การระบุตัวคนไข้อย่างไร..ไม่น่าเบื่อ


Patient Identification

การระบุตัวคนไข้อย่างไรไม่น่าเบื่อ (Patient Identification)

การระบุตัวผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยใน Patient Safty Goal: SIMPLE

การให้ยาเคมีบำบัด แก่ผู้ป่วยจะต้องถูกต้อง 100% ดังนั้นการระบุตัวของผู้ป่วยเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งทีจะให้ยาเคมีบำบัดอย่างถูกต้อง พวกเราชาวพยาบาลเคมี จึงคุยกันและหาวิธีการระบุตัวผู้ป่วยกัน

  • มีป้ายข้อมือสีขาว ระบุชือ นามสกุลและหอผู้ป่วย
  • ก่อนให้ยาหรือทำกิจกรรมการพยาบาลให้ผู้ป่วยทุกครั้ง  ให้ถามชื่อ นามสกุล
  • ให้เขาตอบ โดยขานชื่อ นามสกุลตัวเอง
  • บอกวัตถุประสงค์ ถึงความจำเป็นต้องถามชื่อทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย จะได้ให้ยาถูกคน
  • ก่อนให้ยาทุกครั้ง เราควรให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตรวจสอบชื่อของตนเองด้วยค่ะ โดยให้ดูขวดยา ขวดน้ำเกลือ หรือชื่อในถุงเลือดก่อนให้ผู้ป่วยทุกครั้ง

ใครมีข้อเสนอดีดี ช่วยบอกด้วยนะคะ

................

อุบล จ๋วงพานิช

4 มีนาคม 2552 เวลา 6.17

หมายเลขบันทึก: 246163เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 06:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันนี้มีการ ลปรร กับน้องพยาบาลเคมีบำบัด 5 จ  เรื่อง CoP IV chemotherapy ที่เราจะส่งเพื่อประเมินหอผู้ป่วย เนื่องจากน้องๆทุกๆคนในตึกเรามีการ ลปรร กันทุกเช้า เล่าเรื่องดีดีที่เป็นความรู้อยู่ในตัวพวกเราทุกคน จะได้เป็นคลังความรู้ต่อไป

                             อุบล  จ๋วงพานิช

P : Patient Care Processes....  in  "SIMPLE"  (ต่อค่ะ)

 

"SIMPLE" (ในงานคุณภาพ)คืออะไร?(4)

Patient Care Processes

P 1: Patients Identification (WHO PSS#2)

      WHO Collaborating Centre for Patient Safety Solutions ได้จัดทำแนวทางเรื่อง Patient Identification 11 ขึ้น มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

      1. เน้นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการในการตรวจสอบ identity ของผู้ป่วยว่าถูกต้องตรงกับบุคคลที่จะให้การดูแลตามแผน (เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สิ่งส่งตรวจ หัตถการ) ก่อนที่จะให้การดูแล

      2. ส่งเสริมให้มีการใช้ตัวบ่งชี้อย่างน้อย 2 ตัว (เช่น ชื่อและวันเกิด) เพื่อยืนยันตัวบุคคลเมื่อแรกรับหรือเมื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น และก่อนที่จะให้การดูแล  ไม่ควรใช้หมายเลขเตียงหรือห้องเป็นตัวบ่งชี้

      3. กำหนดให้วิธีการบ่งชี้ผู้ป่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร เช่น ใช้ป้ายข้อมือสีขาวซึ่งมีรูปแบบมาตรฐานที่สามารถเขียนข้อมูลเฉพาะลงไปได้ หรือใช้ biometric technology

      4. จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการบ่งชี้ผู้ป่วยซึ่งไม่มีตัวบ่งชี้และเพื่อแยกแยะผู้ป่วยที่มีชื่อซ้ำกัน รวมทั้งแนวทางการบ่งชี้ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือสับสนที่ไม่ใช้การซักถาม

      5. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในทุกขั้นของของกระบวนการบ่งชี้ผู้ป่วย

      6. ส่งเสริมให้มีการเขียนฉลากที่ภาชนะสำหรับใส่เลือดและสิ่งส่งตรวจอื่นๆ ต่อหน้าผู้ป่วย

      7. จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการรักษา identity สิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยตลอดกระบวนการตรวจวิเคราะห์ตั้งแต่ pre-analytical, analytical และ post-analytical process

      8. จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการสอบถามเมื่อผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจอื่นๆ ไม่สอดคล้องกับประวัติหรือสภาวะทางคลินิกของผู้ป่วย

      9. จัดให้มีการตรวจสอบซ้ำและทบทวนเพื่อป้องกันการบันทึกข้อมูลซ้ำอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์

P 2.1: Effective Communication -SBAR

      IHI12 ได้ให้แนวทางในการสื่อสารระหว่างสมาชิกของทีมผู้ให้บริการเกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วยโดยใช้ SBAR (Situation-Background-Assessment-Recommendation) ซึ่งง่ายต่อการจดจำ เป็นกลไกที่ชัดเจนและมีประโยชน์ในการกำหนดกรอบการสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติซึ่งต้องการความสนใจและการลงมือปฏิบัติโดยทันที ดังนี้

      1. ใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและเหมาะสมกับแพทย์ เช่น direct page, สำนักงาน/ห้องทำงาน, โทรศัพท์บ้านในวันหยุดหรือนอกเวลาทำการ, โทรศัพท์มือถือ  โดยไม่ควรรอนานกว่า 5 นาทีสำหรับความพยายามในการติดต่อใหม่  ให้ใช้วิธีการทุกวิธีก่อนที่จะสรุปว่าไม่สามารถติดต่อแพทย์ได้ 

      2. ก่อนที่จะโทรศัพท์รายงานแพทย์ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  •  
    • ถามตัวเองว่าได้เห็นและประเมินผู้ป่วยรายนี้ด้วยตนเองหรือไม่
    • ทบทวนว่าได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ป่วยรายนี้กับพยาบาลที่มีความรู้มากกว่าหรือไม่
    • ทบทวนเวชระเบียนเพื่อพิจารณาว่าควรรายงานแพทย์ท่านใด
    • รับรู้การวินิจฉัยเมื่อแรกรับและวันที่รับไว้
    • ถามตัวเองว่าได้อ่านบันทึกความก้าวหน้าที่แพทย์และพยาบาลเวรที่แล้วได้บันทึกไว้หรือยัง
    • เตรียมสิ่งต่อไปนี้ให้พร้อมในขณะรายงานแพทย์
      • เวชระเบียนผู้ป่วย
      • บัญชีรายการยาและสารน้ำที่ผู้ป่วยกำลังได้รับ การแพ้ยา การตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
      • สัญญาณชีพล่าสุด  
      • รายงานผลการตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ วันและเวลาที่ทำการตรวจทดสอบ และผลการตรวจทดสอบครั้งที่แล้วเพื่อการเปรียบเทียบ  
      • Code status  

      3. ในการรายงานแพทย์ ให้ใช้ SBAR

      (S) Situation: สถานการณ์ที่ทำให้ต้องรายงาน

  •  
    • ระบุตัวผู้รายงาน หน่วยงาน ชื่อผู้ป่วย หมายเลขห้อง  
    • ระบุปัญหาสั้นๆ เวลาที่เกิด ความรุนแรง  

      (B) Background: ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับสถานการณ์

  •  
    • การวินิจฉัยเมื่อแรกรับและวันที่รับไว้
    • บัญชีรายการยา สารน้ำที่ได้รับ การแพ้ยา การตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
    • สัญญาณชีพล่าสุด
    • ผลการตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ วันเวลาที่ทำการทดสอบ และผลการตรวจสทดสอบครั้งที่แล้วเพื่อการเปรียบเทียบ  
    • ข้อูลทางคลินิกอื่นๆ
    • Code status 

      (A) Assessment: การประเมินสถานการณ์ของพยาบาล

      (R) Recommendation: ข้อแนะนำหรือความต้องการของพยาบาล เช่น

  •  
    • ต้องการให้ทราบว่าผู้ป่วยได้รับการรับไว้แล้ว
    • การย้ายผู้ป่วยไปอยู่หน่วยดูแลวิกฤติ
    • ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลจากแพทย์โดยด่วน  
    • การเปลี่ยนแปลงคำสั่งการรักษา  

      4. บันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วยและการรายงานแพทย์

      การปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตอนที่ III หัวข้อ 4.1 การดูแลทั่วไป ข้อ (6) "มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม เพื่อความต่อเนื่องในการดูแล

P 2.2: Communication During Patient Care Handovers (High 5s / WHO PSS#3)

      WHO Collaborating Centre for Patient Safety Solutions ได้จัดทำแนวทางเรื่อง Communication During Patient Care Handovers 13 ขึ้น มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

      1. นำแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการสื่อสารส่งมอบข้อมูลผู้ป่วย ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ในการเปลี่ยนเวร และระหว่างหน่วยงาน ไปสู่การปฏิบัติ  องค์ประกอบที่แนะนำได้แก่

  •  
    • ใช้ SBAR (Situation, Background, Assessment, Recommendation)  
    • จัดสรรเวลาให้เพียงพอสำหรับการสื่อสารข้อมูลสำคัญและสำหรับการถามตอบโดยไม่มีการขัดจังหวะ รวมทั้งการทวนซ้ำ (repeat-back) และอ่านซ้ำ (read-back) ในการสื่อสารส่งมอบข้อมูล 
    • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วย, ยาที่ได้รับ, แผนการรักษา,advance directives, และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  
    • จำกัดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ปลอดภัย  

      2. สร้างความมั่นใจว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยและผู้ให้บริการสุขภาพที่จะให้การดูแลต่อ ได้รับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคเมื่อจำหน่าย แผนการรักษา ยาที่ใช้ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

      3. บรรจุการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสื่อสารส่งมอบข้อมูลที่ได้ผลในหลักสูตรการศึกษา และการศึกษาต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพ

      4. ส่งเสริมให้มีการสื่อสารระหว่างองค์กรที่ให้การดูแลผู้ป่วยรายเดียวกันในขณะเดียวกัน (เช่น การรักษาแผนปัจจุบันกับการรักษาทางเลือก)

      การปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตอนที่ III หัวข้อ 4.1 การดูแลทั่วไป ข้อ (6) "มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม เพื่อความต่อเนื่องในการดูแล"

P 2.3: Communicating Critical Test Results (WHO PSS)

      WHO Collaborating Centre for Patient Safety Solutions ได้จัดทำร่างแนวทางเรื่อง Communicating Critical Test Results ขึ้นและอยู่ระหว่างการขอความเห็นจากผู้ใช้ มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

      1. ใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานเพื่อสื่อสารผลการตรวจทดสอบที่มีค่าวิกฤติ

      ก) ระบุตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งมอบและรับผลการตรวจทดสอบที่มีค่าวิกฤติ  ผู้ที่มีหน้าที่หลักในการรับและติดตามผลคือแพทย์ผู้สั่งตรวจ การรายงานผลควรรายงานตรงต่อแพทย์ที่สามารถลงมือแก้ปัญหาผู้ป่วยได้ในทันที

      ข) ระบตัวบุคคลที่จะได้รับผลการตรวจทดสอบที่มีค่าวิกฤติแทนเมื่อแพทย์ผู้สั่งตรวจไม่อยู่  มีวิธีการที่จะระบุแพทย์เจ้าของไข้และแพทย์ที่จะดูแลแทนตั้งแต่รับผู้ป่วยไว้ ให้ศูนย์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางข้อมูลแพทย์ผู้ดูแลแทนและการรายงา

      ค) กำหนดว่าการตรวจทดสอบและค่าวิกฤติในระดับใดที่จะต้องมีการรายงานโดยทันทีและเป็นที่เชื่อถือได้ โดยจัดทำบัญชีรายการการตรวจทดสอบและค่าวิกฤติที่มีความสำคัญสูงจำนวนเท่าที่จำเป็น

      ง) ระบุระยะเวลาที่จะต้องรายงานผลการตรวจทดสอบที่มีค่าวิกฤติแก่แพทย์ผู้สั่งตรวจอย่างเหมาะสมกับความเร่งด่วนที่จะต้องแก้ปัญหาผู้ป่วย (เช่น ภายใน 1 ชั่วโมง, ภายในเวร), ข้อบ่งชี้ที่จะต้องรายงาน, วิธีการติดตาม, แนวทางปฏิบัติหากไม่สามารถติดต่อแพทย์ผู้สั่งหรือแพทย์ที่จะดูแลแทนที่กำหนดไว้แต่แรก

     จ) กำหนดวิธีการรายงานแพทย์ผู้สั่งตรวจ โดยใช้เทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละสถานการณ์  เช่น ใช้ active "push" system สำหรับผลการตรวจทดสอบที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยทันที  สร้างความมั่นใจว่าจะรับรู้การรับทราบผลของแพทย์ผู้ที่สามารถลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วย

      ฉ) กำหนดนโยบายการสื่อสารร่วมให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับสำหรับการตรวจทดสอบประกอบการวินิจฉ้ยโรคทุกประเภท ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันและการทำงานเป็นทีมระหว่างสาขาต่างๆ กำหนดชุดข้อมูลขั้นต่ำที่จะต้องรายงาน

 

      2. ออกบบระบบที่มีความน่าเชื่อถือ วางใจได้

 

      ก) ออกแบบระบบให้มีการระบุตัวแพทย์ผู้สั่งและวิธีการที่จะติดต่อกลับ ในขณะที่แพทย์สั่งตรวจทดสอบ

 

      ข) ออกแบบระบบให้มั่นใจว่าคำสั่งตรวจทดสอบมีข้อมูลทางคลินิกเพียงพอที่จะแปลผลการตรวจทดสอบ

 

      ค) สร้างระบบติดตามเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีการรายงานผลในเวลาที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือ

 

      ง) สร้างระบบติดตามว่าเพื่อรับรู้ว่าผู้ป่วยได้รับการแก้ไขปัญหาในเวลาที่เหมาะสม

 

      3. ระบบสนับสนุนและบำรุงรักษา

 

      ก) จัดให้มีการปฐมนิเทศและการศึกษาต่อเนื่องเกี่ยวกับวิธีการสื่อสารผลการตรวจทดสอบที่มีค่าวิกฤติ

 

      ข) มีการติดตามกำกับประสิทธิผลของระบบที่เกี่ยวข้อง (เช่น อัตราความล้มเหลวของการสื่อสาร, การทดสอบระบบโทรศัพท์, เวลาการตอบสนอง) และนำไปปรับปรุงตามความเหมาะสม

 

 

 

      การปฏิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตอนที่ II หัวข้อ 7.2 ก. ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ข้อ (6) "มีการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้องแก่ผู้ใช้ในเวลาที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการรักษาความลับ ระดับความผิดปกติของผลการตรวจที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย และการสืบค้นสำเนาข้อมูล."

 

 

 

P 3: Proper Diagnosis (HA)

 

      WHO Working Group on Patient Safety Research Priority ได้ระบุความสำคัญของปัญหาการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือล่าช้า นำมาสู่การดูแลรักษาที่ผิดพลาดและผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์  และได้ยกตัวอย่างปัญหาสำคัญที่สมควรใส่ใจดังนี้

 

      1. การที่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ทันเวลาในกรณี life threatening surgical and trauma emergencies

 

      2. ความล่าช้าและความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง 

 

      3. การประมวลผลข้อมูลและการใช้ดุลยพินิจที่ผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค (cognitive failure)

      

แนวทางในการปรับปรุงการวินิจฉัยโรคให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สามารถทำได้โดย

1. วิเคราะห์หาโอกาสพัฒนา 

  • ทบทวนภาพรวมของการวินิจฉัยโรคที่ไม่ชัดแจ้ง หรือการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องมารับการรักษาซ้ำ หรือต้องมานอนโรงพยาบาลซ้ำ หรือต้องส่งต่อ 
  • ทบทวนความสอดคล้องของการวินิจฉัยโรคของแพทย์กับการวินิจฉัยทางการพยาบาล ว่าพบความไม่สอดคล้องในผู้ป่วยกลุ่มใด ในประเด็นใด 
  • ใช้ trigger tool เพื่อค้นหาเวชระเบียนที่มีโอกาสพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ นำมาทบทวนว่ามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นหรือไม่ และเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
  • ทบทวนความเหมาะสมของการวินิจฉัยโรคอย่างสม่ำเสมอ  

2. การปรับปรุงการวินิจฉัยโรค

  •  
    •  ใช้ evidence เป็นแนวทางในการประเมินผู้ป่วย

    • ใช้แนวคิด human factors เพื่อออกแบบแบบบันทึกและการประมวลผลการประเมินที่ช่วยในการสรุปผลการวินิจฉัยโรคได้ง่ายขึ้น 

    • ปรับปรุงระบบบันทึกเวชระเบียนเพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูล ติดตามความก้าวหน้าและประมวลผลข้อมูลในผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้น 

  •  
    • ปรับปรุงการสื่อสารและรายงานข้อมูลผลการตรวจทดสอบประกอบการวินิจฉัยโรค เพื่อให้มั่นใจว่าแพทย์ผู้สั่งตรวจจะได้รับผลที่น่าเชื่อถือในเวลาที่เหมาะสม

 

P 4: Preventing Common Complications

       การปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ คือการปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตอนที่ III หัวข้อ 4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง "ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงอย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ."

P 4.1: Preventing Pressure Ulcers (WHO PSS)

      WHO Collaborating Centre for Patient Safety Solutions ได้จัดทำร่างแนวทางเรื่อง Preventing Pressure Ulcers ขึ้นและอยู่ระหว่างการขอความเห็นจากผู้ใช้ มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

    1. ใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานในการดูแลผิวหนังของผู้ป่วยและป้องกันแผลกดทับ

      ก) ระบุตัวผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับโดยประเมินการเคลื่อนไหว การขับถ่าย การเสียความรู้สึก และสภาวะทางโภชนาการ, ตรวจสอบผิวหนังของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงตั้งแต่หัวจรดเท้าเมื่อแรกรับและประจำวัน, ใช้ดุลยพินิจทางคลินิกร่วมกับเครื่องมือมาตรฐานในการประเมิน (เช่น Braden Scale หรือ Norton Scale), ประเมินซ้ำอย่างสม่ำเสมอและเพิ่มความถี่ของการประเมินเมื่อผู้ป่วยมีอาการเลวลง

      ข) ค้นหาและรักษาปัจจัยที่มีผลต่อการคงทนของเนื้อเยื่อต่อแรงกด (tissue tolerance to pressure) ได้แก่ อายุ, การทำงานของเส้นเลือด, การควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน, น้ำหนักตัว, ภาวะทุพโภชนาการ

      ค) จัดทำแผนการดูแลสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายโดยความร่วมมือกับผู้ป่วยและผู้ให้บริการอื่นๆ ระบุปัจจัยเสี่ยงและเป้าหมายสำหรับผู้ป่วย  แผนการดูแลควรประกอบด้วย 

  • การตรวจดูผิวหนังในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง การทำความสะอาดและดูแลผิวหนัง  
  • แนวทางการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้  
  • การจัดท่าที่เหมาะสม ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวเองได้ควรได้รับการพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง โดยจัดทำตารางเวลาการพลิกตัวและบันทึกการปฏิบัติ
  • ใช้อุปกรณ์ลดแรงกด เช่น ที่นอนโฟม ที่นอนลม
  • ใช้อุปกรณ์รองรับเฉพาะตำแหน่งที่มีปุ่มกระดูก เช่น หมอน แผ่นรองข้อศอก แผ่นรองเพื่อยกส้นเท้า
  • ประเมินและวางแผนดูแลด้านโภชนาการ
  • การเพิ่มหรือธำรงความสามารถในการเคลื่อนไหวและทำกิจกรรม
  • จัดทำแนวทางป้องกันสำหรับผู้ป่วยที่จะได้รับการระงับความรู้สึก และผู้ป่วยที่มีอาการเลวลง (ไม่รู้สึกตัว ได้รับยาเกินขนาด)
  • ใช้แผ่นรองเพื่อลดแรงกดวางรองผู้ป่วยบนเตียงผ่าตัด
  • ใช้การจัดท่า การเคลื่อนย้ายและการพลิกตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายต่อผิวหนังจากการเสียดสีหรือแรงเฉือน

      ค) สร้างความมั่นใจว่ามีทรัพยากรพร้อมใช้สำหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ moisturizers, skin barriers, equipment (therapeutic surfaces), และผู้ที่จะให้คำปรึกษา (นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ผู้เชี่ยวชาญการดูแลแผล โภชนากร ฯลฯ)

      ง) สร้างความมั่นใจว่าสมาชิกทุกคนในทีมสหสาขาวิชาชีพมีความตระหนักต่อแผนการดูแล และบันทึกการดูแลต่างๆ ลงในเวชระเบียน

      จ) ติดตามการปฏิบัติโดยใช้จากการศึกษาความชุกและอุบัติการณ์ การสำรวจ การตรวจสอบที่เจาะจง

      ฉ) ให้ความรู้และการฝึกอบรมที่เหมาะสมแก่ทีมผู้ให้บริการ

P 4.2: Preventing Patient Falls (WHO PSS)

   WHO Collaborating Centre for Patient Safety Solutions ได้จัดทำร่างแนวทางเรื่อง Preventing Patient Falls ขึ้นและอยู่ระหว่างการขอความเห็นจากผู้ใช้ มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

      1. ระบุตัวผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มโดยการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐาน เช่น Morse Fall Risk Assessment หรือ Hendrich Fall Risk Assessment โดยคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้: ประวัติการพลัดตกหกล้ม, อายุ, การใช้ยากล่อมประสาท ยาจิตเวช และยาลดความดันโลหิต, โรคระบบทางเดินหายใจ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง โรคซึมเศร้า และโรคข้ออักเสบ,  การเคลื่อนไหว การเดิน กำลังกล้ามเนื้อที่ไม่ปกติ, พฤติกรรมที่มีการทำกิจกรรมน้อย, สภาวะทางจิตใจ, การมองเห็น, การผิดรูปและอาการเจ็บปวดที่เท้าเวลาเดิน,

      2. ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มซ้ำระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากสภาวะของผู้ป่วยจะเปลี่ยนไปในระหว่างรับการรักษา เช่น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และเมื่อมีการย้ายผู้ป่วยจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่ง หรือมีการเปลี่ยนแปลงในสภาวะด้านร่างกายหรือจิตใจ

      3. ใช้แนวทางป้องกันความเสี่ยงซึ่งพิจารณาปัจจัยหลายๆ อย่างไปด้วยกัน 

  •  
    • ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละรายและประเมินซ้ำ
    • ติดตามสังเกตผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงบ่อยๆ
    • ใช้ทางเลือกต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วย เช่น เตียงที่มีระดับต่ำ การฝึกออกกำลังและการเคลื่อนย้ายที่ปลอดภัย อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือน
    • ใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยเดิน
    • ให้ความช่วยเหลือทางด้านร่างกายแก่ผู้ป่วยที่มีความสูงในขณะเดินหรือพยายามทำกิจกรรมที่ยาก เช่น การขับถ่าย การเคลื่อนย้ายตนเอง และส่งเสริมให้ควบคุมการทรงตัวให้ดีขึ้นด้วยการทำกายภาพบำบัด 
    • ให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการช่วยเหลือให้ขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอ
    • มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และขจัดหรือลดอันตรายให้เหลือน้อยที่สุด
    • ทบทวนและปรับยาที่อาจทำให้ผู้ป่วยพลัดตกหกล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาจิตเวช 
    • มอบหมายหน้าที่เฉพาะให้ผู้ปฏิบัติงานเพื่อค้นหาอันตรายต่อการพลัดตกหกล้มและส่งเสริมความตื่นตัวในการป้องกัน
    • จัดเวทีแก้ปัญหาการพลัดตกหกล้มกับผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ปฏิบ้ติงาน และให้การศึกษาต่อเนื่อง 

      4. ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานรายงานการพลัดตกหกล้มและเหตุเกือบพลาดทั้งหมด โดยใช้ระบบรายงานที่เข้าถึงและใช้การได้ง่าย

(ขอขอบคุณ : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.). THAI  Patient Safety Goals : SIMPLE )

ที่มา :

http://gotoknow.org/file/anuwatsup/Patient%20Safety%20Goals%20SIMPLE7.doc

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท