนดวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ เป้าหมายการจัดการความรู้ และกลยุทธ์การจัดการความรู้ของบริษัทซีร็อกซ์ คอปอร์เรชั่น จำกัด มาเพื่อเสริมความเข้าใจ ดังนี้

    • Knowledge Gap : องค์ความรู้จากประสบการณ์ของวิศวกรในการแก้ไขปัญหาการซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร ไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้และนำมาใช้ประโยชน์

    • Knowledge Vision : เชื่อมโยงและรวบรวมองค์ความรู้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ให้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว

    • Knowledge Objective : เพื่อให้วิศวกรซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร สามารถใช้องค์ความรู้ในการซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

    • Knowledge Strategy : สร้างการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของวิศวกรซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารอย่างเป็นระบบ

    • การวัดผล : ร้อยละของเทคนิคการซ่อมเครื่องใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และร้อยละของการใช้เทคนิคใหม่ ๆ นั้นซ้ำ

    อยากเรียนรู้ประสบการณ์ดี ๆ จากองค์กรต้นแบบในการทำ KM โปรดติดตามต่อในฉบับหน้านะคะ

    (ข้อมูลจากproductivity cornor)

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    คุณสุขสันต์ อึ้งสุวรรณพานิช คนไข้ อยู่ที่ห้อง CCU รพ.ราชวิถี ต้องการเลือดกรุ๊ป A ด่วนมาก

    ถ้าท่านใด มีเลือดกรุ๊ปเอจะบริจาค ติดต่อคุณ สุมนา (มด) โทร. 081-8542999

    (พี่ชาวบล็อคท่านใดสนใจบริจาคก็เชิญได้เลยนะครับ ผมคิดว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ครับ)

    ฐิติรัตน์ ph.d

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์

               วันนี้หนูสมศรี ขอพูดคุยเรื่องการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค.นี้ ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 รัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นที่จะร่วมกันทำงานโดย

     1. เพื่อแปลงความมุ่งหวังของASEANไปสู่การสร้าง “ประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่บนกฎกติกาและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในยุคปัจจุบัน

    2.เพื่อยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และความฝัน ของASEANไปอีกก้าวหนึ่งที่เข้าใกล้สู่ความจริง(ความสำเร็จ)

    3. ASEANมีกฎบัตรอาเซียนใช้อย่างเป็นทางการ อันจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กร ที่ตั้งอยู่บนกฎกติกาอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการผลักดันสิ่งที่รัฐสมาชิกได้ตกลงกันไว้ นอกจากนี้ เพื่อให้ความสำเร็จนี้มีผลจับต้องได้ยิ่งขึ้น ASEAN ได้รับรองปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับความพยายามการสร้างประชาคมในสามเสาหลักของASEAN

    4. ประชาคมASEANได้เริ่มก่อรูปขึ้นแล้ว โดยขณะนี้คณะกรรม การผู้แทนถาวรASEAN ณ กรุงจาการ์ตาได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่แล้ว รวมทั้งคณะมนตรีประชาคมASEAN ทั้งสามก็ได้มีการประชุมของตนเองแล้วตามลำดับเพื่อวางมาตรการต่างๆ สำหรับการบรรลุเป้าหมายและจุดหมายปลายทางของแต่ละองค์กรตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรASEAN

    5.การเสริมสร้างความพยายามในการสร้างประชาคมดังกล่าวASEAN ได้รับมือกับความท้าทายต่างๆ ในระดับโลกและระดับภูมิภาค นับตั้งแต่จากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงิน ผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงาน ไปจนถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด ด้วยความเป็นปึกแผ่นและความเป็นหนึ่งเดียวกัน ASEANได้ประสบผลสำเร็จในการทำให้ASEANยืนหยัดต่อไปได้ รวมทั้งทำให้วิสัยทัศน์ของASEANเป็นจริง

    6. ในการตอบสนองต่อวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยรัฐบาลไทยได้ดำเนินการโดยทันที ในการจัดประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียนบวกสาม(+ 3) สมัยพิเศษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเร่งรัดการจัดตั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคี คิดว่าเป็นกลไกการช่วยเหลือตนเองในระดับภูมิภาค ซึ่งจะสามารถจัดตั้งขึ้นได้ในช่วงปลายปีนี้ ประเทศไทยยินดีที่จะเป็นสถานที่ตั้งชั่วคราวของหน่วยเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจภายใต้ข้อริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคี

    7.การมีผู้แทนของASEANเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำ G-20 ได้แสดงให้เห็นว่า ประเด็นเกี่ยวกับASEANมิได้จำกัดอยู่เพียง 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น หากแต่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ในโลกด้วย ทำให้เสียงของประเทศกำลังพัฒนาได้รับความสนใจในความพยายามที่จะรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินทั้งในกรุงลอนดอนและนครพิตต์สเบิร์ก

    8. เมื่อประชาชนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (เอชวันเอ็นวัน /H1N1) ASEANได้ร่วมกับประเทศคู่เจรจาในเอเชียตะวันออกจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษที่กรุงเทพฯ เพื่อร่วมกันพิจารณามาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับป้องกันและควบคุมโรคระบาดในเอเชีย

     9. รัฐบาลไทยได้ยืนยันท่าทีร่วมกันของASEANและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในการเจรจาภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้นประเทศไทยมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นเจ้าภาพการหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯครั้งที่ 15 ที่กรุงโคเปนฮาเกน

    10. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค มีความพยายามที่จะผลักดันให้โครงการนำร่องระบบสำรองข้าวฉุกเฉินในเอเชียตะวันออกให้เป็นกลไกถาวรภายใต้ระบบสำรองข้าวฉุกเฉินของASEANบวกสาม(+3) ASEANควรสนับสนุนความพยายามดังกล่าวและเรียกร้องให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ที่จะมีการประชุมที่บรูไนเพื่อเร่งรัดการจัดตั้งกลไกถาวรนั้น

    11. ASEAN ได้เสริมสร้างลักษณะการมองสู่ภายนอกของอาเซียนโดยการมีความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาสำคัญต่างๆ ในภูมิภาค ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมทั้งปัจจุบันได้สำรวจความเป็นไปได้ในการจัดตั้งความตกลงเขตการค้าเสรีในภูมิภาคที่กว้างยิ่งขึ้น

    12.การหารือของ ASEAN กับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ระหว่างการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า ASEAN จะสามารถเป็นพลังผลักดันสำหรับการพัฒนาสถาปัตยกรรมระดับภูมิภาคใหม่ได้อย่างไร

    13. พัฒนาการทั้งหมดนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ ASEAN โดยประชาคมโลกตลอดระยะเวลาหนึ่งปีครึ่ง ในฐานะองค์กรที่มีกฏกติกาเป็นพื้นฐานและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งเป็นองค์กรที่มีพันธกิจที่จะจัดตั้งประชาคมที่มีบูรณาการอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2558

    14. ความสำเร็จต่างๆ ของ ASEAN สามารถทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ ASEAN ได้ดำเนินการและเติบโตข้ามผ่านความท้าทายต่างๆ ระดับโลกและระดับภูมิภาค ซึ่งอาเซียนต้องเผชิญ สิ่งที่เหลืออยู่คือภาระหน้าที่ เพื่อพิสูจน์ว่า ASEAN สามารถทำให้ทุกสิ่งที่ได้ตกลงกัน ประกาศไว้หรือมุ่งหวังในอนาคต บรรลุผล

         หนูสมศรี พูดคุยมายาวมากเรื่อง ASEAN ว่าใครจะได้รับประโยชน์อะไร อย่างไร เท่าไหร่ ที่ไหน แต่ที่แน่ ๆคือ ธุรกิจการค้าและบริการต่าง ๆเกือบทุก ๆอำเภอใน จ.เพชรบุรีบ้านหนู ส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ทั้งนั้นนะคะ ยกเว้นแม่ค้าตามชายหาดชะอำ ชายหาดหัวหิน แม่ค้าแผงลอย เขาเหล่านั้นเสียประโยชน์เพราะเขาถูกสั่งห้ามไม่ให้ขายของ เพื่อความปลอดภัยของ “ผู้นำต่างชาติ + นักข่าวต่างชาติ” ก็ต้องอดทน คนส่วนน้อยต้องอดทนเพื่อส่วนใหญ่ เพื่อชื่อเสียง เพื่อหน้าตาของจังหวัด ของประเทศไทยนะคะ แต่คนส่วนน้อยเขาก็ลำบากมากนะคะที่เขาไม่ได้ขายข้าวของ ก็ไม่มีเงินถึงแม้ว่าจะใช้เวลา 3- 5 วันก็ตามทีและยังเป็น 3 วันที่สำคัญคือวันหยุดพิเศษ(ศุกร์วันปิยะมหาราช + เสาร์ +อาทิตย์) รายได้จำนวน 5 วันของคนหาเช้า – กินค่ำ ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าคนชั้นสูงระดับผู้นำที่มาประชุมเช่นกัน เพราะเขาเหล่านั้นต้องหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องครอบครัว(คนจนๆๆๆ) ไม่มีรายได้ก็ไม่มีเงินเพราะคนจนจะ >>>>หาเช้า >>>>> ไว้ใช้มื้อค่ำ >>>> เขาไม่มีเงินสำรองเหมือนคนมีฐานะ หรือไม่ก็อาจจะไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยรายวันอีกด้วยนะคะ ฝากขอคิดให้เข้าใจคนจนๆๆด้วยนะคะ สิ่งที่หนูพูดมาเป็นข้อมูลที่เป็นความจริงแท้แน่นอนคะ หนูสมศรีขอConfirm ค่ะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี  นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081- 9435033

     

    เรียนท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์

         วันนี้หนูสมศรี ขอพูดคุยเรื่องการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค.นี้ ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์  ใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 รัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นที่จะร่วมกันทำงานโดย

    1. เพื่อแปลงความมุ่งหวังของASEANไปสู่การสร้าง “ประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่บนกฎกติกาและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในยุคปัจจุบัน

    2.เพื่อยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และความฝัน ของASEANไปอีกก้าวหนึ่งที่เข้าใกล้สู่ความจริง(ความสำเร็จ)

    3. ASEANมีกฎบัตรอาเซียนใช้อย่างเป็นทางการ อันจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กร ที่ตั้งอยู่บนกฎกติกาอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการผลักดันสิ่งที่รัฐสมาชิกได้ตกลงกันไว้ นอกจากนี้ เพื่อให้ความสำเร็จนี้มีผลจับต้องได้ยิ่งขึ้น  ASEAN ได้รับรองปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับความพยายามการสร้างประชาคมในสามเสาหลักของASEAN

    4. ประชาคมASEANได้เริ่มก่อรูปขึ้นแล้ว โดยขณะนี้คณะกรรม การผู้แทนถาวรASEAN  ณ กรุงจาการ์ตาได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่แล้ว รวมทั้งคณะมนตรีประชาคมASEAN ทั้งสามก็ได้มีการประชุมของตนเองแล้วตามลำดับเพื่อวางมาตรการต่างๆ สำหรับการบรรลุเป้าหมายและจุดหมายปลายทางของแต่ละองค์กรตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรASEAN

    5.การเสริมสร้างความพยายามในการสร้างประชาคมดังกล่าวASEAN ได้รับมือกับความท้าทายต่างๆ ในระดับโลกและระดับภูมิภาค นับตั้งแต่จากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงิน ผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงาน ไปจนถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด ด้วยความเป็นปึกแผ่นและความเป็นหนึ่งเดียวกัน ASEANได้ประสบผลสำเร็จในการทำให้ASEANยืนหยัดต่อไปได้ รวมทั้งทำให้วิสัยทัศน์ของASEANเป็นจริง

    6. ในการตอบสนองต่อวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก   โดยรัฐบาลไทยได้ดำเนินการโดยทันที ในการจัดประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียนบวกสาม(+ 3) สมัยพิเศษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเร่งรัดการจัดตั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคี  คิดว่าเป็นกลไกการช่วยเหลือตนเองในระดับภูมิภาค ซึ่งจะสามารถจัดตั้งขึ้นได้ในช่วงปลายปีนี้ ประเทศไทยยินดีที่จะเป็นสถานที่ตั้งชั่วคราวของหน่วยเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจภายใต้ข้อริเริ่มเชียงใหม่แบบพหุภาคี

    7.การมีผู้แทนของASEANเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำ G-20 ได้แสดงให้เห็นว่า ประเด็นเกี่ยวกับASEANมิได้จำกัดอยู่เพียง 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น หากแต่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ในโลกด้วย ทำให้เสียงของประเทศกำลังพัฒนาได้รับความสนใจในความพยายามที่จะรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินทั้งในกรุงลอนดอนและนครพิตต์สเบิร์ก

    8. เมื่อประชาชนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (เอชวันเอ็นวัน /H1N1) ASEANได้ร่วมกับประเทศคู่เจรจาในเอเชียตะวันออกจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสามสมัยพิเศษที่กรุงเทพฯ เพื่อร่วมกันพิจารณามาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับป้องกันและควบคุมโรคระบาดในเอเชีย

    9. รัฐบาลไทยได้ยืนยันท่าทีร่วมกันของASEANและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในการเจรจาภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้นประเทศไทยมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นเจ้าภาพการหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯครั้งที่ 15 ที่กรุงโคเปนฮาเกน

    10. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค มีความพยายามที่จะผลักดันให้โครงการนำร่องระบบสำรองข้าวฉุกเฉินในเอเชียตะวันออกให้เป็นกลไกถาวรภายใต้ระบบสำรองข้าวฉุกเฉินของASEANบวกสาม(+3) ASEANควรสนับสนุนความพยายามดังกล่าวและเรียกร้องให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ที่จะมีการประชุมที่บรูไนเพื่อเร่งรัดการจัดตั้งกลไกถาวรนั้น

    11. ASEAN ได้เสริมสร้างลักษณะการมองสู่ภายนอกของอาเซียนโดยการมีความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาสำคัญต่างๆ ในภูมิภาค ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมทั้งปัจจุบันได้สำรวจความเป็นไปได้ในการจัดตั้งความตกลงเขตการค้าเสรีในภูมิภาคที่กว้างยิ่งขึ้น

    12.การหารือของ ASEAN กับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ระหว่างการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า ASEAN จะสามารถเป็นพลังผลักดันสำหรับการพัฒนาสถาปัตยกรรมระดับภูมิภาคใหม่ได้อย่างไร

    13. พัฒนาการทั้งหมดนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ ASEAN โดยประชาคมโลกตลอดระยะเวลาหนึ่งปีครึ่ง ในฐานะองค์กรที่มีกฏกติกาเป็นพื้นฐานและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งเป็นองค์กรที่มีพันธกิจที่จะจัดตั้งประชาคมที่มีบูรณาการอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2558

    14. ความสำเร็จต่างๆ ของ ASEAN สามารถทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ ASEAN ได้ดำเนินการและเติบโตข้ามผ่านความท้าทายต่างๆ ระดับโลกและระดับภูมิภาค ซึ่งอาเซียนต้องเผชิญ สิ่งที่เหลืออยู่คือภาระหน้าที่ เพื่อพิสูจน์ว่า ASEAN สามารถทำให้ทุกสิ่งที่ได้ตกลงกัน ประกาศไว้หรือมุ่งหวังในอนาคต บรรลุผล

    หนูสมศรี พูดคุยมายาวมากเรื่อง ASEAN ว่าใครจะได้รับประโยชน์อะไร อย่างไร เท่าไหร่ ที่ไหน แต่ที่แน่ ๆคือ ธุรกิจการค้าและบริการต่าง ๆเกือบทุก ๆอำเภอใน จ.เพชรบุรีบ้านหนู ส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ทั้งนั้นนะคะ ยกเว้นแม่ค้าตามชายหาดชะอำ ชายหาดหัวหิน แม่ค้าแผงลอย เขาเหล่านั้นเสี่ยประโยชน์เพราะเขาถูกสั่งห้ามไม่ให้ขายของ เพื่อความปลอดภัยของ “ผู้นำต่างชาติ + นักข่าวต่างชาติ” ก็ต้องอดทน คนส่วนน้อยต้องอดทนเพื่อส่วนใหญ่ เพื่อชื่อเสียง เพื่อหน้าตาของจังหวัด ของประเทศไทยนะคะ แต่คนส่วนน้อยเขาก็ลำบากมากนะคะที่เขาไม่ได้ขายข้าวของ ก็ไม่มีเงินถึงแม้ว่าจะใช้เวลา 3- 5วันก็ตามที รายได้จำนวน 5 วันของคนหาเช้า – กินค่ำ  และที่สำคัญคือเป็นวันหยุดพิเศษ(ศุกร์เป็นวันปิยะมหาราช + เสาร์ +อาทิตย์) ซึ่งก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าคนชั้นสูงระดับผู้นำที่มาประชุมเช่นกัน เพราะเขาเหล่านั้นต้องหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องครอบครัว(คนจนๆๆๆ) ไม่รายได้ก็ไม่มีเงินเพราะคนจนจะหาเช้า >>>>> ไว้ใช้มื้อค่ำ >>>> เขาไม่มีเงินสำรองเหมือนคนมีฐานะ หรือไม่ก็อาจจะไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยรายวันอีกด้วยนะคะ ฝากขอคิดให้เข้าใจคนจนๆๆด้วยนะคะ สิ่งที่หนูพูดมาเป็นข้อมูลที่เป็นความจริงแท้แน่นอนคะ หนูสมศรีขอConfirmค่ะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel.081-9435033

    อิฐ 2 ก้อน อาจารย์พรหม หรือ พระวิสิทธิสังวรเถร เป็นชาวอังกฤษ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ชา ก่อนจะไปก่อตั้งวัดป่าโพธิญาณใกล้เมืองเพิร์ธ ที่ออสเตรเลีย ช่วงก่อตั้งวัดป่าโพธิญาณเมื่อปี 2526 พระอาจารย์พรหมเล่าว่า..หลังจากซื้อที่ดินแล้ว เงินก็แทบไม่เหลือ ต้องสร้างวัดด้วยมือของตัวเอง ตั้งแต่ผสมปูนจนถึงก่อกำแพงอิฐ ท่านเล่าว่าตอนที่ลงมือทำ ก็รู้สึกว่า ได้ทำอย่างประณีตที่สุด จนกระทั่งกำแพงอิฐเสร็จสิ้นลง แต่พอถอยออกมายืนดู ก็พบว่าก่ออิฐพลาดไป 2 ก้อน อิฐกำแพงเรียงเรียบสวย แต่มีอยู่ 2 ก้อนที่เอียงๆ พระอาจารย์พรหมขอเจ้าอาวาสทุบกำแพงทิ้ง เพื่อก่อใหม่ แต่เจ้าอาวาสไม่ยอม ....จากนั้นเป็นต้นมา... ทุกครั้งที่พระอาจารย์พรหมพาแขกเยี่ยมวัด ท่านจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่พาแขกเดินผ่านกำแพงอิฐบริเวณนี้ ...เพราะอายที่ก่ออิฐผิดไป 2 ก้อน... จนกระทั่งวันหนึ่ง พระอาจารย์พรหมกำลังเดินกับผู้มาเยี่ยมวัดคนหนึ่ง เขาเห็นกำแพงอิฐนี้...แล้วก็เปรยขึ้นมาว่า " กำแพงนี้สวยดี " พระอาจารย์พรหมถามด้วยอารมณ์ขันว่า "คุณลืมแว่นสายตาไว้ในรถหรือเปล่า" "คุณไม่เห็นหรือว่ามีอิฐ 2 ก้อนที่ก่อผิดพลาดจนกำแพงดูไม่ดี" แต่แล้วผู้มาเยี่ยมชมคนนี้ก็เอ่ยประโยคที่ทำให้พระอาจารย์ เปลี่ยนแปลงทัศนคติทั้งหมดที่เคยมีต่อกำแพงนี้ พร้อมกับเปลี่ยนแง่มุมที่มีต่อชีวิต ผู้เยี่ยมชมคนนั้นบอกว่า "ผมเห็นอิฐที่วางไม่ดีสองก้อนนั้น...แต่ผมก็ได้เห็นด้วยว่า" "มีอิฐอีก 998 ก้อนที่ก่อไว้อย่างสวยงาม" "นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่อาตมาสามารถ" "มองเห็นก้อนอื่นๆบนกำแพงนั้น นอกเหนือจากเจ้า 2 ก้อน" "ที่เป็นปัญหา..ไม่ว่าจะเป็นอิฐที่อยู่ด้านบน ด้านล่าง" "ด้านซ้าย และด้านขวา ของเจ้าอิฐ 2 ก้อนนั้น" "ล้วนแต่เป็นอิฐที่ก่อไว้อย่างดีไม่มีที่ติ" "ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนอิฐที่ดีมีมากกว่าเจ้าอิฐไม่ดี 2 ก้อนนั้น" ช่วง 3 เดืนที่ผ่านมา สายตาของพระอาจารย์พรหม เฝ้ามองแต่อิฐ 2 ก้อนนั้น ท่านยอมรับว่า...สายตาของท่าน มืดบอดต่อสิ่งอื่นๆ ท่านอยากทำลายกำแพง เพราะมองเห็นแต่อิฐ 2 ก้อนที่ผิดพลาด แต่ทันทีที่ความรู้สึกเปิดกว้าง มองเห็นอิฐก้อนดีๆจำนวนมากบนกำแพงนี้ ..กำแพงเดิมที่อยากทลายก็กลับงดงามขึ้นมาทันที.. "ใช่...กำแพงนี้สวยดี" พระอาจารย์พรหมหันไปบอกกับผู้มาเยี่ยมคนนั้น ........จนถึงวันนี้......... พระอาจารย์ก็นึกไม่ออกแล้วว่าอิฐก้อนที่ผิกพลาด 2 ก้อนนั้น อยู่ตรงส่วนไหนของกำแพง ทัศนคติในการมองโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้อิฐ 2 ก้อนนั้น เลือนหายจากความทรงจำ คนที่คิดท้อแท้ อยากฆ่าตัวตาย ก็เพราะมองเห็นแต่ "อิฐ 2 ก้อน" ในตัวเราเอง ทั้งที่ในความเป็นจริง นอกจาก "อิฐ 2 ก้อน" ที่ผิดพลาดแล้ว ยังมี "อิฐก้อนที่ดี" และ "อิฐก้อนที่ดีจนไม่มีที่ติ" อยู่มากมายในตัวเรา เพียงแต่เรามองไม่เห็นเท่านั้น อย่าให้ความผิดพลาดของ "อิฐที่ไม่ดี" เพียง "2 ก้อน" ทำให้เราต้องทำลายกำแพงดีๆจนพัง

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    เยี่ยมชมโรงเรียนบ้านสันกำแพง  จังหวัดเชียงใหม่

    โรงเรียนบ้านสันกำแพง  เป็นโรงเรียนที่ใช้ทฤษฎี  Constructionism หรือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ท่านพารณ  อิศรเสนา  ณ  อยุธยา ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า ท่าน exercise ความคิดแบบ constructionism เป็นการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา แต่ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการเรียนรู้ ต้องมีการลงมือปฏิบัติจริง ท่านพารณ อิศรเสนา  ณ  อยุธยา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ให้ความสนใจต่อกระบวน การเรียนรู้ตามแนวทาง constructionism ซึ่งองคมนตรี เชาวน์ ณ ศีลวันต์ ในฐานะประธานมูลนิธิศึกษาพัฒน์ นิยามว่าเป็นการสร้างสรรค์ด้วยปัญญามากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย และเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการเผยแพร่แนวความคิดดังกล่าวสู่สาธารณชน ภายใต้โครงการที่หลากหลาย ทั้งในส่วนของการศึกษาในระบบปกติ หรือการประยุกต์หลักทฤษฎีให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชนและธุรกิจอุตสาหกรรม Constructionism ในทัศนะของท่านพารณ อิศรเสนา  ณ  อยุธยา มิใช่แนวความคิดแปลกปลอมที่นำเข้ามาจากตะวันตก ในลักษณะ ที่ไร้รากเชื่อมโยงกับบริบทของสังคมไทย หากเป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกับวิถีของพุทธศาสนาไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหา  ขณะที่โดยส่วนตัวของท่านเอง ก็นับเป็นผู้ที่มีรากฐานสืบเนื่องกับบริบทของสังคมไทยไม่น้อยเช่นกัน

    ทฤษฎี ( Constructionvism ) เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการพัฒนาทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget ) เช่นเดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้    ( Constructionvism ) ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท (Seymou Papert )แห่งสถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตส์ ( Massachusetts Institute of Technology ) เพเพอร์ท ได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์  และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในด้านการศึกษา แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างสรรค์พลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสในการสร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสรรค์สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลกก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่ายและจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด Constructionism จะมีเอกลักษณ์ทางด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างผลงานด้วยตนเอง ลักษณะโปรแกรม เป็นการสร้างรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี เกม ฯลฯ และได้พัฒนา LEGO TC Logo ซึ่งเชื่อมโยงภาษาโลโก้กับเลโก้ ซึ่งเป็นของเล่นที่มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนที่สามารถนำมาต่อกันเป็นรูปต่างๆ ได้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนสามารถควบคุมเลโก้ของเล่นในคอมพิวเตอร์ให้เคลื่อนไหว เดิน ฉายแสง หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยตนเองไปพร้อมๆ กับการฝึกคิด การฝึกแก้ปัญหาและฝึกความอดทน นอกจากนั้นผู้เรียนยังเรียนรู้การบูรณาการความรู้ในหลายๆด้าน ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากนั้นเพเพอร์ทและคณะยังได้พัฒนาโปรแกรม micro - world , robot design รวมทั้งสถานการณ์จำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ขึ้นใช้ในการสอนอีกมากมาย เขากล่าวว่า ผู้เรียนที่ยังไม่มีสื่อดังกล่าวใช้ ก็สามารถใช้สื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะก็สามารถสร้างความรู้ได้ดีเช่นกัน วัสดุศิลปะคือ กระดาษ การดาษแข็ง ดินเหนียว ไม้ โลหะพลาสติก สบู่และของเหลือใช้อื่น ๆ ปัจจัยอีกประการหนึ่งคือบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ซึ่งเพเพอร์ที่ให้ความสำคัญมาก มีส่วนประกอบ 3 ประการ และสอดคล้องกับ 4 L's ของศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ


    1. เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย
    2. เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้
    3. เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร ความเป็นกันเอง

    บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่นำแนวคิดนี้มาใช้คือ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวาณิช ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยท่านให้ชื่อทฤษฎีนี้ไว้หลายชื่อ เช่น คิดเอง - ทำเอง , คิดเอง - สร้างเอง และทำไป-เรียนไป หลังจากนั้นก็ยังมีสถานศึกษาและนักวิชาการหลายท่านนำมาใช้ ปรากฎว่าได้ผลเป็นที่น่าสนใจมาก

                ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) ได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน

                  สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ

                  สิ่งที่สอง คือ  กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดถ้ากระบวนการนั้นมีความหมาย                                                                                                                                                                                                                                                                           

     จากที่กล่าวมาสามารถสรุปให้เป็นหลักการต่างๆที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้ดังนี้                   

                 1.หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism คือ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้ และสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า ( รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง ) และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา

                   2.หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย (Many Choice) และเรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้ ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก

                     3.หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม หลักการนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน(Social value) ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ การสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลก ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ เมื่อเขาจบออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

                    4.หลักการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือการรู้จักแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่นเมื่อผู้เรียน"เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn how to Learn)

    บทบาทและคุณสมบัติของครู

                ในการสอนตามทฤษฎี Constructionism ครูเองนับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการที่จะควบคุมกระบวนการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งครูที่ศึกษาทฤษฎีนี้ควรมีความเข้าใจในบทบาท คุณสมบัติที่ครูควรจะมี รวมทั้งทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนและสิ่งที่ต้องคำนึงถึง

    บทบาทของครู

    • ครูควรรู้จักบทบาทของตนเองอย่างแจ่มแจ้ง ครูนับว่าเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้การสอนสำเร็จผล ดังนั้นจึงควรรู้จักบทบาทของ จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม โดยควบคุมกระบวนการการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และคอยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
    • แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตามโอกาสที่เหมาะสม(ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนและบรรยากาศการเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา)
    • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี Constructionism โดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้จุดประกายความคิดและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนโดยทั่วถึงกัน
    • ช่วยเชื่อมโยงความคิดเห็นของผู้เรียนและสรุปผลการเรียนรู้

    คุณสมบัติของครู

    • มีความเข้าใจทฤษฎี Constructionism และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี Constructionism
    • มีความรู้ในเนื้อหาที่สอนอย่างดี
    • มีความเข้าใจมนุษย์
    • มีการพัฒนาตนเอง ทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจอยู่เสมอ ครูควรรู้จักตนเองและพัฒนาความรู้ บุคลิกภาพ ของตนให้ดีขึ้น มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน
    • ควรมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
    • ครูควรมีทักษะในการสื่อความหมายกับผู้เรียน
    • มีทักษะในการใช้วิจารณญาณตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
    • มีทักษะในการช่วยเหลือผู้เรียน

    ทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนและสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 

    • ในการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism ครูควรเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้เหมาะสม
    • ครูต้องไม่ถือว่าการที่ผู้เรียนเดินไปเดินมาเพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้นั้นเป็นการแสดงถึงความไม่มีระเบียบวินัย แต่ต้องคิดว่าการเดินไปเดินมาเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และช่วยทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
    • ครูต้องลดบทบาทตัวเองลง
    • ขณะที่ผู้เรียนประกอบกิจกรรมครูต้องอยู่ดูแลเอาใจใส่พัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน
    • ครูควรมีใจกว้างและชมเชยนักเรียนที่ทำดีหรือประสบความสำเร็จแม้เพียงเล็กน้อย
    • ครูไม่ควรจะเอาตนเองไปยึดติดกับหลักสูตรมากจนเกินไป
    • การจัดตารางสอนควรจัดให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับเวลาที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรม

    บทบาทของผู้เรียน

    ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน) บทบาทที่คาดหวังจากผู้เรียน คือ

    • มีความยินดีร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสมัครใจ
    • เรียนรู้ได้เอง รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
    • ตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล
    • มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
    • วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
    • ให้ความช่วยเหลือกันและกัน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอยู่และที่ได้รับมอบหมาย
    • นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้นั้น

                หลังจากการได้ศึกษาทฤษฎี Constructionism และนำมาทดลองใช้ในบางกิจกรรมที่จัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนไทรน้อย  สังเกตว่าผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนมากขึ้นและมีผลดี คือ

    1.   ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองดีขึ้นโดยทราบข้อดีและข้อบกพร่องของตนเอง

    2.   ผู้เรียนรู้จักคิดอย่างมีระบบมากขึ้น เพราะการเรียนรู้จากการทำงาน ทำให้ต้องพยายามคิดพิจารณาหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหา ทำให้รู้จักจัดระบบความคิดเพื่อแก้ปัญหานั้น

    3.   ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น รู้ว่าจะแสวงหาความรู้ตามแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างไร และรู้ว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ

    4.   ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหาและตัดสินปัญหาอย่างมีเหตุผลมากขึ้น จากการฝึกฝนการวิเคราะห์ปัญหาและข้อมูลต่างๆที่พบในระหว่างการลงมือปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้

    5.   ผู้เรียนกล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผลมากขึ้นเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี

    6.   ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากการทำงานที่มีโอกาสได้คิดสร้างสิ่งต่างๆ มีโอกาสได้ลองผิดลองถูก หรือการที่ได้พยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีการคิดที่หลากหลายพยายามแก้ปัญหาโดยไม่ตีกรอบความคิดตนเองมากเกินไป

    7.   ทำให้เป็นคนใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นมากขึ้น ไม่ปิดใจเชื่อตนเองอยู่ฝ่ายเดียว และรู้จักการเป็นผู้ให้โดยเรียนรู้ว่าการให้เป็นความสุขอย่างหนึ่ง (ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก)

    8.    รู้จักการเคารพตนเองและผู้อื่น จากการทำงานร่วมกันในบรรยากาศที่เป็นกันเองมีความเป็นมิตร ทำให้ผู้เรียนรู้จักเคารพตนเองและปฏิบัติตนด้วยความเคารพต่อผู้อื่น มีระเบียบวินัยในตนเอง รู้จักบังคับตนเอง

    9.   รู้จักการทำใจเป็นกลางและเลือกปฏิบัติตนตามทางสายกลางรวมทั้งมีเป้าหมายชีวิตและมีแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเองที่ชัดเจนขึ้น

                กล่าวโดยสรุป หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง

    องค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการ ที่ครูผู้สอนต้องสร้างให้เกิดขึ้น

    1) ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล

    2) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี

    3) มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

                สำหรับการนำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนปกตินั้น ครูสามารถประยุกต์ใช้ได้ง่ายในวิชาที่มีการปฏิบัติหรือวิชาที่ต้องการฝึกทักษะ โดยแยกแยะได้ 3 ลักษณะ คือ

    • ประยุกต์ใช้บางส่วน กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งคราว โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา
    • ประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติเต็มเวลา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติทั้งหมดของวิชานั้น โดยครูให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและเชื่อมโยงความรู้ให้สัมพันธ์กับทฤษฎีที่เรียน
    • ประยุกต์ใช้ทั้งวิชา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทั้งวิชา ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีหากปฏิบัติได้จริง เพราะการเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติของผู้เรียนนั้นจะต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควรและจะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล

                อย่างไรก็ตาม การจะทำให้เกิดกระบวนเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism นั้นผู้สอนต้องมีความตั้งใจจริง เพราะเมื่อมีการเริ่มต้นแล้วการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติและมีพลังที่จะขับตัวเองให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย ครูเองก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา ผู้เรียนมีความสุขและมุ่งมั่นที่จะทำงานด้วยตนเองจนสำเร็จและที่น่าประหลาดใจก็คือผลงานที่ออกมาจะมีความหลากหลาย จะเห็นความคิดดีๆหรือสิ่งใหม่ๆที่เจริญงอกงามขึ้น ดังนั้นการให้โอกาสในการเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ครูผู้สอนเพียงแค่เปิดความคิดและเปิดใจเพื่อให้โอกาสกับผู้เรียนได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวของเขาเอง คอยอำนวยความสะดวกและควบคุมกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามกระบวนการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเท่านั้น

     

    รอให้พนักงานลาออกก็สายเสียแล้ว

    ฝ่ายบุคคล หรือ HR มักใช้การสัมภาษณ์พนักงานผู้ที่เขียนใบลาออก หรือ ตัดสินใจที่จะลาออกจากองค์กรเดิม (เรียกการสัมภาษณ์แบบนี้ว่า “Exit Interview ”) เพื่อรับทราบสาเหตุของการลาออก จะได้เตรียมวางแผนหามาตรการป้องกันการสูญเสียคนไปในอนาคต

    แต่ HR ก็รู้กันดีว่า การสัมภาษณ์พนักงานก่อนออกจากงานส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับคำตอบที่แท้จริง หรือได้เพียงบางส่วน เพราะหลาย ๆ ครั้ง ที่พนักงานลาออกเพราะหัวหน้า หรือผู้บริหารแย่ ๆ ก็ไม่กล้าพูด เพราะพูดไปก็กลัวผลกระทบกลับมาหาตัวเองที่หลัง หรือบางครั้งก็ไม่ไว้ใจ HR ที่อยู่ดี ๆ ก็มาเรียกไปคุยก่อนออกจากงาน ทั้ง ๆ ที่ตลอดเวลาที่ทำงานมาก็ไม่เห็น HR จะใส่ใจใยดีอะไร บ้างก็ระแวงว่า HR เป็นพวกเดียวกับหัวหน้า

    ดังนั้น คำตอบที่ออกจากปากพนักงานที่ลาออกเหล่านี้ ก็คือ องค์กรเดิมและหัวหน้าเดิมที่กำลังจะลาออกไม่มีปัญหาอะไร ที่ลาออกก็เพราะ ได้งานใหม่ที่ท้าทายกว่าเดิม ที่ทำงานใหม่ใกล้บ้าน (แต่ก็น่าแปลก เพราะที่ผ่านมา 5 ปี ที่ทำงานไม่เคยรู้สึกว่าไกล ทำไมความรู้สึกช้าจัง) บ้างก็ว่าจะลาออกไปเรียนต่อ (จริง ๆ นั้น ไปเรียนรู้งานต่อที่บริษัทอื่น)

    เมื่อคนลาออก ไม่บอกความจริง ทำให้องค์กรเดิมไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง จึงไม่สามารถหาทางป้องกันการไหลออกของคนดีคนเก่งได้อย่างทันท่วงที

    ผมมองว่าการทำ “Exit Interview” เป็นการแก้ปัญหาเชิงรับซึ่งจะไม่ทันการณ์ ผมขอแนะนำการทำ “Interim Interview” หรือสัมภาษณ์พูดคุยกับพนักงานขณะที่ยังทำงานอยู่ เป็นการป้องกันปัญหาเชิงรุก คือ ไม่จำเป็นต้องรอให้มีคนยื่นใบลาออกแล้ว HR ค่อยสัมภาษณ์ แต่ HR สามารถทำการสัมภาษณ์ได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร

    ผมขอเสนอสรุปประเด็น แนวทางในการทำ “ Interim Interview” ไว้ดังนี้

    1. การสัมภาษณ์ระหว่างทำงาน (Interim Interview) คือการสัมภาษณ์พูดคุยกับพนักงานที่มีผลงานโดดเด่นที่ยังทำงานกับองค์กร และไม่ได้มีความประสงค์จะลาออกจากองค์กรในขณะนั้น (กรณีพนักงานที่ยื่นใบลาออก เป็นคนทัศนคติไม่ดี ไม่มีผลงาน ชอบทำตัวบ่อนแตก สร้างความแตกแยกในองค์กร ผมว่าปล่อยให้เขาลาออกไปเถอะครับ อย่าเสียเวลา Interview เลยครับ) วัตถุประสงค์ก็เพื่อสำรวจความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่องาน หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และองค์กร โดย HR สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและหาแนวทางป้องกันในเรื่องการดูแลรักษาพนักงานที่มีผลงานโดดเด่นให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ

    2. กลุ่มเป้าหมายที่ HR น่าจะทำ Interim Interview ก็คือกลุ่มพนักงานที่ทัศนคติดีมีผลงานเด่น ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีทัศนคติที่ดีทั้งต่องาน ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อองค์กร ผมเห็นว่าการสัมภาษณ์คนกลุ่มนี้มีข้อดีอย่างน้อย 2 ประการคือ

    1) คนที่มีทัศนคติดี มักจะตอบคำถามตรงไปตรงมา ไม่มีอคติต่อหัวหน้างานและองค์กร เพราะคนเหล่านี้ก็ได้รับการประเมินผลงานดีอยู่แล้ว

    2) HR สามารถได้คำตอบและข้อเสนอแนะจากพนักงานที่มีผลงานโดดเด่นโดยตรง ก็จะทำให้ HR เตรียมตัววางแผนป้องกันการสูญเสียคนเหล่านี้ไปจากองค์กรได้อย่างเหมาะสม เพราะถ้าหาก HR ไปสัมภาษณ์ทุกคนในองค์กร หรือออกแบบสอบถามก็จะเสียเวลามาก และอาจจะได้คำตอบที่มีอคติจากพนักงานที่มีทัศนคติไม่ดี หรือการทำ Exit Interview นั้น หลายๆ ครั้ง คนที่กำลังจะลาออกซึ่งแม้มีทัศนคติที่ดี แต่ก็ไม่อยากจะให้ข้อมูลเชิงลบ เพราะตัวเองก็กำลังจะไปทำงานที่อื่นอยู่แล้ว ไม่อยากจะมีปัญหากับหัวหน้าและที่ทำงานเดิม

    3. ใครควรเป็นผู้สัมภาษณ์ Interim Interview ? ผมขอเสนอแนวทางไว้ให้ 4 แบบ คือ

    แบบที่ 1 : หัวหน้างาน ผู้จัดการโดยตรง (Line Manager) ทำการสัมภาษณ์เอง โดยสามารถทำในช่วงของการประเมินผลงานประจำปี เพราะหัวหน้าก็จะรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า ใครคือคนที่มีผลงานโดดเด่น ก็ควรจัดสรรเวลาในการสัมภาษณ์คนกลุ่มนี้ด้วยตนเอง

    แบบที่ 2 : HR ทำการสัมภาษณ์เอง โดยอาจจะต้องจัดการสัมภาษณ์ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งผมมองว่าก็ไม่น่าจะเสียเวลาอะไรมากนัก เพราะจำนวนคนที่มีผลงานโดดเด่น (Talent) ในแต่ละองค์กรก็ไม่ได้มีมากจนเกินไป หรือหากมีจำนวนคนเหล่านี้มาก และอาจต้องเสียเวลาในการสัมภาษณ์มาก มันก็คุ้มค่ามากที่จะเสียเวลากับกลุ่มคนที่มีค่ามากขององค์กรไม่ใช่หรือ

    แบบที่ 3 : HR ร่วมกับหัวหน้างาน / ผู้จัดการโดยตรงทำการสัมภาษณ์พร้อมกัน อาจจะใช้ช่วงเวลาเดียวกันกับการประเมินผลงานประจำปี หรือจะจัดการสัมภาษณ์ขึ้นมาต่างหากก็ได้ แบบนี้ก็จะทำให้ HR ได้รับทราบข้อมูลไปพร้อมๆ กับหัวหน้างานด้วย แต่อาจจะมีข้อจำกัดตรงที่พนักงานที่รับการสัมภาษณ์บางท่านอาจจะไม่อยากบอกเรื่องบางเรื่องต่อหน้าผู้บังคับบัญชาของตนเอง

    แบบที่ 4 : ใช้คนกลาง เช่น สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ก็จัดตั้งคณะกรรมการสัมภาษณ์ระหว่างทำงาน (Interim Interview Committee : IIC) ที่คัดเลือกจากคนภายในมาทำหน้าที่นี้ แต่ถ้าองค์กรขนาดกลางหรือเล็กที่ยังไม่พร้อมจะจัดตั้งคณะกรรมการก็อาจจะต้องจ้างคนกลางหรือที่ปรึกษาจากภายนอกมาสัมภาษณ์ให้ก็ได้

    โดยส่วนตัว ผมเห็นว่าแบบที่ 3 น่าจะเหมาะสมดีในยุคที่นัก HR ต้องทำงานเป็น Strategic Partner กับหน่วยงานต่างๆ ขององค์กร ก็น่าจะถือโอกาสนี้ทำการสัมภาษณ์ร่วมกับ Line Manager

    4. ขณะสัมภาษณ์ควรใช้คำถามอะไรบ้าง ? เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์แบบนี้ ต้องการหาแนวทางในการดูแลและรักษาพนักงานที่มีผลงานโดดเด่นให้ทำงานกับองค์กรนานๆ ผมขอเสนอตัวอย่างคำถาม ดังนี้

    · อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณบรรลุเป้าหมายในการทำงาน ?

    · สิ่งที่ท่านพอใจมากที่สุดในการทำงานปัจจุบันคืออะไร ?

    · สิ่งที่ท่านพอใจน้อยที่สุดในการทำงานปัจจุบันคืออะไร ?

    · เพื่อให้ท่านบรรลุเป้าหมายในการทำงานมากกว่าเดิม ท่านต้องการให้องค์กรหรือผู้บังคับบัญชาให้การสนับสนุนในเรื่องใดเป็นพิเศษ ?

    · ท่านต้องการได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะความรู้ด้านใดเป็นพิเศษ ?

    · นอกจากองค์กรของเราแล้ว ท่านคิดว่า องค์กรใดเป็นองค์กรที่น่าทำงานด้วย ? เพราะอะไร ?

    ผมหวังว่า ผู้อ่านคงจะได้แนวทางในการทำ Interim Interview ไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มพนักงานที่มีผลงานโดดเด่นในองค์กรของท่านพอสมควร อย่ารอให้คนดีคนเก่งมายื่นใบลาออกแล้วถึงค่อยสัมภาษณ์เขานะครับ เพราะมันจะสายเกินไป

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    เรียนท่านศ. ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่เครารพยิ่ง 

              หนูสมศรี  นวรัตน์รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ชาว Blog เรื่องทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) โดยหนู+ เพื่อน + ทีมงานห้อง ทัตกรรม + ทันตแพทย์ + ชมชมผู้สูงอายุ ได้จัดทำโครงการ “สมานฉันท์ ฟัน-เหงือก”ครั้งที่ 2  เพื่อ “เทริดพระเกียรติสมเด็จย่า” ในมูลนิธิพอสว. โดยมีวัถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้อนามัยช่องปาก(ฟัน + เหงือก+ ลิ้น) และเรื่องโภชนาการของผู้สูงอายุ การแปลงฟันที่ถูกวิธี การดูแล+ทำความสะอาดเหงือกและลิ้น เนื่องจาก “ปากเป็นประตูสู่อวัยวะสำคัญ ๆต่างในร่างกาย” ดังนั้นทีมงานจึงเห็นความสำคัญเรื่องดังกล่าวนี้ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อ มอบความรัก ความห่วงใย ความใส่ใจต่อคุณภาพผู้สูงอายุ (Love + Passion + Quality of Life) โดยจัดงานในวันที่ 29 ตค. 2552  ณ. อาคารชมรมผู้ โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 160 คน กิจกรรมมีทั้ง

    ให้ความเรื่องอนามัยช่องปาก 

    โภชนาการที่ถูกต้อง เหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุ

    การประกวด+สาธิตการแปลงฟันที่ถูกวิธีของผู้สูงอายุ โดยมีการแบ่งการแข็งขันตามอายุ 3 กลุ่มคือ อายุ 60 - 69 ปี  อายุ 70 -79 ปี และกลุ่มอายุ 80ปีขึ้นไป

       สรุปผลโครงการ นอกจากจะได้ KPI (Key Performance Indicator)ตามวัตถุประสงค์ (Objective)แล้ว ยังได้รับความสนุกสนาน( To Enjoy / To have a good time) ความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย(To Relax and be Happy) เสียงหัวเราะ(To giggle) ร้อยยิ้ม (A pleasant smile /To beam) (ฟันหรอ)ของผู้สูงอายุด้วย และที่สำคัญที่สุด หนูสมศรี ได้รับผลบุญจากการทำงานโครงการนี้นะคะคือ ความสุขใจ ที่ได้เห็นผู้สูงอายุ (คนแก่คนเฒ่า) มีความสุขคะ >>>>> สุขจากการให้ นะคะคือ สิ่งที่เรียกว่า Happiness + Passion (ใช่หรือเปล่าไม่แน่ใจนะคะ)  หนูคิดว่าเรา(มนุษย์/ทุก ๆคน) เราควรจะเป็นผู้ให้มากการับ (ให้ในเรื่องที่ตนจะให้ได้+เสียสละได้ (อย่าเป็นคนที่ “เอาแต่ได้”  >>> แต่>>>>ให้ “ ไม่เป็น” (ไม่ดีเลยนะคะ)

    คุณลุงอายุ 85 ปีค่ะ

    บรรดาผู้เข้าประกวดทั้งหลาย

    ฝีมือจักรสาน+ภูมิปัญาพื้นบ้าน(Local Wisdom)

    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081 - 9435033

     

     

    เรียนเพื่อน ๆ ทุกคน

    ท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อยากให้พวกเราไปร่วมงาน "หนึ่งเหรียญ หนึ่งคำอธิฐาน" เพื่อพระเจ้าอยู่หัว ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วันที่ 3 /11/52 เวลา 10.00 น.

    ธนพล ก่อฐานะ

    เรียน ท่าน ศ. ดร.จีระ ที่เคารพยิ่ง 

              หนูสมศรีขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน เรื่องจริยธรรมทางการบริหารจัดการในองค์การ Ethics and Corporate Responsibility

              ความหมายความสำคัญของจริยธรรมทางธุรกิจความเกี่ยวข้องของธุรกิจและจริยธรรมกล่าวถึงการประกอบธุรกิจมีวงจรที่ตอบสนองความต้องการของกันและกันระหว่างเจ้าของกิจการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานลูกจ้าง ลูกค้าผู้บริโภคและสังคมสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันทางธุรกิจ เช่น การผลิตสินค้า การขายสินค้า รายได้ ผลกำไร ค่าตอบแทนให้แก่พนักงานลูกจ้าง และความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป หากวงจรนี้เกิดปัญหาขาดความรับผิดชอบจะทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ราบรื่น หยุดชะงัก เสื่อมเสียชื่อเสียงและทำให้ธุรกิจนั้นล้มเหลว ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรปฏิบัติตามแนวทางของธุรกิจที่ดีมีจริยธรรม

              ธุรกิจไม่เพียงแต่ทำตามกฎหมายเท่านั้น ธุรกิจควรจะคำนึงถึงจริยธรรมในการประกอบการด้วยจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารธุรกิจ สังคมกำหนดให้ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบทางจริยธรรม หากปราศจากจริยธรรมแล้ว ธุรกิจจะดำเนินไปไม่ได้และทำให้ขาดความเชื่อถือไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป จริยธรรมไม่ใช่กฎหมาย แต่หากธุรกิจดำเนินกิจการอย่างไร้จริยธรรมก็จะมีการกำหนดตัวบทกฎหมายเพื่อใช้ในการควบคุมกำกับดูแลและลงโทษตามความผิด 

              ขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม (Area of Corporate Social Responsibility) ประกอบด้วยความรับผิดชอบต่อไปนี้

              1.  ความรับผิดชอบต่อชุมนุมชน (Community) หมายถึง องค์การควรผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นที่ต้องการของชุมนุมชนเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชน และผลิตสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ทำให้ชุมนุมชนเสื่อมโทรมหรือมอมเมาประชาชน

              2.  ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิการของประชาชน (Health and Welfare) หมายถึงองค์การไม่ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การผลิตสุรา หรือบุหรี่ ควรมีคำเตือนผู้บริโภค เช่น บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ในประเทศไต้หวัน ใช้คำเตือนข้างซองบุหรี่ว่า (Please don’ t smoke too  much) หรือ บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

              3.  ความรับผิดชอบด้านการศึกษา (Education) เช่น ให้ทุนบุตรพนักงาน หมายถึง การให้การศึกษา หรือการให้ความรู้แก่ประชาชนในการใช้สินค้า หรือใช้บริการนั้น

              4.  ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง ความรับผิดชอบบุคคลที่ต้องการแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนต่อสินค้าหรือบริการให้สามารถทำได้

              5.  ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ความรับผิดชอบในการมาทำให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ปล่อยมลพิษจากโรงงาน ไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือไม่ปล่อยสารเคมีเป็นพาออกมาจากกระบวนการผลิต

              6.  ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค (Consumer) หมายถึง รับผิดชอบต่อการอุปโภคบริโภคของลูกค้า การรับคืนสินค้าที่ด้อยคุณภาพ การรับประกันคุณภาพตามที่กล่าวอ้าง

              7.  ความรับผิดชอบต่อวัฒนธรรม (Culture) หมายถึง การผลิตสินค้าที่คำนึง ถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้น หรือคำนึงถึงข้อกำหนดทางศาสนา

    องค์การบางแห่งได้ให้การสนับสนุนต่อจริยธรรมของธุรกิจในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดังนี้

              1.  ธุรกิจไม่ควรหลีกเลี่ยงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม Business is unavoidably involved in social issues เพราะองค์การต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากองค์การปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่สนใจปัญหาสังคม เช่น การเลิกจ้าง อัตราเงินเฟ้อ หรือมลภาวะ ฯลฯ

              2.  ธุรกิจควรรักษาทรัพยากรทางการบริหารไว้ในสภาพความสลับซับซ้อนของปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้น เช่น ทางด้านการเงิน ด้านทรัพยากรทางการบริหารต่าง ๆ องค์กรมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาสังคม

              3.  การมีสังคมที่ดีช่วยให้สภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจดีไปด้วย จะทำให้องค์การได้รับผลกำไรในระยะยาวจากการลงทุนเพราะได้มีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อสังคมในวันนี้ ทำให้ได้รับผลสะท้อนกลับในอนาคตข้างหน้า

              4.  การมีส่วนร่วมในสังคมเป็นเครื่องช่วยป้องกันข้อจำกัดต่าง ๆ จากทางหน่วยงานของรัฐทำให้องค์การไม่ถูกกดดันหรือบังคับจากหน่วยงานของรัฐเพราะองค์การสมัครรักษาจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ   เรื่อง Ethics and Corporate Responsibility ก็เป็นส่วนหนึ่งในทุนที่ท่าน อาจารย์ ศ. ดร. จีระ ได้สอนพวกเราชาวSSRU ท่านสอนให้เราพึงตระหนักอยู่เสมอ ๆนะคะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    Tel. 081-9435033

     

    เรียนเพื่อน ๆ ครับ

    ท่านอาจารย์ได้ไปเยี่ยมโรงเรียนเทพสิรินทร์(ขอนแก่น) และได้แนะนำน้อง ๆ ในด้านการเรียนหนังสือ และได้นำภาพมาฝากครับ

    Image21120091

    Image21120093

    Image21120094

    Image21120095

    เรียนเพื่อน ๆ ครับ

         ท่านอาจารย์ได้ไปถ่ายทำรายการที่ขอนแก่นโดยได้สนทนาร่วมกับท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามท่านผศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโตและท่านผอ.สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานผศ.ดร.ทรงคุณ จันทจร

         ในหัวข้อ "ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" และ "ทุนทางวัฒนธรรม"ซึ่งจัดและสนับสนุนโดยสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน

    Image21120096

     

    เรียนเพื่อน ๆ ครับ

    เราได้เข้าไปฟังการสอบของปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้นำรูปมาฝากครับ

    Image21120098

    Image21120099

    Image211200910

    เรียนเพื่อน ๆ ทุกท่านครับ

    อาจารย์ศ.ดร.จีระและทีมงานจะเข้าไปที่ประเทศลาว กลางเดือนธันวาคมและร่วมงาน Sea Game ที่ประเทศลาวด้วย และท่านใดจะไปด้วยอาจารย์ยินดีมากครับ (ติดต่อคุณเอ้ได้เลยครับ)

    เรียนเพื่อน ๆ ครับ

    วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

    โครงการหนึ่งเหรียญหนึ่งคำอธิฐาน ท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช และตัวแทนมูลนิธิพระดาบส ร่วมกันจัดงาน "หนึ่งเหรียญหนึ่งคำอธิฐาน" ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมีอาจารย์ ข้าราชการและนักศึกษาเข้าร่วมถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวโดยพร้อมเพรียงกัน

    (คุณสมศรี Ple จะนำรูปภาพทั้งหมดมาให้ครับ)

    Image31120091

    กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน ๆ Ph. D.3 SSRU

     เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โครงการ หนึ่งเหรียญหนึ่งคำอธิฐานเพื่อในหลวง โดยมีท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ + ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช และตัวแทนมูลนิธิ “พระดาบส” ร่วมกันจัดงาน "หนึ่งเหรียญหนึ่งคำอธิฐานเพื่อในหลวง" ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมีอาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษาเข้า และพวกเราชาวPh.D3 ร่วมถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวโดยพร้อมเพรียงกัน หนูสมศรี นวรัตน์ ได้นำรูปภาพทั้งหมดมาให้ดูนะคะ

     

     

     

    โครงการ หนึ่งเหรียญหนึ่งคำอธิฐานเพื่อในหลวง จะเป็นคำอธิฐาน  จะเป็นล้านพลังจิต ขอเชิญคนไทยทุกๆคนร่วม ถวายความจงรักภักดีแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 เรารวมกันอธิฐาน "ให้เกิดความรัก ความปรองดอง สมานสามัคคีของคนไทยในชาติ"

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

    นาง สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    กราบเรียนท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน ๆ Ph. D.3 SSRU

     เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โครงการ หนึ่งเหรียญหนึ่งคำอธิฐานเพื่อในหลวง โดยมี ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ + ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช และตัวแทนมูลนิธิ “พระดาบส” ร่วมกันจัดงาน "หนึ่งเหรียญหนึ่งคำอธิฐานเพื่อในหลวง" ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมีอาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา และพวกเราชาวPh.D3 เข้าร่วมถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวโดยพร้อมเพรียงกัน หนูสมศรี นวรัตน์ ได้นำรูปภาพทั้งหมดมาให้ดูนะคะ

    คำอธิฐาน

    ข้าพระพุทธเจ้า  ขอตั้งจิตอธิฐาน รวมพลังเป็นหนึ่ง  ร่วมกับคนไทยทุกหมู่เหล่า  น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม  ถวายคำอธิฐานพร้อมเหรียญนี้  แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมใจของไทยทั้งชาติ  ขอพระบารมีจงดลบันดาลให้เกิดพลังสมัครสมานสามัคคี  เพื่อผองไทยเจริญรุ่งเรือง สุขสงบ  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอพระองค์ทรงพระเจริญ พระชนพรรษายิ่งยืนนาน  ตลอดกาลนานเทอญ

    ข้าพระพุทธเจ้า

    นาง สมศรี  นวรัตน์

    รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    อาจารย์ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ได้เชิญ

        ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.นักศึกษารุ่น 2521มาบรรยายให้ Ph.D.3 SSRU ในหัวข้อ "นวัตกรรมทางกฏหมาย" 8/11/52

    Image81125521

    สำหรับการทำดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ ชื่อมันเรียกต่างกันนะคะ แต่จริง ก็ไม่ได้ต่างกันค่ะ ความหมายก็คือ วิทยานิพนธ์ หรือ ดุษฎีนิพนธ์ เป็นเอกสารที่เขียนโดยนักวิจัย นักศึกษา หรือนักวิชาการ พรรณนาขั้นตอน วิธีการ และผลการศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าวิจัยมาได้ โดยเขียนอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วิทยานิพนธ์เป็นเอกสารบังคับในการจบการศึกษา สำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการจะใช้เป็นเอกสารในการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ

    วิทยานิพนธ์เป็นคำเรียกสำหรับเอกสารสำหรับนักศึกษาปริญญาโท โดยตรงกับในภาษาอังกฤษคำว่า ทีซิส (thesis) มาจากภาษากรีกคำว่า θέσις สำหรับเอกสารงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาเอกจะเรียกว่า ดุษฎีนิพนธ์ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า dissertation

    ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์

    วิทยานิพนธ์มีส่วนประกอบใหญ่ๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อความ และส่วนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

    ส่วนนำ

    ส่วนนำ (Preliminaries) มักประกอบด้วย ปกวิทยานิพนธ์ ใบรองปก และหน้าปกใน ซึ่งจะบอกเกี่ยวกับ ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ ผู้แต่ง อาจารย์ที่ปรึกษา และสถาบันที่เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์นั้น ต่อด้วยหน้าอนุมัติ ซึ่งเป็นหน้าสำหรับกรรมการตรวจและสอบวิทยานิพนธ์ลงนาม เพื่อรับรองหรืออนุมัติวิทยานิพนธ์ และตามด้วยส่วนสำคัญของส่วนนำ คือ บทคัดย่อ ซึ่งเป็นการสรุปสาระสำคัญของวิทยานิพนธ์ทั้งเล่มแบบสั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ในส่วนนำจะมีสารบัญต่างๆ ปิดท้าย อาทิ สารบัญเนื้อหา สารบัญตาราง สารบัญภาพ

    วิทยานิพนธ์บางเล่มจะมีกิตติกรรมประกาศ ในส่วนนำด้วย มักจะอยู่ก่อนหน้าบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศเป็นส่วนที่ผู้เขียนวิทยานิพนธ์บรรยายแสดงความขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการศึกษาค้นคว้าและจัดทำวิทยานิพนธ์ อาทิเช่น ขอบคุณผู้มีพระคุณ บิดามารดา และอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น

    ส่วนเนื้อความ

    ส่วนเนื้อความ (Text) คือส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ เป็นการพรรณนาขั้นตอน วิธีการ และผลการศึกษาวิจัย โดยส่วนเนื้อความมักประกอบด้วยเนื้อหาหลักๆ 3 ส่วน คือ บทนำ ตัวเรื่อง และ บทสรุป

    บทนำ (Introduction) เป็นส่วนที่ผู้เขียนใช้อธิบายถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่นำไปสู่การค้นคว้าวิจัย และสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่จะทำการศึกษาวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนที่ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการค้นคว้าวิจัย จากนั้นเป็นการกล่าวถึง หลักการ ทฤษฎี ตัวแบบ แนวเหตุผล ที่จะใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนผลการศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าวิจัยมาได้ จากนั้นกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการศึกษาวิจัย และ นิยามศัพท์ เพื่ออธิบายคำศัพท์ที่ได้กำหนดขึ้นโดยมีความหมายเฉพาะตัวสำหรับการค้นคว้าวิจัยนั้นๆ เท่านั้น ในส่วนบทนำของวิทยานิพนธ์บางเล่มจะมีสมมุติฐาน เพื่อเป็นการคาดคะเนถึงผลการค้นคว้าวิจัย ที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นๆ ด้วย

    ตัวเรื่อง (Body of the text) วิทยานิพนธ์แต่ละสาขาวิชา จะมีแบบฉบับในการเขียนเนื้อหาตัวเรื่องแตกต่างกันไป ส่วนประกอบหลักๆ ของตัวเรื่องมักประกอบด้วย การอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จากนั้นจึงกล่าวโดยละเอียดถึงผลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยด้วยวิธีการต่างๆ ตามวิธีดำเนินการวิจัย หลังจากกล่าวถึงผลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยแล้ว ก็จะเป็นส่วนสาระสำคัญของตัวเรื่อง คือการอภิปรายผลการวิจัย ซึ่งเป็นการวิจารณ์หรือการอภิปรายผลการวิจัยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย

    การวิจารณ์หรือการอภิปรายผลการวิจัย มักเป็นการอธิบายให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามความสัมพันธ์ของ หลักการ ทฤษฎี ตัวแบบ แนวเหตุผล หรือกฎเกณฑ์ ที่สอดคล้องกับผลของการค้นคว้าวิจัย หรือนำเสนอให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของผลการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่มีผู้เสนอมาก่อนหรือที่ผู้เขียนสร้างขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถยกตัวอย่างเปรียบเทียบผลการค้นคว้าวิจัยของผู้เขียนกับของบุคคลอื่นโดยเน้นปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญของเรื่อง ทั้งนี้การเขียนตัวเรื่องอาจสอดแทรกเนื้อหาบางอย่างในส่วนท้าย เช่น ชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ในการค้นคว้าวิจัย นำเสนอปัญหาและอุปสรรคในการค้นคว้าวิจัย แนะนำแนวทางที่จะนำผลการค้นคว้าวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเสนอคำแนะนำสำหรับการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงสถานการณ์ที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเสนอแนวความคิดปัญหาหรือหัวข้อใหม่สำหรับการค้นคว้าวิจัยต่อไป

    บทสรุป (Conclusion) เป็นส่วนที่นำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยโดยสรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญของผลของการศึกษาวิจัย ผู้เขียนสามารถอธิบายแนวคิดสำคัญที่ได้จากการศึกษาวิจัย และวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัยพร้อมทั้งแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาโดยสรุปได้

    ส่วนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

    ส่วนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (References or Bibliography) จะแสดงรายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ บุคคล และวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และที่ได้อ้างถึงในส่วนนำและเนื้อความ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเหล่านั้นในเชิงลึกต่อไป

    วิทยานิพนธ์บางเล่มอาจมี ภาคผนวก (Appendix) เพื่อใช้นำเสนอข้อมูลต่างๆ หรือสิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจสาระของวิทยานิพนธ์ดียิ่งขึ้น เนื้อหามักประกอบด้วยเอกสารข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนเนื้อเรื่อง ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้จากการปฏิบัติการ เช่น การทดลอง การศึกษาเฉพาะกรณี สำเนาเอกสารหายาก คำอธิบายระเบียบวิธี กระบวนการและวิธีการรวบรวมข้อมูล แบบฟอร์ม แบบสำรวจ แบบสอบถาม ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ คำอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน หรือวิธีการ นามานุกรม (directory) ของบุคคลที่อ้างถึงในวิทยานิพนธ์

    หน้าสุดท้ายของวิทยานิพนธ์ มักมีประวัติผู้เขียน (Curriculum vitae หรือ Vita) ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการศึกษาและการทำงานของผู้เขียน ประวัติผู้เขียนโดยทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล พร้อมคำนำหน้า ได้แก่ นาย นางสาว นาง ยศ บรรดาศักดิ์ ราชทินาม สมณศักดิ์ พร้อมทั้งวันเดือนปีและสถานที่เกิด วุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป สถานศึกษา และ พ.ศ. ที่สำเร็จการศึกษา รวมทั้งประสบการณ์ ผลงานทางวิชาการ รางวัล หรือทุนการศึกษาเฉพาะที่สำคัญ ตำแหน่งและสถานที่ทำงานของผู้เขียน

    จาก วิกิพีเดีย (Ph.d thailand)

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    หรือเรียกย่อๆ ว่า HRD คืออะไร มีที่มาอย่างไร และมีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง

    -HRD คืออะไร : มีนักวิชาการทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศจำนวนมากได้ให้คำนิยามไว้ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า HRD คือ “ การดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์กรทั้งในระยะสั้น และระยะยาวเพื่อเพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และปรับทัศนคติ (Attitude) ของบุคลากร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ”

    -HRD มีที่มาอย่างไร : คงต้องมองย้อนไปเมื่อ 36 ปีก่อนคือในปี ค.ศ. 1969 ในการประชุมประจำปีของ American Society for Training and Development หรือใช้คำย่อว่า ASTD เรียกเป็นไทยว่า สมาพันธ์การฝึกอบรมและพัฒนาแห่งอเมริกา มีสมาชิกท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์ได้ กล่าวถึงแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) เป็นคนแรกซึ่งเขาคือ Leonard Nadler และจากนั้นในปีต่อมา ค.ศ. 1970 เขาและภรรยา Zeace ได้ให้คำนิยามของ HRD อย่างเป็นทางการ จากนั้นเอง HRD ก็ได้รับความสนใจและมีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย และนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

    -องค์ประกอบที่สำคัญของ HRD มีอะไรบ้าง : จากการศึกษาตำราทางวิชาการด้าน HRD หลายเล่ม ผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดของ Jerry W. Gilley, Steven A. Eggland และ Ann Maycunich Gilley ในหนังสื่อ Principle of Human Resource Development ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 และครั้งที่สอง ในปี 2002 ได้นำเสนอหลักการในการพิจารณาองค์ประกอบของ HRD ไว้อย่างน่าสนใจโดยใช้ตาราง Matrix เป็นตัวแบบในการนำเสนอโดยใช้ 2 มิติประกอบกัน คือ มิติทางด้านจุดเน้น (Focus) และมิติด้านผลลัพธ์ (Results ) ของกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    จะเห็นว่ามีองค์ประกอบสำคัญของ HRD สี่ด้านดังต่อไปนี้

    1. การพัฒนารายบุคคล (Individual Development )

    เป็นงานที่มุ่งเน้นในส่วนบุคคล และ เกิดผลลัพธ์ในระยะสั้น ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความรู้ ทักษะ และปรับพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรแต่ละคนในองค์กรเพื่อให้สามารถทำงานปัจจุบันที่ตนรับผิดชอบได้ ซึ่งเป็น ส่วนนี้มักเรียกว่า การฝึกอบรม (Training) นั่นเอง

    2. การพัฒนาอาชีพ (Career Development)

    เป็นงานที่มุ่งเน้นส่วนบุคคลและเกิดผลลัพธ์ในระยะยาว ซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์ความจำเป็นรายบุคคลในส่วนของ ความสนใจ ค่านิยม ความสามารถ เพื่อที่จะนำไปวางแผนพัฒนาให้มีความรู้ ทักษะ เพื่องานในอนาคต ซึ่งส่วนนี้มักเรียกว่าการพัฒบุคคล (Development)

    3. การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)

    เป็นงานที่มุ่งเน้นภาพรวมของทั้งองค์กร และเกิดผลในระยะสั้น ซึ่งหมายถึงการมุ่งปรับปรุงผลงานขององค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อประกันหรือรับรองว่าบุคลากรจะต้องมี ความรู้ ทักษะ มีแรงจูงใจ และมีสภาพแวดล้อมที่ดีในการสนับสนุนให้บุคลากรสร้างผลงานได้อย่างเกิดผลสัมฤทธิ์

    4. การพัฒนาองค์กร (Organization )

    เป็นงานที่มุ่งเน้นภาพรวมองค์กร และเกิดผลในระยะยาว ซึ่งหมายถึงการแก้ไขปัญหาขององค์กร การปรับปรุงหรือวางระบบโครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การกำหนดกลยุทธ์ กระบวนการบริหารงาน และภาวะผู้นำ

    ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจ HRD ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่เกินสี่ทศวรรษ มานี้เอง เป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นศาสตร์ที่มุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฏี และสามารถนำไปใช้ในโลกของการปฏิบัติได้จริง เมื่อผู้ศึกษาจนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอจะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันขององค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือทั้งในระดับบุคคล และภาพรวมองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนขององค์กรต่อไป

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    หุ่นยนต์ไทยเชิงพาณิชย์ตัวแรกที่ผลิตโดยคนไทยคุรเฉลิมพล ปุณโนทก(เป็นลูกศิษย์อาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์อีกคนนะครับ) ผมได้ไปร่วมแสดงความยินดีและจนำเรื่องมาลงเป็นตัวอย่างคนไทยที่มีความพร้อมไปแข่งกับต่างประเทศและมีทุนทาง Digital Capital สูงครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    Image91125523

    HR (ต้อง) มาจากดาวอังคาร CEOs (ควร) มาจากดาวศุกร์

    via การบริหารทรัพยากรมนุษย « WordPress.com Tag Feed by management2008 on 10/12/09

    รายงานโดย :รศ.ดร. ศิริยุพา รุ่งเริงสุข สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

    หลายปีก่อนนู้นผู้เขียนเคยอ่านหนังสือเรื่อง “Men are from Mars, Women are from Venus” ที่เขียนโดย John Gray เข้าใจว่าคงมีท่านผู้อ่านหลายท่านเคยผ่านตากับหนังสือเล่มนี้มาก่อน

    ใจความสำคัญก็คือว่า ผู้ชาย (ส่วนใหญ่) น่าจะมาจากดาวอังคาร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าแห่งการสู้รบ เอาชนะ แข็งกร้าว ในขณะที่ผู้หญิง (ส่วนใหญ่) มาจากดาวศุกร์ ซึ่งมีเทพีวีนัสเป็นสัญลักษณ์ เทพีวีนัสนี้คือเทพธิดาแห่งความรัก อ่อนหวาน ความสวยงาม ดังนั้นเมื่อเทพเจ้าดาวอังคารมาใช้ชีวิตอยู่กับเทพีวีนัส ความแตกต่างนี้จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความขัดแย้งไม่ลงรอยกันได้ง่ายๆ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้ต่างฝ่ายต่างพยายามศึกษานิสัยใจคอของแต่ละฝ่ายให้ดี จะได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันได้อย่างผาสุก หนังสือเล่มนี้นับเป็นหนังสือขายดีเล่มหนึ่งสำหรับคู่รักและคู่สมรส

    มาในครั้งนี้ Dr.John Sullivan อาจารย์และที่ปรึกษาด้าน HR ชื่อดังจากซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกาได้เขียนบทความโดยใช้ชื่อล้อกับหนังสือเล่มนี้ โดยเขาตั้งชื่อบทความของเขาว่า “HR People are from Mars, CEOs are from Venus!” เพื่อสื่อให้ชาว HR ปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวคิดและสไตล์ในการทำงานเสียใหม่ เพื่อที่จะสามารถสร้างเครดิต ความน่าเชื่อถือให้แก่ตนเองในสายตาของบรรดา CEO

    ผู้เขียนเคยอ่านบทความของ John Sullivan มาหลายเรื่อง และพอจะจับวัตถุประสงค์หลักของ Dr.Sullivan ได้ว่าเขามีจุดมุ่งหมายอยากจะยกระดับอาชีพของชาว HR ให้ได้รับการยอมรับจาก CEO เหมือนกับผู้บริหารในสายงานหลัก (Line Functions) เช่น การเงิน การผลิต และการตลาด เขาได้เน้นย้ำสื่อสารมาหลายปีแล้วว่า งานการบริหารบุคคลมีความสำคัญต่อต้นทุน กำไร และผลประกอบการโดยรวมของบริษัทไม่น้อยไปกว่างานแผนกอื่นๆ อย่างไรก็ตาม Dr.Sullivan ตระหนักดีว่ายังมีชาว HR จำนวนมากมายที่ยังไม่สามารถพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อพิสูจน์ตนเองว่ามีคุณค่ากับองค์กรได้ในระดับที่เรียกว่าเป็น “หุ้นส่วนกลยุทธ์” (Strategic Partner) ได้อย่างเต็มภาคภูมิ เขาจึงพยายามเสนอคำแนะนำในการปรับปรุงตนเองให้แก่ชาว HR เพื่อที่จะสามารถก้าวเป็นหุ้นส่วนกลยุทธ์และเป็นคู่คิดของ CEO และผู้บริหารทุกแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านั้น เขายังทั้งแนะนำ ทั้งลุ้นและเชียร์ให้ HR ก้าวไกลไปถึงขนาดการเตรียมตัวเป็น CEO อีกด้วย

    เช่นเดียวกันสำหรับบทความเรื่อง “HR People are from Mars, CEOs are from Venus!” Dr.Sullivan เรียกร้องให้ชาว HR สลัดค่านิยมและบทบาทเดิมๆ ที่เป็นเสมือนเทพธิดาวีนัสที่มีแต่ความรัก ความเมตตาให้ชาวโลกและพร้อมที่จะ “ประสานงาน” (Cooperate) หรือให้ความร่วมมือและช่วยเหลือผู้อื่น ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับ CEO ซึ่งมีบุคลิกลักษณะของเทพดาวอังคารที่เป็นนักรบ (Warriors) CEO มักมีอุปนิสัยชอบแข่งขัน (Compete) ชอบเป็นผู้ชนะ (Winner) ชอบเป็นผู้ครองความได้เปรียบและครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ทรัพย์สิน ดินแดน และผู้คน ดังนั้นเมื่อ CEO มาจากดาวอังคาร CEO ทั้งหลายจึงครุ่นคิดสนใจเรื่องต้นทุน กำไร การครอบครองแย่งชิงตลาดและการเอาชนะคู่แข่งทางการค้า เป็นต้น

    และเมื่อ HR อยากทำงานให้ได้ผลงานเข้าตากรรมการที่เป็นเทพแห่งสงครามอย่าง CEO จึงจำเป็นที่เทพีวีนัสอย่าง HR ต้องสลัดคราบเทพีผู้อ่อนโยนมาสวมหัวใจนักรบแทน ทั้งนี้รองประธานด้าน HR ของบริษัท CISCO ที่คงสวมหัวใจเทพเจ้าดาวอังคารไปแล้วได้กล่าวว่า “โอกาสอันดับ 1 ของเราคือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ใช่การสร้างแผนสิทธิประโยชน์ให้องค์กร” (“Our # 1 opportunity is to build a competitive advantage, not to build benefit plans for our organization”)

    จากคำกล่าวนี้บ่งชี้ให้เห็นชัดเจนว่า จากเดิมที่มุมมองและวิสัยทัศน์ของ HR อันเคยจำกัดอยู่แต่เรื่องของสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ ผลตอบแทนของพนักงานในองค์กรนั้นมันคับแคบและไม่ยาวไกลพอเสียแล้ว ชาว HR ต้องขยายมุมมองให้เห็นภาพรวมว่าวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งขององค์กรคืออะไร? ก็แล้วมันจะเป็นอะไรล่ะถ้าไม่ใช่ผลผลิต รายได้ กำไร (สำหรับองค์กรที่มุ่งผลกำไร) หรือผลงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ในกรณีที่เป็นองค์กรซึ่งไม่ได้มุ่งผลกำไร) Dr.Sullivan ชี้ว่าข้อแตกต่างระหว่าง CEO และ HR ที่ชัดที่สุดและสำคัญที่สุดคือ มุมมองในเรื่องวัตถุประสงค์หลักของการทำงานนั่นเอง เพราะ CEO จะมองว่าไม่ว่าหน้าที่งานของใครแต่ละคนจะทำอะไรก็ตามในองค์กร แต่ทุกชิ้นงานล้วนมีผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการสร้างผลผลิตและรายได้ทั้งสิ้น ซึ่งมุมมองนี้ HR และพนักงานหลายคนอาจไม่เคยคิด เพราะพวกเขาเหล่านั้นคิดแต่เพียงว่าทำงานในหน้าที่ของตนให้เสร็จ เพื่อให้หัวหน้างานพอใจก็พอแล้ว แต่ไม่ได้คิดไกลไปถึงขนาดว่าบทบาทของตนเองเกี่ยวโยงกับองค์กรอย่างไร

    อย่ามัวแต่คิดถึงความร่วมมือ (Cooperate) จนลืมการแข่งขัน (Compete)

    ลำดับต่อไปที่ชาววีนัสอย่าง HR ต้องเรียนรู้จากเทพเจ้า Mars ก็คือ ใน DNA ของ CEO นั้น พวกเขาชอบการแข่งขัน และเกลียดการอยู่อันดับโหล่เป็นที่สุด ให้ดูตัวอย่างของ Jack Welch นั่นยังไง สมัยที่ Jack เป็น CEO ของ GE นั้น เขาได้เคยประกาศไว้อย่างดุดันว่า ผลงานของ GE ในทุกๆ ธุรกิจที่ทำจะต้องเป็นที่ 1 และห้ามต่ำกว่าอันดับ 2 ด้วยคติพจน์ในการทำงานเช่นนี้ จึงสร้างทัศนคติและสไตล์การทำงานของชาว GE ให้เป็นแบบเชิงรุก สร้างสรรค์ เน้นผลงานและนวัตกรรม ถึงเวลาที่ชาว HR ต้องมองออกไปนอกองค์กร เพื่อศึกษาคู่แข่งว่าเขาไปถึงไหนแล้ว เพื่อที่จะกำหนดเป้าหมายและมาตรฐานของการทำงานของตน แล้วปรับวิธีทำงานให้สามารถแข่งขันและเอาชนะได้

    Dr.Sullivan ชี้แนะว่า HR ควรทำการสำรวจงานในแต่ละส่วนของตนและสรุปผลงานในแต่ละเดือนออกมาเพื่อเปรียบเทียบว่า ผลงานของตนดีขึ้นหรือไม่ในแต่ละเดือน และต้องนำผลงานของตนไปเทียบกับผลงานของ HR ในบริษัทคู่แข่งขันด้วย จะได้ฟันธงให้จะแจ้งไปเลยว่า HR อย่างคุณมีฝีมือเพียงใด ดังนั้นเพลาๆ เรื่องการสร้างสมานฉันท์ไว้บ้างก็ยังได้ แต่จงสร้างค่านิยมในการแข่งขันเพิ่มขึ้นด้วย

    เน้นรายได้ (Revenue) นอกเหนือไปจากต้นทุนค่าใช้จ่าย (Cost)

    แม้ว่าในปัจจุบันนี้ชาว HR รุ่นใหม่จะเริ่มมีความตื่นตัวในการวัดผลงานของแผนกออกมาเป็นตัวเลขมากขึ้น เช่น ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย (Cost) ในการว่าจ้างงาน หรือการคัดเลือกคน หรือประหยัดงบประมาณในการฝึกอบรม การใส่ใจดูแลเรื่องต้นทุนนั้นยังไม่พอ ก้าวต่อไปที่ Dr.Sullivan ท้าทายชาว HR ให้ออกมาแสดงความสามารถคือ การคำนวณผลงานของ HR ในแง่ของรายได้ เช่น ให้คำนวณเปรียบเทียบว่า เมื่อสามารถรักษาพนักงานระดับ Talent ขององค์กรจำนวน 3 คนให้คงทำงานอยู่กับบริษัทได้ คนเหล่านี้สามารถสร้างผลผลิตและรายได้ให้องค์กรได้มากกว่าการมีพนักงานหน้าใหม่มาทำงานแทนพวกเขาสักเท่าไร เมื่อคิดและคำนวณตัวเลขแบบนี้ออกมาได้ก็จะทำให้ CEO และผู้บริหารทั้งองค์กรมองเห็นว่า การที่ HR รักษา (Retain) บุคลากรระดับ Talent ไว้ได้สามารถสร้างรายได้ให้บริษัทเท่าใด?

    เชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยติดถึงลำดับที่ 17 ของ 20 ประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของโลก

    (Creative Economy Report 2008, UNCTAD)

    ร่วมค้นหากลไกของความสำเร็จใน นิทรรศการ Baht & Brains: สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

    เวลา 10 พ.ย. – 31 ม.ค. 53 | 10:30-21:00 น.

    สถานที่ โถงทางเข้า TCDC

    ทำไมสมองต้องแบ่งเป็นซีกซ้ายและซีกขวา? ทำไมตรรกะและจินตนาการต้องถูกเฉือนออกจากกัน?

    ธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์อยู่ร่วมกันไม่ได้จริงหรือ?

    ในปี 2548 มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการสร้างสรรค์พุ่งสูงถึง 4 แสนล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 4% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดในตลาดโลก ประเทศไทยติดอันดับเป็น 1 ใน 20 ประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์มากที่สุดของโลก* อะไรคือจุดแข็ง ความสามารถ และความพร้อมของไทย และเราจะเชื่อมโยงสิ่งเหล่านั้นเข้ากับกระแสของโลกเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไร

    นิทรรศการ “Baht & Brains: สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” นำเสนอโอกาสทางการค้าอันยิ่งใหญ่ เมื่อธุรกิจจับมือกับความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ จนเป็นจุดรวมของความคิดต่างขั้วที่สร้างมูลค่ามหาศาลจากการใช้ปัญญาเป็นต้นทุน และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทยที่กำลัง “โต” และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนต่างวงการได้มากกว่าที่คิด

    ร่วมเรียนรู้กลไก กระบวนการ และผลลัพธ์ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านตัวอย่างของนานาประเทศ และตัวอย่างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และแนวคิด จากหลากหลายวงการ ตั้งแต่ผู้ผลิตสื่อวิทยุโทรทัศน์ วัฒนธรรมการกินอยู่ ทักษะหัตถกรรม การบริการ ไปจนถึงนวัตกรรม

    นิทรรศการนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมตามแนวนโยบายผลักดันประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Thailand) โดยนำเสนอแนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจในวงกว้าง เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

    “Baht & Brains: สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” จัดแสดง ณ โถงทางเข้า TCDC ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 – 31 มกราคม 2553 และจะหมุนเวียนไปจัดแสดงทั่วทุกภูมิภาค

    เข้าชมฟรี

    TCDC ดิ เอ็มโพเรียม ชั้น 6

    10.30 – 21.00 (ปิดวันจันทร์)

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์

    เมื่อวันที่ 11/11/52 เรามีประชุมโครงการ "ที่ปรึกษาการศึกษาชั้นสูงให้รัฐบาลลาว" โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ

    1. ท่านอธิการบดี ม.ราชภัฏสวนสุนันทา รศ.ดร.ช่วโชติ พันธุเวชและทีมงาน

    2. Patrnersที่มาจากประเทศลาว

    3. ตัวแทนของทานอาจารย์คุณเอ้

    4. บริษัท MST ซึ่งเป็น Partner ของโครงการ

    5. มีตัวแทน Ph.D.3 SSRU คือ ท่านรอง ธนพล สุนันทา สกลชัย และลัดดา

    การประชุมเป็นไปได้ด้วยดีมาก ๆ ครับ(รายละเอียดคุณเอ้จะรายงานท่านอาจารย์นะครับ)

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    มหัศจรรย์แห่งนิทาน

    ใน โลกนี้คงไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบฟังนิทาน ลองนึกภาพเวลาเด็กๆ ได้ฟังนิทาน เด็กจะฟังอย่างตั้งใจ สายตาพุ่งตรงมายังคนเล่าเป็นจุดเดียว บางคนเขยิบเข้ามาใกล้คนเล่าโดยไม่รู้ตัว บรรยากาศรายรอบสงบเงียบ มีแต่เสียงคนเล่านิทานที่ดังอย่างต่อเนื่อง เด็กๆ ต่างหยุดซุกซนเพื่อจะได้ฟังนิทาน ที่เป็นเช่นนี้เพราะเรื่องเล่าในนิทานทำให้เด็กมีความสุข

    นักการศึกษาด้านวรรณกรรมเด็กวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กชอบฟังนิทานไว้ว่า ...

    นิทาน มีการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว ตรงไปตรงมา สามารถตอบคำถามของเด็กได้ทันทีว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และเป็นอย่างไร ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของเด็กที่อยากรู้ทันทีว่ามีอะไรเกิดขึ้น และผลเป็นอย่างไร

    ตัวละครในนิทานมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น พระเอกทำอะไร ผลเป็นอย่างไร และจะทำอะไรต่อไป

    นิทานสนองจินตนาการของเด็ก เช่น สัตว์พูดได้ ต้นไม้พูดได้ คนเหาะหรือหายตัวได้

    เรื่องในนิทานมีความยุติธรรมถูกใจเด็ก ผู้ทำดีจะได้รับผลดี ส่วนผู้ร้ายจะได้รับการลงโทษในที่สุด

    นิทานสร้างความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เช่น ความรู้สึกตื่นเต้นในนิทานที่เกี่ยวกับการผจญภัย ความรู้สึกสนุกสนาน อารมณ์ขัน และความรู้สึกเป็นสุขเมื่อนิทานจบลง

    ความชื่นชอบในนิทานของเด็กๆ ทุกชาติทุกภาษา ทำให้ “นิทาน” เป็นสื่อที่มีพลังและเข้าถึงจิตใจของเด็กได้ดี ทั้งกระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมที่ดี โดยเฉพาะในเด็กวัยปฐมวัย (2-6 ปี) จึงไม่น่าแปลกใจที่พ่อแม่และครูจำนวนไม่น้อยใช้นิทานเป็นสื่อในการสร้างความ สนุกสนาน ความสุข อบรมสั่งสอน และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ

    พลังของการเล่านิทาน

    นิทานเริ่มต้นมาจากเรื่องเล่าสืบต่อกันมาในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก จากรุ่นสู่รุ่น จากผู้เฒ่าผู้แก่สู่ลูกหลาน นิทานหลายต่อหลายเรื่องจึงเป็นช่องทางถ่ายทอดวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆ ของท้องถิ่นไปสู่ชนรุ่นหลัง ว่ากันว่านิทานที่ดีจะประทับอยู่ในจิตใจเด็กตั้งแต่เล็กจนโต และบ่อยครั้งที่นิทานดลใจให้เกิดการกระทำตามมา เพราะเด็กๆ ชอบเลียนแบบตัวละครที่ชื่นชอบในนิทาน ทำให้นิทานเป็นสื่อที่ช่วยแสดงและปลูกฝังคุณธรรม ศีลธรรม และค่านิยมที่ดีแก่จิตใจเด็กได้

    โจเซฟ ชิลตัน เพียซ แห่งสถาบันจุง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อธิบายว่า พ่อแม่และครูสามารถใช้นิทานสร้างแรงจูงใจทางศีลธรรมให้แก่เด็กปฐมวัยได้ โดยเล่านิทานง่ายๆ ไม่ซับซ้อนให้เด็กฟัง แต่การจะให้เด็กซึมซับสิ่งต่างๆ จากนิทานได้นั้นจำเป็นต้องเล่าซ้ำๆ ติดต่อกันหลายวัน เพราะคุณค่าต่างๆ ที่อยู่ในนิทานจะถูกประทับไว้ในใจเด็กอย่างลึกซึ้ง เนิ่นนานกว่าการฟังนิทานอย่างฉาบฉวย ซึ่งการจะให้เรื่องราวของคุณความดีและศีลธรรมในนิทานเข้าสู่จิตใจเด็กได้ดี ยิ่งขึ้น ผู้เล่าจะต้องทำความเข้าใจและเข้าถึงแก่นของศีลธรรมที่แฝงอยู่ในนิทานอย่าง ถ่องแท้ก่อน จะช่วยให้เด็กได้รับภาพที่ชัดเจนของคุณลักษณะทางศีลธรรมที่แฝงอยู่ และสร้างจินตนาการของศีลธรรมดังกล่าวได้โดยง่าย

    อย่างไรก็ตาม เพียซ ชี้ว่า “การที่เด็กต้องการฟังนิทานซ้ำๆ ไม่ใช่เพื่อจดจำ เพราะเด็กวัยนี้มีพัฒนาการที่พิเศษของการจดจำ เด็กส่วนมากสามารถจำเรื่องราวในนิทานได้หลังจากฟังเพียงครั้งเดียว แต่นิทานบางเรื่องเติมเต็มความรู้สึกเด็ก เวลาได้ฟังนิทานแล้วเด็กจะมีความสุข จึงอยากฟังซ้ำๆ นอกจากนี้ ขณะฟังนิทานแต่ละเรื่องเด็กต้องใช้พลังในการจินตนาการ เซลล์สมองของเด็กจะสร้างชุดการเชื่อมต่อชุดใหม่ขึ้น การเล่านิทานซ้ำๆ กันเป็นเวลานานจะช่วยให้ชุดการเชื่อมต่อนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นหมายถึงความสามารถในการคิดและการเรียนรู้ก็จะมากขึ้นด้วย” เพียซ กล่าว

    ด้าน ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ ผู้อำนวยการสมาคมไทสร้างสรรค์ และผู้มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและครอบครัว กล่าวว่า หลังจากผ่านการทดลองและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย ได้ค้นพบความมหัศจรรย์ของ ‘หนังสือ’ ว่ากิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านการเล่านิทาน อ่านหนังสือให้เด็กฟัง สร้างผลกระทบด้านบวกแก่เด็กและผู้เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน เป็นกระบวนการที่สามารถเข้าถึงเด็กๆ ได้ทั้งเด็กในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่ง ทั้งในด้านการส่งเสริมจินตนาการ การพัฒนาสมาธิ การเตรียมความพร้อมด้านภาษา การปลูกฝังค่านิยมที่ดี ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และยังช่วยให้พ่อแม่ลูกมีการสื่อสารและสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

    สมาคมไทสร้างสรรค์เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านการศึกษาปฐมวัย ปัจจุบันดำเนินโครงการ “พัฒนาเด็กปฐมวัยในชนบทด้วยการเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟัง” ใน พื้นที่อำเภอภูเวียง อำเภอหนองเรือ และกิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น โดยร่วมกับมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก คัดเลือกหนังสือเด็กที่ดีเหมาะสำหรับพัฒนาเด็กปฐมวัยให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก 52 ศูนย์ที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งจัดอบรมสัมมนาครูพี่เลี้ยงในแต่ละศูนย์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพครูพี่เลี้ยงให้สามารถใช้หนังสือนิทานเป็นเครื่องมือใน การพัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    ภายหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรเล่านิทานอ่านหนังสือเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย” ครั้งที่ 1 ไปเมื่อเดือนมกราคม 2547 ที่ผ่านมา และติดตามผลในเดือนพฤษภาคม หลังจากครูพี่เลี้ยงนำหนังสือนิทานไปเล่าให้เด็กภายในศูนย์ฟัง พบว่านิทานทำให้เด็กๆ มีความสุข รักหนังสือ และสามารถเล่าเรื่องจากหนังสือได้ เด็กรู้จักคำมากขึ้น รู้จักการเรียงลำดับและนับจำนวน สามารถเข้าสังคมกับเพื่อนวัยเดียวกันได้ดี กล้าแสดงความคิดเห็น มีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นในการอยากเรียนรู้ ชอบสังเกต ค้นคว้า และอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น

    สุพัตรา สิงห์ชู ครูพี่เลี้ยงจากศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดสิทธิการาม อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เล่าถึงประสบการณ์ในการเล่านิทานให้เด็กในศูนย์ฯ ฟังว่า เด็กๆ ชอบฟังนิทาน ตนจึงนำนิทานมาเป็นเครื่องต่อรองกับเด็ก เช่น ให้เด็กนั่งให้เรียบร้อย เก็บของให้เป็นระเบียบ อย่าส่งเสียงดัง แล้วถึงจะเล่านิทาน เด็กๆ จะปฏิบัติตามเป็นอย่างดี เวลาเล่านิทานเด็กจะนั่งนิ่งฟังได้นานราว 10-20 นาที และฟังอย่างตั้งใจ เวลาถามเด็กจะแย่งกันตอบ กระตือรือร้นอยากมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นว่าเด็กๆ ชอบเลียนแบบตัวละครในนิทาน เช่น หลังจากได้ฟังนิทานเรื่อง น้องหมีแต่งตัว เด็กจะพยายามแต่งตัวเองตามน้องหมีในเรื่อง จากที่แต่ก่อนจะให้พ่อแม่ทำให้ ชี้ให้เห็นว่านิทานเป็นสื่อที่แยบยลที่สุดในการอบรมสั่งสอนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบให้แก่เด็กๆ

    เล่าอย่างไรให้สนุก

    แม้ธรรมชาติของเด็กจะชอบฟังนิทาน แต่ไม่ได้หมายความว่านิทานทุกเรื่องจะถูกใจเด็กเสมอไป นิทานบางเรื่องอาจสนุกในสายตาผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กๆ แล้วอาจเป็นตรงกันข้าม ทั้งนี้เพราะนิทานเรื่องนั้นยาวและซับซ้อนเกินไป เป็นต้น พ่อแม่และครูจึงต้องเลือกนิทานให้เหมาะสม โดยนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยควรมีลักษณะดังข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

    มีลำดับเรื่องราวง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ชวนติดตาม

    ประกอบไปด้วยถ้อยคำและประโยคซ้ำๆ

    เป็นนิทานที่สามารถคาดเดาเรื่องได้

    สอดแทรกอารมณ์ขัน

    มีเรื่องราวสนุกสนานและน่าสนใจ

    มีตอนจบที่ตื่นเต้น และบทสรุปที่เหมาะสม

    เสนอคุณธรรมหรือศีลธรรมที่ชัดเจน

    ปรีดา ปัญญาจันทร์ นักเขียนและนักเล่านิทาน แนะนำว่า การเลือกหนังสือนิทานที่จะนำมาเล่าให้เด็กฟังนั้นควรเริ่มจากหนังสือภาพ สำหรับเด็ก ซึ่งมีภาพในสัดส่วนร้อยละ 70-80 ขณะที่มีตัวหนังสือเพียงร้อยละ 20-30 ยิ่งเป็นหนังสือสำหรับเด็กเล็กเท่าไร ตัวหนังสือก็มีความจำเป็นน้อยเท่านั้น หนังสือภาพนิทานที่ดีต้องสื่อสารกับเด็กได้ สื่ออารมณ์ของตัวละครในเรื่องได้ และไม่ควรมีความยาวมากนัก ถ้าเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กจะยิ่งชอบ โดยพ่อแม่หรือครูเป็นผู้อ่านหรือเล่าให้เด็กฟัง ซึ่งการเล่านิทานของพ่อแม่และครูจะแตกต่างกัน พ่อแม่นั้นอ่านให้ลูกเพียงคนหรือสองคนฟัง แค่อ่านตามตัวอักษรให้ลูกฟังก็เพียงพอแล้ว เพราะธรรมชาติของลูกนั้นแค่ได้อยู่ใกล้พ่อแม่ ได้ยินเสียงของพ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว แต่ครูต้องเล่าให้เด็กจำนวนมากฟัง ต้องบวกการเล่าอย่างมีชีวิตชีวา มีจังหวะจะโคน เพื่อตรึงเด็กจำนวนมากไว้กับนิทานที่กำลังเล่าอยู่ได้

    “การเล่านิทานมี 2 รูปแบบ แบบแรก คือ การอ่านตามตัวอักษร แบบนี้จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาพรรณนาโวหาร ได้ซึมซับภาษาที่ดี และเด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาดี แบบที่สองคือการเล่าเรื่อง แบบนี้จะทำให้เรื่องราวสนุกสนานขึ้น และกระตุ้นให้เด็กได้ใช้จินตนาการมากขึ้นด้วย ซึ่งทั้งสองรูปแบบต่างมีข้อดีแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าคนเล่าถนัดแบบไหน”

    ปรีดา กล่าวและว่า การเล่านิทานไม่ว่าจะใช้รูปแบบใด ผู้เล่าต้องอ่านและทำความเข้าใจนิทานเรื่องที่จะเล่ามาก่อนแล้วอย่างละเอียด โดยมีเทคนิคการเล่านิทานเบื้องต้นว่า ต้องพูดเต็มเสียง ถูกอักขระ มีจังหวะในการพูด และเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม ส่วนการปรับเปลี่ยนเสียงตามตัวละครนั้นเป็นเทคนิคส่วนตัวของแต่ละคนที่จะมี หรือไม่มีก็ได้

    ด้านโจเซฟ ชิลตัน เพียซ กล่าวว่า การจะเล่านิทานให้เข้าถึงจิตใจของเด็กได้ ภาษาที่ใช้ในการเล่านิทานต้องเป็นภาษาที่สละสลวย งดงาม และสามารถให้ภาพในจินตนาการ เนื่องจากเด็ก (แม้แต่ในวัยทารก) สามารถฟังผู้ใหญ่พูดและเล่านิทานอย่างตั้งใจ ซึ่งไม่ใช่การตั้งใจฟังความหมายของถ้อยคำ แต่เป็นน้ำเสียงที่จะเข้าไปสู่จิตใจของเด็ก เมื่อเด็กฟังนิทานด้วยความสุขเด็กจะนั่งนิ่ง ดวงตามองตรงไปที่ผู้เล่า แต่สิ่งที่เด็กมองเห็นไม่ใช่การกระทำตรงหน้า เพราะถ้อยคำของนิทานกระตุ้นการสร้างจินตนาการภายในที่สัมพันธ์กับถ้อยคำ และการสร้างจินตภาพนี้เองที่เป็นพื้นฐานของความคิดเชิงสัญลักษณ์ ความคิดเชิงเปรียบเทียบ รวมถึงการคิดในระดับสูงขึ้นไปในอนาคต

    จากการรวบรวมเทคนิคการเล่านิทานจากที่ต่างๆ พบว่าการเล่านิทานเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยมีข้อควรคำนึงดังต่อไปนี้

    เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่จำกัด และเรียนรู้ได้ดีจากกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อนและมีการทำซ้ำย้ำทวนอย่างมีจังหวะ ผู้เล่าจึงต้องเลือกนิทานหรือปรับเรื่องราวให้ไม่ซับซ้อน ดำเนินเรื่องตามลำดับเวลา และมีการดำเนินเรื่องซ้ำๆ อย่างเป็นจังหวะ

    นิทาน เข้าสู่เด็กในสภาวะกึ่งฝัน ในภวังค์แห่งการเรียนรู้เด็กต้องการความมั่นคงภายในจิตใจ ดังนั้น นิทานจึงควรเป็นไปอย่างเรียบง่าย เด็กสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวละครและคาดเดาตอนจบได้ ไม่หักมุมจบ

    เด็กใช้จินตนาการในการซึมซับสิ่งต่างๆ และใช้กระบวนการเก็บจำเป็นภาพในจินตนาการ ผู้เล่าจึงควรใช้ภาษาที่สร้างภาพอันงดงาม เสริมสร้างจินตนาการ แต่เป็นภาษาในระดับที่เด็กสามารถเข้าใจได้ มีบทร้อยกรองหรือคำพูดซ้ำๆ แทรกอยู่เป็นระยะ

    เด็กเรียนรู้ได้ดีโดยผ่านกิจกรรมที่มีการซ้ำ ย้ำทวน อย่างเป็นจังหวะ บทสนทนาสั้นๆ ช่วยให้เด็กสามารถจดจำถ้อยคำในนิทานได้ง่ายขึ้น และช่วยเร้าความสนใจของเด็ก ผู้เล่าจึงควรแทรกบทสนทนาสั้นๆ ระหว่างบทบรรยายอย่างมีจังหวะสม่ำเสมอ

    เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากการมีส่วนร่วม ผู้เล่าควรถามคำถามระหว่างการเล่านิทาน เพื่อดึงเด็กเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ขณะเล่านิทานเรื่อง เล่นกลางแจ้ง ที่เล่าถึงการเล่นของเด็กๆ เมื่อมาถึงตอนที่ว่า “วงล้อไม้ไผ่ วงใหญ่วงเล็ก ตาทำให้เด็ก วิ่งไปตีไป” ผู้เล่าอาจถามเด็กๆ ว่าใครรู้จักวงล้อไม้ไผ่บ้าง แล้วใครเคยเล่นบ้าง ก่อนจะเล่าเรื่องต่อไป เป็นต้น

    อารมณ์ที่ผู้เล่าคิดขึ้นจะเข้าไปรบกวนกระบวนการสร้างสรรค์จินตนาการของ เด็ก ผู้เล่าควรเล่าด้วยความสงบนิ่ง ไม่ใส่อารมณ์ของตนเองที่มีต่อเรื่องราวเข้าไป

    เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจแต่ละกิจกรรมประมาณ 15-20 นาที เด็กต้องการฟังซ้ำๆ เพื่อพัฒนาเซลล์สมอง และใช้เวลาในการเรียนรู้นิทานผ่านการเล่น ฉะนั้นควรใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ในการเล่านิทาน 1 เรื่อง แล้วเล่าซ้ำในวันต่อๆ ไปถ้าเด็กเรียกร้อง โดยปรับเปลี่ยนวิธีการเล่าทุกสัปดาห์ เช่น สัปดาห์ที่ 1 เล่าปากเปล่า สัปดาห์ที่ 2 ใช้หุ่นอย่างง่าย สัปดาห์ที่ 3 ใช้โต๊ะนิทาน สัปดาห์ที่ 4 ใช้โต๊ะนิทาน (ให้เด็กช่วย) เป็นต้น

    บรรยากาศที่เงียบสงบช่วยสร้างสภาวะคลื่นสมองต่ำ หรือภวังค์แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเด็กได้ จึงควรเล่านิทานในบรรยากาศที่เงียบสงบ ไม่มีสิ่งรบกวนความสนใจและจินตนาการของเด็ก

    อย่าง ไรก็ตาม จินตนาการของเด็กต้องได้รับการส่งเสริมด้วยสิ่งเร้าที่เหมาะสมภายนอก เช่น การเป็นต้นแบบที่ดีของพ่อแม่และครู ของเล่นที่เหมาะสม ฉะนั้น ภายหลังจากเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ควรจัดอุปกรณ์ให้เด็กได้ใช้จินตนาการผ่านของเล่น โดยเป็นของเล่นที่ไม่เน้นรายละเอียดมาก เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้จินตนาการ เช่น ไม้บล็อก ท่อนไม้ ก้อนหิน ให้เด็กไว้สร้างของเล่นของตนเอง หรือจัดให้มีหุ่นแบบที่ใช้ในการเล่านิทานวางไว้ให้เด็กหยิบเล่น รวมทั้ง จัดวางหนังสือนิทานให้อยู่ในจุดที่เด็กสามารถหยิบมาอ่านเองได้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และปลูกฝังการรักการอ่านต่อไป

    การเล่านิทานให้เด็กฟังอาจใช้เวลาเพียงวันละ 15-20 นาที แต่คุณค่าที่ได้จากนิทานจะอยู่กับเด็กไปตลอดช่วงชีวิต พ่อแม่และครูจึงควรหาเวลาเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังบ้าง โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยที่กำลังอยู่ช่วงของการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะแห่งศตวรรษที่ 20 กล่าวไว้ว่า

    “ถ้าอยากให้เด็กฉลาด เล่านิทานให้เขาฟัง และถ้าอยากให้เด็กฉลาดมากยิ่งขึ้น เล่านิทานให้มากขึ้น”

    ที่มาข้อมูล : ปี่ซังข้าวน้อย สานปฏิรูป ฉบับที่ 74 เดือนมิถุนายน 2547

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    Flexible Benefits กลยุทธ์ซื้อใจพนักงานแบบไม่ต้องเติมเงิน

    via การบริหารทรัพยากรมนุษย « WordPress.com Tag Feed by management2008 on 10/28/09

    ก่อนจะทำ flexible benefits program องค์กรต้องเตรียมพร้อมเรื่องอะไรบ้าง ตรงนี้คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจของผู้บริหารหลายคน

    ทาง วัทสัน ไวแอท ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ได้แนะนำว่า ขั้นแรก องค์กรต่าง ๆ จะต้องหันกลับไปดูการสร้างแรงดึงดูดคนให้เข้ามาอยู่กับองค์กรและเรื่องการดูแลรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ ว่าองค์กรให้ความสำคัญมากขนาดไหน

    จากนั้นก็เริ่มทบทวนกลยุทธ์การจ่าย ค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายอยู่ในปัจจุบันว่าเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันขนาดไหน เพราะวันนี้เราต้องยอมรับว่าโครงสร้างประชากรของประเทศไทยนั้น มีผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะที่อัตราการเกิดก็ลดน้อยกว่าเดิม ค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ก็เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการในเรื่องผลตอบแทนอื่นของพนักงานนอกจากเงินเดือนและโบนัส จึงต้องจัดให้มีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของพนักงาน

    หลังจากทบทวนกลยุทธ์ด้านสวัสดิการแล้ว สิ่งสำคัญที่บริษัทต้องลงทุนต่อเนื่อง นั่นคือการสื่อสารให้พนักงานในองค์กรได้รับรู้รับทราบว่า ตอนนี้บริษัทมีสวัสดิการอะไรบ้าง แล้วพนักงานสามารถใช้ประโยชน์อะไรกับโปรแกรมต่าง ๆ ที่บริษัทจัดไว้ให้บ้าง

    ซึ่งเรื่องของ employee choice ที่น่าสนใจในยุคนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง flexible benefits เพราะพนักงานสามารถเลือกสวัสดิการได้เองตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เช่น คนโสดอาจจะมีความต้องการสวัสดิการรูปแบบหนึ่ง พอเริ่มแต่งงาน ความต้องการสวัสดิการอาจจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเริ่มมีลูกสวัสดิการที่บริษัทจัดไว้ให้ก่อนหน้านี้อาจไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต ยิ่งใกล้วัยเกษียณอายุรูปแบบสวัสดิการก็จะเปลี่ยนรูปโฉมไป

    ซึ่งสวัสดิการด้านรักษาพยาบาลในวันนี้มีมากกว่าการดูแลค่ารักษาพยาบาล แต่ยังมีเรื่องของการตรวจสุขภาพ การทำฟัน ตัดแว่นตา การพักผ่อน การเข้าไปใช้บริการในฟิตเนส สปา ซึ่งพนักงานสามารถเลือกได้ตามความสนใจ โดยในต่างประเทศรูปแบบของสวัสดิการจะมีทั้งที่นายจ้าง ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และแบบที่พนักงานร่วมจ่ายด้วย

    ตรงนี้ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังอยู่ในความสนใจขององค์กรต่าง ๆ เพราะนายจ้างเองก็แฮปปี้ ลูกจ้างก็ได้ใช้ประโยชน์จากสวัสดิการที่บริษัทจัดให้

    ซึ่งในเมืองไทยขณะนี้ บริษัทด้านไฟแนนเชียล บริษัทยาต่าง ๆ และบริษัทที่มีการควบรวมกิจการ ได้มีการนำ flexible benefits มาใช้มากขึ้น ถือเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม

    ในปีนี้ที่วัทสัน ไวแอท ประเทศไทย ก็ได้หยิบเรื่อง flexible benefits มาใช้เหมือนกัน ปรากฏว่าพนักงานทุกคนมีความสุขมาก เพราะทุกคนเลือกสวัสดิการได้ตามที่ตัวเองต้องการ โดยบริษัทให้ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้คำนวณ ค่าเฉลี่ยต่อหัวด้านสวัสดิการของพนักงาน ให้กับบริษัทออกมาเป็นพอยต์ เช่น บริษัทจ่ายสวัสดิการให้กับพนักงานหัวละ 20,000 บาท ในวงเงินนี้พนักงานสามารถนำไปแลกตั๋วเครื่องบินก็ได้ แลกที่พักได้ หรือจะเลือกเข้าฟิตเนส เข้าสปา หรือซื้อเสื้อผ้า หรือบางคนอยากได้แบล็คเบอร์รี่ ไอโฟน ก็ไปจัดซื้อมาด้วยตัวเองแล้วนำใบเสร็จมาเบิกกับบริษัท โปรแกรมก็จะคำนวณว่าพนักงานแต่ละคนใช้คะแนนไปกี่พอยต์ เหลือกี่พอยต์ สามารถใช้อะไรได้ อีกบ้าง

    หรือแม้กระทั่งการซื้อขายวันหยุดที่วัทสันฯก็เปิดให้ทำได้ เรียกว่าทุกอย่างซื้อขายกันได้หมด พอถึงสิ้นปีบริษัทก็จะกลับมาทบทวนกันอีกครั้งหนึ่งว่า สวัสดิการ อันไหนที่เป็นที่นิยมของพนักงาน และจะต้องเพิ่มเติมสวัสดิการอะไรให้กับพนักงานอีกบ้าง

    ความน่าสนใจของ flexible benefits วันนี้คงไม่จำกัดอยู่แค่องค์กรข้ามชาติ องค์กรไทย ๆ ก็สามารถหยิบกลยุทธ์นี้ไปปรับใช้ได้ไม่ยาก หากรู้จักพลิกแพลง

    ฐิติรัตน์ ถาวรสุจริตกุล

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ KM เรื่อง

    คู่มือมนุษย์

    โดย ท่านอาจารย์พุธทาสภิกขุ

                    ในยุคโลกาภิวัตน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย และเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดความไม่สมบูรณ์  ดังนั้นท่านจึงได้เขียนหนังสือ “คู่มือมนุษย์” เพื่อบรรยายถึงสาระอันสำคัญที่มนุษย์ควรรู้ ควรปฏิบัติ ควรเข้าถึง ควรทำให้เป็นปรกติ  และถ้าท่านทั้งหลายได้อ่านแล้วท่านจะสามารถรู้ได้ว่า คุณค่าในความเป็นมนุษย์ โดยสมบูรณ์นั้นเป็นประการใด

     

    *     ท่านสอนให้รู้ว่า “ศาสนา” ต่างกับ “ศีลธรรม”คือ ศีลธรรมคือ การทำให้เป็นคนดี มีศีล มีสัจจะ มีกตัญญูกตเวที มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนหรือคนอื่น ส่วนศาสนาคือ วิชา รวมทั้งระเบียบปฏิบัติสำหรับจะให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

    *     ท่านสอนให้พิจารณาให้เกิดปัญญาโดยให้เข้าใจเรื่องราวของ ไตรลักษณ์ คือ

    อนิจจังคือความไม่เที่ยง     ทุกขังคือความเป็นทุกข์   อนัตตาคือความไม่มีตัวตน

    *ท่านสอนให้เราไม่ยึดติดกับกิเลส หรือที่เรียกว่า อุปทานสี่ คือ กามุปาทาน การยึดติดในกาม 

    ทิฏฐปาทาน การยึดติดด้านความคิด  สีลัพพตุปาทาน การยึดติดปฏิบัติ ความงมงาย  อัตตวาทุปาทาน การยึดติดตัวตนเป็นใหญ่

    *     ท่านสอนให้เรารู้จักแนวทางปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นที่เรียกว่า ไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล ข้อที่ควรนำไปปฏิบัติ  สมาธิ ปฏิบัติให้สงบนิ่ง หรือการทำสมาธิ  ปัญญา ทางดับทุกข์  พ้นทุกข์ ทางแก้ปัญหา

    *     ท่านแนะวิธีให้ดู ด้วยการจำแนกโลกออกเป็นสองฝ่ายคือที่เป็นฝ่ายวัตถุ เรียกว่า รูป คือสิ่งที่จับต้องได้ อย่างหนึ่ง  ฝ่ายที่ไม่ใช่วัตถุได้แก่ฝ่ายที่เป็นจิตใจเรียกว่า นามธรรม อีกอย่างหนึ่ง 

           สำหรับ นามธรรม หรือจิตใจ นี้ท่านได้แบ่งออกเป็นสี่ส่วนคือ เวทนา มีทั้งสุข ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์  สัญญา คือการไม่หลับ ไม่สลบ ไม่ตาย  สังขาร การคิดดี การคิดเลว การคิดชั่วร้าย และวิญญาณ คือการรู้แจ้งด้วย หู ตา จมูก ลิ้นและกาย  เมื่อนำทั้งสี่นี้มารวมกับ รูป เราเรียกว่า เบญจขันธ์

                    เมื่อเรานำหลักการต่าง ๆ ข้างต้นมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันโดยใช้สติปัญญา สมาธิ ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเราจะสามารถค้นพบทางการพ้นทุกข์ ทางที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เราจะลุถึงสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้  หรือที่ชอบเรียกกันว่า มรรค ผล นิพพาน ได้ด้วยตัวเอง เพราะการที่เรามีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรโดยถูกต้อง ถึงที่สุดแท้จริงเท่านั้น

    ธนพล ก่อฐานะ

    Ph.D.3 SSRU

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ KM เรื่อง

    The learning society

     

     ความเป็นมา

              ในแต่ละชุมชนมีรูปแบบของความเป็นมาของการเรียนรู้มาจากคนแต่ละคน ไปสู่การเรียนรู้ของกลุ่มคนและนำต่อเนื่องเป็นการเรียนรู้ของชุมชน  ในเนื้อหาจะกล่าวถึงจุดสำคัญ ๆ ของจุดมุ่งหมายที่เป็นจุดสำคัญของการพัฒนาสังคมการเรียนรู้  จะพูดถึงมิติต่าง ๆ ของการเรียนรู้และจำทำอย่างไรถึงจะสามารถมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์  

     

    จุดสำคัญ

                    การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 5 ประการคือ

    1. การเปิดโอกาสและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน
    2. ต้องมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตรงตามเป้าหมายจนเกิดความสมบูรณ์   
    3. การเรียนการสอนจะต้องพัฒนา ก้าวหน้า เพิ่มพูนความรู้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
    4. การสร้างนิสัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของแต่ละบุคคลและทั้งชุมชน
    5. เน้นวิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้อง

     

    มิติของชุมชนแห่งการเรียนรู้

                    การเรียนรู้ที่จะกล่าวถึงนั้นหมายถึงการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล  ขอลกลุ่มคนและชุมชนว่า  จะทำอย่างไรให้เขาทั้งหลายสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง  ด้วยกลุ่มและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด การแสดงออก ประสบการณ์ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน  เรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน  จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ ๆ มีการต่อยอด มีการประยุกต์ใช้ได้  โดยจะกล่าวถึงสิ่งที่สำคัญและควรที่จะทำความเข้าใจ

                    รูปแบบของหารเรียนรู้ มีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น การเรียนรู้จากคำแนะนำต่าง ๆ การเรียนรู้จากการอ่าน  การเรียนรู้ด้วยตัวเอง  การเรียนรู้จากการท่องเที่ยว การเรียนรู้จากครู  การเรียนรู้จากอุบัติเหตุ การเรียนจากการดู TV การเรียนรู้จากทาง Internet เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่ยกมานั้น  ความรู้สามารถที่จะเรียนรู้ได้หลายวิธี และเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยี่

                    การสร้างความน่าสนใจของการเรียนรู้  สิ่งที่จะขอกล่าวถึงคือ

    1. ต้องมีการพัฒนาและเน้นคุณภาพของระบบ
    2. ต้องมีเนื้อหาใหม่ ๆ และรูปแบบที่พัฒนามากขึ้นหรือเหมาะสมตามยุกต์ตามสมัย
    3. ต้องเปิดโอกาสให้มากยิ่งขึ้นในการที่จะเข้าถึงการเรียนรู้

    การสร้างความกลมกลืน  ให้สามารถตอบสนองทั้งผู้ใช้ วิธีการใช้และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมคือ

    1. ต้องให้โอกาสคนสามารถเข้าถึง
    2. ต้องใช้ง่ายหรือเข้าถึงง่าย สะดวก สบาย
    3. ตรงตามความต้องการ
    4. สร้างให้เกิดความชำนาญ

     

    สร้างให้เกิดความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของการเรียนรู้ให้สมบูรณ์

                    การที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้เจริญเติบโต ก้าวหน้า ทันสมัย ต่อเนื่องจนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นคือ

    การแสวงหาคุณภาพ

    การแสวงหาการพัฒนาองค์รวม

    เข้าถึงได้ง่าย ทำได้และถูกต้อง

    น่าเรียนรู้

    ต้องมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดเวลาให้ทันสมัย

    ต้องมีการปรับปรุงเนื้อหา

    ต้องมีการอบรม หรือแนะนำให้เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาได้

    ต้องมีการสร้างความสะดวกสบายและล้ำยุคตามเทคโนโลยี่

    สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและตลอดเวลา

    สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                   

                    จากการเรียนที่ผ่านมาทำให้ตัวผมเองได้ตระหนักว่ายังมีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ตัวเองยังต้องเรียนรู้ ยังมีสิ่งต่าง ๆ ที่มากมายที่ต้องเรียน ยังมีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่อยากเรียน ยังมีสิ่งต่าง ๆ ที่จะพัฒนาให้ตัวผมเองเป็นบุคลากรที่มีประโยชน์และมีคุณค่า  ผมจะพยายามตามให้ทัน  ตั้งใจเรียนรู้   ทุ่มเทและทำความเข้าใจให้รู้จริงมากยิ่งขึ้น 

     

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    ธนพล ก่อฐานะ

    Ph.D.3SSRU

    เรียนเพื่อน ๆ ครับ

    ผมได้มีดอกาสไปร่วมงานสัมมนา"อยู่รอดหรือยั่งยืน"จัดโดย CPI ที่ท่านอาจารย์เป็นที่ปรึกษาอยู่  เลยนำรูปมาให้ดูกันนะครับ

    ธนพล ก่อฐานะ

    Image81220091

    Dear All

    I just came back from Korean krab.

    Regards,

    Tanapol Kortana

    100_0049

    สำหรับภาวะเศรษฐกิจ ตอนนี้ ซึ่งดูเหมือนว่า น่าจะดีขึ้นในไม่ช้านี้ เราในฐานะนักทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นเหมือนบุคคลที่ทำหน้าที่อยู่ตรงกลางระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับพนักงาน ที่น่าจะ…ลำบากใจอยู่ไม่น้อยในการทำหน้าที่บริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ

    ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว หลักของการเป็นผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถ ช่วยนำองค์กรผ่านช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนในขณะนี้ได้อย่างไรบ้างล่ะ

    …บ่อยครั้งที่เราจะพบว่าในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ เราจะได้เจอกับนักปฏิบัติที่ดีและนักปฏิบัติที่แย่ ซึ่งก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าช่วงวิกฤตนี้ หลายองค์กรคงจะได้พบกับ นักปฏิบัติที่ดีมากกว่านักปฏิบัติที่แย่ เพื่อที่จะได้มีนักทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง บุคคลที่เป็นผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์จะสามารถช่วยองค์กรของพวกเขาได้ดังนี้

    (1) บริหารต้นทุนและผลผลิตในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจตกต่ำ การปรับปรุงในเรื่องต้นทุนและกระบวนการ การบริหารโครงการและการเพิ่มผลิตภาพ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องจัดการ

    (2) การลงทุนในเรื่องคนเก่ง (Talent) ขององค์กร การบริหารคนเก่งยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับองค์กรที่ยังคงรักษาคนเก่งไว้ และเป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดผลในแง่ลบได้ ถ้าหากองค์กรไม่ได้ให้บุคคลกลุ่ม Talent ทำงานที่มีความหมายและความสำคัญต่อองค์กร

    (3) การลงทุนในองค์กร โดยเฉพาะในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร อย่างเช่นวัฒนธรรมองค์กร การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ การบริหารคนเก่ง เป็นต้น แต่ต้องไม่ใช่การลงทุนในเรื่องที่เป็นงานประจำที่แต่ละคนต้องทำอยู่แล้ว

    การที่นักปฏิบัติทางด้านทรัพยากรมนุษย์จะประสบความสำเร็จในการทำงานปัจจุบันและสร้างความสำคัญและคุณค่าให้แก่องค์กรได้จะต้องมีสมรรถนะหลัก (core competency) ซึ่ง Professor Dave Ulrich ได้มีการศึกษาในเรื่องสมรรถนะ ของนักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพเมื่อประมาณ 20 กว่าปี ในงานวิจัยเขาได้กล่าวถึง competency ที่สำคัญไว้ 6 อย่าง ได้แก่

    1.Credible Activist คนที่เป็นนักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพจะต้องเป็น คนที่เชื่อถือได้ จะต้องทำตามสิ่งที่ได้พูดอย่างชื่อสัตย์และมีการวางตัวได้อย่างเหมาะสม กล้าทำสิ่งที่ท้าทาย และสามารถสื่อสารได้อย่างเกิดประสิทธิผล

    2.Culture and Change Steward นักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพจะต้องมีกรอบแนวคิดทางธุรกิจและวัฒนธรรมขององค์กรที่ก่อให้เกิดผลที่ดีกว่าคู่แข่ง หรือทำให้ บรรลุเป้าหมายขององค์กรก่อนกำหนด กล่าวอีกแง่หนึ่งคือนักทรัพยากรมนุษย์และผู้นำในองค์กรมีความสามารถในการออกแบบและบริหารด้านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมองค์กรได้ตามที่ตั้งเป้าไว้

    3.Talent Manager/Organizational Designer นักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพจะต้องพยายามนำเครื่องมือในด้านการสรรหาและคัดเลือก การเลื่อนตำแหน่ง การถ่ายโอน การบริหารผลการปฏิบัติงาน ระบบการให้รางวัล การฝึกอบรมและพัฒนาเพื่อสร้างบุคคลที่มีความรู้ความสามารถสูง นอกจากนั้นนักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพจะต้องสามารถที่จะออกแบบองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

    4.Strategy Architect นักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพจะต้องช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ระยะยาวและแปรผลมาสู่การปฏิบัติในระยะสั้น รวมทั้งเผยแพร่ไป ทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจและประสานความร่วมมือภายในองค์กร

    5.Operational Executor นักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพจะต้องออกแบบระบบข่าวสารข้อมูล ตลอดจนหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและการบริหารที่ยืดหยุ่น นอกจากนั้นนักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพจะต้องสามารถนำนโยบายทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไปสู่พนักงานโดยตรง

    6.Business Ally นักทรัพยากรมนุษย์ มืออาชีพควรจะเข้าใจบริบทของธุรกิจและเข้าใจว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือก่อให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้น นักทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพต้องทราบว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจและต้องทำอย่างไรในการทำให้งานทางด้านทรัพยากรมนุษย์และธุรกิจทำไปพร้อมกัน

    เราจะเห็นได้ว่าหลายองค์กรในปัจจุบันนี้กำลังแสวงหาการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจของตนเอง แล้ว นักทรัพยากรมนุษย์ควรทำอย่างไรเพื่อให้องค์กรของตนเองประสบความสำเร็จในเรื่องนี้…ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ คือการที่องค์กรทำบางสิ่งบางอย่างที่เป็นพิเศษ ซึ่งคู่แข่งไม่สามารถที่จะเลียนแบบ ได้ง่าย

    แหล่งที่เป็นสิ่งที่ได้เปรียบในทางธุรกิจในสมัยก่อน เราจะคิดถึงพวกต้นทุน ราคาขาย กลยุทธ์ทางด้านการตลาด สินค้าและบริการ และเทคโนโลยี แต่เราไม่ค่อยจะคิดถึง…คน…ทั้งที่คนเป็นสิ่งเดียวที่สามารถสร้างคุณค่าต่อลูกค้าได้มากที่สุด

    คนมีผลต่อความสามารถในการบริหารจัดการการเงิน กลยุทธ์และเทคโนโลยี ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่นักทรัพยากรมนุษย์จะแสวงหาความได้เปรียบโดยการหันมาพัฒนาคนของตนเอง สร้างกลยุทธ์ทางด้านการพัฒนาความสามารถ ตรวจสอบและวิเคราะห์ความสามารถของพนักงาน

    นักทรัพยากรมนุษย์ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญของธุรกิจและเป็นผู้นำทางด้านการบริหารที่ต้องการให้องค์กรของตนเองประสบความสำเร็จ เมื่อประเด็นความสำเร็จขององค์กรอยู่ที่ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงคนเก่งในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และการบริการต่าง ๆ นักทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นแถวหน้า

    การที่ได้เรียนรู้ในเรื่อง HR Transformation (การปฏิรูปนักทรัพยากรมนุษย์) จะช่วยให้นักทรัพยากรมนุษย์ที่ เป็นผู้นำและผู้บริหารได้เข้าใจในเรื่องการลงทุนกับคนของพวกเขา เพื่อสร้างคุณค่าที่สำคัญยิ่งให้เกิดแก่องค์กรต่อไป

    โดย รัชฎาทิพย์ อุปถัมภ์ประชา [email protected]\

    thitirat thawornsujaritkul

    เรียนเพื่อน ๆ ที่สนใจความคิดเห็นที่จะขอแนะนำ SMEs ผู้ประกอบการทั้งหลาย

        จากประสบการของการเป็นผู้ประกอบการมา 30 ปี  เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยระดับ ปริญญาโท  และเป็น Commentator ของศูนย์บ่มเพาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะขอเสนอแนะดังนี้คือ

     ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการให้ได้มากที่สุด  จัดให้ครอบคลุมทั่วประเทศยิ่งดี  โดยอาจจะจับมือกับพันธมิตรเช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อประสิทธิภาพและใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าที่สุด  และจะขอนำเสนอข้อคิดเห็นในบทความที่ได้ตีพิมพ์ในหนังสือรายสัปดาห์ “Business Thai” และในหนังสือ “Tip SMEs” บริหารจัดการธุรกิจ ในหัวข้อเรื่อง “คลินิกธุรกิจ” มีเนื้อหาดังนี้

       

    กรณีศึกษา SMEs “คลินิกธุรกิจ

           ความหมายของคำว่า “ คลินิกธุรกิจ” นั้นผู้เขียนต้องการสื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นโดยการเปรียบเทียบบริการที่ให้คำปรึกษาจากหน่วยงาน “สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”  ซึ่งทำหน้าที่คอยให้คำแนะนำต่าง ๆ สำหรับ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อที่จะทำให้เขามีการพัฒนาการในด้านธุรกิจให้สามารถแข่งขันและอยู่ได้ในตลาด   และอีกหลาย กรณีที่ไม่มีปัญหาทางการเงินแต่มีปัญหาว่าธุรกิจจะโตต่อไปได้อย่างไรอย่างมีระบบ  มีคุณภาพและเป็นองค์กรที่มีความสุข

     

                การทำงานของฝ่ายที่ปรึกษาต้องทำความเข้าใจในธุรกิจของผู้ประกอบการ  หลังจากนั้นต้องค้นหาปัญหาที่แท้จริงเพราะบางครั้งผู้ประกอบการไม่เข้าใจถึงสาเหตุหรือปัญหาที่ถูกต้องซึ่งอาจนำไปสู่คำแนะนำผิด ๆ และไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้  ดังนั้นผู้เขียนจึงเปรียบเทียบหน่วยงานที่ปรึกษาเป็นเหมือนหมอรักษาคนไข้  ต้องสอบถามหรือใช้เครื่องมือต่าง ๆ ช่วยในการตรวจหาสาเหตุของคนไข้ว่าป่วยเป็นโรคอะไร  สาเหตุมาจากไหนจะได้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและจ่ายยารักษาได้ตรงกับโรคที่เป็น  รวมทั้งยังต้องคอยสอบถามว่าผู้ประกอบการแพ้ยาอะไรหรือเปล่าเพราะคำแนะนำบางอย่างอาจก่อให้เกิดการแพ้ยาได้  เนื่องจากการแก้ปัญหามีหลายวิธีเราจะต้องแนะนำวิธีการแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับเงื่อนไข  สภาพแวดล้อมของผู้ประกอบการ  กำลังของผู้ประกอบการ  และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกด้วย  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแพ้ยาหรือเกิดการต่อต้าน  หรือเกิดภาวการณ์ขาดสภาพคล่อง  หรือเกิดความขัดแย้งขึ้นภายในองค์กร  หรืออาจจะเกิดความขัดแย้งของหุ้นส่วนเกิดขึ้นได้ เป็นต้น  

                อีกกรณีหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการที่จะอธิบายถึงจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากในการให้คำแนะนำ  ถ้าผู้ประกอบการมาให้ข้อมูลเสร็จแล้วต้องการคำตอบทันที  ไม่ได้ความร่วมมือตอบคำถามเชิงลึก  หรือให้รายละเอียดอย่างเพียงพอจะทำให้เหมือนกรณีของคนไข้ที่ไปร้านขายยาและแจ้งว่าเป็นโรคอะไร   ต้องการยาอะไร  โดยไม่ฟังความเห็นหรือคำแนะนำจากคนขายยา  ในกรณีนี้เปรียบเหมือนในอดีตที่เราไปซื้อยาจากหมอตี๋( ไม่ใช่เภสัชกร)  ทำให้ทานยาแล้วบางครั้งหาย  หรือหลายครั้งไม่หาย  หรืออาจจะทำให้เกิดอาการที่หนักมากขึ้นโดยไม่ควรเกิด  และอาจทำให้ตายได้   ดังนั้นแนวทางที่ถูกต้องคือการมาให้ข้อมูลและตอบคำถามที่จะนำมาค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้เพราะผู้ให้คำปรึกษาล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์และมีความชำนาญเฉพาะด้านอีกด้วย  อย่ามาปรึกษาโดยใช้ให้ที่ปรึกษาเป็นเหมือนหมอตี๋   เพราะจะไม่เป็นผลดีและไม่สามารถช่วยผู้ประกอบการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

     

    แนวทางการแก้ปัญหาทาง “ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีเพื่อคอยให้บริการโดยจะขอยกตัวอย่างดังนี้

    ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นในทางธุรกิจ เช่น กฎหมาย  การเงิน  การเขียนแผนธุรกิจ  การส่งออก  การออกแบบผลิตภัณฑ์   การจัดการ  การตลาด  การขาย  เป็นต้นคอยให้คำแนะนำ  

    หน่วยงานประชาสัมพันธ์ เช่น  หนังสือพิมพ์,  หนังสือนิตยสาร,  เวปไซด์แนะนำสินค้าและบริการต่าง ๆ,  ช่อง UBC 10 , การจัดงานเพื่อส่งเสริมและแนะนำผู้ประกอบการ  เป็นต้น    

    หน่วยงานที่จะช่วยจับคู่ทางธุรกิจ  จากฐานข้อมูลของสมาชิกและจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำให้ผู้ประกอบการที่เป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายให้มารู้จักกันและเกิดความร่วมมือในเชิงธุรกิจได้ง่ายขึ้น  และบางครั้งเรายังช่วยแนะนำทำความรู้จักข้ามประเทศอีกด้วย

    หน่วยงานด้านธุรกิจ IT เรามีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับธุรกิจ s/w ซึ่งอยู่ในวงการมานานและพร้อมให้คำแนะนำด้านการตลาด  ซึ่งไม่ใช่ง่ายที่จะมีการให้คำปรึกษาในด้านนี้

    หน่วยงานด้านกฎหมาย  หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าหน่วยงานนี้ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในหลาย ๆ ด้าน เช่น  ไม่ให้ถูกหลอกต้มหลงไปในการเข้าร่วมธุรกิจที่เป็นการหลอกลวงและสามารถช่วยผู้ประกอบการหลายรายไม่ให้เสียเงินและเสียเวลา  นอกจากนี้ยังได้ช่วยเหลือให้คำแนะนำผู้ประกอบการให้มีทางออกในกรณีที่เกิดปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมอีกด้วย

    หน่วยงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และหีบห่อ  เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการคำแนะนำอย่างถูกต้อง  มีหลักการ  มีเหตุผล  สอดคล้องกับสินค้าและธุรกิจ

    หน่วยงานที่คอยร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ ( ศูนย์ส่งเสริมการส่งออก) คอยสนับสนุนผู้ประกอบการไปนำเสนอสินค้าในต่างประเทศอีกด้วย

    หน่วยงานสาขาที่อยู่ตามจังหวัดใหญ่ ๆ เพื่อให้ความสะดวกกับผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางไกลเข้ากรุงเทพฯ

    หน่วยงานศูนย์บ่มเพราะ คอยสนับสนุนสถาบันการศึกษาชั้นนำจัดอบรมหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้  ความสามารถในการบริหารงานและสามารถแข่งขันได้ในทางธุรกิจ

     

     

                    ทางสำนักงานยังมีหน่วยงานอีกมากมายที่จะคอยช่วยเหลือ  , เติมเต็มให้กับผู้ประกอบการ   และยังคอยคิดค้นกลยุทธ์หรือนโยบายใหม่ ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีความพร้อมในการแข่งขันเพียงแต่ท่านติดต่อสมัครเป็นสมาชิกและเข้ารับคำปรึกษาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ ( กรุณานัดหมายล่วงหน้า )

                สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

                เลขที่ 21 อาคารทีเอสที ทาวเวอร์ชั้น G ถนนวิภาวดีรังสิต

    แขวงจอมพล  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ 10900

    โทร 0-2278-8800 ต่อ 400-402

    www.sme.go.th

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และเพื่อน ๆ ครับ

    100_0072

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    และเพื่อน ๆ ครับ

    ภาพข้างบนเป็นการนำเสนอเครื่องมือใหม่สำหรับการทำ Presendtation " Wall Board " ของ Sumsung ผมเลยนำมาให้ดูครับ

    ด้วยความเคารพ

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

    ผมอยากที่จะเพิ่มเติมเพลงตอนช่วงสุดท้ายของ

    Que Sera, Sera (Whatever Will Be, Will Be) Pink Martini

    When I was just an elder man

    I asked my coach what will I do

    Will there be resting day after day

    Here's what he said to me

    Que sera sera

    Whatever will be will be

    The lifelong learning that has to be

    Que sera sera

    What will be, will be

    Que sera sera.

     

    Best regards,

    Tanapol Kortana

    เนื้อเพลง: Que Sera, Sera (Whatever Will Be, Will Be)
    ดู เนื้อเพลง ทุกเพลงของ Pink Martini

    MV Pink Martini - Que Sera, Sera (Whatever Will Be, Will Be)

    When I was just a little girl
    I asked my mother what will I be
    Will I be pretty
    Will I be rich
    Here's what she said to me

    Que sera sera
    Whatever will be will be
    The future's not ours to see
    Que sera sera

    When I was just a child in school
    I asked my teacher what should I try
    Should I paint pictures
    Should I sing songs
    This was her wise reply

    Que sera sera
    Whatever will be will be
    The future's not ours to see
    Que sera sera

    When I grew up and fell in love
    I asked my sweetheart what lies ahead
    Will there be rainbows day after day
    Here's what my sweetheart said

    Que sera sera
    Whatever will be will be
    The future's not ours to see
    Que sera sera

    What will be, will be
    Que sera sera...

     

     

     

    When I was just an elder man
    I asked my coach what will I do
    Will there be resting day after day
    Here's what he said to me

    Que sera sera
    Whatever will be will be
    The lifelong learning that has to be
    Que sera sera

    What will be, will be
    Que sera sera...

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

    พวกเราต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านให้โอกาสทานข้าวและอวยพรปีใหม่ครับ

    Ph.D.3 SSRU

    Image261220094

    Image261220091

    Image261220092

    Image261220093

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

    วันนี้เป็นวันครู พวกเราขอกราบด้วยความเคารพ ขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ได้ประศาสน์วิชาความรู้ให้พวกเราตลอดมา

    ขอขอบพระคุณที่ท่านเป็นครูด้วยใจจริง

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    Ph.D.3 Innovative Management SSRU

     

    เรียนท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์ที่เคารพ

    พวกเราขอแสดงความยินดีในความสำเร็จด้วยครับ

    ด้วยความเคารพ

    Ph.D.3 SSRU

    Getattachmentcajgimn5_resize

    มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

    ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

     

    http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท