โคเลสเตอรอล ไม่ใช่ไขมัน


คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโคเลสเตอรอลเป็นสิ่งเดียวกับไขมัน

 โคเลสเตอรอล ไม่ไช่ไขมัน(Fat) แต่คือ ไข (Wax) โคเลสเตอรอลเป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ ส่วนพืชทุกชนิดนั้นไม่มีโคเลสเตอรอล ดังนั้นกะทิซึ่งทำมาจากมะพร้าวจึงไม่มีโคเลสเตอรอล  อย่างไรก็ตามถึงกะทิจะไม่มีโคเลสเตอรอล แต่อุดมไปด้วย ไขมันอิ่มตัว (ซึ่งจะเล่าต่อไป) โคเลสเตอรอลนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกาย  โดยพบได้ทุกเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะบริเวณผนังเซลล์ (Cell wall) นอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตกรดน้ำดี(bile acid) เพื่อใช้ในการดูดซึมไขมัน และ วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น วิตามินดี เข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร  สารโคเลสเตอรอลที่เราพูดถึงนั้นไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ดังนั้นไขขาว ๆ  มัน ๆ เป็นชั้น ๆ บนเนื้อสัตว์ อันนั้นเค้าเรียกกันว่า ไขมัน (Fat) ซึ่งต่างจากโคเลสเตอรอล โคเลสเตอรอลที่เราพบในสัตว์ ก็ได้แก่บริเวณเนื้อของสัตว์(Meat), ปลาทุกชนิด, เป็ด, ไก่, ไข่แดง, นมที่ได้จากสัตว์ ส่วนอาหารที่เป็นพืช เช่น ผัก, กะทิ, ถั่ว, ทุเรียน เป็นต้น ไม่มีโคเลสเตอรอลทั้งสิ้น

                โคเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหารไม่ได้แปลงไปเป็นโคเลสเตอรอลในเลือดโดยตรง โคเลสเตอรอลนั้นต่างจากสารอาหารอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุหรือสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ที่ต้องได้รับจากการบริโภคเท่านั้น แต่โคเลสเตอรอลเป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง โดยเซลล์ในร่างกายของคนเราสามารถผลิตได้เล็กน้อย แต่แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ ตับของคนเรานั่นเองประมาณวันละ 800-1500 มิลลิกรัมต่อวัน

 ในคนที่มีสุขภาพดีนั้นร่างกายจะมีการควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือดโดยหากกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลจากอาหารมากไป ร่างกายก็จะลดปริมาณการสร้างโคเลสเตอรอลลง ในขณะที่ในบางรายที่กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลน้อยไปเช่น คนที่กินอาหารไม่ได้, คนป่วยที่มีปัญหาในการดูดซึมของกระเพาะอาหาร เป็นต้น ร่างกายก็จะทำการสร้างโคเลสเตอรอลมากขึ้นทดแทน   

อธิบายง่าย ๆ ดังนี้

ร่างกายจะนำสารโคเลสเตอรอลไปในกระแสเลือดผ่าน ไขมันในรูปที่เรียกว่า Low-density lipoproteins (LDL-C) อย่างไรก็ตามโรคที่เกิดขึ้นนั้นก็เกิดจากมีโคเลสเตอรอลในเลือดที่มากเกินความต้องการของร่างกาย 

อย่างไรก็ตามโคเลสเตอรอลก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในบรรดาปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ หรือการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น  โดยปริมาณ LDL-C ที่มากอาจจะมีโนวโน้มที่จะเข้าไปอยู่ในผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดมีขนาดแคบลง จนเกิดการอุดตันได้

หมายเลขบันทึก: 176796เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2008 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ครับ ขออนุญาตนำไปรวมครับ ขอบคุณมากครับ........................รวมตะกอน

อ๋อ...ได้ตามมาอ่านต่อ...ก็ถึงบางอ้ออีกครั้งค่ะ...

ขอบคุณสำหรับการ ลปรร. และความรู้ที่มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท