นิเทศศาสตร์ราชภัฏ...เราจะไปทางไหน?


ขอเรียนเสนอว่า นอกจากสร้างหลักสูตรที่จะสอนให้คนมีความรู้ในเชิงเทคนิคแล้ว ยังควรตั้งจุดมุ่งหมาย ให้นักนิเทศศาสตร์ รู้เท่าทันความรู้เรื่องการสื่อสารด้วยจุดมุ่งหมายต่างๆ และบรรจุเนื้อหาสาระที่จะจะสอนคนให้ฉลาด มีทักษะ การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy Skill) ไปในหลักสูตรด้วย เพื่อจะได้มีโอกาสนำศาสตร์ที่เรียนมา ไปสร้างคุณค่าแท้ให้เกิดแก่ส่วนรวม แก่สังคม แก่ชาติ และแก่โลกที่ใบเขาอาศัยอยู่นี้

 (38)

 

 

 

 

 นิเทศศาสตร์ราชภัฏ...เราจะไปทางไหน?

ในโลกปัจจุบัน ที่เราได้ร่วมสมัย เห็นมหันตภัยต่างๆของโลก และมาจนถึงของชาติเราตอนนี้ ทำให้เรารู้ว่าการสอนความรู้ใดๆตามศาสตร์กระแสหลัก (ความรู้ที่แข็งตัวเป็นองค์ความรู้ เป็นศาสตร์) อย่างเดียวคงไม่พอ เพราะความรู้ชุดต่างๆทั้งหลายมีไม่เพียงพอที่จะช่วยให้มนุษย์พ้นภัย โดยเฉพาะภัยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ด้วยกัน

......และในความรู้ชุดต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้น มีอยู่หลายชุดที่อาจย้อนกลับมาเป็นภัยแก่ตัวเรา

เมื่อตระหนักถึงภัยอันเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ เราจึงต้องสอนคนให้

1. รู้ที่มาที่ไปของความรู้
2. รู้จุดมุ่งหมายแท้ๆของความรู้
3. รู้เจตจำนงแท้ๆของผู้ผลิตความรู้นั้น
4. และต้องสร้างจุดมุ่งหมายในหลักสูตร   เพื่อสอนคนให้รู้เท่าทันความรู้ ที่เขากำลังเรียนอยู่ด้วย

นิเทศศาสตร์คือศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้เรื่องการสื่อสาร นิเทศศาสตร์ราชภัฏตามเนื้อหาหลักสูตรเดิม (หลักสูตรปริญญาตรี) เน้นไปที่การผลิตคนให้เป็น”นักวิชาชีพผลิตสื่อ”ตามประเภทของสื่อ เช่นสื่อมวลชน ได้แก่นักหนังสือพิมพ์ นักวิทยุ นักโทรทัศน์ นักภาพยนตร์ นักโฆษณา และนักประชาสัมพันธ์

นิเทศศาสตร์กระแสหลัก ถือเอาชื่อสื่อเป็นตัวตั้งในการเรียกชื่อวิชาชีพ โดยเน้นสอนเรื่องเทคนิคการผลิตสื่อ ตามประเภทวิชาชีพสื่อเป็นสำคัญ และการสอนคนให้เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ (เป็นนัก......) ในเชิงเทคนิคนั้น ..... มิใช่เรื่องเสียหาย

แต่เรา (ผู้เขียนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ กระแสทางเลือก) ควรมองออกนอกกรอบคิดของหลักสูตรเดิม และเพิ่มองค์ความรู้หรือทักษะที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของนักศึกษานิเทศศาสตร์ ในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์ที่ควรจะมีโอกาสใช้ชีวิตอย่างดีบนโลก เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและเป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ผู้เรียน

ดังนั้น ขอเรียนเสนอว่า นอกจากสร้างหลักสูตรที่จะสอนให้คนมีความรู้ในเชิงเทคนิคแล้ว ยังควรตั้งจุดมุ่งหมาย ให้นักนิเทศศาสตร์ รู้เท่าทันความรู้เรื่องการสื่อสารด้วยจุดมุ่งหมายต่างๆ และบรรจุเนื้อหาสาระที่จะจะสอนคนให้ฉลาด มีทักษะ การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy Skill) ไปในหลักสูตรด้วย เพื่อจะได้มีโอกาสนำศาสตร์ที่เรียนมา ไปสร้างคุณค่าแท้ให้เกิดแก่ส่วนรวม แก่สังคม แก่ชาติ และแก่โลกที่ใบเขาอาศัยอยู่นี้

......ในฐานะที่เป็น นักนิเทศศาสตร์ ซึ่งต้องเรียนศาสตร์การสื่อสารโดยตรง พวกเขาจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของ “ การไม่รู้เท่าทันการสื่อสาร(Communication illiteracy) ” ในวันข้างหน้า ....


ดิฉันนึกคอนเส็ปต์บทความอย่างหรูได้ประมาณนี้.....ก็หมดมุก เลยกะว่าเดี๋ยวจะลองเอาเรื่องนี้ไปให้เด็กฝึกเขียนบทความแสดงความคิดเห็น คาดว่าเธอจะบ่นโอดโอยกันไม่รู้แล้ว.........

และดิฉันใคร่ขออภัยท่านผู้รู้ทางนิเทศศาสตร์ หากมีข้อความตอนใดที่ผิดไปจากที่ควรจะเป็นนะคะ ดิฉันก็ได้แต่ออกตัวเป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่ทราบ ว่าดิฉันจบเอกไทย(แบบที่อาจารย์ถอนใจเฮือกๆ) และไม่เคยเรียนนิเทศศาสตร์ ได้แต่อาศัยอ่านหนังสือต่างๆและสรุปเอาจากที่ได้ลงมือทำจริงในรั้วโรงเรียน

เรื่อง การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy) ที่ดิฉันสรุปเอาเองตามใจตัวว่าต้องรีบสร้างในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ราชภัฏนี้ อาจเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างมหันต์ก็ได้ จะหาคำตอบด้วยงานวิจัยดิฉันก็ยังทำไม่เป็นสักที

ได้แต่เชียร์ให้พี่น้องๆที่กำลังเรียนปริญญาโท  หรือผู้ที่สนใจเรื่องนี้ หรือเรื่องคล้ายๆกันนี้ ร่วมกันทำวิจัยอย่างสนุกสนานตามแนวทางที่ท่านชอบ ดิฉันจะคอยให้กำลังใจสุดชีวิต

หากมีอะไรที่ดิฉันพอจะทำให้ได้บ้าง ดิฉันก็จะยินดีอย่างยิ่งนะคะ  :)

 .................................................................

 

ปรับเพิ่มเติมจาก เว็บไซต์วิชาการด็อตคอม กระทู้ การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy)  ความเห็นที่ 63  (12 ม.ค. 2550)

หมายเลขบันทึก: 82334เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 04:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วย เป็นข้อคิดเห็นที่ดีครับ อาจารย์ เพราะสื่่อทางเลือก ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทมากกว่าสื่อกระแสหลักแล้วครับ.. ถ้าทางสื่อทางเลือก มาเป็นพระเอกเมื่อไหร่ อาจจะนำไปสู่การครอบงำกับเรื่องที่ไม่จริง เพราะสื่อเหล่านี้ ขาดความน่าเชื่อถือครับ.

มันยากครับ ตอนนี้ผมทำงาในคณะนิเทศ ม.เอกชนแห่งหนึ่งรู้เลยว่ายาก เราจะปรับตัวยากมากเพราะโลกหมุนเร็วแล้วสื่อไปเกี่ยวกับการเมืองในช่วงหนึ่ง ทำให้ความหน้าเชื่อถือเราลดลงมาก

@Wattana
สวัสดีค่ะ อาจารย์วัฒนา ตอนนี้คงต้องทำใจยอมรับ "เข้าใจและรู้เท่าทัน" ความเปลี่ยนแปลงของสื่อใหม่ที่ดูท่าว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักไปแล้วนะคะ ถ้าผู้รับสารไม่มีเคื่องมือคัดกรองข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็น และคัดกรองความจริงออกจากความเท็จ การหาความจริง เพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยพื้นฐานของความเป็นจริง ก็คงยากขึ้นนะคะ ^___^
ขออภัยที่ไม่ได้แวะมาสื่อสารเสียนานเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ neo8506

เห็นด้วยที่สุดเลยค่ะ ดิฉันก็ออกจะหนักใจไม่น้อย ได้แต่ทำใจไปก่อน แล้วก็เพียรพยายามต่อไป ถ้าเราถอยจนสุด ถอยไม่ได้แล้ว ก็คงต้องหาทางขยับจนมีที่ยืนนะคะ (จุดยืนทางมโนธรรมและศีลธรรมก็เช่นกัน) ^____^
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท