Knowledge Camping..โรงเรียนสตรีสมุทรปราการและโรงเรียนศึกษานารี


สวัสดีครับชาว Blog

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้จัดกิจกรรม Knowledge Camping ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนสตรีสมุทรปราการและโรงเรียนศึกษานารีส่งนักเรียนในระดับชั้นมัธยมปลายเข้าร่วมกิจกรรม Knowledge Camping ในครั้งนี้่ รวมประมาณ 90 คน ซึ่งผมต้องขอขอบคุณ ผอ.ประกาศิต ยังคง ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีสมุทราปราการซึ่งท่านให้การสนับสนุนโครงการฯ เป็นอย่างดี และยังทุ่มเทร่วมรับฟังการนำเสนอของนักเรียนร่วมเป็นโค้ชในครั้งนี้ด้วยอย่างน่าชื่นชม

นอกจากท่านผอ.ประกาศิต ยังคงแล้วผมก็ขอบถือโอกาสนี้ขอบคุณท่านผอ.สิริยุพา ศกุนตะเสฐียร ที่ได้สนับสนุนและเล็งเห็นคุณค่าของโครงการฯ นี้เช่นเดียวกัน 

Knowledge Camping ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำ มีทุนทางปัญญา คือ เป็นคนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น บูรณาการความรู้ ความคิดไปสู่การปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม และการมีจิตสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทของเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ โดยมีโจทย์ใหญ่คือ "การมีส่วนร่วมในการสร้างความปรองดองในสังคมไทย"

บรรยากาศในการเรียนรู้ในครั้งนี้เข้มข้นมาก เรามีกิจกรรมตั้งแต่เช้าตรูถึงประมาณ 4 ทุ่มเกือบทุกวัน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีประสบการณ์หลายท่านมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองที้่เป็นประโยชน์ซึ่งนักเรียนก็สนใจ และตื่นตัวกับการเรียนรู้ในครั้งนี้มาก แม้ว่าจะต้องทำงานหนักในการ WORKSHOP ที่ต้องร่วมคิด ร่วมงวางแผน แต่ทุกคนก็ดูสนุก และตั้งใจ ผมรู้สึกชื่นชมที่เยาวชนรุ่นใหม่ในยุคนี้มีความคิดที่ดี มีความสามารถไม่แพ้ผู้ใหญ่เลยทีเดียว หากพวกเราเหล่านี้ได้รับการดูแล หล่อหลอม แนะนำแนวทางและโอกาสที่ดีให้แก่พวกเรา สังคมไทยของเราคงก้าวหน้า พัฒนาได้อย่างยั่งยืน

วันนี้ผมจึงได้นำบรรยากาศการเรียนรู้ และความรู้ ความคิดดี ๆ มากมายจากพลังที่บริสุทธิ์มาแบ่งปันให้แก่ทุกท่านที่นี่ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

..................................................................

ภาพบรรยากาศ Knowledge Camping

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 378937เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2010 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

Knowledge Camping

โครงการสร้างคนให้คิดเป็น ก้าวเป็น เน้นคุณธรรม นำสังคมสู่ความปรองดอง

ณ บีเจการ์เด้นท์วิลล์ แอนด์ รีสอร์ท

24 – 26 กรกฎาคม 2553

วันเสาร์ที่ 24  กรกฎาคม 2553 

7.00 น.             พร้อมกันที่จุดนัดหมาย

8.00 น.             ออกเดินทางไปยังบีเจการ์เด้น วิลล์ แอนด์ รีสอร์ท อ.แกลง จ.ระยอง

10.00 น.            Welcome drink

10.00-12.00 น.   กิจกรรม Breaking the ice  

                        โดย ผศ.วีรอร  วัดขนาด

12.00 – 13.00 น.  อาหารกลางวัน

13.00 – 16.00 น.  พิธีเปิด “Knowledge Camping”

                         Learning Forum & Workshop

                         อนาคตประเทศไทย : เศรษฐกิจ สังคม การเมือง    

                         วัฒนธรรม ความปรองดอง..

                         ประยุกต์ใช้ตามหลัก Concept 4Ls, 2Rs, 8Ks, 5Ks

                         โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

16.00 – 19.30 น.   อาหารเย็นและพักผ่อน

19.30 – 21.00 น.   ศีล สติ สมาธิ ปัญญา

                          : กระบวนการปลูกฝังทุนทางจริยธรรมเพื่อความปรองดอง

                          โดย  พระสุเมธ และ

                                นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รุ่นที่ 4

22.00 น.              เข้านอน

วันอาทิตย์ที่ 25  กรกฎาคม 2553

7.30 – 8.00 น.      กายบริหารยามเช้า กระบวนการกลุ่ม (กลุ่มพี่เลี้ยง)

8.00 – 9.00 น.      อาหารเช้า

9.00 – 12.00 น.    Learning Forum & Workshop

                         หัวข้อ การปฏิวัติแบบนิ่มนวล ตามทฤษฎี Mild Revolution  

                                  บทสัมภาษณ์ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

                         โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์         

12.00 – 13.30 น.  อาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 น.  Panel Discussion

                         หัวข้อ “มุมมองของผู้ใหญ่กับเด็กไทยในอนาคต”

                         โดย    คุณกฤช อุดมสิน

                                   ผู้จัดกิจกรรม Knowledge Camping

                                   โรงเรียนเทพศิรินทร์ 11 รุ่น

                                   นายสัตวแพทย์กิจ สุนทร

                                   กรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์

                          ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

15.00 – 17.00 น.   เยี่ยมชมงานไร่องุ่น

17.00 – 18.00 น.   บูรณาการความคิด

                          โดย   ผศ.วีรอร  วัดขนาด

18.00 – 19.30 น.   อาหารเย็นและพักผ่อนตามอัธยาศัย

19.30 – 22.00 น.   Group Activities & Presentation

                          กิจกรรมส่งเสริมความเป็นผู้นำของเยาวชน

                          ในยุคของการเปลี่ยนแปลง

                          โดย   ทีมอาจารย์พี่เลี้ยงจาก Chira Academy

22.00 น.              เข้านอน 

วันจันทร์ที่ 26  กรกฎาคม 2553

9.00 – 12.00 น.  Workshop:ได้อะไรจากการเรียนรู้

                                       นำเสนอเป็น Roadmap ของเยาวชน

                                       เพื่อเสนอแนวทางการปองดอง

                        โดย   ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                                 ผศ.วีรอร  วัดขนาด

12.00 – 13.00 น.  อาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.  พิธีปิดโครงการ

                         โดย   ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

14.30 น.             เดินทางกลับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ต้องขอขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ให้โอกาสผมเข้าร่วมเป็นทีมงานในโครงการที่ดีๆแบบนี้ ท่าน ดร.จีระ ได้ทุ่มทั้งเวลาและทุกสิ่งให้กับการจัดโครงการนี้ ท่านได้ดึงวิทยากรเก่งๆ และระดมทีมงานเข้าไปร่วมสร้างความสมบูรณ์ให้กับโครงการ (ผมอยากทำโครงการแบบนี้ตั้งแต่ผมเป็นประธานผู้ปกครองเครือข่ายให้กับโรงเรียนราชวินิตบางเขนเมื่อ เมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว แต่ไม่สามารถจัดได้) การจัดโครงการแบบนี้ต้องใช้เงินทุนพอสมควร และที่สำคัญต้องได้วิทยากรและทีมงานที่เก่ง มีความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง

ระหว่างการอบรม 3 วัน 2 คืน เด็กนักเรียนมีความกระตือรือล้น ตั้งใจเรียนรู้ ทำ workshop อย่างเข้มแข็ง วันแรกเด็กยังไม่เข้าใจอะไรมากนัก นึกว่าจะได้มาเที่ยว วันที่สองเด็กมีความเข้าใจ และสนุกกับกิจกรรมที่เต็มไปด้วยการเรียนรู้แบบคิดเป็น ไม่ใช่จดจำลอกเลียน เด็กฉลาดและมีความสามารถมาก เรียนรู้ได้เร็วและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เต็มไปด้วยเหตุผลและหลักการ มีความรักประเทศชาติ และการคิดถึงสังคม สิ้นสุดการอบรม สามารถพิสูจน์ได้ว่าเด็กไทยเก่งจริงๆ คิดเป็น ก้าวเป็น มีคุณธรรม นำสังคมสู่ความปองดอง ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ข้อดีของการเรียนรู้ครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งเด็กนักเรียน ครู อาจารย์ วิทยากร และทีมงาน ต่างคนต่างเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน มีการยกกรณีมาร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ การแก้ปัญหา และแนวทางการสร้างความปองดองให้กัยสังคมไทย

ข้อดีอีกข้อคือโครงการไม่ได้สิ้นสุดไปพร้อมกับในวันสุดท้ายของการอบรม ทีมงานจะตามไปดูผลของนักเรียนที่เข้ารับการอบรม ว่าจะมีการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง เพื่อนในโรงเรียน ต่อครอบครัว และสังคมได้แค่ไหน ทางทีมงานจะร่วมมือกับทางโรงเรียนเพื่อติดต่ามวัดผล และทางโรงเรียนก็จะต้องให้การสนับสนุนให้เด็กที่เข้ารับการอบรมไปขยายผลให้กับเพื่อนนักเรียนอื่นๆที่ไม่ได้เข้ารับการอบรม เช่นนักเรียนที่เข้ารับการอบรมอาจไปจัดตั้งทีมงานเพื่อจัดโครงการจำลอง Knowledge Camping ให้กับเพื่อนนักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

ท่าน ศ.ดร.จีระต้องการสร้างเด็กนักเรียนให้มีคุณภาพ และหวังว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า เด็กที่ผ่านอบรมนี้จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศไทยให้มั่นคงอย่างยั่งยืน ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่มีความสุข

อยากให้มีการจัดโครงการ Knowledge Camping ตามแบบของ ดร.จีระ ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียน ร่วมกับสมาคมผู้ปกครอง และผู้ปกครองเครือข่าย ของทุกโรงเรียน น่าจะมีกำลังจัดกันเองได้ เพราะถ้าทุกโรงเรียนจัดให้ได้ตามมาตราฐานที่ ดร.จีระ จัดขึ้น ในอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยก็จะได้คนดีมีคุณภาพมาช่วยกันพัฒนาประเทศไทยให้มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน

จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

ด้วยความมุ่งมั่นของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่มองเห็นคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะเยาวชนไทย โครงการKnowledge Campingจึงได้เกิดขึ้น กิจกรรมต่างๆล้วนแล้วแต่ส่งเสริมการเรียนรู้เป็นขั้นตอน ทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าที่ได้รับในการเรียนรู้ตลอดการเข้าค่ายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสุดท้าย ที่นักเรียนสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ทั้งหมดเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง ครอบครัว โรงเรียน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ จะเห็นว่า ถ้าเราเปิดโอกาสให้มีเวทีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เราก็จะมองเห็นศักยภาพที่ซ่อนเร้นของนักเรียนอย่างชัดเจน..... Knowledge Camping 3วัน2คืนแห่งคุณค่าของความรัก ความสามัคคี ที่อบอวลไปทั่วรีสอร์ทที่เขียวขจีด้วยแมกไม้ และอากาศที่แจ่มใส....จินตนาการว่าภาพของKnowledge Camping เช่นนี้ จะเกิดขึ้นในทุกๆโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรา

Knowledge Camping
โครงการสร้างคนให้คิดเป็น ก้าวเป็น เน้นคุณธรรม นำสังคมสู่ความปรองดอง

จัดโดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ Chira Academy

ณ บีเจการ์เด้นท์วิลล์ แอนด์ รีสอร์ท
24 – 26 กรกฎาคม 2553

 

วัตถุประสงค์หลัก

  1. มุ่งปลูกฝัง  มิติแห่งความคิดและปลูกฝังกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ อันจะส่งผลให้ผู้ผ่านการอบรม มีความสามารถในการคิดเชิงวิสัยทัศน์ สามารถเข้าใจถึงสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงสามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ และบูรณาการความคิดบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยนำทางชีวิตของตนเองให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน
  2. มุ่งหล่อหลอม  ให้เกิดมีภาวะผู้นำ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความสามารถในการบริหารจัดการและสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
  3. มุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์  ระหว่างกลุ่มผู้เข้าอบรมทั้งในรุ่นเดียวกันและต่างรุ่น โดยผู้ผ่านการอบรม จะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายต่อกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันในการทำงานในอนาคต

 

อนาคตประเทศไทย

: เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ความปรองดอง..

ประยุกต์ใช้ตามหลัก Concept 4Ls, 2Rs, 8Ks, 5Ks

โดย

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ

ประธาน Chira Academy

 

  1. ก่อนอื่นผมขอแนะนำแนวคิดและทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และประสบความสำเร็จ

     1) ทฤษฎี 4 L’s

  • Learning Methodology
  • Learning Environment
  • Learning Opportunities
  • Learning Communities

    2) ทฤษฎี 2 R’s

  • Reality
  • Relevance

    3) ทฤษฎี 2i’s

  • Inspiration
  • Imagination

    4) กฎของ Peter Senge อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future

    Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

    Mental Models     มีแบบอย่างทางความคิด

    Shared Vision      มีเป้าหมายร่วมกัน

    Team Learning    เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

    System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

   5) 7 Habits:7 อุปนิสัยของผู้ทรงประสิทธิผลสูงของ Dr.Covey ประกอบด้วย

   1 Be proactive

   2 Think with the end in mind

   3 Put first thing first

   4 Think win - win

   5 Try to understand and then to be understood

   6 Synergy

   7 Sharpen the saw

   6) พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นตัวอย่างเรื่องการเรียนรู้และเศรษฐกิจพอเพียง

   6.1) วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
       
1) ทำอะไร
       2) ทำอย่างไร
       3) ทำเพื่อใคร
       4) ทำแล้วได้อะไร

   6.2) 6 หลักการในการทำงาน

   1) คิด Macro ทำ Micro

   2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

   3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

  4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

  5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ  

     (Communication, Coordination, Integration)

  6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

  6.3) หลักการ รู้ – รัก – สามัคคี

  • รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
  • รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
  • สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือ ร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

  6.4) และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือ การดำรงชีวิตอยู่ด้วย..ความพอประมาณ มีเหตุมีผล ไม่ประมาทหรือมีภูมิคุ้มกัน บนรากฐานของการมีความรู้ และมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อนำไปสู่ความสุขและความสมดุลในชีวิต

2. จากการที่โลกเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น sustainability+wisdom+creativity+Innovation+ intellectual capital

3. สังคมโลก – โลกาภิวัตน์ –โอกาสและความเสี่ยง และผลกระทบต่อสังคมไทย อาทิ

  1. Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
  2. เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
  3. เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน
  4. บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา
  5. เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ Human right
  6. เรื่อง Global Warming , ภัยธรรมชาติ                  
  7. เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
  8. เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
  9. เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์  ไข้หวัด 2009 ฯลฯ

4. สังคมโลก –วิกฤตต่าง ๆ และผลกระทบต่อสังคมไทย

  1. วิกฤตทางเศรษฐกิจ
  2. วิกฤตจากภัยธรรมชาติและภาวะโลกร้อน
  3. วิกฤตทางการเมือง
  4. วิกฤตทางสังคม
  5. ฯลฯ

5. ลองวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยหรือประเทศไทยของเราวันนี้

  • สภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
  • สภาพสังคม การศึกษา และวัฒนธรรมเป็นอย่างไร
  • และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดตอนนี้ก็คือ “การเมืองไทย” ซึ่งส่งผลถึงความปรองดองในชาติ

6. พวกเราทุกคนที่นี่ในฐานะเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยของอย่างไร? โดยเฉพาะเรื่องการสร้างความปรองดองในสังคมไทย? ลองดูทฤษฎี HR Architecture ของผม

7. การสร้างความปรองดองในสังคมไทย

  • บทบาทของรัฐบาล
  • บทภาคของเอกชน
  • บทบาทของ “สื่อ”
  • บทบาทของสถาบันการศึกษา
  • ฯลฯ
  • และบทบาทของตัวเราควรเป็นอย่างไร?

8. สุดท้าย เราทุกคนต้องไม่ลืมว่าเราจะต้องเป็น “ทรัพยากรมนุษย์”ที่มีคุณค่าของสังคม ลองดูทฤษฎี 8 K’s และ5K’s  ของผม

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท..พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital               ทุนมนุษย์

Intellectual Capital          ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital           ทุนแห่งความสุข

Social Capital                 ทุนทางสังคม

Sustainability Capital       ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                ทุนทาง IT

Talented Capital             ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุค

โลกาภิวัตน์

Creativity Capital            ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital         ทุนทางความรู้

Innovation Capital          ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital           ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital             ทุนทางวัฒนธรรม

..................................................................................

โจทย์ระดมความคิด 1

  1. วิเคราะห์สาเหตุหลักหรือแก่นปัญหา (Root cause) ที่สำคัญของปัญหาความขัดแย้งของสังคมและการเมืองไทย
  2. วาดภาพอนาคตประเทศไทย ใน 10 ปี ข้างหน้าที่อยากเห็น
  3. เสนอแนะทางออก”ปฏิรูปประเทศไทยและความปรองดอง” ในมุมองของเยาวชน

จากโจทย์ระดมความคิด 1

  1. วิเคราะห์สาเหตุหลักหรือแก่นปัญหา (Root cause) ที่สำคัญของปัญหาความขัดแย้งของสังคมและการเมืองไทย
  2. วาดภาพอนาคตประเทศไทย ใน 10 ปี ข้างหน้าที่อยากเห็น
  3. เสนอแนะทางออก”ปฏิรูปประเทศไทยและความปรองดอง” ในมุมองของเยาวชน

 

กลุ่ม 1

1. วิเคราะห์สาเหตุหลักหรือแก่นปัญหา (Root cause) ที่สำคัญของปัญหาความขัดแย้งของสังคมและการเมืองไทย

  • ไม่รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน คือการที่ไม่นำความคิดเห็นที่หลากหลายมาเป็นพลัง
  • กระบวนการคิดที่อาจถูกปลูกฝังมาผิดๆ ผลที่ได้คือความชื่อผิดๆ และไม่เหมาะสม
  • ไม่รู้คุณค่าในสิ่งที่มีอยู่ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ ความปรองดอง ความรักใครสามัคคีกันและมีที่น่าอยู่ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความตระหนักของคนเรา คนไทย

2. วาดภาพอนาคตประเทศไทย ใน 10 ปี ข้างหน้าที่อยากเห็น

          จากภาพแสดงให้เห็นว่าอีก 10 ปี ประเทศจะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีซึ่งประกอบไปด้วยคุณธรรมมีการปลูกฝังจากโรงเรียนให้เยาวชนรู้จักคิดและมองสิ่งต่างๆ ให้ได้ 2 ด้านทั้งด้านบวกและด้านลบ ผู้คนมีความสามัคคีกัน มีเวทีในการแสดงความคิดเห็น มีการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาตนเองและเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ

3.  เสนอแนะทางออก”ปฏิรูปประเทศไทยและความปรองดอง” ในมุมองของเยาวชน

  • ปลูกฝังความเป็นชาตินิยมให้แก่เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรของชาติ ปลูกฝังความคิดว่าประเทศชาติเป็นของคนไทยทุกคน
  • เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นโดยการเข้าร่วมกิจกรรมปรึกษาหรือร่วมกันคิดถึงปัญหาและหาทางออกเป็นการร่วมมือร่วมใจกัน เช่นในวันนี้ที่เราได้มาเข้าอบรมและแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
  • ภาครัฐต้องสนับสนุนในการพัฒนาความคิด โดยปลูกฝังตั้งแต่เด็กหรือเยาวชน
  • รับฟังความคิดเห็นของเด็กไม่ใช้มีแต่ทิฐิ ไม่ชอบรับฟังความคิดของคนอื่น
  • มีการใฝ่รู้และพัฒนาความคิดของตนเองอยู่เสมอ
  • เห็นแต่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนเอง

 

กลุ่ม 2

Now!

  • เศรษฐกิจตกต่ำ บ้านเมืองมีความขัดแย้ง
  • มีปัญหาทางการเมือง คนเห็นแก่ตัว
  • สภาพจิตใจของคนในสังคม มีความคิดที่แตกต่างอันนำมาซึ่งการเกิดความรุนแรงในสังคม

การแก้ไข..การปลูกจิตสำนึก

  • ปลูกฝังให้เยาวชนคนในชาติมีความซื่อสัตย์
  • มีความรักในประเทศชาติ
  • แก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงตามระบอบประชาธิปไตย
  • คนไทยสนับสนุนคนไทย
  • ลดค่านิยมต่อชาติ
  • รับผิดชอบต่อหน้าที่ของงาน
  • ลดระบบหมู่ ระบบเส้นสาย
  • คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • เชื่อมั่นในผู้นำ
  • มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  • มุ่งแก้ปัญหาอย่างจริงจังด้วยวิธีทางที่ถูกต้อง

Future!

ด้านสังคม

      สามัคคี ทุกคนมีความรักสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

      คนจนน้อยลง

      จิตใจของคนในสังคม มีคุณธรรมนึกถึงประเทศและส่วนรวมเป็นหลัก

      ทุกคนรักและเคารพในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ด้านเศรษฐกิจ

      ลดการคอรัปชั่น

      สินค้าไทยติดตลาดโลก

 

ผลที่ตามมา มุมมองต่างชาติ    “Land of Smile”

 

กลุ่ม 4

  1. สาเหตุของความขัดแย้ง
  • ความคิดเห็นต่างกัน เกิดจาการที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเพราะความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้เกิดความแตกต่าง การไม่เข้าใจถึงปัญหาต่างๆ การที่ไม่มีความคิดเป็นแบบแผนของตน การดูถูกความคิดของผู้อื่นหรือการตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิด และไม่ฟังความเห็นผู้อื่น ยึดถึงตนเองเป็นหลัก
  • ผลประโยชน์  การที่มีความคิดเห็นแก่ประโยชน์ส่งตนเอง พวกพ้องมากกว่าประโยชน์ส่วนตน การเล่นพวกพ้อง มีระบบเส้นสายในสังคมมาตั้งแต่โบราณ และการที่คนไทยมีการติดวัตถุนิยมมาก
  • การรับสื่อ มีการเลือกรับสื่อ เพราะสื่อไม่ความเป็นธรรม มีการเลือกที่เข้าข้าง การที่มีการใส่สีตีความ มีการใส่ร้าย

 

  1. ภาพประเทศ 10 ปีภายหลัง  อยากเห็นคนไทยรักกันได้อย่างเดิม มีการพัฒนาไปในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิถีการดำเนินชีวิต เทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ การศึกษา การพัฒนาชีวิตที่ยังเป็นของมนุษย์ทุกคน โดยมนุษย์ทุกคนมีรูปแบบชีวิตที่คิดเป็น ทำเป็น ดำเนินอยู่ในหลักศีลธรรม คุณธรรม มีความซื่อสัตย์ พูดคุยและปรองดองกันด้วยตุและผล ไม่มีแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย แบ่งพวก
  2. การแก้ปัญหา
  • ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เสียสละประโยชน์ส่วนตัว ร่วมกันคิด ร่วมกันหาความคิดดีๆ เพื่อนำมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาของประเทศ ไม่ยึดถือตนเองเป็นหลัก
  • เปิดใจยอมรับและรับฟังผู้อื่น เพราะทุกคนมีสิทธิ์คิดต่าง แต่ความคิดย่อมีทั้งดีและเสียจึงต้องรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อนำแต่ส่วนดี มาพัฒนาประเทศไทย เอาใจเข้ามาใส่ใจเรา
  • นึกถึงจิตใจผู้อื่น สิทธิของผู้อื่น ฝึกการคิดว่าหากทำอะไรจะไม่ทำให้ใครในประเทศต้องเดือนร้อน

กลุ่ม 7

ได้รับรู้เกี่ยวกับการสรุปยอดความคิดตามโจทย์ Workshop 1 ดังนี้

      การรวมกลุ่มเพื่อระดมความคิด เนื่องจากการทำงานเป็นกลุ่มนั้น ต้องรวบรวมทุกๆความคิดของคนในกลุ่ม เพื่อนำมาหลอมรวมกันซึ่งจะทำให้มีความคิดที่หลากหลาย ทำให้ได้รายละเอียดทางความคิด และทำให้ได้ความคิดที่ผ่านการสังเคราะห์ จากสมาชิกทุกคนในกลุ่ม จึงทำให้ได้ความคิดรวบยอดที่ดีที่สุด จากทุกๆคนในกลุ่ม และเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีงาม กับสมาชิกทุกคนในกลุ่ม จึงทำให้ได้คิดรวบยอดที่ดีที่สุดจากทุกๆคนในกลุ่ม และเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีงาม กับสมาชิกทุกคนในกลุ่มซึ่งจะมีประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย โดยคนในกลุ่มก็คือ คนในประเทศของเรานั่นเอง

      ความสามัคคี การรวมกลุ่ม ของสมาชิกกลุ่มทุกคน จะก่อให้เกิดการโต้ตอบระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้ทราบนิสัยของกันและกัน จะทำให้เกิดการขัดแย้งกันและการมีความเห็นตรงกัน ซึ่งจะทำให้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆจะก่อให้เกิดการแก้ปัญหาร่วมกัน เมื่อกลุ่มสามารถก้าวผ่านไปได้จะทำให้ทุกคนในกลุ่มเกิดความรักกัน และจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไปในอนาคต จึงทำให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลหากนำมาใช้ในการปกครองประเทศ

      การเปิดรับฟังความคิดที่แตกต่าง เนื่องจากการปกครองประเทศโดยรัฐบาล จะทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดดังกล่าวไว้ในข้อ 1,2 ซึ่งมีข้อเสียอยู่ว่าหากคนไทยไม่รับฟังกันและกัน ก็จะทำให้เกิดปัญหาดังที่เราประสบมา

 

สรุปแล้ว ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ จะสำเร็จได้ ถ้าเราเปิดใจจะทำให้งานที่ได้จะเป็นไปตามข้อ 1,2 ซึ่งจะทำให้ชาติเราเหนือใครๆ แน่นอน

 

กลุ่ม 8

          สาเหตุหรือแก่นหลักของปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย มีดังนี้

1. ความขาดศีลธรรมของคนในสังคม

          มนุษย์ทุกคนย่อมมีกิเลส และกิเลสก็ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ศิล5 ศีลขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนควรประพฤติปฏิบัติได้ แต่ในความเป็นจริงนั้น ทุกคนท่องได้ แต่ไม่สามารถทำได้ทุกข้อ

          ทุกคนย่อมมีความเห็นแก่ตัว เพื่อจัดผลประโยชน์กัน ก็จะทำให้เกิดการแตกความสามัคคี เมื่อทุกคนไม่มีความสามัคคี ก็จะทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกัน ดังเช่นในปัจจุบัน เนื่องจากผู้คนหลงโลภกับวัตถุภายนอก ความสะดวกสบายของตนเอง จนลืมความพอเพียง ที่ในหลวงทรงดำรัสไว้

2. ฐานะทางสังคม

          คนเกิดมาต่างกัน คนละครอบครัว คนละสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อกระบวนการคิดเพราะแต่ละสภาพแวดล้อมจะปลูกฝังจิตสำนึกคนละแบบ จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้น โดยคนที่รวย ก็รวยเว่อร์ คนที่จนก็จนอยู่เช่นนั้น หากรัฐบาลไม่บริหารจัดการให้ดีไม่กระจายโอกาสให้ทั่วถึงกัน ทำให้คนดิ้นรนที่จะหาทางออกซึ่งถ้าคนที่ไม่การศึกษาที่ดี จะถูกชักจูงได้ง่าย และแก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้เหตุผลนำไปสู่ความรุนแรง

          การแก้ไขปัญหา

          สิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา คือ การปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ เพราะเยาวชนจะเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศในอนาคต ต่อมาคือ กระจายการศึกษาให้ทั่วถึง และมาตรฐานให้ผู้คนรู้จักคิดใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา แทนการใช้ความรุนแรง

          การให้การศึกษาที่ดี นั้นเป็นการฝึกผู้คนให้รู้จักคิดพัฒนาตนเอง การให้การศึกษาที่ทั่วถึงจะทำให้ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้

          เมื่อทุกคนใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต มีสติยั้งคิด จะทำให้ประเทศชาติสงบสุข และเจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านของวัตถุและจิตใจ และพ้นจากคำว่า “ประเทศที่กำลังพัฒนา” ซักที

 

กลุ่ม 9

          ปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบันนั้นแบ่งได้เป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ

1. ด้านสังคม ยกตัวอย่างเช่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือช่องว่าระหว่างคนจน คนรวย จะเห็นได้ชัดว่าสวัสดิการที่ได้รับแตกต่างกัน กระทั่ง รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทกับสังคมคนเมือง

2.  ด้านกฎหมาย ยกตัวอย่างเข่น นักการเมืองบางกลุ่มใช้ช่องว่าระหว่างคนจนกับคนรวยมาสร้างโอกาสให้กับตัวเอง ซึ่งทำให้ตนเองประสบความสำเร็จทางการเมือง ก่อให้เกิดการใช้อำนาอย่างผิดๆ ในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้เอื้อเฟื้อกับธุรกิจของตน เช่น การประมูลต่างๆ การหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี เป็นตน จึงทำให้กลุ่มผู้เสียประโยชน์เกิดความไม่พอใจและรวมกลุ่มปลุกระดม โจมตี ฝ่ายตรงข้าง ทำให้เกิดความขัดแย้ง

3.  ด้านการเมือง ยกตัวอย่างเช่น การขัดผลประโยชน์ระหว่างนักการเมือง และใช้ประชาชนเป็นเครื่องทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง

          สำหรับภาพในอีก 10 ปี ข้างหน้า ของประเทศไทยที่เราอยากจะเห็นก็คือ ภาพของชาวไทยรักสามัคคีกัน มีรอยยิ้ม มีเสียงหัวเราะ มีความสุข สงบสันติ แล้วก็เห็นความสำคัญของ GDH มากขึ้น อยากเห็นคนไทยรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และที่ทำสำคัญปัญหาโลกร้อนที่เป็นวิกฤตโลกตอนนี้ สามารถแก้ไขได้ และคนไทยมีความตระหนักสำนึกคิดรักษ์ธรรมชาติรอบตัว ให้อุดมสมบูรณ์ต่อไป

          ทางออกของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

1. ปลูกฝังความยึดถือต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ควรมีการปลูกฝังตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ จะช่วยให้มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างแน่นหลายมากขึ้น

2. ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ควรได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ถือควรที่จะจัดให้มีความเท่าเทียมกันในทุกๆ ด้าน

3.  Win – Win ใช้ทฤษฎีชนะทั้งสองฝ่ายในการเจรจาหาข้อตกลงเพื่อลดการขัดแย้ง

กลุ่มอาจารย์

  1. วิเคราะห์สาเหตุหลักหรือแก่นปัญหา (Root cause) ที่สำคัญของปัญหาความขัดแย้งของสังคมและการเมืองไทย

      วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย

      การศึกษา ที่ไทยเรียนแบบ Copy ไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ตรงกับบริบทของสังคมไทย และเรายังไม่มีโมเดลการศึกษาที่เหมาะสมกับประเทศไทยอย่างแท้จริง การเมืองในวงการการศึกาส่งผลกระทบให้การศึกษาไทยไม่พัฒนา

      เรายกย่องคนที่มีรายได้มากกว่าคุณธรรม

  1. วาดภาพอนาคตประเทศไทย ใน 10 ปี ข้างหน้าที่อยากเห็น

      Soften

      Open

      Forward

      Touch = สัมผัสได้กับทุก  ๆ ประเทศในโลก

      Nod = พยักหน้า

    3. เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำเพื่อเป็นทางออกในการ”ปฏิรูปประเทศไทยและความปรองดอง”คือ

o        เอาใจเขามาใส่ใจเรา

o        Put the right man into the right job

o        ถูกต้องมาก่อนถูกใจ

o        เป็นสังคมกัลยาณมิตร

โจทย์ระดมความคิด 2:

1. สาเหตุของความรุนแรง (Violence) เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาจากสาเหตุอะไรบ้าง

2. บทบาทของเยาวชนและโรงเรียนในการสร้างความปรองดองแบบ Mild Revolution ควรเป็นอย่างไร?

3. บทบาทของตัวเราจะมีส่วนช่วย Mild Revolution อย่างไร

…………………………………………………………………………………………………………….

กลุ่ม 1

1.สาเหตุของความรุนแรง (Violence) เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาจากสาเหตุอะไรบ้าง

  • ไม่เคารพกฎและความเห็นของผู้อื่น
  • ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
  • ขาดความปรองดอง

2. บทบาทของเยาวชนและโรงเรียนในการสร้างความปรองดองแบบ Mild Revolution ควรเป็นอย่างไร?

  • คิดก่อนพูดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเยาวชน
  • ใช้คำพูดที่อ่อนโน้มอ่อนโยน
  • ตั้งเวทีและมีการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

3. บทบาทของตัวเราจะมีส่วนช่วย Mild Revolution อย่างไร

  • เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • ไตร่ตรองด้วยเหตุผลและไม่ได้มาจากความงมงาย
  • นำเสนอโดยใช้ Mild Revolution

 

สรุป ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต  แม้นพูดตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับคำพูดของคน  “ดีเพราะปาก”

 

กลุ่ม 2

1. สาเหตุของความรุนแรง (Violence) เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาจากสาเหตุอะไรบ้าง

  • ความคิดเห็นของแต่ละคนไม่ตรงกัน
  • การฟังความข้างเดียว
  • สื่อกลางในการสื่อสารไม่เป็นกลางทางสังคม
  • มีความเหลื่อมล้ำทางด้านสังคม
  • ไม่มีวิจารณญาณในการรับชมและรับฟังสื่อ

2. บทบาทของเยาวชนและโรงเรียนในการสร้างความปรองดองแบบ Mild Revolution ควรเป็นอย่างไร?

  • ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี
  • คุยกันด้วยเหตุผล ชี้แจงให้เข้าใจแบบไม่ต้องตัดสินแพ้ชนะ เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน
  • รับฟังความคิดเห็นซึ่งกัน ไม่ยึดถือความคิดเห็นของตัวเอง
  • เปิดใจและไม่มีทิฐิในความคิดของผู้อื่น

3.  บทบาทของตัวเราจะมีส่วนช่วย Mild Revolution อย่างไร

  • คุยกันด้วยความมีเหตุผล
  • เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี กับบุคคลรอบข้าง
  • ทำตัวให้เป็นกลางทางสังคม ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

จากที่ท่านอาจารย์หลายท่านได้พูดมาว่า เด็กไทยเอาแต่เรียนพิเศษ สอบเข้าสอบออกแต่ที่ต้องไปเรียนหาความรู้เพิ่ม ก็เพราะระบบการศึกษาไทย หากคณะที่ดิฉันอยากเข้าศึกษาต่อใช้ค่าคะแนนรวม 10,000 แต่มีคะแนนไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อในคณะที่สนใจได้ อย่าว่าแต่สอบเอ็นทรานท์เลย แค่สอบในโรงเรียนก็ต้องเรียนพิเศษแล้ว ชั้นๆ หนึ่งมีอาจารย์สอบแต่ละวิชา 2 – 4 คน ข้อสอบออกคนละ 10 ข้อ ไม่ได้เรียนกับก็ไม่รู้ ว่าเขาจะเอาจากไหนมาออกข้อสอบ ก็ต้องไปเรียนพิเศษ เพื่อหาทางรอด อยากถามอาจารย์ว่าทำยังไง จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไง ถึงจะเปลี่ยนปัญหาเรื่องนี้ได้ ทั้งๆที่ระบบการศึกษาไทยยังเป็นเหมือนตัวบังคับให้นักเรียนต้องเรียนพิเศษ

 

กลุ่ม 3

1.สาเหตุ ของความรุนแรง (Violence) ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา มาจากสาเหตุอะไร

  • การฝักใฝ่ แก่งแยงชิงดี ชิงเด่นกัน ในอำนาจ ต้องการเป็นใหญ่
  • การแบ่งแยกเป็นพรรคเป็นพวก แตกแยกความสามัคคี
  • ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ เนื่องจากเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ละเลยในผลประโยชน์ของส่วนรวม
  • การถูกโน้มน้าวจิตใจ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพล อาทิเช่น นักการเงิน สภาพเศรษฐกิจ เงิน สื่อด้านต่างๆ และผลประโยชน์
  • การไม่มีวิจารณญาณในการเสพสื่อ การรับและส่งข้อมูล การมีจิตใจเอนเอียง ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฟังความเพียงข้างเดียว
  • การที่แต่ละบุคคลในสังคมละเลย หลงลืม หรือรู้จักบทบาทหน้าที่และสถานภาพของตนในสังคม
  • การที่ศีลธรรม มโนธรรมและจริยธรรมในจิตใจของคนในสังคมถูกบิดเบือนไปจากทางที่ดี ที่ถูกที่ควร ด้วยความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้
  • การที่ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนไป โดยให้ความสำคัญกับทางด้านวัตถุมากกว่า ความถูกต้อง ความจริง ศีลธรรมและจิตใจ

 

  1. บทบาทของเยาวชนและโรงเรียนในการสร้างความปรองดองแบบ Mild Revolution ควรเป็นอย่างไร?
    1. ทำตามหน้าที่ สิทธิและสถานภาพของตนเองให้ดีที่สุดก่อน ให้ความเคารพบุคคลอื่นๆ ในสังคมของตน
    2. ใช้วิจารณญาณในการรับ ส่งข้อมูลต่างๆ

การรับ  รับสิ่งที่ดี

รับสิ่งที่เป็นจริง

รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งส่วนรวมและส่วนตน

                             การส่ง   สิ่งที่ตนได้รับและวิจารณญาณแล้วไปให้กับผู้อื่นต่อ

          3.   ทำกิจกรรม ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในโรงเรียน ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคมและประเทศชาติ

3.   บทบาทของตัวเรา และมีส่วนร่วมช่วย Mild Revolution อย่างไร

1. รู้จัดบทบาทหน้าที่ตามสถานภาพ

2.  การมีคุณธรรม และการรักษาคุณธรรมในการดำเนินชีวิต

3. เคาระในกฎหมาย กฎเกณฑ์ กฎระเบียบของสังคม

4. การรับฟังความเห็นจากสังคมในทุกๆด้าน อย่างมีวิจารณญาณ โดยมีใจเป็นกลาง ไม่เอเยงไปข้างใด

5. การไม่ต้องการเอาชนะใคร การที่ชนะทั้ง 2 ฝ่าย

กลุ่ม 4

1. สาเหตุของความรุนแรง (Violence) เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาจากสาเหตุอะไรบ้าง

  • ขาดสติ ไม่มีความอดทน
  • ยึดถือตนเองเป็นหลัก
  • ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน

2. บทบาทของความปรองดอง

  • การเลือกตั้งประธานนักเรียนและคณะสี
  • ความเคารพซึ่งกัน
  • ทำกิจกรรมร่วมกัน

3. บทบาทตัวเรา

  • ทำตัวเป็นกลาง
  • ศึกษาความเป็นจริงของเหตุการณ์ นำไปอธิบายต่อ
  • ปฏิบัติตามกฎของสังคม โรงเรียน ครองครัว

กลุ่ม 5

1.สาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงใน 2 ปีที่แล้ว 3 เรื่อง (ใหญ่)

1.1  เกิดจาการขัดแย้งกันทางด้านผลประโยชน์

1.2  ต่างฝ่ายต่างได้รับความคิดที่ไม่เหมือนกัน และหากเราเชื่อเข้าข้างฝั่งหนึ่งความคิดที่ได้ รู้มันก็เป็นที่เสียของอีกฝ่ายหนึ่ง จึงทำให้อาจจะเกิดความคิดต่างๆ รวมตัวกันจนเกิดความรุนแรง

1.3  ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงหรือลดการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลในช่วงนั้น และเปลี่ยนชุดรัฐบาลให้มีความโปร่งใส

  1. บทบาทของเยาชนและโรงเรียนสร้างความปรองดอง แบบ Mild Revolution

2.1  โรงเรียนและสถาบันต่างๆ ปลูกฝังความปรองดองให้แก่เยาวชนในโรงเรียน และปลูกฝังหลักของสติและเหตุผล เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต

2.2  นำความรู้ที่ได้จากการปลูกฝังมาใช้ ให้รู้จัดเป็นคนเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับในเหตุผลนั้น ๆ โดยต้องเริ่มต้นจากการปฏิบัติกับตนเองก่อน

2.3  เยาวชนและโรงเรียนมีการทำกิจกรรมที่เสริมสร้างความคิด การให้ความรู้ ข้อมูล ที่กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้วิจารณญาณ ในการกระทำกิจกรรมต่างๆ มีความไตร่ตรอง ไม่ก่อความรุนแรง

 

  1. บทบาทของตัวเราจะมีส่วยช่วย Mind Revolution อย่างไร

3.1  คิดอย่างมีเหตุผล ไม่เชื่อคำพูดโน้มน้าวของผู้อื่นง่ายๆ ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจ

3.2  เคารพกฎหมาย ตามรัฐบาล

3.3  ไม่นิยมความรุนแรง ความรุนแรง ควรเรียกร้องสิทธิโดยสันติไม่ก่อนเหตุจลาจล

 

กลุ่ม 6

1. สาเหตุของความขัดแย้ง

1.1  ความคิดที่แตกต่างของแต่ละฝ่าย

1.2  การเห็นแก่ประโยชน์พวกพ้อง

1.3  ไม่เคารพกฎหมาย

2. ภาพอนาคตของประเทศไทย ในอีก 10 ปีข้างหน้า

เน้นผลิตภัณฑ์การเกษตร เพราะประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตรมากขึ้น และไม่ทำร้ายธรรมชาติ ซึ่งในภาพแสดงให้เห็นว่าชาวนาสามารถมีโรงงานไร้สารพิษซึ่งไม่ส่งผลกระทบให้กับมลภาวะทางอากาศ เพราะเป็นโรงงานที่ไม่มีควันพิษออกสู่อากาศ ซึ่งโรงงานนี้ ผลิตผลที่เราปลูกคือข้าว ใช้ทฤษฎี 30 : 30 : 30: 10  (เกษตรทฤษฎีใหม่) ซึ่งในประเทศเราวันข้างหน้าอาจะมีเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามากกว่าเดมมากขึ้น เช่น มีรถไฟฟ้า มีรถที่ใช้น้ำเป็นพลังงานในการขับเคลื่อน แต่ในการก้าวหน้าจะพร้อมไปด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถลดภาวะโลกร้อนได้ด้วย

3.แนวทางการแก้ไข

3.1 รับฟังปัญหาจากทุกฝ่าย เพราะแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

3.2 ฝึกกระบวนการคิด อย่างมีเหตุผล ให้เยาวชนสามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีสติเป็น

3.3 ปลูกฝังให้ทุกคนมีวินัยและเคาระกฎหมายการอยู่ร่วมกัน

กลุ่ม 7

  • การทำหน้าที่ของผู้นำ การขัดแย้งกันทางผลประโยชน์ คือการที่บุคคลแต่ละคนมีจุดมุ่งหมายหรือมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันทางผลประโยชน์ ทำให้ก่อให้เกิดความแตกแยกทางคิดและรุกรามจนกลายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงหรือเกิดวินาฏกรรมขึ้น
  • การบริโภคข่าวสาร ไม่มีวิจารณญาณในการบริโภคข่าวสาร คือ การที่บุคคลฟังข่าวสารเพียงข้างเดียว โดยไม่นำมาวิเคราะห์ว่ามีความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
  • ความไม่เท่าเทียมกันคือ การกีดกัน กันทางสังคม โดยแบ่งจากการศึกษาหรืออำนาจทางการเงินรวมถึงอิทธิพลในสังคม ทำให้ประเทศชาติของเรานั้นขาดความเป็นธรรมในการปกครองและเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น ทำให้เกิดระบบ 2 มาตรฐานดังนั้นประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงลุกขึ้นมาเรียกร้อง จนในที่สุดเกิดสงครามทางชนชั้น

กลุ่ม 8

          สาเหตุของความรุนแรง

  • การศึกษาที่ไม่ทั่วถึง เห็นได้จากในชนบทหรือในเมืองรัฐบาลไม่ทำการกระจายอำนาจ จึงทำให้คนที่ได้รับการศึกษาน้อยเกิดการวิเคราะห์น้อยการคิดหาเหตุและผลมีน้อย จึงทำให้ใช้กำลังมากกว่าความรุนแรง
  • ขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เราต้องใช้ศีล สมาธิ ปัญญา มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
  • พื้นฐานทางครอบครัว เนื่องจากประชาชน มีพื้นฐานทางครอบครัวที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกัน จึงเกิดความรุนแรง

บทบาท

          โรงเรียน

  • ปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนเพื่อให้สำนึกถึงความจำเป็นที่ต้องใช้เหตุผล ในการตัดสินความผิดหรือถูกตามเหตุการณ์ต่างๆ
  • บุคลากรทางการศึกจะต้องฝึกให้มีจิตสำนึก มีคุณภาพในการสอนนักเรียนไม่ให้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
  • ควรฝึกให้นักเรียนใช้ตรรกะทางการคิด เพื่อหาเหตุและผลและนำมาปรับใช้

เยาวชน

  • มีวิจารณญาณในการรับฟังข่าวสาร
  • รู้จักหน้าที่ของตนเอง เป็นหลักว่าตัวเองควรทำอะไร อย่างไร

บทบาทของตัวเราเอง

  • มีเหตุผลมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่าสาเหตุคืออะไรและผลตามมาคืออะไร
  • คิดสร้างสรรค์ในทางที่ดี ว่าความคิดของเรานั้นคิดที่จะทำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่นอะไรได้บ้าง
  • มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามีสามสิ่งนี้ประเทศไทย ก็จะเป็นสุข คนไทยรักกัน

กลุ่ม 9

          สาเหตุของความรุนแรงในปัจจุบันนี้เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งกลุ่มของพวกเราได้สรุปมาเป็น 3 ข้อสำคัญ

1.  ผู้คนขาดสติในการกระทำสิ่งต่างๆ ขาดวิจารณญาณในการรับฟังข่าวสารใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ใช้กฎหมู่มากกว่ากฎหมาย

2. ความรุนแรงเกิดมาจากคนอยู่ประมาณสองกลุ่ม ที่มีอคติต่อกัน มีทิฐิต่อกัน ทำให้การแก้ปัญหาไม่เกิดการประสบความสำเร็จ

3.  คือการไม่ยอมแพ้หรือไม่ยอมเสียสละ ในขณะที่ฝ่ายตนผิด จึงอยากฝากคประโยคสั้นๆ ว่า”คนยอม ไม่ใช่คนแพ้”

          บทบาทของนักเรียนและโรงเรียนในการสร้างความปรองดองแบบ Mild Revolution เยาวชนและโรงเรียนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ 3 ประการ คือ

1. เยาวชนต้องมีความสามัคคีกันในหมู่คณะ รู้จักวิธีทำงานเป็นกลุ่มมีคุณธรรมรับฟังผู้อื่น นอกจากนี้เยาวชนก็ต้องรู้และเข้าใจประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

2. ปลูกฝังและส่งเสริมหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Mild Revolution เช่น มารยาท เป็นต้น ลงในวิชาที่เรียน ซึ่งเป็นการสร้างความปรองดองที่ใช้เวลานาน แต่ได้รับผลในระยะยาว

3. จัดกิจกรรม เช่น การเข้าค่าย Knowledge Camping ซึ่งเป็นการฝึกความเข้าใจในเรื่อง Mild Revolution ให้ซึมซับไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นสร้างความปรองดองในเวลาอันสั้นแต่ ได้รับผลแค่ในระยะสั้น

          บทบาทของตัวเราสามารถมีส่วนช่วย Mild Revolution ได้โดยสรุปประมาณ 3 ประเด็นคือ

1. ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เราเป็นนักเรียน ก็ควรเป็นรู้เรียนที่ดี โดยการเรียนแบบคิดวิเคราะห์เป็น

2. สามัคคีกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่เสมอๆแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และมาร่วมกันคิดกันทำแบบจึงจะดีที่สุด

3. มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ รู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รู้จุดอ่อน จุดแข็งของการเมืองรู้จักคิดเป็นวิเคราะห์เป็นและเข้าใจ โดยการติดตามเหตุการณ์บ้านเมืองอย่างเท่าทัน และเป็นปัจจุบันและเป็นปัจจุบันเสมอๆ

 

สรุปการตอบข้อซักถามของนักเรียน

ช่วงการเรียนรู้ หัวข้อ “มุมมองของผู้ใหญ่กับเด็กไทยในอนาคต”

โดย    คุณกฤช อุดมสิน

    ผู้จัดกิจกรรม Knowledge Camping โรงเรียนเทพศิรินทร์ 11 รุ่น

    นายสัตวแพทย์กิจ สุนทร

    กรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์

………………………………………………………………………………………………………………….

กลุ่ม 3

คำถาม :เกี่ยวกับมากตรา 12 ที่จะอนุญาตให้นักเรียนที่ท้อง เมื่อคลอดลูกแล้วสามารถกลับมาเรียนต่อได้ ท่านรู้สึกเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

คำตอบที่ได้ : ประเทศไทยมักจะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หากลองกลับไปคิดดูแล้วปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นตรงที่เด็กนักเรียนท้อง แต่มันเกี่ยวกับศีลธรรม ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ ทำไมนักเรียนถึงท้อง ต้นเหตุเกิดจากผู้ใหญ่ ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่เยาวชน มีสถานบันเทิง เปิดยั่วยุ ดึงดูดให้เด็กนักเรียนและเยาวชนซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เยาวชนเสียตัว ก็เพราะผู้ใหญ่ที่มีศีลธรรมไม่รู้จักทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เยาวชนจึงเกิดการลอกเลียนแบบผู้ใหญ่

หากเรารู้สาเหตุที่แท้จริงของเรื่องนี้ และแก้ไขให้ตรงจุด มาตรา 12 ก็คงไม่เกิดขึ้น

กลุ่ม 5

คำถาม : คิดอย่างไรกับการศึกษาไทยในปัจจุบันนี้ และทำไมผู้ใหญ่ถึงเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนสายสามัญ และสายอาชีพจนมากเกินไป  

คำตอบที่ได้: โดยตามสังคมไทยแล้ว ได้มองเห็นว่าการที่ให้นักเรียน เรียนในสายอาชีพถือว่าเป็นประชากรที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 2 และสายสามัญเป็นสายที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 เพราะสังคมไทยได้คิดว่า สายสามัญเป็นสายที่เรียนมากกว่า พอจบมากถือว่าเป็นที่มีความสำคัญมากกว่าสายอาชีพ พอจบมากจากสายสามัญได้เป็นเจ้านายคน ซึ่งการคิดแบบนี้เป็นการคิดที่ผิด เพราะถ้าจบมาแล้วมาเป็นเจ้านาย แต่ไม่มีความสามารถทางด้านใดเลย ก็ไม่ถือว่ามีความสำคัญ แต่ประชาชนที่มีความสำคัญมากกว่ากลับเป็นสายอาชีพ เพราะสายอาชีพยังได้รับเงินเดือนมากกว่าสายสามัญที่จบออกมาอีกด้วย

  1. ทำไมอาจารย์ถึงเปรียบเทียบสายวิทย์ สายศิลป์ และทำไมอาจารย์ถึงมองว่าสายศิลป์ถึงมีความสามารถมากกว่าสายวิทย์  (กลุ่ม 7)
  • ขึ้นอยู่กับความถนัด ความชอบ และการเลือกของแต่ละคน ไม่สามารถนำเกรดมาเป็นตัวชี้วัดได้ว่า นักเรียนสายวิทย์หรือศิลป์ สายไหนเก่งกว่าหรือมีความสามารถมากกว่ากัน โดยอย่าเลือกตามค่านิยม

กลุ่ม 4

คำถาม :ค่านิยมที่ว่าการเป็นอาชีพหมอ วิศวกรรม เพราะเหตุใด

คำตอบที่ได้: ค่านิยมแบบนี้เป็นค่านิยมของคนไทยมานาน ซึ่งเป็นค่านิยมแบบผิดๆ เพราอาชีพในปัจจุบันนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าอาชีพไหนดีที่สุด หรือได้เงินเดือนมากที่สุด เป็นอาชีพที่ดีที่สุด อาจจะมีอาชีพบางอาชีพที่นั่งหน้าจอคอมและสามารถหาเงินได้ และอาจจะได้เงินเดือนมากกว่าอาชีพข้างต้นนี้ด้วย

คำถาม: มีความคิดอย่างไรกับ พ.ร.บ มาตรา 12 (กลุ่ม 3)

คำตอบที่ได้: ไม่ควรที่มี พ.ร.บ. มาตรา 12 ขึ้น เพราะเป็นส่งเสริมให้เยาวชนทำผิด เพราะไม่มี กฎหมายและบทลงโทษ สำหรับเยาวชนอย่างชัดเจน

 

กลุ่ม 6

คำถาม: คิดยังไงกับการศึกษาไทย ทำไม่เปรียบเทียบระหว่างสายอาชีพและสายสามัญ

คำตอบ: ระบบการศึกษาเป็นตามกระสังคม เป็นเรื่องมุมมองที่มองว่าสายอาชีพเป็นชนชั้นรอง บางครั้งสายอาชีพก็ประสบความสำเร็จมากกว่า เราประเมินบุคคลไม่ครบด้านเราแต่ทักษะทางวิชาการ แต่ไม่ได้ประเมินทักษะในการใช้ชีวิต ดังนี้เราจึงต้องค้นหาตนเองว่ามีความสามารถอะไรและพัฒนาความสามารถต่อตนเอง

 

คำถาม: ทำไมถึงเปรียบเทียบสายวิทย์ สายศิลป์

คำตอบ: เราให้คนที่เรียนสายวิทย์ แต่ให้คนที่เคยเรียนสายศิลป์ ทำให้เด็กที่เรียนสายศิลป์ซึ่งต่อไปจะเรียนรัฐศาสตร์ บริหาร เป็นต้น เป็นนักเรียนสายวิทย์ ดังนั้นสิ่งที่เราควรเรียนคือสิ่งที่เราชอบและถนัดไม่ใช่เลือกตามค่านิยม และทำให้มีเด็กหลายคนเรียนพื้นฐานไปตรงกับที่ต้องการเรียนในมหาวิทยาลัย

 

คำถาม: ทำไม่ถึงมีค่านิยมว่าเด็กเรียนสายวิทย์ต้องไปสอบแพทย์ วิศวะ และถูกกดดันจากรอบด้าน

คำตอบ: คนไทยส่วนใหญ่มาจากอาชีพเกษตร ซึ่งคนเหล่านี้ต้องการให้มีหลายอาชีพที่มั่นคงทำให้ติดค่านิยมในปัจจุบัน แต่ในความจริงแล้วไปมีอาชะไม่มั่นคง บางทีอาชีพที่ดูมั่นคงในตอนนี้ในอนาคตอันใกล้อาจจะมีความเสี่ยงสูงก็ได้ ดังนั้นต้องเลือกอาชีพที่เราสามารประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นและเหมาะกับตัวเองมากที่สุด ซึ่งเราต้องค้นหาตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ และหาความรู้เพิ่มเติมฝึกฝนตนเองให้มีความรู้และฝึกให้ตนเป็นคนที่มีไวพริบ

 

คำถาม: การที่ให้เด็กที่ท้องกลับมาเรียนอีกครั้งนั้นเป็นความคิดที่ถูกหรือไม่ มีความคิดเห็นอย่างไร

คำตอบ: เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หลายปัญหา ในเมืองไทยก็มักจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่เราต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยการลดพฤติกรรที่ไม่ดี ต้องแก้ที่รากปัญหา

 

กลุ่ม 7

         

คำถาม: ทำไมอาจารย์ถึงเปรียบเทียบเด็กสายวิทย์กับสายศิลป์แล้วทำไมอาจารย์ถึงมองว่าเด็กสายศิลป์มีความสามารถน้อยกว่าเด็กสายวิทย์

คำตอบ: มันเกิดความเข้าใจผิดแล้วก็เป็นเรื่องที่โรงเรียนต้องกำหนดเกรดเพราะว่าเด็กแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนแต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กสายศิลป์ไม่มีความสามารถ แต่อยู่ที่ความถนัดของเด็กแต่ละคนมากมาย

 

ชอบโครงการนี้มากครับ

ถ้ามีอีก กรุณาประชาสัมพันธ์ อีกนะครับ

ตัวแทนโรงเรียนศึกษานารี

ค่ายนี้ได้สอนอะไรหลายๆอย่างมากเลยค่ะ

แนวการสอนให้คิดของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นเหมือนกับการฝึกให้เล่นเกม puzzle เลยค่ะ

คือคุณจีระ ตั้งโจทย์มาให้โจทย์หนึ่ง ให้พวกเราได้ลองหาวิธีแก้ปัญหา

และเมื่อมันคล้ายเกม puzzle ปัญหาเลยไม่ได้แก้ง่ายๆ และแถมยังมีเวลาจำกัดด้วยค่ะ

ต้องระดมความคิดและสมาธิอย่างมากเผื่อที่จะหาทางแก้ไข

ค่ายนี้สอนให้พวกเราได้รู้จักมองหาวิธีแก้ไขด้วยหนทางต่างๆ

สอนให้เรารู้จัก ค้นหาสาเหตุ การแก้ไข ผลที่จะเกิดขึ้น

อย่างตอนที่ร่วมกลุ่มคิดกันอยู่ตอนนั้น คุณจิตรสุมาลย์ ได้ลองแนะนำให้กลุ่มดิฉัน

ลองคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นก่อน แล้วก็ลองคิดย้อนกลับไปหาวิธีแก้ไข แล้วในที่สุดก็ค้นพบสาเหตุการเกิดปัญหาค่ะ

การแนะนำของอาจารย์แต่ละท่านเป็นเหมือนคำใบ้ในเกม puzzle ค่ะ

คอยกระตุ้นให้เราพยายามปลดล๊อคทางออกใหม่เรื่อยๆ

และที่สำคัญคือการที่ทางคุณจีระและคุณวีรอรให้พวกเราได้ออกไปอภิปรายทุกกลุ่ม

เหมือนกับเป็นการ ให้เราออกมาเสนอวิธีแก้ปัญหาที่เราคิดกันได้เอง และทางคุณจีระและอาจารย์ท่านอื่นๆก็จะเป็นเหมือนบทสรุปเกม แนะนำและชี้ทางให้กระจ่างขึ้นค่ะ

นอกจากได้ฝึกคิดและระดมความคิดแล้ว

ค่ายนี้ยังสอนให้พวกเรารู้จักการจัดการกับเวลาและจัดการการแบ่งงานให้เป็นด้วยค่ะ

ถ้าทุกคนเอาแต่ร่วมกันคิดอย่างเดียว ก็จะทำแผนภาพออกมาไม่ทัน

ได้ทั้งความรู้ การปฏิบัติงาน การฝึกฝนสมอง การจัดการ ความมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามัคคี การรู้จักรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

การมองโลกกว้างและไกล อีกหลายอย่างเลยค่ะ ที่เป็นผลพลอยได้จากการอบรมในครั้งนี้

ขอบคุณท่าน ผอ.ศิริยุพา ศกุนตะเสฐียร ท่านรองนพมาศ บริสุทธิ์ธรรม คุณหญิงศรีศิริ กฤษณจันทร์

ที่ได้เปิดโอกาสให้พวกเราได้มาค่ายดีๆเช่นนี้ค่ะ

ขอบคุณท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ผอ.ประกาศิต ยังคง และคณะอาจารย์ วิทยากร ผู้ให้การอบรมทุกท่าน

ที่ได้มอบความรู้ให้พวกเราอย่างเต็มที่ค่ะ :)

ขอบคุณค่ะ

นักเรียนรร.ศึกษานารี

ถือว่าเป็นค่ายที่ดีอีกค่ายหนึ่ง ประเทศไทยกำลังประสบปัญหามากมายเหลือเกิน สาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากความคิดของคนเราเองที่แตกต่างกัน ความจริงแล้ว ความขัดแย้งก็ไม่ได้เกิดจากความคิดที่แตกต่างกันเพียงอย่างเดียว ส่วนหนึ่งมาจากการไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ค่ายนี้สอนให้เรารู้จักคิดเป็น วิเคราะห์ได้

สิ่งหนึ่งที่ตัวหนูเองนำกลับมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันคือการรู้จักวางแผนงาน การทำงานร่วมกับคนอื่น การรู้จักแบ่งเวลาซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะ นักเรียนหลายๆคนไม่รู้จักการจัดการเวลาจึงทำให้การเรียน การทำงาน ได้ผลที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ตัวหนูเองเป็นหัวหน้านักเรียนระดับชั้น ม.4 ของโรงเรียน ดังนั้น งานหรือกิจกรรมต่างๆจะเยอะมากๆ ถ้าตัวหนูเองไม่รู้จักการจัดการเวลาที่ดีก็คงทำงานไม่สำเร็จแน่นอน

หนูขอขอบคุณท่านดร.จีระมากๆนะค่ะ ที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น ถ้าไม่มีกิจกรรมนี้ หนูก็คงไม่ได้รับประสบการณ์ดีๆแบบนี้ ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ท่านวิทยากร ทุกท่านที่คอยแนะนำให้ความรู้ และคอยดูแลเอาใจใส่พวกเราทุกคนตลอดเวลาที่อยู่ค่ายแม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่ามากๆ สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณมิตรภาพดีๆจากเพื่อนๆพี่โรงเรียนสตรีสมุทรปราการด้วย ทุกคนน่ารักมากๆค่ะ

นักเรียน รร.สตรีสมุทรปราการ

โดยความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า

ค่ายนี้เป็นค่ายที่ช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นอย่างแท้จริง

เนื่องด้วยค่ายนี้เป็นค่ายที่เปิดอิสระทางความคิดอย่างมาก

เมื่อมีความเห็นอะไรก็สามารถแสดงความคิดออกมาได้เลย

แต่ถ้าความคิดไหนเป็นความคิดที่ยังไม่ดีนัก ก็จะมีวิทยากรช่วยชี้แนะแนวทางให้

ที่ผมใช้คำว่าความคิดยังไม่ดีก็เพราะว่า ความคิดของคนเรา ไม่มีความคิดไหนที่ถูกหรือผิด

แต่ที่เรามองคนอื่นว่าเป็นคนดีหรือคนไม่ดี ก็เพราะว่าเราเป็นคนตัดสินเอง

ในความไม่ดีของคนอื่นที่เรามองเห็น เขาอาจจะมีเหตุผลที่จะทำอย่างนั้นอยู่ก็เป็นได้

ค่ายนี้จึงสอนเรื่อง Mild Revolution ซึ่งเป็นหลักการเกี่ยวกับการปรองดองกัน

ซึ่งมีเนื้อหาในการยอมรับซึ่งกันและกัน มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม

และมีการวิเคราะห์ไตร่ตรองข่าวสารต่างๆก่อนที่จะเชื่อ เพราะในปัจจุบันนี้

ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ก็ต่างนำเสนอข้อมูลข่าวสารในแง่มุมที่ตนเองคิด

โดยไม่คิดว่าตนเองนั้นเป็นสื่อ สื่อจะต้องเป็นกลาง เพื่อให้คนที่มาดูสามารถตัดสินได้เอง

ก่อนที่ผมมาเข้าค่ายนี้นั้น เมื่อมีข่าวสารอะไรเข้ามา ผมก็จะเชื่อหมดทุกเรื่อง

แต่เมื่อได้มาเข้าค่ายครั้งนี้ ผมได้รับฟังแนวคิดของทั้งท่านจีระ ทั้งวิทยากรและผู้ช่วยของท่านจีระ

ทำให้ผมได้หลักแนวคิดมากขึ้น ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ก่อนที่จะเชื่อผมจะดูเหตุผลก่อนว่ามันเป็นอย่างไร

สุดท้ายนี้ ผมขอขอบพระคุณท่าน ผอ.ประกาศิต ยังคง และ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่ทำให้ผมได้รับประสบการณ์ดีๆ มิตรภาพดีๆ และเบ็ดตกปลาซึ่งมีคุณค่าในการประยุกต์เข้าใช้กับชีวิตประจำวัน

มีการทำ workshop เพื่อให้ นร. ทั้ง 2 รร. ระดมสมองกันคิดภายในเวลาที่จำกัดมาก

นักเรียนโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ

 

ค่ายนี้เรียกได้ว่าเป็นค่ายที่ดีมากในความคิดของหนูเลยค่ะเพราะว่าสิ่งที่ได้รับนั้นมันไม่สามารถประมาณค่าได้เลยหนูได้ฝึกคิดได้เรียนอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อนได้เรียงลำดับความคิดได้ใส่ใจในลายละเอียดต่างๆและสิ่งสำคัณได้มิตรภาพกับเพื่อนต่างโรงเรียนเรพาะว่าการที่คนที่ไม่เคยรุ้จักกันมาก่อนไม่เคยอยู่ร่วมกันไม่เคยทำงานร่วมกันย่อมจะเกิดปัญหาเป็นธรรมดาแต่ค่ายนี้ทำให้หนูได้รู้ว่าเราควรจะทำตัวอย่างไรให้เข้ากับคนอื่นได้เราควรจะopen mind อย่างไร เราควรจะแก้ไขจุดด้วยของเราตรงไหน เพื่อที่จะทำงานแล้วงานออกมาประสบผลสำเร็จไม่มีปัญหาและอีกอย่างหนึ่งคือหนูได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเป้นผู้นำและผู้ตามที่ดี การที่ได้รับโจทย์จากท่าน ดร. มานั้นเป็นสิ่งที่สร้างความสามัคคีในหมู่เืพ่อนๆๆด้วยกันเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าพวกเราจะอดหลับอดนอนทำงานกันอย่างตั้งใจผลงานออกมาประสบผลสำเร็จเป้นที่น่าพอใจความภูมิใจก็เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งเชื่อว่าถ้าเราเอาการบริหารงานจกกลุ่มเด็กกลุ่มเล็กๆไปขยายผลเพื่อไปบริหารคนกลุ่มใหญ่นำหลักการความปรองดองไปปรับใชเชื่อว่าสังคมไทยจะไม่เกิดความวุ่นวายเลยค่ะ ยังไงก็ขอขอบคุณค่ายนี้เป็นอย่างมากที่ทำให้หนูได้คิด ได้ฝึกปฎิบัติ ขอบคุณท่าน ดร. และท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้หยิบยื่นโอกาสให้กับเด็กไทยกลุ่มเล็กๆและในอนาคตอย่างจะให้ขยายผลเพื่อนไปกระจายความรุ้กระจายประโยชน์ให้กับเด็กในพื้นที่ต่างจังหวัดต่างๆด้วยค่ะเพื่อที่จะให้เด็กที่โตมาในภายภาคหน้าโตมาเืพื่อบริหารประเทศและเป็นเสมือนล้อที่ขับเคลื่อนนำพาประเทศไปสู่ความเจริญค่ะ

ค่ายนี้เรียกได้ว่าเป็นค่ายที่ดีมากในความคิดของหนูเลยค่ะเพราะว่าสิ่งที่ได้รับนั้นมันไม่สามารถประมาณค่าได้เลยหนูได้ฝึกคิดได้เรียนอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อนได้เรียงลำดับความคิดได้ใส่ใจในลายละเอียดต่างๆและสิ่งสำคัณได้มิตรภาพกับเพื่อนต่างโรงเรียนเรพาะว่าการที่คนที่ไม่เคยรุ้จักกันมาก่อนไม่เคยอยู่ร่วมกันไม่เคยทำงานร่วมกันย่อมจะเกิดปัญหาเป็นธรรมดาแต่ค่ายนี้ทำให้หนูได้รู้ว่าเราควรจะทำตัวอย่างไรให้เข้ากับคนอื่นได้เราควรจะopen mind อย่างไร เราควรจะแก้ไขจุดด้วยของเราตรงไหน เพื่อที่จะทำงานแล้วงานออกมาประสบผลสำเร็จไม่มีปัญหาและอีกอย่างหนึ่งคือหนูได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเป้นผู้นำและผู้ตามที่ดี การที่ได้รับโจทย์จากท่าน ดร. มานั้นเป็นสิ่งที่สร้างความสามัคคีในหมู่เืพ่อนๆๆด้วยกันเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าพวกเราจะอดหลับอดนอนทำงานกันอย่างตั้งใจผลงานออกมาประสบผลสำเร็จเป้นที่น่าพอใจความภูมิใจก็เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งเชื่อว่าถ้าเราเอาการบริหารงานจกกลุ่มเด็กกลุ่มเล็กๆไปขยายผลเพื่อไปบริหารคนกลุ่มใหญ่นำหลักการความปรองดองไปปรับใชเชื่อว่าสังคมไทยจะไม่เกิดความวุ่นวายเลยค่ะ ยังไงก็ขอขอบคุณค่ายนี้เป็นอย่างมากที่ทำให้หนูได้คิด ได้ฝึกปฎิบัติ ขอบคุณท่าน ดร. และท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้หยิบยื่นโอกาสให้กับเด็กไทยกลุ่มเล็กๆและในอนาคตอย่างจะให้ขยายผลเพื่อนไปกระจายความรุ้กระจายประโยชน์ให้กับเด็กในพื้นที่ต่างจังหวัดต่างๆด้วยค่ะเพื่อที่จะให้เด็กที่โตมาในภายภาคหน้าโตมาเืพื่อบริหารประเทศและเป็นเสมือนล้อที่ขับเคลื่อนนำพาประเทศไปสู่ความเจริญค่ะ

 

ขอบคุณค่ายนี้ ที่เปิดโอกาสให้ผมได้ใช้สมอง ใช้ความคิดให้มากขึ้น มีเวลาที่จะอยู่กับความคิดของเอง ที่จะพิจารณาและไต่ตรองอย่างรอบคอบกับปัญหาที่ต้องการทางออก ซึ่งยังคงคอยความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ที่จะช่วยกันนำพาปัญหาไปสู่ทางออกที่ดีที่สุด อย่างมีผลเสียน้อยที่สุดหรือแทบไม่มีเลย สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นเองหรือเกิดขึ้นจากคนๆเดียวก็คงไม่ได้ หากแต่ต้องเกิดจากการช่วยกันระดมความคิดของหลายๆคน เพราะผมเชื่อว่าการทำงานเป็นทีม ย่อมมีโอกาสที่จะประสบผมสำเร็จได้สูงกว่าทำเองคนเดียวแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ในการทำงานเป็นทีม ก็ต้องมีความคิดที่แตกต่าง หลากหลาย แต่สำคัญอยู่ที่ว่า เราจะมองความเห็นเหล่านั้นอย่างไร จะมองให้เป็นโทษ หรือเราจะมองให้เกิดประโชน์ หากมองได้ว่าเป็นประโยชน์ ก็เกิดผลดี นำความเห็นต่างเหล่านั้น มาวิเคราะห์ ดูสิ่งที่ดีที่สุด และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งหนึ่งในสังคมที่ผมคิดว่าไม่ช่วยให้เกิดความรุ่งเรือง ความเจริญ ก็คือการอยู่ในกรอบ ไม่รู้จักที่จะเปิดมุมมองให้กว้าง ไม่เปิดใจรับสิ่งต่างๆที่เป็นความเป็นจริงในสังคม สิ่งต่างๆเหล่านี้ สมควรที่จะได้รับความสำคัญ และเห็นคุณค่า ควรที่จะปลูกฝังให้คนมีคุณธรรมร่วมด้วย เพราะสังคมจะดีได้นั้น คนในสังคมต้องดีก่อน ผมเป็นคนหนึ่งที่ปรารถนาให้หลายๆคนมีความสำนึกในสังคม รับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสาธารณะ ถ้าทุกคนช่วยกัน ผมเชื่อมั่นว่า สังคม จะเป็นสังคมที่น่าอยู่ และจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต อย่างแน่นอน

ที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงบางตัวอย่าง ที่ผมได้เรียนรู้ จากการเข้าค่ายครั้งนี้ และเชื่อว่า หลายๆคนในสังคมไทย ก็ยังคงมีคนที่อยากให้สังคมน่าอยู่ และเชื่อว่าหลายคน พร้อมที่จะร่วมมือกัน เพื่ออนาคตที่งดงามของเรา

ตัวแทนนักเรียนโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ

ต้องขอขอบคุณท่านศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และท่าน ผอ.ประกาศิต ยังคง ที่ทำให้พวกเราได้มีโอกาสสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

จากการที่ได้ไปค่ายในครั้งนี้ ทำให้พวกเราเป็นคนที่มีมุมมองต่างๆกว้างขึ้น รู้ถึงคุณค่าของชีวิตที่ได้มีโอกาสเกิดมา

ให้เราได้มีโอกาสร่วมพัฒนา และเป็นแรงขับเคลื่อนสังคม ทำให้เราได้รับการปลูกฝังในด้านของการมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ทำให้เรามีความกล้าในการคิด การแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ทำให้พวกเรารู้จักการบริหารเวลา และการจัดการหรือแม้กระทั่งการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า

หลังจากกลับมาจากค่ายนี้ พวกเรามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น คุณครูที่โรงเรียนได้ชื่นชมว่าพวกเรามีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น กล้าถาม กล้าตอบมากขึ้น จากบรรยากาศห้องเรียนที่จะมีแต่คุณครูเป็นผู้พูดผู้เดียว ก็เปลี่ยนไปเป็นบรรยากาศห้องเรียนที่สนุกสนานมีการโต้ตอบระหว่างคุณครูกับนักเรียน การไปค่ายครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นการใช้เวลาว่างอย่างคุ้มค่าที่สุด

ขอขอบคุณท่านอาจารย์วิทยากรทุกๆท่านที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา การดูแลเป็นอย่างดี และสร้างโอกาสให้แก่พวกเรา พวกเราจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปเผยแพร่้ โดยเริ่มจากคนในครอบครัว และในโรงเรียนก่อน

และขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ จากโรงเรียนศึกษานารีทุกคนที่ทำให้การไปเข้าค่ายครั้งนี้มีสีสันมากขึ้นและทำให้พวกเราได้รับมิตรภาพที่ดีๆกลับมาด้วย^^

Knowledge Camping..โรงเรียนสตรีสมุทรปราการและโรงเรียนศึกษานารี

ดิฉันได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมงานจัดอบรมKnowledge Camping..โรงเรียนสตรีสมุทรปราการและโรงเรียนศึกษานารี ครั้งนี้

ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นการทำกิจกรรมที่ดีมากค่ะทำให้นักเรียนได้มีความคิดที่ดีและก้าวหน้า ส่งเสริมให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดที่ดีเหมือน

เขาได้กว่าเข้ามามีบทบาทในสังคม คงทำให้บ้านเมืองเราเจริญก้าวหน้า และเป็นที่ยอมรับของประเทศที่เจริญแล้วค่ะ

ดิฉันชอบการจัดอบรมในครั้งนี้มากค่ะ ถ้ามีโอกาสก็จะของเขาไปร่วมกิจกรรมที่ดีๆ อย่างนี้อีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท