โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

การเรียนรู้วันที่ 1 สร้างพันธะทางใจ (Bonding) พร้อมปรับตัวเพื่อรับรู้ เรียนรู้


เมื่อมาแบบแปลกหน้ากันบ้าง ไม่แปลกบ้าง แม้จะเคยรู้จัก แต่ก็อึดอัดนะเมื่อได้รับการวางเงื่อนไขให้มาจับมือ จ้องตากัน

 บรรยากาศวันแรก

     เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันแรก ช่วงเช้าเป็นการแนะนำตัวให้รู้จักกัน บรรดากระบวนกรจากสถาบันขวัญเมือง นำโดย อ.ณัฐ (ขอเรียกย่อๆ นะคะ) เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของสถาบัน และแนวคิดในการทำงาน พร้อมทั้งแนะนำวิธีการเรียนรู้ และการมาอยู่ร่วมกันว่า เราควรฝึกทักษะเรื่องอะไรด้วยตัวเองบ้าง แน่นอนเรื่องของการสังเกต observing และ sensing เป็นสิ่งที่เหล่ากระบวนกรต้องไว

     ผู้นำกิจกรรมเรียกตัวเองว่า "กระบวนกร" ที่มาจากสถาบันขวัญเมือง เชียงราย วันแรกยังมีความขัดเขินกันอยู่ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน หรือระหว่าง อาจารย์ทั้งสามกับพวกเรา บางคนอาจจะคุ้นเคยเพราะเคยเข้าเรียนแบบสามวันมาแล้ว  แต่สำหรับเรากว่าที่จะรู้สึกคุ้นก็ต้องดูท่าทีว่ามาแบบไหน อาการนี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่ต้องมาพบการเรียนรู้ใหม่ๆ ไม่แน่ใจว่าคนอื่นจะมีอาการแบบนี้หรือไม่ แต่จากเหตุนี้เองที่ทำให้เราเข้าใจบทเรียนต่อไปมากขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเองจริงๆ

      ในช่วงบ่ายมีการนำนอน อันนี้ก็ไม่ค่อยคุ้น รู้สึกเหมือนเป็นเด็กอนุบาลแล้วมีคนมากล่อมให้นอน ความเป็นคนเคยชอบนอนกลางวัน ก็เลยไม่ได้รู้สึกว่าต้องฝืนใจมากมายแต่อย่างใด ท่านกระบวนกรให้เหตุผลดีมาก ซึ่งเราก็เห็นด้วยว่า ช่วงบ่ายคนมักง่วงนอนหลังอาหาร ฝืนเรียนกันไปก็หมดพลังทั้งคนสอน คนเรียน

 

   พอตื่นนอนแล้ว ต่อไปก็ต้องกระตุ้นด้วยการทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว หลายคนแม้แต่ตัวเองก็ไม่คุ้นกับวิธีการเดินแล้วเต้นไปด้วยพร้อมจังหวะเพลงที่แปลกหู มันยังขัดเขิน

   ต่อมาเป็นกิจกรรมที่เริ่มสร้างให้พวกเรามี Bonding  แม้บางคนจะเคยเห็นหน้าแต่ไม่เคยพูดคุยกันก็มี รู้จักแบบผิวๆ ก็มี ต้องมาทำความรู้จักกันมากขึ้นเป็นคู่ๆ ในกิจกรรมนี้เน้นคำว่า ปลอดภัยค่อนข้างมาก ต้องทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความผูกพันกันก่อน จึงจะรู้สึกปลอดภัยพอที่จะกล้าเผยความในใจของตัวเองออกมา

 

      จากกิจกรรมที่ทีมกระบวนกรจัดให้พวกเรานั้น เป็นการฝึกสร้าง bonding โดยผ่านทางตา และการสัมผัส  ในช่วงของการสัมผัสเป็นช่วงที่สร้างความไว้วางใจเฉพาะภายในคู่ของเรา ที่เราจะปล่อยให้เขานำพาเราไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่เรามองไม่เห็น หรือไม่เคยเห็นมาก่อน

   เมื่อเสร็จจากการทำกิจกรรม เป็นธรรมเนียมที่ต้องกลับมาสะท้อนความคิด (Reflection) สรุปแล้วต้องเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกันก่อน จึงจะรู้สึกปลอดภัยที่จะเปิดใจรับ หรือกล้าเปิดเผยตัวตนให้ผู้อื่นรับรู้ความคิดของเรามากขึ้น  เหมือนคุณครูที่ต้องทำให้เด็กรักชื่นชอบ เด็กจึงจะอยากเรียนหนังสือกับคุณครูคนนั้น  ยังจำได้ว่าตอนเด็กไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ แม้ว่าคะแนนสอบออกมาจะพอไปได้ แต่ไม่อยากเรียนเพราะครูก็ดุ แม่ก็ดุ เวลาสอนการบ้าน แต่เมื่อมาพบครูที่สอนสนุก ใจดี ช่วงประถมตอนปลาย ทำให้เราเปลี่ยนใจหันมาชอบคณิตศาสตร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

        หลังอาหารเย็นมีการสอนเรื่อง content context  สภาพแวดล้อมมีผลต่อการเรียนรู้  ลืมบอกไปว่าพวกเรามีเบาะรองนั่งเป็นหมอนอิงสำหรับนั่งเรียนกับพื้นกันทุกคน ทำให้บางคนทนเมื่อยไม่ไหว ไหลเลื่อนลงไปนอนกองกับพื้นก็หลายคน นี่ก็เป็นบทพิสูจน์ความสามารถของกระบวนกรอีกบทหนึ่ง ที่ทำให้เราเฝ้าสังเกตว่าท่านจะจัดการกับสภาพการณ์แบบนี้อย่างไร

 

        สรุปว่าวันแรก หลักๆ จะเน้นเรื่องของความปลอดภัย ประสบการณ์การเปิดรับ เรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ  และการสร้างพันธะทางใจกันนั้นต้องผ่านประสาทสัมผัสทางตา ทางกาย โดยทั้งสองฝ่ายต้องเปิดเข้าหาหันในช่วงเวลาที่เหมาะสม

        

 

 

คำสำคัญ (Tags): #bonding#dialogue
หมายเลขบันทึก: 167013เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Key learning : Initiate "Bonding" to build  "Trust"  right ??? 

The challenge : If we already have "Negative Bonding" with someone, How can we restore "Trust" ???

Dear KP

Personally, negative bonding is not bonding. We cannot build trust without good relationship and acceptance.

As our work experience, it is easier to open someone's heart and mind to accept new matter if we have good relationship and then he is ready to open his will.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท