1 ปีกว่าที่นัวเนียงาน KM


                ในตอนที่แล้วทิ้งท้ายไว้ว่า กว่า KM  จะเนียนในเนื้องาน ดิฉัน(ควร)จะต้องทำหน้าที่อะไรควบคู่ไปกับหน้าที่ Facilitator ด้วย...ไหมคะ

                จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ  KM ในชุมชนจุดเริ่มต้นของหัวใจ เดินทางตามแผนปฏิบัติการ ที่ Fa อย่างดิฉันแทบจะเป็นโรคหอบแฮกกับการตามควักสมาชิกจากโต๊ะนั่งทำงาน ที่พี่ ๆ มีจิตบริการกันจริงแท้ เพราะพี่ ๆ กลัวว่าจะมีบุคลากรในหอสมุดมาติดต่อรับบริการแล้วไม่พบพี่ ๆ

                พบกันครึ่งทางนะคะพี่ ๆ น้อง  KM (ปี) แรก ๆ นี้เราค่อยๆ ต้วมเตี้ยมอย่างที่บอกค่ะ คุยกันเดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง(ก็ได้) CKO บอกว่าให้ไฟเขียวค่ะ สำหรับชาวเรา

พอศอสองพันห้าร้อยสี่...สิบเก้า CKO ลั่นฆ้องเชิญกรรมการ (KM Team)ให้มาประชุมกัน ทีมงาน ต่างมาชุมนุม มาประชุมพร้อมหน้าที่ชั้นห้าห้องมีทติ้งรูม ต่อไปนี้ CKO จะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ฝึกอบรม (การสัมมนาเรื่อง การจัดทำวิสัยทัศน์การจัดการเรียนรู้ (Knowledge Vision) ของสำนักหอสมุด วันที่ 1 มิถุนายน 2549) กันมา...

                .....และให้ Facilitator (คุณอำนวย) แต่ละกลุ่มนัดสมาชิกกลุ่มประชุม ปรึกษาหารือ โดยสามารถคงหัวข้อวิสัยทัศน์ที่กำหนด หรือปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ทั้งนี้สมาชิกกลุ่มอาจโยกย้ายเปลี่ยนแปลงการเข้าร่วมกลุ่มได้ พร้อมทั้งให้ดำเนินงานต่อเนื่องในการกำหนดปัจจัย/องค์ประกอบ การทำเครื่องมือชุดธารปัญญา (ได้แก่ ตารางแห่งอิสรภาพ แผนภูมิแม่น้ำ แผนภูมิขั้นบันได) ให้สมบูรณ์

                เอาล่ะค่ะ จากไฟเขียวอีกครั้ง เปิดทางการรวมตัวเป็นกลุ่ม จึงเหลือสมาชิกสำนักงานเลขานุการล้วน ๆ ที่รวมกันเป็นจุดเริ่มต้นของหัวใจ  เลือกประธาน เลือกเลขานุการกลุ่ม แบบรู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นตำแหน่งของใคร?

                กิจกรรมในชุมชนเดินหน้าไปเรื่อย ๆ โดยมีงบประมาณสนับสนุนเต็มที่จากหน่วยงาน ไม่ว่าจะจัดกิจกรรมให้ความรู้สมาชิกเป็นกลุ่มน้อยใหญ่แค่ไหน ... CKO อนุมัติ CEO อนุมัติ ...ปีแรกของชุมชนจุดฯ เกิดกิจกรรมเติมเต็ม 2-3 เรื่อง ทำ KS แล้วได้ KA ครบถ้วน แม้บางครั้ง Fa จะรู้สึกฉงนกับตัวเองว่าถูกทางหรือเปล่า ไปบังคับขู่เข็ญให้คนนั้นคนนี้ทำอย่างนั้นอย่างนี้...หรือเปล่า แต่ ณ วันนี้ ก็ยังรู้สึกว่าทำได้ไม่เลวนักหรอก เพราะมีสมาชิกหลายคนแสดงออก บอกเราโดยไม่ได้เอ่ยปากว่า...อ้อ เข้าใจ อืมม์ ดีจัง

                ระหว่างการเดินหน้าอย่างเต่า เราก็มองดูกระต่าย (CoP กลุ่มต่าง ๆ) ว่าเขาไปกันถึงไหนแล้ว ได้ปัจจัย/องค์ประกอบกันแล้วยัง ประเมินตนเองไปถึงไหน ผลเป็นอย่างไร ... ทำไม Fa กลุ่มนั้นถึง Active จังเลย...

                เมื่อทำอะไรเร่งรีบไม่ได้ ก็พักบ้าง หันมาทำอะไรอย่างอื่น ให้สมาชิกมีส่วนร่วม คิด คิด ติ๊กต๊อก ๆ อยู่ไม่นาน ก็ได้ Output ออกมาเป็นโลโก้ของชุมชน นี่แหละค่ะ...(ทำงานเกินหน้าที่ Fa อีกแล้ว)

                 1ปี ที่ผ่านไป เรายังทำเกณฑ์ปัจจัยที่กำหนดว่าควรปรับปรุงเพิ่มเติมอย่างไร เพื่อใช้พิจารณาการประเมินตนเอง ตามตารางอิสรภาพต่อไป และเพราะสมาชิกในกลุ่มมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรระดับหัวหน้างานและหัวหน้าหน่วยในสำนักงานเลขานุการ จึงมีการเพิ่มสมาชิกสมทบในชุมชน โดยเชิญบุคลากรอีกหลาย ๆ คนในสำนักงานเลขานุการที่ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการความรู้ที่คุณหมอพิเชฐ บัญญัติ พร้อมทีมงานโรงพยาบาลบ้านตาก กลับมาเป็นวิทยากรให้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 21-22 สิงหาคม 2549  และชุมชนก็ขยายตัวขยายใจกลายเป็น จุดเริ่มต้นของหัวใจ-บ้านนี้มีรัก

                ในที่สุดการดำเนินงานชุมชนตามทฤษฎีได้สำเร็จเสร็จสิ้น ได้ครบถ้วน องค์ประกอบ/ปัจจัย แผนภูมิธารปัญญา และตารางอิสรภาพ ที่จะใช้เป็นแนวทางการจัดการความรู้กันต่อไป แต่ อุปสรรคยังตามราวีคนเป็น Fa เช่นเคย

                สมาชิกประเมินตนเองตามปัจจัย/องค์ประกอบ แต่ปรากฏว่าหลายคนประเมินตนเองต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เป็นไปได้อย่างไร ทำไมจะถ่อมตัวกันปานนั้น

                Fa คิดอยู่นาน ปรึกษา KM Team ได้รับคำแนะนำว่า ลองให้ผู้บังคับบัญชาของสมาชิกอ่านแล้วประเมินดูซิ ว่าคิดตรงกันมั้ย (เหมือนการประเมินหลายๆ องศา นั่นแหละในวงเล็บนี้คิดเอง)จากนั้นก็เอาผลการประเมินมาเปรียบเทียบกันดู เดาว่าน่าจะได้ข้อสรุปการประเมินตนเองที่ชัดเจน เป็นความจริงมากขึ้น ซึ่ง Output ที่ได้รับคือ (ดูภาพประกอบ)นี่แหละค่ะ (ไร้คำบรรยาย) ที่ยังไม่รู้อนาคต...เพราะขณะที่เขียนเรื่องเล่าไว้อ่านเล่นบรรทัดนี้ ความคิดดิฉันหมุนวนยังไม่รู้ว่าจะหลุดจากแรงเหวี่ยงของธารน้ำสายนี้ไปโผล่ที่ไหน

                แต่ความคิดที่ผุดขึ้นมาในใจ สั้น ๆ ค่ะ มันธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติกันเนี่ย

                บทเรียนการทำงานจัดการความรู้ภาคแรกของการเรียนรู้เพื่อเป็น Fa ฉบับ ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี จึงจบลงในตรงนี้ค่ะ 1 ปีกว่าที่นัวเนียกับงาน KM”

                ระหว่างการทำงานประจำในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อปลายปีงบประมาณ 2550 ต่อต้นปีงบประมาณ 2551 ดิฉันเริ่มคิดทิศทางใหม่ในงานประชาสัมพันธ์ด้วยการแสวงหาพันธมิตร ผูกมิตรกับสื่อ(นิตยสาร)ท้องถิ่น และสำหรับงานการจัดการความรู้ ที่ไม่เคยคิดสักนิดเลยว่าเป็นงานหลักงานประจำ...ดิฉันเริ่มมองมุมใหม่ๆ ให้ด้วยเหมือนกัน

                ภาคสองงาน Fa จึงเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวในโลกกว้าง พร้อมการแสวงหากัลยาณมิตรและเครือข่ายค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 169257เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณน้องต้อม P เนปาลี นะคะ มาเป็นกำลังใจ แต่อย่าเพิ่งทวงถามงานเขียนพี่เลยนะคะ อยากเขียน ๆ แต่เวลาไม่เอื้อเลย...

คุณ P  เพชรน้อย ค่ะ เหมือนจะทำงานคล้ายกัน ทั้งงานประจำ ที่เป็นงานบริการเช่นเดียวกัน ติดตามไปในบล็อกคุณเพชรน้อยมาแล้ว ดีใจจัง ขอเป็นเพื่อนร่วมทางด้วยคนนะคะ มีคำแนะนำดี ๆเทคนิคคุณอำนวย เคล็ดลับงานบริการ เราชาวท่าคันโท มาเล่าสู่ แลกเปลี่ยนกันนะคะ ขอบคุณ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

  • มาชื่นชม และให้กำลังใจแก่น้องดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ค่ะ
  • "KM ไม่ทำก็ไม่รู้" มีบางคนบอกว่า "KM ทำไปแล้วก็ยิ่งไม่รู้" นั่นละไปถูกทาง อิอิ ... ขอให้มีความสุขเกิดขึ้นจากการทำ KM ก็แล้วกัน
  • ชอบจังค่ะ Logo นี้ ถึงทำเกินหน้าที่ Fa แต่ก็ได้ใจนะคะ

ขอบคุณ P  คุณเพื่อนร่วมทาง ค่ะ วันนี้ไม่รับประทานข้าวเย็นแล้วค่ะ อิ่มใจจัง..^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท