ประโยชน์ของตัวบ่งชี้


บอกสภาพของระบบการศึกษา

1.   ตัวบ่งชี้การศึกษาใช้บรรยายสภาพ และลักษณะของระบบการศึกษาได้อย่างแม่นยำเพียงพอที่จะทำให้เข้าใจการทำงานของระบบการศึกษาได้อย่างเป็นอย่างดี เปรียบเสมือนการฉายภาพระบบการศึกษา ณ จุดเวลาจุดใดจุดหนึ่ง

2.   ตัวบ่งชี้การศึกษาประเภทตัวบ่งชี้ค่าสมบูรณ์ หรือตัวบ่งชี้อิงตน ใช้ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาในช่วงเวลา ช่วงใดช่วงหนึ่งได้อย่างถูกต้องแม่นยำ การใช้ประโยชนในลักษณะนี้เปรียบเหมือนการศึกษาระยะยาว

3.   ตัวบ่งชี้การศึกษาประเภทอิงเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้สัมพัทธ์ใช้ศึกษาเปรียบเทียบระบบการศึกษาได้ทั้งที่เป็นการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ หรือการเปรียบเทียบระหว่างระบบการศึกษาของประเทศต่างๆ หรือการเปรียบเทียบสภาพระหว่างภูมิภาคในประเทศใดประเทศหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 272194เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

อยากให้ยกตัวอย่างให้เห็นด้วยครับ

น่าสนใจมากค่ะ ถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม

หรือตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ขอแนะนำให้ลองอ่านวิทยานิพนธ์ของ

คุณจิรัชฌา วิเชียรปัญญา นะคะ ที่ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องตัวบ่งชี้ค่ะ

มาลงชื่อรออ่านบทความเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ตอนต่อไปครับ น่าสนใจมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท