027 : เจาะลึก พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ (4) จบ


 



เมื่อได้เยี่ยมชมภายในอาคารช้างเอราวัณอย่างเต็มอิ่มแล้ว ก็ถึงเวลาออกมาสำรวจภายนอกโดยรอบ

เหนือซุ้มประตูรอบนอกอาคารมีรูปสลักเทวดาประจำทิศทั้ง 8 ได้แก่ 

 

- ทิศอุดร (เหนือ) รูปพระศุกร์ทรงวัว 

- ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) รูปพระอาทิตย์ทรงสิงห์ 

- ทิศบูรพา (ตะวันออก) รูปพระจันทร์ทรงม้า 

- ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) รูปพระอังคารทรงควาย 

- ทิศทักษิณ (ใต้) รูปพระพุธทรงช้าง

- ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) รูปพระเสาร์ทรงเสือ

- ทิศประจิม (ตะวันตก) รูปพระพฤหัสทรงกวาง

- ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ (จริงๆ แล้วต้องเป็นรูปพระราหู แต่เนื่องจากเป็นดาวบาปเคราะห์จึงใช้รูปนารายณ์ทรงครุฑแทน)

 



พระเสาร์ทรงเสือ ทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)

 

ส่วนบริเวณโดยรอบของอาคารก็ยังมีจุดน่าสนใจที่สามารถแวะไปเยี่ยมชมเพื่อสักการะ

เก็บเกี่ยวความรู้  หรือผ่อนคลายอารมณ์อีกหลายจุด เช่น

 

รูปพระอินทร์ทรงช้าง

สักการะช้างเอราวัณ

[หมายเหตุ : นี่เป็นความเชื่อของผู้ที่มาสักการะ ไม่ได้เป็นจุดประสงค์ของผู้สร้างคือ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ แต่อย่างใด]

 

 

 

เลี้ยงเต่า & ปลาในสระน้ำ 

 


อุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และประติมากรรมลอยตัวรูปสัตว์หิมพานต์แทรกอยู่ตามจุดต่างๆ ในบริเวณรอบนอกอาคารช้าง

 

 

เจ้าหน้าที่กำลังทำความสะอาดประติมากรรมสัตว์หิมพานต์

 

 

  




ศาลาสักการะพระจำวัน ซึ่งมีพระพุทธรูปประจำวันเกิดสำหรับให้ผู้ที่ศรัทธาได้กราบไหว้สักการะ 



ศาลาช่างไทย

 

ช่างกำลังดุนลาย

 

    ศาลาช่าง ซึ่งมีงานศิลปะส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ และหากโชคดีอาจจะได้เห็นช่างกำลังสร้างสรรค์ผลงาน

ตัวอย่างผลงานศิลปะในศาลาช่างไทย รูปนารายณ์บรรทมสินธุ์

 

การกวนเกษียรสมุทร

 

 

เสร็จแล้วก็อาจจะแวะร้านขายของที่ระลึกซะหน่อย โดยหนังสือเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณก็หาซื้อได้ที่ร้านนี้

 

 

 

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณนับเป็นสถานที่ที่คนไทยสามารถอวดชาวโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ

แต่ในขณะเดียวกันเราก็ควรระลึกถึงจิตวิญญาณของผู้สร้าง คือ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์

ซึ่งต้องการให้ผลงานทั้งหลายของท่านไม่ว่าจะเป็นเมืองโบราณ ปราสาทสัจธรรม และพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแห่งนี้

เป็นสถานที่เรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังให้สร้างสังคมอารยะ

ดังที่ท่านเคยกล่าวอมตะวาจาไว้ว่า

“เคหะสถานบวกด้วยความรักก็คือ ครอบครัว

นครบวกด้วยความเป็นธรรมก็คือ สังคม

อิฐแดงกองพะเนินบวกด้วยสัจธรรมก็จะกลายเป็นโรงเรียน

สิ่งปลูกสร้างง่ายๆ บวกด้วยศาสนาก็จะกลายเป็นโบสถ์อันศักดิ์สิทธิ์

ความพยายามในหลายๆ ด้านของมนุษย์บวกด้วยความเที่ยงธรรมก็คือ อารยธรรม

เอาสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาบวกด้วยกัน ส่งเสริมเพิ่มพูนต่อไป แล้วบวกด้วยภาพไกล

ซึ่งมนุษย์ชาติจะได้รับการกอบกู้ไถ่โทษให้พ้นภาวะที่ต้องคอยห่วงใยในความขาดแคลน

โดยไม่ต้องไปแก่งแย่งต่อสู้กันอีกแล้ว

ท่านก็จะมีอนาคตอันสดใสแพรวพราว ที่เปี่ยมด้วยความหวังอันดีงาม”

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, ศรัณย์ ทองปาน และ วิยะดา ทองมิตร, พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ กับศรัทธาของผู้สร้าง, พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2548, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ISBN 974-484-135-4 (มีประวัติและข้อมูลการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณค่อนข้างละเอียด)

2. นิยดา หวังวิวัฒน์ศิลป์, เขาสร้างช้างที่ใหญ่โตได้อย่างไร..? (หนังสือเสริมความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณ์ฑ์ช้างเอราวัณสำหรับเด็ก)

3. ริมขอบฟ้า (ที่รฦกเนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ นายเล็ก วิริยะพันธุ์ ท.จ. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วั้ดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร 4 กันยายน 2544  และที่รฦกเนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ นางประไพ วิริยะพันธุ์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร 4 กันยายน 2544 – มีบทความเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของคุณเล็กและคุณประไพ วิริยะพันธุ์ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี)

4. ชีวิตและผลงาน เล็ก วิริยะพันธุ์ (มีบทความเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของคุณเล็กและคุณประไพ วิริยะพันธุ์ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี พร้อมภาพประกอบที่หากยากจำนวนมาก)


หมายเลขบันทึก: 276794เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เจริญพร โยมอ.บัญชา

ความเชื่อ ความเสื่อมใสของมนุษย์ไม่ว่าชาติไหน

ออกจะห้ามกันยากนะอาจารย์

เห็นภาพผู้คนมาสักการะแล้วคงทำให้สถานที่แห่งนี้สร้างอาชีพ

สร้างรายได้แก่ผู้คนมากมาย

เจริญพร

กราบนมัสการ หลวงพี่ พระปลัด ครับ

         ความเลื่อมใสศรัทธา หากนำไปสู่การกระทำที่ส่งผลบวก ก็น่าจะยินดีด้วยได้ครับ

         สถานที่แห่งนี้เป็นที่บันทึกแง่มุมหนึ่งของอารยธรรมมนุษย์ครับ

ยอดเยี่ยมมากค่ะพี่ ประติมากรรมที่นี่สวยจริง ยอมรับและทึ่งฝีมือมาก ปกติมักจะหนักไปทางวิจารณ์ว่าฝีมือไม่ดี สัดส่วนผิด รายละเอียดไม่พริ้วอะไรแบบนั้น แต่นี่สวยจนหาข้อติไม่ได้ มีข้อสงสัยว่าเขาใช้ปูนอะไร ซีเมนต์หรือปูนตำแบบโบราณ ถ้าเป็นปูนตำนี่ก็นับว่าใช้วิธีโบราณเต็มขั้น ได้ฟิลลิ่งงานโบราณ เพียงแต่มันจะไม่สะดวกเท่าปูนซีเมนต์

ส่วนงานสลักดุนหนูว่าฝีมือยังธรรมดา ยังไม่เข้าขั้นสวย สัดส่วนก็ยังไม่ดี คือเคยเห็นงานขั้นเทพมาแล้วเลยเปรียบเทียบได้ว่าสวยเป็นยังไงค่ะ : ) วิจารณ์ตรงไปตรงมานะคะพี่ สวยก็ชม ไม่สวยก็ติ

สวัสดีค่ะ

.ตามมาดูมาอ่านบันทึก และประทับใจคืองานศิลป ดิฉันมองแบบคนธรรมดาที่ไม่มีความรู้ทางศิลป ดิฉันว่าสวยสุดยอดค่ะ ถ่ายภาพมาได้คมชัดและละเอียดมากค่ะ

สวัสดีครับ ซูซาน

       เห็นด้วยครับกับงานสลักดุน คือ ยังไม่ค่อยได้สัดส่วนเท่าไร ดูเหมือนจะมีหลายคนทำครับ แต่ละคนอาจจะฝีมือเจ๋งไม่เท่ากันก็เป็นได้ (ในบันทึกก่อนหน้านี้ ดูเหมือนงานสลักดุนบนเสาจะดูดีกว่านี้เล็กน้อย ;-))

       ถึงตอนจบนี่ก็เก็บภาพมาฝากได้แค่บางส่วนเท่านั้น ถ้ามีโอกาสไปเยี่ยมชมของจริง ก็เก็บภาพมุมอื่นๆ มาฝากพร้อมคำวิจารณ์บ้างครับ อยากอ่านๆ ^__^

สวัสดีครับ อ.อุดมพันธ์

        ถ้ามีโอกาสแวะผ่านไปทางสมุทรปราการ ก็เข้าไปเยี่ยมเยียนสถานที่แห่งนี้ได้ครับ

:)มาเที่ยวชมพิพิทธภัณฑ์ช้างเอราวัณค่ะ

สวยมากๆค่ะ เคยผ่านไปหลายครั้ง ยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปเที่ยวเลย

แต่เคยไปปราสาจสัจธรรมแล้วค่ะ สวยงาม อลังการมาก

อมตะวาจาของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ก็สื่อถึงการใช้ชีวิตอย่างงดงาม

มีพลังและความนุ่มนวล

ชอบประติมากรรมช้างที่เล่นน้ำในสระค่ะ น่ารักดี^__^

ดูร่มรืน มีความสุขค่ะ

สวัสดีครับ คุณธารเมฆ

         ปราสาทสัจธรรมเป็นสถานที่ที่ผมชอบมากที่สุดในบรรดางานใหญ่ๆ ทั้ง 3 งานของคุณเล็กครับ (หมายถึง 1) เมืองโบราณ 2) พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ และ 3) ปราสาทสัจธรรม)

         เคยไปแล้ว 2 รอบ แต่ยังถ่ายภาพและศึกษาไม่จุใจ แต่ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาพอสมควรทั้งจากคนนำชมและนักวิชาการท่านหนึ่งใน สนพ.เมืองโบราณ

         ผมบันทึกไว้นิดหน่อย คิดว่าจะเพิ่มบ้นทึกใหม่อีกครับ

          001 : ท่องโลกแห่งจิตวิญญาณ ณ ปราสาทสัจธรรม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท