ปฏิบัติการเกียรติยศสู่ยอดเขา Everest:ประเด็นการจัดทำโครงงานที่น่าสนใจ


การจัดทำโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
 

ในช่วงต้นเดือนกันยายน จนถึงปัจจุบัน(21 ตุลาคม 2550)ทุกท่านที่นั่งดูโทรทัศน์ได้ชมคนไทยกลุ่มหนึ่งที่ร่วมกันปฏิบัติการเกียรติยศสู่ยอดเขาEverestกับการโฆษณาที่ใช้ไขเป็นสื่อการสอนแบบบูรณาการสอน  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้   ผมจึงหยิบเรื่องทั้งสองมารวมกัน.....แน่นอนครับยอดเขา Everestต้องต้องเรียนในสาระภูมิศาสตร์อยูู่่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา.... ยอดเขา Everestเกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลานามัย คือกีฬาไต่เขา  ความแข็งแรงของร่างกาย  การรับประทานอาหารในที่สูง   ยอดเขา Everestเกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ การสะท้อนของแสงที่ส่องธารน้ำแข็งเข้าตาผู้ไต่เขา  ยอดเขา Everestเกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะคือ ทิวทัศน์อันสวยงามของยอดเขาEverest ยอดเขา Everestเกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพ คือ อาชีพชาวเชอปาคนพื้นเมืองที่มีอาชีพเป็นลูกหาบและนำทาง  ยอดเขา Everestเกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์คือ  โอกาสของนักไต่เขาจะพิชิตยอดเขาสำเร็จ คิดเป็นร้อยละเท่าไร  หรือการแสดงกราฟแท่งระหว่างวันกับความสูงที่ไต่เขาได้  เหมือนกับโทรทัศน์การใช้ไข่ไหมครับ....... แต่การนำเสนอครั้งนี้ของผม...ผมสมมุติว่า...ผมเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา แล้วครูประจำวิชาให้นักเรียนทำโครงงาน......  และกลุ่มของผมขอเสนอโครงงานดังนี้

1)ชื่อโครงงาน      เจาะเวลาหายอดเขา Everest
2)ชื่อกลุ่มผู้รับผิดชอบโครงการ         ศน.เรียนรู้
       1.นายโชคชัย  สิรินพมณี     ตำแหน่ง  ประธาน 
       2.นายวัชระธรรม  จอมสืบ   ตำแหน่ง  รองประธาน
       3.นายสุรเดช  ธัญรดาวงศ์   ตำแหน่ง  เลขานุการ 
3)สถานศึกษา  โรงเรียนแห่งการเรียนรู้
4)ที่ปรึกษา    นายสมรักษ์  ถวาย
5)วัตถุประสงค์    เพื่อค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวกับความเป็นมาของยอดเขา Everest
6)ระยะเวลาดำเนินการ  1 - 20 ตุลาคม 2550
7)สาระสำคัญของโครงงาน
        ยอดเขา Everestเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในโลกมีความสูง 29,000 ฟุต(8.6กิโลเมตร)อยู่ในประเทศเนปาล  ยอดเขา Everestเป็นความฝันของนักไต่เขาที่จะอยากพิชิต ตั้งแต่ ค.ศ.1953 จนถึงปัจจุบันมีนักไต่เขาจากทั่วโลกมุ่งพิชิตยอดเขา Everest เกือบ 6 พันคนและที่ประสบความสำเร็จมีเพียงพันกว่าคนเท่านั้น ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2550 มีคนไทยกลุ่มหนึ่งจัดทำโครงการปฏิบัติการเกียรติยศสู่ยอดเขา Everest กลุ่มของข้าพเจ้าได้ติดตามรายงานความก้าวหน้าของการเดินทางของคนไทยกลุ่มดังกล่าว  จึงสนใจที่จะศึกษาการเกิดของเขา Everest ตั้งแต่อตีดจนถึงปัจจุบัน
8)การศึกษาปฏิบัติการเกียรติยศสู่ยอดเขา Everest  กลุ่มของข้าพเจ้าศึกษาเฉพาะการเกิดยอดเขาEverest ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางกายภาพได้แก่ธารนำ้แข็งและภูมิอากาศเท่านั้น

 9)ผลการศึกษาค้นคว้า
     การเปลี่ยนแปลขอลเปลือกโลกมีวิวัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไปมานับร้อยล้านปีและเกี่ยวข้องกับทฤษฎีต่างๆมากมาย...ก่อนอื่นต้องการถึงลักษณะของเปลือกโลกที่มีความหนาประมาณ 5-9 กิโลเมตร
นั้น  ลอยอยู่บนของเหลวที่เรียกว่าแมกม่าและสภาพทวีปต่างๆที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้   เมื่อประมาณ  225  ล้านปี ที่ผ่านมานี้รวมกันเป็นมหาทวีป(Super Continental)ที่เรียกว่า Pengea  และทวีปต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งอธิบายด้วยทฤษฎีต่างๆ   ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของแม่เหล็กโลกโบราณ(Peleomagnetism)ที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงขั่วแม่เหล็กโลกตั้งแต่โบราณ     การเปลี่ยนแปลงของแม่เหล็กโลกเป็นสาหตุของการเปลี่ยนแปลงของการเรียงตัวของแร่และหินที่มีส่วนประกอบของแร่เหล็กเป็นหลักที่เป็นสาเหตุการเคลื่อนที่เปลือกโลก
     สำหรับการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกมี  2  ทฤษฎีที่สำคัญ คือ ทฤษฏีการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีป(Continental Drift)กับทฤษฎีการแผ่กว้างของพื้นมหาสมุทร(Seafloor Spreading)ที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทวีป โดยหลักฐานทางกายภาพของเปลือกโลกที่บ่งบอกว่าเคลื่อนที่แยกจากกันคือด้านตะวันออกทวีปอเมริกาใต้กับด้านตะวันตกของทวีปอาฟริกา  เมื่อนำมาประกบกันจะเข้ากันได้พอดี   โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของทั้งสองส่วนแล้วมีอายุในยุคเดียวกัน  ซึ่งพอจะเชื่อได้ว่าทั้งสองส่วนเคยติดกันมาก่อน  ดังรูป

 
 

      ตามทฤษฎีContinental Drift และSeafloor Spreading นั้นอธิบายลักษณะเปลือกโลกว่ามี  2  ลักษณะ คือเปลือกโลกที่เป็นแผ่นดิน(Continental Plate)กัฐเปลือกโลกที่เป็นแผ่นพื้นมหาสมุทร(Oceanic Plate)และยังอธิบายถึงแผ่นพื้นมหาสมุทร  แผ่นพื้นมหาสมทร  เมื่อมีการเคลื่อนที่ไปแล้วจะมีการชนกัน  การมุดตัวลงใต้พื้นผิวโลก   ตามทฤษฎีได้กล่าวถึงการชนของพื้นผิวโลกไว้  3  รูปแบบ คือ

      1)แผ่นพื้นมหาสมุทรชนกับแผ่นพื้นมหาสมุทรจะเกิดเกาะกลางมหาสมุทร ซึ่งบางครั้งยังมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ  เช่นบริเวณประเทศอินโดนีเซีย 
     
        2)แผ่นพื้นมหาสมุทรชนกับแผ่นพื้นทวีป จะมเกิดภูเขาหรือภูเขาไฟใกล้ทวีป เช่นทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศเปรู 
       3)แผ่นพื้นทวีปชนกับแผ่นพื้นทวีปจะเกิดภูเขาสูง  ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยที่เป็นที่ตั้งของยอดเขาEverestนั้นเกิดจาการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปอินเดีย เคลื่อนที่มาชนกับแผ่นทวีปเอเซียที่รอรับอยู่(ปัจจุบันแผ่นอินเดียก็ยังเคลื่อนที่อยู่  ทำให้ภูเขาหิมาลัยสูงขึ้นเรื่อยๆ)  ดังรูป

   

               การเคลื่อนที่ของแผ่นพื้นมหาสมุทร      การมุดตัวของแผ่นพื้นทวีป

       การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเนื่องจากหินหนืดหรือแมกม่าที่ถูกส่งพลังงานจากแกนกลางโลก  พาแผ่นพื้นเปลือกโลกไปแล้วมุดตัวลงใต้เปลือกโลกอีกแผ่นพื้นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Comvectional Cell  วิวัฒนาการของเปลือกโลกมีมาตั้งแต่ 225 ล้านปีล่วงมาแล้ว จนถึงปัจจุบัน ดังนี้    

 

         เปลือกโลกในยุคเพอร์เมี่ยน(Permain)ทวีปยังติดกันทั้งหมด เรียกว่า Pengea

 

        ในช่วงยุคไทรแอสสิก(Triassic)อายุประมาณ 180 ล้านปีที่ผ่านมา  ทวีปยุโรปยังติดกับทวีปเอเซียเรียกว่า Laurasia ทวีปอเมริกาใต้        อาฟริกาและอินเดียอยู่ติดกัน เรียกว่า Gondwana (อินเดียอยู่ติดกับประเทศโมซัมปิกปัจจุบัน)

 

     ยุคครีเตเซียส(Cretaceous)อายุ 65 ล้านปีล่วงมาแล้ว  ทวีปอเมริกาใต้และทวีปอาฟริกาแยกห่างจากกัน  แผ่นพื้นอินเดียเข้าใกล้ทวีปเอเซีย

 

      สภาพทวีปในปัจจุบัน แผ่นพื้นทวีปอินเดียมาชนกับทวีปเอเซีย  ซึ่งปัจจุบันก็มีการเคลื่อนที่อยู่ทำให้ยอดเขา Everestlสูงขึ้น ประมาณปีละ 10 เซนติเมตร

      ปัจจัยทางกายภาพอื่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยอดเขาEverest ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็งและภูมิอากาศนั้น  ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า  การจัดอากาศของโลกตามKoppen  นั้น  ประเทศเนปาลจัดอยู่ในพวกCwa  (C หมายถึงอากาศอบอุ่น w หมายถึงฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง a หมายถึงเดือนที่มีอากาศอบอุ่นมีอุณภูมิเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส)  สำหรับบริเวณที่จะมีธารนำ้แข็งได้นั้นต้องอยู่ในอากาศแบบE(Ice Clamateหมายถึงอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า  10 องศาเซลเซียส) แต่ยอดเขาEverestที่อยู่ในเขตอบอุ่นแต่มีธารนำ้แข็งและหิมะตลอดปี  เนื่องจากอยู่สูงประมาณ 29,000 ฟุต หรือเกือบ 9 กิโลเมตร และมีความสูงถึงเขตหิมะ(Snowline)ซึ่งมีความสูงตั้งแต่ 15,000 ฟุต ถึงแม้จะอยู่เขตร้อนก็มีหิมะตก การมีธารน้ำแข็งและการเปลี่ยนแปลงของธารนำ้แข็งบริเวณยอดเขาต่างๆของเทือกเขาหิมาลัยนานนับล้านๆปี  ทำให้ยอดเขาต่างๆมีลักษณะแหลม(horn)ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของยอดเขาEverest

10)สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
      จากโครงงานเจาะเวลาหายอเขาEverestนั้น  ได้รับองค์ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกที่มีแนวคิดที่อธิบายด้วยทฤษฎีที่มีการศึกษาโดยอาศัยข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่อธิบายถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

11)ข้อเสนอแนะ
    ควรมีการศึกษาด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อาชีพ ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติและพืชพรรณธรรมชาติของประเทศที่เกี่ยวข้อง

     

หมายเลขบันทึก: 140648เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2007 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดี ค่ะ ท่าน ศน.

วันนี้โชคดี เข้ามาอ่านได้ความรู้จากบล็อกของท่าน ขออนุญาตินำไปใช้นะค่ะ  เพราะตรงกับที่สอนพอดี

จะติดตามผลงานท่านต่อไปค่ะ  และถ้าคิดอะไรไม่ออก ก็จะบอกท่าน ศน.ค่ะ  อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท