เพิ่มพลังแห่งชีิวิต


เพิ่มพลัง ยังชีวิต จิตสดชื่น           ทุกวันคืน รื่นรสสุข สนุกสนาน
ชีวิตเวียน เปลี่ยนไป ในชั่วกาล          ชอบคิดอ่าน รู้เท่าทัน พลันยั่งยืน

     สวัสดีครับ พี่ๆ นักเรียนรู้ทุกท่าน เวลานี้ก็ใกล้จะผ่านพ้นเดือนแห่งความรักแล้วนะครับ แต่ผมเชื่อว่ากลิ่นไอสายใยแห่งรักยังคงตราตรึงอยู่ในใจของทุกท่านเสมอมาครับ เนื่องในวันมาฆบูชาที่เวียนมาถึงนี้ ผมขอนำบทความธรรมะดีๆ จากหนังสือ "ชีวิตที่สร้างสรรค์ สดใส และสุขสันต์" โดย ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) เรื่ือง "เพิ่มพลังแห่งชีวิต" มามอบแก่ทุกท่านครับ

Creativebook

     โดยพระอาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ว่า "อายุ" นี้ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่าย ก็แปลว่า พลังหล่อเลี้ยงชีวิต หรือปัจจัยส่งเสริมที่จะหล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีความเข้มแข็ง และดำรงอยู่ได้ดีอย่างมั่นคง เพราะฉะันั้นอายุยิ่งมากก็ยิ่งดี ไม่ได้หมายความว่าเป็นช่วงเวลาของการเป็นอยู่ว่าอยู่มานาน แต่หมายถึงขณะนี้แหละ ถ้าเรามีอายุมากก็คือ มีพลังชีวิตมาก แสดงว่าเราต้องเข้มแข็ง เราจึงมีอายุมาก เพราะฉะนั้น ทุกคนในแต่ละขณะนี้แหละ สามารถจะมีอายุน้อยหรืออายุมากได้ทุกคน คนที่เรียกในภาษาไทยว่าอายุมาก ก็อาจจะมีอายุของชีวิตน้อยคือมีพลังชีัวิตน้อยนั่นเอง

    แต่เด็กที่เราเรียกว่าอายุน้อยก็อาจจะมีอายุมาก หมายความว่าแกมีพลังชีิวิตเข้มแข็งหรือมีปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างดี

   เพราะฉะนั้น ในภาษาพระ ความหมายของการมีอายุน้อยและอายุมาก จึงไม่เหมือนในภาษาไทย ในที่นี้เราพูดตามภาษาพระว่าอายุมากดี แสดงว่าชีวิตเข้มแข็ง เมื่ออายุมีความหมายอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องพยายามส่งเสริมอายุ ท่านจึงสอนวิธีปฏิบัติ คือธรรมะ ที่จะทำให้เรามีอายุมากหรือพลังชีิวิตเข้มแข็ง

    ถ้าพูดเป็นภาษาไทยว่าอายุมาก ก็อาจจะรู้สึกขัดหู ก็เปลี่ยนเสียใหม่ว่า มีพลังอายุหรือพลังชีวิตเข้มแข็ง

การที่จะมีพลังอายุเข้มแข็ง ก็ต้องมีวิธีปฏิบัติและวิธีทำก็มีหลายอย่าง หลักอย่างหนึ่งทางพระบอกไว้ว่าจะทำให้มีอายุยืน เริ่มด้วย

   1.  มีความใฝ่ปรารถนา หมายถึง ความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรที่ดีงาม คนเรานั้น ชีวิตจะมีพลังที่เข้มแข็งได้ ต้องมีความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรบางอย่าง และถ้าเรามีความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรที่ดีงาม หรือคิดว่าสิ่งนี้ดีงามเราจะต้องทำ ฉันจะต้องอยู่ทำสิ่งนี้ให้ได้ ความใฝ่ปรารถนานี้จะทำให้ชีิวิตเข้มแข็งขึ้นมาทันที พลังชีิวิตจะเกิดขึ้น

      ใจที่ใฝ่ปรารถนาจะทำสิ่งที่ดีงามสนั้น จะทำให้ชีวิตมีพลังขึ้นมาทันที นี้เป็นตัวที่หนึ่ง เรียกว่า "ฉันทะ" คือความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรสักอย่างที่ดีงาม ซึ่งควรจะให้เข้มแข็งหนักแน่น จนกระทั่งว่า ถ้านึกว่าสิ่งนั้นดีงามควรจะทำแท้ๆ อาจจะบอกกับใจตัวเองว่า ถ้างานนี้ยังไม่เสร็จ ฉันตายไม่ได้ ต้องให้แรงกล้า แล้วมันจะเป็นพลังที่ใหญ่เป็นที่หนึ่ง เป็นตัวปรุงแต่งชีวิต เรียกว่า อายุสังขาร

    อาุยุสังขาร แปลว่า เครื่องปรุงแต่งอายุ คือ หาเครื่องช่วยมาทำให้อายุมีพลังเข้มแข็งต่อไป ว่าฉันจะต้องทำโน่นต้องทำนี่อยู่ ถ้าอย่างนี้ละก็อยู่ได้ต่อไป

     นั่นคือ หากเรามีใจใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรดีงามแล้วตั้งมั่นไว้ ด้วยความแน่วแน่ และทำจริงๆ  จะช่วยเพิ่มพลังชีวิตเข้มแข็งขึ้นนั่นเอง

   2. มีความเพียรมุ่งหน้าก้าวไป พอมีใจใฝ่ปรารถนาจะทำสิ่งที่ดีงามนั้น ก็มุ่งหน้าไป คือมุ่งที่จุดเดียวนั้น เดินหน้าต่อไปในการเพียรพยายามทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ก็ยิ่งมีพลังแรงมากขึ้น ความเพียรพยายามมุ่งหน้าก้าวไปนี้เป็นพลังที่สำคัญยิ่ง

   3. มีใจแน่วแน่กับสิ่งที่อยากทำนั้น เมื่อแน่วแน่แล้วก็จดจ่อ จนถึงขั้นอุทิศตัวอุทิศใจให้ ท่านพระอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง คนแก่หรือคนที่มีอายุมากนั้น ถ้าไม่มีอะไรทำ

  1. มักจะนั่งคิดถึงความหลังหรือเรื่องเก่า
  2. รับกระทบอารมณ์ต่างๆ ลูกหลานทำโน่นทำนี่ ถูกหูถูกตาบ้าง ขัดหูขัดตาบ้าง ก็มักเก็บเป็นอารมณ์ ก็บ่นเรื่อยไป ใครก็อาจจะเศร้าหมอง

  แต่ถ้ามีอะไรจะทำชัดเจน ใจก็จะไปอยู่ที่นั่น คราวนี้ไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรเข้ามา หรือมีอารมณ์มากระทบ ก็ไม่รับ หรือเข้ามาเดี๋ยวเดียวก็ผ่านไป ก็สบายเพราะใจไปอยู่กับบุญกุศล หรือความดีที่จะทำ

    คนที่อายุสูง มักจะมีปัญหานี้ คือรับอารมณ์กระัทบ ที่เข้ามาตา ทางหู จากลูกหลานหรือคนใกล้เคียง แต่ถ้าทำได้อย่าวที่ว่ามานี้ ก็สบาย ตัดทุกข์ ตัดกังวล ตัดเรื่องหงุดหงิดไปหมด

   4. มีการคิดพิจารณาใช้ปัญญา เมื่อมีอะไรที่จะต้องทำแล้วและใจก็อยู่ที่นั่น คราวนี้คิดว่าจะทำอย่างไร มันบกพร่องตรงไหน จะแก้ไขอย่างไร ก็วางแผนคิดด้วยปัญญา

     ตอนนี้คิดเชิงปัญญา ไม่คิดเชิงอารมณ์แล้ว เรียกว่าไม่คิดแบบปรุงแต่ง แต่คิดด้วยปัญญา คิดหาเหตุหาผล คิดวางแผน คิดแก้ไข คิดปรับปรุง โดยใช้ปัญญาพิจารณา สมองก็ไม่ฝ่อ เพราะความคิดเดินอยู่เรื่อย

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ถ้ามีธรรม 4 ประการนี้แล้ว อยู่ไปได้จนอายุขัยเลย หมายความว่า อายุขัยของคนเราในช่วงแต่ละยุคๆ นั้น สั้นยาวไม่เท่ากัน ยุคนี้ถือว่าอายุขัย 100 ปี เราก็อยู่ไปให้ได้ 100 ปี ถ้าวางใจจัดการชีวิตได้ถูกต้องแล้วและวางไว้ให้ดี ก็อยู่ได้

     ธรรมะ 4 ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า อิทธิบาท 4 นั่นคือ

  1. ฉันทะ ความใฝ่ปรารถนาที่จะทำ คือความอยากจะทำนั่นเอง เป็นจุดเริ่มว่าต้องมีอะไรที่อยากจะทำ ที่ดีงามและชัดเจน
  2. วิริยะ ความมีใจเข้มแข็งแกร่งกล้ามุ่งหน้าพยายามทำไป
  3. จิตตะ มีใจแ่น่วแน่ จดจ่อ อุทิศตัวต่อสิ่งนั้น
  4. วิมังสา การไตร่ตรองพิจารณา ใช้ปัญญาใคร่ครวญในการที่จะปรับปรุงแก้ไขทำให้ดียิ่งขึ้นไป จนกว่าจะสมบูรณ์

  สี่ข้อนี้เป็นหลักความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ ถ้าผู้สูงอายุนำไปใช้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก แม้แต่ลูกหลาน หรือท่านที่อายุยังไม่สูง ก็ใช้ประโยชน์ได้ และควรเอาไปช่วยท่านผู้ใหญ่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายด้วย

   แม้เพียงแค่ข้อที่ให้ใจแน่วอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นบุญกุศล เช่นระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำไปแล้ว ว่าท่านได้ทำบุญทำกุศลทำความดีอะไรไว้ ลูกหลานคอยยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาพูด ทำให้ของปู่ย่าตายายอยู่กับสิ่งนั้นที่ดีงาม ไม่ให้ใจท่านไปอยู่กับเรื่องที่วุ่นวาย เืดือดร้อน ขุ่นมัวเศร้าหมอง ส่วนอะไรที่ทำให้ใจขุ่นมัวเศร้าหมอง พอมันจะเกิดขึ้น เราก็ใช้สติกันออกไปหมด แล้วก็หยุด

   สติเป็นตัวจับ เหมือนเป็นนายประตู พอมีอะไรที่ไม่ถูกต้องไม่ดีไม่งาม เราจะให้ตัวไหนเข้าตัวไหนไม่เข้า เราก็ใช้สตินั้นแหละจัดการ พอตัวไหนจะเข้ามา สติก็เจอก่อนเพราะเป็นนายประตู ตัวนี้ไม่ดีก็กันออกไป ส่วนอันไหนที่ดี ทำให้จิตใจดีงามเบิกบานผ่องใส ก็เอาเข้ามา สติก็เปิดรับ อย่างนี้ก็สบาย ชีวิตก็มีความสุขความเจริญงอกงาม

เมื่ออายุคืบหน้า เราก็เติมพลังอายุไปด้วย

  วันเกิดเป็นวันที่เราเริ่มต้น คือวันเิร่มต้นของชีวิตและในแต่ละปีถือว่าเป็นการเริ่มต้นในรอบอายุของปีนั้นๆ ที่สำคัญคือ ให้นำคติและความหมายของการเกิดนี้มาใ้ประโยชน์ ถ้าว่าทางธรรมแล้ว การเกิดมีอยู่ทุกเวลา และเราก็เกิดอยู่ตลอดเวลา ทั้งร่างกายของเรา และจิตใจของเรา หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม เกิดอยู่ทุกขณะ

    ในร่างกาย เรามีเซลล์เก่าและเซลล์ใหม่ มันเกิดต่อกันแทนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนในทางจิตใจ ทุกขณะมีการเกิด ทั้งเกิดดีและเกิดไม่ดี เมื่อโกรธก็เกิดความโกรธ เป็นการเกิดไม่ดี ถ้าเกิดความอิ่มใจขึ้นมาก็เกิดดี เรียกว่าเกิดกุศล เกิดเมตตา เกิดไมตรี เกิดศรัทธา เรียกง่ายๆ ว่า เกิดกุศล และเกิดอกุศล เพราะฉะนั้น วันเกิดจึงมีความหมายที่โยงมาใช้ปฏิบัติได้คือ ทำให้มีการเกิดของกุศล กุศลคือความดีงามต่างๆ เริ่มต้นที่ใจ เมื่อเกิดแล้วมันก็เข้าสู่ความคิด และออกมาสู่การพูดการทำ แล้วก็เจริญงอกงามต่อไป การเกิดของกุศลมีการส่งผลไปให้ตัวอื่นรับช่วงอีก เช่นเมื่อเราเกิดศรัทธาขึ้นมา เราก็อาจจะนึกอยากทำบุญทำกุศบล เรียกว่ามันเป็นปัจจัยแก่กัน ก็หนุนเนื่องกัน

     ฉะนั้น กุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม จึงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นปัจจัยต่อไปยังมีอีกตัวหนึ่ง อีกตัวหนึ่งตามมา ก็หนุนกันไปๆ คนที่ฉลาดในกระบวนเหตุปัจจัย จึงสามารถทำสิ่งที่ดีงามให้ขยายเพิ่มพูนได้มากมาย ทั้งหมดนี้รวมแล้วก็อยู่ในคำว่าเจริญงอกงาม

     วันเกิดจึงเป็นนิมิตในคติว่าเราจะต้องทำให้เกิดกุศลในใจอย่างนี้ เราจึงควรพยายามทำให้เกิดธรรมะเหล่านี้ เริ่มด้วยเกิดฉันทะ คือความใฝ่ปรารถนาจะทำในสิ่งดีงาม เกิดวิริยะ คือมีความเพียรมุ่งหน้าจะทำ และจิตตะ คือมีความแน่วแน่จดจ้องจะทำสิ่งนั้น และวิมังสา คือการใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองในเรื่องที่ทำนั้น

สร้างสรรค์ข้างใน ให้สอดคล้องกันกับสร้างสรรค์ข้างนอก

   ธรรมะอีกข้อที่ควรจะมีควบคู่กันไป พระพุทธเจ้าตรัสเสมอว่า ถือเป็นธรรมะคู่ชีวิตของทุกท่าน เหมือนอยู่ในใจท่านตั้งแต่ท่านเกิดขึ้นมา ถ้าใครทำได้ ชีวิตจะเจริญงอกงาม มีความสุขทุกเวลา และอายุก็จะยืน นั่นคือ

    1. ท่านให้มีความร่าเริงเบิกบายใจตลอดเวลา เรียกว่า ปราโมทย์ เป็นธรรมที่สำคัญมาก ถือเป็นธรรมพื้นจิต ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสเป็นธรรมบทว่า "ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ จักกระทำความสิ้นทุกข์ได้ ใครที่ใจมีปราโมทย์อยู่เสมอ จะหมดความทุกข์ บรรลุนิพพานได้"

   ใจที่จะไปนิพพานได้ต้องมีปราโมทย์ ถ้าไม่มีปราโมทย์ก็จะไม่ได้ไป เพราะฉะนั้น ต้องทำกับใจของตัวให้ได้ก่อน ใจมีปราโมทย์คือใจที่ร่าเริงเบิกบานแจ่มใส จิตใจที่ไปนิพพาน เป็นใจที่โล่งโปร่งเบา ไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง

    2. ปิติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้ม ข้อนี้เจาะลงไปในแต่ละเรื่องแต่ละกิจ เช่นทำอาหารถวายพระ เลี้ยงพระ ท่านได้ฉันแล้วมีกำลังไปปฏิบัติศาสนกิจ เท่ากับเราได้มีส่วนช่วยทำนุำบำรุงพระพุทธศาสนา เมื่อเรามองเห็นแล้วว่าที่เราได้ทำเป็นไปเพื่อผลดีอย่างนั้น นึกขึ้นมาก็อิ่มใจ ปลื้มใจ

     ฉะนั้นเมื่อมีปราโมทย์เป็นพื้นใจแล้ว ก็ให้มีปิติ ไม่ว่าจะทำอะไรทุกอย่างแม้แต่การทำงานทำการ เวลาทำงาน ใจของเราอาจจะเครียดได้ ใจไม่สบาย แต่ถ้าเรานึกไปไกลให้มองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นในทางที่ดี ปิติจะเกิด เกิดความอิ่มเอมในใจ

    3. ปัสสิทธิ แปลว่า ความผ่อนคลาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ต้องการกันมาก มันต้องข้ามกับความเครียด คนเดี๋ยวนี้ทำงานแล้วเครียด เพราะมีความกังวล เพราะโลภะ มีโทสะ มีความกระวนกระวาย อะไรต่างๆ มาก

       แต่ถ้าใจนึกถึงผลดีที่จะเกิดขึ้น ก็จะทำให้สบายใจ ไม่เครียดทำงานด้วยความผ่อนคลาย ใจก็สงบเย็น เป็นปัสสิทธิ พอใจผ่อนคลาย กายก็ผ่อนคลายด้วย กายกับใจนี่มีจุดบรรจบกันที่ปัสสิทธิ ถ้ากายเครียด ใจก็เครียด ถ้าใจเครียด กายก็เครียด ที่นี้พอใจผ่อนคลาย กายก็ผ่อนคลายด้วยเรียกว่า ปัสสิทธิ

   4. สุข  พอมีปราโมทย์ มีปิติ มีปัสสิทธิแล้ว ก็มีความสุข ซึ่งแปลง่ายๆ ว่าความฉ่ำชื่นรื่นใจ คือใจมันรื่นสบาย ไม่ิติดขัด ไม่มีอะไรบีบคั้น มันโล่ง มันโปร่ง มันสะดวก ตรงข้ามกับทุกข์ที่มันติดขัด บีบคั้น ขัดข้อง

   5. สมาธิ  เมื่อใจอยู่ตัวแล้ว และตั้งมั่น ไม่มีอะไรมารบกวน ไม่กระสับกระส่าย ไม่พุ่งพล่าน ไม่กระวนกระวาย ที่ว่าอยู่ตัว คือใจกำัลังคิดกำลังทำอะไร ก็อยู่กับสิ่งนั้น การที่ไม่มีอะไรมารบกวนได้เลย ใจอยู่ตัวตั้งมั่นเรียกว่า สมาธิ พอใจเป็นสมาธิ ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของสิ่งที่ดีงาม ธรรมที่เป็นกุศลก็มาบรรจบกันที่นี่หมด

ธรรมะทั้ง 5 ข้อนี้ ท่านเรียกว่า ธรรมสมาธิ คือความที่ธรรมะซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญมาแน่วรวมกัน เรียกว่าประชุมพร้อมกัน

    ต่อจากนี้ก็เกิดจิตตสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิแล้วก็เอามาใช้ชวนเชิญปัญญาให้มาทำงานได้ คือเอามาใช้เป็นบาทฐานของการคิด เมื่อจิตใจผ่องใส ก็คิดโล่ง คิดโปร่ง คิดได้ผลดี พระพุทธเจ้าจึงให้ใช้สมาธิเป็นฐานของปัญญาต่อไป หรือแม้จะทำงานทำการอะไร ใจเป็นสมาธิแล้วก็ทำได้ผลดี ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็จะเป็นการสร้างสรรค์อย่างครบวงจร ทั้งสร้างสรรค์ชีิวิตจิตใจ และสร้างสรรค์สังคมไปด้วยกัน พร้อมกัน สร้างสรรค์ข้างในสอดคล้องกันไปกับการสร้างสรรค์ข้างนอก

     ธรรมะทั้ง 5 ข้อนี้ เมื่อเกิดแล้ว ให้ประสานกับอิทธิบาท 4  เิริ่มด้วยใจปรารถนาจะทำอะไรที่ดีงาม คิดขึ้นมาให้ชัด แล้วมีความเพียรมุ่งหน้าไปทำมัน มีใจอยู่กับมัน และใช้ปัญญา คิดการพิจารณาเหตุปัจจัย ไม่มีอารมณ์วุ่นวายเข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อจิตใจไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวและเศร้าหมอง ก็ได้ผลดี ทั้งแก่ใจของเรา และแก่งานที่ทำ เกิดความเจริญงอกงาม

    เมื่อจิตใจของเราเจริญงอกงามแล้ว ชีวิตของเราก็เจริญไปด้วย เมื่อกุศลเจริญงอกงามในชีวิตของเราแล้ว เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีเมื่อขยายไปสู่ผู้อื่นก็เกิดเป็นความดีในการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อกัน ทำให้อยู่ร่วมกันได้ดี ทำให้เกิดความสามัคคีเป็นต้น สังคมก็จะร่มเย็นเป็นสุข

    ฉะนั้้น การเกิดกุศลจึงเป็นมงคลที่แท้ ซึ่งมีคุณมหาศาล ทั้งแก่ชีวิตของตนเอง และแก่เพื่อนมนุษย์ผู้อื่นที่ร่วมสังคม ทำให้อยู่ด้วยความมีสันติสุขต่อไป

   ......................................................................................................

    สิ่งที่ได้รับจากหนังสือเล่มนี้ มีคุณค่าอย่างมากสำหรับผมในเรื่องของการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และสดใจ เพิ่มพลังให้แก่ชีวิตด้วยวิถีทางธรรมะ ซึ่งกระผมใคร่ขอนำมาแบ่งปันให้กับนักเรียนรู้ทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 340463เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

อยากให้คนไทย ยุคนี้ได้อ่านบันทึกนี้จริงๆเชียว

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ณัฐ

ชีวิตที่สร้างสรรค์ สดใส และสุขสันต์

มาเรียนรู้ธรรมะ ในวันมาฆบูชาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • รู้เหตุ   รู้ผล  รู้ตน  มีสติ
  • สบายดีนะครับน้องเก่ง

ขอบคุณมากๆ ครับ น้องP♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'- คนเก่ง

  • หายไปเลยครับ พอเห็นคำว่า จองงง เนี่ย นึกถึงทุกทีครั้ง
  • เรื่องนี้เป็นบทความหนึ่งที่ให้ข้อคิดดีๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานหรือในชีวิตประจำวันได้ครับ เลยนำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันกันครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ น้องพอลล่าคงสบายดีนะครับ

ขอบพระคุณ พี่P ครูอ้อย แซ่เฮ ครับ

  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยือนและชมเชย ให้กำลังใจแก่ผมตลอดมานะครับ
  • เรื่องนี้เป็นบทความในหนังสือที่ผมอ่านแล้วเห็นว่าให้ข้อคิดได้ดีทีเดียว ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานหรือในชีวิตประจำวันได้ครับ เลยขอสิ่งดีๆ มาแบ่งปันกันครับ

น้องP ♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'-

  • ยินดีครับ เรียกว่า แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่กันดีกว่านะครับ เพื่อให้ชีิวิตสร้างสรรค์ สดใส และสุขสันต์ ในทุกวันครับ

ขอบพระคุณครับ พี่Pอาจา่รย์ก้ามกุ้ง

  • ขอบพระคุณที่ท่านอาจารย์ มอบภาพสวยๆ สิ่งดีๆ สร้างสรรค์กับบรรยากาศกับเีืรื่องราวในบทความครับ
  • ขอบพระคุณที่ท่านอาจารย์แวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจน้องเก่ง อยู่เสมอนะครับ

พี่ณัฐคะ พอลล่าคิดว่า

ใจเบิกบาน ปิติ มีสติ ปัสสิทธิ สุข สมาธิ เป็นลำดับขั้นเรียงกันมา เราเริ่มจากจิตที่เบิกบานก่อนใช่ไหมคะ

แต่ทำยากมากค่ะพี่

ต้องมาอ่านบันทึกพี่บ่อยๆ นะคะ

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทาย ได้อ่านบันทึกแล้วดีมาก ๆ ค่ะ สามารถมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เลยนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

เป็นหนังสือที่มีคุณค่าค่ะ

ขอบคุณที่นำมาเล่าสู่กันฟัง จะหาโอกาสไปหามาอ่านบ้างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

น้องP ♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'- ครับ

จากที่ผมเองได้อ่านมาขอตอบเป็นภาพดังนี้นะครับ

Pic1

Pic2

     ขอบพระคุณมากๆ ครับ ที่ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์นะครับ ผมคิดว่าบางที หากมองดูแล้วมันเนียนไปกับงานที่เราทำเลยครับ

ขอบพระคุณครับ อาจารย์P konara

  • เรื่องนี้เป็นบทความในหนังสือที่ผมอ่านแล้วเห็นว่าให้ข้อคิดได้ดีทีเดียว ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานหรือในชีวิตประจำวันได้ครับ เลยขอสิ่งดีๆ มาแบ่งปันกันครับ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจนะครับ

ขอบพระคุณครับ ท่านอาจารย์P คนไม่มีราก

  • ขอบพระคุณครับที่ท่านอาจารย์แวะมาเยี่ยมเยือนและชมเชยให้กำลังใจครับ
  • เรื่องนี้เป็นบทความในหนังสือที่ผมอ่านแล้วเห็นว่าให้ข้อคิดได้ดีทีเดียว ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานหรือในชีวิตประจำวันได้ครับ เลยขอนำสิ่งดีๆ มาแบ่งปันกันครับ

สวัสดีค่ะ.....

มานั่งอ่านธรรมปฏิบัติ....มีความสุขจังค่ะ

ขอบคุณ....ที่นำสิ่งดีๆมาให้เรียนรู้นะคะ

ขอบพระคุณครับ อาจารย์Pกิ่งไผ่ใบหลิว

  • มีความสุขมากๆ นะครับ ในวันมาฆบูชา
  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจกระผมเสมอมานะครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

ขอบคุณท่านP ณัฐรดา ครับ

  • ขอบพระคุณที่แวะมาเียี่ยมเยือนนะครับ
  • ด้วยความระลึกถึงอยู่เสมอครับ

สวัสดีค่ะ มาเพิ่มพลังให้ชีวิตค่ะ..มีความสุขกับการอ่านน่ะค่ะ

 

ขอบคุณครับP คุณครูบันเทิง

  • ขอบพระคุณที่แวะมาเียี่ยมเยือนนะครับ
  • เรื่องนี้เป็นบทความในหนังสือที่ผมอ่านแล้วเห็นว่าให้ข้อคิดได้ดีทีเดียว ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานหรือในชีวิตประจำวันได้ครับ เลยขอนำสิ่งดีๆ มาแบ่งปันกันครับ
  • ขอให้ท่านมีความสุขในทุกๆ วันนะครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านสาระความรู้ดีๆ นะคะ

ขอบคุณค่ะ^__^

ขอบใจครับ น้องP ต้นเฟิร์น

  • ขอบใจที่แวะมาเียี่ยมเยือนนะครับ
  • มีความสุขในทุกๆ วันนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท