การปฏิสนธิ KM สำนักหอสมุด มช.


รู้จัก KM เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 วันที่ได้รับความไว้วางใจให้ร่วมทีมคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

               รู้จัก KM เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 วันที่ได้รับความไว้วางใจให้ร่วมทีมคณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่ได้เป็นแค่กรรมการเฉย ๆ แต่ต้องทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ หน้าที่มากกว่ากรรมการอีก 5 คนค่ะ คือต้องแสดงความคิดเห็น เก็บความ บันทึก เรียบเรียงเป็นเอกสารรายงานการประชุมและทำอะไรจิปาถะอีกมากมายที่นอกเหนือภาระหน้าที่กรรมการ  การแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการทั้งสามท่าน อีกสามคนเป็นบุคลากรธรรมดา ๆ สำนักหอสมุดมีการกำหนดวัตถุประสงค์ แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบบริหารการจัดการความรู้ (KM Action Plan Template) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยดำเนินการตามคู่มือการจัดทำแผนการเรียนรู้และเอกสารคู่มือการจัดทำแผนการเรียนรู้สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ แค่ประโยคสั้น ๆ ก็รู้สึกเป็นเรื่องใหญ่ ทำยากแล้วค่ะ

                ก่อนจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เราก็มี CoP เป็นของเราเอง

                ประธานกรรมการ คือ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร (น.ส.กรกมล รามบุตร) ต่อไปขอเรียก ท่านรองฯ ค่ะ ขอให้กรรมการทุกคนไปศึกษารายละเอียด และอ่านเพิ่มเติมจากสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ” โดย อาจารย์ประพนธ์  ผาสุขยืด และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) (http://www.kmi.or.th/) เป็นต้น  เพราะอย่างไรแล้วเราก็คลุกคลีอยู่กับขุมทรัพย์ทางปัญญาอยู่แล้ว ทบทวนเรื่องเก่าย้อนหลังไปในปี 2549 ในการประชุมนัดแรกนั้น เราได้รับแจ้งข้อมูลจาก ท่านรองฯ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เป็นผู้บริหารด้านการจัดการองค์ความรู้ (Chief Knowledge Officer, CKO) ของสำนักหอสมุด ท่านรองฯ ได้สรุปให้กรรมการนำร่อง KM ทราบว่า Knowledge Management คืออะไร ทำไมสำนักหอสมุดต้องนำ Knowledge Management มาใช้ มีหน่วยงานใดในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำ Knowledge Management มาใช้แล้ว เป็นต้นนับจากการปฏิสนธิ KM ฉบับสำนักหอสมุด มช. เวลานั้น เราได้เริ่มต้นปฏิบัติการสะสมความรู้ให้แก่ตัวเรา (กรรมการ) และบุคลากรทั้งหมดที่ทำงานในห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะของ มช. (215 คน) โดยมีวิทยากรหลายท่านมาบรรยาย ฝึกอบรม ขับเคี่ยว (บางครั้งก็ช่วยเคี้ยวให้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อสั่งการให้กรรมการ 5 ท่าน เว้น CKO ทำหน้าที่คุณ Fa-Facilitator) ความรู้/การจัดการความรู้ให้ชาวห้องสมุด ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (20 มีนาคม 2549) คณะวิทยากรจากโรงพยาบาลบ้านตาก นำโดย นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ (วันที่ 1 มิถุนายน 2549 และวันที่ 21-22 สิงหาคม 2549) ใช้เวลาอยู่ครึ่งปี KM ฉบับเรียนรู้หลักสูตรระยะสั้น ก็มี CoPs เกิดขึ้นแบบสายฟ้าแลบ ชนิดที่กรรมการเองยังเอ๋อ ๆ แถมมีแอบคิดนอกโต๊ะประชุมทีมด้วยว่า นี่ใช่ KM …? กรรมการเองยังถูกเพิ่มหน้าที่ให้เป็น Facilitator โดยรู้ตัวในวันที่จัดกิจกรรมประชุม แล้ว CoPs ทั้งหลาย... เค้ารู้ตัวกันเมื่อไร? เป็นเรื่องยาว อยากให้ Facilitator แต่ละคนเป้นผู้เล่าเมื่อพร้อมนะคะ แม้มีหลายคนบอกว่า หลวมตัวไปเสียแล้ว หรือไม่ก็เลือกเข้ากลุ่มผิด คิดว่าเดี๋ยวก็จบในห้องประชุม ดิฉันว่าถึงการเริ่มต้นจะแปลก ๆ แต่ในที่สุดก็ถือเป็นเรื่องดี ที่อย่างน้อยทำให้เรารู้จักการปฏิสัมพันธ์ การร่วมแก้ไขปัญหา เกิดการทำงานร่วมกันในเวลาต่อมา

                กลับมาสรุปว่าหน้าที่ดิฉันเพิ่มขึ้นมากกว่ากรรมการท่านอื่น หน้าที่ที่สองก็คือการเป็น Fa นี่แหละค่ะ ยังมีอีกหลายหน้าที่ที่ได้มากกว่ากรรมการท่านอื่น ๆ อีกค่ะ.

(เว็บไซต์ KM Corner สำนักหอสมุด มช. ที่ http://kmcorner.lib.cmu.ac.th )

 

 

หมายเลขบันทึก: 161726เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

แอบมาดูบันทึกแรกๆ ครับ

มีเพลงใส่ไว้ด้วย ;)

คุณ ธ.วั ช ชั ย  ค่ะ

แหม เขินค่ะ

คอย ไงคะ..

ภารกิจนี้...หนัก อึ้ง นะคะ ^ ^

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท