วิจารณ์หนังสือ The upside of irrationality ที่ห้องเรียนปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา


สวัสดีครับชาว Blog

วันนี้ในห้องเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผมได้ออกแบบการเรียนรู้ให้เป็นกิจกรรมการวิจารณ์หนังสือ เรื่อง The upside of irrationality เขียนโดย Dan Ariely ซึ่งเป็นอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอยู่ที่ Duke University ผมได้ให้นักศึกษาของผมเลือกหนังสือที่เขาสนใจ ไปศึกษามา และนำมา Share กันในห้องเรียน

โชคดีมากที่วันนี้เราได้รับเกียรติจากคุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์ นักธุรกิจและนักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์มากมายมาเป็นแขกรับเชิญพิเศษร่วมวิจารณ์หนังสือกับผมในวันนี้

และนอกจากนั้นผมยังได้เชิญคนรุ่นใหม่อีกท่านหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ดร.สัณฐิติ ตรีทิพยบุตร ซึ่งเป็น Ph.D รุ่นใหม่จบจากประเทศออสเตรเลียมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดกับลูกศิษย์ของผมด้วย

เนื้อหาสาระจะมีอะไรบ้างที่น่าสนใจ และรวมทั้งการวิธีปรับใช้กับสังคมไทยอย่างเหมาะสมจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามต่อครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

......................................................................

หมายเลขบันทึก: 387100เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาพบรรยากาศการวิจารณ์หนังสือในวันนี้

 

 

สิ่งที่ได้นำเสนอในประเด็นการวิจารณ์หนังสือ เรื่อง The upside of irrationality โดย Dan Ariely

                จากที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาบทที่ 7 – 8 ของหนังสือ The upside of irrationality และได้สรุปและนำเสนอในประเด็นการวิจารณ์หนังสือเมื่อวันอาทิตย์ที่    22 ส.ค. 53 ดังนี้

                ผู้เขียน Dan Ariely นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมจากมหาวิทยาลัย Duke ได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์จริงในชีวิตของเขาเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับนำมาใช้ในการปรับตัวเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน ดังตัวอย่างจากที่ผู้เขียนประสบอุบัติเหตุ ต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอย่างยาวนาน ซึ่งสิ่งที่เขาต้องเผชิญมันช่างย่ำแย่ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเกิดจากความเจ็บปวดจากการรักษาแผลไหม้ตามร่างกาย และสภาพร่างกายที่ไม่เหมือนเดิม แต่เขากลับมองโลกในแง่บวกโดยการคิด วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ / สถานการณ์บางอย่างที่เคยทำในอดีต กับปัจจุบันเพื่อพิจารณาทางเลือกในการตัดสินใจ

          ดังเช่นกรณีการตัดสินใจของสุภาพสตรีที่เคยออกเดทในช่วงก่อนที่เขาได้รับบาดเจ็บและหลังจากที่เขาได้รับบาดเจ็บจนทำให้รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปลงไป (ไม่เหมือนเดิม)  ซึ่งเขาคาดการณ์เหตุผลการเลือกของสุภาพสตรีดังกล่าวว่าถ้าเขาไปชวนออกเดทคงไม่มีใครเลือกที่จะออกเดทกับเขา นั่นเท่ากับว่า “ค่านิยมทางการตลาดของเขาได้ลดน้อยลงไปอย่างมาก” จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตของเขานำไปสู่การการสร้างหลักการ/วิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงานในองค์กรต่าง ๆ  โดยเฉพาะในเรื่อง “การปรับตัว” ให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐาน “การมองโลกในแง่ดี

  ประโยชน์ที่ได้รับจากหนังสือ The upside of irrationality :

                1) จากการที่มนุษย์ทุกคนย่อมมีความไร้เหตุผลอยู่บ้างในบางเวลา บางสถานการณ์ แต่ความไร้เหตุผลเหล่านั้นมิใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป เพราะความไร้เหตุผลมีประโยชน์กับตัวเราได้เช่นกัน ถึงแม้บางครั้งเรามองข้ามไปแต่หากเรามองให้ลึกซึ้งแล้วจะพบว่าความไร้เหตุผลนั้นบางครั้งจะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เราอยู่ได้ ดังที่ Dan Ariely ได้กล่าวไว้ในหนังสือ

                2) ประสบการณ์ความเจ็บปวดทั้งจากทางร่างกายและจิตใจ หรือประสบการณ์ที่ย่ำแย่ของชีวิตของคนเราหากตัวเรามองโลกในแง่ดี จะสามารถที่จะเปลี่ยนจากวิกฤติ ให้เป็นโอกาสได้ และจะช่วยให้ปรับตัวเข้ากับสังคมอย่างมีความสุขได้

                และที่สำคัญ...

                3) ทำให้เข้าใจเหตุผลและข้อดีของความไร้เหตุผลที่เป็นธรรมชาติของคนทุกคนอย่างแท้จริงโดยที่หากเราเข้าใจแล้วจะสามารถหาทางรับมือหรือจัดการกับความไร้เหตุผลเหล่านี้ในทางที่สร้างสรรค์และลดผลกระทบเชิงลบต่อตัวเองและสังคม แทนที่จะพยายามหาทางเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนได้ ดังคำกล่าวของ “อริสโตเติล”  ที่ว่า “1) จงทำกับคนเนในสิ่งที่เราอยากให้คนอื่นทำกับเรา และ   2) จงหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ กับคนอื่น ในสิ่งที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา
                ดังนั้น การอยู่ร่วมกันระหว่างบุคคลในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ ผู้ตาม ย่อมต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ร่วมงานกันได้ แต่การที่จะปรับตัวได้ดีนั้นทุกฝ่ายจะต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน คือ รู้และเข้าใจถึงความคาดหวัง / ความต้องการของกันและกันผู้นำต้องเข้าใจด้วยว่าผู้ตาม / ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการสิ่งใดจากการทำงาน ผู้ตาม / ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็ต้องเข้าใจด้วยเช่นกันว่า ผู้นำ / ผู้บังคับบัญชาคาดหวัง/ต้องการสิ่งใดจากการบริหารงาน ซึ่งหากทั้งสองระดับเข้าใจซึ่งกันและกันด้วยดีแล้วย่อมนำพาองค์กรเดินทางไปสู้จุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น

 

จากการวิพากษ์ วิจารณ์หนังสือเรื่อง The upside of Irrationality เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2553 โดยมีท่านอาจารย์อนุรัตน์ ก้องธรนินทร์ และคุณทอม (สัณฐิติ) เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ผลที่ได้จากการวิจารณ์และสามารถหยิบเอาประโยชน์จากการร่วมกันวิจารณ์หนังสือเรื่อง The upside of Irrationality อาจอนุมานได้ว่า “เงิน” ไม่สามารถใช้ได้ดี หรือมีประสิทธิภาพตามความต้องการ กับผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และผู้ที่มีประสบการณ์ได้ และยังทำให้เห็นคำว่า มูลค่า ซึ่งนำไปสู่ การเพิ่มมูลค่า จนกระทั่งถึงคำว่า คุณค่า และมูลค่าของความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์เป็นสุดยอดของสิ่งมีชีวิตในทุกๆ เผ่าพันธุ์ เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวเองได้เป็นอย่างดี ภายใต้สภาวการณ์ต่างๆ การตัดสินใจต่างๆ ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึก มากกว่าความมีเหตุผล ซึ่งถ้ามนุษย์มีจิตรู้สำนึกที่เป็นบวก การตัดสินใจของมนุษย์ก็จะตัดสินใจภายใต้จิตใต้สำนึกที่เป็นบวก ในทางตรงกันข้ามถ้า Input จิตรู้สำนึกที่เป็นลบมนุษย์ก็จะตัดสินใจภายใต้จิตใต้สำนึกที่เป็นลบ ทั้งนี้ผมยังชอบวลีของ Joseph Stalin ประโยคหนึ่งในหนังสือเล่มนี้คือ “One man’s death is a tragedy, but a million deaths is a statistic.” จากประโยคนี้อีกเช่นกัน เราจะมองเห็นได้ว่า “มนุษย์ ก็ไม่มีเหตุผลเสมอไป” เช่นกัน ทั้งยังทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ เช่น เหตุผลของการตัดสินใจระยะสั้น เพื่อให้ระยะยาวได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งบางกรณีของการตัดสินใจ ณ เวลาปัจจุบัน อาจจะมองไม่เห็นประโยชน์ ณ ปัจจุบัน แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ประจักษ์ได้ในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะเขียนยกตัวอย่าง และพูดถึงเรื่องส่วนตัวมากไปหน่อย และอาจมีนักวิชาการบางส่วนโต้แย้งแนวความคิดของผู้เขียน แต่สำหรับผมแล้ว มองว่าเป็นความท้าทายอย่างแรง กับ “แนวคิดดั่งเดิม” ของ “นักพัฒนาจิตวิทยาทรัพยากรมนุษย์” และ/หรือ อาจมีบทพิสูจน์ต่อยอดสำหรับอนาคตของสังคมมนุษย์ก็เป็นได้ครับ

ผมมีเรื่องสั้นมาฝากครับ....เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปนั่งทานอาหารญี่ปุ่นที่ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต ปทุมธานี หลังจากได้ไปช่วยเพื่อนวางระบบโรงงานแถวอยุธยา ในขณะที่ผมทานอาหารอยู่นั้น มีร้านๆ หนึ่งจุดประกายให้ผมได้มีความคิดว่า “นี่ถ้าคนไทย 20 เปอร์เซ็นต์ คิดได้อย่างนี้ ผมว่าอนาคตประเทศไปได้ดีกว่านี้แน่” เพราะมีร้านหนึ่งชื่อ “K.N. Shoku Sushi” กล่าวคือ ร้านดังกล่าวเป็นร้านที่อยู่บริเวณทางเดินในห้างฯ ผู้ซื้อจะต้องห่อกลับบ้านเท่านั้น ขายดีมากจนน่าให้สรรพากรเข้าไปตรวจสอบภาษีครับ ทำไมผมถึงบอกว่าถ้าคนไทยคิดได้อย่างนี้ อนาคตประเทศสดใสแน่ ก็เพราะเขาเอาข้าวมาปั้นเป็น Sushi แล้วขายอันละ 5 บาท ลองคิดดูซิครับข้าวไทยกิโลกรัมละ 25 บาท เอามาแปลงร่างเป็น Sushi ขายคำละ 5 บาท จะช่วยให้ GDP ของประเทศอยู่ที่เท่าไหร่ ใช้ระยะเวลาขายตั้งแต่ 10.00 น. ถึงประมาณ 20.00 น. สินค้าหมด? ไม่มีการทำเพิ่ม จะซื้อต้องรอพรุ่งนี้ สาเหตุที่ผมนำมาเล่าให้ฟังเพราะ มองว่าของทุกอย่างที่เรามีอยู่นั้น จริงๆ แล้วมันมีมูลค่าในตัวมันเองทั้งสิ้น เพียงแต่เรา พวกเรา และทุกๆท่าน จะมีกรรมวิธีในการเพิ่มมูลค่าได้แค่ไหน ซึ่งก็สอดคล้องกับคำกล่าวของอาจารย์จีระ ที่กล่าวถึงบ่อยๆ จนพวกเรารู้สึกกระตุ้นต่อมความคิดเสมอๆ ว่า Value และ Value Add ครับ.

จากการวิพากษ์ วิจารณ์หนังสือเรื่อง The upside of Irrationality เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2553 โดยมีท่านอาจารย์อนุรัตน์ ก้องธรนินทร์ และคุณทอม (สัณฐิติ) เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ สรุปได้ว่า การทำงานของคนเรา ต้องมีสิ่งจูงใจ เพื่อเพิ่มกำลังใจในการทำงานเช่น โบนัส แต่ใช่ว่าจะให้มากงานจะดีเสมอไป เพราะใช่ว่า คนเราจะต้องการเงินอย่างเดียว แต่ต้องการปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นเพื่อนร่วมงานที่ดี บรรยากาศแห่งการทำงานที่ดี ซึ่งรองรับโดย ทฤษฎี Yerkes and Dodson’s ได้แบ่งกลุ่มคน เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกโบนัสมากทำงานได้มาก กลุ่มสองได้โบนัสเยอะผลงานมากในระยะแรก แต่พอถึงในระยะหนึ่งผลงานก็อยู่คงที่ และกลุ่มสุดท้าย โบนัสยิ่งมากผลงานก็ตกลง คงเป็นเพราะเครียดมากเกินไปจึงทำผลงานได้ไม่ดี รวมทั้งการประเมินผลงานสูงเกินไปผลที่ได้จะไม่ตรงกับความเป็นจริง

On Sunday, 22 August 2010, we have discussed and shared the interesting points with each other from the book on “The upside of Irrationality” containing 11 main chapters written by Dan Ariely. to assign the work, all students are required to read and analytically think through certain chapters for each; hence I have taken care of last two chapters talking about (i) The Long-term Effects of Short-Term Emotions, (ii) The Lesson from Our Irrationality.

The Long-Term Effects of Short-Term Emotions: the writer describes many important aspects which presented his personal experiences on the emotions from severe accident caused him a long-term suffering. Basically the negative emotion or feeling and positive emotion can be a very good lesson for one’s decision making through direct experiences, either negative or positive. Of course, in daily life one usually gets attached to something positive and rejects something negative. However, both can teach us how to solve problems effectively with good reason and right understanding of the fact if one is enough mindful of all existing cases.

The Lesson from Our Irrationality: the writer presents logically concepts of belief, which he emphasizes the truth or the real thing in terms of experiment as they really are, which one may experience by himself or herself. Furthermore, as said that “Everything can be tested and experienced by oneself based on the truth”, as English saying that “Seeing is believing”. To this point of view, in Buddhism there are ten principles for investigating thoroughly the truth before believing and how to deal with doubtful matters; advice on how to investigate all things in life, as contained in the Kalamasutta as follows:

1. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา

(Be not led by report)

2. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา

(Be not led by tradition)

3. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ

(Be not led by hearsay)

4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์

(Be not led by the authority of texts)

5. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก

(Be not led by mere logic)

6. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน

(Be not led by inference)

7. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล

(Be not led by considering appearances)

8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว

(Be not led by the agreement with a considered and approved theory)

9. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้

(Be not led by seeming possibilities)

10. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

(Be led not by the idea, ‘This is our teacher’)

The advantages gained from group discussion:

-Understand the way of life, the problems of life through the writer’s personal experiments presented in his work.

-Understand the reality of social work and the way how to solve it successfully.

-Getting more knowledge by way of group discussion on the real factors in society both negative and positive factors for life lesson.

-Sharing reasonable ideas and social experiences with others.

-Consisting of many useful factors can be applied in our life with good reason.

Etc.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท