กลไกทำงานวิชาการแบบสหวิทยาการ : ๑. งานพัฒนาเทคโนโลยี


 

          วันที่ ๒๓ ก.ค. ๕๑ สภามหาวิทยาลัยมหิดล เชิญ อ. ดร. เซง เลิศมโนรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เป็นศิษย์เก่าของคณะ และจบปริญญาเอกด้าน Medical Engineering จากมหาวิทยาลัย Case Western Reserve และทำงานที่นั่นอยู่หลายปี    เพิ่งกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวะฯ ได้ปีเศษ    มีผลงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี ได้รับรางวัลมากมาย   มาเล่าเรื่อง “เทคโนโลยีการกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า” 


          อาจารย์เซงเป็นคนมีอารมณ์ขัน    และสามารถชักชวนคนจากหลายหน่วยงาน หลายสาขาวิชา มาร่วมกันทำงาน   อาศัยความสามารถของแต่ละฝ่ายมาประกอบกัน   เพื่อสร้างเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเท่าเหรียญบาท ฝังในร่างกาย   ใช้รักษาโรคได้หลากหลายมาก   เช่น เป็น choclear implant รักษาโรคหูหนวก   บรรเทาอาการสั่นของโรค พาร์คินสัน   บรรเทาอาการชักของโรคลมชัก   ควบคุมกล้ามเนื้อของคนเป็นอัมพาต เป็นต้น   เครื่องกระตุ้นไฟฟ้านี้มีจำหน่ายจากต่างประเทศ ราคาประมาณ ๔ แสนบาท   แต่ถ้าผลิตได้เองในประเทศ ราคาจะลดลงเป็นสิบเท่า


          โครงการพัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้านี้ มีความร่วมมือ ๖ คณะ    คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทำงานวิจัย electronic & electrode, precision machining, biocompatibility; คณะวิทยาศาสตร์ ทำงานวิจัย corrosion test; คณะสัตวแพทยศาสตร์ ทำงานวิจัย animal test;  คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาฯ ทำงานวิจัยด้านการใช้ใน ลมชัก  bladder emptying, diaphragm pacing, obstructive sleep apnea, การควบคุมการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไขสันหลัง; คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำงานวิจัยด้านการใช้ใน โรคพาร์คินสัน และใช้ใน occupational therapy; คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ ทำงานวิจัยด้านการใช้ใน physical therapy และ pediatric physical therapy  
 
          หลังการนำเสนอ ๑ วันผมได้รับ อี-เมล็

          สวัสดีครับ  อ. วิจารณ์
 
          ผม อ. เซงจากมหิดล   ผมพบอาจารย์ที่การประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดลประจำเดือน July 2551    ที่ผมนำเสนอผลงานเรื่อง “การกระตุ้นไฟฟ้า”    รู้สึกเป็นเกียรติมากครับที่ได้เสนอผลงานให้กับผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย
 
          ถ้าไม่ลำบาก  ผมรบกวนอาจารย์ขอรูปที่อาจารย์ถ่ายขณะที่ผมนำเสนองานอยู่ได้ใหมครับ      ผมอยากให้พ่อแม่ผมเห็น       พวกท่านจะดีใจถ้าได้เห็นลูกชายทำงานสำคัญๆ
 
          ขอบคุณมากครับ   แล้วผมจะพัฒนาเทคโนโลยีการกระตุ้นไฟฟ้าให้คนไทยได้ใช้กันครับ
 
          ด้วยความเคารพอย่างสูง
 
          เซง
          Zeng   Lertmanorat, PhD
          Department of Electrical and Biomedical Engneering
          Mahidol University

          หลังจากผมส่งรูปไปให้ ก็ได้รับ อี-เมล์

          ขอบคุณมากครับอาจารย์สำหรับรูปถ่าย
          ผมจะผลักดันงานวิจัยด้านการกระตุ้นไฟฟ้านี้สู่คนไทยในวงกว้างให้ได้ครับ      ผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้จริงๆ      ด้วยผู้ร่วมงานที่มี    ปีหน้างานของผมคงสามารถทดลองกับผู้ป่วยได้ครับ   โดยมีแพทย์และผู้ป่วยรออยู่แล้ว     ถ้าสำเร็จผมขอส่งรูปให้อาจารย์ดูนะครับ

          ผมเอา อี-เมล์ มาลงไว้ เพื่อจะบอกว่า   Key Success Factors ของการทำงานวิจัยแบบสหวิทยาการ คือต้องมีงานที่ใหญ่ ท้าทายและยาก ต้องทำงานระยะยาวร่วมกัน   มีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน   แต่ต้องทำงานที่ท้าทายนั้นอย่างสนุก และมีความภาคภูมิใจในงานนั้น   ข้อความใน อี-เมล์ บอกความรู้สึกเหล่านั้นนะครับ


          และบุคลิกของ ดร. เซง ทำให้สามารถชักชวนคนมาร่วมทีมได้มากและครบถ้วน   ท่านคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ รพ. รามาธิบดีกล่าวชมกับผมว่า ดร. เซงเป็นคนแฟร์ ใจกว้าง    นี่คือ KSF ของการทำงานแบบสหวิทยาการ

 

วิจารณ์ พานิช
๓๐ ก.ค. ๕๑

   

หมายเลขบันทึก: 197635เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
บรรจบ อุษามาลย์เวท

อยากติดต่อเพื่อนำมารักษาพ่อ

โปรดส่งที่ติดต่อมาให้ทาง Emailหน่อยครับ

นิศารัตน์ ทุนทรัพย์

อยากติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เหมือนกัน

เพือจะปรึกษามารักษากับตัวเอง

รบกวนขอรายละเอียดด้วยค่ะ

ช่วยส่งมาตามEmail ขอบคุณค่ะ

ดำรงพล ตั้งความเพียร

อยากติดต่อเพื่อรักษาตัวผมเองครับ ผมกระดูกไขสันหลังทับเส้นประสาท อุบัตเหตุ ช่วยติดต่อกลับเพื่อสอบถามรายล่ะเอียดด้วยครับ

จรุงศรี อุษามาลย์เวท

อยากติดต่อมารักษาสามีแต่ซื้อมาแล้วใช้แล้วยังบอกอาการว่าดีอย่างไรไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท